Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชื่อบ้านนามเมืองภูเก็จ

ชื่อบ้านนามเมืองภูเก็จ

Published by phuket strategy, 2019-12-25 03:20:59

Description: ชื่อบ้านนามเมืองภูเก็จ

Keywords: ชื่อบ้านนามเมืองภูเก็จ,ภูเก็ต,จังหวัดภูเก็ต

Search

Read the Text Version

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ต่อมาได้เพิ่มก�ำลังการผลิตแร่ดีบุกโดยเพ่ิมเรืออีก ๗ ล�ำ ครอบคลุมการส�ำรวจและ ด�ำเนินการในทะเลเขตภูเก็ตในบริเวณอ่าวฉลอง อ่าวบางเทา และอ่าวภูเก็ต พื้นท่ีท่ี ได้รับประทานบัตรครอบคลุมเนื้อที่กว่า ๖,๒๐๕ เอเคอร์ ซ่ึงบริษัทได้ด�ำเนินธุรกิจ เหมืองแร่ดีบุกอย่างยาวนานกว่า ๗ ทศวรรษภายใต้ชื่อใหม่ว่า “บริษัททุ่งคาฮาเบอร์ จ�ำกัด (มหาชน)” อย่างไรก็ตามสภาพของท่ีท�ำการและบ้านพักดังกล่าวได้มีการ รื้อถอน น�ำที่ดินไปพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท โดยร่วม ลงทุนกับ บริษัท ๘๙ แคปริคอร์น ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด เป็นโครงการบ้านจัดสรร และอาคารพาณิชย์ภายใต้ชื่อ “The Bay Skycliff” และ “The Bay District” ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ที่อยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 102

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ ๑๐ ชื่อบ้าน - นามเมือง : จับเซ้ สถานที่ตั้ง จับเซ้ เป็นบริเวณที่ตั้งส�ำนักงานด่านศุลกากรภูเก็ต ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอ เมือง จังหวัดภูเก็ต ในปัจจุบัน มีอาณาเขตดังน้ี ทิศเหนือ จด โรงเรียนอนุบาลเทศบาลนครภูเก็ต ทิศใต้ จด ส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม จังหวัดภูเก็ต ทิศตะวันออก จด ถนนภูเก็ต ทิศตะวันตก จด ท่าต้นไทร มาตามแนวด้านหลังเรือนเพาะช�ำ เทศบาลนครภูเก็ต จนกระทั่งร้ัวด้านหลัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง จับเซ้ เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลว่า เก็บภาษี ซึ่งในอดีตหมายถึง ด่าน เก็บภาษีภูเก็ต เป็นด่านเก็บภาษีศุลกากรด้านชายฝั่งทะเลอันดามัน ต้ังขึ้นเม่ือ ปี พ.ศ.๒๔๕๖ สังกัดกรมสรรพากรนอก กระทรวงมหาดไทย โดยมีขุนพินิตธนากร เป็นนายด่านศุลกากรคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๘ ได้มีการยกกรมสรรพากร นอกกระทรวงมหาดไทยและกรมสรรพากรในกระทรวงนครบาล มาขึ้นกับกระทรวง พระคลังมหาสมบัติรวมกันเป็นกรมสรรพากร “ด่านเก็บภาษีภูเก็ต” จึงสังกัดกรม สรรพากร กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๖๑ จึงได้โอน “ด่าน เก็บภาษีภูเก็ต” มาข้ึนกับกรมศุลกากร และต้ังเป็นด่านศุลกากรภูเก็ต เดิมอาคารท่ีท�ำการด่านศุลกากรภูเก็ต เป็นเรือนไม้สองช้ัน ต้ังอยู่ปากคลอง ทางเข้าสะพานหิน เรือสินค้าและเรือยอชต์สามารถเข้ามาจอดหน้าท่ีท�ำการ เพ่ือ ปฏิบัติพิธีการศุลกากรได้ ต่อมาได้สร้างอาคารที่ท�ำการใหม่ข้ึนห่างจากท่ีเดิม 103

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ประมาณ ๑๐๐ เมตร ใช้เป็นท่ีท�ำการมาจนกระท่ังปี พ.ศ.๒๕๑๙ กรมศุลกากร จึงได้ก่อสร้างอาคารที่ท�ำการใหม่ เป็นตึก ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ท�ำการด่านศุลกากร ภูเก็ต ช้ันบนเป็นที่ท�ำการของส�ำนักงานศุลกากรภาคท่ี ๕ (ปัจจุบันยุบเลิกไปรวม เป็นส�ำนักงานศุลกากรภาคที่ ๔ ตั้งแต่วันท่ี ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๕) และใช้เป็น อาคารที่ท�ำการมาจนถึงปัจจุบัน บริเวณด่านเก็บภาษีภูเก็ตในอดีต มีท่าเรือนเรศเป็นท่าเรือท่ีเก่าแก่ท่ีสุด ของจังหวัดภูเก็ต สันนิษฐานว่าตั้งอยู่ประมาณหลังห้องสมุดประชาชนจังหวัดภูเก็ต ในปัจจุบัน หลักฐานที่ปรากฏคือคลองน�้ำเล็กๆ และซากเรือที่หลงเหลืออยู่บริเวณ ด้านหลังห้องสมุดประชาชน ตลอดจนด้านข้างของด่านศุลกากรภูเก็ต ปัจจุบัน ท่าเรือแห่งนี้ไม่ใช้แล้ว เพราะล�ำคลองมีสภาพดินโคลนต้ืนเขิน และอาคารบริเวณ ท่าเรือได้ร้ือถอนไปหมดแล้ว ไม่คงสภาพเดิมให้เห็น สถานที่ส�ำคัญ เช่น ส�ำนักงานด่านศุลกากรจังหวัดภูเก็ต ส�ำนักงานด่านตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต ส�ำนักงานด่านศุลกากรจังหวัดภูเก็ตในอดีต 104

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ ส�ำนักงานด่านศุลกากรจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน ส�ำนักงานด่านตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต ส�ำนักงานด่านตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต ในอดีต ในปัจจุบัน ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ที่อยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 105

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๑๑ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ฉ้ายตึ๋ง สถานที่ตั้ง ฉ้ายตึ๋ง เป็นบริเวณศาลเจ้าบางเหนียว ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัด ภูเก็ต มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จด ด้านหลังแนวอาคารตึกแถวริมถนนอ๋องซิมผ่าย และด้านข้างอาคารและบ้านเอกชนริมถนนภูเก็ต และด้านหน้าอาคารท่ีใช้ทางสัญจรผ่านเข้ามา ทางประตูศาลเจ้า ทิศใต้ จด ด้านข้างอาคารเอกชนริมถนนภูเก็ต ทิศตะวันออก จด ซอยหลังศาลเจ้าบางเหนียว ที่ออกไปทะลุถนนอ๋องซิมผ่าย ทิศตะวันตก จด ถนนภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ฉ้ายตึ๋ง เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลว่า โรงเจ ซึ่งหมายถึง ศาลเจ้าบางเหนียว หรืออ๊ามบางเหนียวต่าวโบ้เก๊ง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ ก่อต้ังมาต้ังแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๗ ค�ำว่า ต่าวโบ้ หมายถึง ดาวเหนือ เก๊ง หมายถึง พระราชวัง รวมความหมายถึง พระราชวังดาวเหนือ ตามประวัติความเป็นมาเล่าว่า มีคณะงิ้วกังฉ่ายฮี่จากจีน เดินทางมาเปิดการแสดงที่หั่งอาหล่าย หรือตรอกมาเก๊า หรือซอยรมณีย์ในปัจจุบัน และได้น�ำพระเตี๋ยนฮู้หง่วนโส่ย หรือเหล่าเอ๋ีย มาเพ่ือเคารพบูชาและประกอบ พิธีถือศีลกินผักเป็นประจ�ำทุกปี โดยมีการสร้างศาลเจ้าไว้ในบริเวณเดียวกัน และ ชาวบ้านได้เข้าร่วมพิธีถือศีลกินผักด้วย ต่อมาได้เกิดไฟไหม้ศาลเจ้าโดยไม่ทราบ สาเหตุ แกนน�ำชาวบ้านส่วนหน่ึงได้อัญเชิญรูปสักการะองค์พระเตี๋ยนฮู้หง่วนโส่ย ไปประดิษฐานไว้ ณ บ้านเลขท่ี ๓๘๔ - ๓๘๖ ถนนภูเก็ต ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับที่ต้ัง 106

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ ศาลเจ้าในปัจจุบัน ต่อมาประมาณ ๔ - ๕ ปี ได้เกิดเพลิงไหม้อีกคร้ัง ชาวบ้านจึงได้ น�ำรูปสักการะองค์พระดังกล่าวไปประดิษฐานยังฝั่งตรงข้ามในพ้ืนที่ติดกับสถานท่ี ตั้งศาลเจ้าในปัจจุบัน จากนั้นแกนน�ำของศาลเจ้าได้ช่วยเรี่ยไรเงินจากชาวบ้าน จัดซ้ือท่ีดินด้านข้าง สร้างเป็นอาคารศาลเจ้าและปรับปรุงเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน ในการด�ำเนินงานของศาลเจ้า โดยการน�ำของขุนเลิศโภคารักษ์ (หลิม ตันบุญ) ได้ด�ำเนินการขอจัดตั้ง มูลนิธิเทพราศี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ เพ่ือความสะดวก ในการบริหารงานและได้โอนทรัพย์สินของศาลเจ้าเป็นของมูลนิธิ ปัจจุบัน ศาลเจ้าบางเหนียว เป็นหนึ่งในศาลเจ้าเก่าแก่ที่ประกอบพิธีการ ถือศีลกินผักเป็นประจ�ำทุกปี มีการเปิดโรงเจ บริการอาหารเจในช่วงประเพณีถือศีล กินผักของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นที่มาในการเรียกว่า “ฉ้ายต๋ึง” สถานที่ส�ำคัญ เช่น ศาลเจ้าบางเหนียว (มูลนิธิเทพราศี) ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 107

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๑๒ ชื่อบ้าน - นามเมือง : สามกอง สถานที่ตั้ง สามกอง เป็นชุมชนสองฝั่งถนนเยาวราช ต้ังแต่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ผ่านทางแยกสามกอง ไปจดชุมชนเพชรหล่อเหลียน มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จด โรงเรียนบ้านทุ่งคา “บุณยขจรประชาอาสา” ทิศใต้ จด โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก จด มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จด แนวถนนเฉลิมพระเกียรติรัชกาลท่ี ๙ จนกระท่ังถึงชุมชนเพชรหล่อเหลียน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ที่เก่ียวข้อง สามกอง เดิมเป็นชุมชนคนจีนที่มาท�ำเหมืองแร่ดีบุก และเป็นจุดที่สัญจร ทางแยกของเส้นทางคมนาคมจากเมืองถลาง มายังบ้านเก็ตโฮ่หรือกะทู้ และบ้าน ทุ่งคาหรือเมืองภูเก็ต ซ่ึงเป็นทางสามแพร่ง แต่คนจีนฮกเกี้ยน เรียกว่า “ซ�ำกัง” คร้ันต่อมามีคนจีนมาท�ำเหมืองแร่แบบเจาะบ่อหรือเหมืองรูในบริเวณดังกล่าวมากขึ้น จึงเพ้ียนเสียงเป็น “ซ�ำกอง” ตามส�ำเนียงจีนแคะ ต่อมาเมื่อทางราชการขึ้นทะเบียน เรียกช่ือชุมชนซ�ำกอง เป็นช่ือราชการ ปรากฏว่าไม่สามารถสื่อความหมายได้ จึง เปล่ียนชื่อเป็น “สามกอง” จึงเป็นท่ีมาของการเรียกชุมชนดังกล่าวว่า “สามกอง” สามกองยังเป็นแหล่งแร่ดีบุกท่ีส�ำคัญ มีการท�ำเหมืองแร่ของนายเหมือง หลายราย นายเหมืองคนส�ำคัญที่มีกิจการเหมืองแร่รายใหญ่ในชุมชนดังกล่าว คือ ขุนวิเศษนุกูลกิจ (ตันเอ่งกี่ หรือ วิเศษ อุดมทรัพย์) และได้สร้างบ้านพักเป็น อ่ังหม่อหลาวไว้หนึ่งหลังในพื้นท่ีท่ีปลูกเป็นสวนมะพร้าว และตามจดหมายเหตุ ประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘ ระหว่างวันที่ ๘ - ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๒ ได้กล่าวถึงการเสด็จแปรพระราชฐานประทับแรม ณ เรือนรับรองบ้านสามกอง ซึ่ง 108

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ เป็นสถานที่ที่มีภูมิอากาศดี ของล้นเกล้ารัชกาลท่ี ๖ ในคร้ังท่ีด�ำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ในคราวเสด็จพระราชด�ำเนิน เมืองภูเก็ต สถานที่ส�ำคัญ เช่น ๑. โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง (ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ) ต้ังขึ้นเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๙ ในครั้งแรกใช้ช่ือว่า โรงเรียนประชาบาลต�ำบลสามกอง สังกัดเทศบาลเมืองภูเก็ต มีครูใหญ่คนแรกชื่อ นายฉ่�ำ กันภัย อาคารเรียนหลังแรก เป็นอาคารช่ัวคราวหลังคามุงจาก เปิดท�ำการสอนระดับประถมศึกษา ในปีแรก มีนักเรียนรวมท้ังสิ้น ๓๐ คน และต่อมาได้เปล่ียนช่ือเป็นโรงเรียนเทศบาลบ้าน สามกอง (ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ) เน่ืองจากท่ีดินส่วนใหญ่ของโรงเรียนได้รับการ บริจาคจากขุนวิเศษนุกูลกิจต้ังแต่เมื่อเริ่มก่อต้ังโรงเรียน ต่อมาทายาทของขุน วิเศษนุกูลกิจร่วมกับคณะกรรมการโรงเรียนได้มีการบริจาคท่ีดินเพ่ิมเติม จน ปัจจุบันมีเน้ือท่ีรวม ๔ ไร่ ๒ งาน ๒๐ ตารางวา โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกองในอดีต เมื่อคร้ังยังเป็นโรงเรียนประชาบาลต�ำบลสามกอง 109

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง สภาพในปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๖๒) ด้านการเรียนการสอน ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ โรงเรียนได้เปิดท�ำการสอนใน ระดับช้ันอนุบาลเพิ่มข้ึน ปัจจุบันได้มีการจัดการเรียนการสอนเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับปฐมวัย (อนุบาล ๑ - ๓) และระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีท่ี ๑ – มัธยมศึกษาปีที่ ๓) และมีอาคารเรียนทั้งหมด ๕ หลัง ๒. ศาลเจ้าหลิมฮู้ไท้ซู่ สามกอง ไม่ปรากฏว่าเริ่มมีข้ึนตั้งแต่ พ.ศ.ใด ทราบ แต่ว่ามีผู้มีจิตศรัทธาชื่อ หลวงสุนทรจีนประชา บริจาคที่ดินประมาณเกือบหนึ่งไร่ พร้อมท�ำการสร้างศาลเจ้าถวาย พร้อมมอบรูปแกะองค์พระหลิมฮู้ไท้ซู่ก้องและ องค์พระอ่ืนๆ ไว้ให้ และตั้งช่ือว่า ศาลเจ้าหลิมฮู้ไท้ซู่ แต่ชาวบ้านท่ัวไปเรียกว่า อ๊าม ไท้ซู่ก้อง ต่อมาประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๑ - ๒๔๙๒ ได้มีการบูรณะซ่อมแซมศาลเจ้า อีกครั้ง ในคร้ังนี้ องค์พระไท้ซู่ก้องได้มาประทับทรงกับม้าทรงเป็นครั้งแรก ภาษา จีนท่ีใช้ในการสื่อสารไม่มีใครฟังรู้เรื่อง ต้องใช้ล่ามแปลอีกทอดหน่ึง เน่ืองจากภาษา จีนท่ีองค์พระใช้เป็นภาษาจีนที่ใช้ในราชส�ำนัก บางค�ำเป็นราชาศัพท์ ตามประวัติของ ท่านเคยรับราชการเป็นราชครูในราชส�ำนักมาก่อน ต่อมาได้มีการขอร้องให้ท่าน สื่อสารเป็นภาษาจีนฮกเก้ียนเพื่อความสะดวกในการส่ือสาร ในการประทับทรงของ ท่าน ท่านได้ท�ำการรักษาคนป่วย โดยเม่ือท�ำการตรวจวิเคราะห์วินิจฉัยอาการป่วย 110

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ ต่อจากนั้นจะจัดต�ำรับยาโดยเขียนรายละเอียดของตัวยาและปริมาณจ�ำนวนที่ใช้ ลงบนกระดาษทอง แล้วน�ำกระดาษทองน้ันมาใส่ในหม้อดินไปวางไว้หน้าศาลเจ้า จุดธูปบูชาสิ่งศักด์ิสิทธ์ิ ๙ ดอกและผูกติดกับหม้อดินไว้ เม่ือธูปหมดดอกให้น�ำไป เติมน้�ำต้มกินเพ่ือรักษาอาการเจ็บป่วย ซึ่งเป็นวิธีท่ีแปลกไม่เหมือนการรักษาโดย ท่ัวไป อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าเสียดาย ต�ำรายาท่ีจดบันทึกไว้ในการรักษาแต่ละ ครั้งได้สูญหายไปตอนบรูณะศาลเจ้าในครั้งต่อมา จนมีการบูรณะครั้งใหญ่อีกคร้ัง ในปี พ.ศ.๒๕๓๗ มีการก่อสร้างอาคารศาลเจ้าหลังใหม่บนท่ีตั้งเดิม โดยสร้างเสร็จ ในปีถัดมา และใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน ศาลเจ้าหลิมฮู้ไท้ซู่ สามกอง ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 111

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ 112

อ�ำเภอเมือง ต�ำบลตลาดเหนือ ต�ำบลตลาดเหนือ เป็นหนึ่งในสองของต�ำบลท่ีต้ังอยู่ในท้องที่เขตเทศบาล นครภูเก็ต แต่เดิมเป็นต�ำบลหนึ่งในเขตสุขาภิบาลเมืองภูเก็ต ต่อมาสุขาภิบาลเมือง ภูเก็ตได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองภูเก็ต โดยพระราชกฤษฎีกาการจัดต้ัง เทศบาลเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต พ.ศ.๒๔๗๘ เรียกว่า “เทศบาลเมืองภูเก็ต” เมื่อ วันท่ี ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๘ และได้เปล่ียนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนครภูเก็ต เม่ือวันท่ี ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๗ ต�ำบลตลาดใหญ่ มีเนื้อท่ีประมาณ ๘ ตาราง กิโลเมตร มีอาณาเขตดังน้ี ทิศเหนือ จด ท้องที่ต�ำบลตลาดใหญ่ ทิศใต้ จด ท้องที่ต�ำบลวิชิต ทิศตะวันออก จด ท้องท่ีต�ำบลตลาดใหญ่ ทิศตะวันตก จด ต�ำบลวิชิต ปัจจุบันมีการจัดตั้งชุมชนในท้องที่ต�ำบลตลาดเหนือ รวม ๖ ชุมชน ประกอบ ด้วย ๑. ชุมชน ๑๓๑ ๒. ชุมชนอ่าวเกใน ๓. ชุมชนซีเต็กค้า ๔. ชุมชนซีเต็กค้า ๑ ๕. ชุมชนซีเต็กค้า ๒ ๖. ชุมชนซีเต็กค้า ๓ ช่ือบ้านนามเมือง ต�ำบลตลาดเหนือ เป็นชื่อของชุมชนหรือสถานท่ีซ่ึงใช้ เรียกทั้งในอดีต และบางช่ือยังเรียกใช้อยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย ๑. ตลาดเหนือ ๒. ซินหล่อ ๓. เฉี่ยโบ้ย ๔. จุ้ยตุ่ย ๕. ซีเต็กค้า ๖. อ่าวเก ๗. ท่าแครง ๘. เขารัง 113

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ บุคคลส�ำคัญ ต�ำบลตลาดเหนือ เป็นต�ำบลที่เป็นย่านพักอาศัยของคหบดีนายเหมือง และ ศาสนสถานต่างๆ ในยุครุ่งเรืองของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ บุคคลส�ำคัญส่วนหนึ่ง เป็นท้ังคหบดีท่ีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์มีต�ำแหน่งในกรมการเมืองท่ีร�่ำรวย จากการท�ำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจเหมืองแร่ ซึ่งมีส�ำนักงานตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่า ภูเก็ต อาทิ หลวงอ�ำนาจนรารักษ์ พระขจรจีนสกล ๑. หลวงอ�ำนาจนรารักษ์ (ตันค๊วด หรือ ยกค๊วด ตัณฑเวทย์) เป็นคหบดีผู้ร�่ำรวยจากกิจการเหมืองแร่ดีบุก และเป็นผู้ริเริ่มประเพณีถือศีล กินผักของจังหวัดภูเก็ตเต็มรูปแบบ ๒. พระขจรจีนสกล (ตันเล่ียนก่ี หรือ เลี่ยนก่ี วงศ์ขจร) เป็นบุตรชายของ หลวงอร่ามสาครเขตร (ตันต�๋ำ) กรมการพิเศษเมืองภูเก็ต ต�ำแหน่งปลัดฝ่ายจีน พระขจรจีนสกลเป็นผู้บุกเบิกการท�ำเหมืองแร่ท่ีบ้านทุ่งคา และก่อสร้างอาคารยุคแรกในย่านแถวน�้ำ ถนนถลาง และซอยรมณีย์ ตลอดจน เป็นผู้บริจาคที่ดินสร้างวัดขจรรังสรรค์ 114

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดเหนือ พระพิทักษ์ชินประชา พระอร่ามสาครเขตร ๓. พระพิทักษ์ชินประชา (ตันม้าเสียง หรือ ม้าเสียง ตัณฑวณิช) เป็นกรมการพิเศษเมืองภูเก็ต คหบดีท่ีร�่ำรวยจากการสืบทอดกิจการ เหมืองแร่ดีบุกจากบิดา และเป็นผู้มีคุณูปการต่อเมืองภูเก็ตโดยเฉพาะด้านการ ศึกษา จัดต้ังโรงเรียนตัณฑวณิชวิทยาคม และบริจาคที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพื่อกิจการสาธารณประโยชน์ อาทิ บริจาคที่ดินสร้างโรงไฟฟ้า สะพานพระพิทักษ์ ชินประชา สะพานนางพิทักษ์ชินประชา เป็นต้น นอกจากนี้ได้สร้างคฤหาสน์หรือ อั่งหม่อหลาวพระพิทักษ์ชินประชาและบ้านชินประชาขึ้นเป็นที่พ�ำนักส่วนตัวบน ถนนกระบี่ ต�ำบลตลาดเหนือ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ๔. พระอร่ามสาครเขตร (ตันเพ็กฮวด หรือ เพ็กฮวด ตัณฑัยย์) เป็นบุตรของหลวงอร่ามสาครเขตร (ตันหงิมจ้าว) พระอร่ามสาครเขตร เป็นผู้บุกเบิกในการท�ำเหมืองแร่ โดยเป็นนายเหมืองคนไทยคนแรกที่สั่งต่อเรือ ขุดแร่ดีบุกมาใช้งาน และร�่ำรวยจากกิจการเหมืองแร่ดีบุกเป็นหลัก บริจาคสิ่ง ปลูกสร้างเพ่ือกิจการสาธารณประโยชน์ อาทิ สะพานพระอร่าม และได้สร้างที่พ�ำนัก ส่วนตัวเป็นคฤหาสน์หรืออั่งหม่อหลาวพระอร่ามสาครเขตรขึ้นบนถนนระนองและ เชื่อมต่อมาถึงถนนกระบ่ี ต�ำบลตลาดเหนือ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันอาคาร 115

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ด้านถนนระนอง เป็นส�ำนักงานขายบริษัทการบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) อาคารกลาง เป็นโรงเรียนอนุบาลกุลธิดา และด้านถนนกระบี่เป็นอดีตโรงพยาบาลสิริโรจน์ภูเก็ต ขุนวิเศษนุกูลกิจ (ตันเอ่งกี่ หรือ วิเศษ อุดมทรัพย์) ๕. ขุนวิเศษนุกูลกิจ (ตันเอ่งกี่ หรือ วิเศษ อุดมทรัพย์) คหบดีท่ีร�่ำรวยจากกิจการเหมืองแร่ดีบุก เป็นผู้บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียน เทศบาลบ้านสามกอง ซ่ึงมีส�ำนักงานและที่พ�ำนักบนถนนดีบุกหรือซินหล่อ ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธิ ชิณการณ์ อายุ ๘๑ ปี, Phuket Data.Net, ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๖๘ ถนนดีบุก ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต วันที่ให้ข้อมูล วันที่ ๒๘ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๘ นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 116

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดเหนือ ๑ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ตลาดเหนือ สถานท่ีตั้ง ตลาดเหนือ เป็นชุมชนถนนกระบี่ ต�ำบลตลาดเหนือ อ�ำเภอเมือง จังหวัด ภูเก็ต มีอาณาเขตดังน้ี ทิศเหนือ จด ด้านหลังแนวอาคารด้านทิศใต้ของถนนดีบุก ทิศใต้ จด ด้านหลังแนวอาคารด้านทิศเหนือของถนนระนอง ทิศตะวันออก จด ทางแยกถนนกระบี่บรรจบถนนเยาวราช ทิศตะวันตก จด ทางแยกถนนกระบ่ีบรรจบถนนปฏิพัทธิ์ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวข้อง ตลาดเหนือ หรือ หลาดเหนือ แต่เดิมหมายถึงชุมชนท่ีพักอาศัยและประกอบ ธุรกิจถัดเหนือขึ้นไปจากตลาดใหญ่หรือถนนถลาง เร่ิมต้นจากทางแยกถนนกระบ่ี บรรจบกับถนนเยาวราช ไปตามทิศตะวันตก ตลอดแนวถนนกระบ่ีท้ังสองฝั่ง ไปสิ้นสุดท่ีแยกถนนกระบ่ีบรรจบถนนปฏิพัทธิ์ จากบทประพันธ์เร่ือง “ซินแขะ เมืองทุ่งคา” ได้บรรยายสภาพของชุมชนตลาดเหนือในอดีตไว้ว่า ระยะทางเม่ือพ้น ตลาดใหญ่ออกมาแล้ว กว่าจะถึงชุมชนตลาดเหนือก็ประมาณอีก ๑๕ เส้น ถนนขรุขระ และเป็นโคลนอยู่บางแห่ง มีรถม้าและเกวียนเทียมด้วยกระบือเดินผ่านไปมา หลายคัน รถม้าเหล่านี้มีผู้โดยสารคันละ ๔ - ๕ คน ส่วนเกวียนเต็มไปด้วยสินค้า ตลาดเหนือยังเป็นย่านท่ีพักอาศัยของคหบดีนายเหมืองภูเก็ตในอดีต คนส�ำคัญ บ้างก็สร้างคฤหาสน์หรืออั่งหม่อหลาว บ้างก็สร้างเป็นตึกแถวก่ึงพักอาศัย ก่ึงท�ำธุรกิจหรือเต่ียมฉู่ อาทิ พระอร่ามสาครเขตร พระพิทักษ์ชินประชา หลวง อนุภาษภูเก็ตการ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งโรงเรียนจีนแห่งแรกคือ โรงเรียนภูเก็ต ฮัวบุ๋นหรือโรงเรียนภูเก็ตไทยหัวอาเซียนวิทยาในปัจจุบัน ซึ่งอาคารเดิมของโรงเรียน ดังกล่าวได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว 117

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ต่อมาทางราชการได้ตั้งชื่อเป็นต�ำบลตลาดเหนือ ครอบคลุมเน้ือท่ีประมาณ ๔ ตารางกิโลเมตร เป็นหน่ึงในสองต�ำบลที่อยู่ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต สถานท่ีส�ำคัญ เช่น ๑. พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ๒. วัดขจรรังสรรค์ ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธิ ชิณการณ์ อายุ ๘๑ ปี, Phuket Data.Net, ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๖๘ ถนนดีบุก ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต วันท่ีให้ข้อมูล วันท่ี ๒๘ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๘ นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ที่อยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 118

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดเหนือ ๒ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ซินหล่อ สถานท่ีต้ัง ซินหล่อ ตั้งอยู่บริเวณถนนดีบุกจากแยกถนนเยาวราชตัดกับถนนดีบุก ไปตามแนวถนนดีบุกด้านทิศตะวันตก จนกระท่ังถึงแยกถนนดีบุกบรรจบถนนสตูล ต�ำบลตลาดเหนือ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีอาณาเขตดังน้ี ทิศเหนือ จด แนวด้านหลังตึกริมถนนดีบุกฝั่งทิศเหนือ ขนานตลอดแนวถนน ต้ังแต่ทางแยกถนนดีบุก ตัดกับถนนเยาวราช อาคารเอกวานิช จนกระทั่งถึงทางแยกถนนดีบุกบรรจบถนนสตูล ทิศใต้ จด แนวซอยสุ่นอุทิศ ทิศตะวันออก จด แนวถนนดีบุกบรรจบถนนเยาวราช ทิศตะวันตก จด แนวถนนดีบุกบรรจบถนนสตูล ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ท่ีเกี่ยวข้อง ซินหล่อ เป็นชุมชนริมถนนดีบุก ส่วนใหญ่เป็นท่ีอยู่และส�ำนักงานของคหบดี นายเหมืองภูเก็ตในยุคเหมืองแร่ ค�ำว่า “ซินหล่อ” ในภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลว่า ถนนใหม่ กล่าวคือถนนเส้นนี้เป็นการตัดข้ึนใหม่ในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์- มหิศรภักดี (คอซิมบ๊ี ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต เป็นการตัดผ่าน ที่ดินซึ่งเป็นสวนกล้วยของหลวงอ�ำนาจนรารักษ์ (ตันค๊วด หรือ ยกค๊วด ตัณฑเวทย์) สถานท่ีส�ำคัญ เช่น คฤหาสน์หรืออั่งหม่อหลาวหลวงอ�ำนาจนรารักษ์ (ตันค๊วด หรือ ยกค๊วด ตัณฑเวทย์) 119

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ คฤหาสน์หรืออั่งหม่อหลาวหลวงอ�ำนาจนรารักษ์ (ตันค๊วด หรือ ยกค๊วด ตัณฑเวทย์) ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธิ ชิณการณ์ อายุ ๘๑ ปี, หนังสือ ซินแขะเมืองทุ่งคา ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๖๘ ถนนดีบุก ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ที่อยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 120

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดเหนือ ๓ ชื่อบ้าน - นามเมือง : เฉี่ยโบ้ย สถานที่ต้ัง เฉ่ียโบ้ย ตั้งอยู่บริเวณทางแยกถนนสตูลบรรจบถนนกระบี่ ทอดไปตาม ถนนกระบี่ จนกระท่ังบรรจบถนนปฏิพัทธิ์ อยู่ในท้องท่ีต�ำบลตลาดเหนือ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จด แนวเขตด้านหลังศาลเจ้าจ้ออ๋อง ศาลเจ้าแม่ยานาง บ้านชินประชาและ อ่ังหม่อหลาวพระพิทักษ์ชินประชา ทิศใต้ จด แนวเขตด้านเหนือของวัดขจรรังสรรค์ ขนานไปกับถนนระนอง จนกระทั่งบรรจบ ถนนปฏิพัทธ์ิ ทิศตะวันออก จด ทางแยกถนนสตูลบรรจบถนนกระบ่ี ทิศตะวันตก จด ทางแยกถนนกระบี่บรรจบถนนปฏิพัทธ์ิ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ท่ีเก่ียวข้อง เฉี่ยโบ้ย แต่เดิมเป็นสถานท่ีปลายทางของรถโดยสารที่มาจากต่างถ่ิน เพื่อจะเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองภูเก็ตหรือตลาดใหญ่ โดยจะมีสถานีรถม้าหรือรถลาก ของคนจีน รอรับผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้าตัวเมืองต่อไป ในภาษาจีนฮกเก้ียน ค�ำว่า “เชี้ย” หมายถึง รถที่ใช้ล้อในการขับเคลื่อน ส่วนค�ำว่า “โบ้ย” หมายถึง ปลายทางหรือสุดท้าย ดังนั้นเม่ือน�ำค�ำทั้งสองมารวมกัน เป็น “เช้ียโบ้ย” แต่จะออกเสียงเป็น “เฉ่ียโบ้ย” รวมความหมายถึง สถานท่ี ปลายทางของรถโดยสาร 121

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น ศาลเจ้าซัมส้านเทียนเฮวกึ๋ง หรือศาลเจ้าแม่ย่านาง ศาลเจ้าแชเหล่งเก้งไถ้หงวนต๋อง หรือศาลเจ้าจ้ออ๋อง คฤหาสน์หรืออ่ังหม่อหลาวพระพิทักษ์ชินประชา (ตันม้าเสียง หรือ ม้าเสียง ตัณฑวณิช) คฤหาสน์หรืออั่งหม่อหลาวขุนชินสถานพิทักษ์ (ตันอยู่อี่ หรือ อยู่อี่ ตัณฑวณิช) หรือบ้านชินประชา 122

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดเหนือ ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ที่อยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 123

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๔ ชื่อบ้าน - นามเมือง : จุ้ยตุ่ย สถานที่ตั้ง จุ้ยตุ่ย บริเวณทางแยกซอยภูธรมาบรรจบถนนระนอง ขึ้นมาทางเหนือจนถึง ทางแยกถนนปฏิพัทธ์ิตัดกับถนนระนองหรือแยกจุ้ยตุ่ย อยู่ในท้องที่ต�ำบลตลาด เหนือ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จด แนวถนนกระบ่ีตรงข้ามศาลเจ้าแม่ยานาง ทิศใต้ จด แนวซอยภูธรบรรจบถนนบางกอก ทิศตะวันออก จด แนวซอยวิบูลย์รังสรรค์ตรงข้ามวัดขจรรังสรรค์ ทิศตะวันตก จด แนวถนนปฏิพัทธิ์ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้อง จุ้ยตุ่ย เป็นชุมชนมีลักษณะเป็นท่ีราบเนินเขาที่ทอดลาดต่�ำลงมาจาก เขารังไปยังล�ำคลองด้านหน้าศาลเจ้าปุดจ้อ ค�ำว่า “จุ้ยตุ่ย” จากบทประพันธ์เร่ือง “ซินแขะเมืองทุ่งคา” ของคุณประสิทธิ ชิณการณ์ อดีตประธานกลุ่มผู้สนใจ ประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ ได้บรรยายสภาพของจุ้ยตุ่ยในอดีตไว้ว่า ท่าเทียบเรือ ของเถ้าแก่อ๋องอยู่บริเวณสุดถนนสายน้ี ซ่ึงภูมิประเทศด้านขวามือเป็นเนินเขาเต้ีย ทอดลงมาจากเขารัง บนเขารังน้ันคือป่าช้าฝังศพบรรดาชาวจีนเมืองทุ่งคา ริมฝั่ง ท่าเทียบเรือมีศาลเจ้าม่าจ้อโป๋ต้ังอยู่ส�ำหรับชาวเรือทั้งหลายจะได้สักการะด้วยความ เช่ือมั่นในอานุภาพที่จะดลบันดาลความปลอดภัยและโชคลาภในการออกทะเลหลวง ริมตล่ิงหน้าศาลเจ้าม่าจ้อโป๋มีสะพานไม้กระดานแข็งแรงกว้างยาวและไกลออกไป ในเว้ิงอ่าวของทะเล อันเป็นท่ีบรรจบกันซึ่งน้�ำเค็มจากอ่าวทุ่งคากับน�้ำจืดจากท่ีราบ เนินเขาเมืองกะทู้เป็นสายล�ำธารน�้ำใหญ่มาสุดสิ้นลงตรงจุดน้ี เกิดเป็นชื่อเรียกกัน ในหมู่ชาวเรือท้ังหลายว่า “จุ้ยตุ่ย” นอกจากนี้ ยังมีการอธิบายที่มาของค�ำว่า “จุ้ยตุ่ย” ตามแผ่นศิลาจารึกท่ี 124

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดเหนือ สร้างข้ึนภายหลังถึงประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย ความตอนหนึ่งอธิบาย ค�ำว่า “จุ้ย” น้ันเป็นภาษาจีน มีความหมายว่า น�้ำ ส่วนค�ำว่า “ตุ่ย” น้ันแปลว่า ครก ต�ำข้าว ท้ังน้ี เมื่อก่อนบริเวณหน้าศาลเจ้าน้ันมีล�ำคลองค่อนข้างกว้างและมีปริมาณ น้�ำมาก ต่อมาชาวบ้านได้สร้างกังหันขึ้น เพ่ือใช้ก�ำลังจากน้�ำมาต�ำข้าวภายหลัง การเก็บเก่ียว สถานท่ีส�ำคัญ เช่น ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเป๋งเอ๊กซานกวนอิมเบี้ยว หรือศาลเจ้าปุดจ้อ ศาลเจ้าเป๊งหย่องซ้านจุ้ยตุ่ยเต้าโบเก้ง หรือศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธิ ชิณการณ์ อายุ ๘๑ ปี, หนังสือ ซินแขะเมืองทุ่งคา ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๖๘ ถนนดีบุก ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ที่อยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 125

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๕ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ซีเต็กค้า สถานท่ีตั้ง ซีเต็กค้า เป็นชุมชนท่ีต้ังอยู่บริเวณต้ังแต่ทางแยกถนนระนองบรรจบถนน วิชิตสงคราม ไปตามแนวถนนวิชิตสงคราม จนกระท่ังถึงทางแยกดาราสมุทร จุดตัด ระหว่างถนนวิชิตสงครามกับถนนเฉลิมพระเกียรติรัชกาลท่ี ๙ ต้ังอยู่ในท้องที่ต�ำบล ตลาดเหนือ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีอาณาเขตดังน้ี ทิศเหนือ จด เขารังนอกและเขารังใน ทิศใต้ จด ถนนวิรัชหงษ์หยก วัดนาคา ทิศตะวันออก จด ทางแยกถนนระนองบรรจบถนนวิชิตสงคราม ทิศตะวันตก จด ทางแยกถนนวิชิตสงคราม ตัดกับถนนเฉลิมพระเกียรติรัชกาลท่ี ๙ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้อง ซีเต็กค้า เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลว่า ดงไม้ไผ่สีสุก ซ่ึงแต่เดิมสภาพ เป็นที่ราบเชิงเขารัง เต็มไปด้วยดงไม้ไผ่สีสุก เหตุการณ์ส�ำคัญในประวัติศาสตร์ บริเวณซีเต็กค้าคือ เหตุวิวาทรุนแรงครั้งสุดท้ายของพวกอั้งยี่ เกิดข้ึนในปี พ.ศ. ๒๔๒๒ โดยพวกอั้งย่ีเกี้ยนเต็ก หลอกพวกอั้งย่ีปุนเถ่ากงมากินเลี้ยง แล้วมอมเหล้า และฆ่าจุดไฟเผาทั้งเป็นหลายร้อยคน ในวัน ๑๗ ค่�ำเดือน ๖ ตามปฏิทินจีน ซึ่งต่อ มาชาวกะทู้รุ่นหลัง ได้ฝันเห็นวิญญาณเหล่าน้ี พากันมาร้องขอที่อยู่อาศัย จึงได้ ร่วมใจกันจัดหาท่ีดินในบริเวณหมู่ที่ ๔ ต�ำบลกะทู้ สร้างศาลเจ้าข้ึน เพื่อเป็นที่สถิต ของดวงวิญญาณเหล่านั้น โดยท�ำสิ่นจู้หรือแผ่นป้ายช่ือผู้ตายในคราวน้ัน ตั้งไว้ ในศาล แทนรูปเทพเจ้าต่างๆ พร้อมกับขนานนามศาลแห่งน้ีว่า “ศาลเจ้าต่องย่องสู” อันมีความหมายถึง ศาลเจ้าของผู้กล้าท่ีมีความซื่อตรง และซื่อสัตย์ และมีป้าย วิญญาณจารึกช่ือผู้เสียชีวิตรวมกัน ๔๑๖ ราย ท้ังนี้ในวัน ๑๗ ค่�ำ เดือน ๖ ตามปฏิทิน 126

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดเหนือ จีน ในทุกปีจะมีการเซ่นไหว้ดวงวิญญาณท่ีศาลแห่งนี้ นอกจากนี้บริเวณเนินเขาดังกล่าว ยังเคยเป็นท่ีต้ังของสถานสงเคราะห์ คนอนาถาหรือคิดเจี๊ยะท่ีก่อต้ังขึ้นโดยคหบดีชาวจีนในอดีตบริเวณใกล้ทางแยก ซิมจั่น ถนนระนองบรรจบถนนวิชิตสงคราม ฝั่งทิศเหนือถนนวิชิตสงคราม ปัจจุบัน ได้เลิกไปแล้ว และยังเคยเป็นท่ีตั้งโรงพยาบาลจีน ซ่ึงได้เลิกกิจการไปแล้วเช่นกัน โดยปรับเปลี่ยนเป็นท่ีต้ังของโรงเรียนประศาสน์วิทยา และโรงเรียนภูเก็ตไทยหัว อาเซียนวิทยาในปัจจุบัน ส่วนบริเวณเนินเขารังในท่ีทอดยาวมา เดิมเป็นส่วนหนึ่ง ของสุสานจีนฮกเกี้ยน ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นสนามกีฬาสุระกุล เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ สร้างขึ้นในสมัยนายอ้วน สุระกุล เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพ่ือเป็นเกียรติแก่ นายอ้วน สุระกุล จึงให้ช่ือว่า สนามสุระกุล ซ่ึงเป็นสนามกีฬากลางจังหวัดภูเก็ต สถานท่ีส�ำคัญ เช่น โรงเรียนภูเก็ตไทยหัวอาเซียนวิทยา สนามกีฬาสุระกุล ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 127

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๖ ชื่อบ้าน - นามเมือง : อ่าวเก สถานท่ีตั้ง อ่าวเก เป็นชุมชนริมถนนตะกั่วป่า ริมคลองบางใหญ่ ต้ังอยู่ในท้องที่ต�ำบล ตลาดเหนือ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จด ทางแยกถนนตะก่ัวป่าบรรจบถนนรัษฎา ทิศใต้ จด แนวถนนพูนผล ทิศตะวันออก จด คลองบางใหญ่ ทิศตะวันตก จด แนวถนนบางกอก ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เก่ียวข้อง อ่าวเก แต่เดิมเป็นชุมชนคนจีน อยู่ถัดมาจากตลาดใหญ่ที่เป็นย่านการค้า ในอดีตมาทางด้านใต้ของคลองบางใหญ่ ก่อนออกปากคลองบางใหญ่ ค�ำว่า “อ่าวเก” เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลว่า หลังตลาด ในอดีตบริเวณดังกล่าวต้ังอยู่ ริมคลองบางใหญ่ ซึ่งเป็นทางคมนาคมทางน้�ำหลักของเมืองภูเก็ตออกสู่อ่าวทุ่งคา และอ่าวเกยังเป็นท่าเรือขึ้นลงสินค้า มีการตั้งโรงกลวงหรือโรงถลุงแร่ดีบุกแบบ โบราณ หลอมโลหะดีบุกเพื่อส่งออกทางเรือไปขายยังต่างประเทศ และตะกรันท่ีเหลือ จากการหลอมได้น�ำมาถมท่ีดินและถนนในบริเวณดังกล่าวด้วย นอกจากน้ียังมีการสร้างศาลเจ้าก้ิวเหล็งต๋อง โดยบรรพชนตระกูลแซ่หลิม มีองค์เท่ียนส่องเซ่งโบ้หรือม่าจ้อโป๋เป็นองค์เทพประธานของศาลเจ้า เพื่อให้ผู้คน ได้สักการะในการเดินทางทางเรือ โดยเฉพาะที่ลงเรือจากบริเวณหน้าศาลเจ้า ปัจจุบัน สภาพของบริเวณดังกล่าวได้เปลี่ยนไปมากพอสมควร มีการก่อสร้างอาคารสมัยใหม่ อาคารสูง คงเหลือตัวศาลเจ้าก้ิวเหล็งต๋องที่ยังคงสภาพอยู่ 128

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดเหนือ สถานที่ส�ำคัญ เช่น ศาลเจ้ากิ้วเหล็งต๋อง ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ที่อยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 129

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๗ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ท่าแครง สถานที่ต้ัง ท่าแครง เป็นชุมชนที่อยู่บริเวณสองฝั่งถนนเจ้าฟ้าตะวันออก เร่ิมตั้งแต่ แยกโรงฆ่าสัตว์ ถนนเจ้าฟ้าตะวันออกบรรจบถนนบางกอกและถนนปฏิพัทธ์ิ ไปตาม แนวถนนเจ้าฟ้าตะวันออก จนกระท่ังถึงแยกท่าแครง ถนนศักดิเดชบรรจบถนน เจ้าฟ้าตะวันออก ชุมชนท่าแครงต้ังอยู่ในท้องที่ต�ำบลตลาดเหนือ อ�ำเภอเมือง จังหวัด ภูเก็ต มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จด ทางแยกถนนศักดิเดชบรรจบถนนเจ้าฟ้าตะวันออก ทิศใต้ จด ทางแยกถนนเจ้าฟ้าตะวันออก บรรจบถนนบางกอกและถนนปฏิพัทธ์ิ ทิศตะวันออก จด ถนนพัฒนา ทิศตะวันตก จด ป่าชายเลนอ่าวทุ่งคา ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง ท่าแครง ในอดีตเป็นท่าเรือท่ีมีคลองสายใหญ่จากปากอ่าวทุ่งคาและมี ความลึกพอท่ีเรือจะสามารถแล่นเข้ามาเทียบท่าได้ จากหลักฐานเอกสารทาง ประวัติศาสตร์ จดหมายเหตุชาวฝรั่งเศสช่ือ มองซิเออร์ บรีโกต์ เขียนถึงผู้อ�ำนวย- การคณะต่างประเทศของฝรั่งเศส เมื่อวันท่ี ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๐๕ ความ ตอนหนึ่งว่า “เมื่อปีน้ีพวกข้าราชการเมืองภูเก็ตได้แนะน�ำให้เรืออังกฤษล�ำหน่ึง เข้าไป ซ่อมแซมเรือท่ีฝั่งเมืองแตร์แฟม (Terre Ferme) ใกล้เมืองโตยอง (Teyon) ซ่ึงเป็น เมืองที่เข้ารีตมากท่ีสุดในแถบเกาะภูเก็ตนี้ ครั้นเรืออังกฤษได้ไปทอดที่เมืองแตร์แฟม พวกไทยและมลายูกับข้าราชการได้รู้กัน จึงได้ฟันแทงพวกอังกฤษและข้ึนปล้น เรือเก็บสินค้าในเรือไปจนหมดสิ้น ฝ่ายข้าราชการเมืองภูเก็ตได้ใส่ร้ายผู้เข้ารีต 130

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดเหนือ ในเมืองโตยองเป็นคนปล้นและท�ำร้ายเรืออังกฤษ ลงท้ายสุดพวกเข้ารีตเหล่านี้พลอย ฉิบหายไปเปล่าๆ ยังมีบาทหลวงคณะฟรังซิซแกลเป็นชาติโปรตุเกสคนหนึ่งได้ตาย ด้วยความตรอมใจและถูกทรมาน เพราะเจ้าพนักงานเมืองภูเก็ตได้จับบาทหลวง คนน้ีขังไว้ในระหว่างพิจารณาความเกือบเดือนหนึ่ง” เมืองแตร์แฟม (Terre Ferme) ในจดหมายฉบับน้ี สันนิษฐานว่าเป็นช่ือ ที่ฝร่ังเศสเรียก “บ้านท่าแครง” ในปัจจุบันนี้ เพราะเคยมีคลองสายใหญ่และลึก พอที่จะให้เรือเทียบท่าได้ และสภาพภูมิศาสตร์ของคลองท่ีคดเค้ียวจากทะเล เข้ามายังหมู่บ้านซึ่งเป็นแผ่นดิน ในภาษาฝร่ังเศสใช้ว่า “แตร์แฟม” ต่อมาภายหลัง ได้มีการเพี้ยนเสียงมาเป็น “ท่าแครง” ในภาษาไทย เมืองภูเก็ตในฉบับน้ีคือเมือง ถลางท้ังหมด ส่วนเมืองโตยอง (Teyon) สันนิษฐานว่าคือ “บ้านตลาดน่ังยอง” ต�ำบลฉลองในปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนมีคลองใหญ่และลึกเช่นเดียวกับบ้านท่าแครง นอกจากน้ียังมีหลักฐานหนังสือออกหลวงพิพิธภักดีสมบัติ เจ้ากรมพระคลังสมัย รัชกาลที่ ๑ มีไปถึงพระยาราชกปิตัน ความตอนหน่ึงว่า “กบิตันมิศกัส ให้กับกบิตันวีราเสน เอาสลุบข้ึนมารับเอาดีบุก ณ ท่าแกร่ง พอขุนท่าพรมขึ้นไปทัน ข้าฯ จึงให้ดีบุกแก่กบิตันวีราเสน แลดีบุกยังค้างอยู่ ณ ท่าแกร่ง ๓๐ ภารา” ท่าแกร่งในท่ีน้ี หมายถึง ท่าแครง ชาวต่างชาติเขียนเป็น แตร์แฟม หรือ ทาร์แฟรม ในช่วงเวลาต่อมาบริเวณดังกล่าวได้มีการท�ำเหมืองแร่ดีบุกบางส่วน ท�ำให้ สภาพพื้นท่ีเปล่ียนไป คลองสายใหญ่ได้แคบลงและตื้นเขิน มีขุมน�้ำท่ีเกิดจากการ ท�ำเหมืองแร่ เป็นท่ีต้ังของส�ำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัดภูเก็ต ก่อนที่จะมีการ จัดสรรพื้นที่เป็นสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติรัชกาลท่ี ๙ หรือสวนหลวง และ เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการแห่งใหม่ของจังหวัดภูเก็ต ขณะเดียวกันยังเป็นที่ตั้งของ คริสตจักรภูเก็ต ท่าแครง และโรงเรียน อบจ.บ้านตลาดเหนือ (วันครู ๒๕๐๒) 131

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น สวนสาธาณะเฉลิมพระเกียรติรัชกาลท่ี ๙ หรือสวนหลวง ศูนย์ราชการจังหวัดภูเก็ตแห่งใหม่ โรงเรียน อบจ.บ้านตลาดเหนือ (วันครู ๒๕๐๒) คริสตจักรภูเก็ต ท่าแครง ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธิ ชิณการณ์ อายุ ๘๑ ปี, Phuket Data.Net, ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๖๘ ถนนดีบุก ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต วันท่ีให้ข้อมูล วันท่ี ๒๘ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๘ นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 132

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดเหนือ ๘ ชื่อบ้าน - นามเมือง : เขารัง สถานที่ตั้ง เขารัง ต้ังอยู่ในท้องที่ต�ำบลตลาดเหนือ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มี อาณาเขตดังน้ี ทิศเหนือ จด ท่ีราบริมคลองบางใหญ่ ทิศใต้ จด ท่ีราบริมถนนกระบี่และถนนวิชิตสงคราม ทิศตะวันออก จด ท่ีราบริมถนนเยาวราช ทิศตะวันตก จด ที่ราบริมถนนเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๙ หรือถนนเล่ียงเมือง ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวข้อง เขารัง เป็นภูเขาหน่ึงในสองภูเขาที่ตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองภูเก็ต ชื่อ เขารัง มาจากค�ำว่า เขาหลัง ในที่นี้หมายถึงภูเขาท่ีตั้งอยู่หลังเมืองภูเก็ต ซ่ึงหน้าเมืองภูเก็ต คือบริเวณท่ีต้ังของศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เขารังยังประกอบด้วยภูเขาสองยอด คือ เขารังนอก และเขารังใน เขารังนอก มีการตัดถนนคอซิมบี้ จากเชิงเขาทางแยกถนนแม่หลวนกับ ถนนปฏิพัทธ์ิ ขึ้นไปตามแนวรอบเขาไปยังยอดบนสุด บนยอดเขามีการสร้าง สวนสาธารณะเขารัง และเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบ๊ี ณ ระนอง) อดีตสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต และเนินเขาทางด้านทิศ ตะวันออกเฉียงใต้เป็นสุสานจีนฮกเกี้ยน 133

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ สถานที่ส�ำคัญ เช่น อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) อดีต สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต สวนสาธารณะเขารัง สุสานจีนฮกเก้ียนเขารัง ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ที่อยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 134

135

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ 136

อ�ำเภอเมือง ต�ำบลวิชิต ๑ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ต�ำบลวิชิต สถานท่ีต้ัง ต�ำบลวิชิตต้ังอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะภูเก็ต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด เทศบาลต�ำบลรัษฎา เทศบาลเมืองกะทู้ ทิศใต้ จด เทศบาลต�ำบลฉลอง ทะเลอันดามัน ทิศตะวันออก จด เทศบาลนครภูเก็ต ทิศตะวันตก จด เทศบาลเมืองกะทู้ ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ท่ีเกี่ยวข้อง ต�ำบลวิชิต เกิดจากการรวมพื้นท่ีบางส่วนของ ๒ ต�ำบลเข้าด้วยกันในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ตามการแบ่งเขตการปกครองใหม่ของกระทรวงมหาดไทย คือ พื้นท่ีต�ำบล อ่าวมะขาม (เว้นแต่หมู่ท่ี ๗ และ ๘ ซึ่งไปรวมกับต�ำบลฉลอง) กับ ต�ำบลระแงง (เว้นแต่หมู่ที่ ๑ และ ๒ บางส่วน ซึ่งไปรวมกับต�ำบลตลาดเหนือ) และจัดตั้งขึ้น เป็นต�ำบลใหม่เรียกว่า “ต�ำบลวิชิต” เพ่ือเป็นอนุสรณ์แด่ พระยาวิชิตสงคราม (ทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) จางวางเมืองภูเก็ต และผู้ว่าราชการเมืองภูเก็ต ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เม่ือวันท่ี ๒๑ ธันวาคม ๒๔๘๕ ในอดีตพ้ืนที่ส่วนใหญ่เป็นพ้ืนที่ท�ำเหมืองแร่ (พื้นท่ีหมู่ที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ ในปัจจุบัน) บางส่วนเป็นพื้นที่เพาะปลูกและเล้ียงสัตว์ โดยหลังจากท่ีอุตสาหกรรม เหมืองยุติไป พ้ืนท่ีดังกล่าวก็ปรากฏเป็นเนินทรายท่ีชาวบ้านเรียกว่า “โหนข้ีทราย” และแหล่งน้�ำที่ชาวบ้านเรียกว่า “ขุมเหมือง” ซ่ึงต่อมาปรับเปล่ียนเป็นพื้นท่ีเพาะปลูก ยางพารา สับปะรด มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ มันส�ำปะหลังและพืชหมุนเวียน 137

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ บางส่วน หลังจากที่ธุรกิจเหมืองแร่เริ่มซบเซาและเร่ิมปิดตัวลง ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ พ้ืนที่นี้เร่ิมขยายเป็นชุมชนแหล่งที่อยู่อาศัย หมู่บ้านจัดสรรเรื่อยมา ต�ำบลวิชิตมีพ้ืนที่ ๕๖ ตารางกิโลเมตร ซ่ึงแบ่งออกเป็น ๒๒ ชุมชน จาก ๙ หมู่บ้าน มีจ�ำนวนทั้งสิ้น ๓๐,๓๐๓ ครัวเรือน ประชากรรวม ๔๗,๓๓๖ คน (ตาม ทะเบียนราษฎร์ ณ เดือนธันวาคม ๒๕๕๙) พ้ืนท่ีส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ระหว่าง ทะเลและภูเขา โดยพื้นท่ีติดทะเลท�ำการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ประมงขนาดเล็ก และการ ท่องเที่ยว พื้นท่ีเชิงเขาบางส่วนท�ำเกษตรกรรมและอยู่อาศัย และบริเวณท่ีราบ ทั้งหมดเป็นชุมชนหนาแน่น มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพ ที่เก่ียวข้องกับการค้า การท่องเท่ียว ภาษาที่ใช้ ภาษาถ่ินใต้ ภาษาไทยกลาง และภาษาถ่ินภูเก็ต ตามล�ำดับ ศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ ๗๐ นับถือศาสนาพุทธ รองลงมา ร้อยละ ๒๘ นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ ๒ นับถือศาสนาอื่น เช่น คริสต์ พราหมณ์ ฮินดู และซิกข์ สถานที่ส�ำคัญ เช่น บ้านนาบอนใต้ (หมู่ที่ ๑) ชุมชนเมืองทองสุขนิรันดร์ (หมู่ที่ ๑) คลองเกาะผี (หมู่ที่ ๑) ชุมชนธนิตธุรกิจรวมสิน (หมู่ท่ี ๑) บ้านมะขามคู่ (หมู่ที่ ๑) ชุมชนหมู่บ้าน สะพานหิน (หมู่ที่ ๑) บ้านแหลมชั่น (หมู่ท่ี ๒) บ้านตีนเขา (หมู่ท่ี ๓) บ้านระแงง (หมู่ท่ี ๔) บ้านชิดเช่ียว (หมู่ท่ี ๕) บ้านบ่อแร่ (หมู่ที่ ๖) บ้านอ่าวมะขาม (หมู่ท่ี ๗) บ้านอ่าวยน (หมู่ที่ ๘) บ้านแหลมพันวา (หมู่ท่ี ๘) บ้านท่าแครงบน (หมู่ที่ ๙) บุคคลส�ำคัญท่ีเกี่ยวข้อง พระยาวิชิตสงคราม (ทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) 138

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต ชื่อผู้ให้ข้อมูล ราชกิจจานุเบกษา เล่มท่ี ๖๐ ตอน ๔ (๕ มกราคม ๒๔๘๖) แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.๒๕๕๖ - ๒๕๕๘) เทศบาลต�ำบลวิชิต http://www.phuket-vichit.go.th/content/information/1 http://ppcold.blogspot.com/2016/06/blog-post.html แผนพัฒนาต�ำบล สภาองค์กรชุมชนต�ำบลวิชิต ปี พ.ศ.๒๕๖๐ มติที่ประชุมรับรองรายงานสภาวัฒนธรรมต�ำบลวิชิต ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๙ หนังสือท่ีระลึก ๘๔ ปี คุณแม่จวง (ณ ถลาง) รัตนดิลก ณ ภูเก็ต กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พร้ินติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจ�ำกัด (มหาชน), ๒๕๓๖ ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นางวารุณี งานทัศนานุกูล วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๑๐ เดือนมกราคม ๒๕๖๐ 139

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๒ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านนาบอนใต้ สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต หมู่ที่ ๑ ฝั่งตะวันตกติดแนวเขตถนนเจ้าฟ้าตะวันออก ส่วนฝั่งตะวันออก เดิมแนวเขตติดต่อกับโรงเรียนอาชีวะ บริษัททุ่งคาฮาเบอร์ ดูได้จากแนวคลอง เกาะผี ปัจจุบันเป็นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต สะพานหิน สถานีต�ำรวจน�้ำ ส�ำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศาลเจ้า ส.ทร.๓ วิทยาลัย สารพัดช่าง โรงเผาขยะ บ่อบ�ำบัดน้�ำเสีย ทิศเหนือ จด เทศบาลนครภูเก็ต บ้านแหลมช่ัน หมู่ที่ ๒ ทิศใต้ จด บ้านบ่อแร่ หมู่ที่ ๖ และบ้านท่าแครงบน หมู่ท่ี ๙ ทิศตะวันออก จด อ่าวตังโหลนและเทศบาลนครภูเก็ต ทิศตะวันตก จด บ้านนาบอน เทศบาลต�ำบลฉลอง อ่าวฉลอง ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เก่ียวข้อง บ้านนาบอนใต้ หมู่ท่ี ๑ บ้านนาบอนใต้ ประกอบด้วยชุมชนนาบอนใต้ ชุมชนเมืองทองสุขนิรันดร์ ชุมชนคลองเกาะผี ชุมชนธนิตธุรกิจรวมสิน ชุมชน มะขามคู่ ชุมชนหมู่บ้านสะพานหิน และชุมชนภูเก็ตวิลล่า ๓ ในพื้นที่มีป่าช้าจีน เราเรียกว่า เขาหล่ม เนื้อท่ีประมาณ ๖๙ ไร่ ปัจจุบัน ได้แบ่งเนื้อที่ท�ำประโยชน์อื่นๆ ไปบ้างแล้ว เช่น สวนสุขภาพ สถานีอนามัย โรง เก็บรถเทศบาลต�ำบลวิชิต 140

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต มีวัดเก่าแก่ ชื่อ วัดต้นเนียง (หรือวัดต้นแซะ) ยังมีหลักฐานเป็นท่ีเผาศพ ปัจจุบันย้ายวัดต้นเนียงมาตั้งวัดใหม่โดยหลวงพ่อหีด และตั้งช่ือใหม่ว่า วัดเทพ นิมิตร (หรือวัดแหลมชั่น) มีโรงเรียนในวัด ซึ่งแยกมาตั้งใหม่แต่ยังใช้ช่ือเดิม (โรงเรียนวัดเทพนิมิตร) มีคลองประวัติศาสตร์ ชื่อว่า คลองสะพานฉ่ายตึ้ง ซึ่งน�้ำจะไหลจากเขา นาคเกิดมารวมกันเป็นสายใหญ่ ไปจรดคลองมุดง ซึ่งเป็นแหล่งหากินของชาวบ้าน เล่ากันมาว่าคลองน้ีใหญ่และลึกมาก มีเรือส�ำเภาของจีนบรรทุกสินค้ามาลง มี ศาลเจ้าเป็นที่พ�ำนักและนัดพบของคนจีนสมัยน้ัน เด๋ียวนี้ก็ยังมีหลักฐานอยู่ (คือ คลองน�้ำ) เลยไปเรียกว่า นาบอน ซ่ึงคนจีนได้ปลูกบอนไว้เป็นจ�ำนวนมาก ท้ังเพื่อ รับประทานและเป็นอาหารหมู จึงเรียกติดปากกันมาจนกระท่ังปัจจุบัน พื้นท่ีน้ีติด แนวเขตบ้านนาบอน ต�ำบลฉลอง จึงเรียกบ้านนาบอนฝั่งวิชิตว่า บ้านนาบอนใต้ ตระกูลใหญ่มีหลายตระกูล เช่น แซ่ต๋าน เป็นต้น หมู่บ้านสะพานหินและชุมชนคลองเกาะผี (จากการประชาคมหมู่บ้านปี ๒๕๕๕) เดิมพื้นที่บริเวณคลองเกาะผีเป็นท่ีอยู่อาศัยของผู้ป่วยโรคเรื้อนท่ีทางการ น�ำมาอยู่ด้วยกัน เนื่องจากสมัยน้ันยังไม่มียารักษา บ้านมีลักษณะเป็นเรือนไทย ทรงสูง ฝาไม้ไผ่สาน มุงด้วยหลังคาจาก มีบ่อน�้ำ ๑ บ่อ ปลูกมะพร้าวไว้ ๗ ต้น ด้านหลังหมู่บ้านเป็นท่ีเผาศพ ต่อมามีคนย้ายถ่ินมาจับจองอาศัยบริเวณน้ีเน่ืองจากเป็นป่าชายเลน เสื่อมโทรม นายซุ่นก้อง ซึ่งมาจับจองได้น�ำเอกสารไปออกโฉนดแต่ส�ำนักงานที่ดิน จังหวัดภูเก็ตไม่ยอมออกให้ นายซุ่นก้องจึงน�ำเอกสารไปขอออกโฉนดท่ีกรุงเทพฯ ปี พ.ศ.๒๕๒๘ นายเหน่งมาซ้ือที่ดินน้ีต่อจากนายซุ่นก้อง และสร้างเป็น หมู่บ้านขาย ชื่อหมู่บ้านหยี่เต้ง ในราคาหลังละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท และเปล่ียนช่ือใหม่ เป็นหมู่บ้านสะพานหินเพราะอยู่ใกล้สะพานหิน สะพานหิน เดิมเป็นท่าเรือส�ำคัญที่เรือขนส่งสินค้า และเรือโดยสารใช้เป็น จุดเทียบท่า ถือเป็นท่าเรือใหญ่ของการเดินทางในเขตทะเลอันดามัน เชื่อกันว่าท่าเรือ สะพานหินยังเป็นท่าเทียบเรือที่ตัวแทนชาวภูเก็ตซึ่งเดินทางกลับจากประเทศจีน 141

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ น�ำควันธูป (เหี่ยวเอี้ยน) มาเพื่อประกอบพิธีกินผัก จนกลายเป็นประเพณีส�ำคัญของ ชาวภูเก็ตในปัจจุบัน สถานที่ส�ำคัญ เช่น เขาหล่มหรือเขาล้อม วัดต้นเนียงหรือวัดเทพนิมิตร สะพานฉ่ายตึ้ง สวน ศรีภูวนาถ ชุมชนเมืองทองสุขนิรันดร์ คลองเกาะผี ชุมชนธนิตธุรกิจรวมสิน บ้านมะขามคู่ หมู่บ้านสะพานหิน สะพานหิน ถนนเจ้าฟ้า ถนนศักดิเดชน์ บุคคลส�ำคัญท่ีเกี่ยวข้อง หลวงพ่อหีด ช่ือผู้ให้ข้อมูล แผนพัฒนาต�ำบลวิชิต ปี ๒๕๕๙ โดยสภาองค์กรชุมชนต�ำบลวิชิต http://ppcold.blogspot.com/2016/06/blog-post.html แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.๒๕๕๖ - ๒๕๕๘) เทศบาลต�ำบลวิชิต http://www.phuket-vichit.go.th/content/information/1 ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นางวารุณี งานทัศนานุกูล วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๐ เดือนมกราคม ๒๕๖๐ 142

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต ๓ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านแหลมชั่น สถานท่ีต้ัง หมู่ที่ ๒ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งอยู่ตรงกลางถนนเจ้าฟ้า ตะวันตกและตะวันออก ทิศเหนือ จด เทศบาลเมืองกะทู้ ทิศใต้ จด บ้านนาบอนใต้ หมู่ที่ ๑ ทิศตะวันออก จด เทศบาลนครภูเก็ต ทิศตะวันตก จด บ้านตีนเขา หมู่ที่ ๓ ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ที่เก่ียวข้อง ที่มาของชื่อ แหลมชั่น คือในช่วงท่ีการท�ำเหมืองแร่เฟื่องฟู บริเวณน้ีมีการ ท�ำเหมืองแร่และมีคลองลึกเข้ามา มีลักษณะเป็นช้ันๆ จึงท�ำให้เรียกบริเวณ ดังกล่าวว่า แหลมชั้น และเพ้ียนเป็น แหลมช่ัน ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อระหว่างคลอง มุดงและหลังหมู่บ้านวิลล่า ๓ ถึงชุมชนมะขามคู่ในปัจจุบัน ปัจจุบันลักษณะทางภูมิศาสตร์เปลี่ยนไปเน่ืองจากการท�ำเหมืองแร่ ต่อมา มีการพัฒนาพื้นท่ีเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และเกิดเป็นชุมชนที่หนาแน่นมากขึ้น บริเวณพ้ืนที่หลังสวนหลวง ร.๙ ซ่ึงเดิมเป็นท่ีเรือขุดแร่เหมืองเก่า ของบริษัทไทย ประเสริฐ มีสวนมะพร้าว สวนยางพารา นาข้าว ส่วนพ้ืนที่ท่ีมีถนนเทพอนุสรณ์ก้ันกลาง มีศาลเจ้าถี่ก่งต๋ัว เป็นศาลเจ้า เก่าแก่อายุร้อยกว่าปี เป็นท่ีเคารพของชาวบ้านจนกระท่ังเดี๋ยวนี้ ประวัติเดิม พ่อ ของอดีตก�ำนัน (ก�ำนันสุชล เทพบุตร) ได้น�ำรูปถ่ีก่งต๋ัวและรูปเทพเจ้ากวนอูมาจาก เมืองจีน ถี่ก่งตั๋วเป็นชื่อของเทวดาองค์หนึ่ง ปัจจุบันรูปเทพเจ้ากวนอูประทับอยู่ท่ี ศาลเจ้านาบอน (ต�ำบลฉลอง) ส่วนถี่ก่งต๋ัวตั้งอยู่ที่ศาลเจ้าถ่ีก่งต๋ัว 143

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ศาลเจ้าถ่ีก่งต๋ัว ศาลเจ้าถ่ีก่งตั๋วน้ี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๔ เป็นศาลเจ้าท่ีสถิตของเทพเจ้า หยกอ๋องส่องเต่ หรือ ทีกง ท่ีมีแห่งเดียวในภูเก็ต เป็นที่เคารพของชาวบ้านไม่เส่ือม คลาย มีการจัดงานตรุษจีนทุกๆ ปี ในวันขึ้น ๙ ค่�ำ เดือน ๓ ฝั่งตะวันตก เป็นสวนยางพารา มะพร้าว และเหมืองแร่ มีศาลเจ้าเรียกว่า จ้อสู่ก้ง (หรือศาลเจ้านาคา) เก่าแก่ร้อยกว่าปีเช่นกัน อาชีพสมัยก่อนของคนพื้นที่ ผู้ชายท�ำงานเหมืองแร่และเกษตร ผู้หญิง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพร่อนแร่ ชาวบ้านสมัยก่อนมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตลอดมา เดี๋ยวนี้เป็นบ้านจัดสรรเกือบหมดแล้ว ตระกูลท่ีใหญ่ท่ีสุด คือ แซ่หลอ ชาวบ้านกว่าร้อยละ ๙๐ นับถือพุทธศาสนา สถานท่ีส�ำคัญ เช่น ศาลเจ้าถ่ีก่งต๋ัว 144

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธ์ิ ศิริวัฒนวิจิตร อดีตสารวัตรก�ำนันต�ำบลวิชิต อายุ ๗๑ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล หมู่ที่ ๒ ซอยเทพอนุสรณ์ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายประเสริฐ งานทัศนานุกูล อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ท่ี ๓ อายุ ๗๒ ปี ที่อยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๙/๒๕ หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.๒๕๕๖ - ๒๕๕๘) เทศบาลต�ำบลวิชิต http://www.phuket-vichit.go.th/content/information/1 ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นางวารุณี งานทัศนานุกูล วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๐ เดือนมกราคม ๒๕๖๐ 145

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๔ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านตีนเขา สถานที่ตั้ง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด เทศบาลเมืองกะทู้ เทือกเขานาคเกิด ทิศใต้ จด บ้านนาบอนใต้ หมู่ท่ี ๑ ทิศตะวันออก จด บ้านแหลมชั่น หมู่ที่ ๒ ทิศตะวันตก จด บ้านนาบอน หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลฉลลอง ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวข้อง หมู่ท่ี ๓ เรียกว่า บ้านตีนเขา เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นภูเขา ล้อมรอบ มีภูเขาท่ีส�ำคัญคือ เขานาคเกิด ซึ่งมีความเช่ือในสมัยโบราณว่า ณ ยอดเขา ดังกล่าวเป็นท่ีอาศัยของงูยักษ์ที่คอยพิทักษ์รักษาต้นน้�ำ ถนนสายส�ำคัญของหมู่บ้าน คือ ถนนขวาง ซึ่งเป็นถนนที่เช่ือมระหว่างถนนเจ้าฟ้าตะวันตกกับถนนเจ้าฟ้า ตะวันออก ลักษณะเป็นถนนเส้นตรง ในอดีตเป็นเส้นทางเกวียนเล็กๆ ท่ีใช้คมนาคม เม่ือเจ้าคุณรัษฎาหรือคอซิมบี๊เดินทางผ่านมา ได้เกณฑ์ไพร่พลและชาวบ้านมา ช่วยกันท�ำเป็นถนนให้สัญจรได้สะดวกมากขึ้น พ้ืนที่ด้านตะวันออกส่วนใหญ่ เคยเป็นเหมืองแร่ดีบุก ปัจจุบันหลังธุรกิจเหมืองแร่ซบเซาสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ ของผู้คนเปลี่ยนไป มีลักษณะเป็นชุมชนเมืองมากข้ึน พ้ืนที่ท่ีเคยเป็นเหมืองแร่ ถูกแปรสภาพเป็นหมู่บ้านจัดสรร ได้แก่ หมู่บ้านธินวุฒิ ๒ ธินวุฒิ ๓ ติวราธานี จอมทอง - มณีคราม ปรางทอง หมู่บ้านเจ้าฟ้าการ์เด้น หมู่บ้านทรงคุณ และภูเก็ต วิลล่าแคลิฟอร์เนียร์ ประชาชนมีอาชีพหลากหลาย อาศัยอยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข ชาวบ้านกว่า ร้อยละ ๙๐ นับถือพุทธศาสนา รองลงมาคือศาสนาอิสลาม และคริสต์ตามล�ำดับ 146

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต มีร้านค้าของที่ระลึกที่ส�ำคัญของจังหวัด เช่น ผ้าบาติก เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ร้านจิวเวลรี่ ไข่มุก โรงเรียน อบจ.บ้านนาบอน เปิดสอนครั้งแรกชั้นประถมศึกษาปีท่ี ๑ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๖๙ ชื่อโรงเรียนประชาบาล ต�ำบลระแงง ๑ (บ้านนาบอน) ที่ตั้งของโรงเรียน เป็นท่ีดินของนายสลี เจ๊ะตี ได้อุทิศให้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗ จ�ำนวน ๑๑ ไร่ ๑ งาน ๔๐ ตารางวา เดิมเป็นโรงเรียนจีน เมื่อทางกระทรวงมหาดไทยมีการเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง โดยยุบต�ำบลอ่าวมะขามไปรวมกับต�ำบลระแงง เป็นต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต จึงได้เปล่ียนช่ือเป็น โรงเรียนประชาบาล ต�ำบลวิชิต ๑ (หลักฐานจาก ใบสุทธิ ด.ญ.สุรีย์ แซ่ง่าน พ.ศ.๒๔๙๕) ต่อมา เป็นโรงเรียนบ้านนาบอน และเข้าเป็น โรงเรียนในสังกัด อบจ.ภูเก็ต เมื่อวันท่ี ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นโรงเรียน อบจ.บ้านนาบอน เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล ๑ ถึง ประถมศึกษาปีท่ี ๖ สถานที่ส�ำคัญ เช่น เขานาคเกิด โรงเรียน อบจ.บ้านนาบอน ถนนเจ้าฟ้า ถนนขวาง โหนขี้ทราย เหมืองเจ้าฟ้า บุคคลส�ำคัญท่ีเกี่ยวข้อง นายสลี เจ๊ะตี พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายประเสริฐ งานทัศนานุกูล อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ท่ี ๓ อายุ ๗๒ ปี ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๙/๒๕ หมู่ที่ ๓ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายอุดม นกศรีแก้ว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ท่ี ๓ อายุ ๕๕ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๑๒/๒๔๕ หมู่ที่ ๓ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นางวารุณี งานทัศนานุกูล วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๐ เดือนมกราคม ๒๕๖๐ 147

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๕ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านระแงง สถานที่ตั้ง หมู่ท่ี ๔ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด เทศบาลเมืองกะทู้ บ้านชิดเชี่ยว หมู่ท่ี ๕ ทิศใต้ จด บ้านแหลมชั่น หมู่ท่ี ๒ ทิศตะวันออก จด ชุมชนซีเต็กค้า เทศบาลนครภูเก็ต ทิศตะวันตก จด เขานาคเกิด บ้านแหลมช่ัน หมู่ที่ ๒ ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง บ้านระแงง ต้ังอยู่บนถนนเจ้าฟ้าตะวันตก อยู่ระหว่างบ้านชิดเชี่ยว หมู่ท่ี ๕ กับบ้านแหลมช่ัน หมู่ที่ ๒ อีกด้านหนึ่งติดกับเทศบาลนครภูเก็ต ส่วนอีกด้านติดกับ ภูเขา เรียกว่า “เขาค้อ” (เขานาคเกิดในปัจจุบัน) ส่วนกลางของหมู่บ้านเรียกว่า นาคา เพราะมีหญ้าคาเยอะมาก มีการท�ำเหมืองแร่เกือบเต็มพ้ืนท่ี และมีไฟฟ้าใช้ในการ ท�ำเหมืองเป็นแห่งแรกในจังหวัดภูเก็ต ช่ือเดิมเรียกว่า เหมืองแร่จ้ินหงวน (เหมือง นาคา) ใหญ่ระดับประเทศ เม่ือคร้ังรัชกาลท่ี ๗ เสด็จประพาสจังหวัดภูเก็ต (เมือง ทุ่งคา) ได้เสด็จทอดพระเนตรเหมืองแร่แห่งนี้ด้วย บริเวณหน้าเหมืองเจ้าฟ้ามีหนัง กลางแปลง (หนังขายยา) มาฉายทุกๆ วันอาทิตย์และช่วงไหว้ครูของผู้ประทับทรง จะมีมหรสพแสดงเป็นแรมเดือน ท�ำให้ได้ยินเสียงอึกทึกครึกโครมระแงงเซ็งแซ่ จึงเรียกหมู่บ้านน้ีว่า “บ้านระแงง” เล่าต่อกันมาว่า เดิมมีสายน�้ำ ๕ สายไหลมารวมกันเป็นคลองใหญ่ บริเวณ โรงเรียนวิชิตสงคราม เรียกว่า คลองต้นโหนด ปัจจุบันเหลือเล็กแล้ว น้�ำทั้งหมด จะไหลลงสวนหลวง ร.๙ 148

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต บ้านระแงง มีสถานศึกษา ๑ แห่ง เดิมอยู่ข้างสนามสุระกุล มีวัด ๑ แห่ง เรียกว่า วัดส�ำนัก (วัดนาคาราม) ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพท�ำเหมืองแร่ ท�ำสวนยาง เล้ียงสัตว์ ส่วนใหญ่มีเช้ือสายจีน ใช้ภาษาถ่ินภูเก็ต มีตระกูลใหญ่เข้ามาอยู่ตระกูล แรก คือ ตระกูล แซ่อ๋อง มีชาวฮินดูเข้ามาอาศัยอยู่ ๒ กลุ่ม ประกอบอาชีพ เล้ียงวัว เลี้ยงแพะเพื่อขายนม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะด�ำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ จังหวัด ภูเก็ต คร้ังที่ ๒ เมื่อวันท่ี ๒๔ - ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ ในวโรกาสนั้น พระองค์ ทรงพระราชทานนามถนนในจังหวัดภูเก็ต จ�ำนวน ๓ สาย คือ ถนนเทพกระษัตรี เม่ือวันที่ ๒๗ เมษายน ถนนภูเก็ตและถนนวิชิตสงคราม ในวันท่ี ๒๘ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๘ เหมืองเจ้าฟ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลท่ี ๙ ได้เสด็จทอดพระเนตรกิจการเหมืองเจ้าฟ้า ในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๐๒ และในการ เสด็จฯ คร้ังที่ ๓ เม่ือวันอังคารที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๑ สมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตามเสด็จ ตอนบ่ายเสด็จฯ เย่ียมโรงถลุงแร่ดีบุก ของบริษัทไทยซาร์โก้ พระราชกรณียกิจดังกล่าวน้ีได้ก่อให้เกิดขวัญกําลังใจแก่ ผู้ประกอบการและราษฎรที่เป็นกลุ่มแรงงานในการทําเหมืองแร่ดีบุก เพื่อเป็นสินค้า หลักของจังหวัดที่สร้างเศรษฐกิจในพื้นท่ีจังหวัดและประเทศไทยโดยส่วนรวม เหมืองเจ้าฟ้าตั้งอยู่ที่ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต แต่เดิมเป็น เหมืองปล่องบ้าง เหมืองหาบบ้าง เริ่มเปิดการท�ำเหมืองประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๐ เน่ืองจากมีประทานบัตรในบริเวณใกล้เคียงซ่ึงบางแปลงเปิดการท�ำเหมืองด้วยวิธี เหมืองสูบบ้าง เหมืองฉีดบ้าง และบางแปลงมีความจ�ำเป็นท่ีจะต้องร่วมแผนผัง โครงการเดียวกันจึงต้องขออนุญาตจากทรัพยากรธรณีจังหวัด เปล่ียนวิธีการท�ำ เหมืองเป็นเหมืองสูบ เหมืองฉีดแบบเดิมเกือบทั้งหมด เนื่องจากหลวงอนุภาษ เป็นผู้ที่ชอบหาความรู้เพ่ิมเติมอยู่ตลอดเวลา ท�ำให้ทราบว่าขณะนั้นทางมาเลเซีย เร่ิมท�ำเหมืองสูบด้วยวิธีใหม่แล้วในปี พ.ศ.๒๔๗๐ จึงหวังท่ีจะให้การท�ำเหมือง ในเมืองไทยเจริญทัดเทียมเพื่อนบ้าน ได้ตัดสินใจเดินทางไปดูกิจการเหมืองสูบ ณ 149

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ประเทศมาเลเซีย แล้วน�ำมาปรับใช้โดยเริ่มเปิดการท�ำเหมืองสูบในปี พ.ศ.๒๔๗๐ นับเป็นคนไทยคนแรกที่ริเริ่มเหมืองสูบสมัยใหม่ข้ึนในประเทศไทย แต่ยังคงใช้ เครื่องยนต์ดีเซลผลิตกระแสไฟฟ้าโดยตรง ซ่ึงไม่สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ซึ่ง เป็นผลที่ยังไม่น่าพอใจ จึงได้พยายามหาทางใหม่อีกคร้ังด้วยการซื้อเคร่ืองก�ำเนิด ไฟฟ้าที่ใช้กับเรือมาทดลองผลิตกระแสไฟฟ้าแทนเคร่ืองยนต์ ก็สามารถลดต้นทุน การผลิตลงได้ นับว่าประสบความส�ำเร็จถึงสามประการ คือสามารถเปิดการท�ำ เหมืองสูบ ใช้เคร่ืองก�ำเนิดไฟฟ้ามาผลิตไฟฟ้า พร้อมท้ังลดค่าใช้จ่ายลงได้ ท่ีมาของค�ำว่า “เหมืองเจ้าฟ้า” เม่ือสามารถเปิดท�ำการเหมืองได้ผลเป็นที่ พอใจ ขณะน้ันสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงเสด็จ ภูเก็ต และเสด็จมาทอดพระเนตรกิจการเหมืองท่ีต�ำบลวิชิต เมื่อวันท่ี ๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๓ โรงไฟฟ้าก็ท�ำพิธีเปิดจ่ายกระแสไฟฟ้าส�ำหรับใช้ในการท�ำเหมืองสูบ แทนเครื่องยนต์ โดยทรงเป็นองค์ประธานในพิธี พร้อมท้ังทรงลงลายพระหัตถ์ พระราชทานชื่อเหมืองสูบแห่งน้ีว่า “เหมืองเจ้าฟ้า” ให้ไว้เป็นท่ีระลึก 150

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต ต่อมาในเดือนมีนาคม ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จทอดพระเนตรกิจการเหมืองเจ้าฟ้า และ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีได้ทรง ทอดพระเนตรกิจการด้วยความสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหาท่ีสุดมิได้แก่ตระกูลหงษ์หยก ปัจจุบันรัฐบาลไม่อนุมัติให้มีการท�ำเหมืองแร่อีกต่อไป แต่มีนโยบายให้มี การท่องเท่ียวมาแทน ประกอบกับราคาแร่ตกต่�ำมาก ไม่สามารถด�ำเนินการให้ คุ้มทุนได้ บริษัทจึงต้องปิดการท�ำเหมืองแร่ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น ถนนวิชิตสงคราม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรง ด�ำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จประพาสหัวเมือง ปักษ์ใต้ เม่ือ พ.ศ.๒๔๕๒ ในวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๒ ได้เสด็จพระราชด�ำเนิน จากท่ีประทับต�ำบลสามกอง ผ่านตัวเมืองภูเก็ตถึงหัวถนนทางที่จะไปอ�ำเภอกะทู้ เจ้าหน้าท่ีได้จัดปะร�ำพิธีไว้ที่หัวถนน ได้อาราธนาท่านเจ้าคุณพระอริยกระวี เจ้าคณะ มณฑลภูเก็ตเป็นประธาน หม่อมเจ้าประดิพัทธ์ เกษมศรี ผู้ว่าฯ ในขณะนั้น ได้กราบ บังคมทูลถวายรายงานการสร้างถนนสายน้ี แล้วกราบบังคมทูลเชิญเสด็จเปิดถนน สายไปอ�ำเภอกะทู้ ทรงมีพระราชด�ำรัสตอบ พระราชทานนามถนนสายนี้ว่า “ถนน วิชิตสงคราม” ตามนามพระยาวิชิตสงคราม (ทัต) ผู้ได้พัฒนาบุกเบิกเมืองภูเก็ตและ กะทู้ให้เจริญรุ่งเรือง ทรงชักผ้าคลุมป้ายนามถนน พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา ปี่พาทย์ประโคม แล้วทรงพระราชด�ำเนินไปตัดแพรแถบที่ขึงขวางถนน เสด็จขึ้น ทรงรถยนต์ขับไปตามถนนวิชิตสงครามผ่านวัดเก็ตโฮ่ ตรงสามแยกเล้ียวซ้ายไป บ้านทุ่งทอง ผ่านทางเข้าน�้ำตกจนถึงตลาดกะทู้ แล้วมาบรรจบที่สามแยกวัดเก็ตโฮ่ ระยะทางประมาณ ๒๐๐ เส้น โรงเรียนวิชิตสงคราม โรงเรียนวิชิตสงครามตั้งอยู่ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ในเขตเทศบาลต�ำบลวิชิต ใกล้ส่ีแยกทางไปอ�ำเภอกะทู้ เดิมช่ือ โรงเรียนประชาบาล ต�ำบลวิชิต (ระแงง) ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ สอนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ ๑ ถึงประถม 151


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook