ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ทอดพระเนตรบริเวณชายหาดสุรินทร์ 302
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลเชิงทะเล หาดสุรินทร์ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น โรงเรียนบ้านบางเทา วัดอนามัยเกษม (วัดบางเทา) หาดสุรินทร์ ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธ์ิ สืบสิน อายุ ๙๒ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๖๓ ซอยควนกลาง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลเชิงทะเล อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๒๐ เดือนมกราคม ๒๕๖๐ 303
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๔ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านป่าสัก สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๔ ต�ำบลเชิงทะเล อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ท่ี ๔ บ้านดอน ต�ำบลเทพกระษัตรี ทิศใต้ จด หมู่ที่ ๑ บ้านเชิงทะเล ทิศตะวันออก จด หมู่ที่ ๔ บ้านบางโจ ต�ำบลศรีสุนทร ทิศตะวันตก จด หมู่ที่ ๑ บ้านโคกกรูด (หมู่บ้านย่อยในบ้านเชิงทะเล) ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ที่เก่ียวข้อง หมื่นฤกษ์ วาจาสัตย์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านแห่งนี้ ได้ตอบ ค�ำถามของผู้ให้ข้อมูลว่า เหตุท่ีเรียกหมู่บ้านแห่งน้ีว่า บ้านป่าสัก ก็เพราะว่า บริเวณ น้ีเดิมเป็นป่ารก มีต้นสักเมือง หรือสักบ้าน ขึ้นอยู่เป็นจ�ำนวนมาก ต้นสักชนิดนี้เป็น ไม้ขนาดเล็ก ล�ำต้นเท่าข้อมือ ต่างจากไม้สักขนาดใหญ่ท่ีมีมากทางภาคเหนือ ชาวบ้านส่วนใหญ่เดิมประกอบอาชีพท�ำสวนยางพารา ท�ำนา ปัจจุบันมีอาชีพ เพ่ิมข้ึนคือ อาชีพรับจ้าง ค้าขาย ร้านอาหารและบ้านเช่า ภาษาที่ใช้คือ ภาษาถ่ินภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ สถานที่ส�ำคัญ เช่น ส�ำนักสงฆ์วัดพระขาว (วัดร้างป่าสัก) ศาลหลักเมืองถลางป่าสัก ศาลเจ้า เต้กุ้น (ศาลเจ้าป่าสัก) คริสตจักรเมล็ดพันธ์ุเชิงทะเล โบสถ์คาทอลิก St.Joseph’s Church Phuket เนอสเซอรี่บ้านขจรเกียรติป่าสัก 304
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลเชิงทะเล ศาลหลักเมืองถลางป่าสัก คริสตจักรเมล็ดพันธุ์เชิงทะเล St.Joseph’s Church Phuket ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธิ์ สืบสิน อายุ ๙๒ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๖๓ ซอยควนกลาง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลเชิงทะเล อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๒๐ เดือนมกราคม ๒๕๖๐ 305
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๕ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านบางเทานอก สถานท่ีตั้ง หมู่ท่ี ๕ ต�ำบลเชิงทะเล อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ท่ี ๑ บ้านเชิงทะเล ทิศใต้ จด หมู่ที่ ๒ บ้านบางเทา ทิศตะวันออก จด หมู่ที่ ๑ บ้านเชิงทะเล ทิศตะวันตก จด เทือกเขากมลา ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ท่ีเก่ียวข้อง หมู่บ้านน้ีต้ังช่ือตามหมู่บ้านเดิมที่แยกตัวออกมาจากบ้านบางเทา คนกลุ่ม แรกที่โยกย้ายมาจากบ้านบางเทา โดยการน�ำของนายมานิตย์ พันธุ์ฉลาด ซึ่งต่อมา ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านบางเทานอก ภูมิประเทศบริเวณนี้เป็นท่ีราบ เชิงเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่เดิมประกอบอาชีพท�ำสวน รับจ้าง ปัจจุบันมีอาชีพเพ่ิม ข้ึนคือ อาชีพท�ำร้านอาหาร ค้าขาย และบ้านเช่า ภาษาที่ใช้คือ ภาษาถ่ินภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม สถานท่ีส�ำคัญ เช่น มัสยิดดารุลเอ๊ียะซาน สุสานจีนบ้านเชิงทะเล อบต.เชิงทะเล ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธิ์ สืบสิน อายุ ๙๒ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๖๓ ซอยควนกลาง หมู่ที่ ๓ ต�ำบลเชิงทะเล อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 306
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลเชิงทะเล มัสยิดดารุลเอ๊ียะซาน บ้านบางเทานอก สุสานจีนบ้านเชิงทะเล ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๒๐ เดือนมกราคม ๒๕๖๐ 307
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๖ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านลายัน สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๖ ต�ำบลเชิงทะเล อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ที่ ๔ บ้านในทอน ต�ำบลสาคู ทิศใต้ จด หมู่ที่ ๑ บ้านเชิงทะเล ทิศตะวันออก จด หมู่ที่ ๖ บ้านโคกโตนด ทิศตะวันตก จด ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง หมู่บ้านน้ีเดิมชื่อว่า บ้านรายัน ซึ่งหมายถึงชื่อเคร่ืองมือชนิดหนึ่งส�ำหรับ จับสัตว์น้�ำ ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนดั้งเดิมท่ีนี่ ต่อมาได้กลายมาเป็น บ้านลายัน ดังในปัจจุบันน้ี ลักษณะภูมิประเทศบริเวณน้ีเดิมเป็นทะเล ป่าชายเลน และป่าเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่เดิมประกอบอาชีพประมง และท�ำสวนยางพารา ปัจจุบัน มีอาชีพเพ่ิมขึ้นคือ อาชีพค้าขาย และรับจ้าง ภาษาที่ใช้คือ ภาษาถ่ินภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น อุทยานแห่งชาติหาดลายัน เกาะกะทะ คลองอู่ตะเภา (พม่าใช้เป็นเส้นทาง น�ำเรือเข้าตีเมืองถลางในปี พ.ศ.๒๓๒๘) ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธ์ิ สืบสิน อายุ ๙๒ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๖๓ ซอยควนกลาง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลเชิงทะเล อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 308
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลเชิงทะเล อุทยานแห่งชาติหาดลายัน นายนิโรธ โชติช่วง อายุ ๖๕ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๐๓ หมู่ที่ ๑ ต�ำบลเทพ- กระษัตรี อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๒๒ และ ๒๕ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ 309
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๗ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านโคกโตนด สถานท่ีตั้ง หมู่ท่ี ๖ ต�ำบลเชิงทะเล อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ที่ ๓ บ้านพรุผักส�ำ และบ้านพรุจ�ำปา ต�ำบลเทพกระษัตรี ทิศใต้ จด หมู่ที่ ๑ บ้านเชิงทะเล ทิศตะวันออก จด หมู่ที่ ๔ บ้านดอน ต�ำบลเทพกระษัตรี ทิศตะวันตก จด หมู่ท่ี ๖ บ้านลายัน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ลักษณะภูมิประเทศบริเวณน้ี เดิมเป็นเนินเขา ท่ีชาวบ้านเรียกกันว่า โคก มีต้นโตนด หรือต้นตาล ข้ึนอยู่มากมายบริเวณโคกแห่งนี้ เดิมไม่มีบ้านเรือนอยู่เลย เพราะขึ้นไปบริเวณโคกน้ีล�ำบาก มีท่ีลุ่มที่เป็นนาลึกอยู่รอบๆ มีล�ำคลองบางใหญ่จาก น้�ำตกโตนไทรไหลผ่านไปออกทะเลท่ีบ้านลายัน นอกจากนี้ยังมีคลองนาสร้อยค่ัน ระหว่างบ้านดอนกับบ้านโคกโตนดอีกด้วย ต่อมาเม่ือล�ำคลองเหล่านี้ตื้นเขินข้ึน น้�ำ ไม่มากเหมือนแต่ก่อน จึงเร่ิมมีผู้คนไปอาศัยอยู่บริเวณน้ีมากข้ึน จึงเรียกบริเวณนี้ ว่า บ้านโคกโตนด ชาวบ้านส่วนใหญ่เดิมประกอบอาชีพท�ำนา และท�ำสวนยางพารา ปัจจุบัน มีอาชีพเพ่ิมข้ึนคือ อาชีพค้าขาย รับจ้างและธุรกิจโรงแรม ภาษาท่ีใช้คือ ภาษาถ่ินภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธ์ิ สืบสิน อายุ ๙๒ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๖๓ ซอยควนกลาง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลเชิงทะเล อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 310
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลเชิงทะเล นายนิโรธ โชติช่วง อายุ ๖๕ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๐๓ หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลเทพ- กระษัตรี อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๒๒ และ ๒๕ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ 311
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ 312
อ�ำเภอถลาง ต�ำบลป่าคลอก ๑ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านผักฉีด สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ท่ี ๒ บ้านป่าคลอก ทิศใต้ จด หมู่ที่ ๘ บ้านบางลา และอ่าวท่าเรือ ต�ำบลศรีสุนทร ทิศตะวันออก จด หมู่ที่ ๗ บ้านยามู ทิศตะวันตก จด เขาพระแทว และเขาเหมียง ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ท่ีเก่ียวข้อง สมัยก่อนบริเวณนี้มีผักกระเฉดข้ึนอยู่มาก ตามทุ่งนาและขุมในหาน (เป็น ขุมเก็บน้�ำขุมใหญ่ของหมู่บ้าน) ก่อนท�ำนาทุกปีจะต้องมีการเก็บกวาดผักกระเฉด ทั้งในทุ่งนาและขุมในหาน เพ่ือท�ำลายหรือให้สัตว์เลี้ยงกินจนหมด หลังท�ำนาเสร็จ ผักกระเฉดก็จะขึ้นมาเต็มอีก ชาวบ้านเรียกชื่อหมู่บ้านน้ีว่า บ้านผักฉีด ซึ่งมาจากค�ำว่า ผัดกระเฉด เพราะ คนใต้เรียกผักกระเฉดว่า ผักฉีด จึงใช้เรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านผักฉีด มาจนถึง ปัจจุบัน ภาษาท่ีใช้คือ ภาษาถิ่นใต้และภาษาถ่ินภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม อาชีพของคนในหมู่บ้านคือ ท�ำสวนยางพารา รับจ้าง ค้าขาย และประมง 313
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ มัสยิดทิฟตาฮุลมุมีนีน บ้านผักฉีด สถานท่ีส�ำคัญ เช่น โรงเรียนสิทธิ์สุนทรบ�ำรุง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล ป่าคลอก มัสยิดทิฟตาฮุลมุมีนีน บ้านผักฉีด ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายณรงค์ ผลพุฒ อายุ ๗๑ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๓๓/๑ หมู่ท่ี ๑ ต�ำบล ป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายสวัสด์ิ ชุมรักษ์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๕ เดือนเมษายน ๒๕๖๐ 314
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลป่าคลอก ๒ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านป่าคลอก สถานท่ีตั้ง หมู่ท่ี ๒ ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ท่ี ๓ บ้านบางแป ทิศใต้ จด หมู่ท่ี ๑ บ้านผักฉีด ทิศตะวันออก จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด เขาพระแทว ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ท่ีเก่ียวข้อง เน่ืองจากเมืองถลางถูกพม่ารุกรานหลายคร้ัง เจ้าเมืองถลางจึงย้ายเมือง มาสร้างในพื้นที่ราบทางทิศตะวันออก แต่พม่าก็ยังคงยกทัพมาตีทางทะเลขึ้นทาง ฝั่งบ้านยามู ทางคลองบางเจ และเมืองถลางบางโรงก็พ่ายแพ้แก่พม่าอีก พม่าจึง เผาเมืองจนวอดวายและกวาดต้อนคนไทยกลับไปพม่า แต่ไม่สามารถบรรทุกเรือ ไปได้หมด จึงเอาแต่คนที่แข็งแรง กวาดต้อนเด็กและคนชราไปรวมกันและจุดไฟ เผาป่าละเมาะและเผาผู้คนไปพร้อมกัน จึงเรียกบริเวณน้ันว่า “ป่าคลอก” ต้ังแต่ นั้นมา ภาษาท่ีใช้คือ ภาษาถ่ินใต้และภาษาถิ่นภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ อาชีพของคนในหมู่บ้านคือ ท�ำสวน ท�ำนา รับจ้าง ค้าขาย และประมงพื้นบ้าน สถานท่ีส�ำคัญ เช่น วัดโสภณวนาราม (วัดป่าคลอก) มีพระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้นามว่า หลวงพ่อด้วน ประดิษฐานอยู่ เป็นพระพุทธรูปท่ีชาวบ้านเคารพนับถือ โรงเรียนบ้านป่าคลอก เป็นโรงเรียนเก่าแก่สร้างมาร้อยกว่าปี โรงเรียนวีรสตรีอนุสรณ์ เป็นโรงเรียนมัธยมประจ�ำต�ำบลป่าคลอก 315
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ วัดโสภณวนาราม (วัดป่าคลอก) โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล (โรงเรียนศึกษาพิเศษ) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุภูเก็ต (บ้านพักคนชรา) ส�ำนักงานเทศบาลต�ำบลป่าคลอก พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านต�ำบลป่าคลอก ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายสุวิทย์ กรุณา อายุ ๖๑ ปี ประธานกลุ่มวัฒนธรรมบ้านป่าคลอก ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๓๑/๓ หมู่ท่ี ๒ ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายสวัสด์ิ ชุมรักษ์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๑๕ เดือนเมษายน ๒๕๖๐ 316
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลป่าคลอก ๓ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านบางโรง สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ท่ี ๙ บ้านชุมเพลาะ ทิศใต้ จด หมู่ที่ ๓ บ้านบางแป ทิศตะวันออก จด ทะเลอันดามัน และคลองโมละพลี ทิศตะวันตก จด เขาพระแทว ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวข้อง บริเวณนี้เคยเป็นเมืองถลางเก่าคือ เมืองถลางบางโรง ซ่ึงมีพระยาเพชรคีรี- ศรีพิชัยสงครามรามค�ำแหงเป็นเจ้าเมือง จนเกิดสงครามข้ึนในปี พ.ศ.๒๓๕๒ พม่า ตีเมืองทางใต้ เมืองถลางบางโรงเสียแก่พม่า ปรากฏหลักฐานเป็นซากตึก ซากก�ำแพง มีชื่อเรียกต่างกันหลายชื่อ เช่น บ้านแหล่ง บ้านท้องวัด ทุ่งวัด บ้านล่อง และเป็น บางโรงในที่สุด และเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านบางโรง มาจนถึงปัจจุบันน้ี ภาษาท่ีใช้คือ ภาษาถิ่นใต้และภาษาถิ่นภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อาชีพของคนในหมู่บ้านคือ การเกษตร รับจ้างทั่วไป ค้าขาย และการประมง สถานที่ส�ำคัญ เช่น โรงเรียนบ้านบางโรง สถานีต�ำรวจบางโรง ท่าเทียบเรือบางโรง (เป็นท่าเทียบเรือไปอ�ำเภอเกาะยาวจังหวัดพังงา) มัสยิดนูรุลญันนะห์ บ้านบางโรง ป้ายเมืองถลางบางโรง 317
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ มัสยิดนูรุลญันนะห์ บ้านบางโรง ท่าเทียบเรือบางโรง ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายเจริญ บุรีรักษ์ อายุ ๘๑ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๑๑๘/๘ หมู่ที่ ๖ บ้านอ่าวปอ ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายประถม มลิวรรณ์ ประธานกลุ่มวัฒนธรรมบ้านบางโรง วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๕ เดือนเมษายน ๒๕๖๐ 318
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลป่าคลอก ๔ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านบางแป สถานที่ตั้ง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ท่ี ๓ บ้านบางโรง ทิศใต้ จด หมู่ท่ี ๒ บ้านป่าคลอก ทิศตะวันออก จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด เขาพระแทว ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง บ้านบางแปเป็นพื้นที่อยู่ในเขตน�้ำตก เรียกว่า “บาง” มีคนอิสลามคนหนึ่ง ชื่อว่า “แป” เป็นบุคคลดั้งเดิมท่ีอาศัยอยู่ที่นี่ เป็นผู้มีความรู้ในด้านการต้มยาสมุนไพร รักษาโรคต่างๆ และเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือเพ่ือนบ้านที่เดือดร้อนเรื่องยาต่างๆ ได้ด้วย ชาวบ้านเรียกเขาว่า “บังแป” (บัง หมายถึง พี่) ต่อมาได้กลายเป็นช่ือเรียก หมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บ้านบังแป” ต่อมาได้เพี้ยนเป็น “บ้านบางแป” มาจนถึงปัจจุบัน ภาษาที่ใช้คือ ภาษาถิ่นใต้และภาษาถิ่นภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อาชีพของคนในหมู่บ้านคือ ท�ำสวน ท�ำนา รับจ้าง และการประมง สถานที่ส�ำคัญ เช่น น้�ำตกบางแป มัสยิดดาริสลาม บ้านบางแป 319
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ น�้ำตกบางแป ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายสวัสดิ์ ชุมรักษ์ อายุ ๗๕ ปี ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลป่าคลอก ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๑๐๗ หมู่ท่ี ๒ บ้านป่าคลอก ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัด ภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายสวัสด์ิ ชุมรักษ์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๑๙ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ 320
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลป่าคลอก ๕ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านพารา สถานที่ตั้ง หมู่ท่ี ๔ ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ท่ี ๖ บ้านแหลมทราย และหมู่ที่ ๑๐ บ้านท่ามะพร้าว ต�ำบลเทพกระษัตรี ทิศใต้ จด หมู่ท่ี ๓ บ้านบางโรง ทิศตะวันออก จด ป่าชายเลน และทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด เขาพระแทว ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ที่เก่ียวข้อง เดิมชาวบ้านต้ังรกรากอยู่ริมเชิงเขาเรียกว่า พรุใหญ่ ต่อมาเกิดโรคระบาด ขึ้น จึงขนย้ายหนีโรคระบาดลงมาอยู่ริมทะเล เรียกว่า บ้านบางทราย (ซอยบางทราย ในปัจจุบัน) เมื่อทางราชการให้ตั้งช่ือหมู่บ้านว่า บ้านพารา มีการสันนิษฐานว่า ชื่อพารา มาจากสองความหมายคือ ๑. มาจากค�ำว่า “ราร่า” ซึ่งเป็นกิริยาอาการขนของหนีโรคระบาดกันอย่าง ทุลักทุเล จากภาษาถ่ินที่เรียกกิริยาอาการนี้ว่า “ขนของกันมารุงรังราร่า” ๒. สมัยก่อนเป็นสถานที่ซื้อขายปืน ข้าวสาร ผ้า และดีบุก ของชาวอินเดีย ภารา คือมาตราชั่งน�้ำหนักของชาวมคธ จึงเรียกบริเวณน้ีว่า “บ้านภารา” ต่อมา กลายเป็น “บ้านพารา” ภาษาท่ีใช้คือ ภาษาถิ่นใต้และภาษาถิ่นภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อาชีพของคนในหมู่บ้านคือ ท�ำสวน ท�ำนา รับจ้าง และการประมง เลี้ยงกุ้ง 321
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ วัดท่าศักดิ์ บ้านพารา สถานท่ีส�ำคัญ เช่น โรงเรียนบ้านพารา วัดท่าศักดิ์ มัสยิดด่ารุลอิสตีกอมะฮ์ บ้านพารา มัสยิดดารุลฮิกมะฮ์ บ้านพารา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล บ้านพารา ท่าเทียบเรือ บาลายท่าศักด์ิ ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายจรัญ ท่อทิพย์ อายุ ๕๘ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล บ้านผู้ใหญ่บ้าน หมู่ท่ี ๔ บ้านพารา ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายสวัสดิ์ ชุมรักษ์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๑๙ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ 322
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลป่าคลอก ๖ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านเกาะนาคา สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๕ ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะอยู่กลางทะเล ประกอบด้วยเกาะ ๒ เกาะคือ เกาะนาคาใหญ่ และเกาะนาคาน้อย ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวข้อง เดิมพ้ืนท่ีบนเกาะแห่งน้ีมีความแห้งแล้ง มีหญ้าปกคลุมอยู่ท่ัวไป ชาวบ้าน จากบ้านอ่าวปอและบ้านพารามาจับจองโค่นป่าปลูกยางพารา พ้ืนท่ีริมทะเลมีท่ีราบ เหมาะแก่การท�ำนา จึงร่วมมือกันขุดพ้ืนท่ีราบท่ีมีหญ้าคาอยู่อย่างหนาแน่น จนได้ พื้นท่ีพอที่จะท�ำนาเล้ียงชีวิตได้ เนื่องจากพื้นที่น้ีมีหญ้าคามาก จึงได้เรียกเกาะแห่งน้ีว่า “เกาะหญ้าคา” และได้เพ้ียนมาเป็น “เกาะนาคา” จนถึงปัจจุบัน ภาษาท่ีใช้คือ ภาษาถ่ินใต้และภาษาถิ่นภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อาชีพของคนในหมู่บ้านคือ การประมง ท�ำสวน ค้าขาย รับจ้าง และการ ท่องเที่ยว สถานที่ส�ำคัญ เช่น โรงเรียนบ้านเกาะนาคา มัสยิดดารุตตักวา บ้านเกาะนาคา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล บ้านเกาะนาคา ฟาร์มมุกที่เกาะนาคาน้อย 323
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ เกาะนาคาน้อย ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายชอบ การะนาม อายุ ๖๔ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๕๘/๖ หมู่ท่ี ๖ บ้านอ่าวปอ ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายสวัสดิ์ ชุมรักษ์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๙ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ 324
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลป่าคลอก ๗ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านอ่าวปอ สถานที่ตั้ง หมู่ท่ี ๖ ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ท่ี ๙ บ้านชุมเพาะ (หมู่บ้านย่อยในบ้านอ่าวกุ้ง) ทิศใต้ จด หมู่ท่ี ๓ บ้านบางโรง ทิศตะวันออก จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด หมู่ท่ี ๙ บ้านอ่าวกุ้ง ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บ้านอ่าวปอในสมัยก่อนบริเวณริมทะเลจะมีต้นปอขึ้นอยู่เป็นจ�ำนวนมาก ชาวบ้านน�ำเปลือกของต้นปอมาท�ำเป็นเชือก จึงเรียกช่ือหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านอ่าว ปอ นอกจากน้ี หมู่ท่ี ๖ บ้านอ่าวปอ ยังมีบ้านย่อยอีกคือ ๑. บ้านย่างกบ เป็นสถานที่ห่างไกลจากบ้านอ่าวปอมาก ทางกันดาร ชาวบ้าน เดินทางไปท�ำงาน หรือประกอบอาชีพการประมงไม่สะดวก แต่เดิมบริเวณนี้มีกบ เป็นจ�ำนวนมาก จับกบได้ก็ย่างเป็นอาหารกินกัน จึงได้เรียกท่ีน่ีว่า บ้านย่างกบ ๒. บ้านแหลมหลง เป็นแหลมเล็กๆ ของบ้านอ่าวปอ มีลักษณะเป็นป่าทึบ ชาวบ้านเข้าป่าไปหาของป่า ก็มักจะหลงทาง หาทางกลับบ้านไม่ถูก จึงได้เรียกที่นี่ว่า บ้านแหลมหลง ภาษาท่ีใช้คือ ภาษาถิ่นใต้และภาษาถ่ินภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อาชีพของคนในหมู่บ้านคือ ท�ำสวน รับจ้าง และการประมง 325
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ท่าเทียบเรืออ่าวปอ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น โรงเรียนบ้านอ่าวปอ มัสยิดเราว์ฎอตุลมุตตากีน บ้านอ่าวปอ มัสยิดนูรุสสลาม บ้านแหลมหลง ท่าเทียบเรืออ่าวปอ บาลายบ้านอ่าวปอ ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายเจริญ บุรีรักษ์ อายุ ๘๑ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๑๑๘/๘ หมู่ท่ี ๖ บ้านอ่าวปอ ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายสวัสด์ิ ชุมรักษ์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๙ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ 326
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลป่าคลอก ๘ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านยามู สถานท่ีตั้ง หมู่ท่ี ๗ ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ท่ี ๒ บ้านป่าคลอก ทิศใต้ จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันออก จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด หมู่ที่ ๑ บ้านผักฉีด ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้อง บ้านยามู มีท่ีมาของชื่อหมู่บ้าน ๒ ประการคือ ๑. เมื่อก่อนมีพญางูใหญ่ตัวหนึ่ง ทุกปีชาวบ้านจะท�ำพิธีสะเดาะเคราะห์ ในการท�ำพิธีจะต้องออกช่ือพญางูตัวน้ี ซ่ึงชาวบ้านเรียกว่า “โต๊ะยามู” เพื่อมิให้ หมู่บ้านมีเภทภัยเคราะห์กรรมต่างๆ เม่ือมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้นในหมู่บ้าน ชาวบ้านจะออกชื่อโต๊ะยามูเป็น ประจ�ำ จึงได้เรียกช่ือหมู่บ้านน้ีว่า บ้านยามู ๒. นายเลียบ ชนะศึก ให้ข้อมูลว่า ช่ือหมู่บ้านแห่งนี้มาจากช่ือผลไม้ ชนิดหนึ่ง คือ ฝรั่ง ที่ชาวภูเก็ตเรียกกันว่า หย่าหมู้ว ดังน้ัน ชื่อบ้านยามู มาจากค�ำว่า หย่าหมู้ว นั่นเอง ภาษาที่ใช้คือ ภาษาถิ่นใต้และภาษาถ่ินภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อาชีพของคนในหมู่บ้านคือ ท�ำสวนยาง รับจ้าง การประมง และการโรงแรม 327
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ บ้านยามู สถานท่ีส�ำคัญ เช่น โรงเรียนบ้านยามู มัสยิดดารุ้ลมุตตากีน บ้านยามู มัสยิดมิฟตาฮุนญันนะห์ บ้านยามู ท่าเทียบเรือแหลมยามู ชื่อผู้ให้ข้อมูล นางเจียร พ่ึงถ่ิน อายุ ๗๙ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๗ หมู่ที่ ๑ บ้านผักฉีด ต�ำบล ป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายสวัสดิ์ ชุมรักษ์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๕ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ 328
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลป่าคลอก ๙ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านบางลา สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๘ ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ที่ ๒ บ้านลิพอนบางกอก ต�ำบลศรีสุนทร ทิศใต้ จด คลองท่าเรือ หมู่ท่ี ๓ บ้านท่าเรือ ต�ำบลศรีสุนทร ทิศตะวันออก จด หมู่ท่ี ๑ บ้านผักฉีด ทิศตะวันตก จด หมู่ท่ี ๓ บ้านท่าเรือ ต�ำบลศรีสุนทร ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวข้อง มีพ่อค้าชาวอินเดียมาขายผ้า คนภูเก็ตเรียกว่า พวกกะลา และบริเวณน้ี มีคลองเล็กๆ เรียกว่า บาง มีเรือของพ่อค้าจากอินเดียเคยมาจอด เคยมีผู้พบ ลูกปัดสีเขียวของอินเดีย ชาวบ้านจึงต้ังช่ือบริเวณน้ีว่า บางกะลา และกลายมาเป็น บางลา ในท่ีสุด ในบ้านบางลามีหมู่บ้านย่อยคือ บ้านบางกา เนื่องจากมีต้นไม้ชนิดหนึ่ง ข้ึนอยู่มากมายคือ ต้นพังกา (ต้นโกงกาง) และบริเวณนี้มีคลองเล็กๆ ที่เรียกกันว่า บาง จึงเรียกช่ือบ้านน้ีว่า บ้านบางกา ภาษาท่ีใช้คือ ภาษาถ่ินใต้และภาษาถิ่นภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อาชีพของคนในหมู่บ้านคือ ท�ำการเกษตร รับจ้าง ค้าขาย สถานท่ีส�ำคัญ เช่น มัสยิดเราว์ฎอตุสซอลีฮีน บ้านบางลา 329
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ มัสยิดเราว์ฎอตุสซอลีฮีน บ้านบางลา ชื่อผู้ให้ข้อมูล นางเจียร พึ่งถ่ิน อายุ ๗๙ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๗ หมู่ท่ี ๑ บ้านผักฉีด ต�ำบล ป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายสวัสดิ์ ชุมรักษ์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๕ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ 330
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลป่าคลอก ๑๐ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านอ่าวกุ้ง สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๙ ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด ทะเลอันดามัน ทิศใต้ จด หมู่ท่ี ๓ บ้านบางโรง ทิศตะวันออก จด หมู่ท่ี ๖ บ้านอ่าวปอ ทิศตะวันตก จด หมู่ที่ ๓ บ้านบางโรง ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เก่ียวข้อง สมัยก่อนทะเลบริเวณน้ีมีลักษณะเป็นอ่าวท่ีแหว่งเว้าเข้ามา ทุกปีจะมีกุ้ง เข้ามาในอ่าวน้ีเป็นจ�ำนวนมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพในการทอดแห จับกุ้ง จึงเรียกหมู่บ้านแห่งน้ีว่า บ้านอ่าวกุ้ง ในบ้านอ่าวกุ้ง หมู่ท่ี ๙ ยังมีหมู่บ้านย่อย อีก ๒ หมู่บ้าน คือ ๑. บ้านชุมเพาะ มีท่ีมาของชื่อ ๒ ประการคือ ๑.๑ เดิมเรียกว่า ตมเพลาะ (ตม คือ โคลน เพลาะ คือ สนามซ้อมรบสมัย ศึกถลาง) หมายถึงซ้อมรบบนโคลนตม ต่อมากลายเป็น ชุมเพลาะ และชุมเพาะ ในปัจจุบัน ๑.๒ มาจากค�ำว่า ตุมพะ หมายถึง หม้อน�้ำที่มีพวย เป็นเคร่ืองตวงโบราณ ต่อมาได้เพ้ียนเป็น ตุมเพลาะ ชุมเพลาะ และชุมเพาะ ในปัจจุบัน ๒. บ้านหลังแดง เดิมเรียกว่า บ้านหรังแดง หรือบ้านกะหรังแดง เน่ืองจาก มีปะการังสีแดงในอ่าวเป็นจ�ำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกที่น่ีว่า บ้านหรังแดง และ เพ้ียนเป็น บ้านหลังแดง ภาษาท่ีใช้คือ ภาษาถิ่นใต้และภาษาถ่ินภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อาชีพของคนในหมู่บ้านคือ ท�ำสวน รับจ้าง ค้าขาย ประมง (หากุ้ง) 331
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ปะการังแดง บ้านอ่าวกุ้ง สถานที่ส�ำคัญ เช่น มัสยิดยามีอุ้ลอีบาดะห์ บ้านอ่าวกุ้ง มัสยิดนูรุตตักวา บ้านชุมเพาะ ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายสุนทร ท่อทิพย์ อายุ ๖๒ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๑๔๐/๒ หมู่ท่ี ๙ บ้าน อ่าวกุ้ง ต�ำบลป่าคลอก อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายสวัสดิ์ ชุมรักษ์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๙ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ 332
333
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ 334
อ�ำเภอถลาง ต�ำบลไม้ขาว ๑ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านหมากปรก สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลไม้ขาว อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ที่ ๒ บ้านอ่าวโต๊ะขุน ทิศใต้ จด หมู่ท่ี ๕ บ้านเมืองใหม่ ต�ำบลเทพกระษัตรี ทิศตะวันออก จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด หมู่ท่ี ๕ บ้านทุ่งคา และหมู่ที่ ๖ บ้านบ่อไทร ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ท่ีเก่ียวข้อง หมู่บ้านน้ีก่อตั้งข้ึนเม่ือปี พ.ศ.๒๔๘๐ ผู้ท่ีมาตั้งรกรากเดิมมี ๔ ครอบครัว คือ ตระกูลพาที แต่คนท่ีพัฒนาบ้านหมากปรกคือ นายแอ มานะจิตต์ ชาวจังหวัด กระบี่ เป็นอดีตนายด่านตรวจคนเข้าเมืองอยู่ท่ีสะพานหิน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ภรรยาของท่านได้มาอาศัยอยู่กับครอบครัวของนายเพ็ง พาที ต่อมาท่านได้ลาออก จากการเป็นนายด่าน แล้วมาท�ำมาหากินอยู่ท่ีบริเวณหมู่บ้านน้ี นอกจากน้ี บ้านหมากปรกยังมีบ้านย่อยคือ บ้านนาส้มป่อย บ้านบางดุก และบ้านยุน ภาษาท่ีใช้คือ ภาษาถิ่นใต้และภาษาถ่ินภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพท�ำสวน ค้าขาย ประมง เล้ียงแพะ การ โรงแรม และรับจ้าง 335
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น โรงเรียนบ้านหมากปรก มัสยิดนูรูลอีบาดียะฮ์ บ้านหมากปรก มัสยิดเราว์ฎอตุ้ลญันนะฮ์ บ้านนาส้มป่อย มัสยิดดารุสลาม บ้านบางดุก ศูนย์อบรมจริยธรรม อาคารอเนกประสงค์ บ้านหมากปรก ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายร่อ เก็บทรัพย์ อายุ ๖๔ ปี (เกิด พ.ศ.๒๔๘๒) ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ภูมิล�ำเนา เดิม บ้านบางคณฑี ๑๐/๒ ถนนวิเศษ หมู่ท่ี ๔ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายเลียบ ชนะศึก วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๒๔ เดือนธันวาคม ๒๕๔๖ นายบุญไพศาล บุญสพ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ท่ี ๑ บ้านหมากปรก ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๕๖ หมู่ที่ ๑ บ้านหมากปรก ต�ำบลไม้ขาว อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ นายสมศักดิ์ โสภานนท์ นายณัฐภน อธิอุดมผล วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๒๖ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ 336
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลไม้ขาว ๒ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านคอเอน สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๒ ต�ำบลไม้ขาว อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด ทะเลอันดามัน ทิศใต้ จด หมู่ที่ ๑ บ้านหมากปรก ทิศตะวันออก จด อ่าวโต๊ะขุน ทิศตะวันตก จด อ่าวด่านหยิด ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง บริเวณน้ีเดิมมีไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งคือ ต้นค้อ ซึ่งต้นค้อต้นนี้มีขนาดใหญ่ มาก ล�ำต้นของมันเอนเหมือนใกล้จะล้มแต่ก็ไม่ล้ม จึงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านค้อเอน ต่อมาได้กลายมาเป็น บ้านคอเอน จนถึงปัจจุบัน นอกจากน้ีบ้านคอเอนยังมีบ้านย่อย คือ บ้านอ่าวโต๊ะขุน ซ่ึงบริเวณนี้เดิม เป็นอ่าวที่มีความส�ำคัญมาตั้งแต่สมัยเมืองถลาง มีท่าเรือส�ำหรับรับส่งคน อาหาร และสินค้าอื่นๆ จากเกาะปันหยีมาขายให้กับชาวเมืองถลาง ภาษาที่ใช้คือ ภาษาถิ่นใต้และภาษาถิ่นภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพท�ำสวน รับจ้าง และค้าขาย สถานที่ส�ำคัญ เช่น โรงเรียนบ้านคอเอน มัสยิดอัลอิศล๊ะฮ์ บ้านคอเอน มัสยิดอัลฟารุก บ้าน คอเอน สถานีอนามัย บ้านคอเอน ท่าเทียบเรือยอชต์เฮเว่น มารีน่า ศูนย์อบรม จริยธรรม 337
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ มัสยิดอัลฟารุก บ้านคอเอน ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายสุพรรณ ปาทาน อายุ ๓๘ ปี (เกิด พ.ศ.๒๕๐๘) ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ภูมิล�ำเนาเดิม บ้านคอเอน ๑๘/๑ หมู่ที่ ๒ ต�ำบลไม้ขาว อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายเลียบ ชนะศึก วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๒๕ เดือนธันวาคม ๒๕๔๖ นายบุญไพศาล บุญสพ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ท่ี ๑ บ้านหมากปรก ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๕๖ หมู่ที่ ๑ บ้านหมากปรก ต�ำบลไม้ขาว อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ นายสมศักดิ์ โสภานนท์ นายณัฐภน อธิอุดมผล วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๒๖ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ 338
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลไม้ขาว ๓ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านสวนมะพร้าว สถานที่ตั้ง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลไม้ขาว อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ที่ ๕ บ้านท่าฉัตรไชย ทิศใต้ จด หมู่ท่ี ๔ บ้านไม้ขาว ทิศตะวันออก จด หมู่ที่ ๗ บ้านหยิด ทิศตะวันตก จด ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ท่ีเกี่ยวข้อง บริเวณนี้เดิมเรียกว่า บ้านสวนผร้ัง (สวนฝร่ัง) เพราะมีฝรั่งชาวอังกฤษชื่อ นายสก็อต มาสร้างสวนอยู่บริเวณน้ี ต่อมาบุตรสาวของนายสก็อตได้แต่งงานกับ บุตรชายของหลวงอนุภาษฯ คหบดีชาวภูเก็ต ซ่ึงเป็นเจ้าของท่ีดินมากมายในบริเวณ นี้ ท่านได้ปลูกต้นมะพร้าวจ�ำนวนมากกว่าพันไร่ เพื่อท�ำน�้ำมันมะพร้าวและอุตสาห- กรรมการผลิตสบู่ ท�ำให้ชาวบ้านในสมัยนั้นได้มีอาชีพท�ำงานในสวนมะพร้าว จึงได้ เรียกช่ือหมู่บ้านน้ีว่า บ้านสวนมะพร้าว แทนช่ือเดิมคือ บ้านสวนผร้ัง มาจนถึง ปัจจุบันนี้ ภาษาที่ใช้คือ ภาษาถ่ินใต้และภาษาถิ่นภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และศาสนาพุทธ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพท�ำการเกษตร ค้าขาย และรับจ้าง สถานที่ส�ำคัญ เช่น โรงเรียนหงษ์หยกบ�ำรุง ศาลาพักสงฆ์ บ้านสวนมะพร้าว 339
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายเฉลิมศักดิ์ ทองภักดี อายุ ๕๖ ปี (เกิด พ.ศ.๒๔๙๐) ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ภูมิล�ำเนาเดิม ๘๙/๑ หมู่ที่ ๒ ต�ำบลไม้ขาว อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายเลียบ ชนะศึก วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๒๕ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖ นายนิโรธ โชติช่วง อายุ ๖๕ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๐๓ ถนนเทพกระษัตรี หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลเทพกระษัตรี อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๒๒ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ 340
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลไม้ขาว ๔ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านไม้ขาว สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๔ ต�ำบลไม้ขาว อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ท่ี ๓ บ้านสวนมะพร้าว ทิศใต้ จด หมู่ท่ี ๖ บ้านบ่อไทร ทิศตะวันออก จด หมู่ที่ ๑ บ้านหมากปรก ทิศตะวันตก จด ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า เดิมชาวบ้านไม้ขาวตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตีนเขา ซ่ึงเรียกกัน ว่า บ้านใน (ใกล้กับบ้านบ่อสอม ในปัจจุบัน) ต่อมาชาวบ้านเกิดโรคภัยไข้เจ็บข้ึน จึง เชื่อกันว่า สาเหตุของการเจ็บป่วยเกิดจากเงาของภูเขามาบังทับบ้านเรือน บ้างก็ว่า เพราะมีลักษณะอากาศท่ีอับชื้น เนื่องจากมีต้นไม้ใหญ่หนาแน่นเกินไป จึงได้ย้าย บ้านเรือนมาอยู่ที่บริเวณชายทะเล ซ่ึงมีชาวจีนอพยพมาอาศัยอยู่ก่อนแล้ว จ�ำนวน ๕ - ๖ ครอบครัว เรียกบริเวณนี้ว่า บ้านหัวนอน และบ้านใต้ตีน ในป่าทึบของหมู่บ้าน เดิมนั้น มีต้นไม้ใหญ่อยู่ต้นหน่ึง มีลักษณะสีขาวทั้งต้น มองเห็นได้แต่ไกล จึงได้ เรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านไม้ขาว มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้บ้านไม้ขาวยังมีบ้านย่อยคือ บ้านบ่อสอม และบ้านทุ่งคา และ มีป่าพรุมากท่ีสุดในจังหวัดภูเก็ตคือ พรุเจ๊ะสัน พรุจิก และพรุจูด ภาษาท่ีใช้คือ ภาษาถ่ินใต้และภาษาถิ่นภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพท�ำสวน เล้ียงสัตว์ ประมง รับจ้าง และ ธุรกิจโรงแรม 341
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ วัดไม้ขาว หาดไม้ขาว 342
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลไม้ขาว สถานที่ส�ำคัญ เช่น โรงเรียนบ้านไม้ขาว วัดไม้ขาว หาดไม้ขาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล บ้านไม้ขาว มัสยิดนูรุนอิสลาม บ้านบ่อสอม มัสยิดญันนะตุ้นนาอีม บ้านทุ่งคา กุโบร์บ้านบ่อสอม ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายเฉลิมศักดิ์ ทองภักดี อายุ ๕๖ ปี (เกิด พ.ศ.๒๔๙๐) ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ภูมิล�ำเนาเดิม ๘๙/๑ หมู่ที่ ๒ ต�ำบลไม้ขาว อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายเลียบ ชนะศึก วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๒๕ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖ นายนิโรธ โชติช่วง อายุ ๖๕ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๐๓ ถนนเทพกระษัตรี หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลเทพกระษัตรี อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๒๒ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ 343
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๕ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านท่าฉัตรไชย สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๕ ต�ำบลไม้ขาว อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด ทะเลอันดามัน (ช่องปากพระ) ตรงข้ามกับหมู่ที่ ๗ บ้านท่านุ่น ต�ำบลโคกกลอย อ�ำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ทิศใต้ จด หมู่ท่ี ๓ บ้านสวนมะพร้าว ทิศตะวันออก จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เดิมเรียกหมู่บ้านน้ีว่า บ้านแหลมหลา เป็นท่ีพักของชาวเล ตรงบริเวณ ปลายแหลม ชาวเลได้สร้างหลา (ศาล) ไว้บูชา ผู้คนบริเวณนี้จึงเรียกที่นี่ว่า แหลมหลา ต่อมาเม่ือมีการตัดถนนเทพกระษัตรีต่อจากโค้งคอเอน ข้ามควน ๕๐๐ จนถึงบ้านแหลมหลา และได้สร้างท่าเรือส�ำหรับแพขนานยนต์ข้ึน เพ่ือใช้ขนส่งผู้คน ยวดยานและสินค้าต่างๆ ข้ามไปมาระหว่างจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงา มีการ เรียกถนนช่วงส้ันๆ น้ีว่า ถนนบุรฉัตร และเรียกท่าเรือที่สร้างใหม่นี้ว่า ท่าฉัตรไชย เพ่ือเป็นเกียรติแด่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระก�ำแพงเพชรอัครโยธิน พระนามเดิม พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (ต้นตระกูลฉัตรไชย) พระราชโอรสของ ร.๕ ซึ่งในขณะ น้ันด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (พ.ศ.๒๔๖๙ สมัย ร.๗) ในวันท่ี ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๑ ร.๗ และพระบรมราชีนี ได้เสด็จ พระราชด�ำเนินจากจังหวัดภูเก็ตมายังท่าฉัตรไชยด้วยรถยนต์พระที่น่ัง ลงสู่แพ ขนานยนต์ ข้ามไปยังท่านุ่น อ�ำเภอตะก่ัวทุ่ง จังหวัดพังงา แล้วเสด็จพระราชด�ำเนิน ไปจังหวัดพังงา 344
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลไม้ขาว ต่อมาเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสจังหวัดภูเก็ต ทรงเสด็จพระราชด�ำเนินด้วยรถยนต์พระที่น่ังจากท่านุ่น ลงสู่แพขนานยนต์มายังท่าฉัตรไชยแห่งน้ีเช่นเดียวกัน เพื่อเสด็จพระราชด�ำเนิน เย่ียมราษฎรท่ีจังหวัดภูเก็ตและได้เสด็จกลับมายังท่าฉัตรไชยอีกคร้ัง ในวันพฤหัสบดี ที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๒ เพ่ือเสด็จกลับไปยังท่านุ่น จังหวัดพังงา เมื่อสะพานสารสินได้สร้างเสร็จและเริ่มใช้งานในวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ เพ่ือเช่ือมระหว่างภูเก็ตและพังงา ก็ได้เลิกใช้แพขนานยนต์ที่บริเวณนี้ (ได้น�ำ ไปใช้ข้ามระหว่างหัวเขาแดงกับตัวเมืองสงขลา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐) ปัจจุบัน ต�ำแหน่งท่ีต้ังของท่าฉัตรไชย ยังคงมีอยู่ใกล้กับหมวดการทางถลาง (ซอยร่วมใจ) ซ่ึงน่าจะได้ปรับปรุงให้เป็นสถานท่ีส�ำคัญเพราะมีพระมหากษัตริย์ถึง ๒ พระองค์ เคยเสด็จมาบริเวณน้ี ทางราชการได้ให้บ้านท่าฉัตรไชย เป็นชื่อหมู่บ้านหมู่ท่ี ๕ ขึ้นกับต.ไม้ขาว แทนชื่อบ้านแหลมหลา และใช้มาจนถึงปัจจุบัน 345
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ 346
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลไม้ขาว ภาษาที่ใช้คือ ภาษาถิ่นใต้และภาษาถิ่นภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และอิสลาม ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพท�ำการประมง การเกษตร ค้าขาย และ รับจ้าง สถานที่ส�ำคัญ เช่น โรงเรียนท่าฉัตรไชย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าฉัตรไชย วัดท่าฉัตรไชย มัสยิดอัลฮีดายะห์ ท่าฉัตรไชย อบต.ไม้ขาว สถานีต�ำรวจภูธรท่าฉัตรไชย ต�ำรวจภูธรภาค ๘ ศาลปกครอง หมวดการทางถลาง สะพานสารสิน สะพานเทพกระษัตรี อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ประตูเมืองภูเก็ต (เกตเวย์) ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ ๒ จังหวัดภูเก็ต สถานพยาบาลชุมชนท่าฉัตรไชย ด่านตรวจคนเข้าเมือง สถานีควบคุมไฟป่าภูเก็ต ศูนย์การเรียนรู้ท่องเที่ยวชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย หาดทรายแก้ว 347
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ วัดท่าฉัตรไชย สะพานสารสิน (ซ้าย) สะพานเทพกระษัตรี (ขวา) 348
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลไม้ขาว ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายวารินทร์ วงษ์เพ็ญ อายุ ๔๗ ปี (เกิด พ.ศ.๒๔๙๙) ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๑๑ หมู่ท่ี ๖ บ้านบ่อไทร ต�ำบลไม้ขาว อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายเลียบ ชนะศึก วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๑ เดือนมกราคม ๒๕๔๗ นายนิโรธ โชติช่วง อายุ ๖๕ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๐๓ ถนนเทพกระษัตรี หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลเทพกระษัตรี อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๒๒ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ นายสมพร แทนสกุล อายุ ๕๔ ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕ บ้านท่าฉัตรไชย ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๒๒/๘๘ หมู่ท่ี ๕ ต�ำบลไม้ขาว อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ นายสมศักดิ์ โสภานนท์ นายณัฐภน อธิอุดมผล วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๒๖ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ 349
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๖ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านบ่อไทร สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๖ ต�ำบลไม้ขาว อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ที่ ๔ บ้านไม้ขาว ทิศใต้ จด หมู่ที่ ๑ บ้านในยาง ต�ำบลสาคู ทิศตะวันออก จด หมู่ท่ี ๑ บ้านหมากปรก ทิศตะวันตก จด ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง ชื่อบ้านแห่งน้ี เดิมเรียกกันว่า บ้านบ่อใส ข้ึนกับหมู่ที่ ๔ บ้านไม้ขาว ต�ำบลไม้ขาว ชาวบ้านได้เล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยสงครามโลกคร้ังที่ ๒ ทหาร ของกองทัพญ่ีปุ่นได้เอาสมบัติมาฝังไว้บริเวณต้นไทรใหญ่ หลังจากสงครามโลก ครั้งที่ ๒ สงบลง ทหารญี่ปุ่นเดินทางกลับประเทศไปแล้ว ชาวบ้านเช่ือกันว่าไม่ได้เอา สมบัติที่มีค่าท่ีฝังไว้ไปด้วย หลายคนพยายามหาแหล่งท่ีคิดว่าเป็นที่ฝังสมบัติ แต่ก็ หาไม่พบ ความเชื่อเรื่องขุมทรัพย์สมบัติของทหารญ่ีปุ่นยังคงสืบต่อมาจนถึงทุกวัน น้ี ต่อมาบริเวณหมู่บ้านแห่งน้ีได้เปล่ียนชื่อใหม่เป็น บ้านบ่อไทร แทนชื่อเดิม ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ ทางราชการได้แยกบ้านบ่อไทรออกจากหมู่ท่ี ๔ บ้าน ไม้ขาว ต้ังเป็นหมู่ที่ ๖ ต�ำบลไม้ขาวมาจนถึงปัจจุบัน ภาษาที่ใช้คือ ภาษาถ่ินใต้และภาษาถิ่นภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างท่ัวไป และธุรกิจท่องเท่ียว สถานท่ีส�ำคัญ เช่น ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จ�ำกัด (ศูนย์ควบคุมการบินภูเก็ต) ด่านศุลกากรท่าอากาศยานภูเก็ต 350
อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลไม้ขาว ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ช่ือผู้ให้ข้อมูล นางสาวไว จักรทอง อายุ ๙๔ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๓๔ หมู่ที่ ๖ บ้านบ่อไทร ต�ำบลไม้ขาว อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๒๖ เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๗ 351
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 496
Pages: