Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชื่อบ้านนามเมืองภูเก็จ

ชื่อบ้านนามเมืองภูเก็จ

Published by phuket strategy, 2019-12-25 03:20:59

Description: ชื่อบ้านนามเมืองภูเก็จ

Keywords: ชื่อบ้านนามเมืองภูเก็จ,ภูเก็ต,จังหวัดภูเก็ต

Search

Read the Text Version

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๑๐ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านโคกโตนด สถานท่ีตั้ง หมู่ท่ี ๙ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด อาณาเขตหมู่ที่ ๔ ทิศใต้ จด อาณาเขตต�ำบลราไวย์ ทิศตะวันออก จด อาณาเขตอ่าวฉลอง ทิศตะวันตก จด อาณาเขตหมู่ที่ ๘ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ท่ีเก่ียวข้อง พื้นที่บ้านโคกโตนดสมัยก่อนเป็นพื้นที่ลุ่ม มีคลองบางนุ้ยไหลผ่าน เป็น พื้นท่ีปลูกข้าว ในทุ่งนามีต้นโตนดขึ้นมาก ชาวนาใช้เป็นพ้ืนท่ีพักแดดทานข้าวหลัง ท�ำนาเสร็จ ชาวบ้านจึงต้ังชื่อบริเวณน้ันว่า “โคกโตนด” เป็นท่ีมาของช่ือหมู่บ้านโคก โตนดจนถึงปัจจุบัน (ต้นโตนด ภาษากลางคือ ต้นตาล) ภาษาท่ีใช้ ภาษาถิ่นภูเก็ต นับถือศาสนาพุทธ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น ท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง ชื่อผู้ให้ข้อมูล หนังสือ ชื่อบ้านนามเมือง ของ อ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล คณะกรรมการวัฒนธรรม ต�ำบลฉลอง วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๕ เดือนตุลาคม ๒๕๖๐ 202

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลฉลอง ท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง 203

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๑๑ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านยอดเสน่ห์ สถานที่ตั้ง หมู่ท่ี ๑๐ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๗ ทิศใต้ จด อาณาเขตต�ำบลราไวย์ ทิศตะวันออก จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๘ ทิศตะวันตก จด อาณาเขตต�ำบลกะรน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง เน่ืองจากในสมัยก่อนท่ีหมู่บ้านนี้มีหมอท�ำเสน่ห์ขึ้นชื่อ และมีคนนิยมเป็น จ�ำนวนมาก จึงเรียกบริเวณน้ันว่า “บ้านยอดเสน่ห์” ปัจจุบันยังมีช่ือ ซอยยอดเสน่ห์ ให้เห็นอยู่ ภาษาท่ีใช้ ภาษาถิ่นภูเก็ต นับถือศาสนาพุทธ ช่ือผู้ให้ข้อมูล หนังสือ ช่ือบ้านนามเมือง ของ อ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล คณะกรรมการวัฒนธรรม ต�ำบลฉลอง วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๕ เดือนตุลาคม ๒๕๖๐ 204

205

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ 206

อ�ำเภอเมือง ต�ำบลราไวย์ ๑ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ต�ำบลราไวย์ เดิมเทศบาลต�ำบลราไวย์มีฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนต�ำบลราไวย์ ซึ่ง จัดตั้งข้ึนตามพระราชบัญญัติสภาต�ำบลและองค์การบริหารส่วนต�ำบล พ.ศ.๒๕๓๗ โดยกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศและก�ำหนดให้มีฐานะเป็นองค์การบริหารส่วน ต�ำบล เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๘ ต่อมาบ้านเมืองมีสภาพความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้น สมควรจัดต้ังองค์การบริหารส่วนต�ำบลราไวย์ข้ึน เป็น เทศบาลต�ำบลราไวย์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันท่ี ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ และมีผลต้ังแต่วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ เทศบาลต�ำบลราไวย์ ต้ังอยู่ในอ�ำเภอเมืองภูเก็ตห่างจากที่ว่าการอ�ำเภอเมือง ภูเก็ต ๑๑ กิโลเมตร ต�ำบลราไวย์มีพ้ืนที่ประมาณ ๓๘ ตารางกิโลเมตร (ประมาณ ๒๓,๗๕๐ ไร่) เป็นพื้นท่ีบนเกาะภูเก็ตประมาณ ๒๓ ตารางกิโลเมตร และเป็นพ้ืนที่ บนเกาะต่างๆ อีก ๑๐ เกาะ ประมาณ ๑๕ ตารางกิโลเมตร ต�ำบลราไวย์อยู่ทางทิศใต้ ของจังหวัดภูเก็ต มีอาณาเขตดังน้ี ทิศเหนือ จด ต�ำบลฉลอง ทิศใต้ จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันออก จด อ่าวฉลอง และทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด ต�ำบลกะรน และทะเลอันดามัน ภูมิประเทศของต�ำบลราไวย์มีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่ง รูปร่างค่อนข้างยาว ลงมาทางใต้ จากวงเวียนห้าแยก คือแนวเขตแบ่งแยกต�ำบล มีถนนวิเศษเป็น แนวยาวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน จนสุดหาดราไวย์ จากน้ันเป็นถนนขึ้นแหลม พรหมเทพ และเข้าสู่ถนนรอบเกาะและชายฝั่ง เลียบเนินเขาไปต�ำบลกะรน พื้นที่ 207

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ส่วนใหญ่เป็นท่ีราบลุ่มติดเนินเขา บางแห่งมีป่าไม้ หนองน�้ำ มีสถานท่ีท่องเที่ยวท่ี ส�ำคัญหลายแห่ง เช่น แหลมพรหมเทพ หาดราไวย์ แหลมกาน้อย แหลมกาใหญ่ หาดในหาน หาดยะนุ้ย หาดอ่าวเสน นอกจากนี้ต�ำบลราไวย์ยังประกอบด้วยพ้ืนที่ที่ เป็นเกาะต่างๆ จ�ำนวน ๑๐ เกาะ คือ เกาะโหลน เกาะเฮ เกาะรายาน้อย เกาะรายา ใหญ่ เกาะบอน เกาะมัน เกาะแอว เกาะนอก เกาะทนาน และเกาะแก้ว ชื่อบ้านนามเมืองของต�ำบลราไวย์ เป็นช่ือของหมู่บ้านท่ีใช้เรียกทั้งในอดีต และบางชื่อยังเรียกใช้อยู่ถึงปัจจุบัน ซ่ึงมีหมู่บ้านท้ังหมด ๗ หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ท่ี ๑ บ้านในหาน หมู่ท่ี ๒ บ้านราไวย์ หมู่ท่ี ๓ บ้านเกาะโหลน หมู่ท่ี ๔ บ้านบางคณฑี หมู่ท่ี ๕ บ้านห้าแยก หมู่ท่ี ๖ บ้านแหลมพรหมเทพ หมู่ท่ี ๗ บ้านใสยวน 208

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลราไวย์ ๒ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านในหาน สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด แนวถนนบ้านใสยวน - หาดในหาน ทิศใต้ จด หาดในหาน ทะเลอันดามัน ทิศตะวันออก จด บ้านใสยวน ทิศตะวันตก จด แนวชายเขา ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้อง บ้านในหาน แต่เดิมรวมอยู่กับท้องท่ีบ้านใสยวน ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้ท�ำการแยกตัวออกมาต้ังเป็นหมู่บ้าน อยู่ในท้องท่ีหมู่ท่ี ๑ ต�ำบลราไวย์ สภาพพ้ืนที่มีหนองน้�ำขนาดใหญ่ซ่ึงเรียกว่าหาน จึงเป็นท่ีมาของค�ำว่า ในหาน ถัดมา เป็นชายหาดแนวยาวท่ีมีช่ือเสียงคือ หาดในหาน และวัดในหาน เมื่อประมาณ ๖๐ กว่าปีที่ผ่านมา บริเวณหนองหานที่เห็นในปัจจุบันนั้น เป็นพ้ืนที่นาข้าวและเป็นอู่ข้าวอู่น้�ำ ชาวบ้านจะมาหาปลาในบริเวณหนองน้�ำน้ี อีกท้ัง มีการลากอวนบริเวณที่เป็นจุดต่อระหว่างคลองที่เป็นการผสมระหว่างน�้ำจืดกับ น�้ำเค็ม ซึ่งชาวบ้านเรียกพื้นท่ีนั้นว่า “ปากหานหัก” หนองหานจะอยู่ติดกับส�ำนักสงฆ์ หรือท่ีเป็นวัดในปัจจุบัน เม่ือก่อนไม่มีถนน จะเป็นเพียงทางเดินเท้าเล็กๆ ชาวบ้าน เรียกทางเดินนี้ว่า “หัวคันนา” เมื่อเวลาผ่านไปความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และ ธรรมชาติค่อยๆ ลดลง เพราะบางพื้นที่ในบริเวณนั้นถูกปรับเปล่ียนเป็นส่ิงปลูกสร้าง ต่างๆ เช่น โรงแรม บังกะโล และรีสอร์ทในปัจจุบัน บริเวณโดยรอบของหนองหานประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ๑. พ้ืนท่ีน้�ำ ซ่ึงมีลักษณะเป็นแอ่งน้�ำล้อมรอบพ้ืนดิน เรียกว่า “หนองหาน” ๒. พ้ืนดิน อยู่บริเวณตรงกลางของหนองหาน เรียกว่า “เกาะกลาง” 209

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ซ่ึงภายในเกาะกลางน้ีจะเป็นสวนสาธารณะ ร่มรื่นไปด้วยต้นสน และมีเคร่ือง ออกก�ำลังกายส�ำหรับเด็ก อีกทั้งใช้เป็นสถานท่ีจัดงานประจ�ำปีต่างๆ เช่น วันลอย กระทง สงกรานต์ งานวัด วันผู้สูงอายุ เป็นต้น และเป็นสถานที่ส�ำหรับค่ายพักแรม ลูกเสือเนตรนารีของนักเรียนในจังหวัดภูเก็ต ชาวชุมชนยังคงมีวิถีชีวิตแบบประมงชาวบ้าน ดังจะเห็นได้จากการท่ีใน อดีตชาวบ้านมีการลากอวน ทอดแห เพ่ือหาปลา กุ้ง บริเวณหน้าหาด และใน หนองหาน บ้างก็ใช้เรือออกไปหาปลาในทะเล แต่ในปัจจุบันประมงชาวบ้านเร่ิม ลดน้อยลงและได้ปรับเปล่ียนไปตามกาลเวลา ชาวชุมชนส่วนใหญ่จะมาหาปลา และหอยในหนองหาน ซ่ึงมีลักษณะเป็นแอ่งหรืออ่างเก็บน�้ำ ท่ีประตูก้ันน้�ำเปิดตลอด น�้ำเค็มสามารถเข้าออกได้ น้�ำในหนองจึงเป็นน้�ำกร่อย และเป็นแหล่งอาหารของ ชาวบ้าน จึงเป็นวิถีชุมชนท่ีมีลักษณะเฉพาะตัว แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ท่ียังคง ด�ำรงอยู่ในปัจจุบัน สถานที่ส�ำคัญ เช่น หาดในหาน อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ ๑๘ กิโลเมตร ความยาว ของหาดประมาณ ๗๐๐ เมตร เป็นหาดทรายท่ีตั้งอยู่ตอนใต้ของเกาะภูเก็ต ถือได้ว่า เป็นหาดทรายที่สวยงามแห่งหน่ึง บริเวณด้านทิศใต้สุดชายหาดจะมีทะเลสาบเล็กๆ ซ่ึงบางคร้ังจะมีน�้ำไหลกลับลงทะเล ท�ำให้เกิดสันทรายและท�ำให้เกิดคลื่นซัดท่ี ค่อนข้างชันและไล่แตกเป็นแนวสวยงาม โดยเฉพาะก่อนหน้าและหลังมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้เล็กน้อยจะเป็นเวลาท่ีเหมาะสมในการเล่นคล่ืนที่หาดน้ี และ บางครั้งหาดในหานก็ยังสามารถเล่นโต้คลื่นในช่วงหน้าท่องเท่ียวอีกด้วย สวนสาธาณะหนองน้�ำในหาน ตั้งอยู่หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลราไวย์ ถัดจากแหลม พรหมเทพ เป็นบึงน�้ำสวนสาธารณะอยู่ติดกับหาดในหาน มีสวนสุขภาพ บรรยากาศ ร่มร่ืน วัดในหาน เดิมเป็นส�ำนักสงฆ์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ โดยประชาชน ชาวราไวย์และชาวจังหวัดภูเก็ตได้ก่อสร้างข้ึนเพ่ือเป็นท่ียึดเหน่ียวจิตใจ และเป็น แหล่งรวมในการประกอบศาสนพิธีต่างๆ มีพระครูสุนทรกิตยานุกูลปฏิบัติหน้าท่ี 210

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลราไวย์ หาดในหาน และสวนสาธาณะหนองน้�ำในหาน หัวหน้าที่พักสงฆ์ตั้งแต่เร่ิมก่อต้ังจนถึงปัจจุบัน และได้มีการพัฒนาเร่ือยมาจน เป็นสถานที่ทางศาสนาท่ีมีช่ือเสียงเป็นท่ีศรัทธาของพุทธศาสนานิกชน จนกระท่ัง ปี พ.ศ.๒๕๖๐ ทางมหาเถรสมาคมได้มีมติประกาศตั้งส�ำนักสงฆ์ในหานเป็น วัด ในหาน พร้อมแต่งตั้งพระครูสุนทรกิตยานุกูลเป็นเจ้าอาวาส ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายสนาน ปจันทบุตร อายุ ๗๙ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๓๔ หมู่ที่ ๑ ถนนวิเศษ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายเสทือน มุขดี วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๒๘ เดือนกันยายน ๒๕๖๐ 211

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ สวนสาธาณะหนองน้�ำในหาน และวัดในหาน หาดในหาน 212

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลราไวย์ ๓ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านราไวย์ สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๒ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด แหลมกา ทะเลอันดามัน ทิศใต้ จด แหลมพรหมเทพ ทะเลอันดามัน ทิศตะวันออก จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด บ้านบางคณฑี ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ท่ีเกี่ยวข้อง ราวัย หรือ ราไวย์ หมายถึง เบ็ดตกปลา เป็น​ภาษาของชาวเลอูรักลาโว้ย และหาดทรายด้านใต้ของเกาะภูเก็ตท่ีช่ือ หาดราไวย์ ก็มีความหมายว่า เบ็ด อัน แสดงถึงความเชื่อมโยงของกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยในบริเวณน้ัน ว่าเป็นผู้ตั้งช่ือ แหล่งอาศัยของตน เบ็ดราว ในสมัยเริ่มแรก ชาวเลจะน�ำเหล็กแหลมมาตัดและดัดให้เป็นตาเบ็ด ๑๐ - ๑๕ ตา ใช้สายทรงยาว ๒ วา มีสายผูกเบ็ดยาวประมาณครึ่งวา ท่ีตาเบ็ดจะมี เชือกฟางหรือริบบิ้น ท�ำเป็นพู่ผูกอยู่ (สมัยก่อนใช้ขนไก่) หรือปลา​ปลอม​ส�ำหรับล่อ เหย่ือ เมื่อออกเรือหาปลา ถึงกลางทะเล ชาวเลจะไม่ทิ้งสมอเรือ แต่ปล่อยให้เรือลอย ไปเร่ือยๆ เมื่อใดท่ีปลากินเบ็ดก็จะจดจ�ำต�ำแหน่งน้ันไว้ ว่าเป็นแหล่งปลาชุม ปูเยอะ หอยมาก โดย​ดูส​ ภาพภูมิประเทศรอบๆ ด้วยว่าใกล้กับเกาะไหน คล้ายกับการสร้าง พิกัดแหล่งท�ำกิน เพ่ือง่ายต่อการกลับมา ปลาท่ีได้จะเป็นปลาเก๋า ทั้งน้ีจะไม่​ตก​ บริเวณท่ีมีปะการัง เพราะสายทรงจะไปพันปะการัง ท�ำให้เสียหาย ชาวอูรักลาโว้ยย้งคิดค้นอุปกรณ์อีกอย่าง คือ เบ็ดลากปลา (มาตา มืออูนา หรือ มาตา มืออีเระ) ซึ่งใช้เหง้าของต้นพลับพลึงมาเป็นเหย่ือปลอมเพราะมีกลิ่น 213

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ หาดราไวย์ คล้ายไส้เดือน ซึ่งต้นพลับพลึงน้ีจะขึ้นอยู่ตามชายหาดทั่วไป (นายอาหลิน หาด- ทรายทอง เกิดเมื่อ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๓ ผู้ให้ข้อมูล) ในอดีต นายล้อม วงศ์จันทร์ ชาวบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้อพยพ มาต้ังถิ่นฐาน ณ หาดราไวย์ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๓๐ ได้แต่งงานสร้างบ้านเรือน เป็นหลักฐานมั่นคง ด้วยความขยันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จึงเป็นท่ียอมรับของเพื่อนบ้าน ในละแวกหมู่บ้าน จึงได้รับการแต่งต้ังจากเจ้าเมืองในสมัยนั้นให้เป็นนายพัน ต่อมา ได้รับการแต่งต้ังให้เป็นก�ำนัน โดยเรียกกันติดปากว่า ก�ำนันล้อม ถือได้ว่าเป็นก�ำนัน คนแรกของต�ำบลราไวย์ ต่อมาญาติพ่ีน้องก็อพยพมาอยู่ด้วย ช่ือ นายเอี่ยม ปจันทบุตร ซ่ึงเป็นหมอ แผนโบราณและเป็นบิดาของหมอเติม ปจันทบุตร นอกจากนี้ยังมีชาวเลพวกพลัด หรือพวกสิงห์จากเกาะบริเวณใกล้เคียงหาดราไวย์ มาขออยู่อาศัยด้วย ก�ำนันล้อม ได้แบ่งท่ีดินท�ำกินให้ตามส่วน ถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่ได้เข้ามาต้ังรกรากกลุ่มแรก ในหมู่บ้านหาดราไวย์ (นายจ�ำเริญ มุขดี อดีตผู้ใหญ่บ้านหาดราไวย์ ผู้ให้ข้อมูล) 214

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลราไวย์ วัดสว่างอารมณ์ หรือวัดราไวย์ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น หาดราไวย์ เป็นชายหาดยาว ด้านทิศเหนือเป็นที่ต้ังของหมู่บ้านชาวเล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เคยเสด็จเยี่ยมหมู่บ้าน ชาวเล เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๒ ส่วนช่วงกลางเป็นท่าเทียบเรือ และทิศใต้ของหาด จดทางขึ้นแหลมพรหมเทพ วัดสว่างอารมณ์ หรือวัดราไวย์ ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายเสทือน มุขดี อายุ ๗๑ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๔๗/๑ หมู่ท่ี ๒ ถนนวิเศษ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายจ�ำเริญ มุขดี อายุ ๗๐ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๔๗ หมู่ที่ ๒ ถนนวิเศษ ต�ำบล ราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายอาหลิน หาดทรายทอง อายุ ๕๗ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล หมู่ที่ ๒ ถนนวิเศษ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล สภาวัฒนธรรมต�ำบลราไวย์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๒๘ เดือนกันยายน ๒๕๖๐ 215

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ 216

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลราไวย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เสด็จชุมชนราไวย์ เม่ือปี พ.ศ.๒๕๐๒ 217

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๔ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านเกาะโหลน สถานที่ตั้ง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด ทะเลอันดามัน ทิศใต้ จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันออก จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด ทะเลอันดามัน อ่าวฉลอง ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง ในอดีตเม่ือ ๑๐๐ กว่าปีก่อน ได้มีชาวบ้านจากจังหวัดสตูล ชื่อ โต๊ะนางู้ เดินทางมาตั้งบ้านเรือนอยู่บนเกาะโหลนซึ่งมีสภาพเป็นป่า ต่อมาคนภายนอกเห็นว่า มีคนอยู่ ก็พากันอพยพไปอยู่ด้วยหลายครัวเรือน บ้านเกาะโหลนจัดต้ังเป็นทางการเม่ือปี พ.ศ ๒๔๘๐ มีผู้ใหญ่บ้านคนแรก ช่ือ นายดล สองเมือง มีประชากร ๓๓ ครัวเรือน และท่ีเรียกว่า บ้านเกาะโหลน ผู้น�ำ ชุมชนเล่าว่า พอถึงฤดูท�ำนา ชาวบ้านใกล้เคียงกลัวว่าควายที่เลี้ยงไว้จะกินข้าวในนา จึงกรรเชียงเรือ จูงควายว่ายน้�ำ มาปล่อยไว้ท่ีเกาะโหลน พอหมดฤดูท�ำนาเจ้าของ ควายก็จะมาพาควายกลับ แต่มีควายท่ีหลุดเชือก เป็นควายเถ่ือนอยู่ที่เกาะโหลน ควายเถื่อนพวกนี้ก็จะพากันกินหญ้า กินต้นไม้บนเกาะท�ำให้โหลน (ภาษากลางคือ โล้น) เตียน จึงได้เรียกว่า “บ้านเกาะโหลน” สถานที่ส�ำคัญ เช่น โรงเรียนบ้านเกาะโหลน เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงประถมศึกษา สังกัด ส�ำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต เขต ๑ มัสยิดดารุ้ลอิสลาม 218

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลราไวย์ เกาะโหลน ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายเสทือน มุขดี อายุ ๗๑ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๔๗/๑ หมู่ที่ ๒ ถนนวิเศษ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล สภาวัฒนธรรมต�ำบลราไวย์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๒๘ เดือนกันยายน ๒๕๖๐ 219

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๕ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านบางคณฑี สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๔ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด บ้านราไวย์ ทิศใต้ จด บ้านห้าแยก ทิศตะวันออก จด อ่าวฉลอง ทิศตะวันตก จด บ้านใสยวน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อ ๑๐๐ กว่าปีก่อน มีชาวมุสลิมจากจังหวัดสตูลเดินทางอพยพมาอยู่ ที่บ้านบางคณฑี ได้ตั้งถ่ินฐานมีครอบครัว มีญาติพี่น้องเดินทางมาอาศัยอยู่ด้วย จนมีจ�ำนวนมากขึ้น ปัจจุบันมีสภาพเป็นชุมชน ประวัติความเป็นมาของชื่อ บ้านบางคณฑี มาจากหลายแหล่ง สรุปได้ดังนี้ บ้านบางคณฑี สภาพหมู่บ้านมีบาง มีคลองเยอะ เวลามีเรือผ่านไปมา ก็จะ พักจอดเพ่ือตักน�้ำกินน�้ำใช้ เมื่อก่อนในหมู่บ้านมีคนอยู่น้อย ร้านค้าในหมู่บ้านก็จะ เปิดได้เพียง ๑ แห่ง ถ้าเปิดหลายแห่งก็จะขายไม่ได้ เพราะฉะน้ันถ้าร้านหน่ึงเปิด อีกร้านหน่ึงก็ต้องปิด กล่าวได้ว่าต้องเปิดร้าน คนละที บ้างก็เล่าว่า เม่ือก่อนคนในหมู่บ้าน มีนิสัยนักเลง อันธพาล ถ้ามีใครพลัด ถ่ิน ไม่มีเครือญาติในหมู่บ้าน เดินทางเข้าไปในหมู่บ้าน ก็จะถูกพวกนักเลง อันธพาล ก่อกวน เล่นงาน คนละที จนไม่สามารถอยู่ได้ ต้องอพยพออกไปจากหมู่บ้าน 220

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลราไวย์ ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายส�ำราญ เนาว์ไพร อายุ ๗๓ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๔๖ หมู่ที่ ๔ ถนนวิเศษ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล สภาวัฒนธรรมต�ำบลราไวย์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๒๘ เดือนกันยายน ๒๕๖๐ 221

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๖ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านห้าแยก สถานท่ีตั้ง หมู่ท่ี ๕ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด บ้านบางคณฑี ทิศใต้ จด วงเวียนห้าแยกฉลอง ทิศตะวันออก จด อ่าวฉลอง ทิศตะวันตก จด เนินเขาบ้านกะตะ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เก่ียวข้อง บ้านห้าแยก ได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านมานานกว่า ๑๐๐ ปี พื้นที่หมู่บ้านต้ังอยู่ บริเวณวงเวียนห้าแยก เรียกชื่อหมู่บ้านตามสถานท่ีตั้ง คือ “บ้านห้าแยก” ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายส�ำราญ เนาว์ไพร อายุ ๗๓ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๔๖ หมู่ท่ี ๔ ถนนวิเศษ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล สภาวัฒนธรรมต�ำบลราไวย์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๒๘ เดือนกันยายน ๒๕๖๐ 222

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลราไวย์ ๗ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านแหลมพรหมเทพ สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๖ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด ทะเลอันดามัน ทิศใต้ จด บ้านราไวย์ บ้านใสยวน ทิศตะวันออก จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด บ้านในหาน ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บ้านพรหมเทพ ได้แยกออกมาจากหมู่ท่ี ๒ ต�ำบลราไวย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อ นายสนิท หยดย้อย เดิมเป็นพื้นท่ีทุ่งเลี้ยงสัตว์ได้สงวนไว้ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๗๙ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ.๒๔๘๗ ข้าวยากหมากแพง จึงได้ให้ชาวบ้านมาท�ำไร่ปลูกข้าว ปี พ.ศ.๒๕๑๙ นายอ�ำเภอเมืองภูเก็ต ชื่อนายชิต นุ้ยภักดี ได้มีการพัฒนา ตัดทางข้ึนแหลมพรหมเทพโดยใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ชาวบ้านได้อพยพขึ้นไปอยู่บนแหลม ลักษณะพื้นท่ียื่นออกไปในทะเลเดิมเรียก “แหลมเจ้า หรือแหลมคอจ้าว” และมีหาดในพื้นที่คือ หาดพรหมเทพนุ้ย หาด พรหมเทพใหญ่ จึงใช้ช่ือหมู่บ้าน “บ้านแหลมพรหมเทพ” ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายเสทือน มุขดี อายุ ๗๑ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๔๗/๑ หมู่ท่ี ๒ ถนนวิเศษ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 223

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ แหลมพรหมเทพ ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล สภาวัฒนธรรมต�ำบลราไวย์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๒๘ เดือนกันยายน ๒๕๖๐ 224

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลราไวย์ ๘ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านใสยวน สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๗ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด บ้านในหาน ทิศใต้ จด บ้านบางคณฑี ทิศตะวันออก จด บ้านราไวย์ ทิศตะวันตก จด เนินเขาบ้านกะตะน้อย ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ที่เก่ียวข้อง บ้านใสยวน เป็นชุมชนมุสลิม เดิมชุมชนบ้านใสยวนรวมอยู่ในหมู่ท่ี ๑ ต�ำบลราไวย์ ต่อมาได้แยกหมู่บ้านเป็นหมู่ที่ ๗ ต�ำบลราไวย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔ ประวัติช่ือของหมู่บ้าน มาจากสถานที่ต้ังของชุมชนเป็นป่าใส (ป่าไม้อ่อน ป่าซึ่งได้ ถางท�ำไร่มาแล้ว และมีไม้รุ่นใหม่เกิดข้ึน) เป็นท่ีท�ำรังของผ้ึงยวน (ยวน มาจากชื่อ ต้นไม้ คือ ต้นยวนผึ้ง ซ่ึงเป็นที่ท�ำรังของผ้ึงป่า) จึงตั้งชื่อชุมชนว่า “บ้านใสยวน” ชาวบ้านในชุมชนอยู่กันแบบเครือญาติ เดิมประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ท�ำนา ท�ำไร่ ท�ำสวนมะพร้าว และเล้ียงสัตว์ ปัจจุบันชุมชนบ้านใสยวนได้ขยายเป็น หมู่บ้านจัดสรร ธุรกิจบ้านเช่า ท�ำให้มีคนจากภายนอกเข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน มากขึ้น เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของชุมชนประกอบกับคนรุ่นใหม่ได้เปล่ียนอาชีพ จากเกษตรกรรมมาเป็นขายแรงงาน รับจ้าง ค้าขาย รับเหมาก่อสร้าง และมีการ ประกอบธุรกิจบ้านเช่า บ้านจัดสรร โรงแรม และที่พัก ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายวีระ กาวิเศษ อายุ ๗๓ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๗๙/๖ หมู่ท่ี ๗ ถนนวิเศษ ต�ำบลราไวย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 225

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล สภาวัฒนธรรมต�ำบลราไวย์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๒๘ เดือนกันยายน ๒๕๖๐ 226

227

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ 228

อ�ำเภอเมือง ต�ำบลกะรน ๑ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านกะรน สถานที่ตั้ง หมู่ที่ ๑ ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะ ภูเก็ต ทิศเหนือ จด เทศบาลเมืองป่าตอง อ�ำเภอกะทู้ ทิศใต้ จด ต�ำบลราไวย์ ทิศตะวันออก จด ต�ำบลฉลอง ทิศตะวันตก จด ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ท่ีเก่ียวข้อง ต�ำบลกะรน เดิมมีการปกครองเป็นสุขาภิบาลต�ำบลกะรน ซึ่งจัดตั้งข้ึนโดย ประกาศกระทรวงมหาดไทยในราชกิจจานุเบกษา เล่มท่ี ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑๐ ลงวันท่ี ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๐ โดยมีผลบังคับใช้วันท่ี ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๐ ต่อมา ได้เปลี่ยนแปลงฐานะจาก สุขาภิบาลต�ำบลกะรน เป็น เทศบาลต�ำบลกะรน ตามพระราชบัญญัติ เปล่ียนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.๒๕๔๒ ใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มท่ี ๑๑๖ ตอนที่ ๙ ก. ลงวันท่ี ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๒ ต�ำบลกะรนอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ ๑๙ กิโลเมตร บนพื้นท่ี ท้ังหมด ๒๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๔,๕๕๖ ไร่ มีหาดทรายขาวละเอียด ทอดยาวสวยงาม โดยหาดกะรนอยู่ติดกับหาดกะตะ มีเพียงเนินเขาเตี้ยๆ คั่นกลาง เท่าน้ัน ประกอบด้วยชุมชน ๕ ชุมชน ซ่ึงตั้งช่ือตามชื่อเรียกขานมาแต่อดีต ดังน้ี 229

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๑. ชุมชนกะรน (บริเวณหมู่ท่ี ๑) ๒. ชุมชนกะตะ (บริเวณหมู่ท่ี ๒) ๓. ชุมชนโคกโตนด - กะตะน้อย (บริเวณหมู่ท่ี ๒) ๔. ชุมชนบางลา (บริเวณหมู่ท่ี ๓) ๕. ชุมชนคอกช้าง (บริเวณหมู่ที่ ๔) หาดกะรน จุดชมวิวสามอ่าว 230

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลกะรน พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี หรือพระใหญ่ (Big Buddha) สถานที่ส�ำคัญ เช่น หาดกะรน อ่าวกะรนนุ้ย หาดกะตะ หาดกะตะน้อย จุดชมวิวสามอ่าว สวนสาธารณะกะรน บึงหนองหาน วัดสุวรรณคีรีเขต (วัดกะรน) วงเวียนกะรน (สร้าง เพ่ือจ�ำลองวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวกะรน) พระพุทธม่ิงมงคลเอกนาคคีรี หรือพระใหญ่ (Big Buddha) บึงหนองหาน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่ท่ี ๑ ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นบึงขนาดใหญ่ ในอดีตเป็นแอ่งเก็บน้�ำที่ใช้ในการเกษตรและ เลี้ยงสัตว์ โดยเล้ียงเป็ดเลี้ยงห่านไล่ทุ่งมากินน้�ำท่ีนี่ ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายเกิน กุ้งแก้ว อายุ ๘๓ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๒ ถนนปฏัก ซอย ๗ ต�ำบล กะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นางฝร่ัง ชูวงษ์ อายุ ๘๕ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๑๑๗/๒ ถนนปฏัก ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นางแตงอ่อน สุทธิรักษ์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 231

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๒ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านกะตะ สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๒ ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด บ้านคอกช้าง ทิศใต้ จด ต�ำบลราไวย์ และทะเลอันดามัน ทิศตะวันออก จด ต�ำบลฉลอง ทิศตะวันตก จด ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เก่ียวข้อง บ้านกะตะ บ้านกะรน บ้านคอกช้าง มีประวัติสืบเนื่องมานานเพียงใดไม่มี หลักฐานอ้างอิงท่ีแน่นอน แต่ตามต�ำนานเล่าขานกันว่า ในครั้งโบราณกาลบริเวณ กะตะ กะรน มีสิ่งศักด์ิสิทธิ์ ช่ือว่า พ่อตายมดึง สถิตอยู่ท่ีนี่ มีช้างสองเชือก และ สร้างบ้านเรือน (รน) อยู่ในหุบเขาแห่งหนึ่ง ซึ่งต่อมาเรียกว่า กะรน และท่ีเล้ียงช้าง ต่อมาเรียกว่า คอกช้าง นอกจากมีช้างแล้ว ท่านได้ท�ำนาท�ำไร่และเอาข้าวมาตาก (ตะ) บริเวณท่ีราบเชิงชายเขาแห่งหนึ่ง ซึ่งต่อมาเรียกว่า กะตะ อีกหลักฐานหน่ึงสันนิษฐานว่า กะตะ มาจากค�ำว่า กราตะ ที่แปลว่า อ่าวข้าว (สุนัย ราชภัณฑารักษ์, ๒๕๒๗:๑๙๕) ส่วนป่าตองนั้นก็คือ บริเวณที่ท่านไปหาใบกล้วยมาให้ช้างกิน และครั้งหนึ่ง ช้างได้ขาดหนีไป ท่านก็ลากหอกตามช้างไปทางแหลมพันวา เกิดเป็นช่องเขาขาด บริเวณก่อนถึงแหลมพันวา เพราะอิทธิฤทธ์ิของการลากหอกตามช้างของท่านน่ันเอง จึงเรียกบริเวณน้ันว่า เขาขาด สถานที่ต่างๆ ตามต�ำนานจึงเรียกชื่อสืบต่อกันมา จนถึงปัจจุบัน ภูมิประเทศของกะตะ ในอดีตเป็นทุ่งนา ทุ่งหญ้า ป่า ที่เนินควน ภูเขา ปัจจุบันเป็นร้านค้าโรงแรมที่อยู่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง 232

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลกะรน หาดกะตะใหญ่ หาดกะตะน้อย วัดกิตติสังฆาราม หรือวัดกะตะ ธุรกิจ การบริการ ค้าขาย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้ ภาษาถ่ินภูเก็ต วัฒนธรรมสถานมี วัดกิตติสังฆาราม สถานท่ีส�ำคัญ เช่น แหลมราบ บริเวณน้ีมีหินลาดยาวย่ืนลงไปในทะเล 233

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ เกาะปู เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่หลังโรงแรมคลับเมด เป็นจุดท่ีนักด�ำน้�ำ นิยมใช้เป็นท่ีฝึกด�ำน้�ำเบื้องต้น ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่จะมีปูไก่จ�ำนวนมาก จึง เรียกว่า เกาะปู หาดกะตะใหญ่ หาดกะตะน้อย ส�ำนักงานเทศบาลต�ำบลกะรน วัดกิตติสังฆาราม หรือวัดกะตะ ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธ์ิ นาดอน อายุ ๗๒ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๙ บ้านคอกช้าง ซอย ๑๐ ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายเกิน กุ้งแก้ว อายุ ๘๓ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๒ ถนนปฏัก ซอย ๗ ต�ำบล กะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นางแตงอ่อน สุทธิรักษ์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 234

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลกะรน ๓ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านโคกโตนด หรือบ้านโคกโหนด สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๒ ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด ทุ่งนา ต�ำบลกะรน ทิศใต้ จด เนินเขาระหว่างกะตะน้อยกับกะตะใหญ่ ทิศตะวันออก จด ควนหลาน�้ำ ต�ำบลกะรน ทิศตะวันตก จด ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง บ้านโคกโตนด หรือ โคกโหนด เดิมเป็นทุ่งนา ทุ่งหญ้า และมีต้นตาลจ�ำนวน มาก (เรียกต้นตาลโตนด แต่ชาวบ้านเรียก ต้นโหนด) ปัจจุบันเป็นสถานประกอบการ ที่อยู่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ นิยมใช้ภาษาถ่ินภูเก็ต สถานที่ส�ำคัญ เช่น ควนหลาน้�ำ ซอยปลักเจ ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายเกิน กุ้งแก้ว อายุ ๘๓ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๒ ถนนปฏัก ซอย ๗ ต�ำบล กะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นางจันทรา อยู่สุข อายุ ๕๙ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๘/๒ ถนนปฏัก ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง ภูเก็ต 235

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นางแตงอ่อน สุทธิรักษ์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 236

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลกะรน ๔ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านบางลา และบ้านในพรุ หรือในโพละ สถานท่ีตั้ง หมู่ท่ี ๓ ชุมชนบางลา ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ท่ี ๑ ทิศใต้ จด สันเขาหมู่ท่ี ๓ ทิศตะวันออก จด เขานาคเกิด ทิศตะวันตก จด ทะเลบางส่วน และโรงแรม ร้านค้าร้านอาหาร ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง บ้านบางลา เนื่องจากพ้ืนท่ีมีน้�ำไหลผ่านแต่ไม่ลึกมาก จึงเรียกว่า บ้านบางลา บ้านในพรุ มาจาก ค�ำว่า พรุ ซ่ึงเป็นท่ีที่มีน้�ำขัง เป็นบึงน้�ำตื้นชายฝั่งทะเล มีชาวบ้านปลูกบ้านอยู่ใกล้ป่าพรุ จึงเรียก บ้านในพรุ ภูมิประเทศในอดีตเป็นแหล่ง น้�ำ ทุ่งหญ้า ป่าพรุ ปัจจุบันเป็นร้านค้า ท่ีอยู่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รับจ้าง การบริการ ค้าขาย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ภาษาท่ีใช้เป็นภาษาถ่ินภูเก็ต สถานที่ส�ำคัญ เช่น บ้านหัวคลา บริเวณรอยต่อสันเขาระหว่างต�ำบลกะรนกับป่าตอง ซ่ึงเดิม พื้นที่นี้เป็นแหล่งแร่ดีบุก มีการท�ำเหมืองขุดแร่ แต่ปัจจุบันเปล่ียนเป็นโรงแรม แหล่งท่องเที่ยว ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายเกิน กุ้งแก้ว อายุ ๘๓ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๒ ถนนปฏัก ซอย ๗ ต�ำบล กะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 237

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ นางกานต์รวี แอนเดอร์สัน อายุ ๕๘ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๘/๕ ถนนปฏัก ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นางราตรี บุญมนภัทร อายุ ๔๘ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒ ถนนปฏัก ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นางแตงอ่อน สุทธิรักษ์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 238

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลกะรน ๕ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านคอกช้าง สถานที่ตั้ง หมู่ท่ี ๔ ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ท่ีเกี่ยวข้อง ในอดีตมีผู้เฒ่าช่ือ พ่อเฒ่าแดง เอาช้างมาเลี้ยง ๑ เชือก ตอนเช้าช้างที่เล้ียง ออกไปหาของกินในละแวกน้ัน ซ่ึงรบกวนชาวบ้าน พ่อเฒ่าแดงเกิดความเกรงใจ คนในหมู่บ้านจึงเอาช้างไปถวายหลวงพ่อที่วัดฉลอง หลวงพ่อที่วัดฉลองจึงต้ังช่ือว่า จ�ำปี ซึ่งปัจจุบันมีอนุสาวรีย์เจ้าจ�ำปีอยู่ท่ีหน้าอุโบสถในวัดฉลอง ดังน้ันผู้คนมักเรียก บริเวณบ้านพ่อเฒ่าแดงว่า บ้านคอกช้าง มาจนถึงปัจจุบัน สถานท่ีส�ำคัญ เช่น ศาลเจ้ากะตะ ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายเกิน กุ้งแก้ว อายุ ๘๓ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๒ ถนนปฏัก ซอย ๗ ต�ำบล กะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นางจันทรา อยู่สุข อายุ ๕๙ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๘/๒ ถนนปฏัก ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง ภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นางแตงอ่อน สุทธิรักษ์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 239

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๖ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านท้ายนา สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๔ ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด บ้านบางลา หมู่ที่ ๓ ทิศใต้ จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันออก จด หมู่ท่ี ๔ ทิศตะวันตก จด ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ช่ือบ้านท้ายนาน้ีหมายถึง ส่วนหลังสุดของทุ่งนา (ประสิทธิ์ นาดอน, ๒๕๔๖) ในอดีตบริเวณน้ีจะมีต้นจากจ�ำนวนมากอยู่ชายนา ชาวบ้านมักตัดไปท�ำหลังคาบ้าน และห่อขนม เรียกบริเวณน้ีว่า ป่าจากท้ายนา ภูมิประเทศในอดีตเป็นทุ่งนา ทุ่งหญ้า แหล่งน�้ำซึ่งชาวบ้านไปจับกุ้งสาร มาท�ำอาหารที่เรียกว่า เบือทอด ได้จ�ำนวนมาก ปัจจุบันท่ีนากลายเป็นนาร้างและ เปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย ศาสนาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ นิยมใช้ภาษาถิ่นภูเก็ต ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธ์ิ นาดอน อายุ ๗๒ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๙ ซอย ๑๐ ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นางอนงค์ บุญวัฒน์ อายุ ๖๐ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๙/๒๕ ซอย ๑๐ ถนนปฏัก ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 240

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลกะรน ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นางแตงอ่อน สุทธิรักษ์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 241

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๗ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ซอยแม่เฒ่าล้อม สถานท่ีตั้ง ถนนปฏัก ซอย ๑๐ ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้อง ซอยแม่เฒ่าล้อม เป็นช่ือเรียกขานเดิมของ ถนนปฏัก ซอย ๑๐ เน่ืองจาก เป็นท่ีต้ังบ้านเรือนของคุณยายทวดท่ีคนในละแวกน้ีนับถือและท่านมีอายุยืนยาว กว่าร้อยปี (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) แม้จะเปลี่ยนชื่อซอยแล้ว แต่คนท้องถ่ินเดิม ยังนิยมเรียกว่า ซอยแม่เฒ่าล้อม สถานท่ีส�ำคัญ เช่น บ้านหัวคลา บริเวณรอยต่อสันเขาระหว่างต�ำบลกะรนกับป่าตอง ซ่ึงเดิม พื้นที่นี้เป็นแหล่งแร่ดีบุก มีการท�ำเหมืองขุดแร่ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นโรงแรม แหล่งท่องเท่ียว ชื่อผู้ให้ข้อมูล นางจันทรา อยู่สุข อายุ ๕๙ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๘/๒ ถนนปฏัก ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ­ ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นางแตงอ่อน สุทธิรักษ์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 242

ในอ�ำเภอถลาง 243

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ 244

อ�ำเภอถลาง ต�ำบลเทพกระษัตรี ๑ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านตะเคียน สถานท่ีตั้ง หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลเทพกระษัตรี อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ที่ ๕ บ้านเมืองใหม่ และหมู่ที่ ๙ บ้านป่าครองชีพ ทิศใต้ จด หมู่ที่ ๑ บ้านในคล�ำ ต�ำบลศรีสุนทร ทิศตะวันออก จด หมู่ที่ ๒ บ้านแขนน หมู่ท่ี ๗ บ้านนาใน และหมู่ที่ ๙ บ้านป่าครองชีพ ทิศตะวันตก จด หมู่ที่ ๔ บ้านดอน หมู่ท่ี ๓ บ้านพรุจ�ำปา - บ้านเหรียง และหมู่ท่ี ๘ บ้านพรุสมภาร ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้อง บ้านตะเคียน เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ ต้ังแต่สมัยเมืองถลาง บริเวณน้ีมีลักษณะ คล้ายเป็นเกาะ มีนาล้อมรอบ มีต้นตะเคียนอยู่เป็นจ�ำนวนมาก จึงเรียกกันว่า เกาะ บ้านตะเคียน ต่อมาได้เรียกว่า เกาะบ้านเคียน และ บ้านเคียน (บริเวณบ้านท้าวเทพ- กระษัตรี หรือบ้านย่าในปัจจุบัน) เคยเป็นที่ต้ังของเมืองถลาง สมัยปลายกรุงศรี- อยุธยา โดยมีจอมร้างบ้านเคียนเป็นเจ้าเมือง ในปี พ.ศ.๒๓๒๘ คร้ังเกิดศึกถลาง ก็ ยังมีฐานะเป็นเมืองถลางอยู่ ในปี พ.ศ.๒๔๓๗ มีการเปล่ียนแปลงการปกครองเป็น แบบมณฑลเทศาภิบาล สมัยน้ันอ�ำเภอถลาง มี ๑๐ ต�ำบล บ้านตะเคียนมีฐานะเป็น ต�ำบลตะเคียน เมื่อมีการตัดถนนเทพกระษัตรีในปี พ.ศ.๒๔๕๒ ประชาชนได้ย้าย บ้านเรือนมาต้ังอยู่ท่ีสองฝั่งของถนนเทพกระษัตรีมากขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ ในสมัย รัชกาลที่ ๘ อ�ำเภอถลางได้ยุบเหลือเพียง ๖ ต�ำบล โดยต�ำบลท่ามะพร้าว ต�ำบลดอน 245

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ บ้านท้าวเทพกระษัตรี - ท้าวศรีสุนทร และต�ำบลตะเคียน ได้ยุบรวมกันเป็นต�ำบลเทพกษัตรี (ปัจจุบันคือ ต�ำบลเทพกระษัตรี เพ่ือเป็นเกียรติแด่ท้าวเทพกระษัตรี) ต�ำบลตะเคียนจึงเป็นเพียงชื่อหมู่ท่ี ๑ บ้าน ตะเคียนขึ้นกับต�ำบลเทพกระษัตรีมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากน้ี หมู่ท่ี ๑ บ้านตะเคียน ยังมีบ้านย่อยคือ ๑. บ้านบ่อกรวด ๒. บ้านหินรุ่ย ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการท�ำข้าวหลาม ในนาม “เหนียวหลามบ้านหินรุ่ย” อยู่ข้างโรงเรียนถลางพระนางสร้าง ภาษาท่ีใช้คือ ภาษาถิ่นภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีศาสนา อิสลามบางส่วน อาชีพของคนในหมู่บ้านคือ ค้าขาย ท�ำสวน รับจ้างทั่วไป และธุรกิจส่วนตัว สถานที่ส�ำคัญ เช่น ที่ว่าการอ�ำเภอถลาง เทศบาลต�ำบลเทพกระษัตรี อบต.เทพกระษัตรี สถานี ต�ำรวจภูธรถลาง โรงพยาบาลถลาง สนง.สาธารณสุขอ�ำเภอถลาง โรงเรียนถลาง พระนางสร้าง โรงเรียนถลางวิทยา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลต�ำบลเทพกระษัตรี ที่ท�ำการไปรษณีย์ถลาง ส�ำนักงานโทรศัพท์ถลาง วัดพระทอง วัดพระนางสร้าง 246

อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลเทพกระษัตรี วัดพระทอง ศาลเจ้าหง่อเห้ียนไต่เต่ ศาลเจ้าบู้เส่งต๋อง ศาลเจ้าจ๊งหง่ีเก้ง (น�้ำตกโตนไทร) มัสยิด ดารุลอามีน บ้านบ่อกรวด ตลาดสดเทศบาลต�ำบลเทพกระษัตรี บ้านท้าวเทพกระษัตรี - ท้าวศรีสุนทร ป้ายเมืองถลางบ้านเคียน ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายนิโรธ โชติช่วง อายุ ๖๕ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๐๓ ถนนเทพกระษัตรี หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลเทพกระษัตรี อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๑๙ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ 247

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๒ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านแขนน สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๒ ต�ำบลเทพกระษัตรี อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ท่ี ๗ บ้านนาใน และบ้านบางตาก และหมู่ที่ ๑๑ บ้านควน ทิศใต้ จด หมู่ท่ี ๑ บ้านลิพอนเขาล้าน ต�ำบลศรีสุนทร ทิศตะวันออก จด หมู่ท่ี ๑๑ บ้านควน และเขาพระแทว ทิศตะวันตก จด หมู่ท่ี ๗ บ้านนาใน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ที่เก่ียวข้อง ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านเล่ากันว่า ท่ีน่ีเป็นหมู่บ้านสมัยท้าวเทพกระษัตรี เดิม เรียกว่า บ้านแหนง มีคลองบางแหนนหรือบางแหนง ไหลมาจากเทือกเขาพระแทว มีช่ือเสียงในด้านการท�ำเสน่ห์ยาแฝด ผู้คนที่เช่ือในด้านนี้มาใช้บริการกันอยู่เสมอ จนเป็นท่ีรู้จักกันในนาม บ้านเสน่ห์ ภาษาถ่ินใต้เรียกสั้นๆ ว่า บ้านเหน่ ต่อมาได้ เพี้ยนมาเป็นบ้านแหนน หรือบ้านแขนนในปัจจุบันน้ี เชื่อกันว่า น้�ำในบริเวณน้ี สามารถเอาไปให้คนที่ถูกเสน่ห์ด่ืม เพ่ือให้หายจากอาการคือ ให้เกิดหน่ายแหนง ผู้ที่ท�ำเสน่ห์น้ันเสีย ภาษาที่ใช้คือ ภาษาถ่ินภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ อาชีพของคนในหมู่บ้านคือ ท�ำสวน ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป สถานท่ีส�ำคัญ เช่น วัดบ้านแขนน โรงเรียนบ้านโคกวัดใหม่ หมู่บ้านวัฒนธรรมถลาง สถานี พัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว (ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า เขาพระแทว) น�้ำตกโตนไทร 248

อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลเทพกระษัตรี น้�ำตกโตนไทร วัดบ้านแขนน หมู่บ้านวัฒนธรรมถลาง บ้านแขนน ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายนิโรธ โชติช่วง อายุ ๖๕ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๐๓ ถนนเทพกระษัตรี หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลเทพกระษัตรี อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๙ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ 249

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๓ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านพรุจ�ำปา สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลเทพกระษัตรี อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด หมู่ที่ ๘ บ้านพรุสมภาร และต�ำบลสาคูบางส่วน ทิศใต้ จด หมู่ท่ี ๑ บ้านตะเคียน และหมู่ท่ี ๔ บ้านดอน ทิศตะวันออก จด หมู่ท่ี ๑ บ้านตะเคียน ทิศตะวันตก จด ภูเขาเมือง ต�ำบลสาคู ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้อง ลักษณะภูมิประเทศบริเวณนี้ เดิมเป็นป่าพรุ มีต้นจ�ำปาข้ึนอยู่มากมาย รอบๆ ป่าพรุ เช่น พรุตาเฉย พรุจวก พรุเตียว พรุขุนอ้อ จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า บ้าน พรุจ�ำปา ประกอบด้วยบ้านพรุจ�ำปาเหนือ และบ้านพรุจ�ำปาใต้ ภาษาที่ใช้คือ ภาษาถ่ินภูเก็ต ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ อาชีพของคนในหมู่บ้านคือ ท�ำสวนยางพารา สวนผลไม้ และ ค้าขาย สถานท่ีส�ำคัญ เช่น ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแพะนม บ้านพรุจ�ำปา ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายนิโรธ โชติช่วง อายุ ๖๕ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๐๓ ถนนเทพกระษัตรี หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลเทพกระษัตรี อ�ำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 250

อ�ำเภอถลาง l ต�ำบลเทพกระษัตรี ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแพะนม บ้านพรุจ�ำปา ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นายสุเชาว์ พงศานนท์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๙ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ 251


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook