ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๖ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ชุมชนบ้านกะหลิม สถานท่ีตั้ง ทิศเหนือ จด ต�ำบลกมลา ทิศใต้ จด อ่าวป่าตอง ทะเลอันดามัน และชุมชนบ้านโคกมะขาม ทิศตะวันออก จด ชุมชนบ้านโคกมะขาม และต�ำบลกะทู้ ทิศตะวันตก จด อ่าวป่าตอง ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง นายยุโส้ อิสลาม อายุ ๖๔ ปี อดีตรองประธานสภาเทศบาลต�ำบลป่าตอง เล่าว่า ชุมชนบ้านกะหลิม เดิมเป็นส่วนหน่ึงของหมู่ท่ี ๑ ต�ำบลป่าตอง อ�ำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซ่ึงต่อมาได้แยกการปกครองออกเป็นหมู่ที่ ๕ ของต�ำบลป่าตอง มีพื้นที่ ตั้งแต่สามแยกแหลมเพชร ทอดยาวไปตามถนนพระบารมี จนจรดต�ำบลกมลา อ�ำเภอ กะทู้ จังหวัดภูเก็ต นายยุโส้เล่าต่อว่า เม่ือราวกว่า ๕๐ ปีท่ีแล้ว บ้านกะหลิม มีครัวเรือนนับได้ ประมาณ ๑๘ ครัวเรือน ในจ�ำนวนท้ังหมดนี้มีผู้นับถือศาสนาอิสลามกว่าร้อยละ ๙๘ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๓ เทศบาลเมืองป่าตอง หน้า ๑๘ ระบุ หลังจากป่าตองได้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองป่าตองเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๕ เทศบาลได้แบ่งพื้นท่ีบริการออกเป็น ๗ ชุมชน และปรับเปลี่ยนหมู่ที่ ๕ บ้านกะหลิม เป็น ชุมชนบ้านกะหลิม งานทะเบียนราษฎร์ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ ระบุ ชุมชนบ้านกะหลิมมี ๑๙๘ ครัวเรือน จ�ำนวนประชากร ๑,๓๐๗ คน ปัจจุบันมี นางวัชรีย์ พันธ์ฉลาด เป็นประธานกรรมการชุมชน บุคคลส�ำคัญในอดีต นายเหม หะสัน อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๕ คนแรก นายธีระวัฒน์ หะสัน อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๕ คนท่ี ๒ 452
อ�ำเภอกะทู้ l ต�ำบลป่าตอง มัสยิดหวะด้านิย้าตุ้ลอิสลามิยะห์ บ้านกะหลิม นายเรืองชัย อัครพงศ์สกุล (เตียงน้อย) อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๕ คนสุดท้าย สถานท่ีส�ำคัญ เช่น มัสยิดหวะด้านิย้าตุ้ลอิสลามิยะห์ บ้านกะหลิม โรงเรียนบ้านกะหลิม ประปาหมู่บ้าน ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายยุโส้ อิสลาม อายุ ๖๔ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๑๐๖ ถนนพระบารมี ต�ำบล ป่าตอง อ�ำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๓ เทศบาลเมืองป่าตอง รายงานกิจการเทศบาลเมืองป่าตอง ๒๐๑๖ แผนชุมชน เทศบาลเมืองป่าตอง ๒๕๕๙ 453
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ช่ือผู้เก็บข้อมูล นายสาคร เช้ือญวน วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๒๔ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ 454
อ�ำเภอกะทู้ l ต�ำบลป่าตอง ๗ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ชุมชนหาดป่าตอง สถานท่ีต้ัง ทิศเหนือ จด ชุมชนบ้านโคกมะขาม ทิศใต้ จด ต�ำบลกะรน อ�ำเภอเมือง ทิศตะวันออก จด ชุมชนบ้านไสน้�ำเย็น และชุมชนบ้านนาใน ทิศตะวันตก จด อ่าวป่าตอง ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ท่ีเกี่ยวข้อง ชุมชนหาดป่าตองได้จัดต้ังข้ึนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐ โดยแยกพ้ืนท่ีบางส่วน ของชุมชนบ้านนาในและชุมชนบ้านไสน้�ำเย็นในส่วนท่ีเป็นชายหาดป่าตองออกไป บริหารจัดการ ชุมชนหาดป่าตองเป็นที่ตั้งของโรงแรมหรูทุกระดับ ท่ีพักตากอากาศ ห้าง สรรพสินค้า ร้านค้า ภัตตาคาร ร้านอาหาร สถานบริการ สถานบันเทิง และอ่ืนๆ ท่ี เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเท่ียวมากที่สุด แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๓ เทศบาลเมืองป่าตอง หน้า ๑๘ ระบุ หลังจากป่าตองได้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองป่าตองเม่ือ พ.ศ.๒๕๔๕ เทศบาลได้แบ่งพื้นท่ีบริการออกเป็น ๗ ชุมชน และแยกพ้ืนท่ีบางส่วนของชุมชน บ้านนาใน เป็น ชุมชนหาดป่าตอง งานทะเบียนราษฎร์ เม่ือวันท่ี ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ ระบุ ชุมชนหาดป่าตอง มีจ�ำนวนครัวเรือน ๔๔๙ ครัวเรือน และมีจ�ำนวนประชากร จ�ำนวน ๒,๖๕๑ คน ปัจจุบันมี นางสาวจงรักษ์ อธิมุตติสรรค์ เป็นประธานกรรมการชุมชน 455
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ สถานที่ส�ำคัญ เช่น โรงเรียนเทศบาลเมืองป่าตอง (บ้านไสน้�ำเย็น) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อ�ำเภอกะทู้ หาดป่าตอง สวนสาธารณะโลมา ประติมากรรมอนุสรณ์ ร.๙ (ลานเลข ๙) สวนสาธารณะโลมา สนามฟุตบอล ศูนย์กลางสถานบันเทิง ซอยบางลา หาดป่าตอง สะพานข้ามคลองปากบาง หินแม่ขัน คลองปากบาง หาดไตรตรัง หรือไนกรัง ถนนหมื่นเงิน หรือหม่ืนนนทร์ แหลมคอไสรอด ฌาปนสถาน ส�ำนักสงฆ์แหลมเพชร ที่ฝังศพชาวมุสลิม (กุโบร์) ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายธวัช ธรรมดี อายุ ๗๑ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒๐๙/๓ ถนนนาใน ต�ำบล ป่าตอง อ�ำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๓ เทศบาลเมืองป่าตอง รายงานกิจการเทศบาลเมืองป่าตอง ๒๐๑๖ แผนชุมชน เทศบาลเมืองป่าตอง ๒๕๕๙ ช่ือผู้เก็บข้อมูล นายสาคร เช้ือญวน วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๑ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 456
อ�ำเภอกะทู้ l ต�ำบลป่าตอง หาดป่าตอง ประติมากรรมอนุสรณ์ ร.๙ (ลานเลข ๙) สวนสาธารณะโลมา 457
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ซอยบางลา 458
459
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ผ้าผูกคอลูกเสือและเนตรนารี แสดงสัญลักษณ์ภูเขาเพชร หรือภูเขาแก้ว ซึ่งหมายถึงภูเก็จ 460
คนไทยส่วนใหญ่เม่ือกล่าวถึง เกาะท่ีใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และ มีสถานภาพเป็นจังหวัด ทุกคนต้องนึกถึงจังหวัดภูเก็ต และเขียนช่ือจังหวัดน้ี ด้วยอักษรไทยว่า “ภูเก็ต” เกาะเล็กๆ นี้ ปรากฏเป็นครั้งแรกในภูมิศาสตร์ ของคลอดิอุส ปโตเลมี (Claudius Ptolemy) นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก ซ่ึงเขียนขึ้นราว พ.ศ.๗๐๐ ว่า การ เดินทางจากไคร้เส (Chryse คือ สุวรรณภูมิ) ลงทางใต้ไปยังแหลมทอง (Golden Khersonese คือ แหลมสะการามาเซ็น หรือ แหลมมลายู) จะต้องผ่านแหลม จังซีลอน (Junk Ceylon) เสียก่อน แหลมจังซีลอนน้ี ก็คือ แหลมสลาง หรือ แหลม ถลาง น่ันเอง การบันทึกลงในแผนท่ีเดินเรือว่า จังซีลอนหรือ จุงซีลอน (Junk Ceylon) นับเป็นโอกาสแรกท่ีปรากฏช่ือเกาะนี้เป็นลายลักษณ์อักษรให้โลกได้รู้จัก พระเจ้าราเชนทรโจฬะท่ี ๑ แห่งเมืองตันโจ อาณาจักรทมิฬ (ปัจจุบันคือ รัฐทมิฬนาฑู อินเดียตอนใต้) ได้ยกกองทัพมายึดอาณาจักรไศเลนทร์บนแหลม สุวรรณภูมิ ได้ยึดครองเกาะถลางไว้ ตั้งเมืองมานิกคราม หรือ มณิกคราม (บ้าน ม่าหนิก) ขึ้นเป็นศูนย์บริหาร และต้ังเมืองสลาป�ำ (บ้านสะป�ำ) ขึ้นเป็นเมืองค้าขาย ในหนังสือจีนของเจาซูกัว (Tchao Jou - koua) ซึ่งพิมพ์เม่ือ พ.ศ.๑๗๖๘ มีระบุ ช่ือเมืองสิลัน (Si-lan) ว่า เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัย ต่อมาในสมัย กรุงศรีอยุธยา เมื่อท�ำการค้าขายกับฮอลันดา ใน พ.ศ.๒๒๐๗ ก็ปรากฏช่ือเมือง โอทจันซาลางห์ หรือ โอทจังซาลัง อยู่ในสัญญาด้วย ซ่ึงชื่อนี้ก็คือ เมืองสลางหรือ ถลาง กัปตันเรือชาวอังกฤษชื่อ โธมัส ฟอร์เรสต์ (Thomas Forrest) ได้เดินเรือ จากอินเดีย มายังหมู่เกาะมะริด มาแวะที่เกาะถลาง เม่ือ พ.ศ.๒๓๒๗ และได้ กลับไปตีพิมพ์รายงานน้ีในกรุงลอนดอน เม่ือ พ.ศ.๒๓๓๕ ว่า “เกาะ Jan Sylan ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของอ่าวเบงกอลและแยกออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ โดย 461
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ช่องแคบอันเต็มไปด้วยทรายขาวประมาณหนึ่งไมล์ กว้างประมาณคร่ึงไมล์ ช่องแคบ นี้จะถูกน�้ำท่วมเวลาน้�ำขึ้น (น้�ำข้ึนสูงสุดประมาณ ๑๐ ฟุต) และตอนเหนือสุด ของช่องแคบก็เป็นท่าเรือท่ีดีเยี่ยมเรียกว่า ปากพระ (Popra) แสดงให้เห็นว่า สมัยต้นรัชกาลท่ี ๑ เกาะถลางยังมีสภาพเป็นครึ่งเกาะคร่ึงแหลม เพราะช่องปากพระ เวลาน�้ำลดยังเห็นพ้ืนทรายอยู่ ดังนั้น เมื่อ พ.ศ.๗๐๐ จึงเป็นแหลมดังที่ปโตเลมี เขียนไว้แน่นอน ส่วนการเป็นเกาะโดยสมบูรณ์ดังเช่นปัจจุบันนั้น เริ่มเมื่อใดไม่มี หลักฐานปรากฏ เกาะนี้เคยเป็นส่วนหน่ึงของอาณาจักรตามพรลิงค์ ครั้งน้ันยังมีสภาพ เป็นแหลม เรียกกันว่าแหลมสลางหรือแหลมถลาง ดังกล่าวมาแล้วในข้างต้น ต่อมา โลกได้รู้จักเกาะน้ีในชื่อ เมืองตะกั่วถลาง เช่ือกันว่า ความเจริญของถลางในช่วงนี้อยู่ ที่บ้านกมลา (ปัจจุบันอยู่ในอ�ำเภอกะทู้) ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “บ้านหมา” (บ้านหมร่า หรือ กราหม้า หรือ กราหมา) เมืองบริวารล�ำดับที่ ๑๑ ของอาณาจักรศิริธรรมนคร หรือ อาณาจักรตามพรลิงค์เดิม ซึ่งกลับมามีอ�ำนาจอีกคร้ังในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุ ในปี พ.ศ.๑๖๐๓ ในฐานะเมืองหน่ึงใน ๑๒ เมืองนักษัตร ถือตราสุนัขนาม เป็นตราประจ�ำ เมือง อันหมายถึง ปีจอ จนถึง พ.ศ.๑๘๒๓ อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามค�ำแหง เกาะน้ีก็ขึ้นกับอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองที่มีความส�ำคัญกับสุโขทัยมาก ในฐานะ เป็นแหล่งแร่ดีบุก ซ่ึงอินเดียและจีนต้องการมาก ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยเสื่อม อ�ำนาจลงในปี พ.ศ.๑๙๑๒ เกาะนี้ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาต่อมาอีก เป็นเวลาอันยาวนาน ในสมัยอยุธยาน้ี เกาะถลางเป็นที่รู้จักและปรากฏชื่ออยู่ใน บันทึกการเดินทางของชาติต่างๆ ในยุโรป ท่ีแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาท�ำการค้าขาย ทางเรือในเอเชีย เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศสและอังกฤษ เพราะความอุดม สมบูรณ์ของแร่ดีบุกซึ่งเป็นที่ต้องการของชาติตะวันตก ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีค�ำว่า ภูเก็ต ปรากฏอยู่ในเอกสาร หลักฐานใดๆ เลย ส�ำหรับค�ำว่า ภูเก็จ มีปรากฏคร้ังแรก เมื่อคุณเทียน บุตรท้าวเทพกระษัตรี ได้รับพระราชทานต�ำแหน่งเป็นเมืองภูเก็จ ซ่ึงมีหลักฐานท่ีปรากฏชัดเจนอยู่ในจดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับท่ี ๑ 462
พระยาวิชิตสงคราม (ทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) เมืองถลางมีเจ้าเมืองปกครองสืบต่อกันมาหลายท่าน จนถึงปี พ.ศ.๒๓๙๓ ได้มีการแยกเมืองภูเก็ตออกจากเมืองถลาง โดยมีศักด์ิศรีและฐานะเท่ากัน ทั้งสอง เมืองนี้ขึ้นกับพังงา ต้ังแต่ พ.ศ.๒๓๙๖ เป็นต้นมา เมืองภูเก็ตซ่ึงเป็นแหล่งแร่ดีบุก ได้ขยายตัวกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ทัดเทียมกับเมืองถลาง จากการขยายตัวของ ธุรกิจเหมืองแร่และการค้าแร่ดีบุก ในปี พ.ศ.๒๔๐๔ มีการแยกเมืองภูเก็ตออกเป็น เมืองอิสระข้ึนตรงต่อกรุงเทพฯ มีการแบ่งเขตแดนระหว่างเมืองถลางกับเมือง ภูเก็ตกันท่ีคลองคูคด ซ่ึงอยู่ตอนกลางของเกาะ (ปัจจุบันคือ คลองท่ีไหลผ่านถนน เทพกระษัตรี แบ่งเขตแดนระหว่างบ้านท่าเรือ อ�ำเภอถลาง กับบ้านเกาะแก้ว อ�ำเภอ เมือง) เมืองถลางปกครองโดยตระกูลจันทโรจวงศ์ เมืองภูเก็ตปกครองโดยพระยา ภูเก็จโลหเกษตรารักษ์ (ทัต) ต้นสกุล รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ในปี พ.ศ.๒๔๑๒ รัชกาล ท่ี ๕ ได้โปรดเกล้าฯ เล่ือนต�ำแหน่งขึ้นเป็นพระยาวิชิตสงครามรามฤทธิเดช โลหเกษตรารักษ์ พิทักษสยามรัฐสีมา มาตยานุชิตพิพิธภักดี พิริยพาหะ (ทัต) จางวาง (วิเศษ) เมืองภูเก็ต และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคุณล�ำดวน บุตรชาย ให้เป็น พระยาภูเก็จโลหเกษตรารักษ์ (ล�ำดวน) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองภูเก็ตคนสุดท้าย (พ.ศ. ๒๔๑๒ – ๒๔๓๓) และในปี พ.ศ.๒๔๑๒ นี้ ให้รวมเมืองถลางเข้ากับเมืองภูเก็ต มีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองภูเก็ต ส�ำหรับเมืองถลางนั้น หลวงพิทักษ์ทวีป (หนู) เหลนของพระยาถลาง (ทองพูน หรือบุญคง) ได้เป็นพระยาถลาง (พ.ศ.๒๔๓๓ – ๒๔๓๘) นามว่า พระยาณรงค์เรืองฤทธ์ิประสิทธิสงคราม นิคมคามบริรักษ์ สยาม พิทักษ์ภักดี (หนู) เป็นพระยาถลางคนสุดท้ายของเมืองถลาง 463
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ พ.ศ.๒๔๓๕ สมัยรัชกาลที่ ๕ มีการเปล่ียนแปลงการปกครองหัวเมืองเป็น ระบอบมณฑลเทศาภิบาล ยกเลิกต�ำแหน่งเจ้าเมือง มีพระยาทิพโกษา (โต หรือ หมาโต โชติกเสถียร) เป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลภูเก็ตคนแรก เป็นผู้วางรากฐาน ในการปกครองมณฑลภูเก็ต ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๘ – ๒๔๔๑ (เมืองถลางถูกยุบเป็น อ�ำเภอถลาง เมืองภูเก็ตถูกยุบเป็นอ�ำเภอเมือง ท้ังสองอ�ำเภอข้ึนกับจังหวัดภูเก็ต) พ.ศ.๒๔๔๔ - ๒๔๕๖ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต เป็นผู้วางผังเมืองภูเก็ตและพัฒนา เมืองภูเก็ต จนเจริญก้าวหน้าสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ท่ีกล่าวมาทั้งหมดนี้มีช่วงระยะเวลาท่ียาวนาน ถ้าตั้งค�ำถามว่า ค�ำว่า “ภูเก็จ” กับ ค�ำว่า “ภูเก็ต” เราใช้ค�ำไหนก่อน ใช้ค�ำไหนหลัง ใช้ค�ำเหล่าน้ีที่ไหน และใช้ในโอกาสไหนบ้าง มีผู้พบหลักฐานว่า หนังสือราชกิจจานุเบกษา ใช้ “ภูเก็จ” จ สะกด มาจนถึง พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๔) ต้ังแต่ พ.ศ.๒๔๕๐ เป็นต้นมา หนังสือต่างๆ ท่ีเขียน เก่ียวกับภูเก็ต ใช้ “ภูเก็ต” ต สะกด ยังมีหลักฐานอีกอย่างหน่ึงเกี่ยวกับช่ือ “ภูเก็จ” จ สะกด คือ วารสาร เทศาภิบาลของกระทรวงมหาดไทย ใช้ จ สะกด ทั้งสิ้น เท่าท่ีมีหลักฐานให้ค้นได้คือ มีการใช้ “ภูเก็จ” จ สะกด จนถึง พ.ศ.๒๔๕๘ และในปี พ.ศ.๒๔๗๒ พบหลักฐาน ว่า มีการใช้ “ภูเก็ต” ต สะกด แล้ว ซึ่งไม่ทราบว่า ระหว่าง พ.ศ.๒๔๕๘ – ๒๔๗๒ นั้น มีเอกสารหลักฐานอ่ืนใดบ้างที่แสดงให้เห็นว่า มีการใช้ จ สะกด หรือ ต สะกด สิ่งที่เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ว่า ช่ือภูเก็ตในอดีตเขียนว่า “ภูเก็จ” ซึ่งหมายถึง “ภูเขาแก้ว” มีดังน้ี ๑. จดหมายเหตุเมืองถลางฉบับท่ี ๑ ของท่านผู้หญิงจัน หรือ ท้าวเทพ- กระษัตรี ที่เขียนไปถึงกัปตันฟรานซิส ไลท์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ในเน้ือหาของจดหมายฉบับน้ีได้กล่าวถึง “เมืองภูเก็จ” ซ่ึงหมายถึง คุณเทียน ประทีป ณ ถลาง (บุตรท้าวเทพกระษัตรี) ซ่ึงได้รับพระราชทินนามเป็นพิเศษว่า 464
จดหมายของท้าวเทพกระษัตรี มีไปถึงกัปตันฟรานซิส ไลท์ เขียนเมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๘ ในสมัยรัชกาลท่ี ๑ “เมืองภูเก็จ” ต�ำแหน่งเจ้าเมืองภูเก็จ มีศักดินา ๖๐๐ ไร่ นายอ้วน สุระกุล ให้มีอ�ำนาจเกณฑ์ผู้คนราษฎรท่ีไร้สังกัดอ่ืนใดไปตั้ง 465 หลักฐานบ้านเรือนในเมืองภูเก็จ ซ่ึงจะต้ังข้ึนใหม่ได้ ตามสมควรแก่การ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๓๒ ได้รับ พระราชทานต�ำแหน่งเป็น “พระยาเพชรคีรีศรีพิชัย- สงครามรามค�ำแหง” ค�ำว่า “เจ้าเมืองภูเก็จ” หมายถึง ผู้ครองเมืองภูเขาแก้ว หรือแผ่นดินแก้ว
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ จดหมายของท้าวเทพกระษัตรี เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่นายอ้วน สุระกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้ขอถ่ายส�ำเนาจากมหาวิทยาลัยลอนดอน เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ โดยความเอื้อเฟื้อแนะน�ำของศาสตราจารย์ ดี.เอช.สจ๊วต ซิมมอนด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ฝ่ายดินแดนเอเชียและแอฟฟริกา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ๒. พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะด�ำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช กราบบังคมทูลรายงานกิจการ เหมืองแร่ในมณฑลภูเก็จ ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้ง เสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘ ทรงเขียนว่า “มณฑลภูเก็จ” 466
พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กราบบังคมทูลรายงาน กิจการเหมืองแร่ของมณฑลภูเก็จต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เม่ือครั้งเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๕๒) 467
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพกราบบังคมทูลเรื่องการจัดการบ�ำรุงมณฑลภูเก็จ ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ.๑๒๕ (พ.ศ.๒๔๔๙) 468
กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ๓. กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพกราบบังคมทูลเร่ืองการจัดการบ�ำรุงมณฑล ภูเก็จ ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ.๑๒๕ (พ.ศ.๒๔๔๙) ใช้ ค�ำว่า “มณฑลภูเก็จ” ตราประทับมณฑลภูเก็จ ๔. ตราประทับของกระทรวงมหาดไทย ประจ�ำมณฑลภูเก็จ เขียนสะกด “จ” (มีจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ อ�ำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต) 469
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ เคร่ืองบินประจ�ำมณฑลภูเก็จ (ไม่ทราบปีท่ีถ่าย) ๕. เคร่ืองบินประจ�ำมณฑลภูเก็จ เขียนข้างเคร่ืองบินว่า “มณฑลภูเก็จ” ๖. ภาพแผนที่ระวางต�ำบลบ้านทุ่งทอง อ�ำเภอกะทู้ เมืองภูเก็จ และต�ำบล บ้านระเงง อ�ำเภอเมือง เมืองภูเก็จ ซึ่งเขียนโดยกรมแผนท่ีทหาร ใช้ค�ำว่า “ภูเก็จ” 470
๗. สัญญาบัตรที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ทรงแต่งตั้งให้นายตันค๊วด ตัณฑเวทย์ เป็นหลวงอ�ำนาจนรารักษ์ ต�ำแหน่งกรมการ พิเศษเมืองภูเก็จ เม่ือ ร.ศ.๑๓๑ (พ.ศ.๒๔๕๕) ใช้ “เมืองภูเก็จ” 471
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๘. หนังสือราชการของกระทรวงเกษตราธิการ ซ่ึงเสนาบดีกระทรวง เกษตราธิการ เขียนถึงพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต (พ.ศ.๒๔๕๒) หลักฐานฉบับน้ีเขียน “มณฑลภูเก็จ” เม่ือหลายปีมาแล้ว มีการร้ือฟื้นให้เห็นความส�ำคัญของการใช้ค�ำว่า “ภูเก็จ” อยากให้ค�ำนี้ได้กลับมาใช้กันอย่างจริงจัง อยากให้เปลี่ยนชื่อ “จังหวัดภูเก็ต” เป็น “จังหวัดภูเก็จ” โดยมีการแสดงเหตุผลที่มีการค้นคว้า หาความเป็นมาของการใช้ค�ำ ว่า “ภูเก็จ” มาแสดงต่อสังคม ในช่วงระยะเวลานั้น คนภูเก็ตมีความคิดเห็นแตกต่าง กันออกไป มีทั้งคนท่ีเห็นด้วย สนับสนุน ให้น�ำค�ำว่า “ภูเก็จ” มาใช้กันอีก และมีคน ท่ีไม่เห็นด้วย บางคนคัดค้านกันสุดโต่งรุนแรงถึงขนาดกล่าวหาว่า พวกท่ีต้องการ ให้น�ำค�ำว่า “ภูเก็จ” มาใช้อีกน้ัน เป็นพวกไร้สาระ พวกไม่มีอะไรจะท�ำ พวกตกยุค สมัย พวกไดโนเสาร์เต่าล้านปี ฯลฯ เร่ืองนี้เป็นกระแสอยู่ในช่วงเวลานานพอสมควร จนในท่ีสุดทุกอย่างก็เงียบหายไปกับวันเวลาที่ล่วงผ่านไป ในวันน้ี เม่ือเห็นค�ำว่า “ภูเก็จ” ถูกน�ำไปใช้ตามท่ีต่างๆ เช่น หนังสือ นิตยสาร ลายเส้ือ ชื่อร้านค้า หรือชื่อกลุ่มองค์กร และสมาคมต่างๆ ในจังหวัดน้ี ก็ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องแปลกใจ ให้รู้ไว้เลยว่า คนท้องถ่ินเขาต้องการสร้างเอกลักษณ์ และต้องการ อนุรักษ์ช่ือจังหวัด “ภูเก็จ” เอาไว้ดังเดิมน่ันเอง 472
473
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ 474
รู้จักค�ำขวัญจังหวัดภูเก็ต ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม เรื่อง : สุเชาว์ พงศานนท์ ค�ำขวัญประจ�ำจังหวัด เป็นค�ำขวัญที่แต่ละจังหวัดในประเทศไทยจัดให้ มีข้ึน เพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ความภาคภูมิใจ และความโดดเด่นที่มีอยู่ในจังหวัด นั้นๆ มักเป็นค�ำคล้องจองสั้นๆ เพ่ือให้จดจ�ำได้ง่าย แสดงให้เห็นถึงความเป็นคน เจ้าบทเจ้ากลอนของคนไทย ซ่ึงมีอยู่ในตัวตนของคนไทยส่วนใหญ่มานานแล้ว ค�ำขวัญของแต่ละจังหวัดมีความส้ันยาวแตกต่างกันไป มีทั้งคล้ายคลึงกันและ แตกต่างกัน ผู้คนแต่ละจังหวัดต่างก็ภาคภูมิใจในค�ำขวัญของจังหวัดตัวเอง ต่าง ท่องจ�ำกันได้จนขึ้นใจ แต่จะมีสักกี่จังหวัดที่ผู้คนในจังหวัดอื่นๆ สามารถท่องจ�ำ ค�ำขวัญของจังหวัดน้ันๆ ได้ดี และผู้ท่องสามารถนึกเห็นภาพของถ้อยค�ำที่ตัวเอง ท่องน้ันได้อย่างชัดเจนทุกครั้ง จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งท่ีผู้คนส่วนมากของ ประเทศไทย สามารถท่องจ�ำได้ว่าจังหวัดนี้มีค�ำขวัญว่าอย่างไร ที่มาของค�ำขวัญจังหวัดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ตได้มีหนังสือราชการส่งถึงหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะสถาน- ศึกษาทุกแห่ง ทุกจังหวัดท่ีตั้งอยู่ในเขตการศึกษา ๔ เพื่อเชิญชวนให้ผู้สนใจได้ส่ง ค�ำขวัญจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมประกวดชิงรางวัล และทางจังหวัดภูเก็ตได้แต่งตั้ง คณะกรรมการตัดสินการประกวดค�ำขวัญจังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ.๒๕๓๒ ขึ้นชุดหน่ึง โดยมีนายประยูร พรหมพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานกรรมการ ตัดสิน ส่วนกรรมการตัดสินประกอบด้วย นายสกุล ณ นคร นายประสิทธิ 475
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ชิณการณ์ อาจารย์สว่าง ปานมั่น อาจารย์สุภางค์ เขียวหวาน ผศ.อวยชัย ผกามาศ และกรรมการจากจังหวัดภูเก็ตอีกจ�ำนวนหน่ึง โดยมีนายจ�ำลอง สวนะคุณานนท์ ศึกษาธิการจังหวัดภูเก็ต เป็นกรรมการและเลขานุการ เงินรางวัลที่จะมอบให้กับผู้ชนะการประกวดในครั้งนี้ ไม่ใช่เงินของทาง ราชการแต่อย่างใด แต่เป็นเงินของนายสุจินต์ อุดมทรัพย์ นายเหมืองและนักธุรกิจ ชาวภูเก็ต ซ่ึงเป็นผู้ท่ีได้บริจาคเงินช่วยเหลือการจัดกิจกรรมด้านต่างๆ ในจังหวัด ภูเก็ตอยู่เสมอๆ ครั้งน้ีก็ได้เล็งเห็นความส�ำคัญของการหาค�ำขวัญให้กับจังหวัดภูเก็ต จึงยินดีสนับสนุน โดยการประสานงานของนายเริงศักดิ์ ละอองจินดา มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรมในคร้ังน้ีจ�ำนวนมากมาย หลังจาก คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากจังหวัดภูเก็ต ได้มาประชุมร่วมกันในห้อง ประชุมท่ีศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เพ่ือพิจารณาทุกส�ำนวนอย่างละเอียดรอบคอบ ถึง ข้อดี ข้อเด่น ข้อด้อย ของแต่ละส�ำนวนแล้ว ก็ได้ผลงานที่น่าสนใจ น่าพอใจใน รอบแรกจ�ำนวนหน่ึง หลังจากน้ันคณะกรรมการตัดสินการประกวดได้ประชุม พิจารณาในรอบสุดท้ายซึ่งเป็นรอบตัดสินอีกครั้งหน่ึง ในวันน้ันมีการแสดง ความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์กันมาก เพ่ือต้องการให้ได้ค�ำขวัญที่ดีที่สุด เหมาะสม กับจังหวัดภูเก็ตมากท่ีสุด จนได้ผลสรุปออกมาเป็นที่น่าพอใจของทุกคน ประกาศผลการประกวด วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๓๒ นายประยูร พรหมพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ภูเก็ต รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต (ผู้ว่าราชการจังหวัดปี ๒๕๓๒ คือ นายเฉลิม พรหมเลิศ) ได้ออกประกาศจังหวัดภูเก็ต เรื่อง แจ้งผลการประกวดค�ำขวัญ จังหวัดภูเก็ต ส่งไปยังหน่วยงานต่างๆ ท่ีเคยแจ้งเชิญชวนให้ส่งค�ำขวัญเข้าประกวด เพื่อคัดเลือกเป็นค�ำขวัญประจ�ำจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนแจ้งให้ส่ือมวลชนและ ประชาชนทั่วไปได้ทราบผลการประกวด ซ่ึงการคัดเลือกปรากฏผลดังนี้ อันดับท่ี ๑ ได้แก่ ส�ำนวนที่มีข้อความว่า “ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม” ส�ำนวนของ นายครรชิต อนุวัตรยรรยง 476
และมีส�ำนวนที่ได้รับการชมเชย ๓ ส�ำนวน ได้แก่ “พระดี สตรีเก่ง แหล่งดีบุก ไข่มุกอันดามัน สวรรค์นักท่องเท่ียว” ส�ำนวน ของ นางสาวอัมพร ด�ำรงค์เช้ือ “มุกสดใส ชลาลัยโสภี สองท้าววีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม” ส�ำนวนของ ส.ท.สุพจน์ ตัณทวณิช “เกาะใหญ่ พระดี สตรีเก่ง แหล่งดีบุก มุกงาม นามก้องโลก” ส�ำนวนของ นายบุษยทัศน์ บุษบรรณ์ ส�ำหรับส�ำนวนค�ำขวัญที่ชนะเลิศอันดับที่ ๑ น้ัน ถือเป็นลิขสิทธ์ิของจังหวัด ภูเก็ตและจังหวัดภูเก็ตขอสงวนสิทธิ์ไว้ที่จะปรับปรุงข้อความได้ตามความเหมาะสม เพ่ือน�ำไปเผยแพร่เป็นค�ำขวัญของจังหวัดต่อไป วันรับมอบรางวัล หลังจากนั้นจังหวัดภูเก็ตโดยนายจ�ำลอง สวนะคุณานนท์ ศึกษาธิการ จังหวัดภูเก็ต ท�ำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้ออกหนังสือที่ ภก. ๐๐๓๐ / ๔๐๖๒ ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๒ เร่ือง การมอบรางวัลประกวดค�ำขวัญจังหวัด ภูเก็ต แจ้งไปยังผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศว่า ให้เดินทางไปรับรางวัลจ�ำนวน ๗,๐๐๐ บาท ในวันท่ี ๓๐ มีนาคม ๒๕๓๒ (วันประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดภูเก็ต ประจ�ำเดือนมีนาคม) เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมศาลาประชาคมจังหวัดภูเก็ต โดยเน้นว่า กรุณาไปรับมอบด้วยตัวเอง หากขัดข้องประการใดรีบแจ้งให้จังหวัด ทราบโดยด่วนด้วย ทุกคนในที่ประชุมวันนั้นต้องการรู้จักว่าผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นใคร ท�ำไมจึงได้คิดค�ำขวัญได้ดีเช่นนี้ แต่ปรากฏว่า วันนั้นนายครรชิต อนุวัตรยรรยง ไม่ได้มารับรางวัลด้วยตนเอง แต่ได้มอบหมายให้นายทัตชัย ศิริสังข์สุชล ซึ่งเป็น คนจังหวัดเดียวกันและท�ำงานอยู่ที่ส�ำนักงานศึกษาธิการจังหวัดภูเก็ต เป็นผู้มา รับแทน จึงเป็นท่ีผิดหวังของทุกคนในท่ีประชุมในเช้าวันน้ันเป็นอย่างมาก หลายวันต่อมา หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในภูเก็ตหลายฉบับได้น�ำเสนอข่าวน้ี ให้คนภูเก็ตได้รับทราบโดยทั่วกันว่า ต่อไปน้ีจังหวัดภูเก็ตได้มีค�ำขวัญเป็นของ 477
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ตัวเองแล้ว หนังสือพิมพ์ในส่วนกลางก็ได้เสนอข่าวน้ีด้วยเช่น ในวันท่ี ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ได้เสนอข่าวน้ีเป็นข้อความสั้นๆ สี่บรรทัด ในคอลัมน์ รอบๆ ตัว ในหน้ารอบภูธร (หน้า ๑๐) และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันท่ี ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๒ ได้เสนอข่าวน้ีเช่นเดียวกัน ในคอลัมน์ของนายทัพหน้า มีความยาวห้าบรรทัด เจ้าของรางวัลหายไปไหน ต้ังแต่ปีน้ันเป็นต้นมา ได้มีการกล่าวถึงค�ำขวัญของจังหวัดภูเก็ตกันอย่าง กว้างขวาง นิตยสารเก่ียวกับการท่องเที่ยวหลายฉบับท่ีเสนอเรื่องราวแนะน�ำการ ท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตได้กล่าวถึงค�ำขวัญน้ีแทบทุกครั้ง รายการเกมโชว์ใน โทรทัศน์หลายรายการได้ใช้เป็นค�ำถามในการแข่งขันเกมต่างๆ อยู่บ่อยครั้งว่า ค�ำขวัญน้ีเป็นค�ำขวัญของจังหวัดใด หรือถามว่า ค�ำขวัญของจังหวัดภูเก็ตมีว่า อย่างไร นอกจากน้ีรายการสารคดีท่องเที่ยวในโทรทัศน์ก็ได้กล่าวถึงค�ำขวัญน้ีอยู่ เสมอๆ ด้วย ค�ำขวัญของจังหวัดภูเก็ต เป็นท่ีรู้จักและจดจ�ำกันได้ดี ทั้งในหมู่คนภูเก็ต เองและคนไทยท่ัวทั้งประเทศ ในฐานะที่จังหวัดภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวท่ีส�ำคัญ ของประเทศและของโลก แต่จะมีสักกี่คนท่ีรู้จักว่า ใครคือเจ้าของความคิดและเขียน ค�ำขวัญน้ีขึ้นมา จนกลายเป็นค�ำขวัญที่โด่งดังไปท่ัวเช่นน้ี แม้แต่คณะกรรมการตัดสิน เองก็ไม่เคยได้เห็นรูปร่างหน้าตาของเขาเลยสักคร้ัง ไม่เคยมีหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฉบับใดๆ หรือแม้แต่รายการโทรทัศน์รายการใด เคยไปสัมภาษณ์หรือน�ำเร่ืองราว ของผู้เขียนค�ำขวัญนี้มาเสนอให้ผู้อ่านหรือผู้ชมได้รับทราบ แม้แต่เจ้าตัวเองจะบอก ใครๆ ว่า ตัวเขาน่ีแหละเป็นผู้เขียนค�ำขวัญน้ี ก็ไม่ค่อยมีใครเชื่อ เพราะการประกวด ในครั้งน้ัน ทางจังหวัดภูเก็ตไม่ได้มอบโล่รางวัลหรือใบเกียรติบัตรให้เป็นหลักฐาน เลย และในวันท่ีมีการรับมอบรางวัลเขาก็ไม่ได้ไปรับด้วยตัวเอง จึงไม่ได้มีรูปถ่าย ไว้เป็นหลักฐาน เพ่ือยืนยันความจริง เม่ือเวลาผ่านไปนานปี เจ้าตัวก็แทบจะลืม ไปแล้วว่า ครั้งหน่ึงเม่ือยี่สิบเก้าปีที่แล้ว ตัวเองเคยได้รับรางวัลน้ี ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ หลายท่านเม่ือถูกเด็กๆ ถามว่า ใครเป็นคนแต่ง ค�ำขวัญของจังหวัดภูเก็ต ก็ไม่อาจตอบได้ เพราะการประกาศช่ือเสียงของผู้ชนะ 478
การประกวดในครั้งน้ัน ก็ได้ประกาศไปในช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๒ แม้จะมีหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่นหรือส่วนกลางได้เสนอข่าวไปบ้าง เม่ือเวลาผ่านไปนานหลายปี หนังสือพิมพ์ ฉบับต่างๆ เหล่าน้ันก็ถูกทอดทิ้งถูกท�ำลายไปตามกาลเวลา จะมีก่ีคนท่ีเก็บข่าวนี้ เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ ทุกอย่างถูกปล่อยให้ลืมเลือนไปกับวันเวลาที่ล่วง ผ่านอย่างไม่น่าเช่ือ มีเร่ืองราวอีกหลากหลายท่ีเป็นประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองเรา มักเป็นเช่นนี้อยู่เสมอ ครรชิต อนุวัตรยรรยง เป็นใคร ครรชิต อนุวัตรยรรยง เดิมชื่อ ครรชิต แซ่ต้วง เกิดเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๔๙๙ ท่ีต�ำบลบางร้ิน อ�ำเภอเมือง จังหวัดระนอง บิดาช่ือ นายกุ้น แซ่ต้วง มารดา ชื่อ นางก้ิม แซ่ต้วง เรียนจบช้ันประถมศึกษาปีที่ ๗ จากโรงเรียนบ้านบางร้ิน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ และจบช้ันมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนพิชัยรัตนาคาร จังหวัดระนอง เม่ือปี พ.ศ.๒๕๑๔ แล้วก็เดินทางมาจังหวัดภูเก็ต เพื่อเรียนวิชาชีพครูท่ีวิทยาลัยครู ภูเก็ตซ่ึงเพิ่งเปิดเป็นรุ่นแรก จนจบป.กศ. (ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา) เม่ือปี พ.ศ.๒๕๑๖ หลังจบการศึกษาที่ภูเก็ตแล้ว ก็ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร วิชาเอกสังคมศึกษา เม่ือจบการศึกษา จากกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.๒๕๒๑ ก็กลับมายังบ้านเกิดอีกครั้ง เร่ิมรับราชการเป็น อาจารย์ท่ีโรงเรียนกระบุรีวิทยา ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๖ ได้ย้ายมาสอนที่โรงเรียน พิชัยรัตนาคาร ซ่ึงเป็นโรงเรียนที่ตัวเองเคยเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มาก่อน ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ ได้สมรสกับนางชมัยพร อนุวัตรยรรยง อาจารย์แนะแนว โรงเรียนเดียวกัน (เป็นปีเดียวกันกับท่ีได้รับรางวัลการประกวดค�ำขวัญ) มีทายาท สองคนคือ ร.ท. ชนชาติ อนุวัตรยรรยง จบโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อ ปี ๒๕๕๗ รับราชการทหารท่ีกองพันทหารราบท่ี ๒ กรมทหารราบท่ี ๒๕ และนางสาว ธัญญา อนุวัตรยรรยง จบรัฐศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ ๑ จากมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เมื่อปี ๒๕๕๙ ท�ำงานท่ีกรมอุตสาหกรรมพ้ืนฐานและการเหมืองแร่ นอกจากน้ีครรชิต ซึ่งเป็นคนใฝ่รู้อยู่เสมอยังได้ใช้เวลาว่างศึกษาด้วยตนเองจนจบ นิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในปี ๒๕๓๔ อีกด้วย 479
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ อ.ครรชิต อนุวัตรยรรยง ผู้ชนะการประกวดค�ำขวัญจังหวัดภูเก็ต กว่าจะเป็นค�ำขวัญของจังหวัดภูเก็ต แม้เวลาจะล่วงผ่านมาจนถึงวันน้ีเป็นเวลาเน่ินนานถึง ๓๐ ปีแล้ว แต่อาจารย์ ครรชิต ยังจ�ำได้ดีถึงเหตุการณ์ที่ท�ำให้ตัวเองต้องมาเกี่ยวข้องกับจังหวัดภูเก็ตอีก ครั้ง หลังจากคร้ังแรกเป็นการมาใช้ชีวิตอยู่ในภูเก็ตในฐานะนักศึกษาครูในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๖ ย้อนกลับไปในปี พ.ศ.๒๕๓๒ ในวันนั้น เขาได้หยุดอ่านประกาศท่ี ป้ายนิเทศประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน และได้พบประกาศเชิญชวนประกวดค�ำขวัญ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งทางจังหวัดภูเก็ตส่งไปถึงโรงเรียนพิชัยรัตนาคาร เพ่ือประชาสัมพันธ์ ให้ครู นักเรียนและผู้ปกครองได้ทราบ ในทันทีที่ได้อ่านประกาศเชิญชวน ฉบับนั้นจบลง ก็มีความคิดว่า เขาต้องเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ด้วย เขามีความรู้สึก ว่า ตัวเองรู้จักและมีความผูกพันกับจังหวัดภูเก็ตมาก เพราะเป็นจังหวัดที่มีสถาบัน การศึกษาท่ีเขารักต้ังอยู่ ท่ีแห่งนี้ท�ำให้เขาได้เร่ิมต้นมีวิชาชีพครูติดตัวมาจนถึงทุกวัน นี้ แม้จะมาใช้ชีวิตอยู่ที่ภูเก็ตในคร้ังน้ันเพียงสองปี แต่ก็ได้ท่องเท่ียวไปจนเกือบทั่ว ทั้งเกาะภูเก็ต ได้พบเห็นสิ่งต่างๆ มากมาย มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังประทับใจอยู่ มิรู้ลืม ส่ิงที่จังหวัดภูเก็ตก�ำหนดไว้ในหนังสือเชิญชวนประกวดค�ำขวัญ เช่น มุก ชายหาด ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร และหลวงพ่อแช่ม นั้น เขารู้สึกว่า มันเป็น ข้อมูลท่ียังซึมซับอยู่ในตัวเขาไม่น้อย 480
เมื่อกลับถึงบ้านในเย็นวันนั้น ก็ลงมือคิดเขียนค�ำขวัญในทันที โดยเขียน เน้นถึงสิ่งต่างๆ ที่จังหวัดภูเก็ตก�ำหนดว่าจะต้องมีในค�ำขวัญลงบนหน้ากระดาษก่อน จากนั้นก็คิดหาค�ำสัมผัส ค�ำคล้องจอง มาต่อท้ายหรือวางข้างหน้า ของค�ำที่ก�ำหนด มาให้ และเปลี่ยนเอาค�ำใหม่ท่ีคิดว่าไพเราะไปใส่แทนค�ำท่ีก�ำหนดมา เพ่ือให้ดูไพเราะ และชัดเจนกว่าเดิม เช่น ค�ำว่า ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ที่ก�ำหนดมาให้เป็น ค�ำที่ยาวเกินไป ก็ใช้ค�ำว่า สองวีรสตรี แทน ค�ำว่า ชายหาด เป็นท่ีรู้กันดีว่า ภูเก็ต มีหาดทรายมากมายที่ขาวสวย ละเอียด เนียนนุ่ม แทบทุกหาด ไม่อาจเอ่ยช่ือได้หมด เม่ือนึกถึงคร้ังท่ีไปเท่ียวและเคยเห็นหาดทราย ท่ีกระทบกับแสงแดดยามเย็น มอง เห็นเป็นสีทอง จึงน่าจะใช้ค�ำว่า หาดทรายสีทอง ซ่ึงจะท�ำให้ไปคล้องจองกับค�ำว่า สองวีรสตรี สุดท้ายค�ำว่า หลวงพ่อแช่ม ก็นึกได้ว่า ท่านเป็นผู้ท่ีมีคนเคารพนับถือ มากและผู้คนก็จะอาศัยบารมีของท่าน ในการช่วยคุ้มครองให้ได้อยู่เย็นเป็นสุข กันตลอดมา ก็เลยมาลงตัวให้จบลงท่ีค�ำว่า บารมีหลวงพ่อแช่ม คิดว่าน่าจะสมบูรณ์ ที่สุด ค�ำว่า สวรรค์เมืองใต้ น้ัน ไม่ได้เป็นค�ำท่ีก�ำหนดมาให้ แต่คิดขึ้นมาเองว่า ภูเก็ตนั้นเป็นเมืองท่องเท่ียวท่ีผู้คนอยากมาเท่ียว ครั้นได้มาเท่ียวแล้วก็ได้พบเห็น แต่ส่ิงท่ีสวยงามมีแต่ความสะดวกสบาย ท�ำให้มีความสุขเหมือนได้มาเท่ียวเมือง สวรรค์ เมื่อภูเก็ตเป็นจังหวัดหน่ึงในภาคใต้จึงน่าจะเป็นสวรรค์ของภาคใต้ ท่ีใครๆ ก็อยากมาเท่ียวหรืออยากมาอยู่ จึงคิดว่าค�ำสั้นๆ ที่น่าจะเหมาะสมที่สุดคือ ค�ำว่า สวรรค์เมืองใต้ จะได้ไปสัมผัสกับค�ำว่า มุกอันดามันท่ีวางไว้ก่อนแล้ว แต่ก็ยังดู ห้วนๆ อยู่ เม่ือลองเติมค�ำว่า ไข่ ลงไปหน้าค�ำว่ามุก เป็นไข่มุกอันดามัน จึงเห็นว่า น่าจะดีกว่าเดิม เม่ือลองสลับท่ีกันใหม่ตามความเหมาะสมดูแล้วก็ได้ออกมาเป็น ส�ำนวนว่า “ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมี หลวงพ่อแช่ม” อาจารย์ครรชิตจ�ำได้ว่า เขาใช้เวลาทั้งหมดในการคิดหาค�ำขวัญครั้งนั้น ประมาณ ๑๕ นาที ทุกอย่างก็จบลง จนเขาก็ไม่เช่ือตัวเองว่า ทุกอย่างจะเสร็จสมบูรณ์ ลงโดยใช้เวลาไม่นานเลย เหมือนทุกอย่างมันอยู่ในตัวเขาอยู่แล้ว สองปีที่ภูเก็ตและ เวลาอีกสิบกว่าปีที่ผ่านมาจนถึงวันท่ีน่ังลงคิดเขียนค�ำขวัญ ความรู้สึกมันคล้าย 481
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ เพ่ิงเกิดขึ้นตรงหน้า ท้ังที่จริงแล้วมันอยู่ในความทรงจ�ำ ในตัวตนของเขาตลอดเวลา น่ันเอง หลังจากท่ีทุกอย่างจบลงเป็นท่ีพึงพอใจแล้ว ก็เอาแผ่นกระดาษค�ำขวัญพร้อม จดหมายที่เขียนถึงคณะกรรมการจัดการประกวดใส่ซอง และส่งมาท่ีภูเก็ตใน วันรุ่งข้ึนทันที เขามาทราบผลการประกวดจากหนังสือท่ีจังหวัดภูเก็ตส่งไปที่ศาลากลาง จังหวัดระนอง พอดีวันน้ันมีการประชุมที่ศาลากลางจังหวัดระนอง ขณะที่ยืนอ่าน ป้ายนิเทศหน้าห้องส�ำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระนอง จึงได้ทราบผลการประกวด ว่าตัวเองได้รับรางวัลชนะเลิศ จึงรู้สึกดีใจและภาคภูมิใจมากท่ีจะได้มีส่วนช่วย ประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต ตามเป้าหมายของจังหวัดภูเก็ตแล้ว ต่อมาเมื่อทางจังหวัดภูเก็ตได้ส่งหนังสือไปถึงตัวเขา ให้ไปรับรางวัล แต่ตัว เขาติดราชการส�ำคัญที่ระนอง ไม่อาจมารับรางวัลด้วยตัวเองได้ จึงได้ให้คนบ้าน เดียวกันเป็นผู้รับแทน เขายังรู้สึกเสียดายอยู่จนทุกวันนี้ ที่ไม่ได้มารับรางวัลด้วย ตัวเอง เขารู้สึกภูมิใจมากย่ิงข้ึนท่ีได้เห็นค�ำขวัญของตัวเอง ที่จังหวัดภูเก็ตน�ำไปใช้ ประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ตในเวลาต่อมา โดยไม่ตัดทอนหรือแก้ไขเลยแม้แต่ ค�ำเดียว จนเป็นท่ีรู้จักกันโดยทั่วไป ในฐานะจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว ท่ีส�ำคัญและมีช่ือเสียงกระฉ่อนโลก ปัจจุบันน้ี อาจารย์ครรชิต อนุวัตรยรรยง เกษียณราชการแล้ว ใช้ชีวิตหลัง เกษียณอยู่ที่จังหวัดระนองบ้านเกิด 482
ภูเก็ตดีเจ็ดสิ่ง ฐะปะนีย์ นาครทรรพ สักรวา ภูเก็ตมี ดีเจ็ดสิ่ง หนึ่งยอดม่ิง นารี ศรีถลาง สองหลวงพ่อ วัดฉลอง ป้องทุกทาง สามเหมืองแร่ ส่ีสวนยาง ห้ามะพร้าว หกทะเล มีมุก สุขสดใส ชลาลัย คล่ืนสาด หาดทรายขาว เจ็ดคนดี โจรภัย ไม่ก้าวร้าว ดีของชาว ภูเก็ต ครบเจ็ดเอย เพลงภูเก็ตร�ำลึก ภูเอ๋ยภูเก็ต พริ้วพรายดังเพชรเกร็ดนที แดนภูผา แหล่งวารี ภูเก็ตโสภีพิร้ีพิไร งามเอ๋ยงามยิ่ง เพริดแพรวทุกส่ิงสุขฤทัย หาดไม้ขาว หาดราไวย์ จับจิตซึ้งใจ หลงใหลใฝ่ปอง เกาะสิเหร่เห่ไกว เพลินแหลมไม้ไผ่ คลั่งไคล้อ่าวฉลอง หาดในยาง หาดป่าตอง เกาะแก่งน่ามองในท้องนที ภูเอ๋ยภูเก็ต พร้ิวพรายดังเพชรเกร็ดมณี หาดสุรินทร์ถิ่นคนดี ภูเก็ตน้ันมีส่ิงที่ร่ืนรมย์ 483
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ เพลงภูเก็ตเมืองงาม ค�ำร้อง - ท�ำนอง ก�ำเนิด พงษ์ประดิษฐ์ (พ.ศ.๒๕๑๔) ขับร้อง พนม นพพร ภูเก็ตเมืองงามลือนามไปไกล ช่างสวยประทับใจ เมื่อเที่ยวราไวย์และหาดสุรินทร์ งามสนทะเล คล่ืนเทเสียงลมคู่ถ่ิน แร่ยางอุดมอาสิน งามไปส้ินน�้ำใจประชา ภาพหนึ่งตรึงตราสง่าเกรียงไกร ชวนพิศเมื่อคิดไป สะกิดเตือนใจให้เกิดศรัทธา วีรนารีน้องพ่ีมุกจันคนกล้า ป้องแผ่นดินไทยนานมา เกียรติก้องลือชาเรื่องเมืองถลาง สมแล้วเมืองแก้วของไทยธานี งามสะพานพาดผ่านนที ชื่อมีสารสินสล้าง มีหลวงพ่อแช่มแห่งวัดฉลอง คุ้มครองพิบัติทุกทาง บ้านเมืองน้�ำไฟสว่าง ถนนหนทางระเบียบเรียบงาม เจอหน่ึงนารีดังศรีดารา ช่างสวยและซึ้งตา เสน่ห์เธอพาฉันหวั่นใจหวาม ยังหลงละเมอรักเธอเหลือใจจะห้าม จากกันด้วยใจวาบหวาม คิดถึงคนงามด้วยความอาลัย 484
เพลงภูเก็ตจ๋า ค�ำร้อง - ท�ำนอง ประดิษฐ์ อุตตะมัง (พ.ศ.๒๕๑๑) ขับร้อง เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ภูเก็ตจ๋า ฉันจะมาอีกหน เคยต้องมนต์ คนชอบกัน ใฝ่ฝันทุกที ภูเก็ตเอ๋ย ฉันไม่เคยหน่ายหนี จ�ำติดตา จากมาร่วมปี คงดีเหมือนเก่า หาดราไวย์ แล้วใครมาน่ังชม พระจันทร์ดวงน้ันเล่า ไม่กี่เดือน หรือเลือนคนรักเก่า ที่เฝ้าพะเน้าพะนอ ภูเก็ตจ๋า เขาสัญญาจะรอ เม่ือกลับมา จะมีห้องหอ ให้รอเขาหน่อย เคยฝากค�ำ เขาคงจ�ำเลื่อนลอย เราเฝ้าคอย พลอยโศกศัลย์ ห่างกันหรือไร เมื่อกลับมา เขาลับตาอยู่ไหน คงสุขสม ร่ืมรมย์กับใคร ไยจึงไม่มา ห่างไปนาน รสหวานเหมือนตาลอ้อย ก็พลอยจะไร้ค่า ต้องผิดหวัง ฉันน่ังกินน้�ำตา น่ีแหละอาหารหัวใจ คล่ืนสาดโถม ฟ้าโพยมหว่ันไหว ภูเก็ตจ๋า โอ้หาดราไวย์ เจ็บใจหรือเปล่า 485
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ เพลงภูเก็ตเมืองทอง ภูเก็ตเมืองทอง เนืองนองด้วยทรัพย์นานา แร่ยางผักปลา เหลือคณาหลากอาสิน ชาวเมืองหญิงชาย ย้ิมพรายเริงร่าอาจิณ ศีลธรรมประจ�ำถิ่น เมตตาหล่ังรินและสามัคคี งามหาดสุรินทร์ แดนดินราไวย์ชื่อดัง ส่งเพลงชวนฟัง ยอดเขารังเม่ือราตรี แพรวพราวโพยม แสงโคมจ้าไฟแจ่มสี เสียงยานยนต์ระคนถ่ี ถ่ินแดนคนดีเด่นชื่อลือชา เทพกระษัตรี ศรีสุนทรขจรแจ่ม หลวงพ่อแช่มมีพระคุณอุ่นใจยิ่ง ท่านเจ้าคุณรัษฎา ท่านประเสริฐจริง สมเป็นม่ิงขวัญประชาศรัทธาใจ (ซ้�ำ) ภูเก็ตเมืองทอง เรืองรองด้วยอารยธรรม บ้านเมืองสวยงาม สมเป็นแดนศิวิไลซ์ ราตรีส�ำราญ สะพานหินเป็นถิ่นเพลินใจ ถนนหนทางกว้างใหญ่ พวกเราภูมิใจ อยู่นิจนิรันดร์ (ซ�้ำ) 486
เพลงภูเก็ตเมืองสวรรค์ ค�ำร้อง - ท�ำนอง จ�ำเริญ ทองตัน (พ.ศ.๒๕๔๕) ขับร้อง เอกชัย ศรีวิชัย จะกล่าวถึงเร่ืองเมืองสวรรค์ ไข่มุกอันดามัน ของชาวไทย มีความสง่า สมเป็นนานาชาติ ช่างงามผุดผาด จะหาไหน สวรรค์เมืองใต้ มิใช่อื่นไกล ภูเก็ตน่ันไง สุดโสภา เป็นเมืองคนดี เป็นที่รัก ท่ัวโลกประจักษ์ เสน่หา หาดทรายสีทอง ช่างผ่องโสภา ทะเลงามตา วิลาวัณย์ อีกเกาะน้อยใหญ่ เรียงรายใกล้ชิด ด่ังเป็นญาติมิตร ท่ีผูกพัน สองวีรสตรี เป็นที่โจษจัน ประดิษฐาน ทางผ่านไปมา ผู้คนเคารพ นอบนบกราบไหว้ ท่านกู้ถลาง ไว้ให้หรรษา บารมีหลวงพ่อแช่ม แจ่มแจ้งศรัทธา คู่วัดฉลองมา เนิ่นนานวัน ชาวเมืองร่มเย็น ได้เป็นสุข ไม่มีความทุกข์ มีแต่สุขสันต์ ภูเก็ตวันน้ี ก้าวหน้าไปครัน ขอเชิญทุกท่าน มาท่องเท่ียวเอย 487
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ เพลงภูเก็ต ค�ำร้อง - ท�ำนอง สรวง สันติ (พ.ศ.๒๕๑๖) ขับร้อง สรวง สันติ ภูเอ๋ย ภูเก็ต อาณาเขต ท่ีเรารักกัน โธ่เอ๋ยสะพานสารสิน เป็นถ่ินร่ืนรมย์ ลาแล้วลาก่อน คงไม่ย้อน หวนคืนมาชม ลาแล้วหนอความข่ืนขม ทุกข์ระทม สิ้นสุดกันที เราสองรักใคร่ ไม่เคยหน่ายขอตายพร้อมกัน ฝากฝังสะพานสารสิน ช่วยเป็นสักขี เราสองรักม่ันผู้ใหญ่เขาก้ันหาว่าไม่ดี บุญน้อยจริงชาตินี้ เราจึงพลีชีพตายพร้อมกัน พี่เป็นโชเฟอร์ขับสองแถวใครๆ ก็รู้ แต่น้องเป็นครูแม่พิมพ์ของชาติไม่อาจผูกพัน รักจริงใช่เล่น ขนาดเคยเป็นของกันและกัน รักที่เคยหมายมั่น กลับถูกกีดกันให้หมดความหมาย ภูเอ๋ย ภูเก็ต อาณาเขตท่ีเรารักกัน โธ่เอ๋ยสะพานสารสิน เป็นถิ่นที่ตาย น�้ำตานองหน้า เอาผ้าขาวม้ามาผูกมัดกาย สองเราติดกันม่ันไว้ โดดน�้ำตายท่ีใต้สะพาน 488
เพลงหาดราไวย์ ค�ำร้อง - ท�ำนอง ก�ำเนิด พงษ์ประดิษฐ์ (พ.ศ.๒๕๐๑) ขับร้อง พนม นพพร เลิศวิไล ใครใครก็ฝัน...ถึง สายลมแสงจันทร์ที่หาดราไวย์ โขดหินงามงอนสลอนแลไป แจ่มใสอารมณ์ น่าเพลินนิยมทะเลงามตา คล่ืนซัดมากระทบโขดหิน...เสียง ท่ีเราได้ยินเสนาะหนักหนา กระเซ็นฟองลอยละล่ิวปลิวมา สาดหาริมทราย คล่ืนแตกกระจายขาวนวล งามโอ้งามริมหาดหิน ป่วนใจอาจิณ ทุกวันฉันยังคร�่ำครวญ คืนน้ันจ�ำได้เราเคยเย้ายวน ความรักรัญจวนดังสายน้�ำป่วนประกายพราวพริ้วจากแสงจันทร์ ต่อน้ีไปราไวย์สุดหงอย...เหลือ ภาพเพียงริ้วรอย ความเศร้าโศกศัลย์ หาดหินราไวย์คืนไหนมีจันทร์ อกฉันตรอมตรม เพราะขาดคู่ชมแล้วเอย 489
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ เพลงหาดสุรินทร์ ค�ำร้อง - ท�ำนอง ก�ำเนิด พงษ์ประดิษฐ์ (พ.ศ.๒๕๐๒) ขับร้อง ไพรวัลย์ ลูกเพชร งาม งาม ริมหาดสุรินทร์ เมื่อเวลาสายัณห์จะส้ิน สายลมรินหล่ังมา ยามแสงตะวันรอน เม่ือตอนจะจากลา แจ่มแสงกระจ่างตา นภาช่างงามวิไล เสียงคล่ืนที่สาดครวญคราง ดุจดุริยางค์ของเทพเจ้า เร้าบรรเลงมากล่อมใจ ดงสนเรียงทิวยอดปลิวสะบัดไหว แซ่เสียงอยู่เรื่อยไป ร้าวใจเม่ือคราสายัณห์ หาดทรายขาวน้ันงามสะอาด คล่ืนทยอยซัดสาด เป็นประจ�ำไม่เว้นวัน โขดหินงามงอน ซับซ้อนสลับเรียงกัน ธรรมชาติเสกสรร ทุกวันได้ยินคลื่นลม ฮือ ฮือ ฮือ ฟ้าไกลจนสุดตามอง ค่�ำราตรีแม้มีจันทร์ส่อง แสงนวลยองพารื่นรมย์ องค์พระราชา ทัศนายังตรัสชม หาดนี้สุขสม นิยมว่างามเลิศลอย 490
เพลงสุดสวาทหาดภูเก็ต ค�ำร้อง - ท�ำนอง แฉล้ม โกยทา (พ.ศ.๒๕๔๕) ขับร้อง นัดดา วิยกาญจน์ สุดสวาท หาดสวรรค์ อันวิเศษ เกาะภูเก็ต มุกอันดามัน สร้างฝันวิไล สายลมแสงแดด สดใส พรมจูบลูบไล้ หาดทรายแก้ว พร้ิงพราย หาดไม้ขาว พราวตา หาดในยาง หาดในทอน ร้อนเสน่ห์ เลียบทะเล ท่ีทางบางเทา เสลาโสภา งามหาดสุรินทร์ พร่างพื้น คลื่นสาดเชิงผา ที่หาดกมลา ตื่นตาซึ้งใจ มโหฬาร อลังการ ด้วยแฟนตาซี ที่เฉิดไฉไล หาดป่าตอง งามระบือ ลือท่ัวโลก สร่างคลายโศก เมื่อมาได้ยล สุขล้นฤทัย งามหาดกะรน คู่กันกะตะ อ�ำไพ ดุจดั่งเทพนิยาย หาดในหาน ลานตา หาดราไวย์ ทรายแซมหิน แลสะพร่ัง ปะการัง ท่ีทอดแนวไป ใกล้หาดแหลมกา ถึงหาดแสนสุข สุขแสน ภูเก็ต แดนฟ้า ระร่ืน ช่ืนอุรา เมื่อมาพิสูจน์ แสนพิลาส สุดสวาท โอ้หาดภูเก็ต เด็ดใจไว้เคียง 491
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ เพลงของกินภูเก็ต (หรอย หรอย) ค�ำร้อง - ท�ำนอง จุมพล ทองตัน (พ.ศ.๒๕๔๕) ขับร้อง เอกชัย ศรีวิชัย (พูด) หรอยหรอย ของหรอย ของกินภูเก็ต หรอยหรอย (สร้อย) ของกิน ของกินภูเก็ต แหลงไม่เหม็ดหรอยหรอยท้ังเพ มาเท่ียวภูเก็ตฮาเฮ เสร็จจากเที่ยวเล มาหาของกินกัน เช้าเช้ากินหนมจีนน้�ำยา ราดแกงพุงปลา กินกับเจียะโก้ย กับลูกช้ิน ไข่ต้ม ห่อหมก แค่อ่ืนว่าหลก กินได้พรือโว้ย ตักผักเกล็ด ไม่ต้องรีบโกย ให้พอเหลือหีดหุ้ย ได้เกล็ดน�้ำพริกกุ้งเสียบ (หลาวแอ๊ะ) ... โอ๊เอ๋ว เขาใส่ถ่ังแดง ขูดๆ น้�ำแข็ง ใส่น้�ำเช่ือมหวานหวาน โก่ซุ้ย กับโก้ยต่าล้าม ก่ันโต๊ง สักชาม อ่ังกู๊ สักหนวย กินต่าวซ้อ อ่าโป๊ง ฮ้วดโก้ย เห็นน้องตาโรยโรย เดี๋ยวพาไปกิน โก่ปี๊ (เอาฮึ) ... เที่ยงเท่ียง ไปกินหมี่ฮกเก้ียน ถ้าไม่ให้เลี่ยน ต้องกินกับหัวหอม สั่งหม่ีสั่ว หม่ีน�้ำ หม่ีเช้ก ผัดกุ้งกับกะเปก หม่ีหุ้นป้าช้าง แกงตูม้ี ค่ัวปลาช้ิงช้าง แล้วตามด้วยป่าวล้าง หว้างอกไปเสียนิ ... (ฮาย) ... หวันฉ่ายพาไปกินเก่ียมโก้ย เอาเจี้ยนพ้างโรย กับกุ้งแห้ง ต้นหอม โล้บะ กับเก้ียน สักจาน ห่อไปกินแค่บ้าน โอวต๊าวสักสอง ส่ังโปะเปี้ย หู่แช้ ให้น้อง แล้วนั่งซดเส่ล้อง บายใจ บายใจ เชิญชวนพี่และน้อง มาเที่ยวมากินกัน ภูเก็ตเกาะสวรรค์ เรายินดีต้อนรับ 492
เพลงยอดนารีศรีถลาง ค�ำร้อง ประสิทธิ ชิณการณ์ (พ.ศ.๒๕๐๙) ท�ำนอง ประพันธ์ ทิมเทศ ท้าวเทพกระษัตรีศรีสุนทร นามบังอรยอดนารีศรีถลาง เป็นเทวีที่ควรเทิดน�้ำใจนาง และตัวอย่างกุลสตรีนารีสมัย คิดสู้ศัตรูผู้ย่�ำยี สองน้องพ่ีมิได้พรั่นหวาดหวั่นไหว รุกรานรบไม่สยบให้กับใคร เย่ียงวีรชนชาติไทยย่ิงใหญ่กล้าหาญ เด็ดเด่ียวเช่ียวชาญต้านทานศึกไว้ มิยอมให้ใครหยามหมิ่นถิ่นสยาม จู่โจมปัจจาสู้จนกว่าสิ้นลมปราณ เพ่ือลูกหลานไทยได้มีสิทธ์ิเสรี เด็ดเดี่ยวดังชายไม่ระคายคร่ันคร้าม คิดท�ำสงครามปรามศึกไม่นึกหนี เหล่าหมู่อมิตรจิตเกรงขามนามนารี วีรสตรีศรีประเทศเขตไทย (ญ.) ดอกเอ๋ยดอกจันทน์กะพ้อ ก่ิงก้านบานช่องามลออช่อไสว ส่งกล่ินหอมดอมเยือกเย็นเด่นไฉไล ประชาไทยได้มีสุขสมปอง (ช.) มุกเอยมุกดาวดี ไร้ฝ้าราคีมีสง่าค่าไม่หมอง ไม่มีสองรองเรืองในเมืองทอง ชนม์ชีพลอยล่องชื่อยังก้องแผ่นดินไทย 493
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ คณะท�ำงานอ�ำเภอเมืองภูเก็ต นายเสทือน มุขดี นางกิติมา ถิรสัตยาพิทักษ์ นางสุคนธ์ สวัสดิเวช นายภาณุวัฒน์ ถิรสัตยาพิทักษ์ นางกมลศรี อิทธิพรชัย นางสาวกาญจนี อ้อดุล นางวารุณี งานทัศนานุกูล นายเจริญ ถ่ินเกาะแก้ว นางแตงอ่อน สุทธิรักษ์ นายอัศวิน อรรถธรรม นายสันต์ คุ้มบ้าน คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอ�ำเภอเมือง คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมต�ำบลทุกต�ำบลในอ�ำเภอเมืองภูเก็ต คณะท�ำงานอ�ำเภอถลาง นายสมศักด์ิ โสภานนท์ นายนิโรธ โชติช่วง นายสุเชาว์ พงศานนท์ นางอุไร โยธารักษ์ นายเสน่ห์ วงษ์ก�ำแหง นายณัฐภณ อธิอุดมผล นายสวัสดิ์ ชุมรักษ์ 494
นายประถม มลิวรรณ์ นางเจียมจิตต์ ศิริสวัสดิ์ นายโอภา พรหมชัย คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอ�ำเภอถลาง คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมต�ำบลทุกต�ำบลในอ�ำเภอถลาง คณะท�ำงานอ�ำเภอกะทู้ นายสุชัย วิเชียร นายชัชชัย รักเหย้า นายประชา เมธาภัทรพันธุ์ นายระพิน ยอดต่อ นายอุทัย กาญจนะ นางสาวศุภสิมา สังวาลย์ นายร่อมหลี สังวาลย์ นายเกษม ปะหนัน นางโสมนภา บันเทิง นายสมุทร เสมอเพื่อน นายศุภชัย แจ้งใจ นายทฤษฎา ชาญยนตร์ นายกิตติศักดิ์ ทรัพย์ทวี นายนุกูล เดชรักษา คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอ�ำเภอกะทู้ คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมต�ำบลทุกต�ำบลในอ�ำเภอกะทู้ 495
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ 496
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 496
Pages: