Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชื่อบ้านนามเมืองภูเก็จ

ชื่อบ้านนามเมืองภูเก็จ

Published by phuket strategy, 2019-12-25 03:20:59

Description: ชื่อบ้านนามเมืองภูเก็จ

Keywords: ชื่อบ้านนามเมืองภูเก็จ,ภูเก็ต,จังหวัดภูเก็ต

Search

Read the Text Version

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ วัดป่าอร่ามรัตนาราม สุสานอ�ำมาตย์ตรี พระอร่ามสาครเขตร 52

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลรัษฎา ๗ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านท่าจีน และบ้านคอกช้าง สถานที่ตั้ง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง บริเวณบ้านท่าจีนนี้ เกิดข้ึนในอดีตช่วงท่ีมีการอพยพของชาวจีนโพ้นทะเล ที่เดินทางมาตามเส้นทางสิงคโปร์ ปีนัง ส่วนใหญ่มาจากมณฑลฮกเกี้ยนของจีน มีเช้ือสายจีนฮกเกี้ยน มาต้ังถ่ินฐานริมชายฝั่งเกาะภูเก็ต และเลือกตั้งถ่ินฐานท่ี ท่าจีนนี้ มีการสร้างท่าเทียบเรือเป็นท่ีส�ำหรับจอดเรือขนาดเล็ก ชาวบ้านเรียกว่า หัวท่า มีหัวท่าบน และหัวท่าล่าง จึงเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าท่าจีน จากการท่ีผู้คนท่ีอยู่ บริเวณท่าส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีน มีอาชีพท�ำสวนยางพารา ท�ำไร่ หาปลา หาปู โดยใช้อุปกรณ์ท่ีเรียกว่ายอง ถัดมาเรียกว่า บ้านคอกช้าง เพราะเป็นพื้นที่ที่เดิม ใช้เลี้ยงช้าง ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายจ�ำรัส ภูมิภูถาวร อายุ ๗๖ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๙/๙ หมู่ที่ ๓ ซอยแม่กล่ิน ถนนรัษฎานุสรณ์ ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายหลาย จินดา อายุ ๘๓ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๕๓/๙ ซอยกิ่งแก้ว ต�ำบล รัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นางสาวกาญจนี อ้อดุล วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๒๐ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 53

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๘ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านโดราว และวัดโฆษิตวิหาร สถานท่ีตั้ง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บ้านโดราว เพ้ียนมาจาก ประดู่ราว (ส�ำเนียงท้องถ่ินภูเก็ตเรียกต้นประดู่ ว่าต้นโด) เน่ืองจากมีการปลูกประดู่เป็นแถวต่อเน่ืองตลอดแนว บริเวณนี้ในอดีตคือลานประหารนักโทษ และนักโทษประหารรายสุดท้าย คือ นายจันทร์ บริบาล หรือหมอจันทร์ ผู้ปลิดชีพพระยารัษฎานุประดิษฐ์ด้วย ปืนเบรานิ่ง เม่ือวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖ และ ถึงอนิจกรรมหลังจากรักษาตัว หลังจากน้ันอีก ๔๕ วัน ในวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๔๕๖ ณ เมืองปีนัง มาเลเซีย วัดโฆษิตวิหาร เดิมเรียกว่า วัดโคกแสร้ง หรือ โคกแซะ เน่ืองจากที่ตั้ง มีต้นแซะจ�ำนวนมาก จนเปล่ียนมาเป็นวัดโฆษิตวิหารและได้รับวิสุงคามสีมา เม่ือ วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๔๕๕ สถานที่ส�ำคัญ เช่น บ้านโคกแซะ หรือโคกแสร้ง ลานประหารมณฑลภูเก็ต บุคคลส�ำคัญท่ีเกี่ยวข้อง นายจันทร์ บริบาล พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศร ภักดี (คอซิมบ๊ี ณ ระนอง) ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายจ�ำรัส ภูมิภูถาวร อายุ ๗๖ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๙/๙ หมู่ท่ี ๓ ซอยแม่กล่ิน ถนนรัษฎานุสรณ์ ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต www.nyplantation.com/rubber_history.html 54

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลรัษฎา วัดโฆษิตวิหาร ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล สภาวัฒนธรรมต�ำบลรัษฎา วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๒๐ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 55

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๙ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ทุ่งสัตมัน สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ท่ีเก่ียวข้อง ขุนเลิศโภคารักษ์ ทุ่งสัตมันน้ี ปัจจุบันคือที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต บริเวณนี้เป็น ส่วนหน่ึงของบ้านทุ่งคาซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ของ ขุนเลิศโภคารักษ์ หลังจากเลิกท�ำเหมืองเป็นทุ่งกว้างมีขุมเหมือง ครอบครัวคนงาน ชาวอินเดีย ชาวปาทาน จึงได้ใช้พ้ืนที่น้ีเล้ียงวัวเล้ียงควาย ต่อมา พ.ศ.๒๕๑๔ เมื่อทางราชการจังหวัดภูเก็ต มีความประสงค์จะได้ท่ีดิน ส�ำรองไว้ขยายวิทยาลัยครูภูเก็ต ขุนเลิศโภคารักษ์ ก็มีความยินดีบริจาคที่ดินที่เคย ขุดหาแร่ผ่านไปแล้วจ�ำนวน ๒๕๐ไร่ โดยประมาณ ให้แก่ทางราชการเพื่อน�ำข้ึน ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทรงพระราชทานแก่วิทยาลัยครู ภูเก็ตในวโรกาสอันเป็นวันมหามงคลพระราชพิธีรัชดาภิเษกครบ ๒๕ พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต สถานที่ส�ำคัญ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 56

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลรัษฎา ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จัดพิธีท�ำบุญเสริมสิริมงคล และบวงสรวงอนุสรณ์สถานขุนเลิศโภคารักษ์ ประจ�ำปี ๒๕๖๐ ณ บริเวณอนุสรณ์สถานขุนเลิศโภคารักษ์ เม่ือวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๐ บุคคลส�ำคัญท่ีเกี่ยวข้อง ขุนเลิศโภคารักษ์ ต้นตระกูล ตันบุญ – ณ ระนอง ชื่อผู้ให้ข้อมูล นางสาวกาญจนี อ้อดุล อายุ ๕๓ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๔๙/๑๑๗ ซอยก่ิงแก้ว ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต http://www.pkru.ac.th/culture/news-activities/internal- activity/333-ขุนเลิศโภคารักษ์.html ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล สภาวัฒนธรรมต�ำบลรัษฎา วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๒๐ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 57

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๑๐ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ชุมชนโหนทรายทอง สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวข้อง เกิดจากการอพยพย้ายถ่ินของประชาชนท่ีไร้ที่อยู่อาศัย เดิมบริเวณน้ี เป็นแหล่งท�ำแร่ดีบุก เมื่อเลิกเหมืองแร่จึงเหลือสภาพเป็นเนินทรายขนาดใหญ่ ซ่ึง คนภูเก็ตเรียกว่าท่องข้ีทราย หรือโหนขี้ทราย เม่ือเกิดเป็นชุมชน จึงต้ังช่ือชุมชนนี้ว่า โหนทรายทอง ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายอ�ำนวย รุ่งอรุณ อายุ ๗๖ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๔๙/๒๐๗ ซอยกิ่งแก้ว ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นางสาวกาญจนี อ้อดุล วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๒๐ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ 58

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลรัษฎา ๑๑ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ชุมชนกิ่งแก้ว สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ต้ังอยู่ทางตะวันออกของเมืองภูเก็ต ห่างจากที่ท�ำการเทศบาลต�ำบลรัษฎา ๔ กิโลเมตร ทิศตะวันออก จด ป่าชายเลนแนวชายฝั่งทะเล ทิศใต้ จด คลองท่าจีน บ้านท่าจีน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวข้อง ก่อนปี พ.ศ.๒๕๑๐ พ้ืนท่ีชุมชนก่ิงแก้วเป็นเหมืองแร่ดีบุกและพื้นท่ีโดยรอบ เดิมเป็นป่าชายเลน แต่เมื่อมีการท�ำเหมืองแร่จึงท�ำให้มีลักษณะเป็นป่าชายเลน เส่ือมโทรม หลังจากนั้นมีการยกเลิกการท�ำเหมืองแร่ท�ำให้คนงานตกงานไร้ท่ีอยู่ อาศัย ลูกจ้างเหมืองจึงขออาศัยอยู่ต่อในกงสี (บ้านพักคนงาน) โดยมีครอบครัว นายหลาย จินดา ซ่ึงเป็นคนงานเก่าแก่ที่ระยะหลังสุขภาพไม่ดีท�ำงานไม่ไหวและ เปลี่ยนมาขายกาแฟหน้าเหมืองขอท่ีดินอาศัยจากนายหัว (เจ้าของเหมือง) ท�ำการ เกษตรและเผาถ่านและได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อ แต่หลังจากเหมืองปิดไปสองปีก็มี คนย้ายเข้ามาจับจองอาศัยเพิ่มข้ึน โดยชุมชนยังไม่มีช่ือเรียก เม่ือตาปอด กิ่งแก้ว ที่อาศัยในชุมชนได้รวบรวมเงินและไปต่อรองขอซ้ือที่ดินตรงทางเข้าชุมชน ในปัจจุบันและโอนเป็นทางเข้าให้แก่ชุมชน ชาวบ้านจึงต้ังชื่อชุมชนตามนามสกุล ของตาปอด ว่า “ชุมชนกิ่งแก้ว” ปี พ.ศ.๒๕๖๐ มีคนในชุมชนกว่าสามพันครัวเรือน และแบ่งพ้ืนที่เป็นซอยถึง ๒๐ ซอย ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีอาชีพรับจ้างท่ัวไปร้อยละ ๗๐ รองลงมามีอาชีพค้าขาย ประมงพื้นบ้านและต้มปลา ตามล�ำดับ 59

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายหลาย จินดา อายุ ๘๓ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๕๓/๙ ซอยกิ่งแก้ว ต�ำบล รัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัด ภูเก็ต นายอ�ำนวย รุ่งอรุณ อายุ ๗๖ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๔๙/๒๐๗ ซอยกิ่งแก้ว ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นางสาวกาญจนี อ้อดุล วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๒๐ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ 60

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลรัษฎา ๑๒ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านแหลมตุ๊กแก สถานที่ตั้ง หมู่ท่ี ๔ ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง บ้านแหลมตุ๊กแก คือ หมู่บ้านชาวเลกลุ่มใหญ่ที่สุดของภูเก็ต หมู่บ้าน อยู่ปลายสุดของเกาะสิเหร่ ส่วนหนึ่งเป็นชาวอูรักลาโว้ย หรือที่เรียกได้หลายชื่อ อาทิ ชาวเล ชาวน�้ำ ชาวไทยใหม่ อาศัยอยู่บริเวณน้ีมาช้านาน มีจ�ำนวนกว่า ๒๐๐ หลังคา เรือน บ้านแต่ละหลังเป็นบ้านไม้ท่ีสร้างขึ้นแบบเรียบง่าย อูรักลาโว้ย มีความหมายว่า “คนทะเล” มีเร่ืองเล่าสืบต่อกันมาว่า ในอดีต ชาวอุรักลาโว้ยอาศัยอยู่บริเวณเทือกเขาฆูนุงฌึไร ในแถบชายฝั่งทะเลในรัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) จากน้ันก็เร่ร่อนเข้ามาสู่ในน่านน�้ำไทย แถบทะเลอันดามัน ในช่วงแรกยังมี วิถีชีวิตแบบเร่ร่อน โดยอาศัยเรือไม้ระก�ำเป็นท่ีอยู่และพาหนะ พวกเขาใช้กายัก หรือ แฝกส�ำหรับมุงหลังคาเป็นเพิงอาศัยบนเรือ หรือเพิงพักชั่วคราวตามชายหาดในฤดู มรสุม ชาวอูรักลาโว้ยในอดีตยังชีพด้วยการท่องเรือตามหมู่เกาะ กลุ่มละ ๕ - ๖ ล�ำ บางครั้งพวกเขาก็จะข้ึนเกาะมาเพ่ือหาของป่า แต่ส่วนใหญ่จะล่าสัตว์ทะเลด้วย เคร่ืองมือง่ายๆ อย่าง ฉมวก สามง่าม เบ็ด พวกเขามีความสามารถในการด�ำน�้ำทะเล ลึกเพ่ือแทงปลาหรือจับกุ้งมังกรด้วยมือเปล่าและด�ำน�้ำเก็บหอยจากก้นทะเล และ มักอพยพเร่ร่อนอยู่เร่ือยๆ โดยโยกย้ายไปตามหมู่เกาะต่างๆ และต้ังถ่ินฐานที่เกาะ น้ันๆ และกลับมาท่ีเดิม แต่ทุกกลุ่มยังคงมีความสัมพันธ์ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ถือว่า เป็นสังคมเครือญาติใหญ่ และบางส่วนเดินทางมาตั้งรกรากบริเวณเกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต ในปัจจุบัน ชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ยตั้งถ่ินฐานอย่างถาวรตามเกาะและ ชายฝั่ง หันมาประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง รับจ้างท�ำสวน และอาชีพอื่นๆ ซึมซับ วัฒนธรรมไทยมากขึ้น และเรียกขานตัวเองว่า ไทยใหม่ 61

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ แหลมตุ๊กแก ภาษาที่ใช้ ภาษาอูรักลาโว้ย (Urak Lawoi) หรือภาษาเลาตา ภาษาชาวเล ภาษาชาวน้�ำ ภาษาลาโว้ย ซึ่งมีความใกล้เคียงภาษามลายู พิธีกรรมส�ำคัญของอูรักลาโว้ยคือ การลอยเรือ “เปอลาจ๊ัก” เพื่อก�ำจัด เคราะห์ร้ายออกไปจากชุมชน สถานท่ีส�ำคัญ เช่น แหลมตุ๊กแก ต้ังอยู่บริเวณบนเกาะสิเหร่ หมู่ท่ี ๔ ต�ำบลรัษฎา ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายอ�ำนวย รุ่งอรุณ อายุ ๗๖ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๔๙/๒๐๗ ซอยกิ่งแก้ว ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล สภาวัฒนธรรมต�ำบลรัษฎา วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๒๐ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 62

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลรัษฎา ๑๓ ชื่อบ้าน - นามเมือง : เขานางพันธุรัตน์ สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๕ ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง ตลอดจนถึงเขตอ�ำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ท่ีเกี่ยวข้อง เขานางพันธุรัตน์เป็นเทือกเขาส�ำคัญในจังหวัดภูเก็ต เล่าต่อกันมาว่าในอดีต ช่วงท่ีภูเก็ตมีการท�ำเหมืองแร่ดีบุก ชาวบ้านออกมาร่อนแร่ได้เคร่ืองประดับทอง จ�ำนวนมากแต่ไม่สามารถใส่ได้เพราะมีขนาดใหญ่เกินปกติเช่นแหวนแต่มีขนาด เท่าก�ำไล จึงคิดว่าภูเขาแห่งน้ีต้องเคยเป็นท่ีอยู่อาศัยของยักษ์จึงเรียกว่า เขานาง พันธุรัตน์ ตามช่ือนางยักษ์ในวรรณคดีไทย เรื่องสังข์ทอง ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายอ�ำนวย รุ่งอรุณ อายุ ๗๖ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๔๙/๒๐๗ ซอยกิ่งแก้ว ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล สภาวัฒนธรรมต�ำบลรัษฎา วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๒๐ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 63

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๑๔ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านทุ่งคาพะเนียงแตก สถานท่ีตั้ง หมู่ท่ี ๕ ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด ต�ำบลเกาะแก้ว ทิศตะวันออก จด บ้านลักกงษี หมู่ท่ี ๖ ทิศใต้ จด เขานางพันธุรัตน์ และเขตอ�ำเภอกะทู้ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เก่ียวข้อง บริเวณนี้เป็นส่วนหน่ึงของบ้านทุ่งคาซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองด้านอุตสาห- กรรมเหมืองแร่ (เพิ่มเติม ประวัติบ้านทุ่งคา) และที่เรียกว่าพะเนียงแตก เน่ืองจาก บริเวณน้ีมี ต้นพะเนียง (มะเนียง ลูกเนียง) ไม้ยืนต้นพ้ืนถิ่นภาคใต้จ�ำนวนมาก อีกต�ำนานหน่ึงเล่าว่า บ้านพะเนียงแตกมาจากมีการขุดพบภาชนะดินเผา ประเภทหม้อกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณน้ี ซึ่งในอดีตเรียกภาชนะท่ีพบนี้ว่า เนียง จึงเรียกบริเวณน้ีว่าบ้านพะเนียงแตก ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายจ�ำรัส ภูมิภูถาวร อายุ ๗๖ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๙/๙ หมู่ท่ี ๓ ซอยแม่กล่ิน ถนนรัษฎานุสรณ์ ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล สภาวัฒนธรรมต�ำบลรัษฎา วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๒๐ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 64

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลรัษฎา ๑๕ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านลักกงษี สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๖ ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด ต�ำบลเกาะแก้ว ทิศตะวันออก จด ถนนเทพกระษัตรี ทิศตะวันตก จด บ้านทุ่งคาพะเนียงแตก หมู่ที่ ๕ ต�ำบลรัษฎา ทิศใต้ จด เทศบาลนคร และคลองสามกอง ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้อง บ้านลักกงษี มาจากภาษาจีน ฮกเก้ียน (ลัก 六 = ๖) (กงสี กงซี 公司 = บริษัท) เดิมเป็นท่ีต้ังของห้างจีน หรือบริษัทของชาวจีน ๖ ห้าง ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายจ�ำรัส ภูมิภูถาวร อายุ ๗๖ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๙/๙ หมู่ท่ี ๓ ซอยแม่กลิ่น ถนนรัษฎานุสรณ์ ต�ำบลรัษฎา อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล สภาวัฒนธรรมต�ำบลรัษฎา วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ 65

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ 66

อ�ำเภอเมือง ต�ำบลตลาดใหญ่ ต�ำบลตลาดใหญ่ เป็นหนึ่งในสองของต�ำบลที่ตั้งอยู่ในท้องท่ีเขตเทศบาล นครภูเก็ต แต่เดิมเป็นต�ำบลหน่ึงในเขตสุขาภิบาลเมืองภูเก็ต ต่อมาสุขาภิบาล เมืองภูเก็ตได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองภูเก็ต โดยพระราชกฤษฎีกาการ จัดตั้งเทศบาลเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต พ.ศ.๒๔๗๘ เรียกว่า “เทศบาลเมืองภูเก็ต” เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๘ และได้เปล่ียนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนครภูเก็ต เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๗ ต�ำบลตลาดใหญ่ มีเนื้อท่ีประมาณ ๘ ตาราง กิโลเมตร มีอาณาเขตดังน้ี ทิศเหนือ จด ท้องที่ต�ำบลรัษฎา ทิศใต้ จด ท้องท่ีต�ำบลวิชิต ทิศตะวันออก จด ท้องที่ต�ำบลรัษฎา ทิศตะวันตก จด ท้องท่ีต�ำบลตลาดเหนือ ปัจจุบันมีการจัดต้ังชุมชนในท้องที่ต�ำบลตลาดใหญ่ รวม ๑๖ ชุมชน ประกอบ ด้วย ๑. ชุมชนหลังหอประชุมเทศบาลนครภูเก็ต ๒. ชุมชนหลังศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ๓. ชุมชนโกมารภัจจ์ ๔. ชุมชน ๔๐ ห้อง ๕. ชุมชนต้นโพธ์ิ ๖. ชุมชนกอไผ่ ๗. ชุมชนแสนสุข ๘. ชุมชนร่วมน�้ำใจ ๙. ชุมชนสะพานร่วม ๑ ๑๐. ชุมชนสะพานร่วม ๒ 67

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๑๑. ชุมชนถนนหลวงพ่อ ๑๒. ชุมชนสุทัศน์ ซอย ๒ ๑๓. ชุมชนขุมน้�ำนรหัช ๑๔. ชุมชนสามัคคีสามกอง ๑๕. ชุมชนย่านเมืองเก่าจังหวัดภูเก็ต ๑๖. ชุมชนย่านเมืองเก่าชาร์เตอร์ดแบงก์ ชื่อบ้านนามเมือง ต�ำบลตลาดใหญ่ เป็นชื่อท่ีของชุมชนหรือสถานท่ีซึ่ง ใช้เรียกทั้งในอดีต และบางชื่อยังเรียกใช้อยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย ๑. ตลาดใหญ่ ๒. ทุ่งคา ๓. แถวน้�ำ ๔. ห่ังอาหล่าย ๕. บางเหนียว ๖. สะพานหิน ๗. ตัวบ่าง ๘. กอจ๊าน ๙. โก่ปี๊หึง ๑๐. จับเซ้ ๑๑. ฉ้ายต๋ึง ๑๒. สามกอง บุคคลส�ำคัญ ต�ำบลตลาดใหญ่ เป็นต�ำบลที่เป็นที่ต้ังของจวนเจ้าเมืองเก่าภูเก็ต ย่าน การค้าเก่าแก่ของเมืองภูเก็ต บุคคลส�ำคัญส่วนหนึ่งเป็นทั้งข้าราชการส�ำคัญ และ คหบดีที่ร่�ำรวยจากการท�ำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจเหมืองแร่ ซึ่งมีส�ำนักงานตั้งอยู่ ในย่านเมืองเก่าภูเก็ต อาทิ ๑. พระยาวิชิตสงคราม (ทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) เป็นเจ้าเมืองภูเก็ต ผู้ที่ย้ายเมืองภูเก็ตจากบ้านเก็ตโฮ่มายังบ้านทุ่งคา เม่ือ ปี พ.ศ.๒๓๙๒ 68

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ พระยาวิชิตสงคราม (ทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) – นั่งเก้าอ้ี ๒. พระยาทิพโกษา (โต หรือ หมาโต โชติกเสถียร) เป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลภูเก็ตคนแรก ผู้วางรากฐานในการปกครองมณฑล ภูเก็ต ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๘ - ๒๔๔๑ พระยาทิพโกษา (โต หรือ หมาโต โชติกเสถียร) 69

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๓. พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบ๊ี ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๔ - ๒๔๕๖ ผู้ท่ีได้รับ ยกย่องว่าเป็นดวงประทีปแห่งอันดามัน ผู้วางผังเมืองภูเก็ตและพัฒนาเมืองภูเก็ต ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางน้�ำ ตลอดจนการพัฒนาการพาณิชย์ การชักน�ำให้ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดซ่ึงเป็นธนาคารสัญชาติอังกฤษมาเปิด สาขาท่ีเมืองภูเก็ต ๔. พระขจรจีนสกล (ตันเล่ียนกี่ หรือ เล่ียนก่ี วงศ์ขจร) เป็นนายอ�ำเภอจีน และเป็นบุตรชายของ หลวงอร่ามสาครเขตร (ตันต�๋ำ) กรมการพิเศษเมืองภูเก็ต ต�ำแหน่งปลัดฝ่ายจีน พระขจรจีนสกลเป็นผู้บุกเบิกการ ท�ำเหมืองแร่ท่ีบ้านทุ่งคา และก่อสร้างอาคารยุคแรกในย่านแถวน�้ำ ถนนถลาง และ ซอยรมณีย์ ตลอดจนเป็นผู้บริจาคที่ดินสร้างวัดขจรรังสรรค์ ๕. พระพิทักษ์ชินประชา (ตันม้าเสียง หรือ ม้าเสียง ตัณฑวณิช) เป็นกรมการพิเศษเมืองภูเก็ต คหบดีที่ร่�ำรวยจากการสืบทอดกิจการเหมือง แร่ดีบุกจากบิดาและเป็นผู้มีคุณูปการต่อเมืองภูเก็ตโดยเฉพาะด้านการศึกษา จัดต้ัง โรงเรียนตัณฑวณิชวิทยาคม และบริจาคที่ดินและส่ิงปลูกสร้างต่างๆ เพ่ือกิจการ สาธารณประโยชน์ อาทิ บริจาคที่ดินสร้างโรงไฟฟ้า สะพานพระพิทักษ์ชินประชา สะพานนางพิทักษ์ชินประชา เป็นต้น นอกจากน้ีได้สร้างคฤหาสน์หรืออั่งหม่อหลาว พระพิทักษ์ชินประชาและบ้านชินประชาขึ้นเป็นที่พ�ำนักส่วนตัวบนถนนกระบี่ ต�ำบล ตลาดเหนือ ๖. พระอร่ามสาครเขตร (ตันเพ็กฮวด หรือ เพ็กฮวด ตัณฑัยย์) เป็นบุตรของหลวงอร่ามสาครเขตร (ตันหงิมจ้าว) พระอร่ามสาครเขตร เป็นผู้บุกเบิกในการท�ำเหมืองแร่ โดยเป็นนายเหมืองคนไทยคนแรกท่ีสั่งต่อเรือ ขุดแร่ดีบุกมาใช้งาน และร่�ำรวยจากกิจการเหมืองแร่ดีบุกเป็นหลัก บริจาคสิ่ง ปลูกสร้างเพื่อกิจการสาธารณประโยชน์ อาทิ สะพานพระอร่าม และได้สร้างที่พ�ำนัก ส่วนตัวเป็นคฤหาสน์หรืออั่งหม่อหลาวพระอร่ามสาครเขตรขึ้นบนถนนระนองและ เช่ือมต่อมาถึงถนนกระบ่ี ต�ำบลตลาดเหนือ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันอาคาร ด้านถนนระนอง เป็นส�ำนักงานขายบริษัทการบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) อาคารกลาง 70

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี พระขจรจีนสกล (คอซิมบ๊ี ณ ระนอง) (ตันเลี่ยนก่ี หรือ เลี่ยนกี่ วงศ์ขจร) พระพิทักษ์ชินประชา พระอร่ามสาครเขตร (ตันม้าเสียง (ตันเพ็กฮวด หรือ ม้าเสียง ตัณฑวณิช) หรือ เพ็กฮวด ตัณฑัยย์) 71

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ เป็นโรงเรียนอนุบาลกุลธิดา และด้านถนนกระบ่ีเป็นอดีตโรงพยาบาลสิริโรจน์ภูเก็ต ๗. หลวงอ�ำนาจนรารักษ์ (ตันค๊วด หรือ ยกค๊วด ตัณฑเวทย์) เป็นคหบดีผู้ร่�ำรวยจากกิจการเหมืองแร่ดีบุก และเป็นผู้ริเร่ิมประเพณีถือศีล กินผักของจังหวัดภูเก็ตเต็มรูปแบบ ๘. ขุนชนานิเทศ (ตันเซียวเชอะ หรือ เซียวเชอะ ทองตัน) เป็นคหบดีผู้ร่�ำรวยจากกิจการเหมืองแร่และธุรกิจการค้า เป็นผู้สนับสนุน การจัดต้ังโรงพยาบาลมิชช่ันภูเก็ต และอุปถัมภ์กิจการทางศาสนาวัดมงคลนิมิตร ๙. หลวงชนาทรนิเทศ (ตันเฉ่งห้อ หรือ เฉ่งห้อ ทองตัน) เป็นคหบดีผู้สืบทอดกิจการเหมืองแร่และธุรกิจการค้าจากบิดา เป็นผู้ จัดตั้งโรงเรียนจีนส่องเต็ก ภายหลังควบรวมกิจการกับโรงเรียนภูเก็ตฮัวบุ๋น และเป็น โรงเรียนภูเก็ตไทยหัวอาเซียนวิทยา ในปัจจุบัน ๑๐. หลวงอนุภาษภูเก็ตการ (ตันจินหงวน หรือ จินหงวน หงษ์หยก) เป็นคหบดีผู้ที่มีความช�ำนาญในกิจการเหมืองแร่ดีบุก จนได้รับการยกย่อง ว่าเป็น “เจ้าแห่งดีบุก” ได้พัฒนากิจการเหมืองแร่เจ้าฟ้า และน�ำเคร่ืองก�ำเนิดไฟฟ้า มาใช้ในกิจการเหมืองแร่ดีบุก ๑๑. ขุนวิเศษนุกูลกิจ (ตันเอ่งก่ี หรือ วิเศษ อุดมทรัพย์) เป็นคหบดีท่ีร�่ำรวยจากกิจการเหมืองแร่ดีบุก เป็นผู้บริจาคที่ดินสร้าง โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง ๑๒. ขุนเลิศโภคารักษ์ (หลิม ตันบุญ) เป็นคหบดีที่เริ่มจากอาชีพกรรมกรเหมืองหาบ เฝ้าสวนผักและพายเรือจ้าง จนเป็นนายเหมืองท่ีร่�ำรวย เป็นผู้บริจาคทรัพย์เพ่ือกิจการสาธารณประโยชน์มากมาย อาทิ การสร้างตึกเลิศโภคารักษ์ เพ่ือใช้เป็นศูนย์บริการโลหิต (ธนาคารเลือด) ของ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต การจัดสร้างหอสมุดโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย การอุปถัมภ์ ศาลเจ้าฮกหงวนกง ศาลเจ้าบางเหนียว การบริจาคท่ีดินให้มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และโรงเรียนบ้านสะป�ำ “มงคลวิทยา” 72

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ หลวงอ�ำนาจนรารักษ์ ขุนชนานิเทศ (ตันค๊วด หรือ ยกค๊วด ตัณฑเวทย์) (ตันเซียวเชอะ หรือ เซียวเชอะ ทองตัน) หลวงชนาทรนิเทศ หลวงอนุภาษภูเก็ตการ (ตันเฉ่งห้อ หรือ เฉ่งห้อ ทองตัน) (ตันจินหงวน หรือ จินหงวน หงษ์หยก) ขุนวิเศษนุกูลกิจ ขุนเลิศโภคารักษ์ (ตันเอ่งกี่ หรือ วิเศษ อุดมทรัพย์) (หลิม ตันบุญ) 73

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธิ ชิณการณ์ อายุ ๘๑ ปี, Phuket Data.Net, ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๖๘ ถนนดีบุก ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต วันท่ีให้ข้อมูล วันที่ ๒๘ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๘ นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ที่อยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 74

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ ๑ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ตลาดใหญ่ สถานท่ีต้ัง บริเวณชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต ช่วงถนนถลาง ตั้งแต่แยกแถวน�้ำ จุด บรรจบถนนเทพกระษัตรีกับถนนภูเก็ต จนถึงแยกถนนกระบ่ี - เยาวราช จุดบรรจบ ถนนกระบ่ีกับถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด กึ่งกลางซอยรมณีย์จากปากซอยรมณีย์ ด้านทางแยกตัดถนนถลาง ทิศใต้ จด แนวด้านหลังของอาคารถนนพังงาฝั่งตะวันออก ต่อเนื่องตลอดแนว ทิศตะวันออก จด ทางแยกแถวน้�ำ ถนนภูเก็ตบรรจบถนนเทพกระษัตรี ทิศตะวันตก จด ทางแยกถนนถลางบรรจบถนนเยาวราช ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลาดใหญ่ เป็นช่ือเรียกต�ำบลหน่ึงในเขตเทศบาลนครภูเก็ต แต่เดิม หมายถึงพื้นที่บริเวณย่านการค้าเมืองเก่าภูเก็ต บริเวณถนนถลาง ต้ังแต่ส่ีแยก แถวน�้ำ ไปจดต้นสายถนนกระบ่ี ซึ่งเป็นย่านการค้าเก่าแก่ที่มีมาต้ังแต่เมื่อครั้ง พระยาวิชิตสงคราม (ทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) ได้ย้ายเมืองภูเก็ต จากบ้านเก็ตโฮ่มายัง บ้านทุ่งคา ริมคลองบางใหญ่ เม่ือ พ.ศ.๒๔๙๒ คนพ้ืนเมืองภูเก็ตจะเรียก ตลาดใหญ่ ตามภาษาถ่ินว่า “หลาดใหญ่” ทั้งนี้ ในอดีต ตลาดใหญ่ เป็นย่านการค้าที่มีความเป็นพหุสังคมประกอบด้วยคน หลายเช้ือชาติ อาทิ จีน อินเดีย ปากีสถาน เป็นต้น นอกจากน้ียังประกอบด้วยผู้คน หลากหลายศาสนาและความเชื่อมาประกอบอาชีพค้าขาย อาทิ พุทธ อิสลาม ฮินดู ซิกข์ คริสต์ เป็นต้น อยู่ร่วมกันจนถึงปัจจุบัน ท้ังน้ีคนกลุ่มใหญ่จะเป็นคนจีน ที่มาต้ังรกรากและเรียกตลาดใหญ่ว่า “ตัวโพ้” ซึ่งค�ำว่า “ตัว” ในภาษาจีนฮกเก้ียน 75

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ หมายถึง ใหญ่ และค�ำว่า “โพ้” หมายถึง ย่านการค้าหรือตลาดนั่นเอง สถานที่ส�ำคัญ เช่น ตลาดใหญ่ เป็นย่านท่ีมีสถานที่ส�ำคัญ ประกอบด้วย ศาสนสถาน และ อาคารอนุรักษ์มากมาย อาทิ ภาพปูนปั้นตุ๊กตาจีนอยู่เหนือคานชั้น ๒ อาคารสิริรัตน์ ๑. อาคารสิริรัตน์ เป็นอาคารอนุรักษ์ ต้ังอยู่บ้านเลขที่ ๑๓๕ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ ปัจจุบันเปิดเป็นร้านขายผ้า มี นายแมน ไกรฤกษ์ เป็นผู้ครอบครอง ดูแลอาคาร รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นอาคารชิโน-ยูโรเปียนยุคแรก ลักษณะเด่น ทางสถาปัตยกรรมมีภาพปูนปั้นตุ๊กตาจีนอยู่เหนือคานชั้น ๒ ซ่ึงเจ้าของอาคาร พยายามอนุรักษ์ไว้จนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าประตูและหน้าต่างชั้นล่างจะถูกรื้อออก เพื่อสร้างประตูเหล็กยืดแทนที่ แต่หน้าต่างบานเกล็ดและลวดลายปูนปั้นที่ปรากฏ อยู่ใต้คานหลังคาของอาคารยังแสดงรูปแบบของชิโน-ยูโรเปียนชัดเจน อาคารหลังน้ีแต่เดิมเคยเป็นร้านถ่ายรูปของช่างถ่ายรูปชาวญี่ปุ่นท่ีมาเปิด กิจการต้ังแต่ประมาณรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชื่อว่า ร้านนิกโก้ ซึ่งเป็น สมัยแรกที่เริ่มมีการถ่ายรูปเกิดขึ้นในภูเก็ต ต่อมาเมื่อชาวญ่ีปุ่นเลิกกิจการกลับไป 76

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ ถนนถลาง บริเวณสี่แยกแถวน้�ำในอดีต อาคารสิริรัตน์ คูหาท่ี ๒ ขวามือ ช่างถ่ายภาพคนไทยคนแรกในภูเก็ต แต่เป็นชาวพระนคร ก็รับช่วงร้านแห่งนี้แทน คือ นายสว่าง และผู้รับช่วงกิจการต่อจากนายสว่าง คือ ร้านสุภาพ ก่อนท่ีจะ กลายสภาพเป็นร้านเสริมสวย ดัดผม แต่งผมสตรี ชื่อ ทิพย์สะอาด แล้วเปล่ียนเป็น ร้ายขายผ้า สิริรัตน์ เม่ือประมาณ พ.ศ.๒๕๑๘ จนถึงในปัจจุบัน ๒. อาคารไชน่าอินน์ ตั้งอยู่บ้านเลขท่ี ๒๐ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ เป็นอาคารอนุรักษ์ท่ีได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามใน พระบรมราชูปถัมภ์เม่ือ ปี พ.ศ.๒๕๔๒ ในอดีตแต่เดิมเป็นที่พักอาศัยของนาย อ๋องบุ้นเทียม และนางเอ่ียวเอ่งหั้วหรืออ�ำแดงห้ัว เป็นคหบดีและคหปตานีที่ร่�ำรวย จากกิจการเหมืองแร่และเป็นบิดาและมารดาภรรยาของพระพิทักษ์ชินประชา (ตัน- ม้าเสียง หรือ ม้าเสียง ตัณฑวณิช) โดยใช้ช่ือกิจการค้าว่า ฮับหลองฮวด ต่อมาได้ ใช้เป็นส�ำนักงานของพระพิทักษ์ชินประชาชื่อ เลียนบี้กงสี ในการด�ำเนินกิจการ หลายอย่าง อาทิ กิจการเหมืองแร่ กิจการแลกเปล่ียนและส่งเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น อาคารหลังนี้ประกอบด้วยลวดลายปูนปั้นท่ีหลากหลาย ทั้งแบบยุโรป และแบบจีน บริเวณด้านหน้าชั้นล่างของอาคารมีหน้าต่าง ๒ ช่อง อยู่ซ้ายและขวา 77

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ อาคารไชน่าอินน์ ด้านหน้า ชั้นล่าง ข้างละช่อง เหนือหน้าต่างมีป้ายอักษรภาษาจีนจารึกบอกประเภทธุรกิจโพยก๊วนหรือ รับแลกเปล่ียนและส่งเงินตราไปต่างประเทศที่แขวนอยู่ และมีประตูกลางใหญ่อยู่ ๑ ช่อง เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน ช้ันล่างด้านหน้าอาคารส่วนใหญ่ยังคงสภาพ เดิม ไม่ได้ถูกรื้อถอนหรือดัดแปลง ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ในอาคารหลังนี้โดย จัดเป็นโรงแรมขนาดเล็กช่ือว่า “ไชน่าอินน์” หรือ “บ้านจีน” ท้ังน้ีชั้นบนของอาคาร ถูกร้ือ และดัดแปลงผิดไปจากรูปแบบเดิม แต่ยังคงสภาพรูปแบบสถาปัตยกรรม หลักแบบชิโน - ยูโรเปียนไว้ ๓. อาคารศาลเจ้าเค่งจิวฮุยก้วน หรือ ศาลเจ้าไหหล�ำ ต้ังอยู่บ้านเลขท่ี ๒๒ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ เป็นศาลเจ้าเก่าแก่แห่งหน่ึงบนถนนถลาง สร้างเพ่ือเป็น ศูนย์รวมของชาวจีนไหหล�ำท่ีมาตั้งรกรากในจังหวัดภูเก็ต อาคารด้านหน้าได้มีการ รื้อถอนปรับปรุงตามสภาพ แต่ภายในอาคารยังคงรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมจีน และการตกแต่งไว้คงเดิมเป็นส่วนใหญ่ ด้านในสุดจะเป็นแท่นบูชาองค์พระประธาน คือ เจ้าแม่ทับทิม หรือองค์พระจุ้ยโป้ยเต๊งเหนียว และด้านซ้ายและขวาของ องค์พระประธานจะมีเทพหูทิพย์และตาทิพย์ องค์พระประธานเป็นรูปแกะสลักไม้ หรือกิมซิ้นท่ีมีการแต่งกายแบบจีนไหหล�ำเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนกิมซ้ิน ท่ัวไปในจังหวัดภูเก็ต ท่ีส่วนใหญ่เป็นแบบจีนฮกเก้ียน 78

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ ศาลเจ้าไหหล�ำ ภายในคริสเตียนสถาน ถนนถลาง ๔. อาคารคริสเตียนสถาน ถนนถลาง ต้ังอยู่บ้านเลขท่ี ๒๔ ถนนถลาง ต�ำบล ตลาดใหญ่ การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในจังหวัดภูเก็ตเร่ิมจากมิชชันนารีจากมาเลเซีย เข้ามาในภูเก็ตราว พ.ศ.๒๔๑๔ (ค.ศ.๑๘๗๑) และใช้ภาษาจีนฮกเก้ียนในการสอน ศาสนา หลังจากนั้นได้มีคณะมิชชันนารี ประกอบด้วย วิลเลียม แมก โดนัล (William Mac Donal) และ ฟิลิป เจ. ฮอกการ์ด (Philip J. Hocquard) ได้เดินทางจากปีนัง มาสู่ภูเก็ต ขณะนั้น มีผู้นับถือศาสนาคริสต์ในภูเก็ตเพียง ๘ คน และมิชชันนารี ท้ังสองได้ประกอบพิธีศีลมหาสนิทให้แก่ชาวภูเก็ตเหล่านั้น 79

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ อ๋องห้ิน (Ong Hin) เป็นผู้หนึ่งที่ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าอย่างย่ิง เขาได้ รวบรวมเงินจากการขายขนมซื้อบ้านท่ีถนนถลาง ๑ หลัง ในปี พ.ศ.๒๔๓๒ (ค.ศ. ๑๘๘๙) คือ บ้านเลขที่ ๒๔ ถนนถลาง เพื่อเป็นสถานที่พบปะของคริสต์ศาสนิกชน และเป็นท่ีเผยแพร่ประกาศข่าวประเสริฐของพระผู้เป็นเจ้า สถานท่ีน้ียังเป็นสถานที่ ส�ำหรับสวดมนต์ และประกอบพิธีกรรมทางศาสนาจนถึงปัจจุบัน สิ่งของส�ำคัญของคริสเตียนสถานถนนถลาง คือ นาฬิกาต้ังพ้ืนพระราชทาน จากล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ เนื่องในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพล้นเกล้า รัชกาลที่ ๕ ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายประสิทธิ ชิณการณ์ อายุ ๘๑ ปี, Phuket Data.Net, ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๖๘ ถนนดีบุก ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต วันที่ให้ข้อมูล วันที่ ๒๘ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๘ นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 80

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ ๒ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ทุ่งคา สถานท่ีตั้ง บริเวณเมืองทุ่งคาครอบคลุมพ้ืนที่เมืองเก่าภูเก็ต ในพื้นที่บางส่วนของต�ำบล ตลาดใหญ่และต�ำบลตลาดเหนือ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต อ้างถึงความ ตามประกาศของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เร่ืองประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ต ลงวันท่ี ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๐ มีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ จด ทางแยกตัดถนนแม่หลวนและถนนปฏิพัทธ์ิ ต่อเนื่องไปตามแนวทิศตะวันออก ตามแนวกึ่งกลางของถนนแม่หลวน และถนนทุ่งคา ผ่านถนนเทพกระษัตรี และต่อเนื่องไปตามทิศตะวันออก ตามแนวก่ึงกลางถนนด�ำรง จนถึงทางแยกตัดถนน ปะเหลียน ทิศใต้ จด แหลมสะพานหินสุดแนวชายฝั่งอันดามัน ต่อเน่ืองไปทางทิศตะวันตก เลียบแนวชายฝั่งอันดามัน ผ่านปากคลองบางใหญ่ ทิศตะวันออก จด ทางแยกตัดถนนปะเหลียนกับถนนด�ำรง ต่อเนื่องลงมาทิศใต้ตามแนวกึ่งกลาง ของถนนปะเหลียน จนถึงทางแยกตัดถนนนริศร และต่อเนื่องไปทางทิศตะวันตกตามแนวก่ึงกลาง ของถนนนริศรจนถึงทางแยกตัดถนนมนตรี ต่อเนื่อง ลงมาทางทิศใต้ตามแนวกึ่งกลางของถนนมนตรี จนถึงทางแยกถนนพังงา ต่อเนื่องไปทางทิศตะวันออก ตามแนวก่ึงกลางของถนนพังงา จนถึงทางแยก 81

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ตัดถนนดิลกอุทิศ ๒ ต่อเน่ืองลงมาทางทิศใต้ ตามแนวกึ่งกลางถนนดิลกอุทิศ ๒ จนถึงทางแยกถนนอ๋องซิมผ่าย ต่อเน่ืองไปทาง ทิศตะวันตกตามแนวกึ่งกลางถนนอ๋องซิมผ่าย จนถึงทางแยกตัดถนนภูเก็ต และต่อเนื่องไปทางทิศใต้ ตามแนวก่ึงกลางถนนภูเก็ต จนกระทั่ง จดแหลมสะพานหิน สุดแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด แนวสุดชายฝั่งอันดามันต่อเน่ืองไปตาม ทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามกึ่งกลางแนว ถนนรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จนถึงทางแยกตัดถนนพูนผล ต่อเน่ืองข้ึนไปตามแนวก่ึงกลางถนนพูนผล จนถึงทางแยกตัดถนนปฏิพัทธิ์ และต่อเน่ืองข้ึนไปทาง ทิศเหนือตามแนวก่ึงกลางถนนปฏิพัทธิ์ กระท่ังถึงทางแยกตัดถนนแม่หลวนกับถนนปฏิพัทธิ์ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง ทุ่งคา เป็นชื่อหมู่บ้านท่ีตั้งอยู่ริมคลองบางใหญ่ ใกล้ปากอ่าวภูเก็ต หรือ อ่าวทุ่งคา สภาพภูมิประเทศเดิมเป็นท่ีราบลุ่มท่ีเต็มไปด้วยหญ้าคา จึงเป็นท่ีมา เรียกว่า ทุ่งคา พระยาวิชิตสงคราม (ทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) เจ้าเมืองภูเก็ต ได้ย้าย เมืองภูเก็ตจากบ้านเก็ตโฮ่มายังบ้านทุ่งคา เม่ือประมาณปี พ.ศ.๒๓๙๒ เพ่ือความ สะดวกในการท�ำการค้าและขนส่งแร่ดีบุกไปยังต่างประเทศ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น ทุ่งคา ในอดีตเป็นบริเวณฝั่งทิศตะวันออกของคลองบางใหญ่ พ้ืนท่ี ส่วนหนึ่งเคยเป็นที่ต้ังของจวนเจ้าเมืองภูเก็ตเก่า ต่อมาในสมัยพระยารัษฎา- นุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้มีการ มอบประทานบัตรในการท�ำเหมืองแร่ดีบุกในบริเวณพื้นที่จวนเจ้าเมืองภูเก็ตเก่า 82

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ แลกเปล่ียนกับการสร้างอาคารที่ท�ำการรัฐบาลหรือศาลากลางจังหวัดภูเก็ตหลังใหม่ ส่งผลให้อาคาร ส่ิงปลูกสร้าง ภายในจวนเจ้าเมืองภูเก็ตเก่าถูกร้ือถอน คงเหลือไว้ เพียงอาคารบางส่วน อาทิ ท่ีท�ำการไปรษณีย์ภูเก็ต คร้ังแรกจัดตั้งปี พ.ศ.๒๔๖๙ อาคารพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรภูเก็ต เป็นอาคารที่ได้รับการข้ึนทะเบียน เป็นโบราณสถาน เม่ือปี พ.ศ.๒๕๔๒ จากหลักฐานที่ปรากฏในจดหมายเหตุประพาส หัวเมืองปักษ์ใต้ของรัชกาลที่ ๖ ท�ำให้ทราบว่า อาคารหลังน้ีสร้างขึ้นเม่ือ พ.ศ.๒๔๗๓ แต่เดิมเคยเป็นเรือนท่ีพักอาศัยของพระอนุรักษ์โยธา (นุด) ข้าหลวงรักษาราชการ หัวเมืองฝ่ายตะวันตก ภายหลังไม่นาน อาคารแห่งนี้ถูกน�ำมาใช้ในส่วนของราชการ นอกจากอาคารท่ีท�ำการไปรษณีย์โทรเลขแล้ว ยังมีส�ำนักงานการไฟฟ้า สุขาภิบาล เมืองภูเก็ต และธนาคารออมสิน อยู่ในบริเวณพ้ืนท่ีเดียวกันด้วย ลักษณะทางสถาปัตยกรรม สร้างเป็นอาคารชั้นเดียวคอนกรีตเสริมเหล็ก ทาสีขาว ด้านหน้าเป็นบันไดทางข้ึน ๕ ขั้น เสาเป็นส่ีเหลี่ยมเซาะร่องห่าง ราวลูกกรง ปูนเรียบยาว กรอบหน้าต่างสีโอ๊ก มีหน้าต่างแบบเปิดบานคู่ เหนือบานเปิดเป็น ช่องแสงไม้ตารางสี่เหลี่ยมติดกระจกใส ภายในตีฝ้าเพดานไม้ตีชิดทาสีขาว ประตู ภายในเปิดปิดบานคู่ลูกฟักไม้ ก่อนถึงหลังคามีแนวกันสาดยื่นออกมาประมาณ 83

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ อาคารพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรภูเก็ต ๘๐ เซนติเมตร เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กบางๆ ประมาณ ๑๐ เซนติเมตร หลังคา เป็นทรงปั้นหยา กระเบื้องจีนดินเผาทรงกระบอกผ่าซีก ป้ายหน้าอาคารเขียนด้วย ตัวหนังสือแบบเก่าว่า “ที่ท�ำการไปรษณีย์โทรเลข POST & TELEGRAPH OFFICE” ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ที่อยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 84

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ ๓ ชื่อบ้าน - นามเมือง : แถวน้�ำ สถานท่ีตั้ง แถวน�้ำ เป็นชุมชนสองฝั่งริมถนนเทพกระษัตรีต้ังแต่ทางแยกถนนดีบุก ตัดถนนเทพกระษัตรี ไปตามแนวถนนเทพกระษัตรี ผ่านแยกแถวน้�ำ มาสุดท่ี ทางแยกธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ถนนภูเก็ตตัดถนนพังงา ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีอาณาเขตดังนี้ 85

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ทิศเหนือ จด สะพานแถวน้�ำ ถนนเทพกระษัตรี ทิศใต้ จด ทางแยกธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ถนนภูเก็ตตัดถนนพังงา ทิศตะวันออก จด คลองบางใหญ่ ทิศตะวันตก จด ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต ถนนถลาง ด้านหลังของอาคารตึกแถวฝั่งตะวันตก ตลอดแนวถนนเทพกระษัตรี ตั้งแต่สะพานแถวน้�ำ ผ่านแยกแถวน้�ำ จดแยกธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ถนนภูเก็ตตัดถนนพังงา ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวข้อง แถวน�้ำ เป็นท่าน้�ำริมคลองบางใหญ่ฝั่งตะวันตก ส�ำหรับเทียบเรือขนถ่าย สินค้า เลยเรียกว่า แถวน้�ำ ในขณะท่ีริมคลองบางใหญ่ฝั่งตะวันออกจะเป็นที่ต้ัง ของจวนเจ้าเมืองภูเก็ตแต่เดิม ส่วนเหนือล�ำคลองบางใหญ่ค่อนไปทางเหนือข้ึนไป จะเป็นเนินทราย เลยเรียกว่า แถวทราย บริเวณแถวน�้ำนี้เป็นตัวเมืองเริ่มแรกในคร้ังที่พระยาวิชิตสงคราม (ทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) ย้ายเมืองภูเก็ตจากบ้านเก็ตโฮ่มายังบ้านทุ่งคา ต้ังอยู่ริมฝั่งคลอง บางใหญ่ ใกล้ปากคลองบางใหญ่ ซึ่งสะดวกในการล�ำเลียงสินแร่ดีบุกจากบ้าน เก็ตโฮ่ ผ่านคลองบางใหญ่ มาขึ้นท่ีแถวน�้ำ ก่อนที่จะถลุงแร่และล�ำเลียงส่งขายไปยัง ต่างประเทศ ท้ังน้ี คลองบางใหญ่บริเวณแถวน�้ำในอดีต มีความลึกและกว้าง พอสมควรท่ีจะให้เรือส�ำเภาเข้าออกได้เพ่ือขนถ่ายสินค้า หรือล�ำเลียงไปขึ้นเรือ ขนาดใหญ่อีกทอดหน่ึง บ้านเรือนในย่านดังกล่าวมีลักษณะเป็นบ้านจีน ประกอบด้วยวัสดุท่ีเป็นอิฐ ดินเหนียว ปูนขาว และไม้แสม มุงกระเบื้องดินเผาทรงคร่ึงกระบอก เนื่องจาก สมัยน้ันปูนซีเมนต์ยังไม่แพร่หลาย และสถาปัตยกรรมชิโน-ยูโรเปียนยังไม่เข้ามา ถึงเมืองภูเก็ต ในยุคเร่ิมแรกน้ัน หลวงอร่ามสาครเขตร (ตันต๋�ำ) ชาวจีนฮกเก้ียน 86

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ พร้อมบุตรชาย พระขจรจีนสกล (ตันเลี่ยนกี่ วงศ์ขจร) มาตั้งรกรากและท�ำกิจการ เหมืองแร่ดีบุกจนมีฐานะ และได้สร้างบ้านเรือนในยุคแรกที่เป็นบ้านจีนข้ึน ต้ังแต่ ย่านแถวน�้ำ ถนนถลาง และซอยรมณีย์ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น สวนสาธารณะ ๗๒ พรรษา มหาราชินี สร้างเม่ือปี พ.ศ.๒๕๔๗ บนท่ีดิน ราชพัสดุ ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของส�ำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดภูเก็ต สวนเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา มหาราชินี ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ที่อยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 87

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๔ ชื่อบ้าน - นามเมือง : หั่งอาหล่าย สถานที่ต้ัง หั่งอาหล่าย ปัจจุบันคือ ย่านชุมชนซอยรมณีย์ ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีอาณาเขตดังน้ี ทิศเหนือ จด ทางแยกซอยรมณีย์บรรจบถนนดีบุก ทิศใต้ จด ทางแยกซอยรมณีย์บรรจบถนนถลาง ทิศตะวันออก จด แนวตึกด้านหลังของถนนเทพกระษัตรีฝั่งตะวันตก บริเวณแถวน�้ำ ทิศตะวันตก จด สถานีบริการน�้ำมันเชลล์ ทุ่งคาบริการ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เก่ียวข้อง ห่ังอาหล่าย หรือ ตรอกมาเก๊า เป็นช่ือด้ังเดิมของซอยรมณีย์ หั่งอา- หล่าย (巷仔內) เป็นภาษาจีนฮกเก้ียน ค�ำว่า หั่งอา (巷仔) หมายถึง ตรอกหรือซอย ส่วนค�ำว่า หล่าย (內) หมายถึง ภายในหรือลับ รวมความหมายถึง ตรอกลับ (secret alley) ต่อมาในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบ๊ี ณ ระนอง) ขณะ ด�ำรงต�ำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๕ ซึ่งเป็น ยุคที่การท�ำเหมืองแร่ก�ำลังรุ่งเรือง มีกรรมการเหมืองแร่ชาวจีนจ�ำนวนมาก จึงเกิด สถานบริการเริงรมย์ขึ้นในตัวเมืองภูเก็ต มีหญิงบริการจาก ญ่ีปุ่น มลายู มาเก๊า ได้ เข้าไปท�ำมาหากินในเมืองภูเก็ตจ�ำนวนมากและกระจัดกระจายไปตามแหล่งต่างๆ พระยารัษฎาฯ จึงจัดระเบียบให้ผู้หญิงน้ันอยู่ในบริเวณเดียวกันบริเวณหั่งอาหล่าย ซ่ึงแต่เดิมเป็นย่านที่หญิงบริการจากมาเก๊ามาให้บริการ หลายคนในอดีตจึงเรียก ตรอกมาเก๊า จึงให้เปล่ียนชื่อเป็น “ซอยรมณีย์” ให้เป็นมงคลนามตามท่ีมาของ สถานที่ ซอยรมณีย์เป็นซอยท่ีเช่ือมระหว่างถนนสองสาย คือ เช่ือมถนนถลาง ทางทิศใต้ และเชื่อมกับถนนดีบุกทางทิศเหนือ 88

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ กลุ่มอาคารตึกแถวในซอยรมณีย์ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น กลุ่มอาคารตึกแถวในซอยรมณีย์ แต่เดิมในยุคเริ่มแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระขจรจีนสกล (ตันเล่ียนกี่ วงศ์ขจร) คหบดีนายเหมืองภูเก็ตในยุคนั้น ได้เป็นผู้ที่ ริเร่ิมสร้างตึกแถวในซอยรมณีย์ มีลักษณะอาคารแบบ “บ้านจีน” คือประกอบวัสดุ ท่ีเป็นอิฐ ดินเหนียว ปูนขาว และไม้แสม มุงกระเบ้ืองดินเผาทรงครึ่งกระบอก เน่ืองจากในสมัยนั้นปูนซีเมนต์ยังไม่แพร่หลาย และสถาปัตยกรรมชิโน - ยูโรเปียน ยังไม่เป็นท่ีนิยมในภูเก็ต ต่อมาเมื่อสิ้นสมัยพระขจรจีนสกล (ตันเล่ียนกี่ วงศ์ขจร) อาคารเหล่าน้ันได้ถูกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ไปยังคหบดีนายเหมืองและพ่อค้าในยุค ถัดมา จึงได้มีการปรับเปล่ียนก่อสร้างอาคารเป็นรูปแบบชิโน - ยูโรเปียนในปัจจุบัน ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 89

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๕ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บางเหนียว สถานท่ีตั้ง บางเหนียว เป็นชุมชนขนาดใหญ่ เริ่มต้ังแต่ฝั่งตะวันออกของคลองบางใหญ่ ต้ังแต่สะพานพระอร่าม ไปจดปลายแหลมสะพานหิน ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จด เชิงสะพานพระอร่าม เลียบคลองบางใหญ่ บรรจบสะพานตล่ิงชัน ทิศใต้ จด ปากคลองบางใหญ่ ปลายแหลมสะพานหิน แนวชายฝั่งอันดามัน ทิศตะวันออก จด แนวชายฝั่งอันดามัน เลียบตามแนวซอยสะพานหิน บรรจบแนวคลองแสนสุข ทิศตะวันตก จด ตามแนวคลองบางใหญ่จากปากคลองบางใหญ่ ถึงสะพานตล่ิงชัน โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว 90

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวข้อง บางเหนียว มาจากภาษาจีนฮกเก้ียนว่า “บางเหลียว” แปลว่า ที่ตากอวน ประมง ทั้งนี้บริเวณบ้านบางเหนียวแต่เดิมเป็นชุมชนของชาวประมงพ้ืนบ้าน ที่อพยพมาจากประเทศจีน ส่วนใหญ่มาจากมณฑลฮกเก้ียน โดยมีการแบ่งเป็น ๒ ต�ำบลในอดีตประกอบด้วย บางเหนียวเหนือ หรือ เต้งบางเหนียว และบางเหนียวใต้ หรือ เอ่บางเหนียว สภาพพ้ืนท่ีโดยรวมเป็นท่ีลุ่มปากคลองบางใหญ่ รอบอ่าวทุ่งคา หรืออ่าวภูเก็ต แต่เดิมชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนดังกล่าวมีการใช้เคร่ืองมือประมงในการ จับปลาหลักอยู่ ๒ ประเภท คือ กอจ๊าน และ ต่ัวบ่าง และเป็นท่ีมาของชื่อหมู่บ้าน ในชุมชน นอกจากนี้ บางเหนียว ยังเป็นแหล่งแร่ดีบุกท่ีมีการท�ำเหมืองมาต้ังแต่สมัย รัชกาลท่ี ๕ สถานที่ส�ำคัญ เช่น โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว ได้รับการก่อต้ังโดยหลวงเสริมวิชาพูน (ธรรมการจังหวัด) และนายหยอง (ผู้ใหญ่บ้าน) เมื่อวันท่ี ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐ มีนายต่ายสาน ตายนะศานติ เป็นครูใหญ่คนแรก ในตอนต้นท่ีเปิดสอนต้องใช้ สถานท่ีของโรงเรียนจีน มีนักเรียนเมื่อแรกเร่ิมจ�ำนวน ๓ คน คือ นายโป นายสือ และนายเทียนโป ต่อมา นายจุ้ยเกียม กรรมการโรงเรียนจีน ตกลงให้ยืมตึกแถว มุงจาก ๑ ห้องไว้ใช้ท�ำการเรียนการสอน (ปัจจุบันคือตัวตึกท่ีพระพิทักษ์ชินประชา ปลูกให้เป็นสมบัติของโรงเรียนจีนเฮียกเอ้ง) และมีจ�ำนวนนักเรียนเพ่ิมข้ึนเป็น ๓๐ คน ต่อมามีสถานะเป็นโรงเรียนประชาบาล (หมายถึงโรงเรียนท่ีได้รับเงินสนับสนุน จากประชาชนเป็นรายปี) และย้ายมายังสถานที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน โดยเงิน ท่ีใช้ในการก่อต้ังโรงเรียนส่วนหนึ่งเป็นเงินศึกษาพลี (เงินสนับสนุน โรงเรียนท่ี เรียกเก็บจากประชาชนในอัตราไม่ต่�ำกว่า ๑ บาท และไม่เกิน ๓ บาท) อีกส่วนหนึ่ง เป็นเงินช่วยเหลือจากการกุศล ซึ่งหลวงพิทักษ์ทวีป (นายอ�ำเภอ) และนายสหาย เอกประดิษฐ์ (ธรรมการอ�ำเภอ) ได้จัดหาเงินจากงานเทศกาลสารทจีน ประจ�ำต�ำบล บางเหนียว ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ ซ่ึงเงินที่ได้ ถูกน�ำมาก่อสร้างห้องแถวเพ่ิม ๒ ห้อง จาก 91

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ เดิมที่มีอยู่แล้ว ๓ ห้อง แบ่งใช้งานเป็นห้องเรียน ๔ ห้อง และห้องประชุม ๑ ห้อง หลังคามุงจาก ด้านหน้าก้ันฝากระดานและสังกะสี ปูพ้ืนด้วยไม้กระดาน บริเวณ ใต้ถุนมีน้�ำทะเลขึ้นถึง สามารถรองรับนักเรียนได้มากข้ึนถึง ๑๕๐ คน จนกระท่ังวันท่ี ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ ได้โอนโรงเรียนประชาบาล ต�ำบล บางเหนียว สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบางเหนียว) สังกัดเทศบาลเมืองภูเก็ต ซึ่งในขณะน้ันมีครู ๕ คน นักเรียนทั้งสิ้น ๑๗๘ คน ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ โรงเรียนเทศบาลท่ัวประเทศถูกโอนกลับไปข้ึนกับ กระทรวงศึกษาธิการอีกคร้ัง โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบางเหนียว) จึงถูกโอนกลับ เช่นกันและใช้ช่ือใหม่เป็น โรงเรียนบางเหนียว และได้ปลูกสร้างอาคารเป็นแบบ กึ่งถาวร (ปัจจุบันอาคารหลังนี้ถูกร้ือถอนแล้ว) ใช้งานแทนอาคารเดิมที่ช�ำรุด ทรุดโทรม และเพ่ือเพ่ิมจ�ำนวนห้องเรียนรองรับกับจ�ำนวนนักเรียนท่ีเพ่ิมข้ึนใน ขณะนั้น โดยอาศัยเงินทุนส่วนหน่ึงจากงานประจ�ำปีซ่ึงจัดขึ้นร่วมกับงานสารทจีน (พ้อต่อ) มีการจัดงานร�ำวงเก็บเงินสะสมพร้อมประกาศรับเงินบริจาคจากผู้ศรัทธา และขอเงินสมทบเพิ่มจากกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย ต่อมาวันท่ี ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๖ ได้โอนโรงเรียนบางเหนียวมาให้เทศบาล ด�ำเนินงานอีกคร้ัง ภายใต้กระทรวงมหาดไทย และเมื่อวันท่ี ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้มีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนบางเหนียว มาเป็นโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว จวบจนปัจจุบัน ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ที่อยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 92

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ ๖ ชื่อบ้าน - นามเมือง : สะพานหิน สถานที่ต้ัง สะพานหิน ปัจจุบันเป็นแนวถนนภูเก็ตต้ังแต่หน้าส�ำนักงานตรวจคน เข้าเมืองภูเก็ต ไปจดปลายแหลมสะพานหิน ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัด ภูเก็ต มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จด ทางแยกตัดถนนภูเก็ตกับซอยสะพานหิน ทิศใต้ ทิศตะวันออก จด ปลายแหลมสะพานหิน สุดแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน จด ท่ีท�ำการบริษัททุ่งคาฮาเบอร์ จ�ำกัด (มหาชน) ทิศตะวันตก ปัจจุบันเป็นท่ีต้ังโครงการ “The Bay Skycliff” และ “The Bay District” จด แนวคลองบางใหญ่ ตั้งแต่วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต จนกระทั่งถึงปากคลองบางใหญ่ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สะพานหิน แต่เดิมเป็นท่าเทียบเรือปากคลองบางใหญ่ อ่าวทุ่งคาหรือ อ่าวภูเก็ต โดยมีการถมหินยื่นออกไปในทะเลเพื่อเป็นสะพานเทียบเรือ จึงเรียกว่า สะพานหิน ในอดีตคนจีนท่ีอพยพเข้ามายังภูเก็ตจะมาข้ึนที่ท่าสะพานหิน ท�ำให้ทาง ราชการได้จัดต้ังด่านตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ตและด่านศุลกากรภูเก็ตข้ึนในบริเวณ สะพานหิน ต่อมาได้มีการพัฒนาบริเวณสะพานหินให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และศูนย์กีฬา มีการถมทะเลออกไปเร่ิมจากบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต และมีการสร้างอนุสาวรีย์หลัก ๖๐ ปี กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัส ไมล์ ชาวออสเตรเลีย เพ่ือเป็นอนุสรณ์แก่ท่านในการเป็นผู้น�ำเรือขุดแร่ในทะเลเข้ามาใช้เป็นคนแรกใน 93

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ อนุสาวรีย์หลัก ๖๐ ปี การขุดแร่ด้วยเรือขุดแร่ล�ำแรกของโลก จังหวัดภูเก็ต และเป็นผู้ก่อต้ังบริษัททุ่งคาฮาเบอร์ทินเดร็ดย่ิงเบอร์ฮัด จ�ำกัด ในการ ท�ำธุรกิจขุดหาแร่ในทะเล บริเวณสะพานหินเป็นท่าเรือส�ำคัญท่ีเรือขนส่งสินค้า และเรือโดยสาร ใช้เป็นจุดเทียบท่า ถือเป็นท่าเรือใหญ่ของการเดินทางในเขตทะเลอันดามัน เชื่อกัน ว่าท่าเรือสะพานหินยังเป็นท่าเทียบเรือท่ีตัวแทนชาวภูเก็ตซ่ึงเดินทางกลับจาก ประเทศจีนน�ำควันธูป (เหี่ยวเอี้ยน) มาเพ่ือประกอบพิธีกินผัก จนกลายเป็นประเพณี ส�ำคัญของชาวภูเก็ตในปัจจุบัน ความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ของสะพานหินคือ เป็นบริเวณท่ีเรือขุดแร่ ล�ำแรกของโลกท�ำการขุดแร่ดีบุกจากอ่าวทุ่งคา เรือขุดแร่อันทันสมัยดังกล่าว ส่ง ผลให้มีการสร้างเรือขุดแร่ข้ึนใช้งานอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ในภายหลัง สถานที่ส�ำคัญ เช่น อนุสาวรีย์หลัก ๖๐ ปี สร้างข้ึนเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ เพ่ือระลึกถึงกัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัส ไมล์ โดยในปี พ.ศ.๒๕๑๑ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณีมีความคิดท่ีจะให้มี ส่ิงปลูกสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงการขุดแร่ด้วยเรือขุดแร่ล�ำแรกของโลก จึงได้ 94

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัส ไมล์ เปิดให้มีการประกวดออกแบบจนส้ินปี พ.ศ.๒๕๑๑ มีผู้ประกวดออกแบบทั้งสิ้น ๖ ราย ทางคณะกรรมการพิจารณาเลือกแบบของนายชวลิต หัสพงษ์ มาด�ำเนินการ ก่อสร้างอนุสาวรีย์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากบริษัททุ่งคาฮาเบอร์ทินเดร็ดยิ่ง เบอร์ฮัด จ�ำกัด (Tongkah Harbour Tin Dredging Co., Ltd) ที่ตั้งของอนุสาวรีย์ ดังกล่าวอยู่บริเวณริมหาดปลายแหลมของสะพานหิน ณ ขณะนั้นก่อนจะมีการถม ทะเลออกไปสร้างศูนย์กีฬาสะพานหิน ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 95

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๗ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ตัวบ่าง สถานท่ีต้ัง ตัวบ่าง เป็นชุมชนดั้งเดิมในซอยต้นโพธ์ิ หลังโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จด ศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ้วกวนอิมไต่ซื่อ หรืออ๊ามพ้อต่อกง ทิศใต้ จด แนวคลองท่าต้นไทร ด้านหลังหอสมุดประชาชน จังหวัดภูเก็ต และโรงเรียนอนุบาลเทศบาล- นครภูเก็ต จนกระทั่งถึงรั้วด้านหลังวิทยาลัย อาชีวศึกษาภูเก็ต ทิศตะวันออก จด ทางแยกซอยต้นโพธิ์มาบรรจบถนนภูเก็ต และขนานไปตามแนวร้ัวด้านหลังโรงเรียนเทศบาล- บ้านบางเหนียว ทิศตะวันตก จด แนวคลองบางใหญ่ เร่ิมจากศูนย์บริการ สาธารณสุข ๓ เทศบาลนครภูเก็ต จนกระท่ังถึง แนวร้ัวด้านข้างวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ที่เก่ียวข้อง ตัวบ่าง เป็นชื่อชุมชนประมงพื้นบ้าน แต่เดิมเป็นที่อยู่ส่วนใหญ่ของ คนจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาตั้งรกรากโดยมาขึ้นฝั่งท่ีบริเวณท่าสะพานหิน เพื่อท�ำอาชีพ ประมงโดยใช้อุปกรณ์การประมง เป็นอวนจับสัตว์น้�ำที่เรียกว่า ตัวบ่าง ตัวบ่าง เป็น ภาษาจีนฮกเกี้ยน ค�ำว่า ตัว หมายถึง ใหญ่ ส่วนค�ำว่า บ่าง หมายถึง แหหรืออวน ใช้จับปลา จึงเป็นที่มาของการเรียกชุมชนในแถวน้ีว่าชุมชน “ตัวบ่าง” ปัจจุบันคือ บริเวณชุมชนซอยต้นโพธิ์ หลังโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว ไปสุดที่ท่าต้นไทร ด้านหลังวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 96

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ ลักษณะของการท�ำประมง เรือท่ีใช้เป็นเรือประมงพ้ืนบ้านท่ีเรียกว่า เรือ หัวโทง ลักษณะเป็นเรือที่มีหัวเรือสูงงอนขึ้นไปบรรจบกับท่อนหัวที่ย่ืนสูงข้ึนมา และตรงท่อนท้ายมีลักษณะเป็นรูปล่ิม ขนาดตั้งแต่ ๗ - ๘ เมตรขึ้นไปจนถึง ๑๐ กว่า เมตร โครงสร้างตัวเรือประกอบด้วยไม้ท้ังล�ำ และใช้ชันซึ่งเป็นยางไม้ชนิดหนึ่ง ในการยาแนวรอยต่อระหว่างแผ่นไม้ ขับเคล่ือนโดยใช้ไม้พายยาว ปัจจุบันนิยม ติดเคร่ืองยนต์ที่ท้าย ส่วนอวนท่ีใช้ในการจับสัตว์น้�ำชายฝั่งเรียกว่า อวนตัวบ่าง ในการวางอวนจะวางจากข้างเรือ ต่างจากเรือกอจ๊านหรือเรือท้ายเป็ดท่ีวางอวน จากท้ายเรือ สถานที่ส�ำคัญ เช่น โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 97

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๘ ชื่อบ้าน - นามเมือง : กอจ๊าน สถานท่ีต้ัง กอจ๊าน ต้ังอยู่บริเวณชุมชนถนนตะก่ัวทุ่งและถนนกระ ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จด ถนนกระ ทิศใต้ จด ศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ้วกวนอิมไต่ซ่ือ หรืออ๊ามพ้อต่อกง ทิศตะวันออก จด แนวด้านหลังอาคารริมถนนภูเก็ตฝั่งตะวันตก ทิศตะวันตก จด แนวคลองบางใหญ่ ต้ังแต่สะพานโรงแรมซิลเวอร์ ผ่านสะพานกอจ๊าน จนกระท่ังถึงศูนย์บริการ สาธารณสุข ๓ เทศบาลนครภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้อง กอจ๊าน เป็นช่ือชุมชนประมงพื้นบ้าน แต่เดิมเป็นท่ีอยู่ส่วนใหญ่ของ คนจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาต้ังรกรากโดยมาขึ้นฝั่งที่บริเวณท่าสะพานหิน เพื่อท�ำอาชีพ ประมงโดยใช้อุปกรณ์การประมง เป็นเรือและอวนจับสัตว์น้�ำที่เรียกว่า กอจ๊าน จึง เป็นที่มาของการเรียกชุมชนในแถวนี้ว่าชุมชน “กอจ๊าน” ปัจจุบันคือบริเวณชุมชน ถนนตะกั่วทุ่ง และถนนกระ ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ลักษณะของการท�ำประมง เรือที่ใช้เป็นเรือประมงขนาดเล็กที่มีหางเรือ แยกเป็นสองทาง สามารถบรรทุกผู้คนได้ไม่เกิน ๘ คน บางคนเรียกว่าเรือท้ายเป็ด โครงสร้างตัวเรือประกอบด้วยไม้ทั้งล�ำ และใช้ชันซ่ึงเป็นยางไม้ชนิดหน่ึงในการ ยาแนวรอยต่อระหว่างแผ่นไม้ ขับเคลื่อนโดยใช้แรงลมจากใบเรือโดยขึงผ้าใบหรือ ใช้ไม้พายยาว ส่วนอวนท่ีใช้ในการจับสัตว์น้�ำชายฝั่งท่ีเรียกว่า อวนกอจ๊าน ในการ วางอวนจะวางจากท้ายเรือ 98

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ เรือท้ายเป็ด นอกจากนี้ บริเวณชุมชนกอจ๊านยังเป็นแหล่งแร่ดีบุก ในอดีตมีการท�ำ เหมืองแร่ดีบุกของนายอ๋องบุ้นเทียมหรือจีนอ๋องเทียม ซ่ึงภายหลังภรรยาของ จีนอ๋องเทียมคือ นางเอี่ยวเอ่งห้ัวหรืออ�ำแดงหั้ว ได้รับช่วงกิจการท�ำเหมืองต่อ หลังจากจีนอ๋องเทียมเสียชีวิต ท้ังสองเป็นบิดามารดาของภรรยาพระพิทักษ์- ชินประชา (ตันม้าเสียง หรือ ม้าเสียง ตัณฑวณิช) อนึ่งรัชกาลท่ี ๖ เมื่อคร้ังด�ำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ในคราวเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ได้เสด็จพระราชด�ำเนิน ชมการท�ำเหมืองหาบของนางเอ่ียวเอ่งห้ัวหรืออ�ำแดงห้ัว เมื่อวันท่ี ๒๙ เมษายน ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๕๒) สถานที่ส�ำคัญ เช่น ศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ้วกวนอิมไต่ซื่อ หรืออ๊ามพ้อต่อกง ต้ังอยู่เลขท่ี ๖๕ ถนน ตะก่ัวทุ่ง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ศาลเจ้านี้เกิดจากคนจีนซ่ึง ส่วนใหญ่เป็นจีนฮกเกี้ยน มาท�ำอาชีพกรรมกรในเหมืองแร่ และท�ำประมงพื้นบ้าน ในย่านบางเหนียว โดยเร่ิมแรกเป็นศาลเจ้าขององค์เทพปุนเถ่ากง จากหลักฐานจารึก ที่กระถางธูปหรือหล่อของศาลเจ้าแห่งน้ี ระบุว่าสร้างในวันดีเดือนหก สมัยฮ่องเต้ กวงสวี แห่งราชวงศ์ชิง ซ่ึงตรงกับ พ.ศ.๒๔๒๓ นอกจากน้ีได้พบหลักฐานการบูรณะ สมัยต่อมาเป็นป้ายไม้ระบุปีที่ ๑๖ สมัยฮ่องเต้กวงสวี ซึ่งตรงกับ พ.ศ.๒๔๓๓ 99

ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ้วกวนอิมไต่ซ่ือ หรืออ๊ามพ้อต่อกง ต่อมาได้มีการอัญเชิญรูปบูชาพระโพธิสัตว์กวนอิมและองค์เทพไทสือเอี้ย หรือพ้อต่อกงมาไว้ประจ�ำศาลเจ้า และติดตั้งป้ายช่ือศาลเจ้าว่า ศาลเจ้าเซ่งเต๊กเบ้ว กวนอิมไต่ซื่อ และได้มีการจัดพิธีสารทจีน งานพ้อต่อข้ึนเป็นประจ�ำทุกปี โดยเร่ิม จัดงานวันข้ึน ๑๙ เดือน ๗ ตามปฏิทินจันทรคติจีน และส้ินสุดในวันสุดท้ายของ เดือน ๗ ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายอัศวิน อรรถธรรม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ อายุ ๕๑ ปี และคณะท�ำงานช่ือบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรมต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ ท่ีอยู่ ผู้ให้ข้อมูล ๔๙ ถนนถลาง ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล คณะท�ำงานชื่อบ้านนามเมืองสภาวัฒนธรรม ต�ำบลตลาดใหญ่ ปี ๒๕๖๐ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๑๗ เดือนมีนาคม ๒๕๖๐ 100

อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลตลาดใหญ่ ๙ ชื่อบ้าน - นามเมือง : โก่ป๊ ีหึง สถานที่ต้ัง โก่ปี๊หึง เป็นขุมน�้ำระหว่างซอยสะพานหินกับซอยกอไผ่ ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีอาณาเขตดังน้ี ทิศเหนือ จด ซอยกอไผ่ตลอดแนวฝั่งใต้ ทิศใต้ จด ซอยสะพานหิน ต้ังแต่ท่ีท�ำการบริษัททุ่งคาฮาเบอร์ จ�ำกัด (มหาชน) เดิม ทิศตะวันออก จด ซอยสะพานหินไปบรรจบซอยกอไผ่ ทิศตะวันตก จด บ้านพักเจ้าหน้าท่ีด่านศุลกากรภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้อง โก่ปี๊หึง เป็นช่ือภาษาจีนฮกเกี้ยน หมายถึง สวนกาแฟ ซ่ึงในอดีตมีการ ปลูกกาแฟบริเวณซอยสะพานหินต่อเน่ืองมาถึงซอยกอไผ่ ต�ำบลตลาดใหญ่ อ�ำเภอ เมือง จังหวัดภูเก็ต ต่อมาได้มีการล้มสวนกาแฟเพื่อท�ำเหมืองแร่ดีบุกในบริเวณ ดังกล่าว และมีการขุดดินท�ำเหมืองหาบ จนเกิดเป็นขุมน�้ำภายหลังการท�ำเหมือง ชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่า ขุมโก่ปี๊หึง สถานท่ีส�ำคัญ เช่น ที่ท�ำการและบ้านพักของบริษัททุ่งคาฮาเบอร์ทินเดร็ดย่ิงเบอร์ฮัด จ�ำกัด (Tongkah Harbour Tin Dredging Co., Ltd) ตั้งอยู่ซอยสะพานหิน ตรงข้ามกับ ขุมโก่ปี๊หึง ในอดีตบริษัทดังกล่าวก่อต้ังเม่ือปี พ.ศ.๒๔๔๙ โดย กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัส ไมล์ นักธุรกิจชาวออสเตรเลีย บริษัทดังกล่าวเป็นผู้น�ำในการเร่ิมใช้เทคโนโลยี เรือขุดแร่ดีบุกเป็นรายแรกของประเทศไทย และนับเป็นรายแรกของโลก กัปตัน เอ็ดเวิร์ด โธมัส ไมล์ ได้รับประทานบัตรเหมืองแร่ดีบุกในอ่าวภูเก็ตจากรัฐบาลไทย 101


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook