ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ศาลเจ้าจ้อสู่ก้งนาคา ปีที่ ๔ โดยเช่าท่ีดินของเอกชน มีนายชั้น วรวิทูร เป็นครูใหญ่ และได้ตั้งช่ือโรงเรียน ว่า “โรงเรียนวิชิตสงคราม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระยาวิชิตสงคราม ปัจจุบันขยาย การเรียนการสอนถึงช้ันมัธยมปีท่ี ๖ มีนักเรียนกว่าพันคน ศาลเจ้าจ้อสู่ก้งนาคา ช่ือส�ำนักว่า “ฮุนจงอ๊าม” แปลว่า “อารามเมฆคล้อย” ศาลเจ้าเริ่มต้นจากชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพเข้ามาเป็นกรรมกรเหมืองแร่ดีบุกในช่วง รัชสมัยรัชกาลที่ ๔ จนถึงต้นรัชกาลท่ี ๕ เป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งต่างก็น�ำส่ิงศักดิ์สิทธ์ิ ท่ีพวกเขาเคารพเข้ามาด้วย ต่อมาได้สร้างศาลเจ้าข้ึนในพื้นที่ต�ำบลท่ีได้อยู่อาศัย จากอาคารเล็กๆ มุงจาก พัฒนาเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน พร้อมจิตรกรรมฝาผนัง ตามค�ำบอกเล่าเชื่อว่า ศาลเจ้าแห่งน้ีสร้างเม่ือปี ๒๔๔๙ และได้ท�ำการบูรณะ เร่ือยมา จนเม่ือปี ๒๕๕๕ ศาลเจ้าได้บูรณะคร้ังใหญ่ โดยผู้มีจิตศรัทธาในบ้านนาคา ต�ำบลวิชิต ผู้ท่ีมาอาศัยในภูเก็ต การบูรณะคร้ังน้ีช่วยปรับระดับความสูงของศาลเจ้า ตัวอาคารทาสีเหลืองสดใสชวนสะดุดตา ปรับโครงสร้างหลังคาให้มีอาณาเขต กว้างขึ้น แต่ยังรักษาศิลปะ ภาพต่างๆ ตามรูปแบบเดิม ผู้เขียนภาพผนังเดิมเป็น ลูกหลานคนจีนฮกเกี้ยนภูเก็ต และปัจจุบันยังมีผู้สืบทอดงานศิลปะให้คงรูปแบบ เช่นเดิมไว้ นอกจากนั้นยังได้ท�ำการปรับภูมิทัศน์ใหม่โดยรอบ และท�ำการก่อสร้าง 152
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต แล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี ๒๕๕๖ ภายในตัวอาคารทาสีแดงสด ประดับด้วยภาพ จิตรกรรมฝาผนังบอกเรื่องราวของเทพเจ้าจีน บริเวณห้องโถงกลางมีโต๊ะบูชา กระถางธูปเทียน ส�ำหรับไหว้องค์จ้อสู่ก้ง ห้องโถงด้านหน้ามีโต๊ะส�ำหรับไหว้ทีกงแซ ประดับด้วยเสาศาลเจ้าสี่ต้น ปั้นตัวมังกรพันเสาอย่างสวยงาม หน้าบันไดทางข้ึนมี สิงโตคู่ขนาดใหญ่สีทองโดดเด่น สถานท่ีส�ำคัญอื่นๆ เช่น วัดนาคาราม เหมืองเจ้าฟ้า เขานาคเกิด บุคคลส�ำคัญที่เกี่ยวข้อง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยา วิชิตสงคราม (ทัต) ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายนิมิตร เอกวานิช ประธานสภาเทศบาลต�ำบลวิชิต อายุ ๕๕ ปี ที่อยู่ผู้ให้ ข้อมูล ๔๐ ซอยบางใหญ่ หมู่ท่ี ๕ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต http://live.phuketindex.com/th/naka-shrine-3060.html ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นางวารุณี งานทัศนานุกูล วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๐ เดือนมกราคม ๒๕๖๐ 153
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๖ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านชิดเชี่ยว สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๕ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ที่เก่ียวข้อง บ้านชิดเช่ียว หมายถึงดาวเจ็ดดวงหรือนางฟ้าเจ็ดองค์ เป็นเหมืองเก่า ของชาวจีน มีศาลเจ้าชิดเช่ียวต้ังอยู่ติดกับเขตเทศบาล เป็นศาลเจ้าโบราณอายุร่วม ร้อยปี เป็นที่เคารพของชาวบ้าน ใครป่วยไข้ก็มาขอต๋ัวออกยา ช่วงเทศกาลกินเจ สมัยก่อน เม่ือขบวนแห่องค์กิ้วอ๋องมาจากกะทู้ ถึงหน้าศาลเจ้า หากไม่โบกธงใหญ่ โบกสะบัด ขบวนก็จะหมุนอยู่ท่ีน่ัน ส่วนใหญ่จะเดินสนุกมาก สนามสุระกุล สมัยก่อนเป็นป่าช้าต่อกับโรงเรียนวิชิตสงคราม ต่อมา นายอ้วน สุระกุล มาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และได้เปล่ียนป่าช้าติดถนนใหญ่ให้ เป็นสนามสุระกุล เป็นสนามกีฬาประจ�ำจังหวัด โรงเรียนวิชิตสงครามได้ย้ายไปอยู่ ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ตระกูลเอกวานิช เป็นท่ีรู้จักของชาวบ้านและเป็นตระกูลท่ีมีคุณธรรม และ มีบ้านท่ีหาดูได้ยากแห่งหนึ่ง เป็นบ้านโบราณตั้งอยู่บนยอดเขา และมีประตูหิน ที่ใหญ่ท่ีสุดเท่าที่จะหาได้ในสมัยน้ัน มีสวนยางพารารอบบ้าน มีโรงน้�ำแข็ง และ เหมืองแร่เก่า สถานท่ีส�ำคัญ เช่น โรงพยาบาลสิริโรจน์ มีถนน ๒๐๐ ปี (บายพาส) ตัดผ่ากลาง เชื่อมถนน เจ้าฟ้าหมู่ที่ ๔ ตรงหน้าไทนาน (ปัจจุบันเป็นห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล) โรงเรียน ดาราสมุทร 154
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต ศาลเจ้าชิดเช่ียว บุคคลส�ำคัญท่ีเกี่ยวข้อง หนังศิริ ไกรเลิศ ผู้ใหญ่บ้าน (เป็นนายหนังท่ีมี ชื่อเสียง และเป็นพ่อของผู้ใหญ่พันลึก ไกรเลิศ) ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายอนุชา เอกวานิช ผู้ใหญ่บ้าน อายุ ๔๘ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๔๐/๑ ซอย บางใหญ่ หมู่ท่ี ๕ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายนิมิตร เอกวานิช ประธานสภาเทศบาลต�ำบลวิชิต อายุ ๕๕ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ ข้อมูล ๔๐ ซอยบางใหญ่ หมู่ที่ ๕ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นางวารุณี งานทัศนานุกูล วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๑๐ เดือนมกราคม ๒๕๖๐ 155
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๗ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านบ่อแร่ สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๖ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด บ้านนาบอนใต้ หมู่ท่ี ๑ และบ้านท่าแครงบน ทิศใต้ จด บ้านแหลมพันวา หมู่ท่ี ๘ ทิศตะวันออก จด อ่าวตังโหลน ทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด อ่าวฉลอง ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เก่ียวข้อง ในอดีตหมู่บ้านแห่งน้ีเป็นชุมชนชาวมุสลิม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ยึดม่ันในจริยธรรมอิสลามตลอดมา ประชาชนมีความรักสามัคคี มีประวัติเรื่องเล่า สืบทอดกันมาสองแบบ ดังน้ี ๑. จากผู้เฒ่าเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ผู้คนจากต่างจังหวัดโดยเฉพาะจาก เกาะยาวที่จะเดินทางเข้ามายังหมู่บ้านแห่งนี้ต้องมาทางเรือโดยผ่านคลองแร่ ซึ่ง คลองนี้ในอดีตมีจุดหนึ่งท่ีเป็นน้�ำวนและลึก จึงเป็นที่มาของช่ือหมู่บ้านว่า บ่อแร่ ปัจจุบันเทศบาลต�ำบลวิชิตได้ท�ำการขุดคลองสายใหม่เชื่อมกับคลองสายนี้ไปถึง คลองเกาะผี บริเวณสะพานหิน แต่สภาพคลองตื้นเขินไม่ลึกเหมือนเม่ือครั้งอดีต บริเวณชุมชนใกล้คลองนี้ยังคงเรียกว่า คลองแร่ หมู่บ้านบ่อแร่ ตามพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ทางตอนใต้ของเกาะภูเก็ต ๒. จากผู้เฒ่าเล่าขานอีกสายหน่ึงเล่าว่า บ่อน�้ำแทบทุกบ่อในหมู่บ้าน ขุด ได้ประมาณ ๒ - ๓ เมตร จะเจอหินกรวดแข็งสีน�้ำตาล ซ่ึงชาวบ้านเรียกหินชนิดน้ีว่า ลูกแหร้ (หรือ หินแหล่) บ่อน้�ำที่ขุดเจอลูกแหร้ ชาวบ้านก็เรียกว่า บ่อแหร้ (ปัจจุบัน บ่อน�้ำในบริเวณดังกล่าวมีน้�ำใสตลอดปีและสามารถมองเห็นหินลูกแหร้และช้ันหิน 156
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต ได้) แต่จากการเขียนป้ายของทางราชการ ใช้ค�ำว่า บ่อแร่ จนถึงปัจจุบัน หมู่บ้านแห่งน้ี จากไม่กี่ครัวเรือน ปัจจุบันมีประชากรเพ่ิมขึ้นมากถึง ๑,๒๖๐ ครัวเรือน โดยมีผู้คนหลายศาสนาเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ท้ังพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ - ฮินดู ขงจื๊อ เต๋า หลายเช้ือชาติ ท้ังลาว พม่า จีน อินเดีย และชาวตะวัน ตก แต่หมู่บ้านแห่งน้ีไม่เคยมีปัญหาขัดแย้ง ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เข้าใจ ในกฎเกณฑ์ของกันและกัน ต่างคนต่างยึดในศาสนาของตน ตลอดเวลาที่ชาวบ้าน บ่อแร่ได้ต้ังถิ่นฐานมาเป็นเวลานาน ถนนและซอยในหมู่บ้านมาจากการอุทิศของ ชาวบ้านเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ท้ังส้ิน มัสยิดกียามุดดีน มัสยิดหลังที่ ๑ เดิมช่ือ มัสยิดบ้านบ่อแร่ เริ่มสร้างข้ึน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ ต้ังอยู่ในที่ดินของเอกชน ชื่อ นายหลงสัน สมบูรณ์ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ บ้าน หมู่ที่ ๓ ต�ำบลอ่าวมะขาม อ�ำเภอทุ่งคา จังหวัดภูเก็ต เป็นอาคารยกพ้ืน ใต้ถุน โล่ง ปูพื้นกระดาน ฝาไม้ไผ่ขัดแตะ มุงจาก มี ละไบอี โชคเก้ือ เป็นอิหม่าม มัสยิดหลังน้ีมีอายุการใช้งานในการประกอบศาสนาได้ประมาณ ๒๔ ปี (พ.ศ.๒๔๗๔) จนกระทั่งไม่สามารถใช้ในการประกอบศาสนาได้เน่ืองจากทรุดโทรม มาก มัสยิดหลังท่ี ๒ ในปลายปี พ.ศ.๒๔๗๔ ได้ย้ายมาสร้างห่างจากที่เดิม ประมาณ ๕๐๐ เมตร ในท่ีดินของ ละไบอี โชคเก้ือ ซึ่งมอบที่ดินท้ังแปลงประมาณ ๑ ไร่เศษให้เป็นท่ีดินวากัฟ (สาธารณประโยชน์) ได้ปลูกสร้างอาคารมัสยิด โดย การสละแรงและบริจาคทรัพย์ของสัปปุรุษในหมู่บ้านบ่อแร่ เป็นอาคารยกพ้ืนสูง ปูกระดาน ก้ันกระดาน หลังคามุงสังกะสี เสาตั้งบนพื้นดินรองปูน กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ตั้งอยู่ท่ีหมู่ท่ี ๓ ต�ำบลอ่าวมะขาม อ�ำเภอทุ่งคา จังหวัดภูเก็ต โดยมี ฮัจญีสะ เป็นอิหม่าม และได้ข้ึนทะเบียนมัสยิดเม่ือวันท่ี ๑๒ มกราคม ๒๔๙๓ ให้เปลี่ยนช่ือเป็น มัสยิดกียามุดดีน (ช่ือภาษาอาหรับ หมายถึง ยืนหยัดในศาสนา) เม่ือทางกระทรวงมหาดไทยได้มีการเปล่ียนแปลงการปกครอง โดยยุบ ต�ำบลอ่าวมะขามกับต�ำบลระแงง รวมกันจัดตั้งต�ำบลใหม่เป็นต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต จ�ำนวนสัปปุรุษเพิ่มมากขึ้น ท�ำให้พื้นที่ประกอบศาสนกิจไม่เพียงพอ จึง ได้มีการเคล่ือนย้ายอาคารมัสยิดหลังเก่า โดยชาวบ้านช่วยกันหามไปไว้ใกล้ๆ กับ 157
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ อาคารหลังใหม่ ในวันท่ี ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๔ (หนังสืออนุสรณ์ เน่ืองในโอกาสเปิด อาคารศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจ�ำมัสยิดกียามุดดีน บ้านบ่อแร่ เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๗) โรงเรียนบ้านอ่าวน้�ำบ่อ เดิมช่ือ โรงเรียนประชาบาลต�ำบลอ่าวมะขาม ต้ัง อยู่ที่บ้านอ่าวน้�ำบ่อ หมู่ที่ ๓ (บ้านบ่อแร่) ต�ำบลอ่าวมะขาม อ�ำเภอทุ่งคา จังหวัดภูเก็ต ก่อต้ังเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖ ด้วยความร่วมมือร่วมแรงของชาวบ้านอ่าวมะขาม และบ้านบ่อแร่ ท่ีต้องการให้บุตรหลานได้ศึกษาในโรงเรียนที่ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้าน โดยจัดซื้อที่ดินเน้ือที่ ๖๔ ไร่ ๓ งาน ๓๐ ตารางวา จากเงินศึกษาพลี ๖๕๐ บาท และ สร้างอาคารเรียนหลังแรกข้ึนเป็นอาคารไม้ช้ันเดียว ตัวอาคารกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๘ เมตร หลังคาสังกะสี จากเงินศึกษาพลี ๑,๔๑๐ บาท เปิดเรียนเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๗ โดยนายอ�ำเภอทุ่งคา รองอ�ำมาตย์เอกเรืองฤทธิ์รักษาราษฎร์ เป็นประธาน เร่ิมแรกมีนักเรียนทั้งหมด ๓๓ คน ชาย ๒๗ คน หญิง ๖ คน มีคุณครู จ๋าย พวงปราง เป็นครูใหญ่คนแรก ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ เปล่ียนชื่อเป็น โรงเรียนประชาบาลต�ำบลวิชิต เนื่องจาก ประกาศกระทรวงมหาดไทย เปล่ียนแปลงเขตต�ำบลและอ�ำเภอบางจังหวัด ข้าหลวง ประจ�ำจังหวัดภูเก็ตได้ด�ำเนินการเปลี่ยนแปลงเขตต�ำบลในอ�ำเภอเมือง ให้ยุบต�ำบล อ่าวมะขามกับต�ำบลระแงง รวมกันจัดต้ังเป็นต�ำบลใหม่ เรียกช่ือว่า “ต�ำบลวิชิต” เพ่ือให้ช่ือโรงเรียนสอดคล้องกับช่ือต�ำบลที่โรงเรียนตั้งอยู่ ต่อมาได้เปล่ียนช่ือเป็น โรงเรียนบ้านอ่าวน�้ำบ่อ ตั้งอยู่ที่หมู่ท่ี ๖ บ้านบ่อแร่ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัด ภูเก็ต บ้านอ่าวน้�ำบ่อ ประวัติมีมาว่า กลางหมู่บ้านมี “บ่อต้นโพธิ์” เป็นบ่อน�้ำจืด สาธารณะ ในฤดูแล้งคนในหมู่บ้านจะใช้น้�ำที่บ่อแห่งนี้ที่เดียว เนื่องจากบ่อน้�ำแห้ง แต่ละครัวเรือนไม่มีน้�ำใช้อุปโภคบริโภค อีกหน่ึงค�ำบอกเล่าคือ มีบ่อน้�ำจืดซึ่งติดกับน้�ำเค็มบริเวณแหลมน้�ำบ่อ (แหลมบ่อ) ตรงโขดหิน ติดกับที่ดินนายเหร็ม สาลิกา กับท่ีดินนายหล๊ะ รักหาบ 158
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต คลองมุดง หรือคลองมุดดง สถานที่ส�ำคัญ เช่น มัสยิดกียามุดดีน โรงเรียนบ้านอ่าวน�้ำบ่อ ถนนนาร้าง - บ่อแร่ คลองมุดง หรือคลองมุดดง ซอยสลามัต อุทิศโดย ครูเสนอ กูสลามัต ซอยสมันอุทิศ อุทิศโดย โต๊ะสมัน อับดุลล่า ซอยสามารถร่วมใจ อุทิศโดย เครือญาติสกุล สามารถ ซอยสมบูรณ์ อุทิศโดย เครือญาติสกุล สมบูรณ์ ซอยประชาร่วมใจ อุทิศโดย ชาวบ้านบ้านบ่อแร่ ซอยหน้าสุสาน อุทิศโดย นายสาด สมบูรณ์ ซอยเฟื่องฟู อุทิศโดย นายแสน เฟื่องฟู ซอยนานาชาติ อุทิศโดย คุณหยุน ออฟูวงศ์ ต้ังชื่อโดย นายโสบ ยุคุณธร เน่ืองจากซอยนี้มีคนอยู่ร่วมกันอย่างหลากหลาย ทุกชาติ ศาสนา ท้ัง พุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ - ฮินดู เต๋า ขงจื๊อ พม่า ไทย ลาว จีน อินเดีย ฝรั่ง 159
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ บุคคลส�ำคัญที่เกี่ยวข้อง คุณครูจ๋าย พวงปราง นายหลงสัน สมบูรณ์ ผู้น�ำทางศาสนาที่ได้รับการคัดเลือกแต่งต้ังด�ำรงต�ำแหน่งอิหม่ามต้ังแต่ อดีตถึงปัจจุบันตามล�ำดับคือ ละไบอี โชคเกื้อ, ฮัจญีสะ, นายเด็น อับดุลล่า, นาย หรีม โชคเก้ือ, นายสันติ เส้ียมสอน, นายอารี สามารถ และนายณัฐพร สามารถ ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายสันต์ คุ้มบ้าน อายุ ๖๘ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๓๒ หมู่ที่ ๗ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นางสาวเมตตา นนทรี อายุ ๕๓ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๙/๑ ซอยนาร้าง - บ่อแร่ หมู่ท่ี ๖ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต หนังสืออนุสรณ์ เนื่องในโอกาสเปิดอาคารศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและ จริยธรรมประจ�ำมัสยิดกียามุดดีน บ้านบ่อแร่ เม่ือวันท่ี ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๗ www.masjidinfo.com/mosque/info ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นางวารุณี งานทัศนานุกูล วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๑๐ เดือนมกราคม ๒๕๖๐ 160
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต ๘ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านอ่าวมะขาม สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๗ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด บ้านบ่อแร่ หมู่ที่ ๖ ทิศใต้ จด บ้านแหลมพันวา หมู่ท่ี ๘ ทิศตะวันออก จด อ่าวตังโหลน แหลมน้�ำบ่อ ทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด ทุ่งสงวนเล้ียงสัตว์เขาขาดอ่าวมะขาม และบ้านบ่อแร่ หมู่ที่ ๖ ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ที่เก่ียวข้อง บ้านอ่าวมะขาม ลักษณะทางภูมิศาสตร์ตรงกลางหมู่บ้านเป็นอ่าว (บริเวณ ท่าเรือน�้ำลึกภูเก็ต) ระหว่างแหลมโต๊ะขุน (ท่าเรืออ่าวขามติน) กับแหลมกล้วย (ท่าเรือไทยซาร์โก้) อ่าวนี้เป็นท่าจอดเรือต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มาช่ือหมู่บ้านอ่าวมะขามตามต�ำนานบอกเล่า ดังน้ี ๑. ในหมู่บ้าน ท่ีดินของโต๊ะใบ๋ หาทรัพย์ มีต้นมะขามใหญ่คู่ใกล้กับบ่อน้�ำ (บ่อหัวนอน) ชาวบ้านเรียกช่ือ “ต้นขามโต๊ะเล็ม” ชาวเรือสามารถมองเห็นในระยะ ไกลด้วยสายตาเป็นเครื่องหมายน�ำเรือกลับเข้าฝั่งชายหาดอ่าวมะขาม และ ต้นมะขามน้ี คนในหมู่บ้านสามารถเก็บผลมากินได้ทุกครัวเรือน เป็นต้นไม้ผล สาธารณะของหมู่บ้าน (อ่าว+ต้นมะขาม) จึงเรียกชื่อหมู่บ้าน “อ่าวมะขาม” ๒. ชาวมลายูเดินทางทางเรือจากเมืองไทรบุรี เกาะปีนังมาเกาะภูเก็ต เข้า จอดเรือแวะพักชายหาดอ่าวมะขามก่อนข้ึนฝั่งหรือเดินทางต่อ บริเวณชายหาด ติดกับแหลมโต๊ะขุน มี “กุโบร์” ท่ีฝังศพมุสลิม หรือสุสาน ชาวมลายูจึงเรียกช่ือ สถานท่ีพบเห็นว่า “makam” ตามภาษามลายู อ่านว่า มะกอม หมายถึง สุสาน ค�ำพูด ค�ำอ่าน การเขียนภาษาไทยเป็น “มะขาม” (อ่าว+สุสาน) จึงเป็นชื่อหมู่บ้าน 161
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ “อ่าวมะขาม” ๓. มีข้อสันนิษฐานว่าในอดีตพ้ืนที่น้ีมีต้นมะขามใหญ่ปลูกเรียงราย จึง เรียกชื่อบ้านอ่าวมะขาม (อ่าว+ต้นมะขาม) ปัจจุบันยังสามารถพบเห็นได้หลายต้น หมู่บ้านอ่าวมะขาม เป็นชุมชมมุสลิมเดิมตั้งแต่อดีต มีการอพยพย้ายถิ่น โดยทางเรือมาจากเมืองไทรบุรี สตูล เกาะหมาก (ปีนัง) และจากที่อ่ืนๆ เข้ามา โดยการสมรสกับคนในพ้ืนท่ี หรือเข้ามาอาศัยกับญาติพ่ีน้อง และมาประกอบอาชีพ ในพื้นท่ี ต�ำบลอ่าวมะขาม เดิมเกาะภูเก็ต (เกาะถลาง) มีเมืองถลางกับเมืองภูเก็ต ในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต้ังเมือง ภูเก็จ (ใหม่) ที่บ้านทุ่งคา (ท่องคา) แทนท่ีเมืองภูเก็จ (เก่า) ท่ีบ้านเก็ตโฮ่กะทู้ พระยาภูเก็จโลหเกษตรารักษ์ เป็นเจ้าเมืองภูเก็จ (ใหม่) ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๙๒ - ๒๔๑๒ และเป็นจางวางเมืองภูเก็จปี พ.ศ.๒๔๑๒ - ๒๔๒๑ โดยได้รับพระราชทาน ต�ำแหน่งเป็นพระยาวิชิตสงคราม (ทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) เมืองภูเก็ตมีฐานะ เทียบเท่าเมืองถลางในปี พ.ศ.๒๓๙๖ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๗ จึงได้มีการเปล่ียนแปลง การปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล โดยมณฑลภูเก็ตเป็นมณฑลแห่งแรก ในภาคใต้ ประกอบด้วยหัวเมืองภาคใต้ฝั่งตะวันตกท้ังหมด คือ เมืองภูเก็ต เมือง พังงา เมืองกระบ่ี เมืองตะก่ัวป่า เมืองระนอง เมืองตรัง และเมืองสตูล รวมเป็น ๗ เมือง การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น เมือง อ�ำเภอ ต�ำบล และหมู่บ้าน ในเมืองมีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ ในอ�ำเภอ มีกรมการอ�ำเภอเป็นผู้รับผิดชอบ ต�ำบลและหมู่บ้านมีก�ำนันและผู้ใหญ่บ้าน รับผิดชอบ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีพระราชด�ำริทดลองระบบการเลือกตั้งก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้านโดยประชาชนในท้องถ่ินแทนการแต่งตั้งจากส่วนกลาง นับว่าระบบ กระจายอ�ำนาจการปกครองไปให้ประชาชนได้ริเร่ิมข้ึนเป็นก้าวแรกนับต้ังแต่บัดนั้น การแบ่งท้องท่ีของเมืองภูเก็ต แบ่งออกเป็น ๓ อ�ำเภอ คืออ�ำเภอเมือง อ�ำเภอ 162
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต กะทู้ อ�ำเภอถลาง ในส่วนอ�ำเภอเมืองภูเก็ตมี ๑๑ ต�ำบล คือ ต�ำบลบางเหนียวเหนือ บางเหนียวใต้ สะป�ำ สามกอง สั้นใน (รัษฎา) ตลาดใหญ่ ตลาดเหนือ ฉลอง ราไวย์ ระแงง และอ่าวมะขาม ต�ำบลอ่าวมะขาม ที่ต้ังต�ำบลอยู่ที่บ้านอ่าวมะขาม มีหมู่บ้าน ๘ หมู่บ้าน ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ กระทรวงมหาดไทยประกาศแบ่งเขตการปกครองต�ำบลและ อ�ำเภอใหม่ตามข้อเสนอของข้าหลวงประจ�ำจังหวัดภูเก็ต ให้ยุบต�ำบลอ่าวมะขาม กับต�ำบลระแงงรวมกันจัดต้ังต�ำบลใหม่เรียกช่ือว่า “ต�ำบลวิชิต” (เว้นแต่หมู่ที่ ๗, ๘ ต�ำบลอ่าวมะขามให้รวมกับต�ำบลฉลอง) ปัจจุบัน บ้านอ่าวมะขามข้ึนอยู่ในเขต การปกครองต�ำบลวิชิต ก�ำนันต�ำบลอ่าวมะขาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นเม่ือวันท่ี ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๕ โดยให้มีผลใช้บังคับในวันท่ี ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๖ จากเอกสารนามสกุลมณฑลภูเก็ต (จังหวัดภูเก็ต ระนอง ตะกั่วป่า พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล) หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระ นางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ตรัง) ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๕๘ - ๒๔๕๙ ได้มีการ ประกาศ ๗๐๐ นามสกุล เหล่าประชาชน พ่อค้า ข้าราชการ ต่างย่ืนขอนามสกุลโดยประสงค์ให้ นายอ�ำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือสมุหเทศาภิบาลมณฑลเป็นผู้ตั้งนามสกุล เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว จึงรวบรวมน�ำเสนอ สมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต คือ นายพลโท พระยาสุรินทราชา (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์) ตั้งนามสกุลให้ ก�ำนันต�ำบลอ่าวมะขาม ๓ รายใช้นามสกุลที่ นายพลโท พระยาสุรินทราชา (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์) เป็นผู้ตั้งนามสกุลให้คือ ๑. ขุนสุตัน (นามเดิมแขกสมัน) บุตรกูเดหวา ปู่:ตุงกูหลง ปู่ทวด:(ไม่ทราบ ช่ือ) ผู้ขอนามสกุล “คุ้มบ้าน” ๒. ขุนศรีธนารักษ์ (นามเดิมแขกเก) บุตรขุนศรีรจนา (นามเดิมแขกนุ้ย) 163
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ปู่:โต๊ะจิ ปู่ทวด:ดาโต๊ะฮาก ผู้ขอนามสกุล “ยุคุนธร” (ยุคุณธร, ยุคุนธราภิรักษ์) ๓. ก�ำนันสมาน ยุคุณธร หรือฮัจญีหมาด ยุคุณธร บุตรขุนศรีธนารักษ์ ใช้ นามสกุล ยุคุณธร ที่บิดาได้รับ นอกจากนี้ ยังมีนามสกุลอ่ืนๆ เช่น แสงม่วง สาลี สาคร สิงฆาฬะ เป็นต้น มัสยิด (สุเหร่า) ในหมู่บ้านอ่าวมะขาม ๑. สุเหร่าอ่าวมะขาม (หลังท่ี ๑) ต้ังอยู่ท่ีบนเนินริมนาในที่ดินของ ฮัจญี โบบ สืบทรัพย์ บ้านในบ้าน ด้านทิศเหนือของหมู่บ้าน เริ่มแรกได้ก่อสร้างเป็น “มัดร่อซ่าตุ้ล” หมายถึง สถานที่สอนเรียนศาสนาอิสลาม โดยมีฮัจญีหล๊ะ ชาวอินเดีย กับ ละไบโสบ เป็นครูผู้สอนศาสนาอิสลาม และท�ำหน้าท่ีอิหม่าม ตามล�ำดับ ๒. สุเหร่าอ่าวมะขาม (หลังที่ ๒) ตั้งอยู่ในที่ดินของ นายฝา สาลี ย้ายมา ก่อสร้างใหม่แทนสุเหร่าหลังแรก ด้านทิศเหนือของหมู่บ้านใกล้กับบ่อน้�ำ (บ่อ หัวนอน) มีฮัจญีอับดุลหมาดเหยด อับดุลล่า เป็นอิหม่าม ๓. สุเหร่าอ่าวมะขาม (หลังที่ ๓) ย้ายมาก่อสร้างหลังใหม่แทนหลังท่ี ๒ ติด ริมถนนศักดิเดชน์ ในที่ดินท่ีได้รับการบริจาคจากก�ำนันสมาน (ฮัจญีหมาด) ยุคุณธร จดทะเบียนมัสยิดตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.๒๔๙๐ เมื่อวันท่ี ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๓ ชื่อมัสยิดยามิยะห์ เลขหมายทะเบียน ๑๓ เป็นมัสยิดหลัง ท่ี ๑๓ ของจังหวัดภูเก็ต มีฮัจญีหวี ยุคุณธร เป็นอิหม่าม ฮัจญีบากาก เสี้ยมสอน เป็นคอเต็บ และฮัจญีหร้า หาทรัพย์ เป็นบิหลั่น ๔. มัสยิดอ่าวมะขาม (หลังท่ี ๔) มีการจัดซื้อท่ีดินและได้รับบริจาคที่ดิน ส่วนหน่ึงจากนายฮ�ำหลี ยุคุณธร ก่อสร้างแทนหลังเดิมในปี พ.ศ.๒๕๓๓ จดทะเบียน เปล่ียนแปลงช่ือจาก ยามิยะห์ เป็น อิซซ่าตุ้ลอิสลาม (ภาษาอาหรับ หมายถึง “ความ เข้มแข็งแห่งอิสลาม”) เกาะตะเภา เกาะตะเภาประกอบด้วย เกาะตะเภาใหญ่และตะเภาน้อย ค�ำว่า “ตะเภา” เป็นช่ือเรียกเรือเดินทะเลแบบจีนชนิดหน่ึง หรือลมชนิดหน่ึงท่ีพัดจากทิศใต้ไปทาง 164
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต ทิศเหนือในกลางฤดูร้อน หรือไก่ชนิดหน่ึงตัวอ้วนใหญ่สีน้�ำตาลหางสั้น เม่ือ พ.ศ.๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๕ ทรงเสด็จพระราชด�ำเนินประพาสทางบก ทางเรือรอบแหลมมลายู ในการนี้ได้ ทรงเสด็จประพาสเมืองภูเก็ตด้วย จดหมายเหตุระบุว่า พระบาทสมเด็จพระ- จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชด�ำเนินประพาสทางเรือออกจากตะกั่วป่า เม่ือวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๓ “...เม่ือเลี้ยวออกมาเกาะภูเก็ตฝนตก ที่เกาะมืดเป็นหย่อมๆ มีลมรวยๆ เรือคลอนบ้างเล็กน้อย คนท่ีแยๆ ในการคล่ืนเมากันหง่อยๆ สังเกตดูต้ังแต่เห็นเขา ชัดมาก ไม่มีที่เป็นเขาไม้ทึบ เป็นรอยตัดท�ำไร่ไปทุกทาง... แต่พอเข้าในอ่าวภูเก็ต เสีย หาไม่เห็นจะถูกคล่ืนบ้างที่เกาะตะเภาน้อย...” ถนนศักดิเดชน์ ในปี พ.ศ.๒๔๗๑ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จเลียบมณฑลภูเก็ต หมายก�ำหนดการ เสด็จพระราชด�ำเนินเลียบมณฑลภูเก็ต พ.ศ.๒๔๗๑ “วันท่ี ๓๑ มังกร (มกราคม) เวลา ๑๐.๐๐ น. เรือพระที่น่ังถึงอ่าวภูเก็ต ลงสมอแล้วได้ เวลา ๑๑.๐๐ น. เสด็จจากเรือพระที่นั่ง โดยกระบวนเรือยนต์ เม่ือเสด็จขึ้นท่า สมุหเทศาภิบาลทูลเกล้าฯ ถวายพระแสงศัสตรา ทรงรับแล้ว เสด็จขึ้นทรงรถยนต์พระท่ีน่ังสู่ที่ประทับ...” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จโดยเรือพระท่ีนั่งมหาจักรีจาก จังหวัดตรังถึงอ่าวภูเก็ต เมื่อเสด็จข้ึนท่า เสด็จฯ ผ่านเกาะตะเภาน้อย ตะเภาใหญ่ เสด็จข้ึนท่าอ่าวมะขาม จุดปลายแหลมโต๊ะขุน (ด้านฝั่งตะวันตกเกาะตะเภาใหญ่) แล้วเสด็จฯ ข้ึนทรงรถยนต์พระที่น่ังถนนสายอ่าวมะขามแยกถนนเจ้าฟ้า (แยก ท่าแครง) สู่ที่ประทับ หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต (พ.ศ.๒๔๖๙ - ๒๔๗๓) ในคราวท่ีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เลียบมณฑลปักษ์ใต้ถึงจังหวัดภูเก็ต จึงได้จัดสร้างถนนข้ึนสายหน่ึงเพื่อเป็นที่ระลึก แก่ชาวภูเก็ต คือถนนสายอ่าวมะขาม แยกถนนเจ้าฟ้า โดยขอแรงจากข้าราชการและ 165
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ราษฎรหลายจังหวัดมาร่วมกันสร้าง มีเบี้ยเลี้ยงประจ�ำวันให้เป็นพิเศษโดยไม่ต้อง จ่ายเงินของกระทรวงการคลัง ถนนสายอ่าวมะขาม - แยกท่าแครง คือถนน ศักดิเดชน์ (หมายเลข ๔๐๒ ๓) ตามพระนามในสมัยทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา ประภาคารเกาะตะเภาน้อย ประภาคาร หรือกระโจมไฟ เป็นประภาคารส่งสัญญาณไฟแสดงพิกัด เส้นทางการเดินเรือทางทะเลสู่อ่าวภูเก็ต (อ่าวทุ่งคา) ของเรือต่างๆ เดินทางระหว่าง เกาะภูเก็ต ปีนัง พม่า และอินเดีย วิเคราะห์ระยะเวลาการจัดตั้งประภาคารจาก เอกสารนามสกุลมณฑลภูเก็ต ตระกูล “แสงม่วง” วันท่ี ๑๒ พฤศภาคม (พฤษภาคม) พุทธศักราช ๒๔๕๘ ความว่า ข้าพเจ้านายกลับ อายุ ๔๖ ปี รับราชการต�ำแหน่ง ผู้ช่วยพนักงานรักษา กระโจมไฟ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ขอให้มหาอ�ำมาตย์โทพระยาสุรินทราชา ตั้ง นามสกุลเพ่ือให้เป็นศิริสวัสดิ์มงคลแกข้าพเจ้า แลวงษสกุล ของข้าพเจ้าดังน้ี คือ ปู่ทวดของข้าพเจ้าชื่อ จ�ำไม่ได้ (ถึงแก่กรรมแล้ว) ปู่ของข้าพเจ้าชื่อ จ�ำไม่ได้ (ถึงแก่กรรมแล้ว) บิดาของข้าพเจ้าช่ือ ขุนวิชิต (ม่วง) นามเดิมของข้าพเจ้าช่ือ นายกลับ เกิดท่ี ต�ำบลอ่าวน้�ำบ่อ (อ่าวมะขาม) ฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต หาเลี้ยงชีพด้วยการอย่างใด รับราชการ ในวงษสกุลของข้าพเจ้ายังไม่มีผู้ใดได้นามสกุล ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด 166
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต ข้าพเจ้า นายกลับ “แสงม่วง” (ลงนามย่อ) “ส” ดังน้ัน การจัดสร้างประภาคารเกาะตะเภาน้อยตามเอกสารดังกล่าวคือ ก่อนปี พ.ศ.๒๔๕๘ สถานท่ีส�ำคัญทางประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกคร้ังที่ ๒ (พ.ศ.๒๔๘๒ - ๒๔๘๘) ๑. เกาะตะเภา เป็นท่ีจมเรือรบสงครามของเรือรบฝ่ายอักษะ คือเรือรบ ทหารเรืออิตาลีจ�ำนวน ๓ ล�ำ ภายหลังการพ่ายแพ้สงคราม (ด้านทิศตะวันออกเกาะ ตะเภาน้อย) และเป็นเส้นทางเดินเรือทะเลเข้าสู่อ่าวภูเก็ต ซ่ึงที่ช่องระหว่างเกาะ ตะเภาใหญ่กับเกาะตะเภาน้อยน้ันเอง ฝ่ายอักษะได้ส่งเรือรบออกตระเวนร่วมกับ ทหารเรือญ่ีปุ่นประจ�ำเรือรบไดมารุ และถูกโจมตีด้วยตอร์ปิโดของฝ่ายสัมพันธมิตร จมลงบริเวณเกาะตะเภาน้อย (ด้านทิศตะวันตก) ๒. ที่ฝังศพทหารญ่ีปุ่น เหตุเรือรบไดมารุ เรือรบทหารญ่ีปุ่น ฝ่ายอักษะ ถูก โจมตีด้วยตอร์ปิโดจากฝ่ายสัมพันธมิตรจมลงบริเวณเกาะตะเภาน้อย มีทหารเรือ ญ่ีปุ่นเสียชีวิตซ่ึงเป็นบุตรชายคนเดียวของแม่ทัพญี่ปุ่น สร้างความเสียใจเป็นอย่าง มาก แม่ทัพจึงได้คว้านท้องตัวเองเสียชีวิตตาม ศพแม่ทัพญี่ปุ่นถูกน�ำมาฝังท่ีบริเวณ เนินเขาแหลมโต๊ะขุน อ่าวมะขาม (บริเวณประตูเข้าสถานีประมงทะเลภูเก็ต) ๓. ซอยทัพไทย ช่ือเรียกตามยุคสมัยได้มีการเขียนเป็น ทัพไทย หรือทัพ ไท หรือทับไทย หรือทับไท ซอยนี้ต้ังอยู่ท่ีบ้านอ่าวน้�ำบ่อ ถนนศักดิเดชน์ (ด้านทิศ ตะวันตก) ซอยทัพไทย ได้รับบริจาคท่ีดินจากทายาทของนางบ๊ะ หม่ันคิด ในสมัย สงครามโลกคร้ังท่ี ๒ ซึ่งยาวนานถึง ๖ ปี ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ.๒๔๘๔ - ๒๔๘๗ ทหารญี่ปุ่นตั้งกองก�ำลัง ในพื้นท่ีบ้านอ่าวมะขาม ทหารไทยต้ังกองก�ำลังที่บริเวณในป่าริมเนินเขาทิศตะวันตก ของบ้านอ่าวน้�ำบ่อ ปัจจุบันมีร่องรอยบ่อน้�ำบนเนิน แนวเขื่อนหินชลประทาน และ 167
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ล�ำธารน้�ำที่ไหลจากเขาสู่ถนนศักดิเดชน์ สถานที่ทหารไทยในบริเวณต้ังกองก�ำลังน้ัน ชาวบ้านต้ังช่ือว่า “ทัพไทย” ๔. บ่อญี่ปุ่น เป็นบ่อน�้ำท่ีทหารญี่ปุ่นขุดไว้ใช้น�้ำสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นบ่อหินในชุมชนติดท่ีนาแปลงยาวของก�ำนันสมาน ยุคุณธร ต่อมาเรียกกันว่า “บ่อนายาว” ในหลวง ร.๙ เสด็จพระราชด�ำเนินประพาสจังหวัดภูเก็ต วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๙ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ถึงจังหวัดภูเก็ต จากน้ันได้เสด็จฯ เย่ียมโรงถลุงแร่ดีบุกของบริษัทไทย- ซาร์โก้ ท่ีอ่าวมะขาม วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ิ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตน- ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จฯ โดยเคร่ืองบินพระที่น่ัง เม่ือถึงสนามบินภูเก็ตแล้วเสด็จฯ ขึ้นรถยนต์พระที่นั่งไปยังท่าเรือบริษัทไทยซาร์โก้ท่ีอ่าวมะขาม จากน้ันเสด็จฯ ลง ประทับเรือหลวงจันทร เพ่ือเสด็จฯ เย่ียมราษฎร ณ เกาะนาคาน้อย อ�ำเภอถลาง สถานท่ีส�ำคัญ เช่น หมู่บ้านอ่าวมะขาม ประกอบด้วย บ้านย่อย บ้านอ่าวน้�ำบ่อ บ้านแหลมบ่อ บ้านอ่าวหมาน และบ้านในบ้าน เกาะ มี ๓ เกาะ ได้แก่ เกาะตะเภาน้อย เกาะตะเภาใหญ่ และเกาะไม้ท่อน อ่าว มี ๓ อ่าว ได้แก่ อ่าวน้�ำบ่อ อ่าวหมาน และอ่าวมะขาม แหลม มี ๓ แหลม ได้แก่ แหลมบ่อ แหลมโต๊ะขุน และแหลมหงอก บ่อน้�ำสาธารณะ มี ๖ แห่ง ได้แก่ บ่ออ่าวน�้ำบ่อ บ่อตก บ่อหัวนอน บ่อ มัสยิด (แทนบ่อวันชาติเดิมหน้ามัสยิด) บ่อโคกนา หรือบ่อนายาว หรือบ่อญ่ีปุ่น (เย้ืองประตูทางเข้าคลัง ปตท.) 168
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต อ่าวมะขาม คลอง มี ๑ แห่ง คือ คลองหาดใหญ่ ควน (เนิน) มี ๑ แห่ง คือ ควนโต๊ะเหรียม บุคคลส�ำคัญที่เกี่ยวข้อง รายนามอิหม่ามมัสยิดอ่าวมะขาม ๑. ฮัจญีหล๊ะ ชาวอินเดีย ๒. ละไบโสบ (ไม่ทราบนามสกุล) ๓. ฮัจญีอับดุลหมาดเหยด อับดุลล่า ชาวเกาะหมากหรือเกาะปีนัง (ก่อน พ.ศ.๒๔๗๓) ๔. ฮัจญีหวี ยุคุณธร (ก่อนปี ๒๔๗๓ - ๒๕๒๖) ๕. ฮัจญีเดช คุ้มบ้าน (ปี ๒๕๒๖ - ๒๕๓๙) ๖. ฮัจญียอฮาด ก�ำไลทอง (ปี ๒๕๓๙) ๗. ฮัจญีอีซา (วิรัช) โต๊ะชื่นดี (ปี ๒๕๓๙ - ๒๕๕๕) ๘. ฮัจญีอาลี (ดารีส) จีนแปลงชาติ (ปี ๒๕๕๖ - ปัจจุบัน) 169
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ชื่อผู้ให้ข้อมูล นายสันต์ คุ้มบ้าน อายุ ๖๘ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๓๒ หมู่ท่ี ๗ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายโหยบ ก�ำไลทอง อายุ ๘๔ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๔๓ หมู่ท่ี ๗ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายอิบ ยุคุณธร อายุ ๗๔ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๑/๑ หมู่ท่ี ๗ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอ เมือง จังหวัดภูเก็ต นายยุทธพงษ์ ยุคุณธร อายุ ๖๑ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๖๙ หมู่ท่ี ๗ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เอกสารนามสกุลมณฑลภูเก็ต (จังหวัดภูเก็ต ระนอง ตะกั่วป่า พังงา กระบ่ี ตรัง และสตูล) ๒๒ มีนาคม ๒๔๕๕ เอกสารรายงานพิธีเปิดป้ายชื่อมัสยิดอิซซ่าตุ้ลอิสลาม (บ้านอ่าวมะขาม) ปี ๒๕๓๖, ฮัจญีเตบ สาลิกา ฮัจญีหยิม สาลิกา และฮัจญีหน้อ สาลี ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นางวารุณี งานทัศนานุกูล วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๐ เดือนมกราคม ๒๕๖๐ 170
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต ๙ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านแหลมพันวา สถานท่ีต้ัง หมู่ที่ ๘ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พื้นท่ีมีลักษณะเป็นปลาย แหลมลาดชัน ย่ืนลงไปสู่ทะเลอันดามัน ทิศเหนือ จด บ้านบ่อแร่ หมู่ที่ ๖ และบ้านอ่าวมะขาม หมู่ท่ี ๗ ทิศใต้ จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันออก จด ทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวข้อง ช่ือบ้าน แหลมพันวา มีที่มาหลากหลาย เช่น ตามลักษณะของพื้นท่ี เป็น ที่ราบลาดเนินเขา จากบ้านอ่าวมะขามถึงส่วนปลายแหลมท่ียื่นออกไปในทะเล ความยาวประมาณหนึ่งพันวาเศษ (ประมาณ ๒,๕๐๐ เมตร) ตามสภาพพื้นท่ี การสัญจรของผู้คนในหมู่บ้านแหลมพันวาถึงหมู่บ้านอ่าว มะขามเพื่อเข้าในตัวเมืองภูเก็ตโดยรถยนต์น้ัน จะต้องเดินเท้าเลียบหาด โขดหิน ข้ามคลอง อ้อมแหลม เฉพาะช่วงเวลาน�้ำทะเลลด (เดือนแรม) เท่าน้ัน ชาวบ้าน ประเมินระยะทางเดินเท้าประมาณพันวา ตามค�ำบอกเล่า ๑. เกิดจากเส้นทางการเดินทางของเรือซ่ึงแล่นมาภูเก็ตมุ่งหน้าไปทาง แหลมพรหมเทพ เมื่อมาถึงจุดนี้จะต้องแล่นเรืออ้อมปลายแหลมออกไปเป็นพันวา เน่ืองจากปลายแหลมมีกระแสน�้ำเช่ียวไหลผ่าน ๒. ความลึกของน้�ำทะเล ซ่ึงไม่สามารถวัดได้ (ลึกเป็นพันวา) ๓. ความยาวของแหลมซ่ึงมองได้ไกลกว่าพันวา 171
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ บ้านอ่าวยน เป็นพื้นท่ีราบเชิงเขาจากทะเลลึกเข้าไปในหุบเขา มีล�ำธารน้�ำ ไหลจากโตน (น�้ำตกโตนอ่าวยน) ผ่านสวน นา และป่าโกงกาง ไหลลงปากอ่าว ชายทะเล ตามค�ำบอกเล่า ตรงกลางแปลงนาข้าว (นายหยิม สาลิกา) ใกล้กับตอไม้ หลุมพอ มีต�ำแหน่งโคลนดูด ความกว้างประมาณ ๔ - ๕ เมตร เมื่อมีคนหรือสัตว์ เลี้ยงตกลงไปจะขึ้นมายาก เคยมีคนตกลึกลงไปประมาณแค่เอวของคน เม่ือก่อน ควายตกลงไปไม่สามารถขึ้นมาเองได้ ภาษาพ้ืนบ้านเรียกว่า “ตกยน” บ้านเขาขาด พ้ืนท่ีช่วงสันเขาจากทุ่งสงวนเล้ียงสัตว์ ส่วนสันเขาจะต่�ำสุด ตามระดับพ้ืนราบ ลักษณะสันเขาจะแยกเขาให้ขาดออกจากกันเป็นสองส่วน มี ทางเดินเท้าคล้ายเป็นอุโมงค์ต้นไม้ ผู้คนที่อาศัยที่บ้านเขาขาด (ฝั่งด้านอ่าวฉลอง) ใช้เป็นช่องทางเดินสัญจรออกไปสู่หาดอ่าวยน เฉพาะเวลากลางวัน เป็นเส้นทาง เดินเท้าแห่งเดียวออกจากหมู่บ้าน เว้นแต่เดินทางโดยเรือพาย เรือแจว บ้านอ่าวทังเข็ญ (ทางเข็ญ ตังเข็ญ หรือทางเข็น) การเดินทางของคนใน หมู่บ้านแหลมพันวา เขาขาด อ่าวยน ในสมัยก่อนท่ีจะสร้างถนนสายอ่าวมะขาม - แหลมพันวา ทางบก เดินเท้าเลียบหาดและโขดหิน ข้ามคลอง (แหลมกล้วย) ปลาย แหลมหงอก ข้ึนบกท่ีหาดอ่าวมะขาม ข้ามคลองหาดใหญ่ ผ่านบ้านอ่าวมะขามเข้าไป ในตัวเมืองภูเก็ต ทางน�้ำ โดยเรือพายหรือเรือแจวอ้อมแหลมพันวา ขึ้นจากเรือท่ี ชายหาดอ่าวมะขาม หรือเดินเรือผ่านไปอ่าวภูเก็ตแล้วขึ้นเรือท่ีปากคลองกอจ๊าน บางเหนียว เดินทางต่อเข้าไปในตัวเมืองภูเก็ต การสัญจรไปมาล�ำบากยากเข็ญ จึงเรียกชื่อบ้านภาษาถ่ินจากค�ำว่า “ทาง” เป็น “ทัง” ค�ำว่า “เข็ญ” หมายถึง “ยาก” (ไม่น่าจะใช้ค�ำว่า เข็น หมายถึง ดันเคล่ือนท่ีไปข้างหน้า) เป็นช่ือเรียกขาน บ้าน อ่าวทังเข็ญ อ่าว ในบ้านแหลมพันวา นอกจากอ่าวยนแล้ว ยังมีอ่าวเล็กๆ ประกอบด้วย อ่าวเรือแตก อ่าวนุ้ย อ่าวต้นไทร แหลมกล้วย เป็นแหลมท่ีตั้งอยู่ช่วงเขตหมู่บ้านอ่าวมะขามกับบ้านอ่าว ทังเข็ญ ตามค�ำบอกเล่าว่า คนเดินเรือมองจากทะเลจะเห็นพ้ืนท่ีเป็นป่า ส่วนใหญ่ จะเป็นกล้วยป่า (ภาษาถ่ินเรียก กล้วยเถือน) จึงเรียกชื่อแหลมนี้ว่า แหลมกล้วย ฮัจญีอับดุลหมาดเหยด ชาวเกาะหมาก (ปีนัง) ต้นตระกูลอับดุลล่า เดินทางมาทาง 172
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต เรือจากเกาะหมาก เห็นว่าเป็นเกาะท่ีอุดมสมบูรณ์ จึงได้เข้าไปครอบครองเป็นที่ ท�ำกิน ต่อมาได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน และทายาทได้ขายท่ีดินให้กับคหบดีภูเก็ต ท่านหนึ่ง ในปี พ.ศ.๒๕๐๓ ได้มีการก่อสร้างโรงงานถลุงแร่ดีบุกแห่งแรกใน ประเทศไทย โดยบริษัท ไทยแลนด์สเมลต้ิงแอนด์รีไฟนิ่ง จ�ำกัด และให้เป็นท่ีต้ัง บริษัท ไทยซาร์โก้ (THAISARCO) ที่แหลมกล้วยน้ี ทั้งน้ีองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภูเก็ต (อบจ.) อนุญาตให้ก่อสร้างท่าเทียบเรือไทยซาร์โก้ท่ีปลายแหลม เพื่อขนส่ง แร่ดีบุกไทยส่งออกในตลาดโลก ท่ีประเทศอังกฤษ แหลมวิง เป็นส่วนปลายสุดของเขาขาด ด้านเกาะโหลน แหลมตาราด เป็นแหลมยื่นในทะเลฝั่งอ่าวต้นไทรกับอ่าวยน โขดหิน บริเวณชายหาดแหลมและในทะเล มีกลุ่มโขดหินลักษณะแปลก แตกต่างกัน และสีเน้ือหินต่างกัน เรียกช่ือกลุ่มหิน เช่น หินด�ำ หินแพ หินขาว ถนนอ่าวมะขาม - แหลมพันวา ถนนสายจากแยกอ่าวมะขามถึงแหลม พันวา เป็นถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน ช่วงแรกเป็นซอยจากแยกอ่าวมะขามเลียบ ชายหาดถึงเชิงเขาแหลมหงอก (ควนโต๊ะเหรียม) มีมาแต่เดิมสมัยผู้ใหญ่สมาน ยุคุณธร (หมู่ที่ ๗ บ้านอ่าวมะขาม) บ้านแหลมพันวาไม่มีถนนเชื่อมกับหมู่บ้านอื่น เพ่ือจะเดินทางต่อด้วยรถยนต์เข้าไปในตัวเมืองภูเก็ต การเดินทางสัญจรได้รับความ ล�ำบากต้องเดินทางเท้าหรือเรือพาย อ�ำเภอเมืองภูเก็ตโดยนายอ�ำเภอเมืองภูเก็ต (นายชม เสวกวรรณ) จึงจัดหางบประมาณท�ำการก่อสร้างถนนเช่ือมระหว่างสอง หมู่บ้านจากช่วงเชิงเขาแหลมหงอกถึงแหลมพันวา ตามข้อเสนอของชาวบ้าน แหลมพันวา ในสมัยผู้ใหญ่หนิ คุ้มบ้าน จึงแล้วเสร็จ ใช้งานเป็นถนนอยู่ในความ รับผิดชอบของอ�ำเภอเมืองภูเก็ต ต่อมาโอนเป็นของแขวงการทางชื่อ ถนนอ่าว มะขาม - แหลมพันวา โรงเรียนแหลมพันวา เดิมชาวบ้านแหลมพันวา อ่าวยน เขาขาด และอ่าว ทังเข็ญ จะส่งบุตรหลานเข้าเรียนท่ีโรงเรียนประชาบาลต�ำบลอ่าวมะขาม หรือโรงเรียน บ้านอ่าวน�้ำบ่อในปัจจุบัน ด้วยการเดินเท้าไปโรงเรียน ไปกลับประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ต่อวัน ในช่วงมีน�้ำทะเลขึ้นสูง นักเรียนต้องหยุดเรียน ส่วนเด็กผู้หญิงได้รับการ ผ่อนผัน ไม่ต้องเข้าเรียน ฮัจญีเตบ สาลิกา ชาวบ้านแหลมพันวา ได้บริจาคที่ดิน 173
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ อ่าวยน เขาขาด 174
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต เนื้อท่ี ๕ ไร่ ๑ งาน ๕๑.๕ ตารางวา เพ่ือให้เป็นท่ีต้ังโรงเรียนของหมู่บ้านแหลมพันวา ในสมัยผู้ใหญ่หนิ คุ้มบ้าน เป็นผู้ใหญ่บ้านแหลมพันวา ได้ก่อสร้างอาคารเรียนหลัง แรก (แบบ ป.๑ ก. ๓ ห้องเรียน) ท�ำพิธีเปิดเรียน เมื่อวันท่ี ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๐๘ ชื่อโรงเรียนแหลมพันวา เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีท่ี ๑ - ๕ มีครู ๒ คน นักเรียน ๕๐ คน นายโกศล พวงปราง (หรือครูด�ำ) เป็นครูใหญ่คนแรก มัสยิดบ้านแหลมพันวา ก่อนปี พ.ศ.๒๕๐๐ ชาวบ้านแหลมพันวา อ่าวยน และเขาขาด ปฏิบัติศาสนกิจร่วมกับชาวบ้านอ่าวมะขามที่ มัสยิดยามิยะห์ (บ้านอ่าว มะขาม) ด้วยระยะทางท่ีค่อนข้างไกล การสัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้านด้วยเรือและ เดินเท้าและจ�ำนวนสัปปุรุษเพ่ิมขึ้น ผู้น�ำหมู่บ้านจึงมีด�ำริที่จะสร้างมัสยิดในหมู่บ้าน จากการปรึกษาหารือเห็นพ้องต้องกัน โดยขอรับบริจาคท่ีดินเพื่อก่อสร้างมัสยิด ซึ่ง นายเด็น อุตสาหะ ได้บริจาคที่ดินประมาณ ๒๐๐ ตารางเมตร ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ และ พ่ีน้องชาวแหลมพันวาร่วมกันบริจาควัสดุ และร่วมมือกันก่อสร้างอาคารมัสยิด โดยไม่ต้องจ้างเหมาแรงงาน พ้ืนท่ี ๘๔ ตารางเมตร ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๒ เมตร เป็นอาคารไม้มุงสังกะสี พื้นคอนกรีต แล้วเสร็จเป็นมัสยิดหลังแรกของ หมู่บ้าน โดยมีฮัจญีกาก เสี้ยมสอน คอเต็บมัสยิดยามิยะห์ (บ้านอ่าวมะขาม) เป็น อิหม่ามคนแรก ปี พ.ศ.๒๕๐๘ สร้างมัสยิดหลังใหม่ทดแทนหลังเดิมท่ีช�ำรุดและคับแคบ พ้ืนที่ ๑๒๘ ตารางเมตร กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๖ เมตร อาคารคอนกรีต หลังคา มุงกระเบ้ือง ค่าก่อสร้างมัสยิด ๗๐,๐๐๐ บาท ปี พ.ศ.๒๕๑๑ จดทะเบียนมัสยิดใช้ช่ือว่า มัสยิดนูรุ้ลอิสลามิยะฮ์ เลขหมาย ทะเบียน ๒๘/๒๕๑๑ เป็นมัสยิดหลังท่ี ๒๘ ของจังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ.๒๕๓๕ จัดซื้อที่ดินเพ่ิมเติมจาก นายเด็น อุตสาหะ มัสยิดมีที่ดิน เนื้อท่ีรวม ๓ งาน ๒๕ ตารางวา สร้างมัสยิดหลังใหม่ทดแทนหลังเดิมเพื่อให้รองรับ จ�ำนวนสัปปุรุษเพ่ิมมากขึ้น พ้ืนที่ ๒๘๐ ตารางเมตร ขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๐ เมตร อาคารคอนกรีตช้ันเดียว หลังคาปูพ้ืนคอนกรีต ค่าก่อสร้าง ๑,๙๔๐,๐๖๔ บาท ใช้ปฏิบัติศาสนกิจต้ังแต่วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๖ เป็นต้นมา มัสยิด นูรุ้ลอิสลามิยะฮ์ มีความหมายตามภาษาอาหรับว่า “รัศมีแห่งอิสลาม” โดยมีอิหม่าม 175
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ตามล�ำดับ ดังนี้ ๑. ฮัจญีกาก เส้ียมสอน ๒. ฮัจญีหมาน คล่องสมุทร ๓. ฮัจญีอับดุลลอฮ์ แอมิตร สถานท่ีส�ำคัญ เช่น อ่าวยน เขาขาด อ่าวทังเข็ญ แหลมกล้วย ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายสันต์ คุ้มบ้าน อายุ ๖๘ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๓๒ หมู่ที่ ๗ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นางนวลจันทร์ สามารถ อายุ ๕๐ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๒ หมู่ท่ี ๘ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายส�ำราญ ยุคุณธร อายุ ๕๐ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๘/๘ หมู่ที่ ๘ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นางวารุณี งานทัศนานุกูล วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันท่ี ๑๐ เดือนมกราคม ๒๕๖๐ 176
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต ๑๐ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านท่าแครงบน ชุมชนท่าแครงบน และชุมชนศักดิเดช สถานท่ีตั้ง หมู่ท่ี ๙ ต�ำบลวิชิต อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด บ้านนาบอนใต้ หมู่ท่ี ๑ และบ้านท่าแครง ทิศใต้ จด บ้านแหลมพันวา หมู่ท่ี ๘ ทิศตะวันออก จด อ่าวตังโหลน ทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก จด อ่าวฉลอง ทะเลอันดามัน ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ท่ีเก่ียวข้อง หมู่ท่ี ๙ ได้แยกออกไปจากหมู่ท่ี ๑ ถนนศักดิเดช มีป่าช้าเรียกว่าสุสาน กวางตุ้ง มีเนื้อที่ประมาณ ๔๕ ไร่ ซ่ึงเป็นที่ของพวกจีนก้งฮู้หลางสร้างไว้เป็นท่ีฝังศพ เป็นสุสานเอกชน ประชาชนส่วนใหญ่รับจ้างท่ัวไป เพราะอยู่ใกล้ตัวเมือง คนต�ำบล วิชิตสมัยก่อนคุ้นเคยกันท้ังต�ำบลและเป็นกันเอง ช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน เวลานอน ไม่ต้องปิดประตูลงกลอนก็ยังได้ บ้านท่าแครง เดิมสันนิษฐานว่า เรียกบริเวณน้ีว่า “บ้านท่าแกร่ง” มีการ ท�ำเหมืองแร่ขนาดใหญ่ มีท่าเทียบเรือท่ีมั่นคงแข็งแรง ซึ่งจากหนังสือออกหลวง พิพิธภักดีสมบัติ เจ้ากรมพระคลัง มีไปถึงพระยาราชกปิตัน ตอนหนึ่งว่า “กบิตัน มิศกัส ให้กับกบิตันวีราเสน เอาสลุบขึ้นมารับเอาดีบุก ณ ท่าแกร่ง พอขุนท่าพรม ขึ้นไปทัน ข้าฯ จึงให้ดีบุกแก่ กบิตันวีราเสน แลดีบุกยังค้างอยู่ ณ ท่าแกร่ง ๓๐ ภารา” (www.phuketcity.info/default.asp?content=contentdetail&id=14104) ท่าแกร่ง ท่ีระบุในจดหมายน่าจะเป็นบริเวณท่าแครงในปัจจุบันเน่ืองจาก บริเวณดังกล่าวในอดีตเป็นเมืองท่าจอดเรือค้าขายที่ส�ำคัญ 177
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ สันนิษฐานว่าฝรั่งเรียกเมืองท่าแครงนี้ว่า เมืองแตร์แฟม (Terre Ferme) ตามจดหมายเหตุชาวฝร่ังเศสช่ือ มองซิเออร์ บรีโกต์เขียนถึงผู้อ�ำนวยการคณะ ต่างประเทศของฝร่ังเศส เม่ือวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๐๕ เกิดเหตุการณ์ ชาว ถลางปล้นเรืออังกฤษ เกิดข้ึนในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศซึ่งราชการ บ้านเมืองในกรุงศรีอยุธยาอ่อนแอลง เนื่องจากการแย่งชิงราชบัลลังก์ระหว่างพระเจ้า เอกทัศกับสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร และมีการสงครามระหว่างพม่าเข้ามาติดพัน อีกด้วย ความระส�่ำระสายในแผ่นดินจึงเกิดไปท่ัว มีใจความตอนหน่ึงว่า “…ตั้งแต่ คร้ังสมัยก่อนๆ มาพระราชโองการของพระเจ้าแผ่นดินเท่ากับ กฎหมายในเมืองนี้ ครั้งมาบัดน้ีเจ้านายผู้หญิงทุกองค์ก็มีอ�ำนาจเท่ากับพระเจ้า แผ่นดินและข้าราชการก็ต้องเปล่ียนกันอยู่เสมอ แต่ก่อนๆ มาผู้ท่ีมีความผิดฐาน ขบถฆ่าคนตายและเอาไฟเผาบ้านเรือนต้องรับพระราชอาญาถึงประหารชีวิต แต่ มาบัดน้ีความโลภของเจ้านายผู้หญิงได้เปล่ียนการลงโทษความผิดชนิดน้ีเพียงแต่ ริบทรัพย์และทรัพย์ที่ริบไว้ได้ต้องตกเป็นสมบัติของเจ้าหญิงเหล่านี้ทั้งส้ิน ฝ่าย ข้าราชการเห็นความโลภของเจ้านายผู้หญิงเป็นตัวอย่าง ก็หาหนทางที่จะหาประโยชน์ บ้าง ถ้าผู้ใดเป็นถ้อยความแล้ว ข้าราชการเหล่าน้ีก็คิดหาประโยชน์จากคู่ความให้ได้ มากท่ีสุดที่จะเอาได้ การท�ำเช่นน้ีก็ปิดความหาให้พระเจ้าแผ่นดินทรงทราบไม่ แต่ ถ้าห่างพระเนตรพระกรรณออกไปแล้ว ข้าราชการเหล่าน้ีก็ลักขโมยอย่างไม่กลัว ทีเดียว เม่ือปีกลายน้ีข้าราชการที่เมืองภูเก็ตได้ปล้นเรืออังกฤษล�ำหน่ึงซ่ึงได้หนีจาก เมืองเบงกอลมาพักท่ีภูเก็ตเพ่ือหนีท่านเค้าน์ เดซแตง เม่ือปีน้ีพวกข้าราชการ เมืองภูเก็ตได้แนะน�ำให้เรืออังกฤษล�ำหน่ึงเข้าไปซ่อมแซมเรือท่ีฝั่งเมืองแตร์แฟม (Terre Ferme) ใกล้เมืองโตยอง (Teyon) ซึ่งเป็นเมืองท่ีเข้ารีตมากท่ีสุดในแถบ เกาะภูเก็ตนี้ คร้ันเรืออังกฤษได้ไปทอดท่ีเมืองแตร์แฟม พวกไทยและมลายูกับ ข้าราชการได้รู้กัน จึงได้ฟันแทงพวกอังกฤษและขึ้นปล้นเรือเก็บสินค้าในเรือไป จนหมดสิ้น ฝ่ายข้าราชการเมืองภูเก็ตได้ใส่ร้ายผู้เข้ารีตในเมืองโตยองเป็นคนปล้น และท�ำร้ายเรืออังกฤษ ลงท้ายสุดพวกเข้ารีตเหล่านี้พลอยฉิบหายไปเปล่าๆ ยังมี บาทหลวงคณะฟรังซิซแกลเป็นชาติโปรตุเกสคนหนึ่งได้ตายด้วยความตรอมใจ และถูกทรมาน เพราะเจ้าพนักงานเมืองภูเก็ตได้จับบาทหลวงคนน้ีขังไว้ในระหว่าง 178
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลวิชิต พิจารณาความเกือบเดือนหนึ่ง” (ประชุมพงศาวดาร ภาคท่ี ๓๙ ส�ำนักพิมพ์ก้าวหน้า พ.ศ.๒๕๐๘ เล่ม ๙ หน้า ๓๙๕ - ๓๙๖) เมืองแตร์แฟม (Terre Ferme) ในจดหมายฉบับนี้ สันนิษฐานว่าเป็นช่ือที่ ฝรั่งเศสเรียก “บ้านท่าแครง” ในปัจจุบันนี้ เพราะเคยมีคลองสายใหญ่และลึกพอ ที่จะให้เรือเทียบท่าได้ เมืองภูเก็ตในฉบับนี้คือเมืองถลางท้ังหมด ส่วนเมืองโตยอง (Toyon) น้ัน สันนิษฐานว่าคือ “บ้านตลาดน่ังยอง” ต�ำบลฉลอง ในปัจจุบันน้ี ซึ่ง สมัยก่อนเคยมีคลองบางใหญ่ ที่เป็นสายน้�ำขนาดใหญ่เกิดจากแนวภูเขานาคเกิด ทางทิศตะวันตกของต�ำบลฉลอง ไหลลงสู่ทะเลทางทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต มี ความกว้างและความลึกให้เรือก�ำปั่นแล่นเข้าสู่ชุมชนเมืองโตยอง หรือตลาดนั่งยอง ได้อย่างดี จากข้อความ “...เข้าไปซ่อมแซมเรือท่ีฝั่งเมืองแตร์แฟม (Terre Ferme) ใกล้เมืองโตยอง (Teyon) ซึ่งเป็นเมืองท่ีเข้ารีตมากที่สุดในแถบเกาะภูเก็ตน้ี” ท�ำให้ สันนิษฐานได้ว่าเป็นบริเวณบ้านท่าแครงในปัจจุบัน ตามลักษณะภูมิศาสตร์คือเดิม บริเวณดังกล่าวมีคลองซึ่งขุดเชื่อมอ่าวภูเก็ตที่มีการขุดแร่ดีบุกของชาวต่างชาติ ปัจจุบันเป็นส่วนหน่ึงในต�ำบลวิชิตซ่ึงติดกับต�ำบลฉลอง ท่ีมีช่ือเรียกว่าเมืองโตยอง และมีคลองใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งปัจจุบันยังมีชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงเรียกบริเวณน้ี ว่าตลาดน่ังยอง ซึ่งน่าจะเพ้ียนมาจากภาษาฝรั่งเศสค�ำว่า โตยอง และล�ำคลองขนาด ใหญ่ใกล้วัดฉลองในปัจจุบัน จึงตรงกับลักษณะที่กล่าวไว้ในจดหมาย ประกอบกับ ข้อมูลท่ีว่า “ซึ่งเป็นเมืองท่ีเข้ารีตมากที่สุดในแถบเกาะภูเก็ตนี้” ปรากฏปัจจุบันมีโบสถ์ คริสต์ บริเวณใกล้กับสามแยกท่าแครงและหอประชุมทางคริสต์ศาสนาในพื้นท่ี ดังกล่าว รวมทั้งโรงเรียนท่ีได้รับอิทธิพลจากชาวตะวันตกคือ โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา และโรงเรียนดาราสมุทร ภูเก็ต ซึ่งบ่งบอกให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของการเผยแพร่ คริสต์ศาสนาในบริเวณดังกล่าว ถนนศักดิเดช (ศักดิเดชน์) ซ่ึงมีผู้ใช้ทั้ง ๒ แบบ ตั้งข้ึนเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชอิสริยยศเดิมคือ เจ้าฟ้า ประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา ขณะประพาสมณฑลภูเก็ต วันท่ี ๒๔ มกราคม - ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๑ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 179
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินีได้เสด็จเลียบมณฑลภูเก็ต ทรงเย่ียมราษฎรและทอดพระเนตรสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดตรัง ระนอง ภูเก็ต และ พังงา และได้เสด็จผ่านถนนศักดิเดชน์จากท่าเรืออ่าวมะขามเพ่ือไปยังเหมืองเจ้าฟ้า ซึ่งเดิมชื่อ ถนนสายสามแยกท่าแครง - อ่าวมะขาม (ข้อมูล : รายงานกิจการจังหวัด ภูเก็ต ประจ�ำปี พ.ศ.๒๕๐๕) เมื่อมีการต้ังช่ือถนนใหม่ จึงได้ตั้งตามพระอิสริยยศ ของพระองค์ ช่ือผู้ให้ข้อมูล ประชุมพงศาวดาร ภาคท่ี ๓๙ ส�ำนักพิมพ์ก้าวหน้า พ.ศ.๒๕๐๘ เล่ม ๙ หน้า ๓๙๕ - ๓๙๖ www.phuketcity.info/default.asp?content=contentdetail&id= 14104 แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.๒๕๕๖ - ๒๕๕๘) เทศบาลต�ำบลวิชิต http://www.phuket-vichit.go.th/content/information/1 http://ppcold.blogspot.com/2016/06/blog-post.html แผนพัฒนาต�ำบล สภาองค์กรชุมชนต�ำบลวิชิต ปี พ.ศ.๒๕๖๐ ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นางวารุณี งานทัศนานุกูล วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๐ เดือนมกราคม ๒๕๖๐ 180
181
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ 182
อ�ำเภอเมือง ต�ำบลฉลอง ๑ ชื่อบ้าน - นามเมือง : ต�ำบลฉลอง สถานท่ีตั้ง เขตพ้ืนท่ีต�ำบลฉลอง ทิศเหนือ จด อาณาเขตต�ำบลวิชิต ทิศใต้ จด อาณาเขตต�ำบลราไวย์ ทิศตะวันออก จด อาณาเขตอ่าวฉลอง ทิศตะวันตก จด อาณาเขตต�ำบลกะรน ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอ่ืนๆ ท่ีเก่ียวข้อง ต�ำบลฉลอง เป็นต�ำบลหนึ่งใน ๘ ต�ำบลของอ�ำเภอเมืองภูเก็ต ต้ังอยู่ห่าง จากอ�ำเภอเมืองภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง ๘ กิโลเมตร ชื่อต�ำบลฉลอง สันนิษฐานว่ามาจากช่ือวัดฉลอง มีจ�ำนวนหมู่บ้านทั้งส้ิน ๑๐ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑ บ้านเขาน้อย หมู่ที่ ๒ บ้านบนสวน หมู่ท่ี ๓ บ้านป่าหล่าย หมู่ท่ี ๔ บ้านนาใหญ่ หมู่ท่ี ๕ บ้านนากก หมู่ที่ ๖ บ้านฉลอง หมู่ท่ี ๗ บ้านวัดใหม่ หมู่ท่ี ๘ บ้านโคกทราย หมู่ที่ ๙ บ้านโคกโตนด หมู่ท่ี ๑๐ บ้านยอดเสน่ห์ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น วัดไชยธาราราม หรือวัดฉลอง หมู่ท่ี ๖ บ้านไฟไหม้ หมู่ท่ี ๔ ศาลเจ้ากวนอูนาบอน หมู่ท่ี ๑ 183
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายส�ำราญ จินดา อายุ ๕๑ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๓๙/๒๔ หมู่ท่ี ๔ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นางกมลศรี อิทธิพรชัย วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๒๒ เดือนตุลาคม ๒๕๖๑ 184
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลฉลอง ๒ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านนาบอน และบ้านเขาน้อย สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด อาณาเขตต�ำบลวิชิต ทิศใต้ จด อาณาเขตหมู่ที่ ๒ ทิศตะวันออก จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๓ ทิศตะวันตก จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๔ และหมู่ท่ี ๕ ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีเรื่องเล่าว่า บ้านนาบอน เป็นพ้ืนท่ีราบลุ่มด้านทิศตะวันออกติดทะเล ส่วนอีกด้านบรรจบกับหมู่ที่ ๒ มีต้นบอนขึ้นมากมาย โดยคนสมัยก่อนใช้เป็น ส่วนผสมในการท�ำอาหารหมู ซ่ึงปัจจุบันไม่มีภาพเหล่านั้นให้ลูกหลานเห็นแล้ว บ้านเขาน้อย เป็นพ้ืนท่ีติดกับหมู่ที่ ๕ เป็นหมู่บ้านท่ีอยู่บนเขาเตี้ยๆ แต่มี ความอุดมสมบูรณ์ มีน�้ำมาก ในคร้ังโบราณท่ีเขาน้อยมีขุมทรัพย์ ลายแทงยังคง หาไม่พบ ติดกับพ้ืนที่หมู่ท่ี ๔ และ หมู่ท่ี ๓ ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านและอาคารพาณิชย์ เป็นส่วนมาก แต่ก็ยังคงเรียกเหมือนเดิมว่า “บ้านนาบอน” และ “บ้านเขาน้อย” ภาษาท่ีใช้ ภาษาถ่ินภูเก็ต นับถือศาสนาพุทธ สถานที่ส�ำคัญ เช่น ศาลเจ้ากวนอูบ้านนาบอน (อ๊ามเต้กุ้น) วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) วัดลัฎฐิวนาราม (วัดใต้) วัดสีลสุภาราม (วัดหลวงปู่สุภา) 185
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ศาลเจ้ากวนอูบ้านนาบอน ศาลเจ้ากวนอูบ้านนาบอน (อ๊ามเต้กุ้น) ตั้งอยู่เลขที่ ๖๔/๒ หมู่ที่ ๑ ต�ำบล ฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๘ (๑๓๓ ปี) บริเวณแห่งนี้เป็น คลองมีชาวจีนน่ังเรือส�ำเภามาขึ้นฝั่ง พร้อมทั้งได้น�ำรูปเหมือนองค์เทพกวนอูซึ่งเป็น เทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ยุติธรรมติดตัวมาด้วย และได้สร้างบ้านหลังเล็กๆ ไว้เป็น ที่พักและกราบไหว้บูชาองค์เทพพระเจ้ากวนอู ต่อมาชาวจีนผู้น้ันได้หายไปเหลือแต่ รูปเหมือนเทพเจ้ากวนอูไว้ ชาวบ้านได้มาพบเห็นและได้กราบบูชาขอพรแล้วประสบ ความส�ำเร็จ ท�ำให้เกิดความศรัทธาเล่ือมใส จึงได้รวบรวมเงินสร้างเป็นศาลเจ้า ขึ้นมา และหลังจากนั้นไม่นานก็มีจอมปลวกขนาดใหญ่เกิดขึ้นด้านในตัวอาคารท้ัง ส่ีทิศ หลังจากนั้นได้บูรณะพัฒนาเร่ือยมา ในปี พ.ศ.๒๔๙๕ นายซู่ ออวัฒนา ประสบ ความส�ำเร็จด้านธุรกิจและได้ร่วมกับคณะกรรมการบูรณะศาลเจ้าขึ้นใหญ่กว่าเดิม ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ อดีตท่านก�ำนันจ�ำเริญ หลักฐาน ได้เป็นประธานศาลเจ้า และได้ร่วมกับคณะกรรมการซื้อท่ีดิน (แปลงท่ีต้ังโรงเจ) เป็นเงินสามล้านบาท ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๙ นายสุเทพ ออวัฒนา ได้เป็นประธานและได้ร่วมกับคณะ กรรมการซ้ือท่ีดิน (แปลงที่ต้ังศาลเจ้า) เป็นเงินส่ีล้านบาท และได้ริเร่ิมถือศีลกินผัก เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.๒๕๕๒ นายประดิษฐ์ องค์สันติภาพ เป็นประธานร่วมกับ 186
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลฉลอง คณะกรรมการ ได้น�ำเรียนต่อองค์เทพกวนอูผ่านร่างทรงขออนุญาตสร้างศาลเจ้า ใหม่เนื่องจากศาลเจ้าหลังเก่าคับแคบและทรุดโทรม และได้รับอนุญาตให้สร้างได้ หลังจากน้ันทางคณะกรรมการ มอบหมายให้นายโชคชัย องค์สันติภาพ เป็นประธาน ฝ่ายด�ำเนินการก่อสร้าง และในวันท่ี ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓ มีพิธีลงเสาเอก ก่อสร้างอาคารศาลเจ้าหลังใหม่โดยมีนายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล รองผู้ว่าราชการ จังหวัดภูเก็ต เป็นประธานยกเสาเอก และเปิดใช้ในวันท่ี ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยมีนายชวลิต ลีฬหาวงศ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๘ เป็นประธานพิธีเปิด ศาลเจ้า ด้วยงบประมาณ ๓๐ ล้าน ต่อมานายทนง องค์สันติภาพ เป็นประธาน ร่วมกับคณะกรรมการ ได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิเทพกวนอูบ้านนาบอน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ นายชัยรัตน์ ตันทวีวงศ์ เป็นประธาน ร่วมกับคณะกรรมการสร้างโรงเจ และ ท�ำพิธีลงเสาเอก วันท่ี ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ โดยได้รับเกียรติจากนายสุรศักดิ์ รักญาติ อธิบดีอัยการภาค ๘ เป็นประธานพิธีลงเสาเอก ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายทนง องค์สันติภาพ อายุ ๕๘ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล บ้านนาบอน ๖๔/๒ หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นางกิติมา ถิรสัตยาพิทักษ์ วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๒๑ เดือนตุลาคม ๒๕๖๑ 187
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๓ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านบนสวน สถานที่ตั้ง หมู่ท่ี ๒ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๑ ทิศใต้ จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๙ ทิศตะวันออก จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๓ ทิศตะวันตก จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๔ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวข้อง เนื่องด้วยพื้นที่เป็นเนินสูงอยู่ทางทิศเหนือของต�ำบลฉลอง ประชากร ส่วนมากปลูกผักท�ำสวนเป็นอาชีพหลัก ปัจจุบันก็ยังมีการท�ำสวนในบางส่วน จึง ยังคงใช้ชื่อ “บ้านบนสวน” ภาษาที่ใช้ ภาษาถ่ินภูเก็ต นับถือศาสนาพุทธ ช่ือผู้ให้ข้อมูล หนังสือ ชื่อบ้านนามเมือง ของ อ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะกรรมการวัฒนธรรม ต�ำบลฉลอง วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๕ เดือนตุลาคม ๒๕๖๐ 188
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลฉลอง ๔ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านป่าหล่าย สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๓ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด อาณาเขตต�ำบลวิชิต ทิศใต้ จด อาณาเขตหมู่ที่ ๙ ทิศตะวันออก จด อาณาเขตต�ำบลฉลอง ทิศตะวันตก จด อาณาเขตหมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๒ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นพื้นท่ีราบติดชายทะเลอยู่ทางตอนใต้ฝั่งตะวันออกของเกาะภูเก็ต ลักษณะเป็นป่าโกงกาง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสวนสัตว์ และร้านอาหารมีชื่อหลายแห่ง ป่าหล่ายในอดีตเป็นที่อยู่ของชาวจีนที่อพยพมาทางเรือและข้ึนท่าบริเวณ นั้น ตั้งรกรากท�ำสวน ปลูกผัก เลี้ยงหมู ในสมัยต่อมาชาวบ้านเรียกบริเวณนั้นว่า “บนสวน” หรือ “สวนผัก” เคยร�่ำลือกันว่าพืชผลบริเวณน้ันมีรสชาติดีกว่าพื้นที่อ่ืน สภาพภูมิประเทศในสมัยนั้นมีคลองเชื่อมติดทะเล น้�ำทะเลเข้าถึงวัดใต้หรือวัดลัฎฐิ วนารามในปัจจุบัน ตอนสงครามโลกคร้ังท่ี ๒ ญี่ปุ่นบุกมาทางเรือ และตั้งค่ายอยู่ บริเวณนั้นเพ่ือสู้รบกับพันธมิตร เคยมีการขุดพบลูกระเบิดและอาวุธ ชาวบ้านเรียก สถานท่ีแห่งนี้ว่า “กองทหาร” และเป็นท่ีทิ้งศพของคนตายไร้ญาติ ภาษาที่ใช้ ภาษาถ่ินภูเก็ต นับถือศาสนาพุทธ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น ชายทะเลป่าหล่าย อ่าวฉลอง 189
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ชายทะเลป่าหล่าย อ่าวฉลอง ช่ือผู้ให้ข้อมูล หนังสือ ชื่อบ้านนามเมือง ของ อ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะกรรมการวัฒนธรรม ต�ำบลฉลอง วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๕ เดือนตุลาคม ๒๕๖๐ 190
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลฉลอง ๕ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านไฟไหม้ หรือบ้านตากแดด สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๔ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๕ ทิศใต้ จด อาณาเขตหมู่ที่ ๗ และหมู่ท่ี ๘ ทิศตะวันออก จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๑ และหมู่ท่ี ๒ ทิศตะวันตก จด อาณาเขตหมู่ที่ ๖ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ท่ีเก่ียวข้อง หมู่บ้านนี้ถูกโจรอั้งยี่ภูเก็ต (พ.ศ.๒๔๑๙) เผา อ้างอิงจากหนังสือประวัติ- ศาสตร์วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) ครบรอบร้อยปีหลวงพ่อแช่ม พ.ศ.๒๕๕๑ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ ได้เกิดศึกโจรอั้งยี่เข้ามาเผาหมู่บ้านน้ี โดยโจรอั้งยี่ได้ พ�ำนักกับพวกคนจีนท่ีบนสวน คือบริเวณป่าหล่ายในปัจจุบัน บนสวน หรือเรียกว่า สวนผัก เดิมมีคนจีนมาอาศัยอยู่ก่อนแล้ว มีอาชีพปลูกผักเลี้ยงหมู ต่อมาจีนอั้งยี่ ซ่ึงเป็นจีนกรรมกรเหมืองมารวมตัวท่ีนั่น แผ่ขยายอ�ำนาจต้องการยึดแผ่นดิน มา สู้รบกับชาวบ้าน ในการรบคร้ังน้ันโจรอั้งยี่ไม่สามารถยึดแผ่นดินได้ด้วยบารมีของ หลวงพ่อแช่มวัดฉลอง ชาวบ้านรักษาบ้านเมืองไว้ได้ โจรจีนอั้งย่ีโกรธแค้นจึงมา เผาหมู่บ้านน้ี ในช่วงเวลาต่อมา สถานที่แห่งน้ีจึงเรียกว่า “หมู่บ้านไฟไหม้” บ้านไฟไหม้ ต้ังอยู่ข้างเทศบาลต�ำบลฉลองในปัจจุบัน เป็นพื้นที่ไม่มีทางเข้า มีบ้านทรงไทยโบราณให้เห็นอยู่หนึ่งหลัง ในอดีตเป็นบ้านของขุนมรดก ปัจจุบัน ตกทอดมาเป็นทรัพย์สินของตระกูลวัลยะเพ็ชร์ มีบริเวณเป็นเนินหรือโคกท่ามกลาง ต้นมะพร้าว อยู่ระหว่างวัดใต้และวัดฉลอง ภาษาท่ีใช้ ภาษาถิ่นภูเก็ต นับถือศาสนาพุทธ 191
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ บ้านไฟไหม้ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น บ้านไฟไหม้ ช่ือผู้ให้ข้อมูล นายกิตติ พฤฒิสืบ อายุ ๖๓ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๓๐ ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก หมู่ท่ี ๑๐ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายวัณโณ วัลยะเพ็ชร์ อายุ ๖๔ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๑๘ ถนนเจ้าฟ้า ตะวันออก หมู่ที่ ๔ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายมลรัฐ วัลยะเพ็ชร์ อายุ ๖๗ ปี ที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล ๖๑ ถนนเจ้าฟ้า ตะวันตก หมู่ที่ ๑๐ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล นางสุคนธ์ สวัสดิเวช นางกิติมา ถิรสัตยาพิทักษ์ นายภาณุวัฒน์ ถิรสัตยาพิทักษ์ วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๐ เดือนตุลาคม ๒๕๖๐ 192
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลฉลอง ๖ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านนากก สถานที่ตั้ง หมู่ท่ี ๕ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด อาณาเขตต�ำบลวิชิต ทิศใต้ จด อาณาเขตหมู่ที่ ๖ ทิศตะวันออก จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๑ และหมู่ท่ี ๔ ทิศตะวันตก จด อาณาเขตสันเขาป่าตอง ต�ำบลกะทู้ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เก่ียวข้อง เดิมพื้นที่บริเวณหมู่บ้านนี้มีต้นกกข้ึนเป็นจ�ำนวนมาก ไม่สามารถท�ำการ เพาะปลูกหรือท�ำอะไรได้เลย แต่ต่อมาความเจริญได้เข้าถึง ได้มีการปลูกบ้านเรือน จึงมีการท�ำลายต้นกก แต่ก็ยังใช้ช่ือเดิมน้ันคือ “บ้านนากก” โดยพื้นท่ีอาณาเขต ติดหมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๑ และหมู่ท่ี ๔ บางส่วน พร้อมติดไปทางสันเขาไม้เท้าสิบสอง เช่ือมระหว่างหมู่บ้านป่าตอง ภาษาท่ีใช้ ภาษาถิ่นภูเก็ต นับถือศาสนาพุทธ สถานที่ส�ำคัญ เช่น ศูนย์การเรียนรู้กีฬามวยไทย ศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บ้านนากก ช่ือผู้ให้ข้อมูล หนังสือ ชื่อบ้านนามเมือง ของ อ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏภูเก็ต 193
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ศูนย์เรียนรู้และขับเคล่ือนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บ้านนากก ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะกรรมการวัฒนธรรม ต�ำบลฉลอง วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๑๕ เดือนตุลาคม ๒๕๖๐ 194
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลฉลอง ๗ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านฉลอง ชื่อเดิม “ตลาดนั่งยอง” ภาษาใต้ “หลาดนั่งยอง” สถานท่ีต้ัง หมู่ท่ี ๖ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด อาณาเขตสันเขาป่าตอง ต�ำบลกะทู้ อ�ำเภอกะทู้ ทิศใต้ จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๗ ทิศตะวันออก จด อาณาเขตหมู่ที่ ๔ และหมู่ที่ ๕ ทิศตะวันตก จด อาณาเขตต�ำบลกะรน ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้อง ค�ำว่า ฉลอง ค�ำเดิมน่าจะเป็นค�ำว่า หลอม คือ รูปกลมของอ่าวเหมือน เบ้าท่ีหล่อตะกั่วหรือทองเหลืองโดยเฉพาะ เมืองถลางนั้นมีค�ำว่า หลุง คือถลุงดีบุก ขายต่างประเทศ ค�ำว่า หลุง กับ หลอม คล้ายกัน เข้าใจว่า ฉลอง เป็นค�ำรุ่นใหม่ เดิมเป็นชื่ออ่าวที่มีความสวยงาม มีลักษณะเป็นวงกลม เป็นท่ีพ่ึงในการพักเรือและ ซ่อมเรือ ชื่อว่า “อ่าวหลอง” ส่วนหมู่ท่ี ๖ เดิมใช้ช่ือว่า “ตลาดน่ังยอง” เป็นลักษณะ ตลาดนัดหรือตลาดตอนเช้าท่ีชาวบ้านมาซื้อของกัน แต่ก่อนไม่ได้ตั้งห้างร้าน แค่ หามตะกร้ามาน่ังขาย คนซื้อก็จะนั่งซื้อ จึงเป็นลักษณะน่ังยองๆ เกิดเป็นช่ือ “ตลาด นั่งยอง” ต่อมาได้มาเปล่ียนช่ือเป็น “บ้านฉลอง” เพ่ือให้สอดคล้องกับชื่อวัดคือ วัดฉลอง หรือวัดไชยธาราราม และคล้องกับช่ือโรงเรียนบ้านฉลอง โดยผู้ใหญ่บ้าน ในสมัยน้ัน (นายเจริญ เทพบุตร) ภาษาท่ีใช้ ภาษาถ่ินภูเก็ต นับถือศาสนาพุทธ 195
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ วัดสีลสุภาราม (วัดหลวงปู่สุภา) อ่างเก็บน้�ำคลองกระทะ สถานท่ีส�ำคัญ เช่น วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) วัดสีลสุภาราม (วัดหลวงปู่สุภา) อ่างเก็บน�้ำ คลองกระทะ วัดไชยธาราราม หรือเรียกตามท้องถ่ินว่า วัดฉลอง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ต นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนภูเก็ตจะต้องแวะเข้ามา 196
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลฉลอง วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) นมัสการ วัดไชยธารารามได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ในสมัยที่มีพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (หลวงพ่อแช่ม) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นมงคลนามท่ีเกี่ยวพันกับน้�ำและชัยชนะ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ ๑. วัดแห่งนี้ต้ังอยู่ริมล�ำน้�ำ ซ่ึงเป็นเสมือนเส้นโลหิตใหญ่ของชีวิตชาวนา ในชุมชนแห่งนี้ จึงได้รับนาม “ธารา” ไว้เป็นส่วนหนึ่งของช่ือท้ังหมด ปัจจุบันล�ำน�้ำ ได้แห้งเหือดลงเป็นล�ำรางเล็กๆ ที่ไม่มีน�้ำไหลแล้ว ๒. ไชย หมายถึง ชัยชนะของชาวฉลองในการต่อสู้ป้องกันวัดและชุมชน คนไทย เม่ือคราวเกิดกรณีสู้กับอั้งยี่ก�ำเริบในปี พ.ศ.๒๔๑๙ วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๗๐ ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก หมู่ที่ ๖ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินวัด มีเนื้อที่ ๒๐ ไร่ ๒ งาน ๘๒ ตารางวา โฉนดเลขท่ี ๒๓๑ อาณาเขตทิศเหนือ จดคลอง และขุมเหมือง ทิศใต้และทิศตะวันออก จดที่นา ทิศตะวันตก จดท่ีนาและถนนหลวง มีท่ีดินธรณีสงฆ์ ๔ แปลง เน้ือที่ ๑๖ ไร่ ๒ งาน ๑๐ ตารางวา โฉนดเลขท่ี ๔๑, ๓๑, ๒๓๒, ๒๓๓ แรกเร่ิมเดิมที วัดฉลองตั้งอยู่ ณ บริเวณทุ่งนาด้านทิศเหนือของบริเวณวัด ปัจจุบันน้ี หลักฐานอ่ืนๆ ไม่ปรากฏ คงปรากฏอยู่แต่เพียงพระปฏิมา ประดิษฐานอยู่ 197
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ณ ศาลาทางทิศตะวันออกของบริเวณวัด เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มาต้ังแต่เร่ิมสร้าง วัด ชาวบ้านเรียกกันท่ัวไปว่า พ่อท่านเจ้าวัดหรือพ่อท่านนอกวัด ณ ศาลาพ่อท่านเจ้าวัดน้ี มีรูปก่อศักด์ิสิทธ์ิอยู่ ๓ องค์ คือ พระปฏิมาหลวง พ่อเจ้าวัดเป็นองค์กลาง ด้านซ้าย มีรูปก่อลักษณะเป็นคนชรา น่ังถือตะบันหมาก ชาวบ้านเรียกว่า ตาข้ีเหล็ก ด้านขวามีรูปก่อเป็นยักษ์ถือตะบอง ชาวบ้านเรียกว่า นนทรี ซึ่งท�ำหน้าที่คล้ายกับเป็นองครักษ์ประจ�ำส�ำหรับพ่อท่านนอกวัด หรือพ่อท่าน เจ้าวัด ท�ำเนียบเจ้าอาวาส วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) - พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (พ่อท่านสมเด็จเจ้า หรือหลวงพ่อแช่ม) ศิษย์เอกผู้สืบทอดของพ่อท่านเฒ่า (พ.ศ.๒๓๗๐ - ๒๔๕๑) - พระครูครุกิจจานุการ (พ่อท่านช่วง) ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาบารมี (พ.ศ. ๒๔๑๘ - ๒๔๘๘) - พระครูครุกิจจานุการ (พ่อท่านเกล้ือม) พระหมอผู้เชี่ยวชาญการต่อ กระดูก (พ.ศ.๒๔๔๔ - ๒๕๒๑) - พระศรีปริยัติสุธี (พ่อท่านเฟื่อง) พระหนุ่มนักปริยัติ (พ.ศ.๒๔๗๔ - ๒๕๒๙) - พระครูอุดมเวชกิจ ผู้สืบทอดวิชาต่อกระดูก (พ.ศ.๒๔๖๘ - ๒๕๕๕) - พระมหาพงษ์ศักด์ิ เตชวณฺโณ ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๕๕๕ – ปัจจุบัน ชื่อผู้ให้ข้อมูล หนังสือประวัติวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) อนุสรณ์ครบรอบ ๑๐๐ ปี หลวงพ่อแช่ม (๒๔๕๑ - ๒๕๕๑) ผู้จัดพิมพ์ คณะกรรมการวัดฉลอง ชื่อผู้จัดเก็บข้อมูล นางกมลศรี อิทธิพรชัย วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันที่ ๑๕ เดือนตุลาคม ๒๕๖๐ 198
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลฉลอง ๘ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านวัดใหม่ ชื่อเดิม “บ้านตีนวัด” สถานท่ีตั้ง หมู่ท่ี ๗ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๖ ทิศใต้ จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๑๐ ทิศตะวันออก จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๔ และหมู่ท่ี ๘ ทิศตะวันตก จด อาณาเขตต�ำบลกะรน ประวัติความเป็นมาของช่ือ และอื่นๆ ท่ีเกี่ยวข้อง เดิมชื่อว่า บ้านตีนวัด เพราะว่าติดกับวัดไชยธาราราม (วัดฉลอง) ทางด้าน ทิศใต้ ลักษณะเดียวกับหมู่บ้านที่อยู่ริมทะเล จะเรียกว่า บ้านตีนเล ต่อมาได้มีความ เจริญเข้ามามากข้ึน ค�ำว่า บ้านตีนวัด ฟังแล้วไม่ไพเราะ จึงท�ำการเปล่ียนชื่อจาก บ้านตีนวัด เป็น บ้านวัดใหม่ ซ่ึงตอนน้ันวัดฉลองได้รับพระราชทานตั้งชื่อวัดฉลอง เป็นช่ือ “วัดไชยธาราราม” ด้วย ภาษาท่ีใช้ ภาษาถ่ินภูเก็ต นับถือศาสนาพุทธ ชื่อผู้ให้ข้อมูล นางสมนึก หลักบ้าน อายุ ๗๒ ปี ท่ีอยู่ผู้ให้ข้อมูล ๘/๓ ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก หมู่ท่ี ๗ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต หนังสือ ช่ือบ้านนามเมือง ของ อ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะกรรมการวัฒนธรรม ต�ำบลฉลอง วัน/เดือน/ปี ท่ีจัดเก็บ วันท่ี ๑๕ เดือนตุลาคม ๒๕๖๐ 199
ชื่อบ้าน - นามเมือง ในภูเก็จ ๙ ชื่อบ้าน - นามเมือง : บ้านโคกทราย สถานที่ต้ัง หมู่ท่ี ๘ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๔ ทิศใต้ จด อาณาเขตต�ำบลราไวย์ ทิศตะวันออก จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๙ ทิศตะวันตก จด อาณาเขตหมู่ท่ี ๔ และหมู่ที่ ๘ ประวัติความเป็นมาของชื่อ และอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวข้อง บ้านโคกทราย พ้ืนที่อยู่ในบริเวณเทือกเขานาคเกิด มีคลองบางนุ้ยไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้ไหลผ่านหมู่ที่ ๗ กับหมู่ที่ ๘ และหมู่ที่ ๙ ออกไปสู่ป่าโกงกางป่าหล่าย เม่ือฝนตกจะชะดินทรายบนเทือกเขามาทับถมกัน นานวันเข้าจึงเกิดเป็น โคก หรือ ภาษากลางเรียกว่า เนิน ข้ึนมา จึงเรียกในบริเวณนั้นว่า “บ้านโคกทราย” ภาษาที่ใช้ ภาษาถิ่นภูเก็ต นับถือศาสนาพุทธ สถานที่ส�ำคัญ เช่น วัดลัฎฐิวนาราม (วัดใต้) ช่ือผู้ให้ข้อมูล หนังสือ ช่ือบ้านนามเมือง ของ อ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏภูเก็ต ช่ือผู้จัดเก็บข้อมูล คณะกรรมการวัฒนธรรม ต�ำบลฉลอง วัน/เดือน/ปี ที่จัดเก็บ วันที่ ๑๕ เดือนตุลาคม ๒๕๖๐ 200
อ�ำเภอเมือง l ต�ำบลฉลอง วัดลัฎฐิวนาราม (วัดใต้) 201
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 496
Pages: