130 ภาพที่ 87 การมอบตัวเปน็ ศิษยข์ องมวยไทยสายไชยา ทมี่ า : พาหยุ ุทธม์ วยไทยไชยา 1 หน้า 4 ผู้สมัครแจ้งความประสงค์ขอเข้ามอบตัวเป็นศิษย์ เพื่อรับการอบรมสอนสั่งวิทยาการต่าง ๆ จากครู โดยมากใช้วันพฤหัสบดี ซ่ึงถือเป็นวันครู เมื่อผู้สมัครกล่าวคาแนะนาตนแล้ว ครูก็จะพูดคุย ซักถามประวัติความเป็นมาและดูกิริยาท่าทางว่าสุภาพเรียบร้อย มีสัมมาคารวะเป็นผู้ที่เหมาะสมจะ ได้รบั การอบรมสัง่ สอน หรือไม่ เม่ือครูพอใจแล้วจึงรับผู้สมัครนั้นเข้าเป็นศิษย์ถ่ายทอดศิลปะวิทยาโดยให้ศิษย์อยู่ฝึกฝนใน สานักตน ระยะหน่ึง ครูจึงค่อยพิจารณาหากเห็นว่าศิษย์มีความขยันหม่ันเพียร ฝึกซ้อมทาตามแบบ วชิ าทีส่ อนเบอ้ื งต้น ไดด้ ีพอสมควรแลว้ อีกทง้ั มีอปุ นิสัยดี ครจู งึ จะเรียกศิษย์ผู้น้นั ให้มาข้นึ ครูอีกครง้ั หนง่ึ การขน้ึ ครู “การขึ้นครู” เป็นการแสดงความคารวะ และรับสัตย์เบ้ืองต้น เท่ากับสมัครตัว ยอมใจเข้า พวก และรับการอบรม สง่ั สอน มารยาทและวฒั นธรรม เพ่ือดารงชีวิตอยู่ด้วยความสงบปราศจากศัตรู หรือรูจ้ กั ประพฤติและวางตน รู้จกั คบและสงวนบุคคล ไวเ้ ป็นที่พึง่ (ปรมาจารยเ์ ขตร ศรียาภยั ) ในการทาพิธีขึ้นครูนั้น ครูจะเป็นผู้เลือกวัน ตามฤกษ์ยาม และกาหนดสิ่งของท่ีจะใช้ในพิธี อยา่ งเชน่ ดอกไม้ ธูปเทยี น ขันน้า ผ้าขาวมา้ เงิน ฯลฯ พิธีจะกระทาต่อหน้า พระพุทธรูป ศิษย์รับศีลห้าและกล่าวคาขอข้ึนครูพร้อมสาบานตน ครู กล่าวรับเปน็ ศิษยแ์ ละให้โอวาทเป็นเสรจ็ พิธี พิธีครอบครู เป็นพิธีสาคัญในการมอบหมายให้ศิษย์ท่ีครู ไว้วางใจ ในทุกด้านให้เป็นผู้สืบทอด ส่งต่อวิชา ได้มศี ักด์ิและสิทธเ์ิ ทียบเทา่ ครู ศิษย์เองด้วยเห็นในความสามารถ หรอื ความเหมาะสมอน่ื ๆ เคร่อื งรางและของขลัง ภาพที่ 88 - 89 เครือ่ งรางและของขลัง ที่มา : www.tumsrivichai.com
131 ขณะท่สี มรภูมใิ นสมยั โบราณนั้นงดงามด้วยธงทวิ และรปู แบบการจัดกระบวนทัพ แต่ก็นับเป็น สถานทท่ี อี่ ันเต็มไปด้วย ความน่าสยดสยองจากคมหอกคมดาบของแต่ละฝ่าย เพราะเป็นการรบพุ่งใน ลักษณะเข้าตะลุมบอนท่ีแต่ละฝ่ายเข่นฆ่ากันอย่างโหดเหี้ยมต่อหน้าต่อตา ในสถานการณ์อันวิกฤติ เช่นน้ี ชั้นเชิงในการต่อสู้อย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ ผู้ที่มีกาลังใจท่ีกล้าแข็งเท่านั้นจึงจะครองสติอยู่ และสามารถถืออาวุธออกประจันหน้ากับข้าศึกต่อไปได้โดยไม่หวาดหว่ัน หรือถูกฆ่าตายไปก่อน ชิน ศรัทธา หรือความเชื่อทนี่ าไปสชู่ ัยชนะ คือ ส่ิงทน่ี กั รบไทยแต่โบราณนามาใช้บ่มเพาะกาลังใจควบคู่กับ การฝกึ ปรือฝีมือในเชิงรบตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา พราหมณ์ โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ เช่น เคร่อื งรางของขลัง คาถาอาคม เปน็ ต้น แม่ทัพนายกองจะต้องมีความรู้ในวิชาเหล่าน้ีเป็นอย่างดี จึงจะสามารถแต่งทัพออกรบกับ ข้าศึกในสนามรบได้ อีกทั้งในอดีต ชายไทยทุกคนมีหน้าท่ีเป็นทหาร ยามเกิดศึกสงคราม สมรภูมิ จงึ เป็นสนามทดสอบความเชอ่ื โดยมชี วี ิตของตนเป็นเดิมพัน วิชาใดที่ใช้ได้จริงก็จะมีผู้รอดชีวิตกลับมา บอกเล่าและถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง ๆ ในยามว่างเว้นจากสงคราม นอกเหนือจากวิชาการต่อสู้อันเป็น มรดกไทยแลว้ คนรุ่นเรายังสามารถเรียนรูค้ วามเชื่อที่แฝงอย่ใู นวิถชี ีวติ ของบรรพบุรษุ ไทยในอดีต เพ่ือ ทาความเขา้ ใจในรากเหงา้ ความเป็นมาของชาตไิ ทยไปดว้ ยพรอ้ ม ๆ กัน พระพทุ ธคณุ ชนชาติไทยสืบทอดความเช่ือ ความศรัทธาและนับถือลัทธิพราหมณ์มาช้านาน ก่อนจะถึงยุค รุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา การได้รับอิทธิพลนี้จากอินเดียผสมร่วมกับความเชื่อของชนหลายเผ่าใน ท้องถ่ินเดิม จึงทาให้คนไทยรวบรวมดัดแปลงอิทธิวิธี พิธีกรรม เลขยันต์ต่าง ๆ เข้าเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตน เปน็ ลัทธิพระพทุ ธศาสนาอนั เก่ยี วกบั การใช้คาถาอาคม หรอื ลัทธิพทุ ธตนั ตระ พทุ ธศาสนา จดั แบ่งความเชอ่ื ในปาฏิหาริย์ ไว้เปน็ 2 อยา่ ง คือ 1. อนศุ าสนีปาฏิหารยิ ์ คือคาสอนที่เป็นความจริง สอนให้เหน็ จรงิ นาไปปฏบิ ัติได้ผลจรงิ เป็นอัศจรรย์ 2. อทิ ธปิ าฏิหาริย์ หรือ ฤทธอิ์ ันเป็นอัศจรรย์ การใช้พุทธคุณ จึงมีท้ังในรูปของคาสวดมนต์ คาถา หัวใจพระคาถาท้ังหลายแบบหลายวิธี และในรปู ของ รปู เหรยี ญ เคร่ืองราง ของขลัง ยันต์ ตะกรุด ฯลฯ ท่ีพระสงฆ์ได้กาหนดจิต ทาพิธีปลุก เสกแล้ว เช่ือว่ามฤี ทธอิ์ นั เกดิ จากจติ มคี ุณในด้านต่าง ๆ ผลสาเร็จอันเกิดจากคาถา หรือ เคร่ืองรางอ่ืนใด ย่อมข้ึนอยู่กับผู้ใช้ คุณวิเศษจะเกิดข้ึนได้อยู่ ทจ่ี ติ ทร่ี วมเปน็ สมาธิ ซึ่งสามารถแสดงอทิ ธฤิ ทธไ์ิ ด้ตามภูมิ (จติ ตานุภาพ) ของผู้บริกรรม หากแตค่ วามเช่อื เรือ่ งกรรม เปน็ ผลจากการกระทา ทาดีได้ดี ทาช่วั ไดช้ ั่ว ยังคงเป็นอนุศาสนี ที่พิสูจน์ได้อยู่เสมอ ความเป็นมงคลท่ีดีย่อมข้ึนอยู่กับความเป็นผู้มีจิตใจดีงาม มีสติอยู่เสมอและ ไม่ประมาท ส่ิงนี้เป็นสัจจะธรรม แห่งพุทธคุณบริสุทธ์ิ ยอดแห่งปาฏิหาริย์อันอัศจรรย์แท้ในทุกยุค ทุกสมยั ไสยศาสตร์ นักรบและนักมวยไทยในสมัยโบราณ ไม่เพียงแต่เรียนรู้การใช้อาวุธและอวัยวุธ เท่านั้น หากจาเป็นต้องเรียนรู้การใช้อานาจของจิตใจในการต่อสู้ ทั้งจากการจูงจิต สมาธิ คาถาอาคม ว่านยา ธาตุกายสิทธ์ิ และเครื่องรางของขลังในรูปแบบต่าง ๆ เพ่ือยึดเหนี่ยวจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคงกว่าฝ่าย ตรงขา้ ม และปกปอ้ งอันตรายในขณะต่อสู้ จนอาจถอื ไดว้ า่ เปน็ อกี เอกลักษณ์หน่ึงของนักรบไทยทีเดียว
132 ดังที่พบได้ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่สะท้อนค่านิยมและชีวิตความเป็นอยู่ในยุคกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย จนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้เป็นอย่างดี ตัวขุนแผนเองนอกจากหน้าตาดี มีคาถาอาคม แล้ว ก็มีของวิเศษสามสิ่ง คือ ดาบฟ้าฟื้น กุมารทอง และม้าสีหมอก แต่เม่ือมาพบกับตรีเพชรกล้า ทหารเอกฝา่ ยเมอื งเชียงใหม่แล้ว เครื่องรางของขลังของขุนแผนก็ดูน้อยลงถนัดใจ เพราะตรีเพชรกล้า มีเครือ่ งรางของขลงั ชนิดเตม็ รูปแบบ คุ้มตัวต้ังแตห่ ัวจรดเท้าเลยทเี ดยี ว ท่านอาจารย์เทพย์ สารกิ บุตร ได้เขียนไว้ในหนังสือ วิชาคงกระพันชาตรีว่า วิชาไสยศาสตร์ ท่ที าใหม้ นุษย์ พ้นอันตรายจากอาวุธน้นั แบ่งออกไดเ้ ป็น 6 ประเภท คือ (มรกฤต ประมวญ ครูแปรง. มลู นิธิมวยไทยไชยา. ขอ้ มลู จาก http:/www.muaychaiya.com) 1. วิชาคงกระพัน เป็นวิชาที่ทาให้ร่างกายมนุษย์อยู่คงต่ออาวุธท้ังปวงฟันแทงไม่เข้าถ้าจะฆ่าให้ตายต้องใช้ ไมแ้ ทง ทะลทุ วารหนกั เทา่ นั้น แบ่งเปน็ วิชาย่อย ๆ ต่าง เช่น การเสกของกิน วิธีน้ีเรียกว่า อาพัด เช่น อาพัดเหล้า อาพัดว่าน เสกฝุ่นผงน้ามันทาตัว หรือปูนแดงป้ายลูกกระเดือก การเรียกของเข้าตัว เช่น นา้ มันงา หรอื ประกายเหลก็ เพือ่ ให้คงทนเยย่ี งเหลก็ เปน็ ต้น การเรยี กประกายเหล็กเข้าตัวน้ีมีกรรมวิธีที่พิสดารมาก คือ ให้นาเหล็กที่มีประกายเวลา กะเทาะหนิ มาน่ังทับไว้ตรงรทู วารหนัก หลงั จากน้ันบรกิ รรมคาถาเรียกประกายเหล็กเข้าตัวทุกวัน เมื่อ เวลาผ่านไปให้นาเหล็กกะเทาะหินดู หากหินนั้นมีประกายอยู่ให้บริกรรมต่อไป หากหินนั้นหมด ประกายแล้วก็แสดงวา่ ประกายเหล็กถกู เรียกเขา้ ตัวหมดแล้ว 2. ชาชาตรี เป็นวิชาท่ีใช้ป้องกันอาวุธให้ฟันแทงไม่เข้าได้เช่นเดียวกับวิชาคงกระพัน วิชานี้ทาให้ ตวั เบากระโดดได้สงู และอาวธุ ท่ีมากระทบตวั นน้ั นอกจากไมร่ ะคายผิวแล้ว ยังไม่รู้สึกเจ็บอีกด้วย วิชาน้ี มีจุดออ่ น คือ หากถกู ตดี ้วยของเบา เชน่ ไม้ระกา ไม้โสน กลับเป็นอนั ตรายได้ 3. วิชาแคล้วคลาด เป็นวิชาท่ีทาให้อันตรายท่ีจะมาถึงตัวน้ันหลีกเลี่ยงไป และแม้จะถูกทาร้ายซ่ึงหน้าก็ดี อาวุธน้ันก็จะมีเหตุให้บังเอิญพลาดเป้าไป มีทั้งการใช้เครื่องราง เช่น ตะกรุด และคาถาอาคม วิชานี้ รวมถึง วิชาพรหม 4 หน้า ที่นักมวยคาดเชือกใช้บริกรรม เพ่ือให้คู่ต่อสู้ชกไม่ถูกเพราะเห็นเป็นหลาย หนา้ ดว้ ย 4. วชิ ามหาอดุ เป็นวิชาท่ีเกิดขึ้นในช้ันหลัง ใช้กันปืนให้เกิดอาการขัดลากล้องยิงไม่ออก ดังคาว่า อุด มีท้ังท่ีเปน็ คาถาภาวนา และเคร่ืองราง เช่น ตะกรุดที่อุดหัวอุดท้ายแล้ว ตลอดจนกระทั่งลูกปืนที่ด้าน แลว้ กน็ ามาลงคาถามหาอุด เชน่ เดยี่ วกนั ดว้ ยถอื คติว่าแมย่ ่อมไมฆ่ า่ ลกู ผูใ้ ช้จะปลอดภยั ไปด้วย 5. วิชาแตง่ คน วิชานแ้ี มท่ พั นายกองสมัยโบราณใช้คุ้มกันทหารในกองทพั มกั นิยมเสกน้ามัน ใช้ปูนป้าย ลกู กระเดอื ก หรือเสกหมากใหก้ ินก็ได้ 6. วิชาลอ่ งหนหายตวั
133 วิชานี้กล่าวว่า เมอ่ื ผ้ฝู กึ ถึงข้นั จะสามารถกาลังตนและพาหนะ ไม่ใหค้ ตู่ อ่ ส้มู องเห็นได้ ซ่ึง ยังมี วิชาปลีกย่อยอีกมากมายในตาราพิชัยสงคราม ท่ีอาจจัดเข้าหมวดหมู่ท่ีจัดไว้หรือแยกไปต่างหาก เช่น วิชาสมานแผล เปน็ ตน้ เครื่องรางของขลังต่าง ๆ ทใ่ี ช้ในวงการมวยไทย มีดงั ต่อไปนี้ 1. ประเจยี ด หากใครเคยชมภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ไทย จะพบว่านักรบไทยมีผ้าสีแดงรัดต้นแขน หรือโพกท่ีศีรษะขณะเข้าสงคราม นี่คือ ผ้าประเจียด ซึ่งเป็นเคร่ืองรางท่ีนักมวยไทยนามาใช้ผูกตัว เม่ือเข้าต่อสู้ มักทาจากผ้าสีแดงหรือผ้าขาวบาง อย่างดีจากประเทศอินเดียท่ีเรียกว่า ผ้าสาลู ตัวผ้า ประเจียดนั้นจริง ๆ แล้ว คือ ผ้ายันต์ท่ีพับเข้าเป็นแถบ หรือม้วนเป็นวง เพื่อสะดวกต่อการใช้ผูกแขน หรือศีรษะนั่นเอง บนผืนผ้านั้นเกจิอาจารย์จะลงเลขยันต์ประเภทมหาอานาจ , ชาตรีมหายันต์ หรือ อาจนาตะกรุดแผน่ บรรจุไวด้ ว้ ย ก่อนนาเข้าพิธีพุทธาภิเษก เพ่ือเพ่ิมพูนความศักด์ิสิทธ์ิ สาหรับนักมวย นั้น มีมงคลสวมศรี ษะอยแู่ ล้ว กจ็ ะนาผา้ ประเจียดมารดั ตน้ แขนเพอ่ื เป็นสิรมิ งคล สาหรบั นักมวยไทยสายไชยามกั นิยมสวมผ้าประเจียดเพียงอย่างเดียว เรียก ประเจียดหัว กับ ประเจียดแขน เมื่อศิษย์จะทาการตีมวย ครูบาอาจารย์ท่านจะนาประเจียดท้ังสองชนิดมาเสกเป่า ดว้ ยพระคาถา พรอ้ มทั้งเจมิ ประแจะเสกลงท่หี น้าผาก กอ่ นการสวมประเจยี ดหวั ประเจียดแขน 2. มงคล มงคลเป็นเคร่ืองรางสาหรับสวมศีรษะ มักทาจากผ้าแถบผืนแคบ ๆ ที่ลงยันต์แล้วม้วน พันด้วยด้ายสายสิญจน์ หลังจากนั้นจึงหุ้มด้วยผ้าลงอาคม ขดเป็นวงแล้วท้ิงหางยาวไว้ด้านหลัง หรือ อาจทาจากเชอื กขด หรอื สายสิญจน์หลายเส้น นามาขวั้นรวมกันเป็นเส้นใหญ่แล้วหุ้มผ้าประเจียดก็ได้ นักมวยแต่ละภาคก็จะมีมงคลเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง (เว้นแต่มวยไทยสายไชยาเท่านั้นท่ีใช้ผ้า ประเจียดสวมศีรษะแทนมงคล) และเน่ืองจากมงคลมิใช่เคร่ืองประดับแต่เป็นเครื่องรางเพื่อคุ้มครอง นักมวยต้ังแต่เบื้องศีรษะลงมา จึงถือเป็นประเพณีว่าต้องให้ครูมวยเป็นผู้สวมให้โดยขณะสวมครูมวย แต่ละสานักก็มักจะบรกิ รรมคาถากากบั ไปดว้ ยและท่ีสาคัญนักมวยจะไม่ถอดประเจียด หรือมงคลออก ขณะตมี วยกัน 3. พิรอด พิรอดคล้ายกับประเจียดแต่ต่างกันท่ีมีกรรมวิธีท่ีซับซ้อนกว่า โดยเริ่มจากการนาผ้าลง ยันต์มาม้วนเป็นเส้น แล้วชโลมด้วยน้าข้าว เพ่ือให้ผ้ายันต์ม้วนตัวกันแน่นเป็นเส้นก่อนนาด้าย สายสิญจน์มามัดทับผ้ายันต์ไว้ให้สวยงาม ถักขึ้นรูปเป็นพิรอดและเข้าพิธีปลุกเสก หลังจากน้ันจึง ทดสอบความขลังด้วยการเผาไฟ วงใดไฟไม่ไหม้ จึงจะนาไปลงรักน้าเกล้ียงและปิดทองเพ่ือความ สวยงาม ตวั พิรอดมหี ลายรปู แบบ ทง้ั แหวนพริ อด พิรอดสวมต้นแขน หรือพิรอดมงคลสวมหัว ที่ขึ้นช่ือ ในหมูน่ ักสะสมเครอื่ งราง คือ แหวนพิรอดของหลวงปทู่ อง วัดราชโยธา 4. ขวานฟา้ ขวานฟ้าจัดอยู่ในหมวดธาตุกายสิทธิ์ เป็นหินมีรูปร่างคล้ายขวาน นักมวยคาดเชือกสมัย โบราณถือเป็นเคร่อื งคาดเครอื่ งราง ทจี่ ะใสไ่ ว้ในซองมือระหว่างพนั หมัดด้วยด้ายดิบก่อนการตีมวย คน โบราณเชื่อกันว่า ขวานฟ้ามีฤทธานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ จะพบได้ในบริเวณที่มีฟ้าผ่าลงดินและคนมีบุญ บารมีเท่าน้ันจะ ขุดพบ นอกจากน้ีท่านยังใช้เป็นเคร่ืองมือรักษาโรค กดที่บวมและบดเป็นยา เช่ือกัน
134 ว่าหากเอาขวานฟ้าไว้ ในยุ้งข้าว ข้าวจะไม่พร่อง วางขวานฟ้าไว้ที่ลานตากข้าวเปลือกไก่ป่าจะไม่เข้า มาจิกกินข้าว บางจัดหวัดในภาคกลางใช่ไล่ผีโดยให้เอาขวานฟ้าซุกไว้ใต้ที่นอนคนท่ีมีผีเข้า นอกจากน้ี ในบ่อนไก่บางแห่งยงั ใชข้ วานฟ้าบด เพอื่ ใชร้ กั ษาตาไก่ทแี่ ตกเปน็ แผล ในวิชาโบราณคดี กล่าวถึงขวานฟ้าว่า เป็นขวานหินแหล่งท่ีพบมักมีร่องรอยของ หลักฐานด้านสังคมเกษตร และการใช้ภาชนะดินเผา จึงเรียกชุมชนของมนุษย์ท่ีอาศัยอยู่ในยุคน้ีว่า มนุษย์ยุคหินใหม่ หรือยุคสังคมเกษตร เร่ิมต้น ขวานหินพบเห็นอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย มหี ลายขนาดแยกออกไดเ้ ป็น 2 แบบ คือ ขวานหินขัดและขวานหนิ กะเทาะ มอี ายุประมาณ 4-6 พันปี 5. ตะกรดุ ตะกรุด คือ แผ่นโลหะลงยันต์ศักด์ิสิทธิ์ เช่น ยันต์อิติปิโสกลบท นามาม้วนเป็นวง และปลกุ เสกดว้ ยกาลงั จิต ตามกรรมวิธีโบราณของเกจิอาจารย์แต่ละท่าน ใช้ร้อยเชือกผ่านรูตรงกลาง แล้วนามาห้อยคอ หรือคาดเอว โดยหวังผลทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี ตะกรดุ มีหลายขนาด หากเป็นตะกรุดขนาดใหญ่ ใช้หอ้ ยคอหรือเอวเพยี งชน้ิ เดียว เรียกว่า ตะกรุดโทน 6. พสิ มร ใช้แผน่ โลหะหรอื ใบบานรูปส่เี หลี่ยมลงเลขยันต์ท่ีมีรูร้อยแต่โดยมากไม่ม้วนผ่านพิธีกรรม เดียวกันกับตะกรุด 7. คาถาอาคม หรอื มนต์ มนต์บทหนึ่งที่มีความศักด์ิสิทธ์ิซ่ึงท่านปรมาจารย์สุนทร (กิมเส็ง) ทวีสิทธ์ิ ได้ส่ังสอน ก่อนขน้ึ ชกแก่บรรดาลกู ศิษยท์ ง้ั หลายเพ่ือเป็นการปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัยหรือเป็นเกราะเพชรคุ้ม ภยั คอื “นะปดิ ตา ธาปิดหู ยะ” มวยไทยสายโคราช ในการวิจัยเร่ือง การจัดการความรู้มวยไทยสายโคราช แบ่งผลการวิจัยเป็น 4 ตอน ประกอบด้วย ตอนท่ี 1 ประวัติความเปน็ มาของมวยไทยสายโคราช ตอนท่ี 2 เอกลักษณ์ของมวยไทยสายโคราช ตอนท่ี 3 กระบวนทา่ ของมวยไทยสายโคราช ตอนท่ี 4 ระเบยี บประเพณีของมวยไทยสายโคราช 1. ประวัติความเป็นมาของมวยไทยสายโคราช มวยไทยสายโคราช มีประวัติความเป็นมาท่ียาวนานคู่กับเมืองโคราช เพราะในสมัยโบราณ เมืองโคราช เป็นเมืองหน้าด่านช้ันเอกที่ต้องทาการรบเพ่ือป้องกันบ้านเมืองจากการรุกรานอยู่เสมอ ๆ ประชาชนพลเมืองต้องฝึกศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวควบคู่กันไปหลาย ๆ ชนิด เช่น ดาบ ดั้ง โล่ เขน กระบ่ี กระบอง พลอง ง้าว มวยไทย ฯลฯ แต่มวยไทยสายโคราชมีแบบแผน มีช่ือเสียงและมีการ บนั ทกึ ไว้เปน็ หลักฐานที่ชัดเจนคอื ในสมัยรัชกาลที่ 5 รชั กาลท่ี 6 แหง่ กรุงรตั นโกสนิ ทร์ เพ่ือให้ง่ายต่อ
135 การ ทาความเข้าใจในการศึกษา ผู้วิจัยจะไม่กล่าวถึงมวยไทยสายโคราชในยุคก่อนรัตนโกสินทร์ เพราะยังไม่มีรูปแบบและหลักฐานท่ีชัดเจน ดังน้ัน จึงแบ่งยุคการพัฒนาการของมวยไทยสายโคราช ในสมยั กรงุ รัตนโกสนิ ทร์ ดังน้ี 1. มวยไทยสายโคราชยุคเร่ิมตน้ (รัชกาลท่ี 1 – 4) 2. มวยไทยสายโคราชยุครุ่งเรอื ง (รัชกาลที่ 5 – 6) 3. มวยไทยสายโคราชยุคเรมิ่ ตน้ สวมนวม (รัชกาลที่ 6 – 8) 4. มวยไทยสายโคราชยุคฟ้ืนฟู (รัชกาลท่ี 9 – ปจั จบุ นั ) 1. มวยไทยสายโคราชยุคเรมิ่ ตน้ (สมัยรัชกาลท่ี 1 – รัชกาลที่ 4) ในสมัยนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเป็นรายบุคคลแต่มีการบันทึกประวัติศาสตร์ในแผ่นศิลา จารึกของเดิมข้างแท่นอนุสาวรีย์คุณหญิงโม เมื่อวันท่ี 15 มกราคม 2477 มีแผ่นทองแดงรูปเสมา จารึกไว้ว่า “พุทธศักราช 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวยี งจันทร์ เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานครยกกองทัพ เข้ายึดเมืองนครราชสีมาได้ แล้วกวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไปถึงทุ่งสาริด ท่านผู้หญิงโม รวบรวมกาลังชาย หญงิ เขา้ ต่อสอู้ ยา่ งตะลุมบอน กองทหารเวียงจนั ทร์แตกพินาศ เจ้าอนุวงศ์ถอยทัพ กลับ ในท่ีสดุ กองทพั ไทยยกไปปราบปรามจับเจ้าอนุวงศ์ได้ ท่านผู้หญิงกล้าหาญ ได้นามว่าเป็นวีรสตรี กอบกู้อิสรภาพนครราชสีมา ไว้ได้ด้วยความสามารถมีคุณต่อประเทศชาติอย่างย่ิง พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยหู่ ัว ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ สถาปนาท่านคุณหญิงโม เป็นท้าวสุรนารี”(ที่ระลึก เน่อื งในพธิ ีเปิดอนุสรณส์ ถานนางสาว บุญเหลอื . 6 ก.ค. 2559) ผวน กาญจนากาศ (2515 : 1 – 25) กล่าวว่า มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ที่สุดของ ไทยเรา และเป็นทนี่ ิยมชมชอบของประชาชนทกุ ชั้นทุกสมัย นับว่าเป็นศิลปะการต่อสู้ประจาชาติไทย โดยแท้ เพราะว่า ชาวไทยทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ พอเดินได้ก็ใช้อาวุธต่าง ๆ ท่ีมีอยู่ในตนได้ เช่น การใช้เท้า หมัด ศอก เข่า โดยไม่ต้องมีใครมาส่ังมาสอน เป็นมาจากเผ่าพันธุ์หรือสายเลือดของ คนไทยโดยแท้ ในสมัยรัชกาลที่ 1 รัชกาลท่ี 2 มวยไทยยังคงเป็นศิลปะการต่อสู้ประกอบกับอาวุธไทย โบราณอื่น ๆ เหมือนกับในสมัยธนบุรี อยุธยา สุโขทัย เพ่ือป้องกันการรุกรานจากต่างชาติ รวมถึง เมืองโคราชเชน่ กัน การแขง่ ขันเปน็ ไปในแบบคาดเชือก ในสมัยรัชกาลท่ี 1 (ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมสถาบันราชภัฎนครราชสีมา. 2538 : 10 และ สานกั งานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. 2540 : 26) กล่าวว่า พ.ศ. 2331 จ.ศ.1150 มีฝร่ังเศส 2 คน พ่ีน้องแล่นเรือเข้าถึงพระนครเพื่อมาท้าพนันชกมวยกับคนไทย พระยาพระคลังจึงกราบทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทรงดารัสปรึกษากับสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวร มหาสุรสีหนาท ซ่ึงเป็นผู้มีฝีมือมวยไทยและควบคุมกรมทนายเลือกอยู่ในขณะน้ัน เห็นว่าเป็น การตอ่ สเู้ พ่ือรักษาเกยี รติและศักดิ์ศรีของคนไทย จึงตกลงพนันกันเป็นเงิน 50 ชั่ง จึงคัดเลือกนักมวย ช่ือหมื่นผลาญ เป็นทนายเลือกวังหน้าข้ึนชก แต่ไม่มีใครได้เงินเดิมพันเพราะเม่ือต่อสู้กันแล้ว นักมวยฝรั่งเศสไม่เคารพข้อตกลง จึงมีการชกต่อยกันแบบมวยหมู่ แล้วฝรั่งสองพ่ีน้องก็กราบถวาย บงั คมลาถอยกาปั่นออกจากพระนครไป ในสมัยรชั กาลท่ี 2 (สานกั งานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหง่ ชาติ. 2540 : 28– 29) กล่าวว่า ปรากฏมีการบันทึกถึงเร่ืองมวยไทยไว้ในวรรณคดีหลายเรื่อง บางเรื่องก็เป็นพระราชนิพนธ์ใน
136 พระองค์เอง เป็นการแข่งขันที่มีคนนิยมดูกันมากท่ีสุด และเป็นการบันเทิงชนิดหน่ึงในงานเทศกาล ประเพณี เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง เข้าพรรษา งานบวช งานแต่งงานหรือฉลองสมโภชน์ต่าง ๆ มีการกลา่ วถงึ การชกมวยปล้าผหู้ ญิงหน้าพระที่นัง่ สมัยรัชกาลที่ 3 (สานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. 2540 : 30 – 36) ปรากฏ หลักฐานที่สาคัญท่ีสุดอันเป็นเรื่องของมวยไทยโดยตรง ได้แก่ตารามวยไทยโบราณท่ีเขียนขึ้นเป็น ภาพเขียนท่ามวยลงในสมุดข่อยมีภาษาไทยเขียนบอกว่าแม่ไม้ ลูกไม้ และไม้แก้ มีจานวนท้ังหมด 46 ภาพ ตารามวยไทยโบราณนี้พระปลัดเต็ง วัดชนะสงครามได้มอบให้หอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2474 ปัจจุบันหอสมุดแห่งชาติได้เก็บรวบรวมตารามวยไทยโบราณเล่มนี้ไว้ และ (นเรศ สกุลดิษฐ์. 2546 : 90 – 115) ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทร์ที่ยกกองทัพมายึดเมือง โคราช กวาดต้อนพลเมืองไปเวียงจันทร์ แต่คุณหญิงโมเป็นผู้นาชาวเมืองโคราชเข้าต่อสู้กับทหารของ เจา้ อนุวงศจ์ นไดร้ บั ชัยชนะท่ีทงุ่ สมั ฤทธิ์จนเกดิ วรี กรรม ณ ทุ่งสัมฤทธ์ิขึ้น วันอังคารท่ี 6 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2369) สมัยรัชกาลท่ี 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดกีฬากระบ่ีกระบองและ มวยไทยมาก ทรงโปรดฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์หัดกระบ่ีกระบอง และมวยไทยจน ชานาญ ในสมยั ยงั ทรงพระเยาว์ พระองค์ยังทรงเล่นกระบ่ีกระบองและชกมวย ในงานสมโภชน์หน้า พระอโุ บสถวัดพระศรรี ตั นศาสดาราม (สานักงานคณะกรรมการวฒั นธรรมแหง่ ชาติ. 2540 : 1 – 70) 2. มวยไทยสายโคราชยุครุ่งเรือง (รัชกาลท่ี 5 – รัชกาลท่ี 6) เป็นยุคที่มวยสายไทยโคราช และมวยไทยภาคอื่น ๆ เช่น มวยไชยา จากภาคใต้ มวยท่าเสา จากภาคเหนือ มวยพระนคร และมวยลพบุรี จากภาคกลาง ซึ่งชกกันในแบบคาดเชือก เจริญพัฒนารุ่งเรืองถึงข้ันสูงสุด เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 5 ทรง เสด็จทอดพระเมตรการชก มวยอยู่เสมอ ๆ อีกทั้งยังพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้กับนักมวยท่ีมี ความสามารถเป็นท่ีพอพระราชหฤทัยให้เป็น “ขุนหม่ืนครูมวย” ซ่ึงมีอยู่ด้วยกัน 3 คน (เอกสาร จากแผ่นไมโครฟลีม บันทึกจดหมายเหตุหอสมุดแห่งชาติ หนังสือที่ 59/222 ลงวันท่ี 22 พฤษภาคม รตั นโกสินทรศก 129) ความวา่ : ทลู พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดารงราชานุภาพ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ทูลมาว่าท่านมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาที่ 46/180ลงวันที่ 20 เดือนนี้ ว่าได้สังเกตดูมวยตามหัวเมืองจะเสื่อมสูญลง ครั้นทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เรียกพวกมวยตามหัวเมืองเข้ามาชกถวายตัวในงานพระเมรุคราวแล้ว เป็นท่ีนิยมยินดี แลเลื่องฦๅกันมาก ท่านได้ทรงเลือกคัดพวกมวยฝีมือดีท่ีชกชนะได้รับพระราชทานรางวัลมากกว่า ผู้อื่นในคราวนี้ คือ มณฑลชุมพร นายปรง เมืองลพบุรี นายกลึง มณฑลนครราชสีมา นายแดง รวม 3 คน สมควรจะได้รับประทวนตั้งเป็นขุนหม่ืนครูมวย ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตออก ประทวนตราพระราชสีห์ต้ังนายปรงเป็น หม่ืนมวยมีช่ือ นายกลึง เป็นหมื่นมือแม่นหมัด นายแดง เป็นหมื่นชงัดเชิงชก เพื่อให้ปรากฏชื่อเสียงและเป็นการทานุบารุงวิชามวยตามหัวเมืองมิให้เส่ือมสูญ แล้วโปรดเกล้าฯ ดารัสวา่ ดมี าก พระราชทานพระบรมราชานญุ าตแลว้ และใหอ้ อกประทวนตง้ั หนังสือกรมราชเลขานุการ หมายเลขท่ี 59/222 ส. ถวายกรมหลวงดารง ผู้มีช่ือท้ายหนังสือนี้ แต่วันท่ี 23 พฤษภาคม รศ.129
137 จากเหตุการณ์นีแ้ ลว้ จึงเปน็ เหตุใหม้ กี ารฝกึ ซ้อมมวยกนั ทั่วประเทศไทยอย่างกว้างขวาง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎนครราชสีมา (2538 : 15) กล่าวว่า โคราชได้ชื่อว่า เมืองมวยมาช้านาน หากกลา่ วถึงเรอื่ งหมดั มวยกนั แล้ว รู้สึกวา่ เป็นที่นิยมชมชอบของชาวโคราชทุกคน ทุกยุคทุกสมัยไม่ว่า เด็กหรือผู้ใหญ่จนเป็นท่ีขึ้นชื่อลือชาของชาวต่างจังหวัดตลอดท่ัวประเทศไทย ดังคาขวัญท่ีกล่าวถึงโคราช ในอดีตว่า เป็นดินแดนแห่งนกเขาคารม อ้อยคันร่ม ส้มขี้ม้า ผ้าไหม หางกระรอก มวยโคราช แมวสสี วาด ปราสาทหนิ พิมาย ผใู้ หญ่หลายคนเล่าให้ฟังว่า ศิลปะการป้องกันตัวของไทยเช่นกระบ่ีกระบองและมวยไทยน้ัน เป็นของคู่บ้านคู่เมืองมานานแล้ว เพราะมีผู้รู้หลายท่านส่งเสริมประกอบกับโคราชเป็นเมือง หน้าด่านต้องเผชิญกับศึกเหนือเสือใต้บ่อย ๆ ชาวเมืองต้องเรียนรู้การป้องกันตัวไว้เพ่ือความไม่ ประมาท จึงทาให้เป็นผมู้ เี ลือด นักสเู้ ต็มตวั และมนี กั มวยฝีมอื ดีหลายคนในเวลาต่อมา ประสาน ด่านกุล (2515 : 51 – 60) กล่าวว่า มวยโคราชในสมัยก่อนโน้น เม่ือมีงาน ราชพิธีต่าง ๆ ของบ้านเมือง ทางการก็จะจัดให้มีมวยชก การจัดให้มีมวยนั้นถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ งานน้ันต้องเป็นงานที่ใหญ่โตมโหฬารจริง ๆ ผู้คนแตกต่ืนมาชมกันมากมาย ไม่ว่าใกล้ – ไกล ไม่ว่า ชายหรือหญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ต้องชมมวย เรื่องอื่นเอาไว้ทีหลัง เร่ืองมวยสาคัญซ่ึงเป็นที่นิยมชมชอบ ของชาวเมืองโคราช เปน็ การแสดงออกใหเ้ หน็ ว่าชาวโคราชนิยมมวยและมจี ติ ใจเปน็ นกั สู้ ในสมัยนั้น มีมวยสาคัญ ๆ ของเมืองโคราชที่มีช่ือเสียง โด่งดังมาจนทุกวันน้ี เท่าที่ข้าพเจ้าจาได้มีอยู่ 3 คน คือ นายยัง หาญทะเล นายทับ จาเกาะ หมื่นชงัดเชิงชก ท่านทั้งสามมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นชื่อลือชาไปท่ัว อาณาจักรสยามประเทศตราบเท่ามาถึง รุ่นลูก รุ่นหลาน รุ่นเหลน มาจนเวลาปัจจุบันน้ี โดยเฉพาะ อยา่ งยง่ิ เปน็ ความภาคภูมใิ จของชาวจงั หวัดท้งั สามคนนีเ้ ป็นอย่างยิง่ มีผู้กล่าวถึงเจ้าคุณจันทร์ เจ้าเมืองนครราชสีมาในสมัยนั้นว่า ได้อุปการะอุ้มชูนักต่อสู้ป้องกัน ตัวและนกั มวยเป็นอย่างมาก ในจวนของเจ้าเมืองบริเวณบ้านแสนสุข (บริเวณหลังสถานีชุมทางถนน จิระ) จะมี การฝึกการต่อสู้ป้องกันตัว เช่น กระบี่กระบอง และศิลปะมวยไทยทุกวัน ชายฉกรรจ์ ทั้งหลายนิยมมาฝึกมวยไทยเพื่อไว้ต่อสู้ป้องกันตัวเท่านั้น แต่ก็มีจานวนไม่น้อยท่ีได้เรียนมวยไทยแล้ว ได้ไปสมัครเขา้ ชกในงานเทศกาลต่าง ๆ และงานวัด ทั้งในเมอื งและต่างอาเภอ ตอ่ ไปน้ี จะขอเล่าเร่ืองการชกมวยของโคราช ในปี พ.ศ. 2440 ถงึ พ.ศ. 2464 แบบมวย คาดเชอื กและไมม่ ีกติกาแน่นอนอะไร การแข่งขันชกมวยในสมัยนี้ นิยมจัดข้ึนในงานวัด ในงานศพของคนระดับเศรษฐี แฟนมวย มักจะพดู กันวา่ คนอย่างเรา ๆ อยา่ ไปคดิ อยากตายกันเลย ให้คนใหญค่ นโตเขาตายกันดีกว่า เราจะได้ ดูมวย สมยั นน้ั ไมม่ ีการเผาศพกนั ในกาแพงเมอื ง วดั ท่ีมมี วยต่อยกนั บอ่ ยในงานศพคือวัดหนองบัวรอง และวัดสะแก สว่ นวดั โพธิน์ าน ๆ มีคร้ังหนึ่ง แต่ที่วัดพลับหรือวัดอินทรารามน้ัน หากมีมวย นักมวย กไ็ ม่ชอบไปต่อยเพราะพนื้ ดนิ เป็นดินเหนยี วแน่นมาก ลม้ แลว้ เจบ็ ตัวมาก วัดอ่ืน ๆ พ้ืนเป็นดินทรายจึง ดีกว่า พูดอย่างนี้ท่านพอจะมองเห็นว่ามวยสมัยก่อนน้ันเขาไม่ได้ชกกันบนเวทียกพ้ืน แต่ชกกันบน พ้ืนดิน ใช้เชือกมะนลิ าขนาดใหญก่ น้ั เป็นเวทีส่ีเหลยี่ ม มีเชอื ก 3 เส้น เวลามวยยังไม่ต่อยก็เรียบร้อยดี พอเร่มิ ตอ่ ย ผคู้ นกเ็ บยี ดเสียดจนเสาเวทีรวนเร ผลกั กนั ไป ดันกันมาทาให้ขาดระเบียบ ผู้จัดต้องจ้าง คนถือไม้เรยี วไว้ตีไลค่ นท่ลี า้ เวทีเชือกเขา้ ไป พวกเด็ก ๆ มักถูกตี ถกู เฆ่ียนกนั เป็นประจา
138 การชกแต่ละคร้ัง มักจะมีไม่เกิน 5 คู่ ผู้เป็นประธานในการชกคือสมุหเทศาภิบาล หรือ เจ้าเมือง ซึ่งถือกันว่าเป็นประธานแทนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นักมวยทุกคนต้องถวาย บังคมแลว้ ไหว้ครูกอ่ นชกเสมอ กลา่ วกันว่า ทา่ ร่ายราไหวค้ รเู ปน็ สว่ นหนงึ่ ของการถวายบังคมน่ันเอง สมควรจะบันทึกไว้ด้วยว่าเมื่อชกมวยกันบนพื้นดิน คนดูก็รุมล้อมเฮฮาเหมือนดูปาหี่ จึงมีคน อกี จานวนหนึง่ นิยมดูมวยฟรดี ว้ ยการปนี ขึน้ ไปดบู นต้นไม้เตม็ ไปหมดโดยเฉพาะพวกเด็ก ๆ พดู ถงึ การเปรยี บมวย กใ็ ชฆ้ อ้ งใหญ่เป็นสัญญาณเรียกนักมวย เช่น วัดใดจะมีงานก็มี การตี ฆ้องสัญญาณ เม่ือพวกนักมวยได้ยินก็จะทยอยกันมาเปรียบมวย สมัยน้ันยังไม่มีคณะนักมวย ไม่มี การฝกึ ซ้อม ไม่มีเป็นค่ายเช่นทุกวันนี้ ใครอยากชกก็ไปสมัคร บ่อยคร้ังท่ีพบว่าบางคนชกมวยไม่เป็น แต่ไปสมัครชกด้วยอารมณ์สนุก จึงข้ึนชกกันอย่างไม่มีช้ันเชิง เรียกว่ามวยวัด การเปรียบมวยก็ไม่มี อะไรมาก กรรมการผเู้ ปรยี บมวยจะถามดูขนาดของรา่ งกายดคู วามสงู แล้วก็ถามความสมัครใจเม่ือทั้ง สองยนิ ดีชกกันกน็ ดั วนั มาชก ครั้งหนึ่ง มีพ่อค้าหาบไก่คนหน่ึงรูปร่างใหญ่โตมาก หาบไก่เร่ขายในตลาด พอได้ยินฆ้อง สัญญาณเปรียบมวย แกก็วางหาบไก่เข้าไปขอเปรียบมวยกับเขาด้วยอารมณ์สนุก แต่พอถึงวันชกแก ก็ทาให้คนดูทึ่ง คู่ต่อสู้ตัวเล็กกว่าจึงทาไมแกไม่ได้ แกเพียงแต่ยืนปัดป้องเฉย ๆ ก็เอาชนะคู่ต่อสู้ได้ แกจึงไดร้ ับฉายาวา่ มวย หาบไก่ อีกคนหนึ่งชื่อว่า นายทับ หัวเล้ิง เป็นนักมวยมีอารมณ์ขันมากเวลาชกจะทาท่าหลอกล่อ บางทีก็โดดออกไปแอบอยู่หลังคนดู พอคู่ต่อสู้เผลอก็โดดกลับเข้ามาชก เล่นเอาเฮฮาไปรอบสนาม นายคนนถี้ กู ขนานนามว่ามวยตลก รางวัลนักมวยข้ึนอยู่กับฝีมือ ใครชกดีก็ได้รางวัลงาม คนละหลายชั่ง (80 บาทเป็น 1 ช่ัง) แต่คู่ใดท่ีชกไม่ดี ชกไม่สมศักด์ิศรี จะจ่ายเพียง 1 บาท ให้ไปแบ่งกันคนละ 2 สลึง นักมวยระดับน้ัน ถูกเรียกว่า มวยไม่เต็มบาท หรือมวยสองสลึง เวลาแจกรางวัลเจ้าคุณเทศาฯ ท่านจะค่อย ๆ หย่อน เหรียญลงในมือนักมวยที ละเหรียญ คนดูรอบ ๆ สนามก็ช่วยกันนับ หน่ึง – สอง – สาม ไปอย่าง พรอ้ มเพรยี งกันและสนกุ สนานครน้ื เครงมาก ว่าถงึ เรอ่ื งผา้ พันมือนกั มวยก็เป็นผ้าดา้ ยดิบแช่นา้ ข้าว ทาให้แขง็ บางคนเอาเศษกระเบื้องคลกุ ตดิ เข้าไปดว้ ย ผู้ตดั สินต้องคอยตรวจตราอย่างละเอียดกอ่ นชก ซ่ึงสอดคล้องกับ สานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540 : 20) ที่กล่าวถึง การเปรียบมวยในสมัยอยุธยาว่า จากความบันทึกของเอกซ์เรย์ ทาให้ทราบว่าการเปรียบมวยเพื่อ หาคู่ชกในสมัยน้ัน ไม่มีพิธีอะไรมากนัก เพียงแต่ยืนเทียบกันดูรูปร่าง และถามความสมัครใจของ นักมวยท้ังสองฝ่าย เพราะต่างถือว่า ขนาดของร่างกาย อายุ น้าหนัก และส่วนสูง ไม่มีความสาคัญ เท่ากบั ฝไี ม้ลายมือในชัน้ เชงิ มวยไทย และ (21) พระเจ้าเสอื เสด็จทางชลมารค พร้อมเรือตามเสด็จอีก มากมายไปจอดที่ตาบลตลาดกรวด แล้วพระองค์พร้อมด้วยมหาดเล็กสี่คนแต่งกายแบบชาวบ้าน ออกไปในงานมหรสพซ่ึงมีคนไปเท่ียวงานอย่างเนืองแน่น พระองค์เสด็จไปยังสนามมวย เพราะ พระองคท์ รงสนพระทยั เก่ียวกับการชกมวยมาก จึงให้นายสนามจัดหาคู่ชกให้ จะเอานักมวยเอกหรือ ระดับใดก็ได้ พระเจ้าเสอื ไดช้ กกบั นักมวยเอกถึงสามคน มีนายกลาง หมัดตาย นายใหญ่ หมัดเหล็ก นายเลก็ หมดั หนกั ซึ่งแต่ละคนมีฝีมือดีเย่ียม แต่ด้วยความฉลาดและความชานาญในศิลปะมวยไทย ท่พี ระองค์ได้ทรงฝึกหัดและศึกษาจากสานกั มวยหลายสานักจงึ ทาใหพ้ ระองคส์ ามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ท้ัง
139 สามคนได้ ในการชกคร้ังนั้นสมเด็จพระเจ้าเสือได้รางวัลเป็นเงินหนึ่งบาท ส่วนผู้แพ้ได้สองสลึง (21) วธิ ีการชกมวยไม่มกี ฎกตกิ าอะไรท่แี น่นอน คงเปลี่ยนไปตามสถานการณ์และความสมัครใจของท้ังสอง ฝ่าย โดยชกกันจนกว่าจะชนะ และวิธีการจัดการแข่งขันมวยไทยสายโคราช มีลักษณะประเพณีการจัดคล้ายกันกับที่ เขตร ศรียาภัย (2550 : 21) ซ่ึงกล่าวถึงการจัดแข่งขันมวยโดยท่ัว ๆ ไปว่า การจัดแข่งขันจะมีขึ้นใน โอกาสสาคญั ๆ เชน่ งานรบั เสด็จเจ้านาย งานปิดทองพระ งานถือน้าพิพัฒน์สัตยา งานเฉลิมพระชนม์ พรรษา ซ่ึงส่วนมากจัดขึ้นท่ีวัดหรือบริเวณจวนเจ้าเมือง ส่วนงานศพหรืองานบวชนาคซึ่งบุคคลสาคัญ เปน็ เจา้ ภาพ อาจจัดที่ลานวัดหรือลานบ้านสุดแต่จะสะดวก และ (199–200) กล่าวว่าสมัยนั้น พ.ศ. 2463 – 2464 การเปรียบมวยไม่มีการชั่งน้าหนัก ไม่มีการเปรียบเป็นรุ่นตามพิกัดน้าหนัก อย่าง ทกุ วันน้ี ถงึ แมฝ้ ่ายหนึง่ ตวั เล็ก เมอ่ื พบกบั ตัวโตกว่ากย็ อมเปรียบด้วย ไมเ่ กีย่ งนา้ หนกั เชน่ กัน และตรงกับอานาจ พุกศรีสุข และประจวบ นิลอาชา (2530 : 17) ที่กล่าวว่าการเปรียบ มวยในสมัยก่อนไม่มีเหล่ียมคูเหมือนสมัยน้ี เช่น การแต่งกาย (แต่งตัวข้ึนชก) การให้น้า การเตรียม สถานที่ การกาหนดเวลาชก พี่เลี้ยง การแต่งมวยคาดเชือกที่หลังหมัดถักกันจนแข็งและเป็นท่ีถูกใจ ของพี่เล้ียง มีเครื่องรางของขลังผูกแขนทั้งสองข้าง พ่ีเลี้ยงไม่จากัด ถือเอาแพ้ชนะกันเป็นเดิมพัน แม้คแู่ ข่งจะตอ่ สู้กนั จนตาบวม ตาปดิ หรอื แตกจนเลอื ดไหลอาบตัวก็ตาม ถ้ายังไม่ยอมแพ้ก็ต้องสู้กันไป เมื่อถึงยกสุดท้ายนายสนามและคนดูให้เสมอกันแม้อีกฝ่ายจะบอบช้าแค่ไหนก็ตาม นอกจากไม่ยอม ลุกขึ้นมาสู้หรือผู้ชกออกปากยอมแพ้จึงถือเอาเป็นเด็ดขาด ส่วนสนามแข่งขันจะเป็นท่ีไหนก็ได้ จะเป็นสนามหญ้าหรือลานวัด ผู้จัดจะจัดทาเชือกล้อมไว้เพียง 1 เส้นก็ดูจะเพียงพอมีการห้ามมิให้ ซา้ เติม เมอ่ื ลม้ กรรมการจะจบั ผลู้ ม้ ใหล้ กุ ขน้ึ ชกตอ่ ไปครบยก ระยะเวลาต่อมา ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองได้มารวมตัวกันอยู่ท่ีหน้าประตูชุมพล ซ่ึง เป็นสถานท่ีต้ังอนุสาวรีย์ของท่านท้าวสุรนารี เพื่อให้สนามมวยเหมาะสมอยู่ในย่านชุมนุมชน และ เนื่องจากผู้ใหญ่ของบ้านเมืองในสมัยนั้น ท่านรักและส่งเสริมในการกีฬาประเภทนี้ ท่านได้ย้ายมา สรา้ งเวทีมวยประจาขึน้ ทสี่ วนรกั หนา้ ร้านโพธิ์ทองทิศเหนอื ของอนสุ าวรยี ท์ ่านทา้ วสรุ นารี นกั มวยไทยสายโคราชที่ไปชกในกรุงเทพฯ และมชี อื่ เสยี งในระยะ พ.ศ.2460 - 2464 คือ หม่นื ชงดั เชงิ ชก นายยัง หาญทะเล นายทับ จาเกาะ และนายตู้ ไทยประเสริฐ ครูมวยที่มีชื่อเสียง ในสมัยน้ันคอื พระเหมสมาหาร อดีตนายอาเภอพิมาย มวยโคราชเริ่มมีกลุ่มชนสมองใสได้ร่วมกันจัดการก่อสร้างให้มีสนามมวย หรือเวทีมวยประจา ขนึ้ เป็นครัง้ แรกทีส่ แี่ ยกสวนหมาก เริม่ จะมแี บบแผนเป็นสากลคือ สวมนวม มีเวทียกพ้ืน และมีสนาม มวยเป็นการถาวร ใน พ.ศ. 2485 คือเวทีมวยวิกน่าแช ซ่ึงต่อมาคือท่ีต้ังโรงภาพยนตร์ราชสีมา ภาพยนตร์และในสมัยปัจจุบันคือบริเวณห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่า ถนนจักรี (ชาวโคราชเรียกว่า คลงั ฯ เก่า)และเปน็ ทต่ี ั้งของโรงแรมจอมสุรางค์ปัจจุบันน้ีใกล้กับบริเวณตึกดินอันเป็นสถานท่ี ท่ีรับรู้กัน ทั่วไปของชาวโคราชในสมัยน้ัน เหมือนกับสถานท่ีสาราญจิตหรือส่ีแยกหนองบัวรอง ที่ชาวโคราช ทราบกันดียแู่ ล้ว เมื่อสงครามโลกคร้ังท่ี 2 สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 ได้มีการสร้างสนามข้ึนในบริเวณใกล้ คูเมืองหน้าวดั สะแก ถนนราชดาเนนิ ต่อมาคอื ตลาดเทศบาล 1 และได้เลิกไปแล้วในปัจจุบัน ชื่อสนาม มวยสรุ นารี จากนนั้ ได้ยา้ ยไปอยูท่ ่ีถนนจอมสรุ างค์ยาตร (ปัจจุบันคือบริเวณไนท์คลับ) นายสนามมวย
140 สุรนารี คือ พันเอก พระยาฤทธิรงค์รณเฉท ท่านผู้นี้เป็นบุคคลสาคัญท่ีมีส่วนส่งเสริมศิลปะมวยไทย ของโคราชเปน็ อยา่ งมาก ในชว่ งนีม้ ีคณะนักมวยที่มีชือ่ เสียงทส่ี มควรบนั ทกึ ไวค้ ือ 1. คณะเทยี มกาแหง มาจากบุคคลสองคนเป็นผู้จัดต้ังขึ้นคืออาเสี่ยเทียมหลี กองกาญจน์ กบั หมอสนุ่ อินทรกาแหง ได้เอาช่ือมาบวกกันเปน็ คณะ “เทยี มกาแหง” คณะนักมวยเทียมกาแหงสมัย นนั้ โดง่ ดังมาก เปน็ คณะใหญ่ มีนกั มวยท่สี าคญั ๆ และมชี อื่ เสยี งมากมายต้ังแตอ่ ดตี มาจนถึงปจั จบุ นั 2. คณะแขวงมีชัย ของอาจารย์ผวน กาญจนากาศ เป็นหัวหน้าคณะ (ท่านต้ังช่ือคณะตาม ช่ือนามสกลุ ครูมวยของท่านคือ ครูชุ่ม แขวงเมือง) คณะแขวงมีชัยได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว มีชื่อและ เป็นคณะมวยทีใ่ หญ่คณะหนึ่ง ไดส้ ร้างนักมวยมชี ่อื เสยี งขจรไปทว่ั มีช่อื เสยี งเปน็ ที่เชื่อถือได้เป็นจานวน มาก เช่น สมเดช แขวงมีชยั (สมานฉันทห์ รือยนตรกิจ) เลศิ ชัย แขวงมีชัยซึ่งเคยชกชนะคงคาอุดมศักดิ์ ณรงค์ แขวงมีชัย ผู้พิชิตสุริยา ลูกทุ่ง (เท้าไฟ) สุรเดช แขวงมีชัย (สุรเดช ทรงกิตติรัตน์) สี่ยอดเสือ ดาวของเวทีราชดาเนินซ่ึงมีผล พระประแดง ประเสริฐ ส.ส. สมิง เกษสงคราม อยู่ในรอบรุ่น สายฟ้า แขวงมีชยั พนั ธ์ศกั ดิ์ แขวงมชี ัย (วิถชี ัย) สงวนศักดิ์ แขวงมีชัย และอดิศักด์ิ แขวงมีชัย (วิถีชัยหรืออิทธิ นุชิต) ซึ่งเป็นแชมป์ท้ัง มวยไทยและมวยสากลเวทีมวยราชดาเนินและเวทีมวยลุมพินี นอกจากนี้ก็มี ดาวใหม่ แขวงมีชยั เผดจ็ แขวงมชี ยั ชัยยง แขวงมีชัย (ราชวัตร) ทั้งสามคนหลังนเี้ คยเป็นแชมป์ของ เวทสี รุ นารี ส่วนชยั ยง เป็นแชมป์เฟเธอร์เวทของเวทีราชดาเนินด้วย คณะแขวงมีชัยได้รับรางวัลจาก ทางสนามทุก ๆ ปี ซงึ่ ทางสนามมวยจัดให้มีรางวัลให้คณะปีละ 4,000 บาท พร้อมถ้วยหรือขันใบใหญ่ หนึง่ ใบ หากนักมวยในคณะชกชนะได้คะแนนรวมมากกว่าคณะอ่นื ๆ 3. คณะอุดมศักด์ิ ของอาจารย์มณฑล อุดมโชค คณะนี้ได้สร้างนักมวยท่ีมีช่ือเสียงโด่งดัง เป็นท่ีรู้จัก กันท่ัวประเทศไทย คือ ประยุทธ อุดมศักดิ์ สุภาพบุรุษแห่งที่ราบสูง หรือได้รับฉายานาม จากแฟนมวยเวทีราชดาเนินว่า ม้าสีหมอกแห่งที่ราบสูง คณะน้ีมีนักมวยที่ควรกล่าวอีกหลายคนคือ คงคา อุดมศักด์ิ สิงห์ อุดมศักดิ์ พิชิต อุดมศักดิ์และฉลวย อุดมศักดิ์ (นักมวยรูปหล่อ) ชกอยู่ใน เกณฑ์ดี ภาพท่ี 90 “ม้าสีหมอก” ประยทุ ธ อุดมศักดิ์ ถา่ ยภาพก่อนชกกบั บรรจง ศลิ าชัย ทม่ี า : มวยไทยพาหยุ ทุ ธ์
141 4. คณะสุรพรหม มีคุณสว่าง อุณาพรหม และคุณสุรพงษ์ ครูพลศึกษาวิทยาลัยครูราชสีมา ปัจจุบันโอนไปเป็นทหารมียศเป็นพันโท เป็นหัวหน้าคณะ โดยเอาช่ือและนามสกุลมาบวกกันเป็นช่ือ คณะ “สุรพรหม” คล้ายกับคณะเทียมกาแหง มีนักมวยแข็งแกร่งอยู่หลายคน แต่ยังไม่ดังอยู่ในเวที มวยราชดาเนิน และลุมพินี นักมวยที่อยู่ข้ันเรียกว่าดีของคณะสุรพรหม นั้นก็คือ ประสิทธ์ิ สุรพรหม เขียวสด สุรพรหม ศรีเมือง สุรพรหม เขียวสดและศรีเมืองสองคนนี้ เคยเป็นแชมป์ของเวทีสุรนารี มาแล้ว สุริยา ลูกทุ่ง (เท้าไฟ) นักมวยผู้น้ีในสมัยเป็นดาวรุ่งอยู่นั้น มีเพลงเตะอันดุเดือด เตะได้ท้ัง ซ้ายและขวารวดเร็ว เตะได้หลายชั้นเป็นท่ีเล่ืองลือของชาวจังหวัดใกล้เคียงตลอดจนสุดภาคเหนือ จน แฟนมวยทัง้ หลายให้นามว่า “เท้าไฟ” หานักมวยในรุ่นเดียวกันจับได้ยาก เป็นนักมวยที่ทาช่ือเสียงให้ ชาวโคราช นอกจากสรุ ิยา ลุกท่งุ แล้วก็มี หลุย เดชศักดา (หมอผี) เป็นอีกผู้หนึ่งท่ีทาชื่อเสียงในเรื่อง มวยให้แกช่ าวโคราช (ประสาน ดา่ นกลุ . 2515 : 56) ขณะน้ัน ยักษ์สุข ปราสาทหินพิมาย เริ่มมีช่ือเสียงโด่งดังขึ้น ณ เวทีมวยแห่งนี้ ในเวลา ตอ่ มาเพอื่ ความสวยงามของบา้ นเมือง จงึ ได้ย้ายสนามมวยไปสร้างสถานที่ใหม่ตรงกับตลาดเทศบาล 1 ทกุ วนั นี้ ชื่อวา่ สนามมวยราชสมี าเรงิ รมย์ เปน็ สนามมวยของ ส.น.ร. ในการจัดใหม้ ีสนามมวยประจาข้ึน ณ สถานที่แห่งน้ี ทาให้ในวงการมวยของโคราชเจริญ ขึ้นตามลาดับ และคึกคักมาก ได้เกิดคณะนักมวยที่สาคัญ ๆ อีกเช่น คณะลูกสุรินทร์ มีนายสิบ ทหารบกกับพีระ ลูกสุรินทร์ เป็นหัวหน้าคณะควบคุมดูแล มีพีระ ลูกสุรินทร์ ชกมีชื่อเสียงอยู่ใน เวลานนั้ คณะสินประเสริฐ คณะกฤษณสุวรรณ ฯลฯ (ประสาน ด่านกลุ . 2515 : 57) อีกคณะหนึ่งก็คือ คณะมวยสิงหพัลลภ มีนายทองเบิ้ม เป็นหัวหน้าคณะ นักมวยท่ีมีช่ือก็ คอื ทองเบิ้ม สงิ หพลั ลภ (หัวหน้าคณะ) ทนงชัย สิงหพัลลภ ซ่ึงเคยเป็นแชมป์ของเวทีสุรนารีมาแล้ว เหมือนกัน ยังมีคณะมวยที่เกิดข้ึนในเวลานั้นอยู่หลายคณะแต่ต้องขออภัยด้วยที่ไม่ได้กล่าวถึงความ เจริญของวงการมวยยคุ การนาของพันเอกพระยาฤทธิรงรณเฉท เรียกว่าเจริญมาก มีการชิงแชมป์ของ เวทีและจัดอันดับร่นุ ต่าง ๆ อยู่เสมอรางวัลนักมวยก็จ่ายงามมีนักมวยในรุ่นต่าง ๆ หลายรุ่น ท่านผู้น้ี เปน็ ผนู้ าความเจริญในวงการมวยมาให้โคราชเรียกว่าถึงข้ันสุดยอด ชาวโคราชน้อมระลึกถึงพระคุณ ในคุณงามความดีของท่าน ทีม่ ตี ่อชาวโคราชอย่เู สมอ ท่านได้ลาออกจากวงการมวย เนื่องจากสุขภาพ ของท่านไมด่ ี อีกประการหนึ่งอายขุ องท่าน ก็ชรามากแลว้ ในทสี่ ดุ ทา่ นก็ เสยี ชวี ิต
142 ภาพท่ี 91 ยักษผ์ ีโขมด สุข ปราสาทหนิ พมิ าย ถลม่ คู่ต่อสใู้ นปี พ.ศ.2494 ที่มา : มวยไทยพาหยุ ุทธ์ ต่อมาทางบ้านเมืองมีความจาเป็นท่ีจะก่อสร้างตลาดเทศบาลขึ้น ณ สถานที่ต้ังสนามมวย แห่งน้ี ฉะนั้นสนามมวยราชสีมาเริงรมย์จาเป็นต้องรื้อถอนมาสร้างสถานที่ใหม่ที่ถนนสาย 3 ใกล้วัด หนองบัวรอง ตรงกันข้ามกับร้านอาหารโถ ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทาการไปรษณีย์ทุกวันน้ี ท่านพันเอกพระ ยาฤทธิรงรณเฉท เปน็ ผ้อู านวยการสรา้ ง เม่ือสรา้ งเสรจ็ ให้ช่อื สนามมวยว่า “สนามมวยเวทีสรุ นารี” (ประสาน ดา่ นกุล. 2515 : 56 – 57) ต่อมา นายบรรหาร เมฆวชิ ยั ได้ขอเชา่ จดั ทาจากองคก์ ารทหารผ่านศึกเป็นระยะเวลาเกือบ สองปี วงการมวยก็เรมิ่ จะเจริญขนึ้ อกี จดั ใหม้ กี ารชกมวยขึ้นสัปดาห์ละสองคร้ังคือวันเสาร์และวันพุธ เพราะคณะนักมวยไดเ้ กิดขึน้ อกี มากมาย เพ่ือเป็นการส่งเสริมมวยใหม่ เช่น คณะลูกท่าช้าง คณะลูก โนนไทย คณะลกู ปักธงชัย ได้จัดหานักมวยจากอาเภอต่าง ๆ มาทาการชกอยู่เสมอคนดูก็นิยม ต่อมา นายบรรหาร เมฆวิชัย หมดสัญญาเช่าก็เลยเลิกไป สนามมวยของโคราชก็ถึงจุดเสื่อมลงไปอีก ตามลาดับถึงกบั ตอ้ งหยุดชะงัก ซบเซาลงไปเปน็ เวลานาน (ประสาน ด่านกลุ . 2515 : 58) หลังจากน้ัน พันเอกโพธิ์ โพธิคนิต คิดจะส่งเสริมและปรับปรุงวงการมวยของโคราชให้ เจริญข้ึนเหมือนเดมิ หรือยิ่งกว่า กาลังที่วงการมวยจะเจริญขึ้นอีกทีก็จาต้องหยุดชะงักลงเพราะต้องรื้อ ถอนสนามมวย เวทีสุรนารี ท่ีต้ังสนามมวยตรงน้ันเป็นท่ีของราชพัสดุทางการจะทาการก่อสร้าง ไปรษณีย์ วงการมวยของโคราช ก็เข้าข้ันเลวลงจนถึงท่ีสุด จะหานักมวยก็แทบไม่มีเพราะไม่มีสนาม มวยที่จะชก หยุดลงซบเซาอยู่หลายปีไม่ทราบว่าจะฝึกหัดไปชกที่ไหน เม่ือไม่มีสนามมวย คาว่า “มวยไทยสายโคราช” ไมม่ คี วามหมายเสียแลว้ ตอ่ มารฐั บาลคดิ จะส่งเสรมิ กีฬาทกุ ประเภทให้เจรญิ เท่าเทียมกับอารยะประเทศทั้งหลายจึงได้ จัดต้ังองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น เรียกโดยย่อว่า “อ.ส.ก.ท.” ได้จัดการแข่งขันระหว่าง เขตต่าง ๆ ข้ึน มีมวยสากลจัดอยู่ด้วยประเภทหนึ่งท่ีจาเป็นจะต้องส่งเสริม ดังนั้น เขต 3 ก็ต้องส่ง นักมวยไปแข่งขันด้วย โคราชเมืองมวยแต่ไม่มีนักมวยท่ีจะเป็นตัวแทนจังหวัดจะทาการคัดเลือกกับ
143 จังหวัดอื่น ๆ ในเขตเดียวกัน ดังน้ัน จังหวัดอุบลราชธานี ชัยภูมิ จึงได้เป็นตัวแทนเขตเสมอตั้งแต่ การแข่งขันกฬี าเขต ครั้งท่ี 1 ถึงคร้งั ท่ี 3 ณ จงั หวดั สงขลา (ประสาน ด่านกลุ . 2515 : 58 – 59) กีฬาเขต ครั้งท่ี 4 เขต 3 นครราชสีมาได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน ทางจังหวัดได้ แต่งตั้งให้ นายเด็ดดวง สุคนธรัตน์ เป็นประธานอนุกรรมการแผนกกีฬามวย จึงขออนุญาตจัดตั้ง สนามมวยข้ึนท่ีสนามข้างศาลากลางจังหวัด เพ่ือจัดการเตรียมการเลือกเฟ้นหานักมวยท่ีจะไปเป็น ตัวแทนเขต ได้จัดให้มีมวยชกขึ้นทุก ๆ วันเสาร์ วงการมวยโคราชชักจะเจริญและคึกคักขึ้นเป็นลาดับ คณะนักมวยต่าง ๆ ได้เกิดมีข้ึนอีกมากมาย และก็สมความมุ่งหวังของเขตเจ้าภาพ โดยมวยนา เหรียญทองมาสู่เขต 3 ถึง 5 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง แสดงให้เห็นว่าวงการ มวยโคราชไดเ้ จริญขึน้ สมัยคณุ เด็ดดวงอกี พักหนงึ่ แล้วก็ สงบซบเซาลงไปอีก เพราะทางจังหวัดได้ส่ัง ให้รื้อสนามมวยขา้ งศาลากลางจังหวดั ซึ่งเป็นสถานทที่ ีเ่ หมาะสมที่สุด วงการมวยของโคราชเริ่มเสื่อม ลงอกี เม่ือคราวกฬี าเขตครัง้ ที่ 5 ทนี่ ครสวรรค์ ไม่มีสนามมวยที่จะคัดเลือกตัวแทนจังหวัด ตัวแทนเขต ในท่ปี ระชุมของจังหวดั จงึ อนุมัตใิ หน้ ายบรรหาร เมฆวิชยั จัดสร้างสนามมวยขึ้นแต่ไปสร้างอยู่ไกลเสีย ลิบลับข้างป่าช้าวัดหัวสะพาน สร้างให้ผีดู พวกโปรโมเตอร์ต่าง ๆ ขอจัดเช่าทา มีแต่ขาดทุนกันเป็น ราย ๆ ไป วงการมวยของโคราชยังไม่ดีขึ้นเป็นท่ีน่าสงสารโคราชเมืองมวยไม่มี ผู้ใหญ่จะเหลียวแล หรือฟื้นฟูให้ดีข้ึน นายเด็ดดวง สุคนธรัตน์ ประธานแผนกอนุกรรมการกีฬามวยเขต 3 ก็ได้ย้ายไป เป็นอยั การจงั หวัดภเู ขยี ว ทางจังหวดั จึงแต่งตง้ั ให้นายบรรยงค์ จนั ทร์ศริ ศิ รี อยั การจังหวดั ผู้ช่วยเป็น ประธานอนุกรรมการแผนกมวยสืบต่อจากนายเด็ดดวง สุคนธรัตน์ นายบรรยงค์ จันทร์ศิริศรี ได้ พยายามท่ีจะวิ่งเต้นขอจัดสร้างสนามมวยข้ึนใหม่ในสถานที่เหมาะสมทางจังหวัดก็ไม่อนุญาต เมื่อ คราวคัดเลือกตัวแทนจังหวัด ได้จัดให้มีมวยไทยประกอบด้วย คัดเลือกอยู่สองวัน ณ ที่สนามข้างป่า ช้าวัดหัวสะพาน มคี นดชู มเป็นจานวนนอ้ ย ตอ้ งประสบกบั ความชกั เนือ้ อีกประมาณหกพันบาท ค่าตัว นกั มวยและคา่ ใช้จ่ายอน่ื ๆ ทาอย่างไรได้ แตค่ ุณบรรยงค์ จนั ทร์ศิรศิ รี ได้ผลตอบแทนอีกอย่างหนึ่งคือ “น้าใจ” จากนักมวยและหัวหน้าคณะต่าง ๆ แม้แต่ต่างอาเภอและต่างจังหวัดในเขต 3 ให้ความ ร่วมมือเป็นอย่างดี ด้วยความรักและเห็นใจของนักมวยและหัวหน้าคณะ เราขอยกน้ิวให้ในความ เสียสละทกุ อยา่ งครง้ั นใี้ หก้ ับ นายบรรยงค์ จันทร์ศิริศรี นอกจากน้ันแล้วอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเล่น และฝึกซ้อม ทางจังหวัดได้งบประมาณมาน้อย ต้องลงทุนสร้างเวทีฝึกซ้อมในบริเวณบ้านพักและซื้อ อปุ กรณต์ ่าง ๆ เพมิ่ เตมิ หมดเงินสว่ นตัวเป็นจานวนมาก อานาจ พกุ ศรสี ุข และ ประจวบ นิลอาชา (2530 : 23) นครราชสีมา หรือที่รู้จักกันใน ชื่อ เดิมว่าโคราช เป็นเมืองหน้าด่านช้ันเอกของไทยท่ีสาคัญและได้ช่ือว่าเป็นเมืองมวย เป็นประตูด่าน แรกที่จะเข้าสู่ภาคอีสาน หลังจากคุณหญิงโมท่านได้รวบรวมชาวเมืองท้ังหญิงและชาย จับอาวุธเข้า ต่อสู้กอบกู้บ้านเมืองจากเจ้าอนุวงศ์เจ้าเมืองเวียงจันทร์ ชื่อเสียงของผู้คนชาวโคราชเป็นที่กล่าวขวัญ กันอยู่โดยทั่วไป ความกลา้ หาญและมใี จคอทีเ่ ด็ดเดีย่ วหญิงไทยไดช้ อื่ วา่ “มอื ก็ไกว ดาบก็แกว่ง” เป็นท่ี ประหวน่ั ใจแก่หมู่อริราชศัตรู เม่ือเสร็จสิ้นจากการศึกกู้บ้านกู้เมืองในครั้งนั้นแล้ว บ้านเมืองก็สงบราบ คาบ ไพร่บ้านพลเมอื งต่างก็ทามาหากินและอยู่กนั อยา่ งผาสุกตลอดมา ในปพี ุทธศกั ราช 2430 ประชากรก็นับวันจะเพิ่มพูนและทวีความแออัดมากย่ิงขึ้น การทามา หากิน ในเมืองก็เกิดการฝืดเคือง มีผู้อพยพออกจากเมืองไปตั้งถิ่นฐานทามาหากินกันนอกเมืองมาก ยง่ิ ข้ึน จนต้ัง เป็นหมู่บ้านได้หลายหมู่บ้าน ต่างก็จับจองท่ีทางถากถางประกอบสัมมาชีพด้วยการเล้ียง
144 สตั ว์ ทาไร่ ทานา และบา้ งกเ็ ขา้ ปา่ หาของปา่ เข้ามาซ้ือขายหรือแลกเปลี่ยนของใช้ที่จาเป็นภายในเมือง เปน็ ประจา มีความสุขพอสมควรแก่อตั ภาพ ครบู วั วัดอ่มิ หรอื (ร.ท.บวั นลิ อาชา) เป็นชาวโคราชโดยกาเนิด ได้ศึกษาเกี่ยวข้องกับมวย ไทยมาตั้งแต่เล็ก เป็นรุ่นน้องของหมื่นชงัดเชิงชกอยู่ราว 9–10 ปี เร่ิมฝึกมวยเป็นครั้งแรกในหมู่บ้าน ดอนขวาง (เป็นหมู่บ้านแถบชานเมืองโคราช) ในหมู่บ้านนี้มีผู้เฒ่าซึ่งเป็นครูมวยชื่อดังมีความ เชี่ยวชาญและชานาญในเร่ืองการมวย มกี ลเม็ดเด็ดพรายเป็นท่ีเลื่องลือมาก นักมวยรุ่นพี่ ๆ และท่ีฝึก ด้วยกันมามีช่ือเสียงโด่งดังอยู่หลายท่าน เช่น หม่ืนชงัดเชิงชก ยัง หาญทะเล ทัพ จอมเกาะ แสง จอมเกาะ และยัง หนุมาน เป็นตน้ (อานาจ พุกศรีสขุ และ ประจวบ นลิ อาชา. 2530 : 23 - 24) รอบ ๆ เมืองโคราช มีหมู่บ้านท้ังเล็กและใหญ่หลายหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านมักจะมีครูมวย และมีการฝึกฝนมวยไทยกันอยู่โดยท่ัวไป ประกอบกับรุ่นพี่ได้รับพระราชทานบรรดาศักด์ิเข้าไปมี ช่ือเสยี งโดง่ ดังในเมอื งกรงุ บางท่านก็ไดเ้ ขา้ รบั การเป็นพวกทนายเลือก ทหารเสือปืนใหญ่ ทหารม้า ซึ่ง พ้ืนฐานจะต้องเป็นผู้ท่ีมีความเก่งกล้าในเชิงมวยมาก่อนทั้งส้ิน ทาให้ย่ิงเป็นแรงผลักดันให้วงการมวย เฟือ่ งฟูมากยง่ิ ขน้ึ และในครง้ั นัน้ เม่ือจดั งานสมโภชขึ้นคร้ังใดมหรสพทข่ี าดไม่ไดก้ ค็ อื การชกมวยและเม่ือ มีการเปรียบมวยข้ึนชกในสมัยนั้น มักจะมอบให้พระเหมสมาหารเป็นประธานหรือนายสนามทุกครั้ง การป่าวประกาศให้ผู้คนได้รู้ใชว้ ิธีแบบโบราณ คือให้คนตีฆ้องร้องป่าวไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ และอยู่ไม่ ห่างไกลจากตัวเมืองมากนัก พรอ้ มทั้งนาประกาศการชกมวยไปปิดไว้ท่ีประตูเมืองท้ัง 4 ทิศ เพ่ือให้ผู้ที่ อยู่ห่างไกลจากตัวเมอื งมาก ๆ ได้รบั ทราบเวลาเข้ามาทาการค้าขายหรอื ธุรกิจติดต่อกับคนในเมืองก็จะ บอกต่อ ๆ กันไป พวกตีฆ้องก็จะพากันร้องว่า “ใครจะมาชกมวยให้มาเปรียบเน้อ” ถึงหมู่บ้านใดก็ ร้องไปจนรู้กันท่ัว นักมวยเม่ือทราบต่างก็จะพากันมาเปรียบท่ีบ้านคุณพระเหมสมาหารทุกคร้ัง (อานาจ พกุ ศรสี ขุ และ ประจวบ นิลอาชา. 2530 : 24) สมัยก่อนไม่มีนวมซอ้ มหรือเคร่ืองชงั่ นา้ หนักตวั จบั ตัวเขา้ เปรยี บเทียบกันดู เห็นสูงต่า ล่าสัน พอกนั ก็ถามวา่ ชกกนั ไหม ถา้ คตู่ ่อสู้บอกเอาท่านกใ็ หล้ องปะมอื กันดกู ่อน เหน็ ว่าพอทัดเทียมกันแต่ละ คู่ เป็นทพี่ อใจก็ให้ลงชอื่ ตามลาดับ ต้งั แต่คู่ท่ี 1 ถึงคู่ที่ 7 หรือ 8 ตามความต้องการของเจ้าภาพ แล้ว นดั เวลาชกทีไ่ หน ตาบลใด เวลาเท่าใด เป็นต้น พวกนักมวยทั้งหลายท่ีมาเปรียบได้คู่ชกแล้ว ก็จะพา กนั กลับบ้านหาเชอื กด้ายดบิ ตลอดจนเครื่องรางของขลังท่ีตนนับถือติดตัวไปพร้อมครูผู้แต่งมวย คร้ัน ได้เวลาชกจริงแล้วประธานในพิธีหรือนายสนาม ก็ตีฆ้องเป็นสัญญาณเรียกนักมวยที่ได้คู่ชกพร้อมพ่ี เลี้ยงและครูผู้แต่งมวย พากันเข้ามาในสนาม น่ังกันอยู่คนละพวกรอบ ๆ สนามด้านในโดยใช้เชือก ขึงเอาไว้เปน็ เขต ดา้ นนอกกเ็ ป็นพรรคพวกญาติพี่นอ้ งของนักมวยและคนดูต่างขนกันมาเชียร์และเล่น ต่อรองกันเป็นที่สนุกสนาน เมื่อพร้อมแล้วนายสนามก็จะเรียกคู่มวยตามลาดับ มีกรรมการห้ามมวย เพียง 1 คนเท่านั้น ไม่มีกรรมการให้แต้มเหมือนสมัยนี้ ส่วนการตัดสินแพ้ชนะน้ันเป็นหน้าที่ของ ประธานกรรมการหรือนายสนามจะพิจารณาร่วมกัน การตอ่ สใู้ นสมัยกอ่ นทา่ นใหต้ ่อสกู้ นั 3 รอบของนักมวยท่ีเปรียบไดใ้ นวันน้ัน เช่น คู่ที่ 1 เมื่อ ต่อสู้กนั ประมาณ 3 นาที ไม่มฝี า่ ยใดเพล่ียงพล้า ผู้ห้ามบนเวทีก็จะจับแยกออกไปพัก คู่ที่ 2 เริ่มเข้าชก ต่อไปตามลาดับเช่นกัน เม่ือครบทุกคู่แล้วก็นับเป็น 1 รอบ แล้วให้คู่ท่ี 1 คู่ท่ี 2 และคู่ท่ี 3 ขึ้นชก ตามลาดบั จนครบคลู่ ะ 3 รอบ ถ้ารอบไหนไม่มีการน็อก ผู้ห้ามมวยก็นาเข้าไปรับเงินรางวัลจากผู้เป็น
145 ประธาน จะมาก จะน้อยแคไ่ หนก็แลว้ แตป่ ระธานจะให้ (แต่ก่อนใช้เงินบาทแจก) ตามปรกติคนแพ้ได้ 8 บาท ผู้ชนะได้ประมาณ 12 บาท ถ้าคู่ใดชกได้ดุเดือดก็จะได้เงินรางวัลเพ่ิมขึ้นแล้วแต่กรณีย์ ผู้เข้า ชมจะทราบได้ทุกคร้ังไปว่าฝ่ายชนะได้เท่าไร ฝ่ายแพ้ได้เท่าไร ถ้าคู่ชกรายใดชกไปถึง 3 รอบ หรือ เทา่ กับ 3 ยก ไมแ่ พไ้ มช่ นะกนั แม้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะบอบชา้ มากน้อยสักเพียงใด หรือเป็นต่อสักเท่าไร ทา่ นประธานกรรมการก็ตัดสินให้เสมอกัน ฝ่ายบอบช้ากว่าจะได้ไม่ต้องเสียกาลังใจและหาโอกาสฟิต ตัวให้ดีให้เข้มแข็งไว้ขึ้นสู้ในงานคร้ังต่อไปภายหน้า และเมื่อคู่นี้ได้ขึ้นชกกันใหม่อีกครั้ง คนดูก็ยิ่งมาก และสนุก คิดว่าเป็นมวยคู่อาฆาตหรือ แก้เผ็ดกัน การชกมวยในสมัยนั้นไม่มีนวมใช้เช่นปัจจุบัน ใช้ ด้ายดิบพันไว้ท่ีมือเรียกกันว่า “คาดเชือก” และใช้ผ้าขาวม้าม้วนผูกเป็นนวมป้องกันลูกอัณฑะ ซ่ึง ต่อมาได้ทาเป็นเบาะรูป 3 เหลี่ยม ใช้เชือกผูกชายมุมทั้ง 3 มุม ใช้แทนกระจับ (ซ่ึงสมัยโบราณยังไม่มี กระจบั หมุ้ ) ทางมวยของโคราชเป็นมวยเตะและต่อยวงกว้าง เรียกกันว่า “เหว่ียงควาย” รับเตะและ ป้องกันตนเองด้วยการใช้แขน จึงใช้ด้ายดิบคาดหมัดและขมวดรอบ ๆ แขนจรดข้อศอกด้วยวิธีพิเศษ ไมเ่ หมือนใคร และไจกไ็ มห่ ลุดลุ่ยคล้องข้อศอกอันเป็นอุปสรรคแก่การล่ันหมัด วิธีการคาดหมัดอย่าง ทะมัดทะแมงเช่นนี้เป็นที่กล่าวขวัญกันมาเน่ินนานคือ แดง ไทยประเสริฐ (หมื่นชงัดเชิงชก) อันเป็น เกียรติประวัติทาให้เมืองโคราชได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองมวยสมกับคาว่า “หมัดเหว่ียงควาย” ใช้ด้ายดิบ ขนาดยาว เปน็ ตน้ ในสมัยน้ีเป็นช่วงเวลาที่มวยไทยสายโคราชมีช่ือเสียงโด่งดังไปท่ัวประเทศไทย เป็นการชก แบบคาดเชือก ไม่มีเวทีที่แน่นอนชกกันบนพื้นดิน มีนักมวยท่ีได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากรัชกาลที่ 5 รัชกาลท่ี 6 และพันเอกเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ โปรดเกล้า ฯ ให้นักมวยจากเมือง โคราชเข้าไปฝึกซ้อมมวยอยู่ท่ีวังเปรมประชากร ขึ้นทาการชกแข่งขันทั่วประเทศไทย สร้างช่ือเสียง ให้กบั ชาวโคราชเป็นอย่างย่ิง นอกจากน้นั นายแดง ไทยประเสริฐ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นขุนหมื่นครูมวย “หมื่นชงัด เชิงชก” นายบวั วดั อมิ่ (นิลอาชา) ได้เป็นครูสอนพลศึกษา ณ โรงเรยี นนายร้อย จปร. นอกจากนี้ยัง มี นายยงั หาญทะเล นายทับ จาเกาะ นายตู้ ไทยประเสริฐ นายพูน ศักดา ผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับประวัติครูมวยคนสาคัญ ๆ ของนักมวยไทยสายโคราชในสมัยรุ่งเรือง พบว่าครูมวยแต่ละท่านเป็นผู้มีความรู้ความสามารถยิ่ง มีช่ือเสียงไปท่ัวประเทศไทยในมัยนั้น ผู้วิจัย จงึ ขอนาเสนอประวัตขิ องแตล่ ะทา่ น ดังนี้ 1. พลเรอื เอก พระเจา้ บรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอดุ มศักดิ์ ลูกนาวีเรียกพระองค์ว่า เสด็จพ่อกรมหลวงชุมพร ทรงมีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้า อาภากรเกียรติวงศ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลอาภากร ประสูติเม่ือวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 เมื่อ เวลา 15.75 นาฬิกา ณ พระตาหนักตรงด้านปรัศว์ขวาริมกาแพงสวนศิวาลัยในพระบรมมหาราชวัง ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 2 ค่า เดือนอ้าย ปีมะโรง จุลศักราช 1242 ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับลาดับราชสกุลวงศ์เป็นองค์ท่ี 28 ทรงเป็นพระเจ้า ลูกยาเธอ พระองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาข้ันแรกใน พระบรมพระบรมมหาราชวงั
146 พระชนมายุได้ 13 พรรษา พระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไป ทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ เม่ือปี พ.ศ.2436 พร้อมกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว คร้ังทรงดารงพระอิศริยศักด์ิเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เสด็จด้วย ร.ล.มกุฎราชกมุ าร เม่อื วันที่ 20 สงิ หาคม 2436 ในปี พ.ศ.2439 ทรงเขา้ รบั การศึกษาในโรงเรียนนาย เรือองั กฤษ จนถึงปี พ.ศ.2443 ทรงสาเรจ็ การศกึ ษาและเสดจ็ กลับประเทศไทย ภาพที่ 92 พลเรอื เอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชมุ พรเขตรอุดมศกั ดิ์ วันท่ี 23 มิถุนายน พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระ กรณุ าโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศนายเรือโท (เทยี บเท่านาวาตรีในปัจจุบัน) แก่เสด็จในกรมฯ โปรดฯ ใหเ้ ขา้ รบั ราชการในตาแหน่งนายธงของผู้บัญชาการในกรมทหารเรือ อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าทิพย สัมพันธ์ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2443 ทรงได้รับการสถาปาขึ้นเป็นกรมหม่ืนชุมพรเขต อุดมศักดิ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จนถึงพลเรือเอกและเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ตามลาดับ ทรงมพี ระโอรสธดิ ารวม 9 พระองค์ เสด็จในกรมสนใจศึกษาในเร่ืองไสยเวทย์ ตาราแพทย์แผนโบราณ และสมุนไพรอย่าง จริงจงั จนทรงเช่ียวชาญอย่างย่ิง ทรงไปเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข (พระครูวิมลคุณากร) วัดมะขามเฒ่า ซ่ึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาแวะท่ีวัดมะขามเฒ่าเพื่อพบกับหลวงปู่สุข โปรดฯพระราชทานสมณศักดิ์หลวงปู่ศุขเป็น พระครูศุข จนถึงวันท่ี 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2456 ใน ตน้ รัชกาลที่ 6 ไดร้ ับสมณะเปน็ พระครูวมิ ลคณุ ากร ตาแหน่งเจ้าคณะแขวงเมืองชัยนาท เสด็จในกรม ทรงสน้ิ พระชนม์ ณ หาดทรายรี เมืองชมุ พร เม่ือวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2466 เสด็จในกรมเข้ารับราชการทหารเรือ ก็ทรงพระวิริยะอุตสาหะปรับปรุงกิจการราช นาวีไทยให้ก้าวหน้าเรื่อยมา ในปี พ.ศ.2449 เม่ือทรงเป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ทรงแก้ไข ปรับปรุงการศึกษาในโรงเรียนนายเรือทุกอย่าง ทั้งฝ่ายปกครอง และฝ่ายวิชาการให้เจริญก้าวหน้า
147 ทัดเทียมตา่ งประเทศ เพอ่ื ให้นกั เรียนที่สาเร็จการศึกษา มีความรู้ความสามารถเหมือนหน่ึงจบมาจาก ต่างประเทศ เสด็จในกรม ได้ทูลขอพระราชทานท่ีดินบริเวณพระราชวังเดิมธนบุรี เป็นสถานท่ีต้ัง โรงเรียนนายเรือและทรงเสด็จไปเปิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2449 พระองค์ทรงคลุกคลีกับ ทหารเรือแห่งราชนาวีไทยทุกรายเสมือนหน่ึงเป็นเพื่อน พี่ พ่อ จึงเป็นที่รักใคร่ของเหล่าลูกประดู่ โดยท่ัวไป ยกยอ่ งเรียกพระองคว์ ่าเสด็จพอ่ ตง้ั แต่สมัยท่ียังทรงพระชนมช์ พี อยู่ ในคราวที่สนามมวยสวนกุหลาบคัดเลือกนักมวยฝีมือดีมาชกกับ นายทับ จาเกาะ คือ นายประสทิ ธิ์ บญุ ยารมณ์ ครูพลศกึ ษา แต่นายทบั จาเกาะ ไม่ยอมชกด้วย เพราะกลัวท่ีตนจะได้ชก กับนักมวยฝีมือดีจนเกิดการล้มป่วยลง รวมถึงนายยัง หาญทะเล ได้ชกกับมวยจีนซ่ึงมีฝีมือในการ เลี๊ยะพ๊ะ จนเป็นที่เกรงขามของนักมวยชาวไทยไปหมด ก็มีอาการเช่นเดียวกัน เสด็จกรมหลวงชุมพร เขตรอุดมศักด์ิ ต้องพาไปทาพิธีรดน้ามนต์ ปลุกเสก ลงคาถา รับมอบเครื่องรางของขลังจากหลวง ปู่ศุข และทาพิธี “ชุบตัว” และ “อตตมสูตร” เม่ือผ่านการทาพิธีแล้วทาให้มีจิตใจกล้าหาญไม่หวั่น เกรงกส็ ามารถเอาชนะไดท้ ง้ั สองคน พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในศิลปะแม่ไม้มวยไทย ด้านไสยศาสตร์ ตาราแพทย์แผนโบราณ และสมุนไพรอย่าง จริงจังจนทรงเช่ียวชาญอย่างย่ิงอย่างแตกฉาน ทรงอุปการะและเป็นผู้ฝึกซ้อมให้กับนักมวยท่ีมาจาก ต่างจงั หวดั ในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยเฉพาะนายทับ จาเกาะ และนายยงั หาญทะเล นายตู้ ไทยประเสริฐ นายพูน ศักดา นกั มวยฝีมือดจี ากโคราช 2. พระเหมสมาหาร เปน็ เจ้าเมืองโคราชท่ีความรู้ความสามารถและเชยี่ วชาญในศิลปะการต่อสู้แบบไทย เป็น ผู้ฝกึ สอนศลิ ปะการต่อสู้แบบไทยให้กับบรรดาชาวโคราชท่ีมีความสนใจด้วยความเอาใจใส่ เขียนตารา ระเบยี บแบบแผน ประเพณี คาอนุญาต คาเตือนสตเิ ก่ียวกับมวยไทยโคราช ให้ลูกศิษย์ได้ฝึกมวยไทย โคราชตามตาราของทา่ นอยา่ งเปน็ ระบบ ผ้วู จิ ยั ไดค้ ้นพบประวตั ขิ องทา่ นสนั้ ๆ ดังตอ่ ไปนี้ ราชกิจจานเุ บกษา (เล่มท่ี 43 หนา้ 2948–2949 วนั ท่ี 21 พฤศจกิ ายน 2469) กลา่ วว่า ข่าวตาย ประวัติพอสังเขป นายร้อยโท พระเหมสมาหาร (ทองคา กฤษณสุวรรณ) กระทรวงกลาโหม นายร้อยโท พระเหมศมาหาร (ทองคา กฤษณสุวรรณ) บ.ม. บุตร์พระยาโปราณุราช มนตรี (บุญสง่า กฤษณสุวรรณ) เกดิ วนั ศกุ ร์ เดือนเก้า ปีกุน ตรีศก จ.ศ. 1213 (พ.ศ.2394) เมื่อ มีอายุสมควรได้ศึกษาวิชาหนังสือไทย แล้วเข้ารับราชการ พ.ศ.2413 ได้รับประทวนเปนพระภักดี สุวรรณ พ.ศ.2437 เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ครั้น พ.ศ.2441 ไปรักษาราชการอาเภอปักธงไชย จังหวัดนครราชสีมา แล้วได้รับพระราชทานยศเปนนายรอ้ ยโท นายทหารพิเศษประจากรมทหารราบ ท่ี 5 ต่อมาปีหน่ึงไปเปน พนักงานคลังจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.2442 ไปเปนนายอาเภอนอกอยู่ใน ปกครองจังหวัดนั้น ถึง พ.ศ. 2444 เปนนายทหารนอกกองจังหวัดไชยภูมิ ล่วงมาปีหนึ่งได้รับ พระราชทานบรรดาศักด์ิ เปนพระเหมสมาหาร ถึง พ.ศ.244๗ ปลดออกนอกราชการรับพระราชทาน เบย้ี บานาญ
148 พระเหมสมาหาร ปว่ ยเปนโรคชรา ถงึ แก่กรรมวนั ท่ี 31 สงิ หาคม พ.ศ.2469 คานวณ อายุได้ 75 ปี และราชกิจจานุเบกษา (เล่มท่ี 17 หนา้ 605 วนั ที่ 13 มกราคม ร.ศ. 119) กล่าววา่ ขา่ วตายหวั เมอื ง พระเหมสมาหาร (เพิ่ม)ขา้ หลวงสรรพากรเมืองนครราชสีมา ป่วยเปนไข้ถึงแก่กรรมวันที่ 13 ธันวาคม รตั นโกสนิ ทรศ์ ก 119 และราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 18 หน้า 114 วันท่ี 2 มิถุนายน ร.ศ. 120) กล่าวไว้ ตรงกนั ว่าสง่ หีบศิลานาเพลิงไปพระราชทาน ทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯให้เจ้าพนักงานสง่ หีบศลิ านาเพลงิ ไปพระราชทานเพลิงศพ ข้าราชการ ดงั มรี ายนามแจง้ ต่อไปนี้ ศพพระเหมสมาหาร ข้าหลวงสรรพากร แลศพหลวงอาไพพิจารณกจิ ผ้พู ิพากษาเมือง ฉเชงิ เทรา พระราชทานเงนิ ศพละ 100 เฟอื้ ง ผ้าขาวศพละ 2 พับ รวมถึง (หอจดหมายเหตแุ ห่งชาติ. การแต่งตง้ั ขนุ นางไทยในสมัยรัชกาลท่ี 5. กรุงเทพฯ กรมศลิ ปากร. 2521 : 190) ให้พระเหมสมาหาร(เหม สิงหเสนี) เปนพระพรหมบริรกั ษ์ เจ้ากรมพระตารวจสนม ทหารขวา ถือศกั ดินา 1600 ตั้งแต่ ณ วันฯ คา่ ปีวอกจัตวาศก 5 ศกั ราช 1234 พระเหมสมาหาร เป็นเจ้าเมืองโคราชท่ีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญในศิลปะการ ต่อสู้แบบไทย เป็นผู้ฝึกสอนศิลปะการต่อสู้แบบไทยให้กับบรรดาชาวโคราชท่ีมีความสนใจ ด้วยความ เอาใจใส่ เขียนตาราระเบียบแบบแผน ประเพณี คาอนุญาต คาเตือนสติ เกี่ยวกับมวยไทยโคราช ให้ลูกศิษย์ได้ฝึกมวยไทยสายโคราชตามตาราของท่านอย่างเป็นระบบและมีแบบแผน เป็น นักปกครองที่ทาหนา้ ท่ใี นตาแหน่งท่ีสาคัญ ๆ ในเขตภาคอีสานตลอดชีวิต 3. หม่ืนชงดั เชิงชก (แดง ไทยประเสริฐ) (ศูนยศ์ ิลปวฒั นธรรมราชภฎั นครราชสมี า. 2538, 18 และ 2542 , 289 – 290) กล่าวว่า เดิมชื่อนายแดง ไทยประเสริฐ ได้รับพระราชทินนามจากในหลวงรัชกาลที่ 5 ที่พระองค์ทรงพอ พระทัยในชั้นเชิง และลวดลาย ไหวพริบ ปฏิภาณ ตลอดจนการคล่องตัวของนายแดงเป็นอย่างมาก จนทรงแต่งตั้งและพระราชทานนามให้ว่า “หมื่นชงัดเชิงชก” เป็นศิษย์เอกของพระเหมสมาหาร ปรมาจารยม์ วยแหง่ นครราชสีมา เร่อื งทีท่ าให้นายแดง ไทยประเสรฐิ มีชอื่ เสียงโด่งดงั มีวา่ ในตอนปลายสมัยรัชกาลท่ี 5 ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อุรุพงษ์รัชสมโภช ณ ท้องทุ่งพระเมรุ ได้จัดให้มีงานมโหฬารข้ึน มีมหรสพเล่นหลาย อย่างอาทิ เช่น โขน ละคร ลเิ ก มวย ณ ท้องทุ่งสนามหลวงทุกวันนี้ ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการชกมวย หน้าพระท่ีนั่งโดยคัดเลือกนักมวยท่ีมีฝีไม้ลายมือดีจากภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน และภาคกลาง มาจับคู่ชกกัน ปรากฏว่านักมวย จากหัวเมืองชกได้ดุเดือดดีเย่ียมเป็นที่โปรดปรานและพอพระราช
149 หฤทัยของพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างย่ิง จนได้รับพระราชทานนามตามความสามารถแต่งตั้งให้เป็นหม่ืน (ข้าราชการประทวนทงั้ สามคนมีชื่อคลอ้ งจองกันดงั น้ี หมน่ื มวยมีชื่อ–หมืน่ มอื แมน่ หมดั –หมน่ื ชงัดเชงิ ชก) 1. หมืน่ มวยมชี ือ่ (นายปรง จานงทอง) เปน็ นกั มวยจากบ้านพมุ เรียง อาเภอไชยา จังหวัดสรุ าษฎร์ธานี 2. หมนื่ มือแมน่ หมัด (นายกลึง โตสะอาด) เปน็ นักมวยจากบ้านทะเลชุบศร จังหวัด ลพบรุ ี 3. หมื่นชงัดเชงิ ชก (นายแดง ไทยประเสริฐ) เป็นศิษยเ์ อกของพระเหมสมาหาร จากจังหวดั นครราชสีมา ขา้ ราชการประทวนทั้งสามน้ี ไดร้ บั พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกลา้ ฯ ไม่ตอ้ งเสยี สว่ ยสาอากร แม้กระท่ังทาผิดก็ให้กรมการบ้านเมืองพิจารณาลดหย่อนผ่อนโทษตามสมควร (เขตร ศรียาภัย. มวยโคราช มตชิ น ฉบับสดุ สัปดาห์ 30 พ.ย. - 6 ธ.ค. 23 ปที ี่ 3 ฉบับท่ี 1009, 32) หมื่นชงัดเชิงชก ได้รับยกย่องว่าเป็นยอดนักมวยของโคราช โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย เคยเชิญให้มาเป็นครูพิเศษสอนมวยไทยแก่นักเรียนในราว พ.ศ.2478 พันเอกพระยาฤทธิรงค์รณเฉท ผู้มีบทบาทสาคัญต่อวงการมวยของโคราช ได้กล่าวยกย่องหม่ืนชงัดเชิงชก ในความเป็นยอดนักมวย ทั้งยังได้เชิญให้มาแสดงการราไหว้ครูท่ีสนามสุรนารี (ใกล้ ๆ กับหนองบัวรอง ถนนจอมสุรางค์ยาตร) เมื่อ พ.ศ.2498 มชี ่ือเสียงโด่งดงั ไปทวั่ ประเทศ จนปจั จุบนั น้ี สรปุ : นายแดง ไทยประเสรฐิ ลูกศิษย์ของพระเหมสมาหาร เจ้าเมืองโคราช เป็นนักมวย จากหวั เมอื งโคราชทีเ่ ขา้ ไปชกและสรา้ งช่ือเสียงในพระนครในสมัยรัชกาลท่ี 5-6 มีเอกลักษณ์ในการชก มวยคือใช้ด้ายคาดหมัดขึ้นไปจนถึงข้อศอก ต่อย เตะวงกว้าง และใช้หมัดเหวี่ยงควายชกชนะคู่ต่อสู้ เป็นท่ีพอพระราชหฤทัย จนได้รับพระราชทานนามให้เป็นหมื่นชงัดเชิงชกศักดินา 300 และได้รับ พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ไม่ต้องเสียส่วยสาอากร แม้กระทั่งทาผิดก็ให้กรมการบ้านเมือง พิจารณาลดหย่อนผอ่ นโทษตามสมควร ภาพท่ี 93 นายแดง ไทยประเสริฐ หรอื หมื่นชงดั เชงิ ชก ที่มา : ปริทัศนม์ วยไทย หนา้ 23
150 4. นายยงั หาญทะเล ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมราชภัฎนครราชสีมา (2538 : 290 – 291) กล่าวว่า เป็นนักมวย จากเมืองโคราช ลูกศิษย์พระเหมสมาหาร ที่เข้าไปชกในกรุงเทพฯ พร้อมกันกับหมื่นชงัดเชิงชก ทับ จาเกาะ พนู ศกั ดา ตู้ ไทยประเสรฐิ ฯลฯ ได้รับเมตตาจากเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ให้ เขา้ ไปฝกึ ซ้อมมวยทีว่ ังเปรมประชากรจนมีชอ่ื เสียง ด้วยความซ่ือสัตย์และความกล้าหาญ จึงเป็นท่ีพอ พระราชหฤทยั จากพระองค์เป็นอยา่ งย่ิง และศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรมราชภัฎนครราชสีมา (2538 : 290, 2542 : 19) กลา่ วว่า ไดร้ บั ฉายาวา่ “เสอื ลายพาดกลอนจากท่รี าบสูง” มีชื่อเสียงโด่งดังในการใช้เท้าและศอก ซึ่งหาตัวจับยากในสมัยน้ัน และเคยเดินทางเข้าไป สร้างชือ่ เสียงในกรงุ เทพมหานคร การชกครัง้ สาคัญทสี่ ดุ ในชวี ติ นกั มวยของนายยัง หาญทะเล ซึ่งทา ใหช้ ่ือเสยี งโดง่ ดังสดุ ยอดทว่ั ประเทศไทยก็คือ ในปี พ.ศ.2464 มีชาวจีนจากกวางตุ้งชื่อนายจี้ (โฮ้วจง กนุ ) ฉ่าง ผู้มีชื่อเสียงทางมวยจีนจนได้ฉายาว่าพญาเสือโคร่ง เป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายมวยจีนย่านสาเพ็ง เป็นนักมวยจีนท่ีมีฝีมือดีที่สุดจากประเทศจีน มีฝีมือเก่งกาจมากมือแข็งขนาดเล๊ียะกระสอบข้าวสาร ทะลุ เลี๊ยะปีบทะลุ (เล๊ียะพ๊ะ คือ การใช้น้ิวมือสามนิ้วแทงคู่ต่อสู้) สามารถเล๊ียะกระดานแตก และ เล๊ียะคอหมู คอควายตายทันทีมามากมายประดุจใช้มีดแหลมคมแทง เล๊ียะถูกท่ีไหนเน้ือขาดที่น่ัน ใช้สนั มอื ฟันงาชา้ งหักสะบ้ัน ใชเ้ ทา้ เตะเสือตาย เตะควายทรดุ ลงอาการร่อแร่มาแล้ว มีร่างกายกายา ล่าสนั สามารถกระโดดให้ตวั ลอยขนึ้ สูงเหนือพ้ืนดินได้ ในปัจจุบันนี้เรียกว่า “กาลังภายใน” จีนฉ่าง คนน้ีได้ท้าชกกับนักมวยไทยทุกคน นายยัง หาญทะเล ภายหลังได้ฝากตัวเป็นศิษย์กรมหลวงชุมพร เขตรอุดมศักดิ์ เมื่อจีนฉ่างมาขอท้าชกแบบฟรีสไตล์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเล้าเจ้าอยู่หัว ทรง เห็นว่า นายยงั หาญทะเล เป็นนกั มวยท่ีเหมาะสมที่สุดในการชกครั้งนี้เพราะไม่เสียเปรียบท้ังในด้าน รปู ร่างและฝมี อื แต่อย่างใด เพราะมเี พลงเตะเพลงถีบอันข้ึนชือ่ ลอื ชา เม่ือไทยเราได้เลือกเฟ้นหานักมวยที่มีฝีมือประกบกับนักมวยจีนฉ่างได้แล้ว ก็กาหนดวันทา การ ปะลองฝีมือข้ึน และมีการวางเดิมพันเป็นจานวนมาก ไม่ช้าวันสาคัญอันเป็นประวัติศาสตร์ของ วงการมวยแหง่ ประเทศสยามก็มาถึง ชาวไทย–จีน ได้แตกตื่นกันมาดูอย่างคับคั่ง ในการชกคร้ังน้ี ไทย เราได้ขอกาลังทหาร ตารวจนครบาลจานวนมาก มาคอยช่วยป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดข้ึน และก็เป็น ความจริง ถ้าไทยเรา ไม่มีการวางแผนป้องกันไว้โดยรอบคอบของท่านผู้ใหญ่ในสมัยน้ัน ก็คงจะเกิด ศกึ กลางเมอื งขึ้นเปน็ แน่ เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ทาการตกลงในข้อกติกาต่าง ๆ แล้วก็ปล่อยตัวนักมวยทั้งสองเข้าทาการ ต่อสูป้ ะลองฝีมือกนั นายยงั หาญทะเล นกั มวยโคราช เปน็ นักมวยเอกของสนามวังสวนกุหลาบ ศิษย์ เอกพระเหมสมาหาร ก่อนชกมวยนายยังได้ร่ายราแบบมวยไทย ขณะชกก็ใช้อาวุธหมัด เท้า เข่า ศอก ตามแบบฉบบั ศลิ ปะมวยไทย ไดอ้ ยา่ งดีเยยี่ ม วธิ กี ารต่อสู้ของจีนฉ่างก็คือ พยายามใช้กาลังอันมหาศาล เข้าประชิดไล่เล๊ียะ นายยัง หาญทะเล ก็พยายามใช้ศิลปะท่ีได้ร่าเรียนมาหลบหลีกการเลี๊ยะของจีน ฉ่าง พร้อมกับหาจังหวะเพ่ือจะพิชิตไม่ให้จีนฉ่างเข้าถึงตัวได้ พยายามใช้ความคิดปฏิภาณ ถีบ เตะ แล้วถอยออกหลอกล่อ จังหวะและโอกาสอันดีงามก็มาถึง นายยัง หาญทะเล ได้ใช้เท้าท่ีข้ึนชื่อลือชา เตะก้านคอของจีนฉ่างด้วยสันแข้ง จีนฉ่างถึงกับม้วนตัวลงไปตามสันแข้ง แต่จีนฉ่างก็ทรหดอดทน อย่างทายาท ทะล่ึงพรวดลุกข้ึนมา ยังไม่ทันตั้งตัวได้ นายยัง หาญทะเล ผู้ที่ไม่ยอมปล่อยให้วินาที
151 ทองผ่านไปก็กระโดดเตะก้านคอจีนฉ่างซ้าเข้าท่ีเก่าอีก จีนฉ่างได้ล้มลงและสลบแน่นิ่งไปทันที จีน ฉ่างชกแบบเสียวลิ้มย่ีหรือท่ีเรียกว่า เลี๊ยะพ๊ะ ปรากฏว่าชกกันไม่ถึงสามยก นายยังเตะก้านคอจีนฉ่าง หลับกลางอากาศนอนพงั พาบแทบกระอักเลือดแพ้อย่างไม่มีปัญญาจะสู้ ถูกหามออกจากเวทีตอนต้น ยกท่ีสาม ช่อื เสียงของนายยัง หาญทะเล ทาให้นักมวยพากันครั่นคร้าม ต่อฝีมือของนักมวยโคราช ย่ิงนักในเวลาตอนนี้เอง ชาวจีนทั้งหลายท่ีเชียร์จีนฉ่าง ก็ลุกฮือขึ้นจะเข้ามารุมทาร้ายนักมวยไทย โดยกล่าวหาว่าผิดกติกาข้อตกลงกันไว้ คือ นักมวยจีนฉ่างลุกขึ้นมายังทรงตัวไม่ได้ดี นักมวยไทย นายยัง หาญทะเล ก็กระโดดเตะซ้าเสียแล้ว กล่าวหาว่าเป็นการซ้าเติมโดยที่คู่ต่อสู้ยังไม่ทันตั้งตัวได้ ถ้าทางไทยเราไม่เตรียมทหาร ตารวจไว้พร้อมล่วงหน้า ก็น่ากลัวจะเกิดจลาจลและมีการตาย เกิดขึ้น อย่างแน่นอน ต้ังแต่นั้นมา นายยัง หาญทะเล ก็ปรากฏช่ือเสียงโด่งดังมาจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานตราบ เท่าทุกวันนี้ ซึ่งเป็นความภาคภมู ใิ จของชาวสยามท้ังประเทศ โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงชาวโคราช ภาพท่ี 94 นายยงั หาญทะเล (ด้านขวามอื ) ท่มี า : ปริทศั นม์ วยไทย ทุกปีกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักด์ิ จะทรงนานักเรียนนายทหารเรือออกฝึกภาคทางทะเล ทรงเป็นผู้บญั ชาการฝึกภาคดว้ ยพระองคเ์ อง บรรดานักเรียนนายเรือและมหาดเล็กผู้รับใช้ใกล้ชิดต่าง ร้ดู วี ่าเวลาพระองคอ์ อกทะเลนน้ั จะทรงมคี วามสขุ มากเพราะทรงรกั ทะเลยิ่งนกั วันหนึ่ง เมื่อเรือฝึกกาลังแล่นช้า ๆ อยู่กลางทะเลในย่านดงฉลามร้าย เสด็จในกรมทรงเรียก แถวทหารทั้งหมดท่ีกาบเรือ แล้วทรงแจกผ้าประเจียดลงอักขระเลขยันต์ของหลวงปู่ศุขให้คนละผืน พร้อมกับทรงมพี ระดารสั วา่ (ปราโมทย์ ทศั นสุวรรณ. 2529 : 384) ผ้าประเจียดท่ีนามาแจกน้ี เป็น ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า มีความขลังและอานุภาพศักดิ์สิทธ์ิยิ่งนัก ผู้ใดบูชามีความ เคารพเชือ่ ถือ ตกน้าไมจ่ ม สตั วร์ ้ายอะไรก็ไม่กล้าทาร้าย ถ้าใครไม่เชื่อก็ขอให้ทดลองดูได้ กระโดดลง ไปในทะเลในดงฉลามนไ้ี ด้เลย ปรากฏวา่ ทหารเรอื ทกุ คนเงยี บกรบิ ไมม่ ีใครกลา้ ทดลอง เพราะรู้ ๆ กันอยู่ว่าทะเลแถวน้ีเป็น ดงฉลามขืนกระโดดลงไปมีหวังเป็นเหยือ่ ฉลามแน่ ๆ
152 เสด็จในกรมทรงพระสรวลด้วยความพอพระทัย ตรัสเรียก พลทหารยัง หาญทะเล ให้เป็น ผู้ทดลองความศักดิ์สิทธ์ิของผ้าประเจียดหลวงปู่ศุข ซึ่งนายยัง หาญทะเล น้ี เป็นคนตาบลหัวทะเล จังหวัดนครราชสีมา อยู่บนท่ีดอนแท้ ๆ แต่กลับมาเป็นทหารเรือรับใช้ใกล้ชิดเสด็จในกรมอย่างยิ่ง ช่ือสกลุ “หาญทะเล” ก็เปน็ นามสกุลท่เี สดจ็ ในกรมประทานให้ การท่นี ายยังจะมารับใช้ใกล้ชิดเสด็จในกรมก็มีเร่ืองเก่าเล่ากันมาว่า ครั้งหนึ่งมีการแข่งขันชก มวย เก็บเงินซ้ืออาวุธให้แก่กองเสือป่านั้น นายยัง เป็นนักมวยฝีมือดีจากโคราชมาต่อยในการกุศล คร้ังน้ดี ้วย ฝีมือของนายยังเป็นทปี่ ระทับใจของเสดจ็ ในกรมทท่ี อดพระเนตรอยดู่ ้วยเปน็ อย่างยิ่ง ถึงกับ ทรงนานายยังมาชุบเล้ียงท่ีวังนางเล้ิงและต่อมาก็โปรดฯ ให้เข้าเป็นทหารเรือตามเสด็จเวลาพระองค์ เสด็จออกทะเลทุกครงั้ (ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ. 2529 : 384) “อา้ ยยงั เอ็งกลา้ กระโดดลงไปในทะเลให้เจ้าพวกนี้ไดเ้ ห็นความศักด์สิ ทิ ธ์ิของผา้ ประเจียด อาจารย์ ของขา้ หรือไม่?” “กระหม่อมขอรับอาสา” “ดมี าก เอง็ โดดลงไปในทะเลเด๋ียวน้ี” นายยงั ผู้มคี วามจงรักภกั ดีชนิดตายแทนเสดจ็ ในกรมได้ ลุกข้ึนยืนแล้วพุ่งหลาวลงไปในทะเล ทันที ท่ามกลางความต่ืนเต้นของทหารเรือท้ังหมด ปรากฏว่าพอนายยังถึงน้าเขาก็จมหายลงไปแล้ว กลับโผล่ลอยขึ้นมาเหนือน้า ทั้ง ๆ ที่นายยังไม่ได้พยุงตัวหรือว่ายน้าแต่อย่างไร ยิ่งกว่าน้ันนายยัง ยัง สามารถยนื บนผิวน้าและเดนิ ไปมาได้ราวกับอยู่บนสนามหญา้ ทนั ใดนนั้ ฉลามใหญ่ตัวหนงึ่ ก็ว่ายร่ีเข้ามา หานายยัง และอีกหลาย ตัวก็ว่ายตามเข้ามาหมายจะกินนายยัง ทุกคนบนเรือใจหายใจคว่าแต่แล้วก็ เห็นวา่ ฉลามร้ายทงั้ ฝงู ไม่กลา้ เข้าใกล้ตัวนายยงั ได้แต่วา่ ยวนอยู่หา่ ง ๆ ครูใหญๆ่ กวา่ เสด็จในกรมจะทรงสงั่ ทหารให้โยนชูชีพลงไปให้นายยังเกาะไต่บันไดเชือก กลับ ขึน้ มา บนเรอื อกี ครัง้ นายยงั ตรงเขา้ ไปกราบแทบพระบาทเสด็จในกรมทป่ี ระทานผ้าประเจียดให้ “อา้ ยยัง เอง็ หาญทะเลสมนามสกุลทขี่ ้าต้ังใหจ้ รงิ ๆ” นายยัง หาญทะเล เป็นนักมวยจากเมืองโคราชที่มีความสามารถในการใช้เท้าในการเตะ ใน การถบี และศอกได้รบั ฉายาวา่ “เสือลายพาดกลอนจากท่ีราบสูง” มีความจงรักภักดี และมีความกล้าหาญ มปี ฏิภาณไหวพริบ จนเปน็ ท่ปี ระทบั ใจของเสด็จในกรมหลวงชมุ พรเขตรอุดมศักดิ์ เป็นอย่างย่งิ 5. นายทับ จาเกาะ
153 ภาพท่ี 95 นายทบั จาเกาะ นกั มวยไทยสายโคราช ทม่ี า : ปริทศั น์มวยไทย เป็นนักมวยที่อยู่หมู่บ้านเดียวกันกับแดง ไทยประเสริฐ ยัง หาญทะเล ตู้ ไทยประเสริฐ บัว วัดอ่ิม (นิลอาชา) ฯลฯ เร่ิมฝึกซ้อมมวยจากหมู่บ้านเกิดของตนเองร่วมกับนักมวยโคราชท่ีมี ช่ือเสียงคนอื่น ๆ ท่ีกล่าวมาแล้วได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักด์ิ ท่ีทรงอุปการะ และให้มาฝึกซ้อมท่ีวังเปรมประชากรในกรุงเทพ (ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมราชภัฎ นครราชสีมา. 2538 : 19 , 2542 : 291) กลา่ วว่า ไดร้ บั ฉายาว่า “เสือรา้ ยจากทร่ี าบสงู ” ศนู ยศ์ ิลปวัฒนธรรมราชภัฎนครราชสีมา (2538 : 291) กล่าวว่า มีเพลงเตะอันดุเดือดร้าย กาจมาก ช่ือเสียงโด่งดังหานักมวยรุ่นเดียวกันทาบได้ยากตลอดกรุงเทพฯ ในสมัยโน้นมีฉายาว่า เสือ ร้ายจาก ที่ราบสูง เข้ามาชกในกรุงเทพฯ ในราว พ.ศ. 2464 (พร้อม ๆ กับนายยัง หาญทะเล) ได้ อยูใ่ นความอปุ การะของกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ท่ีวังเปรมประชากร (ตรงข้ามทาเนียบรัฐบาล) และได้ศึกษา ช้ันเชิงการชกเพ่ิมเติมจากกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และ นาวาโท พระชลัมภ์พิสัย เสนยี ์ ร.น. จงึ ทาใหม้ ีความมัน่ ใจยงิ่ ขนึ้ นายทับ จาเกาะ เป็นนักมวยเตะและต่อยแบบวงกว้างแบบเหว่ียงควาย ได้ข้ึนชกคร้ังแรก ณ สนามมวยสวนกุหลาบ กับนายหัน ยังตุ๋น มวยจีนไหหลา และได้เตะนายหัน ยังตุ๋น เสียล้มลุก คลกุ คลานพ่ายแพไ้ ปอย่างหมดรปู ทาให้ช่ือเสียงโด่ดังเป็นที่คร่ันคร้ามมาก นายทับ จาเกาะ ข้ึนชกกับ นักมวยไทยอีกหลายคนไม่เคยแพ้ใครเลยแม้เสมอก็ไม่เคย การชกของนายทับ จาเกาะ จึงเป็นที่ กล่าวขวัญกันท่ัวไปถึงความดุเดือดคล่องแคล่ว และมาดในการจดมวยก็น่าเกรงขามย่ิงนักเคยชกหน้า พระท่ีน่ังในสมัยรัชกาลที่ 6 จนในหลวงรัชกาลท่ี 6 ไม่ทรงทอดพระเนตรการชกมวยอีก ต่อไป โดย ทรงตรัสวา่ “ทารณุ มาก” (ประสาน ด่านกลุ . 2515 : 53) สาเหตทุ ่ีพระองคไ์ มท่ รงทอดพระเนตรมวยอกี ต่อไปนัน้ ในสมัยนน้ั ทางราชการได้จัดงานฉลอง อะไรข้นึ อย่างหนึง่ ข้าพเจา้ กไ็ ม่ทราบ เพราะไม่ไดถ้ ามท่านผู้ใหญ่ท่ีทา่ นเลา่ ให้ฟัง ทางวงการมวยได้จัด เฟ้นหานักมวยท่ีมีฝีมือดี และมีชื่อเสียงดีเด่นเข้าทาการชกในรายการนี้ และได้ทูลเชิญพระองค์เสด็จ ทรงทอดพระเนตรมวยคู่ต่าง ๆ ได้ชกผ่านมาหลายคู่ จนมาถึงนักมวยคู่สาคัญ คือ นายทับ จาเกาะ ซ่ึงได้คู่กับนักมวยที่กาลังเป็นดาวรุ่งอยู่ในสมัยน้ัน ทราบจากผู้เล่าว่า กาลังเรียนหนังสืออยู่ในช้ันสูง
154 ข้าพเจ้าจาไม่ได้แน่ว่าชั้นอะไร เพราะผู้เล่าให้ฟังท่านก็ได้ล้มหายตายจากไปเสียแล้ว ปรากฏผลว่า การชกในครั้งสาคญั นั้น นายทับ จาเกาะ ได้ใช้ช้ันเชิงเพลงเตะเสียจนคู่ต่อสู้ทรงตัวไม่ได้ และเป็นการ เตะเล้ียงซ้าย เลยี้ งขวา มีการถีบตรง ถีบดว้ ยปลายนว้ิ เท้า (เรยี กว่าถีบจิก) ตามท่ีผู้เล่าท่านเล่าให้ฟังว่า ลูกตาแทบหลุดทะลักออกมา การเตะเลี้ยงน้ีก็คือไม่ให้คู่ต่อสู้ล้มลงได้ (ในสมัยน้ันกติกาต่าง ๆ ยังมี น้อยและไม่รัดกุมเหมือนปัจจุบันน้ี ไม่มีการจับแพ้หรือเทคนิคเกิลน็อคเอ๊าต์ นอกจากคู่ต่อสู้จะยอม แพ้เองหรือสลบไปคาเท้าเท่าน้ัน) พอหยุดจากการเตะนักมวยผู้นั้นก็ล้มลงท้ังยืน ในหลวงรัชกาลท่ี 6 ทรงรับสั่ง “ทารุณมาก” แล้วก็ทรงเสด็จกลับ ตั้งแต่วันน้ันมาพระองค์ก็ ไม่ทรงทอดพระเนตรการชก มวยอกี ตอ่ ไป (ประสาร ดา่ นกลุ . 2515 : 53–54) นายทบั จาเกาะ เขา้ มาชกในกรุงเทพฯ ในราว พ.ศ.2464 พร้อม ๆ กับนายยัง หาญทะเล ได้อยู่ในความอุปการะของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่วังเปรมประชากร ได้ศึกษาช้ันเชิงการชก เพิ่มเตมิ จากกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และนาวาโทพระชลมั ภ์พิสัยเสนยี ์ ร.น. เป็นนกั มวยเตะและ ต่อยแบบวงกว้างแบบเหว่ียงควาย ข้ึนชกมวยโดยไม่เคยแพ้ใครเลย จึงเป็นที่กล่าวขวัญกันท่ัวไป เคย ชกหนา้ พระทน่ี ่งั ในสมัยรัชกาลที่ 6 จนในหลวงรัชกาลที่ 6 ไมท่ รงทอดพระเนตรการชกมวยอีกตอ่ ไป 6. นายตู้ ไทยประเสริฐ เปน็ นอ้ งชายของแดง ไทยประเสรฐิ หรือหมนื่ ชงดั เชิงชก เรมิ่ หัดมวยตัง้ แต่อายุ 9–10 ปี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักด์ิ ให้เข้าไปฝึกมวยอยู่วังเป รม ประชากร รว่ มกับนกั มวยโคราชคนอ่ืน ๆ ในสมยั นัน้ มีช่ือเสยี งโด่งดังไปทว่ั เชน่ กัน ภาพท่ี 96 นายตู้ ประเสรฐิ แสดงทา่ โชว์กบั มวยจนี ซังไลไ้ ตฉ้ นิ ที่สโมสรเสอื ป่า สวนดุสติ ทม่ี า : ปริทัศน์มวยไทย สาเหตุของการมาเปน็ นกั มวย ตู้ ไทยประเสริฐ เกิดปีวอก เดือนพฤษภาคม (วันที่จาไม่ได้) พ.ศ.2439 ณ จังหวัด นครสวรรค์ แต่โดยท่ีบดิ าเป็นยกกระบัตรจึงต้องโยกย้ายตามบิดาไป และไปอยู่ท่ีจังหวัดนครราชสีมา ต้งั แต่อายุได้ 3 ขวบ เข้าโรงเรยี นทวี่ ัดกลาง มนี ิสยั ชอบหัดมวยมาต้งั แต่เดก็
155 สาเหตุของการหดั มวยก็เนอื่ งมาจากคนบ้านใกล้เคียง เวลาไปโรงเรียนตัวเล็กกว่าเขาจึงมักถูก รังแกและสู้เขาไม่ได้ ตู้ ไทยประเสริฐ บอกว่าผู้ที่ชอบข่มเหงตนชื่อทองคา ภายหลังต่อมาเป็น นายทหารและมีบรรดาศักด์ิ ผู้น้ัน คือ เรือเอกหลวงสาเริงณรงค์ สมัยน้ันมีบ้านอยู่ตรงข้ามกัน เม่ือ ถกู รังแกหนักข้นึ เรือ่ ยและกย็ ังสูไ้ มไ่ ดส้ ักที ตามวสิ ัยของนักสูใ้ นท่สี ดุ กฮ็ ึดสขู้ น้ึ มา ใช้ลานวัดบูรณ์ฯ เป็น เวทีและพระวัดนน้ั เป็นกรรมการ ตู้ ไทยประเสริฐ ตัวเล็กกว่าและไม่เคยสู้ได้เช่นน้ีก็จาต้องใช้หลักไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องด้วยกล ไมไ่ ดด้ ว้ ยมนต์กต็ อ้ งคาถา พอฝ่ายปรปักษ์เผลอ ตู้ ไทยประเสริฐ ก็ก้มลงโกยทรายเต็มกามือสาดหน้า ปรปักษ์ และขณะท่ีปรปักษ์ทรายเข้าตานั้นเอง ตู้ ไทยประเสริฐ ก็ตะลุยชกเป็นการใหญ่ ชกจน กรรมการคือพระต้องฉุดแขนรั้งตัวออกมาเป็นอันว่าเลิกรากันไป หลังจากวันน้ันเป็นต้นมา พี่เกรงว่า จะเกิดมวยอาฆาตและกลัวว่าหากเกิดข้ึนแล้ว ตู้ ไทยประเสริฐ จะมีภยันตราย จึงต้องไปรับไปส่ง เกือบเดือน ครั้นแล้วในท่ีสุดก็เห็นว่าถ้ายังขืนอยู่ท่ีเดิมก็จะต้องไปรับไปส่งอยู่อย่างนี้ ยังความลาบาก ใจให้เกิดข้ึนจึงตัดสินใจย้ายไปอยู่ท่ีใหม่ คือวัดทุ่งสว่าง พี่ชายของตู้ ผู้มีชื่อว่าแดง ซ่ึงต่อมาได้รับ พระราชทานบรรดาศักด์ิ เป็นหม่นื ชงดั เชิงชก จากพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยูห่ ัว ตอนท่ีเกิดเหตุชกต่อยกันข้ึนในวัดบูรณ์ฯ น้ัน พ่ีชายคนน้ีอายุในราว 17–18 ปี และเป็นมวย บา้ งแล้ว เนื่องจากรู้สกึ ตวั ตัง้ แตค่ ราวถูกรังแกข่มเหง ตู้ ไทยประเสริฐ จึงคิดว่าตนน่าจะเป็นนักมวย เพ่ือจะได้มีวิชาไว้ปอ้ งกันตัว ซึง่ พ่ีชายกเ็ หน็ ดว้ ย จงึ เรมิ่ หดั มวย ครูผู้ฝึกสอนเป็นคนแรกคือขุนสุระราญ ซ่ึงกไ็ ดร้ บั พระราชทานบรรดาศักด์ิจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นกัน นามเดิมของ ครูผู้นี้คือครู “หน่าย” ซ่ึงเคยเดินทางเข้ามาชกมวยที่กรุงเทพฯ แต่ชกครั้งเดียวแล้วก็กลับไปอยู่ นครราชสีมาตามเดิม เข้าใจวา่ ครูหนา่ ย คงจะได้ชกมวยคราวงานพระเมรุกรมขุนมรุพงศ์ฯ ซึ่งตั้งเวที ชกกันตรงมุมสนามหลวงตรงข้ามป้อมเผดจ็ ดสั กร ครอู กี ท่านหนึง่ ของตู้ ไทยประเสริฐ ได้แก่พระเหมสมาหาร ตู้ ไทยประเสริฐ ฝึกฝนวิชามวย อยู่ 7–8 เดือน เวลาน้ันอายุราว 9–10 ปี และยังไว้จุกอยู่ แต่ก็ขึ้นชกมวยแล้ว เพราะสมัยนั้นเวลามี งานตา่ ง ๆ มกั จะมีตอ่ ยมวยแทรกอย่ดู ว้ ย โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ งานเฉลมิ พระชนมพรรษา เปน็ ทหารแตรวง พอตู้ ไทยประเสริฐ อายุได้ 11 ปี ก็ตัดจุก หลังจากน้ันอีก 3 ปี เมื่ออายุ 14 ปี ก็สมัครเป็น ทหาร แตรวงท่ีนครราชสีมา ขณะท่ีเป็นทหารแตรวง ตู้ ไทยประเสริฐ ไม่ใคร่มีเวลาหัดมวยมากนัก เพราะต้องหัดแตรและหัดวิชาดนตรีต่างๆจนช่าชอง จนกระท่ังอายุได้ 18 ปี จึงได้เลื่อนยศเป็นสิบตรี ระหว่างนั้นเมื่อว่างจากงานราชการ ด้วยใจรักในวิชามวยก็ได้ฝึกซ้อมกับพระเหมสมาหาร ด้วยท่าน เห็นวา่ เป็นนักมวยฝีมอื คอ่ นขา้ งดี เจ้าคุณนครฯ เจ้าเมืองนครราชสีมาดึงตัวจากกรมทหารให้ลงมาชก มวยทีก่ รุงเทพฯ น่ันกค็ อื สมยั ท่ีมกี ารชกมวยเกบ็ เงินบารุงเสือป่าท่ีสนามมวยสวนกุหลาบ ซ่ึงก็ได้ข้ึนชก กบั มวยจนี ชอ่ื ไวไตฉ้ นิ ในวันเดียวกับทีน่ ายยัง หาญทะเล ขนึ้ ชกกบั จ๊ฉี า่ ง มาชกมวยทกี่ รงุ เทพและนักมวยแห่งวังเปรมประชากร นักมวยฝีมอื ดีจากเมืองนครราชสมี าทีเ่ ดนิ ทางมากรุงเทพฯ โดยท่ีเจ้าเมืองส่งมาพร้อมกันกับตู้ ไทยประเสริฐ กม็ ี ยงั หาญทะเล ทับ จาเกาะ และพูน ศักดา นักมวยอีกคนหน่ึงที่มาคราวเดียวกัน คอื ครา้ ม แต่ไมไ่ ดช้ ก เพราะคร้ามต้องการแตจ่ ะมาเท่ยี วเท่าน้ัน การมาครั้งนั้นได้มีโอกาสพักอยู่ท่ีวัง
156 เปรมประชากรของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระองค์ท่านมิได้ทรงเป็น หัวหน้าคณะ เพียงแต่ว่าทรงสนพระทัยในการชกมวย จึงทรงอนุญาตให้ใช้วังของพระองค์ท่านเป็นเสมือนสถานที่ เก็บตัวนักมวย และพระองค์ก็ทรงเอาพระทัยใส่ในการฝึกซ้อมและการดูแลนักมวยเป็นอย่างย่ิง นักมวยแต่ละคนได้รับการอยู่ดีกินดีทั้งๆที่นักมวยเหล่านั้นไม่คุ้นและไม่ชอบอาหารแบบกรุงเทพฯนัก แต่ชอบอาหารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่า สมัยน้ันนักมวยได้รับเบ้ียเล้ียงวันละ 1 บาท ร้สู กึ วา่ มากพอใช้ นักมวยที่มาจากต่างจังหวัดได้มาพักอยู่ในวังเปรมประชากรมิได้มีแต่นักมวยนครราชสีมา จงั หวดั เดียว จงั หวดั อืน่ ๆ ก็มี ต่างกพ็ ักอยู่ในบริเวณเดียวกันแต่แยกกันอยู่ ท่ีต้องข้ึนชกกันก็มี และ ถึงแมจ้ ะพักอยู่ในบรเิ วณเดียวกัน แต่ก็ชกกนั เอาจรงิ ต่างม่งุ หน้าบากบ่ันท่ีจะพิชิตรางวัลเป็นรูปหัวเสือ ทาด้วยเงินและมีสายสร้อยเงิน ไม่มีใครยอมใครง่าย ๆ สมัยนั้น พ.ศ. 2463 – 2464 ไม่มีการช่ัง น้าหนัก ไมม่ กี ารเปรียบรุ่นตามพิกัดนา้ หนกั อย่างทกุ วันน้ี ถึงแมฝ้ ่ายหนึ่งตวั เล็ก เมื่อพบกับตัวโตกว่าก็ ยอมเปรยี บดว้ ย ไมเ่ ก่ยี งนา้ หนัก สาหรับรายจแี๊ ละไงไตฉ้ นิ นั้น กิตตศิ ักด์ิโดง่ ดังมากว่าเป็นนักมวยจีนที่มีฤทธิ์เดชเอาการอยู่ จน คนที่ได้ยินพากันคร้ามเกรง จึงไม่มีใครสู้ แต่เม่ือเจ้าคุณนนทิเสนสุเรนทรภักดี ถามยัง หาญทะเล ว่า จะชกกบั จ๊ไี งไหม ยัง หาญทะเล ก็ยอมชก ดังนั้นเม่ือเจ้าคุณนนทิเสนฯ ถามตู้ ไทยประเสริฐ ว่าจะ ชกกับไงไต้ฉินไหม ตู้ ไทยประเสริฐ ยอมชกเช่นกัน วันสาคัญในประวัติศาสตร์มวยไทยสมัยสนาม สวนกหุ ลาบจึงไดอ้ บุ ัตขิ ึน้ ซ่ึงในการชกวันนั้น ตู้ ไทยประเสริฐ ได้น่ังดู ยัง หาญทะเล ชกกับจ๊ีฉ่างอยู่ อย่างใกล้ชิดและด้วยความสนใจยิ่ง เพราะตนจะต้องชกกับไงไต้ฉินเป็นคู่ท่ี 2 และ ยัง หาญทะเล ชนะจ๊ีฉ่างในการชกยกเดียว จ๊ีฉ่างแพ้อย่างยับเยินถึงกับสารภาพว่าจะต่อยยัง หาญทะเล ตรงไหน เพราะเห็นมตี ัง้ 3 หน้า 4 หนา้ ตู้ ไทยประเสริฐ ข้นึ เวที ในวันน้ันไงไต้ฉิน นุ่งกางเกงแดง ตู้ ไทยประเสริฐ นุ่งกางเกงซ่ึงตัดด้วยผ้าม่วงสีน้าเงินหรือสี กรมท่า สวมมงคลโรยกากเพชรสวยงามมาก เกี่ยวกับการสวมมงคลน้ี ตู้ ไทยประเสริฐ บอกว่าสวม อยู่ตลอดเวลา ท่ีชกไม่ใช่มีผู้มาเสกคาถาแล้วถอดออกเก็บอย่างปัจจุบันน้ี เพราะมงคลนั้นนักมวยถือ เป็นเครื่องรางอย่างหน่ึง บางคร้ังมีมงคลสวมถึง 2 อันก็ยังมี ถ้ามงคลของฝ่ายหน่ึงฝ่ายใดหลุดหรือ หล่นทั้งสองฝ่ายจะหยุดชกเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่มงคลหล่นเก็บขึ้นมาใส่ใหม่ไม่มีการกระหน่าซ้าเติมกัน ในขณะนั้นเปน็ อันขาด เพราะมวยไทยเปน็ ศิลปะป้องกันตัวประจาชาติ ไม่ใช่ หัดไว้เพ่ือรุกรานและทา ใครเมื่อเพล่ียงพล้า ก่อนชกมีปี่สก๊อตบรรเลงวน 3 รอบ แล้วจึงเปิดการแข่งขัน เง่ือนไขการชกในสมัยน้ันมีที่ แปลกอยู่ข้อหนึ่งคือ ถ้าหากชกให้คู่ต่อสู้ถึงแตกได้ นักมวยจะได้แถม 2 บาท สมัยนั้นจะเป็นด้วยมี เคร่ืองรางอยู่ยงคงกระพันชาตรีที่ขลังและศักด์ิสิทธ์ิมากหรืออย่างไรไม่ทราบ จึงแตกยากเหลือเกิน การแต่งตัวก่อนชก นักมวยโดยมากก็ระลึกถึงครูบาอาจารย์ขอให้ปลอดภัยในการชก บางรายก็ลง เล็บเรียกว่าธนูมือ ขออานุภาพให้ชกถูกท่ีไหนเป็นแตกที่นั่น แต่ตู้ ไทยประเสริฐ บอกว่าตนเองไม่ นิยม เพราะมีผู้กล่าวกันว่าแก่คาถาอาคมมักร้อนวิชา ตอนแรกก่อนข้ึนชกก็รู้สึกคร่ันคร้ามเพราะ กิตติศัพท์ท่ีเล่าลือกันหนาหูว่านักมวยจีนฉมังนัก มีกาลังมหาศาล คงเป็นอย่างท่ีเรียกกันว่ากาลัง ภายใน เพราะฉะนนั้ ในยกแรกท่ีประหมัดกันจึงพยายามลองเชิงก่อนเพื่อดูทีท่าว่ามวยจีนจะมาไม้ไหน
157 แตพ่ อได้ชอ่ งเตะไดก้ เ็ ตะเลย เมื่อก่อนจะข้ึนชกเคยถามยงั หาญทะเล ว่าจะเอายังไงดี ยัง หาญทะเล ว่าจะไปกลัวมันทาไมเตะมันเข้าไปเถอะ ส่วนไงไต้ฉินหลอกให้เตะก็ถูกจับขาได้ต้องใช้วิธีกระชากขา แล้วทิง้ ตวั เอาหน้าแข้งฟาดไงไตฉ้ นิ จนต้องปลอ่ ย ยกท่ี 2 ตู้ ไทยประเสริฐ รูเ้ ชิงแลว้ ว่าปฏิปักษ์ของตนชอบจับขา จึงคิดใช้ลูกไม้ใหม่ ทาท่าจะ ชกแต่ไม่ชก พอไงไต้ฉินปัดก็กลับยกเท้า และพอไงไต้ฉินจะจับเท้าก็หดขากลับเตะโครม เป็นเหตุให้ ไงไตฉ้ นิ ลงไปนอน วนั นัน้ ทั้ง จ๊ฉี ่างและไงไตฉ้ นิ แพท้ ัง้ สองคน ทัศนะตา่ ง ๆ ของตู้ ไทยประเสริฐ ในเร่ืองมวย เกี่ยวแก่การแยกมวย สมัยก่อนเวลานักมวยเข้ากอดต่างก็แยกกันออกเองเมื่อทากันไม่ได้ เดี๋ยวน้ีเรามีกรรมการแยกทาแบบฝร่ังท่ีจริงการกอดกันแล้วให้แยกออกนั้นนักมวยชกกันได้จะแจ้งดี แตเ่ มอื่ มีกรรมการผู้ห้ามมวยให้แยกนน้ั ถา้ หากวา่ ทาไมถ่ กู วิธีอาจทาให้ฝ่ายใดฝา่ ยหนง่ึ ไดเ้ ปรียบ เกี่ยวแก่การเอาผง (ขี้ตีน) โรยหัว การไหว้เชือก (ท่ีเขาจับข้ามไปมา) ตู้ ไทยประเสริฐ ไม่ เคยทา เวลาก่อนข้ึนชกตอ้ งแต่งตัวไปให้เสรจ็ อยแู่ ลว้ ประกอบไปด้วยส่งิ ท่เี ป็นสิริมงคลต่าง ๆ หลังจาก น้ันก็มีการบริกรรมแล้วจะไปเอาผงโรยหัวหรือไหว้เชือกทาไม แม้ไปคานับคนท่ีจะชกด้วยก็ไม่ควร กระทาตอ่ เมื่อเลิกชกกนั แล้วนน่ั แหละจึงจะควรเพื่ออโหสิกรรมไม่ถอื โกรธกนั อกี ตอ่ ไป เก่ียวแก่การรามวยซึ่งมีการร่ายราไปทั้ง 4 ทิศ ตู้ ไทยประเสริฐ เล่าว่า ครูส่ังสอนว่าให้ ตัด เสีย ร่ายราเพียง 3 ทิศเท่าน้ัน เรียกว่าขุม เหตุผลก็คือไม่หันหลังให้คู่ต่อสู้ซ่ึงถือว่าเป็นนิมิตรไม่ดี คลา้ ยกบั วา่ จะยอมแพเ้ สียตงั้ แตแ่ รกกระนนั้ การหันหลงั ใหป้ รปักษน์ ั้นเขาอาจวิ่งมาชกได้โดยที่เราป้อง ปัดไม่ทัน การกราบใด ๆ ราวกับกราบพระ บางคนก็กราบกรรมการ เห็นว่าไม่จาเป็น ถ้าเราไม่ดีจริง เขาคงไม่ตดั สนิ ใหเ้ ราชนะ การเข้าไปรับเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพล่ียงพล้าจะล้ม สมัยก่อนไม่เคยมีถ้ากรรมการช่วยเหลือ ฝ่ายหนึ่งทันแต่ช่วยอีกฝ่ายหนึ่งไม่ทันฝ่ายหลังก็เสียเปรียบ การล้มหรือไม่ล้มเป็นความสามารถของ นักมวยที่รักษาตัวเองได้ เม่ือขึ้นชกบนเวทีถ้ารักษาตัวเองไม่ได้ก็ควรพ่ายแพ้ไป และต้องไม่ลืมว่า นักมวยสมัยโบราณเขาหัดวิธีล้มเหมือนกันซ่ึงครูผู้สอนมีหวายสองมือยาวประมาณ 1 เมตร ผู้ฝึก จะต้องหัดล้มไม่ให้หัวฟาด เม่ือผู้ฝึกสอนเฆ่ียนด้วยหวายตั้งแต่เอวลงมา ผู้ฝึกจาต้องกล้ิงตัวไม่ให้ถูก เฆี่ยนได้ การจับเชือกแล้วข้ึนเข่า สมัยน้ีกรรมการห้าม ความจริงถ้าฝ่ายหนึ่งมีชั้นเชิงดีจริง ฝ่ายจับ เชือกนัน่ แหละจะเป็นฝ่ายปราชัย สมัยก่อนครูบาอาจารย์จึงห้ามนักห้ามหนาไม่ให้จับเชือก เพราะจับ เชือกย่อมหมายถงึ ว่ามือท่จี บั เชอื กไมม่ โี อกาสไดใ้ ชเ้ ลย เก่ยี วแก่เครือ่ งประกอบในการชกมวยมีมงคลประจาตวั เครอื่ งรางไม่ไดเ้ อาขึ้นไป บนเวทีด้วย เชอื กทีพ่ นั หมดั หลงั จากการชกแลว้ ก็เกบ็ เอาไวอ้ ยา่ งดี การอมพระในเวลาชกต่อย สมัยก่อนก็เคยมีแต่ รู้สกึ วา่ จะอันตรายมากเพราะอาจหลดุ เขา้ คอได้ง่าย ๆ และบางทีก็กรามหัก กรามไม่หักพระก็หักแล้ว พระกระเด็นเข้าคอ เวลาน้ีจึงมักเปล่ียนเป็นรัดเอาไว้ท่ีแขนซึ่งในสมัยก่อนโดยเฉพาะทางใต้ก็มีกาไร พริ อด ผ้ายันต์รดั แขน ชีวติ ในยุคหลัง
158 ตู้ ไทยประเสริฐ ยังชกมวยอยู่เรื่อย แม้ในปี พ.ศ. 2464 มาเลิกชกในปี พ.ศ.2468 เพราะ นัยนต์ าเจบ็ ต้องรกั ษาตาท่โี รงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังจากชกกับไงไต้ฉินท่ีเวทีสวนกุหลาบแล้วเคย ชกท่ีกรุงเทพฯ บ่อยคร้ัง เคยไปสุราษฏร์ธานีติดตามเสด็จในกรมฯ เพราะอยู่ในวังหลายปี ส่วนยัง หาญทะเล และทบั จาเกาะ น้ันกลับนครราชสีมากอ่ น ออกจากทหาร พ.ศ. 2491 มาเป็นครูประชาบาลอยู่ 16 ปี ได้ตั้งค่ายฝึกสอนมวยไทย สอนดนตรอี ันเปน็ แนวที่ถนดั อยูท่ อ่ี าเภอสนั ทราย จงั หวดั เชยี งใหม่ จนกระท่ังครบเกษยี ณอายุ ตู้ ไทยประเสริฐ เป็นคนตัวเล็กหัดมวยเพราะมักถูกรังแกและสู้เขาไม่ได้ครูคนแรก คือ ขุน สุระราญ ซ่ึงได้รับพระราชทานบรรดาศักด์ิจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครูมวยอีก ทา่ นหน่ึงคือ พระเหมสมาหาร เมอื่ อายุ 14 ปี ก็สมัครเป็นทหารแตรวงท่ีนครราชสีมา อายุ 18 ปี ได้ เลื่อนยศเป็นสิบตรี ระหว่างนั้นเมื่อว่างจากงานราชการ ได้ฝึกซ้อมมวยกับพระเหมสมาหาร เลิกชก มวยในปี พ.ศ. 2468 7. ครูบัว วัดอิ่ม (รอ้ ยโทบัว นลิ อาชา) ภาพที่ 97 ครูบวั วดั อิ่ม หรือ ร้อยโทบัว นลิ อาชา ที่มา : มวยไทยพาหยุ ุทธ์
159 เป็นนกั มวยท่ีมีความเก่งกลา้ สามารถ เป็นนกั มวยรนุ่ น้องของหมื่นชงดั เชงิ ชก ทับ จาเกาะ ยัง หาญทะเล ตู้ ไทยประเสริฐ ฯลฯ ในสมัยที่เป็นทหารมีความสามารถ ในการควบคุมและขี่ม้า ชกกับนักมวยท่ีมีช่ือเสียงโด่งดังท้ังจากภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ ด้วยความสามารถจึงได้รับ ราชการเปน็ ครูฝกึ มวยไทย ณ โรงเรยี นนายร้อยพระจุลจอมเกลา้ จนเกษียณอายุราชการ ครูบัว วัดอ่ิม หรือ ร้อยโทบัว นิลอาชา ช่ือเดิมว่า “เหียบ” เป็นชาวเมืองโคราช เมืองที่มี มวยแม่เหล็ก แรงสูงทุกยุคทุกสมัย เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2440 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่า เดือน 6 ปรี ะกา บา้ นเดิมอยใู่ กลก้ ับศาลเจา้ หลักเมอื งดา้ นทศิ ตะวนั ออกเฉียงเหนือของอาเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ได้รับการศึกษาจบชั้นปีที่ 3 ของโรงเรียนตัวอย่างวัดสระกลาง ตาบลในเมือง บดิ าชือ่ อิม่ มารดาชื่อเขียว มอี าชพี ค้าขาย ขณะท่ีอยใู่ นเมอื ง มบี ุตรด้วยกัน 5 คน (ครูบัวเป็นบุตรคน ท่ี 5) อาชีพคา้ ขายพอมรี ายได้เล้ียงดูครอบครัวให้ได้รับความสุขพอสมควร แต่ต่อมาแม่เขียวก็มีบุตร ก็มีบุตรเพิ่มขึ้นอีก 4 คน รวมเป็น 9 คน ชาย 7 หญิง 2 เมื่อมีบุตรมากขึ้นการทามาหากินก็เริ่ม ฝืดเคืองลง ประกอบกับพลเมืองชาวโคราชเริ่มทวีความแออัดมากยิ่งข้ึน จึงได้พากันอพยพครอบครัว ออกไปตั้งถิ่นฐานเสียใหม่ ณ บ้านดอนขวาง ซึ่งหมู่บ้านแห่งน้ีอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 100 เส้น จับจองที่ทาไร่ทานา และหาของป่าเข้ามาขายในเมืองเพ่ือยังชีพพวกลูก ๆ 5 คน แรกเริ่มโตข้ึนก็เป็นหัวเร่ียวหัวแรงช่วยงานทามาหากิน บ้างก็ ลงนา บ้างก็ช่วยเล้ียงหมู เลี้ยงไก่ พอมี กินมใี ชไ้ ม่เดอื ดรอ้ นและเมือ่ ว่างจากงานกห็ าเคร่ืองมือดักปลาซึ่งมีชุกชุมแถบทะเลซึ่งอยู่รอบนอกเมือง ด้านทิศเหนือของเมืองโคราช (ทะเลในท่ีนี้คือหนองน้าขนาดใหญ่ มีน้าขังอยู่ตลอดปี ปัจจุบันน้า เหอื ดแหง้ หมดแล้ว) ต่อมาลูกชายคนที่หน่ึงและคนที่สองได้ถึงแก่กรรมด้วยพิษไข้ป่า ภาระเป็นหัวแรงช่วยพ่อ ช่วยแม่ทามาหากินจึงเป็นหน้าท่ีของบุตรคนถัดมาคือ อ่อง เอ่ียม และเหียบ สาหรับเหียบน้ันอายุ ยงั นอ้ ย แต่เป็นคนที่ ใจคอกล้าหาญและไม่ย่อท้อต่อความยากลาบาก ได้ออกช่วยพ่อแม่ด้วยการหา ของป่าตามกาลงั ทจี่ ะหาได้ และเม่ือว่างก็ออกทะเลหาปลามาขายหรือแลกเปล่ียนของใช้ท่ีจาเป็น ใน เมืองอยูเ่ นอื ง ๆ เม่อื เหียบอายุได้ 14 ปี กเ็ ร่มิ สนใจการมวย มีนายเอ่ียมกับนายอ่องพี่ชายร่วมหัดกันท่ีหนอง สองหอ้ ง และท่หี ัวทะเลซง่ึ เปน็ โรงแพะ เม่ือถงึ เวลาซอ้ มจะนัดกันมาประมาณบ่าย 3 โมง มีพ่ี ๆ และ เพื่อน ๆ รุ่นราวคราวเดียวกันท้ังในหมู่บ้านและรอบนอก การฝึกมวยสมัยน้ันไม่มีนวมต้องใช้ ผา้ ขาวม้าพนั มือแทนนวมทาการฝกึ ซ้อมข้ึนชกกันเป็นประจาในหมู่บ้านดอนขวางน้ันเองมีผู้เฒ่าซ่ึงเก่ง ในการมวยมาก ช่ือกับ ครูนิต – ครูทน – ครูรุ่ง โดยเฉพาะผู้เฒ่า “ทน” มีลูกศิษย์ช่ือแดง รุ่งนิล ชกมวยมชี อ่ื เสียงมากในขณะนน้ั โดยเฉพาะแดง ซ่ึงมีศกั ดเ์ิ ป็นหลานของพระเหมสมาหาร (เจ้าเมือง โคราช) ซึ่งต่อมาได้เข้ารับราชการกับพระเหมสมาหาร และได้ชกถวายตัวหน้าพระท่ีน่ังกับ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว ได้รบั พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นท่ีหม่ืนชงัดเชิงชก (อายุ แก่กว่าเหียบประมาณ 10 ปี) จึงเป็นเหตุให้เหียบมีความฝังใจใฝ่ในการมวยต้ังแต่บัดนั้น การมวย ในสมัยนั้นรุ่งเรืองถึงขีดแถว ๆ หมู่บ้านรอบนอก ๆ เช่น บ้านหัวทะเล บ้านโนนฝร่ัง บ้านใหม่ บ้านหัวครูช้างและบ้านตะคลอง ฯลฯ ซึ่งต่างก็มีครูมวย และลูกบ้านแต่ละหมู่บ้านก็จะมีการฝึกมวย ไทยอยู่ทั่วไปมีมวยดัง ๆ ในสมัยนั้นเช่น ยัง หาญทะเล ทับ จาเกาะ และแสง จาเกาะ ซึ่งเข้ามามี ช่ือเสียงเลื่องลือ ในกรุงเทพฯ จึงเป็นเสมือนมีพลังให้มีการแข่งขันกันไปในตัว ต่างคนต่างก็ฝึกมวย
160 ตามครูมวยที่มีอยู่ในหมู่บ้านของตน ๆ ส่วนเหียบก็เริ่มเข้าฝึกฝนวิชามวยข้ันพ้ืนฐานจากผู้เฒ่าทน ท่านมีวิธีการสอนให้เหียบฝึกมวยโดยไม่รู้จักเบื่อ และประกอบกับมีใจชอบ จึงได้เรียนรู้กลเม็ดเด็ด พรายของผู้เฒ่าทนได้จนครบ แต่ละท่าเจาะลึกเข้าไป ถ้าพื้นฐานไม่ดีพอย่อมไม่สามารถฝึกภายใน ระยะเวลาอันสั้นได้ เหียบและรุ่นพี่ ๆ ได้อาศัยการฝึกซ้อมตอนก่อนอาบน้า ต่างนาผ้าขาวม้าพันมือ ฝึกซ้อมการตอบแทนและตอบรับเพื่อให้เกิดความเคยชินตามท่วงท่าท่ีเคย ร่าเรียนมา ผลัดเปลี่ยน กันชงิ ไหว ชิงพริบ แมไ่ มต้ ่าง ๆ ทผ่ี ้เู ฒา่ ทนได้พร่าสอนให้ ทาให้มีความก้าวหน้าในการมวยมากข้ึน แต่ การฝึกฝนยังไม่สมบูรณ์ด้วยยังขาดประสบการณ์ ผู้เฒ่าทนจึงนาเหียบขึ้นเปรียบกับนักมวยจาก หมู่บ้านอืน่ ๆ หลายครง้ั วิชามวยไทยท่เี รยี นมาจากผเู้ ฒ่าทนส่งผลให้มีชัยชนะทกุ ครัง้ ไมเ่ คยแพ้เลย เหียบพออายุได้ 18 ปี ก็ได้หมายเกณฑ์เข้ารับการเป็นทหารอยู่กองพันทหารม้า จังหวัด นครราชสีมา ในสมัย พันเอกหม่อนเจ้าทศศิริวงษ์ เป็นผู้บัญชาการ หลวงเร้าเร่งพลเป็นผู้บังคับการ และ ร้อยเอกเอือ้ ง รตั นโกเสส เป็นผบู้ ังคบั กอง เหียบนั้นเปน็ ผทู้ าอะไรทาจริง แรกเร่ิมเป็นทหารม้า ต้องเป็นผู้ดูแลม้าต้ังแต่อาบน้า ทาความสะอาดให้ม้า ให้อาหารม้า ตีเกือกม้า ตัดผมม้า ดูแลม้าอยู่ ระยะหน่ึงจนมีความรู้และความชานาญดีแล้ว ผู้บังคับกองได้ให้เรียนเป็นผู้ฝึกม้าให้ปฏิบัติตามคาสั่ง เชน่ จัดแถว สวนสนาม หดั ขบั ขีข่ า้ มเครอ่ื งกีดขวาง บางคร้ังใชค้ นนอนเรียงกันหกหรือเจ็ดคนแล้วเอา ม้ากระโดดข้าม ต่อตัวบนหลังม้า ข่ีม้าลอดบ่วงไฟ ขึ้นลงและลอดท้องม้าในขณะม้าวิ่ง และขับช่ีโลด โผนอย่างอื่นอีกมากจนเป็นที่พอพระทัยของ พันเอกหม่อมเจ้าทศศิริวงษ์ คร้ันครบกาหนด 2 ปีแล้ว ได้ยศสิบตรี ท่านจะให้อยู่เป็นครูฝึกม้าต่อไปอีก แต่เหียบไม่ยอมและได้ออกจากราชการมาเมื่อครบ เวลาเกณฑ์แล้ว อาศัยอยู่ที่บ้านดอนขวางระยะหนึ่ง เห็นว่าถ้ายังขืนยังคงอยู่บ้านป่าเช่นนี้แล้วความ เจริญก้าวหน้าย่อมไม่มีเป็นแน่ ประกอบกับมีเพ่ือน ๆ และรุ่นพี่ ๆ ได้เดินทางเข้ามาใช้ชีวิตใน กรุงเทพฯ กันมาก จึงได้ตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยทางรถไฟเพราะไม่มีทางอื่นท่ีจะมาได้ ใน สมัยน้ันนั่งรถไฟกว่าจะถึงกรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง ด้วยทางรถไฟในช่วงปาก ช่องถงึ จังหวัดสระบรุ ี ตอ้ งขนึ้ เขาและข้ามเหวเยอะ ตลอดทั้งทางวิ่งก็ลาดชันต้องวิ่งช้า ๆ มาโดยตลอด และเคยมีพุ่งตกเหวทั้งขบวน คนและ สัตว์ท่ีบรรทุกมาถูกฝังจมอยู่ก้นเหวกันเยอะ เคยมีเร่ืองเล่ากัน มาว่า เดิมในหลวงรัชกาลที่ 5 ท่านได้จ้างฝร่ังมาสารวจและสร้างทางรถไฟสายนี้ พอมาถึงผาแห่ง หน่งึ ปรากฏว่าคนงานเมอ่ื เอาเคร่อื งมือขุดเจาะไปแล้วชักตายทุกคนจนฝร่ังที่คุมงานกลัว ความน้ีทราบ ถึงพระองค์ท่าน และได้ทรงเสด็จประพาสเพื่อตรวจงาน และนาตราแผ่นดินปิดเข้าไว้ในสถานท่ี อาถรรพ์แห่งนั้น จึงได้สร้างต่อมาได้ และในขณะที่ขบวนเสด็จของพระองค์ท่านมาถึงเขาแห่งหนึ่ง กป็ รากฏว่ามี หินภูเขาก้อนใหญม่ หมึ ากลิ้งหลน่ ลงมาจากเขา และกอ่ นทจี่ ะมาทับพระองค์ท่านและข้า ราชบริพารท่ตี ามเสดจ็ กห็ ยดุ ชะโงกขวางอยู่เช่นนัน้ ทาทา่ จะตกมติ กแหล่ จนตาบลนั้นต่อมาเรียกกันว่า ตาบลเขาชะโงก และผาท่ีเป็นตานานแห่งน้ันเรียกกันว่าผาเสด็จ มีพระนามาภิไธยกากับอยู่ตราบ เทา่ ทกุ วนั นี้ เม่ือเหียบได้เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว ได้ไปขอพักอาศัยอยู่ที่บ้านคุณพะสุนทรเทวภักดี ถนนข้าวสาร (ศักดิ์เป็นพี่เขย) อยู่มาจนกระทั่งคุ้นเคยไม่มีงานจะทาจึงได้คิดอ่านเล่นมวยโดยการทา กระสอบทรายและเคร่อื งมือฝกึ ซอ้ มตามแต่จะหาได้และฝึกฝนด้วยตนเอง ซุ่มซ้อมจนแคล่วคล่อง ไม่มี บุคคลภายนอกล่วงรู้ มีเด็กหนุ่ม ๆ ภายในบ้านหลายคนเห็นเข้าก็เข้ามาขอฝึกบ้าง พอลงมือซ้อมทน เจ็บไมไ่ หวกพ็ ากันหนหี ายไปกันหมด ต่อมา มล. พุฒิสนิทวงศ์ได้มาเท่ียวท่ีบ้านคุณพระสุนทรเทวภักดี
161 และได้เห็นเข้า จึงชักชวนให้ไปสมัครเป็นทหารกับท่าน พันเอกหม่อมเจ้าจุลดิษฐ ดิษฐ์กุล ซึ่งเป็นผู้ บังคบั การทหารมา้ รักษาพระองคอ์ ย่ใู นวงั หลวง “เสอื ปืนใหญ่” (ประตูวิเศษไชยศรีในขณะน้ัน) ท่านได้ ทราบว่าเคยรับราชการเป็นครูผู้ฝึกม้า กับ พันเอกหม่อมเจ้าทศศิริวงษ์ มาก่อน ก็ยินดีรับเข้าไว้เป็น นายพวก รับเงินเดือนเพียงเดือนละ 8 บาท เบี้ยเล้ียงวันละ 5 สตางค์เท่านั้น เหียบตั้งอกต้องใจรับ ราชการฝึกทหารม้ารักษาวังจนสามารถข่ีม้าโลดโผนแสดงในงานสาบานธงถวายหลายคร้ังเป็นที่โ ปรด ปรานมาก ในระหว่างนั้นทหารม้า รักษาวังได้รับม้าเทศตัวกลั่นซ่ึงมีสีดาปลอด เปรียวมาก เข้า ประจาการ หาผู้ท่ีจะจับและบังคับให้เชื่องไม่มี พอเข้าใกล้ก็ทั้งกัดทั้งพยศเตะถีบได้รับบาดเจ็บหลาย นาย เหียบ จึงได้เข้าบังคับและฝึกหัดจนเชื่องและเช่ือฟังผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดี ต่อมาความทราบถึง พนั เอกหมอ่ มเจา้ จลุ ดิษฐ ดษิ ฐกุล ผู้บังคับการ ท่านจึงเรียกเหียบเข้าพบและต้ังให้เป็นนายหมู่โท เสือ ปืนใหญ่ แต่งตัวมีสายสะพายประดับสองขีดที่แขนเสื้อ โก้ข้ึนหน่อย พร้อมท้ังกล่าวชมเชยและรับสั่ง ว่า ชื่อเหยี บนัน้ เรียกยาก ให้เปล่ียนชื่อเสียใหม่ว่า “บัว” และประทานนามสกุลให้ใหม่ว่า “นิลอาชา” แตน่ ้นั มา เพ่ือนร่วมงานรู้ว่าครูบัววัดอ่ิม เป็นนักมวยจึงชวนไปเปรียบหาคู่ชกท่ีเวทีมวยสนามเสือป่า สวนมสิ กวนั เจ้าคณุ นนทเิ สน เป็นนายสนาม ไปคร้ังแรกแทนท่จี ะได้ชกมวยแตก่ ลบั เปน็ คนขายต๋ัวหน้า สนามมวยไปก่อน เมอ่ื เห็นคนอน่ื ชกจึงพูดกระเซ้าเย้าแหย่กัน จนได้คู่ชกเป็นตารวจพระราชวัง ครูบัว ใช้เชิงตลบนกบนเวหาชนะน็อคคู่ต่อสู้เพียงแค่ยก 2 จากนั้นครูบัวไปชนะน็อคลูกศิษย์ของนายยัง หาญทะเล มวยดังพระนครเข้าให้ ทาให้ครูบัวดังขึ้นเป็นหลายเท่า มีคนติดต่อไปชกมวยบ่อย ๆ เพราะมหี ลายสนาม ชกทเี่ วทวี งั สราญรมย์ เวทีสวนสนกุ ต่อมา บัว ได้เข้าไปขออนุญาต พันเอกหม่อมเจ้าจุลดิษฐ ดิษฐ์กุล เพื่อขอขึ้นชกมวย ด้วย เงินเดอื นท่ีไดร้ บั จากหลวงนั้นไม่พอใช้และจนเต็มที ทา่ นไดร้ ับสง่ั ว่า “นีต่ าบัว แกฝึกม้าเกง่ แล้ว ยังต่อย มวยกับเขาเป็นด้วยหรือ” บัว ได้ตอบท่านไปว่า “จะขอลองดูสักที” เม่ือท่านได้ประทานอนุญาตแล้ว จึงได้เข้าไปเปรียบมวยท่ีเวทีสนามเสือป่าของเจ้าคุณนนทิเสน(เรียกกันว่าสวนมิสกวันในเวลาต่อมา) ต่อยชนะน็อคทั้งสองครั้งเพียงแค่ยกสอง ได้รับเงินรางวัลครั้งละ 50 บาท เท่าน้ันก็ดีใจมากเพราะได้ แก้จนไปได้นาน ต่อมาได้เข้าไปเปรียบมวยในงานปีสวนเจ้าเชตุท่ีอยู่ตรงข้ามกับวัดโพธิ์ข้างวังหลัง (ต่อยคาดเชือก) โดยมีคุณพระชลัมฯ เป็นนายสนาม โดยได้เข้าไปเปรียบมวยกับนายอัต คงเกตุ นักมวยอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นมวยมีช่ือในสมัยนั้น ในระหว่างน้ัน พันเอกหม่อมเจ้าจุลดิษฐ ดิษฐ์กุล ทรง ทราบ จึงฉวยโอกาสไปทอดพระเนตรด้วย บัว เอาชนะน็อคนายอัตได้ในยกที่ 3 จึงเป็นที่โปรดปราน ของ พันเอกหม่อมเจ้าจุลดิษฐ “บัว” ขึ้นชกที่ใดเมื่อท่านทรงว่างจากภารกิจมักจะเสด็จไป ทอดพระเนตรอยู่เสมอ ๆ ซึ่งในกาลต่อมาได้ขึ้นชกกับนายโพล้ง เล้ียงประเสริฐ นักมวยอุตรดิตถ์ เชน่ กนั ในแบบคาดเชือกทเี่ วทมี วยท่าช้าง แต่ปรากฏว่าหัวแม่มือของบัว ซ้นบวม จึงได้ขอจับมือยอม แพ้ในยกท่ี 3 เม่ือข้ึนต่อยกับนายโพล้งฯ ไม่กี่วันก็ขึ้นต่อยกับนายเต้ีย ส้มกูด บัวได้ใช้อาวุธเพลง เตะ ๆ นายเต้ียน่ังงงยอมแพ้ไม่ลุกข้ึนสู้ และต่อมา บัว ได้ขึ้นชกกับนายซิว อกเพ็ชร มวยเอกจาก ลพบุรี ท่สี นามหลกั เมอื ง ปรากฏว่านายซวิ ฯ ยอมแพไ้ มล่ ุกขึน้ สใู้ นยกท่ี 3 จนหาคู่ต่อสูย้ ากแลว้ ครั้นต่อมาถึงปี พ.ศ. 2473 ตอนกลางปี อาจารย์จ่านายสิบหม่อมหลวงพุฒ สนิทวงศ์ มา ชวนไปสมคั รเข้าเป็นครูพลศึกษาอยู่ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า บัวก็ยินดีเข้าไปสมัครและก็ ได้สมความต้ังใจ ได้ยศเป็นนายสิบโท ช้ัน 3 อัตราย่ีสิบสองบาท โดยมีอาจารย์หม่อมหลวงพุฒ
162 สนิทวงศ์ เป็นหัวหน้าในหน่วยพลศึกษาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และต่อมาอาจารย์ หม่อมหลวงพฒุ ฯ ไดเ้ ลื่อนขึน้ มาเปน็ รอ้ ยเอก เม่ือทางโรงเรียนนายร้อยได้เปลี่ยนอัตราใหม่ และครูบัวก็ได้เล่ือนข้ึนเป็นจ่านายสิบเอก ระยะน้ันทางโรงเรียนไดส้ ่งครูอาจารย์ผฝู้ กึ พลศกึ ษาไปอบรมและเรียนวิชาเสริมเช่น อาวุธโบราณ โดย เรียนเชิญครูเปล่ียน บ้านอยู่ท่ีเจริญพาศน์มาช่วยฝึกสอนบางวิชาเช่น ยูโด และกาต้า หลวงสวัสดิ์ รณรงคท์ า่ นไดส้ ง่ ไปฝึกท่ีบ้านนายฮิดาก้าอยู่สีลม (เป็นชาวญ่ีปุ่น) ฝึกอยู่ประมาณ 6 เดือน ซึ่งเมื่อเร่ิม ฝึกใช้ผ้าคาดเอวสีขาวทุกคน และเม่ือทาการฝึกจนชานาญผ่านการทดสอบจากอาจารย์แล้ว ได้ เปลี่ยนผ้าคาดเอวใหม่เป็นสีเขียวครูฮิดาก้าพอใจและกล่าวว่า “พอใช้แล้วไม่ต้องมาอีก” ต่อมาทาง โรงเรยี นได้จดั ส่งครูอาจารยใ์ ห้ไปฝึกมวยปลา้ กับอาจารยเ์ จอื จกั ษรุ กั ษ์ ใชเ้ วลาฝกึ 3 เดือน ณ สถาน กายบรหิ ารขา้ งทางรถไฟหัวลาโพงตรงหวั มุมตึก 3 ชนั้ ขา้ งวัดเทพศิรนิ ทร์ จนเกิดความชานาญในการ บรหิ ารส่วนคอ แขนและขา เม่อื ได้ในวิชาดังกล่าวแล้ว เวลาว่าง ๆ ก็ทาการฝึกซ้อมกันเองระหว่างครู อาจารย์ผู้ฝึกพลศึกษาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนสามารถถ่ายทอดให้กับนักเรียนได้ตาม โปรแกรมของการฝึกพร้อมด้วยครู 5 ท่าน ทาให้ครูบัวมีความรู้ความชานาญเพ่ิมพูนกว้างขวางควบคู่ กันไปกับมวยไทยที่เปน็ ทนุ เดิมอยู่แล้ว ถึงอย่างไร ครูบัวก็มิได้ทอดท้ิงเวทีมวย ต่อมาได้ขึ้นชกมวยกับนายแอ ประจาการ (ซึ่งเป็น มวยลพบุรี) และครบู วั เอาชนะไดใ้ นยกท่ี 5 ต่อมาได้ข้ึนต่อยกับนายบุญธรรม แสงสุเทพ ในงานปีที่วัง สราญรมย์ข้างกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้เปล่ียนจากการคาดเชือกมาเป็นใช้นวม ครูบัวเอาชนะนายบุญ ธรรมได้ในยกท่ี 5 ในระหว่างน้ันได้มีผู้มาฝากตัวเป็นศิษย์มากมายและได้พาลูกศิษย์ขึ้นชกหา ประสบการณ์ท่ีต่างจังหวัด เป็นประจา บางครั้งก็ได้ไปเจอเอานักมวยจากพระนคร ในรายการชิงถ้วย ทจ่ี ังหวัดชลบุรี โดยครูบัวได้ขึ้นชกกับนายแนบ ชมศรีเมฆ ปรากฏว่านายแนบแพ้น็อคหน้าแตก และ ครูบัวได้เหรียญชนะเลิศมาเป็นเกียรติ ต่อมาครูบัวได้ข้ึนชกกับคนในท้องถ่ินจังหวัดชลบุรี ซึ่งมี ร่างกายท้งั โตและสูงใหญ่อีก 2 ครั้ง ครูบัวเอาชนะได้โดยไม่ยากนัก ต่อมาครูบัวได้พาลูกศิษย์ไปชกหา ประสบการณ์ทเี่ มืองสมุทรสาคร และทจ่ี งั หวัดเพชรบุรี คราวที่คุณหลวงอนุกูล เพ็ชรเกษตร เป็นนาย สนามและนายอาเภออยู่ ครูบัวเอาชนะมาได้ทุกคร้งั ต่อมาที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้จัดให้มีงานปีเช่นเดียวกัน ในครั้งน้ันมีหม่อมเจ้าทอง ทองใหญ่ เปน็ เจา้ เมอื งอยู่ ทา่ นไดม้ าเป็นประธาน ปรากฏว่ามีชาวจีนจับกังขึ้นมาเปรียบมวยแต่ขอไม่ คาดเชือกจะขอชกด้วยมือเปล่า ส่วนคู่ชกจะคาดเชือกก็สู้ ไม่มีใครกล้าข้ึนชกด้วย “ป๋าหวาด เสตะ ปุระ” หัวหน้าคณะดาวทองเป็นผู้นาพาครูบัวไปชก นักมวยจีนจับกังรูปร่างสูงใหญ่ ลือกันว่าเจ้าจีน จับกงั ผ้นู ใี้ ชน้ ิ้วมือแทงทะลุกระดานหนา ๆ ได้ แบกข้าวสารครั้งละ 2–3 กระสอบ เชิงชกแบบเลี๊ยะพ๊ะ นา่ ยาเกรง ประกาศหาคู่ชก แต่ไม่มีนักมวยคนใดกล้าเปรียบน้าหนักเพื่อประลองเชิง ขณะน้ัน หม่อม เจา้ ทองใหญซ่ ่งึ เป็นเจา้ เมืองประจวบฯ ป๋าหวาดถามครบู ัวว่า “สู้กับมวยจีนคนนี้ม้ัย” “กลัวอย่างเดียว มันจะไม่สู้เราเท่านั้น” นั่นคือ คาตอบของครูบัว ครูบัวเสียเปรียบรูปร่างเล็กกว่าเห็นได้ชัด มวยจีน เสนอเงื่อนไขแกมบังคับอยู่ในตัวว่า “ต้องมีเดิมพันฝ่ายละ 2,000 บาท จึงจะยอมชกด้วย” สมัยน้ัน เงิน 2,000 บาท ไม่ใช่น้อยแต่ป๋าหวาดรีบรับคาโดยควักกระเป๋าถือเดิมพัน ฝ่ายครูบัวด้วยตนเอง 1,000 บาท ส่วนอีก 1,000 บาท เร่ียไรจากพวกนักมวยที่ไปด้วยกัน รวมถึงแฟนมวยชาวประจวบฯ ท่ชี ่ืนชอบฝีมือของครูบวั คนละ 50–100 รวบรวมกันมาลงขันจนครบ
163 เร่ิมยกที่ 1 ครูบัวใช้ความคลอ่ งแคลว่ ว่องไวหลบหลกี ไปตามเชงิ ไม่เปดิ โอกาสให้มวยจีนเอาน้ิว จ้ิมท่ิมแทงได้ตามท่ีมันถนัด ยกน้ีต่างทาอะไรกันไม่ได้เพราะครูบัวไม่ปะทะเน่ืองจากเสียเปรียบรูปร่าง เล็กกว่าบานตะไท ยก 2 มวยจนี ไดใ้ จรกุ ไล่กระหน่าจนครบู วั ตัง้ ตวั แทบไม่ตดิ มนั ชะลา่ ใจถลาลึกเข้าไป ติดเชือก เป็นจังหวะของครูบัวที่รัวหมัดพร้อมกระหน่าเตะออกเชิงมวยไทย “ตลบนกบนเวหา” ตามกระแทก ศอกเข้าปากคร่ึงจมูกคร่ึงจนเลือดไหลโกรก ขอบตาบวมเขียวช้ายกมือกุมตาทรุดฮวบพร้อมกับ ร้องไอ้หยา กรรมการรีบเข้าก้ันครูบัวเอาไว้แล้วนับตามกติกาจนครบสิบ ครูบัวจึงชนะน็อคในยกน้ีเอง คว้าเดิมพันมาให้ป๋าหวาดและพรรคพวกเพื่อนพ้องอย่างสะดวกโยธิน พ่ีเล้ียงรีบนาจีนจับกังลงไปจาก เวที สักครู่ใหญ่ได้ขึ้นมาบนเวทีขอกรรมการชกกับครูบัวอีกท้ังที่ปาก จมูกและตาปิดอย่างน้ัน กรรมการเลยบอกว่าแพเ้ ขาแล้วจะขน้ึ มาทาไม คนดูมวยรอบสนามพากันฮาครืนดว้ ยความพอใจ ต่อมาที่สวนสนุก (สวนลุมพินี) มวยชิงถ้วยแม่บุญนาค ละครเก่าที่มีชื่อเสียงในสมัยน้ัน (สวมนวม) โดยครูบวั ได้ถูกจัดใหข้ ้ึนตอ่ ยกับนายว่อง โลหิตนาวี ครูบัวเอาชนะนายว่อง และได้รับถ้วย เกียรติยศจากเจา้ คุณคธาบดี ตอ่ มาไดต้ อ่ ยกบั นายอมะโล ครูมวยชาวปักษ์ใต้ ครูบัวก็สามารถเอาชนะ ด้วยคะแนนได้ ในระหว่างน้ันบุตรสาวของครูบัวคนท่ีสองได้ถึงแก่กรรม ทาให้ครูบัวมีความโศกเศร้า เป็นอันมาก และในระหว่างที่ยังโศกเศร้านั่นเอง ทางสวนสนุกได้จัดให้ครูบัวข้ึนต่อยกับนายสุวรรณ นิวาสวัต เม่ือข้ึนยกที่สองครูบัวขอจับมือยอมแพ้เพราะกาลังไม่ดี ต่อมาครูบัวได้ข้ึนต่อยกับนายหมัด บินกระสัน และสามารถเอาชนะน็อคนายหมัดได้โดยไม่ยากนัก ต่อมาครูเฉย ครูมวยของหมัด บิน กระสัน มาขอท้าชกดว้ ย ครูบัวก็สามารถเอาชนะครูเฉยด้วยคะแนนในยกที่ 5 และต่อมาครูบัวได้ต่อย กับนายบุญเรือน แร่ทอง ครูบัวเอาชนะคะแนนไปได้ ต่อมาลูกศิษย์ซ่ึงครูบัวได้สอนมาและเติบโตยัง คา่ ยอืน่ คือ นายเสง่ยี ม จุฑาเพ็ชร ต้องถึงคราวมาชงิ ชนะเลิศกบั ครูบวั ที่เวทีราชดาเนิน (เวทีราชดาเนิน ในสมัยนัน้ เพงิ่ จะสรา้ งเสร็จยังไมม่ ีหลงั คา) ขึ้นต่อยกัน 5 ยก ปรากฏว่ากรรมการติดสินไม่ลงจึงให้ต่อย ตอ่ ไปอกี 2 นาที ปรากฏวา่ นายเสงี่ยม จุฑาเพ็ชร เข้าคลุกครูบัวใหญ่ ประกอบกับฝนได้ตกลงมาหนัก ลืมตาไม่สะดวกกรรมการตัดสินให้ครูบัวแพ้แต้มนายเสงี่ยม จุฑาเพ็ชร เมื่อเสร็จส้ินการชกแล้ว นาย เสงี่ยม ได้มากราบและขออภัย ซึ่งครูบัวก็กล่าวให้กาลังใจและชมเชย (ครูบัวเคยเป็นครูสอนมวยอยู่ คณะดาวทอง หรือคณะของป๋าหวาด เสตะปรุ ะ มาระยะหนึ่ง) ท่ีต้องชกเพราะเป็นการชิงชนะเลิศใน รอบเดยี วกนั และนายเสง่ยี ม จฑุ าเพ็ชร ได้รบั ฉายา ในสมัยนั้นว่า “พยัคฆ์ร้ายแหง่ สังเวียน” กอ่ นทคี่ รบู วั จะเป็นครูสอนพลศึกษาในโรงเรยี น จปร.นัน้ ได้เคยเป็นครูสอนมวยไทยในคณะ ดาวทอง หรือคณะ ว. ของปา๋ หวาด เสตะปรุ ะ แลว้ จงึ มาต้ังคณะของตนเองข้ึนเพ่ือฝึกปรือศิษย์ข้ึนชก มวยมากมายและมชี ่อื เสียงโดง่ ดังโดยมคี าวา่ “โซดา” พ่วงทา้ ยชื่อทุกคนเช่น ทองอยู่ ชโู ซดา ซัน กล่ัน โซดา ตุ๊ จุโซดา ถม ชมโซดา ดีกรี โซดา เรียน เปล่ียนโซดา บุญเกิด เชิดโซดา ฯลฯ ป. อินทรปาลิต นักประพันธ์นามอุโฆษผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้ซึ่งได้เขียนนวนิยายให้ประชาชนได้อ่านกันอย่างกว้าวงขวาง นั้น คอื นยิ ายชดุ 3 เกลอ หรือพล นิกร กิมหงวน ได้เขียนถงึ คาว่าโซดา โดยพล พัชราภรณ์ ตัวเอกของ นิยาย เม่ือชกมวยจะใช้ชื่อว่า กาแหง แข็งโซดา ทุกตอนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องมวย ซ่ึงเป็นการชี้ให้เห็น ว่า นักมวยท่ีมีพ่วงท้ายชื่อว่า “โซดา” ในสมัยนั้นต้องโด่งดังพอสมควร นอกจากน้ันยังมีศิษย์ท่ีเป็น นักเรียนนายร้อยท่ีรักวิชามวยและได้ขึ้นชกมวยจนมีช่ือเสียงโด่งดังก็มาก เช่น พลอากาศเอกบุญชู จันทรุเบกษา อดีต ผู้บัญชาการทหารอากาศ หรือใช้ชื่อนักมวยว่า สมเพ็ชร น้าน้อย พลตรียงยุทธ
164 ดิษฐบรรจง พลตาวจโท ประเนตร ฤทธิฤๅชัย พลตารวจโท บันเทิง กัมปนาทแสนยากร ฯลฯ ซ่ึงครู บัวมศี ิษย์ทีฝ่ ึกสอนมวยให้นั้นนับพันคนจดจาชื่อไม่ค่อยได้ เพราะมีมากและผ่านกาลเวลามานานปีเต็ม ที ส่วนจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ครูบัวกล่าวอย่างถ่อมตนว่าท่านเคยเป็นพ่ีเล้ียงให้ เม่ือท่านจอมพล ท่านน้ันข้ึนเวที พลเอกอาทิตย์ กาลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบก ก็เคยผ่านการฝึกสอนวิชา มวยไทยจากครูบัวมาเช่นกันแม้จะไม่ได้ขึ้นเวทีอย่างจอมพลสฤษดิ์ จอมพลประภาส อดีตนักมวย เหรยี ญทอง หรอื ทา่ นอ่ืน ๆ ทก่ี ล่าวมาน้นั กต็ าม ครบู วั มีความสนทิ สนมเปน็ การส่วนตัวกบั ครูกิมเส็ง ทวสี ิทธิ์ หัวหน้าคณะทวีสิทธ์ิเป็นอย่างดี เคยไปมาหาสู่กันอยู่เป็นประจา ครูบัวจึงไม่เคยชกกับนักมวยในคณะทวีสิทธิ์ และทางครูกิมเส็งเอง ไม่ให้ศิษย์มาชกกับครูบัว หรือศิษย์ครูบัวเลย การชกมวยเปรียบมวยในสมัยก่อนไม่มีเหลี่ยมมีคูกัน เหมือนสมัยนี้ การแต่งมวย (แต่งตัวขึ้นชก) การให้น้าการเตรียมสถานท่ีการกาหนดเวลาชก พ่ีเลี้ยง ซ่งึ ในปจั จุบันไดม้ ีคณะ กรรมการปรบั ปรงุ แกไ้ ขเกยี่ วกบั เรื่องการชกมวยเพื่อลดความทารุณโหดร้ายลง ไปมากเช่น มีการสวมนวมแทนการคาดเชือก และพ้ืนเวทีมีเบาะรองอ่อนนุ่ม มีระเบียบกติกาห้ามไว้ มากมาย ในการแต่งมวยสมยั กอ่ นดูจะโลดโผนมาก คู่แข่งขัน คาดเชือกที่หลังหมัด ถักกันจนแข็งและ เป็นท่ีถูกใจของพี่เล้ียง มีเคร่ืองรางของขลังผูกแขนทั้ง 2 ข้าง พี้เลี้ยงไม่จากัด ถือเอาแพ้ชนะกันเป็น เดิมพัน แม้คู่แข่งจะต่อสู้กันจนตาบวม ตาปิด หรือแตกจนเลือดไหลอาบตัวก็ตาม ถ้ายังไม่ยอมแพ้ก็ ต้องสู้กันต่อไป เม่ือถึงยกสุดท้ายนายสนามและคนดูให้เสมอกันแม้อีกฝ่ายจะบอบช้าแค่ไหนก็ตาม นอกจากไม่ยอมลุกขึ้นมาสู้ หรือผู้ชกออกปากยอมแพ้ จึงถือเป็นการเด็ดขาด ส่วนสนามแข่งขันไม่ จาเปน็ ตอ้ งโอ่โถง จะเป็นท่ีไหนก็ได้ จะเป็นสนามหญ้า หรือลานวัด ก็ไม่เป็นที่รังเกียจ ผู้จัดจะจัดทา เชอื กล้อมไว้เพียง 1 เส้นก็ดูจะเพียงพอ มีกรรมการห้ามมิให้ซ้าเติมเมื่อล้ม และกรรมการจะจับผู้ล้ม ให้ลุกขึ้นชกตอ่ ไปครบ 5 ยก จะบอบชา้ แคไ่ หนก็ต้องถอื เป็นอันเสมอกัน ในการชกมวยในสมยั ก่อนน้ัน ครูบัวก็มีเสี้ยนหนามอยู่ในวงการมวยด้วยเหมือนกัน เมื่อครั้ง ครูบัวชกมวยและปราบมวยดัง ๆ มากมาย ตลอดจนมวยหัวเมืองแม้กระท่ังนักมวยของคณะ “ลูกศร” ซ่ึงเป็นศิษย์ของ บังสะเล็บ ศรไขว้ นักมวยช่ือดังย่านเทเวศร์ยุคนั้น โดยมี หม่อมราชวงศ์ มานพ ลดาวลั ย์ เปน็ ผอู้ ปุ การะ การท่ีครบู ัวจะตอ้ งเดินทางไปไหน ๆ ด้วยตัวคนเดียวอยู่บ่อย ๆ คร้ัง หรือเดนิ ทางผา่ นทางเทเวศร์ แมก้ ระน้นั ครบู วั ยงั ถกู รถยนต์ลึกลับไล่ชนเอา ทาให้จักรยานสองล้อคู่ชีพ ต้องพังไปถึง 2 คัน เพราะไปชนะลูกศิษย์ของบังสะเล็บแห่งคณะลูกศรหลายคนเข้า และการที่ไป ชนะนักมวยของคณะลูกศรหลายคนนี่เอง ทาให้บังสะเล็บ ได้ขอท้าชกมวยกับครูบัวข้ึน ปรากฏว่าได้ ถกู ห้ามจากทางผู้บังคับบญั ชาว่า ไมค่ วรไปชกกบั ตวั บงั สะเล็บ เพราะอาจเป็นอันตรายภายหลังหากไป ชนะเขา้ และประกอบกับตัวบังสะเล็บ รปู รา่ งสูงและใหญ่กว่ามาก ต่อมาท่านเจ้าคุณคธาบดี ได้จัดครูบัวให้ข้ึนชกกับนายเหย่ียว เนินสุวรรณ์ ครูบัวเตะถูก ลูกคาง ของเหย่ียว เนินสุวรรณ์ลงไปชักแค่ยก 2 ต้องหามลงมาแก้ไขอยู่นานจึงได้ฟื้น ต่อมานายพยัพ ใจเดช มาขอท้าชกชิงถ้วยและได้พ่ายแพ้ครูบัวไปอย่างสะบักสบอม ต่อมาได้ข้ึนชกกับนายช้ัว แก้วคชสาร 2 คร้ัง ๆ แรกแพ้คะแนนครูบัว จึงยังติดใจสงสัยต่อมาขอข้ึนชกแก้ตัวอีกโดยให้คา ปฏิญาณไวว้ า่ ถ้าพ่ายแพ้ครบู ัว คราวน้จี ะเลิกชกมวยไปตลอดชีวติ ซึ่งในคร้ังหลังนี้เอง นายช้ัว แก้วคชสาร ได้ถูกครูบัวใช้แม่ไม้สาคัญ “ตลบนกบนเวหา” ศีรษะแตกเลือดไหลมากต้องเลิกชกมวยตามที่ได้ ปฏญิ าณไว้ และต่อมาได้ขึ้นชกกับนายสะอาด วีระแกล้ว ซึ่งนายสะอาด ถูกครูบัวต่อยด้วยศอกเข้าที่
165 ระหวา่ งคิ้วซา้ ยแตกเลือดไหลออกมากเข้าตาพ่ายแพ้ไป ต่อมาก็หาคู่ต่อยได้ยาก และคนท่ัว ๆ ไปได้ยก ยอ่ งใหเ้ ป็นครูและมชี อ่ื เสียงเล่ืองลือ ระยะหลังครูบัวมีอายุมากขึ้นและเป็นนักมวยที่ต่อยมวยจนมีอายุ มากคนหน่งึ ในยคุ น้ี (ต่อยถึง 40 ปเี ศษ) จงึ ได้หยุดชกมวย อุทิศตนให้แก่วงการทหารด้วย การส่ังสอน ลกู ศิษยซ์ ง่ึ เป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าตลอดมา ต่อมาได้ถูกเชิญให้ขึ้นชกมวยหน้าพระที่นั่ง ในหลวงรัชกาลท่ี 8–9 โดยขน้ึ ชกกับ นายพนู พระขรรคช์ ัย เอาชนะได้รับของรางวัลมากมาย ต่อมาได้ ขอขน้ึ ชกเปน็ พเิ ศษกับนายอนิ ศิลารักษ์ เพื่อหาเงนิ มาบวชลกู ชาย โดยท่านเจ้าคุณคธาบดีจัดให้ และ ไดป้ ระกาศบอกบุญกับผู้ชมในครั้งน้ันด้วย เมื่อกาลังชกอยู่น้ันฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก ทาให้การต่อสู้ ไมส่ ะดวก และกาลังกายไม่ค่อยดี อายุกม็ ากแล้วจงึ ไดจ้ ับมือยอมแพ้ในการชกคร้ังนั้น มีผู้ร่วมทาบุญ มากไดเ้ งินมาบวชลกู ชายสมความตง้ั ใจ ครูบัว รับราชการเป็นครูฝึกพลศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อยู่จนถึงปี พ.ศ. 2501 จึงได้ปลดเกษียณอายุราชการ ได้รับพระราชทานชั้นยศเป็น ร้อยโทบัว นิลอาชา เป็นเกียรติ ประวัติแก่วงศ์ตระกูล ถึงแม้ครูบัวจะปลดเกษียณอายุราชการไปแล้ว แต่ยังถูกเชิญไปฝึกวิชาอาวุธ โบราณและศิลปะการป้องกันตัวให้กับบรรดาทหารหาญที่จะถูกส่งไปรักษาเหตุการณ์ ณ ประเทศ เกาหลีหลายคร้ัง และทางโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้ยกย่องให้เป็นอาจารย์อาวุโสที่ยัง หลงเหลืออยู่ในขณะน้ี ด้วยการเชิญไปในงานวันเกิดของโรงเรียนทุกปี แต่ในระยะหลังร่างกายทรุด โทรม ด้วยอายุมากข้ึนจึงได้พักผ่อน ใช้ชีวิตในบั้นปลาย อยู่บ้านเลขที่ 185 ถนนสุโขทัย ซอยโซดา อาเภอดุสิต กรงุ เทพมหานคร รวิ้ รอยของการเปน็ นักมวยอยูน่ ้นั ไม่เคยมีแผลแตกท่ีบริเวณใบหน้าหรือ แม้แต่เลือดกาเดาก็ยังไม่เคยไหลเพราะการชกมวยเลย ถึงแม้จะอายุจะชรามากแล้วยังเดินเหินและ อ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องสวมแว่น การฝึกกาลังกายและมีวิชาการท่ีดีทาให้อายุยืน และไม่ค่อยจะ เจ็บป่วยหรือเป็นอะไรกับเขา มาในระยะหลัง ๆ เม่ืออายุย่างเข้า 90 ปีเศษมาน้ี มีโรคเกี่ยวกับ กระเพาะอาหาร หัวใจ และประสาทอยู่บ้าง ก็เป็นด้วยเพราะวัยและสังขารท่ีเสื่อมทรามลงไปแล้ว เทา่ นนั้ ครบู ัว วดั อ่ิม หรือนายร้อยโทบวั นิลอาชา มอี ายุครบ 86 ปี เมอื่ วนั ท่ี 15 พฤษภาคม 2526 แต่ขณะนั้นท่านก็ยังแข็งแรงกระฉับกระเฉง ทางานบ้านได้ทุกอย่าง การท่ีครูบัวมีสภาพร่างกาย แข็งแรงกระฉับกระเฉงทางานต่าง ๆ ได้เหมือนคนวัย 60 ปี เน่ืองครูบัวเดินออกกาลังกายทุกเช้าเป็น ประจา ศิษย์น้อยใหญ่หลายคน ขอให้ครูบัวช่วยฝึกสอนวิชามวยไทยให้เหมือนตอนที่ครูยังหนุ่มแน่น แตเ่ มื่อถงึ วยั 86 ครูบวั กลบั ขอรอ้ งบรรดาศิษย์ท้งั หลายวา่ “ครอู ายุมากแล้ว สภาพร่างกายไม่แข็งแรง พอท่ีจะแสดงท่าทางแม่ไม้มวยไทยให้ศิษย์ได้ดู ขืนทาไปก็จะขาดความศักด์ิสิทธิ์” นอกจากน้ีครูยังว่า “การที่จะเป็นครูฝึกสอนวิชามวยไทยได้ดู และจดจา ไม่ใช่น่ังจิบน้าชาอย่างสบาย ๆ แล้วเอ่ยปากสอน ดว้ ยปากเทา่ นนั้ มนั ต้องออกทา่ ทางแม่ไมม้ วยไทยใหเ้ ห็นดว้ ยจึงจะเป็นการสอนมวยไทยท่สี มบรู ณ์แบบ” ครูบัวมีอาการอ่อนล้า ต้องเข้ารักษาตัวท่ีโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าอยู่บ่อยครั้ง และ เสียชีวติ ลง ได้รบั พระราชทานเพลิงศพในวนั ที่ 8 พฤษภาคม 2532 พูดถึงวงการมวยไทยในปัจจุบัน ครูบัวให้ความเห็นว่าอยากจะให้ศิลปะแม่ไม้มวยไทย แพร่หลายออกไป ตามตาราที่ตนได้รวบรวมไว้ส่วนหน่ึง ส่วนนักมวยไทยในยุคปัจจุบัน วันน้ีมีความ กล้าและหัวใจสู้เกินร้อยแทบทุกคน แต่ถึงแม้ว่านักมวยจะมีความมุมานะขยันขันแข็งในการฟิตซ้อม ร่างกายแขง็ แกร่งยืนระยะไดเ้ สมอต้นเสมอปลาย แต่ยังขาดความรอบคอบในการป้องกันตัวขณะท่ีเข้า
166 ทาการตอ่ สู้ อยา่ งไรก็ตาม ครูบวั ยงั มคี วามเหน็ วา่ เมื่อนักมวยแต่ละคนมีโอกาสขึ้นสังเวียนทาการต่อสู้ อย่างต่อเน่ืองก็คงมีประสบการณ์และความเจนจัดเวทีมากข้ึนสามารถป้องกันตัวหรือแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าได้ชว่ ยใหก้ ารตอ่ สู้หนกั เป็นเบา มวยไทยเม่ือถูกกระทาก็ต้องมีการแก้เพ่ือให้ยืนระยะอยู่ได้ และนาพาตัวเองสู่ชัยชนะในท่ีสุด นี่คือการต่อสู้ในเชิงมวยไทย หาใช่ข้ึนไปประหัตประหารกันเพ่ือให้ จมธรณีไปข้างหนึ่งแตอ่ ยา่ งใดไม่ ก่อนท่ีครูบัว จะสิ้นลม ท่านได้บันทึกตารามวยไทย “ตาหรับโคราช” ของหม่ืนชงัดเชิงชก ให้เป็น สมบัติของชาติ และผู้มีใจรักในศิลปะด้านนี้ไว้ศึกษาเป็นรากฐานแต่เดิมโบราณเอาไว้ จึงได้ นาเสนอ ดงั รายละเอียดทผ่ี ่านมาแลว้ สรุป : ครูบัว วัดอิ่ม หรือ ร้อยโทบัว นิลอาชา เดิมชื่อเหียบ อายุได้ 14 ปี เร่ิมสนใจ การมวย มีนายเอี่ยมกับนายออ่ งพชี่ ายรว่ มหัดกัน การฝึกมวยสมัยนั้นไม่มีนวมต้องใช้ผ้าขาวม้าพันมือ แทนนวม ในหมู่บ้านดอนขวางมีผู้เฒ่าซ่ึงเก่งในการมวย ชื่อผู้เฒ่า “ทน” มีลูกศิษย์ช่ือแดง รุ่ง นิล ชกมวยมีชื่อเสียงมาก โดยเฉพาะแดง ซ่ึงมีศักดิ์เป็นหลานของพระเหมสมาหาร (เจ้าเมืองโคราช) ต่อมาได้เข้ารับราชการกับ พระเหมสมาหาร และได้ชกถวายตัวหน้าพระที่นั่งกับพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่หมื่นชงัดเชิงชก จึงเป็น เหตุให้มีความฝังใจใฝ่ในการมวย อายุ 18 ปี ได้หมายเกณฑ์เข้ารับการเป็นทหารอยู่กองพันทหารม้า จังหวัดนครราชสีมา ครบกาหนด 2 ปี ได้ยศสิบตรี ออกจากราชการมาเม่ือครบเวลาเกณฑ์แล้วเดิน ทางเขา้ กรุงเทพฯ พักอาศยั อยทู่ ีบ่ า้ นคุณพระสุนทรเทวภักดี สมัครเป็นทหารกับท่าน พันเอกหม่อมเจ้า จลุ ดษิ ฐ ดษิ ฐ์กุล ซง่ึ เปน็ ผ้รู ับราชการฝึกทหารมา้ รกั ษาวงั จนสามารถขี่ม้าโลดโผน แสดงในงานสาบาน ธงถวายหลายครั้งเป็นที่โปรดปรานมาก ในระหว่างนั้นทหารม้ารักษาวังได้รับม้าเทศเข้าประจาการ หาผู้ที่จะจับและบังคับให้เช่ืองไม่มี จึงได้เข้าบังคับและฝึกหัดจนเชื่องและเชื่อฟังผู้ขับขี่เป็นอย่างดี ความทราบถึง พนั เอกหม่อมเจ้าจุลดิษฐ ดิษฐกุล ผู้บังคับการ ท่านจึงเรียกเข้าพบและต้ังให้เป็นนายหมู่ โทเสอื ปืนใหญ่ พร้อมให้เปลย่ี นช่ือเสียใหม่วา่ “บัว” และประทานนามสกุล ให้วา่ “นิลอาชา” แต่น้ันมา พ.ศ.2473 เข้าเปน็ ครพู ลศกึ ษาอยูใ่ นโรงเรยี นนายรอ้ ยพระจุลจอมเกล้า ได้ยศเป็นนายสิบโท เป็นจ่านายสิบเอก เข้ารับการฝึกอบรมและเรียนวิชาเสริมเช่น อาวุธโบราณ ต้ังคณะมวยของตนเอง โดยมีคาว่า “โซดา” ท้ายช่ือนักมวยทุกคน มีศิษย์ที่เป็น นักเรียนนายร้อย ท่ีรักวิชามวยและข้ึนชก มวยจนมีช่ือเสียงหลายคน รับราชการเป็นครูฝึกพลศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อยู่ จนถงึ ปี พ.ศ.2501 จึงปลดเกษียณอายรุ าชการ ได้รบั พระราชทานชน้ั ยศเป็น ร้อยโทบัว นิลอาชา ครูบัวเสียชีวิตและได้รับพระราชทานเพลิงศพในวันท่ี 8 พฤษภาคม 2532 ก่อนที่ครูบัว นิลอาชา จะสิ้นลม ท่านได้มอบบันทึกตารามวยไทย “ตาหรับโคราช” ของหม่ืนชงัดเชิงชกให้เป็น สมบัติของชาติและผู้มีใจรักในศิลปะด้านน้ีไว้ศึกษาเป็นรากฐานแต่เดิมโบราณเอาไว้ ผู้ที่เก็บไว้ คือ พนั เอกอานาจ พุกศรสี ุข 8. นายผวน กาญจนากาศ เป็นบุตรคนท่ี 1 ในจานวน 5 คน ของอัยการเที่ยง กาญจนากาศ (บุตรชายของขุนจานง อกั ษร กับคณุ ยา่ เปะ๊ ซึง่ เป็นบุตรสาวของหลวงศรนี ครเกษม ผดู้ ูแลเมืองนครราชสีมาถึงอาเภอสูงเนิน) กับคณุ นายทองพูน กาญจนากาศ
167 ได้รับการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนวัดศีรษะละเลิง จังหวัดนครราชสีมาจบมัธยมศึกษา 8 ที่ โรงเรยี นมธั ยมศกึ ษาประจาจังหวดั บรุ รี มั ย์ (ในขณะทคี่ ณุ พอ่ เท่ียงเปน็ อยั การอยู่ท่จี ังหวัดบุรีรัมย์) และ ไปเรียนประโยคครูมธั ยมวชิ าเกษตรกรรมทอ่ี าเภอโนนสงู จงั หวัดนครราชสีมา เมื่อจบหลกั สตู รแล้วได้ เข้ารับราชการครูประจาอาเภอหนองตาล จังหวัดบุรีรัมย์ 3 ปี แล้วย้ายไปรับราชการท่ีพระตะบอง ประเทศกมั พชู า จนกระท่ังได้รับเอกราชจากประเทศกัมพูชา รับตาแหน่งคล้ายกับศึกษาธิการ ในช่วง สงครามโลกคร้ังที่ 2 การอพยพข้าราชการไทยส่วนใหญ่เดินทางโดยรถไฟมาถึงสถานีหัวลาโพง กรุงเทพมหานคร ต่อมาสงครามสงบ เข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนท่ีโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จนเกษียณอายุราชการ สอบได้เป็นผู้พิพากษาสมทบศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา ระหวา่ งทีส่ อนท่โี รงเรยี นราชสมี าวิทยาลยั ได้ศกึ ษาเล่าเรียนท่ีวิทยาลัยพลศึกษาปทุมวัน และได้ตั้งค่าย มวย “แขวงมชี ยั ” มีลกู ศิษย์ลูกหามากมายเช่น สมเดช ยนตรกิจ สายฟ้า ไกรสร ดาวใหม่ อดิศักด์ิ แขวงมชี ัย เป็นต้น สมรสกับนางสาวลออ จนั ทรทีประ บตุ รสาวขนุ จันทรทปี ศึกษาธิการ มีบุตรธิดา 9 คน ซึ่ง ได้รับการศึกษาดีและมีตาแหน่งหน้าท่ีการงานประกอบอาชีพอยู่ในระดับดี เป็นคนหนึ่งที่ทาให้มวย โคราชมชี ือ่ เสยี งขจรไปไกลทัว่ ประเทศ เพราะมีนกั มวยในคา่ ยหลายคนทีไ่ ดร้ ับตาแหน่งถึงแชมป์เป้ียน ฝึกหดั นักมวยดว้ ยความท่มุ เทเสียสละเอานักมวยมาอาศัยนอนอยูบ่ ้าน ร่วม 20 คน เป็นระยะเวลากว่า 30 – 40 ปี สอนให้ทุกคนอย่างเต็มใจ บางโอกาสเป็นคู่ซ้อมให้ด้วย ข้าวสารเดือนหน่ึงร่วม 3 – 4 กระสอบ ประมาณปี พ.ศ. 2493 – 2494 มนี ักมวยที่มีชอ่ื เสียงอยูห่ ลายคนเชน่ นายสารวย ธานี (สมเดช แขวงมีชัย) แต่อาจารย์ผวนไปฝากค่ายยนตรกิจในกรุงเทพฯ ใชช้ ่ือ สมเดช ยนตรกจิ รุ่นเวลเตอรเ์ วท มีชื่อเสียงโด่งดังมากทีส่ ุดคนหนึ่งของเมืองไทยมีสมญานามว่า “ซ้ายฝ้าผ่าหรือซ้ายมฤตยู” ต่อมาหันไปชกมวยสากลได้แชมป์เปี้ยนรุ่นเวลเตอร์เวทแห่ง ภาคตะวันออกไกล ครองแชมป์อย่หู ลายปี นายสขุ เกษม เพียรภกั ดี (ศักดิ์ชัย นาคพยัคฆ์) เปน็ นักมวยท่ีโดง่ ดังท่ีสดุ คนหน่งึ ในรุ่นเวล เตอรเ์ วท และได้แชมป์ในรุ่นน้ันด้วย สีบัวแดง สมานฉันท์ น่าจะเป็นนักมวยท่ีมีช่ือเสียงมาจากจังหวัดอุบลราชธานี และได้มา ฝึกซ้อมอยู่ทค่ี า่ ยแขวงมีชัยอยู่ระยะหน่ึงก่อนเข้ากรงุ เทพฯ อาจารย์จรูญ ชกมวยใช้ช่ือไกรสร แขวงมีชัย ชกประมาณรุ่นแบนตั้มเวท มีช่ือเสียงอยู่ที่ โคราชและจงั หวดั ใกล้เคียง พันธ์ศักดิ์ แขวงมีชัย ต่อมาไปชกเวทีราชดาเนิน เวทีลุมพินี ใช้ช่ือว่า “พันธ์ศักด์ิ วิถีชัย” ระดับแชมป์เหมอื นกัน อดิศักด์ิ แขวงมีชยั ลูกศิษยห์ วั แก้วหวั แหวนอกี คนหนงึ่ มีช่ือเสียงโด่งดังมากท้ังมวยไทยและ มวยสากลท่ัวภาคอีสานไม่มีคู่ชก จึงส่งเข้าชกในกรุงเทพฯ ท้ังเวทีราชดาเนินและเวทีลุมพินี ได้เป็น แชมป์ทง้ั มวยไทยและมวยสากลถึง 2 – 3 สมัย ครูผวน กาญนภากาศ ไม่เคยเอารัดเอาเปรียบลูกศิษย์ลูกหา จนได้รับการยกย่องว่าเป็นครู มวยโคราชอีกคนหนึ่งทท่ี าให้มวยโคราชได้รบั การยอมรบั โดยทัว่ ไป
168 สรุป : เป็นผู้ก่อต้ังคณะมวยแขวงมีชัย เป็นคนหนึ่งที่ทาให้มวยไทยโคราชมีช่ือเสียงขจรไป ไกลท่วั ประเทศ เพราะมีนกั มวยในค่ายหลายคนทไี่ ดร้ ับตาแหนง่ ถงึ แชมปเ์ ปี้ยน มีการฝึกหัด นักมวย ด้วยความทมุ่ เทเสยี สละ เป็นการพัฒนาและส่งเสริมมวยไทยโคราชในยุครอยต่อระหว่างการคาดเชือก กบั การสวมนวม 9. นายสุข ปราสาทหินพิมาย ภาพท่ี 98 “ยักษ์ผีโขมด” สุข ปราสาทหนิ พมิ าย สขุ จาดพิมาย หรอื สุข ปราสาทหินพิมาย เกิดเม่ือปี พ.ศ.2452 ที่ตาบลรังกา อาเภอพิมาย จงั หวดั นครราชสีมา บดิ าชื่อภู่ อาชีพทานา มีพน่ี ้องเป็นชายล้วน 5 คน สขุ เป็นบตุ รคนที่ 3 สุข ปราสาทหินพิมาย เป็นคนชอบการกีฬาโดยเฉพาะมวย มีฉายาว่า สุขยักษ์ผีโขมด ผู้สัมภาษณ์ได้บันทึกจากคาบอกเลา่ ของสขุ ยักษผ์ ีโขมด ไว้ดังนี้ การได้มาซ่ึงนามสกุล ปราสาทหินพิมาย เดิมคณะนักมวยใช้นามคณะว่า ประสาทหินพิมาย หลังจากแก้ว ประสาทหินพมิ าย น้องชายของสุข ยกั ษผ์ โี ขมด ไปชกกับถวลิ ศรีสนาม และเป็งสูน ที่ โคราชจนได้รบั ความนิยมแล้วก็มีคนมาติดต่อจะให้ไปชกท่ีกรุงเทพฯ สองพ่ีน้อง จึงปรึกษากันว่าจะ ใช้นามคณะว่าอย่างไรดีคาว่าประสาทหินพิมาย ดูความหมายจะไม่ค่อยถูกต้องนัก สุขเลยคิดได้ว่า น่าจะใช้ปราสาทหินพมิ าย ซ่ึงเปน็ สัญลักษณ์ของชาวพมิ ายและเปน็ เกยี รติแก่ชาวพมิ ายด้วย จึงตกลง ใชน้ ามคณะนี้ สสั ดพี รม สัสดีอาเภอพิมายเห็นว่าเพ่ือความสะดวกในการติดต่อ จึงได้จัดทาการเรื่อง เปลี่ยนนามสกลุ เดิม จาดพมิ าย ให้ใช้เป็น ปราสาทหนิ พมิ าย ต้งั แตน่ ั้นมา สุข ปราสาทหินพิมาย สมัยยังเป็นเด็ก ได้ช่วยพ่อแม่ทางานเลี้ยงวัวเล้ียงควายไปตาม ประสาเด็ก บา้ นนอก จนอายุ 13 ปี บวชเปน็ สามเณรอยู่ท่ีวัดบ้านแดง อาเภอพิมาย ฝึกเทศน์ชาดก กับหลวงปู่โตซ่ึงเคย ไปเทศน์ในพระราชวังจนสามารถเทศน์ได้อย่างคล่องแคล่ว อยู่ที่วัดบ้านดง 4 ปี ปีที่ 5 ย้ายมาอยู่วัดเดิม อาเภอพิมาย กับหลวงพ่อทุย เรียนพระธรรมวินัยจนสอบได้เป็นนักธรรมตรี จึงคิดที่จะไปเรียนบาลีที่โคราช แต่หาท่ีอยู่ไม่ได้จึงแวะไปเย่ียมพ่ีชาย (นายพูน) ซึ่งเป็นทหารอากาศ อยู่ทีโ่ คราช พ่ีชายของสขุ ปว่ ยเน่ืองจากลวดหนามเก่ียวขา สุขนาข่าวการป่วยของพี่ชายไปเล่าให้โยม
169 พ่อและโยมแม่ฟังที่พิมาย โยมแม่จึงขอร้องให้สึกออกมาช่วยกันทามาหากิน สุขสึกออกมาช่วย ทางานได้ 3 ปี ถูกคดั เลือกไปเป็นทหาร ต่อจากนั้นกถ็ ูกคัดเลอื กเกณฑ์ไปเปน็ ตารวจ ในขณะที่เป็นตารวจอยู่น้ัน ร้อยตรีจันทร์ พานสถิตย์ ครูฝึก ได้จัดให้เข้าแถวหน้ากระดาน เรียงหนึ่ง แล้วนับ 1–2 ให้คนนับ 2 หันหลังกลับ เดินไปอยู่เป็นแถวท่ีสองของคนนับ 1 แล้วให้หัน หน้ามาจับค่กู ับคนนบั 1 ใครหนั หนา้ ตรงกับใครก็ให้ชกกบั คนนั้น ครงั้ ท่ี 1 สขุ ได้หนั หนา้ ไปได้คู่กับนายน้อย แจ้งหม่ืนไวย์ ก็ต่อยนายน้อยเพียงหมัดเดียวถูก ที่กา้ นคอจนตอ้ งหามสง่ โรงพยาบาล ครง้ั ที่ 2 สุขได้ค่กู ับผอ่ ง โคกสงู เนนิ กต็ อ่ ยผอ่ งลอยติดหมดั ไปอกี ราย ครงั้ ท่ี 3 สขุ ไดค้ ูก่ บั สบิ ตรีอ้น โตจนั ทึก ซ่ึงเปน็ คนรปู รา่ งสูงถกู สิบตรีอน้ เตะหลายครง้ั แต่ก็ เขา้ ตอ่ ยจนสามารถน็อคสิบตรีอ้นได้อีกราย สิบตารวจตรีบุญ ชรู ัตน์ เห็นเข้าจึงชวนให้ไปฝึกซ้อมอย่ดู ้วย นับเป็นครูมวยคนแรก ต้ังแต่นั้น มา สขุ คิดวา่ นา่ จะเอาดที างน้ี จงึ ได้ต้งั ใจฝกึ ซ้อมและหมัน่ ศึกษาช้นั เชิงลลี าจากนักมวยรุ่นพ่ีด้วยการเข้า ชมมวยทุกนัดจากเวทีใกล้เคียง แล้วนึกเปรียบเทียบดูตัวเองกับนักมวยท่ีชกให้ดูและคิดในใจว่า ถ้าได้ ชกกับนักมวยเหล่านกี้ ม็ ่ันใจว่าจะสามารถเอาชนะได้ทุกคน แต่ครูบุญ ชูรัตน์ ไม่อนุญาตให้ชกบอกว่า สขุ ยงั ใหม่เกนิ ไปเกรงจะสูเ้ ขาไมไ่ ด้แลว้ จะหมดกาลังใจ ปี พ.ศ. 2468 เม่ือออกจากตารวจแล้วก็กลับมาอยู่บ้าน พอดีมีงานเผาศพหลวงพ่ออุ่น เจ้า อาวาสวัดเก่าประตูชัย นายเบา้ (เบา้ วดั บรู พ์) นักมวยจากโคราช ตามมาขอชกกับสุข ปราสาทหินพิ มาย ผู้ประกบคู่จึงจัดให้ชกกันที่เวทีหลังวัดใหม่ประตูชัย อาเภอพิมาย ตอนนั้นสุขพึ่ งหายป่วย เน่ืองจากรถทับเท้ามาได้ 40 วัน จึงใช้ผ้าขาวพันข้อเท้าขวาไว้แล้วเขยกขาต่อยกับเบ้าวัดบูรพ์ ซ่ึงก็ เหมือนกับยนื ตอ่ ยขาเดียวแตย่ งั สามารถชนะนอ็ คได้ในยกท่ี 3 โดยนายเบา้ ขอยอมแพ้เอง การชกครั้งน้ี ถือเป็นการชกมวยครง้ั แรกในชวี ติ นักมวยซึง่ ต่อยกันในแบบมวยคาดหมัด สขุ ไดเ้ งินรางวัล 1 บาท ต่อมากรรมการจัดมวย เน่ืองในงานประจาปีวัดสระเพลง อาเภอพิมาย ประกบคู่ให้ต่อยกับ ลี จิตตะบุตร ฉายาไอ้เสือแห่งสังเวียน นักมวยฝีมือดีจากโคราช แต่เน่ืองจากสุขภาพของสุขไม่ดีมี อาการไอมากเลยปฏเิ สธไม่ยอมชกดว้ ย กรรมการจึงจดั ใหน้ ายสีตนี เหยิดชกแทน (ตีนเหยิด คือข้อเท้า เขยง่ ขา้ งหนึ่ง) การชกมวยในสมัยนั้นเป็นมวยคาดหมัด คือใช้ผ้าพันมือชกกันโดยไม่มีการสวมนวม ผ้าท่ีพัน มือน้ันส่วนมากจะบิดให้เป็นเกลียวแข็งแล้วพันเร่ือยไปจากมือจนถึงข้อศอก บางรายก็เอาผ้าราดด้วย น้าขา้ วรนิ แลว้ ไปผง่ึ แดดใหแ้ หง้ บางรายยังไมส่ ะใจถึงกบั เอาทรายหรือเศษแก้วป่น หรือเศษกระเบ้ือง ถ้วยป่นโรยลงไปในขณะที่น้าข้าวรินยังไม่แห้ง เพื่อให้เศษวัสดุเหล่าน้ันติดแน่นอยู่เมื่อแห้งแล้ว เพ่ือ จะช่วยใหท้ าร้ายคู่ต่อสไู้ ดม้ ากขึน้ แตน่ ายสุข ปราสาทหินพิมาย ไม่ได้พันแบบนั้น คือเพียงใช้ผ้าพันมือ ธรรมดาๆ เท่านน้ั เพราะเห็นวา่ เป็นการทารุณ และเอาเปรยี บคู่ตอ่ สู้มากเกนิ ไป สุข เล่าว่าสมัยก่อนใครจะเป็นนักมวย จะต้องไปเรียนคาถาอาคมให้อยู่ยงคงกระพันถึงข้ัน หนังเหนียวเสยี ก่อน เพราะสมยั กอ่ นถือว่าถ้านกั มวยคนใดถูกชกจนเห็นเลือดซมึ ออกมาถอื ว่าแพ้ การชกมวยมัยก่อนนนั้ ชกคู่ละ 3 ยนื (3 ยก) โดยต่อยแบบเวยี นรอบคือถา้ รายการมวยนัดน้ัน มีมวย 5 คู่ กจ็ ะเร่มิ ต่อยไปคลู่ ะ 1 ยืน แลว้ คู่ที่ 1 จึงจะได้มาต่อยยืนท่ี 2 เม่ือทุกคู่ต่อยยืนท่ี 2 แล้ว คู่ท่ี 1 ก็เริ่มตอ่ ย ยืนที่ 3 เรียงตอ่ ไปจนถึงค่สู ดุ ท้ายยืนท่ี 3 กถ็ อื วา่ หมดรายการมวยชดุ นนั้
170 ต่อมาต่อยกับเสถียร นักมวยดังจากบ้านปรุโคราช ในงานเผาศพท่ีบ้านจารตารา อาเภอ พมิ าย กส็ ามารถเอาชนะนอ็ คได้ในยกท่ี 1 สุข เล่าว่าก่อนท่ีจะได้ชกกับเสถยี รนน้ั ตวั เองเตรียมตัวเพ่ือจะบวชเหลือเวลาเพียง 3 วัน ก็จะถึงวันบวช เพราะเหตุที่นายแก้ว น้องชายจะไปชกในงานนี้ แม่เลยบอกให้ตามไปดูน้องชายด้วย ขณะนั้นได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านประสุข ตาบลประสุข อาเภอพิมาย ซ่ึงปัจจุบันน้ีข้ึนอยู่กับอาเภอชุมพวง ด้วยความเป็นห่วงน้องจึงตามไปโดยว่ิงบ้างเดินบ้างลัดตัดทุ่งจากบ้านประสุขไปยังบ้านจารตาราเป็น ระยะทางหลายกโิ ลเมตร เม่ือไปถึงบ้านจารตารา ก็ไปพักอยู่ท่ีร้านของคนบ้านประสุขซ่ึงไปขายผัดหม่ี อยู่ในงานน้ัน ฝ่ายนายเสถียร เดินทางไปจากบ้านจารตารา อาเภอพิมาย ในขณะที่เดินทางไปกับ นายกรีน ซ่ึงเป็นเพื่อนกันกับนายสุขสมัยซึ่งบวชเป็นสามเณรอยู่ท่ีวัดเดิม คุยเป็นเชิงสบประมาท นายสุขไปต่าง ๆ นานา นายกรีน จึงไปเล่าให้นายสุขฟังว่า กรีน - เฮย สุข ไอ้เถียร มันว่าจิมา ปราบมึงเดเฮย (เขาจะมาปราบแกนะ) สุข - เออ ดี๋ละเต (เออดีละ) มันมาปราบได้ก็ด๋ี ส่วนในใจคิดว่า มันจะมากับเราไหมหนอ คิดถึงอดีตท่ีได้เห็น เสถียร เป็นนักมวยท่ีไม่มีความเมตตากรุณา ตอนที่ชกกับนายทิมคนบ้านหนอง จะบก อาเภอพิมาย ซ่ึงเป็นมวยไม่มีครูแต่มีวิธีการทางไสยศาสตร์ คือก่อนที่จะชกมวยนั้นจะจัดพิธี บวงสรวง แล้วตัวเองจะมีลักษณะคล้ายถูกผีเข้าเจ้าทรงแล้วสามารถชกมวยได้ คนแถวนั้นเรียกว่าทิม มวยผีบอก นายทิมสไู้ มไ่ ด้ เพราะตวั เต้ียกวา่ ถูกศอกกลบั ของเสถียรหัวแตกยับเยินเลือดไหลอาบแต่ไม่ ยอมแพ้ ฝา่ ยเสถียรก็ไมม่ คี วามเมตตา กลบั ถองเอาแบบไม่ยง้ั มอื ในขณะท่ดี อู ยู่นัน้ ตนเองคิดว่า อย่าง นี้เจอกับเราบ้างจะกะพึดให้เดียว (กะพึด คือ ฟาดฟัน) เม่ือไปถึงบ้านจารตารา เสถียรหาคู่ชกไม่ได้ ประกอบกับเคยพดู กับนายกรนี วา่ ในพิมายนี้ถา้ ปราบไอส้ ขุ ไดแ้ ล้ว ตัวเองก็จะเป็นหน่ึงได้อย่างภาคภูมิ ในถน่ิ น้ี ฝ่ายกรรมการประกบคู่มวย เม่ือหาคู่ชกให้กับเสถียรไม่ได้ ก็ปรึกษากันว่า น่าจะลองไปถามพี่ สุขดู ถ้าพ่ีสุขตกลง ก็จะได้จัดให้ชกกัน กรรมการประกบคู่มวยขณะนั้นรู้จักกับสุขเป็นอย่างดีจึงได้นา เสถียรมายืนเทียบกับนายสุข แล้วถามสุขว่าจะต่อยกับเสถียรไหม สุขตอบว่า ไม่ว่าแหล่ว (ต่อยก็ได้) ฝ่ายเสถียรน้ันพูดเป็นเชิงถ่อมตัวว่า ผมชก ผมก็สู้พ่ีสุขไม่ได้ดอก แต่ก็ตกลงชกกันโดยชกเป็นคู่แรก เพราะสมยั น้นั ถอื วา่ ถ้าใครไดต้ ่อยเป็นคแู่ รกถอื วา่ เป็นคเู่ อกของรายการ ก่อนจะชกกัน เสถียรมาบอกว่าขอให้ชกกันแบบเล้ียงคือต่อยแบบออมมือไม่จริงจัง เมื่อลง มือต่อยก็ต่อยแบบเลี้ยงกัน สุขนั้นอยากจะทดลองดูว่าศอกของเสถียรน้ันรวดเร็วและคมขนาดไหน กย็ น่ื หนา้ เขา้ ไปให้ถอง เสถียรก็ถองอยู่ประมาณ 1 นาที แต่ก็ถองไม่ถูก เพราะสุขคอยหลบอยู่เร่ือย เมอื่ เหน็ วา่ เสถียรไม่สามารถจะถองถูกแล้วจึงถอยหัวออกมา เห็นว่าเสถียรยังก้มหน้าจะถองต่อไปอีก ก็คิดว่าจะชกข้ามหัว แต่บังเอิญเสถียรเงยหน้าข้ึนมาเจอเอาหมัดขวานั้นเข้าพอดีถึงกับฟันหัก 3 ซ่ี ริมฝีปากหลุดออกเป็นชิ้น สุขน้ันถูกฟันของเสถียรทิ่มที่มือเป็นแผลลึกถึงวันบวชแล้วยังไม่หาย หลวง พอ่ จบั มอื ตอนใหค้ าเกศา โลมา ถึงกบั สง่ เสียงด้วยความเจ็บปวด ต่อมาก็ไปชกกับนายชัยท่ีอาเภอพล จังหวัดขอนแก่น ในงานประจาปีของอาเภอพล นายชัย เป็นนกั มวยท่หี าคู่ชกอยู่ 3 วันแลว้ แตย่ งั หาคูช่ กไมไ่ ด้ พอดคี นรจู้ ักกันคือปลดั อภัย สิทธิวงศ์ ซ่ึงเป็นครู สอนอยทู่ ี่น่ันและดูเหมือนจะสนใจเร่ืองมวยอยู่แล้ว จึงชวนให้ไปพักด้วยกันและนามาเปรียบมวย เม่ือ
171 เข้าไปยืนเทียบกันแล้วท้ังสองฝ่ายก็ตกลงชกกัน การประกบมวยในงานวันนั้น เขาประกบไว้ชกตลอด ทง้ั 3 วนั เลยทเี ดยี ว สขุ กับชัยไดช้ กกันเป็นรายการวันท่สี องของงาน เมื่อถึงเวลาชกปรากฏว่า นายชัยหาอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ผ้าพันมือ กางเกง ได้ไม่ครบ สุข กต็ ้องช่วยจดั หาให้ (ขณะทชี่ กกบั นายชัยนนั้ นา้ หนกั ของสขุ 66 กโิ ลกรมั ) ตอนเร่ิมชก เม่ือไหว้ครูเสร็จเรียบร้อยแล้ว สุขก็เข้าไปยืนรอให้นายชัยไหว้ครูอยู่ที่มุมของ ตัวเอง ฝ่ายนายชยั น้ันไหวค้ รูแบบเสอื ออกเหลา่ คือเมอ่ื ไหว้ครูไปขณะร่ายรามวยอยู่น้ัน ก็หันหน้าแลบ ล้ินเลียที่ไหล่ซ้ายที ไหล่ขวาที พอระฆังสัญญาณเร่ิมยกที่ 1 ทั้งสองฝ่ายก็ต่างจดจ้องระวังกันเป็น เวลานาน สุขเห็นว่า ฝ่ายนายชัยไม่ทาอะไรสักที เลยเอาหมัดซ้ายตบหน้าไปหนึ่งที นายชัยก็ชกขวา สวนมา สุขหลบ พอหมัดนายชัยพ้นไปกเ็ ตะด้วยขวาทีก่ ้านคอ พอเอียงไปทางซ้ายก็เตะด้วยซ้ายที่ก้าน คอแบบเตะประคองไวไ้ ม่ใหล้ ม้ แล้วรวบคอมาอัดดว้ ยเข่าขวาที ซา้ ยที เม่ือปล่อยนายชัยก็ลงไปกองอยู่ กับพ้นื ใหก้ รรมการนบั สิบ แพ้นอ็ คไป ในยกท่ี 1 ผลจากการทส่ี ุขสามารถเอาชนะคู่ต่อสไู้ ด้อยา่ งง่ายดายดว้ ยชัน้ เชงิ ท่ีเหนือกวา่ แบบทาบไม่ติด นที้ าให้คู่ชกของนักมวยท่ีไปจากพิมายคนอน่ื ๆ หนีหมด รายการมวยวันนั้นจงึ ยตุ กิ นั เพียงเทา่ น้ี ต่อจากนั้นก็มาชกกับลี จิตตะบุตร (เทียมกาแหง) ในงานหาเงินสร้างพระอุโบสถวัดเดิม อาเภอพิมาย ขณะนั้นคา่ ผา่ นประตูในการเท่ียวงานเก็บเพียง 25 สตางค์ แต่สามารถเก็บค่าผ่านประตู ได้รว่ ม หนึง่ พันบาท นบั วา่ มีคนเข้าชมงานมากเป็นพเิ ศษ ลี จติ ตะบตุ ร เป็นนักมวยฝมี ือดจี ากโคราช ซง่ึ กรรมการประกบมวยส่ังมาชกกับสุขโดยหวังว่า จะเอาชนะสุขไดอ้ ยา่ งแนน่ อน ถึงกับเรียกสุขเข้าไปหาและแนะนาให้รู้จักกับลี แล้วพูดเป็นเชิงขอร้อง ใหล้ ชี ่วยชกแบบออมมอื ทาใหส้ ุขอยากชกกับลีเรว็ ขน้ึ เม่ือถึงเวลาชก เร่ิมยกท่ี 1 ลี พยายามใช้ชั้นเชิงและลูกเล่นทุกอย่างก็ไม่สามารถทาอะไร สขุ ได้ เคยใชศ้ อกกลับไดผ้ ลกถ็ ูกกนั ไว้ หมดยกท่ี 1 ตา่ งทาอะไรกนั ไม่ได้ เริม่ ยกท่ี 2 ลี แย็ปซา้ ยถูกทจ่ี มูกของสุข เลือดกาเดาออก พอพักยกให้น้า สุขก็คิดหาทางแก้ คิดว่าจะต้องแก้ด้วยการหลอกให้ลีแย็ปแบบเดิมอีก เมื่อแย็ปแล้วจะต้องตามด้วยหมัดขวาเป็นหมัด 1-2 ตามแบบฉบับของมวยไทยท่ัว ๆ ไป แล้วจะดกั ด้วยเข่าขวา เร่ิมยกที่ 3 เหตุการณ์ก็เป็นดังท่ีคาดไว้ สุขออกจากมุมโดยการวางเท้าขวาเตรียมไว้ใน ลักษณะทจี่ ะตเี ข่าไดอ้ ย่างถนดั แลว้ ย่นื หน้าหลอกลอ่ ให้ลแี ยป็ ซ้าย ลีเม่ือแยป็ ซ้ายมาแล้วก็ตามด้วยขวา สุขเอาหมัดซ้ายปัดหมัดขวาของลีให้พ้นไปแล้วโยนด้วยเข่ากะให้ถูกปลายคาง แต่พลาดไปถูกที่หูเล่น เอาลีถึงกับก้นกระแทกพื้น เลือดออกจากรูหูท้ังสองข้างผู้ชมในสนามต่างเชียร์กันใหญ่ให้สุขน็อคลี ให้ได้ แต่กรรมการประกบมวยข้ึนไปบนเวทีขอร้องให้สุขต่อยแบบออมมือเล้ียงลีไว้ให้ครบ 5 ยก ดังนน้ั ผลการชกคร้ังนัน้ จึงเป็นอันเสมอกนั ไป รุ่งข้ึน สุข ไปรับค่าชกจากกรรมการประกบมวย ก่อนหน้าท่ีจะมารับค่าชกนั้น สุขทราบว่า นายหมวก โชไชย กรรมการใหญ่ในการจดั งานคร้ังน้ัน สง่ั ใหจ้ ่ายเงนิ ค่าชกเป็นเงินท้ังหมด 100 บาท แต่สุขได้รับเพียง 60 บาท จึงถามว่าเงินที่เหลือ 40 บาทน้ัน จ่ายให้ใครบ้างจะให้กรรมการชี้ขาด กรรมการให้คะแนนหรือกรรมการจับเวลาหรืออย่างไร เท่าน้ันเองผู้จ่ายแสดงอาการไม่พอใจถึงกับ ขว้างบัญชีจ่ายเงินท้ิง สุขจึงถามว่า “ผมถามแบบนี้ก็โกรธกับผมดานี (ด้วยหรือ) ผมถามก็เพราะ
172 อยากรู้ หรือว่าไม่พอใจอย่างไร เวทีเขาก็ยังไม่รื้อ จะต่อยกับผมก็ได้” ว่าแล้วก็คว้าข้อมือผู้จ่ายเงินจะ ดงึ ขึ้นเวที แตเ่ ขาสลดั มือวง่ิ หนีไป ต่อมาได้ชกกบั ลี จติ ตะบตุ ร อกี คร้งั หน่งึ ทีโ่ คราช ตามคาเรียกร้องของแฟนมวยท่ีโคราช ซึ่ง อยากดูคนที่สามารถเอาชนะลี จิตตะบุตร ได้ ก่อนชกกันคร้ังนี้ ลี ได้มาขอร้องให้ชกกันแบบออม มือ ผลของการชกจึงลงเอยดว้ ยการเสมอกันไป ครั้งต่อมาก็ชกกับบุญธรรม ถงั สุเทพ ท่โี คราช ก็สามารถเอาชนะบญุ ธรรมได้อีกอย่างสบาย ในการชกแบบสวมนวม สขุ ชกชนะน็อคปะ ไชยยรุ ะ ครพู ละยกที่ 3 ที่อาเภอพทุ ไธสง จังหวดั บุรีรัมย์ พอกลับมาบ้านได้ 17 วัน ก็แต่งงานกับนางสาวทองมาก แซ่ตัง ที่บ้านรังกา อาเภอพิมาย แล้วนาภรรยาไปเกี่ยวข้าวอยู่ที่บ้านดง อาเภอพิมาย บังเอิญที่น่ันเขามีงานประจาปี ทางกรรมการ จัดงานได้มาขอร้องให้ไปช่วยคุมงานด้วยในฐานะทเี่ ป็นตารวจเกา่ ขณะนนั้ สุขมีอายุ 27 ปี เพิ่งแต่งงาน ได้ 3 เดอื น ในงานนั้น น้องเมยี ของกานันตีหวั นายอยถู่ ึงแกค่ วามตาย สุขก็อยู่ในเหตุการณ์น้ันด้วย ทา ให้ญาติของผู้ตายเข้าใจผิดคิดว่านายสุขเป็นผู้ตีหัวนายอยู่ จึงได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ เม่ือมีการ สอบสวนพยานฝ่ายจาเลยกลบั ไปเป็นพยานฝ่ายโจทยเ์ สียหมด ทัง้ น้ีเนื่องจากกรรมการประกบมวยซึ่ง เคยแคน้ กับนายสุขเนอื่ งในการจ่ายค่าชกตอนที่ชกกับนายลีท่ีงานวัดเดิม อาเภอพิมายได้บังคับพยาน โจทย์ด้วยการจับไปคุมขังแล้วพิมพ์คาให้การว่าในขณะท่ีเขาตีกันตายนั้น ตัวเองไม่เห็นเหตุการณ์แต่ เมื่อถึงที่เกิดเหตุแล้วเห็นนายสุขยืนถือไม้กระบองอยู่ แล้วพยานเหล่าน้ันเซ็นชื่อเป็นการรับรอง ถา้ ใครไม่ใหก้ ารตามนน้ั จะถูกจาคุกฐานเป็นพยานเทจ็ ดังนัน้ เม่ือมกี ารตดั สินโดย คาพิพากษาของศาล สขุ จึงต้องถกู จาคุก ศาลตดั สนิ ใหจ้ าคกุ 20 ปี ระหว่างถกู จองจา สุขประพฤติตัวดจี ึงไดร้ ับการลดหย่อน ผอ่ นโทษ ตดิ คุกเพียง 7 ปี สุขถูกฝากขังเพ่ือรอคาพิพากษาตัดสินอยู่ท่ีเรือนจาจังหวัดนครราชสีมาเป็นเวลา 8 เดือน แล้วจะถูกส่งไปยังเรือนจากลางบางขวาง กรุงเทพฯ สุขยังเล่าต่อไปว่า ตอนที่ไปชกกับประเสริฐ ส.ส. ที่กรงุ เทพฯ นน้ั กรรมการประกบมวยคู่ปรับเดิมของสุขไปดักรออยู่ที่สถานีรถไฟโคราช เพ่ือขอยืมเงิน 50 บาท สขุ เลย บอกวา่ “ผมไม่มดี อก ผมใชห้ มดตัง้ แตส่ มัยอยูใ่ นคกุ แลว้ ” ขณะท่ีฝากขังรอคาพิพากษาอยู่ที่โคราชนั้น มีคนไปส่ังประเสริฐ ส.ส.มาชกท่ีโคราช แต่ไม่ สามารถหาคชู่ กได้ จึงมีคนไปตดิ ต่อกับพศั ดขี อสขุ มาชกกับประเสริฐ ส.ส. สุขบอกว่า “ถ้าจะให้ผมชก ก็ขอให้ผมมีเวลาฝึกซ้อมบ้าง” ทางพัศดีจึงอนุญาตให้มาอยู่นอกเรือนจา ออกว่ิงตามทางรถไฟจาก หัวรถไฟไปถึงบ้านพระพุทธ บ้านพะโล แล้วกลับมาว่ายน้ารอบ ๆ เรือนจาอยู่เป็นประจา มีเวลา ฝึกซ้อมประมาณ 20 วัน จากน้ัน เสธฯ เติม เสนาธิการทหารภาคพายัพ ซึ่งเป็นผู้จัดงานหาเงินมา เผาศพทหารผเู้ สียชวี ิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ไปทาสัญญาการชก ถามว่า ชกกับประเสริฐ ส.ส. จะ คิดค่าเหนื่อยเท่าไร สุขตอบว่า “แล้วแต่เจ้านายเถอะ” เสธฯ เติม ถามว่า “400 บาท เอาไหม” สุข ดีใจมาก เพราะเคยต่อยได้ค่าตัวสูงสุดเพียง 100 บาทเท่าน้ัน ก็เป็นอัน ตกลงเซ็นสัญญาการชกกัน เป็นทเ่ี รียบร้อย การชกคร้ังน้ี เนื่องในงานเผาศพทหารทเ่ี สยี ชวี ติ จากสงครามโลกครงั้ ท่ี 2 เริม่ ชก ประเสริฐ ส.ส.เปน็ นกั มวยฝมี อื ดี ฉลาด และได้เปรยี บชว่ งชก แต่เสียเปรยี บด้าน น้าหนกั
173 ยกท่ี 1 ประเสรฐิ ส.ส.อาศยั ช่วงท่ยี าวกวา่ ถบี บริเวณหน้าและหนา้ อก สุขไม่สามารถเข้าทา อะไรได้ ยกที่ 2 ประเสริฐ ส.ส. ถีบหมายให้ถูกปลายคาง สุขจับขาได้แล้วกระตุกยกข้ึนจนขาข้าง หน่งึ พน้ พ้ืน แล้วเตะด้วยแข้งซ้ายอย่างแรงเข้าท่ีก้น ประเสริฐถูกเตะถึงกับก้นฉีกเลือดไหล หลังจาก นั้นประเสริฐกไ็ ม่กลา้ เขา้ หา พอเข้าหา กเ็ อาหัวชนสุขบริเวณใต้คิ้วในขณะที่สุขจะรวบคอ ตีเข่า สุขคิด แก้ลาดว้ ยการเอาหวั ชนบา้ ง พอผละจากกนั สุขปร่เี ข้าหาทาทีวา่ จะตีศอก แต่กลับพุ่งหัวเข้าชนก่อนใช้ ศอก เล่นเอาประเสริฐหน้าแตกเหมือนกัน จากน้ันมาประเสริฐก็ไม่ยอมเข้าคลุกอีก จนครบ 5 ยก เป็นอนั เสมอกนั ไป ต่อมาสขุ ได้รับการอภยั โทษและพ้นโทษในปี พ.ศ. 2489 รวมเวลาถูกจาคุกได้ 7 ปี โดยเริ่ม ถกู จาคุกเมื่ออายไุ ด้ 27 ปี ออกจากที่คุมขังเมื่ออายุ 34 ปี ออกมาอยู่บ้านได้ 1 เดือน พัศดีสานวน วงศ์สมบัติ ซึ่งย้ายไปอยู่พิษณุโลก มีหนังสือ ติดต่อมาจะให้ ไปชกที่เวทีราชดาเนิน กรุงเทพฯและบอกรายชื่อนักมวยมาให้ทราบด้วย ให้เตรียมตัว ไปชก แต่ก่อนจะไปต้องไปพบท่านท่ีพิษณุโลก สุขและแก้วน้องชายจึงเดินทางไปฝึกซ้อมอยู่ พิษณุโลก 10 วัน แล้วเดินทางต่อเข้าไปท่ีกรุงเทพฯ ไปหา สิบตารวจเอกเล่ือน ศินีนาถ ที่สาเหร่ สิบตารวจเอกเลื่อน ได้หาท่ีพักให้บริเวณใกล้ ๆ กับสถานีตารวจสาเหร่ อาศัยลานซีเมนต์ของป่าช้า พวกคริสเตียนเปน็ ที่ฝึกซ้อม หลังจากชกแล้วคร้งั หนึ่งก็ยา้ ยท่ซี ้อมไปท่ลี านข้าวนึ่งของโรงสีฮวงหลี เมื่อไปถึงกรุงเทพฯได้ 7 วัน จึงเข้าพบนายสนามมวยราชดาเนิน นายบุญล้ม หรือ นายปราโมทย์ พึ่งสุนทร เม่ือส่งหนังสือของพัศดีสานวน วงศ์สมบัติให้แล้ว นายสนามก็เรียกให้เข้า พบ ในขณะที่เข้าพบ นายสนามน้ัน มีนักมวยประมาณ 20–30 คน รอการประกบคู่อยู่ นักมวย เหลา่ นนั้ คงคิดวา่ สุขเป็นนกั มวยบา้ นนอก ใครก็มายืนเทียบอยากชกดว้ ย สุขจึงบอกว่า “อย่าเพ่ิงชกกับ ผมเลย ผมยังสู้ใครไม่ได้ดอก” พอนายสนามรับเข้าไปในห้องจึงประกาศแก่นักมวยเหล่าน้ันว่าให้ เตรยี มตัวไว้ จะให้ชกกับสุขทุกคนถ้าใครมีความสามารถ ฝ่ายทางนายสนามนั้น จะจัดให้นายแก้วชก ก่อนในวันอาทิตย์นี้ แต่สุขบอกว่า น้องชายผมยังไม่สมบูรณ์ อย่าเพ่ิงให้ชกเลย แต่ตัวผมนี่เจ้านายจะ ให้ชกเม่อื ไรก็ได้ ขณะนน้ั ทางเวทีราชดาเนิน จัดลาดับนักมวยไวเ้ พยี ง 6 คน เรยี งลาดบั ดังนี้ อนั ดับ 1 สมาน ดลิ กวิลาศ “เยนตละแมน” อันดบั 2 ถวลั ย์ วงศ์เทเวศร์ “กาแพงเมืองจีน” อนั ดบั 3 ประเสรฐิ ส.ส. “นายขนมตม้ ” อันดับ 4 ทวี ใจมบี ุญ “ยกั ษค์ างเครา” อนั ดับ 5 ประสิทธ์ิ ชมศรเี มฆ “ราชสหี ์” อนั ดับ 6 ศรีเมือง อนิ ทรยศ ทางเวทีจึงจัดให้ศรีเมือง ชกกับสขุ ศรีเมือง เป็นนักมวยที่มีความทรหดอดทนเป็นพิเศษ มีดีท่ีอาพัดเหล้าดื่ม (เสกเหล้าด่ืม ก่อนชก) การชกกันครัง้ นถ้ี งึ แม้จะถูกต่อยถูกศอกอย่างไรก็ยังว่ิงเข้าหาอยู่ร่าไปจนสุขต้องใช้มวยวัดบท เสือลากหางเขา้ ชว่ ย คือพอปรี่เขา้ มาก็เอามอื ซา้ ยคา้ คอไว้ พอรูส้ กึ วา่ ดันมาแรงก็ปล่อยมือซ้ายแล้วหวด ดว้ ยขวาอยา่ งเร็วท่กี ้านคอจนต้องวงิ่ หวั ซนุ ไปลอดออกนอกเชอื กดา้ นตรงขา้ ม เม่ือศรีเมืองวิ่งเข้ามาอีก
174 สุขก็เอามือขวาค้าคอไว้ พอดันมาตึงๆมือก็ปล่อยมือขวาแล้วต่อยด้วยซ้ายท่ีก้านคอจน หัวซุนลอด ออกไปนอกเชอื กด้านตรงข้ามอกี กรรมการเหน็ ว่าถา้ ปล่อยให้ชกต่อไปคงเจ็บหนักกว่าน้ี จึงจับมือสุขชู ให้เป็นผู้ชนะเทคนิเกิ้ลน็อคเอ๊าท์ไปในยกที่ 3 ได้รับเงินรางวัล 400 บาท ซ่ึงเป็นจานวนมากสาหรับ นักมวยในสมยั นน้ั 20 วันหลังจากนั้น ทางเวทีก็จัดให้ชกกับประสิทธ์ิ ชมศรีเมฆ ซ่ึงถือว่าเป็นราชสีห์แห่ง เวทรี าชดาเนนิ ด้วยการชนะเลศิ มวยร่นุ 5 ราชสหี ์อยู่ในขณะนั้น เป็นนกั มวยท่มี หี มัดซา้ ยหนกั มาก พอเริ่มชก ประสทิ ธ์เิ ปน็ ฝา่ ยหนี สุขเดนิ เขา้ หาลดการ์ดลงให้ชกก็ไม่ชกตามอยู่นานก็ทาอะไร กนั ไมไ่ ด้ พอต้อนเขา้ มุมสุขจงึ กระทบื เท้าหลอก ประสิทธิถ์ อยไปตดิ เชอื กแล้วสปริงตัวฟันด้วยศอกกลับ ถกู ท่ใี ตต้ าของสุขแตกเลือดไหล พอดีหมดยก ขณะพักยกสุขคิดหาทางแก้ไข คิดว่ายกท่ีแล้วโดนอะไร มา บ้างก็คิดได้ว่าเคยถูกเขาเตะขาไว้ 2–3 ครั้ง จะต้องทาทีว่าเจ็บขาเพื่อหลอกล่อให้ประสิทธิ์เข้า มาแล้วจะอดั ดว้ ยเข่า เร่ิมยกที 2 สุขก็ลากขาออกจากมุม คนดูต่างก็เชียร์ให้ประสิทธ์ิรีบเดินเคร่ือง แต่ประสิทธิ์ก็ ไม่หลงกล จนกระทัง่ ไล่เข้ามมุ ได้อกี คร้ังหนึ่ง สขุ จึงตบด้วยหมัดซ้ายและกระชากคอออกมาจากมุม อัด ด้วยเข่าท่ีด้งั จมูกเลอื ดไหลโกรกราดต้ังแต่หวั เข่าจนถึงหลังเท้าของสขุ ประสิทธ์ิชักสองแขนกอดขาของ สุขไว้แนน่ กรรมการต้องมาแกะออก แลว้ ใส่เปลหามลงไปพยาบาลนานประมาณ 30 นาที โฆษกของ เวที (นายแม่น ชลานุเคราะห์) จึงประกาศว่า ดั้งจมูกของประสิทธ์ิงัดอกมาได้ แล้วดีดออกมาดังบ็อก คนดใู นสนามตา่ ง สง่ เสียงชอบใจคาบรรยายทีท่ าใหเ้ ห็นภาพพจน์ของโฆษกของเวที คุณวิเชียร นักหนังสือพิมพ์ข่าวกีฬาในสมัยนั้น จึงมาขอต้ังฉายาให้ว่า “สุข ยักษ์ผีโขมด” และให้ค่า ตั้งฉายาครั้งนั้นเป็นเงิน 1,000 บาท วันต่อมารูปของ “สุข ยักษ์ผีโขมด” ก็ถูกนามาลง หน้าปกหนังสือพิมพ์กีฬามวย ในลักษณะใบหน้าเป็นรูปท่ีประดับด้วยก้อนหินอันเป็นสัญลักษณ์ ปราสาทหนิ พิมาย หนงั สือพิมพ์ชุดนน้ั ขายดเี ป็นเทนา้ เทท่า ตอ่ มาชกกับ “ไอ้ราชครางเครา” หรอื “ยกั ษค์ างเครา” ทวี ใจมีบุญ ซ่ึงเป็นนักมวยลูกครึ่ง พมา่ เป็นมวยหมดั หนักอยา่ งร้ายกาจ ในขณะท่กี าลังฝึกซ้อมอยู่นั้นหนังสอื พิมพต์ า่ งออกข่าวกันอย่าง ครกึ โครมว่า ทวี ตอ่ ยกระสอบขาดบา้ ง ซ้อมกบั คตู่ อ่ ยคูต่ อ่ สขู้ แี้ ตกบ้าง สขุ ชกั กลวั เหมือนกัน เมอื่ ถงึ เวลาชก ทวีไม่ยอมตงั้ การ์ดเดินเอามือไขว้ข้างหลังเข้าหา เล่นเอาสุขต้องกรรเชียงหนี ไปรอบๆเพราะไม่ทราบว่าจะมาไม้ไหน นานเข้าทวีกไ็ มเ่ หน็ ตดั สินใจทาอะไร จงึ แยป็ ด้วยซ้ายถูกที่ปาก ของทวี เห็นทวีทาปากบุ้ยใบ้ แสดงให้ทราบว่าปากแตกและกาลังดูดกลืนเลือด จึงแย็ปซ้ายซ้าไปอีก 2–3 คร้ัง ทวีกส็ วนมาดว้ ยขวา สขุ เอามือทดั ซา้ ยกนั ไว้พร้อมกบั สับศอกไป 3 ครั้งซ้อน ๆ ปรากฏว่าได้ เลือดทงั้ 3 แผล บริเวณหนา้ ของทวีแลว้ ตอ่ ยซ้ายขวาแตกทีต่ าท้งั สองข้าง พอขึ้นยกที่ 3 สุขเข้าฟันศอกและตีเข่าอีก 2–3 คร้ัง ทวี ใจมีบุญ ก็เดินลงจากเวทีบอกว่า ไม่สู้ขืนสู้ตายแน่ เมื่อลงเวทีไปแล้วยังไม่รู้สึกตัวเนื่องจากมึนไปหมดถึงกับถามพวกพ้องว่า “ตัวไปทา อะไรมา” ต่อจากนั้นมาเขาก็จัดให้ชกกับประเสริฐ ส.ส. เม่ือประกบคู่ได้ ประเสริฐบอกกับเพื่อน นักมวยด้วยกันว่า “ไอ้คนน้ีแก้ยาก คนน้ีฉลาดใครทาอะไรไว้แค่ไหนจะเอาวิธีการน้ันมาใช้แก้ทันที” ทาให้พวกนักมวยซ่ึงเคยอยากต่อยด้วยในวันแรกท่ีสุขมาถึงต่างขยาดไปตาม ๆ กัน เม่ือเห็นสุข เดิน เขา้ มาจะเปดิ ทางให้เป็นแถวซึ่งผดิ กบั วนั แรกทแ่ี สดงท่าทไี มเ่ ห็นสขุ อยู่ในสายตา
175 การชกกับประเสริฐ ส.ส. หนนี้เป็นหนท่ี 2 ประเสริฐรู้แล้วว่าเข้าคลุกไม่ได้ จึงเตะหนีต่อย หนีไปเรอื่ ย ๆ จนครบ 5 ยก จึงเสมอกนั ไป สุขได้รบั เงินรางวลั 4,000 บาท ต่อมาต่อยกับถวัลย์ วงศ์เทเวศร์ มวยโคตรทนทรหดชนิดต่อยเท่าไรไม่ยอมลง วันชกกอง เชยี รฝ์ ่ายถวลั ย์เดนิ ถือธงตราชา้ งสะบัดเข้าเวทมี าอย่างครึกคร้ืน คนดูมากเป็นประวัติการณ์ คนภายใน เวทีกับคนนอกเวทีพอ ๆ กัน พวกที่หาต้นเสากระทุ้งกาแพงเวทีเพื่อเข้าไปข้างในก็มีพวกใช้เชือกโหน ขา้ มกาแพงเวทีกม็ ี สารพัดอยา่ งเลน่ เอาตารวจวุ่นวายไปตาม ๆ กัน พอเริ่มชก สุข รู้มาก่อนแล้วว่า ถวัลย์เป็นนักมวยหมัดหนักมากและมีความอดทนเป็น พิเศษกน็ ึกเกรงอยใู่ นใจคิดได้ว่าเราจะต้องต่อยให้เร็วที่สุดไม่ให้ถวัลย์ออกหมัดได้จะใช้ศอกให้ รวดเร็ว กว่า พอระฆังเรม่ิ ถวัลยก์ ็ปรเ่ี ขา้ หาพอง้างหมัดจะต่อย สุขก็เข้าประชิดชิงตีด้วยศอกซ้ายขวา ก่อนการ ชกครั้งนี้มีการถ่ายภาพยนตร์โดยองค์การยูเนสโก เพื่อจะนาไปฉายหาเงินช่วยเหลือคนยากจนใน ตา่ งประเทศ ชกกนั ครบ 5 ยก ปรากฏวา่ ศอกของสุขบวมเปง่ จนไมส่ ามารถสวมเสอื้ เชติ้ ได้ ฝา่ ยถวัลย์ไม่ มีบาดแผลเพราะวา่ ไม่ได้ถกู ปลายศอกแต่ไดร้ ับความบอบช้ามาก เม่ือครบ 5 ยก กรรมการจึงตดั สิน ให้สขุ ชนะคะแนนไป ไดร้ ับเงินรางวัล 6,000 บาท หลังจากต่อยกับถวัลย์ วงศ์เทเวศร์แล้ว ก็ชกกับสมาน ดิลกวิลาศ นักมวยอันดับ 1 ของเวที ราชดาเนิน ผลปรากฏว่าเสมอกนั ตอ่ มาก็ชกกับถวัลย์ วงศ์เทเวศร์ อีกครั้งหนงึ่ ผลปรากฏว่าสามารถเอาชนะไดเ้ ช่นเดิม ต่อจากน้ันก็ข้ึนเหนือไปชกกับสมาน ดิลกวิลาศ อีกคร้ังหน่ึงท่ีจังหวัดลาปาง สามารถ ชนะน็อคสมานไดใ้ นยกท่ี 3 เงนิ รางวลั พุง่ ขึ้นไปถงึ 20,000 บาท ประมาณ 1 ปตี อ่ มาชกกับสมพงษ์ เวชสิทธิ์ เจ้าของสมญานาม “ ซ้ายปรมาณู” แชมเปี้ยน มวยสากลภาคตะวันออกไกล จัดชกกันท่ีเวทีชั่วคราวสนามกีฬาแห่งชาติ วันที่ 16 พฤษภาคม 2491 เพราะเกรงว่าเวทีราชดาเนินจะไม่พอรับคนดูซึ่งต้องการมาดูยอดนักมวยที่เก่งกันคนละแบบ สุข ฉกาจฉกรรจด์ ้านแม่ไม้มวยไทย แต่สมพงษ์ เจนจดั ทางมวยสากลมหี มดั ซ้ายหนักขนาดสั่งได้ คืนนั้นฝน ตกราวฟ้ารัว่ แตค่ นดูก็หล่ังไหลเข้าชมเป็นประวตั ิการณ์ สุขได้เปรียบที่ร่างกายสูงใหญ่กว่าสมพงษ์อย่างเห็นได้ชัด แต่แฟนมวยส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า อีซา้ ยปรมาณูของสมพงษ์คงจะสะกดสุขลงไดไ้ ม่ยาก เริ่มยกแรก สุขไม่รีรอบุกเข้าขย้ีทันที ทั้งเตะ ท้ังเข่า ศอก และหมัด สุขประเคนใส่สมพงษ์ อย่างไม่ปราณี สมพงษ์สู้แรงปะทะไม่ได้ถอยจนล้มลุกคลุกคลานและค้ิวซ้ายโดนศอกสุขหั่นเอาเลือด ไหลโกรกน่าหวาดเสียว ยกสอง สุขโหมพลังบุกขยี้สมพงษ์อย่างดุร้ายประหน่ึงจะเอากันให้ตายคาเวที สมพงษ์ ตา้ นทานแรงปะทะของสขุ ทส่ี งู ใหญถ่ ึงกับตั้งตวั ไม่ติด ล้มควา่ ล้มหงายดว้ ยแรงเหวี่ยงแรงปล้าสารพัดไม่ มีทีท่าว่าจะใช้หมัดซ้ายปรมาณูอันลือล่ันพิชิตสุขลงได้เลย เม่ือหมดยกสอง พี่เลี้ยงต้องช่วยกันหิ้วปีก สมพงษก์ ระร่อง กระแร่งเข้ามุมแบบมอี าการพังพาบ พอระฆังเริ่มยกสาม พ่ีเล้ียงข้างสมพงษ์โยนผ้ายอมแพ้เพราะสมพงษ์บอบช้ามากไม่อยู่ใน สภาพท่ีจะยืนสู้ต่อไปได้อีกแล้ว ทันทีท่ีสุขได้รับการชูมือให้เป็นผู้ชนะ แฟนมวยรอบสนามต่างโห่ร้อง
176 ด่าสุขอึงคะนึง เพราะไม่พอใจท่ีสุขชกแบบโหดเห้ียมไร้เมตตาธรรม สุขออกไปรับถ้วยรางวัลของ นายกรัฐมนตรี แฟนมวยยังโหด่ ่ากกึ ก้องแทนเสยี งปรบมอื หลังจากชกสุขเปิดเผยว่า มีความเกรงกลัวในอานุภาพหมัดซ้ายของสมพงษ์มากจึงต้อง เร่งรีบเผด็จศึกโดยเร็ว ทาให้การชกออกมาในรูปแบบน้ัน สุขได้รับเงินรางวัลในการชกคร้ังน้ีถึง 30,000 บาท มากทีส่ ดุ เปน็ ประวัตกิ ารณ์ สุขเดินทางข้ึนเหนือไปชกท่ีลาปางอีกครั้งหน่ึง กับประสิทธ์ิ ชมศรีเมฆ และน็อคได้ในยก ท่ี 3 เดินทางล่องใตไ้ ปชกกับสมศรี เทียมกาแหง นกั มวยครเู ดียวกนั จงึ ชกแบบออมมอื เสมอกนั ไปท่ีจังหวัดยะลา กลับจากยะลาแล้วได้พักผ่อนอยู่นานเพราะไร้คู่จะต่อกรด้วย จนถึงวันท่ี 23 ตุลาคม พ.ศ.2491 ตรงกับวันถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า สุขได้มีโอกาสข้ึนชกบนเวที ราชดาเนินโดยถูกประกบให้ชกกับ “กาแพงเมืองจีน” ถวัลย์ วงศ์เทเวศร์ คู่ปรับเก่าอีกครั้งหน่ึง สุข ต้อนถวลั ย์เอาชนะคะแนนไปได้อย่างสบาย ๆ สุขต้องเพลามือเพลาเท้าลงบ้างเพราะเกรงแฟนมวยจะ รุมโหด่ ่าเอาอกี ว่าชกโหด หลังจากน้นั สุขเปน็ นกั มวยทีข่ ึ้นคาน ต้องวางนวมกลับไปทาไร่ไถนา ณ ถ่ินท่ีเกิดเกือบสามปี รอจนกระทัง่ มวยแม่เหลก็ ร่นุ ใหม่ทยอยกันเกดิ ข้ึนมา สขุ จึงถกู ตามตัวกลบั คืนสสู่ งั เวียน สุขถูกประกบให้ชกกับนักมวยดังรุ่นใหม่ “สิงห์สาอาง” สุรชัย ลูกสุรินทร์ เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2494 ณ เวทีช่ัวคราวสนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สุขห่างสังเวียนไปนาน และมีอายุถึง 40 ปีแล้ว จึงชกอืดอาดเป็นเรือเกลือ ถูกนักมวยรุ่นน้องท่ีมีช่วงสูงยาวกว่าเตะถีบเอา เข้าไม่ติด สุขพยายามเดินหน้าสาดหมัดแต่ไม่เข้าเป้าจัง ๆ เลยสักหมัดเดียว เม่ือครบห้ายกสุข จึงตกเป็นฝ่ายแพ้คะแนน นับเป็นครั้งแรกท่ีสุขพบกับคาว่าปราชัย อย่างไรก็ตามสุขชกกับสุรชัย ลูกสุรนิ ทร์ ถงึ 3 ครงั้ นัน่ คือ - ครง้ั ท่ี 1 สขุ แพค้ ะแนนดว้ ยขอ้ ตกลงวา่ ถ้าใครต่อยสุขไดค้ รบ 5 ยก ถือว่าเป็นผู้ชนะ ในครั้ง นี้มีการถ่ายทาภาพยนตรด์ ว้ ย - คร้งั ท่ี 2 สขุ ชนะน็อค ยกท่ี 3 - ครง้ั ที่ 3 สขุ ชนะน็อค ยกท่ี 1 เน่ืองจากสุรชัยเป็นมวยหมัดซ้าย มีลีลาการชกท่ีแก้ทางมวยได้ยาก ก่อนชกในครั้งที่ 2 สุขได้ศึกษาวิธีแก้มวยจากครูเทียมหลี (ครูเทียมหลี เทียมกาแหง) หรือที่เรียกกันว่า บากิมเส็ง จึง สามารถเอาชนะสุรชัยได้อย่างง่ายดาย ครูบากิมเส็งให้ข้อแนะนาว่า มันจะยากอะไร มวยซ้ายจะต้อง จดขวาออก พยายามกรรเชียงออกซ้ายแล้วเบียดเข้าทางขวาของคู่ต่อสู้เพื่อดึงให้คู่ต่อสู้หันมาทางเรา โดยการจดขวาออกขณะท่ีหนั เข้าหาเรานัน้ เราชิงตอ่ ยขวากอ่ นจะสามารถน็อคไดใ้ นหมัดเดยี วเทา่ น้ัน สขุ ใช้วิธีการของครบู ากิมเส็งต่อยดว้ ยหมัดน็อคได้ในครงั้ ที่ 2 และครง้ั ท่ี 3 โดยเฉพาะครั้งที่ 3 นอ็ คตง้ั แตย่ กที่ 1 แต่ก่อนจะถึงการแก้มือกับสุรชัยในการชกครั้งท่ี 2 สุขซึ่งยังบอบช้าจากการชกอยู่ ก็ถูกทาง เวทีราชดาเนินดึงตัวให้ข้ึนชกกับ “เทพบุตรสังเวียน” ชูชัย พระขรรค์ชัย ในวันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2494 ยังผลให้สุขต้องแพ้เป็นคารบท่ีสอง แถมแพ้น็อคเอ๊าท์เสียด้วย สุขโดนชูชัย ตอ่ ยควา่ ในยกสดุ ท้าย
177 สุขกลับไปซุ่มฟิตซ้อมอย่างหนัก จนถึงวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2494 จึงกลับมาชก แก้มือกับสุรชัย ลูกสุรินทร์ ที่เวทีราชดาเนินดังได้กล่าวมาแล้วช่วงนั้นทางเวทีราชดาเนินจัดมวยรอบ รุ่นมิดเดิลเวทขึ้นมา ผู้ชนะเลิศจะได้รับการยกย่องเป็นแชมเปี้ยนมวยไทยรุ่นมิดเดิลเวท ของเวที ราชดาเนินเป็นครั้งแรก นักมวยดัง ๆ ในยุคนั้นสมัครเข้าชิงชัยกันอย่างคับคั่ง รวมทั้งสุขและสุรชัย ทั้งสองจึงไดช้ กกันอีกครั้งหน่ึง สองยกแรก สุขโดนแข้งยาวเหยียดของสุรชัยเตะกระหน่าย่าแย่แทบกระอัก คะแนนตก เป็นรองเหน็ ได้ชัด ยกสามสุขโหมบุกเป็นพายุบุแคม หมัดขวาอันทรงพลังของสุขกระแทกหน้าสุรชัย หงายผลึ่งลงไปนอนพังพาบให้กรรมการนับเก้า พอลุกขน้ึ มาไดส้ ุขลุยแหลกอกี พักเดียวสุรชัยก็โดนหมัด ลงตีแปลงแพน้ ็อคเอา๊ ท์ไป สขุ กู้ช่อื และแกม้ ือได้สาเรจ็ ได้รับค่าเหน่อื ยเปน็ เงินรางวลั 20,000 บาท ต่อมาทางเวทีราชดาเนิน จัดให้สุขชกเก็บคะแนนกับทวีเดช สมานฉันท์ ในวันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 สุขต่อยทวีเดชพลิกคว่าไปอย่างง่ายดายในยกท่ี 3 และเมื่อมีการแก้มือกันอีก คร้งั หนึ่ง สุขกช็ นะน็อคเอ๊าทเ์ ชน่ กัน เดือนต่อมา ในวันอาทิตย์ท่ี 16 ธันวาคม พ.ศ. 2494 สุขขึ้นชกกับ “เมธีหมัดตรง” พิทยา กล้าศึก พิทยาเอาแต่ถอยหนีตั้งแต่ยกแรกจนถึงยกสุดท้าย ขณะที่ถอยใช้หมัดแย็ปและลูกถีบ ตลอดเวลาเก็บคะแนน ไปเรื่อย ๆ สุขรุกไลช่ กแต่ลม จนถึงยกที่ 5 สขุ มีโอกาสต่อยได้จัง ๆ 3 – 4 หมัด พิทยาทรุดฮวบ 2 ครั้ง ครบ ห้ายกสุขชนะคะแนน แต่พอรับเงินรางวัลสุขต้องผิดหวังอย่างรุนแรง เพราะทางเวทีจ่ายให้เพียง 2,000 บาทเท่าน้ัน สุขเคืองมากถึงกับเก็บเสื้อผ้ากลับบ้านรังกาท่ีโคราช จังหวะนั้นทางจังหวัดลาปางติดต่อให้สุขไปชกกับ “เยนตละแมน” สมาน ดิลกวิลาศ อดีตคู่ปรับเก่า เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2495 สุขขึ้นไปชกสมานตีแปลงยก 4 แล้วล่องใต้ไปชกกับ “ม้ามืด” สมศรี เทียมกาแหง ที่ยะลาในรายการต้อนรับตรุษจีน เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2495 ปราบได้ด้วยการชนะ คะแนน ยา่ งเข้าปี พ.ศ.2496 ทางเวทีราชดาเนินตามงอ้ งอนสุขให้มาชกแกม้ ือกับ “เทพบุตรสังเวียน” ชูชัย พระขรรค์ชัย ในรายการมวยนัดใหญ่มโหฬารศึก “เรเดียมยอมส์” วันเสาร์ท่ี 7 กุมภาพันธ์ แต่ พอถึงวันชก ชูชัยโดนแพทย์สนามส่ังห้ามชกอ้างว่าเป็นโรคปอด สุรชัย ฉวีวงษ์ หรือสุรชัย ลูกสุรินทร์ อดีตคูป่ รบั เก่าจึงถกู ตามตวั มาชกกับสขุ แทน ประหมัดกนั ไม่ทันถึง 1 นาทีของยกแรก สุขก็เอากาป้ัน ขวากระแทกสุรชัยด้นิ พราด ๆ แพ้น็อคไป แฟนมวยบน่ กนั พึมพา วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2496 ทางเวทีราชดาเนินจัดให้สุขข้ึนชกอีกครั้งหน่ึงกับ “จอมสมิงพราย” ศักดิ์ชัย นาคพยัคฆ์ ขณะนั้นสุขอายุได้ 44 ปีแล้ว ส่วนศักด์ิชัย อายุเพียง 26 ปี วัยต่างกันถึง 18 ปี แฟนมวย ต่างพากันแย่งกันตีตั๋วเข้าชมอย่างคับคั่ง เก็บเงินได้ถึง 228,000 บาท สองยกแรก สุขบุกตะลุยต่อยหมัดสลับศอกทาเอาศักดิ์ชัยย่าแย่ แต่หลังจากยกสองผ่านไปแล้ว สขุ หมดแรงตกเป็นเปา้ เท้าของศกั ดชิ์ ยั โดยตลอด เมอ่ื ชกครบ 5 ยก สขุ จึงแพค้ ะแนน หลังจากแพ้ศักดิ์ชัย สุขเร่ิมรู้ตัวว่าสังขารตนไปไม่ไหวแล้ว ทาท่าจะประกาศแขวนนวม แต่ทางเวทีราชดาเนินไม่ยอมให้สุขพักแขวนนวมไปง่ายๆ จึงให้สุขชกกับลิงลม ศรสิงห์ ในวันอาทิตย์ ท่ี 2 สิงหาคม พ.ศ.2496 วันนั้นแฟนมวยแน่นขนัดเป็นประวัติการณ์ เก็บค่าผ่านประตูได้ถึงสามแสน สองหมน่ื บาทเศษ
178 สุขเล่าว่า ลิงลม อายุเพียง 21–22 ปีเท่าน้ัน ชกกันได้เพียงยกเดียวเม่ือพักให้น้า 2 นาที ยังไมห่ ายเหน่อื ย ยกท่ี 2 แทบจะยกมอื ข้ึนจดมวยไม่ไหว แต่ได้พยายามเหวี่ยงหมัดสะบัดศอกอย่าง หนักหน่วงเรียกเสียงเชียร์ได้กึกก้อง ลิงลมถึงกับถลาร่อนปากคอแตกในยกที่ 3 พอยกท่ี 4 ลิงลมจับ ตเี ขา่ 2 – 3 คร้ัง ถอยเตะไม่ยอมแลกหมัด สุขอ่อนแรงจนหอบตัวโยน ยกท่ี 5 ลิงลมเห็นสุขอ่อนเปลี้ย เต็มท่ีจึงเดินเข้ามาหมายจะเตะและขย่มด้วยเข่า สุขเห็นว่าจะเป็นการพ่ายแพ้อย่างไร้เกียรติและ ศักดิ์ศรีเกินไป จึงยกมือบอกกรรมการเจือ จักษุรักษ์ว่า “ผมยอมแพ้ ขืนชกต่อไปหัวใจจะหยุดเต้น” กรรมการจึงชมู ือใหล้ งิ ลมชนะเทคนิเก้ิลน็อคเอ๊าท์ไป จากนั้นก็ประกาศแขวนนวมเลิกชกมวยรวมเวลา ทีช่ กมวยจนเปน็ อาชีพได้ 12 ปี การยอมแพ้ของสุข ปราสาทหินพิมาย ทาให้แฟนมวยข้องใจ เพราะสุขก็ทาคะแนนนามา บา้ งแล้ว ถงึ จะเสียคะแนนยกปลายๆก็ไม่ถึงกับต้องเป็นฝ่ายปราชัย ถ้าสุขแข็งใจต่อยสกัดลิงลมไว้และ ประคองตัวหลบหลีกไปจนหมดยกสุดท้ายสุขก็มีทางเป็นฝ่ายชนะคะแนนอย่างแน่นอน แต่เม่ือโฆษก ประกาศออกมาว่าสุขขอประกาศแขวนนวมเพราะมีอายุมากย่างเข้า 45 ปีแล้ว ไม่สามารถฝืนสังขาร ชกอีกต่อไปได้ และขออภัยแฟนมวยที่ชกไม่ดุเดือดเหมือนที่เคยชกผ่านๆมาเพราะสังขารไม่อานวย แฟนมวยได้ยินก็พากันปรบมือลั่นสนาม ทุกคนเพิ่งรู้ความจริงว่าสุขอายุมากเท่าน้ียังสามารถต่อสู้กับ นักมวยรุ่นน้องท่ีเหนือกว่าท้ังน้าหนักและรูปร่าง นับว่าเป็นยอดนักมวยท่ีหาใครเทียบไม่ได้อยู่แล้ว บางคนได้วิพากษ์วิจารณ์ต่อไปว่าถ้ายักษ์สุขเจอกับลิงลมสมัยท่ียังเฟ่ืองอยู่ สุข จะต้องเป็นฝ่ายชนะ อยา่ งแน่นอน การประกาศแขวนนวมของสุข ปราสาทหนิ พิมาย จึงเป็นความประทับใจของแฟนมวย ทุกคนที่เคยได้ชมลีลาการต่อสู้บนผืนผ้าใบของเขามาโดยตลอดและทุกคนก็ยินดีที่จะให้สุขเป็น ปรมาจารยค์ นหนงึ่ ของวงการมวยไทยโดยไม่มขี ้อโต้แย้ง สุข ปราสาทหินพิมาย เสียชีวิตอย่างสงบเมื่อเวลาประมาณ 11.00 น. ของวันเสาร์ท่ี 8 มกราคม 2543 ทีบ่ ้านเกิด ตาบลรังกา อาเภอพิมาย จงั หวดั นครราชสมี า สุขเล่าถึงความหลังเก่ียวกับการฝึกซ้อมว่า ขณะท่ีอยู่กรุงเทพฯ น้ัน ได้มอบหมายให้นายเพ่ิม ทองวฒุ ิ เปน็ ผจู้ ดั การ และได้อาศัยบ้านของนายเพม่ิ เป็นทพ่ี ักเพ่ือฝึกซ้อมที่กรุงเทพ ฯ การฝึกซ้อมน้ัน จะต้องฝกึ ซอ้ มอยู่เปน็ ประจา ถึงแม้ว่าจะไม่มีรายการชกก็ตาม การฝกึ ซอ้ มทีป่ ฏบิ ัติอยู่คือ 1. วิ่งในช่วงวงเวียนใหญ่–ดาวคะนอง ระยะทาง 12 ช่วงเสาไฟฟ้าว่ิงประมาณ 15–17 รอบ ก่อนหยดุ วิง่ แต่ละคร้ังจะตอ้ งว่งิ เร่งให้ได้ 12 ชว่ งเสาไฟฟ้า โดยวิ่งเร่งตั้งแต่ 2 ช่วง เสาไฟฟ้า และเพ่ิมขึ้น เรื่อย ๆ ในแต่ละเวลา เวลาละช่วงเสาไฟฟ้าจนครบ 12 เสาไฟฟ้า รองเท้าที่ใช้แต่ละคู่จะใช้ได้ราว 1 สปั ดาหเ์ ทา่ น้นั สขุ เคยวง่ิ จนกระท่ังรองเทา้ พื้นขาดเท้าเลอื ดไหลจงึ ได้รสู้ ึกตวั และเปล่ยี นรองเทา้ ใหม่ 2. ว่ายน้าขา้ มแมน่ า้ เจา้ พระยาชว่ งบคุ คโลเป็นประจา 3. กระโดดเชอื ก 4. ซ้อมกระสอบทราย 5. ชกลม 6. ลงนวมกบั คู่ซ้อม การสงั เกตคตู่ ่อสูข้ ณะชก 1. ขณะจดมวยจะมองคตู่ ่อสทู้ ี่ส่วนกลางคอื บรเิ วณสะดือ 2. คู่ตอ่ สู้มกั จะปลอ่ ยส่วนท่ีไมป่ ักหลกั ม่นั ออกมาเช่น ถ้าคู่ต่อส้ใู หน้ ้าหนกั ตัวลงท่ีเทา้ ขวา
179 ก็มักจะเตะดว้ ยเท้าซ้ายเป็นต้น 3. การแก้เชงิ มวยต้องไลจ่ ้ีไมใ่ ห้ตง้ั ตวั ติด ทรรศนะเก่ียวกับคุณสมบัติของนกั มวยทีด่ ี 1. ร่างกายดี 5. มวี นิ ยั ในตนเอง ควบคุมตัวเองได้ 2. ปฏิภาณความคิดดี 6. รจู้ ักประหยดั 3. มคี วามอดทน 7. ไม่ทะนงตนเพราะเปน็ บ่อเกิดแห่งความประมาท 4. ขยันหมัน่ เพยี ร ข้อปฏบิ ตั ิพเิ ศษของสุข ปราสาทหินพมิ าย (ยักษผ์ โี ขมด) ไมย่ อมให้บตุ ร ภรรยา ไปดูขณะชกมวย เพราะจะทาให้ขาดสมาธิในการต่อสู้ การชกมวยอาชีพของสุข ปราสาทหินพิมาย ซ่ึงได้ค่าตัวสูงสุด 30,000 บาท ทาให้มีบ้านอยู่ มที ่ีดิน ทากินเป็นของตนเอง ส่งลกู คนโตเรียนจบได้เข้ารับราชการทหารในกรมแผนที่ โดยท่ีสุขไม่ได้มี มรดกตกทอดจากบดิ ามารดาหรอื ญาตพิ ่นี ้องคนใดเลย ปัจจุบันสุข ปราสาทหนิ พิมาย เสยี ชีวติ แลว้ นายสมัครชัย ปราสาทหินพิมาย ลูกชายของปู่สุข เล่าว่า “เม่ือพ่ออายุได้ 75 ปี ยังไม่ยอม อยู่น่ิง ข่ีรถมอเตอร์ไซด์ไปท่ีโน่นที่น่ี ใครเตือนก็ไม่เช่ือ หูตาก็ไม่ดี เคยขับรถตัดหน้ารถบรรทุก 6 ล้อ ถกู ชนขนาดล้อหน้าไปทบั อยู่บนอก แขนหัก ซโี่ ครงหัก นอนเจบ็ อยเู่ ป็นปี ” เม่ือตอนที่สขุ อายุได้ 86 ปี มเี รอื นร่างท่ีชราภาพ สุขภาพทรดุ โทรมลงมาก ร่างกายท่ีเคย สูง ใหญ่เป็นยักษ์ปักหล่ันงองุ้มลง หูตาฝ้าฟางตามอายุขัย เดินเหินไม่ค่อยได้ มีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากเป็น ผู้ดูแลทกุ ข์สขุ ต่าง ๆ สมบัตทิ ่ีมีอยู่คือท่ีนา 80 ไร่ และไร่มันสาปะหลังอีก 120 ไร่ ได้แบ่งให้ลูก ๆ ไป หมดแล้วบ้านทพ่ี กั อาศยั ก็มอบใหล้ ูกด้วย สขุ ดารงชวี ิตอยูด่ ว้ ยความชว่ ยเหลอื จากแฟนมวยรุ่นเก่าและ ผูท้ ีม่ องเห็นความมีคุณค่าสมเป็นเพชรเม็ดงามในวงการมวย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายมงคล สิมะโรจน์ ได้ให้ความช่วยเหลือด้วยการนาสุข ปราสาทหินพิมาย ไปรักษาที่โรงพยาบาลและทาการ กายภาพบาบัด หลังการเกิดอุบัติเหตุครงั้ นัน้ คร้ันหายดีแล้วยงั มอบเงนิ ไว้สาหรับใช้จ่ายเพ่ือการยังชีพ เดอื นละ 3,000 บาท ทกุ เดือน จนกวา่ สขุ จะส้ินชีวิตลงและให้ มอบต่อไปถึงย่ามากผู้ภรรยาจนกว่าจะ สิ้นชีวิตลงเช่นกัน การกระทาเช่นน้ีเป็นท่ีซาบซึ้งใจแก่ สุขและลูกหลานทุกคนเป็นอย่างย่ิง ท่ีผู้ยิ่งยง ในวงการมวยไทยในอดตี ยงั ไมถ่ ูกลมื เลือนไป จากความทรงจาของคนรุ่นหลัง สิ่งที่เป็นเกียรติประวัติต่อวงศ์ตระกูลปราสาทหินพิมาย หรือจาดพิมาย คือ การท่ีชาว อาเภอพิมาย โดยความคิดริเริ่มของนายอาเภอพิมาย ได้ร่วมใจจัดสร้างอนุสาวรีย์รูปป้ันยอดนักมวย ไทยคนดศี รีโคราช “สุข ปราสาทหินพิมาย” ข้นึ จัดต้งั ไว้บริเวณหน้าไทรงาม อาเภอพิมาย ทาพิธีเปิด โดยนายกร ทัพพะรังสี เมื่อวันท่ี 13 เมษายน 2536 รูปป้ันดังกล่าวมิได้เป็นความภูมิใจของชาว อาเภอพิมายเท่านั้น แต่ยังเป็นความภูมิใจของชาวโคราชทุกคนด้วย ในปัจจุบันและอนาคตเยาวชน ทุกคนจะได้บันทึกความทรงจาของเขาเกี่ยวกับเมืองโคราชไว้อย่างหน่ึง นอกเหนือจาก “เมืองหญิง กล้า ผา้ ไหมดี หมโี่ คราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวยี น” แล้วยังต้องระลึกถึงชาวโคราชอีกคนหน่ึงซ่ึงได้ สร้างชื่อเสียงเกียรติยศแก่ตนเองและภูมิลาเนาของตน คือ สุข จาดพิมาย หรือสุข ปราสาทหินพิมาย “ยักษผ์ โี ขมด” ปรมาจารย์วงการกีฬามวยไทย ความภาคภมู ใิ จดังกล่าวปรากฏอยู่ในน้าเสียงของผู้เป็น บุตรชายวา่ “ยังไมม่ นี กั มวยคนไหนไดร้ ับการยกย่องให้ปั้นอนุสาวรีย์เพ่ือเตือนใจใครต่อใครว่า พ่อผม
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 497
- 498
- 499
- 500
- 501
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 500
- 501 - 501
Pages: