470 มวยไทยเขา้ ตอ่ ส้กู ับทหารของเจา้ อนุวงศ์เวยี งจันทร์ ท่ีกวาดต้อนพลเมืองชาวโคราชเป็นเชลยอย่างกล้า หาญจนกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป ณ ทุ่งสัมฤทธ์ิและได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยว่า “วีรกรรมทุ่งสัมฤทธ์ิ” หลังจากเสร็จศึกครั้งน้ันคุณหญิงโมได้รับพระราชทานนามเป็น “ท้าวสุรนารี” เป็นที่กล่าวขวัญกันอยู่โดยท่ัวไป เมื่อเสร็จส้ินจากการศึกกู้บ้านกู้เมืองในครั้งนั้นแล้ว บ้านเมืองก็สงบ ร่มเย็น พลเมืองต่างทามาหากิน และอยู่กันอย่างผาสุกตลอดมา นับเป็นแบบอย่างในการต่อสู้เพื่อชน ชาตไิ ทยไดเ้ ปน็ อย่างดี สรา้ งความภาคภมู ิใจแกช่ าวโคราชทั้งในอดีตและในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง และโดย สภาพข้อเท็จจริง บรรดาทหารย่อมต้องมีการฝึกการรบด้วยอาวุธไทยโบราณ ให้ชานาญ และ เตรียมพร้อม ผู้วิจัยจึงวิเคราะห์ได้ว่า บรรดาทหารเหล่านั้นต้องมีการฝึกและสอนมวยไทยโคราชให้กับ บรรดาภรรยา บุตร หลานเช่นกัน ด้วยเหตุที่เมืองโคราชเป็นเมืองหน้าด่านที่เผชิญกับศึกอยู่เสมอ ๆ ดงั นนั้ ในคร้งั วีรกรรมท่งุ สัมฤทธิ์ พลเมอื งชาวโคราชท่ีถูกกวาดต้อนไปส่วนมากจะเป็นหญิงและเด็ก แต่ กส็ ามารถต่อสกู้ ับทหารของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้ ยอ่ มแสดงใหเ้ หน็ ว่าพลเมอื งของชาวโคราชไม่ว่าจะ เป็นชาย หญงิ เด็ก ตอ้ งไดร้ ับการฝึกศลิ ปะการตอ่ สู้มาเป็นอย่างดี ในทุกๆ ปีจังหวัดนครราชสีมากาหนด จัดงานประเพณีท้าวสุรนารี และงานวีรกรรม ทุ่งสัมฤทธิ์ ถือเป็นงานประจาปีที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัด นครราชสมี า ซง่ึ กาหนดจัดงานประมาณวนั ที่ 23 เดือนมนี าคมของทุกปี มีนักท่องเท่ียวจากประเทศไทย และชาวตา่ งประเทศตา่ งเดินทางมาทอ่ งเทยี่ วกันเป็นจานวนมาก และที่สาคัญยงิ่ ผู้วิจัยได้สืบค้นข้อมูลเก่ียวกับประวัติมวยไทยในส่วนท่ีเก่ียวข้องกับมวยไทย สายโคราชโดยตรง พบว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ พ.ศ.2411 พระองค์ศึกษาศิลปะมวยไทยมาจากสานักมวยหลวง ซ่ึงมีปรมาจารย์หลวงพลโยธานุโยค ครูมวยหลวงเป็นผู้ฝึกสอน พระองค์ทรงโปรดกีฬามวยไทยมาก การฝึกหัดมวยได้แพร่หลายไปตาม หวั เมืองตา่ ง ๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื และภาคใต้ ได้จัดให้มีการแข่งขันชกมวยหน้า พระท่ีน่ังในงานศพของกรมขุนอุรุพงศ์รัชสมโภชน์ ณ ด้านใต้ของทุ่งพระเมรุ นักมวยท่ีเจ้าเมืองนามา แข่งขันล้วนแต่คัดเลือกคนท่ีมีฝีมือ การแข่งขันครั้งนี้นักมวยโคราชท่ีสามารถชกชนะคู่ต่อสู้หลายคน และได้รับพระราชทานบรรดาศักด์ิเป็นหมื่นชงัดเชิงชก คือนายแดง ไทยประเสริฐ ตาแหน่งกรมการ พิเศษเมอื งนครราชสมี า ถือศักดนิ า 300โดยมีการบันทึกในราชกิจจานเุ บกษา เลม่ ที่ 27 รัตนโกสินทร์ ศก 129 หน้า 489 วันท่ี 19 มิถุนายน โดยหนังสือจากกรมหลวงดารงราชานุภาพ เสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ขอพระราชทาน กราบบังคมทูลพระกรุณาถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เลขท่ี 46/1803 ลงวันท่ี 20 พฤษภาคม รัตนโกสินทร์ ศก 129 เพ่ือขอรับประทวนตรา พระราชสหี ์ ตั้ง นายแดง ไทยประเสริฐ เป็นหมื่นชงัดเชิงชก และท่ีสาคัญย่ิง ผู้วิจัยได้ค้นพบหนังสือโต้ตอบ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอย่หู วั ถงึ กรมหลวงดารงราชานุภาพ เป็นหนงั สือที่ 59/222 ลงวันท่ี 22 พฤษภาคม รัตนโกสินทร์ ศก 129 ความว่า สมควรจะได้รับประทวนตั้งเป็นขุนหมื่นครูมวย ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ออกประทวน ตราพระราชสีห์ต้ัง นายแดง เป็นหมื่นชงัดเชิงชก ทานุบารุงวิชามวยตามหัวเมืองมิให้ เสอ่ื มสญู นอกจากน้ีนักมวยจากโคราชยังได้รับความเมตตาและโปรดฯ ให้เข้าไปฝึกมวยในวังเปรม ประชากร ของเสดจ็ ในกรมหลวงชุมพรเขตอดุ มศกั ดิ์ คือ นายทับ จาเกาะ นายยัง หาญทะเล นายตู้ ไทยประเสรฐิ นายพูน ศกั ดา ครบู วั นลิ อาชา (วัดอิ่ม) นายเสง่ยี ม โอสถ ฯลฯ ซึ่งนักมวยจากโคราช
471 เหล่าน้ีล้วนแต่มีฝีมือดีท้ังสิ้น การขึ้นชกในแต่ละครั้งเป็นที่นิยมชมชอบของผู้ชมเป็นที่ยิ่ง แต่ละคนจะ หาคู่ชกได้ยากแทบจะไม่มีคนชกด้วย ในส่วนของครูมวยโคราช แต่ละท่านล้วนแต่เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเก่ียวกับด้านศิลปะมวยไทยและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบไทยทั้งสิ้น และครูบัว วัดอ่ิม หรือ ร้อยโทบัว นิลอาชา ใน พ.ศ.2473 ได้รับราชการเป็นครูพลศึกษา ตาแหน่งหัวหน้า หนว่ ยพลศกึ ษาของโรงเรยี น นายร้อย จปร. ได้นามวยไทยโคราชเขา้ ไปสอนจนถึงปี พ.ศ.2501 จึงได้ ปลดเกษียณอายุราชการ ไดร้ บั พระราชทานชน้ั ยศเปน็ ร้อยโทบัว นิลอาชา มีลูกศิษย์ลูกหาซ่ึงจบจาก โรงเรียนนายรอ้ ย จปร. และมีชอ่ื เสียงระดบั ประเทศมากมาย ทางด้านการฝึกซ้อม เจ้าเมืองนครราชสีมาในสมัยน้ันได้อุปการะอุ้มชูนักต่อสู้ป้องกันตัวและ นักมวยเป็นอย่างมากในจวนของเจ้าเมือง มีการฝึกการต่อสู้ป้องกันตัว เช่น กระบี่กระบองและศิลปะ มวยไทยทกุ วนั ชายฉกรรจ์ทงั้ หลายนยิ มมาฝกึ มวยไทยเพอื่ ไว้ต่อสูป้ ้องกนั ตัว ประมาณ พ.ศ.2440 – พ.ศ.2464 การชกมวยของโคราชเป็นการชกมวยแบบคาดเชือก และนักมวยที่มีฝีมือดีเข้าไปชกในกรุงเทพฯ คือ หมื่นชงัดเชิงชก นายยัง หาญทะเล นายทับ จาเกาะ นายตู้ ไทยประเสริฐ นายพูน ศักดา นายเสง่ียม โอสถ การชกมวยแบบคาดเชือกชกกันบนลานดิน ใช้ เชอื กมะนลิ าขนาดใหญ่กั้นเป็นเวทีสี่เหลี่ยม มีเชือก 3 เส้น นิยมจัดขึ้นในงานวัด วัดท่ีมีมวยต่อยกัน บ่อยในงานศพคือวัดหนองบัวรอง และวัดสะแก ส่วนวัดโพธิ์น้ันนาน ๆ มีคร้ังหนึ่ง แต่ท่ีวัดพลับหรือ วัดอินทราราม นักมวยไม่ชอบไปต่อยเพราะพ้ืนดินเป็นดินเหนียวแน่นล้มแล้วเจ็บตัวเวลามวยยังไม่ ตอ่ ยก็เรียบร้อยดพี อเร่ิมตอ่ ยผู้คนก็เบยี ดเสียดจนเสาเวทีรวนเร ผลกั กันไป ดันกันมาทาให้ขาดระเบียบ ผจู้ ดั ต้องจา้ งคนถอื ไม้เรียวไวต้ ีไล่คนทลี่ า้ เวทเี ชือกเขา้ ไป พวกเด็ก ๆ มักถกู ตีถูกเฆ่ยี นกันเป็นประจา จะเห็นไดว้ า่ มวยโคราชน้นั มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน และมีการบันทึกหลักฐานไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และ รวมถึงเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ยังพอพระราชหฤทัยและโปรดปรานนักมวย จากเมือง โคราชเป็นท่ียิ่ง เห็นสมควรที่ชนรุ่นหลังควรต้องสรรเสริญในความเก่งกล้าสามารถของบรรพบุรุษ นกั มวยของชาวโคราชในอดีตดงั ท่ีกลา่ วแลว้ 2. เอกลกั ษณข์ องมวยไทยสายโคราช เอกลักษณ์ของมวยไทยสายโคราช หมายถึง การแต่งกาย การพันมือแบบคาดเชือก การฝึกซ้อม การจดมวยตารามวยไทยสายโคราช การฝึกซ้อม การชกหมัดเหว่ียงควาย การรามวย และรูปแบบวิธีการชก ผลการศึกษาเก่ียวกับเร่ืองเอกลักษณ์ของมวยโคราช อภปิ รายผลได้วา่ การแต่งกายและการพันมอื แบบคาดเชือกนนั้ ในสมัยโบราณไมม่ นี วมจึงใชด้ ้ายดิบแช่น้าข้าว ทาให้แข็งพันไว้ที่มือเรียกกันว่า “คาดเชือก” นักมวยคาดเชือกที่มือด้วยด้ายดิบเพ่ือป้องกันการเคล็ด ยอกซ้น และเสรมิ ให้หมดั แขง็ ครูมวยไทยสายโคราชจึงหาด้ายดิบที่ผูกเป็นไจเส้นโตเท่าดินสอดายาว ประมาณ 20–25 เมตร มาพันมือ สวมกางเกงขาส้ันและใช้ผ้าขาวม้าม้วนผูกเป็นนวมทับอย่างแน่น หนาป้องกันลูกอณั ฑะปกคลุมมาจนถึงด้านบัน้ ตรงเอว ไมส่ วมเส้อื ปลายเท้าเปลือยเปล่า ซึ่งต่อมาได้ ทา เป็นเบาะรูป 3 เหล่ียม ใช้เชือกผูกชายมุมท้ัง 3 มุม ใช้แทนกระจับ ซึ่งสมัยโบราณยังไม่มีกระจับ สวมมงคล แมข้ ณะชกกย็ ังสวมอยูม่ ีผ้าประเจียดมดั ไวท้ ี่ตน้ แขนซา้ ยและขวา
472 ทางมวยไทยโคราช เป็นมวยเตะและต่อยวงกว้างเรียกกันว่า เหวี่ยงควาย รับเตะและ ป้องกันตนเองด้วยการใช้แขน จึงใช้ด้ายดิบคาดหมัดและขมวดรอบ ๆ แขนจรดข้อศอกด้วยวิธีพิเศษ ไมเ่ หมอื นใคร วิธีคาดหมัดเชน่ น้ีเปน็ ทก่ี ลา่ วขวญั ทั่วไป คอื หมื่นชงดั เชงิ ชก ในสว่ นของการฝกึ ซ้อมอภิปรายผลไดว้ ่า ในช่วงแรก มีการฝกึ จากครมู วยทม่ี ีอยใู่ นหม่บู า้ นของตนเอง โดยการฝึกพื้นฐานให้ดีเสียก่อน ฝึกซ้อมตอนกอ่ นอาบนา้ นาผ้าขาวม้ามาพันมือ ฝึกซ้อมการต้ังรับและตอบโต้ เพ่ือให้เกิดความเคยชิน ตามทว่ งทา่ ท่ไี ด้เรยี นมาผลดั เปล่ียนกันชิงไหวชิงพริบแม่ไม้ต่าง ๆ แล้วจึงข้ึนเปรียบชกกับนักมวยจาก หมู่บ้านอื่น การฝึกมวยไม่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยจึงต้องอาศัยธรรมชาติ และกิจกรรมท่ีเก่ียวข้องกับ การดารงชีวติ ประจาวันผสมผสานกนั ไป เช่น กระเดยี ดน้า ตาข้าว ผ่าฝืน ตน้ กลว้ ย ลกู มะนาว ในเรอ่ื งของหลกั ของการฝกึ มวยไทยโคราชพบวา่ มวยไทยสายโคราช หาวิธีแก้ไขแม่ไม้มวย ของสานกั อืน่ พร้อมประดิษฐค์ ิดค้นท่ามวยของตนใหม้ ีอนุภาพทจ่ี ะพิชติ คู่ต่อสู้ให้ได้ ครูมวยประดิษฐ์ท่า มวยเกง่ และแก้ไขทางมวยของสานักอนื่ ได้จึงทาให้มีช่ือเสียง การคิดค้นหาวิธีแก้ทางมวยซึ่งกันและกัน ทาให้วงการมวยไทยสายโคราชในสมัยโบราณมีความเจริญรุ่งเรือง ครูมวยไทยสายโคราชมีวิธีแก้ไข ทางมวยด้วยวิธี ผ่อนหนักให้เป็นเบาและเสริมจากเบาให้ทวีเป็นความหนักหน่วง และ รุนแรงได้ เรียกว่า “วิธีผสมแรง” และ “วิธถี ่ายแรง” นกั มวยทีด่ ีจะตอ้ งมคี วามคิด รู้จักการแลกใช้ส่วนหนาแลก สว่ นบาง เขาแรงมา ทาทเุ ลาหรือตอบโต้ให้รุนแรงได้ หมดั เหวย่ี งควาย หมายถงึ การชกดว้ ยหมดั ของหมื่นชงดั เชงิ ชก (นายแดง ไทยประเสริฐ) นักมวยไทยสายโคราช ในสมัยรัชกาลท่ี 5 ซ่ึงมีเอกลักษณ์ในการคาดเชือกต้ังแต่สันหมัดข้ึนไปจนถึง ข้อศอก ทั้ง 2 ขา้ ง ลูกศษิ ยข์ องพระเหมสมาหาร ส่วนท่ีถูกเป้าหมายคือหลังมือ หรือด้านในของมือ จะชกหมัดเดียว หรือชกหมัดขวา ซ้ายสลับกันไปก็ได้ คล้ายกับควายท่ีมีเขายาวโค้งกาลังใช้เขาท้ัง สองข้างขวิดคู่ต่อสู้ทางขวา ทางซ้ายสลับกันไปมาอย่างต่อเน่ือง “หมัดเหวี่ยงควาย” ครูมวยไทยสาย โคราชเรียกอีกอยา่ งหนึง่ ว่า “หมดั ขว้างควาย” หรอื “หมดั อีเล” เก่ียวกับท่ารามวยโดยทั่ว ๆ ไปนั้นมีท่าย่างสามขุม และท่าพรหมสี่หน้า ซ่ึงจะต้องปฏิบัติ ก่อนการชกทุกคร้ังจนถือเป็นประเพณี ส่วนรูปแบบวิธีการชกและท่าทางการต่อสู้ป้องกันตัวของ นักมวยไทยสายโคราชนั้นพบว่า การจดมวยตารับโคราชนิยมจดมวยทางหนา ไม่นิยมจดมวยทางบาง ทิง้ เทา้ เขา่ งอเล็กนอ้ ย ลาตัวหันเขา้ หาคูต่ ่อสเู้ ต็มตวั ให้น้าหนักอยู่ที่เท้าหน้า ส้นเท้าหลังเขย่ง เท้าไหน ออกหน้าหมัดข้างน้ันจะต้องจดอยู่ด้านหน้า เท้าไหนอยู่ด้านหลังหมัดข้างนั้นจะคุมอยู่เหนือราวนม หรอื สูงกว่าเลก็ นอ้ ย มที า่ ทางจดมวยแบบเหยยี ดขาเขยง่ บนปลายเท้า ยอ่ และเขย่งส้นเท้าเปลี่ยนเป็น หน้าหลัง ซึ่งเตะได้รุนแรงและอันตราย มีความสง่างามน่าเกรงขามเป็นอย่างย่ิง เม่ือจะเปลี่ยน ทางการจดมวย จะสืบเท้าหน้าไปข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อการช่วยจังหวะ เท้าหลังก้าวไปข้างหน้า หมัด หลังท่ีคุมอยู่ม้วนเป็นวงช้า ๆ ข้ามหมัดที่จดอยู่ด้านหน้าไปเป็นหมัดจด และหมัดที่จดอยู่ด้านหน้า กลับมาเป็นหมดั คมุ แทน ทงิ้ เท้าหลงั ชว่ ยจงั หวะอกี เล็กนอ้ ย การรุกเข้าออกโดยใช้ท่าเท้าเช่นท่ีกล่าวน้ี ทาให้ผู้ที่ฝึกจนชานาญสามารถใช้วิธีถ่ายแรงคู่ต่อสู้ท่ีใช้อาวุธมาให้ผ่อนจากหนักเป็นเบาได้ และ สามารถใช้วิธีผสมแรง เม่ือคู่ต่อสู้เข้าทาทาให้เกิดแรงบวก ทาให้ใช้อาวุธได้หนักหน่วงและรุนแรง
473 ย่ิงขึน้ นอกจากนแ้ี ลว้ ยงั สามารถออกอาวธุ ยดื หยุ่นโดยผสมท่าเท้า ร้ังเข้า ร้ังออก ได้ดังใจปรารถนาอีก ด้วย ครูมวยไทยโคราชโบราณเรียกวิธีรั้งเข้า ออก น้ีว่า “สารอกกลับ” ซ่ึงลักษณะการใช้ทาให้คู่ต่อสู้ น้ันหลงคิดว่าเสียหลักถลาตัวไปแล้ว ก็จะเข้าซ้าเติมก็จะถูกใช้วิชาสารอกกลับน้ีโดยไม่ได้คาดคิด เกิด การเลี่ยงพล้า ฉะนั้น การรามวยประกอบท่าเท้าย่างสามขุม จึงสาคัญและเป็นท่าแม่บทเบื้องต้นของ มวยไทยสายโคราช ผู้จะศึกษาต้องฝึกให้เกิดความชานาญเสียก่อน เพ่ือจะเป็นแม่บทที่สาคัญ และ เป็นรากฐานพื้นทางมวยทดี่ แี ละมีความสามารถดังกลา่ วแล้ว การจดมวยควรปฏิบัติให้เกิดความคล่อง ทั้ง 2 เหลี่ยม คอื จดมวยเหลยี่ มขวา และจดมวยเหลย่ี มซา้ ย จากการศึกษาเก่ียวกับเรื่องการฝึกซ้อม การแต่งกาย การพันมือแบบคาดเชือก การร่ายรา รปู แบบวธิ กี ารชกและท่าทางการตอ่ สปู้ อ้ งกนั ตัวของนกั มวยโคราช อภปิ รายผลได้วา่ มวยไทยสายโคราช มีเอกลกั ษณท์ ่โี ดดเด่นและแตกต่างไปจากมวยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นมวย ไทยสายไชยา มวยไทยสายลพบุรี มวยไทยสายท่าเสาและพระยาพิชัย หรือแม้กระท่ังมวยพระนคร ทั้งน้ีอาจเป็นเพราะว่าจากสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของแหล่งกาเนิดมวยไทยสายโคราช ในสมัย รัชกาลท่ี 1 จนถึงสมัยรัชกาลท่ี 6 ส่วนมากแล้วสภาพภูมิประเทศเป็นท่ีราบสูงกันดาร ความเป็นอยู่ ของประชาชนต้องต่อสู้กับภัยจากมนุษย์ด้วยกันเองและจากธรรมชาติ ปัจจัยเหล่าน้ีทาให้ผู้คนที่อยู่ อาศัยในเขตโคราชต้องสร้างความอดทนขึ้นในตนเอง ท้ังทางด้านร่างกายและด้านจิตใจต้ังแต่สมัย บรรพบุรุษเปน็ ต้นมา กอปรกับพน้ื ฐานการปกครองหรอื อาณาเขตมักถูกข้าศึกรุกรานข่มเหงอยู่เนือง ๆ ไม่ได้ว่างเว้นจากศึกสงคราม ทาให้ต้องเป็นนักรบ ซ่ึงนักรบต้องฝึกมวยไทยด้วย เพื่อนาไปเป็น องค์ประกอบประกอบกับการต่อสู้ด้วยอาวุธไทยโบราณชนิดต่างๆ ที่เป็นอาวุธส้ันใช้ต่อสู้ในระยะ ประชิดตัวท้ังสิ้น และต้องใช้ศิลปะมวยไทยเข้าประกอบจึงจะเกิดอานุภาพในการรบได้ดี เหมือน ดังเช่นคุณหญิงโม ได้นาชาวโคราชเข้าต่อสู้กับทหารของเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์ก็ด้วยศิลปะมวย ไทยและอาวุธสั้นเหล่าน้ี จึงได้เกิดวีรกรรมทุ่งสัมฤทธ์ิข้ึน ดังนั้นจากเหตุผลดังท่ีกล่าวเม่ือคนอีสานชก มวยจึงต่อสู้กับคู่ต่อสู้อย่างองอาจ กล้าหาญ ไม่หวั่นกลัว การชกจึงเป็นไปในลักษณะเดินหน้า ดุดัน ดุเดือด รวดเร็ว คล่องแคล่ว สวยงาม มีลูกไม้แม่ไม้ท่ีหลากหลายและผสมกลมกลืน อันเนื่องมาจาก การเอาใจใส่ควบคุมการฝึกซ้อมของครูมวยท่ีเป็นไปตามข้ันตอนไม่มีข้ามขั้น และนักมวยก็ตั้งใจ ฝึกซ้อมและเชอื่ ฟังตามคาสอนของครูมวยอย่างเอาใจใส่รวมถึงการคิดแก้ไขไม้มวยไปขณะแข่งขันด้วย ในส่วนไม้มวยไทยสายโคราช ผู้วิจัยพบว่า เท้า หมัด ศอก เป็นอวัยวะและอาวุธที่สาคัญย่ิง เท้าเป็นอาวุธยาวทีใ่ ชใ้ นการเตะ ถีบ และใช้เคล่ือนไหวไปมา การถีบแบบมวยโคราชนั้นคือท่าถีบสลัด ซ่ึงเป็นท่าถบี แบบโบราณท่ีใช้เป็นอาวุธทาลายเกราะป้องกันของคู่ต่อสู้ได้ เข่าฝึกให้โยนได้ท้ังซ้ายและขวา ศอกเป็นอาวธุ สนั้ ที่ใช้ ในระยะประชิดตวั ทีท่ รงอนุภาพมาก ศอกมีจุดแข็งท่ปี ลายศอกใช้ตีและถอง เก่ียวกับท่ารามวยโดยทั่ว ๆ ไปนั้นมีท่าย่างสามขุมและท่าพรหมสี่หน้า ครูมวยจะกาหนดให้ ผู้ที่จะมาเป็นศิษย์ฝึกหัดท่ารามวยให้คล่องแคล่วเสียก่อน จึงจะค่อยฝึกท่าลูกไม้และแม่ไม้สาคัญเป็น ประการต่อไป ท่ารามวยย่างสามขุม นอกจากจะเป็นท่ารามวยอันเป็นต้นแบบของมวยไทยตารา โคราชแล้ว ยังเป็นวิชาท่าเท้าแม่บทท่ีสาคัญ จะทาให้ผู้ฝึกเคล่ือนไหวไปมาโดยสัมพันธ์กับร่างกายได้ อย่างคล่องแคล่ว ผู้ฝึกเม่ือทาได้จนเกิดความชานาญแล้วจะสามารถใช้อาวุธเช่นหมัด เท้า เข่า ศอก ฯลฯ ไดท้ งั้ ทางซา้ ย ทางขวา การเข้า ออก ของทางมวยโคราชน้ันจะเข้าออกในลักษณะฉากซ้าย และ ฉากขวา
474 3. กระบวนท่าของมวยไทยสายโคราช ผลการศึกษาเก่ียวกับกระบวนท่าของมวยไทยสายโคราช เก่ียวกับการฝึกท่าการใช้อาวุธ เบอื้ งตน้ การฝึกท่าลูกไมแ้ ก้ทางมวย และการฝกึ ทา่ แมไ่ ม้สาคญั พบวา่ ท่าการใช้อาวุธเบ้ืองต้น ประกอบด้วย ทา่ อยูก่ ับที่ 5 ท่า ประกอบด้วย ท่าต่อยตรงอยู่กับท่ี ท่าต่อยเหวี่ยงอยู่กับท่ี ท่าต่อยข้ึนอยู่ กบั ท่ี ท่าตอ่ ยดว้ ยศอกอยู่กับที ทา่ ถองลงอยกู่ ับท่ี ท่าเคลอื่ นที่ 5 ท่า ประกอบด้วย ท่าตอ่ ยตรงสลับกันเคลื่อนที่ ท่าเตะเหว่ียงกลับด้วยศอก เคลอ่ื นที่ ท่าต่อยด้วยศอกและเข่าเคล่ือนท่ี ทา่ เตะสลบั กันเคลอ่ื นที่ ท่าเตะแลว้ ตอ่ ยตามพลกิ ตวั ไปกนั ฝึกลูกไม้แก้ทางมวย 11 ท่า จะต้องใช้การฝึกร่วมกับคู่ซ้อมโดยผลัดเปล่ียนกันรุก และ ผลดั เปล่ียนการตั้งรับ ประกอบด้วย ท่ารับต่อยตรงด้วยการใช้เท้าถีบรับ ท่ารับต่อยเหว่ียงใช้หมัดตรง ตอบรับ ท่าต่อยเหว่ียงแล้วเตะตามใช้หมัดตรงชกแก้ ท่ารับลูกเตะ ท่าเตะแลกเปล่ียนอยู่กับท่ีท่าเตะ ฝากหนงึ่ ท่าเตะฝากสอง ท่ารบั ลกู เตะฝากหนึง่ ทา่ เตะปัด ทา่ ทศั มาลาแกล้ กู เตะสงู ทา่ ลูกตอแหล ฝึกท่าแม่ไมส้ าคญั ได้แก่ ท่าแม่ไมค้ รู 5 ท่า ประกอบดว้ ย ชกั หมดั มา เตะตนี หนา้ พร้อมหมัดชัก ชักปิดปกด้วยศอก ชกหา้ มไหล่ เม่อื เขา้ ให้ชกนอกเมอื่ ออกให้ชกใน ชกชา้ งประสานงา ท่าแม่ไม้สาคัญแบบโบราณ 21 ท่า ประกอบด้วย ทัดมาลา กาฉีกรัง หนุมานถวายแหวน ล้มพลอยอาย ลิงชิงลูกไม้ กุมกัณฑ์หักหอก ฤๅษีมุดสระ ทศกัณฑ์โศก ตะเพียนแฝงตอนกคุ้มเข้ารัง คชสารกวาดหญ้า หักหลักเพ็ชร คชสารแทงโรง หนุมานแหวกฟอง ลิงพล้ิว กาลอดบ่วง หนุมาน แบกพระ หนไู ตร่ าว ตลบนก หนุมานถอนตอ โกหก (ตอแหล) เมื่อนกั มวยไดร้ บั การฝึกจนมคี วามคล่องแคล่วทั้งท่ีเป็นฝ่ายรุกและเป็นฝ่ายรับแล้ว ในเวลา เช้าหรือเย็น หรือกลางคืน ให้ผู้ฝึกมวยชกลม เตะลม ถีบลม และกระโดดเข้ากระโดดออกให้เกิด ความคล่องแคล่วทุก ๆ วัน เป็นการฝึกซ้อมประจาวันทั้งท่ีเป็นการชกลม หรือชกคู่ หรือฝึกกับ อปุ กรณ์ประกอบการฝกึ ก็ตาม ผฝู้ ึกมวยย่อมเกดิ ความรคู้ วามสามารถด้านมวยไทยทีแ่ ตกฉาน 4. ระเบียบประเพณขี องมวยไทยสายโคราช ผลการศึกษาเกี่ยวกับเร่ืองข้อปฏิบัติที่ครูมวยโคราชกาหนดไว้สาหรับผู้ที่จะศึกษามวยไทย โคราชปฏบิ ัตติ าม วิธฝี กึ หดั มวย คาแนะนาเตอื นสติ และคาอนญุ าตของครูมวย พบวา่ พระเหมสมาหาร เจ้าเมืองโคราช ทา่ นได้ฝกึ หดั มวยมาตั้งแต่อายุ 11 ปี และทาการฝึกซ้อมมา อย่างต่อเน่ืองสมา่ เสมอ เป็นครูมวยคนสาคัญท่ีมีลูกศิษย์ท่ีเป็นนักมวยคาดเชือกท่ีมีฝีมือดีเป็นจานวน มาก ทา่ นได้เขยี นตารามวยโคราชข้นึ สาหรับใชฝ้ ึกลูกศิษย์ โดยเฉพาะในรัชสมัยรัชกาลท่ี 5 รัชกาลที่ 6 แห่งกรงุ รตั นโกสินทร์ นักมวยลูกศิษย์ของพระเหมสมาหารมชี ื่อเสียงอย่างกว้างขวาง เช่น หม่ืนชงัด เชงิ ชก นายทบั จาเกาะ นายยงั หาญทะเล นายตู้ ไทยประเสรฐิ นายพนู ศักดา ร้อยโทบัว นิลอาชา (วดั อ่มิ ) นายแป้น นายสวน นายหลุย เดชศักดา ผวน กาญจนกาศ เปน็ ต้น ทา่ นมีวิธีการฝึกหัดมวย ตามแบบตาราของ ครูมวยโคราชสมัยโบราณ ดงั ต่อไปนี้
475 1. เม่ือเวลาลุกขึ้นจากนอนไม่วา่ เวลาใด ให้นอนหงายเหยียดเท้าตรงไปท้ังสองข้าง ใหช้ กสอง มอื สุ่มขน้ึ ไปทั้งสองมอื จนตัง้ ตัวตรงข้นึ 2. เม่อื เวลาจะลา้ งหนา้ ให้เอามือวักนา้ มารอหนา้ อย่าใหเ้ อามอื ถหู นา้ ให้เอาหน้าถูมือกลอก ไปจนลา้ งหน้าแล้ว 3. เม่ือตะวนั ขึน้ ใหน้ ่ังผินหนา้ ไปทางตะวนั เพง่ ดูตะวนั แตเ่ ช้าไปจนสายพอได้ 4. เมอ่ื เวลาอาบนา้ ให้มดุ ลืมตาในน้าทกุ ที วิธีอันน้ีทาให้แสงตากล้าขนึ้ ได้ 5. แล้วให้ลงไปในน้าเพยี งคอ ให้ถองนา้ ท้งั สองศอกชลุ มุนจนลอยตัวขน้ึ ได้ 6. เมื่อเวลาเช้าเย็นหรือกลางคืนให้ชกลมเตะลมถีบลมและโดดเข้าโดดออกเล่นตัวให้ คล่องแคล่วทั้งศอกทั้งเข่าเสมอทุกวัน เมื่อลกู ศษิ ยใ์ ช้มอื และเท้าคล่องแคล่วแล้วก็ให้ทาพิธียกครู เสร็จแล้วให้ย่างสามขุม และฝึกไม้ ต่อไปอีก 5 ไม้ ต่อด้วยไม้เบ็ดเตล็ดอีก 21 ไม้ แล้วก็มีโคลงมวยเป็นคติสอนนักมวยด้วย พร้อมทั้ง คาแนะนาเตอื นสตไิ มใ่ หเ้ กรงกลวั คตู่ อ่ สู้ ผลการศึกษาเกี่ยวกับประเพณีปฏิบตั ิการฝากตวั เปน็ ศิษย์ การไหวค้ รู พิธียกครหู รือขึน้ ครู พบว่า ประเพณี เป็นเรื่องราวของการประพฤติปฏิบัติที่สืบทอดต่อๆกันมาของคนในสังคมใดๆ ก็ตาม โดยถอื วา่ เปน็ สง่ิ ทีด่ งี ามและบงั เกิดผลดตี ่อผกู้ ระทาน้ัน ๆ ประเพณที ี่เกยี่ วขอ้ งกับชีวิตน้ันเป็นเรื่องราว ท่ีบุคคลในแต่ละสังคมสร้างขึ้นมาแล้วปฏิบัติสืบทอดต่อๆกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า จนกลายเป็นระเบียบ แบบแผนและแบบอย่างของความคดิ หรอื การกระทา จนเกดิ เป็นแนวปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน บรรพ บุรุษของชาวโคราชได้สร้างแบบแผนเก่ียวกับชีวิต อันเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาจนเป็น แบบอย่างในการปฏิบัติที่เป็นลักษณะเฉพาะถิ่น จนกระท่ังยึดถือเป็นประเพณีของชาวโคราชในท่ีสุด ประเพณีทีเ่ กี่ยวขอ้ งกับชวี ติ ของชาวโคราชที่ปฏิบัติเพื่อเป็นหลักยึดมั่น เป็นความ ม่ันคงทางด้านจิตใจ เป็นการกระทาสืบต่อกันมาจนเป็นลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นชาวโคราช ประเพณีแสดงให้เห็นความ เกาะเกย่ี วทางสังคมเป็นจุดรวมความคิดความผกู พันภายในสงั คมเดยี วกนั ทาให้สภาพของสังคมอยู่กัน มาอย่างมีความสุข มีความสามัคคีกัน น่ันคือประเพณีและพิธีกรรมเป็นตัวกลางแห่งความสมานไมตรี ประเพณีต่าง ๆ ปัจจุบันได้เปล่ียนแปลงไปมากบ้าง น้อยบ้างตามแต่ความเจริญที่พัฒนาไป แต่ ประเพณีบางอยา่ งยงั เป็นวถิ ีชีวิตท่ชี ีใ้ ห้เหน็ ถึงจติ วญิ ญาณของชาวโคราชได้เปน็ อยา่ งดี มวยไทยมีขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และที่สาคัญคือการเคารพต่อคุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์และคุณของพระมหากษัตริย์ นับได้ว่าเป็นการสร้างความเชื่อถือและสร้างความ ศรัทธาทีด่ ี โดยเฉพาะครูบาอาจารย์นั้น นับได้ว่าเป็นบุพการีผู้มีพระคุณรองมาจากบิดามารดาที่ช่วย อบรมสั่งสอนศิษย์ให้ประพฤติปฏิบัติแต่ในส่ิงที่ดีงาม เพียบพร้อมไปด้วยสติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ฉะนั้น ประเพณีการยกครูตลอดจนประเพณีการไหว้ครู จึงมีมาคู่กับ มวยไทยในทกุ ยคุ ทกุ สมัย ด้วยความเช่ือของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณเกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็น การเรยี นหนังสอื การเรยี นวชิ า การฝึกหัดศลิ ปวทิ ยาต่าง ๆ เช่น เรยี นลาละคร ดนตรี ฟันดาบ กระบี่ กระบอง หรือต่อยมวย จะต้องมีครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ ผู้เรียนจะต้องเคารพเช่ือฟังครู อาจารยข์ องตนเองและระลกึ ถึงบุญคุณครูอาจารย์ของตนอยู่เสมอ จึงจะเป็นผู้ที่มีความเจริญก้าวหน้า และเป็นสิริมงคล
476 ก่อนการแข่งขันมวยไทย ทุกคนจะต้องไหว้ครูมวยไทยและร่ายรามวย เพ่ือเป็นการทา ความเคารพตอ่ ประธานในพธิ ีแข่งขนั ชกมวย ท้ังเป็นการระลึกถึงและแสดงความกตัญญูต่อครูอาจารย์ ท่ีประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ พ่อแม่ พระมหากษัตริย์ เพื่อความเป็นสิริมงคล ทาให้ จิตใจม่ันคง ไม่หว่ันไหวครั่นคร้าม ควบคุมสติได้ดี นอกจากน้ียังเป็นการได้ออกกาลังกาย ยืดกล้ามเน้ือและเส้น เอ็นสว่ นต่าง ๆ ของร่างกายให้คลายความฝดื ให้กล้ามเนื้อตื่นตัว เม่ือใช้อาวุธในเชิงต่อสู้จะได้ไม่ติดขัด ทาให้มีจิตใจฮึกเหิมที่จะออกต่อกรกับคู่ต่อสู้ และยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถตลอดถึงความเช่ียวชาญในเชิงมวยขนาดไหน ศิษย์ในสานักเดียวกันเม่ือเห็นท่ารามวย แลว้ จะร้ไู ด้ทันทีว่าเปน็ ศษิ ยอ์ าจารย์สานกั ใด ซ่ึงถ้าไหว้ครูและร่ายรามวยแบบเดียวกัน มักจะไม่นิยม ต่อยกันเพราะเข้าใจว่าเป็นลูกศิษย์ท่ีมีครูมวยคนเดียวกัน นอกจากน้ันการร่ายรายังเป็นสังเกตดูเชิง คปู่ รปักษ์ คลายความเคร่งเครยี ดทัง้ กายและจติ ใจให้พร้อมที่จะเข้าต่อสู้ได้ทันที เป็นการสารวจพื้นที่ บรเิ วณท่ีจะชกมวย เนือ่ งจากแตเ่ ดิมการแขง่ ขันชกมวยจะแข่งกันบนลานดินในบริเวณวัดซ่ึงเป็นสนาม มวยชั่วคราว นับว่าเป็นความเช่ือถือและสร้างความศรัทธา สามารถท่ีจะโน้มน้าวจิตใจของผู้ฝึกมวย ใหเ้ กดิ ความฮกึ เหมิ มุ่งมั่นไปสูช่ ยั ชนะ การรามวยก็เป็นอีกประเพณีหน่ึงสืบคู่มากับมวยไทย ผู้เป็นศิษย์ ในแต่ละสานักจะต้องแสดงท่ารามวยในขณะเม่ือจะขึ้นชกกับคู่ต่อสู้ การรามวยจึงเป็นการแสดงออก ถงึ ฐานะ ตลอดจนทม่ี าของนกั มวยผูน้ นั้ ได้ทางหนึ่ง แม่ไมแ้ ละกลมวยน้ัน จะปรากฏให้เห็นในท่าร่ายราไหว้ครูเป็นการอุ่นเครื่องไปในตัว แต่ใน ปัจจบุ ันไมค่ ่อยไดพ้ บเหน็ เพราะนักมวยไม่ได้เรียนและฝึกกันตามแบบอย่างแม่ไม้และกลมวยดังกล่าว น้ีเก่ียวกับกติกาในการแข่งขันมวยไทยแต่ครั้งโบราณ ไม่ปรากฏว่ามีกติกาท่ีแน่นอนอย่างไรบ้าง แล้วแต่นายสนามจะตกลงกัน ในการจดั แขง่ ขนั แต่ละคร้ัง และมอี านาจชีข้ าดได้แกน่ ายสนาม ในส่วนของมวยตาราโคราช เมื่อครูมวยเห็นว่าผู้เป็นศิษย์มีความมานะพยายาม ฝึกกาลัง ร่างกายจนเข้มแข็ง ตลอดจนได้รับรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของผู้ท่ีจะเป็นนักมวยที่ดี มี อุปนิสัยและแววพอที่จะได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดทางมวยตาราโคราชได้นั้น ครูผู้ฝึกมวยก่อนท่ี จะบอกถึงแม่ไม้สาคัญ เพื่อให้ศิษย์ได้ศึกษาและฝึกฝนต่อไป ก็จะต้องมีการทาพิธียกครู หรือขึ้นครู ตามประเพณี เพื่อให้เกดิ ความเป็นสิริมงคล เกดิ ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต โดยให้เป็นศิษย์ที่ถูกต้อง ตามทานองครองธรรม มิใชเ่ ปน็ ผทู้ ีไ่ ด้ช่ือว่าครูพักลกั จา การไหว้ครูน้ัน นักมวยจะแสดงการเหยาะย่างอย่างสง่างามน่าเกรงขามมาก ท่าย่างสามขุม ทาใหเ้ หน็ กล้ามเปน็ มัด ๆ ของนักมวยบางคนข่มขวัญคตู่ อ่ สเู้ ป็นอันมาก เมอ่ื ไหว้ครูเสร็จนิยมเอาทราย มาโรยศีรษะเป็นการเรียกสมาธิ เพ่ือให้เห็นว่าร่างกายเป็นของไม่เท่ียง เพราะฉะน้ันจึงไม่ควรหวง สังขาร ไม่ควรกลัวตาย ไม่ช้าไม่นานก็จะกลายเป็นดินเป็นทรายไปตามวาระ และปลุกใจให้ นักมวยสู้ จากผลการศึกษาเกี่ยวกับการเปรียบมวย วิธีจัดการชกมวย และรางวัลการแข่งขันอภิปราย ผลได้วา่ ความนยิ มจดั ชกมวยในสมยั คาดเชอื กของโคราช ระหว่างปี พ.ศ.2440 - 2464 เน่ืองมาจากมี งานเฉลิมฉลอง งานประเพณี งานเทศกาล งานศพ งานบวชนาค ซ่ึงบุคคลสาคัญเป็นเจ้าภาพ และ ในวันสาคัญและในโอกาสสาคัญๆต่าง ๆ เท่านั้น เช่น งานปิดทองพระ งานถือน้าพิพัฒน์สัตยา งานประจาปี งานเฉลิมพระชนม์พรรษา และงานรับเสด็จเจ้านาย เม่ือมีงานราชพิธีต่างๆ ของ บ้านเมือง ทางการก็จะจัด ให้มีมวยชกแบบคาดเชือก การจัดให้มีมวยชกนั้นถือว่าเป็นเรื่องใหญ่
477 งานน้ันต้องเป็นงานที่ใหญ่โตมโหฬารจริง ๆ ผู้คนแตกตื่นกันมาชมกันมากมายส่วนมากจัดขึ้นที่วัด โดยเฉพาะงานศพของคนระดับเศรษฐี มักจัดมวยชกท่ีวัดหนองบัวรอง วัดสระแก ส่วนวัดโพธิ์น้ัน นาน ๆ มคี รง้ั หนึง่ แต่ท่วี ัดพลับหรอื วัดอินทรารามนน้ั หากมีมวย นักมวยก็ไม่ชอบไปต่อยเพราะพื้นดิน เป็นดินเหนยี วแน่นมาก ล้มแลว้ เจ็บตัวมาก มวยในสมยั กอ่ นนัน้ ไมไ่ ด้ชกกันบนเวทยี กพืน้ แต่ชกกันบน พนื้ ดนิ ใชเ้ ชือกมะนลิ าขนาดใหญก่ ั้นเปน็ เวทีสีเ่ หลย่ี มมีเชือก 3 เสน้ ส่วนวิธีการเปรียบมวยเพื่อหาคู่ชกในสมัยน้ันไม่มีพิธีอะไรมากนัก เมื่อมีการเปรียบมวยข้ึน ชกในสมัยน้ัน มักจะมอบให้พระเหมสมาหารเป็นประธานหรือนายสนามทุกครั้ง มีการให้คนตีฆ้อง ร้องป่าวไปตาม หมู่บ้านต่าง ๆ และอยู่ไม่ห่างไกลจากตัวเมืองมากนัก พร้อมทั้งนาประกาศการชก มวยไปปิดไว้ที่ประตูเมืองทั้ง 4 ทิศ เพื่อให้ผู้ท่ีอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองมากๆได้รับทราบ เวลาเข้ามา ทาการค้าขายหรือธุรกิจติดต่อกับคนในเมืองก็จะบอกต่อ ๆ กันไป พวกตีฆ้องก็จะพากันร้องว่า “ใครจะมาชกมวยใหม้ าเปรยี บเน้อ” ถงึ หมบู่ ้านใดกร็ ้องไปจนรกู้ นั ทั่ว นักมวยเม่ือทราบต่างก็จะพากัน มาเปรียบที่บ้านคุณพระเหมสมาหาร ถ้าจะเปรียบมวยเวลาใดก็ใช้ฆ้องใหญ่เป็นสัญญาณ พอนาย สนามลั่นฆ้องร้องเรียกว่าใครจะชกมวยให้เข้ามา คนซ่ึงจะชกมวยก็มายืนพร้อมกันตามหมู่มวยเก่า มวยใหม่ มวยใหญ่ มวยนอ้ ย นายสนามจึงจดั คู่ให้ทดสอบซอ้ มดฝู มี ือพอทัดเทียมกัน ลงบัญชีรายช่ือไว้ แล้วสัง่ ให้ไปแตง่ ตวั กาหนดเวลาและเอาเสียงฆ้องเป็นสัญญาณ เมื่อเวลาชกกันก็ชกเป็นไม้ เพียงแต่ ยืนเทียบกันดูรูปร่างกรรมการผู้เปรียบมวยจะถามดูขนาดของร่างกาย ดูความสูง แล้วก็ถามความ สมัครใจของนกั มวยท้งั สองฝา่ ย ถ้าค่ตู อ่ ส้บู อกเอาท่านก็ให้ลองปะมือกันดูก่อน เห็นว่าพอทัดเทียมกัน แตล่ ะคูเ่ ปน็ ท่ีพอใจกใ็ ห้ลงชอ่ื ตามลาดับ ตามความต้องการของเจา้ ภาพ แล้วนกั เวลาชกที่ไหน ตาบลใด เวลาเทา่ ใด เปน็ ต้น พวกนกั มวยท้ังหลายท่ีมาเปรียบไดค้ ู่ชกแล้ว ก็จะพากันกลับบ้านหาเชือกด้ายดิบ ตลอดจนเคร่อื งรางของขลังท่ตี นนับถือติดตวั ไปพร้อมครูผู้แต่งมวย ครั้นได้เวลาชกจริงแล้วประธานใน พธิ หี รอื นายสนาม เมื่อท้งั สองยนิ ดีชกกนั กน็ กั วนั มาชก ไม่มกี ารชั่งน้าหนัก ไม่มีการเปรียบเป็นรุ่น ตาม พิกัดน้าหนักอย่างทุกวันน้ี ถึงแม้ฝ่ายหน่ึงตัวเล็ก เม่ือพบกับตัวโตกว่าก็ยอมเปรียบด้วย ไม่เก่ียง น้าหนัก การเปรียบมวยในสมัยก่อนไม่มีเหล่ียมคูเหมือนสมัยนี้ เพราะต่างถือว่าขนาดของร่างกาย อายุ นา้ หนัก และส่วนสงู ไม่มีความสาคัญเท่ากบั ฝีไมล้ ายมอื ในชน้ั เชงิ มวยไทย เมอื่ ไดเ้ วลาชก ก็ตีฆ้องเปน็ สญั ญาณเรียกนักมวยท่ีได้คู่ชกพร้อมพี่เล้ียงและครูผู้แต่งมวยพา กนั เขา้ มาในสนามน่ังกันอยู่คนละพวกรอบๆสนามด้านในโดยใช้เชือกขึงเอาไว้เป็นเขต ด้านนอกก็เป็น พรรคพวกญาติพี่น้องของนักมวยและคนดูต่างขนกันมาเชียร์และเล่นต่อรองกันเป็นที่สนุกสนาน เมื่อ พรอ้ มแลว้ นายสนามก็จะเรยี กคมู่ วยตามลาดบั มกี รรมการห้ามมวยเพียง 1 คนเท่าน้ัน ไม่มีกรรมการ ให้แต้มเหมือนสมัยนี้ ส่วนการตัดสินแพ้ชนะน้ันเป็นหน้าท่ีของประธานกรรมการหรือนายสนามจะ พจิ ารณาร่วมกนั การต่อสใู้ นสมยั กอ่ นท่านใหต้ ่อสู้กัน 3 รอบของนกั มวยท่ีเปรียบได้ในวันน้ัน แม้ฝ่าย หนึ่งฝ่ายใดจะบอบช้ามากน้อยสักเพียงใด หรือเป็นต่อสักเท่าไร ท่านประธานกรรมการก็ตัดสินให้ เสมอกัน กติกาไม่มีอะไรแน่นอน การชกในสมัยน้ันไม่มีนวมใช้เช่นปัจจุบันเขาใช้ด้ายดิบพันไว้ท่ีมือ เรียกกันว่า “คาดเชือก” และใช้ผ้าขาวม้าม้วนผูก เป็นนวมป้องกันลูกอัณฑะ ซึ่งต่อมาได้ทาเป็นเบาะ รูป 3 เหลยี่ ม ใชเ้ ชือกผกู ชายมุมทงั้ 3 มุม ใชแ้ ทนกระจบั แม้แต่การเปรียบมวยของนักมวยชาวโคราชในสมัยรัชกาลท่ี 6 ภายหลังสงครามโลก คร้ังท่ี 1 พ.ศ.2464 ได้จดั ให้มีการแข่งขันมวยไทยอย่างเป็นทางการท่ีสนามมวยสวนกุหลาบ นักมวย
478 คแู่ รกท่ีชกกันคือ หมนื่ มอื แม่นหมัด นักมวยฝีมือดีในสมัยรัชกาลท่ี 5 จากโคราช อายุประมาณ 50 ปี ชกกับนายผ่อง ปราบสบถ อายุประมาณ 22 ปี นักมวยจากโคราชเป็นการชกแก้แค้นแทนบิดา นายผ่องซึ่งเคยชกพ่ายแพ้ หมื่นมือแม่นหมัด เม่ือครั้งงานพระเมรุกรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ นายผ่องจึง ตั้งใจชกเพอ่ื ล้างแค้น ประกอบกับ หมนื่ มือแมน่ หมดั มีอายุมากแล้วการต่อสู้ของมวยคู่น้ีดุเดือดมาก ใช้ เวลาเพียง 2 นาที นายผ่อง ปราบสบถ ซึ่งหนุ่มและสูงใหญ่กว่า ชนะได้รับรางวัลหัวเสือและ สรอ้ ยเงนิ จะเหน็ ได้วา่ การเปรยี บมวยไทยสมยั นั้น ไมถ่ อื เอาน้าหนกั เป็นสิ่งสาคัญ ถ้าสมัครใจกันท้ัง สองฝา่ ยก็ชกกันไดด้ งั ท่ีได้กลา่ วมาแล้ว รางวัลท่ีได้รับส่วนมากเป็นสิ่งของ แม้เป็นเงินทองก็ไม่มากนัก รางวัลนักมวยข้ึนอยู่กับฝีมือ ใครชกดกี ไ็ ดร้ างวลั มากคนละหลายช่ัง คู่ใดที่ชกไม่ดี จะจ่ายเพียง 1 บาท ให้ไปแบ่งกันคนละ 2 สลึง ถ้าคู่ใดชกได้ดุเดือดก็จะได้เงินรางวัลเพิ่มขึ้น แต่ถ้าหากเป็นการชกหน้าพระที่น่ังรางวัลที่ได้รับก็จะ เป็นหวั เสือและสร้อยเงิน มวยไทยสายลพบุรี การวิจัยเร่อื ง การจดั การความร้มู วยไทยสายลพบุรีครั้งน้ีมีวัตถุประสงค์ เพ่ือศึกษา 1) ศึกษา ประวตั คิ วามเป็นมาของมวยไทยสายลพบุรี 2) เอกลักษณ์ของมวยไทยสายลพบุรี 3) กระบวนท่าของ มวยไทยสายลพบรุ ี และ 4) ระเบยี บประเพณขี องมวยไทยสายลพบุรี มผี ลการวจิ ัยสรปุ ไดด้ ังนี้ 1. ประวตั ิความเป็นมาของมวยไทยสายลพบุรี ประวัตคิ วามเปน็ มาของมวยไทยสายลพบุรี มีผลการศกึ ษา โดยแบ่งเปน็ ช่วงตา่ งๆ ดงั น้ี ช่วงที่ 1 ช่วงเริ่มต้นของมวยไทยสายลพบุรี ระหว่าง พ.ศ.1200 – 2198 โดยพระยา กาฬวรรณดิศได้สร้างเมืองลพบุรี ในปีพ.ศ.1191 ที่เทือกเขาสมอคอนเป็นสถานที่ตั้งสานักศิลปะ วิทยาการที่มีช่ือเสียงโด่งดังมาต้ังแต่ปี พ.ศ. 1200 เรียกว่า สานักเขาสมอคอนโดยมีสุกะทันตะเป็น ผู้ก่อต้ังจนได้รับการยกย่องให้เป็นปรมาจารย์แห่งเขาสมอคอน เรียกกันว่า “สุกะทันตะฤๅษี” ซ่ึงเขา สมอคอนในขณะน้ัน มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านศิลปวัฒนธรรมจนถึงขีดสุด และไม่มีสานักใดจะมา เทียบได้ พ่อขุนรามคาแหงกับพ่อขุนงาเมือง ได้มาเรียนศิลปะวิทยาการที่สานักของสุกะทันตะฤๅษี หลังจากนน้ั อีก 1 ปี พ่อขนุ รามคาแหงได้เรียนจบหลักสูตรและเสด็จกลับอาณาจักรสุโขทัย ในอีก 3 ปี ต่อมาพระองคไ์ ด้ทาสงครามกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด เมื่อมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษา และได้นา หลกั การรบทีเ่ รียนมาไปใช้ในการรบจนสามารถรบชนะขุนสามชน พระราชบิดาจึงได้พะราชทานนาม ใหใ้ หม่วา่ “รามคาแหง” ช่วงท่ี 2 ช่วงสืบทอดมวยไทยสายลพบุรี ระหว่าง พ.ศ.2199 – 2410 เป็นยุคท่ีรุ่งเรือง สุดขีดของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาและอาณาจักรลพบุรี เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้น ครองราชย์ พระองค์ทรงโปรดการชกมวยมาก ให้การส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะมวยไทย ได้รับความนิยมมาก ดังจะเห็นว่างานเทศกาลต่าง ๆ ต้องมีการจัดแข่งขันมวย ไทยด้วยเสมอ ในสมัยนี้มีการแข่งขันชกมวยบ่อยคร้ังท้ังในเมืองลพบุรี อยุธยาและหัวเมืองใกล้เคียง มกี ารทาขอบเขตของสังเวยี นโดยนาเชอื กมาขงึ เปน็ รปู สเี่ หลี่ยม นับเป็นเวทีมวยสมัยแรก นักมวยจะใช้ ด้ายดิบมาพันมอื เรยี กว่า คาดเชือก สวมมงคลไวท้ ศี่ รี ษะ และผูกผา้ ประเจียดไว้ที่ต้นแขน การเปรียบ
479 มวยเป็นไปด้วยความสมัครใจทั้งสองฝ่าย ไม่คานึงถึงขนาดของร่างกายและอายุ มีกติกาการชก ง่าย ๆ เพียงว่า ชกจนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยอมแพ้ โดยมีพระพุทธเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์อีก พระองค์หนึ่งที่สนับสนุนมวยไทยและชอบต่อยมวยเป็นอย่างมากถึงขั้นปลอมพระองค์ไปแข่งขันชก มวยกับชาวบ้าน พระองค์เป็นผู้สืบทอดมวยไทยสายลพบุรีต่อจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและ เปน็ ผู้ท่ีทาใหว้ งการมวยไทยสายลพบุรคี กึ คักขึน้ มาอกี ช่วงระยะเวลาหน่งึ ช่วงที่ 3 ช่วงพัฒนามวยไทยสายลพบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2411 – 2487 เป็นช่วงท่ีมวย ไทยสายลพบรุ ีมีความเฟือ่ งฟถู งึ ขดี สุด โดยเริ่มจากสมยั ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 5 พระองค์ทรงฝึกมวยจากสานักมวยหลวงมาต้ังแต่คร้ังยังทรงพระเยาว์ โดยมีปรมาจารย์ มวยไทยชื่อ หลวงพลโยธานุโยค เป็นผู้ถวายการสอน ทาให้พระองค์ทรงโปรดกีฬามวยไทยมาก เสด็จทอดพระเนตรการชกมวย หน้าพระที่นั่งบ่อยคร้ัง ดังเช่น ในงานพระราชทานเพลิงพระศพของ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกรมมหาดเล็กใน พระบรมมหาราชวังเม่ือวันที่ 19-22 มีนาคม พุทธศักราช 2452 ณ พระเมรุสวนมิสกวัน และ ตอ่ เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพของเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ในวันที่ 1-5 เมษายน พุทธศักราช 2453 ณ เมรุสวนมิสกวัน มีนักมวยฝีมือดีจากต่างจังหวัดหลายคนเข้าแข่งขัน นายกลึง โตสะอาด นักมวยดังแห่งบ้านหัวสาโรงเมืองลพบุรีได้เข้าร่วมแข่งขันด้วยและได้รับชัยชนะหลายคร้ังด้วยฝีมือที่ คลอ่ งแคล่วว่องไว รุกรับรวดเรว็ มีจดุ เด่นเป็นนกั มวยเนน้ หมดั ตรง ลกั ษณะการชกจะเป็นแบบหงาย หมดั และต่อยไดร้ วดเรว็ มาก ซึ่งจากความสามารถของนายกลึง โตสะอาด น้ีเอง พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทางบรรดาศักด์ิเป็น “หมื่นมือแม่น หมัด” ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เม่ือรัฐบาลได้มีคาส่ัง ใหก้ ารชกมวยไทยทัว่ ประเทศตอ้ งสวมนวม เนอ่ื งจากเขมรเจียร์ถูกครูแพ เลี้ยงประเสริฐ ครูมวยฝีมือ ดจี ากบ้านทา่ เสา จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อยจนถึงแก่ความตายด้วยหมัดคาดเชือกท่าหนุมานถวายแหวน (หนงั สือพิมพเ์ ดลเิ มล์ ฉบบั วันที่ 7 ธนั วาคม พ.ศ. 2471 ลงพาดหัวข่าวว่า “ต่อไปนี้นักมวยท่ีชกบน เวทีต้องสวมนวมทมี่ อื ”) ในรชั กาลนี้ มีนายจันทร์ บัวทอง เป็นนักมวยที่มชี ื่อเสยี งของลพบุรี ช่วงท่ี 4 ช่วงสมัยใหม่ของมวยไทยสายลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2488 จนถึงปัจจุบัน มวยไทยสายลพบรุ ี เรม่ิ ฟ้ืนฟูอีกครง้ั เมื่อมีการจัดงานในวันพระนารายณ์ (งานวัง) เพื่อบวงสรวงดวง พระวิญญาณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในงานน้ีได้จัดขึ้นเป็นเวลา 7 วัน 7 คือ ระหว่างงาน มีการละเล่นต่าง ๆ และมีการแข่งขันชกมวยด้วย โดยสร้างเวทีมวยข้างพระท่ีน่ังสุทธาสวรรค์ มีการ เปรียบมวยทุกคนื มกี ารจัด การแขง่ ขันในเวทีมวยเป็นประจา มีนายสนามมวยหลายคนท่ีหมุนเวียน มาดูแลเวทีมวยค่ายนารายณ์ อาทิ พันเอกเฉย วีระบูลย์ ได้มาบริหารและพัฒนาเวทีมวยค่าย นารายณ์ จนมีความเจริญรุ่งเรืองข้ึนอีกครั้งหน่ึง ซ่ึงช่วงน้ีเป็นช่วงรุ่งโรจน์สุดขีดของมวยในจังหวัด ลพยุรี มีคา่ ยมวยต่าง ๆ เกิดข้ึนหลานค่ายและมีนักมวยที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นอย่างมากมาย ตลอดจนมี การนานักมวยจากกรุงเทพฯ มาชกท่ีลพบุรีเป็นประจาทุกวันพุธ ปัจจุบันนี้ นายสนามมวยของเวที ค่ายนารายณ์ คือ พันเอกศักดา เพ็ชรจินดา โดยได้มอบหมายให้สิบเอกสุรฤทธิ์ ใจทน เป็นผู้ดูแล สนาม และมีนายพหล นนทอาสา เป็นผู้จัดการแข่งขันประจา ส่วนนักมวยท่ีโดดเด่น ได้แก่ นายทวีศักดิ์ สิงห์คลองส่ีและนายอังคาร ชมพูพวง ปัจจุบันจังหวัดลพบุรีมีชมรมมวยไทยสมัครเล่น โดยมีพันตารวจโท ณัฐพล สายสุขเป็นประธานชมรมมวยไทยสมัครเล่น ส่วนผู้สืบสานและและ
480 ถ่ายทอดศิลปะมวยไทยสายลพบรุ ีในปัจจบุ ันคอื ครูประดิษฐ์ เล็กคง ซ่ึงได้รับการประกาศให้เป็นครู มวยไทยดีเด่นของจงั หวัดลพบุรีมาตลอด 2. เอกลักษณข์ องมวยไทยสายลพบรุ ี เอกลักษณ์ของมวยไทยสายลพบุรี มีผลการศึกษาดังนี้ มวยไทยสายลพบุรี เป็นมวยที่มี เอกลักษณ์พิเศษเฉพาะตัวแตกต่างจากมวยสายอ่ืน คือ มีลักษณะเป็นมวยเก้ียวไม่เป็นมวยหลัก ในขณะชกสามารถหลบหลีกคู่ต่อสู้ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว มีจุดเด่นท่ีเน้นการชกหมัดตรง แบบ หงายหมัด มคี วามสามารถ ในการต่อยแหวกการคุมป้องกันของคู่ต่อสู้ได้เป็นอย่างดี จนได้ชื่อว่า แม่น หรือแม่นหมัด ซ่ึงมีคากล่าวเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของมักมวยลพบุรีว่า ฉลาดลพบุรี ส่วนท่ีเหมือนคือ การแต่งกายของมวยไทยสายลพบุรี จะแต่งกายเหมือนนักมวยสายอ่ืนทั่ว ๆ ไป แขนผูกผ้าประเจียด ท้ังสองข้าง ท่ีศีรษะสวมมงคล การจดมวยและท่าจดมวยของมวยไทยสายลพบุรี จดมวยด้วยท่าพระ กาฬเปิดโลกและมีลักษณะการจดมวยเช่นเดียว กับนักมวยอ่ืน ๆ ในสมัยก่อน ใช้หมัดหน้าเป็นหลัก โดยหงายมือย่ืนออกไปข้างหน้าและต้ังสูงระดับเสมอคางหรือหัวไหล่เพ่ือใช้แหย่ลองเชิงคู่ต่อสู้ ส่วน หมัดหลังจะมีลักษณะหงายมือแต่ตะแคงเล็กน้อย หมัดยกขึ้นสูงเพียงราวนม ใช้การฉากหลบและเข้า ประชิดวงในพร้อมกบั ตอ่ ยดว้ ยหมัดหงายอย่างรวดเรว็ ท่ีปลายคาง ซึง่ เรยี กท่าตอ่ ยนี้ว่า เอราวัณเสยงา การยืนและการวางเท้าของมวยไทยสายลพบุรี ลักษณะการยืนจะยืนหันหน้าเข้าหาคู่ต่อสู้ ขาหน้า หลัง งอเข่าเพียงเล็กน้อย ส่วนท่ีแตกต่างจากมวยอื่น ๆ ได้แก่ การพันมือของมวยไทยสายลพบุรี นิยมใช้ผ้าทาให้เป็นเส้นคล้ายเชือกพันคาดข้อมือเพียงครึ่งแขน และที่มองเห็นเด่นชัดกว่ามวยอื่น ๆ คือ การพันคาดข้อเท้าของมวยไทยสายลพบุรี ใช้ด้ายที่ขวั้นจนเป็นเส้นใหญ่พันคาดที่ข้อเท้า ท้ังสอง ข้างเพื่อใช้เตะคู่ต่อสู้ให้เกิดแผลขึ้น ลักษณะการต่อยหมัดของมวยไทยสายลพบุรี เน้นการใช้หมัดท่ี ประกอบลลี าท่าทางท่ีพล้ิวไปมาหลอกล่อต่อยคู่ต่อสู้ สรุปได้ว่า มวยไทยสายลพบุรีเป็นมวยเชิง ไม่ใช่ มวยประเภทดดุ นั หรือมลี าหักลาโค่น แต่จะเป็นมวยอ่อนหรือมวยเกี้ยวถือเป็นมวยลีลามากกว่า ซ่ึงทา ให้นักมวย ไมเ่ จ็บตัวและมลี ลี าพล้วิ ไปมาดูสวยงามซง่ึ เป็นเอกลักษณ์โดยแท้จรงิ ของมวยลพบุรี 3. กระบวนท่าของมวยไทยสายลพบุรี การพัฒนารูปแบบมวยไทยแต่ละสายต่างก็มีกระบวนท่าต่าง ๆ ของแต่ละสานักเกิดข้ึน มากมาย รากเหง้าที่มาของกระบวนท่ามวยไทยสายลพบุรี ในสมัยน้ัน บรรพชนของมวยไทยกระจัด กระจายอยทู่ ัว่ ทกุ ทศิ ทกุ หนทุกแห่งและทุกถน่ิ ทั่วประเทศ แต่ละแห่งได้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดมวยไทย และมีการกาหนดเคล็ดวิชามวยแตกต่างกันออกไปในแต่ละสานักมวยท่ีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน จึงยากในการชี้ชัดไปว่า มวยเหล่าน้ันมีรากเหง้าหรือท่ีมาของกระบวนท่าเป็นของใคร หรือใครเป็น ผู้ริเริม่ กระบวนท่านีก้ ่อนและใครเป็นผู้ตั้งชื่อท่าไม้มวยต่าง ๆ จึงยากท่ีจะระบุได้ชัดเจน เน่ืองจากมวย ไทยเปน็ ศลิ ปะการต่อสู้ท่ีถกู หลอ่ หลอมมาจากองค์ความรู้ท่ีหลากหลายในต่างท้องถ่ิน ซึ่งทุกที่ทุกแห่ง มีแนวทางในแบบฉบับของตนเอง ดังนั้นกระบวนท่าต่างๆ ของมวยที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงไม่สามารถ บอกได้ว่าใครลอกเลียนแบบใคร เช่นเดียวกับรากเหง้าของกระบวนท่ามวยลพบุรีจะบอกว่ากระบวน ทา่ ใดเป็นกระบวนทา่ ของมวยไทยสายลพบุรที แ่ี ทจ้ ริงและมาจากสถานท่ีใดน้ันยังหาข้อยุติไม่ได้ ซ่ึงครู มวยไทยสายลพบรุ ใี นอดีตได้มีการตั้งชื่อกระบวนท่า มวยไทยให้ฟังแล้วมีความไพเราะหรือเข้าใจง่าย โดยเทียบเคียงลักษณะของกระบวนท่ากับช่ือและลีลาของตัวละครเหตุการณ์หรือสัตว์ในวรรณคดี กระบวนทา่ มวยบางทา่ กเ็ รียกชื่อตามสิง่ ทค่ี ุ้นเคยในวิถีชวี ิตของคนในยุคสมัยนั้น ๆ เช่น เถรกวาดลาน
481 คล่ืนกระทบฝ่ัง หนูไต่ราว มอญยันหลัก ญวนทอดแห เป็นต้น เพราะเมื่อเอ่ยชื่อกระบวนท่ามวย เหล่านี้แล้วจะทาให้นึกถึงท่าทางของการต่อสู้ได้ง่ายขึ้น ซึ่งจากการสัมภาษณ์และซักถามผู้รู้ ครูมวย รวมทั้งผู้เฒ่าผู้แก่ในจังหวัดลพบุรี พอสรุปได้ว่า มวยไทยสายลพบุรี มีรากเหง้าและกระบวนท่ามา จากการลอกเลียนท่าทางของสัตว์ต่าง ๆ เช่น ลิง ช้าง หรือตานานสร้างเมืองลพบุรีท่ีมี พระราม พระลักษณ์และหนุมานมาเป็นกระบวนท่าของมวยไทยสายลพบุรี ครูประดิษฐ์ เล็กคง ครูมวยไทย สายลพบุรี เล่าว่า ได้สอนท่ามวยเหล่าน้ีมานานแล้วและตั้งใจอนุรักษ์กระบวนท่ามวยไทยสายลพบุรี เหล่าน้ใี ห้เปน็ มรดกทางวฒั นธรรมแกล่ กู หลานชาวลพบุรีและใหค้ งอยู่กับเมืองลพบุรีตลอดไป 4. ระเบยี บประเพณีของมวยไทยสายลพบุรี วัฒนธรรมประเพณีศิลปะมวยไทยสายลพบุรี มีผลการศึกษาพอสรุปได้ดังน้ี ความสัมพันธ์ ของมวยไทยสายลพบุรกี ับศาสนาพทุ ธ มีความเกีย่ วพันกนั อยา่ งแยกไม่ออก เพราะมวยไทยในท้องถ่ิน อ่ืน ๆ รวมท้ังมวยไทยสายลพบุรีถือกาเนิดมาจากวัดเป็นส่วนใหญ่ และครูมวยท่ีสอนมวยในสมัยน้ัน มักจะเป็น เพศบรรพชิต ดังเช่น ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครั้งเมื่อยังทรงพระเยาว์คือ พระมหาเถระคันฉ่องพระอาจารยเ์ ชื้อสายมอญท่ีพานักในวัดชานกรุงหงสาวดี ซึ่งในสมัยของมวยไทย สายลพบุรีก็เช่นกัน พระสงฆ์ท่ีอยู่ในวัด มักจะเป็นพระอาจารย์ท่ีสอนมวยให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ ในละแวกน้ัน จึงทาให้มวยไทยสายลพบุรีกับศาสนาพุทธมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นแยกกัน ไม่ออก สังเกตได้จากก่อนการชกนักมวยจะมีการไหว้ครู มีการร่ายมนต์คาถาเพ่ือระลึกถึงพระคุณ ครูบาอาจารย์ เชน่ นายกลงึ โตสะอาด ก็ได้ฝึกมวยจากวดั พรหมาสตร์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่เป็นครูมวย ให้การอบรมสงั่ สอนจนเป็นนักมวยท่โี ด่งดัง ก็มีความสมั พนั ธ์กับวัดและศาสนาพุทธเชน่ กัน การไหว้ครูมวยไทยสายลพบุรี มีผลการศึกษาดังน้ี ในการต่อสู่เชิงศิลปะมวยไทยและ มวยไทยสายลพบรุ ี ตมประเพณีโบราณต้องมกี ารไหว้ครู เพ่ือเป็นการระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์อันมี ผลใหน้ กั มวยมคี วามมง่ั คง สาหรบั ท่าทางไหวค้ รูและร่ายรามวยไทยสายลพบุรี ก็เหมือนกับการไหว้ครู ทั่ว ๆ ไปโดยเน้นแบบฉบับของมวยภาคกลางเป็นหลัก แม่ไม้มวยไทยสายลพบุรี ท่ีครูมวยไทยสาย ลพบุรีนามาสอนลูกศิษย์ ได้แก่ ท่าเอราวัณเสยงา ท่าขุนยักษ์พานาง ท่าพระรามน้าวศร ท่ากวาง เหลียวหลัง ท่าหิรัญม้วนแผ่นดิน ท่าหนุมานถวายแหวน เกล็ดไม้มวยไทยสายลพบุรี ได้แก่ ท่าล้ม พลอยอาย ทา่ ลิงชงิ ลูกไม้ ท่าคชสารถองหญา้ ทา่ คชสารแทงงา ทา่ ลิงพลว้ิ ทา่ หนุมานถอนตอ ครูมวยและนักมวยไทยสายลพบุรี มีผลการศึกษาดังน้ี ครูมวยและนักมวยในอดีตมีอยู่หลาย ท่าน ล้วนแล้วแต่มีฝีมือเก่งกาจในการชกมวยกับคู่แข่งขันท่ีชาวลพบุรีและชาวไทยในสมัยนั้นได้ ตระหนักถึงความสามารถอันโดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมวยไทยสายลพบุรี ครูมวยและ นักมวยในอดีต ได้แก่ ครูด้ัง ตาแดง ครูนวล ลพบุรี หมื่นมือแม่นหมัด นายเพิก ฮวบสกุล นายยวง บ้านเช่า นายซวิ อกเพชร นายแอ ประจาการ นายเย็น อบทอง และนายจันทร์ บัวทอง ท่านเหล่าน้ี ล้วนเปน็ บรรพชนมวยไทยสายลพบุรี ที่ควรแก่การยกย่องคารวะและเชิดชูไว้ในดวงใจของชาวลพบุรี ในฐานะวีระบรุ ษุ ของมวยไทยสายลพบรุ ตี ลอดไป มวยไทยสายท่าเสาและพระยาพิชยั การวจิ ยั เรอื่ ง การจดั การความรู้มวยไทยสายท่าเสาและพระยาพิชัยคร้ังนี้ มีวัตถุประสงค์เพ่ือ ศึกษา 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของมวยไทยสายท่าเสาและพระยาพิชัย 2) เอกลักษณ์ของ
482 มวยไทยสายท่าเสา และพระยาพิชัย 3) กระบวนท่าของมวยไทยสายท่าเสาและพระยาพิชัย และ 4) ระเบยี บประเพณขี องมวยไทยสายลพบุรี มผี ลการวิจยั สรุปได้ดงั น้ี 1. ประวัติความเป็นมาของมวยไทยสายท่าเสาและพระยาพชิ ัย ผลการศกึ ษาขอ้ มลู เก่ียวกับประวตั คิ วามเป็นมาของสายมวยไทยสายท่าเสาและพระยาพิชัย พบว่า พระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อจ้อย เกิดที่บ้านห้วยคา เมืองพิชัย ปัจจุบันคืออาเภอพิชัย จังหวัด อุตรดิตถ์ เมื่ออายุ 8 ปี บิดานาตัวไปฝากเรียนกับท่านพระครูวัดมหาธาตุเมืองพิชัย ได้ชกต่อยกับ ลูกเจ้าเมือง จึงหนีออกจากวัดมหาธาตุเพราะกลัวความผิด อีกท้ังได้มีความสนใจเกี่ยวการชกมวย มาก ตั้งใจจะไปเรียนมวยกับครูเมฆท่าเสา เม่ือคร้ังท่ีเห็นครูเมฆนานักมวยไปชกที่งานประจาปีของ วัดมหาธาตุ ไดอ้ อกเดินทางข้นึ เหนือตามลาน้าน่านจนมาถงึ วัดบา้ นแก่งใต้ ได้พบครูมวยช่ือเที่ยงกาลัง สอนมวยให้ลูกศิษย์อยู่ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์เรียนมวยกับครูเที่ยงและเปลี่ยนช่ือเป็นทองดี ครูเท่ียง จึงเรียกว่าทองดี ฟันขาว เพราะไม่กินหมากฟันไม่ดา สามารถเรียนมวยกับครูเท่ียงได้อย่างรวดเร็ว จนครูเที่ยง ไม่มีอะไรจะสอนให้อีกแล้ว จึงได้ออกเดินทางขึ้นเหนือต่อเพื่อไปเรียนมวยกับครูเมฆแห่ง บ้านท่าเสา ให้ได้ตามความต้ังใจไว้ โดยอาศัยเดินทางไปกับพระรูปหน่ึงที่จะไปกราบนมัสการพระ แท่นศิลาอาสน์และได้ไปพักอยู่ท่ีวัดวังเตาหม้อ (วัดท่าถนนปัจจุบัน ในตัวเมืองอุตรดิตถ์) และได้ฝึก หกคะเมนตีลังกาเลียนแบบง้ิวแสดง และนามาฝึกผสมผสานกับท่ามวย จากนั้นได้เดินทางต่อไปจน ถึงสานักมวยครูเมฆแห่งบ้านท่าเสาและได้ฝากตัวเป็นศิษย์ครูเมฆ เรียนมวยอยู่กับครูเมฆจนเก่งกล้า ครูเมฆจึงได้นาไปเปรียบมวยในงานประจาปีวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ได้ชกชนะครูนิลและนายหมึก ศิษย์ครูนิล ทาให้มีซื่อเสียงโด่งดังในการชกมวยท่ีงานพระแท่นศิลาอาสน์ในคร้ังน้ัน และได้ช่วยครู เมฆปราบโจรผู้ร้ายหลังจากนั้นได้ลาครูเมฆเดินทางต่อไปเพ่ือเรียนดาบกับครูเหลือที่เมืองสวรรคโลก พรอ้ มท้ังไดเ้ รียนมวยจนี หักกระดูกทีเ่ มอื งสโุ ขทัย และสามารถใชด้ าบจนเป็นท่ีเล่ืองลือเป็นท่ีรักของคน ทั่วไป จากน้ันได้เดินทางผจญภัยต่อไปยังเมืองตาก เพ่ือสมัครเป็นทหารและได้ชกมวยในงานถือ น้าพิพฒั นส์ ตั ยา ของเมืองตาก สามารถเอาชนะครหู ้าวครูมวยดงั ของเมืองตากได้ จนเป็นที่โปรดปราณ ของพระยาตากเป็นอย่างมาก พระยาตากได้ชักชวนให้อยู่รับราชการเป็นทหารองครักษ์ไ ด้รับ บรรดาศักดิ์เป็น“หลวงพิชัยอาสา” พระยาตากได้บวชเรียนให้ 1 พรรษาได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณหญิงเมืองตากจัดหาภรรยาให้ ได้ร่วมกับพระเจ้าตากกอบกู้เอกราช ตั้งกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง และเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นบรมกษัตริย์เป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินและโปรดเกล้าฯ แต่งต้ังให้ “หลวงพิชัยอาสา” เป็นหมื่นไวยวรนาถ และเป็นพระยาสีหราชเดโช โดยลาดับ เม่ือครั้งสมเด็จพระ เจ้าตากสิน ทรงยกทัพไปปราบก๊กเจ้าพระฝางที่เมืองพิษณุโลกและเมืองสวางคบุรีได้สาเร็จ จึงทรง โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสีหราชเดโช เป็นพระยาพชิ ัย มตี าแหน่งเปน็ ผู้สาเร็จราชการเมืองพิชัย โดยให้ ถือไพร่พล 9,000 และพระราชทานเครื่องยศ เสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ เจ้าเมืองพิษณุโลกส่วนนายบุญ เกิดน้องบุญธรรมได้ทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หมื่นหาญณรงค์ ทหารคนสนิทของพระยาพิชัย เมือ่ พระยาพชิ ยั ได้ครองเมอื งพิชยั ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินแล้ว ได้ทราบว่าบิดา เสียชีวิตไปแล้วคงเหลือแต่มารดา จึงได้ให้ทหารไปเชิญมารดาเข้ามาอยู่ในจวนด้วยกัน เม่ือมารดา มาถึงได้ก้มกราบเท้ามารดา เมื่อมารดาของท่านได้มาอยู่ท่ีจวนเจ้าเมืองแล้วต่างเรียกขานมารดาท่าน
483 ด้วยความเคารพว่า “คุณแม่ใหญ่ในจวน” ส่วนครูเท่ียงบ้านแก่ง และครูเมฆท่าเสา ครูมวยท้ังสอง ได้รบั แต่งตั้งใหเ้ ปน็ ขุนเทีย่ งและขุนเมฆ ปกครองราษฎรในทอ้ งท่ีตาบลของตนต่อไป เม่ือ พ.ศ.2316 ขณะน้ันมีอายุได้ 32 ปี โปสุพลา แม่ทัพพม่า ได้มาตีเมืองพิชัยท่านได้นา ทหารออกรบและต่อสู้กับโปสุพลาจนดาบหักไปข้างหน่ึง ทหารพม่าแตกพ่ายหนีไป ในการสู้รบคร้ังนี้ ท่านได้สมญานามว่า “พระยาพิชัยดาบหัก” ต้ังแต่นั้นเป็นต้นมา เหตุการณ์ดังกล่าวตรงกับวันอังคาร แรม 7 คา่ เดอื นย่ี ปีมะเส็ง (วันที่7 มกราคม 2316) จากการศึกครั้งนั้น หม่ืนหาญณรงค์ ได้เสียชีวิต จากปืนคาบศิลาของพม่าขณะท่ีเข้าไปต้ังรบช่วยพระยาพิชัย ที่กาลังเสียท่าต่อโปสุพลาแม่ทัพพม่า หมนื่ หาญณรงคไ์ ดแ้ ลกชีวติ พลีชีพเพ่ือนายของตน เมื่อสิ้นสมเด็จพระเจ้าตากสินแล้ว สมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจฬุ าโลก ไดท้ รงเสดจ็ ข้ึนเถลงิ ถวัลย์ราชสมบัติ ณ กรุงเทพมหานคร เม่ือวันที่ 7 เมษายน 2325 พระยาพิชัยดาบหัก ท่านไม่ยอมอยู่เป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย กราบบังคมทูล สมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก ขอถวายความจงรักภักดีถวายชีวิตตาม สมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่ขอฝากบุตรชายให้ รบั ราชการสนองพระเดชพระคณุ สืบไปภายหน้า จงึ ได้โปรดเกล้าฯ ใหป้ ระหารชีวิตพระยาพิชัยดาบหัก เม่ือวันท่ี 7 เมษายน 2335 พระยาพิชัยดาบหักจึงเป็นท่ีเคารพรักของคนจังหวัดอุตรดิตถ์ต้ังแต่อดีต จนถงึ ปจั จบุ ัน เพราะท่านเป็นเจ้าเมอื งทีเ่ ป็นนกั มวย และนักดาบ ใช้มวยไทยช่วยในการกอบกู้เอกราช มีความจงรักภักดีต่อเจ้านาย ซ่ือสัตย์สุจริต จึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของ คนในจังหวัดอุตรดิตถ์และ จังหวัดใกล้เคียง จังหวัดอุตรดิตถ์จึงได้จัดงานฉลองวันชัยชนะของพระยาพิชัยดาบหัก พร้อมทั้งมีการ จดั มวยไทยถวายเปน็ ประจาทุกปี ในวนั ที่ 7–16 มกราคม ของทุกปี 2. เอกลกั ษณ์ของมวยไทยสายท่าเสาและพระยาพิชยั ผลการศกึ ษาเกี่ยวกับเอกลักษณ์ มวยไทยสายพระยาพิชัย พบว่า มวยไทยสายพระยา พิชยั มเี อกลกั ษณ์เด่น 5 ประการดงั นี้ 1. การยนื มวยหรอื จดมวยยืนน้าหนกั อยู่เท้าหลงั เพื่อทจ่ี ะออกอาวุธไดอ้ ย่างรวดเรว็ และ สามารถหลบอาวธุ ของคูต่ ่อสู้ไดอ้ ย่างรวดเรว็ เชน่ กนั 2. การรา่ ยราไหว้ครทู า่ นั่งต้องส่องเมฆก่อนยนื และจะไม่มที ่าถวายบังคม หากไม่รา่ ยรา ไหวค้ รตู อ่ หนา้ พระทน่ี ่ัง 3. มงคลและประเจยี ด เป็นมงคลถักสีแดงลงอาคมและมปี ระเจยี ดขา้ งเดียว ไม่เหมือน มวยสายอน่ื ทม่ี ี 2 ขา้ ง 4. พิธีกรรม เปน็ พธิ ที ส่ี าคัญมี 3 พธิ ี คือ ยกครูหรือขนึ้ ครู ไหว้ครูและครอบครู 5. ไม้มวยมีทัง้ อ่อนแข็งอยูใ่ นคราวเดียวกนั จะถนัดเร่ืองการใชเ้ ทา้ เป็นอาวธุ ที่รวดเรว็ 3. กระบวนทา่ ของมวยไทยสายท่าเสาและพระยาพิชัย การศกึ ษาพนื้ ฐานและพนื้ ไม้มวยไทยสายพระยาพชิ ัยดาบหัก พบวา่ ทักษะมวยไทยหรือ ไม้มวยไทย สายพระยาพิชยั ดาบหัก 57 ไม้ ดงั น้ี การชก 15 ไม้ ประกอบด้วย หมัดตรง หมัดครึ่งศอก คร่ึงหมัดครึ่งศอกได้ หมัดเหว่ียงหรือ หมัดขว้าง หมัดตบหรือหมัดเหวี่ยงสั้น หมัดตบหรือหมัดเฉียงส้ัน หมัดเหว่ียงข้ึนตรง หมัดเหวี่ยงกลับ
484 หมัดงัด หมดั เสย หมัดสอยดาว หมัดหงาย หมัดเหวีย่ งบนยาว หมัดจิกหรือหมัดฉก หมัดเสือหรือหมัด มะเหงก หมดั คู่ หมดั อัด และหมดั ตวดั การเตะ 10 ไม้ ประกอบดว้ ย เตะตรงต่า เตะตรงสูง เตะเฉียง เตะเหว่ียงหรือเตะตัด เตะตวัด กลบั เตะหลงั เท้า เตะกลับหลัง เตะครึง่ แขง้ หรอื ครึง่ เขา่ เตะโขกและเตะตบและกระโดดเตะ การถีบ 10 ไม้ ประกอบด้วย ถีบจิก ถีบกระทุ้ง ถีบข้าง ถีบตบ ถีบต่อเข่า ถีบกลับหลัง หรือ ม้าดีด โดดถบี ถบี หลอก ถีบยันและเดินถบี การตีเข่า 10 ไม้ ประกอบด้วย เข่าตรงหรือเข่าโทน เข่าเฉียง เข่าโค้ง เข่าเหว่ียงหรือเข่า ตดั เข่าเหนบ็ หรอื เขา่ หยอกนาง ครึ่งเขา่ คร่ึงแขง้ เขา่ กระชาก เข่าลอย เข่าพ่งุ และเข่าคู่ การศอก 12 ไม้ ประกอบด้วย ศอกตัด ศอกเฉียง ศอกโค้ง ศอกเสยหรือศอกงัด ศอกถอง ศอกจาม หรอื ศอกสับ ศอกพุ่ง ศอกกระแทก ศอกเฉือน ศอกเชด็ ศอกกลบั ศอกคู่ แรงบนั ดาลใจในการฝกึ หดั กีฬามวยไทยของพระยาพิชัยดาบหัก จุดมุ่งหมายเพ่ือการป้องกัน ตัวของลูกผู้ชาย เพื่อแสดงความสามารถของความเป็นเลิศและเพื่อหนทางของความเจริญก้าวหน้า ให้กับตนเอง การฝึกหัดมวยของพระยาพิชัยดาบหัก ต้องใช้เวลาฝึกอยู่นานเพราะเช่ือว่ามวยไทยมี อนั ตรายมาก จงึ ตอ้ งเรยี นวิชาอาคมไปด้วย ก่อนเรียนจึงต้องมีการข้ึนครูหรือยกครู มีการไหว้ครูอย่าง มีระเบียบแบบแผน จะต้องได้รับการยอมรับจากครู ครูจึงจะรับเป็นศิษย์และให้อาศัยอยู่ท่ีบ้าน ของ ครูและตอ้ งชว่ ยเหลืองานบ้านเหมือนเป็นลูกหลานของครู อยู่ในโอวาททาตามระเบียบแบบแผนและ วธิ ีการฝึกทีค่ รูกาหนดไวอ้ ยา่ งเครง่ ครัด สถานท่ีในการฝึกอยู่ในบริเวณลานวัด ฝึกการปิด ปัด ปก ป้อง ฝกึ ใชห้ มดั เท้า เข่า ศอก ฝึกการทุ่ม ทับ จับ หัก การฝึกต้องอาศัยธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม พระยา พิชัยดาบหักเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนมีความ มานะ อดทนส่ือสัตย์ สุจริต นอกจากน้ียังเป็นผู้ท่ีมีความรู้ ความสามารถนารูปแบบการฝึกมาผสมผสานกัน จึงทาให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว พระยาพิชัย ดาบหักสามารถใช้อาวุธมวยไทยได้อย่างครบครันทั้งหมัด เท้า เข่า ศอก การใช้หมัดตาม การชก การเตะ การถีบ การเข่า การศอก การทุ่มทับจับหักตลอดจนการกระโดดเหยียบชายพกและ การกระโดดข้ามศรี ษะของคูต่ อ่ สู้แล้วถบี ทา้ ยทอย 4. ระเบยี บประเพณีของมวยไทยสายท่าเสาและพระยาพิชยั ผลการศึกษาแบบแผนประเพณีของมวยไทยสายพระยาพิชัยดาบหัก พบว่า แบบแผน ประเพณีของมวยไทยสายพระยาพิชยั ดาบหัก จะมคี าถาอาคมที่เก่ยี วขอ้ งในการขนึ้ ครหู รอื ยกครู การไหวค้ รูประจาปี การครอบครู และการราไหว้ครกู ่อนชก ซึ่งประกอบไปดว้ ย 1. การขนึ้ ครูหรือการยกครูในสมัยโบราณ การจะรับลูกศิษย์มิใช่รับกันง่าย ๆ เพราะต้อง แนใ่ จว่าลกู ศษิ ย์ตอ้ งเปน็ คนดีมศี ีลธรรม ไม่นาความรู้ไปใช้ในทางท่ีผิด ต้องเคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์ บางคร้ังครูมวยจะรับลูกศิษย์เข้ามาอยู่ในบ้านโดยขณะท่ีช่วยทางานบ้านและช่วยครูทาไร่ไถนาครูจะ คอยสงั เกตดคู วามประพฤตแิ ละความขยนั ขันแข็งกอ่ น เม่อื เห็นวา่ เป็นคนดมี ีความขยันสุภาพเรียบร้อย จึงนัดวันข้ึนครูหรือยกครูก่อนทาการสอนวิชาต่างๆให้ โดยมีข้อตกลงเบ้ืองต้น คือ ศิษย์ต้องสมัครใจ ถา้ ยังเด็กอยบู่ ดิ ามารดาตอ้ งยนิ ยอม ศิษยส์ ามารถทาตามระเบียบของสานักได้ ฝึกรามวยให้ได้ถ้าทนได้ กจ็ ะไดร้ ับการขึน้ ครูเพ่อื รับเป็นศิษย์ เม่ือรับศิษย์ไว้แล้วครูก็จะทาพิธียกครูให้ในวันพฤหัสบดีเพราะถือ
485 ว่าเป็นวันครูให้นักมวยสวดมนต์ไว้พระ ทาสัตย์ปฏิญาณว่าจะเป็นคนดี ประพฤติชอบทั้งกายวาจาใจ ซอ่ื สัตย์สจุ ริต เช่ือฟังคาสั่งของครูมวย เคารพอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ สุภาพเรียบร้อยต่อบุคคลทั่วไป และ จะไม่นาศิลปะมวยไทยสายของตนไปใช้กับคนอื่นให้คนอื่นเดือดร้อนโดยไม่จาเป็น ปฏิญาณตนแล้ว ครกู จ็ ะใหโ้ อวาทแนะนาการฝึกและขอ้ ตกลงในการฝึกหัดมวยไทยให้ 2. การไหว้ครูมวยไทยสายท่าเสาและสายพระยาพิชัย การไหว้ครูประจาปีครูสอนสายท่า เสาและสายพระยาพชิ ยั ปกตจิ ะจัดใหม้ กี ารไหว้ครผู ู้ล่วงลับไปแล้วทุกวันพฤหัสบดี ข้างขึ้นสูงสุดของ เดอื น 3 ทุกปี หากปีใดเป็นปีอธิกมาสเป็น 4 ซ่ึงจะจัดท่ีบ้านครูผู้สอนเพ่ือเป็นการระลึกถึงคุณของครู มวยท้ังหลาย เพื่อขอพรให้การสอนการฝึกฝนบรรลุเป้าหมายท่ีต้องการและเพื่อให้ครูผู้ล่วงลับไปแล้ว ช่วยดลบันดาลให้ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุข ให้สามารถรู้แจ้งเห็นชัดในการใช้ศิลปะมวยไทยท้ังรุกและรับ อย่างรวดเร็วทันการ สามารถใช้ศิลปะมวยไทยให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อส่วนรวมและต่อ ประเทศชาติ อนุญาตให้ลูกศิษย์ทั้งหลายได้พัฒนาศิลปะมวยไทยสายพระยาพิชัย ให้เจริญก้าวหน้า ต่อไป การไหว้ครูก็จะมีเคร่ืองเซ่นไหว้ครู 14 รายการ คือ หัวหมู 1 หัว หรือไก่ 1 ตัว มะพร้าวอ่อน 2 ลูก เหล้า 1 ขวด บายสีปากชาม 1 คู่ ดอกไม้ 3 สีและดอกไม้ในแจกันอีก 1 คู่ ขนมหวานต้มขาวต้ม แดง นวมหรือผ้าดิบคาดเชือก 2 คู่ เทียนสีผึ่ง 1 ดอก ขัน 1 ใบ หมาก พลู บุหรี่ อย่างละ 3 คา/มวน พานและมงคลของครผู ู้สอน ธูป 1 แหนบ กระถางธปู 1 ใบ และค่าครู 12 บาท 3. การครอบครูตามประเพณีเดิมของมวยไทยสายท่าเสาและพระยาพิชัย การครอบครู หมายถึงการที่ลูกศิษย์ได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะมวยไทยจนหมดส้ินแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะทาให้วัน พฤหัสบดีก่อนเวลาเพลท่ีบ้านครูมวยหรือในวัด เป็นที่น่าสังเกตว่ามงคลท่ีสวมให้น้ันอาจจะเป็นมงคล ประจาตัว เพราะมงคลนี้จะมีดวงพิชัยสงครามของผู้นั้นอยู่บนแผ่นยันต์สีแดงซ่ึงพันอยู่รอบมงคลน้ี ในอดีตนักมวยจะสวมมงคลข้ึนเวทีต่อสู้และไม่ถอดมงคลตลอดเวลาการต่อสู้ หลังจากนั้นจะนาเอา แผ่นยันต์ท่ีลงอักขระประจาสานกั และดวงพิชยั สงครามของผู้ได้รบั การครอบครูพันรอบมงคลส่วนหน้า เอาไว้ มงคลน้โี ดยปกตจิ ะไดร้ ับการสวดญตั ติไว้ ถ้าไม่มีแผน่ ยันตก์ ็ไมต่ ้องสวดญตั ตแิ ต่ประการใด แต่ถ้า มีโอกาสนาเข้าไปร่วมพิธีสวดญัตติเม่ือมีการบวชพระ ในการทาพิธีครอบครูนี้จะต้องมีของเซ่นไหว้ครู ดังนีค้ ือ หัวหมู 1 หัว ไก่ 1 ตัว ปลา 2 ตัว มะพร้าวอ่อน 2 ลูก เหล้า 1 ขวด ขนมหวาน 2-3 อย่าง ไข่ 2 ใบ นวมหรือผา้ ดบิ คาดเชอื ก 2 คู่ ดอกไม้ 3 สี ดอกไม้ในแจกันอีก 2 ใบ หมาก พลูบุหร่ี อย่างละ 3 คา/มวน เงนิ 12 บาท บายสี 1 คู่ ธูป 1 แหนบ เทียนสีผ้ึงสีขาว 1 เล่ม ขัน 1 ใบ (ไว้ใส่น้ามนต์ ที่มีผิวมะกรูด 9 ชิ้น ส้มป่อย 9 ชิ้น และมะยม 9 ใบ) มงคลของครูและลูกศิษย์ท่ีจะครอบ ผ้าแดง กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร จานวน 1 ผืน ผ้าขาว กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร จานวน 1 ผืน กระถางธูป 1 ใบ มวยไทยสายพลศึกษา 1. ประวตั ิความเป็นมาของมวยไทยสายพลศึกษา พบว่า มวยไทยสายพลศึกษาได้ก่อกาเนดิ มาพร้อมกบั การจัดตัง้ สามคั ยาจารย์สมาคม เพอ่ื จดั เป็นสถานทก่ี ารออกกาลงั กายสาหรับประชาชน
486 ท่วั ไป และเพื่อนาเอาความรู้ไปเป็นครูสอนเรื่องเกย่ี วกับพลศกึ ษาด้วย ต่อมาได้เปลยี่ นเป็นหอ้ งพล ศึกษากลาง ซ่งึ อย่ภู ายใต้การกากับของกรมศึกษาธกิ าร ปี พ.ศ. 2497 โรงเรียนพลศึกษากลาง ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ การเรียนการสอน ก็ยงั คง มกี ารเรียนมวยไทยเหมือนเดิม โดยเริ่มต้ังแต่ตอนบ่ายและช่วงเย็น โดยมีมวยไทยเป็นหมวด วิชาไม่บังคับ หลังจากนาวาเอกหลวงศุภชลาศัย ได้ดารงตาแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา ได้ขอ งบประมาณสรา้ งสนามกฬี าแห่งชาตขิ ้นึ ใหม่ ที่บริเวณตาบลวงั ใหม่ อาเภอปทมุ วัน กรุงเทพมหานครฯ และเรียกว่าสนามกีฬาแห่งชาติ ในขณะเดียวกัน กรมพลศึกษามีการจัดการเรียนการสอนเต็มเวลา 5 ปีเต็ม โดยเป็นนักเรียนทุนและคัดมาจากจังหวัดต่าง ๆ หลักสูตรการเรียนการสอนในกิจกรรมท่ีมี มวยไทยด้วย ต่อมาหลักสูตรทางด้านพลศึกษา มีการเปิดระดับปริญญาตรีในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ.2513 วิทยาลัยพลศึกษายกฐานะเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา และต่อมาปี พ.ศ.2517 ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพลศึกษา และกรมพลศึกษาได้เปิดวิทยาลัยพลศึกษา ท้ังกรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาค รวมทั้งส้ิน 17 แห่ง ในปัจจุบันได้เปล่ียนเป็นสถาบันการพลศึกษา ท้งั หมด นอกจากนัน้ สถาบนั ทเี่ ปดิ การเรยี นการสอนพลศึกษามีการเปิดการเรียนมวยไทยขึ้น ในสถาน บันอดุ มศึกษาต่าง ๆ ด้วย มวยไทยสายพลศึกษามีการสืบทอดอย่างต่อเนื่องหลังจากมีการพัฒนา และปรับเปลี่ยน สถาบนั ท่ีทาหน้าที่ผลิตครูพลศึกษาการสืบทอดเดิมจากครูผู้สอนมวยไทย ก็ต่างครูก็สอนตามลักษณะ การสอนของตน ปรมาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชามวยพลศึกษาท่ีมีช่ือเสียงในทางสายพลศึกษานั้นคือ อาจารยส์ นุ ทร ทวีสิทธ์ิ หรือ อาจารย์กิมเส็ง ทวีสทิ ธิ์ อกี คนหนงึ่ คือ อาจารย์แสวง ศิริไปล์ ปรมาจารย์ มวยไทยสายพลศึกษา นอกจากนี้ ยังมีอาจารย์ที่สอนในสายพลศึกษาซ่ึงเก่ียวกับมวยไทยอีกมากมาย ซึ่งทาหนา้ ทส่ี ืบทอดมวยพลศึกษาต่อ ๆ กันมาร่นุ สู่ร่นุ 2. เอกลักษณข์ องมวยไทยสายพลศึกษา พบวา่ ประกอบไปด้วย 1) ด้านการแต่งกายมวยไทย สายพลศึกษาจะสวมกางเกงขาส้ัน (กางเกงส่วนมากจะเป็นสีเข้มย้อมตามธรรมชาติ) มีผ้าคาดเอว (ส่วนมากจะเป็นสีแดง) สวมมงคลที่ศีรษะ ผูกผ้าประเจียดที่ต้นแขนทั้ง 2 ข้าง เวลาข้ึนชกจะถอด มงคลออก ส่วนการคาดเชือกมวยไทยสายพลศึกษา จะคาดเชือกท่ีมือไปถึงกลางท่อนแขน 2) ท่าย่าง สุขเกษม หรือ ขุนพลกรายทวนแปดทิศ เป็นท่าของการก้าวย่างท่ีเป็นเอกลักษณ์ของมวยไทยสาย พลศึกษา โดยผู้ท่ีเป็นต้นตารับของท่าย่างสุขเกษม คือ ปรมาจารย์สุนทร ทวีสิทธ์ิ ปรมาจารย์มวยไทย สายพลศึกษา ท่าย่างสุขเกษม เป็น การก้าวย่างหรือการเคล่ือนที่โดยการก้าวเท้าออกไปข้างนอก พรอ้ มกบั การโยกตวั ใชม้ อื ปัดลงมาขา้ งล่าง ในขณะท่อี ีกมอื หน่ึงยกขน้ึ ระดับใบหน้าเพ่ือเป็นการป้องกัน อาวุธ ส่วนมือท่ีปัดลงมาใช้กรณีเมื่อคู่ต่อสู้ถีบมาหาเรา ก็ใช้มือปัดป้องกันส่วนมือที่อยู่ข้างบนก็ใช้ ป้องกนั อาวุธได้ ทงั้ นใ้ี นการกระทาน้นั จะตอ้ งบิดสะโพกตามไปด้วยพร้อมกับปัดมือล่างให้ผ่านลาตัว ส่วนเท้าเคลื่อนที่ก้าวไปพร้อมกับการปัดมือผ่านลาตัว 3) เอกลักษณ์ด้านการเรียนการสอน ซ่ึงแยก ออกเป็น 2 ด้าน คือ การทาพิธีกรรมก่อนการเรียน มวยไทยสายพลศึกษา ถือว่าการให้ผู้เรียนทา พิธีกรรมก่อนการเรียนการสอนเป็นเอกลักษณ์สาคัญอีกประการหนึ่ง และเป็นพิธีกรรมท่ีเน้น การเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ช่วยส่งเสริมให้เกิดความรักสามัคคีในหมู่คณะ รวมถึงการเคารพครูบาอาจารย์ ผู้ประสิทธ์ิประสาทวิชาความรู้ให้ โดยมีความเชื่อว่าหากได้กระทา พิธีดังกล่าวแล้ว จะทาให้การถ่ายทอดสรรพวิชาต่าง ๆ เป็นไปได้โดยง่าย และทาให้ผู้เรียนสามารถ เรียนร้แู ละจดจาได้ดีขนึ้ ซึง่ พิธกี รรมดังกล่าวประกอบด้วย การร้องเพลงชาติ การสวดมนต์ไหว้พระ
487 การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และการยกครูหรือการขึ้นครู และ เอกลักษณ์ในการสืบทอดเน้น การสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ข้ันเตรียมอบอุ่นร่างกาย ข้ันอธิบายสาธิต ข้ึนฝึกหัด ขั้นนาไปใช้ และ ขน้ั สรปุ 3. กระบวนท่าของมวยไทยสายพลศึกษา พบว่า ประกอบด้วย 1) กลวิธีการใช้ทักษะด้าน ตา่ ง ๆ ทเี่ รียกวา่ การใช้นวอาวุธประกอบด้วยทักษะกลวิธีการใช้หมัด เท้า เข่า และศอก 2) แม่ไม้มวย ไทย เป็นท่าของการใช้ศิลปะมวยไทยท่ีสาคัญที่สุดอันเป็นพ้ืนฐานของการ ใช้ไม้มวยไทยซึ่งผู้ฝึกมวย ไทยจะต้องเรียนรู้และปฏิบัติใหไ้ ด้ โดยผูท้ รงคณุ วุฒิไดจ้ ัดแบ่งแม่ไม้มวยไทยเป็น 15 ไม้ ดังน้ี สลับฟัน ปลา ปักษาแหวกรัง ชวาซัดหอก อิเหนาแทงกริช ยอเขาพระสุเมรุ ตาเถรค้าฟัก มอญยันหลัก ปัก ลูกทอย จระเข้ฟาดหาง หักงวงไอยรา นาคาบิดหาง วิรุฬหกกลับ ดับชวาลา ขุนยักษ์จับลิง และหัก คอเอราวัณ 3) ลูกไม้มวยไทย คือ ท่าของการใช้ศิลปะมวยไทยที่แตกย่อยออกไปจากแม่ไม้ มี ลักษณะละเอียดอ่อนมากมายหลายอย่าง ซ่ึงผู้ฝึกจะต้องผ่านการฝึกหัดแม่ไม้ก่อนจึงจะฝึกลูกไม้ได้ดี อาจารยส์ มัยโบราณและผทู้ รงคณุ วุฒิได้แบ่งลูกไม้มวยไทย ออกเป็น 15 ไม้ดังน้ี เอราวัณเสยงา บาทา ลูบพักตร์ ขุนยักษ์พานาง พระรามน้าวศร ไกรสรข้ามห้วย กวางเหลียวหลัง หิรัญม้วนแผ่นดิน นาคมุดบาดาล หนุมานถวายแหวน ญวนทอดแห ทะแยค้าเสา หงส์ปีกหัก สักพวงมาลัย เถรกวาด ลาน และฝานลกู บวบ 4. ระเบียบประเพณีของมวยไทยสายพลศึกษา พบว่า ประกอบไปด้วย พิธีการข้ึนครู หรือ การยกครู พิธี “ข้ึนครู” การข้ึนครูมักจะเลือกวันพฤหัสบดีอันถือว่าเป็นวันครูตามปกติโบราณ การข้ึนครูน้ัน ลูกศิษย์ต้องจัดหาดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวม้าและขันน้ามาทาพิธี ส่วนเงิน แล้วแต่ครูแต่ละท่านจะระบุว่าเป็น 6 สลึง 6 บาท จะมากหรือน้อยกว่าน้ันบางท่านก็ว่าไม่จาเป็น การทาพิธีจะทาตอ่ หน้าพระพทุ ธและรบั สตั ย์ตามท่คี รูกาหนด การขึน้ ครูหรือการยกครู ในสมัยโบราณบคุ คลทจ่ี ะยอมรับไว้เป็นศิษย์จึงต้องผ่านการคัดเลือก ประกอบด้วยคณุ ลกั ษณะพร้อมทง้ั มคี ณุ สมบัตพิ อทจี่ ะรบั การถ่ายทอดวิชา ดังน้ันจึงจัดให้มีพิธีมอบตัว เป็นศิษย์โดยการนาเคร่ืองสักการบูชาครูเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์และปฏิญาณตนขออ่อนน้อม ยอมเป็น สานุศษิ ย์ดว้ ย กาย วาจา ใจ ปฏิญาณตนวา่ จะปฏบิ ตั ติ ามคาส่ังสอน ทุกประการและจะเคารพนบน้อม ครูบาอาจารยท์ ้ังปวงดว้ ยความกตัญญูกตเวทีเสมอ ต่อจากนั้นครูก็จะให้โอวาทแนะนาวิธีการปฏิบัติตน การเคารพเชื่อฟังการประพฤตติ นอยู่ในระเบยี บ การเรียนการสอนในส่วนท่ีเก่ียวกับการเรียนการสอน วชิ ามวยไทย พิธีการ “การข้ึนครู” หรือ “ยกครู” ของนักศึกษาท่ีเรียนมวยไทยการขึ้นครูน้ันผู้เรียน จะต้องจัดหาดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาว หรือผ้าขาวม้าและขันน้ามาทาพิธี พร้อมด้วยเงิน 6 บาท โดยจัดรวมกัน ครูผู้สอนจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและกล่าวคาปฏิญาณพร้อมกัน เสร็จแล้วครูให้โอวาทเพ่ือเป็นการปฐมนิเทศให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตน วันท่ีจะทาพิธียกครู กระทาโดยการนดั หมายของครู เลอื กเอาวันพฤหัสบดีทตี่ ามคตโิ บราณถอื วา่ เป็นวนั ครู “การข้นึ ครู” หรอื การ “ยกครู” นั้นถือว่ามีประโยชน์ตอ่ การเรียนวิชามวยไทยมากระหว่าง ครูกับศิษย์เพราะการข้ึนครูเป็นพิธีการอย่างหนึ่งท่ีมีการตกลง ยอมรับการเป็นครูกับศิษย์อย่าง สมบูรณ์ครูจะยอมรับว่าเป็นศิษย์ของตนอย่างเต็มใจเช่นเดียวกับศิษย์ยอมรับครูด้วยความเต็มใจ เช่นเดียวกัน ในสมัยก่อนอาจจะเป็นกลอุบายก็ได้เปรียบเสมือนการข้ึนทะเบียนและปฐมนิเทศ เป็น การช้ีแจงระเบียบการฝึกหัด ข้อตกลงบางประการในการฝึกหัดเพื่อจะทาให้การเรียนการสอนบรรลุ จุดมุ่งหมาย และอีกประการหนึ่งการข้ึนครูยังทาให้ศิษย์เกิดความเช่ือมั่น มีศรัทธาในการเรียน
488 การสอน ตลอดจนถึงการแข่งขัน เพราะได้ผ่านพิธีข้ึนครูมาแล้วอย่างถูกต้องตามประเพณีได้ช่ือว่า ศิษย์มีครู ไม่ได้ไปลักลอบฝึกหัดศิลปะมวยไทยมาจากครูมวย ซึ่งจะทาให้ลูกศิษย์เกิดกาลังใจในขณะ ฝึกซ้อมและขณะแข่งขัน เมื่อได้เห็นครูมวยของตนเองมาช่วยเหลือ หรือเม่ือระลึกถึงบุญคุณของ ครมู วยแล้วเช่ือวา่ จะทาใหส้ ามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ พิธีการนี้ควรจะทาให้มีความหมายโดยสอดคล้อง กบั สงั คมในปัจจบุ นั โดยแสดงถึงการยอมรับการรวมกันในส่วนใดท่ีไร้สาระไม่มีความหมายปรับให้เข้า กับสงั คมในปจั จบุ นั ถึงเปน็ กจิ กรรมควรส่งเสริม พิธีการขึ้นครูทาโดยให้นักมวยนาดอกไม้ ธูปเทียน และเงินค่าขึ้นครูมาให้ครูมวยครูมวย บางคนก็นิยมเอาข้าวของแทนเงิน เช่น ผ้าแพร ผ้าขาวม้า เป็นต้น ครูมวยจะพานักมวยไปท่ีวัดให้ นักมวยจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกล่าวคาปฏิญาณว่าจะเคารพนับถือ เชื่อฟังปฏิบัติตาม คาสอนของครูมวย จะประพฤติตนเป็นคนดีท้ังกาย วาจาและจิตใจ จะมานะฝึกศิลปะมวยไทยให้ สาเร็จและจะนาศิลปะมวยไทย ไปใช้ในทางที่ถูกที่ควร ต่อจากนั้นครูมวยจะให้โอวาทแนะนา การปฏิบัติตนในการฝึกหัดมวยไทย กาหนดกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนและตารางการฝึกจนนักมวย เข้าใจดีแล้ว ครูมวยจะให้นักมวยฟังเทศน์เพ่ืออบรมจิตใจ การข้ึนครูดังกล่าวอาจจะทาคนเดียวหรือ ทาพรอ้ มกันหลายคนก็ได้ เมื่อนักมวยข้ึนครูหรือยกครูแล้ว ครูมวยจะเริ่มสอนท่าไหว้ครูให้ หลังจาก ที่ศิษย์กล่าวคาสัตย์ปฏิญาณตนแล้ว ครูจะให้โอวาทลูกศิษย์เหมือนกับการปฐมนิเทศนักศึกษาคือให้ แนวทางในการปฏิบัติตน การเรียนการฝึกฝน ท้ังข้อตกลงต่าง ๆ ท่ีจะมีต่อหน้าพ่อแม่ผู้ปกครอง เหมือนเป็นสักขีพยานในการรับศิษย์เข้ามาศึกษาหาความรู้และครูก็จะต้องปฏิบัติต่อศิษย์ ด้วยดี เหมือนเปน็ บิดามารดาของศษิ ยเ์ ช่นกัน พิธีไหว้ครมู วยไทยเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะท่ีผ่านการค้นคว้า กล่ันกรองมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานนับแต่โบราณ ตั้งแต่ชาติไทยเร่ิมก่อสร้างตัวนอกจากนี้แล้ว “การรามวย” ยังเป็นวิธีหนึ่งซ่ึงแสดงถึงการคารวะครูอาจารย์ผู้ที่มีพระคุณ แสดงถึงวัฒนธรรมและ จรรยามารยาทของนักมวย ลีลาท่าทางของแต่ละครูอาจจะไม่เหมือนกันเหตุท่ีการ รามวยต่างกันไป แต่ละครู แต่ละท้องถิ่นจะยดึ เปน็ แบบเดียวกนั ไม่ได้ แต่การรามวยน้นั เป็นอุบายเตือนใจให้ยึดม่ันอยู่ใน ความสามัคคี รักหมู่คณะ เช่น หากฝ่ายหน่ึง ร่ายราแบบเดียวกันย่อมแสดงว่าสืบสายมาจากครูคน เดยี วกัน ขณะเดียวกันความมนั่ คงแน่นแฟ้นของการรักหมู่คณะย่อมโน้มนาไปสู่ความราลึกการนับถือ ผู้ประสิทธ์ิประสาทวิชาให้ นอกจากน้ีการไหว้ครูและร่ายรามวยไทยยังเป็นอุบายเตือนใจให้ยึดม่ันอยู่ในความสามัคคี รักหมู่คณะหากฝ่ายหนึ่งไหว้ครูและร่ายรามวยไทยแบบเดียวกันก็ย่อมแสดงว่าสืบสายมาจากครู เดียวกัน ไม่มีความจาเป็นที่จะต้องต่อสู้พิฆาตกันเอง ขณะเดียวกันความมั่นคงแน่นแฟ้นของการรัก หมูค่ ณะยอ่ มโน้มนา ไปสูค่ วามจงรกั ภักดีตอ่ สถาบันพระมหากษตั รยิ ์เพราะเหตุนีน้ กั มวยจึงต้องผินหน้า ไปทางทิศอันเป็นที่ประทับของพ่อเมืองหรือพระมหากษัตริย์ เพื่อน้อมราลึกถึง พระบารมี ตลอดจน คุณของบิดามารดาครูบาอาจารย์ ซ่ึงสามารถแยกเป็นประเด็นได้ดังน้ี 1) การไหว้ครูก่อนการแข่งขัน การเข้าสู่สังเวียนมวย นักมวยสมัยก่อนเช่ือถือเวทย์มนต์คาถา เครื่องรางของขลังมาก ปลุกเสกล้าง อานาจเคลือบคลุมน้ัน ในปัจจุบันความเชื่อในเร่ืองเวทย์มนต์คาถาอาคมดังกล่าวยังคงมีอยู่แต่ไม่ เขม้ ข้นเทา่ สมัยก่อน เนื่องจากวิทยาการแขนงต่าง ๆ เจริญก้าวหน้า การฝึกซ้อมมวยได้ใช้ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ การกีฬาเข้ามาช่วยเสริมสร้างศักยภาพของนักมวย การไหว้ครูหรือพิธีกรรมต่าง ๆ ท่ี ปฏิบัติก่อนการแข่งขันมักจะถือคติที่มีมาแต่โบราณว่าสถานท่ีใด ๆ ก็ตามมักจะมีเจ้าท่ีเจ้าทาง ส่ิง
489 ศักดิ์สิทธ์ิท้ังหลายท่ีอยู่ตรงที่นั้นมาแต่เดิมหรืออัญเชิญเพื่อมาปกปักรักษาสถานที่แห่งนั้น เม่ือเร่ิม ก่อสร้าง หากเราจะกระทาการใด ๆ หรือขึ้นชกมวยบนเวทีใดก็ตาม ควรจะขออนุญาตขอขมาลา โทษเสียกอ่ น หากวา่ ตอ่ ไปขา้ งหน้าอาจกระทาสิ่งใดไม่เหมาะสมไม่ควรด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาลจะได้ ไม่เกิดเหตุร้ายขึ้น และพร้อมกันนั้นก็จะขอให้ส่ิงศักด์ิสิทธิ์ที่คุ้มครองบริเวณน้ันได้ช่วยปกป้องรักษา ตนเองใหแ้ คลว้ คลาดจากภัยอันตรายต่าง ๆ ท่ีอาจเกิดจากการกระทาของฝ่ายตรงข้าม รวมท้ังขอพร ให้ได้รับชัยชนะในการแข่งขัน 2) พิธีไหว้ครูประจาปี การจัดพิธีไหว้ครูนั้น ถือว่าเป็นประเพณีอันดี งามมาแต่โบราณกาลจาเป็นท่ีจะต้องส่งเสริมนักศึกษาของสถาบัน และจะต้องรักษาประเพณีอันดี งามน้ีไว้ให้คงอยู่ตลอดไปในฐานะที่เป็นครูสอนวิชามวยไทย เป็นสถาบันทางสังคมสถาบันหน่ึงที่เป็น เบ้าหลอมท่ีดีของนักศึกษา ตลอดจนเพื่อความสามัคคีระหว่างครูผู้สอนกับศิษย์ จนทาให้ศิษย์เกิด ความเช่ือความศรทั ธาในตัวครูผ้สู อน ผู้เรยี นเกดิ ความภาคภูมใิ จในการจัดพิธไี หว้ครู เพราะถือว่าเป็น พิธีสาคัญและครูสอนจะต้องเป็นผู้ดาเนินการเป็นผู้กล่าวนาต่าง ๆ ได้ถือว่าเป็นส่วนสาคัญอย่างหน่ึง โดยจะจัดเฉพาะพิธีไหว้ครูศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว วันประกอบพิธีไหว้ครูจะถือเอาวันพฤหัสบดีเป็น หลักเพราะเชื่อว่าเป็นวันครู โดยครูให้โอวาทเพ่ือเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน เพ่ือที่จะเรียนรู้หลัก วทิ ยาการต่าง ๆ ให้เขา้ ใจแจ่มแจ้งและมีความเชี่ยวชาญ ทั้งมีคุณธรรมจริยธรรมอันจะทาให้พลเมือง ทีด่ ีของประเทศชาติต่อไป 2.3) เคร่ืองดนตรีประกอบมวยไทย องค์ประกอบท่ีสาคัญและเป็นสาคัญ สร้างบรรยากาศใหแ้ ก่การไหว้ครแู ละรา่ ยรามวยไทย รวมท้งั การแขง่ ขันชกมวยนั้นคือวงดนตรีป่ีกลอง ซึ่งมีจังหวะและท่วงทานองช้าและเร็วตามช่วงเวลาของการแข่งขันเม่ือเริ่มไหว้ครูท่วงทานองก็จะช้า เนิบนาบช่วยให้ลีลาในการร่ายราไหว้ครูดูอ่อนช้อย งดงามเป็นจังหวะน่าชม และเมื่อเริ่มการแข่งขัน เสียงดนตรีก็เริ่มมีจังหวะเร็วข้ึนบอกให้ผู้ได้ยินได้ชมรู้ว่าขณะน้ันนักมวยกาลังใช้ชั้นเชิงต่อสู้กันอยู่ใน สังเวียน และเม่ือถึงยกสุดท้ายจังหวะดนตรียิ่งเร่งเร้าขึ้นเร้าใจให้นักมวยได้เร่งพิชิตคู่ต่อสู้และเร้าใจ ผู้ชมมวยรอบสนามให้ตื่นเต้นกับผลการแข่งขันท่ีจะเกิดข้ึนในไม่ช้า จังหวะดนตรีจึงเป็นส่วนสร้าง ความรู้สกึ ของนกั ชกและผชู้ มรอบสนามให้สนกุ สนานตื่นเต้นกับการแขง่ ขันไดอ้ ยา่ งน่าอัศจรรย์ เครื่องดนตรีที่นามาบรรเลงประกอบการแข่งขันชกมวยไทย มีช่ือเรียกว่า“วงป่ีกลอง” มี นกั ดนตรีร่วมบรรเลงดนตรีโดยท่ัวไปจานวน 4 คน เคร่ืองดนตรีประกอบด้วยป่ีชวา 1 เลา กลองแขก 2 ใบ และฉ่งิ 1 คู่ อภปิ รายผล จากผลการวิจัยเรื่อง “การจัดการความรู้มวยไทย 5 สาย” ผู้วิจัยได้นาผลการวิจัยมา อภิปราย ผลของการวจิ ัยของมวยไทยแตล่ ะสาย ดงั น้ี มวยไทยสายไชยา ผลการศกึ ษาเรือ่ งการจัดการความรู้มวยไทยสายไชยา สามารถแยกอภิปรายผล ได้ประเด็น ดงั ต่อไปนี้ 1. ประวตั คิ วามเปน็ มาของมวยไทยสายไชยา พบวา่ พ่อท่านมาเป็นพระภิกษุรูปหนึ่งโดยก่อน บวชท่านเคยเป็นขุนศึก หรือแม่ทัพนายกองมาก่อน ทาให้มีความชานาญในด้านเวทมนต์ คาถาอาคม พร้อมท้ัง ความรู้เกี่ยวกับตาราพิชัยสงครามและตารามวยไทย จึงทาให้พ่อท่านมา นาความรู้ทางการ ตอ่ สู้มาผสม ผสานสร้างรปู แบบการต่อสู้แบบมวยไทยสายไชยาข้ึนมา ประกอบกับพ่อท่านมาเป็นคน
490 กรุงเทพมหานครซ่ึงเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิชาความรู้ วิชามวยไทยจากค่ายมวย สานักมวยต่าง ๆ มาพฒั นาเปน็ รูปแบบการต่อสูท้ ม่ี ีลกั ษณะเฉพาะของตนเอง ประกอบกับความเป็นพระภิกษุสงฆ์ทาให้ ประชาชนมีความเคารพศรัทธาจึงพากันเข้ามาศึกษารูปแบบของมวยไทยสายไชยา เป็นจานวนมาก ซ่ึงในจานวนศิษย์รุ่นแรกที่เข้ามาเรียนกับท่านน่าจะเป็นพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขา ศรียาภัย) ซึ่งต่อมา ก็คือเจ้าเมืองไชยานั่นเอง แสดงให้เห็นว่ามวยไทยสายไชยา มีต้นกาเนิดที่พ่อท่านมา เจ้าอาวาส วดั ท่งุ จบั ช้าง ตาบลพุมเรียง อาเภอไชยา จังหวัดสรุ าษฎร์ธานี นัน่ เอง มวยไทยสายไชยา ได้เริ่มเผยแพร่มาประมาณ 175 ปี และเร่ิมมี่ช่ือเสียงโด่งดังเป็นท่ีรู้จัก กันทั่วประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ในสมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของวงการมวยไทย จนได้รับพระราชทานบรรดาศักด์ิเป็นขุนหม่ืนครูมวย ถึง 3 คน คือ 1) หมื่นชงัดเชิงชก (นายแดง ไทยประเสริฐ) มวยไทยสายโคราช 2) หมื่นมือแม่นหมัด (นายกลึง โตสะอาด) มวยไทยสายลพบุรี 3) หมืน่ มวยมชี ือ่ (นายปรง จานงทอง) มวยไทยสายไชยา 2. เอกลกั ษณ์ของมวยไทยสายไชยา สามารถแบ่งออกเป็นประเด็นไดด้ ังนี้ การตั้งท่ามวยหรือ การจดมวย ท่าครูหรือท่าย่างสามขุม การร่ายราไหว้ครู การพันหมัดแบบคาดเชือก การแต่งกาย การฝึกซ้อม 2.1) การจดมวยของมวยไทยสายไชยา สามารถรับและรุก คอื ปอ้ งกันตัวพร้อมตอบโต้ได้ ในเวลาเดียวกนั และยงั หมายถงึ การง้างรอโดยทคี่ ตู่ ่อสไู้ มม่ ที างรู้ เปน็ แนวป้องกันก็คือ แขนท้ังสองข้าง อยใู่ นแนว 45 องศา ลดหลน่ั กนั คอยดักระวงั อวยั วธุ จากฝ่ายปรปักษ์ จดหรอื จดมวย คือ ลกั ษณะของการยืนเตรียมพร้อมในการรุกหรือรับให้มีประสิทธิภาพ สงู สดุ ลักษณะการจดจะมที ั้ง จดวงกวา้ ง จดวงแคบ จดสูง และจดตา่ จดวงกว้าง หมายถึง การยืนแบบแยกเท้าให้ห่างกัน โดยหันด้านหน้าอกมาข้างหน้า การจดแบบนี้ใช้ได้ดีสาหรับผู้ที่ถนัดจะใช้เตะ การจดจะแคบลงเรื่อย ๆ ตามความส้ันของอาวุธที่ถนัด ผู้ที่ถนัดใช้ศอกจะจดแคบท่ีสุด คือ จะหันสีข้างไปข้างหน้าและเท้าทั้งสองเกือบจะเป็นแนวเดียวกัน ทั้งนี้โดยมีหลักว่า ผู้ท่ีถนัดอาวุธอะไร ก็จะพยายามให้อาวุธนั้น ใกล้คู่ต่อสู้ไว้เพ่ือจะใช้ได้รวดเร็ว และ หนกั หนว่ ง การจดสูง จะใช้กบั การเตรยี มตอ่ สดู้ ้วยมือเปล่า การจดตา่ ปกติจะใช้สาหรบั การเตรยี มต่อสู้เม่ือใชอ้ าวธุ เพ่ีอทจ่ี ะใช้อาวุธท่ีถืออยู่ป้องกนั ส่วนล่างของรา่ งกายได้ การป้ันหมัด และการตั้งท่า ความรู้เบื้องต้นในการฝึกหัดมวยคือการ “ป้ันหมัด” หรือ การทาให้มือเป็นก้อนแข็งเพื่อมิให้กระดูกน้อยใหญ่รวม 27 ช้ิน เป็นอันตราย เพราะถือว่าเป็นอวัยวะ สาคัญของมนษุ ย์ในการดารงชีพ การถางป่าทาไร่ ล้างหน้า ฯ ล้วนต้องอาศัยมือทั้งน้ัน แม้ข้อมือหักน้ิว มือซ้น ไม่เป็นอันตราย ถึงตายก็จริง แต่แม้เกิดคันไหล่หรือคันหน้าอก จะไม่มีอวัยวะส่วนไหนทา หนา้ ทแี่ ก้คนั แทนมอื ได้ ฉะน้ันการปั้นหมัดจึงสาคญั ไม่นอ้ ยกวา่ การ “ตั้งท่า” อนื่ ๆ หมัดซึ่งติดอยู่กับแขนนั้น นอกจากใช้ในการต่อสู้และจัดอยู่ในประเภท “ไม้ยาว” ทานอง เดยี วกบั ตนี แลว้ ยังใชเ้ ปน็ โล่ปอ้ งกนั ลาตวั ซึ่งมีขนาดแผ่กว้างกว่าแขน 2 ข้างรวมกัน จึงต้องแนะนาให้ มีการขยับเขย้ือนเคล่ือนแขนตามแบบ ซึ่งอาจป้องปิดลาตัวตั้งแต่หัวถึงชายโครง ต่อจากการปั้นหมัด และการขยับเขย้ือนแขนตามทแี่ นะนาแล้วก็มาถึงการ “ตั้งท่า” ซ่ึงมีหลักเกณฑ์สาคัญในการทาตัวให้
491 บางเป็นเป้าเล็ก โดยเบ่ียงให้ปฏิปักษ์ ในลักษณะท่ีอาจป้องกันหลบหลีกสืบถอยให้พ้นอวัยวุธ (มอื - ตนี ) ของปฏิปักษไ์ ด้คล่องแคล่วและไม่เสียหลักง่าย ๆ การตั้งท่าจึงสาคัญไม่น้อยกว่าการป้องปัด รวมทง้ั ขยับแขนปดิ ด้วย การปดิ ปอ้ งสว่ นทอ่ นล่าง การต้งั ท่า หรอื ปัจจบุ ันเรยี กว่า การจดมวย ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นเพียงท่าที่จดอยู่กับที่เฉยๆ มีการปิดป้องพอสมควรเฉพาะบ้ันเอวขึ้นไปจนถึงกระหม่อมเท่านั้น สว่ นท่อนล่างตงั้ แต่บ้ันเอวลงมาจนถึงตนี ยังมี “ช่องว่าง” ควรแก่การป้องกันอยู่อีกเป็นอันมาก ฉะนั้น มวยไทยจึงต้องยอ่ ตัวลงเพอ่ื ให้หวั เขา่ เกิดมมุ เตรยี มไวส้ า่ ยรับเตะและก้าวขาเบ่งขึ้นเองโดยไม่ต้องเกรง็ 2.2 ท่าครูหรือท่าย่างสามขุม เม่ือได้กล่าวถึงวิธีการฝึกมวยท่อนบนของร่างกาย (หัวถึง บ้ันเอว) พอสมควรแล้ว ขอหวนกลับมาพิจารณาท่อนล่างกันต่อไป อันที่จริงนักมวยสมัยโบราณไม่มี การยืนน่ิง ๆ อยู่กับท่ีเพราะการตั้งท่าทานองนั้นอาจทาให้นัก “มวย” กลายเป็น “ม้วย” เมื่อใดก็ได้ ในการชกต่อยแบบสากล ถือว่าฟุตเวิร์ค (Foot work) เป็นความรู้สาคัญท่ีจะนานักมวยไปสู่ตาแหน่ง สุดยอด มวยไทยก็เชน่ เดยี วกัน มีท่าก้าวย่างซ่ึงถือว่าสาคัญอาจใช้ป้องกันและต่อสู้ได้ในขณะเดียวกัน วิธกี ้าวยา่ งที่อานวยผลฉกรรจ์หรือผลสาเร็จจึงจาเป็นต้องเรียนรู้แทนการทอดทิ้งอย่างปัจจุบัน เพราะ หากการก้าวย่างไม่มีประโยชน์จริงแล้ว วิชามวยไทยคงไม่จีรังย่ังยืนอยู่ได้ถึงบัดนี้ และนายยัง หาญทะเล สมัยสนามมวยสวนกุหลาบ คงจะพุ่งทะลุก่อนเรียกเลือดสด ๆ จากหูซ้ายขวาของ จอมมวยจีน “จ๊ีฉ่าง” ซึ่งมีนิ้วแข็งแทงไม้กระดานหนา 2 น้ิวแตก 2 ซีก แต่น่าเสียดายท่ีมวยไทย ทุกวันนี้ ไม่มีการก้าวย่างแบบอมตะ ต่างหลงใหลดัดแปลงให้คล้ายท่ามวยสากล เพราะเหตุละเลย ท่าสาคัญท่ีโบราณเรียกว่า “ย่างสามขุม” เป็นท่ีน่าเสียดายและเสียใจจริง ๆ ที่มวยไทยละเลยเล่ห์ เหลี่ยมลกู ไมม้ วยไทยกันหมด ที่มาของการย่างสามขุม บรรพบุรุษของไทยเรา โดยเฉพาะอย่างย่ิงคณาจารย์ผู้ประสิทธิ์ ประสาทวชิ ามวยไทยไว้เป็นศิลปะประจาชาติ ได้จาแนกหลักการฝึกมวยไทยไว้เป็นข้ัน ๆ อย่างพิสดาร ตลอดจนพยายามบรรยายอุปเท่ห์เพื่อดาเนินการปลุกใจ (ปราณ) ให้เกิดความฮึกเหิมเป็นต้นขึ้นไว้ ในกระบวนการปลุกใจทานองหนึ่งจากหลายวิธีเท่าท่ีมีอยู่ คณาจารย์ได้ใช้จิตวิทยาจากคณาจารย์ของ พวกมัลละซ่ึงได้ใช้จิตวิทยาให้มีความสนใจไตร่ตรอง โดยกล่าวเป็นสัมโมทนียกถาหรือถ้อยคารื่นเริง ไวด้ งั นี้ จากทา่ ยา่ งสามขมุ คลุมแดนยักษ์น้ี มวยไทยอาจใช้เปน็ ท่าย่ายีได้อีกหลายประการ ซ่ึงมีความ จาเปน็ ทีต่ อ้ งพยายามฝึก เช่น ก. ก้าวย่างตรงเข้าเผชญิ หนา้ ปฏปิ กั ษ์ เปลยี่ นตีนหลงั เหยียดออกไปโดยแรง (เหนบ็ ) ตรงบริเวณท้องนอ้ ย สว่ นมอื ต้องคอยปดิ หมดั ทปี ฏิปักษ์อาจชกสวนมา ข. ก้าวตีนขวาออกไปทางขวา พอตีนถึงพื้นก็ใช้ตีนซ้ายเหวี่ยงเข้าชายโครงปฏิปักษ์ หรือ แถว ๆ บ้ันเอว แล้วหมุนตวั กลับโดยใชแ้ ขนซ้ายปัดแขนปฏิปักษ์ ถอยด้วยศอกขวาทแี่ ขนหรือท่บี ่กไ็ ด้ ค. กา้ วย่างใหต้ นี ขวาลอย (สงู ) พอวางตรงหน้าปฏิปักษ์ ก็ใช้เข่าซ้ายสอนไปที่หน้าอกปฏิปักษ์ หรอื ทาทีสอยด้วยเขา่ ซ้าย แตไ่ มใ่ ห้ถกู เมอ่ื ปฏิปกั ษ์ปิดปอ้ งกใ็ ช้เข่าขวาโทน (ตรง) ตีลาตวั ง. ทาทีจะก้าวย่างจะเข้าถีบ พอตีนถึงพ้ืนก็ย่อตัวลงต่า ต่อยหมัดตรงทันทีที่ท้องน้อย ย่ิงปฏิปักษ์กาลงั เหนอื่ ย หมดั นย้ี ่อมได้ผลสมประสงค์
492 ย่างสามขุม คือ การก้าวย่างท่ีเท้าทั้งสองข้างเหยียบลงบนเส้นตรงท่ีวางขนานกันตลอดเวลา โดยที่เทา้ ซา้ ยจะวางอยู่บนเส้นตรงเสน้ ซา้ ย และเทา้ ขวาจะวางอย่บู นเสน้ ตรงเสน้ ขวา การใช้งาน ย่างสามขุม ใช้ท้ังรุกทง้ั รบั เช่นเดยี วกบั ฉากนอก ลกั ษณะการฉากใน จะใช้ในกรณี ท่ีตอ้ งการเขา้ วงในของคู่ต่อสู้ ให้แคบท่ีสุด และใช้ประกอบกับมือ ที่ปัดจากในออกนอก ส่วนฉากนอก ต้องการ ใช้เพ่ือไปด้านนอกของคู่ต่อสู้ และใช้ประกอบการปัดจากนอกเข้าใน ส่วนย่างสามขุม การเคล่ือนเท้า จะไม่แคบเช่นเดียวกับฉากใน และไม่กว้างเท่ากับฉากนอก แต่มีจุดเด่นที่สามารถ ใช้ ประกอบกบั มอื ทใี ชป้ ัด ในออกนอก และปัดจากนอกเข้าใน 2.3. การไหว้ครูร่ายรามวยไทย มวยไทย เป็นทั้งศิลปะและศาสตร์ท่ีผ่านการค้นคว้า กลั่นกรองมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน นับเน่ืองมาตั้งแต่ชนชาติไทยเร่ิมก่อร่างสร้างตัว การไหว้ครู ร่ายรามวยไทย จงึ เป็นวิธีคารวะครูบาอาจารย์ ผูม้ พี ระคุณของแต่ละครูแตล่ ะทอ้ งถนิ่ เพื่อแสดงออกถึง วฒั นธรรมและจรรยามารยาทของนักมวย ดงั นั้นลีลาท่าทางของการไหว้ครู ของแต่ละครูแต่ละสานัก จงึ ไมเ่ หมือนกนั เหตุท่ีการไหว้ครูและร่ายรามวยไทยแตกต่างกันออกไป แต่ละครูแต่ละท้องถิ่น จะถือยุติ เปน็ แบบเดียวกันมิได้ นกั มวยจากทรี่ าบสูงหรือนักมวยจากฝ่ายเหนือ ท่ีมักมีขาแข็งแรง จึงมีท่าร่ายรา ท่ีเข้มแข็ง ส่วนนักมวยฝ่ายใต้ นับจากเมืองชุมพร ไชยาลงไป มักใช้เล่ห์เหลี่ยมรัดกุม ป้องกันการชก ต่อยหรอื เตะดว้ ยเชิงอ่อนตาม ท่าร่ายราของมวยฝา่ ยใต้ จงึ มีทว่ งท่าออ่ นไหว ไมส่ ู้น่ากลวั ส่วนนักมวยภาคกลาง ที่รวมศิลปะวิทยาการต่างๆ ก็มีแบบฉบับของตนเอง สุดแต่จะ ประยุกต์เข้ามาให้เกิด ความสวยงาม และการไหว้ครูร่ายรามวยไทยท่ีนิยมกันมาก ก็มีท่าเทพนม พรหมสหี่ นา้ ฯลฯ ท่าไหว้ครูร่ายรามวยไทย ของปรมาจารย์สุนทร (กิมเส็ง) ทวีสิทธ์ิ ที่แพร่หลายคือ ท่าย่าง สุขเกษม และมวยไทยสายไชยา มีท่าเสือลากหาง ที่นอกจากจะงดงามในแง่ศิลปะแล้ว ยังเป็น ทา่ เตรยี มพรอ้ มเพอ่ื เขา้ กระทาต่อปฏปิ กั ษ์ ในขั้นเดด็ ขาดอีกดว้ ย นอกจากน้ีการไหว้ครูร่ายรามวยไทยยังเป็นอุบายเตือนใจ ให้ยึดมั่นในความสามัคคีรักหมู่ คณะ หากฝา่ ยหน่ึงไหวค้ รูรา่ ยรามวยไทยแบบเดยี วกันก็ยอ่ มแสดงให้เห็นว่าเป็นคนในหมู่คณะเดียวกัน ไม่มีความจาเป็น ต้องต่อสู้พิฆาตกันเองขณะเดียวกันความม่ันคงแน่นแฟ้นของการรักหมู่คณะ ย่อม โน้มนาไปสู่ความจงรักภักดตี อ่ พอ่ เมอื งหรือพระมหากษัตริย์ เพราะเหตุนี้นักมวยจึงต้องผินหน้าไปทาง ทิศอนั เปน็ ทป่ี ระทับ ของพ่อเมือง นอ้ มราลึกถงึ พระบารมี ตลอดจนคณุ ของบิดามารดา ครบู าอาจารย์ การไหวค้ รูร่ายรามวยไทยของมวยไทยสายไชยาหลังจากนักมวยถวายบังคมพระมหากษัตริย์ แล้ว นักมวยจะนั่งยอง ๆ ลงบริกรรมคาถาและก้มกราบลงพื้น 3 คร้ัง นักมวยจะยืนขึ้นสารวมกาย พรอ้ มกับยกนิ้วหวั แม่มอื ขน้ึ อุดท่รี ูจมกู ทีละข้าง สูดลมหายใจเข้าออกช้า ๆ จึงกระทืบเท้าต้ังท่าครูแล้ว ร่ายรา ลอ่ หลอก คุมเชิง ดูคู่ต่อสู้ ท่ีจริงแล้วนี่คือ วิชาตรวจลมหายใจ หรือ ตรวจ “ปราณ” ท่ีสืบทอด มาแตค่ รง้ั โบราณ การไหว้ครรู า่ ยราในสมัยโบราณนั้น มิได้เน้นท่ีความอ่อนช้อยงดงาม หรือการนาเอา นาฏลีลามาผสมด้วย อีกทง้ั กลไมมวยต่าง ๆ ท่ีเหน็ มีแสดงกันอยู่ในปัจจุบันน้ัน เพิ่งมีมาปรากฏในการ ไหว้ครูมวยไทยเมื่อไม่นานน้ีเอง การไหว้ครูร่ายรามวยไทย โดยเนื้อแท้แล้วมุ่งเน้นไปที่ การระลึกถึง คุณครูบาอาจารย์ ทาจิตให้เป็นสมาธิอันเป็นการสารวมจิต สารวมกายและวิทยาคมท่ีเรียนมา แฝงไป ด้วยความคิดท่ีรอบคอบ ระหว่างการไหว้ครู ร่ายราจะต้องมีความรัดกุมทะมัดทะแมง เปี่ยมด้วยตบะ
493 ครอบคลุมน่าเกรงขาม และเป็นโอกาสในการสารวจพ้ืนที่ว่ามีหลุมบ่อ กรวดทราย ดูแสงตะวันอยู่ทิศ ใด เพอ่ื ประโยชนใ์ นการต่อสู้ และเปน็ การอบอนุ่ รา่ งกาย ทา่ ไหว้ครูร่ายรามวยไทย สายไชยา แบง่ ออกเป็น 5 ข้ัน ดังนี้ 1. ท่าถวายบังคม สมัยก่อนเมื่อมีการแข่งขันมวยต่อหน้าพระพักตร์พระมหากษัตริย์นักมวย ทุกคนต้องแสดงการถวายบังคมทุกครั้ง และหากแม้ไม่เสด็จ ก็จาต้องถวายบังคมโดยสมมุติ เป็น ประเพณสี บื มาถึงปจั จบุ ัน 2. ท่ากราบเบญจางคประดิษฐ์ เมื่อถวายบังคมเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นั่งยอง ๆ เพ่ือเตรียม ทาท่ากราบ การน่ังยอง ๆ เป็นท่าน่ังของมวยไทยสายไชยา เอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร เหตุผลทาง ภาคใต้มีฝนตกเกือบตลอดปี หรือเรียกว่า “ฝนแปดแดดสี่” และการแข่งขันสมัยก่อนแข่งชกมวย บนพื้นดิน สนามมวยชื้นแฉะเป็นส่วนมาก และบางตารากล่าวว่าเป็นลักษณะโดยทั่วไปของชาวบ้าน ในทางภาคใต้ท่ีชอบนั่งยอง ๆ ส่วนมวยภาคอื่น ๆ จะน่ังคุกเข่าแบบสวดมนต์ทาวัตร ท่ากราบ เบญจางคประดิษฐ์ กราบโดยให้อวัยวะทั้ง 5 มีเข่า 2 มือ 2 หน้าผาก 1 จรดลงกับพื้น เพื่อระลึก คุณพระรัตนตรัย คุณของบิดามารดา คุณของ ครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา เพ่ือยึดเหน่ียว จิตใจใหม้ ีสติ สงบ เยอื กเย็น ม่ันคงพร้อมตอ่ สู้ 3. ท่าตรวจลม เมื่อกราบเบญจางคประดิษฐ์เสร็จก็ลุกขึ้นยืน ยกหัวแม่มือขวาปิดจมูกขวา หายใจเข้าออก 2 - 3 คร้ัง จากน้ันทาสลับด้านซ้าย เพ่ือตรวจดูลมหายใจข้างซ้ายหรือขวาไหลเวียน คล่องดีหรือไม่ หากลมหายใจติดขัดไม่คล่องให้บริกรรมคาถา จนกว่าลมหายใจข้างน้ันจะไหลเวียน คล่อง จนสงบเกิดสมาธิ เมื่อลมหายใจไหลเวียนคล่องไม่ติดขัดเป็นสมาธิดีแล้ว ให้ยกสันหมัดท้ังสอง จรดหน้าผาก เรยี กว่า ถวายหมดั ครู แลว้ กระทบื เท้าเพอ่ื ข้ึนทา่ ครู ตามวธิ กี ารไหว้ครรู า่ ยรา 4. ท่าย่างสามขุม เม่ือข้ึนท่าครูแล้ว นักมวยจะเดินย่างสามขุมด้วยลีลาเนิบช้าไปข้างหน้า ตลอด และกลับตวั ห้ามยา่ งถอยหลงั 5. ท่าเสือลากหางทา่ นีเ้ ป็นการเขา้ สะกดขม่ ขวัญปรปักษ์ ดว้ ยอาการอยา่ งเสือหมอบค่อย ๆ เข้าหาเหย่ือ อย่างระมัดระวงั พร้อมยกมือข้ึนป้องหน้าและสารวจคู่ต่อสู้ตลอดท้ังตัว ลุกข้ึนยืนกระทืบ เท้าแล้วกลับตัวพร้อม หันมาพยักหน้าให้ฝ่ายปรปักษ์ 3 คร้ัง ค่อยจะย่างสามขุมกลับเข้ามุม ระหว่าง นั้นอาจมกี ารหยดุ ย่ัวดว้ ยท่า สขุ เกษม พรอ้ มเอย้ี วคอมาพยักหนา้ อีกครง้ั กไ็ ด้ 2.4) การพันหมัดแบบคาดเชือก วิธี “คาดเชือก” (เตรียมหมัดชกมวย) ในสมัยโบราณ (เม่ือ 80 - 90 ปี) ตามทท่ี ราบกนั อย่ทู ั่วไปแล้วว่า มือเป็นอวัยวะสาคัญในการครองชีพ หากมือพิการย่อม ทาให้เจ้าของมือหยอ่ นสมรรถภาพลงมาก จนไม่อาจหาสง่ิ ประดษิ ฐใ์ ด ๆ ทดแทนมอื ได้ นักมวยจึงต้อง เสริมหมัดให้มั่นคง ดังในสมัยโบราณเรียกว่า “คาดเชือก” ความจริงคาว่า “คาดเชือก” หมายถึง ด้ายดิบทจี่ ับเป็น “ไจ” (รวมเสน้ ดา้ ย) ขนาดโตเท่าดินสอดา ตอ่ กนั ใหเ้ ป็นเสน้ เชอื ก ยาวประมาณ 20- 25 เมตร ม้วนแยกเป็น 2 กลุ่ม ความยาวของเชือกด้ายดิบต่างกันสุดแต่ความต้องการของประเภท นักมวยหรือเก่ยี วแกค่ วามนยิ มของท้องถน่ิ นักมวยทตี่ อ้ งการใช้หมัดป้องปิดหนา้ และให้หมัดหนักชอบ ใช้ด้ายยาวซ่ึงมีผลเสียทาให้ชกอืดอาด ถ้าใช้ด้ายดิบขนาดสั้น หมัดเล็กและเบาก็อานวยผลทางว่องไว ทั้งนี้ไม่มีข้อบังคับว่าด้ายต้องยาวแค่ไหนไม่คาดหมัดเลยก็ได้เช่นนักมวยของเจ้าหลวงลาปาง ครั้งสง่ เข้ามาชกแข่งขันเกบ็ เงนิ ซอื้ ปืนใหก้ องเสือป่า ณ สนามมวยสวนกหุ ลาบ กไ็ ม่คาดหมัดเลย
494 สาหรับมวยภาคใต้ เช่น ชุมพร ไชยา และสุราษฎร์ธานี ขนาดหมัดแตกต่างกันเพราะมีทั้ง เล็กและใหญ่ มีเหมือนอยอู่ ยา่ งเดียวตรงคาดเชือกไม่เลยข้อมือมากนัก ทั้งนี้เพราะมวยภาคใต้ต้องการ ใช้ศอกรับ (ปิด) ตีนและทอ่ นแขน รวมท้ังศอกกระทุ้งแท้งลาตัว โดยเรียกลักษณะการกระทาด้วยรหัส รูก้ นั ในหมมู่ วยภาคใต้วา่ “ปักลูกทอย และฝานลูกบวบ” ส่วนขนาดของด้ายจะยาวหรือส้ันสุดแล้วแต่ ประเภทบคุ คล หากประสงค์จะใชห้ มดั ปิดปอ้ งหน้าก็ใชเ้ ชือกยาวซึ่งอืดอาด ถ้าใช้ด้ายขนาดส้ันก็ว่องไว กว่า อาจชกลอดการคุมได้ หมัดคาดเชือกเป็นวิธีพันด้ายดิบเสริมป้องกันมือมิให้เป็นอันตราย นักมวยที่จะแข่งขันต้อง อาบนา้ ชาระกายเพื่อให้เกิดความชมุ่ ชื้น และบางรายยังใช้ผ้าขาวม้าหมาด ๆ คลุมไหล่ไว้อีกแล้วนั่งกับ พนื้ ที่ไหนกไ็ ด้ เพราะไมม่ หี อ้ งแต่งตัวอย่างในปัจจุบัน การน่ังต้องชันหัวเข่าไว้ทั้ง 2 ข้าง เพื่อรับแขนที่ เหยียดออกไปข้างหน้าตรงข้อศอก คว่ามือกางนิ้วออกเต็มที่ พ่ีเลี้ยงหรือคนให้น้า ซ่ึงความจริงเป็นครู มวยผู้ประสิทธ์ิวิทยาการและวิทยาคมปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ด้วยพระคาถานารายณ์แสง หรือ สดุ แต่จะใช้บทใดตามที่ไดเ้ รยี นมา แลว้ ก็สวมประเจยี ด (ผ้ายนั ตท์ ่ีเช่ือว่าป้องกันอนั ตรายได้) หรือมงคล (ด้ายสายสิญจน์ที่เข้าพิธีพุทธตันตระเพื่อสิริและโชคชัย) ไว้บนหัวนักมวยก่อนเครื่องคาดอ่ืน ๆ เช่น ตะกรุด พิสมร อาจารย์บางท่านอาจลงธนูมือ หรืออาวุธ 4 ประการ หรืออาวุธพระเจ้าสุดแต่ความ นยิ ม แล้วเร่ิมคาดด้ายดิบตรงข้อมือเพื่อให้กระดูก 8 ชิ้น กระชับม่ันคงไม่เคล็ด ไม่ซ้น ต่อจากน้ันก็พัน รอบ ๆ หลังมือและซองมือไปจนจรดปลายนิ้วอย่างหลวม ๆ หันกลับมาทางข้อนิ้วมืออีกคร้ังหน่ึง แล้วจงึ สอดดา้ ยรวบรงั้ จากปลายเข้ามาจนเลยงา่ มมอื ใหข้ ้อนิว้ โผลก่ ลายเป็นอวยั วุธ เปรยี บเทียบการคาดเชือกของมวยไทยสายไชยากับสายอ่ืน ๆ เช่น มวยไทยสายโคราช เป็น มวยที่เตะตอ่ ยวงกว้างเรยี กกันว่า “เหวย่ี งควาย” จงึ ใช้ดา้ ยดบิ คาดหมัดแล้วขมวดรอบ ๆ แขน จนจรด ข้อศอกเพื่อป้องกนั การเตะ มวยไทยสายลพบุรี เปน็ ที่เลื่องช่ือว่าเป็นมวยหมัดตรงไม่นิยมใช้มือป้องกัน การเตะ ชอบต่อยตรง ๆ ตามแบบฉบับมวยไทยสายลพบุรี จึงต่อยแหวกการคุมได้ดีกว่ามวยถิ่นอ่ืน จนไดช้ ื่อวา่ “แมน่ ” การคาดหมัดจงึ เพียงครึ่งแขน ใช้ด้ายดิบไม่ยาวเท่าโคราช มวยไทยสายไชยาถนัด การใช้ศอกและแขน จึงคาดดา้ ยดบิ ขนาดสนั้ พอใหพ้ นั รอบข้อมือกันซ้นหรอื เคล็ดเท่าน้ัน จดุ ประสงค์ของการคาดเชือกก็เพ่ือเสริมหมดั ใหก้ ระชบั มั่นคงกวา่ การปั้นหมัดธรรมดา ๆ และ เชอื ก ซึ่งความจริงก็คอื ดา้ ยดิบทีจ่ บั เป็น “ไจ” การคาดเชือกตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เท่าท่ีสืบค้นได้ น่าจะมีมาต้ังแต่ก่อนอยุธยา ตอนกลางในปลายรัชสมัยของพระเชษฐาธิราช (พระบรมราชาท่ี 2) พระองค์ระแวงว่าเจ้าพระยา กลาโหมสุริยวงค์จะคิดกบฏ จึงดารัสให้ขุนมหามนตรี ออกไปหาตัวเจ้าพระยากลาโหมฯ เข้ามา ขณะนนั้ จหมน่ื สรรเพชรภักดี ไดส้ อดหนงั สอื ลับออกไปแจ้งแก่พระยากลาโหมว่า “พระโองการให้พา เข้ามาดูมวย บัดนี้เตรียมไว้ให้พร้อมอยู่แล้ว เมื่อเจ้าคุณจะเข้ามานั้นให้คาดเชือกเข้ามาทีเดียว” เมื่อ เจ้าพระยากลาโหมฯ ได้รับแจ้งรหัส ดังน้ันจึงเตรียมพร้อมแล้วนาทหารเข้าชิงอานาจจับพระยา เชษฐาธิราช สาเร็จโทษตามประเพณีกษัตริย์ ต่อมาเล่าขุนนางก็พร้อมกันยกเจ้าพระยากลาโหมฯ ขึ้น เป็นพระเจ้าปราสาททองสืบไป ดังน้ันการคาดเชือกจึงน่าจะมีมาก่อนรัชสมัยน้ีนานแล้วและคาว่า “คาดเชอื ก” ก็กลายเป็นรหสั ทีร่ เู้ ฉพาะผคู้ ิดการใหญใ่ นสมยั อยธุ ยา 2.5 การแตง่ กาย มวยไทยสายไชยา ใช้กางเกงขาส้ัน (แบบขาก๊วย) ใช้ผ้าผูกลูกโปะ (กระจับ) ท่อนบน เปลอื ยอก หมดั ใชด้ า้ ยดบิ พันมอื (หมัดถัก) ขณะชกศีรษะสวม “ประเจียด” การแต่งกายของ
495 มวยไทยสายอ่ืน ๆ กับ “มวยไทยสายไชยา” แตกต่างกัน ดังนี้ มวยไทย ใช้เครื่องผูกศีรษะ เรียกว่า “มงคล” ใช้เป็นเคร่ืองผูกศีรษะหรือเครื่องรัดผม ถือเป็นเครื่องรางที่สามารถป้องกันภัยได้ชนิดหน่ึง มวยไทยสายไชยา เรียกเคร่ืองสวมศีรษะว่า “ประเจียด” มีการลงคาถาอาคม ลงยันต์เป็นเครื่อง ป้องกันภัย และป้องกันมิให้เส้นผมลงมาปิดตา ในขณะที่กาลังต่อสู้มวยไทยสายไชยาจึงต้องสวม ประเจียดหรือเคร่ืองสวมศีรษะตลอดเวลาท่ีทาการต่อสู้ ถ้าหลุดก็ขออนุญาตสวมใหม่ได้ มวยไทย เรียกเครื่องผูกแขนว่า (ผ้า) “ประเจียด” มวยไทยสายไชยา ใช้ “ประเจียด” สวมศีรษะหรือผูกศีรษะ ตลอดเวลาที่ข้นึ ชกมวย มวยไทย เรียกเครอ่ื งผกู หมดั ว่า “คาดเชือก” มวยไทยสายไชยา เรียกการพัน หมัดว่า “หมัดถัก” แต่เชือกที่เอามาทา “คาดเชือก” หรือ “หมัดถัก” ใช้เหมือนกันคือใช้ด้ายดิบหรือ ผ้าดบิ มวยไทย มีการผกู ใจด้วยคาถา มนตรา และอาคม ส่วนน้มี วยไทยสายไชยาไม่ได้แยกเป็นเคร่ือง ผูกใจ แตใ่ ช้การปลกุ เสกคาถาอาคมไวใ้ น “ประเจยี ด” 2.6 การฝกึ ซ้อม การฝกึ มวยไทยแตส่ มยั กอ่ นน้ัน เปน็ การฝกึ ทลี ะขัน้ ทีละตอน โดยเริ่มจากการฝึก “ป้องปัด ปิดเปิด” “ลม้ ลุกคลกุ คลาน” เป็นลาดับแรก จากนัน้ ก็ฝกึ “ล่อหลอกหลบหลีก” “ทุ่มทับจับหัก” เป็น ลาดับถัดมาและ “ประกบประกับจับร้ัง เข้าด้านหลังดัดก้านคอ” เป็นลาดับสุดท้าย เหนืออื่นใดน้ัน นักมวยไทยจะต้องฝึก “การย่างสามขุม” ให้ชานาญ น่ันหมายถึงว่าจะต้องฝึกการย่าเหยาะและ การก้าวย่าง ซึง่ รวมอย่ใู นทา่ ยา่ งสามขุมได้อย่างชัดเจนดว้ ย ท่าย่างสามขุมนี้ ครูมวยแต่ละท่านจะมีท่วงท่าและลีลาท่ีต่างกัน แต่ท่าย่างสามขุมท่ี สมบูรณ์แบบท่ีสุด สามารถใช้ป้องกันตัวหลบหลีกคือรับ และแปลงเป็นท่าย่ายีฝ่ายปรปักษ์คือรุก ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ รัดกุมมากท่ีสุด คือท่าย่างสามขุมของหลวงวิศาลดรุณกร ซึ่งฝึกมาจากพระไชย โชคชกชนะ (อ้น) และท่าย่างสามขุมของหลวงวิศาลดรุณกรน้ี ก็เป็นท่าย่างสามขุมของพ่อท่านมา เจ้าอาวาสแหง่ วดั ท่งุ จับชา้ ง ปรมาจารยม์ วยผู้มากด้วยอภิริหารแหง่ เมืองไชยานั่นเอง “นักมวยจะเอาดีไม่ได้ ถ้าฉากไม่คล่อง” ครูจรูญ ทวีสิทธิ์ ปรมาจารย์มวยทายาทของ ครูกิมเส็ง ทวีสิทธ์ิ เน้นความสาคัญของท่าเท้า คือ การย่างสามขุม การตั้งท่ามวยหรือการจดมวยน้ี เป็นท่าเบื้องต้นของการย่างสามขุม ซ่ึงมีหลักอยู่ว่าต้องเบี่ยงตัวให้บางเป็นเป้าเล็ก โดยเบี่ยงหลบฝ่าย ปรปักษ์ ในลักษณะท่ีป้องปัดหลบหลีกสืบถอยได้คล่องแคล่วและไม่เสียหลัก การฝึกมวยแต่ก่อนน้ัน อุปกรณ์การฝึกยังไม่พร้อมเหมือนเช่นปัจจุบัน ฉะนั้นอุปกรณ์และธรรมชาติ รอบ ๆ ตัวจึงถูกนามาใช้ กับการฝึกไปโดยปริยาย อาทิ เมื่อลูกศิษย์ได้รับคาแนะนาให้รู้จักการป้ันหมัดแล้ว ข้ันต่อมาก็จะใช้ ผ้าขาวม้าพาดคอด้านหลัง มือซ้ายขวาม้วนชายผ้าท้ังสองพันหมัด ยกมือซ้ายหรือขวาให้เป็นระดับ หนา้ ผากตรงกลางหวั ควิ้ หา่ งจากหน้าประมาณ 8 - 12 นิ้ว อีกมือหนึ่งอยู่ในระดับปลายคาง ศอกของ มือน้ีห้อยปิดลาตัว ห่างซ่ีโครงประมาณ 2 - 3 นิ้ว ถ้าห่างมากจะทาให้การป้องกันการเตะไม่รัดกุม หรือศอกตวั เองอาจกระแทกบรเิ วณซี่โครงถึงจุกได้ เมื่อเตรียมมือหรือหมัดตามท่าดังกล่าวแล้ว ก้าวขาซ้ายหรือขวาออกไปข้างหน้าเต็มก้าว ข้อสาคัญหากก้าวขาซ้ายออก หมัดที่อยู่ระดับหน้าต้องเป็นหมัดซ้าย หากก้าวขาขวาหมัดท่ีอยู่ระดับ หนา้ ก็ตอ้ งเป็นหมัดขวาเชน่ กัน จากน้ันกป็ ล่อยหมัดหนา้ ออกไปสลบั ซ้ายและขวาโดยให้เท้าเคลื่อนไหว
496 สัมพันธ์กบั การปล่อยหมัดดว้ ย คือปลอ่ ยหมัดซา้ ยก็ต้องก้าวซา้ ย ปลอ่ ยขวาก็ต้องก้าวขวาเป็นต้น และ ผา้ ขาวมา้ นี่เองทใี่ ชเ้ ปน็ ลูกประคบพันมอื แทนนวม นอกจากผ้าขาวม้าแล้ว สมัยท่ีอาจารย์กิมเส็ง ทวีสิทธิ์ ปรมาจารย์มวยไทยผู้ย่ิงใหญ่ ฝึกมวยกับ ครูเขียวน้ัน ใช้กาบมะพร้าวแทนนวมด้วย ส่วนอุปกรณ์การฝึกอ่ืน ๆ น้ัน มีการใช้มะนาว ท่ียังมีขว้ั 10 ลูก ผูกด้วยด้ายแขวนกับราวไม้รวก ห่างกันประมาณคืบเศษเสมอระดับคอหอยของผู้ฝึก โดยผู้ฝกึ ต้องใช้หมัดตอ่ ย ศอกถอง แขนรับ โดยมขี อ้ กาหนดวา่ อย่าใหม้ ะนาวแกว่งถูกหน้า อย่าให้ด้าย ทแ่ี ขวนพนั กนั และอยา่ ใหข้ ว้ั มะนาวหลดุ เมื่อใช้หมัดคล่องแคล่วแล้วก็จะเป็นการทดสอบป้องกันตัวส่วนบน (หัวถึงบ้ันเอว) เป็นข้ัน สุดท้าย ด้วยการใช้แป้งนวลผสมน้าประหน้าแล้วให้ขึ้นน่ังสมาธิบนก้นครกกระเดื่อง (ครกตาข้าว) จากนั้นคู่ซ้อมซึ่งสวมนวมท่ีเย็บกันเองด้วยผ้าใบแบบให้น้ิวทั้ง 5 โผล่ออกมาจะชกเป็นพัลวันผู้ฝึกที่น่ัง อยู่บนครกต้องพยายาม ปิดหมัดย่ิงกว่าปัดให้หมัดเฉียด และหากผู้ใดตกครกบ่อย ๆ แสดงว่าหลักยัง ไม่มั่น หรือถ้าแป้งที่ประหน้ามีรอยเช็ดมากก็แสดงว่า ยังปิดและปัดไม่คล่อง จะต้องฝึกฝนจนกว่าจะ คลอ่ งและหลักดี ดังท่พี ระเดชพระคณุ สมเดจ็ พระพุฒาจารยส์ ม ฉนโน อดตี เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์เทพวราราม ไดก้ ล่าวถงึ นลิ ปกั ษี ครูมวยไทยสายไชยา คนหนึ่งของเมืองไชยาว่า “นายนิล ครูมวยไชยา ประแป้ง หน้าขาว นั่งขัดสมาธิบนครก (ตาข้าว) แล้วให้ลูกศิษย์เข้าชกพร้อมกันถึง 3 คน โดยครูนิลสามารถปิด ปอ้ ง มใิ หห้ มดั ลูกศิษยโ์ ดนหน้าและไมใ่ หเ้ สียหลกั ถงึ ตกจากครก” ครูนิลผู้นี้ เปน็ นกั มวยรุ่นเดยี วกันกับหม่ืนมวยมชี ่อื และฝีมือก็พอฟัดพอเหวี่ยงกัน การที่ครู นิลสามารถปิดป้องการชกของลูกศิษย์ทั้ง 3 คน โดยลูกศิษย์มิอาจชกถูกหน้าได้ทั้ง ๆ ท่ีนั่งอยู่บนครก กระเด่อื งนนั้ ก็เปน็ ผลสบื เนื่องมาจาการฝึกฝนมวยไทยอยา่ งถูกหลักวธิ นี ่ันเอง ส่วนการฝึกเท้าน้ัน นอกจากการวิ่งในน้าในระดับข้อขา โดยวิ่งกระแทกให้เห็นรอยทราย ทุกฝีก้าวและวิ่งลึกไปจนถึงระดับหน้าขาแล้ว ก็ต้องฝึกหัดเตะต้นกล้วย (สมัยเม่ือยังไม่มีกระสอบ ทราย) ด้วยการใชต้ ้นกล้วยขนาดศูนย์กลาง 5 - 6 น้วิ ยาวประมาณ 3 ศอก ต้ังไว้ตรงพื้นเรียบๆ ผู้ฝึก ต้องเตะประครองตีนซ้ายตีนขวามิให้ต้นกล้วยล้ม ผลัดเปล่ียนเตะตลอดต้นจากต่าจนถึงระดับสูง เมื่อ คล่องแล้วก็เปลี่ยนเป็นต้นกล้วยขนาด 4 ศอก ผู้ท่ีได้รับการกล่าวขานว่ามีความชานาญว่ามีความใน การฝกึ วิธีน้ีได้แก่ นายทับ จาเกาะ นกั มวยมือดีจากโคราชสมัยสนามสวนกุหลาบ และครูนวล ครูมวย เมอื งลพบุรี 3. กระบวนทา่ ของมวยไทยสายไชยา พบว่า มวยไทยสายไชยาเป็นมวยไทยโบราณที่สืบทอด กันอย่างแพร่หลาย เร่ิมต้นครูมวยจะไปศึกษาตารามาจากเมืองไชยา แล้วนาความรู้ท่ีได้นั้นไป เผยแพร่ยังสถานท่ีต่าง ๆ เพราะรูปแบบของมวยไทยสายไชยานั้น ครูมวยไทยสายไชยารุ่นหลัง ๆ ได้ นามาดดั แปลงประยกุ ต์เปน็ ศาสตร์ประเภทอน่ื ๆ เช่น การบริหารร่างกายเพ่ือพาหยุ ุทธ์ เป็นการเหยียด ยืดกล้ามเนื้อดว้ ยทา่ มวยไทยสายไชยาราไทเก็ก หรือการรากระบ่ีกระบอง ล้วนแต่เป็นศิลปะมวยไทย สายไชยาท่ีนามาประยุกต์ใช้ท้ังนั้น กระบวนท่าของมวยไทยสายไชยา แม่ไม้ ลูกไม้ ไม้มวย เคล็ด มวยที่นามาประยกุ ตใ์ ช้ในการออกกาลงั กาย ส่งเสริมสุขภาพ ใช้ในชีวิตประจาวัน ในปัจจุบันมีการต้ัง ชมรมมวยไทยไชยาขึ้น เพ่ือสง่ เสรมิ การเผยแพร่ศลิ ปะมวยไทยสายไชยา ให้เปน็ ท่ีร้จู กั โดยทั่วไป 4. ระเบยี บประเพณีของมวยไทยสายไชยา พบวา่ มวยไทยสายไชยา เป็นมีระเบียบประเพณี อันดีงามท่ียึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมา เม่ือบุคคลใดต้องการจะศึกษาวิชาความรู้ใด ๆ จากครูอาจารย์
497 แล้ว บุคคลนั้นจะต้องเข้าไปมอบตัวเป็นศิษย์ ซ่ึงตามประเพณีของมวยไทยสายไชยาที่สืบทอดกันมา ถือเอาวันพฤหัสบดีเป็นวันครู ซ่ึงศิษย์จะต้องเข้าไปหาครู เพ่ือแนะนาตนเองว่าเป็นใคร มาจากไหน มีวัตถุประสงค์จะเข้ามาสมัครเป็นศิษย์เพื่อฝึกวิชามวยไทย เพื่อให้ครูมวยยอมรับตนเป็นลูกศิษย์ เพ่ือที่จะได้ถ่ายทอดวิชามวยท่ีครูได้สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ว่าเป็นเคล็ดลับวิชาอันทรงคุณวิทยา ถือ เปน็ กระบวนทา่ ในการปอ้ งกนั ตนเอง เม่อื ศษิ ย์เขา้ มามอบตัวแลว้ เปน็ หนา้ ท่ีของครมู วยที่จะตอ้ งถ่ายทอดวชิ าให้แก่ศิษย์จนเป็นที่ พอใจของครูแล้ว ครูก็จะเรียกลูกศิษย์มาทาพิธีขึ้นครู ซึ่งลักษณะประเพณีการข้ึนครูของมวยไทยสาย ไชยา จะตอ้ งประกอบพิธกี รรมต่อหนา้ พระพทุ ธรูป พร้อมกับให้ศิษย์รับศีล 5 โดยครูมวยจะเป็นผู้ทา หน้าท่ีแทนพระสงฆ์ ถือเป็นระเบียบประเพณีท่ีแตกต่างจากสายอื่น ๆ เพราะมวยไทยสายไชยาสืบ ทอดมาจากพระสงฆ์ ศิษย์ทุกคนจะต้องเคร่งครัดในหลักศีลธรรมอันดีงาม มีสัมมาคารวะในครู อาจารย์และมีความรักสามคั คใี นหมู่ศษิ ยด์ ว้ ยกัน เคารพต่ออาชีพ ศักด์ิศรคี วามเป็นนักมวย ในขณะเดียวกันครูมวยไทยสายไชยาท่านใด ท่ีมีอายุมากแล้วจะต้องคัดเลือกศิษย์ที่มี ความร้คู วามสามารถมาสืบทอดวิชามวยต่อจากตนเอง โดยจัดพิธีครอบครูให้แก่ศิษย์ เพื่อให้ศิษย์คน น้ัน มีศกั ด์ิและมีสทิ ธิ์เทยี บเท่าครูมวย และเป็นที่ยอมรับของศิษย์ในทุก ๆ ค่าย เพ่ือให้มวยไทยสายไช ยามีความมั่นคงสืบต่อไป และข้อสังเกตอีกประการหน่ึงคือ การร่ายราไหว้ครู มีการถวายบังคม พระมหากษัตริย์ทุกคร้ัง ต่อจากนั้นนักมวยจะนั่งยอง ๆ เพื่อบริกรรมคาถาแล้วก็กราบลงบนพื้น 3 ครั้ง แสดงถึงลักษณะการบูชาพระรัตนตรัยตามแนวทางของครูมวยท่ีเป็นพระสงฆ์ พร้อมทั้งยืน สารวมกายใจ ใช้มือปิดจมูกแล้วสูดลมหายใจเข้าออกช้า ๆ ท่ีเรียกว่า ลมปราณ ซ่ึงเป็นเคล็ดวิชาที่ ประยุกต์มาจากหลักการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนานั่นเอง นอกจากน้ันมวยไทยสายไชยา ยัง เรียกอุปกรณ์การแต่งกายของนักมวยแตกต่างไปจากมวยไทยสายอ่ืน ๆ เช่น เคร่ืองผูกศีรษะ ผ้าผูก แขน และเวทมนต์คาถา เรียกว่า ประเจียด ถือเป็นเครื่องผูกใจ เป็นเครื่องยึดเหน่ียว และกาลังใจใน การต่อสู้ ส่วนการคาดเชือกหรือเชือกด้ายท่ีผูกมัดที่มือ เรียกว่า หมัดถัก ด้วยการใช้เชือกด้ายดิบมา พนั รอบมือท้งั สองขา้ ง ในส่วนเครอื่ งรางของขลงั อน่ื ทั้งในเรื่องของพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พร้อม กับการใช้ไสยศาสตร์อ่ืน ๆ เช่น วิชาแคล้วคลาด วิชามหาอุด เป็นต้น ท้ังหมดล้วนเป็นตัวอย่างของ เครื่องรางของขลังท่ีครูมวยและนักมวยไทยสายไชยาใช้เป็นเคร่ืองผูกใจ เป็นกาลังใจเพื่อให้สามารถ เอาชนะคู่ต่อสู้ได้ ซ่ึงในบางครั้ง มวยไทยสายไชยาเวลาขึ้นบนเวทีต้องดูฤกษ์ยามก่อน ถึงขนาด กรรมการต้องเรียกขน้ึ เวทีพร้อมกนั ก็มี น้กี ็เปน็ เอกลกั ษณข์ องมวยไทยสายไชยาอกี อยา่ งหนง่ึ เช่นกัน ซ่งึ เปน็ ระเบยี บประเพณที ่ีมวยไทยสายไชยาเช่ือถือ และปฏิบัตสิ ืบต่อกนั มา มวยไทยสายโคราช ผลการศกึ ษาเรื่องการจดั การความรู้มวยไทยสายโคราช สามารถแยกอภปิ รายผล ได้ประเดน็ ดังตอ่ ไปน้ี 1) ทางด้านประวัติความเป็นมาของมวยไทยโคราช ผลการศกึ ษาอภปิ รายผลว่า ในสมัยโบราณ ชาวไทยทุกคนต้องเรียนรู้วิธีการต่อสู้ป้องกันตัวเพ่ือความอยู่รอด เพื่อช่วย ตนเองใหพ้ น้ จากภยั อนั ตรายตา่ ง ๆ วิชาท่ีจาเป็นต้องเรียนรู้และฝึกหัดคือยุทธวิธีต่าง ๆ เช่น ฟันดาบ กระบี่ กระบอง มวย การต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่าสาหรับการต่อสู้กับศัตรูผู้รุกราน โดยเฉพาะ ในทางประวัติศาสตร์แล้วชนชาติไทยต้องเผชิญกับการรุกรานข่มเหงของศัตรูอยู่เสมอ มวยไทยมี รากฐานการตอ่ ส้มู าจากการป้องกนั ตนให้พ้นภัยของชนชาติไทย ซ่ึงมีร่องรอยว่าเร่ิมอุบัติข้ึนต้ังแต่สมัย สวุ รรณภูมเิ ป็นอย่างช้า
498 แต่เดิมศลิ ปะมวยไทยที่มชี ั้นเชิงสูง มักจะฝึกสอนกันในบรรดาขุนนางเจ้านายช้ันผู้ใหญ่หรือ เฉพาะพระมหากษัตริย์เท่านั้น พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ต้องผ่านการศึกษาศิลปะศาสตร์ ซึ่ง เป็นความรู้ด้านต่าง ๆ สาหรับพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ ประกอบด้วยความรู้ 18 ประการ สาหรับ มวยไทยก็เป็นหนึ่งใน 18 ของศาสตร์น้ี ในสมัยก่อนพระมหากษัตริย์จาเป็นต้องเป็นนักรบ เป็น นักมวยมีความกล้าหาญองอาจในฐานะเป็นผู้นาของประเทศ ต่อมาจึงแพร่หลายไปถึงสามัญชนซ่ึง ได้รบั การถ่ายทอดวทิ ยาการจากปรมาจารย์ซ่ึงเดิมเปน็ ยอดนักรบมาก่อน โคราช ได้ชอื่ ว่าเมืองมวยมาช้านาน เป็นท่ีนิยมชมชอบของชาวโคราชทุกคนทุกยุคทุกสมัย ไม่วา่ เดก็ หรอื ผูใ้ หญ่ จนเปน็ ทข่ี ้ึนช่อื ลือชาตลอดไปทั่วประเทศไทยในส่วนของศิลปะป้องกันตัวของไทย เช่น กระบี่ กระบอง พลอง ง้าว และมวยไทยนน้ั เป็นของคบู่ า้ นคูเ่ มืองมานานแล้ว ชาวเมืองต้องเรียนรู้ การปอ้ งกนั ตัวไวเ้ พ่อื ความไม่ประมาท จึงทาให้เป็นผู้มีเลือดนักสู้เต็มตัว และมีนักมวยฝีมือดีหลายคน ในเวลาต่อมา เมืองโคราช มีประวัติความเป็นมาท่ียาวนาน ด้วยเหตุท่ีโคราชเป็นเมืองหน้าด่าน ประชาชนจึงต้องมีความพร้อมในด้านการต่อสู้อยู่เสมอ ลูกหลานของชาวโคราชต่างก็ได้สัมผัสและ คุ้นเคยกับการฝึกศิลปะการป้องกันตัว รวมถึงการสู้รบกับ ผู้รุกรานอยู่ตลอดเวลา ส่ิงเหล่านี้จึงถูก ปลกู ฝงั และซมึ ซบั เข้าส่จู ิตวิญญาณของบตุ รหลานชาวโคราชโดยตรง เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของมวยไทยโคราชน้ัน สมัยรัชกาลท่ี 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2369 คุณหญิงโม ภรรยาเจา้ เมืองโคราชในสมัยน้นั ไดน้ าชาวเมอื งโคราชใชอ้ าวุธเท่าท่ีหาได้และ มวยไทย เข้าตอ่ สู้กับทหารของเจ้าอนุวงศ์เวียงจนั ทร์ ที่กวาดต้อนพลเมอื งชาวโคราชเป็นเชลยอย่างกล้า หาญจนกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป ณ ทุ่งสัมฤทธ์ิและได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยว่า “วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์” หลังจากเสร็จศึกคร้ังน้ันคุณหญิงโมได้รับพระราชทานนามเป็น “ท้าวสุรนารี” เป็นที่กล่าวขวัญกันอยู่โดยท่ัวไป เม่ือเสร็จสิ้นจากการศึกกู้บ้านกู้เมืองในครั้งน้ันแล้ว บ้านเมืองก็สงบ ร่มเย็น พลเมืองต่างทามาหากิน และอยู่กันอย่างผาสุกตลอดมา นับเป็นแบบอย่างในการต่อสู้เพื่อชน ชาติไทยไดเ้ ป็นอยา่ งดี สรา้ งความภาคภูมใิ จแก่ชาวโคราชทัง้ ในอดีตและในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง และโดย สภาพข้อเทจ็ จรงิ บรรดาทหารยอ่ มต้องมกี ารฝึกการรบด้วยอาวธุ ไทยโบราณให้ชานาญและเตรียมพร้อม ผู้วิจัยจึงวิเคราะห์ได้ว่าบรรดาทหารเหล่านั้นต้องมีการฝึกและสอนมวยไทยโคราชให้กับบรรดาภรรยา บุตร หลานเช่นกัน ด้วยเหตุที่เมืองโคราชเป็นเมืองหน้าด่านท่ีเผชิญกับศึกอยู่เสมอ ๆ ดังนั้น ในคร้ัง วีรกรรมท่งุ สัมฤทธ์ิ พลเมอื งชาวโคราชทถ่ี กู กวาดต้อนไปส่วนมากจะเป็นหญิงและเด็ก แต่ก็สามารถต่อสู้ กับทหารของเจ้าอนุวงศ์เวยี งจนั ทร์ได้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าพลเมืองของชาวโคราชไม่ว่าจะเป็นชาย หญิง เด็ก ต้องได้รับการฝึกศิลปะการต่อสู้มาเป็นอย่างดีในทุก ๆ ปีจังหวัดนครราชสีมากาหนดจัดงาน ประเพณที า้ วสุรนารี และงานวีรกรรมทงุ่ สัมฤทธ์ิ ถอื เป็นงานประจาปที ่ยี ่ิงใหญ่ของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งกาหนดจัดงานประมาณวันที่ 23 เดือนมีนาคม ของทุกปี มีนักท่องเท่ียวจากประเทศไทยและ ชาวต่างประเทศตา่ งเดินทางมาทอ่ งเท่ยี วกันเปน็ จานวนมาก และทส่ี าคญั ย่ิง ผู้วิจัยได้สืบค้นข้อมูลเก่ียวกับประวัติมวยไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมวยไทย สายโคราชโดยตรง พบว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 5 แห่งกรงุ รัตนโกสินทร์ ทรงครองราชย์ พ.ศ.2411 พระองค์ศึกษาศิลปะมวยไทยมาจากสานักมวยหลวง ซึ่งมีปรมาจารย์หลวงพลโยธานุโยค ครูมวยหลวงเป็นผู้ฝึกสอนพระองค์ทรงโปรดกีฬามวยไทยมาก การฝึกหัดมวย ได้แพร่หลายไปตามหัวเมืองต่าง ๆ ท้ังภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และ
499 ภาคใต้ ไดจ้ ัดให้มีการแขง่ ขันชกมวยหน้าพระที่นั่งในงานศพของกรมขุนอุรุพงศ์รัชสมโภชน์ ณ ด้าน ใต้ของทุ่งพระเมรุ นักมวยท่ีเจ้าเมืองนามาแข่งขันล้วนแต่คัดเลือกคนท่ีมีฝีมือ การแข่งขันคร้ังน้ี นักมวยโคราชที่สามารถชกชนะค่ตู ่อสู้หลายคนและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นชงัดเชิงชก คือนายแดง ไทยประเสริฐ ตาแหน่งกรมการพิเศษเมืองนครราชสีมา ถือศักดินา 300 โดยมี การบันทึกในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 27 รัตนโกสนิ ทรศ์ ก 129 หน้า 489 วันท่ี 19 มิถุนายน ผู้วิจัยได้ค้นพบหนังสือจากกรมหลวงดารงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ขอพระราชทาน กราบบังคมทูลพระกรุณาถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เลขท่ี 46/1803 ลงวันท่ี 20 พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก 129 เพ่ือขอรับประทวนตราพระราชสีห์ ต้ัง นายแดง ไทยประเสริฐ เปน็ หม่ืนชงัดเชิงชก และท่ีสาคญั ยิ่งผูว้ ิจยั ไดค้ ้นพบหนังสอื โต้ตอบจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงกรมหลวงดารงราชานุภาพ เป็นหนังสือที่ 59/222 ลงวันท่ี 22 พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก 129 ความว่า สมควรจะได้รับประทวนต้ังเป็นขุนหม่ืนครูมวย ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ออกประทวนตราพระราชสีห์ต้ัง นายแดงเป็นหม่ืนชงัดเชิงชก ทานุบารุงวิชามวยตามหัวเมืองมิให้ เสือ่ มสญู นอกจากน้ีนักมวยจากโคราชยังได้รับความเมตตาและโปรดฯ ให้เข้าไปฝึกมวยในวังเปรม ประชากร ของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักด์ิ คือ นายทับ จาเกาะ นายยัง หาญทะเล นายตู้ ไทยประเสริฐ นายพูน ศักดา ครูบัว นิลอาชา (วัดอ่ิม) นายเสงี่ยม โอสถ ฯลฯ ซึ่งนักมวย จากโคราชเหล่าน้ีล้วนแต่มีฝีมือดีทั้งส้ิน การขึ้นชกในแต่ละคร้ังเป็นที่นิยมชมชอบของผู้ชมเป็นที่ยิ่ง แตล่ ะคนจะหาคชู่ กไดย้ ากแทบจะไมม่ ีคนชกดว้ ย ในส่วนของครมู วยโคราช แตล่ ะทา่ นล้วนแต่เป็นผู้ท่ีมี ความรู้ความสามารถเก่ียวกับด้านศิลปะมวยไทยและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบไทยท้ังสิ้น และ ครูบัว วัดอ่ิม ใน พ.ศ.2473 ได้รับราชการเป็นครูพลศึกษาตาแหน่งหัวหน้าหน่วยพลศึกษาของ โรงเรียนนายร้อย จปร. ได้นามวยไทยโคราชเข้าไปสอนจนถึงปี พ.ศ.2501 จึงได้ปลดเกษียณอายุ ราชการ ได้รับพระราชทานชั้นยศเป็น ร้อยโทบัว นิลอาชา มีลูกศิษย์ลูกหาซึ่งจบจากโรงเรียน นายร้อย จปร. และมชี ่อื เสยี งระดบั ประเทศมากมาย ทางด้านการฝึกซ้อมเจ้าเมืองนครราชสีมาในสมัยน้ันได้อุปการะอุ้มชูนักต่อสู้ป้องกันตัวและ นักมวยเปน็ อย่างมากในจวนของเจ้าเมือง มีการฝึกการต่อสู้ป้องกันตัว เช่น กระบ่ีกระบอง และศิลปะ มวยไทยทกุ วัน ชายฉกรรจท์ ัง้ หลายนยิ มมาฝกึ มวยไทยเพื่อไว้ตอ่ สู้ป้องกันตวั ประมาณ พ.ศ. 2440–2464 การชกมวยของโคราชเป็นการชกมวยแบบคาดเชือก และ นักมวยท่ีมีฝีมือดีเข้าไปชกในกรุงเทพฯ ในระยะ พ.ศ. 2460–2464 คือหมื่นชงัดเชิงชก นายยัง หาญทะเล นายทับ จาเกาะ นายตู้ ไทยประเสรฐิ นายพนู ศกั ดา นายเสง่ียม โอสถ การชกมวย แบบคาดเชือกชกกนั บนลานดิน ใช้เชือกมะนิลาขนาดใหญ่ก้ันเป็นเวทีสี่เหลี่ยม มีเชือก 3 เส้น นิยม จัดขึ้นในงานวัด วัดที่มีมวยต่อยกันบ่อยในงานศพคือวัดหนองบัวรอง และวัดสะแก ส่วนวัดโพธ์ิน้ัน นาน ๆ มคี รง้ั หนง่ึ แต่ที่วัดพลบั หรือวัดอินทราราม นักมวยไม่ชอบไปต่อยเพราะพื้นดินเป็นดินเหนียว แนน่ ล้มแลว้ เจ็บตัวเวลามวยยังไม่ต่อยก็เรยี บร้อยดีพอเร่ิมต่อยผู้คนก็เบียดเสียดจนเสาเวทีรวนเร ผลัก กันไป ดันกันมาทาให้ขาดระเบียบ ผู้จัดต้องจ้างคนถือไม้เรียวไว้ตีไล่คนท่ีล้าเวทีเชือกเข้าไป พวก เด็ก ๆ มกั ถกู ตีถูกเฆีย่ นกันเปน็ ประจา
500 ต่อมาความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองได้มารวมตัวกันอยู่ที่หน้าประตูชุมพล ซ่ึงเป็นสถาน ท่ีต้ังอนุสาวรีย์ของท่านท้าวสุรนารี จึงสร้างเวทีมวยประจาข้ึนที่สวนรักหน้าร้านโพธ์ิทอง ด้านทิศ เหนอื ของอนสุ าวรยี ท์ ่านทา้ วสรุ นารี หลงั จากนน้ั มกี ารย้ายเวทีไปอกี หลายแห่ง เช่น ท่ีส่ีแยกสวนหมาก คือ เวทีวิก น่าแช ต่อมาย้ายมาสร้างใกล้คูเมืองหน้าวัดสะแก คือสนามมวยสุรนารี แล้วสร้างที่ถนน จอมสุรางค์ยาตร ย้ายไปท่ีตลาดสดเทศบาล 1 คือ สนามมวยราชสีมาเริงรมย์ ย้ายไปสร้างใกล้ วัดหนองบัวรอง ซ่ึงเป็นที่ต้ังท่ีทาการไปรษณีย์ทุกวันนี้ คือ สนามมวยเวทีสุรนารี และย้ายไปที่ข้าง ป่าชา้ วัดหัวสะพาน เป็นตน้ จะเห็นได้วา่ มวยโคราชน้ัน มปี ระวตั คิ วามเป็นมาที่ยาวนาน และมีการบันทึกหลักฐานไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รัชกาลท่ี 6 และ รวมถึงเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ยังพอพระราชหฤทัยและโปรดปรานนักมวย จากเมือง โคราชเป็นที่ยิ่ง เห็นสมควรที่ชนรุ่นหลังควรต้องสรรเสริญในความเก่งกล้าสามารถของบรรพบุรุษ นักมวยของชาวโคราชในอดตี ดงั ที่กลา่ วแล้ว 2. เอกลักษณ์ของมวยไทยสายโคราช หมายถึง การฝึกซ้อม การแต่งกาย การพันมือแบบคาดเชือก การรา่ ยรา รปู แบบวิธกี ารชก และท่าทางการต่อสูป้ อ้ งกันตัวของนกั มวยโคราช มวยไทยสายโคราชในสมยั รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 มีชื่อเสียงโด่งดังมากมายหลายคน แต่ละ คน มีรูปแบบการชกที่ดุดันมีปฏิภาณไหวพริบที่ดีเยี่ยมแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นอย่างดีในขณะพัก ยกกจ็ ะคดิ หาวธิ กี ารแก้ไม้มวยไปดว้ ย ใช้ทักษะทีไ่ ดร้ ับการฝึกมาจากครมู วยอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทา ให้นักมวยจากโคราชเป็นนักมวยที่ประชาชนคนดูนิยมชมชอบเป็นพิเศษ คร้ังใดท่ีขึ้นชกในเวทีใด ๆ ก็ตาม มกั จะมีผู้ชมเขา้ ดูจานวนมากจนบางคร้ังพื้นที่สาหรับคนดูของเวทีไม่เพียงพอท่ี เข้าไปชมอย่าง เนืองแน่น เก็บเงินค่าผ่านประตูได้เป็นจานวนมาก ทั้ง ๆ ที่ในสมัยนั้นการเก็บเงินค่าผ่านประตูยังไม่ แพงเหมอื นในปจั จบุ ัน ผลการศกึ ษาเกย่ี วกับเรอ่ื งเอกลกั ษณข์ องมวยโคราช อภปิ รายผลได้วา่ - หมัดเหวี่ยงควาย หมายถงึ การชกด้วยหมดั ของหมืน่ ชงัดเชิงชก (นายแดง ไทยประเสริฐ) นักมวยไทยสายโคราชในสมัยรัชกาลที่ 5 ซ่ึงมีเอกลักษณ์ในการคาดเชือกตั้งแต่สันหมัดขึ้นไปจนถึง ข้อศอกท้ัง 2 ขา้ ง ลูกศิษย์ของพระเหมสมาหาร ส่วนท่ีถูกเป้าหมายคือหลังมือ หรือด้านในของมือจะ ชกหมดั เดียว หรอื ชกหมัดขวา ซ้ายสลับกันไปก็ได้ คล้ายกับควายที่มีเขายาวโค้งกาลังใช้เขาท้ังสอง ข้างขวดิ คู่ตอ่ สู้ทางขวาทางซ้ายสลับกนั ไปมาอย่างต่อเน่ือง “หมัดเหว่ียงควาย” ครูมวยไทยสายโคราช เรียกอีกอย่างหนึง่ วา่ “หมดั ขว้างควาย” หรอื “หมัดอีเล” ในส่วนของการฝึกมวยอภิปรายผลไดว้ ่า ในชว่ งแรก มกี ารฝกึ จากครมู วยทมี่ ีอย่ใู นหมูบ่ ้านของตนเอง โดยการฝึกพ้ืนฐานให้ดีเสียก่อน ฝกึ ซอ้ มตอนกอ่ นอาบน้า นาผ้าขาวม้ามาพันมือ ฝึกซ้อมการตั้งรับและตอบโต้ เพ่ือให้เกิดความเคยชิน ตามท่วงทา่ ที่ไดเ้ รยี นมาผลัดเปลยี่ นกนั ชิงไหวชิงพริบแม่ไม้ต่าง ๆ แล้วจึงข้ึนเปรียบชกกับนักมวยจาก หมู่บ้านอ่ืน การฝึกมวยไม่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยจึงต้องอาศัยธรรมชาติ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การดารงชีวิตประจาวนั ผสมผสานกันไป เช่น กระเดยี ดนา้ ตาข้าว ผา่ ฝืน ตน้ กลว้ ย ลกู มะนาว ในเรื่องของหลกั ของการฝึกมวยไทยสายโคราชพบว่า มวยไทยสายโคราช หาวิธีแก้ไขแม่ไม้ มวยของสานักอ่ืนพร้อมประดิษฐ์คิดค้นท่ามวยของตนให้มีอนุภาพที่จะพิชิตคู่ต่อสู้ให้ได้ ครูมวย ประดษิ ฐ์ท่ามวยเก่งและแก้ไขทางมวยของสานักอื่นได้จึงทาให้มีชื่อเสียง การคิดค้นหาวิธีแก้ทางมวย
501 ซึ่งกันและกัน ทาให้วงการมวยไทยสายโคราชในสมัยโบราณมีความเจริญรุ่งเรือง ครูมวยไทยสาย โคราช มีวิธีแก้ไขทางมวยด้วยวิธีผ่อนหนักให้เป็นเบา และเสริมจากเบาให้ทวีเป็นความหนักหน่วง และรุนแรงได้ เรียกว่า “วิธีผสมแรง” และ “วิธีถ่ายแรง” นักมวยที่ดีจะต้องมีความคิดรู้จักการแลก ใช้สว่ นหนาแลกส่วนบาง เขาแรงมา ทาทเุ ลาหรือตอบโตใ้ หร้ ุนแรงได้ ส่วนการแต่งกายและการพันมือแบบคาดเชือกน้ัน การชกมวยในสมัยโบราณไม่มีนวมใช้ ดา้ ยดิบ แช่นา้ ขา้ วทาใหแ้ ขง็ พนั ไวท้ ่ีมือเรยี กกันว่า “คาดเชือก” นักมวยคาดเชือกท่ีมือด้วยด้ายดิบเพื่อ ป้องกันการเคล็ด ยอก ซ้นและเสริมให้หมัดแข็ง ครูมวยโคราชจึงหาด้ายดิบท่ีผูกเป็นไจเส้นโตเท่า ดินสอดายาวประมาณ 20–25 เมตร มาพันมือ สวมกางเกงขาสั้นและใช้ผ้าขาวม้าม้วนผูกเป็นนวม ทับอย่างแน่นหนาป้องกันลกู อัณฑะปกคลุมมาจนถึงดา้ นบั้นตรงเอว ไม่สวมเสื้อ ปลายเท้าเปลือยเปล่า ซ่งึ ตอ่ มาได้ทาเป็นเบาะรูป 3 เหล่ียม ใชเ้ ชอื กผกู ชายมมุ ทั้ง 3 มุม ใชแ้ ทนกระจับ ซึง่ สมัยโบราณยังไม่มี กระจบั หุ้ม สวมมงคล แม้ขณะชกกย็ ังสวมอยูม่ ผี า้ ประเจยี ดมัดไว้ท่ีตน้ แขนซา้ ยและขวา ทางมวยไทยโคราช เป็นมวยเตะและต่อยวงกว้างเรียกกันว่าเหว่ียงควาย รับเตะและ ป้องกัน ตนเองด้วยการใช้แขน จึงใช้ด้ายดิบคาดหมัดและขมวดรอบๆแขนจรดข้อศอกด้วยวิธีพิเศษไม่เหมือน ใคร วธิ คี าดหมดั เชน่ น้เี ปน็ ที่กลา่ วขวัญท่ัวไป คือ หม่ืนชงดั เชงิ ชก เกี่ยวกับท่ารามวยโดยทั่ว ๆ ไปนั้นมีท่าย่างสามขุม และท่าพรหมส่ีหน้า ซึ่งจะต้องปฏิบัติ ก่อน การชกทุกคร้ังจนถือเป็นประเพณี ส่วนรูปแบบวิธีการชกและท่าทางการต่อสู้ป้องกันตัวของ นักมวยโคราชนั้นพบว่า การจดมวยตารับโคราชนิยมจดมวยทางหนา ไม่นิยมจดมวยทางบางท้ิงเท้า เข่างอเล็กน้อย ลาตัวหันเข้าหาคู่ต่อสู้เต็มตัวให้น้าหนักอยู่ที่เท้าหน้า ส้นเท้าหลังเขย่ง เท้าไหนออก หน้าหมัดข้างน้ันจะต้องจดอยู่ด้านหน้า เท้าไหนอยู่ด้านหลังหมัดข้างน้ันจะคุมอยู่เหนือราวนมหรือสูง กว่าเล็กน้อย มีท่าทางจดมวยแบบเหยียดขาเขย่งบนปลายเท้า ย่อและเขย่งส้นเท้าเปลี่ยนเป็น หน้าหลัง ซ่ึงเตะได้รุนแรงและอันตราย มีความสง่างามน่าเกรงขามเป็นอย่างยิ่ง เมื่อจะเปลี่ยน ทางการจดมวย จะสืบเท้าหน้าไปข้างหน้าเล็กน้อยเพ่ือการช่วยจังหวะ เท้าหลังก้าวไปข้างหน้า หมดั หลังที่คุมอยมู่ ้วนเป็นวงชา้ ๆ ขา้ มหมัดท่ีจดอยู่ด้านหน้าไปเป็นหมัดจด และหมัดที่จดอยู่ด้านหน้า กลบั มาเปน็ หมัดคมุ แทน ท้งิ เทา้ หลงั ชว่ ยจงั หวะอีกเล็กน้อย การรุกเข้าออกโดยใช้ท่าเท้าเช่นที่กล่าวนี้ ทาให้ผู้ที่ฝึกจนชานาญสามารถใช้วิธีถ่ายแรงคู่ต่อสู้ท่ีใช้อาวุธมาให้ผ่อนจากหนักเป็นเบาได้ และ สามารถใช้วิธีผสมแรง เมื่อคู่ต่อสู้เข้าทาทาให้เกิดแรงบวก ทาให้ใช้อาวุธได้หนักหน่วงและรุนแรง ย่ิงขน้ึ นอกจากนแี้ ลว้ ยงั สามารถออกอาวุธยดื หยนุ่ โดยผสมท่าเท้า รั้งเข้า รั้งออก ได้ดังใจปรารถนาอีก ด้วย ครูมวยไทยโคราชโบราณเรียกวิธีร้ังเข้าออกน้ีว่า “สารอกกลับ” ซ่ึงลักษณะการใช้ทาให้ คู่ต่อสู้ น้ันหลงคิดว่าเสียหลักถลาตัวไปแล้ว ก็จะเข้าซ้าเติม ก็จะถูกใช้วิชาสารอกกลับน้ีโดยไม่ได้คาดคิด เกดิ การเลยี่ งพล้า ฉะนน้ั การรามวยประกอบท่าเท้าย่างสามขุม จึงสาคัญและเป็นท่าแม่บทเบื้องต้น ของมวยไทยโคราช ผู้จะศึกษาต้องฝึกให้เกิดความชานาญเสียก่อน เพื่อจะเป็นแม่บทท่ีสาคัญ และ เป็นรากฐานพน้ื ทางมวยทีด่ ีและมีความสามารถดังกล่าวแล้ว การจดมวยควรปฏิบัติให้เกิดความคล่อง ทง้ั 2 เหล่ยี ม คือ จดมวยเหล่ียมขวา และจดมวยเหลย่ี มซ้าย จากการศึกษาเก่ยี วกับเรื่องการฝกึ ซ้อม การแตง่ กาย การพันมือแบบ คาดเชือก การรา่ ยรา รูปแบบวธิ กี ารชกและท่าทางการตอ่ สู้ป้องกันตวั ของนักมวยโคราช อภปิ รายผลไดว้ ่า
502 มวยโคราช มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและแตกต่างไปจากมวยอ่ืน ๆ ไม่ว่าจะเป็นมวยไทยสาย ไชยา มวยไทยสายลพบรุ ี มวยไทยสายทา่ เสา หรือแมก้ ระท่ังมวยพระนคร ทั้งน้ีอาจเป็นเพราะว่าจาก สภาพพ้ืนท่ีทางภูมิศาสตร์ของแหล่งกาเนิดมวยไทยโคราช ในสมัยรัชกาลท่ี 1 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ส่วนมากแล้วสภาพภูมิประเทศเป็นท่ีราบสูงกันดาร ความเป็นอยู่ของประชาชนต้องต่อสู้กับภัยจาก มนุษย์ด้วยกันเองและจากธรรมชาติ ปัจจัยเหล่าน้ีทาให้ผู้คนท่ีอยู่อาศัยในเขตโคราชต้องสร้างความ อดทนขึ้นในตนเอง ท้ังทางด้านร่างกายและด้านจิตใจตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษเป็นต้นมา กอปรกับ พืน้ ฐานการปกครองหรืออาณาเขตมักถูกข้าศึกรุกรานข่มเหงอยู่เนือง ๆ ไม่ได้ว่างเว้นจากศึกสงคราม ทาให้ต้องเป็นนักรบ ซึ่งนักรบต้องฝึกมวยไทยด้วย เพ่ือนาไปเป็นองค์ประกอบประกอบกับการต่อสู้ ด้วยอาวุธไทยโบราณชนิดต่าง ๆ ที่เป็นอาวุธส้ัน ใช้ต่อสู้ในระยะประชิดตัวทั้งส้ิน และต้องใช้ศิลปะ มวยไทยเข้าประกอบจึงจะเกิดอานุภาพในการรบได้ดีเหมือนดังเช่นคุณหญิงโม ได้นาชาวโคราชเข้า ต่อสู้กับทหารของเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์ ก็ด้วยศิลปะ มวยไทยและอาวุธสั้นเหล่าน้ี จึงได้เกิด วรี กรรมทุ่งสมั ฤทธิ์ขึ้น ดงั นัน้ จากเหตผุ ลดงั ท่กี ล่าวเมื่อคนอสี าน ชกมวยจึงต่อสู้กับคู่ต่อสู้อย่างองอาจ กลา้ หาญ ไมห่ ว่นั กลัว การชกจึงเป็นไปในลักษณะเดนิ หน้า ดดุ นั ดเุ ดือด รวดเร็ว คล่องแคล่ว สวยงาม มลี กู ไมแ้ มไ่ ม้ทหี่ ลากหลายและผสมกลมกลืน อันเน่ืองมาจากการ เอาใจใส่ควบคุมการฝึกซ้อมของครู มวยที่เป็นไปตามขั้นตอนไม่มีข้ามขั้นและนักมวยก็ต้ังใจฝึกซ้อมและเชื่อฟังตามคาสอนของครูมวย อย่างเอาใจใสร่ วมถึงการคิดแก้ไขไม้มวยไปขณะแข่งขันด้วย ในส่วนของไม้มวยไทยสายโคราช ผู้วิจัย พบว่า เท้า หมัด ศอก เป็นอวัยวะและอาวุธท่ีสาคัญย่ิง เท้าเป็นอาวุธยาว ท่ีใช้ในการเตะ ถีบ และใช้ เคลื่อนไหวไปมา การถีบแบบมวยโคราชน้ันคือท่าถีบสลัดซ่ึงเป็นท่าถีบแบบโบราณท่ีใช้เป็นอาวุธ ทาลายเกราะป้องกันของคู่ต่อสู้ได้ เข่าฝึกให้โยนได้ทั้งซ้ายและขวา ศอกเป็นอาวุธส้ันที่ใช้ในระยะ ประชิดตัวท่ีทรงอนุภาพมาก ศอกมจี ดุ แขง็ ทป่ี ลายศอกใช้ตีและถอง เก่ียวกบั ท่ารามวยโดยท่วั ๆ ไปน้ันมที ่ายา่ งสามขุมและท่าพรหมส่ีหน้า ครูมวยจะกาหนดให้ ผู้ที่จะมาเป็นศิษย์ฝึกหัดท่ารามวยให้คล่องแคล่วเสียก่อน จึงจะค่อยฝึกท่าลูกไม้และแม่ไม้สาคัญเป็น ประการต่อไป ท่ารามวยย่างสามขุม นอกจากจะเป็นท่ารามวยอันเป็นต้นแบบของมวยไทยตารา โคราชแล้ว ยังเป็นวิชาท่าเท้าแม่บทที่สาคัญ จะทาให้ผู้ฝึกเคล่ือนไหวไปมาโดยสัมพันธ์กับร่างกายได้ อย่างคล่องแคล่ว ผู้ฝึกเม่ือทาได้จนเกิดความชานาญแล้วจะสามารถใช้อาวุธเช่นหมัด เท้า เข่า ศอก ฯลฯ ไดท้ ั้งทางซ้าย ทางขวา การเข้า ออก ของทางมวยโคราชน้ันจะเข้าออกในลักษณะฉากซ้าย และ ฉาก เม่ือลกู ศิษยใ์ ช้มอื และเท้าคล่องแคล่วแล้วก็ให้ทาพิธียกครู เสร็จแล้วให้ย่างสามขุม และฝึกไม้ ต่อไปอีก 5 ไม้ ต่อด้วยไม้เบ็ดเตล็ดอีก 21 ไม้ แล้วก็มีโคลงมวยเป็นคติสอนนักมวยด้วย พร้อมท้ัง คาแนะนาเตือนสตไิ ม่ใหเ้ กรงกลัวคตู่ อ่ สู้ 3) กระบวนทา่ ของมวยไทยสายโคราช พบวา่ มกี ระบวนท่า รวมทง้ั สนิ้ 47 ทา่ ดงั นี้ 3.1 ทา่ การใช้อาวธุ เบอ้ื งตน้ ประกอบดว้ ย 3.1.1 ทา่ อยูก่ บั ที่ 5 ท่า ประกอบดว้ ย ท่าต่อยตรงอย่กู ับท่ี ท่าตอ่ ยเหว่ยี งอยู่กบั ท่ี ท่าตอ่ ยขึ้นอยกู่ ับท่ี ท่าต่อยด้วยศอกอยกู่ บั ที ทา่ ถองลงอยู่กับท่ี
503 3.1.2 ท่าเคลื่อนที่ 5 ท่า ประกอบด้วย ท่าต่อยตรงสลับกันเคลื่อนท่ี ท่าเตะเหว่ียง กลับด้วยศอกเคลอ่ื นที่ ท่าตอ่ ยด้วยศอกและเข่าเคลื่อนที่ ท่าเตะสลบั กันเคลื่อนท่ี ท่าเตะแล้วต่อยตาม พลกิ ตวั ไปกัน 3.2 ฝึกลูกไม้แก้ทางมวย 11 ท่า จะต้องใช้การฝึกร่วมกับคู่ซ้อม โดยผลัดเปลี่ยนกันรุก และผลัดเปลี่ยนการต้ังรับ ประกอบด้วย ท่ารับต่อยตรงด้วยการใช้เท้าถีบรับ ท่ารับต่อยเหวี่ยงใช้ หมัดตรงตอบรับ ทา่ ต่อยเหว่ยี งแลว้ เตะตามใชห้ มดั ตรงชกแก้ ท่ารับลูกเตะ ท่าเตะแลกเปลี่ยนอยู่กับที่ ท่าเตะฝากหนึ่ง ท่าเตะฝากสอง ท่ารับลูกเตะฝากหนึ่ง ท่าเตะปัด ท่าทัศมาลาแก้ลูกเตะสูง ทา่ ลูกตอแหล 3.3 ฝกึ ท่าแม่ไมส้ าคญั ได้แก่ 3.3.1 ท่าแม่ไมค้ รู 5 ท่า ประกอบดว้ ย ชักหมดั มา เตะตีนหน้าพรอ้ มหมัดชัก ชกั ปิดปก ด้วยศอก ชกหา้ มไหล่ เมื่อเข้าให้ชกนอกเมื่อออกให้ชกใน ชกช้างประสานงา 3.3.2 ท่าแม่ไม้สาคัญแบบโบราณ 21 ท่า ประกอบด้วย ทัศมาลา กาฉีกรัง หนุมาน ถวายแหวน ล้มพลอยอาย ลิงชิงลูกไม้ กุมกัณฑ์หักหอก ฤๅษีมุดสระ ทศกัณฑ์โศก ตะเพียนแฝงตอนก คุ้มเข้ารัง คชสารกวาดหญ้า หักหลักเพ็ชร คชสารแทงโรง หนุมานแหวกฟอง ลิงพล้ิว กาลอดบ่วง หนมุ านแบกพระ หนไู ต่ราว ตลบนก หนมุ านถอนตอ โกหก เม่ือนักมวยไดร้ บั การฝกึ จนมีความคลอ่ งแคล่วท้ังที่เป็นฝ่ายรุกและเป็นฝ่ายรับแล้ว ในเวลา เช้าหรือเย็น หรือกลางคืน ให้ผู้ฝึกมวยชกลม เตะลม ถีบลม และกระโดดเข้ากระโดดออกให้เกิด ความคล่องแคล่วทุก ๆ วัน เป็นการฝึกซ้อมประจาวันทั้งท่ีเป็นการชกลม หรือชกคู่ หรือฝึกกับ อปุ กรณ์ประกอบการฝึกกต็ าม ผู้ฝึกมวยย่อมเกดิ ความรู้ความสามารถด้านมวยไทยท่ีแตกฉาน 4. ระเบียบแบบแผนและประเพณีของมวยไทยโคราช พบวา่ ประกอบไปด้วยประเดน็ สาคัญ ๆ ดังนี้ 1) ประเพณปี ฏิบตั เิ กยี่ วกับการฝากตวั เป็นศิษย์ การไหวค้ รู พธิ ยี กครู หรือข้นึ ครู ประเพณี เป็นเรื่องราวของการประพฤติปฏิบัติท่ีสืบทอดต่อ ๆ กันมาของคนในสังคม ใด ๆ ก็ตามโดยถือว่าเป็นส่ิงที่ดีงามและบังเกิดผลดีต่อผู้กระทานั้น ๆ ประเพณีที่เก่ียวข้องกับชีวิตน้ัน เป็นเรื่องราวท่ีบุคคลในแต่ละสังคมสร้างข้ึนมาแล้วปฏิบัติสืบทอดต่อๆกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่าจน กลายเป็นระเบียบแบบแผนและแบบอย่างของความคิดหรือการกระทา จนเกิดเป็นแนวปฏิบัติใน ลักษณะเดียวกัน บรรพบุรุษของชาวโคราชได้สร้างแบบแผนเก่ียวกับชีวิต อันเป็นประเพณีท่ีสืบทอด ต่อกันมาจนเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติที่เป็นลักษณะเฉพาะถ่ิน จนกระทั่งยึดถือเป็นประเพณีของ ชาวโคราชในที่สุด ประเพณีที่เก่ียวข้องกับชีวิตของชาวโคราชท่ีปฏิบัติเพ่ือเป็นหลักยึดมั่น เป็นความ มั่นคงทางด้านจิตใจ เป็นการกระทาสืบต่อกันมาจนเป็นลักษณะเฉพาะของท้องถ่ินชาวโคราช ประเพณีแสดงให้เห็นความเกาะเกี่ยวทางสังคมเป็นจุดรวมความคิดความผูกพันภายในสังคมเดียวกัน ทาให้สภาพของสังคมอยู่กันมาอย่างมีความสุข มีความสามัคคีกัน น่ันคือประเพณีและพิธีกรรมเป็น ตัวกลางแห่งความสมานไมตรี ประเพณีต่าง ๆ ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากบ้างน้อยบ้างตามแต่ ความเจริญที่พัฒนาไป แต่ประเพณีบางอย่างยังเป็นวิถีชีวิตท่ีชี้ให้เห็นถึงจิตวิญญาณของชาวโคราชได้ เปน็ อย่างดี
504 จากผลการศึกษาเก่ียวกับประเพณีปฏิบัติเรื่องการฝากตัวเป็นศิษย์ และการไหว้ครูอภิปราย ผลได้ว่า มวยไทยมีขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และที่สาคัญคือการเคารพต่อคุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์และคุณของพระมหากษัตริย์ นับได้ว่าเป็นการสร้างความเชื่อถือและสร้างความ ศรทั ธาท่ีดี โดยเฉพาะครบู าอาจารย์น้ัน นับได้ว่าเป็นบุพการีผู้มีพระคุณรองมาจากบิดามารดาที่ช่วย อบรมส่ังสอนศิษย์ให้ประพฤติปฏิบัติแต่ในส่ิงที่ดีงาม เพียบพร้อมไปด้วยสติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรมท่ีดีงาม ฉะนั้น ประเพณีการยกครูตลอดจนประเพณีการไหว้ครูจึงมีมาคู่กับ มวยไทยในทกุ ยคุ ทุกสมัย ด้วยความเชื่อของคนไทยมาต้ังแต่สมัยโบราณเก่ียวกับการศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็น การเรยี นหนงั สือ การเรยี นวิชา การฝึกหดั ศลิ ปวิทยาตา่ งๆเช่น เรียนลาละคร ดนตรี ฟันดาบ กระบ่ี กระบอง หรือต่อยมวย จะต้องมีครูอาจารย์ผู้ประสิทธ์ิประสาทวิชาให้ ผู้เรียนจะต้องเคารพเชื่อฟังครู อาจารยข์ องตนเองและระลกึ ถึงบุญคุณครูอาจารย์ของตนอยู่เสมอ จึงจะเป็นผู้ที่มีความเจริญก้าวหน้า และเป็นสิริมงคล ก่อนการแข่งขันมวยไทย ทุกคนจะต้องไหว้ครูมวยไทยและร่ายรามวย เพ่ือเป็นการทา ความเคารพตอ่ ประธานในพธิ ีแขง่ ขันชกมวย ท้ังเป็นการระลึกถึงและแสดงความกตัญญูต่อครูอาจารย์ ทป่ี ระสิทธิป์ ระสาทวชิ าความรใู้ ห้ พอ่ แม่ พระมหากษัตริย์ เพ่ือความเป็นสิริมงคล ทาให้ จิตใจม่ันคง ไม่หวั่นไหวครั่นคร้าม ควบคุมสติได้ดี นอกจากน้ียังเป็นการได้ออกกาลังกาย ยืดกล้ามเนื้อและเส้น เอน็ ส่วนต่างๆ ของร่างกายให้คลายความฝืด ให้กล้ามเนื้อตื่นตัว เม่ือใช้อาวุธในเชิงต่อสู้จะได้ไม่ติดขัด ทาให้มีจิตใจฮึกเหิมท่ีจะออกต่อกรกับคู่ต่อสู้ และยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถตลอดถึงความเชี่ยวชาญในเชิงมวยขนาดไหน ศิษย์ในสานักเดียวกันเมื่อเห็นท่ารามวย แลว้ จะรไู้ ด้ทนั ทวี ่าเป็นศิษยอ์ าจารย์สานกั ใด ซึ่งถ้าไหว้ครูและร่ายรามวยแบบเดียวกัน มักจะไม่นิยม ต่อยกันเพราะเข้าใจว่าเป็นลูกศิษย์ที่มีครูมวยคนเดียวกัน นอกจากนั้นการร่ายรายังเป็นสังเกตดูเชิง ค่ปู รปกั ษ์ คลายความเคร่งเครยี ดทัง้ กายและจติ ใจให้พร้อมที่จะเข้าต่อสู้ได้ทันที เป็นการสารวจพ้ืนท่ี บรเิ วณท่ีจะชกมวย เน่อื งจากแต่เดิมการแขง่ ขนั ชกมวยจะแข่งกันบนลานดินในบริเวณวัดซ่ึงเป็นสนาม มวยช่วั คราว นับว่าเป็นความเช่ือถือและสร้างความศรัทธา สามารถที่จะโน้มน้าวจิตใจของผู้ฝึกมวย ให้เกิดความฮึกเหิมมุ่งม่ันไปสู่ชัยชนะ การรามวยก็เป็นอีกประเพณีหน่ึงสืบคู่มากับมวยไทย ผู้เป็น ศิษย์ในแต่ละสานักจะต้องแสดงท่ารามวยในขณะเมื่อจะข้ึนชกกับคู่ต่อสู้ การรามวยจึงเป็นการ แสดงออกถงึ ฐานะ ตลอดจนทีม่ าของนกั มวยผู้น้นั ไดท้ างหนง่ึ แม่ไม้และกลมวยน้ัน จะปรากฏให้เห็นในท่าร่ายราไหว้ครูเป็นการอุ่นเครื่องไปในตัว แต่ใน ปัจจุบนั ไม่คอ่ ยได้พบเหน็ เพราะนักมวยไม่ได้เรียนและฝึกกันตามแบบอย่างแม่ไม้และกลมวยดังกล่าว น้ีเกี่ยวกับกติกาในการแข่งขันมวยไทยแต่ครั้งโบราณ ไม่ปรากฏว่ามีกติกาท่ีแน่นอนอย่างไรบ้าง แล้วแต่นายสนามจะตกลงกัน ในการจดั แข่งขนั แตล่ ะคร้งั และมีอานาจชข้ี าดได้แก่นายสนาม ในส่วนของมวยตาราโคราช เมื่อครูมวยเห็นว่าผู้เป็นศิษย์มีความมานะพยายาม ฝึกกาลัง ร่างกายจนเข้มแข็ง ตลอดจนได้รับรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของผู้ท่ีจะเป็นนักมวยที่ดี มี อุปนิสัยและแววพอที่จะได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดทางมวยตาราโคราชได้น้ัน ครูผู้ฝึกมวยก่อนท่ี จะบอกถึงแม่ไม้สาคัญ เพื่อให้ศิษย์ได้ศึกษาและฝึกฝนต่อไป ก็จะต้องมีการทาพิธียกครู หรือขึ้นครู
505 ตามประเพณี เพอื่ ให้เกดิ ความเป็นสิรมิ งคล เกดิ ความเจรญิ กา้ วหน้าในชีวิต โดยให้เป็นศิษย์ท่ีถูกต้อง ตามทานองครองธรรม มใิ ชเ่ ปน็ ผู้ที่ไดช้ ่ือวา่ ครูพักลกั จา การไหว้ครูน้ัน นักมวยจะแสดงการเหยาะย่างอย่างสง่างามน่าเกรงขามมาก ท่าย่างสามขุม ทาใหเ้ ห็นกลา้ มเปน็ มัด ๆ ของนกั มวยบางคนขม่ ขวญั ค่ตู อ่ ส้เู ปน็ อนั มาก เมอ่ื ไหวค้ รูเสร็จนิยมเอาทราย มาโรยศีรษะเป็นการเรียกสมาธิ เพ่ือให้เห็นว่าร่างกายเป็นของไม่เที่ยง เพราะฉะน้ันจึงไม่ควรหวง สังขาร ไม่ควรกลัวตาย ไม่ช้าไม่นานก็จะกลายเป็นดินเป็นทรายไปตามวาระ และปลุกใจให้ นักมวยสู้ 2) การถวายบังคม ในสมัยโบราณพระมหากษัตริย์ทุก ๆ พระองค์ให้ทรงสนพระทัยและศึกษา ตลอดจน ควบคมุ การฝกึ ซอ้ มมวยไทยและอาวุธตามตาหรบั พิชยั สงครามในบางโอกาส เมื่อพระองค์ทรงเสด็จมา เป็นประธานหรอื มาควบคุมการฝกึ ซอ้ ม ขา้ ทหารผ้ทู ฝี่ กึ มวย เล่นมวย หรือซ้อมท่าอาวุธพิชัยสงคราม อยู่ก็ตาม จะต้องลดตัวลงน่ังพร้อมกับการถวายบังคมเพ่ือแสดงความจงรักภักดีทุกคราวไปจนเป็น ประเพณีสืบต่อกันมาว่า เม่ือจะเร่ิมต้นการรามวยหรือการราท่าอาวุธโบราณ จะต้องน่ังคุกเข่าแล้วก้ม ตัวลงทาท่าถวายบังคม 3 ครงั้ แลว้ จึงจะเร่มิ ท่ารามวยเปน็ ลาดับไป 3) การรามวย คนไทยมีวัฒนธรรมประจาใจอยู่อย่างหน่ึง คือความซาบซ้ึงในความกตัญญูกตเวทีเป็น อยา่ งยิง่ การรามวยนอกจากจะเปน็ พิธคี ารวะครูบาอาจารย์ของแตล่ ะสานักแล้ว ยังเป็นการแสดงออก ถึงวัฒนธรรมอันดีงามการรามวยของแต่ละสานักไม่เหมือนกันแล้วแต่ขนบธรรมเนียมของสถานท่ีๆ สานกั นนั้ 4) การเปรยี บมวย วิธจี ัดการชกมวย และรางวลั การแขง่ ขนั อภิปรายผลได้ว่า ความนิยมจัดชกมวยในสมัยคาดเชือกของโคราช ระหว่างปี พ.ศ.2440 - 2464 เนอื่ งมาจากมีงานเฉลิมฉลอง งานประเพณี งานเทศกาล งานศพ งานบวชนาค ซึ่งบุคคลสาคัญเป็น เจา้ ภาพ และในวันสาคญั และในโอกาสสาคัญๆ ตา่ ง ๆ เทา่ นั้น เชน่ งานปิดทองพระ งานถือน้าพิพัฒน์ สัตยา งานประจาปี งานเฉลิมพระชนม์พรรษา และงานรับเสด็จเจ้านาย เมื่อมีงานราชพิธีต่าง ๆ ของบ้านเมือง ทางการก็จะจัดให้มีมวยชก การจัดให้มีมวยชกน้ันถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ งานนั้นต้องเป็น งานที่ใหญโ่ ตมโหฬารจรงิ ๆ ผ้คู นแตกต่ืนกันมาชมกันมากมายส่วนมากจัดขึ้นท่ีวัด โดยเฉพาะงานศพ ของคนระดับเศรษฐี มักจัดมวยชกท่ีวัดหนองบัวรอง วัดสระแก ส่วนวัดโพธ์ินั้นนาน ๆ มีคร้ังหนึ่ง แต่ท่ีวัดพลับหรือวัดอินทรารามน้ัน นักมวยก็ไม่ชอบไปต่อย เพราะพ้ืนดินเป็นดินเหนียวแน่นมาก ล้มแล้วเจ็บตัวมาก มวยในสมยั ก่อนนัน้ ไม่ได้ชกกนั บนเวทียกพื้น แต่ชกกันบนพื้นดิน ใช้เชือกมะนิลา ขนาดใหญก่ ัน้ เปน็ เวทสี เ่ี หลย่ี ม มีเชอื ก 3 เสน้ ส่วนวิธีการเปรียบมวยเพื่อหาคู่ชกในสมัยนั้นไม่มีพิธีอะไรมากนัก เมื่อมีการเปรียบมวยข้ึน ชกในสมัยนนั้ มักจะมอบให้พระเหมสมาหารเป็นประธานหรือนายสนามทุกคร้ัง มีการให้คน ตีฆ้อง รอ้ งปา่ วไปตามหมบู่ า้ นต่าง ๆ และอยไู่ ม่ห่างไกลจากตัวเมืองมากนัก พร้อมทั้งนาประกาศการชกมวย ไปปิดไว้ที่ประตูเมืองท้ัง 4 ทิศ เพื่อให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองมากๆได้รับทราบ เวลาเข้ามาทา การค้าขายหรือธุรกจิ ตดิ ตอ่ กบั คนในเมอื งกจ็ ะบอกต่อๆกันไป พวกตีฆ้องก็จะพากันร้องว่า “ใครจะมา ชกมวยใหม้ าเปรยี บเน้อ” ถึงหมู่บ้านใดก็ร้องไปจนรู้กันท่ัว นักมวยเม่ือทราบต่างก็จะพากันมาเปรียบ
506 ท่ีบ้านคุณพระเหมสมาหาร ถ้าจะเปรียบมวยเวลาใด ก็ใช้ฆ้องใหญ่เป็นสัญญาณ พอนายสนามลั่น ฆ้องร้องเรียกว่าใครจะชกมวยให้เข้ามา คนซ่ึงจะชกมวยก็มายืนพร้อมกันตามหมู่มวยเก่า มวยใหม่ มวยใหญ่ มวยน้อย นายสนามจึงจัดคู่ให้สอบซ้อมดูฝีมือพอทัดเทียมกัน ลงบัญชีรายชื่อไว้แล้วส่ังให้ ไปแตง่ ตวั กาหนดเวลาและเอาเสียงฆ้องเป็นสัญญาณ เม่ือเวลาชกกันก็ชกเป็นไม้ เพียงแต่ยืนเทียบ กนั ดรู ูปร่างกรรมการผู้เปรียบมวยจะถามดขู นาดของรา่ งกาย ดูความสูง แลว้ กถ็ ามความสมัครใจของ นกั มวยทง้ั สองฝา่ ย ถ้าคู่ตอ่ สู้บอกเอาท่านก็ให้ลองปะมือกันดูก่อน เห็นว่าพอทัดเทียมกันแต่ละคู่เป็น ที่พอใจก็ให้ลงชื่อตามลาดับ ตามความต้องการของเจ้าภาพ แล้วนักเวลาชกที่ไหน ตาบลใด เวลา เท่าใด เป็นต้น พวกนักมวยทั้งหลายที่มาเปรียบได้คู่ชกแล้ว ก็จะพากันกลับบ้านหาเชือกด้ายดิบ ตลอดจนเครื่องรางของขลังที่ตนนับถอื ตดิ ตวั ไปพร้อมครูผู้แต่งมวย คร้ันได้เวลาชกจริงแล้วประธานใน พิธีหรือนายสนาม เมื่อท้ังสองยินดีชกกันก็นักวันมาชก ไม่มีการชั่งน้าหนัก ไม่มีการเปรียบเป็นรุ่น ตามพกิ ดั นา้ หนกั อยา่ งทกุ วนั น้ี ถงึ แมฝ้ ่ายหนึ่งตัวเล็ก เม่ือพบกับตัวโตกว่าก็ยอมเปรียบด้วย ไม่เกี่ยง น้าหนัก การเปรียบมวยในสมัยก่อนไม่มีเหล่ียมคูเหมือนสมัยน้ี เพราะต่างถือว่าขนาดของร่างกาย อายุ น้าหนัก และส่วนสูง ไม่มีความสาคัญเท่ากบั ฝีไมล้ ายมอื ในชนั้ เชิงมวยไทย เมื่อได้เวลาชก ก็ตีฆ้องเป็นสัญญาณเรียกนักมวยที่ได้คู่ชกพร้อมพ่ีเลี้ยงและครูผู้แต่งมวยพา กันเขา้ มาในสนามนั่งกันอยู่คนละพวกรอบๆสนามด้านในโดยใช้เชือกขึงเอาไว้เป็นเขต ด้านนอกก็เป็น พรรคพวกญาตพิ ่ีนอ้ งของนักมวยและคนดูต่างขนกันมาเชียร์และเล่นต่อรองกันเป็นท่ีสนุกสนาน เมื่อ พรอ้ มแลว้ นายสนามก็จะเรียกคูม่ วยตามลาดับ มกี รรมการห้ามมวยเพียง 1 คนเท่าน้ัน ไม่มีกรรมการ ให้แต้มเหมือนสมัยน้ี ส่วนการตัดสินแพ้ชนะน้ัน เป็นหน้าที่ของประธานกรรมการหรือนายสนามจะ พิจารณาร่วมกนั การตอ่ สู้ในสมยั ก่อนทา่ นใหต้ ่อสูก้ นั 3 รอบของนกั มวยท่ีเปรียบได้ในวันนั้น แม้ฝ่าย หน่ึงฝ่ายใดจะบอบช้ามากน้อยสักเพียงใด หรือเป็นต่อสักเท่าไร ท่านประธานกรรมการก็ตัดสินให้ เสมอกัน กตกิ าไมม่ ีอะไรแน่นอน การชกมวย ในสมัยน้ันไม่มีนวมใช้ เช่นปัจจุบันเขาใช้ด้ายดิบพันไว้ท่ี มือเรียกกันว่า “คาดเชือก” และใช้ผ้าขาวม้าม้วนผูก เป็นนวมป้องกันลูกอัณฑะ ซ่ึงต่อมาได้ทาเป็น เบาะรปู 3 เหลย่ี ม ใช้เชอื กผูกชายมมุ ทงั้ 3 มุม ใชแ้ ทนกระจับ แม้แต่การเปรียบมวยของนักมวยชาวโคราชในสมัยรัชกาลท่ี 6 ภายหลังสงครามโลกคร้ังท่ี 1 พ.ศ.2464 ได้จัดให้มีการแข่งขันมวยไทยอย่างเป็นทางการท่ีสนามมวยสวนกุหลาบ นักมวยคู่แรกท่ี ชกกนั คือ หม่ืนมือแม่นหมัด นักมวยฝีมือดีในสมัยรัชกาลที่ 5 จากโคราช อายุประมาณ 50 ปี ชกกับ นายผ่อง ปราบสบถ อายุประมาณ 22 ปี นักมวยจากโคราชเป็นการชกแก้แค้นแทนบิดา นายผ่อง ซ่ึงเคยชกพ่ายแพ้ หม่ืนมือแม่นหมัด เม่ือครั้งงานพระเมรุกรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ นายผ่องจึงต้ังใจชก เพ่ือล้างแค้นประกอบกับหมื่นมือแม่นหมัดมีอายุมากแล้วการต่อสู้ของมวยคู่น้ีดุเดือดมาก ใช้เวลา เพียง 2 นาที นายผ่อง ปราบสบถ ซึ่งหนุ่มและสูงใหญ่กว่า ชนะได้รับรางวัลหัวเสือและสร้อยเงิน จะเห็นไดว้ า่ การเปรียบมวยไทยสมัยน้ัน ไม่ถือเอาน้าหนักเป็นส่ิงสาคัญ ถ้าสมัครใจกันทั้งสองฝ่ายก็ ชกกนั ได้ดงั ทไ่ี ด้กลา่ วมาแล้ว รางวัลที่ได้รับส่วนมากเป็นส่ิงของ แม้เป็นเงินทองก็ไม่มากนัก รางวัลนักมวยขึ้นอยู่กับฝีมือ ใครชกดกี ็ไดร้ างวลั มากคนละหลายช่ัง คู่ใดที่ชกไม่ดี จะจ่ายเพียง 1 บาท ให้ไปแบ่งกันคนละ 2 สลึง ถ้าคู่ใดชกได้ดุเดือดก็จะได้เงินรางวัลเพ่ิมข้ึน แต่ถ้าหากเป็นการชกหน้าพระท่ีนั่งรางวัลที่ได้รับก็จะ เป็นหัวเสือและสรอ้ ยเงนิ
507 มวยไทยสายลพบรุ ี การศึกษาเร่ืองมวยไทยสายลพบรุ ี สามารถอภปิ รายผลตามประเด็นที่พบจากการศึกษาดังนี้ ผลการวิจัยที่พบว่าประวัติความเป็นมาของมวยลพบุรีนั้น เกดจากสานักวิทยายุทธ์เขาสมอ คอนของสกุ ะทันตะฤๅษี แมว้ ่าการเรียนการสอนในสมยั น้ันจะไม่ได้ระบุว่าเป็นการสอนมวยไทยล้วนๆ แต่ก็มีวิชามวย ซ่ึงถือว่าเป็นศิลปะการต่อสู้แบบไทยอย่างหนึ่ง ซ่ึงมีพัฒนาการจนมาเป็นมวยไทยใน ปัจจุบันและท่ีอาจกล่าวได้ว่าเป็นมวยไทยสายลพบุรีและเกิดขึ้นในช่วงน้ี เพราะแหล่งท่ีตั้งของสานัก ฝึกวทิ ยายุทธ์นอี้ ยใู่ นจงั หวดั ลพบรุ ี ดงั ท่ี วรวทิ ย์ วงษ์สุวรรณ (2545 : 4) กลา่ วว่า สุกะทันตะฤๅษีได้ ก่อต้ังสานักฝึกวิทยายุทธ์ท่ีเทือกเขาสมอคอนเมืองละโว้ ในปีพุทธศักราช 1200 จึงพออนุมานได้ว่า เป็นมวยไทยสายลพบุรีและมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่ามวยท้องถ่ินอ่ืนๆ เน่ืองจากสุกะทันตะฤๅษี ได้มาตั้งสานักฝึกวิทยายุทธ์เขาสมอคอนเมื่อปีพุทธศักราช 1200 ซ่ึงสอดคล้องกับหนังสือสานวน “สิงหนวัติกุมาร” ท่ีได้กล่าวไว้ว่า โดยก่อนปีพุทธศักราช 1200 ได้มีโอรสของพระยาวองติฟอง โพธิญาณ แห่งกรุงวิเทหราช 2 พระองค์ ช่ือวาสุเทพและสุกะทันตะ ได้ชักชวนกันเดินทางมาทาง ทิศใต้ โดยพระโอรสวาสุเทพได้หยุดพักที่ดอยสุเทพ ส่วนพระโอรสสุกะทันตะได้มาต้ังสานักอยู่ท่ี ภูเขาทางทิศตะวันออกของเมืองละโว้ ซ่ึงมีชื่อเรียกว่า เขาสมอคอนและยังสอดคล้องกับหนังสือพง ศวดารเมอื งเงินยางเชยี งแสน ซ่งึ มขี ้อความตอนหนึ่งว่า “ท้าวงาเมือง ประสูติจากครรภ์มารดา เม่ือ ศักราชได้ 600 ปีจอ ทศศก เดือน 4 ถงึ อายไุ ด้ 16 ปี ไปเรียนด้วยสุกะทันตะฤๅษีที่ภูเขาเมืองละโว้ ได้ จบบริบูรณ์มนต์ท้ังปวง สองพระองค์ด้วยกัน พระร่วงครูเดียวกัน งาเมืองอยู่พะเยา พระร่วงอยู่ สุโขทัย” ซึ่งเม่ือนับย้อนหลังไปแล้วปรากฏว่า มวยไทยสายลพบุรีมีอายุจนถึงปัจจุบันนี้ได้ 1,350 ปี ซ่ึงนับเป็นมวยท่ีมีอายุมากกว่ามวยอ่ืนๆ เช่น มวยไทยสายไชยาท่ีมีอายุ 189 ปี ดังท่ี จตุชัย จาปาหอม (2550 : 26 - 30) ได้กล่าวว่า มวยไทยสายไชยา เกิดข้ึนในปีพุทธศักราช 2367 ตรงกับ รัชสมัยของรัชกาลท่ี 3 โดยพ่อท่านมา เจ้าอาวาสวัดทุ่งจับช้าง ซึ่งในอดีตท่านเคยเป็นครูมวยไทย เดินทางมาจากกรุงเทพฯ มาอยู่เมืองไชยาเมื่อ 189 ปีมาแล้ว ซ่ึงนับอายุจนถึงปัจจุบันนี้ มวยไทยสาย ไชยา มีอายุได้ 189 ปี ส่วนมวยโบราณสกลนคร ซ่ึงเป็นมวยอีกท้องถ่ินหนึ่งนั้นเกิดข้ึนในราวปี พุทธศกั ราช 2380 ตรงกบั รชั สมยั ของรัชกาลท่ี 4 ดังที่ ธารินทร์ โล่อุทัย (2540 : 32 - 33) ได้กล่าว ไว้ว่า การแสดงมวยสกลนคร ไดป้ รากฏ เป็นหลกั ฐานเกา่ แก่ทีส่ ุด ในเอกสารพื้นเมืองในตอนท่ีกล่าวถึง อปุ ฮาด (ติ) เจ้าเมืองสกลนครถึงแก่มรณภาพ ในปีพุทธศักราช 2380 มีการสร้างพระเมรุยอดแหลม สวยงามและมีการแสดงหน้าศพหลายชนิด ที่เห็นเด่นชัดคือ การแสดงมวยโบราณสกลนคร ซ่ึงนับ จนถึงปัจจุบันน้ีมีอายุได้ 176 ปี และมวยอีกท้องถ่ินหน่ึงคือ มวยไทยสายโคราช เกิดขึ้นในปี พุทธศักราช 2440 ซ่ึงตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ดังที่ เช้า วาทโยธา (2550 : 18-25) ได้กล่าวไว้ว่า มวยไทยสายโคราช เร่มิ ขนึ้ ในปพี ทุ ธศักราช 2440 โดยเจา้ คุณจันทร์ เจา้ เมืองนครราชสีมา ได้อุปการะ ส่งเสริมนักมวยเป็นอย่างมาก ในจวนของท่านบริเวณบ้านแสนสุขจะมีการฝึกมวยไทยทุกวัน ซ่ึงเมื่อ นับอายุของมวยไทยสายมวยโตราชมาจนถึงปัจจุบันน้ีมีอายุได้ 116 ปี สรุปได้ว่า มวยท้องถ่ินของ อาณาจักรสยามตามที่กล่าวมาน้ัน มวยไทยสายลพบุรีมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่ามวยท้องถ่ิน อื่น คือมีอายุประมาณ 1,350 ปี นับได้ว่า มวยไทยสายลพบุรีเป็นต้นตารับของมวยไทยใน ราชอาณาจักรสยาม และยังเป็นมวยที่เก่าแก่ท่ีสุดในโลก และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้
508 กล่าวถึงสานักเขาสมอคอนแห่งเมืองลพบุรีว่า เป็นสานักสอนศิลปะมวยไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด แสดงใหเ้ ห็นว่า ในสมัยนั้นมีการเรียนวิชาการต่อสู้ป้องกันตัวอย่างเป็นระบบ มีวิธีการฝึกหัดมวยไทย แบบโบราณโดยอาศยั สิง่ แวดลอ้ มตามธรรมชาตแิ ละการดารงชวี ิตทัว่ ไป เพราะในสมัยน้ันไม่มีอุปกรณ์ เครื่องอานวยความสะดวกในการฝึกมวย เหมือนดังเช่นในปัจจุบัน และถือได้ว่าช่วงเวลาน้ีเป็นช่วง เร่ิมต้นของมวยไทยสายลพบุรี โดยแทจ้ รงิ ผ้วู จิ ัยได้เปรียบเทียบความสามารถของมวยไทยสายลพบุรี กับมวยไทยในท้องถนิ่ อน่ื ๆ มวยไทยสายลพบรุ ี จัดไดว้ า่ เป็นมวยท่ีชกฉลาด มีความสามารถในการใช้ หมัดตรงไดอ้ ย่างดีเยี่ยม และสามารถหลบหลกี รุกรบั ไดอ้ ย่างคล่องแคลว่ ว่องไว มวยไทยสายทา่ เสาและพระยาพิชยั 1. ประวตั คิ วามเปน็ มามวยไทยสายพระยาพชิ ัยดาบหัก จากการศกึ ษาประวัติของพระยาพิชัยดาบหักท่ีเกี่ยวข้องกับมวยไทย ท้ังจากเอกสารและ การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่ามวยไทยมีบทบาทที่สาคัญต่อสังคมไทยเสมอมา ซึ่งนอกจาก เป็นศิลปะประจาชาติที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมอันงดงามของไทยแล้ว มวยไทย ยังเป็นส่วนหน่ึงของ ชีวิตประจาวันของคนไทย ดงั ที่เด็กชายจ้อยหรือนายทองดี ฟันขาว คิดมุ่งม่ัน ในการที่จะฝึกมวยไทย เพ่ือเป็นศิลปะป้องกันตัว ฝึกเพื่อการแข่งขันแสดงความสามารถของตนเอง เพื่อเป็นหนทางแห่ง ความก้าวหน้าในหน้าท่ีการงาน และเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองและวงศ์ตระกูลในท่ีสุดก็เป็น ผลสาเร็จไดร้ บั ตาแหนง่ เช่น หลวงพิชัยอาสา ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เลอื่ นเป็นหม่ืนไวยวรนาถ เปน็ พระยาสีหราชเดโช และเป็นพระยาพิชยั ครองเมอื งพิชัยพิชัย มีไพร่พล 9,000 มีอานาจประหารชีวิตผู้มีความผิด และยังได้รับพระราชทานเคร่ืองยศ “พระยาพิชัย” เสมอ ดว้ ยเจ้าพระยาสุรสีห์ การฝึกหัดมวยไทยผู้ฝึกต้องมีสุขภาพแข็งแรง อดทน มีสมรรถภาพสูง มีจิตใจที่เข้มแข็ง ดงั นั้นผูท้ ่จี ะฝึกมวยไทยสายพระยาพชิ ัยต้องออกกาลังกาย เพือ่ เสริมสรา้ งสมรรถภาพทางกายฝึกสมาธิ เพื่อเสรมิ สรา้ งสมรรถภาพทางจติ จะทาให้สามารถฝึกมวยไทยไดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ฝึกมวยไทย สามารถทาร้ายคู่ต่อสู้ให้พิการหรือถึงเสียชีวิตได้ ส่วนวิธีการฝึกอาศัยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติช่วย เช่น การเตะ ต้นกล้วย การชกลกู มะนาวท่ีแขวนไว้ ปีนต้นมะพร้าว ว่ิงตามทุ่งนา การใช้ผ้าขาวม้าพัน หมดั ซ้อมคู่แทนนวม การตักน้า การตาข้าว การผ่าฟนื การวง่ิ ในนา้ และการใช้มือฟันนา้ สถานที่ในการ ฝึกจะใช้ลานวัด การฝึกจะต้องฝึกอย่างละเอียดดังท่ีนายทองดี ฟันขาวฝึก กว่าจะฝึกมวยไทยสาเร็จ ต้องใช้เวลานาน การฝึกมวยไทย ยังสามารถสร้างเสริมคุณธรรม และจริยธรรมด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้ที่ ฝึกมวย นักมวย เช่น ความซื่อสัตย์สุจริตด่ังที่พระยาพิชัยดาบหัก ได้แสดงความจงรักภักดีต่อสมเด็จ พระเจ้าตากสินยอมถวายชีวิตตายตาม เด็กชายบุญเกิดที่เรียนวิชามวยไทยจากพระยาพิชัยดาบหัก ได้เฝา้ ติดตามรับใช้ ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระยาพิชัยดาบหัก กระทั่งยอมตายในสนามรบ เพ่ือ ปกป้องพระยาพิชัยดาบหัก การดาเนินแข่งขันจัดเพ่ือความสนุกสนานเพลิดเพลิน เพื่อการสมโภชใน งานมงคล จัดเพ่ือการคัดเลือกนักมวยฝีมือดีไว้เป็นทนายเลือกหรือทหาร และจัดเพื่อเป็นประเพณี นิยมสืบต่อกันมา กฎกติกาที่ใช้ในการแข่งขันไม่มีอะไรมาก มีการคาดเชือกขณะชกจะสวมมงคล ทศ่ี ีรษะ ไมก่ าหนดยก ไม่มีการใหค้ ะแนนชก จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้ หรือยอมแพ้ ชกบนลานดิน ไม่จากดั รุน่ น้าหนัก
509 ดังน้ันมวยไทยสายพระยาพิชัย ถือกาเนิดเป็นเวลาประมาณ 260 ปีมาแล้ว และได้มีผู้สืบ ทอดมาท้ังสายมวยสายท่าเสาและสายพระยาพิชัย ทั้งนี้ให้ถือว่าเป็นสายมวยเดียวกัน เน่ืองจาก มวยไทยทั้งสองสายล้วนเป็นสายมวยไทยที่มาจากสายครูเมฆ บ้านท่าเสาด้วยกัน ในบางอย่างอาจจะ แตกต่างกันบ้าง แต่ส่วนมากจะเหมือนกัน มวยไทยสายพระยาพิชัยถึงแม้ว่าในปัจจุบันน้ีจะไม่มีใคร รู้จักนักแต่ด้วยท่ีพระยาพิชัยดาบหักท่านเป็นนักรบที่มาจากนักมวยแท้ ๆ ท่ีสามารถช่วยสมเด็จ พระเจา้ ตากสินมหาราชกอบก้เู อกราชให้ชาตไิ ทย พระยาพิชยั ดาบหกั จงึ อยู่ในหัวใจของคนเมืองพิชัย และอุตรดิตถ์ ซึ่งถือว่าเป็นเมืองเดียวกัน จะเห็นได้ว่าประชาชนในจังหวัดอุตรดิตถ์ส่วนมาก เมื่อมี ปัญหาอะไรในชีวิตก็จะไปขอพร และบอกกล่าวกับท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหักแล้วจะสาเร็จและ แก้ปัญหาได้ จากนั้นก็จะมาแก้บนด้วยการจัดชกมวยไทยถวายซึ่งถือว่า เป็นสิ่งท่ีท่านชอบมากท่ีสุด ในช่วงท่ีท่านมชี ีวิตอยู่ ส่วนมวยไทยสายท่าเสาน้ันก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะไม่มีช่ือเสียงโด่งดังทาให้ คนไทยรู้จัก แต่ก็ทาให้วงการมวยไทยในสมัยหลักเมืองท่าช้าง (สมัยรัชกาลท่ี ๗) เปล่ียนแปลง เม่ือ 5 เสือแห่งตระกูลเล้ียงประเสริฐ ซ่ึงถือว่าเป็นมวยท่าเสาอุตรดิตถ์โดยแท้ อันได้แก่ ครูโต๊ะ ครูโพล้ง ครูฤทธิ์ ครูแพ และครูพลอย ได้เดินทางไปชกที่กรุงเทพมหานคร และได้ชกเพียง 2 คน คือครูฤทธ์ิ กับครูแพ ครฤู ทธิ์ชกกับเสล็บ ส่วนครแู พชกกับนายเจียร์ แขกครัวเขมร ครูแพชกนายเจียร์ ตายทาให้ กรรมการหลายฝา่ ยตกลงให้การชกมวยไทย ต้องมีการสวมนวมต้ังแต่นั้นเป็นต้นมา นอกจากน้ีแล้วยัง มผี ทู้ ่ีมคี วามรักและหวงแหนในมวยไทยสายพระยาพิชัยดาบหัก ได้อนุรักษ์สืบสานมาจากลูกศิษย์มวย สายท่าเสาของครเู มฆ โดยมีครฉู ลอง เล้ยี งประเสรฐิ ไดถ้ ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ลูกหาที่เป็นข้าราชการ ครูของจังหวัดอุตรดิตถ์ และยังมี รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร แสงชัย ลูกชายของครูแสงอุตรดิตถ์ ไดบ้ ูรณาการมวยสายท่าเสาและสายพระยาพิชัยมาเปน็ หนงึ่ เดียวเพ่ือเป็นการอนุรักษ์สบื ไป 2. เอกลักษณ์ ของมวยไทยสายพระยาพิชยั ดาบหกั มวยไทยสายพระยาพิชยั มีเอกลกั ษณ์ท่ีแตกต่างไปจากมวยไทยสายอืน่ ๆ หลายประการ เชน่ การยืนมวยหรือจดมวยยืนนา้ หนกั อยเู่ ทา้ หลัง สามารถออกอาวธุ ไดร้ วดเรว็ การยกครูหรือขึ้นครู จะกระทาได้กต็ ่อเมอื่ ครไู ด้ทาการทดสอบแลว้ เทา่ นน้ั การร่ายราไหว้ครูท่าน่ังต้องส่องเมฆก่อนยืนเพื่อ ระลกึ ถึงครเู มฆแหง่ บ้านท่าเสา มงคลเป็นดา้ ยสีแดงและประเจียดสีแดงมีขา้ งเดียว พิธีกรรมการไหว้ครู ทาในวันพฤหัสบดีขึ้นสูงสุดของเดือน 3 หรือเดือน 4 (ปีอธิกมาส) ไม้มวยมีทั้งอ่อนแข็งอยู่ในคราว เดียวกัน เน้นการใช้อาวุธยาวคือเตะด้วยความรวดเร็วจึงมีคากล่าวขานไว้ว่า “หมัดหนักโคราช ฉลาดลพบรุ ี ทา่ ดีไชยา ไวกวา่ ท่าเสา” ปรากฏในวงการมวยของไทยมาจนถึงปจั จบุ นั จะเหน็ ไดว้ ่าการทมี่ วยสายทา่ เสาหรือสายพระยาพชิ ยั สามารถใช้อาวุธไดไ้ วกว่ามวยสาย อื่น ๆ เน่ืองจากพระยาพิชัยดาบหักท่านได้บูรณาการมวยสานักต่าง ๆ ท่ีเรียนมารวมทั้งมวยง้ิวเข้า ด้วยกัน จึงทาให้มวยไทยสายท่าเสาหรือสายพระยาพิชัยแตกต่างออกไป ส่วนการราร่ายไหว้ครูน้ัน ท่าราท่ีขาดไม่ได้คือท่าส่องเมฆเพื่อระลึกถึงครูเมฆแห่งบ้านท่าเสา ส่วนมวยสายอื่นน้ันจะไม่มีท่าน้ี ส่วนท่าพรหมสี่หน้านั้นทุกสายจะมีเหมือนกันหมด การไหว้ครูประจาปีของมวยไทยสายพระยาพิชัย ดาบหัก เป็นวันพฤหัสบดีขึ้นสูงสุดของเดือน 3 หรือเดือน 4 ปีอธิกมาสส่วนสายมวยอ่ืนนั้นเป็นวัน พฤหัสบดีเชน่ เดยี วกันไม่ได้กาหนดวา่ เดอื นอะไรอยทู่ ่คี รกู าหนด ซงึ่ ถือว่าเปน็ เอกลกั ษณ์ทไ่ี มเ่ หมือนใคร
510 3. กระบวนทา่ ของมวยไทยสายพระยาพิชัยดาบหัก รูปแบบไม้มวยไทยสายพระยาพิชัยกับไม้มวยไทยในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าแม่ไม้มวยไทย แบ่งเป็น 15 ไม้ และลูกไม้อีก 15 ไม้ น้ัน รูปแบบการใช้คล้ายกับไม้มวยไทยของพระยาพิชัย เช่น การใช้หมดั หนึง่ สอง การชกเขา้ เบ้าตา (ดับชวาลา) การสับศอกซ้ายขวาลงบนศีรษะ และการเตะตัด กลาง (เตะลาตัว) การเตะสูงถึงก้านคอหรือทัดดอกไม้ (เตะตัดบน) เป็นต้น ซึ่งไม้มวยเหล่าน้ีมวยไทย สายพระยาพิชัย เรียกว่า “พันลา” จุดเด่นของสายมวยพระยาพิชัย คือ เตะได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ พระยาพิชัย ได้นามวยท่าเสาครูเมฆ และมวยครูเที่ยงบ้านแก่งมา ผสมผสานกับมวยงิ้ว จึงทาให้ สามารถกระโดดข้ามศรี ษะผอู้ น่ื ได้ จะเหน็ ได้ว่ารูปแบบการตอ่ สแู้ ละการใช้แมไ่ มม้ วยไทย พบว่า พระยาพิชัย ตอนที่เป็นนาย ทองดีฟันขาว ใช้วิธีการต่อยด้วยหมัดตรงนาและหมัดตาม ต่อยเฉียดเป้าหมาย ฟันศอก ขึ้นเข่า เตะ เลยี้ งซ้ายขวา เตะสงู และตัดกลาง กระโดดข้ามศีรษะเอาเท้าถีบท้ายทอย กระโดดลงข้างหลังแล้วกลับ หลังหันเตะก้านคอคู่ต่อสู้ ถอยปัดหมัดปัดเท้า จับขาคู่ต่อสู้กระชากเข้ามาหาตัวแล้วกระทุ่งด้วยเข่าท่ี หน้าทอ้ งคู่ต่อสู้ การทมุ่ ทับ จับ หกั และการกระโดดเหยียบชายพกชกหมัดเข้าเบ้าตา แล้วฟันศอกที่ ศีรษะ ในขณะทที่ า่ นตอ่ สู้กับโปสพุ ลาแม่ทัพพมา่ จนดาบท่านหักไปข้างหน่ึง ท่านยังสามารถต่อสู้ไปได้ อีก แสดงให้เห็นว่าท่านมีเชิงมวยที่ดีมาก จึงสามารถใช้ดาบข้างเดียวสู้ต่อไปได้อีก แม่ไม้มวยไทยสาย พระยาพชิ ัย ในบางส่วนจะคล้ายคลึงกับแม่ไม้และลูกไม้มวยไทยโบราณท่ีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ไดอ้ นุรักษ์ไว้ ดงั ที่กลา่ วไวข้ ้างตน้ 4. ระเบียบประเพณีของมวยไทยสายพระยาพชิ ัย การไหว้ครูมวยไทยสายพระยาพิชัยดาบหักมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์คือท่าส่องเมฆเพื่อ ระลึกถึงครูเมฆสานักมวยท่าเสาและท่าเสือลากหางเพ่ือระลึกถึงครูดาบเสือครูเหลือเมืองสวรรคโลก จะจดั ขน้ึ ทกุ วันพฤหัสบดี ข้างข้นึ สงู สดุ ของเดอื น 3 ทกุ ปี หรือเดอื น 4 ถ้าปนี น้ั เปน็ ปีอธกิ มาส การข้ึนครูหรือยกครูเป็นพิธีที่ครูยอมรับลูกศิษย์และลูกศิษย์ยอมรับครูว่าเป็นผู้ประสิทธิ์ ประสาทวิชามวยไทยหรือดาบให้ และยินยอมปฏิบัติตามคาสอนของครูทุกประการเป็นการ “ข้ึน” สาหรบั มวยไทยสายทา่ เสาและสายพระยาพชิ ยั ครมู วยจะไมส่ วมมงคลใหแ้ ก่ลูกศิษย์ เมื่อมายกครูหรือ ข้ึนครู แต่จะสวมให้ในพิธีครอบครูเท่าน้ัน เพราะการสวมมงคลตามจะแสดงว่ามีศักด์ิและสิทธิ์เป็นครู มวยแล้ว จะได้เรยี นร้ศู ลิ ปะมวยไทยจนครูพอใจแลว้ เทา่ นัน้ การครอบครตู ามประเพณีเดิมของมวยสายครูเมฆบ้านท่าเสา และพระยาพิชัย การครอบ ครูหมายถึง การที่ลูกศิษย์ได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะมวยไทยจนหมดส้ินแล้ว มีความสามารถ ที่จะสืบ ทอดศิลปะมวยไทยตามตารับของครูมวยสายน้ัน มีความสามารถท่ีจะประยุกต์มวยให้เข้ากับ สถานการณ์ต่าง ๆ และแก้ไขปรับปรุงลูกไม้และเกร็ดไม้ต่าง ๆ ได้จนเป็นที่พอใจของครู ได้รับการ ถา่ ยทอดเคลด็ ลับไมต้ า่ ง ๆ แลว้ พอจะเปน็ ครมู วยตอ่ ไปได้ ทง้ั ยังสามารถข้นึ เวทีมวยโดยไม่ทาให้สานัก มวยต้องขายหน้า แล้วครูมวยจึงจะทาพิธีครอบครูสวมมงคลท่ีถูกต้องตามประเพณีของสานักมวยให้ ซง่ึ สว่ นใหญ่จะทาให้วันพฤหัสบดีก่อนเวลาเพลท่ีบ้านครูมวยหรือในวัด เป็นที่น่าสังเกตว่ามงคลท่ีสวม ให้นั้นอาจจะเป็นมงคลประจาตัวเพราะมงคลนี้จะมีดวงพิชัยสงครามของผู้น้ันอยู่บนแผ่นยันต์ สีแดง
511 ซ่งึ พนั อยูร่ อบมงคล มงคลน้ีจะมสี ขี าวแดงถกั ด้วยด้ายสีแดง 4 เสน้ แต่ละเส้นประกอบไปด้วยด้ายดิบ หลายสบิ เส้น ถกั พอดกี ับขนาดของศรี ษะ แลว้ บรรจบเปน็ เสน้ เดียวพอดี จะเห็นว่าระเบียบประเพณีของมวยไทยสายพระยาพิชัย จะมีส่วนคล้ายกับมวยไทยสาย โคราช สายไทยสายไชยา และมวยไทยสายลพบุรี อยู่บ้างไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งในส่วนท่ีคล้ายกัน คือ พิธีกรรมประจาของสายมวยอันได้แก่ การยกครูหรือขึ้นครู การร่ายราไหว้ครู การไหว้ครูประจาปี และการครอบครู สิง่ เหลา่ น้ีจะมีเหมือนกันเพียงแต่พิธีการและขั้นตอนอาจจะแตกต่างกันออกไปอย่าง เห็นได้ชัดเจน เช่น การทาพิธีไหว้ครูและการร่ายราไหว้ครูสายพระยาพิชัยดาบหักหรือสายท่าเสาจะ กาหนดใหห้ นั หนา้ ไปทางทิศตะวนั ออกกอ่ นเสมอ สว่ นสายอื่นจะไม่กาหนดไว้ มวยไทยสายพลศกึ ษา การศึกษาเร่ืองมวยไทยสายพลศึกษา สามารถอภปิ รายผลตามประเด็นทีพ่ บจากการศึกษา ดงั นี้ 1. ประวัติความเป็นมาของมวยไทยสายพลศึกษา พบว่า มวยไทยสายพลศึกษาได้ก่อกาเนิด มาพร้อมกับ การจัดต้ังสามัคยาจารย์สมาคม เพ่ือจัดเป็นสถานที่การออกกาลังกายสาหรับประชาชน ทั่วไปและเพ่ือนาเอาความรู้ไปเป็นครูสอนเร่ืองเกี่ยวกับพลศึกษาด้วย ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นห้องพล ศึกษากลาง ซึ่งอยู่ภายใต้การกากับของกรมศึกษาธิการ และได้ก่อต้ังโรงเรียนพลศึกษากลาง ได้มีการ เปล่ียนแปลงหลักสูตรใหม่ การเรยี นการสอนก็ยังคงมีการเรียนมวยไทยเหมอื นเดิม โดยเร่ิมต้ังแต่ตอน บ่ายและช่วงเย็น โดยมีมวยไทยเป็นหมวดวิชาไม่บังคับ หลังจากนาวาเอกหลวงศุภชลาศัย ได้ดารง ตาแหน่งอธบิ ดกี รมพลศกึ ษา ได้ของบประมาณสรา้ งสนามกฬี าแห่งชาตขิ ้ึนใหม่ ที่บริเวณตาบลวังใหม่ อาเภอปทุมวัน กรุงเทพมหานครฯ และเรียกว่าสนามกีฬาแห่งชาติ ในขณะเดียวกันกรมพลศึกษามี การจัดการเรียนการสอนเตม็ เวลา 5 ปีเต็ม โดยเปน็ นักเรยี นทนุ และคดั มาจากจังหวัดต่าง ๆ หลักสูตร การเรยี นการสอนในกิจกรรมท่ีมีมวยไทยดว้ ย ต่อมาหลักสูตรทางด้านพลศึกษา มีการเปิดระดับปริญญาตรีในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ.2513 วิทยาลัยพลศึกษายกฐานะเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา และต่อมาปี พ.ศ.2517 ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพลศึกษา และกรมพลศึกษาได้เปิดวิทยาลัยพลศึกษา ทั้งกรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาค รวมทั้งส้ิน 17 แห่ง ในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นสถาบันการพลศึกษา ท้ังหมด นอกจากน้ัน สถาบนั ทีเ่ ปิดการเรยี นการสอนพลศึกษามกี ารเปิดการเรียนมวยไทยขึ้น ในสถาน บันอดุ มศกึ ษาตา่ ง ๆ ดว้ ย มวยไทยสายพลศึกษามีการสืบทอดอย่างต่อเนื่องหลังจากมีการพัฒนา และปรับเปลี่ยน สถาบนั ท่ีทาหน้าที่ผลิตครูพลศึกษาการสืบทอดเดิมจากครูผู้สอนมวยไทย ก็ต่างครูก็สอนตามลักษณะ การสอนของตน ปรมาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชามวยพลศึกษาที่มีชื่อเสียงในทางสายพลศึกษานั้นคือ อาจารย์สุนทร ทวีสิทธิ์ หรือ อาจารย์กิมเส็ง ทวีสิทธ์ิ อีกคนหน่ึงคือ อาจารย์แสวง ศิริไปล์ ปรมาจารย์มวยไทยสายพลศึกษา นอกจากนี้ ยังมีอาจารย์ที่สอนในสายพลศึกษาซึ่งเกี่ยวกับมวยไทย อีกมากมาย ซึ่งทาหนา้ ทีส่ บื ทอดมวยพลศกึ ษาตอ่ ๆ กันมารุ่นสรู่ ่นุ 2. เอกลักษณข์ องมวยไทยสายพลศึกษา พบว่า ประกอบไปด้วย 1) ด้านการแต่งกายมวยไทย สายพลศึกษาจะสวมกางเกงขาสั้น (กางเกงส่วนมากจะเป็นสีเข้มย้อมตามธรรมชาติ) มีผ้าคาดเอว
512 (ส่วนมากจะเป็นสีแดง) สวมมงคลท่ีศีรษะ ผูกผ้าประเจียดที่ต้นแขนท้ัง 2 ข้าง เวลาข้ึนชกจะถอด มงคลออก ส่วนการคาดเชอื กมวยไทยสายพลศึกษา จะคาดเชือกที่มือไปถึงกลางท่อนแขน 2) ท่าย่าง สขุ เกษม หรือ ขุนพลกรายทวนแปดทิศ เป็นท่าของการก้าวย่างท่ีเป็นเอกลักษณ์ของมวยไทยสายพล ศึกษา โดยผู้ที่เป็นต้นตารับของท่าย่างสุขเกษม คือ ปรมาจารย์สุนทร ทวีสิทธิ์ ปรมาจารย์มวยไทย สายพลศึกษา ท่าย่างสุขเกษม เป็น การก้าวย่างหรือการเคลื่อนที่โดยการก้าวเท้าออกไปข้างนอก พร้อมกับการโยกตวั ใชม้ ือปัดลงมาขา้ งลา่ ง ในขณะท่อี กี มือหน่ึงยกขนึ้ ระดับใบหน้าเพ่ือเป็นการป้องกัน อาวุธ ส่วนมือที่ปัดลงมาใช้กรณีเม่ือคู่ต่อสู้ถีบมาหาเรา ก็ใช้มือปัดป้องกันส่วนมือท่ีอยู่ข้างบนก็ใช้ ป้องกนั อาวธุ ได้ ท้ังนใี้ นการกระทานัน้ จะต้องบิดสะโพกตามไปด้วยพร้อมกับปัดมือล่างให้ผ่านลาตัว ส่วนเท้าเคลื่อนท่ีก้าวไปพร้อมกับการปัดมือผ่านลาตัว 3) เอกลักษณ์ด้านการเรียนการสอน ซ่ึงแยก ออกเป็น 2 ด้าน คือ การทาพิธีกรรมก่อนการเรียน มวยไทยสายพลศึกษา ถือว่าการให้ผู้เรียนทา พิธีกรรมก่อนการเรียนการสอนเป็นเอกลักษณ์สาคัญอีกประการหน่ึง และเป็นพิธีกรรมที่เน้นการ เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ช่วยส่งเสริมให้เกิดความรักสามัคคีในหมู่คณะ รวมถึงการเคารพครูบาอาจารย์ ผู้ประสิทธ์ิประสาทวิชาความรู้ให้ โดยมีความเช่ือว่าหากได้กระทา พิธีดังกล่าวแล้ว จะทาให้การถ่ายทอดสรรพวิชาต่าง ๆ เป็นไปได้โดยง่าย และทาให้ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้และจดจาได้ดีข้ึน ซ่ึงพิธีกรรมดังกล่าวประกอบด้วย การร้องเพลงชาติ การสวดมนต์ไหว้พระ การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และการยกครูหรือการข้ึนครู และเอกลักษณ์ในการสืบทอดเน้น การสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ข้ันเตรียมอบอุ่นร่างกาย ขั้นอธิบายสาธิต ข้ึนฝึกหัด ข้ันนาไปใช้ และ ขั้นสรุป 3. กระบวนท่าของมวยไทยสายพลศึกษา พบว่า ประกอบด้วย 1) กลวิธีการใช้ทักษะด้าน ต่าง ๆ ท่ีเรียกว่าการใช้นวอาวุธประกอบด้วยทักษะกลวิธีการใช้หมัด เท้า เข่า และศอก 2) แม่ไม้ มวยไทย เป็นท่าของการใช้ศิลปะมวยไทยท่ีสาคัญท่ีสุดอันเป็นพื้นฐานของการ ใช้ไม้มวยไทยซึ่งผู้ฝึก มวยไทยจะต้องเรียนรู้และปฏิบัติให้ได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้จัดแบ่งแม่ไม้มวยไทยเป็น 15 ไม้ ดังนี้ สลบั ฟันปลา ปักษาแหวกรัง ชวาซัดหอก อิเหนาแทงกริช ยอเขาพระสุเมรุ ตาเถรค้าฟัก มอญยันหลัก ปักลูกทอย จระเข้ฟาดหาง หักงวงไอยรา นาคาบิดหาง วิรุฬหกกลับ ดับชวาลา ขุนยักษ์จับลิง และ หักคอเอราวัณ 3) ลูกไม้มวยไทย คือ ท่าของการใช้ศิลปะมวยไทยท่ีแตกย่อยออกไปจากแม่ไม้ มี ลักษณะละเอียดอ่อนมากมายหลายอย่าง ซึ่งผู้ฝึกจะต้องผ่านการฝึกหัดแม่ไม้ก่อนจึงจะฝึกลูกไม้ได้ดี อาจารย์สมัยโบราณและผู้ทรงคุณวุฒิได้แบ่งลูกไม้มวยไทย ออกเป็น 15 ไม้ดังนี้ เอราวัณเสยงา บาทาลูบพกั ตร์ ขนุ ยกั ษ์พานาง พระรามนา้ วศร ไกรสรข้ามห้วย กวางเหลียวหลัง หิรัญม้วนแผ่นดิน นาคมุดบาดาล หนุมานถวายแหวน ญวนทอดแห ทะแยค้าเสา หงส์ปีกหัก สักพวงมาลัย เถรกวาด ลาน และฝานลูกบวบ 4. ระเบียบประเพณีของมวยไทยสายพลศึกษา พบว่า ประกอบไปด้วย 1) พิธีการขึ้นครู หรือ การยกครู พิธี “ข้ึนครู” การขึ้นครูมักจะเลือกวันพฤหัสบดีอันถือว่าเป็นวันครูตามปกติโบราณ การข้ึนครูน้ัน ลูกศิษย์ต้องจัดหาดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวม้าและขันน้ามาทาพิธี ส่วนเงิน แล้วแต่ครูแต่ละท่านจะระบุว่าเป็น 6 สลึง 6 บาท จะมากหรือน้อยกว่าน้ันบางท่านก็ว่าไม่จาเป็น การทาพธิ จี ะทาต่อหน้าพระพทุ ธและรบั สตั ย์ตามท่คี รกู าหนด การขึ้นครูหรือการยกครู ในสมัยโบราณบุคคลที่จะยอมรับไว้เป็นศิษย์จึงต้องผ่านการ คัดเลือกประกอบด้วยคุณลักษณะพร้อมทั้งมีคุณสมบัติพอท่ีจะรับการถ่ายทอดวิชา ดังนั้นจึงจัดให้มี พิธีมอบตัวเป็นศิษย์โดยการนาเคร่ืองสักการบูชาครูเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์และปฏิญาณตนขออ่อนน้อม
513 ยอมเป็นสานุศิษย์ด้วย กาย วาจา ใจ ปฏิญาณตนว่าจะปฏิบัติตามคาสั่งสอน ทุกประการและจะ เคารพนบน้อมครูบาอาจารย์ท้ังปวงด้วยความกตัญญูกตเวทีเสมอ ต่อจากนั้นครูก็จะให้โอวาท แนะนาวิธกี ารปฏิบตั ิตน การเคารพเช่ือฟังการประพฤติตนอยู่ในระเบียบ การเรียนการสอนในส่วนท่ี เกี่ยวกับการเรยี นการสอนวิชามวยไทย พิธีการ “การข้ึนครู” หรือ “ยกครู” ของนักศึกษาที่เรียนมวยไทยการขึ้นครูนั้นผู้เรียน จะต้องจัดหาดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาว หรือผ้าขาวม้าและขันน้ามาทาพิธี พร้อมด้วยเงิน 6 บาท โดยจัดรวมกัน ครูผู้สอนจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและกล่าวคาปฏิญาณพร้อมกัน เสร็จแล้วครูให้โอวาทเพื่อเป็นการปฐมนิเทศให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตน วันท่ีจะทาพิธียกครู กระทาโดยการนัดหมายของครู เลอื กเอาวันพฤหสั บดีที่ตามคตโิ บราณถอื ว่าเป็นวนั ครู “การขน้ึ ครู” หรือการ “ยกครู” น้นั ถอื ว่ามปี ระโยชน์ต่อการเรียนวิชามวยไทยมากระหว่าง ครูกับศิษย์เพราะการขึ้นครูเป็นพิธีการอย่างหน่ึงที่มีการตกลง ยอมรับ การเป็นครูกับศิษย์อย่าง สมบูรณ์ครูจะยอมรับว่าเป็นศิษย์ของตนอย่างเต็มใจเช่นเดียวกับศิษย์ยอมรับครูด้วยความเต็มใจ เช่นเดียวกัน ในสมัยก่อนอาจจะเป็นกลอุบายก็ได้เปรียบเสมือนการข้ึนทะเบียนและปฐมนิเทศ เป็น การช้ีแจงระเบียบการฝึกหัด ข้อตกลงบางประการในการฝึกหัดเพื่อจะทาให้การเรียนการสอนบรรลุ จุดมุ่งหมาย และอีกประการหนึ่งการขึ้นครูยังทาให้ศิษย์เกิดความเชื่อมั่น มีศรัทธาในการเรียน การสอน ตลอดจนถึงการแข่งขัน เพราะได้ผ่านพิธีขึ้นครูมาแล้วอย่างถูกต้องตามประเพณีได้ชื่อว่า ศษิ ยม์ ีครู ไมไ่ ด้ไปลักลอบฝกึ หัดศลิ ปะมวยไทยมาจากครูมวย ซ่ึงจะทาให้ลูกศิษย์เกิดกาลังใจในขณะ ฝึกซ้อมและขณะแข่งขัน เม่ือได้เห็นครูมวยของตนเองมาช่วยเหลือ หรือเม่ือระลึกถึงบุญคุณของครู มวยแล้วเชื่อว่าจะทาให้สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ พิธีการนี้ควรจะทาให้มีความหมายโดยสอดคล้อง กับสงั คมในปจั จบุ นั โดยแสดงถงึ การยอมรบั การรวมกันในส่วนใดที่ไร้สาระไม่มีความหมายปรับให้เข้า กับสังคมในปัจจบุ นั ถงึ เปน็ กจิ กรรมควรสง่ เสรมิ พิธีการข้ึนครูทาโดยให้นักมวยนาดอกไม้ ธูปเทียน และเงินค่าข้ึนครูมาให้ครูมวยครูมวย บางคนก็นิยมเอาข้าวของแทนเงิน เช่น ผ้าแพร ผ้าขาวม้า เป็นต้น ครูมวยจะพานักมวยไปที่วัดให้ นกั มวยจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกล่าวคาปฏิญาณว่าจะเคารพนับถือ เช่ือฟังปฏิบัติตามคา สอนของครมู วย จะประพฤติตนเป็นคนดีท้ังกาย วาจาและจิตใจ จะมานะฝึกศิลปะมวยไทยให้สาเร็จ และจะนาศิลปะมวยไทย ไปใช้ในทางที่ถูกท่ีควร ต่อจากน้ันครูมวยจะให้โอวาทแนะนาการปฏิบัติตน ในการฝกึ หดั มวยไทย กาหนดกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนและตารางการฝึกจนนักมวยเข้าใจดีแล้ว ครู มวยจะให้นักมวยฟงั เทศนเ์ พ่อื อบรมจิตใจ การข้นึ ครูดังกล่าวอาจจะทาคนเดียวหรือทาพร้อมกันหลาย คนก็ได้ เมอื่ นกั มวยขึ้นครูหรือยกครแู ลว้ ครูมวยจะเร่ิมสอนท่าไหวค้ รใู ห้ หลงั จากที่ศิษย์กล่าวคาสัตย์ ปฏิญาณตนแล้ว ครูจะให้โอวาทลูกศิษย์เหมือนกับการปฐมนิเทศนักศึกษา คือให้แนวทางในการ ปฏบิ ตั ติ น การเรยี นการฝกึ ฝน ท้งั ขอ้ ตกลงต่าง ๆ ท่ีจะมีตอ่ หน้าพอ่ แม่ผปู้ กครองเหมือนเป็นสักขีพยาน ในการรับศิษย์เขา้ มาศกึ ษาหาความรูแ้ ละครูก็จะต้องปฏิบัติต่อศิษย์ ด้วยดีเหมือนเป็นบิดามารดาของ ศษิ ย์เช่นกนั 2) พิธกี ารไหว้ครู พธิ ีไหวค้ รูมวยไทยเป็นทัง้ ศาสตรแ์ ละศลิ ปะที่ผ่านการค้นคว้ากลั่นกรอง มาเปน็ ระยะเวลาอันยาวนานนบั แตโ่ บราณ ตั้งแตช่ าตไิ ทยเริม่ ก่อสร้างตัวนอกจากนี้แล้ว “การรามวย” ยังเป็นวิธีหน่ึงซ่ึงแสดงถึงการคารวะครูอาจารย์ผู้ที่มีพระคุณ แสดงถึงวัฒนธรรมและจรรยามารยาท ของนักมวย ลีลาท่าทางของแต่ละครูอาจจะไม่เหมือนกันเหตุท่ีการ รามวยต่างกันไปแต่ละครู แต่ละ
514 ท้องถิ่นจะยึดเป็นแบบเดียวกันไม่ได้ แต่การรามวยนั้นเป็นอุบายเตือนใจให้ยึดมั่นอยู่ในความสามัคคี รักหมู่คณะ เช่น หากฝ่ายหน่ึง ร่ายราแบบเดียวกันย่อมแสดงว่าสืบสายมาจากครูคนเดียวกัน ขณะเดยี วกันความมัน่ คงแนน่ แฟ้นของการรักหมูค่ ณะยอ่ มโนม้ นาไปสู่ความราลึกการนับถือผู้ประสิทธิ์ ประสาทวิชาให้ นอกจากน้ีการไหว้ครูและร่ายรามวยไทยยังเป็นอุบายเตือนใจให้ยึดมั่นอยู่ในความสามัคคี รักหมู่คณะหากฝ่ายหน่ึงไหว้ครูและร่ายรามวยไทยแบบเดียวกันก็ย่อมแสดงว่าสืบสายมาจากครู เดยี วกัน ไมม่ คี วามจาเป็นที่จะต้องตอ่ สพู้ ิฆาตกนั เอง ขณะเดยี วกันความม่ันคงแน่นแฟ้น ของการรัก หมู่คณะยอ่ มโน้มนา ไปส่คู วามจงรักภกั ดีตอ่ สถาบันพระมหากษตั ริย์เพราะเหตุน้ีนกั มวยจึงต้องผินหน้า ไปทางทิศอันเป็นที่ประทับของพ่อเมืองหรือพระมหากษัตริย์ เพ่ือน้อมราลึกถึง พระบารมี ตลอดจน คุณของบิดามารดาครูบาอาจารย์ ซ่ึงสามารถแยกเป็นประเด็นได้ดังนี้ 2.1) การไหว้ครูก่อนการ แข่งขัน การเขา้ สูส่ ังเวียนมวย นกั มวยสมัยก่อนเช่ือถือเวทย์มนต์คาถา เคร่ืองรางของขลังมาก ปลุก เสกลา้ งอานาจเคลือบคลมุ นั้น ในปัจจบุ ันความเชอื่ ในเรอ่ื งเวทย์มนต์คาถาอาคมดังกล่าวยังคงมีอยู่แต่ ไม่เข้มข้นเท่าสมัยก่อน เน่ืองจากวิทยาการแขนงต่าง ๆ เจริญก้าวหน้า การฝึกซ้อมมวยได้ใช้ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ การกีฬาเข้ามาช่วยเสริมสร้างศักยภาพของนักมวย การไหว้ครูหรือพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติก่อนการแข่งขันมักจะถือคติท่ีมีมาแต่โบราณว่าสถานท่ีใด ๆ ก็ตามมักจะมีเจ้าท่ีเจ้าทาง ส่ิง ศักดิ์สิทธ์ิทั้งหลายท่ีอยู่ตรงท่ีนั้นมาแต่เดิมหรืออัญเชิญเพื่อมาปกปักรักษาสถานที่แห่งน้ัน เมื่อเร่ิม ก่อสร้าง หากเราจะกระทาการใด ๆ หรือข้ึนชกมวยบนเวทีใดก็ตาม ควรจะขออนุญาตขอขมาลา โทษเสียก่อน หากว่าต่อไปข้างหน้าอาจกระทาส่ิงใดไม่เหมาะสมไม่ควรด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาลจะได้ ไม่เกิดเหตุร้ายข้ึน และพร้อมกันน้ันก็จะขอให้ส่ิงศักด์ิสิทธิ์ท่ีคุ้มครองบริเวณน้ันได้ช่วยปกป้องรักษา ตนเองให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายต่าง ๆ ท่ีอาจเกิดจากการกระทาของฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งขอพร ใหไ้ ดร้ บั ชัยชนะในการแข่งขนั 2.2) พิธไี หว้ครูประจาปี การจัดพิธีไหว้ครูนั้น ถือว่าเป็นประเพณีอันดี งามมาแต่โบราณกาลจาเป็นที่จะต้องส่งเสริมนักศึกษาของสถาบัน และจะต้องรักษาประเพณีอันดี งามนี้ไว้ให้คงอยู่ตลอดไปในฐานะที่เป็นครูสอนวิชามวยไทย เป็นสถาบันทางสังคมสถาบันหน่ึงท่ีเป็น เบ้าหลอมท่ีดีของนักศึกษา ตลอดจนเพ่ือความสามัคคีระหว่างครูผู้สอนกับศิษย์ จนทาให้ศิษย์เกิด ความเชอ่ื ความศรทั ธาในตัวครูผูส้ อน ผ้เู รียนเกิดความภาคภมู ใิ จในการจดั พธิ ีไหว้ครู เพราะถือว่าเป็น พิธีสาคัญและครูสอนจะต้องเป็นผู้ดาเนินการเป็นผู้กล่าวนาต่าง ๆ ได้ถือว่าเป็นส่วนสาคัญอย่างหน่ึง โดยจะจัดเฉพาะพิธีไหว้ครูศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว วันประกอบพิธีไหว้ครูจะถือเอาวันพฤหัสบดีเป็น หลักเพราะเชื่อว่าเป็นวันครู โดยครูให้โอวาทเพ่ือเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน เพื่อท่ีจะเรียนรู้หลัก วทิ ยาการตา่ ง ๆ ใหเ้ ขา้ ใจแจม่ แจ้งและมีความเช่ียวชาญ ทั้งมีคุณธรรมจริยธรรมอันจะทาให้พลเมือง ท่ีดีของประเทศชาติต่อไป 2.3) เคร่ืองดนตรีประกอบมวยไทย องค์ประกอบที่สาคัญและเป็นสาคัญ สร้างบรรยากาศใหแ้ ก่การไหวค้ รูและร่ายรามวยไทย รวมทง้ั การแขง่ ขนั ชกมวยน้ันคือวงดนตรีป่ีกลอง ซึ่งมีจังหวะและท่วงทานองช้า และเร็วตามช่วงเวลาของการแข่งขันเม่ือเริ่มไหว้ครูท่วงทานองก็จะช้า เนิบนาบช่วยให้ลีลาในการร่ายราไหว้ครูดูอ่อนช้อย งดงามเป็นจังหวะน่าชม และเม่ือเร่ิมการแข่งขัน เสียงดนตรีก็เริ่มมีจังหวะเร็วข้ึนบอกให้ผู้ได้ยินได้ชมรู้ว่าขณะนั้นนักมวยกาลังใช้ช้ันเชิงต่อสู้กันอยู่ใน สังเวียน และเมื่อถึงยกสุดท้ายจังหวะดนตรียิ่งเร่งเร้าขึ้นเร้าใจให้นักมวยได้เร่งพิชิตคู่ต่อสู้และเร้าใจ
515 ผู้ชมมวยรอบสนามให้ต่ืนเต้นกับผลการแข่งขันท่ีจะเกิดขึ้นในไม่ช้า จังหวะดนตรีจึงเป็นส่วนสร้าง ความรูส้ กึ ของนกั ชกและผ้ชู มรอบสนามให้สนุกสนานตื่นเต้นกับการแขง่ ขนั ไดอ้ ย่างนา่ อัศจรรย์ เคร่ืองดนตรีท่ีนามาบรรเลงประกอบการแข่งขันชกมวยไทย มีชื่อเรียกว่า “วงปี่กลอง” มี นักดนตรีร่วมบรรเลงดนตรีโดยทั่วไปจานวน 4 คน เคร่ืองดนตรีประกอบด้วยป่ีชวา 1 เลา กลองแขก 2 ใบ และฉงิ่ 1 คู่ ขอ้ เสนอแนะ การวจิ ยั เรื่อง การจัดการความรู้มวยไทยสายไชยา ผวู้ จิ ัยมขี อ้ เสนอแนะดงั น้ี ผลจากการศึกษาวิจัยครง้ั น้ี ทาให้ผู้วิจัยสามารถพบขอ้ เสนอแนะเปน็ ประเดน็ ไดแ้ ก่ 1. ขอ้ เสนอแนะในการพัฒนามวยไทยสายไชยา 1.1. ควรมีการจัดต้ังคณะกรรมการรวบรวมองค์ความรู้ของมวยไทยสายไชยาใหม่ เพื่อให้กลุ่มนักมวย หรือครูมวยรุ่นหลังได้ศึกษาเคล็ดลับวิชามวยไทยสายไชยา ท่ีถูกต้องเป็นไปใน แนวทางเดยี วกัน เพอ่ื ปอ้ งกนั การถา่ ยทอดองคค์ วามรมู้ วยไทยสายไชยา ที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาของ ครูมวยใหถ้ กู ต้อง 1.2. ควรจะมีการจัดพิมพ์วิชามวยไทยสายไชยาออกมาเผยแพร่เฉพาะเรื่อง เช่น มวยไทยสายไชยาเพื่อการต่อสู้ มวยไทยสายไชยาเพ่ือการส่งเสริมสุขภาพพลานามัย มวยไทยไชยา เพ่อื บชู าบวงสรวงครมู วย เปน็ ต้น 1.3. ควรจัดให้หน่วยงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถ่ินหรือหน่วยงานการศึกษาเข้าไป จดบันทึกตาราวิชามวยไทยสายไชยา แต่ละค่ายในภาคใต้ หรือในเขตเมืองไชยาไว้อย่างเป็นระบบ บันทกึ ประวัติศาสตรม์ วยไทยสายไชยา ด้วยลายลกั ษณอ์ ักษร ภาพส่อื วดี ีทัศน์ เพื่อให้คนรุ่นหลังนาไป ศกึ ษาเรยี นรู้ สืบทอดมวยไทยสายไชยาอยา่ งถกู ตอ้ งต่อไปอีก 1.4. ควรมีการจัดต้ังคณะกรรมการเก่ียวกับมวยไทยสายไชยา จากผู้ทรงคุณวุฒิ สาขามวยไทย โดยกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม เป็น ผู้ดาเนินการ ร่วมร่างหลักสูตรการเรียนการสอนวิชามวยไทยสายไชยา บรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียน การสอนในระดับประถมศึกษา มัธยมศกึ ษา และอดุ มศึกษา เพื่อเปน็ การอนุรกั ษ์ สง่ เสริม สร้างสรรค์ มวยไทยสายไชยา ให้มีคุณค่าเปน็ มรดกไทย และใหด้ ารงคงอย่คู ู่ชาตไิ ทยสืบไป 2. ขอ้ เสนอแนะในการวจิ ยั ครง้ั ต่อไป 2.1. จะต้องทาการวิจัยเปรียบเทียบรูปแบบ แผนการสอนของครูมวยไทยสายไชยา ในแต่ละค่าย แต่ละสานักว่า มีเอกลักษณ์การสอนศิษย์แตกต่างกันมากหรือน้อยเพียงใด เพื่อทราบ ยุทธวิธี แบบแผนการสอนมวยไทยสายไชยา ท่ีส่งเสริมให้ศิษย์ตั้งใจเรียนอย่างถูกต้องตามแบบแผน และประเพณี 2.2. จะตอ้ งทาการวจิ ยั หลกั ความเชอื่ ในตาราวิชาครมู วยไทยสายไชยากับรูปแบบแผน วถิ ีชีวิตปฏบิ ัติประจาวัน ของนักมวยและครูมวยให้สามารถดารงตนอยู่ไดอ้ ย่างมคี วามสขุ 2.3. จะต้องทาการวจิ ัยเปรียบเทียบรปู แบบแผนประเพณมี วยไทยสายไชยากบั มวยไทยสายอื่น ๆ เพื่อใหเ้ กิดองค์ความรู้ นามาพฒั นากีฬามวยไทยในปัจจุบนั อยา่ งถูกต้องตามหลัก วชิ าของมวยไทยต่อไป การวจิ ัยเรอ่ื ง การจดั การความรูม้ วยไทยสายโคราช ผวู้ ิจัยมีข้อเสนอแนะดงั นี้ แนวคดิ และขอ้ เสนอแนะของผู้ศึกษาเกี่ยวกบั มวยไทยโคราช
516 1. รวบรวม จัดทาเอกสาร หรือหนังสือที่มีเน้ือหามวยโคราชท่ีถูกต้องโดยเริ่มจากประวัติ ความเป็นมาทักษะต่างๆต้ังแต่การจดมวย การไหว้ครู การฝึกทักษะอยู่กับท่ี การฝึกทักษะเคล่ือนที่ การฝึกแม่ไม้ ลูกไม้ ท้ังที่เป็นฝ่ายรุกและเป็นฝ่ายรับ การฝากตัวเป็นศิษย์ การไหว้ครู พิธียกครูหรือ ขึ้นครู แล้วดาเนินการเผยแพร่ไปสู่ชาวไทยหรือชาวต่างชาติอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ผู้คนได้รับทราบ มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในความสาคัญของมวยไทยโคราช จากการที่พระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา้ เจา้ อยู่หัว และเสด็จในกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ทรงเมตตาและทรงโปรดปรานนักมวยจากเมืองโคราช เป็นท่ียิ่งจนได้รับพระราชทาน บรรดาศักดใิ์ ห้เป็นขุนหม่ืนครูมวย “หม่ืนชงัดเชิงชก” ถือศักดินา 300 ให้กับนายแดง ไทยประเสริฐ และทรงโปรดฯ ให้ นายยงั หาญทะเล นายทบั จาเกาะ นายตู้ ไทยประเสริฐ นายพูน ศักดา ฯลฯ เข้าไปฝึกมวยประจาอยทู่ ว่ี ังเปรมประชากร ซ่งึ นับว่าเปน็ พระมหากรุณาธิคุณแกช่ าวโคราชยิง่ 2. จัดทาส่ือประเภท CD , VCD , ส่ือภาพน่ิง หรือส่ือใดๆ ภาพเคลื่อนไหวเกี่ยวกับทักษะ พื้นฐาน และแม่ไม้โบราณที่สาคัญของมวยโคราช หรือเนื้อหาอื่นใดให้ครบถ้วน เพื่อเผยแพร่ให้ กวา้ งขวางต่อไปและง่ายต่อการศกึ ษาดว้ ยตนเอง 3. ผู้ท่ีมีส่วนเก่ียวข้องกับศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของโคราช ในเขตพ้ืนที่จังหวัด นครราชสีมา เช่น สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อานวยสานักงาน เขตพื้นท่ีการศึกษาทุกเขตพ้ืนท่ี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด ผู้อานวยการศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ นักวิชาการ นักพลศึกษาฯลฯ ร่วม ประชุมสัมมนา เพ่ือหาแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน ส่งเสริม ปลูกฝัง อนุรักษ์และดาเนินการ ฟ้ืนฟูมวยไทยสายโคราชอย่างจริงจังให้กว้างขวางโดยทั่วไป โดยเริ่มดาเนินการจากยุวชน เยาวชน ตลอดจนถึงประชาชนในเขตพ้ืนท่ีจังหวัดนครราชสีมาก่อนพื้นที่อ่ืนใด และให้การรับรองบรรจุเป็น หลักสูตรการเรียนการสอนท่ีเก่ียวกับศิลปวัฒนธรรมท้องถ่ินของนครราชสีมา ตั้งแต่ระดับช่วงชั้น ที่ 2–4 และถือว่าเป็นวิชาบังคับเพ่ือเป็นการฟ้ืนฟู อนุรักษ์ ปลูกฝัง เผยแพร่เกี่ยวกับศิลปะมวยไทย สายโคราชให้คนโคราชเกิดความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษของตนเอง พร้อมทั้ง ขยายโอกาสทาง การศกึ ษาไปสู่จังหวดั อน่ื ๆ ท่มี คี วามสนใจท้งั ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ด้วยความภาคภมู ิใจ 4. จัดทาหลักสูตร และส่ือสาหรับประกอบการเรียนการสอนเร่ืองมวยไทยโคราช (มวย ภาคอีสาน) เพ่ือกาหนดโครงสร้างการเรียนการสอนและเน้ือหาวิชาให้มีความครอบคลุม รัดกุม ถูกต้องเป็นเนื้อหาเดียวกัน ง่ายต่อการทาความเข้าใจ และนาไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและ การศกึ ษา 5. จัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะมวยไทยสายโคราช ทั้งระดับพื้นฐานและทักษะ ข้ันสูง พร้อมทั้งเผยแพร่สื่อท่ีจัดทาขึ้น โดยเชิญครูผู้สอนในกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษาในระดับ โรงเรียน ระดับอุดมศึกษา เพื่อให้มีความพร้อมท่ีจะนาไปเผยแพร่และสอนในสถานศึกษาได้อย่าง ถกู ตอ้ ง 6. สนับสนนุ ส่งเสริมให้มีการจดั ตง้ั ชมรมหรือชุมนุมมวยไทยสายโคราชแล้วดาเนินการฝึกสอน หรือฝึกซ้อม โดยอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจและผ่านการอบรมทักษะมวยไทยสายโคราช มาแล้ว
517 7. ในแต่ละปีการศึกษา ในห้วงระยะเวลางานเฉลิมฉลองท้าวสุรนารีของทุกปี จัดให้มีการ แข่งขันทักษะมวยไทยสายโคราช โดยแบ่งเป็นระดับตามเกณฑ์อายุหรือระดับช่วงชั้นการเรียน เพ่ือ เป็นเป้าหมายหลังจากการฝึกซ้อม เพื่อสนับสนุน ฟ้ืนฟู ส่งเสริม และเผยแพร่ต่อสาธารณะชนอย่าง ตอ่ เนื่อง 8. จัดเสวนาและหรือสัมมนา โดยผู้ท่ีมีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับมวยไทยสายโคราช เปรียบเทียบกับมวยคาดเชือกของมวยพระนคร มวยไทยสายลพบุรี (มวยภาคกลาง) มวยไทยสาย ท่าเสาและพระยาพิชัย (มวยภาคเหนือ) มวยไทยสายไชยา (มวยภาคใต้) ซ่ึงในสมัยรัชกาลท่ี 5 รัชกาลท่ี 6 วงการมวย คาดเชือกดังกล่าว มีความเจริญถึงข้ันสูงสุด ในแต่ละภาคมีนักมวยฝีมือดีชั้น ครมู ากมายหลายคน เพ่ือให้คนไทยมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้และเกิดความภาคภูมิใจในศิลปะ มวยไทยในแต่ละภาคที่เกี่ยวขอ้ งกนั เสมอ โดยเชญิ สอ่ื มวลชนเขา้ ร่วมสงั เกตการณ์อยา่ งกว้างขวาง 9. เอกชนและหรือหน่วยงานราชการในเขตพื้นท่ีจังหวัดนครราชสีมา ควรร่วมมือกันใน การจัดหา งบประมาณสาหรับการสง่ เสรมิ สนบั สนุน ปลูกฝัง อนุรักษ์ และดาเนินการฟื้นฟู มวยไทย สายโคราช ตามรายละเอียดในข้อเสนอแนะข้างตน้ โดยวิธีการใด ๆ กต็ าม การวจิ ัยเรือ่ ง การจัดการความรมู้ วยไทยสายลพบุรี ผู้วิจยั มขี อ้ เสนอแนะดงั นี้ ขอ้ เสนอแนะในการนาผลการวจิ ยั ไปใช้ 1. จากการวิจัย พบว่า มวยไทยสายลพบรุ ี มจี ุดเด่นคือ การใช้หมัดตรงได้อย่างดีเย่ียม หลบ หลีก รุกรับได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว ดังนั้นควรจะมีการฟ้ืนฟูจุดเด่นเหล่าน้ี โดยนาการใช้หมัดไป เน้นการสอนในโรงเรยี น ศูนย์อนรุ กั ษ์ศลิ ปะมวยไทยและค่ายมวยท่วั ประเทศ 2. จากการวิจัย พบว่า มวยไทยสายลพบุรี มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเห็นได้ชัด คือ การพันมือ เพียงคร่ึงแขนการพันคาดทับข้อเท้าและการต่อยหมัดท่ีเน้นการต่อยด้วยหมัดตรงและหงายหมัด ดังนั้น ควรจะมกี ารบันทึกเป็นหนงั สอื หรือตาราบรรจุไวใ้ นหลักสูตรทอ้ งถิน่ เพื่อให้เยาวชนในท้องถิ่น เกดิ ความซาบซ้งึ และภาคภูมใิ จในเอกลักษณแ์ ละวฒั นธรรมของบรรพบุรษุ มวยไทยสายลพบุรี 3. จาการวิจัย พบว่า มวยไทยสายลพบุรี มีข้อแตกต่างจากมวยอื่นๆ หลายด้าน เช่น มี ประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่ามวยถิ่นอื่น มีเจ้าสานักเป็นนักพรต ท่ีเรียกกันว่า ฤๅษี มีกระบวนท่า ศิลปะมวยไทยสายลพบุรี เป็นของตัวเองท่ีดัดแปลงมาจากท่าทางของสัตว์ต่างๆ เช่น ลิง ช้าง ที่มีอยู่ ในเมืองลพบุรี จึงเห็นควรให้มีการเปรียบเทียบมวยแต่ละท้องถิ่น โดยทาเป็นโปสเตอร์ แผ่นภาพ แผ่นพับ หรือสรา้ งเว็บไซด์ เอกสารเผยแพรค่ วามรทู้ างอินเตอรเ์ น็ตสนู่ านาประเทศ การวิจัยเรื่อง การจัดการความรู้มวยไทยสายท่าเสาและพระยาพิชัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดงั นี้ 1. การวิจัยในคร้ังนี้ข้อมูลท่ีเก่ียวกับประวัติความเป็นมา เอกลักษณ์ ระเบียบประเพณี และ แมไ่ ม้มวยไทยของมวยไทยสายพระยาพิชยั ไมไ่ ด้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรจึงต้องศึกษาสัมภาษณ์ บคุ คลที่เกา่ แก่หลาย ๆ สาขา อาจทาใหไ้ ดข้ อ้ มลู ทด่ี แี ละแตกตา่ งกัน
518 2. การวจิ ยั ควรจัดให้มีการแข่งขันหรือการแสดงศิลปะมวยไทยสายพระยาพิชัย เพื่อแสดงถึง ความเป็นเอกลักษณ์ของไทย เผยแพร่ให้เยาวชนไทยได้รู้จักได้สนใจในกีฬามวยไทย โดยการเน้นใน เรอ่ื งของเอกลกั ษณแ์ ละการอนรุ กั ษศ์ ิลปวฒั นธรรมไทย การวิจยั เรือ่ ง การจดั การความรมู้ วยไทยสายพลศึกษา ผ้วู ิจยั มขี ้อเสนอแนะดังนี้ 1. การวจิ ัยในคร้งั นี้ มขี อ้ มลู เกีย่ วกบั ประวตั คิ วามเป็นมา เอกลักษณ์ กระบวนท่า ระเบียบ ประเพณี ท่ีเกี่ยวกับมวยไทยสายพลศึกษา โดยสนับสนุนให้มีการจัดต้ังชมรมมวยไทยสายพลศึกษา นาไปสู่การจัดการเรียนการสอน เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแผ่มวยไทยสายพลศึกษาให้เป็นกีฬา ภมู ิปัญญาไทยและเป็นมรดกภมู ปิ ัญญาทางวัฒนธรรมของไทย 2. จัดสัมมนามวยไทยสายพลศึกษา เพื่อนาวิธีคิด วิธีปฏิบัติและวิธีให้คุณค่าของมวยไทย สายพลศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนท้ังในด้านความม่ันคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เป็นผลผลิต นาเงินตราเขา้ สูป่ ระเทศไทยต่อไป
ประวตั ิและผลงานของผู้เสนอโครงการ ประวัตแิ ละผลงานของหัวหน้าโครงการวจิ ยั ประวัตสิ ่วนตวั ช่อื - สกุล นายจรัสเดช อุลิต เพศ ชาย อายุ 65 ปี วนั เดือน ปีเกิด 20 ธันวาคม 2490 ตาแหนง่ ปจั จบุ นั ผู้อานวยการวทิ ยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภฏั หม่บู ้านจอมบึง อาเภอจอมบงึ จงั หวัดราชบุรี การศึกษา ปรญิ ญาตรี กศ.บ. (พลศึกษา) ปรญิ ญาโท กศ.ม. (พลศึกษา) กาลงั ศึกษา ปรญิ ญาเอกมวยไทย ผลงานทางวิชาการ 1. เอกสารประกอบการเรียนมวยไทย พ.ศ.2521 2. มวยไทย พ.ศ.2527 3. พธิ ีไหวค้ รมู วยไทยกระบ่ีกระบอง พ.ศ.2527 4. พิธไี หว้ครมู วยไทย ไหวค้ รมู วยไทย พ.ศ.2535 5. ตารามวยไทย 1 พ.ศ.2536 6. ตารามวยไทย 2 พ.ศ.2539 7. เอกสารการไหวค้ รมู วยไทย สานกั งานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2539 8. ศิลปะมวยไทย สานักงานคณะกรรมการวฒั นธรรมแหง่ ชาติ พ.ศ. 2540 9. จดั ทาสือ่ ภาพน่งิ ภาพไสลด์ และวดี ที ศั น์ เกย่ี วกับท่าไหวค้ รูมวยไทย 10. ศลิ ปะไมม้ วยไทย ART OF MAI MUAYTHAI ประเพณตี า่ ง ๆ เพื่อเผยแพร่ สานกั งานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหง่ ชาติ พ.ศ.2540 11. ตาราเรยี นมวยไทยโรงเรียนมวยไทยรงั สิต พ.ศ.2541 12. เอกสารประกอบการสอนวชิ ามวยไทย 1 พ.ศ.2542 13. วีดทิ ัศน์การสอนมวยไทยเบ้ืองต้น พ.ศ.2542 14. วดี ทิ ัศน์ การร่ายราไหว้ครมู วยไทย และการใช้ทักษะมวยไทย กรมพลศึกษา พ.ศ.2544 14. วีดทิ ัศนก์ ารรา่ ยราไหวค้ รูมวยไทยและการใช้ทักษะมวยไทย กรมพลศึกษา พ.ศ.2544 15. มวยไทยเบ้ืองตน้ พ.ศ.2548 16. วดี ิทัศนเ์ กย่ี วกบั ท่าไหวค้ รูมวยไทย สมาคมมวยไทยสมคั รเล่นแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถมั ภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธริ าชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พ.ศ.2548 17. วีดิทศั น์ ศิลปะมวยไทย วิทยาลยั มวยไทยศกึ ษา มหาวทิ ยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบงึ พ.ศ.2545 18. ทักษะมวยไทยเบือ้ งตน้ วทิ ยาลัยมวยไทยศึกษา มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏหมบู่ ้านจอมบงึ
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 497
- 498
- 499
- 500
- 501
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 500
- 501 - 501
Pages: