Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การจัดการความรู้มวยไทย 5 สาย

การจัดการความรู้มวยไทย 5 สาย

Description: การจัดการความรู้มวยไทย 5 สาย.

Search

Read the Text Version

180 เป็นยอดนักมวยท่ีมีฝีมือไม่แพ้ใคร” เช่ือว่าพวกเราทุกคนจะต้องภาคภูมิใจต่ออนุสาวรีย์นี้ ไม่แพ้เขา เหมือนกัน เพราะสุข ปราสาทหินพิมาย อยู่ในใจของชาวโคราช ผู้เป็นนักสู้มาแต่คร้ังประวัติศาสตร์ นับเป็นเวลาเนน่ิ นานมาแลว้ และจะยงั คงอยตู่ ลอดไปช่วั กาลนาน ดงั นน้ั สุข ปราสาทหินพิมาย เป็นนักมวยในยุคสวมนวมเร่ิมแรกที่มีลีลาการชกดุเดือด เป็น ทถี่ กู ใจของผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับฉายา “สุขยักษ์ผีโขมด” มีร่างกายท่ีสูงใหญ่ แข็งแรง บึกบึน เร่ิม ชกมวยเมื่ออายุมากแล้วและเลิกชกมวยเม่ืออายุมากถึง 45 ปี ทุกครั้งที่สุข ปราสาทหินพิมายขึ้นชก จะมผี ชู้ มซื้อบตั รผา่ นประตูเข้าไปชมกันอย่างเนืองแน่น เก็บเงินค่าผ่านประตูได้เป็นเงินมหาศาลในยุค สมัยน้ัน มีหลักในการฝึกซ้อมเป็นของตนเอง การสังเกตคู่ต่อสู้ในขณะชกและขณะพักยก ทรรศนะ เกี่ยวกับคุณสมบัตินักมวยที่ดี และข้อปฏิบัติพิเศษ ท่ีน่าเอาเป็นแบบอย่างทั้งในการดาเนิน ชีวิตประจาวัน และชีวิตนักมวย ปัจจุบันชาวอาเภอพิมาย ได้จัดสร้างอนุสาวรีย์ไว้เป็นอนุสรณ์แห่ง ความสามารถ ณ บริเวณไทรงาม อาเภอพิมาย แต่โดยความเห็นของผู้วิจัยกลับเห็นว่าบริเวณ ตาแหนง่ และสถานที่ต้งั อยู่บริเวณทไ่ี มเ่ หมาะสมและขาดความสง่างาม 10. วิหค เทยี มกาแหง (พญาปักษาร้ายจากโคราช) ภาพที่ 99 วหิ ค เทียมกาแหง ที่มา : หนังสอื ศิลปวัฒนธรรม หนา้ 112 ในประวัติศาสตร์มวยไทยยุคใหม่ คือนับต้ังแต่ยุคสวมนวมเป็นต้นมา นักมวยช้ันนาระดับ แม่เหลก็ สว่ นใหญล่ ้วนไดร้ ับการจดจาไวด้ ้วยลกั ษณะหรือคุณสมบัติพิเศษประจาตวั ตา่ ง ๆ กัน นอกเหนือไปจากฝีมือแล้ว ชูชัย พระขรรค์ชัย คือเทพบุตรแห่งสังเวียน เพราะเรือนกายอัน สงู สงา่ งามและหนา้ ตาของพระเอกหนงั ไทย เช่นเดียวกับสุรชัย ลูกสุรินทร์ เจ้าของฉายาเสือสาอางค์ ผู้เป็นเพื่อนซึ่งเคยโคจรมาประมือกัน และก็ก้าวเข้าไปมีช่ือเสียงโด่งดังในวงการจอเงินเหมือนกัน ตรงกันข้ามกบั สุข ปราสาทหินพมิ าย ผู้มรี า่ งใหญท่ ะมนึ ผวิ คลา้ นัยนต์ ากร้าวจนถูกขนานนาว่า “ยักษ์ผี

181 โขมด” ประยุทธ อุดมศักดิ์ เพราะมารยาทและน้าใจที่เขามีให้กับคู่ต่อสู้ทุกคน เขาจึงเป็นสุภาพบุรุษ จากทร่ี าบสูงที่ชนะใจแฟนมวยตลอดกาล ไมว่ ่าเขาจะเป็นฝ่ายชนะหรือพ่ายแพ้บนเวทีก็ตาม ในขณะท่ี สดใส นฤภัย ผู้มชี ้ันเชงิ การฟนั ศอกสองช้นั อยา่ งไมม่ ใี ครทาไดเ้ ป็น ขนุ พลศอกคู่ วิหค เทยี มกาแหง เจ้าของฉายาปักษาร้าย อดีตนักชกนามกระเด่ืองต้ังแต่สมัยเวทีโรงละคร ศรีอยุธยา ได้รับการจดจาไว้จนทุกวันนี้ ด้วยลีลาการไหว้ครูของเขาเป็นท่ียอมรับกันอย่างเป็น เอกฉันทว์ ่า ในประวัติศาสตรม์ วยไทยยคุ ใหม่น้ไี มม่ ผี ูใ้ ดแสดงศิลปะการไหว้ครูได้ครบถ้วน ถูกต้องและ ออ่ นชอ้ ยงดงามได้อยา่ งเขา ดังนั้นจึงไม่เป็นเรือ่ งแปลกอะไรท่ีเม่ือใดเวทมี วยลมุ พนิ ีจัดงานวันเกิดสนาม เขาจะได้รับเชิญให้ไปแสดงฝีมือการร่ายราทุกครั้งแม้ว่าจะสูงอายุแล้วก็ตาม และทุกครั้งเขาจะได้รับ เสยี งปรบมอื แสดงความ ช่นื ชมจากผดู้ ดู ังกกึ ก้องไม่ผดิ กับเม่ือเขายังใช้ชีวิตบนสังเวียนในวัยฉกรรจ์เม่ือ ห้าสบิ ปีก่อน ก่อนจะเปน็ พญาปักษารา้ ย วิหค เทียมกาแหง มีนามจริงว่า สันต์ ตั้งสัตยา (เดิมแซ่ต้ัง) เกิดเม่ือวันที่ 14 มิถุนายน 2461 ท่ีบ้านทุ่งสว่าง ตาบลหัวทะเล อาเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรคนท่ี 5 ในจานวน พน่ี ้อง 7 คน ของนายไพ และนางน้อย ผูม้ อี าชพี ทาอฐิ ขาย วิหคเกิดในเมืองที่ได้ช่ือว่าเป็นเบ้าหลอมนักมวยเอกมาทุกสมัย แต่ท่ีได้ทาให้เขากลายมา เป็นพญาปักษาร้ายบนผืนผ้าใบน้ัน นอกจากวิญญาณและมันสมองของตนเองแล้วก็คือบุคคล 2 คน คนแรกคือบิดา ซ่ึงมีความรู้เช่ียวชาญทางวิชามวยจีนและเขาได้รับสืบทอดมาพัฒนาใช้ กับคนที่สอง คือ ครูผู้ประสิทธิ์ประสาทแม่ไม้มวยไทยและศิลปะการไหว้ครูทั้งหมดให้กับเขา ท่านผู้น้ีคือ หม่ืนชงัด เชิงชก (แดง ไทยประเสริฐ) มวยเอกยุคคาดเชือกผู้เคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณฯให้แสดงฝีมือหน้า พระทีน่ ัง่ จนได้รับพระราชทานบรรดาศกั ด์ิ “ก็เลิกเรียนแล้วนดั ชกกนั ไง” วหิ คยอ้ นความหลังไปถึงเหตุที่ทาให้เขาหัดมวย “ชกสู้เขาไม่ได้ เขาชก ซะตกทอ่ ปากแตก เลยโมโห เลยแอบไปหดั อยู่ปีสองปถี ึงเป็น” ท่ีท่ีเขาไปหัดก็คือบ้านของท่านหม่ืนชงัดเชิงชก หรือ “ลุงหม่ืน” บ้านหัวถนนซึ่งเป็นหมู่บ้าน ติดกนั ทา่ นหม่นื ชงดั เชิงชก ไดใ้ ช้ลานบ้านของท่านเป็นท่สี อนมวยให้กับหนุ่ม ๆ ท่ีสนใจในตอนเย็น ๆ อุปกรณ์การสอนของท่านก็มีเพียงกระสอบทรายซ่ึงทาจากผ้าใบเย็บเป็นลูกมะพร้าว ยัดทรายจริง ๆ จนแน่นชนดิ ทค่ี นไมเ่ คย พอหวดแข้งเข้าคร้ังแรกก็แข้งบวม กับจีวรขาด ๆ ท่ีขอพระมาใช้พันมือแทน นวม (เวลาน้ันนวมตกถึงคู่ละ 4 บาท) นักมวยซ่ึงมีประมาณสิบกว่าคนเหล่านั้นก็เหมือนกับวิหคคือ “หัดมวยเพราะอยากเป็นแมนอย่างเดียวเท่าน้ัน ไม่หวังเงินทองไปบ้านโน้นบ้างบ้านนี้บ้าง ชกมวย ก็หวังสนุกเท่านัน้ เอง” “ผมก็ไปนงั่ เฝา้ ” วหิ คเล่าตอ่ ไป “ตอนนั้น 13-14 ปี ทุกวัน ๆ ไปนั่งตรงกระเดื่อง ตาข้าว ดูเขาซ้อม นาน ๆ เขา้ แกกม็ าถามวา่ เฮ้ย มงึ มาดูทุกวนั อยากหดั มวยหรือบอกวา่ อยากครับ แล้วมึงใจ สู้หรือเปล่า สู้ครับ เขาไม่ได้รับเดี๋ยวนั้นเลย ต่อร่วมเดือนเห็นผมนั่ง ลุงหม่ืนก็จะบอกว่าจะหัดให้ แล้วมึงเป็นลูกใคร ลูกแม่น้อยไง บ้านเตาอิฐนี้เหรอ ลูกพี่น้อยเหรอ แกก็เลยรับ พอตั้งใจหัดต้องยืน ก้าวยา่ งสามขุม เดนิ หนา้ ถอยหลงั อยูน่ ัน่ แหละ ไมใ่ ชว่ นั สองวนั เปน็ เดอื น ยาก” เวลาน้ันมวยไทยยังไม่ถูกปฏวิ ตั โิ ดยสิ้นเชงิ ดว้ ยการใช้ฟุตเวริ ์กแบบมวยฝร่งั หากใช้วิธีกระหยด และย่างสามขุมเข้าหากัน การหลบหลีกอาวุธของฝ่ายตรงข้ามจึงใช้วิธีท่ีเรียกว่าย้ายแบบดอกไม้ไหว

182 คือ ร่างส่วนบนส่ายเอนไปมาได้ในขณะที่เท้าทั้งคู่ยังตรึงนิ่งอยู่กับท่ี วิหคได้เรียนวิธีน้ีในตอนต้น ๆ ของการหัดมวย จากน้ันก็หดั ตั้งแตห่ มัด หดั ชกหมัดตรง หมัดสะวิง กว่าจะได้เป็นเดือน หมัดแย็บเรียก หมัด หน้า หมดั นาหน้า หนงึ่ สอง ฟนั ศอกซ้าย “สมยั ก่อนหัดเฉพาะหมัดหน้าหลายเดือนกว่าจะเดินนาหน้าได้ถอยหลังได้ จะเดินหน้าถอย หลงั มนั ตอ้ งดูจังหวะ หดั ยาก ไมง่ า่ ยเหมือนสมัยน้ี หดั เรอะ เขา้ กระสอบแลว้ ตบุ้ ต้บั ๆ ได้แลว้ ” หลังจากหัดแม่ไม้มวยมาเกือบ 2 ปี จนนับได้ว่าเป็นแล้ว ท่านหมื่นชงัดชงัดเชิงชก เห็นว่า เขามีนิสยั สนใจและมหี น่วยกา้ นเหมาะสมดี จึงถ่ายทอดศิลปะการราไหว้ครูให้แก่เขาต่อไป ซึ่งกว่าเขา จะเรียนไดค้ รบทุกท่ากระบวนกเ็ ปน็ เวลาเกือบปี “รามันหัดยากกว่าชกอีกเยอะ” วิหคกล่าวถึงวิชาที่ต่อมากลายเป็นเอกลักษณ์ประจาตัว ของเขาแต่ผู้เดียวในประวัติศาสตร์มวยไทยยุคใหม่ “เพราะต้องมีจังหวะก้าวเท้าเข้าจังหวะป่ีกลอง เหมือนเต้นรา” เนื่องจากไม่มีปี่กลอง ฉะน้ันเวลาไปดูมวยท่ีสนามมวย เขาต้องไปหัดด้วยเพ่ือให้ได้ จังหวะเพลง เขาเริ่มหัดต้ังแต่ท่าย่างสามขุม เทพนม พรหมส่ีหน้า สอดสร้อยมาลา ม้ากระทืบโรง ม้าย่องคะนองศึก สาวน้อย ประแป้ง สาวน้อยสาวไหม คชสารชูงวง แล้วมาถึงพวกท่าท่ีเขา เรียกว่า “ตระกูลลิง” คือหนุมานถวายแหวน หนุมานครองเมือง หนุมานเปิดฟ้า วายุบุตรออกศึก มาจนกระท่งั พระรามจองถนน พระรามแผลงศร กวางเหลยี วหลงั ฯลฯ ท่าราพิเศษอีกท่าหนึ่งท่ีได้รับถ่ายทอดไว้ก็คือท่าที่เรียกว่า “แบบจีนฉ่าง” ท่ีมาของท่าน้ี มีอยู่ว่าเม่ือนักมวยจีนช่ือจี๊ฉ่างเข้ามาท้าชกกับนายยัง หาญทะเล นั้น เขาได้แสดงไว้ เสด็จในกรม หลวงชุมพร ทรงเห็นเข้าก็ชอบพระทัย จึงทรงจดจามาถ่ายทอดให้กับท่านหม่ืนชงัดเชิงชก ซึ่งเป็น นักมวยในอุปการะของพระองค์ ท่านหมน่ื ชงดั เชงิ ชก ถ่ายทอดให้เขาอกี ตอ่ หน่งึ ดงั กลา่ ว บรรดาทา่ ราเหลา่ น้ี เวลาข้ึนชกจรงิ ๆเขาก็ไม่ได้ใช้หมด “ถ้าครบสูตรต้องเป็นชั่วโมงไม่ไหว” เขาว่า “สว่ นมากก็ราลูกผสม ดูก็สวย อย่างคชสารชูงวง ราออกส่ีทิศ เราก็ออกทิศเดียว ราสาวน้อย ปะแป้ง คชสารชูงวง หนุมานเบิกฟ้า” เมื่อวิหคมาเป็นนักมวยอาชีพแล้ว กิตติศัพท์การร่าราไหว้ครูของเขาก็เป็นท่ีเลื่องลือไปท่ัว แฟนมวยต่างอยากดูเขาราจนครบถ้วนกระบวนท่า เวลาไปชกต่างจังหวัดอย่างเมืองชลหรือเชียงใหม่ ทางเวทีจะจัดให้เขาชกวันหนึ่ง ราวันหน่ึง จนเขาได้ขันน้าพานรองเป็นรางวัลมาจนเต็มตู้ ท่ีเวทีราช ดาเนินเขาข้ึนชกวันไหน คุณพระสมัครฯก็จะเป่าปี่เพลงราให้กับเขาก่อนเป็นพิเศษ “เขาอยากดูรา ราชดาเนนิ ข้ึนไปวนั ไหนไมร่ า คนรอ้ งว้าเลย” ข้นึ สังเวียนหนแรก พ.ศ. 2482 หลงั จากท่ีได้เรียนลูกไมแ้ มไ่ มจ้ ากหมน่ื ชงัดเชิงชก และเสริมด้วยวิชามวยจีนจาก นายไพผู้บิดาจนมีความรู้พอตัวแล้ว ท่านหม่ืนชงัดเชิงชกก็พาไปเปรียบมวยในงานวัดเพ่ือหา ประสบการณ์ ขึ้นเวทีครั้งแรกในงานวัดที่อาเภอโนนไทย คู่ชกเป็นครูมวยอยู่ในย่านนั้น ชื่อครูชุ่ม เลือดโนนไทย เหตุท่ีต้องพบกับครูมวยเพราะในวันเปรียบน้ันนอนต่ืนสาย เพ่ือนๆ ไปเปรียบได้คู่กัน หมดแล้วจึงมาปลุก นักมวยเหลืออยู่คนเดียวคือครูชุ่มซึ่งไม่มีใครยอมชกด้วย เม่ือนายสนามถามวิหค ว่าเอาไหม เขาก็ตอบว่าเอา ท้ัง ๆ ที่ครูชุ่มหนักถึง 51 กิโลกรัม โดยตัวเขาเองหนักเพียง

183 46–47 กิโลกรัม ซ้ายังไม่เคยขึ้นเวทีมาก่อนเพราะฝ่ายตรงข้ามเป็นครูมวย ทางสนามจึงจัดชกเป็น คูเ่ อกใช้ช่อื วา่ สันต์ สนิ ประเสริฐ “เราชกไปมันต่ืน” เขาเล่าเรื่องถึงการชกหนนั้น “โห่กันจนหูอ้ือไปหมด แต่ไม่เกรงกลัว เพราะลุงหม่ืนบอกว่าใช้ได้ ไม่ต้องกลัว พอยก 2 โดนเข่าเลือดกาเดาไหลอาบ วันนี้ตายก็ตายเหอะวะ สู้วนั น้นั เสมอกัน คร้ังแรกเงินมากดว้ ย ได้ 7 บาท เพราะชกคูเ่ อก” ตระเวนชกเข้ากรุง จากครัง้ แรกแล้วเขากอ็ อกตระเวนชกโชคชัย (แต่กอ่ นเปน็ อาเภอกระโทก) สูงเนิน สีค้ิวไปทั่ว ไมว่ ่ามีงานท่ไี หน “สมัยก่อนเปรียบมวยที บางทีอยู่คนละอาเภอ รถไม่มี สมัยก่อนหน้าเก่ียวข้าวเสร็จ ม้ากรม ทหารเขาปลอ่ ยหมด เขาตตี รากงจักรไว้ที่ท้ายม้า ไม่ฆ่ากินเหมือนสมัยนี้ เราก็จับม้าขี่ไปเปรียบมวย แลว้ มาปล่อยทเี่ กา่ ” เขาเคยขนึ้ ไปชกบรุ ีรัมยแ์ ละน็อคครูสี ครูมวยมชี อ่ื ของทน่ี น่ั ไดใ้ นยกแรก เขาเข้าชกในตัวเมืองโคราชครั้งแรกในช่วงสงครามที่เวทีโรงหนังวัดบึง นักมวยท่ีมาชกท่ีนี่ สว่ นมากส่งั มาจากมหาสารคามเช่น พวกบ้านเกิง้ อนั เป็นมวยศอกซ้าย เข่าซ้ายทั้งน้ัน ที่น่ีเขาสามารถ เอาชนะ ทองสา ลูกตลาดเกา่ อานวย ทรงเดช และคนอ่ืนๆได้ แต่มาแพ้บุญเชิด ยอดย่ิงครั้งหน่ึง เส่ียเทยี มหลี กรองกาญจน คหบดีเจ้าของค่ายเทยี มกาแหง เห็นฝีมือก็ชอบใจจึงชวนมาประจาอยู่ค่าย เทียมกาแหง โดยก่อนหน้าน้ันเขาใช้ค่าย ศร อ. บ้าง สมิงพราย บ้าง หรือใช้ชื่อและค่ายว่า บุญต่อ ควรต้ัง บ้าง (การที่มีการเปลี่ยนกันหลายหนน้ีไม่ใช้เร่ืองแปลกอะไรในเวลานั้น เขาบอกว่า “สมัยก่อนไม่มีค่ายแบบเดี๋ยวน้ีชอบท่ีไหนก็ไป บอกเขาหน่อยก็ไม่ว่า ที่ไหนดีก็ไป ท่ีน่ีเขามีนวมซ้อมก็ คอ่ ยยงั ชัว่ หย่อย ท่ีโน่นไม่มนี วมซ้อมก็เสรจ็ กนั เพราะไม่มีนวมซ้อมเชิงก็หายหมด” เมือ่ เขา้ สงั กดั ใหม่ต้ังชื่อตัวเองเป็น วิหค และการมาอยู่กับเทียมกาแหง ก็ทาให้ไม่มีโอกาสได้ แก้มือกับบุญเชิด ยอดย่ิง เพราะบุญเชิดมาสังกัดเทียมกาแหงเช่นกันในเวลาต่อมา ช่ือของวิหค เทียมกาแหง ดงั หาตัวจบั ยาก เมื่อใช้ศอกกลับน็อคจิตร เลือดรถไฟ มวยอุบลฯ ได้ในยกที่ 2 ต่อมา เมอ่ื หาคู่ชกไมไ่ ด้ เสย่ี เทียมหลจี ึงสง่ เข้าพระนคร โดยมาอย่กู บั คณุ วชิ อบ พงษส์ ว่าง เจ้าของโรงฝ้าย มี ค่ายซ้อมอยู่ท่ีซอยวรพงษ์ บางลาพู การมากรุงเทพฯคราวนี้ทาให้รู้จักจนเป็นเพื่อนเกลอกับล้อต๊อก เพราะล้อตอ๊ กชอบมวยและเขา้ มามีบทบาทในวงการมวยเวลาน้ันดว้ ย เมื่อวิหคเข้ากรุงเทพฯ เวทีราชดาเนินยังไม่ได้สร้างข้ึนชกหนแรกที่โรงละครศรีอยุธยาส่ีกั๊ก พระยาศรี กับอินทร์ สังขวิทูร (หรือเจริญพาสน์) ซ่ึงสูงกว่าและหนักกว่าถึง 3 กิโลกรัม เขาสร้าง ชื่อเสียงในเมืองหลวงด้วยการชนะน็อคในยกที่ 3 เม่ืออินทร์ถูกเตะตัวลอยหัวฟาดพื้นกระดานเวที ละครท่ีไม่มีเบาะรอง จนสลบไปถึง 3 ช่ัวโมง เป็นการลบคาสบประมาทของชาวค่ายนฤภัย วงศ์ เทเวศร์ และราชวัตร ท่วี ่าอินทร์ “ไดห้ ม”ู พอข้ึนเวทีครั้งแรกแล้ว ทางโคราชก็ส่งอิน เทียมกาแหง ผ่อน เทียมกาแหง และพร เทียมกาแหง มากรุงเทพฯ วิหคจึงต้องมีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่และฝึกสอนรุ่นน้องที่มากันใหม่นี้ ด้วย เขาพาน้อง ๆ เหล่านี้ไปอยู่กับคุณศักดิ์ โกมารชุน (ลูกผู้พี่ของเสน่ห์ โกมารกุล) เพราะใกล้เวที วงเวียนใหญ่ เงิน 300 บาท ท่ีได้จากการชกครั้งแรกกาลังจะหมด จนต้องไปเก็บผักบุ้งตามท้องร่อง มาจ้ิมน้าพริกกินกัน ก็พอดีสหะ สิงหเดช (สหะ ส.รุ่งโรจน์ หรือสมควร ลูกลพ) มาขอเปรียบด้วย

184 เขาเอาชนะสหะ สิงหเดช ได้ในยก 2 สหะหรือสมควร ลูกลพ ตามขอแก้มือ คราวนี้วิหคเห็นใจเลย เอาชนะแคค่ ะแนน แต่สหะ ยังขอ้ งใจไม่หาย ตามไปขอแกม้ ือเป็นครัง้ ท่สี าม ครั้งน้เี จอกันที่เวที สุรนารี นครราชสีมา วหิ คเตะสหะฟันหกั น็อคเอ๊าทไ์ ปในยกที่ 2 เลยหายสงสัย ได้ฉายา ปักษารา้ ย เมอื่ ชกชนะสหะ สิงหเดช ทีม่ าของฉายา แล้วกลับมากรุงเทพฯ หาคู่ ชกไมไ่ ด้ เปรยี บกไ็ มม่ ีใครจะเปรยี บด้วย มวยแต่ก่อนมนั มีน้อย แล้วมันกลัวกันพี่สุข (สุข ปราสาทหินพิ มาย) มาชก สองสามทดี งั เลย ผีโขมด มวยแต่กอ่ นมีชือ่ ง่าย ชกสองสามครั้งหาคู่ชกไม่ได้ วิหคสร้าง ชอ่ื ตอ่ ไปในเมืองหลวงและหวั เมอื งจนสงครามเลิก ลาปาง เชยี งใหม่ และภาคเหนอื “ตอนที่สงครามเลิกใหม่ๆ เดินทางไปลาปาง ไปเล่นละครย่อยกับล้อต๊อกที่โรงหนังวัฒนา ที่ลาปาง” วิหคเล่าความหลังอย่างอารมณ์ดี “ผมยังออกเล่นละครกับเขาได้เลย หัวเราะแทบตาย ไปเป็นค่เู ขา้ กบั เขา หนา้ มันรอ้ นผ่าว ไม่เหมือนชกมวย” “ทีล่ าปาง แมวมองเร็วมาก ล้อต๊อกบอกมีมวยมาเราก็ไปชกเปลี่ยนชื่อชกกับสรศักดิ์ ยอดศร จนั ทร์ มวยลาปาง มวยดี พอขึน้ ชก ยกแรกกร็ แู้ ล้ววา่ เราสู้เขาได้ เรากด็ งึ ให้เสมอ” พอเขาเสมอกับสรศักด์แิ ลว้ วิม ชัยสงัด ผู้เคยต่อยคนตายก็มาขอท้าเดิมพัน วิหคจานาสร้อย ลงขันกับพวกละคร เอาชนะไปในยกที่ 2 ได้เงินมาแบ่งกัน 7 พันบาท แต่ก็ถูกครูตู้ซ่ึงเป็นครูของวิม ด่าว่ามาชกกันเอง ท้ังน้ีเพราะครูตู้ก็คือ ตู้ ไทยประเสริฐ อดีตนักมวยมีชื่อและเป็นน้องชายของท่าน หมนื่ ชงัดเชิงชกนัน่ เอง อยูล่ าปาง ต้องชกกบั นักมวยจากนครสวรรค์ พิษณโุ ลกพวกคา่ ยทวสี ิทธ์ิ ซ่งึ เปน็ เจ้าถิ่นไมก่ ล้า ชกด้วย ท่ีสดุ เขาก็ต้องข้ึนไปเชียงใหม่ และจาต้องเจอกับเชาว์ ชยั สงดั ลูกศษิ ยค์ รูตู้อีก “เราก็พวกครู โคราชดว้ ยกนั ” เขาวา่ “ไม่ทากนั พอชนะคะแนนผมก็แกล้งเปน็ ลม” ชนะเชาว์แล้ว เสมา เมืองราช มวยเอกจากพระนครมาเห็นเข้า ก็มาขอเปรียบด้วยโดยมี เดิมพัน วิหคกับพรรคพวกก็ต้องขายสร้อยกันอีก ผลการชกคือวิหคสามารถเอาชนะได้เดิมพัน แสนหา้ มาแบง่ กนั แถมเจา้ ราชบตุ รยังใหเ้ หรียญทองเป็นรางวลั อีกเหรยี ญหน่งึ ด้วย เขากลับมาลาปางอยู่ได้ไมน่ าน หนังสอื พมิ พล์ งข่าวว่าเขาถูกยิงตาย เขาตอ้ งรีบกลบั บ้านไป หาแม่ทีโ่ คราชจากนนั้ กล็ งมากรงุ เทพฯ อกี กรุงเทพฯ อกี ครั้ง และที่อื่น ๆ เมื่อวิหคลงมากรุงเทพฯ เวทีราชดาเนินสร้างเสร็จแล้ว เขาประเดิมชัยชนะด้วยการใช้ศอก กลับจนลพ สุวมิตร จากแปดริ้วหน้าแตกและแพ้คะแนนไปในท่ีสุด แล้วเข้าชกชิงเส้ือสามารถเอาชนะ อุดม สุขเลิศ ครูมวยย่านมหานาค 2 คร้ังซ้อน แล้วชนะเสริม ศรประเสริฐ แต่มาแพ้และเสมอสมิง เกศสงคราม ได้เข้าชิงชนะเลิศกับวีระศักด์ิ ลูกสุรินทร์ ผลปรากฏว่าวิหคแพ้คะแนนอย่างท่ีคนดูตก ตะลึง “วันชงิ ไม่ได้แพเ้ ลย” เขาบ่นแพ้ได้ไงก็ไมร้ ู้ ลเิ กหอมหวลยงั เอาไปร้องเลย ร้องวา่ “มงึ อยา่ ไป ยนื คอตก เหมอื นวหิ คแพ้คะแนน” การกลับมากรุงเทพฯคราวน้ี วิหคใกล้จะเลิกมวยแล้วเพราะอายุมากข้ึนและก็เร่ิมเบ่ือแล้ว หลังจากที่ใช้ชีวิตบนสังเวียนมานาน บางวันเขาต้องหย่อนใจด้วยการน่ังรถรางเที่ยว เพราะสบาย และกไ็ ม่แพง ตงั ค์ สองตังค์ เขายงั ชนะมวยดี ๆ ได้อีกหลายคน เมื่อขึ้นพบกับจาเริญ ทรงกิตติรัตน์

185 “จ้ิงเหลนไฟ” ซึ่งเป็นนักมวยรุ่นหลังเขามาก เขาถูกจับแพ้แตก และเม่ือข้ึนชิงตาแหน่งแชมป์รุ่นเฟ เธอร์เวทของเวทีราชดาเนนิ กบั สวง ใจมบี ุญ “มงั กรดา” ก็แพแ้ ตกอีกในยกสุดทา้ ยท้ัง ๆ ที่ก่อนหน้า น้ันเขาสง่ สวงลงไปนอนนับ 9 แลว้ แต่เพราะถลา “ว่งิ ไปชนศอกมนั เอง” อย่างเขาวา่ วิหค ยุติชีวิตนักมวยในปี 2491 หลังจากท่ีแก้มือกับสวงได้สาเร็จที่ชลบุรี เวลานั้นอายุย่าง เข้า 30 แล้ว และคนร่นุ ที่ยังเป็นเด็กเล็ก ๆ เม่ือเขายังครองสังเวียนอยู่นั้น ก็ได้กลายมาเป็นมวยระดับ แมเ่ หลก็ ใหญข่ องราชดาเนนิ กนั หลายคนแล้ว นับแต่หลังสงครามเลิกมาจนถึงปีที่เลิกชกมวย วิหคเดินสายไปต่อยต่างจังหวัดหลายคร้ัง นอกจากภาคเหนือแล้วก็ไปภาคตะวันออกและภาคใต้ หลายต่อหลายครั้งที่มีโอกาสแสดงฝีมือการ ไหว้ครูด้วย ก่อนชก เอกลกั ษณ์คือต้องรามวยกอ่ น ไปเมืองชลก็ราก่อนหนึ่งวัน ผู้ว่าฯ ได้ให้พวงมาลัยเป็น เงนิ เชยี งใหมก่ ็ราวันหน่ึง ชกวันหนง่ึ ขนั นา้ พานรองเต็มตู้ ตอนน้ีมนั ดากเ็ อาไปเทหล่อพระหมด เข้าสบู่ วรพุทธศาสนาและปัจจบุ นั หลังจากเลิกมวยแล้ว วิหคเข้าทางานท่ีโรงงานปราณีตอุตสาหกรรมในตาแหน่งช่าง ซึ่งเขา ได้ฝึกหัดมาตงั้ แต่ครั้งยังหัดมวยอยู่ นอกจากน้ีเขายังเป็นผู้ฝึกสอนให้กับนักมวยรุ่นหลังของคณะเทียม กาแหงดว้ ย ทางดา้ นชีวติ ครอบครวั เขาแตง่ งานกบั ยุพิน สชุ าติ อดีตผู้เข้าประกวดนางสาวไทย มีบุตร 4 คน เป็นชาย 3 หญงิ 1 ครั้นอายุได้ราว 58 – 59 ปี วิหคเกิดความเบื่อหน่ายกับชีวิตทางโลก ประกอบกับครอบครัว ลูก ๆ ต่างเติบโตมีเหย้ามีเรือน ประกอบอาชีพเป็นปึกแผ่นแล้ว เขาจึงหันหน้าเข้าสู่พระศาสนาโดย บวชอยทู่ ี่วัดคลองเตยนอก ความจรงิ วิหคมอี ปุ นิสยั ในทางพระมาตัง้ แตห่ นมุ่ แตก่ อ่ นเวลาไปชกมวยท่ีไหนก็ต้องไปหาพระ เม่ือมาบวชกไ็ ด้ใชว้ ชิ าความร้ทู างยาและคาถาอาคมทไี่ ด้เรยี นมาจากท่านหมื่นชงัดเชิงชก อาจารย์ป้อม เจ้าอาวาสวัดท่งุ สว่างและจากพระต่าง ๆ มาชว่ ยญาติโยม พระวิหคบวชมาได้ 12 พรรษา การพักผ่อนน้อย สังขารอ่อนแอลง ซึ่งเป็นอุปสรรค ตอ่ การบิณฑบาต และปฏบิ ัติภารกจิ ของสงฆ์จึงได้ลาสกิ ขาบท มาอยบู่ ้านระยะหน่ึง ต่อมาจึงได้รับเชิญ ให้ไปช่วยแนะนาสั่งสอนมวยในค่าย ส.เพลินจิตร จนปัจจุบัน วันดีคืนดีก็มีผู้มาขอให้ราไหว้ครูเพื่อ บันทกึ เทป ซึง่ ก็เต็มใจทาให้โดยไมเ่ รยี กรอ้ งอะไร ในเรื่องการไหว้ครูน้ัน วิหค เทียมกาแหง มีความเห็นว่าปัจจุบันนักมวยไม่ใส่ใจกันแล้ว พอข้ึนเวทีก็ใช้วิธีรูดเชือกซ่ึงก็มักจะรูดไปโดยไม่รู้ว่าการวนไปทางซ้ายอย่างท่ีทา ๆ กันนั้นเป็น การอวมงคล นอกจากนีน้ กั มวยปจั จุบนั ยังอายและกลัวว่าหากราสวยแล้วชกแพ้คนจะหัวเราะเยาะ ในทรรศนะของเขาแล้วการไหว้ครูเป็นศิลปะท่ีต้องอนุรักษ์และเป็นคนละเรื่องกับการชกแพ้ หรอื ชนะ นอกเหนือไปจากฝีมือแลว้ เจา้ ของฉายาปักษาร้าย เพราะเรือนกายอันสูงสง่างามและหน้าตา ของพระเอกหนังไทย อดีตนักชกนามกระเด่ืองต้ังแต่สมัยเวทีโรงละครศรีอยุธยา ได้รับการจดจาไว้ จนทุกวันนี้ด้วยลีลาการไหว้ครูเป็นท่ียอมรับกันว่าในประวัติศ าสตร์มวยไทยยุคใหม่นี้ไม่มีผู้ใดแสดง ศลิ ปะการไหวค้ รไู ดค้ รบถว้ น ถกู ต้อง และออ่ นช้อยงดงามไดเ้ ท่า

186 ผู้ท่ีมีส่วนทาให้วิหคเป็นนักมวยคือบิดา ซึ่งมีความรู้เช่ียวชาญทางวิชามวยจีนและได้รับสืบ ทอดมา พัฒนาใช้คนท่ีสองครูผู้ประสิทธ์ิประสาทแม่ไม้มวยไทยและศิลปะการไหว้ครูทั้งหมดให้ คือ หมืน่ ชงัดเชงิ ชก ฝึกหัดกค็ อื บ้านของท่านหม่ืนชงดั เชงิ ชก หรอื บ้านหัวถนนซึ่งเป็นหมบู่ า้ นตดิ กัน หลังจากหัดแม่ไม้มวยมาเกือบ 2 ปี จนนับได้ว่าเป็นแล้วท่านหมื่นชงัดชงัดเชิงชก เห็นว่ามี นิสัยสนใจและมีหน่วยก้านเหมาะสมดี จึงถ่ายทอดศิลปะการราไหว้ครูให้ต่อไป ซ่ึงกว่าจะเรียนได้ ครบทุกท่ากระบวนก็เป็นเวลาเกือบปี เริ่มหัดต้ังแต่ท่าย่างสามขุม เทพนม พรหมส่ีหน้า สอดสร้อย มาลา ม้ากระทืบโรง มา้ ยอ่ งคะนองศกึ สาวนอ้ ยประแป้ง สาวนอ้ ยสาวไหม คชสารชูงวง ท่าตระกูลลิง คือหนุมานถวายแหวน หนุมานครองเมือง หนุมานเปิดฟ้า วายุบุตรออกศึก พระรามจองถนน พระรามแผลงศร กวางเหลียวหลัง ฯลฯ เล่นละครย่อยกับล้อต๊อกท่ีโรงหนังวัฒนา วิหค ยุติชีวิต นักมวยในปี 2491หลงั จากท่ีแก้มือกับสวงได้สาเร็จทชี่ ลบรุ ี เวลานนั้ อายุ 30 ปี 11. ประยุทธ อดุ มศกั ดิ์ (ม้าสหี มอก , สภุ าพบรุ ุษจากที่ราบสงู ) ช่ือจริงคือ นายสวัสด์ิ ดอกมณี เกิดที่ตาบลสีสุก อาเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา จบการศกึ ษาชน้ั มธั ยมศึกษาปีที่ 8 จากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย เมอื่ พ.ศ. 2490 ประยุทธเริ่มชกมวย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2485 ท่ีเวทีมวยวิกน่าแช (ปัจจุบันท่ีต้ัง ห้างสรรพสินค้าคลังวิทยา ถนนจักรี) ชนะคะแนนสีมา เทียมกาแหง ตอนเร่ิมชกมวยนั้นประยุทธ ไม่ เคยหัดชกมวยมาก่อน ใช้ชน้ั เชงิ มวยวัดเป็นส่วนใหญ่ และใช้ชื่อว่า ยุทธ บุญส่ง ต่อมาได้ฝากตัวเป็น ศิษย์ครูมณฑล อุดมโชค ครูโรงเรียนศิริวิทยากรหัวหน้าคณะอุดมศักด์ิ เร่ิมใช้นามเรืองยุทธ อุดมศักด์ิ และเปล่ียนเป็นประยุทธ อุดมศักด์ิ เมื่อเข้าไปชกท่ีกรุงเทพฯ ทั้งท่ีเวทีท่าพระจันทร์และเวที ราชดาเนิน ประยุทธ อุดมศักดิ์ ได้รับการยกย่องจากวงการมวยว่าเป็นสุภาพบุรุษจากท่ีราบสูง เพราะการชก ท่ีสุภาพ ไม่เอารัดเอาเปรียบซ้าเติมคู่ต่อสู้เวลาเพล่ียงพล้า มีน้าใจนักกีฬาอย่าง นา่ สรรเสริญ มีลลี าชั้นเชิงการชกทแี่ พรวพราวใชอ้ าวุธมวยไทยได้รอบตัว การต่อสู้แต่ละครั้งไม่ว่าแพ้ หรือชนะ จะเป็นทปี่ ระทบั ใจผชู้ มเป็นอยา่ งยง่ิ ประยุทธ อุดมศักดิ์ มีชื่อเสียงมากทั้งในการชกท่ีเวทีราชดาเนินและเวทีต่างจังหวัด ชกชนะนักมวยเอกหลายคนจนหาคู่ชกไม่ได้ ได้เป็นแชมเป้ียนมวยไทยรุ่นมิดเดิ้ลเวทถึง 2 ครั้ง ภายหลังเม่ือหาคู่ชกไม่ได้ก็เปลี่ยนไปชกมวยสากล แล้วหวนกลับมาชกมวยไทยอีกเมื่ออายุ 30 ปี ชกกับสมเดช ยนตรกิจ ที่เวทีท่าพระจันทร์ (คือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และแพ้น็อคแก่สมเดช ยนตรกิจ 2 คร้ัง มีขอ้ น่าสงั เกตว่าประยุทธ อุดมศักดิ์ พ่ายแพ้ลูกศิษย์ของอาจารย์ผวน กาญจนากาศ ปรมาจารยม์ วยคนสาคัญของโคราช ประยทุ ธ อุดมศักด์ิ เป็นนักมวยตั้งแต่ พ.ศ. 2485ถึง พ.ศ. 2500 อยู่ในวงการมวยถึง 16 ปีเต็ม ผ่านสังเวียนการชกมวยมากกว่า 100 คร้ัง ปราชัยโดยถูกน็อค 4 ครั้ง แพ้คะแนน 1 คร้ัง แพ้เทคนิคเกิ้ล 1 ครั้ง เสมอ 2 คร้ัง ชนะเกินกว่า 92 ครั้ง นับเป็น สถิติท่ีดีเด่นยากท่ีจะหานักมวยอ่ืนใดเสมอเหมือน ประยุทธ อุดมศักดิ์ รับราชการเป็นข้าราชการ ระดับสูงของแผนกอากร กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ต่อมาได้อาลาชีวิตราชการ ปัจจุบันถึง แก่กรรมแลว้

187 ภาพท่ี 100 ประยุทธ อมุ ดมศกั ดิ์ “ม้าสหี มอก” ถา่ ยภาพก่อนชกกบั บรรจง ศิลาชยั ทม่ี า : มวยไทยพาหยุ ุทธ์ นักมวยโคราชท่ีมีชื่อเสียงยังมีอีกหลายคนเช่น หลุย เดชศักดา (หมอผี) สุริยา ลูกทุ่ง (ดารา เท้าไฟ) วิหค เทียมกาแหง มีคากล่าวเกี่ยวกับนักมวยว่า นักมวยไทยช้ันดี มิได้หัดเฉพาะศิลปะ การต่อสู้เพ่ือเอาชนะแต่อย่างเดียวแต่จะต้องฝึกจิตใจให้อยู่ในระเบียบวินัยประกอบ ไปด้วยศีลธรรม จรรยา ความมีน้าใจ ความกตัญญูกตเวที มีใจเป็นนักกีฬาอย่างแท้จริงด้วย แม้วิถีทางการต่อสู้จะ ค่อนข้างรุนแรง แต่ตัวคนมิได้บ้าระห่ากระหายเลือดแต่ย่างใด นักมวยไทยยิ่งมีช่ือเสียงมากเท่าใด ย่ิงเปน็ คนนอบนอ้ มถ่อมตนมากขึ้นเท่าน้ัน 3. มวยไทยสายโคราชยคุ เริม่ ต้นสวมนวม (รชั กาลที่ 6 – รัชกาลท่ี 8) เร่มิ มีการนาเอานวมแบบฝร่ังมาให้นักมวยสวมชกกันแทนการคาดเชือก อันเนื่องมาจากกรณี ท่ี นายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยจากท่าเสา อุตรดิตถ์ ชกกับนายเจียร์ นักมวยจากเขมร ด้วยการ ชกกันในแบบคาดเชือก นับเป็นรอยต่อระหว่างมวยคาดเชือกกับการสวมนวมชกโดยแท้ ในยุคนี้มี นักมวยจากนครราชสมี าเข้าไปทาการชกในกรุงเทพมหานครและมีชื่อเสยี งโด่งดงั หลายคน ในสมัยน้ียัง มีการสอนมวยไทยโคราชในโรงเรียนนายรอ้ ยพระจุลจอมเกลา้ โดยครูบวั นิลอาชา (วดั อม่ิ ) ในสมัยนี้เป็นช่วงระยะเวลาท่ีนักมวยไทยโคราชมีมากข้ึน เข้าทาการแข่งขันในกรุงเทพฯ มากข้ึน เป็นช่วงระยะที่มีเวทีราชดาเนินก่อสร้างขึ้นตามด้วยเวทีลุมพินีจัดการแข่งขันโดยให้นักมวยมี การสวมนวมชก มกี ฎกติกาควบคมุ การแข่งขันและตัดสนิ ชดั เจน ทุกอย่างมีรูปแบบเป็นสากลมากขึ้น เมืองโคราชมีคณะนักมวยเกิดข้ึน เช่น คณะเทียมกาแหง คณะแขวงมีชัย คณะอุดมศักด์ิ คณะ สุรพรหม คณะปราสาทหินพิมาย คณะลูกสุรินทร์ คณะสินประเสริฐ คณะกฤษณะสุวรรณ คณะ สิงหพัลลภ เป็นต้น นักมวยโคราชท่ีสร้างชื่อเสียงให้แก่เมืองโคราชในยุคน้ี เช่น สุข ปราสาทหินพิ มาย ประยุทธ อดุ มศกั ดิ์ สมเดช แขวงมชี ัย (ยนตรกิจ) เลิศชยั ยนตรกจิ ณรงค์ แขวงมีชัย สุรเดช แขวงมชี ัย (ทรงกิตตริ ัตน์) สายฟา้ แขวงมีชยั สงวนศักดิ์ แขวงมีชัย ดาวใหม่ แขวงมชี ัย เผด็จ แขวงมี

188 ชัย ชัยยง ราชวตั ร คงคา อดุ มศกั ด์ิ สงิ ห์ อดุ มศกั ด์ิ พิชติ อดุ มศักด์ิ ฉลวย อุดมศักด์ิ หลุย เดชศักดา (หมอผี) พีระ ลูกสุรินทร์ ฯลฯ (ผวน กาญจนากาศ. 2515 : 1 - 25) 4. มวยไทยสายโคราชยุคฟน้ื ฟู (รชั กาลที่ 9 – ปัจจุบนั ) ในยุคนี้ไม่มีการฝึกหัดมวยไทยสายโคราชคาดเชือกแบบโบราณ ในเขตพ้ืนที่จังหวัด นครราชสีมา แต่เป็นยุคที่คณะมวยโดยทั่วไปมีวัสดุอุปกรณ์ประกอบการฝึกซ้อม และอุปกรณ์ การป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดกับนักมวยมีมากขึ้นที่ทันสมัยมากมายหลายอย่าง มีการใช้หลักการ ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาช่วยในการฝึกซ้อม การฝึกอบรมผู้ฝึกสอนมวยอยู่เสมอ ๆ ท้ัง ผู้ฝึกสอนและ ตัวนักมวยเองมีความรู้ความเข้าใจในองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายมากข้ึน มีเวทีสาหรับการจัดการแข่งขันอยู่ทุกหนทุกแห่งท้ังเวทีถาวรและเวทีชั่วคราว มีการแข่งขันและ ถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์อย่างแพร่หลาย มีชาวต่างชาติจากท่ัวโลกได้ให้ความสนใจฝึกมวยไทย อย่างจริงจังและกว้างขวาง อดีตนักมวยท่ีมีชื่อเสียงไปเป็นผู้ฝึกมวยให้กับชาวต่างชาติท่ีต่างประเทศ มีการจัดแข่งขันชิงแชมป์เป้ียนโลกมวยไทยสมัครเล่น และเป็นไปในเชิงธุรกิจมากกว่าท่ีจะเป็น การส่งเสริมอนุรกั ษศ์ ิลปวัฒนธรรมทางการต่อสู้แบบมวยไทย แต่ในสมัยนี้ มีนักมวยลูกศิษย์ของครูบัว นิลอาชา (วัดอิ่ม) ท่ีได้รับการถ่ายทอดตาราและ ไม้มวยไทยโคราช ท่ีเขียนด้วยลายมือครูบัว และเก็บรักษาต้นฉบับดังกล่าวไว้ และดาเนินการอนุรักษ์ ศิลปะมวยไทยสายโคราช รว่ มกับกลมุ่ ผู้สนใจ ครูมวยไทยสายโคราชยคุ ฟื้นฟู 1. ครูประนอม อัมพนิ ย์ (ครูแดง วรวฒุ )ิ เริ่มหัดมวยคร้ังแรกกับครูแอ ม่วงดี และเรียนเพิ่มเติมกับครูบัว วัดอ่ิม ครูพูน พระขรรค์ชัย เริ่มชกมวยคร้ังแรกท่ี งานพระเจดีย์ทรายปากน้า ชกท้ังมวยไทย และมวยสากล ตามเวทีต่าง ๆ และ ไปชกมวยท่ีประเทศกัมพชู าหลายครั้ง พ.ศ.2497 เร่ิมชกมวยนักเรียนสมัครเล่น ได้เป็นแชมเปี้ยนมวยนักเรียนฯ มีประสบการณ์ ชกมวยทเี่ วทรี าชดาเนิน และลุมพนี ีประมาณ 100 ครงั้ เป็นกรรมการตัดสนิ มวยไทย เป็นผ้ฝู กึ สอนมวยไทยค่ายวรวฒุ ิ คา่ ยลอ้ เหล็ก ฯลฯ สรา้ งแชมป์เปีย้ นมวยไทยหลายร่นุ เชน่ พุฒ ลอ้ เหลก็ ผดุ ผาดน้อย วรวุฒิ เวนชิ บขส เมด็ พริก ศลิ าชัย โนรี จอ็ กกย้ี มิ และอีกหลายคน ไดม้ ีโอกาสแสดงแมไ่ มม้ วยไทย ทางสถานโี ทรทัศน์ พ.ศ.2536 ไดร้ ับรางวลั เสาอากาศทองคา เรอื่ งย้อนมวยไทยในอดีต พ.ศ.2542 ไดร้ บั รางวลั เสาอากาศทองคา เร่อื งมวยไทยมรดกโลก มรดกไทย มรดกโลก และได้ชก มวยให้บคุ คลสาคญั ได้ชม เชน่ หมอ่ มราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช พลเอกเปรม ตณิ สูลานนท์ ได้เปน็ ตวั แทนประเทศ ไปแสดงราแม่ไม้มวยไทยที่ประเทศเยอรมันนี สวสิ เซอร์แลนด์ และฝรง่ั เศส ปจั จุบัน เป็นอาจารยพ์ ิเศษ สอนมวยไทยทีม่ หาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ทา่ พระจันทร์ และศูนยร์ งั สิต

189 ภาพท่ี 101 ครูประนอม อมั พนิ ย์ (ครูแดง วรวฒุ ิ) ครูมวยไทยสายโคราช 2. พนั เอก อานาจ พกุ ศรีสขุ ภาพที่ 102 พนั เอกอานาจ พุกศรีสุข ครมู วยไทยสายโคราช พนั เอกอานาจ พุกศรีสุข เกดิ ทจ่ี ังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นผู้ที่มีความสนใจและใส่ใจฝึกหัดใน ศิลปะ การต่อสู้แบบไทยโบราณมาต้ังแต่สมัยเป็นเด็ก ไม่ได้มีโอกาสใช้ชีวิตท่องเท่ียวเหมือนวัยรุ่น ทั่ว ๆ ไป เพราะรักในการฝึกมวยไทยโบราณ และฝึกหัดอย่างจริงจังในสมัยที่เรียนโรงเรียนนายร้อย พระจลุ จอมเกล้า เปน็ ลูกศิษย์ครูบัว นิลอาชา (วัดอ่มิ ) ได้ศึกษาค้นคว้าและฝึกหัดมวยไทยโบราณสาย ต่าง ๆ เช่นมวยไทยสาย พระนคร มวยไทยสายไชยา มวยไทยสายท่าเสา มวยไทยสายลพบุรี มวยไทยสายโคราช จนแตกฉานและมีความเช่ียวชาญ มีการแลกเปล่ียนความรู้และฝึกหัดศิลปะมวย ไทยโบราณกับกลุ่มบุคคลท่ีสนใจเหมือนกัน เช่น ลูกศิษย์ของปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย ลูกศิษย์ของ ครูทองหลอ่ ยาและ ลูกศิษย์ของครูแปรง ลูกศิษย์ของครูเล็ก ประกอบด้วยครูสมศักด์ิ ครูอเล็ก ซุย ชาวฮอ่ งกง ครตู ุ้ย ครตู ้น ครูตกั๊ ครแู สบ และครูดาบลา้ นนา

190 หลังจากทค่ี รูบัว ได้รบั การฝึกมวยไทยตาราโคราชจากพระเหมสมาหารจนชานาญแล้ว ครู บัวได้เขียนตาราไม้มวยไทยโคราชด้วยลายมือของท่านเอง ในช่วงระยะเวลาท่ีเป็นครูสอนมวยอยู่ที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ท่านได้นาเอาตารานี้ไปสอนให้กับนักเรียนนายร้อย สุดท้ายครูบัว ได้มอบตาราให้ นายประจวบ นิลอาชา และ พันเอกอานาจ พุกศรีสุข ซ่ึงเป็นบุตรและศิษย์ เป็นผู้ เก็บรักษาไว้ก่อนเสียชีวิต นับว่าเป็นเอกสารตาราสาคัญทางประวัติศาสตร์ไทย และของมวยไทย เพราะเปน็ ตารามวยไทยสายโคราชท่ีสมบูรณท์ ส่ี ดุ จากปรมาจารย์มวยไทยสายโคราชโดยตรง พนั เอกอานาจ พกุ ศรีสขุ ไดเ้ ปดิ สถานท่ีฝึกมวยไทยในช่ือ “สถาบันสยามยุทธ์” เปิดทาการ สอนศิลปะมวยไทยโบราณโดยเฉพาะไม่ว่าจะเป็นมวยพระนคร (มวยกรุงเทพฯ) มวยไทยสายไชยา (มวยภาคใต้) มวยไทยสายท่าเสาและพระยาพิชัย (มวยอุตรดิตถ์ ภาคเหนือ) มวยไทยสายลพบุรี (มวยภาคกลาง) และมวยไทยสายโคราช (มวยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และ พันเอกอานาจ พุกศรีสุข ได้นาเอาทักษะของมวยท่ัวทุกภาคที่เป็นลักษณะเด่น ๆ ของแต่ละภาคมารวมกัน แล้ว ประยุกตจ์ ัดทาเป็นโครงสร้าง และ หลักสตู รเนือ้ หาวิชามวยไทยข้ึนใหม่ในช่ือว่า “มวยไทยนวรัช” (ถือกาเนิดขนึ้ ในรัชสมยั พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัวภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช รัชกาลท่ี 9) ปัจจุบัน พันเอกอานาจ พุกศรีสุข ทาการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยโบราณให้ผู้ที่มีความสนใน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศท้ังในประเทศและในต่างประเทศอย่างสม่าเสมอ มีสมาชิกที่ร่วมกัน ก่อตั้งสถาบันสยามยุทธ และสานักมวยไทยนวรัช ซ่ึงเป็นลูกศิษย์ของครูมวยท่ีสาคัญ ๆ ของไทยใน อดีตร่วมกันอนุรักษ์ จรรโรง รักษา สืบสาน พร้อมทั้งเผยแพร่ศิลปะป้องกันตัวมวยไทยโบราณของ ทุกภาคทุกแขนงให้กับผู้ท่ีสนใจอย่างจริงจังสม่าเสมอ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ณ สถาบัน สยามยุทธ์ และสานักมวยไทยนวรัช เลขที่ 62/158 ซอยอินทรามะระ 20 ถนนสุทธิสาร แขวง ดินแดง เขตดนิ แดง กรงุ เทพมหานคร 3. ครูเช้า วาทโยธา ภาพที่ 103 ครเู ช้า วาทโยธา ครมู วยไทยสายโคราช

191 เกดิ วนั ท่ี 15 กันยายน พ.ศ.2499 การศึกษา - มัธยมศกึ ษาปีที่ 3 โรงเรยี นขอนแก่นวิทยายน อาเภอเมือง จงั หวดั ขอนแกน่ - ประกาศนยี บตั รวิชาชีพการศกึ ษาวิทยาลัยครอู ุดรธานี อาเภอเมอื ง จงั หวดั ขอนแก่น - ประกาศนยี บตั รวิชาชพี การศกึ ษาช้ันสูง (พลศึกษา) วิทยาลัยพลศกึ ษาอุดรธานี - ปริญญาตรี (พลศึกษา) มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ - ปรญิ ญาโท (มวยไทยศึกษา) มหาวทิ ยาลัยราชภฎั หม่บู า้ นจอมบงึ ปัจจุบนั - ครู วิทยฐานะชานาญการพิเศษ (มวยไทย กระบ่ี) โรงเรยี นบ้านไผ่ อาเภอบ้านไผ่ จงั หวดั ขอนแก่น ประสบการณ์ - นกั กฬี ามวยไทย ช่ือในการชก โจหลุยส์ ลกู พละบดี (ลูกเอราวัณ) - ผชู้ ขี้ าดและผูต้ ดั สนิ มวยไทยสมคั รเล่นสมาคมมวยไทยแหง่ ประเทศไทย - เป็น 1 ใน 5 คณะกรรมการยกร่างกติกาสหพันธม์ วยไทยโลก (WMF) - คณะกรรมการจดั การแข่งขัน ตัดสิน ชีข้ าดการแขง่ ขนั มวยไทยสมัครเลน่ ชิงแชมปเ์ ปี้ยนโลก - หัวหนา้ ผ้ฝู กึ สอนมวยสากลสมัครเลน่ เขตการศึกษา 9 กฬี ากรมสามัญศึกษา - ผฝู้ ึกสอนมวยสากลสมคั รเลน่ ยอดเยยี่ ม เขตการศึกษา 9 - ผา่ นการอบรมผ้ฝู กึ สอนมวยสากลสมคั รเล่น ชนั้ สูง ของ AIBA - ประธานผูต้ ัดสนิ สมาคมมวยสากลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถมั ภ์ ภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ - ผชู้ ีข้ าดและผูต้ ัดสนิ สมาคมมวยสากลสมคั รเลน่ แห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชปู ถมั ภ์ - ผูต้ ัดสนิ สหพนั ธ์มวยสากลสมัครเล่นนานาชาตแิ หง่ ทวปี เอเชยี (FABB) - ไดร้ บั เชญิ จากสถานทูตไทยประจากรงุ ดูไบให้ไปจัดการแข่งขันมวยไทยนานาชาติ ณ ประเทศสหรัฐอาหรบั เอมเิ รตต์ 4. พนั เอกประสารศษิ ฐ์ ศรีศกั ดิ์

192 ภาพท่ี 104 พนั เอกประสารศิษฐ์ ศรีศกั ดิ์ ครมู วยไทยสายโคราช วันเดือนปีเกดิ 29 มถิ ุนายน 2504 สถานทีเ่ กิด อาเภอเมือง จงั หวดั ร้อยเอ็ด สถานท่อี ย่ปู ัจจุบัน บา้ นเลขที่ 1835 / 3 ซอย 15 ถนนเดชอดุ ม ตาบลในเมือง อาเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 ประวัติการศึกษา - ชั้นมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 4 โรงเรียนราชสมี าวทิ ยาลัย จังหวัดนครราชสมี า - ปรญิ ญาตรี โรงเรยี นนายร้อยพระจุลจอมเกล้า สาขาวิศวกรรมโยธา - ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑติ สาขาวชิ ามวยไทยศึกษา วิทยาลยั มวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลยั ราชภัฏหมบู่ ้านจอมบึง - ช้ันนายร้อยเหล่า ปืนใหญ่ ร่นุ ที่ 28 ปี 2528 - ช้นั นายพนั เหลา่ ปืนใหญร่ นุ่ ท่ี 35 ปี 2532 - โรงเรียนเสนาธกิ ารทหารบก ชุดที่ 72 ปี 2536 ประวตั กิ ารเรยี นและแข่งขันมวยไทยและมวยสากล - พ.ศ.2517-2518 เรยี นวชิ ามวยไทย ทโี่ รงเรียนราชสีมาวทิ ยาลยั จงั หวดั นครราชสีมา กับครผู วน กาญจนกาจ เจ้าของค่ายมวยแขวงมีชยั ซ่งึ เป็นคา่ ยมวยไทยดังของโคราช และอาจารย์ผวนฯ เป็นครูมวยไทยสายโคราชท่มี ีชื่อเสียงมากคนหน่ึงในสมยั นั้น - พ.ศ.2521 - 2522 แชมปม์ วยสากล ของโรงเรยี นเตรียมทหาร 2 ปีซอ้ น - พ.ศ.2523 - 2525 แชมป์มวยสากล ของโรงเรยี นนายรอ้ ยพระจุลจอมเกล้า 3 ปซี อ้ น - พ.ศ. 2529 - 2530 เป็นนายทหารควบคมุ ทมี มวยทหาร แขง่ ขนั กีฬากองทพั ภาคท่ี 2 - พ.ศ.2550 - 2552 ศึกษาและจบ ปริญญาโท สาขาวิชามวยไทยศึกษา วิทยาลยั มวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวทิ ยาลัยราชภัฏหมูบ่ ้านจอมบึง - พ.ศ.2553 - ถึงปจั จุบัน กาลังศกึ ษาปริญญาเอก สาขาวิชามวยไทยศึกษา

193 วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 5. นายศรณ์ สุขพิมาย ภาพที่ 105 ครศู รณ์ สขุ พิมาย ครูมวยไทยสายโคราช เกดิ วัน เดอื น ปเี กดิ 15 กมุ ภาพันธ์ 2497 ปัจจุบันขา้ ราชการบานาญ สานกั งานเขต พ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จงั หวดั นครราชสมี า ที่อยู่ปัจจบุ นั 173 ตาบลสุรนารี อาเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ประวตั กิ ารศกึ ษา - พ.ศ.2554 ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามวยไทยศึกษา วิทยาลยั มวยไทยศึกษา และการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลยั ราชภัฏหมู่บ้านจอมบงึ - พ.ศ.2519 การศึกษาบัณฑิต (สังคมศึกษา) มหาวทิ ยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม - พ.ศ.2516 ประกาศนยี บตั รวชิ าการศึกษาชั้นสูง (สงั คมศึกษา) วิทยาลัยครนู ครราชสีมา ประสบการณ์การรบั ราชการ - พ.ศ.2541-2543 ชว่ ยราชการที่ โรงเรยี นบญุ วฒั นา 2 อาเภอเมือง จงั หวัดนครราชสีมา - พ.ศ.2546 ครโู รงเรียนโคราชพิทยาคม อาเภอเมือง จังหวัดนครราชสมี า ปฏิบัติ หนา้ ทส่ี อนวชิ าสงั คมศึกษา ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย และตอนตน้ ปฏิบัตหิ นา้ ท่ีหัวหนา้ กจิ กรรม นักศึกษาวิชาทหาร หวั กลุ่มสาระสงั คมศกึ ษาและวฒั นธรรม หวั หนา้ งานสารสนเทศ คุณวุฒดิ า้ นมวยไทย - ผู้ฝึกสอนกฬี ามวยไทยอาชพี ระดับ B License และ C License ของสานักงาน คณะกรรมการกีฬามวย การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกฬี า - ข้ันปรมาจารยม์ วยไทย ข้ัน 16 มงคลทอง สมาคมครูมวยไทย ประสบการณ์การด้านมวยไทย

194 - ทาหน้าวทิ ยากรให้การอบรมและความรู้ดา้ นมวยไทย - ครมู วยไทยสายโคราช ของศูนย์อนุรักษม์ วยไทยโรงเรยี นโคราชพิทยาคม จังหวัด นครราชสมี า - ร่วมโครงการแลกเปลี่ยนศลิ ปะการตอ่ สู้ระหวา่ งประเทศไทยและสาธารณรฐั ประชาชน จีน ของวิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทยแ์ ผนไทย มหาวทิ ยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2. เอกลักษณ์ของมวยไทยสายโคราช มวยไทยสายโคราช เปน็ มวยทมี่ คี รูมวยถ่ายทอดต่อ ๆ กันมามาเป็นเวลายาวนาน ครูมวยไทย สายโคราชท่ีถือเป็นต้นตารับของตารามวยไทยสายโคราช คือ พระเหมสมาหาร อดีตเจ้าเมืองโคราช ซ่ึงท่านได้เขียนเป็นตารามวยไทยสายโคราชไว้สาหรับลูกศิษย์ได้ปฏิบัติและฝึกตนตามตาราอย่าง เคร่งครัด มีความแตกต่างจากมวยภาคอ่ืน ๆ อย่างชัดเจน จึงทาให้นักมวยจากเมืองโคราชมีความ เก่งกล้าสามารถดงั ทีท่ ราบแล้ว เอกลักษณ์มวยไทยสายโคราช หมายถึง การแต่งกาย การพันหมัดแบบคาดเชือก การจด มวย การฝึกซ้อม การชกหมดั เหวยี่ งควาย การรามวย จากการศกึ ษาและค้นพบในรายละเอียดเกี่ยวกับ เอกลกั ษณ์ ของมวยไทยสายโคราช ผู้วิจัยพบว่ามีรายละเอียดมากมายหลายประการ ดังนั้น เพ่ือความ เขา้ ใจทีช่ ดั เจนและง่ายต่อการศกึ ษา ผู้วจิ ยั ขอนาข้อมลู ท่ไี ด้ศึกษามาจาแนกเป็น รายละเอียดในแต่ละ ประเดน็ ดังตอ่ ไปน้ี 1. การแต่งกายของมวยไทยโคราช อานาจ พุกศรสี ุข และประจวบ นลิ อาชา (2530 : 37 - 39) เอกลกั ษณ์ของมวยไทยโคราช ที่แตกต่างจากมวยภาคอ่ืน ๆ คือ การพันหมัดแบบคาดเชือก มวยไทยโคราชเป็นมวยท่ีเตะต่อยวง กว้างท่ีเรียกกันว่า “เหวี่ยงควาย” จึงใช้ด้ายดิบคาดหมัดแล้วขมวดรอบๆแขนจนจรดข้อศอกเพ่ือ ป้องกันการเตะ วิธีคาดหมัดเช่นน้ีเป็นท่ีกล่าวขวัญกันมานานคือ หม่ืนชงัดเชิงชก อันเป็นเกียรติ ประวัติทาให้เมืองโคราชได้ข้ึนช่ือว่าเป็นเมืองมวย การชกมวยในสมัยโบราณไม่มีนวมใช้เช่นปัจจุบัน ใชด้ ้ายดิบแช่นา้ ขา้ ว ทาใหแ้ ขง็ พนั ไว้ที่มือเรยี กกันว่า “ คาดเชือก” นักมวยคาดเชือกที่มือด้วยด้ายดิบ เพ่อื ป้องกันการเคลด็ ยอก ซน้ ซึ่งจะทาให้ ชกไม่ถนัดความสามารถก็หย่อนลงไป จึงต้องหาสิ่งท่ีจะมา ปิดป้องและเสริมให้หมัดนั้นแข็ง คนโบราณจึงหาด้ายดิบที่ผูกเป็นไจเส้นโตเท่าดินสอดายาวประมาณ 20 – 25 เมตร มาพันมอื สวมกางเกงขาส้ัน ใช้ผ้าขาวม้าม้วนผูกเป็นนวมทับอย่างแน่นหนาป้องกันลูก อัณฑะปกคลมุ มาจนถึงตรงเอว ไม่สวมเส้ือ ปลายเท้า เปลือยเปล่า ต่อมาได้ทาเป็นเบาะรูป 3 เหล่ียม ใช้เชือกผกู ชายมมุ ทั้ง 3 มุม ใช้แทนกระจบั (สมยั โบราณยังไม่มีกระจับหุ้ม) สวมมงคล แม้ขณะชกก็ยัง สวมอยู่ มผี ้าประเจียดมัดไวท้ ีต่ ้นแขนซ้ายและขวา

195 ภาพที่ 106 การแตง่ กายของมวยไทยสายโคราช 2. การพนั หมดั แบบคาดเชือก อานาจ พุกศรสี ขุ และประจวบ นิลอาชา (2530 : 37 - 39) ได้กลา่ วว่า วิธีการคาดเชอื ก แบบมวยไทยสายโคราช ผู้จะข้ึนชกจะต้องได้รับการคาดเชือกจากพี่เลี้ยงหรือครูผู้ประสิทธิประสาท วิชาเสียก่อน ด้วยการนั่งชนั หัวเขา่ ทัง้ สองขา้ งเพือ่ รับแขนทเี่ หยียดออกไปข้างหน้า ตรงข้อศอก คว่ามือ กางนิ้ว ท้ังห้าออกเต็มที่ แล้วเริ่มคาดด้ายดิบตรงข้อศอกเพ่ือให้กระดูกกระชับม่ันคง ไม่เกิดการเคล็ด และซน้ ต่อจากนั้นก็พันรอบนอก หลังมือและข้อมือ ไปจนจรดปลายนิ้วอย่างหลวม ๆ หันกลับมา ทางข้อมืออีกครั้งแล้วจึงสอดด้ายรวบรั้งจากปลายน้ิวเข้ามาจนเลยง่ามมือ ให้ข้อนิ้วโผล่ถึงระยะน้ี หมัดที่คาดเชือกยังคงอ่อนนุ่มคล้ายนวม เมื่อด้ายดิบยังเหลืออยู่ประมาณหน่ึงเมตร ผู้คาดเชือกจะบิด ดา้ ยดิบให้เป็นเกลียวแข็ง เป็นกน้ หอย นักมวยจะตอ้ งขยบั น้ิวเพ่ือป้องกนั เหน็บชา สอดก้นหอยเข้าที ละตัว เรียงรายจนท่ัวหลังหมัด ซึ่งมีความตึงเข้าทุกที เท่าน้ียังไม่พอ เพราะก้นหอยยังพลิกได้ ยังใช้ ด้ายเรียกว่าหางเชือก หรือ สัก สอดตึงให้ก้นหอยไม่เอียงตั้งตรงเป็นลักษณะหนามทุเรียน ขลิบเอา ปลายแหลมออก เมื่อเร่ิมจะชกจริงพ่ีเลี้ยงยังอมน้า พ่นลงไปที่หลังหมัด ด้ายดิบท่ีถูกบิดตัวกลม ๆ เป็นก้นหอย เมื่อถูกน้าเข้าจะเป่งตัวแข็ง ฉะนั้นมวยสมัยโบราณ ถ้าหากวิชาการไม่ดีจริง หรือ เคร่อื งรางของขลังไมศ่ ักด์ิสทิ ธ์ิพอ หรอื ออ่ นดว้ ยการฝึกซอ้ มจะถกู ต่อยจนตามบวมปิด ด้ายดิบท่ีใช้คาดหมัด ครูมวยโบราณบางท่าน ใช้ด้ายที่มัดตราสังศพ ซึ่งถูกเก็บไว้นานปี เลือดหรอื เนื้อตดิ เกรอะกรงั ทด่ี ้ายนัน้ แขง็ คมเหมือนกระดาษทรายลงอาคม และถือกันว่าเป็นของขลัง หรือ ของอาถรรพ์อย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามส่ิงเหล่าน้ีเป็นเคร่ืองช่วยทางจิตใจและด้านกาลังใจ ให้ เกิดความเพิ่มพูนขึ้นเท่าน้ัน จะฝึกฝนวิชาการมาอย่างดี ตลอดจนหลักวิชาเกิดความช่าชอง และ เชยี่ วชาญแล้วเท่าน้นั จึงจะเป็นอาคมท่แี ก่กลา้ สามารถเอาชนะคู่ต่อสูไ้ ด้อย่างชะงดั

196 ภาพท่ี 107 การพันหมัดแบบคาดเชือกเอกลักษณ์ของมวยไทยสายโคราช 3. การจดมวยตารามวยไทยสายโคราช อานาจ พุกศรีสุข และ ประจวบ นิลอาชา (2530 : 47) ลักษณะการจดมวยทางโคราช นิยม จดมวยทางหนา ไม่นิยมจดมวยทางบางเช่นมวยสากล ลักษณะทิ้งเท้าเข่างอเล็กน้อยโดยให้ นา้ หนักเท้าอยูท่ ี่หนา้ ส้นเท้าหลงั เขย่ง เทา้ ไหนออกหนา้ หมัดข้างน้ันจะต้องจดอยู่ด้านหน้า เท้าไหนอยู่ ดา้ นหลังหมัดขา้ งนน้ั จะตอ้ งคมุ้ อย่เู หนอื ราวนมหรือสูงกว่าเล็กน้อยลาตัวหันเข้าหาคู่ต่อสู้เต็มตัว (เรียก จดมวยทางหนา) เมื่อจะเปลี่ยนทางจดมวยให้สืบเท้าหน้าไปข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อการช่วยจังหวะ เท้า หลังก้าวไปข้างหน้า หมัดหลังที่คุมอยู่ม้วนเป็นวงช้า ๆ ข้ามหมัดท่ีจดอยู่ด้านหน้าไปเป็นหมัดจด และ หมดั ท่จี ดอย่ดู า้ นหนา้ กลบั มาเปน็ หมดั คมุ แทนทง้ิ เท้าหลงั ช่วยจงั หวะอีกเล็กน้อย การรุกเข้าออกโดยใช้ เทา้ เช่นนท้ี ่ีกลา่ วนี้เองทาให้ผ้ทู ี่ฝกึ จนชานานสามารถใชว้ ธิ ถี า่ ยแรงค่ตู ่อสูท้ ี่ใช้อาวุธมาผ่อนจากหนักเป็น เบาได้ และในคราวเดียวกนั กส็ ามารถใชว้ ธิ ีผสมแรง เมือ่ คตู่ อ่ สู้เข้าทา ทาให้เกิดแรงบวก ทาให้ใช้อาวุธ ได้หนักหน่วงรุนแรงยิง่ ข้ึน นอกจากนย้ี ังสามารถออกอาวุธยืดหยุ่นโดยผสมท่าเท้า ร้ังเข้า ร้ังออกได้ดังใจปรารถนาอีก ด้วย คนโบราณเรียกวิธีรงั้ เข้าออกนี้วา่ “สารอกกลับ” ซ่งึ ลกั ษณะการใชท้ าให้คู่ต่อสู้หลงคิกว่าเสียหลัก ถลาตัวไปแล้วก็จะเข้าซ้าเติม ก็จะถูกใช้วิชาสารอกกลับโดยไม่ให้คาดคิดเกิดการเพล่ียงพล้าและเสีย มวยมากต่อมากแล้ว ฉะนั้นการรามวยประกอบท่าเท้าย่างสามขุมน้ีจึงสาคัญและเป็นท่าแม่บท เบื้องต้นการจดมวยควรปฏิบัติให้เกิดความคล่องท้ัง 2 เหลี่ยม คือ จดมวยเหล่ียมขาวและเหลี่ยมซ้าย ซึ่งเรยี กวา่ จดรุก 1 จดรกุ 2 การจดมวยถอยหลัง เมื่อฝึกการจดรกุ จนเกิดความคลอ่ งแลว้ กใ็ ห้ฝึกการจดถอยบ้างซึ่ง เรยี กวา่ จดถอย 1 จดถอย 2 ซึง่ กค็ ือการจดมวยถอยขวาหรือการจดมวยถอยซ้าย ลักษณะจองการจดถอย ให้ขยับเท้าหลังเล็กน้อยช่วยจังหวะ ถอยเท้าหน้ามาด้านหลังด้วย ลักษณะเขยง่ ทิ้งเท้าเข่างอเล็กน้อย พร้อมกับชกหมัดท่ีจดอยู่ข้างหน้า ม้วนเป็นวงช้า ๆ ออกหมัดท่ีอยู่ ด้านหลังมาเป็นหมัดคุม และหมัดคุมข้ามไปเป็นหมัดจดแทน เท้าไหนอยู่ข้างหน้าน้าหนักตัวจะต้อง อยู่เท้าน้นั

197 ภาพที่ 108 – 109 การจดมวยตารามวยไทยสายโคราช ผู้ฝึกมวยไทยโคราช จะต้องฝึกท่าจดมวยซึ่งผสมท่าเท้าย่างสามขุมน้ีให้เกิดความชานาญ และเช่ียวชาญเสียก่อน เพราะเป็นแม่บทที่สาคัญและเป็นพ้ืนฐานทางมวยที่จะทาให้ผู้ท่ีได้ฝึกฝน ใช้ สับเปลยี่ นทางเล่นไดท้ ั้งทางซ้ายและทางขวา ซึ่งนอกจากจะใช้ในการรุกแล้วยังใช้ในการต้ังรับได้เป็น อย่างดีอีกด้วย การใช้ท่าจดทางมวยผสมท่าเท้าอย่างคล่องแคล่ว ย่อมก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการ เล่นมวยเป็นอย่างยิ่ง หลักของการใช้วิธีผสมแรง วิธีถ่ายแรง วิธีสารอกกลับ ตลอดจนแม่ไม้ ลูกไม้ ต่าง ๆ จะต้องสัมพันธ์กับท่าจดทางมวยผสมท่าเท้าดังกล่าวแล้วท้ังส้ิน เป้าหมายของคู่ต่อสู้ตารา มวยไทยโคราชโบราณ ท่านให้มองคตู่ อ่ สทู้ เ่ี ปา้ หมายบรเิ วณลนิ้ ปี่ ซึง่ นับวา่ เป็นจุดศูนย์กลางของคู่ต่อสู้ เมอ่ื คู่ตอ่ สู้ออกอาวธุ จะเหน็ หมดั เท้า เขา่ ศอก หรือเพียงคู่ต่อสู้ขยับกล้ามเนื้อในร่างกายแล้ว ก็จะ สามารถรู้ตัวเพอ่ื ปอ้ งกันหรอื เขา้ ตอบแทนไดโ้ ดยไม่ผดิ พลาด 4. การฝึกซ้อม ด้วยเหตุที่ในสมัยโบราณ อุปกรณ์สาหรับใช้ประกอบการฝึกซ้อมมวยยังไม่มี ครูมวยจึง ต้องใช้ภูมิปัญญาคดิ ค้นวิธีการฝึกเพื่อให้นักมวยมีสมรรถภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงทุก ๆ ด้าน ด้วย ภูมิปัญญาอันชาญฉลาด ครูมวยสามารถคิดค้นวิธีการฝึกให้นักมวยเกิดทักษะทุก ๆ ด้านจนมีความ เก่งกล้าสามารถชกชนะคู่ต่อสู้เสมอ ๆ ครูมวยไทยสายโคราชในสมัยโบราณมีวิธีการฝึกนักมวยโดย อาศัยปัจจัยท่ีเก่ยี วข้องกบั การดารงชีวิตประจาวนั ดงั ต่อไปน้ี 4.1 วิธีฝึกมวยอาศัยธรรมชาติในสมัยโบราณ

198 การฝึกมวยในสมยั โบราณ เปน็ แบบฉบบั ของลุกผู้ชายทุกคนจาเป็นต้องเรียนรู้ไว้ ครู บาอาจารย์ก็เอาใจใส่ส่ังสอนฝึกหัดกันตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไม่มีการเรียนลัด เพราะเล็งเห็นว่าระหว่างฝึก หากพลาดพล้ังย่อมเป็นอันตรายได้ จึงถือคติว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” จึงต้องเพ่ิมการออก กาลังของกล้ามเนื้อและสรีระส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรงทุกสัดส่วน ถ้ารากฐานไม่ดีหรือไม่ คล่องจริงแล้ว ไม่มีหวังได้ต่อท่าลูกไม้หรือแม่ไม้กันเลย การฝึกมวยในสมัยก่อนไม่มีอุปกรณ์การฝึกที่ ทันสมัย จึงต้องอาศัยธรรมชาติและกิจกรรมเก่ียวข้องกับการดารงชีวิตประจาวันผสมผสานกันไป คนโบราณมีคากลอนบอกถึงวิธีฝึกมวยตามธรรมชาติอยู่บทหนึ่ง เพื่อประกอบการศึกษา ผู้วิจัยจึงได้ ยกกลอนของครูบวั นลิ อาชา (วดั อมิ่ ) มาประกอบการวจิ ยั ดังนี้ 4.2 ฝกึ ตนเองตามคากลอนของครบู วั นลิ อาชา (วดั อม่ิ ) ท่านครสู อนไวแ้ ต่ก่อนดงั จะกล่าว ตามเร่ืองราวมีมาอย่าสงสัย ผู้ท่จี ะเปน็ มวยดมี ีฝีมือให้ฤๅไชย ต้องต้งั ใจพยายามตามวิธี ใหน้ อนหงายเหยยี ดเท้าทงั้ สองศรี ต่นื จากนิทราเวลาไหน ใหช้ กชส้ี องมือกระพือไป ตรงไปท้งั สองข้างวางใหด้ ี จงึ หยดุ ย้ังโดยจานงค์อย่าสงสัย ทาใหม้ ือถนัดไม่ขัดเลย จนลกุ ตั้งตัวตรงดารงค์น่ัง อยา่ สงสยั จงประดิษห์น๊ะศิษเอ๋ย วฒุ ินด้ี จี ริงอย่างกรงิ่ ใจ อย่าละเลยจงจาเอาคาใน ทั้งเส้นสายบรบิ รู ณป์ ระมลู ไว้ มารอหน้าไว้ก่อนอยา่ ถไู ถ วฒุ ินที้ าไดค้ งเห็นจรงิ วฒุ ลิ ้างหนา้ เวลาเคย จะบาบดั ไม่เวยี นสวายสวงิ ใหเ้ อามอื เข้าประคองรองสาคร ศรพั สิ่งเสน้ สายจะคลายเคย ฯ ลฯ ให้เอาหนา้ ถูมอื กระพือไป จะหลบรอดมือเท้าเมื่อคราวขัด อตุ สา่ หเ์ รียนเพียรเล่นคงเห็นจรงิ เม่อื สุรยิ ันต์นั้นส่องแสง ขึน้ แจ่มแจง้ จรงิ ๆอย่าน่ิงเฉย ผินหนา้ ดูสุริยาใหต้ าเคย อยา่ แลเลยผินเพ่งเล็งตะวัน จนสุริยนั ห์สายแสงพอดูได้ อย่าทาใจโหยกเหยกใชเ้ ศกสรร ใหส้ ายตาเรากลา้ ข้นึ ทุกวัน เมือ่ ประจัญไม่ต้องพริบขยิบตา การหลีกหลบก็ถนัดไม่ขัดหนา ได้แลเล็งเพง่ ดูเมอื่ สู้รบ สอนใหต้ าเราแขง็ พระแสงทนิ วฒุ ินดี้ อี ย่ทู า่ นครูบา ในท้องธารคงคาชลาศิล จะเพิ่มพินแสงตากล้าขน้ึ ไป เมอ่ื เวลาเราลงสรงสนาน ใหล้ งศอกถองกระแสอย่าสงสัย ให้ดาน้าลืมตาเป็นอาจณิ จนตัวลอยในวารีนัทธีธาร ใหค้ ลอ่ งแคล่วศอกแสกกแ็ ตกฉาน ลงในนา้ เพียงคออย่าท้อแท้ เมอ่ื ต้องการกจ็ ะสมอารมณ์เรา ทัง้ สองศอกชะมุนออกว่นุ ไป วุฒิน้ดี เี หลือครูเชอื่ แลว้ ส้หู ากเพียรเรยี นทาให้ชานาญ

199 เม่อื เวลาเช้าเยน็ หรือพลบค่า จะชี้แจงหนะ๊ จงจาอย่านิง่ เฉย จงเตะ๊ ถีบชกลมใหค้ มเคย อย่าละเลยลมื คาที่ราพรรณ์ ใหโ้ ดดเขา้ โดดออกทงั้ ศอกเขา่ ทัง้ มอื เท้าทาวนุ่ ดังหุนหนั ท้ังโลดเต้นเล่นตัวออกพวั พัน ทุกววี่ ันเพยี รทาดังคากลอน ประจกั ษจ์ ิตรแล้วจงจาตามคาสอน วฒุ ดิ ปี ระเสรฐิ เลิศวลิ ิส วุฒสิ อนจบเสรจ็ สาเร็จทาง จงหัดฝกึ นกึ ทาตามคากลอน 4.3 กระเดียดน้า สมัยโบราณยังไม่มีน้าประปาใช้ อาศัยน้าฝน น้าบ่อ น้าท่า ห้วย หนอง คลอง บึง ซ่ึงจะต้องหาแหล่งน้าธรรมชาติท่ีไม่ไกลจากที่อยู่อาศัยมากนัก ภาชนะที่ใช้ก็ไม่มีถังหรือป๊ีบ ใช้ กระบอกไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง ปล้องยาวผิวบาง ทะลวงข้อขึ้นไป แต่ละกระบอกยาว 1.50 เมตร ใช้ตักน้า จากแหล่งน้าแล้วเอาแขนหนีบไว้กับชายโครงด้านข้างเรียก “กระเดียดน้า” ใช้วิธีนี้ตักน้าใส่ภาชนะ บนบ้าน ทาเป็นประจาทุกวันก่อให้เกิดกล้ามเนื้อตอนไหล่พัฒนาเป็นต้นกาเนิดของวิชาว่าด้วยการ กระเดียดน้า ปฏิบัตทิ ุกวนั ชว่ ยทาใหก้ ลา้ มเนือ้ ตรงชายโครงนนั้ แขง็ แกร่งและเป็นความหมายของการ ใช้ชี้จุดบนเวที เช่น ให้เตะชายโครงคู่ต่อสู้ ก็ไม่ต้องร้องตะโกนว่า “เตะซ่ีโครง ๆ” อันจะก่อให้เกิด ความราคาญเพียงกระซิบวา่ “กระเดยี ดน้า” เทา่ น้ีก็เปน็ ทเ่ี ขา้ ใจ 4.4 ตาข้าว ตาข้าวเป็นการบริหารข้อมือ เป็นการพัฒนากล้ามเน้ือข้อมือ หลังแขน ช่วงไหล่ หน้าท้อง ลกั ษณะของสากตาขา้ วของไทยนน้ั ใช้ไมเ้ น้ือแข็ง มนี ้าหนักประมาณ 5 – 6 กิโลกรัม คอดก่ิว ตรงกลาง คนตาจะต้อง จับสากตรงกลาง ยกแขนข้ึนสุดแขน ประคองตาให้ตรงก่ึงกลางครก การยก สากข้ึน ๆ ลง ๆ นับชั่วโมงเป็นประจาทุกวัน เป็นการบริหารร่างกายคล้ายพวกนักกล้ามยกดรัมเบลล์ ในปจั จุบัน 4.5 ผา่ ฟืน กิจวตั รในการยังชีพอกี อย่างหนึ่งก็คือ การใชฝ้ ืนหุงหาอาหาร คนโบราณจะต้องหาฟืน ในป่า ถ้าเป็น ไม้ท่อนก็จะต้องใช้ขวานโยน จะต้องใช้สองมือจับท่ีด้ามขวานบั่นท่อนไม้ลงมา ทาให้ ตอ้ งใชก้ าลังขอ้ มอื ไหล่ สนั หลงั ขา หนา้ อก และหนา้ ท้องแข็งแกรง่ ข้ึน 4.6 ต้นกล้วย สมัยโบราณไม่มีกระสอบทรายสาหรับการฝึกซ้อม ครูมวยจะให้ลูกศิษย์ไปตัดต้น กล้วยซึ่งเปน็ วตั ถุหาได้ง่าย ขนาดศนู ยก์ ลาง 5 – 6 นิว้ ยาวประมาณ 3 ศอก ตงั้ ให้ตรงกับพื้น แล้วให้ ผู้ฝึก ฝึกเตะต้นกล้วยให้ได้ท้ังเท้าซ้ายและเท้าขวา พยายามเตะเล้ียงต้นกล้วยไม่ให้ล้มและต้อง ผลัดเปลี่ยนการเตะต้ังแต่ระดับต่าถึงระดับสูง (เรียกว่าเตะบนเตะล่างสลับกัน) เม่ือเกิดความชานาญ และ คล่องแคล่วดีแลว้ ก็จะคอ่ ย ๆผลดั เปลยี่ นเป็นเตะต้นกลว้ ยทีม่ ีขนาดใหญ่ข้นึ 4.7 ลูกมะนาว การฝึกร่างกายให้เข้มแข็งน้ัน ยังไม่พอใจของครู ต้องฝึกการป้องกันส่วนท่ีสาคัญ คือ ใบหน้า โดยใช้ลูกมะนาวผูกติดกับด้ายแขวนห้อยไว้กับไม้รวก ห่างกันพอประมาณ 4–5 ลูก ระดบั เสมอคอ ผู้ฝึกจะใช้หมัด ศอกและแขนรบั โดยมขี ้อกาหนดไม่ใหล้ ูกมะนาวแกว่งถูกหน้าไม่ให้ด้าย ท่แี ขวนลูกมะนาวพันกนั และอยา่ ใหข้ ว้ั มะนาวหลดุ ผ้ฝู ึกจะต้องใช้สมองต้องค่อย ๆ ต่อย เม่ือปรากฏ

200 ว่าฝึกหัดหลบรอดได้คล่องตัวดีพอแล้ว ค่อยเพ่ิมเติมลูกมะนาวขึ้นอีก ฝึกแบบน้ีนอกจาก การฝึก เพื่อให้เกิดความคล่อง ฝึกสายตาแล้ว ยังเป็นการฝึกหัดความหนักแน่น อดทน และฝึกจิตใจให้เกิด ความเยือกเย็นไม่วู่วาม บางคน ฝึกยังไม่ทันเท่าไรก็เกิดความเบื่อหน่ายและทิ้งไปในท่ีสุด มักเป็น อุปเท่ห์อย่างหน่ึงของครูที่ต้องการทราบถึงนิสัยใจคอของผู้เป็นศิษย์ คนใดมีสมาธิมีความแน่วแน่แค่ ไหน ควรแกก่ ารรบั การถ่ายทอดวิชามากนอ้ ยเพยี งไร 4.8 หลักของการฝกึ มวย มวยไทยเปน็ มวยทมี่ อี นั ตรายรอบตวั สามารถใช้อวัยวะในร่างกายทุกส่วนเป็นอาวุธ ความรุนแรงของการใช้อาวุธเหล่านี้ คนโบราณได้ประดิษฐ์คิดค้นเพ่ือให้ใช้ในการต่อสู้กับข้าศึก ศัตรู ผู้รุกราน และในยามว่างจากการศึกสงคราม ก็ใช้ประลองเล่นฝีมือความสามารถของกันและกัน และ หาวิธีแก้ไขแม่ไม้มวยของสานักอื่น พร้อมประดิษฐ์คิดค้นท่ามวยของตนให้มีอนุภาพที่จะพิชิต คู่ต่อสู้ ให้ได้ สานักใดประดิษฐ์ท่ามวยเก่งและแก้ไขทางมวยของสานักอ่ืนได้ก็มีชื่อเสียงเลื่องลือ เม่ือยาม บ้านเมืองไม่สงบก็เข้ารับใช้บ้านเมืองเป็นถึงแม่ทัพนายกอง ตลอดจนยศถาบรรดาศักด์ิอันเป็นที่ เชิดหน้าชูตา การประดิษฐ์คิดค้นหาวิธีแก้ทางมวยซ่ึงกันและกันนี่เอง ทาให้วงการมวยในสมัย โบราณมคี วามเจรญิ ร่งุ เรอื งตามหวั เมอื งหรือเมอื งหน้าดา่ นของไทย มักจะปรากฏคนดีมีฝีมือเกิดข้ึนอยู่ เสมอ ๆ มวยแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นลักษณะแตกตา่ งกันไป ฉะน้ันผู้ที่จะฝึกมวยหรือเรียนมวยให้ดีนั้น จะต้องรู้จักคู่ต่อสู้เสียก่อนว่าเป็นมวยทางไหนถนัดอะไรจะแก้ไขท่าท่ีเขาถนัดได้ด้วยวิธีใด เม่ือรู้เขารู้ เราแล้วไซร้ การเอาชนะนั้นมใิ ชเ่ ปน็ เรือ่ งยากเย็นแต่อย่างใด มวยไทยสายโคราชมวี ิธแี ก้ไขทางมวยด้วยวิธีผ่อนหนักให้เป็นเบา และเสริมจากเบาให้ ทวีเป็นความหนักหน่วงและรุนแรงได้ นักมวยที่ดีจะต้องมีความคิดรู้จักการใช้ส่วนหนาแลกส่วนบาง เขาแรงมา ทาอย่างไรจึงจะตัดทอนให้ทุเลาหรือตอบโต้ให้รุนแรงต่อท่ีหมายอันสาคัญ มิใช่เขาแรงก็ เอาแรงเข้าโหมยอมเจบ็ ตัว วิธีนเ้ี ปน็ วธิ ีฝึกมวยทไ่ี มถ่ ูกตอ้ ง เม่ือผู้เป็นศิษย์มีความมานะพยายามฝึกกาลังร่างกายจนเข้มแข็ง ตลอดจนได้รับรู้ ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของผู้ที่จะเป็นนักมวยที่ดี มีอุปนิสัยและแววพอที่จะได้รับการ ปลูกฝงั และถ่ายทอดทางมวยไทยโคราชไดน้ น้ั ครูผู้ฝึกมวยก่อนที่จะบอกถึงแม่ไม้สาคัญเพ่ือให้ศิษย์ได้ ศึกษาและฝึกต่อไปก็จะต้องมีการทาพิธียกครูหรือขึ้นครูตามประเพณี เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล เกดิ ความเจรญิ กา้ วหนา้ ในชวี ิต โดยใหเ้ ปน็ ศษิ ยโ์ ดยถกู ต้องตามทานองครองธรรม มิใช่เป็นผู้ท่ีได้ชื่อว่า “ครูพักลกั จา” ซงึ่ คนโบราณนนั้ ถอื สายงิ่ 5. การชกหมัดเหวีย่ งควาย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 5 ทรงพระราชทาน บรรดาศักดิ์ หมื่นชงัดเชิงชกให้กับนายแดง ไทยประเสริฐ นักมวยจากเมืองโคราช ลูกศิษย์พระเหม สมาหารซ่ึงใช้หมัดเหว่ียงควายชกชนะคู่ต่อสู้จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย ในงานศพกรมขุนอุรุพงศ์รัช สมโภชน์ ณ มณฑลทอ้ งสนามหลวง ซ่ึง โพธสิ์ วสั ดิ์ แสงสว่าง (ธนั วาคม. 2549 : สมั ภาษณ์ ณ มหาวทิ ยาลัยราชภัฏอุดรธานี) ได้กล่าวว่า การชกหมัดเหวี่ยงควายหมายถึง การชกหมัดจากท่าจดมวย ให้เหวี่ยงตวัดหมัดออกไป ด้านขา้ งระดับเอวมว้ นมอื หมุนเป็นวงกลมเขา้ ด้านในข้าง ๆ ชายโครงด้านน้ัน ๆ เมื่อหมุนมือลงจนหลัง

201 มือหันไปด้านหน้าแล้วให้เหวี่ยงมือออกไปเป็นวงกว้างเหวี่ยงออกไปด้านข้าง แล้วใช้กล้ามเน้ือหัวไหล่ และแขนออกแรงดึงใหส้ ันหมดั หรอื หลังมอื โค้งเข้าดา้ นหนา้ ให้ถกู เป้าหมายบริเวณด้านข้างของใบหน้า ปลายคาง ขากรรไกร กกหูหรือทัดดอกไม้ ขณะท่ีชกให้มีแรงส่งจากหัวไหล่ ข้อศอก ลาตัว สะโพก ขา เข่า เท้า มือด้านตรงข้ามจดมวยป้องกันลาตัวและด้านข้างของศีรษะ อาจใช้วิธีการชกด้วยหมัดขวา หมัดซ้ายสลับกันไปอย่างต่อเน่ือง หรือชกทีละหมัดแล้วหยุดแล้วแต่โอกาส ขณะท่ีชกส่วนที่ถูก เป้าหมายคอื หลงั หมดั หรือหลงั มอื ดงั นัน้ “หมัดเหว่ียงควาย” จงึ หมายถึง การชกด้วยหมัดโดยใช้หลังมือ หรือด้านในของมือ จะชกหมัดเดียว หรอื ชกหมัดขวา ซา้ ยสลบั กันไปกไ็ ด้ คล้ายกบั ควายทม่ี ีเขายาวโค้งกาลังใช้เขาท้ังสอง ข้างขวิดคู่ต่อสู้ทางขวา ทางซ้ายสลับกันไปมาอย่างต่อเน่ือง “หมัดเหวี่ยงควาย” ครูมวยไทยโคราช เรยี กอกี อย่างหน่ึงวา่ “หมดั ขว้างควาย” หรอื “หมัดอีเล” 6. การรามวย คนไทยมีวฒั นธรรมอย่อู ยา่ งหน่งึ คือ ความกตัญญูกตเวทีเป็นที่ย่ิง การรามวยนอกจาก จะเปน็ พิธคี ารวะครูบาอาจารยข์ องแต่ละสานักแลว้ ยังเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมอันดีงาม การรา มวยของแต่ละสานักไม่เหมือนกัน นอกจากจะเป็นการน้อมราลึกถึงครูผู้ประสิทธ์ิประสาทวิทยาการ ให้แล้ว ยังเป็นการได้ออกกาลังกาย ยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้คลายความ ฝืด ให้กล้ามเน้ือตื่นตัวเมื่อใช้อาวุธในเชิงต่อสู้จะได้ไม่ติดขัดพร้อมท่ีจะใช้ผจญกับคู่ต่อสู้ได้ตามใจ ปรารถนาและทาให้มีจิตใจฮึกเหิมท่ีจะออกต่อกรกับคู่ต่อสู้และยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ท่ีมี ความรคู้ วามสามารถตลอดถงึ ความเช่ยี วชาญในเชงิ มวยขนาดไหน คณาจารย์จะกาหนดให้ผู้ที่จะมาเปน็ ศษิ ย์ได้ฝึกหดั ทา่ รามวยให้คล่องแคล่วเสียก่อน จึงจะ คอ่ ยฝกึ ทา่ ลกู ไมแ้ ละแมไ่ มส้ าคัญมวยไทยโคราช มที ่ารามวยอยู่ 2 ท่าด้วยกัน คือ ท่าย่างสามขุมพรหม ส่หี น้า ท่ารามวยโดยทั่ว ๆ ไปนั้น คณาจารย์ท่านจะกาหนดให้ผู้ท่ีจะมาเป็นศิษย์ได้ฝึกหัดท่ารา มวยให้คลอ่ งแคล่วเสยี ก่อน จงึ จะคอ่ ยฝึกทา่ ลกู ไมแ้ ละแม่ไมส้ าคัญ ดงั นี้ 6.1 ทา่ ถวายบังคม ในสมัยโบราณพระมหากษัตริย์ทุก ๆ พระองค์ให้ความสนพระทัยและศึกษา ตลอดจนควบคุมการฝึกซ้อมมวยไทยและอาวุธตามตาหรับพิชัยสงครามในบางโอกาส เมื่อพระองค์ ทรงเสด็จมาเป็นประธานหรือมาควบคุมการฝึกซ้อม ข้าทหาร ผู้ท่ีฝึกมวย เล่นมวย หรือซ้อมท่าอาวุธ พิชัยสงครามอยกู่ ็ตาม จะต้องลดตัวลงนั่งพร้อมกับการถวายบังคมเพื่อแสดงความจงรักภักดีทุกคราว ไป จนเป็นประเพณีสืบต่อกันมาว่า เมื่อจะเริ่มต้นการรามวยหรือการราท่าอาวุธโบราณจะต้อง น่ังคกุ เข่าแลว้ กม้ ตัวลงทาท่าถวายบังคม 3 ครงั้ แลว้ จึงจะเริม่ ท่ารามวยเป็นลาดับไป วธิ ีปฏบิ ัติ 1. ยนื อยใู่ นท่าตรง นงั่ คกุ เข่า ปลายเทา้ ขวาทับเท้าซา้ ย นา้ หนักตวั อย่บู นสน้ เท้า ทั้งสอง มือทั้งสองข้างวางอยู่บนเขา่ 2. พนมมอื เสมออก แยกมอื ทง้ั สองขา้ งออกไปทางดา้ นหลังแขนตึง วาดมอื ท้งั สองมาทางเบื้องหน้าน้วิ มือเหยียดชดิ ติดกนั ปลายแขนเฉยี งลงพืน้ ดิน 3. โนม้ ตวั ตามมาขา้ งหนา้ พรอ้ มกบั เอามือท้ังสองทวี่ าดเข้ามาทางเบ้อื งหน้า

202 พนมที่หน้าอก แล้วยกมือทั้งสองข้างที่พนมอยู่น้ันขึ้นจดระหว่างคิ้วท่ีศีรษะ หัวแม่มือจดหน้าผาก พรอ้ มกับแอน่ อกเงยหน้าเอนตวั ไปทางดา้ นหลงั เล็กน้อย 4. กลับมาอยู่ในทา่ พนมมือเสมออกเหมอื นเดิม ทาเช่นน้ี 3 คร้ัง แลว้ จึงลดมือ ทั้งสองข้างลงมาวางบนเข่า 5. ลกุ ขึน้ ยืนตรง โดยอาการทรงตัวตง้ั เขา่ ซ้ายขนึ้ ก่อน แลว้ เอาเท้าขวามาชดิ เท้า ซา้ ยอยูใ่ นทา่ ตรง พร้อมท่ีจะรามวยในลาดบั ตอ่ ไป ภาพที่ 110 -112 ทา่ ถวายบังคมตามแบบมวยไทยสายโคราช 6.2 ท่ารามวยย่างสามขุม ท่าเท้าแม่บทที่สาคัญของมวยไทยโคราช ท่ารามวยย่างสามขุม นอกจากจะเป็นท่ารามวยอันเป็นต้นแบบของมวยไทยโคราช แลว้ ยงั เปน็ วิชาท่าเท้าแม่บทที่สาคัญ ท่ีจะทาให้ผู้ฝึกเคลื่อนไหวไปมาโดยสัมพันธ์กับร่างกายได้อย่าง คล่องแคล่ว ผู้ฝึกเมื่อทาได้จนเกิดความชานาญแล้ว จะสามารถใช้อาวุธเช่นหมัด เท้า เข่า ศอก ฯลฯ ได้ท้ังทางซ้ายและทางขวา การเข้า ออกของทางมวยไทยโคราชนั้นจะเข้า ออกในลักษณะฉากซ้าย และฉากขวา ไม่เต้น โดยเฉพาะมวยไทยโคราชเป็นมวยเตะต่อยวงกว้าง ท่ารามวยย่างสามขุมจึงมี ความสาคัญที่ต้องฝึกให้เกิดความชานาญ ดังต่อไปนี้ (อานาจ พุกศรีสุข และ ประจวบ นิลอาชา. 2530 : 47 – 49) ยืนอยขู่ มุ ที่ 1 หา่ งประมาณ 1 คืบ ปฏบิ ัติ 1. อยูใ่ นท่ายนื ตรง กามือทง้ั สองข้างชิดหนา้ ผาก ศอกท้ังสองข้างแบะออกพองาม สืบเท้าขวาเข้าไปหาขุมท่ี 1 เลยยกเข่าเฉียงไปทางขุมท่ีสอง วาดมือช้า ๆ ให้มือซ้ายวางลงบนเข่าซ้าย มอื ข้างขวากาอยหู่ า่ งจากจากหนา้ ผากหน่งึ ฝ่ามือ

203 2. สบั เปลยี่ นมอื ด้วยการลดมือขวาลงอย่เู สมอระดับสะโพก มือข้างซ้ายกาอยู่ห่าง จากหนา้ ผากหนง่ึ ฝา่ มอื สับเปลย่ี นมอื เปน็ พเิ ศษ 3. วางเทา้ ซ้ายพร้อมเกบ็ เท้าไปขา้ งหนา้ สองครงั้ เขา้ หาขุมที่สอง มอื ท้งั สองคงที่ เลยยกเขา่ ขวาเฉียงไปทางขุมท่สี ามวาดมือชา้ ๆ ให้มอื ขวาวางลงบนเข่าขวา มือข้างซา้ ยกาอยู่หา่ งจาก หน้าผากหนึง่ ฝา่ มือ สบั เปลีย่ นมอื ดว้ ยการลดมือซ้ายลงอยู่เสมอระดับสะโพก มอื ขา้ งขวาอยู่หา่ ง จากหนา้ ผากหน่ึงฝา่ มือ สบั เปลี่ยนมอื เป็นพเิ ศษ 4. วางเท้าขวาพร้อมเก็บเท้าไปข้างหน้าสองครั้งเข้าหาขุมที่สาม มือท้ังสองคงที่ เลยยกเข่าซ้ายเฉียงไปทางขุมท่ีหน่ึง วาดมือช้า ๆ ให้มือซ้ายวางลงบนเข่าซ้าย มือข้างขวากาอยู่ห่าง จากหน้าผากหนึ่งฝ่ามือ สับเปล่ียนมือด้วยการลดมือขวาลงอยู่เสมอระดับสะโพก มือข้างซ้ายกาอยู่ ห่างจากหน้าผากหนึง่ ฝา่ มอื สับเปลีย่ นมอื เป็นพเิ ศษ 5. วางเท้าซ้ายพร้อมเก็บเท้าไปข้างหน้าสองครั้งเข้าหาขุมท่ีหน่ึง มือท้ังสองคงท่ี เลยยกเข่าขวาเฉียงไปทางขุมท่ีสอง วางเท้าขวาแตะไปทางขุมที่สองและสับทางขวามาวางทางขุมที่ สาม เลยยกเข่าซ้ายเฉียงไปทางขุมท่สี อง วาดมือช้า ๆ ให้มือซ้ายวางลงบนเข่าซ้าย มือข้างขวากาอยู่ ห่างจากหนา้ ผากหนง่ึ ฝา่ มือ 6. และพร้อมขยับก้าวจดรุกไปหาท่ีหมายข้างหน้าทางซ้าย จดรุกทางขวา จดรุก ทางซา้ ย และจดรกุ ทางขวาถงึ ทีห่ มายคานบั ผู้ฝึกฝนมวยไทยโคราช จะต้องฝึกท่าจดมวยซ่ึงผสมท่าย่างสามขุมน้ีให้เกิดความ ชานาญและเชยี่ วชาญเสียก่อน เพราะเป็นแม่บทท่ีสาคัญและเป็นพ้ืนฐานทางมวยท่ีจะทาให้ผู้ท่ีได้ฝึก ใชส้ บั เปลีย่ นทางเล่นไดท้ งั้ ทางซา้ ยและทางขวาซ่งึ นอกจากจะใช้ในการรุกแล้วยังใช้ในการตั้งรับได้เป็น อย่างดีอีกด้วย การใช้ท่าจดทางมวยผสมท่าเท้าอย่างแคล่วคล่อง ย่อมก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการ เล่นมวยเป็นอย่างยิ่ง วิธีผสมแรง หลักของการใช้วิธีถ่ายแรง วิธีสารอกกลับ ตลอดจนแม่ไม้ ลูกไม้ ตา่ ง ๆ ในตาราเลม่ นี้ จะต้องสมั พนั ธ์กับทา่ จดทางมวยผสมทา่ เทา้ ดงั กลา่ วแล้วน้ีท้ังส้ิน

204 ภาพที่ 113 - 116 ท่ารามวยย่างสามขมุ ทา่ เทา้ แมบ่ ททีส่ าคัญของมวยไทยโคราช 6.3 ทา่ รามวยพรหมสีห่ น้า ท่ารามวยพรหมส่ีหน้า คือการราไปให้ครบส่ีทิศ มวี ิธกี ารปฏิบตั ิ ดังน้ี ยืนอยู่ที่จุดกึ่งกลาง หันหนา้ ไปทางทิศที่ 1 ปฏิบัติ 1. กามอื ท้งั สองชิดหนา้ ผาก ศอกทั้งสองแบะออกพองาม 2. สืบเทา้ ขวาเขา้ ไปหาทิศทีห่ นงึ่ ครึง่ ก้าว เลยยกเขา่ ซ้ายพร้อมมือซ้ายวางตั้งบน เข่าซ้าย มือข้างขวากาอยหู่ ่างจากหน้าผากหน่งึ ฝา่ มอื 3. วางเท้าซ้ายพร้อมเกบ็ เท้าไปข้างหนา้ สองครั้ง ยกเขา่ ขวาพรอ้ มมว้ นมอื ไป ขา้ งหน้าเป็นวงช้า ๆ หมดั ขวาจดอยดู่ ้านหน้า หมัดซ้ายคมุ อยเู่ หนือราวนมหรือสูงกวา่ เลก็ นอ้ ย 4. วางเท้าขวาลงพร้อมย่อตัวหันกลับช้า ๆ ไปหาทิศท่ีสอง เลยยกเข่าซ้าย วาด มอื ซา้ ย วางลงบนเข่าซ้าย มอื ข้างขวากาอยหู่ ่างจากหน้าผากหน่งึ ฝ่ามือ 5. วางเท้าซ้ายพร้อมเก็บเท้าไปข้างหน้าสองครั้งยกเข่าขวาพร้อมม้วนมือไป ข้างหน้า เป็นวงชา้ ๆ หมดั ขวาจดอยูด่ า้ นหนา้ หมัดซา้ ยคุมอยู่เหนือราวนมหรือสงู กว่าเล็กน้อย 6. วางเท้าขวาลงพร้อมย่อตัวกลับทางซ้ายช้า ๆ ไปหาทิศที่สาม เลยยกเข่าซ้าย วาดมือซา้ ย วางลงบนเขา่ ซ้าย มอื ขา้ งขวากาอย่หู า่ งจากหนา้ ผากหนึ่งฝ่ามือ 7. วางเท้าซ้ายพร้อมเก็บเท้าไปข้างหน้าสองครั้ง ยกเข่าขวาพร้อมม้วนมือไป ข้างหนา้ เป็นวงช้า ๆ หมดั ขวาจดอยู่ดา้ นหนา้ หมดั ซ้ายคมุ อย่เู หนอื ราวนมหรือสูงกวา่ เลก็ นอ้ ย 8. วางเท้าขวาลงพร้อมย่อตวั กลับทางซ้ายชา้ ๆ ไปหาทศิ ท่ีสี่ เลยยกเข่าซา้ ยวาด มือซา้ ย วางลงบนเขา่ ซ้าย มือข้างขวากาอยู่ห่างจากหนา้ ผากหนึ่งฝ่ามอื 9. วางเท้าซ้ายพร้อมเก็บเท้าไปข้างหน้าสองครั้ง ยกเข่าขวาพร้อมม้วนมือไป ข้างหนา้ เปน็ วงช้า ๆ หมดั ขวาจดอย่ดู ้านหน้า หมดั ซา้ ยคุมอย่เู หนือราวนมหรอื สงู กวา่ เลก็ นอ้ ย

205 10. ครบสี่ทิศ วางเท้าขวาลง และยกเท้าขวาสับเฉียงเข้ามาหาทิศท่ีหนึ่ง พร้อม ม้วนมือ ไปข้างหน้าเป็นวงช้า ๆ พร้อมก้าวเท้าซ้ายไปแตะพ้ืนทางเบ้ืองหน้าและยกขึ้น มือซ้ายวางอยู่ บนเขา่ ซ้าย มือขวากาอยูห่ า่ งจากหน้าผากหนง่ึ ฝา่ มือ 11. แล้วเปลี่ยนทางเป็นจดรุกเข้าหาท่ีหมายข้างหน้า จดรุกหน่ึง จดรุกสอง ถึงท่ี หมายคานับ การคานับหลังจากเสร็จส้ินการรามวย ถือเป็นมารยาทอันดีงามอย่างหนึ่งท่ีนักมวยพึง กระทา เปน็ การบ่งบอกถึงความมีน้าใจเปน็ นกั กีฬา มิได้มจี ิตรใจทีโ่ กรธแค้นหรอื อาฆาตมาดร้ายกันมา ก่อนแต่ประการใดแต่การประลองฝีมือซ่ึงกันและกัน การพลาดพลั้งหรือการเจ็บย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะความฝึกปรือมาน้อยหรือความสมบูรณ์ของร่างกายไม่เข้มแข็งเพียงพอ จบส้ินการแข่งขันแล้ว จะเป็นเพ่ือนทีด่ ตี อ่ กันตลอดไป 7. รปู แบบวธิ ีการชก มวยไทยโคราช มีเอกลักษณ์เฉพาะทีโ่ ดดเด่นคือการใชห้ มัด เท้า เข่า ศอก ครูมวยจะฝึก ให้นักมวยใช้ทักษะทั้ง 4 ทักษะจนมีความคล่องแคล่วชานาญจนเกิดผลในทางปฏิบัติ แต่ละอาวุธมี ลักษณะและการใช้ ดังต่อไปน้ี (อานาจ พุกศรสี ุข และ ประจวบ นิลอาชา. 2530 : 54 – 56) 7.1 หมดั มือเป็นอวัยวะอันสาคัญย่ิงในการต่อสู้มวยไทย หากมือได้รับบาดเจ็บ เช่น นิ้วซ้น ข้อมือเคล็ด ย่อมเป็นเครื่องบ่ันทอนให้การใช้อาวุธให้ด้อยอนุภาพลงไปมาก การกาหมัดที่ถูกต้อง คือ ต้องกาให้แน่น หัวแม่มือกดกาชับลงไประหว่างข้อนิ้วชี้และข้อนิ้วนาง การออกหมัดต้องเกร็ง แลว้ ชก ไม่บดิ มือและต้องชกทง้ิ ทัง้ ไหลจ่ ะไดพ้ ลังท่ีหนักหน่วงและแม่นยาย่ิงขึ้น 7.2 เทา้ เป็นอาวุธยาวที่ควรจะรู้จักวิธีใช้ให้มีอนุภาพและรุนแรงท่ีสุดนอกจากจะใช้ใน การเตะและการถบี แล้ว ยังต้องใช้ในการเคลื่อนไหวไปมา ฉะน้ันการใช้เท้าเตะจึงต้องรู้จังหวะเตะท่ีดี เตะให้เข้าเป้า ถ้าให้ คู่ต่อสู้ขัดยอกและเจ็บปวดควรเตะคร่ึงแข้ง เป้าหมายท่ีเลือกควรเป็นทางบาง ของคตู่ ่อสู้ การใช้เท้าถีบแบบมวยไทยโคราชน้ันมีท่าถีบสลัด ซ่ึงเป็นท่าถีบแบบโบราณท่ีใช้เป็น อาวุธทาลายเกราะป้องกันตัวของคู่ต่อสู้ได้ คาว่าเกราะป้องกันตัวหมายถึง ผู้ท่ีฝึกฝนมวยไทย จาเปน็ ต้องฝึกรา่ งกายใหเ้ ข้มแข็งด้วยการสรา้ งกล้ามเน้ือแถวช่องท้อง ลาแขน ไหล่ ทรวงอก ปลีน่อง โคนขา โบราณฝึกท่าเท้าถีบสลัดน้ี โดยใช้ปลายเท้าหลังถีบสลัดจิกเข้าที่ลิ้นปี่หรือช่องท้องน้อย ใน ลักษณะผสมแรงในลักษณะเช่นน้ีเป็นการถีบที่คู่ต่อสู้ปิดป้องได้ยาก โดยท่ัวไปแล้วมักใช้เท้าหน้าถีบ เพ่ือยับยงั้ การบกุ ของค่ตู อ่ สู้ 7.3 เขา่ นอกจากจะใช้ในระยะประชิดแล้ว ยังต้องฝึกการโยนเข่าท้ังซ้ายและขวาให้เกิด ความคล่อง ด้วยการหาเป้าหมายที่อยู่สูงประมาณศีรษะและฝึกการโดดเข้าหาจังหวะให้เกิดความ ถนดั และความเคยชินให้มาก 7.4 ศอก

206 เปน็ อาวุธส้ันทีใ่ ช้ในระยะประชิดตัว ถ้ารู้จักวิธีใช้จะทรงอนุภาพมาก ศอกมีจุดแข็ง ท่ีปลายศอก ผู้ใช้ได้ดีน้ันจะต้องรู้จักการใช้ให้ถูกต้อง เป้าหมายของการตีศอกคือบริเวณใบหน้า หรือ ศีรษะของคู่ต่อสู้ การตีจะต้องตีเฉียงๆและพุ่งไปท้ังไหล่ นอกจากใช้ศอกตีแล้วยังเป็นการ ป้องกัน ใบหน้าตนเองไดเ้ ป็นอยา่ งดี นอกจากการฟนั ศอกแลว้ การถองกเ็ ชน่ เดยี วกนั 3. กระบวนท่าของมวยไทยสายโคราช มวยไทยสายโคราช ตน้ ตาราคอื พระเหมสมาหาร อดตี เจา้ เมอื งโคราช ท่านได้ถ่ายทอดตารา มวยไทยสายโคราชแบบคาดเชือกให้กับลูกศิษย์ ส่งเข้าแข่งขันจนมีช่ือเสียงหลายคน โดยเฉพาะนาย แดง ไทยประเสริฐ หรือหมื่นชงัดเชิงชก ผู้เป็นตานานนักมวยจากเมืองโคราชในสมัยรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลท่ี 6 ต่อไปนผี้ ้วู จิ ยั ขอนาเสนอไม้มวยไทยโคราชตาราของพระเหมสมาหาร ซึ่งผู้จดบันทึกไว้คือ ครูบวั นลิ อาชา (วัดอ่มิ ) เพือ่ ให้ มคี วามรคู้ วามเขา้ ใจเก่ียวกับไม้มวยไทยตาราโคราช อานาจ พุกศรีสุข และ ประจวบ นิลอาชา (2530 : 10 – 11) มวยไทยสายโคราช เจ้าของ และตน้ ตาหรับคอื พระเหมสมาหาร ซึง่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปน็ เจ้าเมอื งโคราช ได้ทาการฝึกลูกศิษย์จน มีความสามารถในการชกมวยจนมีชื่อเสียงในระดับประเทศมากมาย ลูกศิษย์คนหน่ึงที่ได้รับการ ถ่ายทอดไม้มวยไทยโคราชจากพระเหมสมาหารโดยตรง และเป็นศิษย์รุ่นน้องของหม่ืนชงัดเชิงชกคือ ครูบัว วัดอิ่ม หรือ ร้อยโทบัว นิลอาชา ในภายหลังเป็นครูสอนพลศึกษาในโรงเรียนนายร้อย จปร. ท่านได้สอนมวยไทยโคราชให้กับนักเรียนนายร้อย จปร. ทุกรุ่น ตั้งแต่ พ.ศ.2473 จนถึงเกษียณอายุ ราชการใน พ.ศ.2501 ลูกศิษย์ของครูบัวที่เป็นนักเรียนโรงเรียนนายร้อย จปร. ตลอดชีวิตน้ันมี หลายพันคนท่ีนิยมและชอบการ ชกมวยจนมีช่ือเสียง อาทิเช่น พลอากาศเอกบุญชู จันทรุเบกษา อดตี ผู้บัญชาการทหารอากาศ ใช้ช่ือในการชกมวยชือ่ สมเพช็ ร นา้ นอ้ ย พลตรียงยุทธ ดิษฐบรรจง พล ตารวจโทพระเนตร ฤทธิฤๅชัย พลตารวจโทบันเทิง กัมปนาทแสนยากร จอมพลสฤษด์ิ ธนะรัชต์ พลเอกอาทิตย์ กาลังเอก อดตี ผบู้ ัญชาการทหารบก จอมพลประภาส จารุเสถียร การฝกึ มวยไทยสายโคราช มีแนวการฝึกอยู่ 3 ขัน้ ตอน รวมทงั้ สน้ิ 47 ทา่ ด้วยกัน คอื 1. ฝึกทา่ การใช้อาวุธเบื้องตน้ ไดแ้ ก่ ก. ท่าอยู่กับที่ 5 ทา่ ข. ทา่ เคล่ือนท่ี 5 ทา่ 2. ฝกึ ลกู ไม้แกท้ างมวย 11 ท่า 3. ฝกึ ท่าแมไ่ มส้ าคัญ ได้แก่ ก. ท่าแม่ไมค้ รู 5 ทา่ ข. ท่าแม่ไมส้ าคัญแบบโบราณ 21 ท่า รวม 47 ท่า และจะขอกล่าวถึงข้ันตอนการฝกึ ตามลาดับ ดงั นี้ 1. ฝึกทา่ การใชอ้ าวธุ เบ้ืองต้น ข้ันตอนท่ี 1 ก. ทา่ อยู่กับที่ 5 ท่า ได้แก่ 1. ทา่ ตอ่ ยตรงอยู่กับท่ี

207 ภาพท่ี 117 - 118 ท่าตอ่ ยตรงอย่กู บั ที่ ผ้ปู ฏิบัติต้องจดมวยอยใู่ นท่าคมุ ทางขวา (ซึ่งตอ่ ไปจะเรยี กวา่ ทา่ คมุ 1) และถา้ อยู่ในท่าคมุ ทางซา้ ย (ต่อไปจะเรียกว่าท่าคมุ 2) วธิ ีการปฏิบตั ิ อยู่ในทา่ คุม 1 1. ควงแขนซ้ายเล็กน้อยเข้ามาป้องที่ใบหนา้ เอนตัวย่อมาทางดา้ นหลังทางขวาเล็กนอ้ ย พร้อมถีบเท้าขวาส่งตัวพุ่งหมัดขวาท่ีหมายบริเวณปากคร่ึงจมูกคร่ึงของคู่ต่อสู้โดยพุ่งหมัดท้ิงท้ังไหล่ แรง ๆ เข้าจังหวะหน่ึง (หมัดทพ่ี ุง่ ออกไปนั้นให้พุ่งตรง ๆ ไมค่ ว่ามือ และไม่หงายมอื ) 2. ควงแขนขวาเล็กน้อยเข้ามาป้องที่ใบหน้า เอนตัวย่อมาทางด้านหลังทางซ้ายเล็กน้อย พร้อมถีบเท้าขวาส่งตัวพุ่งหมัดซ้าย ท่ีหมายบริเวณปากครึ่งจมูกครึ่งของคู่ต่อสู้ดังเคย โดยพุ่งหมัดท้ิงท้ัง ไหล่แรง ๆ เข้าจงั หวะ 2 2. ทา่ ต่อยเหว่ียงอยู่กับท่ี วธิ ีการปฏิบตั ิ อยู่ในทา่ คุม 1 1. ควงแขนซ้ายเล็กน้อยเข้ามาป้องที่ใบหน้า เอนตัวย่อมาทางด้านหลังทางขวา เล็กน้อยพร้อมถบี เท้าขวาส่งตวั เหวี่ยงหมัดขวาออกไปทั้งไหล่แรง ๆ ท่ีหมายบริเวณขากรรไกรหรือช่อง กกหูของคู่ต่อสู้เข้าจังหวะ1 (หมัดท่ีเหว่ียงออกไปนั้นจะใช้หน้าหมัดหรือหลังหมัดไปกระทบเป้าก็ได้ท้ัง สองอย่าง) 2. ควงแขนขวาเล็กนอ้ ยเขา้ มาป้องท่ใี บหน้า เอนตัวย่อมาทางด้านหลังทางซ้ายเล็กน้อย พร้อมถีบเท้าขวาส่งตัวเหวี่ยงหมัดซ้ายออกไปทั้งไหล่แรง ๆ ท่ีหมายบริเวณขากรรไกรหรือช่องกกหูของ คูต่ ่อสู้ เข้าจังหวะ 2

208 ภาพท่ี 119 - 120 ท่าต่อยเหว่ียงอยู่กบั ท่ี 3. ท่าต่อยขึน้ อยกู่ ับท่ี วิธีการปฏิบัติ อยู่ในท่าคุม 1 1. โยกตวั ย่อมาทางดา้ นหลังทางขวาเล็กน้อย พรอ้ มชักหมัดลาตัว (ชายโครงขวา) พร้อมถีบเท้าขวาส่งตัว ต่อยหมัดขวาพุ่งข้ึนในลักษณะเสยหมัดเฉียงไปทางซ้ายทั้งตัวท่ีหมายบริเวณ ปลายคางคตู่ อ่ สเู้ ขา้ จังหวะ 1 (หน้าอยู่ในวงแขน) 2. โยกตัวย่อมาทางดา้ นหลังทางซา้ ยเลก็ น้อยพร้อมชักหมดั ซ้ายเข้าหาลาตัว (ชายโครง ซ้าย) พร้อมถีบเท้าขวาส่งตัวต่อยหมัดซ้ายพุ่งข้ึนในลักษณะเสยหมัดเฉียงไปทางขวาทั้งตัวที่หมาย บริเวณปลายคาง ของคตู่ ่อสดู้ งั เคยเข้าจังหวะ 2 (หนา้ อยูใ่ นวงแขน) ภาพท่ี 121 - 122 ท่าต่อยข้ึนอย่กู บั ที่

209 4. ท่าตอ่ ยดว้ ยศอกอยูก่ ับท่ี ภาพท่ี 123 - 124 ท่าต่อยด้วยศอกยู่กับท่ี วธิ ีการปฏบิ ัติ อยู่ในทา่ คุม 1 1. โยกตวั ย่อมาทางด้านหลงั ทางขวาเล็กนอ้ ย พร้อมชักหมัดขวาเขา้ หาลาตัว (ชายโครง -ขวา) พรอ้ มถบี เท้าขวาส่งตัวต่อยด้วยศอกขวาพุ่งข้นึ ในลักษณะเฉียงไปทางซา้ ยทง้ั ตัว ที่หมายบรเิ วณปลายคางของคู่ต่อสเู้ ข้าจงั หวะ 1 (หนา้ อยู่ในวงแขน) 2. โยกตวั ย่อมาทางดา้ นหลงั ทางซ้ายเล็กน้อยพรอ้ มชกั หมัดซ้ายเขา้ หาลาตวั (ชายโครง -ซา้ ย) พรอ้ มถีบเท้าขวาสง่ ตวั ตอ่ ยดว้ ยศอกขวาพุ่งขน้ึ ในลักษณะเฉยี งไปทางขวาท้งั ตวั ท่หี มายบริเวณปลายคาง ของคตู่ อ่ สู้เข้าจงั หวะ 2 (หนา้ อยูใ่ นวงแขน) 5. ท่าถองลงอยู่กบั ท่ี ภาพท่ี 125 - 126 ทา่ ถองลงอยกู่ ับท่ี

210 วิธกี ารปฏิบัติ อยูใ่ นทา่ คุม 1 1. โยกตัวพร้อมยืดตัวเอนมาทางด้านหลังทางขวาเล็กน้อย เงื้อศอกขวาข้ึนเหนือ ศรี ษะ พร้อมใช้กาลังทห่ี ัวไหลก่ ดศอกถองลงมาเฉียง ๆ ทางด้านซ้ายใช้แรงกดท้ังตัว (ลักษณะของศอก คล้ายฝาน -บวบ) ทหี่ มายบริเวณกลางหลงั หรือศีรษะของคตู่ อ่ สู้ เขา้ จังหวะ 1 (หนา้ อยใู่ นวงแขน) 2. โยกตัวพร้อมยืดตัวเอนมาทางด้านหลังทางซ้ายเล็กน้อย เง้ือศอกซ้ายขึ้นเหนือ ศรี ษะ พร้อมใช้กาลังที่หัวไหล่กดศอกถองลงมาเฉียง ๆ ทางด้านขวา ใช้แรงกดมาท้ังตัว (ลักษณะของ ศอกคลา้ ย -ฝานบวบ) ท่หี มายบรเิ วณกลางหลงั หรือศีรษะของค่ตู อ่ สู้ เข้าจงั หวะ 2 (หน้าอยู่ในวงแขน) ก. ทา่ เคลอื่ นท่ี 5 ท่า ได้แก่ 1. ท่าตอ่ ยตรงสลบั กันเคลอ่ื นที่ วธิ กี ารปฏบิ ัติ อย่ใู นท่าคุม 1 1. ควงแขนซา้ ยเลก็ น้อยเข้ามาป้องท่ีใบหน้า เอนตวั ยอ่ มาทางดา้ นหลงั ทางขวา เลก็ น้อยพรอ้ มถบี เทา้ ขวาส่งตัวพุ่งหมัดขวาที่หมายบริเวณปากครง่ึ จมูกครงึ่ ของค่ตู ่อสู้ โดยพุ่งหมดั ทิง้ ทั้ง ไหลแ่ รง ๆ เข้าจงั หวะ 1 2. ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า ควงแขนขวาเล็กน้อยเข้ามาป้องท่ีใบหน้า เอนตัวย่อมา ทางด้านหลังทางซ้ายเลก็ นอ้ ย พร้อมถบี เท้าซ้ายส่งตัวพงุ่ หมดั ซ้ายทห่ี มายบริเวณปากครึ่งจมูกครึ่งของ คูต่ ่อสู้ โดยพ่งุ หมดั ท้ิงทงั้ ไหลแ่ รง ๆ เข้าจงั หวะ 2 ภาพท่ี 127 - 128 ท่าต่อยตรงสลบั กนั เคล่อื นที่ 2. ทา่ เตะเหวย่ี งกลับดว้ ยศอกเคลอ่ื นท่ี ทา่ นีเ้ ป็นท่าใช้หลอกล่อคู่ต่อสู้อย่างสาคัญ เม่ือฝึกจนชานาญแล้วจะสามารถใช้อาวุธ ศอกกลบั โดยท่คี ตู่ อ่ สู้ไมค่ าดคิด เม่ือถลาตัวเข้ามาแลว้ หลบหลกี ได้ยาก ในสมัยเมื่อครูบัว วัดอิ่ม ยังชก

211 มวยอยู่ ได้ใช้ท่าน้ีสร้างช่ือเสียงเอาชนะคู่ต่อสู้มามากต่อมากแล้ว จนหนังสือวารสารศิลปวัฒนธรรม ได้เรียกขานทา่ นีว้ ่า “ท่าตลบนกกลางเวหา” เข้าหลักเกณฑ์แบบโบราณในการใช้พลังแล้วร้ังกลับมีชื่อ เรยี กวา่ “สารอกกลับ” วธิ กี ารปฏบิ ัติ อยู่ในท่าคุม 1 1. สืบเทา้ หน้า (เท้าซ้าย) ช่วยจังหวะเล็กนอ้ ย ใช้เท้าขวาหลอกเตะก้านคอคตู่ ่อสู้ เม่ือพลาดเป้าหมายไปแลว้ ไม่ตอ้ งย้ัง ให้เลยไปวางเท้าไว้ทางซ้ายพร้อมย่อตัวทิ้งน้าหนักลงสู่เท้าซ้ายซึ่ง เป็นเท้าหลัง โดยลักษณะหันด้านหลังซ่ึงเป็นส่วนหนาให้คู่ต่อสู้ เม่ือคู่ต่อสู้เห็นเราเสียหลักเข้าเตะซ้า ทางดา้ นหลงั ซึง่ เปดิ ช่องอยู่ ก็ให้ใช้แรงท่ีคู่ต่อสู้เข้าทานั้นเป็นแรงบวก ถีบเท้าซ้ายพล้ิวตัวทางข้างซ้าย ใช้ศอกขวาพงุ่ เข้าหาใบหนา้ ค่ตู ่อสูแ้ รงและเรว็ แล้วกลบั มาอยู่ในทา่ คุม 2 2. สืบเท้าหน้า (เท้าขวา) ช่วยจังหวะเล็กน้อย ใช้เท้าซ้ายหลอกเตะก้านคอคู่ต่อสู้ เม่ือ พลาด เป้าหมายไปแล้วไม่ต้องย้ัง ให้เลยไปวางเท้าไว้ทางขวา พร้อมย่อตัวท้ิงน้าหนักลงสู่เท้าขวาซ่ึง เปน็ เท้าหลัง โดยลักษณะหันด้านหลังซึ่งเป็นส่วนหนาให้คู่ต่อสู้ เม่ือคู่ต่อสู้เห็นเราเสียหลัก เข้าเตะซ้า ทางด้านหลังซึ่งเปิดช่องอยู่ก็ให้ใช้แรงท่ีคู่ต่อสู้เข้าทานั้นเป็นแรงบวกถีบเท้าขวาพล้ิวตัวทางข้างขวาใช้ ศอกซา้ ยพงุ่ เขา้ หาใบหน้า คตู่ ่อสูแ้ รงและเรว็ แล้วกลบั มาอยูใ่ นทา่ คุม 1 ภาพท่ี 129 – 130 ท่าเตะเหว่ียงกลบั ดว้ ยศอกเคลื่อนที่ 3. ท่าตอ่ ยด้วยศอกและเข่าเคลื่อนที่ ท่านเี้ ปน็ ทา่ ฝกึ สาหรับใชเ้ ขา่ ลอยนนั่ เอง แต่ลกั ษณะของการใช้นั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม คือ คับทั้งบนและคับทั้งล่าง การกระโดดเข่าลอยโดยทั่ว ๆ ไปน้ัน ใช้กระโดดเข้าชาร์ตคู่ต่อสู้เม่ือ ประสบโอกาสหรอื จังหวะอานวยใหเ้ ท่านัน้ จึงจะประสพความสาเร็จ แต่การกระโดดเข้าชาร์ตนั้นยังมี จุดออ่ น คือ คับล่าง แตห่ ลวมบน ถ้าเจอคตู่ อ่ ส้ทู ีช่ านาญอาจแก้ไขดว้ ยการเบ่ยี งตัวออกไปทางข้างใด

212 ข้างหน่ึง ใช้ท่าชกช้างประสานงาแก้แล้วย่อมก่อให้เกิดอันตรายข้ึนได้ การต่อยด้วยศอกและเข่า พร้อมกันในท่านี้ ทาให้คู่ต่อสู้น้ันหาจุดอ่อนหรือช่องว่างเข้าต่อต้านไม่ได้เลย ถ้าใช้ในโอกาสและ จงั หวะท่ีเหมาะสมแล้ว (เชน่ มมุ ของเวที) ก็จะ สร้างความเสยี เปรียบให้แกค่ ู่ตอ่ สู้เป็นอย่างมาก วธิ กี ารปฏบิ ตั ิ อยู่ในทา่ คุม 1 1. ลดมือซ้ายซึ่งจดอยู่ข้างหน้าเข้าแนบชายโครงด้านซ้าย พร้อมย่อตัวเอ้ียวขืนไป ทางซ้าย พอสมควร ให้สืบเท้าหน้าเล็กน้อย พร้อมถีบเท้าขวาอย่างแรงพุ่งตัวโยนเข่าขวา พร้อมฟัน ศอกซา้ ยประสานเข้าหาท่ีหมายปลายศอกและเขา่ ทพี่ ุ่งออกไปนัน้ เปน็ มมุ แหลม เข้าจงั หวะ 1 2. ลดมือขวาซ่ึงจดอยู่ข้างหน้าเข้าแนบชายโครงด้านขวา พร้อมย่อตัวเอ้ียวขืนไป ทางขวาพอสมควร ให้สืบเท้าหน้าเล็กน้อยพร้อมถีบเท้าซ้ายอย่างแรงพุ่งตัวโยนเข่าซ้ายพร้อมกับฟัน ศอกขวาประสานเข้าหาทหี่ มายปลายศอกและเขา่ ทีพ่ งุ่ ออกไปนน้ั เปน็ มมุ แหลม เข้าจงั หวะ 2 ภาพที่ 131 - 132 ท่าต่อยด้วยศอกและเขา่ เคล่อื นท่ี 4. ท่าเตะสลบั กนั เคลื่อนที่

213 ภาพที่ 133 - 134 ท่าเตะสลับกันเคล่อื นที่ ท่าน้ีเป็นการฝึกการเตะท่ีรู้สึกจะฝืนธรรมชาติสักหน่อย ตามปรกติโดยท่ัว ๆ ไป นักมวยท่ีใช้ อาวุธเตะกันน้ัน มักจะเตะแล้วน้าหนักตัวไปด้วย เม่ือคู่ต่อสู้จับขาไว้หรือชกสวนออกมา ก็มักจะเสียหลัก บังคับการทรงตัวไว้ไม่ได้ทาให้เสียหลักและเป็นฝ่ายเสียเปรียบ การฝึกการเตะ ดังเช่นทก่ี ล่าวถึงนี้ จะต้องฝืนลาตัวเอาไว้ตรง ๆ ไมใ่ ห้เอย้ี วตามแรงเตะ ผลของการฝืนลาตัวน้ัน ทาให้ น้าหนักตัวไม่ถลาไปข้างหน้าจะ สามารถทรงกายไว้ได้มั่นคง เมื่อคู่ต่อสู้จับขาหรือต่อยสวนออกมา ก็สามารถใช้การตงั้ รบั ทีม่ ีหลกั ใช้หมัดคุม ที่ฝืนอยู่น้ันชกสวนออกไปหาเป้าหมายก่อนคู่ต่อสู้ ทาให้ชิง ความได้เปรยี บ วธิ กี ารปฏิบตั ิ อยู่ในท่าคุม 1 1. สบื เทา้ หน้าเลก็ นอ้ ยพรอ้ มเตะเท้าขวาเข้าหาทห่ี มาย (บริเวณชายโครงด้านซา้ ย หรือ ก้านคอของคู่ต่อสู้) ใหฝ้ ืนลาตัวให้ตรงไว้ ดงึ หมดั ขวาทคี่ ุมไว้นัน้ เข้าหาชายโครงดา้ นขวาช่วยฝนื แรงอีก ส่วนหน่ึงพร้อมท่จี ะเขา้ ซ้าเตมิ คตู่ ่อสตู้ ่อไป เข้าจงั หวะ 1 2. สืบเท้าหน้าเล็กน้อยพร้อมเตะซ้ายเข้าหาที่หมาย (บริเวณชายโครงด้านขวาหรือ ก้านคอของคู่ต่อสู้) ให้ฝืนลาตัวให้ตรงไว้ ดึงหมัดซ้ายท่ีคุมไว้นั้นเข้าหาชายโครงด้านซ้ายช่วยฝืนแรง อกี สว่ นหน่ึง พร้อมท่จี ะเขา้ ซ้าเตมิ คู่ต่อส้ตู อ่ ไป เขา้ จงั หวะ 2 5. ท่าเตะแล้วต่อยตามพลกิ ตัวไปกนั ท่าน้ีเป็นท่าท่ีเตะแล้วต่อเน่ืองซ่ึงต่อมาจากท่าที่ 4 มีผลทาให้ใช้ในการแก้ไขคู่ต่อสู้จับ ขา ด้วยการสวนหมัดเม่ือเวลาเตะ การเตะน้ันมีความแรง แต่เม่ือใช้จนสุดล้าแล้วตัวจะถลาไป ข้างหน้าเม่ือหมดแรงเตะ ถ้าหากฝึกการฝืนลาตัวให้ตรงไว้ไม่ถลาไปข้างหน้าแล้ว จะทาให้มีหลักที่ดี เม่ือคู่ต่อสู้จับขาร้ังไว้เพ่ือตอบแทน ก็เท่ากับช่วยเป็นหลักพยุงให้เกิดมีแรงโน้มน้าหนักตัวไปข้างหน้า ไดอ้ ีก ทาใหไ้ ดผ้ ลตอ่ เนอื่ งคือ ในท่าที่ 5 ตอ่ ย 1–2 ตามไปด้วยแลว้ จะมีความรนุ แรงและแมน่ ยามาก ภาพท่ี 135 - 136 ทา่ เตะแล้วต่อยตามพลิกตัวไปกัน วธิ ีการปฏิบตั ิ อยใู่ นทา่ คุม 1

214 1. สืบเทา้ หน้าเลก็ น้อยพรอ้ มใช้เท้าขวาเตะเข้าหาที่หมาย (บริเวณชายโครงด้านซ้าย หรือก้านคอของคู่ต่อสู้) ให้ฝืนลาตัวให้ตรงไว้ ดึงหมัดขวาท่ีคุมไว้น้ัน เข้าหาชายโครงด้านขวาช่วยฝืน แรงอีกส่วนหนึ่ง ทันใดนั้นให้พุ่งหมัดขวาเข้าหาที่หมายบริเวณปลายคางของคู่ต่อสู้ เข้าจังหวะ 1แล้ว ชกั หมดั ขวาเข้ามาป้องทใ่ี บหน้าหมัดซ้ายดึงเข้าหาชายโครงด้านซ้ายพร้อมพุ่งหมัดซ้ายเข้าหาเป้าหมาย บรเิ วณปลายคางของคู่ตอ่ สู้เช่นเคย เขา้ จังหวะ 2 พลกิ ตวั วางเทา้ ซ้ายขวางไว้ขา้ งหน้าพร้อมก้มตัวโน้ม ไปทางข้างหน้าด้านขวา หมัดซ้ายควงขึ้นมาขวางใบหน้าไว้ หมัดขวาชักเข้ามาอยู่แนบชายโครง ดา้ นขวาอยใู่ นลักษณะกัน พร้อมพลกิ ตัวไปจดอยู่ในท่าคมุ 2 ตอ่ ไป 2. สืบเท้าหน้าเล็กน้อยพรอ้ มใช้เท้าซ้ายเตะเข้าหาที่หมาย (บริเวณชายโครงด้านขวา หรือ ก้านคอของคู่ต่อสู้) ให้ฝืนลาตัวให้ตรงไว้ ดึงหมัดซ้ายที่คุมไว้นั้นเข้าหาชายโครงด้านซ้าย ช่วย ฝืนแรงอีกส่วนหน่ึง ทันใดน้ันให้พุ่งหมัดซ้ายเข้าหาบริเวณเป้าหมายบริเวณปลายคางของคู่ต่อสู้ เข้า จงั หวะ 1 แล้วชักหมัดซา้ ยเข้ามาป้องกนั ทีใ่ บหน้า หมัดขวาดึงเข้าหาชายโครงดา้ นขวา พร้อมพุ่งหมัด ขวาเข้าหาท่ีหมายบริเวณปลายคางของคู่ต่อสู้เช่นเคย เข้าจังหวะ 2 พลิกตัววางเท้าขวาขวางไว้ ข้างหน้าพร้อมก้มตัวโน้มไปทางข้างหน้าด้านซ้าย หมัดขวาควงข้ึนมาขวางใบหน้าไว้ หมัดซ้ายชักเข้า มาอย่แู นบชายโครงด้านซา้ ยอยู่ในลกั ษณะกนั พรอ้ มพลิกตวั ไปจดอยูใ่ นคา่ คุม 1 ตอ่ ไป 2. ทา่ ฝกึ ลกู ไมแ้ กท้ างมวย 11 ทา่ ขัน้ ตอนท่ี 2 เปน็ ท่าฝึกลกู ไมแ้ ก้ทางมวยซงึ่ มีอยู่ 11 ท่า ซึ่งที่จะฝกึ มาถงึ ข้นั ตอนนีต้ ้องฝึกข้ันตอนท่ี หนึง่ จนคลอ่ งแล้ว เปน็ การฝึกร่วมกับคู่ซอ้ มโดยผลดั เปลยี่ นกนั รุก และผลัดเปลย่ี นการตงั้ รับ 2.1 ท่ารับต่อยตรงด้วยการใช้เท้าถีบรับ เป็นท่าสาหรับแก้ทางมวยท่ีคู่ต่อสู้มีหมัดดี ถนัด ในการต่อยตรง เปน็ ธรรมดาของผทู้ เ่ี ปน็ นักมวย เม่ือถนัดลูกใดแล้วมักจะชอบเล่นแต่ลูกน้ัน ๆ ท่าต่อย ตรงเป็นท่าที่ใช้กันอยู่โดยท่ัว ๆ ไป ถ้าหากสามารถแก้ทางมวยตามความถนัดของคู่ต่อสู้ให้ ใช้การ ไม่ได้ มิหนาซ้าเมื่อเข้ามาทาก็จะถูกแก้ไขตอบแทนกลับไปได้รับความเจ็บปวด กาลังกายย่อมเสื่อม กาลังใจก็จะหดหายเกิดความแหยงไม่กล้าเข้ามาทาอีก เมื่อมาใช้ลูกท่ีไม่ถนัดก็ยิ่งขัด ๆ เขิน ๆ ทาให้ เสยี เปรียบไดใ้ นทีส่ ุด วิธีการปฏบิ ัติ อยู่ในท่าคุม 1 1. เมื่อขณะที่คู่ต่อสู้ต่อยตรงด้วยหมัดขวาท่ีหมายบริเวณปลายคางของเราน้ัน ให้ยก แขนซ้ายข้ึนปอ้ งใบหน้าไว้ สบื เทา้ หนา้ เลก็ น้อยช่วยจังหวะพร้อมใช้เท้าขวา (เท้าหลัง) ถีบสลัดให้ปลาย เท้าพุ่งเขา้ หาที่หมายบริเวณล้ินป่ีหรือท้องนอ้ ยของคูต่ อ่ ส้ใู นลกั ษณะบวกแรงเข้าจงั หวะ 1 เปล่ยี นทาง 2. เม่ือขณะท่ีคู่ต่อสู้ต่อยตรงด้วยหมัดซ้ายท่ีหมายบริเวณปลายคางเราน้ัน ให้ยก แขนขวาข้ึนป้องใบหน้าไว้ สืบเท้าหน้าเล็กน้อยช่วยจังหวะพร้อม ใช้เท้าซ้าย (เท้าหลัง) ถีบสลัดให้ ปลายเท้าพุ่งเข้าหาที่หมายบริเวณล้ินปี่หรือท้องน้อยของคู่ต่อสู้ลักษณะบวกแรง เข้าจังหวะที่ 2 เปล่ยี นทาง 2.2 ทา่ รับต่อยเหว่ียงใช้หมดั ตรงตอบรับ วิธกี ารปฏิบตั ิ อย่ใู นทา่ คุม 1

215 1. เม่ือคู่ต่อสู้ต่อยด้วยหมัดเหว่ียงขวาเข้าหาที่หมายบริเวณกกหูด้านซ้ายของเรา ให้ ต้ังแขนซ้ายที่จดอยู่กันหมัดเหวี่ยงขวาของคู่ต่อสู้ พร้อมชักหมัดขวาเอี้ยวตัวมาทางหลังเล็กน้อย พร้อมพ่งุ ตอ่ ยตรงเข้าหาท่ีหมายบรเิ วณปลายคางของคู่ตอ่ สู้ ทง้ิ ท้งั ไหล่ เขา้ จังหวะที่ 1 เปล่ยี นทาง 2. เม่ือคู่ต่อสู้ต่อยด้วยหมัดเหว่ียงซ้ายเข้าหาที่หมายบริเวณกกหูด้านขวาของเรา ให้ ตัง้ แขน ขวาท่จี ดอยู่กันหมดั เหวี่ยงซ้ายของค่ตู อ่ สู้พรอ้ มชกั หมดั ซ้ายเอี้ยวตัวมาทางหลังเล็กน้อย พร้อม พุง่ ตวั ตอ่ ยตรงเขา้ หาท่หี มายบริเวณปลายคางของคตู่ ่อสู้ ทิ้งทงั้ ไหล่ เขา้ จงั หวะ 2 เปล่ยี นทาง 2.3 ท่าตอ่ ยเหว่ียงแล้วเตะตามใช้หมัดตรงชกแก้ วธิ ีการปฏบิ ตั ิ อยใู่ นทา่ คุม 1 1. เม่ือคู่ต่อสู้ต่อยด้วยหมัดเหวี่ยงขวาเข้าหาท่ีหมายบริเวณกกหูด้านซ้ายของเรา ให้ ตัง้ แขนซ้ายที่จดอยกู่ นั หมัดเหวี่ยงขวาของคู่ตอ่ สู้ พร้อมชักหมัดขวาเอี้ยวตัวมาทางหลังเล็กน้อย พร้อม พุ่งต่อยตรงเข้าหาที่หมายบริเวณปลายคางของคู่ต่อสู้ ท้ิงทั้งไหล่ เข้าจังหวะ 1 ขณะเดียวกัน คู่ต่อสู้ ก็ใช้เท้าขวาเตะตามเข้าหาที่หมายของเราทางชายโครงด้านซ้าย หรือก้านคอด้านซ้ายให้ตั้งรับด้วย การถอนเท้าหน้า (เท้าซ้าย) มาเป็นเท้าหลังพร้อมพลิกตัวทางซ้ายใช้หมัดขวาตบเข้ากับปลายเท้าขวา ของ คู่ต่อสเู้ ขา้ จังหวะ 2 2. เมื่อคู่ต่อสู้ต่อยด้วยหมัดเหวี่ยงซ้ายเข้าหาท่ีหมายบริเวณกกหูด้านขวาของเรา ให้ ตั้งแขน ขวาทจ่ี ดอยกู่ ันหมัดเหว่ียงซา้ ยของคตู่ อ่ สู้พร้อมชกั หมัดซ้ายเอี้ยวตัวมาทางหลังเล็กน้อย พร้อม พุ่งต่อยตรงเข้าหาท่ีหมายบรเิ วณปลายคางของคตู่ ่อสู้ ทงิ้ ท้ังไหล่ เข้าจังหวะ 3 ขณะเดียวกันคู่ต่อสู้ก็ใช้ เท้าซ้ายเตะตามเข้าหาที่หมายของเราทางชายโครงด้านขวา หรือก้านคอด้านขวา ให้ตั้งรับด้วยการ ถอนเท้าหน้า (เท้าขวา) มาเป็นเท้าหลัง พร้อมพลิกตัวทางขวา ใช้หมัดซ้ายตบเข้ากับปลายเท้าซ้าย ของคู่ต่อสู้ เข้าจังหวะ 4 2.4 ท่ารับลูกเตะ ท่าน้ีเป็นท่าที่นิยมใช้กันโดยทั่ว ๆ ไป แต่ผู้ท่ีจะรับลูกเตะให้ถูกวิธีและ สามารถชะลอการบุกของคู่ต่อสู้ได้ชะงัดน้ัน ยังมีน้อยและไม่ถูกหลักเท่าที่ควร บางครั้งการรับลูกเตะ กลบั ทาให้คู่ต่อสปู้ ระเคนด้วยหมัดและศอกจนยับเยนิ ไปก็มี ลูกเตะของคู่ต่อสู้ เม่ือเราฝึกรับได้อย่างถูก วิธี จะทาให้คู่ต่อสู้น้ันไม่มีกาลังท่ีจะต่อต้าน ตามปรกติของมนุษย์นั้นมีความชิน เคยอยู่ที่การยืนหรือ เดินด้วยเท้าท้ังสองข้าง เมื่อถูกจับขาได้ข้างหนึ่งและถูกยกขึ้นจนเป็นมุม 50 องศาข้ึนไป จะทาให้ หลักการทรงตัวนั้นไม่ดี เมื่อการทรงตัวไม่ดีก็ย่อมไม่มีแรงท่ีจะทาอันตรายได้อีกก็จะพยายามเข้าหา หลักเกาะ หรือล้มไปโดยไมม่ ีหลักเทา่ น้นั วิธีการปฏิบตั ิ อยใู่ นท่าคุม 1 1. เมอ่ื คูต่ อ่ สเู้ ตะมาดว้ ยเทา้ ขวาท่ีหมายบริเวณชายโครงด้านซ้ายหรือก้านคอของเรา ให้สืบเท้าหน้า (เท้าซ้าย) เข้าหาคู่ต่อสู้เล็กน้อยใช้แขนซ้ายช้อนรับเท้าของคู่ต่อสู้ตรงระหว่างปลีน่อง ลักษณะการรับยดื ตวั โนม้ ไปทางหน้าซา้ ยเลก็ นอ้ ย เทา้ ของคูต่ อ่ สู้จะถูกยกข้นึ สงู เกินกว่า 50 องศาข้ึนไป เข้าจังหวะ 1 เปล่ยี นทาง 2. เมอื่ คู่ตอ่ สู้เตะมาด้วยเท้าซ้ายทหี่ มายบริเวณชายโครงด้านขวาหรือก้านคอของเรา ให้สืบเท้าหน้า (เท้าขวา) เข้าหาคู่ต่อสู้เล็กน้อย ใช้แขนขวาช้อนรับเท้าของคู่ต่อสู้ตรงระหว่างปลีน่อง ลกั ษณะการรับ ยืดตวั โนม้ ไปทางหนา้ ขวาเล็กนอ้ ยเท้าของค่ตู อ่ สู้จะถูกยกขึ้นสูงเกินกว่า 50 องศาขึ้นไป เขา้ จงั หวะ 2

216 2.5 ท่าเตะแลกเปลี่ยนอยู่กับท่ี ท่าน้ีเป็นการเตะแลกเปลี่ยนสลับทางทั้งซ้ายและขวาคู่ กับคู่ซ้อม ให้เกิดความคล่องและความถนัดขึ้นท้ังสองทาง ให้เร่ิมปฏิบัติช้าๆเพื่อให้ถูกจังหวะไปก่อน และค่อยๆเร่งเร็วขึ้นไปเร่ือยๆ จนกระท่ังการเตะแลกเปล่ียนสลับทางกับคู่ต่อสู้เป็นไปเองและพร้อมที่ จะใชต้ อบโตป้ อ้ งกันตนเองได้ทุกจงั หวะ เมื่อจะสบั เปล่ียนหมุนเวียนทางมวยไปในทิศทางใดๆ ก็ใช้การ ตอบโต้และการต้งั รบั ได้โดยไม่ขัดขอ้ ง เป็นการฝึกหาจงั หวะและการฝึกโอกาสทด่ี ีอยา่ งหน่ึง วิธีการปฏิบัติ อย่ใู นท่าคุม 1 เมื่อคู่ต่อสู้เตะด้วยเท้าขวาที่หมายบริเวณชายโครงด้านซ้ายหรือก้านคอของเรา ให้ ถอน เท้าหน้า (เท้าซ้าย) ลงมาคุมอยู่ด้านหลัง พร้อมพลิกตัวทางซ้าย ใช้หมัดขวาตบเข้าท่ีปลายเท้า คตู่ ่อสู้ ขณะเดียวกนั กับที่ใช้หมัดขวาตบเข้าที่ปลายเท้าของคู่ต่อสู้ เลยใช้เท้าขวาของเราเตะเข้าหาที่ หมาย บริเวณชายโครงด้านซ้ายของคู่ต่อสู้หรือก้านคอ เป็นการแลกเปล่ียนท่าเตะชนิดฉับพลัน ในขณะเดียวกันคู่ต่อสู้รับลูกเตะขวาของเราได้ ก็ใช้เท้าซ้ายเตะเข้าท่ีหมายชายโครงด้านขวาหรือก้าน คอของเราชนิดทันควัน เหมือนกัน ให้ถอนเท้าหน้า (เท้าขวา) ลงมาคุมอยู่ด้านหลัง หมัดซ้ายตบเข้า ท่ปี ลายเท้าคูต่ ่อสู้ ให้ปฏิบัติผลดั กนั รุก และผลดั กนั ตง้ั รับเช่นนี้ เข้าจังหวะ หน่ึง สอง สาม ส่ี จนกว่า จะชานาญ ก่อนอน่ื ต้องค่อย ๆปฏิบตั ิจากจงั หวะชา้ ๆ เรว็ ข้ึน ๆ เรอ่ื ย ๆ 2.6 ท่าเตะฝากหน่ึง ท่านี้เป็นการแก้ลูกเตะของคู่ต่อสู้อีกวิธีหน่ึงด้วยการตอบโต้อย่างชนิด ฉับพลัน โดยการพุ่งหมัดสวนเข้าท่ีหมายคือบริเวณปากครึ่งจมูกครึ่งของคู่ต่อสู้ วิธีนี้ใช้กันอยู่โดย ทว่ั ๆ ไป วธิ กี ารปฏิบัติ อยู่ในท่าคุม 1 1. เมอื่ คตู่ ่อสู้เตะดว้ ยเท้าขวาท่หี มายบริเวณชายโครงดา้ นซา้ ยหรอื กา้ นคอของเรา ให้ สืบเท้าหน้า (เท้าซ้าย) เข้าหาคู่ต่อสู้เล็กน้อยพร้อมพุ่งหมัดขวาเข้าหาท่ีหมายบริเวณปากครึ่งจมูกครึ่ง ของค่ตู ่อสู้โดยการทิง้ ทง้ั ไหล่เขา้ จังหวะ 1 เปลีย่ นทาง 2. เม่ือคู่ต่อสู้เตะด้วยเท้าซ้ายที่หมายบริเวณชายโครงด้านขวาหรือก้านคอของเรา ให้สืบเท้าหน้า (เท้าขวา) เข้าหาคู่ต่อสู้เล็กน้อยพร้อมพุ่งหมัดซ้ายเข้าหาที่หมายบริเวณปากคร่ึงจมูก ครง่ึ ของค่ตู อ่ สู้ โดยการทง้ิ ทัง้ ไหลเ่ ขา้ จังหวะ 2 2.7 ท่าเตะฝากสอง ท่านี้เป็นท่าแก้ลูกเตะของคู่ต่อสู้อีกวิธีหนึ่งด้วยการตอบแทนอย่าง ฉับพลัน ด้วยการเบ่ียงตัวพุ่งหมัดคู่ (โบราณเรียกชกช้างประสานงา) เข้าหาที่หมายลักษณะการใช้ หมัดคล้ายท่าเรียงหมอน วิธีนี้โดยท่ัวๆ ไปแล้วไม่เคยเห็นมีผู้ใช้ในปัจจุบัน แต่มวยในสมัยโบราณนิยม ใช้กนั มาก เพราะน้าหนกั หมดั พร้อมแรงทีพ่ ่งุ ไปทัง้ ตัวนนั้ รุนแรงมาก และเป็นการยากแก่การปิดปอ้ ง วิธีการปฏบิ ัติ อยู่ในทา่ คุม 1 1. เมื่อคูต่ อ่ สูเ้ ตะด้วยเทา้ ขวาท่ีหมายบริเวณชายโครงด้านซ้ายหรือก้านคอของเราให้ โยกตัว ทางด้านหลังทางขวาเล็กน้อย แล้วเบ่ียงตัวเอาหมัดซ้ายหงายข้ึนนาพุ่งหมัดคู่เข้าหาท่ีหมาย บริเวณปากครึง่ จมกู ครึง่ ของคูต่ ่อสู้ เขา้ จงั หวะ 1 เปลีย่ นทาง 2. เมอ่ื คู่ต่อสเู้ ตะดว้ ยเท้าซ้ายที่หมายบริเวณชายโครงด้านขวาหรือก้านคอของเราให้ โยกตัว ทางด้านหลังทางซ้ายเล็กน้อย แล้วเบี่ยงตัวเอาหมัดขวาหงายข้ึนนา พุ่งหมัดคู่สวนเข้าหาที่ หมายบริเวณปากครง่ึ จมูกครงึ่ ของคตู่ อ่ สู้ เขา้ จังหวะ 2

217 2.8 ท่ารับลูกเตะฝากหนึ่ง ท่านี้เป็นท่าต่อเนื่องจากการรับลูกเตะ เมื่อเรารับลูกเตะของ คู่ต่อสู้ได้แล้วจะใช้หมัดตรงหรือถ้าใกล้หน่อยก็ใช้ศอกต่อยเข้าหาที่หมาย ข้ึนอยู่กับโอกาสและจังหวะ จะอานวยให้ หรือจะใช้วิธีดึงเข้ามาพร้อมตีเข่าท่ีโคนขาก็ย่อมทาได้ จะทาให้คู่ต่อสู้น้ันขัดและยืน ไม่ถนัด โดยปรกติแล้วคู่ต่อสู้เม่ือเรารับลูกเตะได้ มักจะโน้มตัวเข้ามาเพื่อยึดเราไว้เป็นหลักนี่เป็น โอกาสให้ใช้อาวุธส้ัน บางครั้งอาจเอนตัวล้มไปเพื่อให้กรรมการแยก ซึ่งเราก็อาจใช้อาวุธยาว คือ ลูกเตะเข้าระหว่างหน้าอกและใบหน้าซ่ึงคู่ต่อสู้ไม่มีทางที่จะหนีไปทางอ่ืนได้ เพราะขาข้างที่เตะ ถูกเราจับอยู่ ควรใช้อาวุธหรอื ออกอาวธุ ตามโอกาสอานวย วธิ ีการปฏิบตั ิ อยู่ในท่าคมุ 1 1. เมื่อคู่ตอ่ สู้เตะมาดว้ ยเทา้ ขวาท่ีหมายบริเวณชายโครงด้านซ้ายหรือก้านคอของเรา ให้สืบ เท้าหน้า (เท้าซ้าย) เข้าหาคู่ต่อสู้ทางด้านซ้ายเล็กน้อย ใช้แขนซ้ายช้อนรับเท้าคู่ต่อสู้ตรง ระหว่างปลีน่อง เท้าของคู่ต่อสู้จะถูกยกเกินว่า 50 องศาข้ึนไป พร้อมพุ่งหมัดขวาเข้าหาที่หมาย บรเิ วณปลายคางของคตู่ อ่ ส้โู ดยแรงและเร็ว เขา้ จงั หวะ 1 เปลี่ยนทาง 2. เมอื่ คูต่ อ่ สเู้ ตะมาด้วยเทา้ ซ้ายที่หมายบริเวณชายโครงด้านขวาหรือก้านคอของเรา ให้สืบ เท้าหน้า (เท้าขวา) เข้าหาคู่ต่อสู้ทางขวาเล็กน้อย ใช้แขนขวาช้อนรับเท้าคู่ต่อสู้ตรงระหว่าง ปลีน่อง เท้าของ คู่ต่อสู้จะถูกยกเกินกว่า 50 องศาขึ้นไป พร้อมพุ่งหมัดซ้ายเข้าหาที่หมายบริเวณ ปลายคางของคู่ต่อสโู้ ดยแรงและเรว็ เข้าจังหวะ 2 2.9 ท่าเตะปัด ท่าน้ีเป็นท่าแก้การเตะของคู่ต่อสู้อีกแบบหนึ่ง เมื่อคู่ต่อสู้เตะมากลาง ๆ เช่น แถวชายโครงด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะใช้มือปัดหลังเท้าท่ีคู่ต่อสู้เตะมานั้นให้ผ่านไปแรงและเร็วขึ้น จะทาให้คู่ตอ่ สู้เมอื่ เตะพลาดเปา้ และถกู แรงสง่ ทาใหถ้ ลาไปต้ังหลักไม่ทัน เกิดช่องว่างทางส่วนหลัง ให้ เข้าตอบแทนและซา้ เตมิ ด้วยการดกั ตอ่ ยดว้ ยศอก หรอื เตะกา้ นคอ หรอื เสยี หลกั ในระยะต่าก็ใช้เข่าตีซ้า ที่สาคัญ ๆ เป็นต้น วธิ กี ารปฏิบตั ิ อยใู่ นท่าคุม 1 1. เม่ือคตู่ ่อสูใ้ ช้เท้าขวาเตะเข้าหาทห่ี มายบรเิ วณชายโครงด้านซ้ายของเราให้ถอนเท้า หนา้ (เทา้ ซา้ ย) มาคมุ อยดู่ ้านหลงั พรอ้ มใชแ้ ขนขวาควงตวัดปัดเท้าค่ตู ่อสูใ้ หพ้ ุ่งผ่านหน้าเราไปแรง ๆ และเรว็ แลว้ เข้าซ้าเตมิ ในจังหวะ 1 เปลย่ี นทาง 2. เมอื่ คู่ต่อสู้ใชเ้ ท้าซา้ ยเตะเข้าหาทห่ี มายบริเวณชายโครงด้านขวาของเราให้ถอนเทา้ หนา้ (เท้าขวา) มาคุมอยู่ด้านหลัง พร้อมใช้แขนซ้ายควงตวดั ปดั เท้าค่ตู ่อสู้ใหพ้ ุ่งผา่ นหน้าเราไปแรง ๆ และเร็ว แล้วเขา้ ซ้าเตมิ ในจังหวะ 2 เปลย่ี นทาง 2.10 ท่าทัศมาลาแก้ลกู เตะสูง ท่านเี้ ปน็ ท่าอนั ตราย ผู้ฝกึ ใหม่ ๆ ควรต้องค่อย ๆ หาจังหวะ ช่วย และฝึกบ่อยๆครั้ง มีเทคนิคเล็กน้อย เมื่อคู่ต่อสู้เตะสูง ให้งอข้อศอกปิดระหว่างทัดดอกไม้ เช่น เมื่อคตู่ ่อสู้เตะสงู ด้วยเทา้ ขวา ก็ให้งอศอกซ้ายปิดระหว่างทัดดอกไม้ ก้มตัวลอดเท้าที่คู่ต่อสู้ใช้เตะมาให้ ตรงปลนี ่องของคู่ต่อสูข้ ้นึ มาคา้ งอยู่บนช่วงบ่าของเรา แลว้ ดันตัวยกขึ้นโดยแรงและเรว็ คู่ต่อสู้จะตีลังกา ถา้ เกบ็ คอไม่ดีศรี ษะฟาดพนื้ หมดทางสู้ ทา่ นตี้ ้องเลน่ เร็วและจังหวะดี พยายามใหต้ ดิ ต่อกันไปในเน้อื หา วธิ ีการปฏบิ ัติ อยใู่ นทา่ คุม 1

218 1. เมื่อคู่ต่อสู้เตะด้วยเท้าขวาที่หมายก้านคอด้านซ้ายของเราแล้ว ให้งอศอกซ้ายขึ้น ปดิ ระหว่างหูกบั ทัดดอกไม้ เบีย่ งตัวมาทางขวากม้ ตวั ลงในขณะทีเ่ ท้าขวาคู่ต่อสู้ผ่านมาจนถึงไหล่ ให้ยก ตัวขน้ึ ศอกซา้ ยทีเ่ รางอในทา่ ทัดมาลาไว้ จะขึ้นไปคานปลีน่องเท้าขวาของคู่ต่อสู้ท่ีเตะมา แล้วให้ยกตัว ทะล่ึงขึ้นโดยเร็วและฉบั พลนั ดนั ไปข้างหน้าเล็กนอ้ ย เขา้ จงั หวะ 1 เปลย่ี นทาง 2. เม่ือคู่ต่อสู้เตะมาด้วยเท้าซ้ายท่ีหมายก้านคอด้านขวาของเราแล้ว ให้งอศอกขวา ข้ึนปิดระหว่างหูกับทัดดอกไม้ เบ่ียงตัวมาทางซ้าย ก้มตัวลงในขณะที่เท้าซ้ายคู่ต่อสู้ผ่านมาจนถึงไหล่ ให้ยกตัวข้ึน ศอกขวาท่ีเรางอในท่าทัศมาลาไว้จะขึ้นไปคานปลีน่องเท้าซ้ายของคู่ต่อสู้ท่ีเตะมา แล้วให้ ยกตวั ทะลึง่ ขน้ึ โดยเร็วและฉับพลัน ดันไปข้างหนา้ เลก็ น้อย เข้าจงั หวะ 2 2.11 ทา่ ลูกตอแหล ท่านใ้ี ช้แกไ้ ขเมอื่ อยู่ในที่อบั หรือมมุ เชือกด้านใดด้านหนึ่ง หรือจะใช้เม่ือ ตอ้ นคตู่ ่อสเู้ ขา้ ไปที่มุมกใ็ ชไ้ ดเ้ ช่นกัน จนพอได้ระยะต่อยตัดที่หมายจะขวาไปซ้ายหรือจากซ้ายมาขวาก็ ได้ แต่อย่าให้ถูกแล้วกลับหลังพลิกศอก ให้ศอกได้เสมอแนบไหล่ ส่วนอีกหมัดตั้งกันอยู่ตรงหน้า กลับไปโดยแรง ท่าน้ีจะต้องฝึกจังหวะและระยะให้เกิดความแม่นยากับคู่ซ้อมบ่อยๆครั้งจึงจะเกิดผลดี และแก้ไขตนเองไดใ้ นเมอ่ื ถึงคราวถกู ต้อนเขา้ มมุ วิธีการปฏบิ ตั ิ อยู่ในทา่ คุม 1 1. เมือ่ ถูกคู่ต่อส้รู ุกต้อนเข้ามุมในลกั ษณะรปู สามเหล่ียม พอไดร้ ะยะให้ต่อยหมดั ขวา เฉยี งไปทางซ้าย (ต่อยตัดท่ีหมาย) อย่าให้ถกู ทห่ี มาย พร้อมกา้ วเท้าหลงั ตามเฉยี งไปดว้ ยเอนตัวงอไป ข้างหนา้ เลก็ น้อยชว่ ยจังหวะ พรอ้ มใช้เท้าขวาถีบส่งตวั พุ่งศอกซา้ ย เขา้ หาท่หี มายบรเิ วณใบหน้าของคู่ ตอ่ สูโ้ ดยแรง เข้าจังหวะ 1 เปลี่ยนทาง 2. เมือ่ ถกู คู่ตอ่ สู้รุกต้อนเข้ามมุ ในลักษณะรูปสามเหลี่ยม พอได้ระยะให้ต่อยหมัดซ้าย เฉียงไปทางขวา (ต่อยตัดท่ีหมาย) อยา่ ใหถ้ ูกท่หี มาย พร้อมก้าวเทา้ หลงั ตามเฉียงไปด้วย เอนตัวงอไป ข้างหน้าเลก็ นอ้ ยชว่ ยจงั หวะ พร้อมใช้เท้าซ้ายถีบส่งตัวพุ่งศอกขวาเข้าหาท่ีหมายบริเวณใบหน้าของคู่ ตอ่ สโู้ ดยแรง เขา้ จงั หวะ 2 3. ฝึกท่าแม่ไมส้ าคญั ข้ันตอนท่ี 3 ก. ทา่ แมไ่ ม้ครู 5 ท่า มวยโบราณท่านได้กล่าวเป็นคากลอนและกระทู้ของครูดังได้กล่าวแล้ว โดยได้แยกเป็นไม้ ครูเสีย 5 ไม้ และเป็นแม่ไม้สาคัญอีก 21 ท่า เพื่อเป็นแนวทางของผู้ท่ีต้องการจะศึกษา และอนุรักษ์ ไว้ หรือผู้ทจ่ี ะเรยี นรูห้ าประสบการณ์ให้เพมิ่ พนู ยิง่ ขึน้ ไปอกี จะไดก้ ล่าวตามลาดับ ดังนี้ ท่าท่ี 1 – ชักหมัดมาเตะตนี หนา้ พรอ้ มหมัดชัก แปลความหมายว่า ให้ชักหมัดทงั้ สองทยี่ ่ืนไปข้างหน้าเข้ามาหาตัว (หมดั อยู่เสมอราวนม) ทันใดนั้น ให้ยกเทา้ ท่ีอยู่ข้างหน้าเตะตรงๆเขา้ หาปลายคางของคู่ต่อส้นู น้ั โดยเรว็ ทา่ ท่ี 2 – ชักปดิ ปกด้วยศอก แปลความหมายว่า ให้ชักหมัดที่คุมอยู่ข้างหน้าน้ัน ปิดปัดในขณะท่ีคู่ต่อสู้ชกสวนมาแล้วให้ ชกตอบ ด้วยศอกในขณะทปี่ ดิ ปัดนั้นเอง ทา่ ท่ี 3 – ชกหา้ มไหล่

219 แปลความหมายว่า เม่ือคู่ต่อสู้ต่อยเรามาตรง ๆ ใช้มือปัดเอาให้พ้นตัวเราด้วยมือข้างหนึ่ง จะเป็น ขวาหรอื ซ้ายกต็ าม แลว้ จงึ ตอบโตต้ ่อยเขาด้วยมืออีกข้างหน่ึงให้ถูกตรงร่องบ่า อาการต่อยต้อง คว่ามอื ใหห้ มัดของเราถูกตรงข้อน้ิวมือขอ้ ที่สองท่เี รากาไว้น้ัน จะทาให้ยกแขนไม่ขน้ึ ทา่ ที่ 4 – เมื่อเข้าให้ชกนอกเมื่อออกให้ชกใน แปลความหมายว่า เวลาท่ีเราไล่รุกเข้าประชิดไปนั้น ให้ต่อยวงนอก หมายถึง บริเวณ กกหูหรือทัดดอกไม้ ปล่อยให้เขาปิดปัดได้ตามใจชอบ คร้ันเวลาเราจะถอนตัวออกจากเขา ให้กลับ ตอ่ ยข้างในคอื ไมใ่ ห้เหว่ียง แตใ่ หพ้ งุ่ หมัดไปตรงหนา้ อกหรือปากเขานนั้ แล้วจงึ ถอยหลังออกโดยเร็ว ท่าที่ 5 – ชกช้างประสานงา แปลความหมายว่า ให้ต่อยประสานกันคือ เม่ือคู่ต่อสู้ต่อยเรามาก็ให้ต่อยสวนเข้าไปด้วย อาการก้มศีรษะพรอ้ มกับการยกมือขนึ้ ตอ่ ยเขานนั้ เอง ให้ศีรษะและกับแขนของเราที่ยกข้ึนต่อยเขาน้ัน ลักษณะ ของการต่อยสับเปล่ียนกันไปทางขวาและทางซ้ายพร้อมเปลี่ยนเท้าตามมือไปด้วย ต่อยมือ ไหนต้องเปลี่ยนเทา้ นนั้ ไปหน้า การต่อยเช่นนีท้ ่หี มายคือบรเิ วณใบหน้าของค่ตู อ่ ส้เู สมอไป ข. ทา่ แม่ไมส้ าคญั แบบโบราณ 21 ท่า ทา่ ทหี่ น่งึ – ท่าทดั มาลา ภาพที่ 137 ทา่ ทดั มาลา ท่านี้เป็นท่าท่ีผ่อนหนักให้เป็นเบา ใช้แลกเปลี่ยนกับคู่ต่อสู้ขณะท่ีคุมเชิงอยู่เป็นหลัก ไม่มี โอกาส หรอื ช่องว่างท่ีจะเข้าทาเขาได้ จึงใช้ท่าน้ีหลอกให้เขาเตะ เมื่อเขาเตะก็ให้สวนด้วยการต่อยเข้า ท่ีลิ้นป่ีเลยทีเดียว ลักษณะของการใช้ท่าทัศมาลา ให้ยกมืองอศอกขึ้นปิดที่หูกับลาตัว ให้ศอกย่ืนไป ข้างหน้าตรงแนวไหล่เอียงตัวตามทางซ้าย ขวา เข้าหาคู่ต่อสู้ (เมื่อเอียงทางซ้ายก็ให้ใช้ศอกขวา และ เมอื่ เอียงตัวทางขวาก็ใหใ้ ชศ้ อกซ้าย) ทา่ ทสี่ อง – ทา่ กาฉกี รงั

220 ลักษณะของการใช้ เมือ่ ขณะคุมเชิงกันอยู่ให้หาจังหวะเข้า เอามือท้ังสองข้างกดหมัดคู่ต่อสู้ ปัดออกไปท้ังสองข้าง ในทันทีนั้นให้ยกเท้าหลังเข้าถีบสลัด โดยใช้ปลายเท้าจิกเข้าหาท่ีหมายบริเวณ ลน้ิ ป่หี รือช่องทอ้ ง แล้วใหถ้ อยออกมาตงั้ คมุ เชิงไว้ ภาพท่ี 138 กาฉกี รัง ทา่ ท่สี าม – ท่าหนุมานถวายแหวน ภาพท่ี 139 ท่าหนุมานถวายแหวน ลักษณะของการใช้ เมื่ออยู่ในระยะประชิด ให้หาโอกาสดันศอกของคู่ต่อสู้ให้ชูข้ึน แล้วใช้ หมัด อีกขา้ งหนึง่ ตอ่ ยสวนข้ึนไปใหถ้ ึงปากครึ่งจมูกคร่ึงของคู่ต่อสู้ การต่อยต้องหงายหมัดหรือเรียกว่า ตอ่ ยเสย ๆ ขน้ึ ไป มิใช่เหว่ียงแขนตอ่ ย

221 ท่าที่ส่ี – ท่าลม้ พลอยอาย ภาพที่ 140 - 141 ท่าลม้ พลอยอาย ลักษณะของการใช้ เมื่ออยู่ในระยะประชิด และเสียหลักล้มลงไปท้ังสองคน ให้ล้มทับลง ไปด้วย การเอาศอกกดลงไปที่หน้าอกหรือที่ใดก็ตามท่ีพอทาได้หรือมิฉะนั้น ให้ทะล่ึงเข้าใส่ ทิ้งตัวล้ม ลงเอาศอกกดลงท่ีหลังเท้าคู่ต่อสู้ อาการทาเช่นน้ีอันตรายมาก ต้องอาศัยความว่องไวจริงๆจึงจะทา สาเร็จ ถ้าสาเร็จย่อมทาใหเ้ กิดผลมาก คตู่ ่อสู้จะส้เู ราไปไม่ได้อกี เพราะยนื ไมถ่ นดั ทา่ ท่ีห้า – ท่าลิงชงิ ลูกไม้ ลกั ษณะของการใช้ เม่อื คู่ต่อสู้เตะมาจะเปน็ เท้าใดก็ตามให้ปัดเท้าท่ีเขาเตะมาน้ันให้พ้นตัว การปัดให้ปัดช่วยส่งแรงเตะให้เร็วข้ึน ทันใดน้ันให้พุ่งตัวต่อยสวนเข้าไปทั้งสองหมัด ท่ีหมายให้ถูก ระหวา่ งอก หรือคาง อาการต่อยท้ังสองหมัดต้องชิดกันหงายมือขึ้นขณะที่เสือกหมัดขึ้นไปหาท่ีหมาย นั้น พร้อมก้มศีรษะชิดแนบอยู่กับแขนท้ังสองข้าง เอียงตัวตามมือท่ีอยู่ข้างหน้า เช่นมือขวาอยู่หน้าก็ ให้เอียงตวั ไปทางขวา และเชน่ เดยี วกนั เมอ่ื มือซ้ายอยหู่ น้าก็เอยี งตัวไปทางซา้ ย ภาพที่ 142 - 143 ทา่ ลิงชงิ ลกู ไม้

222 ท่าทห่ี ก – ท่ากมุ กณั ฑ์หักหอก ภาพที่ 144 - 145 ทา่ กมุ กณั ฑ์หกั หอก ลักษณะของการใช้ เม่ือคู่ต่อสู้เตะมา ให้จับเท้าคู่ต่อสู้ไว้ทั้งสองมือ มือหนึ่งจับปลีน่องยกขึ้น อีกมือจับเหนือเข้าค่อนไปทางต้นขาเล็กน้อยกดอย่าให้คู่ต่อสู้งอเข่าได้ (ถ้างอเข่าได้แล้วจะต่อยเราได้ สะดวก) ในทันใดนั้น ให้ใช้เข่าของเรากระแทกเข้าท่ีโคนขาคู่ต่อสู้น้ันโดยแรง อาจทาให้ขาของคู่ต่อสู้ คลาก หรือหกั ได้ถ้าถกู ในทเ่ี หมาะ ๆ ท่าที่เจ็ด – ท่าฤๅษีมุดสระ ภาพท่ี 146 ท่าฤๅษมี ดุ สระ ลกั ษณะของการใช้ เมื่อเราเข้าต่อยคู่ต่อสู้โดยใช้ท่าทัศมาลาเข้าเสริม เอียงตัวก้มไปทางซ้าย ทีก้มไป ทางขวาที คู่ต่อสู้เห็นเราก้มต่าก็กระโดดเข้าถองทีศีรษะเรา ในขณะเดียวกันให้ทรุดตัวลงน่ัง โดยเร็วอยา่ ให้ทันเขาถองเราได้ ใช้มือสองข้างแหวกขาคู่ต่อสู้ออกพร้อมลอดระหว่างขา พลันทะลึ่งข้ึน แบกและดนั ด้วยคอให้เขาพลดั ตกไปขา้ งหลงั เรา อาจทาใหเ้ ขาคอหกั ไดถ้ ้ารับไม่ทัน ท่าท่ีแปด – ท่าทศกัณฑ์โศก ลกั ษณะของการใช้ ก็คลา้ ยกับทา่ ฤๅษมี ดุ สระ เมอ่ื เรารุกเข้าตอ่ ยคูต่ ่อสูโ้ ดยใช้ท่าทัศมาลา

223 เข้าเสริมเอียงตัวก้มไปทางซ้ายที ก้มไปทางขวาที คู่ต่อสู้เห็นเราก้มต่าก็กระโดดเข้าถองท่ีศีรษะเรา และในขณะท่ีคู่ต่อสู้ขยับจะถองก็ให้กระทุ้งหมัดท้ังสองข้างข้ึนไปสู่ท่ีหมายบริเวณปลายคางของคู่ต่อสู้ ท้ังสองหมดั จะทาใหค้ ู่ตอ่ สู้น้นั ลม้ ทั้งยนื ทเี ดยี ว ภาพที่ 147 ท่าทศกณั ฑ์โศก ทา่ ที่เกา้ – ท่าตะเพยี นแฝงตอ ภาพที่ 148 ท่าตะเพียนแฝงตอ ลักษณะของการใช้ ใช้ท่าล่อทะลึ่งเข้าไปให้ถึงตัวของคู่ต่อสู้ ในขณะที่เข้าในระยะประชิด น้ันให้ก้มตัวลงในทันที เอามือทั้งสองข้างจับขาของคู่ต่อสู้ยึดเอาไว้ แล้วแหงนหน้าข้ึน ดูเขาจะต่อย หรือถองพอเขาขยับต่อยหรือถอง ให้ปล้ินตัวเข้าใต้รักแร้ของคู่ต่อสู้เอาหมัดทั้งสองกระทุ้งขึ้นข้างบน พรอ้ มกับการปลนิ้ ตัวนั้น ให้หมดั ถกู ปลายคางหรอื แล้วแต่จะเหมาะ ทา่ ที่สบิ – ทา่ นกคมุ้ เขา้ รัง

224 ภาพที่ 149 ท่านกคุ้มเข้ารัง ลักษณะของการใช้ ในขณะท่ีกาลังต่างคุมเชิงกันอยู่นั้น ให้หลอกเอามือท้ังสองข้างของ เราสอด ใต้มือของเขาทั้งสองข้าง แล้วเสยขึ้นข้างบนปัดให้มือคู่ต่อสู้เปิดออกนอก ทันใดน้ันให้ทะลึ่ง เขา้ ไปก้มศีรษะพุ่งเขา้ กระแทกที่หนา้ อกหรือแนวล้นิ ปโ่ี ดยแรง เขาจะเสียท่าล้มทง้ั ยนื ทีเดยี ว ทา่ ที่สบิ เอด็ – ท่าคชสารกวาดหญ้า ลักษณะของการใช้ เม่ือขณะที่คุมเชิงอยู่ ให้ใช้วิธีหลอกจะต่อยวงกว้างแต่ไม่ต่อยจริง พอคู่ ต่อสู้ ยกมือจะปิดเราให้ใช้มือที่หลอกจะต่อยเขาน้ัน รวบหมัดทั้งสองข้างกระหวัดเข้าไว้ในรักแร้ ของเรา แล้วจึงใช้มืออีกข้างหน่ึงท่ียังเหลืออยู่น้ัน ต่อยปากหรือจมูกเขาเข้าไปในทันทีและเม่ือจะถอย ออกไป กใ็ หใ้ ช้ศอกทีร่ วบหมดั ของค่ตู ่อสู้ไวน้ น้ั กระทุ้งหนา้ อกเขาให้กระเด็นไป แล้วจงึ กระโดดออกมา ภาพท่ี 150 -152 ทา่ คชสารกวาดหญ้า ทา่ ทส่ี ิบสอง – ท่าหกั หลักเพ็ชร

225 ภาพท่ี 153 - 154 ท่าหกั หลกั เพ็ชร ลักษณะของการใช้ ท่าน้ีทาอาการคล้ายกับท่าตะเพียนแฝงตอ เว้นแต่เราไม่กดขาคู่ต่อสู้ คอยทีอยู่ พอเราจับขาได้ก็ให้ยกข้ึนข้างใดข้างหน่ึงโดยเร็ว เม่ือเขาเสียหลักก็ให้ใช้ส้นเท้าถีบเข้าที่โคน ขาอกี ขา้ งโดยแรง จะทาให้ขาถอนสะโพกคลากได้ ทา่ ทสี่ ิบสาม – ท่าคชสารแทงโรง ภาพที่ 155 ท่าคชสารแทงโรง ลักษณะของการใช้ ในขณะที่คุมเชิงกันอยู่ให้หลอกล่อด้วยการกระโดดไปทางซ้ายที ทางขวาที พอไดท้ า่ ก็เขา้ ถบี ตรงหน้าอกของคตู่ ่อสู้พร้อมด้วยพุ่งหมัดท้ังสองหมัดตรงเข้าหาท่ีหมายคือ ปากคร่ึงจมกู คร่ึงพรอ้ มกบั เท้าทถี่ ีบนน้ั อยา่ ชา้ ให้รีบทาลกั ษณะทันทที ันใด ทา่ ทีส่ บิ สี่ – ทา่ หนมุ านแหวกฟอง

226 ภาพที่ 156 ท่าหนมุ านแหวกฟอง ลักษณะของการใช้ ในขณะที่คุมเชิงกันอยู่นั้น ให้ทาการหลอกคล้ายกับจะต่อยด้วยหมัด แต่พอ เขาขยับท่าจะปิด ให้กระโดดท้ิงตัวไปทางข้างคู่ต่อสู้ ใช้มือทั้งสองยันพ้ืนไว้ ในขณะที่ทิ้งตัวน้ี เอง ให้ยกเท้าขึ้น ใช้ส้นเท้าถีบเข้าที่ใบหน้าของคู่ต่อสู้ทันที แล้วจึงลอดเลยหลังของคู่ต่อสู้ไป ระวัง อยา่ เงยศีรษะหรือลุกขึ้นยืนใกล้ตัวค่ตู อ่ สเู้ ปน็ อนั ขาด เพราะอาจถูกถองศีรษะแตกได้ ทา่ ท่ีสบิ หา้ –ท่าลงิ พลิ้ว ภาพท่ี 157 ท่าลิงพลวิ้ ลักษณะของการใช้ เม่ือขณะคุมเชิงกันอยู่ ให้หลอกต่อยคู่ต่อสู้ด้วยมือข้างหนึ่ง จะเป็นมือ ซ้ายหรือมือขวาก็ตาม ที่หมายบริเวณใบหน้าของคู่ต่อสู้ (ให้ต่อยด้วยอาการพุ่งหมัด) ถ้าต่อยด้วยมือ ซ้ายต้องหมายต่อยแก้มซ้ายของคู่ต่อสู้ ถ้าต่อยด้วยมือขวาให้หมายต่อยแก้มขวาของคู่ต่อสู้ (การต่อย เช่นนี้หาได้หมายผลเพื่อให้ถูกท่ีหมายไม่ต่อยเพียงให้คู่ต่อสู้ปิดเท่าน้ัน) ในขณะท่ีต่อยคู่ต่อสู้นี้เองให้ ทะลึ่งตามหมัดของเราไปด้วยแล้วพลิกตัวกลับหลังหันใช้ศอกกลับเข้าที่หน้าของคู่ต่อสู้พร้อมกับการ หนั ตวั กลับมานั้น ทา่ ท่สี บิ หก – ท่ากาลอดบ่วง ลักษณะของการใช้ เมอ่ื คู่ตอ่ สูเ้ ตะเรา ใหห้ ลบลอดใต้ขาของคูต่ อ่ สู้ พอเทา้ ค่ตู ่อสู้พ้นศีรษะ

227 ไปแลว้ ก็ใหพ้ ุ่งตัวตอ่ ยสวนเทา้ เขา้ ไปให้ถูกทหี่ มายคอื ปลายคางหรอื หน้าอกของคูต่ ่อสู้ ภาพท่ี 158 ทา่ กาลอดบว่ ง ท่าท่ีสิบเจด็ – ท่าหนุมานแบกพระ ภาพท่ี 159 ทา่ หนมุ านแบกพระ ลักษณะของการใช้ เมื่อคู่ต่อสู้เตะมาให้ก้มตัวลงลอดเท้าของคู่ต่อสู้ไป แล้วใช้มือหนึ่งจับที่ โคนขา ของคู่ต่อสู้ข้างที่ไม่ได้เตะน้ัน ยกข้ึนพอตัวเอียงก็ให้ใช้มืออีกข้างหน่ึงจับท่ีรักแร้ของคู่ต่อสู้ ทันใดนน้ั ให้ยกตัวคตู่ ่อสู้ข้ึนพร้อมกันทั้งสองมือแล้วพุ่งไปโดยแรง คอเขาจะหักถ้ารับไม่ทัน แต่ต้องทา โดยเร็วเป็นการผสมแรงด้วย ถ้าทาช้าอาจยกตัวคู่ต่อสู้ดังที่ว่าน้ีไม่ได้ เพราะกาลังไม่พอจะยกน้าหนัก ตัวเขาขึ้นได้ ท่าท่สี บิ แปด – ท่าหนไู ตร่ าว

228 ภาพที่ 160 ทา่ หนไู ตร่ าว ลกั ษณะของการใช้ เมือ่ เวลาคูต่ อ่ สเู้ ตะหรือตอ่ ยมาให้พลกิ ตวั หลบไปขา้ งหน่งึ พอมือหรือ เทา้ ของคตู่ ่อสตู้ กกใ็ หเ้ ตะหรอื ต่อยสวนตามมือหรอื เทา้ ที่เขาเตะตอ่ ยมานั้นโดยเรว็ ตามแตจ่ ะถกู ในทใี่ ด ทา่ ที่สิบเกา้ – ทา่ ตลบนก ลกั ษณะของการใช้ เมอื่ เวลาคุมเชิงกันอยู่ ใหท้ าทา่ ทางจะต่อยทช่ี ายโครงคตู่ อ่ สู้ พอเขา ขยับจะปิด ก็ให้ชักมือกลับแล้วช้อนข้ึนข้างบน เป็นศอกถองที่ศีรษะของคู่ต่อสู้ทีเดียว ถ้าเขาปิดไม่ ทนั ให้ต่อยชายโครงจรงิ แล้วช้อนหมัดข้นึ ขา้ งบนใช้ศอกถองศรี ษะได้อีกวธิ ีหนง่ึ ภาพที่ 161 ทา่ ตลบนก ท่าทย่ี ่สี ิบ – ทา่ หนุมานถอนตอ

229 ภาพที่ 162 - 163 ทา่ ตลบนก ลักษณะของการใช้ เม่ือคตู่ อ่ สู้เตะมาแล้วจับได้ให้ยกเท้าของคู่ต่อสู่ข้ึนสูงแล้วดึงเข้ามาหาตัว เราพอเขาทะลึ่งจะเข้ามาต่อย หรือจับเรา ก็ให้ใช้เท้าที่อยู่ข้างหน้าถีบตรงหัวหน่าวและพุ่งเท้าของคู่ ตอ่ ส้อู อกไปพรอ้ มกบั การถีบน้ัน อาจทาให้กระเพาะปัสสาวะไหลไม่หยดุ ได้ ท่าท่ีย่สี ิบเอด็ – ท่าโกหก ภาพที่ 164 - 165 ทา่ โกหก ลกั ษณะของการใช้ เมอ่ื เวลาคุมเชิงกนั อยู่ ใหเ้ งอ้ื หมดั หลังทาทีจะต่อย พอเขาขยบั จะปิด ก็กลับ เสือกหมัดซ่ึงคุมเชิงอยู่ด้านหน้านั้นพุ่งเข้าท่ีหมายบริเวณปากครึ่งจมูกครึ่งของคู่ต่อสู้โดยเร็ว เม่ือเขาเสยี ท่าจงึ เตะตอ่ ยซา้ เติมตามใจชอบ การฝึก ในคร้ังแรกต้องอา่ นตาราใหเ้ ข้าใจ ทาทา่ ให้ถูกต้องจึงคอ่ ยฝึกทา่ เคล่อื นไหว จากท่า เร่ิมต้นจนถึงท่ีสุดแต่คนเดียวก่อน เม่ือทางดีคล่องแคล่วว่องไวทุก ๆ ส่วนในท่านั้นแล้ว ก็จึงหาคู่ซ้อม ด้วยวธิ ีผสมทา่ ให้สะดวกดขี น้ึ (เรยี กว่าไลล่ ูกไม้) ผลดั เปลีย่ นกันเป็นฝา่ ยรุกมีหน้าที่อย่างไร และฝ่ายรับ