นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี โดย คะนอง พลิ ุน ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data คะนอง พิลุน. นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั อดุ รธาน-ี - กรงุ เทพฯ : สถาบนั พระปกเกลา้ , 2559. 458 หน้า. 1. นักการเมือง - - อุดรธานี. 2. อุดรธานี - - การเมืองการปกครอง l. ชื่อเรื่อง. 342.2092 ISBN 978-974-449-XXX-X รหัสสงิ่ พิมพข์ องสถาบันพระปกเกล้า สวพ.58-XX-500.0 เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ 978-974-449-XXX-X ราคา พิมพค์ รัง้ ที่ 1 มีนาคม 2559 จำนวนพิมพ์ 500 เล่ม ลิขสิทธิ ์ สถาบันพระปกเกล้า ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์(พิเศษ)นรนิติ เศรษฐบุตร รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผแู้ ตง่ คะนอง พิลุน ผู้พมิ พผ์ ้โู ฆษณา สถาบันพระปกเกล้า จัดพมิ พโ์ ดย สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th พิมพท์ ี่ บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด 745 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 02-243-9040-4 โทรสาร 02-243-3225
นักการเมืองถ่ิน จังหวัดอุดรธานี คะนอง พิลุน สถาบันพระปกเกล้า
คำนำ การศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี เป็นการ ศึกษาข้อมูลประวัติของนักการเมืองในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความเป็นมาของตัวแทนชาว จังหวัดอุดรธานี ที่เป็นตัวแทนในการใช้อำนาจการตัดสินใจ ผ่านกระบวนการเลือกตั้งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการมีส่วนร่วม ตามระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย ที่มีการเปลี่ยนผ่าน ระบอบประชาธิปไตยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึงการเลือกตั้ง ครั้งล่าสุด เมื่อ พ.ศ. 2554 ประมาณ 80 ปีที่ผ่านมา นับเป็น เวลายาวนานพอสมควรกบั ระบอบประชาธปิ ไตยผา่ นการเลอื กตง้ั ถึงแม้ปัจจุบัน (มกราคม 2560) จะอยู่ในช่วงที่รัฐบาลทหาร ครองอำนาจ และเป็นช่วงการพยายามสร้างประชาธิปไตย ที่ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชั่น การศึกษาเรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานีจึงเล็งเห็น ถึงความสำคัญที่จะศึกษาเส้นทางการเข้าสู่การเป็นตัวแทน บทบาททางการเมือง และบริบทต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับ
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี นักการเมืองที่มาจากคนในพื้นที่ท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ เกิดประโยชน์และความเข้าใจสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาหาข้อมูล ทั้งในระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในอนาคตต่อไป ผู้ศึกษาขอขอบคุณอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด อุดรธานีที่เสียสละเวลาให้ข้อมูลในยามที่บ้านเมืองอยู่ใน สถานการณ์ไม่ปกติ ขอขอบคุณ ดร.วนิดา พรมหล้า ที่ช่วย ปรับแก้บทคัดย่อภาษาอังกฤษและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ วิธีการนำเสนอข้อมูล ขอบคุณนายทวีศักดิ์ บุทอง ส.อ.ธีรพล พงษ์บัว และนายสุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาว ที่ช่วยพิมพ์ พิสูจน์ อักษร และตรวจสอบความถกู ต้องของข้อมูล สำหรับความผิดพลาดหรือข้อบกพร่องประการใด ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษายินดีอย่างยิ่งหากผู้ที่ ศึกษาค้นคว้าหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะเมตตาชี้แนะ ให้คำแนะ เพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้ดีมากยิ่งขึ้น และเพื่อเกิดประโยชน ์ ต่อการสร้างสรรค์ผลงานด้านวิชาการในอนาคตสืบไป ผศ.คะนอง พลิ ุน วทิ ยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวทิ ยาลัยมหาสารคาม ผวู้ ิจัย
บทคัดย่อ การศกึ ษานกั การเมอื งถิน่ จงั หวดั อุดรธานี มวี ัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมความเป็นอยู่ของจังหวัดอุดรธานี 2. เพื่อศึกษาข้อมูล นักการเมืองจังหวัดอุดรธานีที่เคยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ยุคแรกจนถึงยุคปัจจุบัน 3. เพื่อศึกษา พรรคการเมอื ง เครอื ขา่ ยและความสมั พนั ธข์ องกลมุ่ ผลประโยชน์ ที่มีส่วนสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัด อุดรธานี 4. เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัครรับ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตพื้นที่การเลือกตั้ง จังหวัดอุดรธานีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 5. เพื่อเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่นในระดับเขตพื้นที่จังหวัด อุดรธานีสู่บทบาทการเมืองในระดับชาติ การศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัยใช้ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษา
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และสรุปข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า จากการศึกษา พบว่า ตั้งแต่มี การเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยมาสู่ระบอบ ประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 – 2554 จังหวัดอุดรธานี มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 69 คน นักการเมืองหญิง จำนวน 4 คน นักการเมืองชาย จำนวน 65 คน มีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรที่อยู่ในตำแหน่งสูงสุด 7 สมัย คือ นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ นายประจวบ ไชยสาส์น และนายรักเกียรติ สุขธนะ นักการเมืองจังหวัดอุดรธานีที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย และส่วนมากเป็นข้าราชการ นักธุรกิจ พ่อค้า และเป็นกลุ่ม นักการเมืองที่มาจากสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล เครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมืองในจังหวัด อุดรธานีมีกลุ่มการเมืองที่สำคัญคือ กลุ่มเสรีไทยจังหวัด อุดรธานี เครือข่ายทางการเมืองในระดับท้องถิ่น ซึ่งถือเป็น ปัจจัยที่สำคัญในการสร้างความเข้มแข็งและทำให้ประสบ ความสำเร็จในการเลือกตั้ง เครือข่ายคนเสื้อแดง และเครือข่าย พรรคการเมืองภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รูปแบบและวิธีการหาเสียงของนักการเมืองถิ่นอุดรธาน ี ที่สำคัญ คือ การใช้หัวคะแนนในกลุ่มของผู้นำชุมชน ผู้นำ ท้องถิ่น การลงพื้นที่เดินพบปะพูดคุย การใช้ความสามารถ เฉพาะตัว การแจกเงินซื้อเสียง การหาเสียงแบบเข้าถึงชาวบ้าน VII
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี การปราศรัยย่อยในพื้นที่หมูบ้าน แจกบัตรแนะนำตัวผู้ลงสมัคร การติดป้ายหาเสียง การใช้รถแห่หาเสียง การปราศรัยใหญ่ ระดับพื้นที่จังหวัดที่มีนักการเมืองคนสำคัญของพรรคร่วม ปราศรัยด้วย การใช้ระบบหัวคะแนน การแจกเงินเพื่อเป็น แรงจูงใจให้มารับฟังการปราศรัย การร่วมงานมงคล อวมงคล และงานพิธีการทางศาสนา VIII
Abstract The study of local politicians in Udon Thani Province has 5 objectives comprising: (1) to study political history including economic background and social livelihoods in Udon Thani Province (2) to discover the information regarding politicians in Udon Thani Province who have been elected as the members of house of representative since the first time until present (3) to study the networking politicians and their interest groups in Udon Thani Province (4) to explore forms and methods of election campaign of the a candidate for election as a member of the House of Representatives in Udon Thani Province since ancient time to present and (5) to seek to understand the interconnection between local politicians in Udon Thanin Province and the national politicians.
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี The study of local politicians in Udon Thani Province employed qualitative research methodology extracting information and data from relevant documents as well as in- depth interviews. The study revealed that there are totally 69 members of the house of representative in Udon Thani Province during period of democratic transformation from 1933 to 2011. These include: 4 female and 65 male politicians and three of them namely: Mr. Chalermpol Sanitwongchai, Mr. Prachuab Chaiyasan, and Mr. Rakkiat Sukthana were elected to the House of Representatives in seven consecutive elections. Most of the politicians elected as members of the House of Representatives in Udon Thani Province are male. They are mostly from the governmental; business; and entrepreneurship background as well as there are previously the local politicians such as the members of provincial administrative organizations, municipalities, and district administrative organizations. The main political networks playing a key role in supporting and strengthening the successful election in Udon Thani Province comprise: the Udon Thanai Free Thai Movement; the local political network; the red- shirt network; and the political party network under the leadership of Thaksin Shinawatra.
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี The remarkable techniques of political campaigns in Udon Thanin Province are: canvassing to influence peer group; filed-visit communication; door-to-door communication; personal relationship; lobbying; area-based campaigning; name- card introduction; using other channels to spread messages such as poster; microphone car; organizing specialized conference; attending both cerebrating or tragic ceremony for example influencing religious belief. XI
สารบัญ หนา้ คำนำ IV บทคดั ย่อ VI Abstract IX บทท่ี 1 บทนำ 1 1.1 หลักการและเหตุผล 1 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 6 1.3 ขอบเขตของการศึกษา 6 1.4 วิธีการศึกษา 7 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 7 1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ 8 บทที่ 2 แนวคดิ ทฤษฎแี ละวรรณกรรมทีเ่ ก่ยี วขอ้ ง 9 2.1 แนวคิดเกี่ยวการดำเนินการเลือกตั้ง 9 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย 13 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการเมือง 15 2.4 แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 22 2.5 แนวคิดเกี่ยวกับการหาเสียง 32
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี หนา้ 2.6 แนวความคิดของผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง 54 2.7 แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้ง 56 2.8 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย 71 2.9 แนวคิดกลุ่มผลประโยชน์ 80 2.10 การศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 82 บทท่ี 3 ประวัติศาสตรแ์ ละขอ้ มูลพนื้ ฐานของจังหวดั อดุ รธานี 102 3.1 ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของจังหวัดอุดรธานี 102 3.2 ประวัติผู้ก่อตั้งจังหวัดอุดรธานี: 118 พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม 3.3 รายนามผู้ปกครองจังหวัดอุดรธานี 121 3.4 ข้อมลู พื้นฐานของจังหวัดอุดรธานี 125 บทท่ี 4 การเลือกตงั้ และนักการเมอื งถิน่ จงั หวดั อดุ รธานี 149 ตงั้ แต่ พ.ศ.2476 - 2554 150 4.1 การเลือกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476- พ.ศ. 2554 247 4.2 ข้อมลู ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี บทที่ 5 ภูมิหลงั การหาเสยี ง เครือขา่ ย และความสมั พนั ธ ์ 355 ทางการเมือง 356 5.1 ภูมิหลังของนักการเมืองในจังหวัดอุดรธานี 358 5.2 เส้นทางการเข้าสู่การเมือง 363 5.3 เครือข่ายและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์ 371 ที่มีส่วนสนับสนุนทางการเมือง 374 5.4 รูปแบบและวิธีการหาเสียง 5.5 ความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่นในระดับเขตพื้นที่ จังหวัดอุดรธานีสู่บทบาทการเมืองในระดับชาติ XIII
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี หนา้ บทท่ี 6 บทสรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ 379 6.1 สรุปผลการศึกษา 381 6.2 อภิปรายผล 390 6.3 ข้อเสนอแนะ 394 บรรณานกุ รม 396 ภาคผนวก 404 ก รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ 404 ข ภาพนักการเมืองถิ่นอุดรธานี 407 ค ตารางนักการเมืองถิ่นอุดรธานี-ชุดที่-1-24 420 ง ภาพผู้วิจัยกับนักการเมืองถิ่นอุดรธานี 438 ประวัตผิ ้วู จิ ัย 441 XIV
บ1ทท ่ี บทนำ 1.1 หลักการและเหตุผล การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญา- สิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้น มา กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ใน ฐานะตัวแทนของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 – 2554 ประเทศไทยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาแล้ว 24 ชุด มีการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 23 สมัย แบ่งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม 1 สมัย (การเลือกตั้ง ทั่วไป ครั้งแรก พ.ศ. 2476) และการเลือกตั้งทางตรง 22 สมัย (เรม่ิ ตง้ั แตก่ ารเลอื กตง้ั ทว่ั ไป ครง้ั ท่ี 2 พ.ศ. 2480 จนถงึ การเลอื กตง้ั ทั่วไป วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554) และมีการเลือกตั้งสมาชิก วุฒิสภาโดยตรงครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 และ
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี นับตั้งแต่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็น ระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยถือเป็น ประเทศที่มีการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญเปลืองเป็นอันดับต้นๆ ของโลก สะท้อนถึงปัญหาทางการเมืองของสังคมไทยมาอย่าง ยาวนาน การศึกษาวิจัยทางด้านการเมืองการปกครองไทย โดยส่วนใหญ่มักก้าวข้ามการอธิบายถึงต้นตอสาเหตุและ สถาบันทางการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อรัฐประหาร อย่างครอบคลุมรอบด้าน และการศึกษาการเมืองการปกครอง ไทยที่ผ่านมายังคงมุ่งเน้นไปที่การเมืองระดับชาติเป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่ขาดหายไปของภาคการเมืองที่ศึกษากันอยู่ก็คือ สิ่งที่เรียก ว่า “การเมืองถิ่น” ที่เป็นการศึกษาเรื่องราวของการเมืองที่เกิด ขึ้นในอาณาบริเวณของท้องถิ่นจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นภาพคู่ขนานไปกับการเมืองระดับชาติ อีกระนาบหนึ่ง เพราะในขณะที่เวทีการเมืองระดับชาติกำลัง เข้มข้นไปด้วยการชิงไหวชิงพริบของนักการเมืองในสภาฯ และ พรรคการเมืองต่างๆ การเมืองอีกด้านหนึ่งในพื้นที่จังหวัด บรรดาสมัครพรรคพวกและผู้สนับสนุนทั้งหลายต่างกำลัง ดำเนินกิจกรรมเพื่อรักษาฐานเสียงในพื้นที่ด้วยเช่นกัน และทันที ที่ภารกิจการเมืองระดับชาติสิ้นสุดลง การลงพื้นที่พบประชาชน ตามสถานที่ต่างๆ และการร่วมงานบุญงานประเพณี เป็นสิ่งที่ นักการเมืองผู้หวังชัยชนะในการเลือกตั้งจะต้องปฏิบัติให้ได้ อย่างทั่วถึงมิให้ขาดตกบกพร่อง และบทความหรืองานวิจัย ส่วนใหญ่มุ่งเน้นการอธิบายศูนย์กลางของอำนาจทางการเมือง เช่น คณะรัฐบาล พรรคการเมือง รัฐสภา ระบบราชการ ฯลฯ โดยขาดข้อมูลด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจจะเป็นความตั้งใจ
บทนำ ของนักวิชาการเองที่มีข้อจำกัดในหลายประการ (ประเทือง ม่วงอ่อน, 2556, น. 1-3) การทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมและทัศนคติของตัว นักการเมืองทั้งในโลกของความเป็นจริงและอุดมคติจึงเป็น สิ่งสำคัญ เพราะโดยส่วนใหญ่มักเป็นที่ทราบกันดีว่า สิ่งที่ แสดงออกทางการเมอื งของนกั การเมอื งในฐานะผแู้ ทนประชาชน ที่ได้รับการเลือกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน มักเป็น เรื่องที่มีวาระซ่อนเร้นหรือสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายหลัง ปรากฏการณ์ ทางเมืองที่เกิดขึ้นจากการแสดงออกของนักการเมือง จึงมักมิได้ ปรากฏภายใต้ความเป็นจริง (truth) ที่วางอยู่บนพื้นฐานของ อุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมือง ที่มีความรู้สึกหรือทัศนคติ ในเชิงอุดมการณ์ที่มุ่งเป็นตัวแทนประชาชนในการต่อสู้เพื่อให้ได้ มาซึ่งสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการ กล่าวคือ การเป็นตัวแทน ในการต่อสู้เรียกร้องผลประโยชน์ให้กับประชาชนทั้งในพื้นที่ ที่ตนได้รับการเลือกตั้งและในฐานะของการเป็นผู้แทนประชาชน ทั้งประเทศ แต่ประเด็นที่กล่าวถึงกันมากของผู้แทนก็คือเรื่อง ผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งสาธารณชน ได้กล่าวถึงและวิพากษ์วิจารณ์ต่อความเป็นนักการเมือง ที่จำเป็นต้องแยกแยะและการวางสถานะของนักการเมือง จนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการออกกฎหมายว่าด้วยการทับซ้อน กันของผลประโยชน์ พระราชบัญญัติพรรคการเมืองและรวมถึง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองและพรรคการเมืองฉบับ ต่างๆ นอกจากยังนี้ยังได้กำหนดให้มีกระบวนการทางศาล ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองโดยตรงหรือศาลการเมือง ทำหน้าที่ ในการพิจารณาคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยเฉพาะ
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี ดังปรากฏผลการพิจารณาคดีต่อนักการเมือง อาทิ กรณี การตัดสินคดีที่ดินรัชดา ให้จำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นายกรัฐมนตรี 2 ปี ในฐานะผู้ใช้อำนาจในการซื้อขายที่ดินของ คุณหญิงพจมาน ดามาพงษ์ ภรรยา และการตัดสินจำคุก นายรักเกียรติ สุขธนะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด อุดรธานีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น (ณัฐพงศ์ บุญเหลือ, 2556, น. 1-4) ทั้งนี้คดีต่างๆ ที่เกี่ยวกับ นักการเมือง และเชื่อมโยงกับครอบครัวของนักการเมืองยังคงมี ปรากฏเรื่อยมา ซึ่งสะท้อนภาพความสัมพันธ์เชิงผลประโยชน์ และเครือข่ายทางการเมืองในพื้นที่ ซึ่งบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการของเครือข่ายการเมืองทั้งใน ระดับชาติและระดับท้องถิ่น นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานีก็เช่นเดียวกับหลายๆ พื้นที่ ที่มีเครือข่ายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ด้วยเหตุ ที่จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดใหญ่มีเขตการเลือกตั้งมาก โดยตั้งแต่ พ.ศ. 2476 จนถึง พ.ศ. 2554 มีนักการเมืองถึง 69 คน ประกอบดว้ ยเพศชาย 65 คน และเพศหญงิ 4 คน มปี ระวตั ศิ าสตร์ และความเป็นมาของเมืองอย่างยาวนาน มีเครือข่ายทาง การเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นมากมาย ซึ่งจังหวัด อุดรธานีได้รับการกล่าวถึงจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตรว่าเป็น เมืองหลวงของคนเสื้อแดง ซึ่งถือเป็นเครือข่ายทางการเมือง ทส่ี ำคญั ดงั การเลอื กตง้ั นายกองคก์ ารบรหิ ารสว่ นจงั หวดั อดุ รธานี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555 พรรคเพื่อไทยได้ส่งนายวิเชียร ขาวขำ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธาน ี
บทนำ ในนามกลุ่มเพื่อไทยอุดรธานี โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานีพรรคเพื่อไทย และนายขวัญชัย ไพรพนา ประธานชมรมคนรักษ์อุดรช่วยสนับสนุน จนทำให้นายวิเชียร ขาวขำ ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด อุดรธานี (พ.ต.ท. สุรทิน พิมานเมฆินทร์, 2558, สัมภาษณ์) ผลการเลือกตั้งดังกล่าว สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยง เกี่ยวกับเครือข่ายทางการเมืองได้ว่า ผู้ได้รับการเลือกตั้ง เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีเป็นอดีต นักการเมืองระดับชาติ นักการเมืองท้องถิ่น นักธุรกิจที่มีชื่อเสียง และมีบทบาททางการเมืองสูงเป็นที่รู้จักมักคุ้นของประชาชน ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ได้เข้ามาบริหารองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอุดรธานีโดยตลอด โดยเฉพาะเมื่อพรรคเพื่อไทย ให้การสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นว่า งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์แก่การเมืองการปกครองไทย เป็นอย่างมาก ซึ่งจะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจถึงกลไกทางการเมือง ในจังหวัดอุดรธานี นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกจนถึง ปัจจุบัน ทราบถึงข้อมูลนักการเมืองในจังหวัดอุดรธานีและ ปัจจัยที่ส่งผลให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ความสำคัญของ กลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ ฯลฯ ที่มีต่อการเมืองท้องถิ่นอุดรธานี บทบาท ของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในจังหวัด รูปแบบ วิธีการ และกลวิธีต่างๆ ที่นักการเมืองใช้ใน การเลือกตั้ง รวมทั้งทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับ “การเมืองถิ่น” และ“นักการเมืองถิ่น” สำหรับเป็นองค์ความรู้ในการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยต่อไป
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี 1.2 วัตถุประสงค์ งานวิจัยเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อทำความเข้าใจและศึกษาถึงภูมิหลังของ นักการเมืองที่เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของจังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2. เพื่อศึกษาความเป็นมา บทบาท เครือข่ายของ นักการเมืองในจังหวัดอุดรธานี และความสัมพันธ์ของกลุ่ม ผลประโยชน์ และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ เครือข่ายอาชีพ เป็นต้น ที่มีส่วนสนับสนุน ทางการเมืองแก่นักการเมือง รวมถึงความสัมพันธ์ของ พรรคการเมืองกับนักการเมือง ตลอดทั้งวิธีการหาเสียงในการ เลือกตั้งของนักการเมืองในจังหวัดอุดรธานี 3. เพื่อเชื่อมโยงภาพการเมืองระดับชาติในจังหวัด อุดรธานีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 1.3 ขอบเขตของการศึกษา ขอบเขตดา้ นเน้อื หา งานวิจัยเรื่อง “นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี” มุ่งทำ การศึกษาถึงเรื่องราวต่างๆ ของนักการเมืองของจังหวัดอุดรธานี ที่เคยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในอดีต ตั้งแต่มีการเลือกตั้งจนถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งล่าสุด ตามประเด็นต่อไปนี้ 1) ประวัติส่วนบุคคล รวมถึง ภูมิหลัง 2) มูลเหตุจูงใจในการสมัครรับเลือกตั้ง 3) เครือข่าย
บทนำ ความสัมพันธ์กับบุคคลในท้องถิ่นและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยกัน 4) กลวิธีในการหาเสียง 5) บทบาท ของสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุดรธานี ทั้งในระดับจังหวัดและระดับ ชาติ ขอบเขตด้านระยะเวลา ดำเนินการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2558 1.4 วิธีการศึกษา การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วย การศึกษาวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์แบบ ไม่มีโครงสร้าง และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สำหรับ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้อาศัยการศึกษาจากเอกสาร ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ หนังสือ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์ รวมทั้งการสัมภาษณ์นักการเมืองทั้งในอดีตและปัจจุบัน ญาติ หรือบุคคลที่สามารถให้ข้อมูลเชื่อมโยงไปถึงนักการเมืองคน ต่างๆ ในพื้นที่ได้ต่อประเด็นที่ต้องการศึกษา โดยเจาะจงเฉพาะ นักการเมืองถิ่นระดับชาติของจังหวัดอุดรธานี 1.5 ประโยชน์ท่ีคาดว่าจะได้รับ งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเมืองการปกครองของ ไทยในอนาคต และทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจถึงกลไกลทางการเมือง ในจังหวัดอุดรธานีตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ในประเด็นดังต่อไปนี้
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี 1. ทราบถึงประวัติศาสตร์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมความเป็นอยู่ของจังหวัดอุดรธานี 2. ทราบถึงข้อมูลนักการเมืองจังหวัดอุดรธานีที่เคย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ยุคแรกถึง ยุคปัจจุบัน 3. ทราบถึงพรรคการเมือง เครือข่ายและความสัมพันธ์ ของกลุ่มผลประโยชน์ที่มีส่วนสนับสนุนทางการเมืองแก ่ นักการเมืองในจังหวัดอุดรธานี 4. ทราบถึงรูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัคร รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตพื้นที่การเลือกตั้ง จังหวัดอุดรธานีตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 5. สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่น ในระดับเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานีสู่บทบาททางการเมืองใน ระดับชาติ 1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ นักการเมืองถิ่น หมายถึง นักการเมืองจังหวัดอุดรธานี ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 จนถึง พ.ศ. 2554 และนักการเมืองในระดับองค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่บทบาทสำคัญ คือนายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศมนตรี สมาชิกเทศบาล เป็นต้น
บ2ทท ่ี แนวคิดทฤษฎีและ วรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดเก่ียวการดำเนินการเลือกต้ัง การเลือกตั้ง หมายถึง กรณีที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคน จากบุคคลหลาย ๆ คนหรือเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง บัญชีหนึ่งจากบัญชีรายชื่อหลายๆ บัญชีเพื่อให้ไปทำการอันใด อันหนึ่งแทนตนเองโดยอิสระเสรีและสุจริต ดังนั้นการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หมายถึง การที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้ทำการเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งให้เป็นผู้แทนไปใช้อำนาจ ปกครองประเทศแทนตนหรือไปปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหน้าที่ทั่วไปใน สภาผู้แทนราษฎรเพื่อควบคุมดูแล การบริหารราชการของฝ่ายบริหาร ในการปกครองระบอบ
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี ประชาธิปไตยนั้นการเลือกตั้งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด จุดมุ่งหมายของการเลือกตั้ง คือ การหาผู้แทนของปวงชน ส่วนรวมเข้าไปบริหารประเทศ (ไพฑูรย์ บุญวัฒน์. 2538. หน้า 19-20.) การเลือกตั้งถือว่าเป็นฐานที่มาของความชอบธรรม ในอำนาจของรัฐบาลและผู้ปกครองนั้นจะต้องมีลักษณะตาม หลักเกณฑ์ที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลดังต่อไปนี้คือ 1. หลักการใช้สิทธิการเลือกตั้งเลือกตั้งโดยทั่วไป หมายถึง การที่พลเมืองทุกคนในรัฐนั้นมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ไม่อาจจำกัดหรือกีดกันไม่สิทธิการเลือกตั้งโดยใช้ข้อพิจารณา ทางการเมือง เศรษฐกิจหรือสังคม ไม่ว่าจะเป็นเพศ ภาษา ศาสนา เผ่าพันธุ์ ฐานะทางเศรษฐกิจ รายได้ จำนวนภาษีที่เสีย ลักษณะทางการศึกษาหรืออาชีพ ความคิดทางการเมือง ฯลฯ กล่าวโดยสรุปก็คือ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทุกคนสามารถ ที่จะใช้สิทธิของตนหากมีความประสงค์ที่ใช้สิทธิ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการจำกัดสิทธิใดๆ เลยเพียง แต่ว่าการจำกัดสิทธิซึ่งขัดต่อการให้สิทธิเลือกตั้งโดยทั่วไป จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นที่อธิบายได้โดยชอบด้วย เหตุผล 2. หลักการเลือกตั้งโดยตรง หมายถึง การลงคะแนน เสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้งเท่านั้นที่กำหนดว่าผู้ใดจะเข้าไปนั่ง ในสภาผู้แทนราษฎร และการเลือกตั้งโดยวิธีนี้เท่านั้นที่จะกล่าว ได้ว่า การเลือกตั้งเป็นไปตามเจตจำนงของประชาชน 10
แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง 3. หลักการเลือกตั้งโดยเสรี หลักการนี้เป็นเงื่อนไข สำคัญของกาเลือกตั้ง ซึ่งถ้าหากการเลือกตั้งมิได้เป็นไปตาม เกณฑ์นี้แล้ว หลักเกณฑ์พื้นฐานของการเลือกตั้งข้ออื่นๆ ก็จะ หมดความหมายไปโดยปริยายและการเลือกตั้งนั้นก็ไม่อาจเรียก ได้ว่าเป็นการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย หลักการ เลือกตั้งโดยเสรีนั้นหมายความว่า ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ทุกคนย่อมสามารถใช้สิทธิของตนได้โดยปราศจากการใช้กำลัง บังคับ หรือความกดดันทางจิตใจหรือการใช้อิทธิพลใดๆ ที่มี ผลต่อการตัดสินใจ ไม่ว่าการใช้อิทธิพลเหล่านี้จะมาจากฝ่ายใด กล่าวโดยสรุป ก็คือ ผู้ออกเสียงเลือกตั้งจะต้องสามารถใช้ วิจารณญาณลงคะแนนเสียงได้อย่างอิสระในกระบวนการสร้าง ความคิดเห็นทางการเมืองที่เสรีและเปิดเผย 4. หลักการเลือกตั้งโดยเสมอภาค เป็นหลักเกณฑ์ที่มี ความสำคญั ในทางปฏบิ ตั มิ ากทส่ี ดุ ทำใหห้ ลกั สทิ ธกิ ารออกเสยี ง เลือกตั้งโดยทั่วไปมีความสมบูรณ์ขึ้นในแง่ที่ว่า จะทำให้คะแนน เสียงของแต่ละคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้มีโอกาสส่งผลต่อ การเลือกตั้งอย่างเต็มที่ นอกจากนี้แล้วหลักการเลือกตั้ง โดยเสมอภาคยังเสริมหลักการเลือกตั้งโดยเสรีอีกด้วย และ หลักการเลือกตั้งโดยเสมอภาค มิได้หมายถึงเฉพาะการลง คะแนนเสียงเลือกตั้งเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงการเลือกตั้งทุก ขั้นตอนด้วย กล่าวคือ การสมัครรับเลือกตั้ง การเตรียม การเลือกตั้ง การรณรงค์หาเสียง การนับคะแนน ตลอดจน การแบ่งสรรที่นั่งในรัฐสภาให้แก่พรรคการเมืองต่างๆ ใน บางประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมัน ได้คำนึงถึงหลัก ความเท่าเทียมกันในแง่ของโอกาสโดยถือว่าเป็นหลักที่พัฒนา 11
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี ต่อเนื่องมาจากหลักการเลือกตั้งโดยเสมอภาค เพราะฉะนั้น เพื่อให้พรรคการเมืองต่างๆ ตลอดจนผู้สมัครอิสระทุกคน มีโอกาสเท่าเทียมกันในการหาเสียงเลือกตั้ง ในทุกขั้นตอน เพื่อที่จะมีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการแข่งขันได้รับคะแนนเสียง จากประชาชน จึงมีหลักเกณฑ์ในเรื่องของการแบ่งสรรเวลา หาเสียงทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ของรัฐ การอนุญาตให้ใช้ห้องประชุมหรือสถานที่สาธารณะในการ หาเสียง การปิดประกาศหาเสียงตามท้องถนน ตลอดจน การชดเชยค่าใช้จ่ายการหาเสียงเลือกตั้งให้กับพรรคการเมือง และผู้สมัครอิสระ 5. หลกั การเลอื กตง้ั โดยลบั เปน็ สง่ิ สำคญั ของการเลอื กตง้ั ในระบอบประชาธปิ ไตย และเปน็ หลกั ทค่ี มุ้ ครองหลกั การเลอื กตง้ั โดยเสรี เพราะถ้าหากการเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยลับแล้ว การเลือกตั้งนั้นไม่อาจที่จะเป็นการเลือกตั้งโดยเสรี ตามหลัก การในข้อนี้จะต้องดำเนินการเลือกตั้งโดยไม่ให้ผู้ใดทราบได้ว่า ผู้ลงคะแนนออกเสียงเลือกตั้งแต่ละคนตัดสินใจเลือกใคร แม้ว่า ตัวผู้เลือกตั้งเองจะไม่ประสงค์ให้การเลือกตั้งของตนเป็น ความลับ ก็ไม่อาจที่จะปฏิเสธหลักนี้ และจะต้องดำเนินการ เลือกตั้งทุกประการ ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เลือกตั้งจะปลอดจาก การข่มขู่ ซึ่งอาจมีขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง 12
แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 2.2 แ น ว คิ ด เ ก่ี ย ว กั บ ก า ร เ ลื อ ก ต้ั ง ต า ม ร ะ บ อ บ ประชาธิปไตย ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งประชาชนเป็น ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงนั้นเป็นการปกครองที่เกิดขึ้นใน สมัยกรีกโบราณ เป็นการปกครองที่ตรงกับความหมายของ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะประชาชน เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยด้วยตนเอง ซึ่งการปกครองในลักษณะนี้ จะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะรัฐที่มีจำนวนประชากรไม่มากนัก ที่ประชาชนทุกคนสามารถรวมตัวกันเพื่อที่จะออกเสียงใน เรื่องใด เรื่องหนึ่งได้ แต่ในปัจจุบันการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยโดยตรงนั้นไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้ ด้วยเหตุผล ที่ว่าประชาชนในรัฐหนึ่งๆ นั้นมีจำนวนมากเกินกว่าที่จะมา รวมตัวกันทั้งประเทศเพื่อที่จะออกเสียงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ สิ่งที่ประชาชนจะกระทำได้ คือการเลือกบุคคลผู้มีความรู้ ความสามารถและมีเวลาเพียงพอในการทำหน้าที่บริหารบ้าน เมืองแทนประชาชนส่วนใหญ่ โดยใช้วิธีการเลือกตั้งซึ่งเป็น วิธีการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งประชาชนใช้อำนาจ อธิปไตยโดยทางผู้แทนหรือระบอบประชาธิปไตยโดยทางผู้แทน (ชนินทร์ ติชาวัน, 2550.) การเลือกตั้งเป็นกระบวนการทางการเมืองอย่างหนึ่ง ซึ่ง หมายถึงกิจกรรมที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ด้วยการไป ออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนของตนเพื่อทำหน้าที่ในรัฐสภาและ ในรัฐบาล การที่ประชาชนเลือกผู้แทนหรือกลุ่มทางการเมือง 13
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี หรือพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์และนโยบายที่สอดคล้องกับ ความต้องการของตนก็เพราะประชาชนเชื่อว่าผู้แทนที่ตน เลือกไปใช้อำนาจอธิปไตยแทนตนนั้นจะไปใช้อุดมการณ์ที่ ประกาศเป็นแนวทางในการนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติและ บริหารรัฐกิจ (กระมล ทองธรรมชาติ, สมบูรณ์ สุขสำราญ และ ปรีชา หงส์ไกรเลิศ, 2531, น. 1) ดังนั้นการเลือกตั้งจึงเป็น กิจกรรมการเมืองที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของทุกประเทศ โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ในประเทศทป่ี กครองโดยระบอบประชาธปิ ไตย โดยสรุปพบว่าการเลือกตั้งนั้นมีความสำคัญดังต่อไปนี้ (วิษณุ เครืองาม, 2530, น. 5-6.) 1. เป็นการเลือกผู้ปกครองหรือรัฐบาลที่จะมาทำการ ปกครอง 2. เป็น “ห้ามล้อ” ทางการเมือง 3. เป็นกลไกเชื่อมโยงความต้องการของประชาชน เข้ากับนโยบายสาธารณะ 4. สร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้แก่ผู้ปกครอง 5. ลดความตึงเครียดและความขัดแย้งทางการเมือง และสังคม 6. ทำให้เกิดบูรณาการทางการเมือง 7. ทำให้เกิดการระดมมวลชนเข้าสู่กระบวนการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยและทำให้ประชาชนเห็นความ จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่พลเมือง 14
แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งที่สอดคล้องกับระบอบ ประชาธิปไตยนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์อันเป็นพื้นฐาน ของการเลือกตั้ง ซึ่งหลักเกณฑ์พื้นฐานที่เป็นรากเหง้าของ การเลือกตั้งได้บัญญัติไว้ในข้อ 21 (1) แห่งปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งสรุปใจความสำคัญไว้ว่า “เจตจำนงของ ประชาชนย่อมเป็นมูลฐานแห่งอำนาจการปกครองของรัฐบาล เจตจำนงดังกล่าวต้องแสดงโดยการเลือกตั้งอันสุจริต ซึ่งจัดขึ้น เป็นครั้งคราวตามกำหนดเวลาด้วยการลงคะแนนเสียงของชาย หญิง โดยถือหลักคนละหนึ่งเสียงเท่ากัน และการทำเป็นการลับ ด้วยวิธีการอื่นใดที่รับประกันได้ว่า การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง จะเป็นไปโดยเสรี” (บุญศรี มีวงษ์อุโฆษ. 2542. การเลือกตั้งและ พรรคการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายการศึกษา. หน้า 21-29.) 2.3 แนวคิดเกี่ยวนักการเมือง ในบรรดาอาชีพต่างๆ ที่ถูกดูถูกดูแคลน และบุคคลต่างๆ ไม่ให้ความเชื่อมั่นศรัทธามากที่สุดนั้นปรากฏว่าเป็นอาชีพ “นักการเมือง” เป็นหนึ่งในอาชีพที่มีผู้คนกล่าวถึงมาก ในเชิง เสียดสี เย้ยหยัน ดูถูก ดูแคลนมาโดยตลอด นับตั้งแต่อดีตมีคำ กล่าวจำนวนมากที่ค่อนขอด เหน็บแนม นักการเมือง อาทิ เช่น (ลิขิต ธีรเวคิน, 2546, น. 122-129) อริสโตเติล กล่าวไว้ว่า “ความดีของมนุษย์ต้องสิ้นสุด เมื่อเริ่มเล่นการเมือง” 15
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี จอร์จ ปอมปิโด อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวไว้ว่า “รัฐบุรุษ คือ นักการเมืองที่อุทิศตัวเพื่อรับใช้ประเทศชาติ ส่วน นักการเมืองนั้น คือ รัฐบุรุษ ที่เอาประเทศชาติมารับใช้ตนเอง” แม้แต่บุคคลที่อยู่ในแวดวงการเมืองระดับสูง ผู้นำ ประเทศที่มีชื่อเสียงก็ยังมีคำพูดที่แสดงถึงความ “หมดศรัทธา” ในตัวนักการเมือง แฮรี่ เอส ทรูแมน ประธานาธิบดี คนที่ 33 ของสหรัฐ เคยกล่าวไว้ว่า “สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการมากที่สุดในทางการเมือง คืออยากรู้วิธีเลิกเล่นการเมือง” สำหรับในประเทศไทยนักการเมืองเป็นกลุ่มคนที่ยังไม่ได้ รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจเท่าที่ควร คำเรียก นักการเมือง น้ำเน่า พวกเสือ สิงห์ กระทิง แรด เป็นคำกล่าวที่มักคุ้นชินว่า หมายถึงใครถึงกระนั้น ไม่ว่านักการเมืองจะถูกกำหนดนิยาม เช่นไร แต่แท้จริงแล้วนักการเมืองเป็นกลุ่มคนที่สำคัญยิ่งในการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นผู้ได้รับสิทธิโดย ชอบธรรมจากการเลือกของประชาชนให้เข้ามาบริหารประเทศ พวกเขาเป็นกลุ่มบุคคลที่จะชี้อนาคต ชี้ความเป็นความตายของ ประเทศชาติ และประชาชน แท้จริงแล้วนักการเมืองโดยตัวมัน เองแล้วมีความเป็นกลาง และในความเป็นจริงนักการเมือง จำนวนมากในโลกนี้เป็นคนดี มีอุดมการณ์ มีจิตสาธารณะ ปรารถนาทำสิ่งดีเพื่อประชาชน เพื่อสังคม เพื่อชาติ อาจเป็น กลุ่มที่เรียกว่านักการเมืองน้ำดี ซึ่งถ้าเรารวมกลุ่มนักการเมือง น้ำดี ให้มีจำนวนที่มากขึ้น และรวมพลังกันอย่างเข้มแข็ง อนาคตของประเทศย่อมเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ 16
แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง แน่นอน แต่นักการเมืองน้ำดี มีโอกาสมากน้อยเพียงใดนั้น เมื่อมองอนาคตประชาธิปไตยไทย หากดำเนินต่อไปในสภาพ ที่เป็นอยู่แม้ว่าเราจะสามารถแก้ไขระบบให้ดี แก้รัฐธรรมนูญ ทม่ี น่ั ใจไดว้ า่ เปน็ ของประชาชนมากทส่ี ดุ แตอ่ นาคตประชาธปิ ไตย คงเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไร้รากแก้ว ย่อมไม่สามารถต้านทาน ลมพายุที่พัดผ่านมาได้ (ลิขิต ธีรเวคิน,2546, หน้า 122-129) 2.3.1 ปัจจัยที่นำไปสู่ความเป็นนักการเมือง “การเมือง มีความหมายกว้างขวาง คำว่าการเมืองนี้ ย่อมใช้กันอยู่แพร่หลาย ต่างคนต่างก็ใช้โดยนัยต่างๆ กัน บางคนใช้ในนัยหนึ่งและอีกคนใช้โดยอีกนัยหนึ่ง บางทีก็กล่าว ใช้โดยอีกนัยหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้เข้าใจผิดขึ้นมิใช่น้อย เราจึง พยายามพิจารณาดวู ่าตามที่ใช้กันอยู่นั้นมีความหมายไปกี่ทาง” (กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ อ้างใน ใหม่ รักหมู่ และธวัชชัย ไพจิตร. 2522: 142) การเมือง ศิลปะการปกครอง ซึ่งมุ่งให้เกิดความสัมพันธ์ อันดีระหว่างรัฐกับบุคคลในรัฐระหว่างรัฐกับหัวบ้านหัวเมือง ต่างๆ และระหว่างรัฐกับรัฐ การเมืองจึงเป็นทั้งการภายใน ประเทศ การของชาติ การของสหพันธรัฐ การของเทศบาล การต่างประเทศและการจักรพรรดินิยม การเมืองเป็นฝ่าย กำหนดนโยบาย และการปกครองเป็นฝ่ายดำเนินการนโยบาย นั้น “นักการเมือง (Politician)” คือผู้ดำเนินการเคลื่อนไหวทาง การเมือง ซึ่งมักจะเพ่งประโยชน์เฉพาะหน้าให้ตนเองให้เป็น ที่นิยมของประชาชนและอยู่ในตำแหน่งได้ตลอดไป ตรงกันข้าม กับรัฐบุรุษ (Statesman) ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความ สามารถ 17
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี เห็นการณ์ไกลและมักมีความเสียสละเพื่อประโยชน์ของประเทศ ชาติเป็นที่ตั้ง (สังข์ พัฒโนทัย อ้างใน ใหม่ รักหมู่ และธวัชชัย ไพจิตร, 2522, น. 143) 2.3.2 ความเป็นนักการเมือง เมื่อเอ่ยถึงการเมืองส่วนใหญ่กลับมองว่าการเข้ามาสู่ การเมืองมักนำไปสู่ความร่ำรวย มีอำนาจวาสนาบารมีมากมาย และอาจเป็นเพราะเหตุนี้ที่ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจและ มีทัศนคติต่อการเมืองหรือนักการเมืองว่าเป็นเรื่องที่มุ่งแสวงหา ผลประโยชน์เฉพาะหน้าให้ตนเองหรือประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น อย่างไรก็ดีมีนักการเมืองจำนวนไม่น้อย ต้องเสี่ยงตาย เสี่ยงภัย เสี่ยงชีวิต เสี่ยงต่อความยากจนลง ถูกจับกุมคุมขัง และบางราย ถึงกับลี้ภัยไปต่างประเทศ และอีกไม่น้อยต้องยอมถูกเยาะเย้ย ถูกเปิดเผยเรื่องราวส่วนตัว อย่างที่เราได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร กันอยู่ตลอดเวลา บางคนได้รับฉายาทั้งในด้านดีและไม่ดีตาม แต่สื่อมวลชนหรือประชาชนที่จะได้ตั้งขึ้นซึ่งหมายถึงความเป็น บุคคลสาธารณะที่ต้องได้รับการตรวจสอบจากสังคมตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อต้องดำเนินวิถีแห่งการเมืองแล้ว นักการเมืองทุกคน จึงต้องตกอยู่กับความสุ่มเสี่ยงต่อความรู้สึกของประชาชน ส่วนใหญ่ นักการเมืองจึงต้องจำเป็นที่จะต้องกระทำตนให้ดีเป็น ที่ยอมรับและปฏิบัติให้ถูกต้องตามครรลองครองธรรม ในการดำเนินชีวิตและการทำหน้าที่นักการเมืองที่ดีเป็นสำคัญ (ประกายศรี ศรีรุ่งเรือง, 2550, หน้า 26-27) นักการเมืองหรือผู้ปฏิบัติงานทางการเมือง เป็นส่วน ประกอบสำคัญของการพัฒนาระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตย ซึ่งมีความสำคัญพอๆ กับผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง 18
แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง เลือกตั้ง แต่ส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง คือกติกาที่วางไว้ใน รัฐธรรมนูญ และที่สำคัญไม่น้อย คือในสังคมมีการพัฒนา วัฒนธรรมการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยตั้งแต่ระดับ ครอบครัว โรงเรียน ในที่ทำงาน จนถึงสังคมโดยรวม ในกรณี ของผู้ปฏิบัติงานทางการเมืองนั้น มีคำกล่าวซึ่งเป็นที่ทราบกัน ทวั่ ไปวา่ นักการเมอื งแตกต่างจากรฐั บุรุษในแง่ทวี่ ่า นักการเมอื ง คือบุคคลที่คำนึงถึงผลการเมืองในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ส่วนรัฐบุรุษ คือบุคคลซึ่งคิดถึงอนาคตของประเทศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งอนาคตเยาวชนรุ่นหลัง กล่าวอีกนัยหนึ่ง รัฐบุรุษนั้น ถูกมองว่าจะต้องเป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์และมีอุดมการณ์อย่าง เหนียวแน่นต่อผลประโยชน์ของชาติและแผ่นดิน นักการเมืองที่ดีน่าจะเป็นนักการเมืองที่มีคุณสมบัติ 5 ประการดังต่อไปนี้ 1. นักการเมืองผู้นั้นต้องมีความผูกพันทางอุดมการณ์ (Ideological Commitment) โดยในระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยนั้นจะต้องมีความเชื่อและศรัทธาในระบบ ประชาธิปไตย มีจิตวิญญาณประชาธิปไตย และต้องเข้าใจว่า ประชาธิปไตยนั้นเป็นกรรมวิธี (means) เพื่อจุดมุ่งหมาย บางอย่าง และขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่มีเป้าหมายบั้นปลาย (end) ที่มีคุณค่าในตัวของมันเอง นักการเมืองที่ดีจึงเป็น นกั การเมอื งทป่ี ฏบิ ตั ติ ามกรอบกตกิ าเพอ่ื รกั ษาไวซ้ ง่ึ กระบวนการ ประชาธิปไตย 2. นักการเมืองที่ดีจะต้องมีจริยธรรมทางการเมือง (Political Ethics) ในขณะที่อุดมการณ์ทางการเมืองมักจะรวม 19
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี จริยธรรมอยู่ด้วย แต่จริยธรรมทางการเมืองอาจจะเป็น รายละเอียดที่อยู่นอกกรอบอุดมการณ์ทางการเมืองซึ่งเป็น กรอบใหญ่ ประเด็นเรื่องจริยธรรมทางการเมืองจะเกี่ยวข้องกับ ความถูกต้องตามกฎหมาย ความชอบธรรมทางการเมือง และ ความน่าเชื่อถือรวมทั้งศรัทธา การกระทำอันใดก็ตามถึงแม้จะ ถูกต้องตามกฎหมายจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงถ้าเกิดผลเสีย ตามมา จริยธรรมทางการเมืองจะเป็นเครื่องชี้แนวทางใน การปฏิบัติ ในขณะที่อุดมการณ์ทางการเมืองจะทำหน้าที่ เสมือนจิตวิญญาณของระบบการเมืองในภาพรวม 3. นกั การเมอื งทป่ี ระสบความสำเรจ็ ในฐานะนกั การเมอื ง ที่ทำประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคม ไม่ว่าจะในฐานะ สมาชิกรัฐสภาหรือรัฐมนตรี จะต้องมีความรู้ทางการเมือง (Political Knowledge) ซึ่งความรู้ดังกล่าวนี้ คือความรู้ทาง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มีวิชาหนึ่งวิชาที่เริ่มต้น ในประเทศอังกฤษเป็นที่ทราบกันว่าเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับ ปรัชญาการเมือง ความรู้เกี่ยวกับการเมืองและเศรษฐศาสตร์ หรือที่เรียกว่า PPE (Philosophy, Politics and Economic) วิชา ดังกล่าวนี้มีแนวคิดที่ว่า การบริหารประเทศนั้นจะต้องกระทำ โดยบุคคลที่มีความรู้ทางการเมือง อันรวมถึงความรู้ทางสังคม ด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องมีความรู้เรื่องเศรษฐกิจและธุรกิจ ทั้งเศรษฐกิจภายในประเทศและระหว่างประเทศ แต่ที่สำคัญ จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องปรัชญาทางการเมือง ซึ่งปรัชญา ทางการเมืองนั้นจะรวมทั้งอุดมการณ์และจริยธรรมเพื่อเป็น เครื่องชี้นำในการปฏิบัติ นักการเมืองที่มีความรู้ครึ่งๆ กลางๆ จะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เกิดการตัดสินใจ 20
แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง ผดิ พลาดเนอ่ื งจากขาดขอ้ มลู ความรทู้ ส่ี ำคญั และขาดอดุ มการณ์ ที่จะเป็นเครื่องชี้นำ 4. นักการเมืองที่ดีจะต้องมีประสาทสัมผัสทางการเมือง (Political Sense) ความสามารถใน การเข้าใจนัยสำคัญทาง การเมืองอันเกิดจากเหตุการณ์ทางการเมือง ซึ่งจะส่งผลในทาง ลบหรือทางบวกนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะการอ่าน สถานการณ์ทางการเมืองที่ผิดพลาดอาจจะนำไปสู่ความ สูญเสียอย่างมหาศาล กระบวนการทางการเมืองที่เริ่มต้นจาก คนเพียงคนเดียวที่ดูเหมือนไม่สำคัญเนื่องจากการอ่าน สถานการณ์ที่ผิดพลาด อาจจะนำไปสู่การขยายขอบข่ายอย่าง กว้างขวางเป็นผลร้ายทางการเมืองได้ 5. นักการเมืองที่ดี คือนักการเมืองที่มีความรู ้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอารมณ์ทางการเมือง (Political Mood) ของสังคม การขาดความเข้าใจอารมณ์ทางการเมืองของสังคม จะนำไปสู่ความเสียหายทางการเมืองอย่างหนัก อารมณ์ ทางการเมืองสามารถจะกระตุ้นปลุกเร้าให้เกิดขึ้นโดยขบวนการ ทางการเมือง ความไม่เข้าใจอารมณ์ทางการเมืองย่อมบ่งชี้ถึง การขาดประสาทสัมผัสทางการเมือง เพราะทั้งสองส่วนนี้มี ปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างแน่นแฟ้น คุณสมบัติทั้งห้าประการดังกล่าวมานั้นเป็นคุณสมบัติ ของนักการเมืองที่ดีและประสบความสำเร็จ ซึ่งคุณสมบัต ิ ดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับรัฐบุรุษด้วย เพราะการเป็นรัฐบุรุษ จะต้องเริ่มต้นจากการเป็นนักการเมืองที่ดี นักการเมืองที่ดีและ ประสบความสำเร็จไม่จำกัดเฉพาะผู้ที่สามารถชนะการเลือกตั้ง 21
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี และดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงเท่านั้น แต่ต้องมี คุณสมบัติพิเศษอันเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปว่าเป็นบุคคลที่มี ความรู้ ความสามารถ เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต มีความเป็นผู้นำ ที่สง่างามน่าเชื่อถือ เปี่ยมด้วยบารมี มีอุดมการณ์และจริยธรรม ที่ดีจนเป็นแบบอย่างสำหรับคนทั่วไปได้ 2.4 แนวคิดเก่ียวกับการเลือกตั้ง การเลือกตั้งเป็นสิทธิทางการเมืองขั้นมูลฐานของ ประชาชนตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยที่ให้สิทธิ เสรีภาพแก่ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครอง โดยการ พิจารณาเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง ไปทำหน้าที่แทนตน เพื่อมี ส่วนร่วมในการออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของ ประชาชนซึ่งเป็นกระบวนการทางนิติบัญญัติ รวมทั้งการเข้าไป ทำหน้าที่รัฐบาล บริหารประเทศให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ ประชาชน (พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว และธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, 2539, น. 12.) การเลือกตั้งดังกล่าวจึงเป็นการเปรียบเสมือน กระบวนการกลั่นกรองบุคคลโดยประชาชนให้ไปทำหน้าที ่ แทนตน คุณภาพหรือความสำเร็จของการเลือกตั้งย่อมขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพของการมีส่วนร่วมทาง การเมืองของประชาชน ในการเลือกตั้งให้ใครเป็นตัวแทนนั้นหมายความว่า การเลือกตั้ง จะมีความหมายตามครรลองของประชาธิปไตย ก็ต่อเมื่อ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง โดยมีสำนึกหรือเหตุผลในเชิงทางการเมือง กล่าวคือการไปใช้ สิทธิเลือกตั้งต้องเกิดจากการตระหนักในคุณค่า และเห็นความ 22
แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง ส ำ ค ั ญ ข อ ง ก า ร เ ล ื อ ก ต ั ้ ง เ ก ิ ด จ า ก ค ว า ม รู ้ ส ึ ก ว ่ า ต น เ อ ง ม ี ประสิทธิภาพทางการเมืองเพื่อผลักดันให้ผู้ที่ตนพอใจได้รับการ เลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่ หรือเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในรัฐบาลในนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นเหตุผลหรือสำนึกในเชิง การเมืองจึงเป็นหัวใจสำคัญของการเลือกตั้งที่มีความหมาย ตามนัยของประชาธิปไตย (กระมล ทองธรรมชาติ. 2531 การเลือกตั้ง พรรคการเมือง และเสถียรภาพของรัฐบาล. กรุงเทพมหานคร: มาสเตอร์เพลส. หน้า 4.) 2.4.1 ความหมายของการเลือกต้ัง เดวิท บัทเลอร์และคณะ (Butler, Penniman and Renny eds. 1981, 344 อ้างถึงใน ธโสธร ตู้ทองคำ 2545, 535-536) ได้อธิบายว่า การเลือกตั้ง (Election) มีนัยความหมายจำแนก ออกไดเ้ ปน็ สองแง่ กลา่ วคอื 1) การเลือกตั้งในแง่มุมของกฎหมายนั้น เป็นการ พิจารณาจากกฎหมายการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยทั่วไป แล้วจะมีสภาพอยู่ 3 ประการคือ การเลือกตั้งที่เป็นสิทธิ (rights) ในแง่นี้ การเลือกตั้งถือเป็นสิทธิที่มีความสำคัญประการหนึ่งที่ รัฐจะต้องให้ความคุ้มครอง การเลือกตั้งในฐานะที่เป็นอภิสิทธิ์ (privilege) เป็นการที่ผู้ลงคะแนนเสียงมีความเป็นอิสระที่จะเลือก กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ที่ได้รับการยอมรับจาก กฎหมาย ปราศจากการแทรกแซงหรือเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น เป็นต้น และการเลือกตั้งในฐานะที่เป็นหน้าที่ (duty) อันหมาย ถึงการที่บุคคลจำเป็นต้องกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใด อย่างหนึ่ง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มีสภาพเป็นหน้าที ่ 23
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี จึงเป็นไปโดยที่กฎหมายได้ระบุหรือบังคับให้ผู้ลงคะแนนไปใช้ สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่ากฎหมายได้ ระบุหรือบังคับให้ผู้ออกเสียงลงคะแนนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งที่ต้องกระทำ 2) การเลือกตั้งในแง่มุมปรัชญา แบ่งออกได้เป็น 3 ประการดังนี้ ประการแรก การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีสภาพเป็นสิทธิตามธรรมชาติ (Natural Rights) กล่าวคือ เป็น สิทธิที่เกิดมากับบุคคลในฐานะที่เป็นหน่วยหนึ่งของรัฐ ทั้งนี้ เพราะบุคคลย่อมเสมอภาคกัน อันเป็นลักษณะตามธรรมชาติ ของมนุษย์ ซึ่งหากบุคคลผู้ใดเป็นผู้บรรลุนิติภาวะมีความเป็น ผู้ใหญ่และไม่มีลักษณะต้องห้ามแล้ว จะมีสิทธิในการลงคะแนน เสียงเลือกตั้งประการที่สอง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพ เป็นภารกิจสาธารณะ (Public Affairs)กล่าวคือ ความก้าวหน้า ของสังคมย่อมขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานของบุคคลให้เป็นไปตาม หน้าที่อย่างชาญฉลาด เมื่อเป็นดังนี้ การให้สิทธิลงคะแนนเสียง เลือกตั้งจึงจำกัดเฉพาะแก่บุคคลที่เหมาะสมและสามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ด้วยดีเท่านั้น การดำเนินการตามแนวนี้ บุคคลจึงอาจ ถูกกำหนดสิทธิในการลงคะแนนได้เสมอ หากเมื่อปรากฎว่า บุคคลนั้นเข้าลักษณะที่ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่าง ถูกต้อง ประการที่สาม การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสภาพเป็น สิทธิคัดค้านการกระทำ กล่าวคือ ผู้ออกเสียงลงคะแนน ที่คัดค้านการกระทำหรือนโยบายของรัฐ จะลงคะแนนให้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคการเมืองที่ตรงกันข้ามกับผู้สมัครรับ เลือกตั้งที่สนับสนุนรัฐบาลหรือร่วมรัฐบาล พรรครัฐบาลหรือ 24
แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง พรรคร่วมรัฐบาล ในวันที่มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือวัน เลือกตั้งเป็นสำคัญ กระมล ทองธรรมชาติและคณะ (2531, น. 1) กล่าวว่า การเลือกตั้งเป็นกระบวนการทางการเมืองที่เป็นกิจกรรม ทางการเมืองอันแสดงถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยด้วยการไปใช้สิทธิ์ ออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา และ ในรัฐบาลเป็นกลไกแสดงออกซึ่งเจตจำนงของประชาชน ที่เรียกร้องสนับสนุนให้มีการปฏิบัติจัดทำหรือละเว้นการกระทำ อย่างใดอย่างหนึ่งในทางการเมือง และการตัดสินใจในนโยบาย สาธารณะที่มีผลกระทบต่อประชาชน พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2540, น. 217) ให้ความหมาย การเลือกตั้ง หมายถึง เป็นกระบวนการทางการเมืองและ การปกครอง เพราะการเลือกตั้งเป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำนง ของประชาชนในการปกครองประเทศ เจตจำนงดังกล่าวปรากฏ อยู่ในลักษณะของการเรียกร้อง (Demand) หรือสนับสนุน (Support) ต่อการตัดสินใจทั้งหลายในระบบการเมือง วัชรา ไชยสาร (2541, น.8-9) ให้ทัศนะว่า การเลือกตั้ง เป็นกิจกรรมทางการเมืองที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ อธิปไตยได้มีส่วนร่วมทางการเมือง (Participation) อันเป็นกลไก ที่แสดงออกซึ่งเจตจำนงของประชาชนที่เรียกร้อง หรือสนับสนุน ให้มีการกระทำหรือการละเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ในทางการเมืองหรือตัดสินใจในนโยบายสาธารณะที่จะมี ผลกระทบต่อประชาชน โดยประชาชนทั่วไปเลือกผู้แทนหรือ 25
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี พรรคการเมืองที่มีอดุ มการณ์ นโยบายและวิสยั ทัศนท์ ีส่ อดคล้อง กับตนด้วยความวาดหวังว่าผู้แทนหรือพรรคการเมืองที่ตนเลือก ให้ไปใช้อำนาจอธิปไตยแทนตนนั้นจะนำอุดมการณ์ และ นโยบายในการบริหารประเทศและทำหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ ของตนเอง การเลือกตั้งจึงเป็นกระบวนการแสวงหาทางเลือกใน การเมืองปกครองของประชาชนนั้นเอง 2.4.2 ระบบการเลือกต้ัง การต่อสู้เพื่ออำนาจการเมืองเป็นสิ่งปกติของการเมือง ทุกระบบในระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองและกลุ่ม ผลประโยชน์จะทำการต่อสู้ตามครรลองของระบบการเลือกตั้ง กฎเกณฑ์ของการแข่งขันจะมีทั้งที่ชัดแจ้งและที่เป็นนัย กฎเกณฑ์บางอย่างจะบัญญัติไว้ในกฎหมาย บางอย่างเป็น เรื่องของประเพณีที่เกิดขึ้นจากระบบแต่ความขัดแย้งกันนี้จะถูก จำกัดให้อยู่ภายในขอบเขตอันหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน และ จะไม่มีการหลั่งเลือดหรือความรุนแรง สังคมที่เป็นเผด็จการนั้น เป็นสังคมที่ไม่มีระบบการเลือกตั้ง การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่ง อำนาจทางการเมืองมีหลายรูปแบบ ซึ่งมักจะอยู่ในรูปของความ รุนแรงและการใช้กำลังบังคับเป็นสำคัญ ระบบเผด็จการอาจมี ระบบการเลือกตั้ง แต่ก็เป็นเพียงรูปแบบเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่ เช่นระบบการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ การเลือกตั้งไม่ได้มีผลต่อการเปลี่ยนผู้ใช้อำนาจและการใช้ อำนาจ จะมุ่งเน้นเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งในระบอบ ประชาธิปไตย เพราะระบบการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่มีความหมาย และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจและการใช้อำนาจ 26
แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง ระบอบประชาธิปไตยมีเครื่องมือและวิธีการควบคุม การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองหลายอย่างการ ควบคุมดังกล่าวมุ่งไปที่ช่องทางที่เป็นต้นกำเนิดของการกระทำ การในทางการเมือง กฎเกณฑ์บางอย่างเป็นลักษณะสากล ไม่ว่าประเทศนั้นจะอยู่ในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ กฎเกณฑ์บางอย่างจะพบแต่ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย และมีกฎเกณฑ์อีกมากที่เป็นลักษณะที่เฉพาะของประเทศ หนึ่งๆ จะเน้นระบบการเลือกตั้งของประเทศตะวันตกเป็นสำคัญ นอกจากนั้นก็จะนำระบบการเลือกตั้งของประเทศอื่นๆ มาเปรียบเทียบด้วย จุดประสงค์เพื่อกล่าวถึงกฎเกณฑ์ที่เป็น คุณลักษณะของกระบวนการเมืองประชาธิปไตย ที่มีลักษณะ แตกต่างไปจากระบอบเผด็จการ โดยพิจารณาเรื่องของการ แบ่งสันปันส่วนที่นั่งในสภานิติบัญญัติ วิธีการในการลงคะแนน เสียง กฎเกณฑ์ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และเขตเลือกตั้ง แบบต่างๆ ข้อที่พึงระลึกก็คือ ไม่มีระบบการเลือกตั้งแบบใด ที่สมบูรณ์ ระบบการเลือกตั้งทุกแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันต่างก็มี ข้อบกพร่องไม่ประการใดก็ประการหนึ่ง และความไม่สมบูรณ์ ไม่ใช่เรื่องที่ร้ายแรงจนต้องทำการแก้ไขอย่างเฉียบขาดหรือ โดยฉับพลัน ในหลายๆ กรณี ค่าของการเปลี่ยนแปลงอย่าง ฉับพลันอาจจะสูงกว่าคุณค่าที่จะได้รับจากการเปลี่ยนแปลง ก็เป็นได้ การเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของพรรคการเมืองโดย ส่วนใหญ่จะดำเนินการผ่าการเลือกตั้ง ซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบ สำคัญของระบอบประชาธิปไตย ในการเปิดโอกาสให้บุคคล เสนอตัวเข้ามารับใช้ส่วนร่วม และเปิดโอกาสให้พลเมืองใช้สิทธิ 27
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี เลือกบุคคลที่ตนต้องการเป็นผู้ปกครองหรือเป็นปากเป็นเสียง แทน หรือไปใช้อำนาจอธิปไตยแทนตน การลงคะแนนเสียง เ ล ื อ ก ต ั ้ ง เ ป ็ น ก า ร แ ส ด ง อ อ ก ถ ึ ง เ จ ต จ ำ น ง ข อ ง ป ร ะ ช า ช น ต่อวิธีกำหนดนโยบายในการปกครองของประเทศ ซึ่งการแสดง เจตจำนงน้ีจะมคี วามหมายหรือมผี ลดีตามระบอบประชาธิปไตย นั้นจะขึ้นอยู่กับความสนใจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชน (สนธิ เตชานันท์. 2543.หน้า 23-24) การเลือกตั้งมีความสำคัญและมีประโยชน์ เพราะ การเลือกตั้งเป็นการเลือกผู้ปกครอง เป็นกลไกเชื่อมโยมระหว่าง ผู้มีอำนาจรัฐกับประชาชน เป็นการสร้างความชอบธรรมให้ ผู้ปกครอง และเป็นการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ทั้งในการปกครองระดับชาติและการปกครองระดับท้องถิ่น อย่างสันติวิธี (สันสิทธิ์ ชวลิตธำรง.2546. หน้า 36-37) 2.4.3 ประเภทของการเลือกต้ัง การเลือกตั้งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ (สยาม ดำปรีดา, 2547 : 202-204) 1. แบ่งตามทม่ี าของการเลอื กต้ัง การแบ่งประเภทการเลือกตั้งตามที่มาของการ เลือกตั้งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1.1 การเลือกต้ังทั่วไป (General Election) หรือการเลือกต้ังใหญ่ หมายถึง การเลือกตั้ง ซึ่งราษฎรมา ลงคะแนนเสียงพร้อมๆ กัน ทั่วประเทศ การเลือกตั้งครั้งนี้มีขึ้น ในกรณีดังต่อไปนี้ 28
แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง § สภาผู้แทนราษฎรหมดวาระ § การยุบสภาผู้แทนราษฎร § ประเทศเกิดใหม่ที่มีการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย และจัดให้มีการเลือกตั้งเป็น ครั้งแรก § ประเทศที่เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ระบบเดิม เช่น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ- ราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ก็ต้อง จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป 1.2 การเลือกต้ังซ่อม (By – Election) หมายถึง การเลือกผู้แทนราษฎรคนหนึ่งหรือมากกว่านั้น ในกรณีที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขาดจากการเป็นสมาชิก เช่น ตาย ลา ออก หรือขาดจากการเป็นสมาชิกสภาพเฉพาะเหตุอื่น 1.3 การเลือกต้ังซ้ำ ( Re – Election) หมายถึง เมื่อมีคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยขององค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุม การเลอื กตง้ั กรณใี นประเทศไทย คอื คณะกรรมการการเลอื กตง้ั ได้วินิจฉัย ว่าการเลือกตั้งเดิมเป็นไปโดยมิชอบซึ่งถือเป็นกรณี ขาดจากการเป็นสมาชิกสภาพของการเป็นผู้แทนราษฎรใหม ่ ที่ถกู ต้องตามกฎหมาย 2. แบง่ ตามวธิ กี ารแบง่ เขตเลอื กต้ัง การแบ่งประเภทการเลือกตั้ง ตามวิธีการแบ่งเขตการ เลือกตั้ง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 29
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี 2.1 เขตละหนึ่งคน หมายถึง ในเขตเลือกตั้งหนึ่ง นั้น ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง แต่ละคนสามารถเลือก ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เพียงคนเดียว ทั้งนี้เพราะในเขตเลือกตั้ง นั้นเพียงที่เดียว ในการนี้จะต้องแบ่งเขตเลือกตั้งให้แต่ละเขต มีสัดส่วนของประชากรตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย เลือกตั้งกำหนด 2.2 เขตละหลายคน ในกรณีนี้ เขตเลือกตั้งหนึ่ง จะมีผู้แทนหรือที่นั่งมากกว่าหนึ่งที่ขึ้นไป อาจเป็น 2, 3, 4, 5, 6 ฯลฯ ก็ได้ ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งแต่ละคนสามารถ เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ตามจำนวนผู้แทนหรือที่นั่งที่พึงมีใน แต่ละเขตนั้น 3. แบ่งตามวีการคิดคะแนน การแบ่งประเภทของการเลือกตั้ง ตามวิธีการคิด คะแนน แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้ 3.1 แบบเสียงข้างมาก การคิดคะแนนแบบเสียง ข้างมาก หมายความว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดได้คะแนนมาก ที่สุดตามจำนวนที่นั่งที่พึ่งมีในเขตเลือกตั้งนั้นก็จะได้รับเลือก การคิดคะแนนแบบนี้มีอยู่ดังนี้ § เสียงข้างมากรอบเดียว หมายถึง ผู้สมัครรับ เลือกตั้งที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดตามจำนวนที่นั่งพึงมีในเขต เลือกตั้งนั้น จะได้รับเลือกไม่ว่าคะแนนที่ได้จะเป็นเท่าไหร่ก็ตาม กล่าวคือ ถ้าเป็นเขตเลือกตั้งแบบเขตละหนึ่งคน ผู้สมัครรับ เลือกตั้งที่ได้คะแนนเป็นที่หนึ่งจะได้รับเลือก ถ้าเป็นเขตเลือกตั้ง 30
แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง แบบเขตละหลายคน เช่น เขตละ 3 คน ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้ รับคะแนนสูงสุด 3 คนแรกจะได้รับเลือกตั้ง ดังนั้นคะแนนที่ได้ รับจากระบบเสียงข้างมากรอบเดียวนี้ จึงอาจได้รับไม่เกินกว่า ครึ่งหนึ่งของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่เป็นบัตรดีก็ได้ จึงมักเป็น ลักษณะเสียงข้างมากสัมพัทธ์ (Relative Majority) คือ เพียงแต่มี คะแนนมากกว่าคนอื่นๆเท่านั้น § เสียงข้างมากสองรอบ ในระบบนี้ผู้สมัคร เลือกตั้งจะได้รับเลือกตั้งในรอบแรกก็ต่อเมื่อได้คะแนนเสียงมาก กว่าครึ่งหนึ่ง ของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่เป็นบัตรดี กล่าวคือต้อง ได้รับเสียงข้างมากสมบูรณ์ (Absolute Majority) หากไม่มีใครได้ รับคะแนนเกินกว่าครึ่งหนึ่งก็จะมีการเลือกตั้งรอบสองคราวนี้ หากใครได้คะแนนมากที่สุด คือเป็นเสียงข้างมากสัมพัทธ์ก็จะ ได้รับเลือกส่วนใครบ้างที่จะมาลงแข่งขันในรอบสองได้นั้น ก็แล้วแต่กฎหมายเลือกตั้งกำหนด § วิธีผสมระหว่างเสียงข้างมากรอบเดียวและ สองรอบ (Alternative Preferential) วิธีนี้ใช้ระบบแบ่งเขตเขตละ หนึ่งคนเป็นสำคัญ โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนจะเลือก ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนต้องการให้เป็นผู้แทนเพียงหนึ่งคนเป็น หมายเลขหนึ่ง จากนั้นก็จะเลือกผู้สมัครคนอื่นๆ ที่ตนชอบ น้อยกว่าคนแรก เป็นหมายเลข สอง สาม สี่ ฯลฯ ไปจนหมด จำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตนั้น ถ้าปรากฏว่าผู้สมัคร รับเลือกตั้งคนใดได้เสียงที่ผู้เลือกตั้งระบุไว้เป็นหมายเลขหนึ่ง เกินกว่าร้อยละ 50 ผู้สมัครเลือกตั้งคนที่ได้รับเลือกเป็น หมายเลขหนึ่งที่มีคะแนนน้อยที่สุดจะถูกตัดออกไป และจะเอา 31
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี คะแนนที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนระบุไว้สำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง คนอื่นอื่นเป็นหมายเลข 2 มาบวกให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง คนอื่นๆ ที่ได้รับคะแนนเสียงสูงกว่า โดยผู้สมัครคนใดได้รับ คะแนนเกินร้อยละ 50 ก่อนก็จะได้เป็นผู้แทน หากยังไม่มีใคร ได้คะแนนถึงอีกก็จะเอาคะแนนที่ระบุไว้เป็นหมายเลข 3 มาคำนวณต่อไป และจะทำเช่นนี้ไปเรื่อยจนกว่ามีผู้รับสมัคร รับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งได้คะแนนเกินร้อยละ 50 2.5 แนวคิดเก่ียวกับการหาเสียง 2.5.1 การหาเสียงที่ไม่เปิดเผย ได้ศึกษาวิธีการหาเสียงที่ไม่เปิดเผยไว้หลายวิธี สรุปได้ ดังนี้ (อัมมาร สยามวาลา และคณะ 2535, น. 92-101) 2.5.1.1 ผ้มู ีอทิ ธพิ ล “ผู้มีอิทธิพล” ในเรื่องการเลือกตั้ง หมายถึง เฉพาะตัวบุคคลที่จะกลายเป็นผู้มีอิทธิพลขึ้นมาเฉพาะในช่วง ของการหาเสียงเลือกตั้ง เพราะผู้มีอิทธิพลตามความหมายโดย ทั่วไป ได้แก่ บุคคลที่เป็นที่ยอมรับกันอยู่ก่อนแล้วว่าเป็นผู้ที่ กว้างขวาง มีบุญบารมี เป็นที่นับหน้าถือตาในจังหวัดหรือ ในภาคนั้น ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากอุปนิสัยแบบ “นักเลง” (ในความหมายเดิม) ความสามารถหรือคุณงามความดีของ บุคคลในการช่วยเหลืออนุเคราะห์ เป็นที่พึ่งพาแก่ประชาชน ในชุมชน รวมถึงการให้ความร่วมมือแก่หน่วยงานราชการต่างๆ ในเขตจังหวัดหรือภูมิภาคนั้นๆ การช่วยเหลืองานราชการเป็น บันไดขั้นสำคัญ ที่ผู้มีอิทธิพลใช้ไปสู่ความเป็นผู้มีอิทธิพล 32
แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง ที่ข้าราชการต้องเกรงใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีช่องว่าง ที่สำคัญเกิดขึ้นระหว่างบริการหรือความช่วยเหลือที่ประชาชน สามารถจะได้รับจากหน่วยงานของรัฐ เมื่อเปรียบกับที่ได้รับ จากผู้มีอิทธิพลเหล่านี้ ในหลายกรณีชื่อเสียงของผู้มีอิทธิพล บางคนอาจขึ้นถึงระดับเป็น “คนดัง” ของประเทศได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหลักที่เอื้อให้ผู้มีอิทธิพล สามารถมีบทบาทดังกล่าวได้นั้นจะเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ ผู้มีอิทธิพลเหล่านี้มักจะเป็นเจ้าของกิจการทางธุรกิจขนาดธุรกิจ ขนาดใหญ่ในจังหวัดหลายๆ อย่างหรือมีสาขาครอบคลุมไป หลายจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการเหล่านี้มักจะมีลักษณะ ผูกขาดหรือเป็นกิจการประเภทอภิสิทธิ์ เช่น การค้าสุรา บุหรี่ กิจการป่าไม้ เหมือนแร่ ซึ่งล้วนต้องอาศัยสายสัมพันธ์ที่ดีกับ อำนาจการเมืองระดับชาติ ในระดับเล็กลงมาก็อาจเป็นเรื่องของ การทำโรงงานฆ่าสัตว์ การส่งสัตว์ออกจำหน่ายต่างประเทศ เป็นต้น มีอยู่บ้างที่กิจการที่ดูเหมือนสุจริตแต่จำเป็นต้องม ี การกระทำที่ละเมิดกฎหมายแฝงอยู่ และก็มีเหมือนกันที่ผู้มี อิทธิพลเหล่านี้ มีกิจการนอกกฎหมายโดยตรง เช่นเป็นเจ้ามือ หวย ใต้ดิน กล่าวกันว่า ในการเลือกตั้งหลายครั้งที่ผ่านมา เงินนอกระบบประเภทนี้ได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในการ รณรงค์หาเสียงด้วย การที่มีฐานทางเศรษฐกิจที่มั่งคง หมายถึง มีอิทธิพลทางการเมือง มีบุญบารมี คอยแจกจ่ายช่วยเหลือ ผู้อื่นประกอบกับมีกิจการธุรกิจทั้งที่ถูกต้องกฎหมายและ นอกกฎหมายที่เข้าถึงมวลชนได้อย่างกว้างขวาง ทำให้ผู้มี 33
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี อิทธิพลเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีอิทธิพลในระดับภาคหรือ ระดับจังหวัด หากประสงค์จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็จะอยู่ใน ฐานะ “ตัวเต็ง” มาตั้งแต่ก่อนจะมีการเลือกตั้ง เพราะมีบทบาท ใกล้ชิดกับมวลชนมาโดยตลอด ผู้มีอิทธิพลเหล่านี้บางราย ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ เพราะถูกจำกัดโดยเงื่อนไข ตามกฎหมาย เช่น มีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือขาดคุณสมบัติ ด้านคุณวุฒิการศึกษาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด กระนั้นก็ยัง สามารถจะให้การสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งในระดับ ท้องถิ่น เช่น สจ.หรือ สท. และ ส.ส. ให้ได้รับเลือกตั้งได้ สำหรับ เหตุผลในการที่ผู้มีอิทธิพลกลายเป็น “ตัวแปร” ที่สำคัญในการ เลือกตั้ง อาจกล่าวได้ว่าส่วนหนึ่งเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจาก ระบบการเลือกตั้งแบบพวงเล็กเรียงเบอร์ คือมีพื้นที่ใหญ่มาก ทำให้เป็นไปได้ยากมากที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะได้รับเลือกตั้ง ด้วยลำพังความสามารถของตนเอง ดังที่ปรากฏว่าเขตมีหน่วย เลือกตั้งอยู่ถึง 900 กว่าหน่วย มีอาณาบริเวณห่างไกลกันถึง 50-60 กิโลเมตร ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะออก ปราศรัยเยี่ยมเยียนประชาชนได้อย่างทั่วถึง ภายในระยะเวลา ที่มีจำกัดเพียง 30-40 วันโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยเรื่องอุปกรณ์ กำลังคน และเงินทุนในการหาเสียง หากสามารถได้รับ ความช่วยเหลือสนับสนุนจากผู้มีอิทธิพลอย่างเต็มที่ การทผ่ี มู้ อี ทิ ธพิ ลจะเขา้ มามบี ทบาทในการเลอื กตง้ั มักเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่ใช่เรื่องของของ พรรคการเมือง ดังนั้นผู้มีอิทธิพลเหล่านี้จึงสามารถให้สนับสนุน แก่ผู้สมัคร ในเขตอิทธิพลของตนทีละหลายคน โดยบุคคล 34
แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง เหล่านี้อาจสังกัดพรรคการเมืองต่างกันหรือในการเลือกตั้ง ครั้งหนึ่งผู้มีอิทธิพล อาจสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งของ พรรคหนึ่ง แต่ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ผู้มีอิทธิพลคนเดียวกัน ก็อาจหันไปสนับสนุนผู้สมัครจากอีกพรรคไปอีกพรรคหนึ่งก็ได้ ผู้มีอิทธิพลที่หลายคนพยายามที่จะขยายฐาน เสียงทางการเมืองออกไปให้กว้างขวางขึ้น โดยการเข้าไป สนับสนุนผู้สมัครข้ามจังหวัดหรือเขตอิทธิพลเดิมของตน เป็นที่ น่าสังเกตว่าเขตอิทธิพลดังกล่าวเลือกขยายฐานทางการเมือง ออกไป มักเป็นเขตเดียวกันกับผู้มีอิทธิพลนั้นๆ ได้เริ่มเข้าไปมี ผลประโยชน์หรือกิจการธุรกิจขนาดใหญ่ไว้ เพราะฉะนั้น นอกจากการเป็นผู้มีอิทธิพลในทางสังคม การเมืองและ เศรษฐกิจควบคู่กันไปในจังหวัดหรือภูมิภาค ซึ่งดูเหมือนจะเป็น ลักษณะของบุคคลชั้นนำสมัยใหม่ของสังคมไทย บทบาททาง เศรษฐกิจของผู้มีอิทธิพลเหล่านี้ในระดับชาติมีผ่านทาง พรรคการเมือง เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาล ผู้มีอิทธิพลบางคน สามารถผลักดันให้ ส.ส.ในสังกัดของตนก้าวหน้าทางการเมือง จนเป็นรัฐมนตรีได้มากกว่าหนึ่งสมัย นอกจากนั้นผู้มีอิทธิพล ยังถือว่าผลงานสำคัญของตนคือการผลักดันให้พรรคการเมือง ที่ตนสนับสนุน ประคับประคองโครงการใหญ่ระดับพันๆ ล้าน ของรัฐบาลซึ่งจะล้มไปแล้วให้กลับมาดำเนินการใหม่อีก 2.5.2 หวั คะแนน หัวคะแนนอาจเป็นคนเดียวกันกับผู้มีอิทธิพล กล่าวคือผู้มีอิทธิพลอาจลงมาแสดงบทของหัวคะแนนได้ แต่ หัวคะแนนอาจไม่เป็นผู้มีอิทธิพลเสมอไป เพราะฉะนั้นในขณะที่ 35
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 460
Pages: