Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 0000005674

0000005674

Published by สมหมาย เสียงเพราะ, 2022-07-30 10:31:35

Description: 0000005674

Search

Read the Text Version

ในระยะแรก เสนาบดีกระทรวงต่างๆ และข้าราชการไทยยังไม่เห็นความสำคัญของการจัดทำ งบประมาณแผ่นดิน และไม่พอใจการจัดแบ่งงบประมาณของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เพราะแต่ละ กระทรวงต่างต้องการได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวนมาก โดยเฉพาะการตั้งงบประมาณเงินเดือนท่ีเพิ่ม สูงขึ้นอันเน่ืองมาจากการขยายอัตราข้าราชการอย่างมากจนเกิดภาวะคนล้นงาน แต่นายคาร์แนกซ่ึงขณะนั้น ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสารบาญชีได้ขอให้คำนึงถึงการใช้จ่ายเงินแผ่นดินว่าเร่ืองใดไม่จำเป็นหรือไม่เป็น ประโยชน์ก็ให้งดเสีย อย่าทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์ และเห็นว่าทุกหน่วยงานควรจะได้รับ เงินพัฒนาเท่าๆ กัน ในเวลาต่อมา ข้าราชการไทยเร่ิมเข้าใจระบบการจัดทำงบประมาณมากข้ึน และใน พ.ศ. ๒๔๔๔ รัฐบาลสามารถจดั พิมพ์งบประมาณรายรับรายจา่ ยแผน่ ดินขึน้ เป็นครั้งแรก อน่ึง ในการจดั ทำงบประมาณแผ่นดินน้ี โปรดใหแ้ ยกการเงินสว่ นแผน่ ดินและสว่ นพระองคอ์ อกจากกัน อย่างเด็ดขาด ซึ่งทรงจดั วางระเบยี บไวต้ ้ังแต่ตน้ รชั กาลแลว้ โดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์นนั้ ใหพ้ ระคลังข้างท่ี เป็นผู้จัดการดูแล ดังนั้น เงินพระคลังข้างที่จึงเป็นเงินภาษีอากรซึ่งยกเป็นส่วนหน่ึงต่างหากจากพระราชทรัพย์ สำหรับจ่ายราชการแผ่นดิน เป็นเงินส่วนท่ีถวายพระเจ้าแผ่นดินสำหรับทรงใช้สอยส่วนพระองค์อันเป็น ธรรมเนียมท่ีปฏิบัติมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัวทรงมีวินัยในการใช้เงินพระคลังข้างที่อย่างเคร่งครัด และไม่ให้เกิดข้อครหานินทาจากผู้อื่นว่าทรง เบียดบังเงินของราชการแผ่นดิน การใดที่ทรงใช้จ่ายเพ่ือพระราชโอรสหรือพระภรรยาก็ทรงใช้จากเงินพระคลัง ขา้ งท่ี ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากขอ้ ความบางตอนในพระบรมราโชวาททพ่ี ระราชทานพระเจา้ ลกู ยาเธอเมอ่ื พ.ศ. ๒๔๒๘ วา่ ...เงินค่าที่จะใช้สอยในการเล่าเรียนกินอยู่นุ่งห่มทั้งปวงนั้น จะใช้เงินพระคลังข้างที่ คือเงินที่เปนส่วนสิทธ์ิขาดแต่ตัวพ่อเอง ไม่ใช้เงินที่สำหรับจ่ายราชการแผ่นดิน...การซึ่งใช้เงิน พระคลังข้างท่ี ไม่ใช้เงินแผ่นดินอย่างเช่นเคยจ่ายให้เจ้านายแลบุตรข้าราชการไปเล่าเรียน แต่ก่อนนั้น เพราะเห็นว่ามีลูกมากด้วยกัน การซ่ึงให้มีโอกาสแลให้ทุนทรัพย์ซ่ึงจะได ้ เล่าเรียนวิชาน้ี เปนทรัพย์มรดกอันประเสริฐดีกว่าทรัพย์สินเงินทองอ่ืนๆ ด้วยเปนของติดตัว อยู่ได้ไม่มีอันตรายท่ีจะเสื่อมสูญ ลูกคนใดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดก็ดี หรือไม่มีสติปัญญา เฉลียวฉลาดก็ดี ก็จะต้องส่งไปเรียนวิชาทุกคนตลอดโอกาสที่จะเปนไปได้ เหมือนหน่ึงได้ แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ลูกเสมอๆ กันทุกคน ก็ถ้าจะใช้เงินแผ่นดินสำหรับให้ไปเล่าเรียนแก่ ผู้ซ่ึงมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด กลับมาไม่ได้ทำราชการคุ้มกับเงินแผ่นดินท่ีลงไป ก็จะเปนท ี่ ติเตียนของคนบางจำพวกว่ามีลูกมากเกินไป จนต้องใช้เงินแผ่นดินเปนค่าเล่าเรียนมากมาย เหลือเกิน แล้วซำ้ ไม่เลอื กเฟ้นเอาแตท่ ่ีเฉลยี วฉลาดจะไดร้ าชการ คนโงค่ นเง่ากเ็ อาไปเล่าเรียน ให้เปลืองเงิน เพราะค่าท่ีเปนลูกของพ่อไม่อยากจะให้มีมลทินท่ีพูดติเตียนเกี่ยวข้องกับ ความปรารถนา ซึ่งจะสงเคราะห์แกล่ ูกให้ทวั่ ถึงโดยเทย่ี งธรรมนจี้ งึ มไิ ดใ้ ชเ้ งนิ แผ่นดนิ อีกประการหน่ึงเล่า ถึงว่าเงินพระคลังข้างที่นั้นเองก็เปนเงินส่วนหนึ่งในแผ่นดิน เหมือนกัน เว้นแต่เปนส่วนที่ยกให้แก่พ่อใช้สอยการในตัว มีทำการกุศลแลสงเคราะห์บุตร ภรรยาเปนต้น เหน็ ว่าการสงเคราะหด์ ้วยเล่าเรยี นดังน้เี ปนดกี ว่าอย่างอน่ื ๆ จงึ ไดเ้ อาเงินรายนี้ ใช้เปนการมีคุณต่อแผ่นดิน ที่ไม่ต้องแบ่งเงินแผ่นดินมาใช้เปนค่าเล่าเรียนขึ้นอีกส่วนหน่ึง 195

แลพ้นจากคำคัดค้านต่างๆ เพราะเหตุที่พ่อเอาเงินส่วนที่พ่อจะได้ใช้เองน้ันออกให้ค่าเล่าเรียน ด้วยเงนิ รายนี้ ไมม่ ผี หู้ นง่ึ ผ้ใู ดที่จะแทรกแซงวา่ ควรใชอ้ ยา่ งนัน้ ไม่ควรใชอ้ ยา่ งนั้นไดเ้ ลย... ใน พ.ศ. ๒๔๒๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินท่ีตำบลบางคอแหลม อันเป็นที่ทำเลการค้าในสมัยนั้นให้เป็นกรรมสิทธ์ิของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ โดย ใช้เงินจากพระคลังข้างที่ในการซ้ือที่ดินจากนายเฮนรี อลาบาสเตอร์ (Henry Alabaster) ชาวอังกฤษ ดังใน พระกระแสพระบรมราโชวาทข้อความตอนหน่ึงว่า “...แลเพราะเห็นแก่มิสเตออาลบาสเตอจึ่งได้ยอมซ้ือท่ีดินน ้ ี กับทั้งอู่คลองที่จอดเรือป้ันจ่ันแลตพานต่างๆ แลที่ขอของแลเรือนโรงทั้งปวงในท่ีน้ันด้วยเงินพระคลังข้างท่ี ซง่ึ เปน็ เงนิ สว่ นสำหรบั ตวั ขา้ พเจา้ มไิ ดเ้ กยี่ วขอ้ งดว้ ยราชทรพั ยส์ ำหรบั ใชร้ าชการแผน่ ดนิ เปน็ จำนวนเงนิ ๕๐๐ ชง่ั ...” ใน พ.ศ. ๒๔๒๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เงินพระคลังข้างท่ีจัดทำ เคร่ืองยศพระราชทานพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี พระองค์ได้มีพระราชหัตถเลขาพระราชทาน พระนางเจ้าสุขมุ าลมารศรีฯ วา่ “...ข้าพเจ้าเห็นว่า เคร่ืองยศซึ่งพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแต่ก่อนๆ น้ัน เปนของ สำหรบั แผน่ ดิน เมือ่ ผูท้ ีไ่ ด้รับน้ันไมม่ ีตัว ก็ต้องคนื ส่งเข้ามายงั พระคลังไว้สำหรบั พระราชทาน ผู้อื่นต่อไป เปนธรรมเนียมเดิมสืบมาดังน้ี แต่ซึ่งข้าพเจ้าทำเคร่ืองยศมาให้สุขุมาลย์มารศรี ครั้งน้ี ครั้นจะให้เครื่องยศซ่ึงเปนพระราชทรัพย์แผ่นดินก็กลัวว่าจะไม่เปนเจ้าของยืนยาว ไปได้ อีกประการหน่ึงถ้ามีหลายสำรับ พระราชทรัพย์สำหรับแผ่นดินก็ต้องออกมาก เพราะ ฉะน้ันข้าพเจ้าจึงได้ออกเงินทางซ่ึงเปนส่วนเรียกว่า พระคลังข้างท่ี คือเงินภาษีอากร ซึ่งยก เปนส่วนหน่ึงต่างหากจากพระราชทรัพย์ สำหรับจ่ายราชการแผ่นดิน ยกเปนส่วนถวาย พระเจ้าแผ่นดินสำหรับทรงใช้สอยในการพระองค์เปนธรรมเนียมสืบมาแต่แผ่นดินพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงแผ่นดินปัจจุบันนี้ แลเงินท่ีออกใช้ในเคร่ืองยศสำรับน้ี ก็มิใช้เงินซึ่งเก็บรวบรวมไว้แต่คร้ังแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปนเงิน เกดิ ขนึ้ ในแผน่ ดินปัจจุบันนเี้ อง... การเงินและการธนาคาร ในการอำนวยความสะดวกและป้องกันข้อเสียเปรียบด้านการค้ากับต่างชาติ รัฐบาลได้ดำเนินการ แก้ไขเร่ืองระบบเงินตรามาตั้งแต่ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยปรับปรุงให้เป็น ไปตามมาตรฐานสากล เพื่อป้องกันไม่ให้ต่างชาตินำเงินตราของตนเข้ามาใช้ นายคาร์แนก ที่ปรึกษากระทรวง การคลังชาวต่างประเทศได้เสนอให้ใช้เงินกระดาษหรือธนบัตรตามแบบที่ประเทศตะวันตกใช้กัน ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ผลิตธนบัตรเป็นกระดาษเรียกว่า “อัฐ” มมี ูลคา่ เทา่ กับเหรยี ญทองแดง ๑ อัฐ แต่ใช้ไดเ้ พียง ๑ ปีกเ็ ลิกไปเพราะประชาชนไม่นิยมใช ้ ต่อมาในสมัยท่ีนายวิลเลียมสันเป็นท่ีปรึกษากระทรวงการคลัง รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ ธนบัตร ร.ศ. ๑๒๑ เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๕ และมีพิธีเปิดกรมธนบัตรเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕ อันเป็นมงคลสมัยก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 196

เพยี ง ๑ วนั ณ หอรษั ฎากรพพิ ฒั น์ กระทรวงพระคลงั มหาสมบตั ิ ในพระบรมมหาราชวงั ในพธิ เี ปดิ กรมธนบตั ร พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัวทรงแสดงความยนิ ดีท่ีไดจ้ ดั การออกใชธ้ นบตั ร มคี วามตอนหนง่ึ ว่า …ฉันมีความเห็นชอบแลมีความเชื่อแน่ด้วยทุกอย่างในวิธีการธนบัตรที่ได้จัดขึ้น แลที่เสนาบดีจะได้ลงมอื ใชใ้ นครงั้ น้ีว่าเปนวิธีซง่ึ มีประกัน มัน่ คงมากพอ ในการรับไถธ่ นบัตร ที่จำหน่ายออกไปนั้นเปนเงินตราให้ได้ทันที แลจะไม่ละเลยในการท่ีจะตั้งใจช่วยในการอันนี้ เปนทต่ี ง้ั ม่ันสำเรจ็ ประโยชน์ตลอดทั่วกนั ขอแสดงความพอใจในการทที่ า่ นเสนาบดแี ลขา้ ราชการกระทรวงพระคลงั มหาสมบตั ิ ได้ชว่ ยกนั จดั ตั้งกรมธนบัตรขนึ้ สำหรับกรงุ สยาม… ในการผลิตธนบัตร รัฐบาลให้โรงกษาปณ์หลวงซ่ึงใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีจากตะวันตกเป็นผู้ผลิต โดยบริษัท โทมัส เดอลารู (Thomas De la Rue) ประเทศอังกฤษ เป็นผู้รับจ้างผลิต ธนบัตรท่ีผลิตข้ึนมานี้มี ๕ ชนิดราคาคอื ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท นบั จากนัน้ มาธนบัตรได้เริม่ เข้ามา มีบทบาทในระบบการเงินของประเทศสยามและเป็นส่วนสำคัญท่ีสุดของการชำระหน้ีแทนเหรียญกษาปณ์ที่ คลายความสำคัญลง และกลายเป็นเงินปลีกในระบบการเงินของประเทศไปในที่สุด หลังจากน้ันกรมพระคลัง มหาสมบัติได้ปรับปรุงกฎหมายกำหนดระบบการผลิตเหรียญเงินขึ้นใช้ในปีต่อมา เรียกว่า พระราชบัญญัติ เงนิ ตรา ร.ศ. ๑๒๒ และประกาศใชเ้ มือ่ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ เงินเหรยี ญที่มมี ลู คา่ เป็นเฟี้ยง เสย้ี ว ซกี อัฐ และโสฬส เปลี่ยนมาใช้เหรียญกษาปณ์ชนิดต่างๆ ระบบการผลิตเงินตราของประเทศท่ีเป็นเหรียญกษาปณ์ และธนบัตรจึงสมบูรณ์ครบถ้วน ส่วนเงินพดด้วงนั้น กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ออกประกาศเลิกใช ้ เงินพดด้วง ร.ศ. ๑๒๓ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ นอกจากน้ี ยังมีการกำหนดค่าของเงินโดยสร้าง หนว่ ยเงินขนึ้ มาใหม่ เรยี กวา่ “สตางค”์ ใช้มาตราทศนยิ มคอื ๑ บาท มคี า่ เท่ากับ ๑๐๐ สตางค์ ความก้าวหน้าในด้านการเงินท่ีสำคัญอีกประการหนึ่งในสมัยน้ีคือ การประกาศใช้มาตรฐานทองคำ (Gold Standard Scheme) เป็นเงินทุนสำรองแทนการใช้มาตรฐานเงิน (Silver Standard) ตามมาตรฐานสากล ทั่วโลก ตามท่ีนายคาร์แนกให้คำแนะนำว่า แร่เงินมีราคาตกต่ำ ไม่แน่นอน ไม่มีเสถียรภาพและไม่สามารถ ใช้เป็นหลักค้ำประกันการคลังของประเทศให้มั่นคงได้ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการค้าระหว่างประเทศ รัฐบาล จงึ ไดต้ ราพระราชบญั ญัตมิ าตรฐานทองคำ ร.ศ. ๑๒๗ ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ซึง่ เปน็ การเปลยี่ นแปลงระบบเงินตรา ครั้งสำคัญท่ีใช้ทองคำเป็นมาตรฐาน เพื่อรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินไทยกับเงินตราต่างประเทศ อันเป็นวิธีการ เดียวกับทป่ี ระเทศตะวันตกปฏิบัติกันอยู่ กิจการธนาคารก็เป็นสถาบันการเงินที่สำคัญอีกสถาบันหน่ึงที่เกิดข้ึนเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนั้นมีธนาคารของต่างชาติมาตั้งสาขาในประเทศสยาม ได้แก่ ธนาคาร ฮ่องกงเซ่ียงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์และธนาคารอินโดจีน หลังจากท่ีพระองค์เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก รัฐบาล อังกฤษพยายามใช้อิทธิพลโน้มน้าวให้รัฐบาลสยามอนุญาตให้จัดต้ังธนาคารเอกชนต่างชาติในสยามได้ รวมท้ัง จัดต้ังธนาคารชาตขิ องสยามภายใตก้ ารดำเนนิ การของตา่ งชาติ แต่นายคาร์แนกไดใ้ หค้ ำแนะนำว่าสยามยังไม่ควร อนญุ าต ขณะเดียวกนั ก็ยังไมส่ มควรจัดต้ังธนาคารชาตดิ ว้ ยตนเองเพราะยังไมม่ ปี ระสบการณ์เพยี งพอ 197

ววิ ฒั นาการเงนิ ตราของไทยในรัชสมยั พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอย่หู วั 198

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประจักษ์ถึงประโยชน์มหาศาลหากประเทศจะมี ระบบการเงินและการธนาคารเป็นของชาวไทยเอง เชน่ เดียวกับประเทศตะวันตกท่ีพระองค์เคยเสด็จประพาส จงึ ทรงมพี ระราชประสงคท์ จี่ ะตง้ั สถาบนั การเงนิ เชน่ นน้ั ในสยามบ้าง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนมหิศร- ราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรวบรวมกลุ่มนักวิชาการที่มีความรู้ด้านการเงิน จัดตั้งธนาคารของคนไทยข้ึนเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. แบงค์สยามกัมมาจล ๒๔๔๕ เรียกว่า กลมุ่ บคุ คลภั ย์ (Book Club) ดำเนิน กิจการด้านธนาคาร ในเวลาต่อมากลุ่มพระเจ้า น้องยาเธอฯ ทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจดทะเบียนเป็นบริษัท แบงค์สยามกัมมาจลทุน จำกัด (Siam Commercial Bank) หรอื ธนาคารไทยพาณชิ ยใ์ นปจั จบุ นั ซง่ึ เรม่ิ เปดิ ดำเนนิ กจิ การตามแบบสากล เมอ่ื วนั ที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ มกี ารบริหารงานโดยคนไทยทั้งสิ้น ทำใหธ้ นาคารของคนไทยแห่งแรกถอื กำเนิดขน้ึ และเป็นการระดมเงินออมของประชาชนไวภ้ ายในประเทศ รวมทง้ั เริ่มมกี ารลงทนุ แบบใหม่ๆ การปรับปรุงการคลังของประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับได้ว่าเป็นการ เปลี่ยนแปลงระบบการเงินการคลังครั้งใหญ่ของไทย เงินของแผ่นดินที่เคยกระจัดกระจายอยู่ภายใต้อำนาจ ของขุนนางและหน่วยงานต่างๆ ถูกนำมารวบรวมไว้ท่ีหน่วยงานกลางคือกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเพียง แห่งเดียว ทำให้รัฐบาลสามารถนำเงินรายได้ของชาติไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย และเจริญกา้ วหน้าตามความต้องการรีบดว่ นในขณะนั้น และท่ีสำคัญทำให้ประเทศเกิดความม่นั คงทางเศรษฐกิจ อีกดว้ ย 199



๙ ดำรงยตุ ธิ รรม ...การตำแหน่งยุติธรรมในเมืองไทยนี้ เปรียบเหมือนเรือกำป่ันท่ีถูกเพรียง แลปลวกกินผุโทรมท้ังลำ แต่ก่อนทำมานั้นเหมือนร่ัวแห่งใดก็เข้าไม้ดามอุดยาแต่เฉพาะ ตรงท่ีร่ัวน้ัน ท่ีอ่ืนก็โทรมลงไปอีก คร้ันช้านานเข้าก็ย่ิงชำรุดหนักลงทั้งลำ เปนเวลา สมควรท่ีต้องต้ังกงขึ้นกระดานใหม่ให้เปนของม่ันคงถาวรสืบไป แลเปนการสำคัญ ย่ิงใหญ่ท่ีจะต้องรีบจัดการโดยเร็ว หาไม่ก็จะต้องจมลง ด้วยผุยับไปเหมือนเรือกำปั่น ที่ชำรุดเหลือทจี่ ะเยยี วยา จนตอ้ งจมลงฉน้นั ... (พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยูห่ ัว ทรงแถลงพระบรมราชาธบิ ายแกไ้ ขการปกครองแผน่ ดิน) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาล ยุติธรรมของไทยให้ทันสมัยเป็นท่ียอมรับของนานาอารยประเทศเพื่อนำพาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า เอกราชและอธิปไตยของชาติมีความมั่นคง พ้นจากการครอบงำของประเทศมหาอำนาจ ระบบการยุติธรรม ที่ได้ปรับปรุงในคร้งั น้ีมที ้งั การปรบั ปรงุ ดา้ นกฎหมายและการศาล ระบบกฎหมายและการศาลดง้ั เดมิ ตง้ั แตส่ มยั อยธุ ยา ไทยไดใ้ ชค้ มั ภรี พ์ ระธรรมศาสตรเ์ ปน็ กฎหมายหลกั ในการพจิ ารณาพพิ ากษาคดคี วาม ต่างๆ ของแผ่นดิน ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ใน พ.ศ. ๒๓๔๘ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้คณะอาลักษณ์ ลูกขุน และราชบัณฑิต ชำระพระราชกำหนดกฎหมายข้ึนใหม่ เรียกกัน ทั่วไปว่า “กฎหมายตราสามดวง” ประมวลกฎหมายตราสามดวงไม่เพียงแต่จะบรรจุพระธรรมศาสตร์ของ สมัยอยุธยาไวเ้ ทา่ นน้ั หากแตย่ งั ได้รวบรวมพระราชกำหนด บทพระอัยการซึง่ มีอยูใ่ นขณะนัน้ ไว้ดว้ ย บทบญั ญัติ ที่สำคัญของกฎหมายตราสามดวง เช่น ลักษณะพยาน ลักษณะดำน้ำ ลุยเพลิง ลักษณะอุทธรณ์ และลักษณะ ผวั เมีย 201

ส่วนระบบการศาลตามประมวลกฎหมายแบบเก่ามีศาลจำนวนมาก กระจัดกระจายอยู่ตามกรมกอง ต่างๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ในพระราชดำรัสทรงแถลงพระบรมราชาธิบาย แกไ้ ขการปกครองแผน่ ดินว่า ตามทปี่ รากฏในพระธรรมนญู มศี าลอยูถ่ ึง ๑๔ ศาล ไดแ้ ก่ ศาลหลวง ศาลอาญา กระทรวงอาญาจกั ร กระทรวงนครบาล ศาลกรมวัง ศาลแพ่งกลาง ศาลแพ่งเกษม กระทรวงมรฎก กระทรวง กรมท่ากลาง กระทรวงกรมนา ศาลคลังมหาสมบัติ ศาลกระทรวงธรรมการ กระทรวงสสั ดี และศาลกระทรวง แพทยา อำนาจของศาลประจำหน่วยงานต่างๆ ไม่แน่นอน บางศาลแก่งแย่งหน้าที่กันหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ นอกจากนี้อำนาจหน้าที่ของตุลาการก็มิได้แยกออกจากฝ่ายปกครองอย่างเด็ดขาด การพิจารณาคดีความจึงมี เจ้าหน้าท่ีฝ่ายปกครองเข้าไปเก่ียวข้องอยู่เสมอ ดังเช่นกรณีที่เจ้ากระทรวงและเจ้าเมืองต้องเป็นผู้ชำระความ ในคดีต่างๆ ส่วนลูกขุนตุลาการผู้พิจารณาพิพากษาคดีความก็หาผลประโยชน์ส่วนตัวจากการปฏิบัติหน้าที่ นอกจากนวี้ ธิ กี ระบวนพจิ ารณาความกย็ งั ใชเ้ วลายาวนานอกี ดว้ ย ดงั พระราชดำรขิ องพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ - เจา้ อยหู่ ัวที่ว่า ...ทรงพระราชดำริเหนว่า การอย่างธรรมเนียมพิจารณาตัดสินความ มากมาย หลายศาล หลายกระทรวง พนักงานสับสนปะปนกันกับราชการอื่นๆ นั้น เปนเคร่ืองกีดกั้น ให้การยุติธรรมเกิดยาก จำเปนจะต้องจัดรวมเข้าให้เปนแห่งเดียวกัน แลจัดให้ผู้พิพากษา ผู้พิจารณามีน่าท่ีพนักงานแต่ท่ีจะทะนุบำรุงรักษายุติธรรมอยู่ฝ่ายเดียว มิให้เก่ียวในราชการ อื่นๆ ได้ ตัดเหตุที่เปนช่องของการท่ีไม่เปนธรรมแลเพิ่มเติมเปิดช่องโอกาสของการที่จะ ใหเ้ จรญิ ในทางยตุ ธิ รรมทกุ อยา่ งท่คี ิดเหนได.้ .. ข้อขัดข้องในการพิจารณาและพิพากษาคดีต่างๆ ทำให้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการต้ังกลองวินิจฉัยเภรีไว้ที่ทิมกรมวัง เพื่อให้ราษฎรตีกลองถวายฎีการ้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง เมื่อเสียงกลองถึงพระกรรณ ก็โปรดให้ราชบุรุษออกมารับฎีกา จึงเรียกกันว่า “ตีกลองร้องฎีกา” ต่อมาใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์พระราชทานโอกาสให้ราษฎรถวายฎีกาได้โดยสะดวก โดยทรงตง้ั ประเพณเี สดจ็ ออกรบั ฎกี าดว้ ยพระองคเ์ องทกุ วนั โกน เดอื นละ ๔ ครง้ั เวลาเสดจ็ ออกกใ็ หเ้ จา้ พนกั งาน ตีกลองวินิจฉัยเภรีเป็นสัญญาณให้ราษฎรเข้าถวายฎีกา ผู้ท่ีไม่สามารถมาถวายฎีกาด้วยตนเองก็ให้ฝากญาติ พ่ีน้องหรือมูลนายมาถวายฎีกาแทนตัวได้ แต่ปรากฏว่าการถวายฎีกามีความยากลำบาก แก่ราษฎรเพราะต้อง เสียเงินค่าไขกุญแจเพ่ือจะตีกลอง จึงโปรดให้ยกเลิกการตีกลองให้ราษฎรถวายฎีกาท่ีหนา้ พระทน่ี งั่ สทุ ไธสวรรย์ ในวนั โกนแทน เมอื่ ใกลจ้ ะสวรรคต พระองคก์ ย็ งั ทรงมพี ระราชหฤทยั หว่ งใยในสนั ตสิ ขุ ของประชาราษฎร์ จึงมี พระราชดำรสั ให้ “...พระเจา้ แผน่ ดนิ พระองคใ์ หม่ให้เอาเปนพระราชธรุ ะรบั ฎกี าของราษฎรอันมีทกุ ขร์ ้อน ให้ร้อง ไดส้ ะดวกเหมือนพระองคไ์ ดท้ รงเปนพระธรุ ะรับฎีกามาแต่กอ่ น...” การทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เร่ิมด้วยการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษใน พ.ศ. ๒๓๙๘ และสนธิสัญญากับประเทศอ่ืนๆ อันได้แก่ สหรัฐอเมรกิ า ฝรั่งเศส เดนมาร์ก โปรตุเกส ฮอลนั ดา เยอรมนี สวีเดน นอรเ์ วย์ เบลเยียม อิตาลี รสั เซีย และ ญปี่ นุ่ สนธสิ ญั ญาเหลา่ นท้ี ำใหส้ ยามตอ้ งใหส้ ทิ ธสิ ภาพนอกอาณาเขตแกช่ าวตา่ งประเทศและคนในบงั คบั ทม่ี าพำนกั และพง่ึ พระบรมโพธิสมภารในราชอาณาจกั ร 202

สิทธิสภาพนอกอาณาเขต (Extraterritoriality) คือสิทธิพิเศษท่ีชาวต่างชาติได้รับยกเว้นไม่ต้องข้ึนศาล ของประเทศที่ตนพำนักเมื่อกระทำความผิด น่ันคือ ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศน้ัน แต่ต้องปฏิบัติ ตามหลักกฎหมายของประเทศตนและข้ึนตรงต่อศาลกงสุลของประเทศตน ผู้ที่ได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ไดแ้ ก่ บุคคลในคณะทูตหรอื ผแู้ ทนของประเทศ และบุคคลท่ีขน้ึ บญั ชีเป็นคนในบังคับต่างชาต ิ ดังนั้น คนต่างชาติและคนในบังคับประเทศมหาอำนาจซึ่งเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาทางพระราชไมตร ี จึงไม่ต้องอยู่ในอำนาจของศาลไทย หากแต่มีศาลกงสุลสำหรับพิจารณาพิพากษาคดีที่เก่ียวกับบุคคลประเภท ดังกล่าวโดยเฉพาะ ในกรณีที่คนสัญชาติไทยเป็นผู้เสียหายและคนต่างชาติหรือคนในบังคับต่างชาติเป็นผู้ล่วง ละเมิด คดีนั้นก็ต้องขึ้นศาลกงสุลซึ่งใช้กฎหมายของประเทศนั้นๆ ตัดสินและบังคับคดี ทำให้กระทบกระเทือน ต่อเอกราชทางการศาลของไทยเป็นอย่างย่งิ สาเหตุที่นานาประเทศที่ทำสนธิสัญญากับประเทศสยามไม่ยอมรับนับถือกฎหมายไทยว่าทัดเทียมกับ กฎหมายของอารยประเทศ และต้ังข้อรังเกียจระบบกฎหมายไทยว่าล้าสมัยและโหดร้ายทารุณ เนื่องจากการ พจิ ารณาคดคี วามตามกฎหมายไทยเปน็ ไปตามจารตี นครบาล เชน่ หากมีผ้ถู กู กลา่ วหาในคดีอาญา “...ในข้ันตน้ ถกู จบั ขังก่อนเสมอ กวา่ จะไดม้ ใี ครพจิ ารณาก็นานมากกวา่ ทุกวนั นี้ แลในเวลาพิจารณาน้ัน ถือกนั ว่าใครต้องหา แล้ว ตอ้ งเปนผู้ร้ายอยแู่ ลว้ ตบตีเฆ่ียนจะเอาหลกั ฐานให้ได้จากตัวคนทต่ี ้องหาน้ันเอง ถ้าคนน้นั ๆ นำพยานมาสบื ความบริสุทธิ์ของตนได้ก็รอดไป...” วิธีพิจารณาโจรผู้ร้ายท่ีมีในพระราชกำหนดกฎหมายในขณะน้ัน ที่ใช้กับ ผู้ต้องหา เช่น ตบปากคู่ความ จำคาผู้ละเมิดกลางคัน จำขื่อผู้ขัดหมาย มัดแช่น้ำตากแดดเร่งสินไหม ตบปาก ผู้อุทธรณเ์ กินกำหนด จำขื่อผู้ร้ายที่ยังไมร่ ับ ตบปากลกู ความผเู้ ถยี ง และเฆ่ียน ๓ ยก เม่ือมีการตัดสินคดีความแล้ว ผู้กระทำผิดจะได้รับโทษรุนแรงท่ีบัญญัติไว้ในกฎหมายตราสามดวง ดงั ท่กี รมหม่ืนราชบุรดี ิเรกฤทธ์ิตรสั ไวว้ า่ ภาพนักโทษระหว่างการไต่สวนทอี่ ำเภอพิมาย จงั หวดั นครราชสมี า 203

...โทษอาญาที่บ่งไว้...อ่านดูตามหนังสือแล้ทำให้ขนลุกขนพอง...เปนต้นในส่วนโทษ ธรมานทงั้ หลายในครง้ั น้ัน เช่น ขน้ึ ขาหยา่ ง ตดั ปาก ตดั มอื นอกจากโทษธรมานน้ันก็คือโทษจำคุกจำตาราง...ในคุกต้องใส่พวงคอเพิ่มเติม โซต่ รวน และเมอ่ื จะขน้ึ คกุ ตอ้ งเฆย่ี น ๖๐ ที เช่นอยา่ งโทษประหารชีวติ ต้องเฆยี่ น ๙๐ ท…ี วิธีการพิจารณาคดีแบบจารีตนครบาลและการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างรุนแรงเช่นน้ี ทำให้ประเทศ ตะวันตกพากันต้ังข้อรังเกียจและเกรงว่าจะไม่ได้รับความยุติธรรมตามกฎหมายไทย จึงขอสิทธิพิเศษ ทางกฎหมายและการศาลแก่คนในบังคับของตน ในระยะแรกการให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ชาวต่างชาต ิ ยังไม่เป็นปัญหายุ่งยากเพราะชาวต่างชาติท่ีเข้ามาค้าขายในประเทศสยามมีจำนวนน้อย ต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การค้าขายกับต่างประเทศเจริญก้าวหน้า จำนวนชาวต่างชาติท่ีเข้ามา พำนักในประเทศสยามจึงเพิ่มมากขึ้น ยิ่งไปกว่าน้ัน ประเทศตะวันตกยังได้ขยายสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่ ชาวเอเชียซ่ึงเป็นอาณานิคมของตนรวมทงั้ ชาวจนี และชาวไทยทมี่ ภี มู ลิ ำเนาอยใู่ นไทยแตท่ ำงานใหก้ บั ชาวตะวนั ตก ให้เป็น “คนในบังคับ” ของต่างชาติ จึงได้สิทธิไม่ต้องอยู่ใต้อำนาจกฎหมายและศาลไทย ปัญหาการพิจารณา พิพากษาคดีชาวต่างชาติและคนในบังคับท่ีอยู่ในอำนาจศาลกงสุลกลายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารและพัฒนา บา้ นเมือง รวมทง้ั ความอยูร่ อดของชาตดิ ้วย ดังน้ันจึงเป็นท่ีเข้าใจว่า หากระบบกฎหมายไทยได้รับการปรับปรุงให้ได้ระดับมาตรฐานของกฎหมาย ฝ่ายตะวันตกแล้ว บรรดาประเทศตะวันตกซ่ึงสงวนสิทธิสภาพนอกอาณาเขตไว้ในราชอาณาจักรสยามตาม สนธิสัญญาก็จะยินยอมยกเลิกสิทธิดังกล่าว ประเทศสยามจะได้รับเอกราชทางการศาลกลับคืนมา ปัญหาเร่ือง สิทธิสภาพนอกอาณาเขตจึงเป็นสาเหตุสำคัญประการหน่ึงที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเร่งรัดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงกฎหมายไทยให้ทัดเทียมนานาประเทศรวดเร็วย่ิงข้ึน เน่ืองจากในขณะนั้น ญี่ปนุ่ เป็นประเทศแรกท่ีไดจ้ ดั การปรับปรงุ ระบบกฎหมายของตนตามแบบตะวนั ตกจนสามารถยกเลิกสิทธิสภาพ นอกอาณาเขตไดส้ ำเร็จ สว่ นอิหรา่ นและจนี กก็ ำลงั ดำเนนิ การอยู่ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั ทรงมีพระราชประสงค์อย่างแรงกลา้ ที่จะพระราชทานสนั ตสิ ุข และดับทุกข์เข็ญให้แก่พสกนิกรของพระองค์ การที่จะบรรลุถึงพระราชปรารถนานั้นคือการปรับปรุงระบบการ ศาลยุติธรรมของไทยซึ่งมีความสำคัญอย่างย่ิงของการบริหารราชการแผ่นดิน ดังพระราชปรารภในหิรัญบัฏ “ศาลสถิตยุตธิ รรม” เมือ่ พ.ศ. ๒๔๒๔ ความว่า ...ในการทั้งปวงเหล่าน้ีการยุติธรรมอันเดียวเปนการที่สำคัญย่ิงใหญ่เป็นหลัก ประธานการชำระตัดสินความทุกโรงศาล เปนเคร่ืองประกอบรักษาให้ความยุติธรรมเปนไป ถ้าจัดได้ดีข้ึนเพียงใดประโยชน์ความศุขของราษฎรก็จะเจริญย่ิงขึ้นเท่าน้ัน เพราะฉะนั้น จึงได้ทรงพระอุตส่าหไต่สวนในพระราชกำหนดกฎหมายเก่าใหม่ แลการท่ีลูกขุนตระลาการ ได้กระทำแต่ก่อนๆ สืบมาจนทุกวันน้ี จนทราบแจ้งตลอดด้วยมหันตพริยญาณ แล้วทรง พระราชพินิจฉัยสอบด้วยกฎหมายอย่างธรรมเนียมในประเทศท่ีใหญ่ทั้งปวง ที่ในทุกวันนี้ ฦๅชาปรากฏกนั วา่ ราษฎรไดค้ วามศุขเปนอย่างยงิ่ นั้นๆ โดยลเอยี ดตลอดแล้ว... 204

สนามสถติ ย์ยุตธิ รรม (ศาลสถติ ยุตธิ รรม) ใกลส้ นามหลวง พระราชปรารภน้ีเป็นสักขีพยานแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้านรัฐประศาสโนบายเกี่ยวกับการศาล พระองค์ทรงประกาศใช้หลักนิติธรรมในการ บรหิ ารราชการแผน่ ดนิ ทส่ี อดคล้องกับธรรมเนียมนยิ มและมาตรฐานของนานาประเทศในสมัยน้นั ซ่งึ ในปัจจบุ ัน ถือวา่ เปน็ รากแกว้ ของระบอบประชาธปิ ไตยอยา่ งแทจ้ ริง การจดั ระบบกฎหมายและการศาลใหม่ เจ้าพระยาอภัยราชา (โรลงั ยคั แมงส)์ ที่ปรึกษาราชการท่ัวไปคนแรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนากระทรวงยตุ ิธรรมเมื่อวนั ที่ ๒๕ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๓๔ เพื่อจัดวางระบบการศาลยุติธรรม เสียใหม่ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันท่ัวทั้งพระราช- อาณาจักร และอยู่ภายใต้กระทรวงยุติธรรมเพียง แหง่ เดียว เสนาบดพี ระองค์แรกของกระทรวงยุติธรรม คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตน- วิศษิ ฎ์ ในระยะแรกของการปรับปรุงระบบกฎหมาย ปญั หาสำคญั ทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงประสบคือการขาดแคลนผู้ที่มีความสามารถ และเข้าใจระบบกฎหมายแบบตะวันตก พระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้จ้างผู้เช่ียวชาญทางกฎหมายตะวันตก 205

จำนวนมากมาทำงานในหน้าที่คณะกรรมการร่างประมวลกฎหมาย และเป็นท่ีปรึกษากฎหมาย นักกฎหมาย ชาวต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูประบบกฎหมายไทย ได้แก่ นายโรลัง ยัคแมงส์ (Rolin Jacquemyns) หรือเจา้ พระยาอภยั ราชา ชาวเบลเยยี ม นายโตกจิ ิ มาซาโอะ (Tokichi Masao) หรือพระยามหิธร ชาวญป่ี ่นุ นายวลิ เลียม อลั เฟรด ติลเลเก (William Alfred Tilleke) หรือพระยาอรรถการประสิทธ์ิ ชาวลังกา นายยอร์จ ปาดู (George Padoux) ชาวฝรั่งเศส และนายเรอเน กยี อง (Rene´ Guyon) ชาวฝร่ังเศส พระเจ้าลกู ยาเธอ พระองคเ์ จา้ รพพี ฒั นศักด ์ิ เมอ่ื พระเจา้ ลกู ยาเธอ กรมหมนื่ ราชบรุ ดี เิ รกฤทธิ์ กรมหมื่นราชบรุ ดี เิ รกฤทธ์ิ “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงยุติธรรม (พ.ศ. ๒๔๓๙ - ๒๔๕๓) พระองค์ ทรงได้รับมอบหมายให้เป็นประธานในการชำระสะสาง พระราชกำหนดกฎหมายใหม่ทั้งหมด พระองค์ทรง มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูประบบกฎหมายและ การศาล ทรงนำความเจรญิ กา้ วหนา้ มาสวู่ งการศาลและ กฎหมายไทยเปน็ อยา่ งมาก นายวอลเตอร์ เอ. เกรแฮม (Walter A. Graham) ชาวอังกฤษได้กลา่ วว่า ราชการ กระทรวงยุติธรรมในสมัยน้ันบริสุทธ์ิและยุติธรรม อย่างที่ประเทศไทยไม่เคยมีมาก่อน ผู้พิพากษาไทย ในยุคนั้นอาจเปรียบเทียบกับผู้พิพากษาของประเทศ ต่างๆ ในภาคพน้ื ยโุ รป โดยตอนปลายรชั สมยั พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงยุติธรรม “เปรียบประดุจดวงดาวที่สุกสกาวเรืองรัศมีดวงหนึ่ง ในวงการบรหิ ารราชการแผน่ ดนิ ไทย” ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้มกี ารยกเลกิ วิธพี ิจารณาโจรผรู้ ้ายแบบจารีตนครบาล และดำเนินการเปล่ียนระบบ กฎหมายเป็นแบบตะวันตก ในปีถัดมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการ แตง่ ตงั้ คณะกรรมการตรวจชำระและรา่ งประมวลกฎหมายขน้ึ เปน็ คณะแรก มพี ระเจา้ ลกู ยาเธอ กรมหมนื่ ราชบรุ -ี ดิเรกฤทธ์ิเป็นประธาน ส่วนกรรมการนั้นมีทั้งนักกฎหมายชาวไทยและท่ีปรึกษากฎหมายชาวต่างประเทศ คณะกรรมการเห็นควรให้ใช้ระบบประมวลกฎหมายของประเทศต่างๆ ในภาคพ้ืนยุโรป ซ่ึงมีกฎหมายโรมัน เป็นหลักและมีการจัดแบ่งหมวดหมู่ของกฎหมายอย่างมีระเบียบและเข้าใจง่าย เป็นรากฐานในการพิจารณา เปลี่ยนแปลงระบบกฎหมายของไทยให้ทันสมัย นอกจากนี้ยังมีการร่างกฎหมายลักษณะอาญา แต่ยังตรวจแก ้ ไม่เสร็จ จนกระท่ังใน พ.ศ. ๒๔๔๗ ดร. ยอร์จ ปาดู เข้ารับราชการในตำแหน่งท่ีปรึกษาการร่างกฎหมาย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรรมการชุดใหม่อีกชุดหนึ่งมี ดร. ยอร์จ ปาดู เป็นประธาน คณะกรรมการชุดใหม่นี้ ได้ตรวจชำระร่างกฎหมายลักษณะอาญาท่ีทำไว้แต่เดิมอีกครั้งหน่ึง แล้วนำข้ึนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งคณะกรรมการตรวจชำระคร้ังสุดท้ายโดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวง 206

ดำรงราชานุภาพทรงเป็นประธาน เมื่อเสร็จ เรียบร้อยแล้วก็โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้เป็น กฎหมายเมือ่ วันท่ี ๑ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ก ฎ ห ม า ย ลั ก ษ ณ ะ อ า ญ า ฉ บั บ น ้ี นับเป็นประมวลกฎหมายอาญาที่ทันสมัยย่ิง ในสมัยนั้น เพราะได้นำเอาหลักการแห่ง ก ฎ ห ม า ย อ า ญ า ซ่ึ ง นิ ย ม ใ ช้ กั น อ ยู่ ใ น น า น า ประเทศมาเป็นหลักในการพิจารณาปรับปรุง ก ฎ ห ม า ย ข อ ง ไ ท ย ใ ห้ เ ห ม า ะ ส ม กั บ ส ภ า พ แวดล้อมในบ้านเมืองของเราโดยเฉพาะ หลังจากน้ัน ได้มีการตรวจชำระ แ ล ะ ป รั บ ป รุ ง แ ก้ ไ ข ก ฎ ห ม า ย ไ ท ย อ ย่ า ง กว้างขวาง อาทิ การจัดต้ังคณะกรรมการ ท ำ ห น้ า ท่ี จั ด ร่ า ง ป ร ะ ม ว ล ก ฎ ห ม า ย แ พ่ ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระธรรมนูญศาลยตุ ิธรรม ปกหนังสอื ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาฉบับแรกของไทย ซงึ่ เมอซเิ ออรย์ อรจ์ ปาดู เป็นประธานการร่าง การสถาปนาโรงเรยี นกฎหมาย การปฏริ ปู กฎหมายมไิ ดม้ เี พยี งการแกไ้ ขตวั บทกฎหมายแตอ่ ยา่ งเดยี ว พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความจำเป็นท่ีจะต้องมีการจัดตั้ง “โรงเรียนกฎหมาย” เพ่ือผลิตนักกฎหมายไทย ให้เพียงพอกับความต้องการและเข้าทำงานแทนนักกฎหมายชาวต่างประเทศโดยเร็วที่สุด ประกอบกับเจ้าพระยา อภัยราชา (นายโรลัง ยัคมินส์) ท่ีปรึกษาราชการท่ัวไป ได้กราบบังคมทูลถวายความเห็นว่า ควรจะมกี ารจดั ตง้ั โรงเรยี นกฎหมายเพอื่ ปรบั ปรงุ ระบบกฎหมายและจดั การศาลยตุ ธิ รรมใหด้ ขี นึ้ หลงั จากทพ่ี ระเจา้ ลกู ยาเธอ กรมหมื่น ราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงสำเร็จวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และกลับมาดำรง ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมแล้ว ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมอบหมายให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธ์ิก่อตั้งโรงเรียนกฎหมายข้ึน ทั้งนี้ในหนังสือ 207

“การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช” กล่าวไว้ว่า “...ในข้ันต้นเมื่อครูอื่นยังไม่มีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธ์ิต้องสอนเองจนได้นักเรียนมีความรู้สอบไล่ ไดเ้ ปน็ เนติบัณฑิตเป็นจำนวนน้อยก่อน แลว้ มากขึน้ ๆ เป็นกำลังในราชการยตุ ิธรรมเป็นอนั มาก ตอ่ มากรมหลวง ราชบุรีดิเรกฤทธ์ิทรงเลือกศิษย์ท่ีทรงสอนจนสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตแล้วจัดว่ามีความรู้ดีให้ช่วยสอนกฎหมาย เพิม่ จำนวนครูขึ้นตามขนาดของโรงเรยี นที่ขยายออกไป คร้นั โรงเรียนเตบิ โตมากขน้ึ จนเกินทีจ่ ะทรงดูแลพระองค์ เดียวได้ ก็ทรงจัดให้มีกรรมการฯ ดูแลปกครองและอำนวยการสอนวิชาได้รับความค้ำชูของกระทรวงยุติธรรม ให้กระทำการลลุ ว่ งไป...” เนตบิ ณั ฑิตไทยรนุ่ แรก ร.ศ. ๑๑๖ เนติบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมายได้ทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองในการปรับปรุง ระบบยุติธรรมเป็นอันมาก เช่น ทำหน้าท่ีเป็นผู้พิพากษาตามศาลในกรุงเทพฯ และหัวเมือง เป็นกำลังสำคัญ ในการพิจารณาคดีและบริหารงานของกระทรวงยุติธรรมให้ทันสมัยตามมาตรฐานตะวันตก การสถาปนา โรงเรียนกฎหมายเป็นการวางรากฐานการศึกษาวิชานิติศาสตร์ในประเทศสยามให้ก้าวหน้าสืบมาจนทุกวันนี้ นอกจากนพี้ ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั โปรดเกลา้ ฯ ใหส้ ง่ นกั เรยี นทนุ เลา่ เรยี นหลวง (ทนุ คงิ สกอลาชปิ ) ไปศกึ ษาวชิ ากฎหมายในต่างประเทศเพอ่ื กลับมาชว่ ยงานด้านยุติธรรม 208

คณะเนติบณั ฑิตในรชั สมัยพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อย่หู วั 209

การแก้ไขปญั หาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตน้ รชั สมัยพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัว ประเทศสยามนอกจากจะประสบปัญหาการขยาย อำนาจของประเทศมหาอำนาจตะวันตกแล้ว ยังต้องเผชิญปัญหาเร่ืองสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของประเทศ มหาอำนาจท้ังหลายอีกด้วย ตามสนธิสัญญาที่ไทยทำกับอังกฤษเม่ือ พ.ศ. ๒๓๙๘ และกับฝรั่งเศสเม่ือ พ.ศ. ๒๓๙๙ มีข้อกำหนดให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแต่เฉพาะคดีท่ีเกิดขึ้นในระหว่างชาวอังกฤษหรือ ชาวฝรั่งเศสเท่าน้ัน แต่ประเทศมหาอำนาจท้ังสองได้ตีความเก่ียวกับคนในบังคับให้ขยายครอบคลุมถึงคน ในอาณานิคมและรัฐในอารักขาของตน ทำให้ชาวเอเชียที่มาจากเมอื งข้ึนของอังกฤษและฝร่ังเศสได้รับสิทธิพิเศษ ด้วย อำนาจของรัฐบาลสยามท่ีจะรักษาความสงบเรียบร้อยและความศักด์ิสิทธิ์แห่งตัวบทกฎหมายภายใน ประเทศจึงลดน้อยลง ด้วยเหตุดังกล่าว ชาวจีนซึ่งพำนักอยู่ในประเทศสยามจำนวนมากและไม่มีสิทธิพิเศษ เพราะไม่มีกงสุลของตนเองจึงสมัครเข้าเป็นคนในบังคับของประเทศต่างๆ เพ่ือให้ได้รับสิทธิพิเศษ ไม่ต้องอย ู่ ใตอ้ ำนาจของกฎหมายและศาลไทย รฐั บาลสยามตระหนกั ถงึ ปญั หาการสญู เสยี อธปิ ไตยดา้ นการศาล ประกอบกบั วิธีพิจารณาความของศาลกงสุลแต่ละชาติที่ตั้งข้ึนในประเทศสยามก็มีความแตกต่างกัน ผลก็คือ “...ไม่มีหลัก ประกันให้พอเป็นท่ีเช่ือถือได้เลยว่า ผู้ทำผิดซ่ึงเป็นคนในบังคับของชาติต่างๆ จะได้รับการลงโทษอย่างสมควร กบั ความผดิ ” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาเร่ืองสิทธิสภาพ นอกอาณาเขตและถือเป็นนโยบายต่างประเทศที่สำคัญของไทย พระองค์ทรงยึดแนวทางของญ่ีปุ่นเป็น แบบอย่างเพราะญี่ปุ่นเคยตกอยู่ในสภาพเดียวกับประเทศสยามมาก่อน แต่ก็สามารถยกเลิกสิทธิสภาพ นอกอาณาเขตได้ในระยะเวลาอันสั้น การแก้ไขใช้วิธีการท้ังทางตรงและทางอ้อม ทางตรงคือ เปิดการเจรจา กับชาติท่ีได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และทางอ้อมคือ การเร่งปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน จ้าง ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายชาติต่างๆ มาปรับปรุงระบบการศาลและจัดร่างประมวลกฎหมายแบบสากลให้เป็นท่ี ยอมรับของประเทศตะวันตก พระองค์ทรงวางรากฐานเพ่ือกู้เอกราชทางการศาลคืนมาด้วยพระปรีชาญาณ อนั สขุ ุม และทรงเริม่ ขจัดสิทธสิ ภาพนอกอาณาเขตของคนตา่ งประเทศให้ลดนอ้ ยลงเปน็ ลำดบั การเจรจายกเลิกสทิ ธสิ ภาพนอกอาณาเขตกบั ประเทศอังกฤษและฝร่งั เศส รัฐบาลสยามได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยได้รับความ รว่ มมอื จากองั กฤษในการผ่อนคลายสิทธสิ ภาพนอกอาณาเขตในภาคเหนือของไทย ใน พ.ศ. ๒๔๑๗ ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาเชียงใหม่ระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับรัฐบาลสยาม อันเป็นผลมาจากปัญหาโจรผู้ร้ายและกรณีพิพาทระหว่างคนในบังคับอังกฤษกับเจ้าหลวงเชียงใหม่ในเรื่องป่าไม้ อังกฤษห่วงใยความปลอดภัยของคนในบังคับอังกฤษในภาคเหนือ จึงมีการเจรจาระหว่างอังกฤษกับไทยซ่ึงนำ ไปส่สู นธิสญั ญาเชยี งใหม่ ตามมาตรา ๒ ในสนธสิ ญั ญาฉบบั น้ี มขี อ้ ความสำคัญว่า ...ถ้าผู้หน่ึงผู้ใดมีหนังสือเดินทางตามสัญญาข้อ ๔ ฤๅไม่มีหนังสือเดินทาง เปนโจร ผู้ร้ายในเขตรแดนอังกฤษ เขตรแดนสยาม ถ้าจับตัวผู้ร้ายได้ ไม่ต้องถามว่าเปนคนชาติของ ผใู้ ด ตอ้ งชำระตดั สนิ ทำโทษตามกฎหมายบา้ นเมอื งนั้น... 210

นับเป็นครั้งแรกท่ีอังกฤษให้ความร่วมมือกับไทยในการผ่อนคลายปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต โดยยอมให้คนในบังคับของตนที่อยู่ในเชียงใหม่ ลำพูน และลำปางขึ้นศาลไทยเม่ือกระทำผิดฐานปล้นสะดม ไม่ว่าผู้น้ันจะมีหนังสือเดินทางหรือไม่ก็ตาม สนธิสัญญาฉบับนี้จึงเป็นก้าวแรกในกระบวนการยกเลิกสิทธิสภาพ นอกอาณาเขตในราชอาณาจกั รสยามขององั กฤษ อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาเชียงใหม่ก็ยังมีข้อบกพร่องเพราะตามมาตรา ๕ ของสนธิสัญญาได้ระบุว่า ถา้ คนในบังคับอังกฤษทำความผิดในคดีแพง่ และผู้กระทำผดิ มีหนงั สอื เดนิ ทาง ผู้พพิ ากษาหรือศาลไทยจะทำการ ไต่สวนและพิจารณาตัดสินคดีได้ต่อเมื่อจำเลยยินยอม มิฉะน้ันจะต้องส่งเร่ืองราวฟ้องร้องต่อกงสุลอังกฤษ ท่ีกรุงเทพฯ หรือให้เจ้าหน้าที่อังกฤษในพม่าเป็นผู้ตัดสินคดี ดังน้ันหากคนในบังคับอังกฤษไม่ยอมข้ึนศาลไทย เมื่อเกิดคดีขึ้น ผู้มีส่วนเก่ียวข้องในคดีก็ต้องเสียเวลาเดินทางมาท่ีกรุงเทพฯ หรือเดินทางย้อนกลับไปท่ีพม่าอีก ไทยและอังกฤษจึงเปิดการเจรจากันใหม่อีกครั้งหนึ่งเพ่ือแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว นำไปสู่การลงนามในสนธิ สัญญาเชียงใหม่ฉบับที่ ๒ ที่กรุงเทพฯ เม่ือวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๖ สาระสำคัญคือ ไทยยินยอมให้ รัฐบาลอังกฤษแต่งตั้งกงสุลหรือรองกงสุลไปประจำท่ีเชียงใหม่เป็นคร้ังแรก และมีการต้ังศาลผสมที่เรียกว่า “ศาลต่างประเทศ หรือศาลระหว่างประเทศ” (International Court) ซ่ึงประกอบด้วยผู้พิพากษาคนไทย และกงสุลอังกฤษพิจารณาคดีร่วมกันในคดีแพ่งและอาญาท่ีคนอังกฤษหรือคนในบังคับอังกฤษเป็นคู่ความ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน แต่สนธิสัญญายังเปิดช่องให้กงสุลอังกฤษมีสิทธิที่จะถอนคดีจาก ศาลต่างประเทศไปพจิ ารณาเองได้ การพิจารณาคดคี วามในศาลระหว่างประเทศ 211

การดำเนินงานดา้ นการศาลตามสนธสิ ญั ญาเชียงใหม่ฉบับ พ.ศ. ๒๔๒๖ ไดร้ ับผลดี ใน พ.ศ. ๒๔๒๘ จึงมีการขยายขอบเขตอำนาจในการตัดสินคดีของศาลต่างประเทศไปยังจังหวัดน่านและแพร่ และใน พ.ศ. ๒๔๓๙ ไดข้ ยายตอ่ ไปยงั เมืองเถิน ระแหง สวรรคโลก สุโขทยั อุตรดิตถ์ และพิชัย ขา้ ราชการประจำศาลระหวา่ งประเทศ ต่อมาในวนั ที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๒ รัฐบาลองั กฤษและรัฐบาลสยามได้ลงนามใน “สญั ญาว่า ด้วยการจดบาญชีคนในบังคับอังกฤษในกรุงสยาม” โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะจำกัดสิทธิของชาวเอเชียในการ ลงทะเบียนเป็นคนในบังคบั อังกฤษ กล่าวคือ ต้งั แตม่ ีการลงนามดังกล่าวแลว้ ลูกของคนในบังคบั อังกฤษซ่ึงเป็น ชาวเอเชียมีสิทธิลงทะเบียนเป็นคนในบังคับอังกฤษได้ แต่รุ่นหลานลงไปจะต้องขึ้นศาลไทยและปฏิบัติตาม กฎหมายไทย 212

สว่ นฝรั่งเศสน้ัน หลังวกิ ฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ นายเอด็ เวริ ด์ สโตรเบล (พ.ศ. ๒๔๓๖) ไทยต้องยกดินแดนลาวบนฝ่ังซ้าย ทป่ี รึกษาราชการทว่ั ไป คนท่ี ๒ ของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจึงขยายสิทธิสภาพ นอกอาณาเขตไปสู่ชาวลาวอย่างกว้างขวาง ทำให้ จำนวนคนในบังคับฝรั่งเศสทวีข้ึนอย่างรวดเร็ว รัฐบาลสยามพยายามเจรจากับรัฐบาลฝรั่งเศสเพื่อ หาทางผ่อนคลายสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกับฝร่ังเศส แต่ฝรั่งเศสได้เรียกร้องดินแดนและผลประโยชน์ ทางการเมืองจากไทยเป็นการตอบแทน ในท่ีสุดด้วย ความอุตสาหะวิริยะและความสามารถของพระเจ้า น้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ พระยา สุริยานุวัตร อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส และ นายเอ็ดเวิร์ด สโตรเบล (Edward Strobel) ชาวอเมริกันซึ่งเป็นท่ีปรึกษาราชการทั่วไปในขณะน้ัน รัฐบาลสยามสามารถทำอนุสัญญากับฝร่ังเศสฉบับ วนั ที่ ๑๓ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๖ อนุสัญญาฉบบั น้ี จำกัดสิทธิในการลงทะเบียนคนในบังคับฝรั่งเศส เช่นเดียวกับสนธิสัญญาท่ีไทยทำกับอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ส่วนท่ีเกี่ยวกับอำนาจการตัดสินคดีน้ัน ถ้าจำเลยเป็นคนในบังคับฝร่ังเศส ศาลกงสุลฝรั่งเศส เป็นผู้ตัดสินคดี ยกเว้นคนในบังคับฝรั่งเศสซึ่งพำนัก อยใู่ นจังหวดั เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และน่าน ตอ้ งขึ้น ศาลตา่ งประเทศ ฝา่ ยไทยไดร้ บั ประโยชนจ์ ากอนสุ ญั ญาฉบบั นไ้ี มม่ ากนกั และตอ้ งสญู เสยี ดนิ แดนบนฝงั่ ขวาของแมน่ ำ้ โขง ให้ฝรั่งเศสเป็นข้อแลกเปลี่ยน ได้แก่ ดินแดนตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง เมืองจำปาศักดิ์ และเมืองมโนไพร ในการนี้ฝรั่งเศสได้ถอนทหารออกจากเมืองจันทบุรีซึ่งได้ยึดไว้ต้ังแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ แต่กลับยึดครองเมืองตราด ไว้แทนโดยรบั รองว่าถา้ ไทยปฏบิ ตั ติ ามอนุสญั ญา พ.ศ. ๒๔๔๖ ครบถว้ นกจ็ ะถอนตวั ออกจากเมอื งตราดทนั ที ต่อมาเดนมาร์กและอิตาลี ได้ลงนามในอนุสัญญา พ.ศ. ๒๔๔๘ กับรัฐบาลสยามเพื่อผ่อนคลาย สทิ ธสิ ภาพนอกอาณาเขต โดยยดึ อนุสญั ญาไทย - ฝรงั่ เศส พ.ศ. ๒๔๔๖ เป็นแบบฉบับ อยา่ งไรกต็ าม การทฝี่ รงั่ เศสเขา้ ยดึ ครองเมอื งตราดและดา่ นซา้ ยในจงั หวดั เลยนนั้ ไดส้ รา้ งความกงั วลใจ ให้แก่รัฐบาลสยามมากในแง่ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ในขณะเดียวกันฝ่ายไทยก็ตระหนักดีว่า ฝร่ังเศสตอ้ งการครอบครองมณฑลบรู พา คอื พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณมาก ฝรง่ั เศสเปิดการเจรจา กับไทยใหม่โดยจะขอพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณจากไทยเพ่ือแลกเปลี่ยนกับการยกเลิกจดทะเบียน 213

คนในบงั คับ การเจรจาจึงเร่ิมข้ึนโดยนายสโตรเบลเป็นผู้แทนฝ่ายไทย ในที่สุดรัฐบาลสยามได้ลงนามในสนธิ สัญญาฉบับวันท่ี ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ กับฝรั่งเศสซึ่งยินยอมผ่อนคลายสิทธิสภาพนอกอาณาเขตลง และให้ชาวเอเชียท่ีจดทะเบียนเป็นคนในบังคับฝรั่งเศสท้ังก่อนและหลังสนธิสัญญาฉบับนี้มีสิทธิและหน้าท่ีเหมือน คนไทย แต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับราชการทหาร ในการน้ี ไทยต้องยกมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศส ส่วนฝรั่งเศส กย็ นิ ยอมคนื ตราดและดา่ นซ้ายให้ไทย การเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับอังกฤษ ครั้งสุดท้ายในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัว สืบเนื่องมาจากความปรารถนาของไทย ที่ต้องการยกเลิกข้อตกลงลับไทย - อังกฤษ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๔๐* และการขอกู้เงินจากอังกฤษมาสร้าง ทางรถไฟ การเจรจาครง้ั นน้ี ายเอด็ เวริ ด์ สโตรเบล และ นายเจนส์ ไอ. เวสเตนการ์ด (Jens I. Westengard) เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในที่สุดได้มีการลงนามใน สนธสิ ัญญาไทย - อังกฤษ ฉบบั วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ (นับตามปฏิทินแบบเก่าของไทยโดยระบบ สากลตรงกับ ค.ศ. ๑๙๐๙) มีสาระสำคัญคือ ไทย ต้องยกดินแดนกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิศ ให้อังกฤษ ฝ่ายอังกฤษยอมยกเลิกข้อตกลงลับฉบับ พ.ศ. ๒๔๔๐ และยินยอมให้สหพันธรัฐมลายูให้ไทย กู้เงินสร้างทางรถไฟสายใต้เป็นเงิน ๔ ล้านปอนด์ สเตอลิงโดยคดิ ดอกเบ้ียในอัตราร้อยละ ๔ นอกจากนี้ พระยากลั ยาณไมตรี (นายเจนส์ ไอ. เวสเตนการด์ ) อังกฤษยังยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและ ท่ีปรกึ ษาราชการท่ัวไปคนสดุ ทา้ ย อำนาจศาลกงสุลในประเทศสยามให้คนในบังคับ อังกฤษท้ังที่เป็นชาวอังกฤษโดยกำเนิดและชาวเอเชีย ซ่ึงลงทะเบียนเป็นคนในบังคับอังกฤษก่อนวันท่ีลงนามในสนธิสัญญานี้ข้ึนศาลต่างประเทศ แต่จะข้ึนศาลไทย เมื่อรฐั บาลสยามประกาศใชป้ ระมวลกฎหมายแบบสากลโดยสมบรู ณ์แล้ว —————————————————————— * สนธิสัญญาฉบับน้ีเรียกว่า ข้อตกลงลับ (The Secret Convention) ระหว่างไทยกับอังกฤษ ลงนามเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐ มีใจความสำคัญว่า ประเทศสยามสัญญาจะไม่ยอมให้ชาติหน่ึงชาติใดเช่าซื้อหรือถือกรรมสิทธิ์เหนือ ดินแดนไทยต้ังแต่ใต้ตำบลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ต่อลงไป โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอังกฤษก่อนเป็น ลายลกั ษณอ์ กั ษร เพอื่ เปน็ การตอบแทน รฐั บาลองั กฤษตกลงจะใหค้ วามคมุ้ ครองทางทหารแกไ่ ทยในกรณที ถ่ี กู รกุ รานจากชาตอิ นื่ 214

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัยเสียสละดินแดนไทยบางส่วนให้แก่ประเทศ มหาอำนาจทั้งสอง เพ่ือให้ประเทศสยามรอดพ้นจากอำนาจของลัทธิจักรวรรดินยิ ม การสญู เสยี ดนิ แดนดงั กล่าว สร้างความโทมนัสให้แก่พระพุทธเจ้าหลวงของปวงชนชาวไทยอย่างใหญ่หลวง เพราะพระองค์ทรงรักและผูกพัน ต่อราษฎรในดินแดนเหล่านั้น แต่ด้วยความจำเป็นสูงสุดในการผดุงรักษาเอกราชของชาติ และเพ่ือเรียกร้อง อธิปไตยทางการศาลคืนมาบางส่วน จึงต้องกล้ำกลืนยอมรับความเสียเปรียบดังกล่าว อย่างไรก็ตาม แม้จะ เป็นการสูญเสียท่ีใหญ่หลวงเหลือคณา แต่ก็ทำให้รัฐบาลสยามสามารถแก้ปัญหาเร่ืองสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ท่ีเป็นอันตรายใหญ่ย่ิง เพราะเป็นปัญหาที่บั่นทอนอำนาจการบริหารปกครองประเทศของสยามอย่างยาวนาน เปรียบเสมือนไฟท่ีลุกลามและขยายการเผาผลาญออกไปอย่างกว้างขวางเกินกว่าจะดับได้หมดส้ิน การแก้ปัญหา ในครงั้ นจ้ี งึ เปน็ การดบั ไฟทกี่ ำลงั เผาผลาญลกุ ลามประเทศชาติ ขณะเดยี วกนั การเจรจาตอ่ รองทางการทตู ในครง้ั นี้ ก็ถือได้เป็นชัยชนะทางการทูตท่ียิ่งใหญ่เพราะเป็นการเรียกเกียรติภูมิของชาติกลับคืนมาและได้รับความเชื่อถือ ในด้านการยตุ ธิ รรมจากประเทศมหาอำนาจทั้งปวง ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กอปรด้วยความสามารถของ พระบรมวงศานุวงศ์พร้อมด้วยเหล่าข้าราชการรวมท้ังที่ปรึกษาราชการแผ่นดินชาวต่างประเทศ และด้วย โชคชะตาของบ้านเมืองในคร้ังน้ัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสามารถพารัฐนาวาไทย ฝ่าคล่ืนลมและภยันตรายจากต่างชาติมาได้โดยตลอดและปลอดภัย โดยเฉพาะการปฏิรูประบบกฎหมายและ การศาลยุติธรรม เป็นการขจัดทุกข์ท่ีไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเคยได้รับจากกระบวนการยุติธรรมมาแต่ก่อน และ พระราชอุตสาหะและวิริยะของพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหม่ืนราชบุรีดิเรกฤทธิ์ก็ทำให้กฎหมายและสถาบันศาล สถิตยุติธรรมของไทยเข้าสู่มาตรฐานสากล จนเป็นที่รับรองของนานาอารยประเทศ การท้ังหมดนี้มีผลอย่าง ใหญ่หลวงเสมือนหนึ่งเป็นการแผ้วถางทางและวางรากแก้วอันมั่นคงให้ประเทศสยามได้รับเอกราชทางการศาล คนื มาอย่างสมบรู ณใ์ นเวลาตอ่ มา 215



๑๐ กำเนิดทหารอาชพี ...การปกครองอาณาจักรทั่วทุกประเทศ จำต้องมีกำลังพลทหารไว้สำหรับ ป้องกันข้าศึกศัตรูที่จะพึงมีมาท้ังภายในและภายนอก เพราะฉะน้ันทั่วทุกประเทศย่อม ต้องจัดการทำนุบำรุงกำลังทหารของประเทศน้ันๆ โดยวิธีการอันสมควรแก่ภูมิประเทศ ท่วั กันต้ังแต่โบราณสมัยสบื มาจนตราบเท่าทกุ วนั น้.ี .. (พระราชปรารภในพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั ในพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร รตั นโกสนิ ทรศก ๑๒๔) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นช่วงที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะอันตรายจาก ภัยคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก พระองค์จึงต้องดำเนินพระบรมราโชบายด้วยพระปรีชาญาณ อันสุขุมคัมภีรภาพ ด้วยการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ในการป้องกันประเทศ พระองค์ทรงนำประสบการณ์ จากการเสด็จไปทอดพระเนตรกิจการทหารที่ชาวยุโรปวางระเบียบปฏิบัติไว้ในสิงคโปร์ ปัตตาเวีย ชวา และอินเดียมาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมกับประเทศสยาม ก่อให้เกิดการเปล่ียนแปลงใหม่ๆ ในกองทัพไทย เช่น มีการจัดต้ังกรมยุทธนาธิการซ่ึงต่อมาคือกระทรวงกลาโหม การส่งพระราชโอรสไปศึกษาวิชาการทหาร ในทวีปยุโรป การจัดแบ่งหน่วยทหารในกองทัพเป็นทหารบกและทหารเรือ การปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ การแกไ้ ขวธิ ีเกณฑ์คนมาเป็นทหาร กระทั่งสามารถสร้างกองทัพสมัยใหมแ่ บบตะวนั ตก ระบบการทหารแบบโบราณ การปกครองบ้านเมืองแต่โบราณจำเป็นต้องมีกำลังทหารไว้ป้องกันข้าศึกศัตรูท้ังภายในและภายนอก ประเทศ กำลังคนจึงมีความสำคัญต่อกิจการท้ังฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน เม่ือรบชนะบ้านเมืองใดจึงมีการ กวาดต้อนครัวเรือนของผู้แพ้มาเป็นเชลยเพื่อเป็นกำลังของแผ่นดินต่อไป ระเบียบประเพณีโบราณกำหนดว่า ในยามสงบพลเมืองทุกคนเป็นพลเรือน แต่ในยามท่ีบ้านเมืองมีศึกสงครามชายฉกรรจ์ท้ังหลายต้องถูกเกณฑ์ เปน็ ทหารทำหนา้ ท่ีสรู้ บกับขา้ ศึกศตั รเู พ่ือป้องกนั ประเทศ 217

ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑) มีการตราพระไอยการตำแหนง่ นาทหาร และตำแหน่งนาพลเรือนข้ึนใน พ.ศ. ๑๙๙๘ แยกราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกันเป็นครั้งแรก โดยให้สมุหนายกเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาฝ่ายพลเรือน และสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาฝ่ายทหาร อย่างไรก็ตาม เม่ือเกิดศึกสงคราม ทุกฝ่ายก็ต้องเป็นทหารไปทำสงครามเหมือนกันหมด ต่อมาในสมัยอยุธยา ตอนปลายมีการปรับเปล่ียนให้สมุหนายกดูแลบังคับบัญชาทหารในภาคเหนือ สมุหพระกลาโหมดูแลบังคับ บัญชาทหารในภาคใต้ และเจ้าพระยาพระคลังดูแลบังคับบัญชาทหารในหัวเมืองชายทะเลตะวันออก จนกระทั่ง ถึงในสมยั รตั นโกสินทร ์ การเกณฑแ์ รงงานไพรพ่ ลเป็นทหารในสมยั กอ่ นเป็นการเกณฑต์ ามวธิ เี กณฑเ์ ลกอยา่ งโบราณ กลา่ วคือ ราษฎรชายเมอ่ื อายถุ งึ วยั ฉกรรจ์ คืออายรุ ะหว่าง ๑๘ - ๖๐ ปี ตอ้ งขึน้ ทะเบยี นทก่ี รมพระสรุ สั วดเี ป็นไพร่หลวง ไพร่เหล่านี้จะถูกเจ้าพนักงานสักท่ีท้องมือเพ่ือแสดงว่าอยู่สังกัดกรมกองใด ไพร่ที่ข้ึนทะเบียนนี้เรียกว่า “เลก” อยู่ภายใต้การควบคมุ ของมูลนายประจำกรม แตล่ ะกรมมเี จ้ากรม ปลดั กรม และสมุหบ์ ัญชี เปน็ ผู้บังคบั บัญชา รองลงมามีนายกองและนายหมวด ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามถิ่นท่ีไพร่พลต้ังถิ่นฐาน ทำหน้าที่ดูแลและเกณฑ์คนไป รบั ราชการ นอกจากราษฎรไทยแล้ว ในสมัยอยุธยายังมีชาวต่างชาติเข้ามาประจำอยู่ในกองอาสาต่างชาติ ทหาร อาสาต่างชาติมีท้ังชาวตะวันตก ชาวเอเชีย และชนชาติเพื่อนบ้านท่ีอพยพเข้ามาพ่ึงพระบรมโพธิสมภาร ได้แก่ ชาวโปรตุเกส ชาวฮอลันดา ชาวฝรั่งเศส ชาวญี่ปุ่น ชาวจาม ชาวญวน และชาวมอญ กองอาสาต่างชาติท่ีเป็น ชาวตะวนั ตกเป็นผู้ทมี่ คี วามชำนาญในการใชอ้ าวุธใหมๆ่ ตามแบบตะวันตก เชน่ ชาวโปรตเุ กสได้นำการใชป้ นื ไฟ และวิชาการทหารอย่างฝรั่งมาเผยแพร่ในกองทัพไทย ชาวฝร่ังเศสได้มาช่วยสร้างป้อมแบบตะวันตกท่ีเมือง ลพบุรี บางกอก และมะรดิ พรอ้ มทงั้ นำเอาระเบิดและเครอื่ งยงิ ระเบิดเขา้ มา รวมทง้ั ชว่ ยฝึกทหารให้ไทย นับว่า กองอาสาต่างชาติมีส่วนช่วยพัฒนากองทัพไทยและเป็นกำลังเสริมให้กองทัพไทย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไทยมีความรู้สึกไม่ไว้วางใจชาวตะวันตก ในปลายสมัยอยุธยากองอาสาต่างชาต ิ ได้ซบเซาลง การฝึกหัดทหาร กระบวนอาวุธทหารยุคใหม่เริ่มมาต้ังแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า- นภาลัย ซ่ึงมีการส่ังซ้ืออาวุธแบบตะวนั ตกจำนวนมากและจดั ทหารอย่างฝรงั่ ที่เรียกวา่ “ทหารซีปา่ ย” หรือซปี อย (Sepoy) ของจักรวรรดิอังกฤษ เมื่อจอห์น ครอเฟิร์ด (John Crawfurd) ทูตอังกฤษเข้ามาเจรจาทำสัญญา การพาณิชย์กับประเทศสยามในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครอเฟิร์ดได้นำทหาร ซีปอย จำนวน ๓๐ คนเข้ามาในกรุงเทพฯ ด้วย นับเป็นครั้งแรกท่ีราชสำนักสยามได้เห็นกองทหารพื้นเมือง ที่ฝึกหัดแบบตะวันตกและแต่งกายรัดกุมทะมัดทะแมง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดเกล้าฯ ใหม้ กี ารฝกึ ทหารรกั ษาพระองคต์ ามแบบฝรงั่ โดยใชเ้ ครอื่ งแบบซงึ่ ครอเฟริ ด์ นำมาถวายจำนวน ๑๒ ชดุ ทำหนา้ ท่ี รักษาพระราชฐานจนถึงสมัยพระบาทสมเดจ็ พระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว เม่ือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๙๔ พระราชกิจแรกท ่ี ทรงกระทำคือ การต้ังสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์เป็นสมุหพระกลาโหม และปรับปรุงกองทัพโดย จัดตง้ั “กรมทหารหนา้ ” กองทหารซีปอยมีการฝกึ หัดทหารที่เรยี กว่า “ทหารอย่างยโุ รป” สำหรับเป็นกองทหาร 218

รักษาพระองค์คอยติดตามเสด็จพระมหากษัตริย์และเข้ากระบวนแห่ในงานพระราชพิธี วิธีเกณฑ์คนมาฝึกหัด เป็นทหารในสมัยนี้ คือ เกณฑ์ไพร่หลวงมาฝึกหัดทหารราบแบบอังกฤษ เม่ือกำหนดว่าจะเอาคนในสังกัด กรมใดมาเป็นทหารก็ระดมคนในกรมน้ันๆ มาคัดเลือก แล้วให้ฝึกหัดอาวุธแบบใหม่โดยมีอาวุธปืนประจำการ การบงั คบั บัญชาในหนว่ ยกองทหารหนา้ จัดแบง่ เป็นกองร้อย หมวด และหมู่ มีนายร้อยและนายสิบบังคบั บญั ชา นอกจากนี้ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ใหส้ ร้างโรงทหารข้นึ สำหรับรกั ษาการณเ์ ม่อื ตอ้ ง ผลดั เปลยี่ นเวรรักษาพระราชฐาน ในการฝึกหัดทหาร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงว่าจ้างนายทหารอังกฤษจากอินเดีย คือ ร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) และร้อยเอกน๊อกซ์ (Knox) เป็นครูฝึกทั้งทหารของวังหลวงและวังหน้า ซึ่งได้แก่ กองรกั ษาพระองคอ์ ยา่ งยโุ รป กองทหารหนา้ กองปนื ใหญอ่ าสาญวน กองทหารเกณฑห์ ดั ซง่ึ ขนึ้ กบั กองทหารหนา้ การฝกึ อยใู่ นวงแคบเฉพาะทหารรกั ษาพระองค์ สว่ นทหารทท่ี ำหนา้ ทป่ี อ้ งกนั ประเทศยงั คงใชร้ ะบบเกา่ อยา่ งไรกต็ าม การฝึกทหารแบบตะวันตกในขณะน้ันขาดความต่อเน่ือง จึงไม่สามารถพัฒนากองทัพประจำการสมัยใหม่ ประกอบกับการเกณฑ์คนมาฝึกทหารมีอุปสรรคเพราะคนส่วนใหญ่ไม่ต้องการเป็นทหาร เนื่องจากผู้ท่ีถูกเกณฑ์ มาเป็นทหารต้องฝึกอาวุธอย่างหนักเพ่ือให้มีความชำนาญในการใช้อาวุธ ฝึกหัดการยืนยาม และอยู่ในระเบียบ วินัยอย่างเคร่งครัด จึงมีความรู้สึกว่าตนทำงานหนักกว่าไพร่หลวงที่มารับราชการฝ่ายพลเรือน คนเหล่าน ้ี จงึ กลวั ทจ่ี ะตอ้ งเปน็ ทหาร จะหลบหลกี โดยขอเสยี เงนิ คา่ ราชการแทนกไ็ มไ่ ด้ แมว้ า่ ในระหวา่ งการฝกึ ทหารจะไดร้ บั พระราชทานเบ้ียเลี้ยงและเงนิ เดือนจากทางราชการกต็ าม การปฏิรูปการทหารในรัชสมยั พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยูห่ วั รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสมัยที่สยามเปิดรับความเจริญจากตะวันตก อยา่ งเตม็ ท่ี การบรหิ ารราชการแผน่ ดนิ ไดร้ บั การปรบั ปรงุ ใหท้ นั สมยั ตามแบบแผนตะวนั ตก รวมทง้ั กจิ การทหาร ท่ีต้องจัดการให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพยิ่งข้ึน จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจา้ อยหู่ ัวท่ีทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผน่ ดนิ ทรงให้รายละเอยี ดเก่ียวกบั สภาพการณ์ของ ราชการทหารก่อนทจ่ี ะมีการปฏิรูปว่ามีหลายรปู แบบ ดงั น้ี ๑. กรมท่ีมีราชการเป็นทหาร ขึ้นอยู่กับฝ่ายทหาร ได้แก่ กรมอาสาแปดเหล่า (อาสาใหญ่ซ้ายขวา อาสารองซ้ายขวา เขนทองซ้ายขวา ทวนทองซ้ายขวา) ท้ังแปดกรมนี้เป็นทหารหน้า สำหรับรักษาพระนครและ พระราชอาณาเขต จะปฏิบัติงานเฉพาะเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกนอกพระราชวังที่ต้องจุกช่องล้อมวง ตามรายทาง นอกนนั้ กไ็ มม่ รี าชการอนั ใด และไมไ่ ดร้ บั ผลประโยชนใ์ ด จงึ ไมม่ ผี ใู้ ดอยากมาทำงานดว้ ย กลายเปน็ กรมร้างและทรุดโทรมทง้ั แปดกรม ๒. กรมที่มีราชการเป็นท้ังฝ่ายทหารและพลเรือน แต่อยู่ในบังคับกรมพระกระลาโหม ทหารในกรม เป็นผู้ที่เข้ากระบวนตามเสด็จพระราชดำเนินการพระราชสงคราม ได้แก่ กรมอาสาญี่ปุ่น กรมอาสาจาม กรมฝรั่งแม่นปืน กรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง กรมแตรสังข์ กรมกลองชนะ เป็นต้น เป็นกรมที่มีมาแต่โบราณ ยกเวน้ กรมเกณฑห์ ดั อย่างฝรัง่ และกรมฝร่ังแม่นปืน 219

๓. กรมที่ทำหน้าท่ีเป็นทหารรักษาพระองค์ คือ กรมพระตำรวจหน้าแปดกรม กรมพลพัน กรม ทนายเลือก กรมคู่ชัก กรมทหารใน และกรมรักษาพระองค์ ต้องนอนประจำเวรในพระบรมมหาราชวัง เม่ือมี การเสด็จพระราชดำเนินทางบกทางเรือ ในยามสงครามหรือในการเสด็จประพาส ก็คอยตามเสด็จ รวมทั้งใน เวลาเสด็จออกท้องพระโรง กรมทหารรักษาพระองค์ต้องเข้าเฝ้าก่อนขุนนางกรมอื่นๆ เป็นกำลังของพระเจ้า แผน่ ดนิ โดยเฉพาะ ๔. กรมท่ีมีราชการเป็นฝ่ายทหารแต่ไปขึ้นกับฝ่ายพลเรือน ได้แก่ กรมล้อมพระราชวัง กรมแสงปืน โรงใหญ่ กรมช้าง และกรมม้า ทหารในกรมล้อมพระราชวังไม่ต้องไปราชการทัพ แต่เป็นพนักงานรักษา พระราชวังอย่างเดียว คล้ายกับเป็นกรมวังช้ันนอก ทำหน้าที่รักษาป้อมกำแพงพระราชวัง เป็นพนักงานยิงปืน ไฟไหม้ และยงิ ปืนอาฏานา การทำงานคล้ายกบั กรมพระตำรวจ สว่ นที่ใหก้ รมแสงปืนโรงใหญ่ กรมชา้ ง กรมม้า ไปไว้กับฝ่ายพลเรือนก็เพ่ือเป็นการถ่วงอำนาจระหว่างสมุหนายกและสมุหพระกลาโหม ดังน้ัน เมื่อการศึก สงครามไม่มี กรมท้งั สองนีจ้ งึ ทรุดโทรมลง ๕. กรมทีม่ ีราชการฝ่ายพลเรือนแตไ่ ปขึน้ กับฝา่ ยทหาร คอื กรมช่างสิบหมู่ เป็นงานดา้ นการช่างตา่ งๆ เช่น ช่างเขยี น ช่างปน้ั ช่างแกะสลัก ฯลฯ ซงึ่ ไมไ่ ดเ้ ก่ยี วข้องอนั ใดกบั ราชการทหาร จะเห็นได้ว่า การจัดระเบียบหน่วยงานฝ่ายทหารในอดีตเป็นไปอย่างสับสน จึงสมควรต้องจัดการ บริหารงานและสายการบังคับบัญชาฝ่ายทหารกันใหม่ให้ชัดเจนย่ิงข้ึนตามลักษณะงาน อันเป็นส่วนหน่ึงของการ ปฏริ ปู การปกครองแผน่ ดนิ ในรชั สมัยพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว จากภาวะไร้อำนาจในการบริหารและการ ปกครองอย่างแท้จริงในช่วงแรกของการเสวยราชย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรง สร้างฐานอำนาจด้วยการฟ้ืนฟูกรมทหารมหาดเล็ก รักษาพระองค์ข้ึนมาให้เป็นกองกำลังส่วนพระองค์ อย่างแท้จริง นอกจากนี้การเสด็จต่างประเทศเพ่ือ ทอดพระเนตรกิจการและความรู้แบบตะวันตกท่ี สิงคโปร์ มลายู ชวา และอินเดีย ก็ทำให้ทรงได้รับ ความรู้ในเรื่องกิจการทหารด้านต่างๆ และเป็น ตัวอย่างทจ่ี ะนำมาพัฒนาการทหารในประเทศตอ่ ไป ภาพทหารมหาดเลก็ ในปลายรัชสมยั พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว 220

การตง้ั กรมยุทธนาธิการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ตราพระราชบัญญัติจัดการทหารขึ้นเมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๐ จัดตั้งกรมยุทธนาธิการเป็นกรมกลางท่ีรับผิดชอบการดำเนินงานและบังคับบัญชา กรมทหารบกทหารเรือให้เป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันทุกกรม มีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า มหาวชิรุณหิศ ทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาการท่ัวไป แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้านอ้ งยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงภาณุพนั ธุวงศ์วรเดชทรงปฏิบัติราชการแทน กรมยุทธนาธิการมีหน้าท่ีเก่ียวกับการปรับปรุงคุณภาพของทหาร ได้แก่ การฝึกหัดระเบียบวินัย ความรู้ในวิชาชีพทหาร ความรับผิดชอบ สุขภาพอนามัย และสุขนิสัยของทหาร โดยการออก “ข้อบังคับ กรมทหารบกคำสั่งที่ ๑” เมือ่ ปรับปรงุ ทหารประจำการในราชธานแี ลว้ กรมยทุ ธนาธิการไดข้ ยายการปฏริ ปู ออก ไปยังหน่วยทหารท่ีรักษาการตามหัวเมืองต่างๆ ตาม “ข้อบังคับกรมทหารบกคำสั่งท่ี ๒” ได้กล่าวถึงหน้าท ี่ ของทหารหัวเมืองว่าต้องปฏิบัติหน้าท่ีด้วยความซ่ือสัตย์ ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าท่ีแสวงหาทรัพย์สินเงินทอง ไม่ใช้ อำนาจลงอาญาแก่ราษฎรหรือแม้แต่โจรผู้ร้ายตามอำเภอใจ นอกจากนี้ยังต้องปกครองดูแลพลทหาร ฝึกหัด ความประพฤติ เลีย้ งอาหาร รกั ษาพยาบาล ซ่อมแซมสรรพาวธุ และทอ่ี ยูอ่ าศยั ในวันท่ี ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบญั ญัตจิ ดั การกรมยทุ ธนาธกิ าร ยกฐานะกรมยทุ ธนาธกิ ารขนึ้ เป็นกระทรวง มีสมเดจ็ พระเจา้ นอ้ งยาเธอ เจา้ ฟา้ ฯ กรมหลวงภาณพุ นั ธวุ งศว์ รเดชเปน็ เสนาบดกี ระทรวง เจา้ พระยาสรุ ศกั ดม์ิ นตรี เปน็ ผบู้ ญั ชาการทหารบก กระทรวงกลาโหม 221

พระวรวงศ์เธอ กรมหม่ืนปราบปรปักษ์ เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ แบ่งส่วนราชการในกรมยุทธนาธิการ ออกเปน็ ๒ ฝา่ ย คอื ฝา่ ยพลเรอื นและฝา่ ยทหาร ฝ่ายพลเรือน ทำหนา้ ที่ปฏิบัตงิ านธุรการ ไดแ้ ก่ ปลัดทูลฉลอง ปลัดบัญชี เจ้ากรมคลังเงิน กรมแสงสรรพาวุธ กรมยุทธภัณฑ์ กรมกองเสบียง กองชำระคน กองแปล แต่งกฎหมาย และกองพาหนะ ส่วนฝ่ายทหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งจอมพล มสี ทิ ธขิ าดในราชการทหารบก ทหารเรอื แบง่ สว่ นราชการออกเปน็ ๒ สว่ น คอื กรมทหารบก และกรมทหารเรอื กรมทหารบก ประกอบด้วยกรมนายเวรใหญ่ทหารบก ปลัดทัพบกใหญ่ โรงเรียนสอนวิชาทหาร โรงพยาบาล ทหารบก และกรมคุกทหารบก ส่วนกรมทหารเรือ ประกอบด้วย โรงเรียนสอนวิชาการทหารเรือ โรงพยาบาล ทหารเรอื กรมคกุ ทหารเรอื กรมอู่ทหารเรือ และกรมคลังพสั ดทุ หารเรอื ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้กระทรวงกลาโหม เปน็ กระทรวงทำหนา้ ทฝ่ี า่ ยทหาร แตข่ ณะนนั้ กระทรวงกลาโหมยงั ทำหนา้ ทปี่ กครองหวั เมอื งฝา่ ยใตอ้ ยู่ จงึ ไมพ่ รอ้ ม ที่จะรับผิดชอบราชการทหารทั้งหมด ดังนั้น หน่วยงานในกระทรวงยุทธนาธิการท่ีจะโอนไปขึ้นกับกระทรวง กลาโหมจึงมีเพียงกรมบัญชาการทหารเรือ กรมช้าง และกรมแสง ส่วนกระทรวงยุทธนาธิการทำหน้าท่ีเป็น กรมบัญชาการทหารบก มีฐานะเท่าเสนาบดีกระทรวง มีสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดชเป็น ผูบ้ ญั ชาการกรมทหารบก และโปรดเกลา้ ฯ ให้จัดการปฏริ ปู ราชการทหารบกใหเ้ หมาะสมกับกาลสมัย กรมยุทธนาธิการที่เปล่ียนแปลงในคร้ังนี้ประกอบด้วยกรม ๕ กรม ได้แก่ กรมทหารบกใหญ่ กรม ปลัดทัพบกใหญ่ กรมยกกระบัตรทหารบกใหญ่ กรมยุทธภัณฑ์ และกรมคลังเงิน โรงเรียน ๒ โรง ได้แก่ โรงเรียนนายรอ้ ย และโรงเรยี นนายสบิ กองทหาร ๗ กอง ได้แก่ กองทหารหน้า กองทหารม้า ทหารปืนใหญ่ กองทหารมหาดเล็ก กองทหารรกั ษาพระองค์ กองทหารลอ้ มวงั และกองทหารฝพี าย การจัดกรมยทุ ธนาธิการ ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ นี้ เปน็ ตน้ กำเนิดกองทัพบกในปัจจุบัน พระเจา้ ลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจริ ประวตั วิ รเดช ผ้วู างรากฐานกองทัพบกไทย พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช (กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช) ทรงเป็นพระราชโอรส พระองค์ที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชโอรสองค์แรกของเจ้าจอมมารดา ทับทิม ประสูติเม่ือวันท่ี ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๙ เมื่อเจริญพระชันษา ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนท่ีโรงเรียน พระตำหนกั สวนกหุ ลาบ ใน พ.ศ. ๒๔๒๘ สมเดจ็ พระบรมชนกนาถทรงส่งไปศึกษาวชิ าการ ณ ประเทศองั กฤษ พร้อมกับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ (กรมพระจันทบุรีนฤนาถ) พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักด์ิ (กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธ์ิ) และพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม (กรมหลวงปราจิณกิติบดี) จนกระท่ังถึง พ.ศ. ๒๔๓๕ เสด็จไปทรงศึกษาวิชาทหารบก ณ ประเทศเดนมาร์ก ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์แรก ท่ีศึกษาวิชาทหารในยุโรป ใน พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงสอบวิชาช้ันต้นสำหรับนายทหารและได้รับยศเป็นนายร้อยตรี ในทหารเดนมาร์ก แล้วทรงศึกษาในโรงเรียนช้ันสูงสำหรับนายทหารต่อไป หลังจากทรงสอบวิชานายทหาร ปืนใหญ่ได้แล้ว จึงไปฝึกรับราชการประจำอยู่ในกรมทหารปืนใหญ่สนามของประเทศเดนมาร์ก เมื่อพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หู วั เสด็จเยอื นยุโรปคร้งั แรกใน พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระราชดำริว่าพระเจ้าลูกยาเธอ 222

พระองคเ์ จา้ จริ ประวตั วิ รเดชไดท้ รงศกึ ษาวชิ าการสมควรจะกลบั ไปรบั ราชการในประเทศสยามไดแ้ ลว้ จงึ โปรดเกลา้ ฯ ให้โดยเสด็จกลบั ประเทศสยาม เมอ่ื เสดจ็ กลบั ถงึ กรงุ เทพฯ ในเดอื นมกราคม พ.ศ. ๒๔๔๐ (ร.ศ. ๑๑๖) พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอม- เกลา้ เจา้ อย่หู ัวโปรดให้พระเจา้ ลูกยาเธอ พระองคเ์ จา้ จริ ประวตั วิ รเดช รับราชการอยู่ในกรมยุทธนาธกิ าร สมเด็จ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น ทรงเห็นประโยชน์ที่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ได้ทรงศึกษาวิชาการทหารที่ทันสมัยมา จึงทรงจัดตั้งกรมเสนาธิการทหารบกขึ้น เมอื่ วันท่ี ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๑ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองคเ์ จ้าจริ ประวตั วิ รเดช ดำรงตำแหน่งเสนาธิการ ทหารบกพระองค์แรก ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้บังคับการทหารมหาดเล็กอีกตำแหน่งหนึ่ง ในสมัยนี้กิจการ ทหารบกเรม่ิ เขา้ สู่ระบบสากลแบบตะวันตก พระเจา้ ลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช และพระชายา 223

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ทรงเพิ่มหลักสูตรของโรงเรียนนายทหารขึ้นหลายวิชา เชน่ วชิ ายิงปนื ใหญ่ วชิ าสรรพาวธุ วธิ ี วชิ าป้อมคา่ ยสนาม และวิชาประวัตศิ าสตร์สากล สมเด็จกรมพระยาดำรง- ราชานุภาพทรงกล่าวถึงพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ไว้ว่า “...ตั้งแต่จัดการกรมเสนาธิการมา แม้การเปลี่ยนแปลงยังมิได้ปรากฏมากมาย ก็เห็นได้เปนข้อสำคัญแต่แรกว่า ตั้งแต่ทหารบกได้กรมหลวงนคร ไชยศรีฯ ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเข้าในวิธีการทหารอย่างที่ถือในประเทศที่ชำนาญการทหารว่าเปนแบบแผนอันดี ในปัจจุบันนี้ ตรงกับความต้องการของทหารไทย จึงบังเกิดความพอใจแก่บรรดาผู้ที่เอาใจใส่ในประโยชน์ของ ราชการทหาร มีความเชอื่ ถือคุณวุฒิ ของกรมหลวงนครไชยศรฯี แตน่ ั้นมา...” ในสมัยที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวง กลาโหม และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ได้ขอตัวพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช มารับราชการในตำแหน่งปลัดทัพบก ท้ังเป็นเสนาธิการ ทหารบกและบงั คับการกรมทหารมหาดเลก็ ดว้ ย ต่อมาเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดชก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ตั้งแต่วันท่ี ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ ในระหว่างท่ีทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการน้ี ทรงทุ่มเทพระวรกายและกำลัง สติปัญญาเพ่ือปรับปรุงกองทัพไทยให้เข้มแข็งและเจริญก้าวหน้า ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรง กล่าวไว้ว่า ...การต่างๆ ท่ีได้จัดขึ้นใน ทหารบก ให้เปนคุณแลประโยชน์ แก่สยามราชอาณาจักร ในเวลา ก ร ม ห ล ว ง น ค ร ไ ช ย ศ รี ท ร ง บัญชาการน้ัน ยากท่ีจะพรรณนา ให้ถ้วนถี่พิสดารได้ในที่น้ี ด้วยเปน การมากมายหลายอย่างนัก ตั้งแต่ ปีกุญ พ.ศ. ๒๔๔๑ มาจนปีฉลู พ.ศ. ๒๔๕๖ ตลอดเวลา ๑๕ ปนี ี้ เปนเวลาท่ีราชการทหารบกได้จัด เปลี่ยนแปลงย่ิงกว่าครั้งไหนๆ ท่ีเคยปรากฏมาในพงศาวดาร ว่าโดยย่อคือ ได้สร้างกองทัพ สำหรับป้องกันกรุงสยามให้มีข้ึน ไดจ้ ริงในระยะเวลาน.้ี .. พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี และสมเดจ็ พระเจา้ ลูกยาเธอ เจา้ ฟา้ บรพิ ตั รสุขุมพันธ ุ์ 224

เช่นเดียวกัน พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ทรงมีพระหัตถเลขาเม่ือวันท่ี ๒๒ กันยายน ร.ศ. ๑๑๙ ประทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ุ ขณะทรงศึกษาวิชาการ ณ ทวีปยุโรป ทรงกลา่ วถงึ กรมหมน่ื นครไชยศรสี ุรเดชว่า ...ราชการตามกระทรวงทุกวันน้ีก็เฉพาะกระทรวงพระกลาโหมเปนด้อยมากกว่า กระทรวงอื่น กรมทหารเรือจวนจะล่มอยู่เต็มทีแล้ว เดี๋ยวนี้กำลังทรงเข็นองค์อาภากรอยู่ การในกรมยุทธนาธิการก็เดินไปได้เพราะองค์จิรโดยมาก เพราะฉะน้ันจึงเห็นท่ีต้องการผู้มี ความรทู้ างทหารอยู่เปนอันมาก... สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช เจ้าฟา้ มหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกมุ าร ทรงฉายรว่ มกบั คณะกรรมการกองบญั ชาการกองทพั สยาม 225

พระราชบญั ญตั ลิ ักษณะเกณฑท์ หาร เดมิ ชายฉกรรจไ์ ทยทกุ คนทม่ี อี ายตุ งั้ แต่ ๑๘ - ๖๐ ปี มหี นา้ ทต่ี อ้ งมาเขา้ เวรรบั ราชการทหารในลกั ษณะ เข้าเดือนออกเดือน วิธีการเกณฑ์คนดังกล่าวน้ีก่อให้เกิดปัญหาทั้งในด้านจำนวนคนท่ีต้องมาเป็นทหารและ คณุ ภาพของทหาร เพราะคนที่ถกู เกณฑม์ าเขา้ เวรประจำการตอ้ งละท้ิงครอบครัว จดั เตรยี มเสบยี งอาหาร อาวุธ หรือเคร่ืองมืออุปกรณ์การทำงานมาเอง ทำให้ผู้ถูกเกณฑ์และครอบครัวได้รับความลำบาก จึงพยายามหาทาง หลีกเลี่ยง ถ้าเล่ียงไม่ได้ก็จำใจรับราชการไปตามแกน สำหรับกรมกองทหารแบบใหม่ท่ีจัดให้มีการฝึกหัดทหาร แบบยุโรปตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบบการเกณฑ์คนมาเป็นทหารเป็นอุปสรรค ต่อการฝึกหัด กล่าวคือ ขาดความต่อเนื่อง เพราะยังฝึกหัดไปได้ไม่เท่าไรก็ถึงกำหนดออกเวร เม่ือกลับมา เข้าเวรใหม่ การฝึกหัดเดิมก็ลืมเลือนไป ต้องเริ่มต้นกันใหม่และต้องฝึกอย่างหนัก นอกจากนี้ ผู้ท่ีรับราชการ อยู่ในแต่ละกรมก็ลดจำนวนลงเน่ืองจากตาย หนี ชรา และพิการ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งกรมทหารอีกหลายกรม ต้องใช้คนมากข้ึนแต่ยังคงใช้วิธีเกณฑ์ทหารแบบเดิม ความรู้สึก กลัววา่ จะต้องถูกเกณฑ์กย็ ิง่ แพรห่ ลายออกไปในหมรู่ าษฎร พระนางเจา้ สขุ มุ าลมารศรี พระราชเทวใี นพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงมลี ายพระหตั ถ์ ลงวันท่ี ๒๗ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๖ ถึงพระโอรส สมเด็จเจ้าฟา้ บริพตั รสุขมุ พันธุ์ ทรงเล่าเรื่องคนไทยกลัวเปน็ ทหารตอนหนึง่ ว่า ...หนังสือฉบับลงวันท่ี ๑๘ สิงหาคม ซึ่งว่าด้วยจัดแบบฝึกหัดสำหรับโรงเรียน สุขุมาลัยนั้น ถ้าจัดได้ตามความคิดก็จะเปนการดี แต่การที่จะเอาศิษย์วัดมาหัดทหารน้ัน เปนอมิ (อิมพอสสิเบลิ = เปนไปไมไ่ ด้) อย่างเอก เพราะคนไทยเรามนั กลวั กนั หนกั เรือ่ งเปน ทหาร ถา้ โรงเรยี นของวัดเชน่ นใ้ี ชก้ ารฝกึ ทหารดว้ ยแล้ว คงจะไมม่ ีนักเรยี นเลยในโรงเรยี นน้นั การหดั ทหารของไทยเราในเวลานี้ใชห้ ัดกันไดแ้ ตใ่ นคน ๒ จำพวก คือ ในราชตระกูลพวก ๑ ในหมทู่ หารซ่งึ หดั กนั อยู่นั้นโรงเรียนนายรอ้ ยพวก ๑ เทา่ นั้น แลเหมือนโรงเรียนตามวดั เชน่ นี้ นักเรียนมีแต่ท่ีเปนลูกคนสามัญมากกว่าท่ีเปนลูกขุนลูกนาง ถ้าไปหัดทหารเข้าแล้วคงพาหนี หมด ไม่มีใครสง่ ลูกไปเลยเปนแท้... ในเร่ืองเดียวกันน้ี สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ในพระประวัติจอมพล กรมหลวง นครไชยศรีสุรเดช ตอนหน่ึงวา่ ...ความท่ีกลัวเปนทหารในคร้ังนั้น จะยกตัวอย่างท่ีข้าพเจ้าได้พบและคุ้นเคยด้วย ตนเองมาแสดงในท่ีนี้แต่เร่ืองหน่ึง ก็จะเข้าใจได้ว่าความกลัวเปนทหารแต่ก่อนมาเปนอย่างไร คือเม่ือข้าพเจ้ารับราชการอยู่ในกรมศึกษาธิการจะจัดตั้งโรงเรียนข้ึนตามวัด เริ่มจัดท่ีวัด มหรรณพาราม ในกรุงเทพฯ นี้ พอถึงวันเปิดโรงเรียน ครูไปถึงวัดมหรรณพ์ ก็ได้ความว่า บิดามารดาถอนเด็กลูกศิษย์วัดไปเกือบหมด ด้วยเข้าใจว่าเด็กท่ีเข้าโรงเรียนแล้วจะต้อง ถูกเกณฑ์เปนทหาร การจัดตั้งโรงเรียนท่ีอ่ืนๆ ก็ได้ความลำบากอย่างนี้ กว่าจะต้ังติดได้ แต่ละโรง ไม่ใช่ง่ายทีเดียว กรมทหารที่ตั้งขึ้นแล้วในครั้งน้ัน แม้จะหาคนเพ่ิมเติมให้จำนวน คนประจำราชการคงท่ีอยกู่ ็ไมไ่ ด.้ .. 226

เมอื่ เปน็ เชน่ น้ี ทางการจำเปน็ ตอ้ งหาวธิ แี กไ้ ขเรอื่ งการเกณฑค์ นเปน็ ทหาร ในครงั้ แรกเจา้ พระยาสรุ ศกั ด-์ิ มนตรีขณะเป็นผู้บังคับการทหารหน้า ได้ใช้วิธีเกลี้ยกล่อมหาคนมาสมัครเป็นทหาร ผู้ที่เคยสังกัดอยู่ในกรมอื่น หรือผู้ท่ีไม่ได้สักเลขก็มาสมัครได้ โดยจะได้รับพระราชทานเงินคนละ ๔ บาท ผ้า ๑ สำรับ ไม่ต้องสักแขน ในระยะแรกมีชาวเมืองราชบุรีและเพชรบุรีมาสมัครเป็นทหารจำนวนมาก แต่ภายหลังไม่ค่อยมีใครมาสมัคร เป็นทหาร จึงปรับปรุงวิธีการเสียใหม่โดยให้พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์จัดต้ังทหารเรือขึ้นตามหัวเมืองชายทะเล ตะวันออก เกณฑ์ชายฉกรรจ์ในหัวเมืองเหล่าน้ันมาเป็นทหารท้ังหมด เม่ือรับการฝึกหัดแล้วก็แบ่งเป็นเวร ผลัดเปลย่ี นกันมาประจำราชการอยทู่ โี่ รงทหารในเมอื งน้ันๆ ปรากฏวา่ การเกณฑ์คนมามคี วามลำบากเพราะไม่มี สำมะโนครวั รายตวั พลเมือง และไมม่ ีพนักงานที่จะจัดตรวจเรยี กคนมาสง่ ใหท้ หาร ดังน้ัน ปัญหาสำคัญของกรมยุทธนาธิการคือ การหาคนมาเป็นทหาร ซ่ึงต้องอาศัยความพร้อมของ ฝา่ ยพลเรอื น คอื การทำสำมะโนครวั วิธเี ดยี วท่ีจะแกป้ ญั หาการขาดแคลนคนเขา้ รบั ราชการให้ไดผ้ ลคอื การตรา พระราชบัญญัตเิ กณฑค์ นเป็นทหารดงั ท่ปี ฏบิ ัตกิ นั อยู่ในประเทศยุโรปขณะน้ัน ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัวทรงมีพระราชดำรทิ ่ีจะตราพระราชบัญญัติ เกณฑ์ทหาร โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้บัญชาการ กรมยุทธนาธิการตราพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่ไม่อาจทำได้ทันทีเน่ืองจากมีปัญหาอยู่หลายประการคือ ไม่มี เงินที่จะนำมาใช้จ่ายในการน้ี การปกครองหัวเมืองในขณะน้ันยังไม่เป็นเอกภาพเพราะยังขึ้นอยู่กับหน่วยงาน ถึง ๓ แหง่ คือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการต่างประเทศ อกี ประการหนงึ่ การทำ สำมะโนครัวและการลงทะเบยี นคนยงั ไมพ่ รอ้ ม ท้ังยังขาดนายทหารท่จี ะควบคุมการฝกึ พลทหารตามแบบใหม ่ เม่ือกรมหม่ืนนครไชยศรีสุรเดชทรงบัญชาการทหารบก มีการแก้ไขวิธีเกณฑ์ทหารซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ และยากที่สุดของการทหารในขณะนั้น ด้วยการเร่งรัดให้ฝ่ายพลเรือนจัดทำสำมะโนครัวรายตัวพลเมือง โดยเรมิ่ ทม่ี ณฑลนครราชสมี าเปน็ แหง่ แรก เพราะพลเมอื งในมณฑลนเ้ี คยถกู เกณฑเ์ ปน็ ทหารในสมยั วกิ ฤตกิ ารณ์ ร.ศ. ๑๑๒ การทำสำมะโนครวั ในมณฑลนจี้ ึงเรยี บรอ้ ยกว่ามณฑลอ่นื และคนในมณฑลนครราชสีมากน็ ิยมเปน็ ทหารกนั ขณะเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวง ประจักษ์ศิลปาคมกับเจ้าพระยาอภัยราชา (นายโรลัง ยัคแมงส์) ดำเนินการเร่ืองการจัดเกณฑ์คนเป็นทหาร กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมทรงสั่งให้ทูตสยามประจำประเทศต่างๆ ในยุโรปจัดการแปลพระราชบัญญัติเกณฑ์ ทหาร (Conscription Law) ของประเทศนั้นๆ ส่งมายังกรุงเทพฯ เพ่ือพิจารณาว่ากฎหมายของประเทศใด สมควรจะใช้เป็นแบบอย่างในการร่างพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารของไทย พระยาสุริยานุวัตร ทูตไทยประจำ ประเทศฝรั่งเศส ได้จ้างแปลและพิมพ์พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารของฝร่ังเศสส่งมาถวาย ใน พ.ศ. ๒๔๔๓ ฝา่ ยทหารไดเ้ รมิ่ ศกึ ษากฎหมายเกยี่ วกบั การเกณฑค์ นเปน็ ทหารอยา่ งจรงิ จงั มกี ารปรบั ปรงุ ระเบยี บการเกณฑท์ หาร อยา่ งทป่ี ระเทศตะวันตกใชก้ นั พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารฉบับแรกสำเร็จเรียบร้อยใน พ.ศ. ๒๔๔๖ (ร.ศ. ๑๒๒) ตาม พระราชบญั ญตั ฉิ บบั นี้ กำหนดใหช้ ายฉกรรจ์เม่อื อายถุ งึ เกณฑค์ อื ๑๘ ปี ต้องขึน้ ทะเบยี นเปน็ ทหารรบั ราชการ ประจำอยู่ ๒ ปแี ล้วปลดเป็นกองหนุนชัน้ ท่ี ๑ หลงั จากน้ันให้เขา้ มาฝกึ ซ้อมปลี ะ ๒ เดอื น เมือ่ ครบ ๕ ปกี ป็ ลด 227

เป็นกองหนุนชั้นท่ี ๒ ในช้ันน้ีให้เข้ามาฝึกซ้อมปีละ ๑๕ วัน จนครบ ๑๐ ปี แล้วปลดพ้นจากราชการทหาร โดยไดร้ ับพระราชทานตราภมู คิ ุ้มหา้ มซ่งึ เป็นเอกสารแสดงว่าได้รบั การยกเว้นไมต่ อ้ งถกู เกณฑแ์ รงงานอกี แล้ว อนึ่ง พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๒ ได้กำหนดคนที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้อง รับราชการทหาร ได้แก่ พระภิกษุสามเณรท่ีรู้ธรรม นักเรียนชั้นอุดม ข้าราชการพลเรือนที่มีตำแหน่งได้รับ พระราชทานเงินเดือน ผู้ใหญ่บ้าน บุตรที่ต้องปรนนิบัติบิดามารดาที่ทุพพลภาพ บุตรที่บิดามารดามีบุตร รับราชการทหารต้ังแต่ ๓ คนขึ้นไป พี่ชายที่ต้องเล้ียงน้องกำพร้า คนท่ีประกอบการทำไร่ทำนาค้าขายและ เสียภาษีอากร คนป่วยทุพพลภาพ คนต้องคดีที่ต้องว่าความเอง คนต้องราชทัณฑ์อยู่ระหว่างคุมขัง ผู้ซึ่ง ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกเว้นเป็นพิเศษ และคนท่ียกเว้นขาด ได้แก่ คนจีน คนป่าดอย และ คนพกิ าร พระราชบัญญัติฉบับน้ีเร่ิมใช้ในมณฑลนครราชสีมา เม่ือประสบความสำเร็จจึงได้ขยายไปยังมณฑล นครสวรรค์ มณฑลพิษณุโลก และมณฑลราชบุรี หลังจากการจัดการทั้ง ๔ มณฑลได้รับผลดีแล้ว จึงตรา พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔ เม่ือวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ประกาศ บังคับใช้ทั่วประเทศ โดยมีการแก้ไขเปล่ียนแปลงจากพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๒ เล็กน้อย พร้อมกับมีพระราชปรารภชีแ้ จงใหท้ ราบถงึ ความจำเปน็ และผลดีในการใช้พระราชบญั ญตั คิ อื ๑. ประเทศชาตจิ ะสามารถสร้างกองทพั แห่งชาติท่มี ีประสิทธภิ าพในการป้องกันพระราชอาณาจักร ๒. ราษฎรจะมีความเสมอภาคในการรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหาร ไม่ต้องสังกัดหมู่กรมและรับใช ้ เจา้ หม่มู ูลนายดังแตก่ อ่ น ใน พ.ศ. ๒๔๕๒ มีการแก้ไขพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔ อนุญาตให้ผู้ท ี่ รบั ราชการกองประจำการครบ ๒ ปี สมคั รรบั ราชการตอ่ ไปได้ และใน พ.ศ. ๒๔๕๓ มกี ารแกไ้ ขในสว่ นทเ่ี กยี่ วกบั บุคคลท่ีได้รับยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์เป็นทหาร เน่ืองจากกระทรวงต่างๆ ประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากร พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔ ก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศคือ เป็นการแก้ปัญหาการขาดคน เข้ารับราชการ ทำให้การปฏิรูปการทหารด้านอื่นๆ เป็นไปด้วยดี สามารถยกเลิกระบบไพร่ได้ ชายไทยทุกคนมี สทิ ธเิ ทา่ เทยี มกนั ในการรบั ใชป้ ระเทศชาตโิ ดยการเปน็ ทหาร การเปน็ ทหารกลายเปน็ อาชพี ทมี่ น่ั คงและมเี กยี รตยิ ศ อาชีพหนึ่งของชาวไทย หลังจากท่ีมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ในระยะแรกมีผู้คิดหลบหลีกราชการ ทหารเพราะกลัวว่าจะต้องออกจากภูมิลำเนาไปเป็นทหารยังต่างถิ่น แต่ปรากฏว่าทหารท่ีถูกเกณฑ์ไม่ต้องท้ิง ถิ่นฐานบ้านเรือนไปรับราชการไกล เพราะผู้ท่ีอยู่ในมณฑลใดก็รับราชการในกองทหารในมณฑลนั้นและไม่ต้อง เปน็ ทหารจนชรา นอกจากนี้ พลทหารจะไดร้ ับความอุปการะดูแลและได้รับการอบรมใหค้ ุ้นเคยกับกิจการทหาร จึงเกิดความศรัทธาต่อการเป็นทหารและนำความไปเผยแพร่ ไม่นานความหวาดหวั่นในเรื่องเกณฑ์ทหารก็หมด สิ้นลง ดังท่ีนายแวน เดอ ไฮเด วิศวกรชลประทานชาวฮอลันดา เล่าว่าขณะท่ีไปตรวจการสร้างทำนบท ี่ เมืองชัยนาท พบทหารเมืองชัยนาทกำลังลากลับไปเย่ียมบ้าน จึงถามทหารเหล่านั้นว่าการเป็นทหารน้ันเป็น อย่างไรบ้าง ก็ได้รับคำตอบที่ไม่คาดว่าจะได้ยินว่า “เปนทหารตามหน้าท่ีของพลเมืองที่จะต้องช่วยกันรักษา บ้านเมืองของตน” แสดงให้เห็นว่าพวกทหารมนี ้ำใจท่จี ะเป็นทหารและปฏบิ ัตหิ น้าทีข่ องตนด้วยความเต็มใจ 228

ทางด้านกิจการทหารเรือนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุง เช่นเดียวกัน มีการจัดซ้ืออาวุธยุทโธปกรณ์แบบใหม่ๆ มาใช้ เช่น ปืนยิงเร็วอาร์มสตรองขนาด ๑๒๐ มม. ปืนยิงเร็วฮอทซกีลขนาด ๕๗ มม. ๔๗ มม. และ ๓๗ มม. ตดิ ตั้งในเรือรบหลายลำ เชน่ เรอื มกุฎราชกมุ าร เรือมูรธาวสิตสวัสด์ิ และอาวุธอื่น เช่น ตอร์ปิโด เป็นต้น โดยให้กรมแสงฝึกหัดอาวุธแบบใหม่ นอกจากน้ี มีการจัดต้ังโรงเรียนนายเรือขึ้น เพื่อฝึกนายทหารเรือไทยไว้ปฏิบัติราชการแทนชาวต่างประเทศที่เข้ามา รบั ราชการในกองทัพเรือไทยขณะนน้ั การส่งพระราชโอรสไปศึกษาวิชาทหารในยโุ รป พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัวทรงมีพระราชดำรวิ ่า การทหารเปน็ สงิ่ จำเปน็ อย่างยง่ิ สำหรับ ประเทศชาติ เพราะทหารเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันประเทศ และในอนาคตการสงครามจะเปล่ียนรูปแบบ ไปจากเดิม นอกจากจะโปรดให้จัดการทหารตามแบบแผนและฝึกหัดตามยุทธวินัยของประเทศตะวันตกแล้ว พระองค์ยังทรงส่งพระราชโอรสออกไปศึกษาวิชาทหารในประเทศต่างๆ ในยุโรป ได้แก่ ประเทศอังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย และเดนมาร์ก เพ่อื นำความรูก้ ลบั มาใชใ้ นบ้านเมืองสยาม พระราชโอรสท่เี สดจ็ ไปศกึ ษาวชิ าการทหารยังต่างประเทศ ไดแ้ ก่ ๑. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองคเ์ จ้าจริ ประวตั วิ รเดช (จอมพล กรมหลวงนครไชยศรีสรุ เดช) ทรงศกึ ษา วชิ าทหาร ณ ประเทศเดนมารก์ ๒. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากร- เกยี รตวิ งศ์ (พลเรอื เอก กรมหลวงชมุ พรเขตรอดุ มศกั ดิ์ ร.น.) ทรงศึกษาวชิ าการทหารเรอื ณ ประเทศอังกฤษ ๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหา- วชิราวุธ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงศึกษาวิชาการ ณ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และวิชาการทหาร ณ โรงเรียนนายร้อยแซนเฮิร์สต์ ประเทศองั กฤษ ๔. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตร- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจา้ อาภากรเกยี รติวงศ ์ สุขุมพันธุ์ (จอมพล กรมพระนครสวรรค์วรพินิต) โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยูห่ ัวในการ ทรงศกึ ษาวชิ าการทหาร ณ โรงเรยี นนายรอ้ ยทหารบก ประเทศเยอรมน ี ตรวจราชการหัวเมืองปกั ษใ์ ต้ ๕. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตร- ไชยากร (พลเอก กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน) ทรงศกึ ษาวชิ าการทหารช่าง ณ ประเทศอังกฤษ 229

๖. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ (จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิษณุโลก ประชานาถ) ทรงศึกษาวิชาการทหาร ณ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนนายร้อยทหารบก) ในราชสำนัก พระเจ้าซารน์ ิโคลสั ที่ ๒ แห่งรัสเซีย ๗. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองคเ์ จา้ วุฒไิ ชยเฉลิมลาภ (พลเรือเอก กรมหลวงสงิ หวิกรมเกรยี งไกร ร.น.) ทรงศึกษาวชิ าการทหารเรือ ณ ประเทศอังกฤษ ๘. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช (สมเด็จพระราชบิดา กรมหลวงสงขลานครินทร์) ทรงศกึ ษาวชิ าการทหารเรอื ณ ประเทศเยอรมน ี ๙. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงศึกษาวิชาการทหารบก ณ ประเทศอังกฤษ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัว ทท่ี รงปฏบิ ตั ิราชการทหาร (จากซา้ ยไปขวา) สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช เจ้าฟ้ามหาวชิราวธุ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าลกู ยาเธอ เจา้ ฟา้ จกั รพงษภ์ วู นาถ พระเจา้ ลูกยาเธอ พระองค์เจา้ บรุ ฉัตรไชยากร และพระเจา้ ลกู ยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช 230

เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกยาเธอจบการศึกษากลับมายังประเทศสยาม ทรงได้รับมอบ มอบหมายพระราชภาระในกจิ การทหารตำแหน่งต่างๆ อาทเิ ชน่ สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช เจ้าฟา้ มหาวชริ าวุธ ทรงรับตำแหน่งเป็นจเรทหารบก สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ทรงรับตำแหน่งเสนาธิการ แล้วย้ายไปทรงบัญชาการทหารเรือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ทรงรับตำแหน่ง ผู้บัญชาการกรมยุทธศึกษาฝึกหัดนายทหาร ทรงปฏิบัติราชการด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ทันต่อความต้องการ บุคลากรที่ชำนาญการทหารของประเทศ มีการจัดระบบการทหารตามแบบแผนตะวันตก และทรงเป็นกำลัง สำคญั ของพระราชบดิ าในการปฏิรูปการทหารให้ดำเนนิ ไปอยา่ งรวดเรว็ บรรลุตามความม่งุ หมาย การตงั้ โรงเรียนทหาร การปฏริ ปู การทหารในสมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ประสบปญั หาสำคญั ประการหนง่ึ คอื การขาดคนทมี่ คี วามรใู้ นวชิ าการทหารสมยั ใหมท่ จี่ ะทำหนา้ ทเ่ี ปน็ ผบู้ งั คบั บญั ชาในระดบั ตา่ งๆ ดงั พระราชปรารภวา่ ...ถึงแม้จะมีไพร่พลมาก แลกล้าหาญสักเพียงใดก็ตาม ถ้าปราศจากแม่ทัพนายกอง ที่มีความรู้ สติปัญญาสามารถในการศึกสงครามแล้ว ลำพังแต่กำลังไพร่พลก็ไม่อาจทำศึก สงครามให้มีชัยชนะได้ แลอีกประการหนึ่ง นายทหารน้ันมีภาระที่จะต้องดูแลทุกข์สุขของ ไพรพ่ ล ถา้ นายทหารเปนคนไมม่ คี วามรคู้ วามสามารถ ไมม่ อี ธั ยาศยั ทม่ี นั่ คงอยใู่ นความยตุ ธิ รรม แล้ว ไพร่พลกจ็ ะได้รบั ความเดือดรอ้ นระสำ่ ระสาย เสอื่ มเสียในราชการทหารไปดว้ ย... ใน พ.ศ. ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนทหารท่ีริมวัง สราญรมย์ขึ้นสำหรับฝึกหดั นกั เรยี นนายร้อยนายสบิ ซ่งึ เปน็ โรงเรยี นนายรอ้ ยชนั้ ปฐม โดยมพี ระราชประสงค์จะ ผลิตนายทหารท่ีมีความรู้ความสามารถท้ังในด้านวิชาการ ระเบียบวินัย และมีจิตใจเป็นทหาร โดยมีพลเอก พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นผู้บัญชาการท่ัวไป พลตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ทำการคัดเลือกคะเด็ดทหารมหาดเล็ก (นักเรียน นายร้อยทหารมหาดเล็ก) คะเด็ดกองทหารหน้า นักเรียนแผนท่ี และเด็กหนุ่มท่ีมีใจสมัครและมีคุณสมบัติ เหมาะสมแก่การเปน็ ทหาร เขา้ เรยี นประมาณ ๕๐ คน การคดั เลอื กนักเรียนนายรอ้ ยกระทำอยา่ งเขม้ งวด นักเรียนต้องมีอายุระหว่าง ๑๔ - ๒๔ ปี มีรา่ งกาย สมบูรณ์ เมื่อเข้ามาเรียนแล้วต้องเชื่อฟังกันตามลำดับชั้น จัดนักเรียนเป็นกองร้อย ฝึกให้นักเรียนปกครอง กันเอง เน้นเรื่องระเบยี บวนิ ัย ความประพฤติ และรักษาเกยี รติ สว่ นวชิ าท่กี ำหนดใหศ้ ึกษาในโรงเรยี นสว่ นใหญ่ เป็นการฝึกหัด ได้แก่ ฝึกเดิน ฝึกยิง ฝึกปืน ฝึกวิชาฟอติฟิเคชั่น (ป้อมค่าย) ฝึกพิชัยสงคราม ฝึกกายกรรม ส่วนวิชาสามัญ ได้แก่ วิชาโตโปเกรฟี่ (แผนที่ทหาร) ภาษาไทย คณิตศาสตร์ (ได้แก่ วิชาเลขคณิต พีชคณิต เรขาคณิต และตรีโกณมิติ) ยีออกราฟี (ภูมิศาสตร์) วาดเขียน และภาษาอังกฤษ ความเข้มงวดในเร่ืองวินัย และการศึกษา ทำให้วิชาชีพทหารเป็นวิชาชีพท่ีประสบผลสำเร็จสูงสุดและแสดงบทบาทหลายด้านในสังคมไทย นกั เรียนที่สำเร็จจากโรงเรยี นทหารเป็นผ้ทู ่ีมคี วามสามารถและเปน็ ที่ต้องการจากหน่วยงานตา่ งๆ เม่อื พระเจ้าลูกยาเธอ พระองคเ์ จ้าจริ ประวตั ิวรเดช เข้ารับราชการในกรมยุทธนาธกิ ารนนั้ พระองค์ทรง มสี ว่ นสำคญั ในการจดั การศกึ ษาในโรงเรยี นนายรอ้ ยดว้ ย ดงั ปรากฏในลายพระหตั ถข์ องพระนางเจา้ สขุ มุ าลมารศรี 231

พระราชเทวี ลงวันท่ี ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๖ ที่มีไปถึงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ มีใจความตอนหนงึ่ วา่ ...องคจ์ ริ นนั้ เขา้ ทำในกรมยทุ ธนาธกิ าร เดย๋ี วนกี้ ำลงั จดั โรงเรยี นนายรอ้ ย เกบ็ หมอ่ มเจา้ เปนทหารหลายคน เพอ่ื จะลอ่ ใหม้ คี นสมคั รเรยี นทหารมากขน้ึ เพราะคนไทยเรายอ่ มเกรงขาม กนั มากนกั ในการทจ่ี ะตอ้ งเปนทหาร ทโ่ี รงเรยี นนายรอ้ ยนน้ี กั เรยี นเพยี ง ๒๐ คนเสศๆ ฤๅ ๔๐ เทา่ น้ัน ถา้ มเี จา้ เปนพลทหารเสยี เหมือนประเทศยโุ รปบ้างดังนี้ ความคร่ันคร้ามของคนสามญั ก็คงจะเบาบางไปได้... ใน ร.ศ. ๑๒๓ ได้มีการปรับปรุงสร้างโรงเรียนนายร้อยแห่งใหม่ที่ถนนราชดำเนิน ใช้งบประมาณ ในการก่อสร้างเป็นเงิน ๑๔๒,๒๔๘ บาท นอกจากการสร้างตัวโรงเรียนแล้ว ยังสร้างตึกท่ีพักนักเรียนจำนวน ๒ หลัง และโรงพยาบาลสำหรับนักเรียนนายร้อยอีก ๑ หลัง พร้อมด้วยส้วม ห้องอาบน้ำ และท่อริมถนน โดยใชเ้ งินไป ๑๕๐,๐๐๐ บาท หลังจากน้นั ไดย้ า้ ยนกั เรียนนายร้อยออกไปอย่ใู นโรงเรยี นใหม่ ตอ่ มาใน ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ พระราชทานท่ีสำหรับสร้างโรงเรียนนายร้อยมัธยมท่ีถนนราชดำเนิน และได้เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงเรียน เมือ่ วนั ท่ี ๒๖ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ พรอ้ มกบั พระราชทานพระบรมราโชวาทดงั น้ี ...บรรดากิจการท้ังปวงท่ีได้ต้ังขึ้นใหม่ ภายในสี่สิบปีท่ีล่วงมาแล้วโรงเรียนนายร้อย นี้เปนท่ีแห่งหน่ึง ซ่ึงเรามีเหตุที่จะชื่นชมยินดีโดยเฉพาะเปน ๒ ภาค ที่ได้เห็นการสำเร็จ แลจะไดส้ ั่งใหเ้ ปิดโรงเรียนในวนั น้ี 232

เพราะเหตุว่าความบกพร่องของการทหารในกรุงสยาม ย่อมเปนสำคัญในเรี่องไม่มี ตัวนายท่ีพอจะบังคับบัญชาแลสำรองในเวลาเมื่อมีราชการ จึงเปนข้อสำคัญอันได้ดำริจัดการ โดยกวดขัน แต่สถานท่ีตั้งโรงเรียนเดิมคับแคบไม่พอท่ีจะขยายการให้ใหญ่ได้ ในเวลา ผู้บัญชาการได้ไปด้วยราชการพิเศษในยุโรป เราจึงได้ตั้งหน้าหาท่ีซึ่งจะขยายการโรงเรียนน ี้ แลได้เลือกจัดเองเอาที่นี้เปนโรงเรียน ด้วยเห็นว่าจะเปนที่เหมาะแก่การใหญ่ไปภายหน้า สว่ นกรมทหารบกไดจ้ ดั การดว้ ยความคดิ และสตปิ ญั ญา ผอ่ นผนั ทำการเปนลำดบั มาจนสำเรจ็ เรียบดีแล้ว ใช่แต่ได้ทำสำเร็จแก่สถานที่โรงเรียนนายร้อยช้ันมัธยมน้ี เม่ือใดได้จัดการ เล่าเรียนของนักเรียนเจริญยิ่งข้ึนจนให้ผลดีปรากฏ มีนักเรียนออกเปนนายทหารเปนจำนวน มากกว่าแต่ก่อนเปนอันมาก ท้ังน้ีเพราะผู้บัญชาการโรงเรียนเปนผู้มีความรู้ประกอบด้วย ความอุตสาหะ ใช้ความรู้ความคิดอันดี จนนับว่าโรงเรียนน้ีเปนท่ีตั้งแห่งความมั่นคงของ กองทหารในพระราชอาณาจักร จึงเปนเหตุท่ีเราอดขอบใจความคิดตัวเองแลยกย่อง สรรเสริญความชอบความดีของผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการแลผู้บัญชาการโรงเรียนไม่ได้ นับว่าได้จัดการตั้งหลักฐานกำลังของกรุงสยามข้ึนได้สำเร็จแล้ว เม่ือความคิดข้ันกลาง ได้ดำเนินเช่นน้ีก็เปนท่าทางซึ่งเราจะได้มีความคิดถึงขั้นยอด คือมีโรงเรียนช้ันอุดมต่อไป ในภายหน้าอกี ด้วย... นอกจากนี้ทรงมพี ระราชดำรัสพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่นกั เรยี นนายรอ้ ยทหารบกว่า ...การทหารนั้นท่ีจะสำเร็จไปได้ก็โดยที่มีผู้บังคับบัญชาควบคุมให้พอแก่การถึงแม้ว่า เราจะมีพลทหารมากมายเท่าใดก็ดี แต่ไม่มีผู้ท่ีจะควบคุมทหารเหล่าน้ันเข้าสนามรบ ทหาร เหลา่ น้นั ก็ไมส่ ามารถจะได้ชยั ชนะแก่ขา้ ศกึ ไดเ้ ลย ย่อมตอ้ งอาศยั นายทหารทมี่ คี วามรู้ แลมีสติ ปัญญาสามารถท่ีจะนำไปสู่ชัยชนะได้ แลควบคุมบังคับบัญชาในเวลาปกติ ก็นายทหารน้ันจะ ได้มาจากไหนเล่า ก็ต้องได้จากโรงเรียนนายร้อย คือจากพวกเจ้าน่ันเอง เพราะฉะน้ันเจ้า ท้ังหลายจงต้ังอุตสาหพยายามในการเล่าเรียนวิชาของตนให้ดีเถิด เตรียมการที่จะทำหน้าท ่ ี ซ่ึงสำคัญที่สุด ซึ่งถ้าพูดในทางทำการให้แก่เจ้าแผ่นดิน ก็เปนการฉลองพระเดชพระคุณ ดที ส่ี ดุ ยง่ิ กวา่ อยา่ งอ่นื คือ หนา้ ท่ีปอ้ งกันความอิสรภาพของบ้านเกิดเมอื งนอนของเรา... อน่ึง นอกจากโรงเรียนนายรอ้ ยทหารบกแลว้ ยงั มีการจัดตั้งโรงเรียนนายสบิ ทหารบกมณฑลกรงุ เทพฯ อีกด้วย กองนักเรียนนายสิบมณฑลกรุงเทพฯ น้ีจัดเป็น ๑ กองร้อย ประจำอยู่ในศาลายุทธนาธิการ แบ่งชั้น เรียนออกเป็น ๒ ชนั้ ผู้ท่สี มัครเป็นนักเรยี นจะมาจากบุตรหมกู่ รมและกองทหารตา่ งๆ ซึ่งกรมและกองเหน็ ชอบ ด้วย และต้องเป็นผู้ท่ีว่องไว มีพ้ืนวิชาหนังสือมาแต่เดิมบ้างแล้ว ปรากฏว่ามีผู้นิยมเข้าเป็นนักเรียนนายสิบ เพราะได้เงินเดือนมากกว่าเมื่อประจำในกองทหาร และมีช่องทางที่จะได้เลื่อนเป็นนักเรียนนายร้อยอีกด้วย ทั้งหน้าท่ีราชการก็มีแต่ที่จะได้เล่าเรียนและฝึกหัด ส่วนกรมและกองเดิมก็สนับสนุนให้คนของตนเข้ามาเป็น นักเรียนนายสิบ เพราะเม่ือสอบไล่ได้แล้วก็ได้ไปประจำกองตามเดิม เว้นแต่จะไปเป็นนักเรียนนายร้อย ส่วนคน ท่ีไม่ได้เป็นทหารมาก่อนก็หวังประโยชน์ว่า เมื่อสอบไล่ที่โรงเรียนนายสิบได้แล้วจะได้เล่ือนขึ้นเป็นนักเรียน นายรอ้ ยภายหลงั หรือหากไมไ่ ด้เป็นนักเรยี นนายรอ้ ย ก็ยังมีช่องทางทีจ่ ะออกไปเป็นนายสบิ มีเงินเดอื นไมน่ อ้ ย ไปกว่าที่จะไปประกอบอาชีพด้านอื่น 233

ประชาชนเฝา้ ชมการสวนสนามทหี่ นา้ กระทรวงกลาโหม โรงเรยี นทหารทงั้ สองประเภทดำเนนิ การจนเจรญิ กา้ วหนา้ เมอ่ื พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดเ้ สดจ็ โรงเรยี นนายรอ้ ย ในวนั ที่ ๕ มกราคม ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) เพอ่ื พระราชทานรางวลั นกั เรยี นนายรอ้ ย ได้มพี ระราชดำรสั ความตอนหนึ่งว่า ...เรามีความยินดีที่ได้เห็นผลแห่งความเจริญของกองนักเรียนนายร้อยแลนายสิบ ทหารบก ซ่ึงได้มีความเจริญดีแปลกข้ึนกว่าเก่า อันได้แก้ไขเพ่ิมเติมให้มีจำนวนพลนักเรียน มากขึ้นกว่าปีก่อน ความเจริญได้มีปรากฏว่าการที่มีพลนักเรียนมากข้ึนถึงเพียงไรก็ดี ความฝึกหัดก็ไม่เส่ือมทรามลดถอยลง คงดีแปลกขึ้นเสมอ ถึงแม้ว่าจำนวนพลนักเรียน นายร้อยมากจนเกินอัตรา ก็ยังหาเกินกว่าความต้องการไม่ แต่เขามักกล่าวว่า การท่ีมีทหาร มากก็ไม่เปนประโยชน์อันใดอันที่ได้กล่าวดังน้ี ก็เปนด้วยความคิดส้ัน ธรรมดาที่จะปกป้อง 234

รักษาพระนครก็ต้องอาศัยกำลัง เราหวังใจว่ากองทัพบกสยามคงจะมีความเจริญดีย่ิงข้ึน ไปสู่ทางอนั สูง... ผลของการจดั ราชการทหารบก ใน พ.ศ. ๒๔๕๒ เมอ่ื มกี ารประลองยทุ ธท์ ที่ งุ่ พญาไทและการสวนสนาม ท่ีลานพระราชวังดุสิต คนท้ังปวงท่ีเข้าชมก็ได้เห็นศักยภาพของกองทัพไทย พรั่งพร้อมด้วยเครื่องศาสตราวุธ ซึ่งได้จัดสร้างข้ึนใหม่ ตลอดจนวิธีฝึกหัดกระบวนรบ ในคร้ังนั้นรัฐบาลฝรั่งเศสถึงกับมอบให้นายพลแม่ทัพ ฝรงั่ เศสเขา้ มาดูการประลองยทุ ธ์ ทำให้ได้เห็นว่ากำลงั ทหารของไทยมจี รงิ ๆ สมดังพระราชประสงค์ของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท้ังน้ีการจัดราชการทหารบกในรัชสมัยของพระองค์เป็นการจัดให้เข้าระบบ การทหารของตะวนั ตกเป็นกองร้อย กองพนั กรม และกองพลท่ีเป็นมาตรฐาน การสวนสนามทีท่ อ้ งสนามหลวง 235



๑๑ เกษตรกรรม - อตุ สาหกรรมยุคใหม่ ...ท่านแต่ก่อนท่านเห็นว่าเปนการบำรุงชาวนาสมแก่ความปรารถนาอยู่แล้ว เมื่อพิเคราะห์ดูตามตำแหน่งของเสนาบดีว่าการกรมนาเช่นน้ี ถ้าทำได้เต็มตามตำแหน่ง คอื หมน่ั เอาใจใสแ่ นะนำชาวนาใหท้ ำการไรน่ า แลระงบั ความววิ าทดว้ ยเรอ่ื งทน่ี า แลเรอื่ ง สัตว์ที่สำหรับจะใช้ทำนา ให้แล้วไปได้โดยเร็วอย่าให้ต้องติดค้างอยู่เน่ินนาน ก็คงจะเปน ประโยชน์ไดจ้ ริงตามความม่งุ หมาย... (พระราชดำรสั ในพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงแถลงพระบรมราชาธบิ ายแกไ้ ขการปกครองแผ่นดิน) เกษตรกรรมเป็นปจั จัยทางเศรษฐกจิ ทสี่ ำคญั ทสี่ ุดมาตัง้ แตก่ ่อตั้งอาณาจักรไทย ส่วนใหญ่เปน็ การผลิต แบบพอยังชีพ (Sufficient Economy) ต่อมาเม่ือมีการเปิดระบบเศรษฐกิจเสรีทำให้มีการส่งออกสินค้าเกษตร ตามความต้องการของตลาดโลก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิรูปและพัฒนาการเกษตร และอตุ สาหกรรมในด้านต่างๆ ใหเ้ จรญิ กา้ วหนา้ และสอดคล้องกบั การเตบิ โตทางเศรษฐกิจของสยามในขณะนน้ั การเกษตรกรรมยุคใหม ่ ระบบเศรษฐกิจด้ังเดิมของประเทศสยามขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม พลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ ดำรงชีพด้วยการทำนาปลูกข้าว อาศัยแรงงานชาวนาและวัวควาย ไม่มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิต ผลผลิตจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับธรรมชาติ หากปีใดฝนแล้งหรือเกิดน้ำท่วม ไร่นาและพืชผลการเกษตร ของราษฎรก็จะได้รับความเสียหายและมีจำนวนลดน้อยลง การค้าของประชาชนยังไม่แพร่หลาย ส่วนใหญ่ ใช้ระบบแลกเปลี่ยนสินค้าซ่ึงกันและกัน การผลิตก็ทำพอกินพอใช้ในครอบครัวไม่ให้เดือดร้อน หากมีข้าวเหลือ จากการบริโภคภายในประเทศ ก็ส่งออกไปขายต่างประเทศ เช่น ชวา มลายู และจีน ส่วนสินค้าอุปโภคต่างๆ ผลติ เพือ่ ใช้ในครัวเรือนและแลกเปล่ียนระหว่างกนั 237

หลังจากสยามได้ทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ และกับประเทศอ่ืนๆ ในปีต่อๆ มา ระบบเศรษฐกิจของสยามได้เปล่ียนแปลงไปจากเดิม ระบบพระคลังสินค้าซึ่งเคยผูกขาดการค้ากับต่างประเทศมาช้านานถูกยกเลิกไป เปล่ียนเป็นการค้าแบบเสรี มีผลตอ่ การคา้ ขายทั้งภายในและภายนอกประเทศ พ่อคา้ ชาวตะวนั ตกและชาติตา่ งๆ ได้นำเรือสนิ ค้าเข้ามาค้าขาย กับสยามเป็นจำนวนมาก ระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมของไทยจึงเส่ือมไป ขณะเดียวกันสยามได้ส่ังซื้อสินค้า ฟ่มุ เฟือยจากตา่ งชาติมากขึน้ เมื่อรัฐบาลอนุญาตให้ส่งข้าวเป็นสินค้าออกได้ ข้าวจึงกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญและนำรายได้เข้าสู่ ประเทศเป็นจำนวนมาก ระบบการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศเปล่ียนเป็นการผลิตเพ่ือการค้าและการ ส่งออก รัฐบาลต้องเร่งการผลิตข้าวให้ทันกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ ทำให้มีการบุกเบิกขยายพื้นที่ ที่เคยรกร้างว่างเปล่าเป็นพ้ืนที่การเกษตรเพ่ือผลิตข้าวให้ได้มากท่ีสุด ท่ีสำคัญคือบริเวณที่ราบภาคกลางระหว่าง แม่น้ำสายต่างๆ ทางการได้ขุดคลองเช่ือมถึงกันเพื่อส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่ไร่นาของราษฎร อาทิเช่น คลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ และคลองดำเนินสะดวก เป็นต้น เม่ือข้าวที่ส่งออกไปขายต่างประเทศได้ราคาดี ประชาชนได้ หันมาทำนากันมากข้ึน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักในความสำคัญของการเกษตรกรรมซึ่งเป็น อาชีพหลักของชาวไทย ผลผลิตทางการเกษตรเป็นแหล่งท่ีมาของรายได้ประชาชาติและเป็นที่มาของสินค้าออก ด้วยเหตุท่ีการเกษตรกรรมของไทยยังต้องพึ่งพาธรรมชาติอยู่มาก พระองค์ได้ทรงแสดงความห่วงใยราษฎร ในเร่ืองการทำไร่ทำนาดังจะเห็นได้จากกระแสพระราชดำรัสท่ีว่ารัฐบาลพยายามบำรุงการกสิกรรมและการ พานิชกรรมให้เจริญข้ึน เพื่อนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์อันเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจให้แก่ ประเทศ เมอ่ื ครงั้ ทเ่ี สดจ็ พระราชดำเนนิ เยอื นเกาะชวา พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดท้ อดพระเนตร การเกษตรกรรมของชวาซ่ึงมีความก้าวหน้าทันสมัยและให้ผลผลิตสูง อันเป็นผลจากการวางรากฐานและการ ส่งเสริมของฮอลันดาซ่ึงเป็นผู้ปกครองชวาอยู่ในขณะน้ัน ด้วยเหตุน้ีจึงทรงส่งเสริมกิจการต่างๆ เพื่อทำนุบำรุง เกษตรกรรมของไทย การขดุ คลอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนให้หน่วยงานท้ังของราชการและเอกชน ขุดคลองใหม่และขุดลอกคลองเก่า พระบรมราโชบายเกี่ยวกับการขุดคลองมี ๓ ประการ คือ ประการแรก การขุดคลองโดยใช้งบประมาณของรัฐบาล ให้เป็นงานในความรับผิดชอบของกรมสุขาภิบาลและกรมเจ้าท่า กระทรวงโยธาธิการ กับกรมคลอง กระทรวงเกษตรพานิชยการ กรมเหล่านี้มีหน้าที่สำรวจปักเขตสำรวจท่ีดิน ขดุ คลอง ตรวจตรารกั ษา และซ่อมแซมคลอง ประการท่สี อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ราษฎรทั่วไป ขุดคลองตามแนวพระราโชบายและพระราชดำริ ซึ่งทรงพิจารณาเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ราษฎรส่วนใหญ่ เป็นหลัก นอกจากน้ี ยังโปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรมีส่วนช่วยรัฐบาลในการขุดซ่อมคลองเก่าอีกด้วย และประการ ท่ีสาม ให้บริษัทเอกชนดำเนินการเช่นเดียวกับราษฎรท่ัวไป ใน พ.ศ. ๒๔๓๓ รัฐบาลได้ให้สัมปทานบริษัท เอกชนท่ีรวมตัวกันจัดต้ังบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม (The Siam Canals, Land and Irrigation Company) ทำการขดุ คลองประยูรศกั ดริ์ ังสติ (คลองรังสติ ) ในทุง่ ฝัง่ ตะวนั ตกของแม่นำ้ เจ้าพระยาเปน็ เวลา ๒๕ ปีเพือ่ ขยาย 238

การขดุ คลองรังสิตในรชั สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว ชว่ ยขยายพืน้ ทีท่ ำนาเพม่ิ ขนึ้ จำนวนมาก เนื้อท่ีทำนาให้กว้างขวางยิ่งข้ึน คลองสำคัญคลองแรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขุดข้ึนคือ คลองเปรมประชากร นอกจากน้ีก็มีคลองประเวศบุรีรมย์ และยังมีคลองซอยแยกออกจาก คลองใหญ่อีกเป็นจำนวนมาก มีการทำประตูกั้นน้ำเพ่ือเอื้อประโยชน์ต่อการใช้พ้ืนที่เพาะปลูกและใช้เป็นเส้นทาง คมนาคมอีกด้วย เช่น ประตูก้ันน้ำท่ีคลองภาษีเจริญตอนในและตอนนอก ประตูก้ันน้ำคลองรังสิต เป็นต้น ประโยชน์ที่ได้รับจากการขุดคลองสายต่างๆ ก็คือเป็นการช่วยให้การขนส่งผลิตผลการเกษตร เช่น ข้าว พืชผล ตา่ งๆ ฯลฯ จากแหลง่ ผลติ ออกสู่ทอ้ งตลาดไดส้ ะดวกรวดเร็วข้นึ 239

แผนท่มี ณฑลกรงุ เทพ แสดงตำแหนง่ ท่ีนายแวน เดอ ไฮเด จะขดุ คลองทดนำ้ พ.ศ. ๒๔๔๖ 240

การขุดคลองเหล่าน้ีเป็นการเปิดพ้ืนท่ีนาระหว่างสองฟากคลอง เพ่ือให้ราษฎรเข้าจับจองท่ีดิน ทำการเพาะปลูกต่อไป ดังปรากฏในพระราชดำรัสตอบพระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ และ ขา้ ทูลละอองธุลีพระบาท ในการเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. ๒๔๒๐ ความตอนหนงึ่ ว่า ...ข้าพเจ้าก็ได้ต้ังใจอยู่เสมอที่จะทำนุบำรุงให้ไร่นาบริบูรณ์ข้ึน แลเมื่อปีกลายน้ี ได้ให้ขุดคลองตั้งแต่ศาลากลางคลองแสนแสบถึงปลายคลองท่าไข่ แขวงเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเปนท่ีทุ่งว่างไม่มีไร่นา บัดนี้การก็แล้วไปได้มาก แต่ยังหาเสร็จไม่ แต่ไม่ยอมให้ราษฎร จับจองนาในท่ีใหม่ซึ่งคลองขุดเข้าไปแล้วน้ัน ที่ได้รับใบจองไปแล้วก็มาก แลได้ลงมือทำนา ในฤดูนี้ก็มีบ้าง เปนนาจองแล้ว ๑๘,๘๐๐ ไร่เศษ ที่เน้ือท่ียังมีอยู่อีกน้ันราษฎรก็ได้มาลงช่ือ ไว้แล้วท้ังส้ินกำลังแจกใบจองอยู่ เปนเน้ือนาจะได้ถึง ๓๐,๐๐๐ ไร่ ในปีหลังๆ ต่อไปคงจะ เกิดข้าวขึ้นในคลองน้ีมากขึ้นทุกปี แต่ท่ีนาตามลำคลองนั้นยังหาพอกับราษฎรที่มาลงชื่อไม่ ยังคิดอยู่ว่าจะขุดคลองเปนนาให้ราษฎรทำนาลึกๆ เข้าไปให้ได้อีก จะให้ได้ลงมือทำการ ขุดคลองในปีนี้ พอลูกจ้างท่ีหยุดการสีข้าวจะได้ทำการขุดคลองไปกว่าจะได้ทำการสีข้าวใหม่ ขอใหฝ้ นแลน้ำบริบูรณ์ในปหี นา้ เทอญ... ท้องที่แถบเมืองฉะเชิงเทราก็เป็นอีกแหล่งหน่ึงท่ีทรงมีพระราชดำริส่งเสริมการทำนาของราษฎรด้วย การขุดคลองเพื่อบำรุงการเพาะปลูกและอาศัยเป็นเส้นทางขนส่งลำเลียงสินค้าข้าว ดังในพระราชดำรัสในวาระ เดยี วกนั กบั ขา้ งต้นวา่ ...อนึ่ง เห็นว่าเมืองฉะเชิงเทรา เปนเมืองตั้งอยู่ใกล้ปากน้ำบางปะกงต่อขึ้นไปตาม ลำน้ำน้นั เปนเมอื งปราจนี บุรี เมอื งนครนายก ในพน้ื ทเี่ มืองเหล่านน้ั เปนท้องทุ่งท่ีทำไร่ทำนา ได้มาก แต่ราษฎรซ่ึงจะบรรทุกข้าวแลบรรทุกสินค้าเข้ามากรุงเทพฯ ไม่ใคร่จะได้ ด้วยคลอง ที่จะไปมาต่อเขตแดนกับกรุงเทพฯ นั้น น้ำต้ืนเรือต้องติดค้างอยู่นานๆ จึงได้ขุดคลองต้ังแต่ คลองแสนแสบไปถึงคลองท่าไข่ แขวงเมืองฉะเชิงเทราซึ่งได้กล่าวไว้แล้วเมื่อคร้ังก่อน บัดนี้ คลองนั้นก็ขุดแล้วเสร็จ ให้ช่ือว่าคลองนครเนื่องเขตได้เปิดให้ราษฎรเดินไปมาแลจับจองท่ีนา ในฤดนู ้ีราษฎรกไ็ ดล้ งมาทำนาหลายแห่งหลายรายแล้ว แลพระยาวเิ ศษฤๅไชยไดบ้ อกเขา้ มาว่า ระยะทางตั้งแต่ลำธารวังเย็นมาตกถึงคลองบางไผ่แขวงเมืองฉะเชิงเทรา เป็นทาง ๔๐๐ เส้น เปนที่ราษฎรประสงค์อยากจะให้ขุดคลองในที่นั้นเพราะจะได้ท่ีทำนาดี แลจะได้บรรทุกไม้ ลงมาแต่ป่าวังเย็น ซ่ึงเคยเข็นมาทางบกแต่ก่อนโดยความลำบากค่าจ้างก็แรง ถ้ามีลำคลอง แล้วก็จะได้ที่เนื้อนาเกิดข้ึนทั้งสองฟากคลองประมาณสักหมื่นไร่เศษ แลไม้ก็จะได้ล่องลงมา ตามลำคลองน้ันโดยสะดวกเปนอันมาก จึงได้ให้พระชลธารวินิจฉัยออกไปตรวจทำแผนที่ แลลงมือขุดคลองไปแล้วได้ ๒๓๗ เส้น ราษฎรจับจองนาแล้ว ๔,๖๐๐ ไร่เศษ คลองนี้ยัง ไมเ่ ปนอนั แลว้ เสร็จไป... นอกจากน้ี เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๓๕ พระองค์ทรงยกระดับหน่วยงานท่ีรับผิดชอบด้านการเกษตรคือกรมนา ต้ังเป็นกระทรวงเกษตรพานิชยการ โดยมเี จา้ พระยาสรุ ศกั ดมิ์ นตรี (เจมิ แสงชโู ต) เปน็ เสนาบดี (พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๔๐) และตอ่ มาไดต้ ง้ั หนว่ ยงานยอ่ ย 241

เช่น ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้ตั้งกรมคลอง (ต่อมาเปล่ียนชื่อเป็นกรมทดน้ำและกรมชลประทานตามลำดับ) เพ่ือ สนับสนุนใหก้ ารเพาะปลกู ได้รับผลดีอย่างเตม็ ท ี่ การชลประทาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับการชลประทานเพื่อการเกษตร เป็นอย่างมาก เนื่องจากสยามเป็นประเทศเกษตรกรรม น้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเพาะปลูก เมื่อพระองค ์ เสด็จประพาสชวา ทรงชื่นชมวิธีการเก็บกักน้ำและวิธีการระบายน้ำหรือระบบการชลประทานของชวาซ่ึงเป็น การวางระบบของฮอลันดา พระองค์ได้ทรงว่าจ้างนายเจ. โฮมัน แวน เดอ ไฮเด (J. Homan van der Heide) วิศวกรชลประทานชาวฮอลันดามาศึกษาและพิจารณาวางโครงการชลประทานในประเทศสยาม ต่อมาเม่ือมีการ จัดตั้งกรมคลอง กระทรวงเกษตรพานิชยการ นายแวน เดอ ไฮเด ก็ได้รับแต่งต้ังเป็นอธิบดีกรมคลอง เปน็ คนแรก นายเจ. โฮมนั แวน เดอ ไฮเด นายแวน เดอ ไฮเด ได้กำหนดหน้าที่การ ปฏิบัติงานหลักของกรมคือ การจัดหาและสร้าง แหล่งน้ำทั่วประเทศเพื่อใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก มีการจัดสร้างทำนบตามหัวเมือง นายไฮเดได้ให้ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่ราชการหลายประการ เช่น การแก้ไขสภาพทุ่งรังสิต ปรับปรุงขุดลอก คลองรังสิต คัดค้านการผูกขาดของบริษัทขุดคลอง และคูนาสยาม เพราะก่อปัญหาความไม่เป็นธรรม แก่ราษฎรในเรื่องกรรมสิทธิ์ท่ีดินและสิทธิการใช้น้ำ จากคลองรังสิต จากปัญหาท่ีเกิดขึ้นในทุ่งรังสิต นายไฮเดได้เสนอให้รัฐบาลดำเนินการขุดคลองในทุ่ง นครนายกเอง ข้อเสนอที่สำคัญท่ีสุดของนายไฮเดคือ โครงการชลประทานบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนลา่ ง (โครงการเขอื่ นเจา้ พระยา) สรา้ งเขอ่ื นระบายนำ้ ขนาดใหญเ่ พอื่ ใชป้ ระโยชน์ในการเพาะปลกู หากมีการ ดำเนินการตามโครงการนี้ จะทำให้บริเวณท่ีราบลุ่ม แ ม่ น้ ำ เ จ้ า พ ร ะ ย า ต อ น ล่ า ง มี พื้ น ที่ ท ำ น า ไ ด้ ถึ ง ๔,๕๐๐,๐๐๐ ไร่ มากกว่าครึ่งหนงึ่ ของพืน้ ที่เพาะปลกู ท่ีมีอยู่ในขณะนั้น พื้นท่ีเพาะปลูกท่ีเพ่ิมขึ้นจะสามารถ รองรับประชาชนที่เป็นแรงงานอิสระ ซ่ึงได้รับการ ปลดปล่อยจากระบบไพร่และระบบทาสได้ แต่ โครงการนี้ต้องใช้งบประมาณสูงถึง ๖๐ ล้านบาท 242

ประจวบกับในระยะนั้นรัฐบาลมีโครงการจะสร้างทางรถไฟซึ่งจำเป็นต่อความมั่นคงของประเทศมากกว่า จึงจำต้องชะลอโครงการด้านชลประทานไปก่อน และมาร้ือฟ้ืนอีกคร้ังหน่ึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ- เกล้าเจา้ อยหู่ วั การตราพระราชบญั ญัติโฉนดทีด่ นิ ในด้านเกษตรกรรม ปัจจัยท่ีสำคัญย่ิงคือท่ีดิน พระมหากษัตริย์ในการปกครองระบอบราชาธิปไตย ทรงเป็น “พระเจ้าแผ่นดิน” เพราะทรงเป็นเจ้าของท่ีดินทั้งหมดในพระราชอาณาจักร พระองค์ทรงมีพระบรม- ราชานุญาตให้ราษฎรมีสิทธิครอบครองที่ดินทำกินได้ แต่หากรัฐบาลต้องการใช้ที่ดินทำประโยชน์ รัฐบาลก็มี อำนาจขับไล่ราษฎรออกจากทด่ี นิ ผนื นัน้ ได้โดยมติ อ้ งจ่ายเงนิ คา่ เวนคืนแตอ่ ย่างใด อย่างไรกต็ าม ราษฎรในอดตี ไมเ่ ดอื ดรอ้ นมากนกั เพราะยงั มที ดี่ ินวา่ งเปล่าที่จะใช้บกุ เบิกทำกินอีกมาก เม่ือพระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ราษฎรมีสิทธิครอบครองท่ีดินได้แล้ว รัฐบาลก ็ ออกใบสำคัญสำหรับท่ีดินใหร้ าษฎรเก็บไว้เป็นหลกั ฐาน ซ่งึ มีดว้ ยกัน ๖ ชนิด คอื ตราแดง โฉนดสวน โฉนดป่า ตราจอง ใบเหยียบยำ่ และหนงั สือสำคญั สำหรับทบ่ี ้าน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชากรของประเทศเพ่ิมจำนวนมากข้ึนและที่ดิน ก็มีราคาสูงข้ึนอันเป็นผลมาจากการค้าขายกับต่างประเทศท่ีทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก อีกท้ังรัฐบาล ส่งเสริมให้มีการสร้างทางรถไฟและขุดคลองคูนา ราษฎรได้จับจองและหักร้างถางพงพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ตามใจชอบ นอกจากน้ีการออกโฉนดตราจองก็ไม่รัดกุม ทำให้มีการออกโฉนดตราจองซ้ำซ้อนกัน ท้ังยัง สามารถปลอมแปลงเอกสารได้ ก่อให้เกิดปัญหาทะเลาะวิวาทแย่งชิงท่ีดิน ปัญหาข้อพิพาทเก่ียวกับการแย่งสิทธิ ในท่ีดินระหว่างราษฎรมีเพ่ิมมากขึ้น ถึงกับมีการร้องทุกข์ถวายฎีกาแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีไปถึงเจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดกี รมนา เม่ือวันท่ี ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ว่า …ด้วยฉันไปบางปะอินคราวนี้ ราษฎรฎีกามาหลายฉบับ เห็นมีใจความแต่เร่ืองนา แลดว้ ยตราแดงทเ่ี ร่อื งนาจะเปนสทิ ธแิ์ กผ่ ูน้ นั้ ฤๅไมเ่ ปนสิทธิ์ เปนมากกวา่ ทุกอย่างฉะน.ี้ ..” ในสมัยที่เจ้าพระยาสุรศักด์ิมนตรีเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตรพานิชยการ (พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๔๐) ได้มีการแก้ไขการออกโฉนดตราจองไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกัน ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๘ โปรดให้ตั้งศาลสำหรับ ตัดสินปัญหาเรื่องที่นาโดยเฉพาะสมัยที่เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) เป็นเสนาบดี (พ.ศ. ๒๔๔๒ - ๒๔๕๒) ได้ตั้งข้าหลวงพิเศษจัดการที่นาทั้งในกรุงและหัวเมือง ท่ีสำคัญใน พ.ศ. ๒๔๔๒ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมทะเบียนที่ดินสังกัดกระทรวงเกษตรพานิชยการ ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทะเบียนท่ีดิน โดยมนี ายดบั เบลิ ย.ู เอ. เกรแฮม ชาวองั กฤษเปน็ อธบิ ดี (พ.ศ. ๒๔๔๔ - ๒๔๕๐) ผลงานทสี่ ำคญั ของกรมทะเบยี น ท่ีดินคอื การออกโฉนดท่ดี ินซง่ึ เปน็ ผลใหก้ ารครอบครองท่ดี นิ ของราษฎรเป็นระเบียบข้นึ 243

เจา้ พระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ ถ่ายภาพร่วมกับอธบิ ดกี รมทีด่ ิน และข้าราชการท่หี น้าทท่ี ำการกระทรวงเกษตรพานชิ ยการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักในความเดือดร้อนของราษฎร พระองค์ทรงมี พระราโชบายที่จะสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของราษฎร เพื่อให้ราษฎรสามารถดำรง ชีพอยู่ด้วยความสุขสงบ และได้รับความเป็นธรรมจากการแก้ไขข้อพิพาทเรื่องท่ีดิน การพิสูจน์สิทธิในท่ีดิน ของราษฎรจึงเป็นภารกิจที่รัฐบาลต้องดำเนินการ รัฐบาลพยายามแก้ไขโดยการออกระเบียบต่างๆ เช่น ข้อบังคับการหวงห้ามท่ีดิน พระราชบญั ญัตริ ักษาคลองและทำนบก้ันน้ำ ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีประกาศออกโฉนดท่ีดิน แบบใหม่ รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๐ ในบริเวณมณฑลกรุงเก่า ต้ังแต่แยกบางไทรขึ้นไปจนถึงคลองตะเคียน แยกแควสกี กุ ซงึ่ ถอื วา่ เปน็ การออกโฉนดทด่ี นิ แบบสากลครงั้ แรกของไทย และตอ่ มาใน ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) โปรดใหต้ ราพระราชบญั ญตั ทิ ดี่ นิ ในครงั้ นใ้ี หเ้ ปลย่ี นชอ่ื เรยี กโฉนดทด่ี นิ แบบเกา่ มาเปน็ “โฉนดแผนทอ่ี ยา่ งใหม”่ ผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการออกโฉนดท่ีดินแบบใหม่ตามประกาศออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. ๑๒๐ คือ ข้าหลวงเกษตร หรือใน ร.ศ. ๑๒๗ เรียกว่า ข้าหลวงออกโฉนดที่ดิน มีพระยาประชาชีพบริบาล (ผ่ึง ชูโต) เป็นข้าหลวงคนแรก มีการออกเดินรังวัดท่ีดิน เมื่อได้ใบหมายเขตท่ีดินแล้ว ก็จะเขียนโฉนดให้แก่ราษฎรโดยมี แผนท่จี ำลองดา้ นหลังโฉนด การออกโฉนดทีด่ ินแบบใหมน่ ้ีเปน็ โฉนดทด่ี นิ ซึง่ เจ้าหน้าทีข่ องกรมแผนที่ กระทรวง เกษตรพานิชยการไดร้ ังวัดตรวจเขตที่ดินตามแผนที่ระวางอันเปน็ งานท่ีละเอียด ต้องใชเ้ วลานาน เมื่อเขยี นโฉนด ตำบลใดเสร็จ ก็จะประกาศล่วงหน้าก่อนท่ีจะแจกโฉนดท่ีดินเป็นเวลา ๓๐ วันเพ่ือให้ผู้เสียประโยชน์คัดค้านได้ หากไมม่ ผี ใู้ ดคัดค้าน ก็จะประกาศให้ราษฎรเจา้ ของที่ดินมารับโฉนดภายใน ๑๕ วันหรอื ๓๐ วนั โดยประกาศ ในราชกิจจานเุ บกษา 244


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook