Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 0000005674

0000005674

Published by สมหมาย เสียงเพราะ, 2022-07-30 10:31:35

Description: 0000005674

Search

Read the Text Version

นอกจากนี้ พระมหานายกเถระท้ังฝ่ายสยามวงศ์ ฝ่ายรามัญ และฝ่ายอมรปุระ ประเทศศรีลังกา ไดท้ ำหนังสือสรรเสริญพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หวั แปลความได้วา่ ...อาตมาภาพทั้งหลายผู้ลงช่ือในท้ายหนังสือน้ีเพื่อตนเองและแทนพระสงฆ์ในลังกา ท่ีเหลือ ขอถวายความนับถืออันยิ่งและความจงรัก โดยน้ำใจจริงของอาตมาภาพท้ังหลาย แด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้เปนพระมหากษัตริย์ทรงนับถือพระพุทธศาสนา อยู่ในโลกแต่พระองค์เดียว... พระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ในสมัยสุโขทัย การปกครองคณะสงฆ์แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่ายคือ คณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสีซึ่งเป็นพระสงฆ ์ ที่จำพรรษาอยู่ในเมือง มุ่งเน้นการศึกษาพระไตรปิฎกให้แตกฉานเพื่อส่ังสอนพุทธบริษัท และคณะสงฆ์ ฝ่ายอรัญวาสีซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ห่างไกลจากชุมชน มุ่งเน้นหนักไปทางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ต่อมาในสมัยอยุธยา ใน พ.ศ. ๑๙๖๗ พระสงฆ์คามวาสีกลุ่มหนึ่งออกไปบวชแปลงท่ีลังกาซึ่งมีวัตรปฏิบัติ เคร่งครัด เม่ือเดินทางกลับมาอยุธยา พระสงฆ์กลุ่มน้ีได้ตั้งคณะใหม่ข้ึนคือคณะป่าแก้วหรือคามวาสีฝ่ายขวา จึงทำให้การปกครองคณะสงฆ์แบ่งออกเป็น ๓ คณะคือ ๑) คณะคามวาสีฝ่ายขวา เป็นคณะสงฆ์ท่ีเคยไปศึกษา จากลังกา มีพระวันรัตวัดป่าแก้วเป็นเจ้าคณะปกครอง ๒) คณะคามวาสีฝ่ายซ้ายหรือคามวาสีเดิม มีสมเด็จ พระสังฆราชวัดมหาธาตุเป็นเจ้าคณะปกครอง และ ๓) คณะอรัญวาสี มีพระพุทธาจารย์วัดโบสถ์ราชเดชะ เป็นเจา้ คณะกลาง คณะสงฆ์ท้งั สามฝ่ายน้ีจัดการปกครองตามพระธรรมวนิ ัยและข้ึนตรงต่อพระมหากษัตรยิ ์ ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐ การพระพุทธศาสนาของไทยทรุดโทรมลง เกิดความขัดแย้งในหมู่คณะสงฆ์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรีทรงจัดการสังฆมณฑลให้เป็น ระเบียบเรียบร้อย โดยยังคงรักษาแบบแผนเหมือนเมื่อครั้งกรุงเก่า และให้การปกครองคณะสงฆ์ข้ึนตรงต่อ พระมหากษัตริย์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การปกครองคณะสงฆ์ยังคงเป็นรูปแบบเดิมแต่เปล่ียนมาเรียก ช่ือใหม่คือ คณะคามวาสีฝ่ายซ้ายเป็นคณะเหนือ คณะคามวาสีฝ่ายขวาเป็นคณะใต้ ส่วนคณะอรัญวาสียังคง ชื่อเดิม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ออกกฎหมายเก่ียวกับ คณะสงฆ์จำนวน ๑๐ ฉบับเพื่อควบคุมความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุที่ชอบทำตนเป็นอลัชชี และทรง แต่งต้ังสมเด็จพระสังฆราชเป็นประมุขของฝ่ายสงฆ์ ข้ึนตรงต่อองค์พระมหากษัตริย์ มีกรมสังฆการีทำหน้าที่ ปกครองพระสงฆ์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวมพระอารามหลวง และราษฎร์ในกรุงเทพฯ เข้าเป็นอีกคณะหน่ึงต่างหาก เรียกว่า “คณะกลาง” ในสมัยน้ีสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ได้ก่อต้ังคณะธรรมยุติกนิกายข้ึนเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความประพฤติของพระสงฆ์ ให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ หลังจากที่สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎข้ึนครองราชย์ คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายได้รับการ ยกย่องข้ึนเป็นคณะหนึ่ง โดยมีพระองค์เจ้า กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ุ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา ปวเรศวริยาลงกรณ์) เป็นผู้บังคับบัญชา แต่ยังรวมอยู่ในคณะกลางจนกระท่ังสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเดจ็ พระปรมานุชติ ชิโนรสส้นิ พระชนม์ จงึ แยกตัวออกเปน็ คณะหนง่ึ ตา่ งหาก ทำใหก้ ารปกครองคณะสงฆ์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแบ่งออกเป็น ๕ คณะคือ คณะกลาง คณะเหนือ คณะใต้ 345

คณะอรัญวาสี และคณะธรรมยุติกนิกาย อย่างไรก็ตาม ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงให้ความอุปถัมภ ์ พระสงฆฝ์ ่ายมหานกิ ายซงึ่ เปน็ นกิ ายเดิมมาตั้งแตส่ มยั สโุ ขทัยกบั ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเสมอกนั รชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอย่หู ัว เม่อื ทรงปฏริ ปู การปกครองฝ่ายอาณาจักรแล้ว ทรง พระราชดำริเห็นสมควรให้จัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ เพ่ือให้สอดคล้องกับการปกครองของฝ่าย บา้ นเมอื ง เน่ืองจากในสมยั นมี้ ีปญั หาเกย่ี วกับพระพทุ ธศาสนาหลายประการ ดงั ตอ่ ไปน้ี ความแตกแยกทางพระพทุ ธศาสนา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดการ แตกแยกทางพระพุทธศาสนาอันสืบเน่ืองจากการที่คณะสงฆ์ไทยแบ่งออกเป็น ๒ นิกายใหญ่ คือมหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย ทั้งๆ ที่นิกายท้ังสองน้ีก็อยู่ในนิกายเถรวาทเช่นเดียวกัน แต่มีการตีความพระวินัยและ ข้อวัตรปฏิบัติท่ีแตกต่างกัน พระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายต้ังข้อรังเกียจในเรื่องวินัยของพระสงฆ์มหานิกายว่า มีความประพฤติย่อหย่อน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเห็นว่าการแตกแยก ของนิกายทั้งสองนี้ทำให้กิจการพระพุทธศาสนาไม่เจริญรุ่งเรือง และเป็นสาเหตุให้เกิดการแตกสามัคคีตามมา ดังข้อความในพระนิพนธ์เร่ืองต่างๆ ว่า “...พระธรรมยุติกาบางเหล่าผู้เช่ือในสมัยตนเกินไป ลงสันนิษฐานว่า พระมหานิกายไม่เปนอุปสัมบัน คือไม่เปนพระอันถูกต้องแบบพระวินัยด้วยอ้างเหตุต่างๆ ความเห็นอย่างนี้ย่ิง แพร่หลายออกไปเพียงใด ความเปนต่างนิกาย ก็ยิ่งปรากฏข้ึนเพียงนั้น...” ความแตกแยกของนิกายสงฆ์เป็น สิ่งท่ีฝ่ายอาณาจักรไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เพราะมีผลทำให้ประชาชนที่นับถือพระสงฆ์เกิดความแตกแยกเช่นเดียว กบั พระสงฆ์ท่ีตนนบั ถอื จึงต้องการใหค้ ณะสงฆท์ แี่ ตกแยกมีความสามคั คีกนั การปฏิบัติตนของพระสงฆ์ ปกติแล้วพระสงฆ์ต้องปฏิบัติตามพระวินัยหรือพุทธบัญญัติ พระวินัย กำหนดไว้ว่าความผิดของพระสงฆ์ข้อใดบ้างสามารถแก้ไขให้เป็นผู้บริสุทธ์ิได้ และข้อใดเมื่อทำผิดแล้วแก้ไข ให้บริสุทธ์ิไม่ได้ซ่ึงต้องให้สึกจากความเป็นพระภิกษุ ข้อผิดในพระวินัยร้ายแรงในพระพุทธศาสนามักเป็น ความผิดเก่ียวกับสตรีอันเป็นเหตุให้พระศาสนามัวหมอง นอกจากน้ีพระสงฆ์บางรูปยังประพฤติตัวไม่เหมาะสม เช่น สูบกัญชา ดื่มสุรา ฉันภัตตาหารในเวลาวิกาล ออกจากวัดไปเที่ยว และเล่นถั่วโป เป็นต้น เป็นการแสดง ให้เห็นว่าเจ้าคณะปกครองไม่ว่ากล่าวลงโทษตักเตือนพระภิกษุท่ีทำความผิดเลย และเมื่อตรวจดูในกฎหมาย พระสงฆ์ก็ไม่ระบุบทลงโทษชัดเจน ดังปรากฏข้อความในพระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจา้ อยูห่ วั ทรงมไี ปถึงเจา้ พระยาภาสกรวงศ์และพระยาวฒุ ิการบดี ลงวนั ที่ ๑๔ กมุ ภาพนั ธ์ ร.ศ. ๑๒๐ วา่ ด้วยได้สั่งให้กระทรวงยุติธรรมตรวจดูพระราชกำหนดกฎหมายในเรื่องท่ีจะป้องกัน ไม่ให้พระภิกษุสงฆ์ประพฤติอนาจาร บัดน้ีกระทรวงยุติธรรมมีจดหมายมาว่า ได้ตรวจด ู พระราชกำหนดกฎหมายเกา่ ใหมเ่ พอื่ ทจี่ ะปอ้ งกนั เหตนุ ี้ เหน็ วา่ ในกฎหมายพระสงฆก์ ด็ ี พระราช- บัญญตั ริ ชั กาลท่ี ๔ ปวี อกก็ดี แลในลักษณผวั เมยี ก็ดี กฎหมายเหลา่ นไี้ ม่ปรากฏมคี วามชัดวา่ ให้ทำโทษพระได้นอกจากทำผิดถึงปาราชิก มีอยู่บ้างก็เปนแต่ให้ศึกฤๅเอาตัวญาติโยมมา ทำโทษ... ความลา่ ชา้ ในการจดั การปญั หาคณะสงฆ์ เมอื่ มปี ญั หาเกยี่ วกบั พระสงฆท์ ำผดิ พระวนิ ยั การตดั สนิ ความ เป็นไปอย่างล่าช้า กรมสังฆการีซ่ึงมีหน้าท่ีปกครองคณะสงฆ์ก็มิได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง พระมหากษัตริย์ ต้องทรงเข้ามาจัดการเร่ืองราวท่ีเกิดข้ึนด้วยพระองค์เอง เป็นการรบกวนเบื้องพระยุคลบาท ความด้อย 346

สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวรยิ าลงกรณ ์ 347

ประสิทธิภาพขององค์กรน้ีเห็นได้จากข้อความในพระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หวั ทรงแถลงแก้ไขการปกครองแผ่นดนิ ว่า ...ด้วยผู้ซ่ึงจะเปนขุนนางในตำแหน่งธรรมการน้ี ดูเหมือนจะต้องใช้ผู้ซ่ึงสนัดในทาง วัดๆ ผู้ซ่ึงสนัดในทางวัดๆ เช่นนั้น ก็คงจะต้องใช้คนท่ีเปนคนบวชอยู่นานเร่อร่างุ่มง่าม ไมส่ มควรเปนขนุ นางผู้ใหญ.่ .. การรวมคณะสงฆเ์ ขา้ ส่สู ่วนกลาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ท่ีจะจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ให้มีรูปแบบท่ีชัดเจน มีบทบัญญัติในการปกครองท่ีสอดคล้องกับรูปแบบการปกครองของฝ่ายบ้านเมือง เพื่อแก้ไขลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ซึ่งไม่มีลักษณะรวมศูนย์เหมือนฝ่ายอาณาจักร คณะสงฆ์บางวัดขึ้นกับ กรุงเทพฯ บางวัดข้ึนกับหัวเมือง ทำให้การปกครองคณะสงฆ์มีความสับสนในระบบสายงานการบังคับบัญชา มีความลักลั่นไม่ครอบคลุมท่ัวราชอาณาจักรและไม่เป็นระบบเดียวกัน และมีความแตกต่างระหว่างการปกครอง คณะสงฆ์ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ขณะเดียวกันพระสงฆ์ตามหัวเมืองสำคัญท่ีเคยเป็นประเทศราชของไทย กม็ รี ูปแบบการปกครองคณะสงฆเ์ ปน็ ของตนเอง เชน่ คณะสงฆ์ลา้ นนาและคณะสงฆล์ า้ นช้าง อาจทำให้เกิดความ ยุ่งยากทางการปกครองได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ ลกั ษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ขน้ึ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๔๕ โดยมีพระบรมราชโองการ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นผู้ดูแลคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติ และมีประกาศ ประกอบพระราชบัญญัติลกั ษณะการปกครองคณะสงฆ์วา่ ...ทุกวันน้ีการปกครองข้างฝ่ายพระราชอาณาจักร ก็ได้ทรงพระราชดำริห์แก้ไข แลจดั ตง้ั แบบแผนการปกครอง ใหเ้ รียบรอ้ ยเจริญดีข้นึ กว่าแต่ก่อนเปนหลายประการแล้ว แลฝ่ายพระพุทธจักรนั้น การปกครองสงฆมณฑล ย่อมเปนการสำคัญท้ังใน ประโยชน์แห่งพระสาสนา แลในประโยชน์ความเจริญของพระราชอาณาจักรด้วย ถ้าการ ปกครองสงฆมณฑลเปนไปตามแบบแผนอันเรียบร้อย พระสาสนาก็จะรุ่งเรืองถาวร แลจะ ชักนำประชาชนท้ังหลาย ให้เล่ือมใสศรัทธาต่อพระพุทธสาสโนวาท ประพฤติสัมมาปฏิบัต ิ แลร่ำเรียนวิชาคุณในสงฆสำนักย่ิงขึ้นเปนอันมาก มีพระราชประสงค์จะทรงทำนุบำรุง สงฆมณฑล ให้เจรญิ คณุ สมบตั มิ ั่นคงสืบไปในพระสาสนา.. พระราชบญั ญตั ิการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ประกอบด้วยบทบัญญตั ิ ๔๕ มาตรา มสี าระสำคัญ ดังน้ี ๑. ให้การรับรองฐานะของคณะสงฆ์ไทยว่ามี ๒ นิกายใหญ่คือ ธรรมยุติกนิกาย และมหานิกาย เจ้าคณะเดิมมีหนา้ ท่ีปกครองคณะสงฆ์ของตนอยา่ งไร ก็ให้คงเปน็ ไปตามเดมิ แต่การปกครองอนั เปน็ ส่วนสามัญ ทั่วไปในนิกายให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติน้ี ดังน้ัน คณะธรรมยุติกนิกายจึงได้รับ “พรพิเศษ” คือได้รับ พระบรมราชานญุ าตใหป้ กครองกันเอง ไม่ตอ้ งขึน้ ตรงต่อการปกครองของนิกายอนื่ 348

๒. มีการจัดต้ังองค์กรหลักในการปกครองคณะสงฆ์ คือ กรรมการมหาเถรสมาคม จำนวน ๘ รูป ตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญตั ลิ กั ษณะการปกครองคณะสงฆท์ วี่ ่า ...สมเดจ็ เจ้าคณะใหญท่ ้ัง ๔ ตำแหนง่ คอื เจา้ คณะใหญค่ ณะเหนือ ๑ เจ้าคณะใหญ่ คณะใต้ ๑ เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติกา ๑ เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง ๑ ท้ังเจ้าคณะรอง เจ้าคณะเหนือ คณะใต้ คณะธรรมยุติกา คณะกลางทั้ง ๔ ตำแหน่งน้ัน ยกเปนพระมหาเถร ท่ที รงปรึกษาในการพระศาสนา แลปกครองบำรงุ สังฆมณฑลทัว่ ไป... พระมหาเถรทงั้ ๘ รปู น้ี เป็นองคก์ รบริหารสูงสุดในกจิ การของพระพุทธศาสนา มอี ำนาจตดั สนิ กจิ การ ทั้งปวงของพระพุทธศาสนา และเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ในการพระศาสนา ตำแหน่งกรรมการ มหาเถรสมาคมน้ีเป็นตำแหน่งใหม่ที่ตั้งขึ้นเพ่ือให้ทำหน้าที่สำคัญในการปกครองคณะสงฆ์ และเป็นการแบ่งเบา พระราชภาระของพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระสังฆราช เพื่อให้คณะสงฆ์ได้มีอำนาจในการปกครองกันเอง ดงั ข้อความในพระราชบญั ญตั หิ มวด ๒ ตอนหนง่ึ ว่า ...ข้อภาระธุระในพระสาสนา หรือในสงฆมณฑล ซึ่งได้โปรดให้พระมหาเถระทั้งนี้ ประชุมวินิจฉัยในที่มหาเถระสมาคมตั้งแต่ ๕ พระองค์ขึ้นไป คำตัดสินของมหาเถระสมาคม นั้นใหเ้ ปนสิทธขิ์ าด ผู้ใดจะอทุ ธรณ์หรอื โต้แยง้ ตอ่ ไปอกี ไม่ได.้ .. ดังนั้น ภายใต้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ การปกครองคณะสงฆ์ ในส่วนกลางจึงมีกรรมการมหาเถรสมาคมเป็นคณะปกครองสูงสุด แทนที่จะอยู่ภายใต้พระราชอำนาจ พระมหากษัตริย์โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้ปกครองคณะสงฆ์ต่างพระเนตรพระกรรณดังแต่ก่อน กรรมการมหาเถรสมาคมมีหน้าท่ีในการออกกฎเกณฑ์ทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้เจ้าคณะต่างๆ ตามลำดับช้ัน นำไปใช้กับคณะสงฆ์ท่ีอยู่ในบังคับบัญชาของตน จึงเป็นการสร้างความเป็นอันหน่ึงอันเดียวกันในการปกครอง คณะสงฆ ์ ๓. การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค มีการจัดระเบียบการปกครองควบคู่กับการบริหารราชการ แผ่นดินส่วนภูมิภาค กล่าวคือ มีการแบ่งส่วนการปกครองคณะสงฆ์ออกเป็นสังฆมณฑล แบ่งเป็นลำดับช้ัน ต้ังแต่ เจ้าอาวาส เจ้าคณะแขวง เจ้าคณะมือง และเจ้าคณะมณฑล พระมหากษัตริย์ทรงแต่งต้ังเจ้าคณะมณฑล จากพระราชาคณะให้เป็นผู้ปกครองดูแลกิจการคณะสงฆ์ในสังฆมณฑลนั้น เจ้าคณะมณฑลเทียบได้กับ ข้าหลวงเทศาภิบาลผู้ทำหน้าท่ีปกครองมณฑล รองจากเจ้าคณะมณฑลก็มีเจ้าคณะเมืองหรือจังหวัด ถัดมา ก็เปน็ เจ้าคณะแขวงหรืออำเภอ เปน็ ผ้ปู กครองเจา้ อาวาสตา่ งๆ พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ บังคับใช้กับมณฑลต่างๆ ๑๔ มณฑลคือ มณฑลกรุงเทพฯ มณฑลกรุงเก่า มณฑลพิษณุโลก มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลนครราชสีมา มณฑล ราชบุรี มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลนครไชยศรี มณฑลชุมพร มณฑลภเู กต็ มณฑลจันทบุรี มณฑลอสิ าน และมณฑลบูรพา นับต้ังแต่วนั ที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ เปน็ ต้นไป และต่อมาในวนั ท่ี ๕ ธนั วาคม ร.ศ. ๑๒๗ ได้ประกาศใชใ้ นมณฑลอดุ ร 349

เจ้าคณะมณฑลมีหน้าที่บำรุงศาสนา ซึ่งได้แก่ การดูแลสภาพความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ในเขต การปกครองของตน จัดระเบียบการปกครองในมณฑลให้พระสงฆ์มีความรับผิดชอบในกิจวัตรของสงฆ ์ ตามพระวินัยบัญญัติและพระราชบัญญัติ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่จัดการศึกษาในวัดแก่กุลบุตรให้เจริญรุ่งเรือง ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการออกตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลจะต้องกระทำ อย่างสม่ำเสมอ แล้วรายงานมายังส่วนกลางเพ่ือพิจารณาว่าคณะสงฆ์ในมณฑลนั้นๆ มีความพร้อมที่จะปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติหรือไม่ การออกตรวจการดังกล่าวนี้มีผลทำให้พระสงฆ์และประชาชนในภูมิภาคได้รู้จัก กับพระสงฆ์ในระดับปกครองและทำให้แบบแผนการปกครองของศาสนจักรเป็นแบบเดียวกันทั่วราชอาณาจักร อกี ทั้งเปน็ การสร้างความสนิทสนมระหว่างคณะสงฆท์ ั้งฝา่ ยธรรมยุติกนิกายและมหานิกาย ในสว่ นของเจา้ คณะเมอื ง เจ้าคณะแขวง และเจา้ อาวาส พระราชบัญญตั ิลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ กำหนดบทบาท หน้าที่ และขอบเขตอำนาจการปกครองไว้อยา่ งชัดเจน มีการปกครองตามลำดับชั้น ในวัดหน่ึงให้มีพระภิกษุเป็นเจ้าอาวาส เจ้าอาวาสในวัดในกรุงเทพฯ จะได้รับการคัดเลือกจากพระราชาคณะ โดยการปรึกษาพระสงฆ์และสัปปุรุษทายกวัดน้ัน แต่หากเป็นวัดในหัวเมือง ให้เจ้าคณะแขวงปรึกษาพระสงฆ์ และสัปปุรุษทายกของวัดน้ันเป็นผู้คัดเลือก แล้วเสนอเจ้าคณะเมืองเพ่ือทำตราตั้งต่อไป ส่วนการเลือกต้ัง เจ้าคณะแขวง เป็นหน้าท่ีของเจ้าคณะเมือง แล้วเสนอต่อเจ้าคณะมณฑลเพื่อทำตราตั้ง สำหรับตำแหน่ง พระราชาคณะหรอื เจ้าคณะเมอื ง แล้วแต่พระมหากษัตรยิ ์จะทรงพระราชดำริเหน็ สมควร การตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ข้ึนบังคับใช้ มีผลให้ปัญหาเรื่อง การแตกแยกระหว่างธรรมยุติกนิกายและมหานิกายลดน้อยลง พระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบ และประกาศคณะสงฆ์อย่างเคร่งครัด และมีแนวทางปฏิบัติทางศาสนาเป็นแนวเดียวกัน อันเป็น ประโยชน์ต่อฝ่ายปกครองทั้งที่เป็นฝ่ายสงฆ์และฝ่ายบ้านเมือง และเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาในประเทศ สยามให้เจรญิ รงุ่ เรือง การทำนบุ ำรงุ พระพทุ ธศาสนาของสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พ.ศ. ๒๔๐๓ - ๒๔๖๔) ทรงมบี ทบาทสำคญั ยิง่ ในการสรา้ งความเจรญิ รงุ่ เรอื งใหแ้ กว่ งการพระพทุ ธศาสนาและคณะสงฆใ์ นรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ - เจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาแพ มีพระนามว่าพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ และเป็นพระราชอนุชาของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เม่ือประสูติ สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงตรวจพระชะตาแล้วทรงทำนายว่า พระราชโอรสพระองค์น้ีจะได้เป็นใหญ่ในสังฆมณฑล เมื่อทรงเจริญพระชนมายุได้ ๘ พรรษาทรงเร่ิมศึกษา ภาษาบาลีจนสามารถแปลธรรมบทได้ก่อนทรงผนวชเป็นสามเณร เม่ือมีพระชนมายุ ๒๐ พรรษาทรงผนวช เป็นพระภิกษุ ประทับอยู่ท่ีวัดบวรนิเวศวิหาร และตัดสินพระทัยถือครองสมณเพศไปตลอดพระชนม์ชีพ สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเดจ็ พระสงั ฆราชพระองคท์ ่ี ๑๐ > 350

351

ภายหลงั ได้เสดจ็ มาประทับอย่ทู ่ีวดั มกุฎกษัตริยารามเพือ่ ศกึ ษาพระธรรมวนิ ัย ใน พ.ศ. ๒๔๒๔ ทรงได้รบั เฉลมิ พระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๒๗ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เชิญเสด็จมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหารเพ่ือให้ทรงดูแลพระเจ้าลูกยาเธอ ๔ พระองค์เม่ือคราวทรงผนวชเป็นสามเณรก่อนเสด็จไปทรงศึกษาในยุโรป ใน พ.ศ. ๒๔๓๔ เมื่อสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ส้ินพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าคณะใหญ่ ฝา่ ยธรรมยตุ ิกนิกายสืบตอ่ มา ครน้ั เมื่อสมเดจ็ พระสงั ฆราช (สา ปุสสเทว) แหง่ วดั ราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม สิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๒๔๔๒ ก็ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นพระองค์ท่ี ๑๐ ปกครองคณะสงฆ์ท่ัวพระราชอาณาจักร และได้เลื่อนพระเกียรติยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส ใน พ.ศ. ๒๔๔๘ เม่ือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จข้ึนครองราชย์ ใน พ.ศ. ๒๔๕๓ โปรดเกลา้ ฯ ใหป้ ระกอบพระราชพธิ มี หาสมณตุ มาภเิ ษกเลอ่ื นพระอสิ รยิ ยศกรมหลวงวชริ ญาณ- วโรรส มีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และใน พ.ศ. ๒๔๖๔ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นหลักในการปรับปรุงกิจการของพระพุทธศาสนาและการจัดการศึกษาของสงฆ์ ตลอดระยะเวลา ๔๒ ปที ่ีทรงผนวช (พ.ศ. ๒๔๒๒ - ๒๔๖๔) พระเจา้ น้องยาเธอ กรมหมืน่ วชิรญาณวโรรสทรง ทำคณุ ประโยชน์ให้แก่วงการพระพุทธศาสนา ทำใหพ้ ระพุทธศาสนาเจรญิ กา้ วหนา้ เปน็ ปกึ แผน่ มัน่ คง ดงั ตอ่ ไปน ี้ การปกครองคณะสงฆ์ ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนวชิรญาณวโรรส มีอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร ในกรณีท่ีมีอธิกรณ์ คือ ความผิดท่ีเกิดข้ึนในหมู่พระสงฆ์ เช่น การประพฤติผิดวินัย การอาบัติของพระสงฆ์ สังฆกรรมวิบัติ และการเห็นขัดแย้งเก่ียวกับพระธรรมวินัย ซึ่งมหาเถรสมาคมเป็นผู้ทำหน้าท่ีวินิจฉัยอธิกรณ์ โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเป็น ประธาน ในสมัยน้ี เจ้าคณะมณฑลท่ีส่งออกไปปกครองมณฑลต่างๆ ส่วนมากจะเป็นพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติก- นิกาย ท้ังนี้เพราะพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเห็นว่าพระสงฆ์ท่ีมีความสามารถในการ ปกครองส่วนใหญ่เป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกายซึ่งล้วนได้รับการศึกษาในระบบใหม่ ในขณะที่พระสงฆ์ฝ่ายมหา- นิกายได้รับการศึกษาพระปริยัติธรรมแบบดั้งเดิม และไม่สนิทสนมกับพระมหานิกายในท้องถ่ิน ส่วนพระสงฆ์ ฝา่ ยธรรมยุติกนิกายทีท่ รงสง่ ออกไปปกครองคณะสงฆน์ น้ั สามารถเขา้ กันได้ดีกบั พระสงฆใ์ นท้องถ่ินและมีความ เข้าใจธรรมเนียมปฏิบัติที่ส่วนกลางกำหนด ดังนั้นการที่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายซ่ึงเป็นพระส่วนน้อย มีอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์จึงทำให้พระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายซึ่งเป็นพระส่วนใหญ่เกิดความไม่พอใจ เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะสงฆใ์ นภายหลงั 352

การแก้ปัญหาการแตกแยกเร่ืองนิกายของสงฆ์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนวชิรญาณวโรรส ทรง พยายามแก้ไขข้อบาดหมางระหว่างธรรมยุติกนิกายและมหานกิ าย ดังจะเห็นได้จากขอ้ ความทที่ รงตรสั ไว้วา่ ...ความเปนต่างนิกายของพระสงฆ์ ไม่ดีเลย แต่เปนธรรมดาของปาพจน์มีศาสดา ล่วงแล้ว จะต้องเปนอย่างนี้ ด้วยแปลคำสอนไม่ถูกกันบ้าง ด้วยการปฏิบัติย่ิงหย่อนกว่ากัน บ้าง บริษัทย่อมแตกเปนต่างนิกายกัน มีทุกศาสนา ทางที่ควรทำเนื่องด้วยนิกายน้ี ควรคิด โยงต่างนกิ ายให้กลับเขา้ กันได้ แต่ออกจะเปนกิจพน้ วิสยั แลควรระวังอย่าให้แตกเปนอนุนิกาย ออกไปอกี ... การแก้ไขในเรื่องนี้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงใช้วิธีประนีประนอม ดังจะ เห็นได้จากภายในวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งพระองค์ทรงเป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่ ทรงอนุญาตให้พระมหานิกาย เข้ามาอยู่ร่วมวัดได้ เป็นการสมานสามัคคีระหว่างสองนิกาย และหากพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายรูปใดมีความ ประสงค์จะบวชแปลงเป็นธรรมยุติกนิกายก็อนุญาตให้ทำได้ แต่พระองค์ทรงให้ความเห็นว่าข้อวัตรปฏิบัติของ พระมหานกิ ายในขณะน้นั มคี วามเทา่ เทียมกบั พระธรรมยุตกิ นิกายแล้ว จงึ ไมจ่ ำเปน็ ตอ้ งบวชแปลง การจัดการศึกษาของสงฆ์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนวชิรญาณวโรรส ทรงเห็นความสำคัญของ การศึกษาของสงฆ์เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นปัจจัยสำคัญท่ีจะส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ภิกษุสามเณรต้องศึกษาพระธรรมคำส่ังสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจลึกซึ้งเพื่อเทศนาสั่งสอนประชาชน การศึกษาของคณะสงฆ์ในสมัยก่อนเป็นการเรียนรู้แบบโบราณ ไม่มีระเบียบแบบแผนที่แน่นอน ทำให้ภิกษุ สามเณรไม่มีความรู้ดีพอ พระองค์จึงทรงแก้ไขปรับปรุงการศึกษาของสงฆ์ให้เจริญขึ้น ในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั มีการจดั ตงั้ สถาบันการศึกษาสำหรับพระสงฆข์ ึ้น ๒ แหง่ คือ ๑. มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ตั้งขึ้นท่ีวัดมหาธาตุเม่ือ พ.ศ. ๒๔๓๒ ใช้ชั้นแรกมีนามว่า “มหาธาตุวิทยาลัย” เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเรียนแต่วิชาการทาง พระพทุ ธศาสนา ๒. มหามกุฏราชวิทยาลัย ต้ังข้ึนในวัดบวรนิเวศวิหารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ตามพระราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เพ่ือ เฉลิมพระบรมนามาภิไธยแห่งสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรง ก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เปิดดำเนินการในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ อันเป็นวันท่ีพระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หวั เสวยราชสมบัติครบ ๒๕ ปี มพี ระเจา้ น้องยาเธอ กรมหมน่ื วชิรญาณวโรรส ทรงเป็น ประธานในการจัดการศกึ ษา 353

วัดมหาธาตุยุวราชรงั สฤษฎ์ริ าชวรมหาวิหาร สถานศึกษาพระปรยิ ตั ิธรรมของคณะสงฆ์ฝ่ายมหานกิ าย วดั บวรนเิ วศวหิ าร สถานศกึ ษาพระปรยิ ตั ธิ รรมของคณะสงฆฝ์ า่ ยธรรมยตุ ิกนกิ าย 354

มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาพระธรรมวินัยของพระภิกษุสามเณร เป็นสถานท่ีอบรมส่ังสอน และเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ประชาชน และเป็นสถานที่เล่าเรียนของเด็กท่ีผู้ปกครองนำมาฝากไว้กับวัดเพ่ือ ศกึ ษาวชิ าความรตู้ า่ งๆ ในการจดั การเรยี นการสอน มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั ไดแ้ กไ้ ขปรบั ปรงุ การศกึ ษาพระปรยิ ตั -ิ ธรรมของภิกษสุ ามเณร ดว้ ยการนำเอาวชิ าการและวิธีการใหม่มาใช้ มกี ารเรยี นท้ังวชิ าภาษาไทย บาลี สนั สกฤต ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์เบื้องต้น และรัฐศาสตร์ ผู้ที่เรียนจบจากมหามกุฏราชวิทยาลัยสามารถออกไปสอน ตามโรงเรียนต่างๆ ได้ ใน พ.ศ. ๒๔๔๑ เม่ือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริจะ จัดตั้งโรงเรียนให้แพร่หลายไปถึงประชาชนทั่วไป ทรงมอบให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนวชิรญาณวโรรส เป็นผู้ดำเนินการศึกษาในหัวเมือง โดยการอุดหนุนของกระทรวงมหาดไทย มีผลให้วัดท้ังในกรุงและหัวเมือง เป็นสถานศึกษาของประชาชน มีพระสงฆ์เป็นครูผู้สอนกุลบุตรให้มีวิชาความรู้ มหามกุฏราชวิทยาลัยจึงกลาย เปน็ แหลง่ ผลิตครูท่ีเป็นพระสงฆอ์ อกไปสอนตามโรงเรียนต่างๆ และเปน็ สถานที่ทีพ่ ระภิกษสุ ามเณรจากหวั เมอื ง เข้ามาศึกษาเพื่อนำความร้กู ลบั ไปสอนกลุ บุตรในหวั เมืองอีกตอ่ หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าในการจัดการเรียนการสอนในประเทศ สยาม สมควรท่ีจะให้มีการเรียนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนด้วย ดังในพระราชหัตถเลขาถึงพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมืน่ วชริ ญาณวโรรส ฉบบั ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๗ ว่า “...เร่อื งการศกึ ษาน้ขี อใหท้ รงชว่ ยคดิ ให้ มากๆ จนถงึ รากเหง้าของการศึกษาในเมอื งไทย อย่าตัดช่องไปแต่การข้างวดั อกี ประการหนึง่ การสอนศาสนาใน โรงเรียนท้ังในกรุงแลหัวเมือง จะต้องให้มีข้ึน ให้มีความวิตกไปว่าเด็กชั้นหลังจะห่างเหินจากศาสนา จนเลยเปน คนทีไ่ มม่ ีธรรมในใจมากขน้ึ ...คนท่ไี ม่มีธรรมเปนเครือ่ งดำเนินตาม คงจะหนั ไปทางทจุ ริตโดยมาก...” การเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราโชบาย ที่จะให้มีการผลิตหนังสือทางศาสนา เพื่อให้คนท้ังปวงตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ได้อ่าน จะได้มีเคร่ืองยึดเหน่ียว เตือนใจชาวพุทธให้ยึดมั่นในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ดังในพระราชหัตถเลขาถึงพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ฉบับลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๗ ว่า “...ถ้ามีหนังสืออ่านสำหรับโรงเรียน ที่บังคับให้โรงเรียนต้องสอนกัน แต่ให้เปนอย่างใหม่ๆ ที่คนจะเข้าใจง่ายๆ แลเปนความประพฤติของคฤหัสถ ์ ชั้นต่ำๆ ขึ้นได้จะเปนคุณประโยชน์มาก หนังสือเช่นน้ีเสมออธิบายธรรมจักษุก็ยังสูงอยู่ ต้องให้เปนหนังสือ ชาวบ้านให้มากๆ ขึ้น แลรวังอย่าให้มีโซ๊ด แลถ้ามีคำสำหรับครูสอบถามเช่นศีล ๕ ถามว่าอะไรเปนองค์ที่ ๑ ที่ ๒ เปนตน้ ซ่ึงให้เดก็ ตอ้ งจำในใจในคำซ่ึงเปนหัวข้อเชน่ นั้นไดจ้ ะเปนการดี” พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสทรงพระนิพนธ์หนังสือทางพระพุทธศาสนาเพื่อเผยแพร่ ใหป้ ระชาชนไดม้ คี วามรคู้ วามเขา้ ใจในพระธรรมคำสงั่ สอนทางศาสนา หนงั สอื ธรรมมหี ลายประเภทและหลายระดบั ตง้ั แต่ง่ายไปถงึ ยาก ตามระดับความรู้และสตปิ ัญญาของผอู้ ่าน หนังสือธรรมของพระองค์ได้แก่ หนังสือเบญจศีลเบญจธรรม แสดงคำสอนเบ้ืองต้นของพระพุทธศาสนา ทรงพระนิพนธ์ตาม พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้เป็นหนังสือสำหรับสอนเด็กนักเรียน และพิมพ์แจกจ่ายแก่ประชาชนและวัดต่างๆ หนังสือเล่มน้ีเป็นท่ีนิยมกันมาก ดังในพระราชหัตถเลขาถึง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ฉบับลงวันท่ี ๑๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๒ ว่า “...อน่ึง ที่ประทาน หนงั สอื เบญจศลี เบญจธรรมมานนั้ ...หนงั สอื นไ้ี ดท้ ราบขา่ ววา่ เปนทน่ี ยิ มกนั มาก ขอขอบพระทยั ทไ่ี ดท้ รงเรยี บเรยี ง หนงั สอื น้ีขึ้นใหเ้ ปนประโยชนแ์ ก่พทุ ธสาสนิกชน และบตุ รหลานอนั จะเกิดมาในภายนา่ ...” 355

หนังสืออรรถศาสตร์ เป็นคำสอนช้ันกลาง แสดงประโยชน์ท่ีบุคคลจะพึงได้ในชาตินี้และชาติหน้า ตามคตทิ างพระพุทธศาสนา หนังสือธรรมวิจารณ์ เป็นหนังสือคำสอนชั้นสูงทางพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจในการ ปฏิบัติธรรมชั้นสูง หนังสอื เทศนา เปน็ บทเทศนาหลกั ธรรมทางพระพทุ ธศาสนาจำนวน ๑๒ กณั ฑ์ เช่น มงคลวเิ สสกถา อัปปมาทธรรม สตสิ ัมปชญั ญกถา และฆราวาสธัมมกถา เขยี นด้วยข้อความกะทดั รัด เข้าใจงา่ ย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขออาราธนาให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นธุระในการ เรียบเรียงหนังสือเทศนา พระราชหัตถเลขาถึงพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ฉบับลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน จุลศักราช ๑๒๔๙ (พ.ศ. ๒๔๓๐) ทรงอธิบายเหตุผลไว้ว่า “...การศาสนาในหัวเมืองอยู่ข้างจะ เหลวไหลเสอื่ มทรามมาก เพราะไมม่ หี นงั สอื แสดงขอ้ ปฏบิ ตั ทิ จ่ี รงิ แทส้ ำหรบั เลา่ เรยี น มแี ตห่ นงั สอื ทเี่ หลวๆ ไหลๆ ฤๅหนังสือท่ีลึกเกินไปผู้อ่านเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง จึงเห็นว่าถ้าแต่งหนังสือเทศน์ท่ีเข้าใจง่ายๆ เหมือนหนังสือ สมเด็จพระวันรัตนแต่งให้เปนคำไทยๆ อย่าให้ติดศับท์มากฤๅติดศับท์ต้องแปลทุกคำตีพิมพ์ส่งออกมาให ้ พระสงฆ์ตามหัวเมืองเทศนาสั่งสอนสัปรุศ เห็นว่าการศาสนาท่ีจริงแท้จะแพร่หลายเปนประโยชน์มาก...” นอกจากน้ี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ส่งหนังสือเทศนาแจกจ่ายไปตามวัด ต่างๆ ในหัวเมืองเพ่ือให้พระภิกษุสามเณรศึกษาและใช้เทศนาส่ังสอนประชาชนในวันพระกลางเดือน เดือนละ คร้ัง หนังสือนวโกวาท เป็นหนังสือคู่มือสำหรับพระภิกษุท่ีบวชใหม่ให้ได้รู้หลักปฏิบัติและพระวินัยทาง ศาสนา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงความชื่นชมที่มีการเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ ดงั ในพระราชหตั ถเลขาถึงพระเจ้านอ้ งยาเธอ กรมหมนื่ วชริ ญาณวโรรส ฉบบั ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๘ วา่ “...เหน็ ว่าตามทางที่เรยี บเรยี งไว้เดีย๋ วนี้ ยอ่ นักก็จริงแต่เปนหวั ข้อสำหรับทจี่ ะจำแลอาจารยจะสอนได้แม่นยำดี จะเปนของให้ประโยชน์แต่พระบวชใหม่ แต่เปนเคร่ืองตักเตือนใจแลสืบค้นง่ายของผู้ที่เคยฟังมาแล้ว สังเกตดู ในเวลาที่อ่านเมื่อถึงหมวดใดๆ ความรฦกก็แล่นได้ตลอดทุกครั้ง...ขอทูลสรรเสริญ ว่าการที่แต่งหนังสือเช่นนี้ เปนประโยชนอ์ ย่างย่งิ แลทางที่จัดให้พระบวชใหม่เล่าเรียน ซึ่งได้จัดแลว้ เปนการมคี ณุ แก่คนท่ไี ปบวชยิ่งนกั ” หนงั สือธรรมจักษุ เป็นนิตยสารรายเดือน แปลพระไตรปิฎกและพทุ ธศาสโนวาทต่างๆ รวบรวมเรอื่ ง ธรรมและเรื่องราวที่มีผู้แต่งไว้ในสมัยโบราณหลายเรื่อง เป็นการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาไปสู่ ประชาชน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสได้ประทานหนังสือธรรมจักษุแก่สมเด็จพระบรม- โอรสาธริ าช เจ้าฟ้ามหาวชิราวธุ สยามมกุฎราชกมุ าร ซ่ึงทรงศึกษาอยทู่ ี่ประเทศองั กฤษ ดงั ในพระราชหัตถเลขา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีถึงพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ลงวันที่ ๑๘ มกราคม ร.ศ. ๑๑๓ ความว่า “ด้วยเม่ือเวลาวานนี้ประทานหนังสือลูกชายโตมีตอบมา ด้วยส่งหนังสือ ธรรมจักษุไปประทานนั้น หม่อมฉันได้อ่านแล้ว มีความช่ืนชมยินดีที่เห็นว่า ยังมีน้ำใจรักใคร่ม่ันคงดำรงอยู่ใน พระพทุ ธศาสนาสมดงั ประสงค์ ขอได้โปรดทรงตักเตอื นสงั่ สอนเนืองๆ ควรแก่กาลสมัย...” 356

หนังสือประชุมพุทธศาสนสุภาษิต เป็นหนังสือรวบรวมพุทธศาสนสุภาษิตและพิมพ์แจกเนื่องในงาน เล่ือนกรมของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนวชิรญาณวโรรส เป็นกรมหลวงวชิรญาณวโรรส ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สะท้อนถึงความรัก ต่อชาติและประชาชนของพระองค์เพราะมีผลให้พระพุทธศาสนาในประเทศสยามมีความเจริญรุ่งเรือง เป็น ศาสนาประจำชาติ ด้วยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พุทธมามกะ และทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นม่ันคงของ พระพุทธศาสนา โดยมีพระเจ้านอ้ งยาเธอ กรมหมน่ื วชิรญาณวโรรส ทรงเปน็ กำลงั สำคญั ในการปรับปรงุ กจิ การ พระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้า พระพุทธศาสนาเป็นแรงบันดาลใจของประชาชนให้ยึดม่ันต่อการทำความดี เป็นพลเมืองที่ดีของแผ่นดิน และยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต ในขณะท่ีประเทศได้มีการพัฒนาในทางวัตถ ุ ให้ทันสมัย ประชาชนกไ็ ด้รบั การพฒั นาทางด้านจติ ใจให้เปน็ ผมู้ คี ุณธรรม กอ่ ใหเ้ กิดความม่นั คงแกป่ ระเทศชาติ 357



๑๖ ศิลปกรรมก้าวไกล ...ด้วยฉันมาอยู่ท่ีน่ีเกือบจะเรียกว่าพบปะแต่ช่างปั้นช่างเขียนช่างแกะช่างสลัก วันยงั คำ่ ๆ ด้วยการชา่ งเชน่ น้ียอ่ มเปนทีพ่ อใจลุ่มหลงของฉันแตเ่ ดิมมาแล้ว... (พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อย่หู ัว ถงึ สมเดจ็ พระนางเจา้ เสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินนี าถ วันท่ี ๑ มิถนุ ายน ร.ศ. ๑๑๖) แนวความคิดในการปรับปรุงด้านกายภาพและภูมิทัศน์ของกรุงเทพฯ ให้ทันสมัยแบบตะวันตก ได้เริ่ม มีขึ้นต้ังแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ การขยายเขตพระนครออกไปตามแนวคลอง ผดุงกรุงเกษมซ่ึงเป็นคูพระนครชั้นนอกท่ีขุดข้ึนใหม่ การสร้างถนนและคลองลัดเชื่อมท่าเรือชั้นนอกที่บางนา กับเขตพระนครชั้นในตรงบริเวณหัวลำโพงคือถนนตรง การตัดถนนแบบใหม่ท้ังในและนอกเขตพระนคร ได้แก่ ถนนเจริญกรุง บำรุงเมือง และเฟ่ืองนคร รวมท้งั สร้างตึกแถวสไตลโ์ คโลเนยี ลสองฟากฝงั่ ถนนตัดใหม่จนกลาย เป็นย่านการค้าสำคัญ นอกจากน้ียังมีการก่อสร้างอาคารท่ีมีรูปทรงอิทธิพลตะวันตกอีกหลายแห่งโดยเฉพาะ บรเิ วณรมิ แมน่ ำ้ เจา้ พระยาฟากตะวนั ออกในเขตชมุ ชนชาวตา่ งชาติ เชน่ สถานกงสลุ โบสถ์ โรงแรม อาคารรา้ นคา้ และบา้ นพกั อาศัย ภาพลกั ษณ์ของบ้านเมืองสยาม รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงระยะเวลาที่สยามได้เร่งสร้างภาพลักษณ์ ของกรุงเทพฯ ให้มีความทันสมัย สะดวก สบายและสะอาดถูกสุขอนามัย ไม่ด้อยไปกว่าเมืองหลวงของนานา ประเทศในยโุ รป ทง้ั นีเ้ พ่อื มิให้เปน็ ทด่ี แู คลนของชาวตะวันตก นอกจากน้ียงั มีผลทางออ้ มท่ีสามารถสรา้ งเอกภาพ ของราษฎรทุกเชื้อชาติ เนื่องจากทางการได้ยกเลิกนโยบายจำกัดเขตที่อยู่อาศัยของชนต่างชาติไว้นอกเขตกำแพง พระนคร รวมท้ังมาตรการป้องกันพระนครตามจารีตแบบเดิมที่จำเป็นต้องมีการขุดคูล้อมรอบพระนครพร้อม กำแพงเมอื งและปอ้ มประตูหอรบ เป็นโอกาสใหท้ างการสามารถวางแผนงานขยายเขตชมุ ชนออกไปนอกเมืองได้ 359

การขยายตัวของราชธานี เดมิ พน้ื ทีด่ ้านใตข้ องพระนครตามแนวลำน้ำเจ้าพระยา ซึง่ เป็นเขตเศรษฐกจิ ชุมชนพ่อค้าต่างชาติท่ีขยายตัวต่อเน่ืองมาจากรัชกาลก่อน ถึงรัชสมัยนี้ทางการและเอกชนได้ปรับปรุงพัฒนา พ้ืนท่เี พิม่ เติม เชน่ ขดุ คลองสลี มและสาทรเชื่อมถนนเจรญิ กรงุ และถนนตรง สร้างถนนขนาบ ๒ ฝั่งคลอง และ มีการตัดถนนเพิ่มข้ึนอีกหลายสาย จึงมีร้านค้าบ้านเรือนพ่อค้าข้าราชการเพิ่มข้ึนอีกจำนวนมาก นับเป็นย่าน ท่เี จรญิ ทนั สมยั แห่งหนงึ่ ส่วนบริเวณด้านเหนอื ของพระนครเร่มิ ขยายหลงั การเสด็จพระราชดำเนนิ ประพาสยโุ รป ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ เน่ืองจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเร่ิมสร้างพระราชวังดุสิตและวัง พระราชวงศ์ในพ้ืนทรี่ ะหว่างคลองผดงุ กรงุ เกษมและคลองสามเสน ภายหลังยังขยายตอ่ ไปทางตะวันออกเข้าสู่ทุ่ง พญาไทและปริมณฑล มีการตัดถนนพร้อมสะพานในพื้นที่น้ีเชื่อมต่อกับเขตพระนครชั้นในอีกหลายเส้นทาง เปน็ ผลใหม้ ปี ระชาชนออกไปต้ังชุมชน ทำใหร้ าชธานขี ยายออกอยา่ งกว้างขวาง ภายในพระบรมมหาราชวงั พระทน่ี ่ังบรมราชสถติ ยมโหฬาร พระราชวัง ความนิยมก่อสร้างอาคารแบบ ตะวันตกเริ่มจากในพระบรมมหาราชวัง ซ่ึงปรากฏ มากขึ้นหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาใน พ.ศ. ๒๔๑๓ ทั้งน้ี อาจเพราะทรงมีพระราชประสงค์จะสร้างพระราช- มณเฑียรท่ีโอ่อ่าทันสมัย ไม่ด้อยกว่าอาคารที่ทำการ ของชาติมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ คือการก่อสร้าง พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารเพ่ิมขึ้นจากพระราช- มณเฑียรท่ีสร้างเม่ือแรกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ คือ พระท่ีนั่งมูลสถานบรมอาสน์และพระที่นั่งสมมติ- เทวราชอปุ บตั ิ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๙ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้จัดสร้าง พระท่ีนั่งองค์ใหม่คือพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทข้ึน ทางด้านเหนือต่อจากพระราชมณเฑียรใหม่เพ่ือเป็น ท้องพระโรงและเป็นสถานที่ปฏิบัติพระราชกิจต่างๆ ภายหลังยังมีการก่อสร้างพระที่นั่งเพ่ิมเติมด้านหลัง พระท่ีนั่งพระบรมราชสถิตยมโหฬารเป็นท่ีประทับ ส่วนพระองค์ในเขตพระราชฐานช้ันใน เช่น พระท่ีน่ัง อมรพิมานมณีและพระที่น่ังสุทธาศรีอภิรมย์ รวมทั้ง พระตำหนักทีป่ ระทับของพระราชวงศ์ฝา่ ยใน อนง่ึ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ยังโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงบริเวณสวนขวาอีกหลาย ลักษณะ เช่น สร้างพระที่นั่งทรงผนวชสำหรับเป็น ที่ประทับระหว่างท่ีทรงผนวชเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ 360

พระท่นี งั่ จักรมี หาปราสาท ภายหลังย้ายไปปลูกไว้ท่ีวัดเบญจมบพิตร ประการสำคัญคือให้ร้ือหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ซึ่งเป็นพระราช- มณเฑียรที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื่องจากอาคารเสื่อมสภาพ ทั้งน้ีได้มีการสร้าง พระท่ีนั่งศิวาลัยมหาปราสาทซึ่งเป็นอาคารทรงไทยข้ึนแทนที่ใน พ.ศ. ๒๔๒๑ เพ่ือประดิษฐานพระบรมรูป อดีตพระบูรพกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีท้ัง ๔ พระองค์ (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ใหย้ ้ายพระบรมรูปไปประดษิ ฐานทปี่ ราสาทพระเทพบดิ ร) ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๐ ให้รอื้ โรงแสงต้น ทีอ่ ยูด่ ้านซ้ายของพระท่ีนง่ั ศวิ าลัยฯ และสรา้ งพระท่ีนั่งภาณุมาศจำรูญตามแบบสถาปัตยกรรมตะวนั ตก (ปจั จบุ ัน คือพระท่ีนั่งบรมพิมาน) เพื่อพระราชทานเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สว่ นด้านขวาของพระทน่ี ง่ั ศวิ าลยั ฯ นั้น ไดป้ รบั ปรุงสร้างสระและสวนประพาสสำหรับฝ่ายใน โดยเฉพาะในชว่ งที่ สมเดจ็ พระนางเจา้ เสาวภาผอ่ งศรี พระบรมราชนิ นี าถ ทรงปฏบิ ตั พิ ระกรณยี กจิ ในฐานะองคผ์ สู้ ำเรจ็ ราชการแผน่ ดนิ จะเห็นได้ว่า ในรัชสมัยน้ีถึงแม้จะมีการสร้างอาคารตามรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก แต่ก็ยัง โปรดเกล้าฯ ให้คงจารีตการก่อสร้างอาคารทรงไทยแบบประเพณีนิยมให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง รวมท้ังมีการ บรู ณปฏสิ งั ขรณพ์ ระมหาปราสาท พระทน่ี งั่ และหออาคารสำคญั ตา่ งๆ ยกเวน้ อาคารทช่ี ำรดุ เกนิ กวา่ จะซอ่ มแซมได้ ก็อาจรื้อถอนหรือปรับปรุงรูปแบบไปใช้ประโยชน์อย่างอ่ืน เน่ืองจากพื้นที่ใช้สอยประโยชน์ในพระบรมมหา- ราชวังมีไม่มากนัก 361

พระราชวังนอกกำแพงพระนคร หลังการเสดจ็ พระราชดำเนินเยอื นนานาประเทศยโุ รปใน พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงมพี ระราชดำรทิ จ่ี ะจดั สรา้ งวงั และสวนสำหรบั พกั ผอ่ นพระราชอริ ยิ าบถ ไว้นอกเขตพระนคร อันเป็นที่มาของการจัดซ้ือท่ีดินระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมและคลองสามเสน ด้วยเงิน พระคลังข้างท่ีซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างพระท่ีนั่งและตำหนักเจ้านาย ฝ่ายในเป็นท่ีประทับถาวรขึ้น พระราชทานนามว่า “พระราชวังดุสิต” พื้นท่ีโดยรอบทรงจัดแบ่งที่ดินและสร้าง ตำหนกั พระราชทานพระโอรสธิดาและเจ้าจอมบางท่าน สาเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริจัดสร้างพระราชวังใหม่เช่นน้ี มิใช่เป็นการเลียนแบบราชวงศ์ยุโรปท่ีมีวังที่ประทับหลายแห่ง แต่เน่ืองด้วยพื้นท่ีในพระบรมมหาราชวังค่อนข้าง แออัดโดยเฉพาะในเขตพระราชฐานช้ันในซึ่งมีแต่ตึกกำบังกระแสลม ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวมากในฤดูร้อน และอับชื้นในฤดูฝน นอกจากนี้ ยังไม่มีบริเวณให้เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทได้ เป็นผลให้ทรงมี พระพลานามัยที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ จนต้องเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประพาสหัวเมืองอยู่เสมอ ซึ่งจะกระทบกระเทือนต่อตารางการปฏิบัติพระราชกิจ ดังนั้นจึงทรงมีพระราชประสงค์จะสร้างที่ประทับพักร้อน และอทุ ยานเพือ่ การทรงสำราญพระอิรยิ าบถขนึ้ ในพนื้ ทีว่ ่างเขตชานพระนคร เม่ือแรกสร้างพระราชวังใหม่แห่งน้ี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง เฉพาะพลบั พลาทป่ี ระทบั แรมชว่ั คราว จนถงึ พ.ศ. ๒๔๔๓ จงึ เรม่ิ มกี ารกอ่ สรา้ งพระทน่ี งั่ วมิ านเมฆ (พระทน่ี งั่ ไม้ แบบใหม่) พระตำหนักเรือนต้น (เรือนไทย) ใน พ.ศ. ๒๔๔๗ พระที่น่ังอัมพรสถานและพระท่ีน่ังอุดรภาค (แบบตะวันตก) ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๕ - ๒๔๕๐ นอกจากน้ียังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักพระราชทาน พระมเหสแี ละเจา้ จอมมารดากบั พระธดิ าเรยี งรายตามภมู สิ ถานโดยรอบ สมเดจ็ พระพทุ ธเจา้ หลวงทรงโปรดปราน พระตำหนกั เรือนต้นในพระราชวงั ดสุ ติ 362

พระราชฐานแห่งใหม่นี้มาก ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมขุน นครสวรรค์วรพินติ ฉบับวนั ท่ี ๒๖ เมษายน ร.ศ. ๑๒๑ ความวา่ “...พอ่ มาอย่ทู นี่ ่สี บายดีเปนอนั มาก ถา้ อย่ใู นวงั เห็นจะเต็มทน ท่ีจะต้องไปเที่ยวอีก ร้อนเหลือกำลัง...” ต่อมาหลังจากเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป ครั้งที่สอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อใช้เป็น ทอ้ งพระโรงสำหรบั การเสดจ็ ออกมหาสมาคมและรบั รองพระราชอาคนั ตกุ ะ รวมทง้ั จดั สรา้ งลานกวา้ งไวด้ า้ นหนา้ สำหรับการประกอบพระราชพิธีกลางแจง้ และประดษิ ฐานพระบรมรปู ตามธรรมเนยี มนิยมของยโุ รปยุคน้นั พระราชฐานนอกเขตราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการสืบสานต่อจาก ความริเริ่มของสมเด็จพระบรมราชชนกท่ีจะสร้างพระราชวังสำหรับประทับระหว่างการเสด็จแปรพระราชฐาน ในหัวเมืองต่างๆ ทั้งเพ่ือสำราญพระราชอิริยาบถและจะได้สามารถเสด็จตรวจราชการและทอดพระเนตรทุกข์สุข ของประชาชนในวาระเดียวกัน พระราชวังหัวเมืองท่ีสำคัญ เช่น พระราชวังบางปะอินที่อยุธยา พระราชวังท่ี เกาะสชี ัง ชลบรุ ี พระนครครี ี และพระราชวงั บา้ นปืนท่เี พชรบุร ี พระราชวงั บ้านปืน เพชรบุร ี สงิ่ กอ่ สรา้ งในพระราชวงั เหล่านี้ มที ้งั ทเี่ ปน็ อาคารสถาปตั ยกรรมไทย ตะวนั ตก และลักษณะผสมผสาน แตท่ ส่ี ำคญั คอื มกี ารปรบั ภมู ทิ ศั นอ์ ยา่ งสวยงาม ประกอบดว้ ยอทุ ยานทร่ี วบรวมไมย้ นื ตน้ ไมด้ อกตา่ งๆ สนามหญา้ มีการขุดสระ ลำคลอง ทำเป็นเกาะแก่งตกแต่งด้วยโขดหินอย่างร่มรื่นงดงาม โดยเฉพาะท่ีพระราชวังบางปะอิน ซงึ่ เปน็ พระราชวงั ทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั เสดจ็ มาประทบั คอ่ นขา้ งสมำ่ เสมอ นบั ไดว้ า่ สถานทนี่ ี้ 363

เปน็ ตวั อยา่ งทส่ี ำคญั ของศลิ ปะสถาปตั ยกรรมในรชั สมยั นแ้ี หง่ หนงึ่ เพราะนอกจากเปน็ ทปี่ ระทบั สว่ นพระองคแ์ ลว้ ยังใช้เป็นสถานที่รับรองพระราชอาคันตุกะแห่งราชวงศ์ยุโรปท่ีเสด็จมาประสานไมตรีระหว่างกันเป็นประจำ ส่วนที่พระนครคีรีน้ันอาคารส่วนใหญ่จัดสร้างขึ้นในรัชกาลก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมปรับปรุงเพ่ือใช้เป็นท่ีรับรองแขกเมือง พระองค์ทรงโปรดบรรยากาศของเมืองเพชรบุรี จงึ มพี ระราชดำริให้จัดสรา้ งพระราชวงั ในสไตล์สถาปัตยกรรมตะวนั ตกข้ึนอีกแหง่ หน่ึงท่บี า้ นปืนริมลำนำ้ เพชรบุรี แตส่ วรรคตก่อนแล้วเสรจ็ พระราชวังที่เกาะสีชังนับว่าจัดสร้างข้ึนเพ่ือการพักผ่อนพระราชอิริยาบถอย่างแท้จริง ประกอบด้วย การปรบั ภมู ิทศั น์ท่ีต่างกันไปเพราะมที งั้ เขตเวิง้ อา่ ว ชายหาด และเนนิ เขา การที่ทรงเลือกทำเลนีเ้ พราะทรงเห็นวา่ มีอากาศดี ประชาชนท่ีอาศัยในเกาะน้ีก็มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง ถึงแม้จะมีปัญหาการบริหารจัดการเรื่องน้ำจืด อย่างไรก็ตาม การกอ่ สร้างพระทีน่ ั่งตา่ งๆ ยังไมแ่ ล้วเสร็จ กพ็ อดีเกดิ วกิ ฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ กองกำลงั ฝร่ังเศส เขา้ ยดึ ครองเกาะแหง่ นไ้ี วใ้ นคราวปดิ ปากอา่ วไทย พระราชวงั สชี งั จงึ ถกู ทงิ้ รา้ งไป แตจ่ ากการบรู ณะใหมใ่ นยคุ ปจั จบุ นั ยังคงแลเห็นได้ถึงความงดงามของงานศิลปะสถาปัตยกรรมท่ีเกิดจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปน็ อยา่ งด ี อาคารสถานทร่ี าชการ การจดั สรา้ งอาคารสว่ นกลางสำหรบั ใหข้ า้ ราชการแตล่ ะกรมกองปฏบิ ตั หิ นา้ ทน่ี นั้ มสี าเหตสุ บื เนอื่ งมาจากแนวพระราชดำรใิ นการแกไ้ ขปฏริ ปู การบรหิ ารราชการแผน่ ดนิ ทม่ี กี ารจดั ตง้ั หนว่ ยราชการ ทท่ี นั สมยั เฉพาะดา้ น ในการนจี้ งึ จำเปน็ ตอ้ งมสี ถานทปี่ ระจำใหข้ า้ ราชการในหนว่ ยงานนนั้ ๆ มาปฏบิ ตั หิ นา้ ทรี่ ว่ มกนั กระทรวงมหาดไทย เดิมคือศาลาลูกขนุ ใน ในพระบรมมหาราชวัง 364

มิใช่เปล่ียนสถานท่ีไปตามที่อยู่ของผู้เป็นเจ้ากรมเหมือนในอดีต แต่เดิมหน่วยงานที่มีสถานท่ีราชการประจำของ ตนจะมีเพียงเฉพาะศาลาลูกขุน (ลูกขุน ณ ศาลหลวงคือศาลาลูกขุนนอก และศาลาลูกขุนในคือมหาดไทย และ กลาโหม) นโยบายจัดตั้งกระทรวงบริหารราชการแผ่นดินเป็นการโยงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางการปกครองคือองค์ พระมหากษตั รยิ ์ ดงั นน้ั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หวั จงึ โปรดเกลา้ ฯ ใหจ้ ัดพน้ื ที่บริเวณพระราชฐาน ชั้นนอกของพระบรมมหาราชวังเป็นที่ต้ังของอาคารสถานที่ราชการใหม่ เช่น กระทรวงมหาดไทยต้ังอยู่ในตึก สร้างใหม่ท่ีสร้างขึ้นในพื้นที่เดิมของศาลาลูกขุนใน เป็นอาคารตึก ๒ ชั้น ๓ หลังเรียงต่อกัน กระทรวงการ ต่างประเทศต้ังอยู่ที่ตึกใหม่ท่ีคลังเชือกเดิม (ริมกำแพงวังด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) หอรัษฎากรพิพัฒน์ (กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ) ต้ังอยู่ที่บริเวณเก่าของทิมพลริมกำแพงวังด้านหน้าของกระทรวงมหาดไทย ส่วนกระทรวงกลาโหมหรือขณะน้ันเรียกตึกบัญชาการทหารฝ่ายหน้า เป็นอาคารสถาปัตยกรรมตะวันตก ตั้งอยู่ นอกพระบรมมหาราชวังตรงขา้ มวดั พระศรีรัตนศาสดาราม อาคารอ่ืนๆ ในส่วนหน้าของเขตพระบรมมหาราชวังในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถงึ แม้จะมใิ ช่สถานทีร่ าชการแตก่ ม็ ีความเกย่ี วข้องกบั กจิ การในสว่ นของราชสำนัก เชน่ บริเวณพื้นที่ฝง่ั ตะวันออก ของประตูวิเศษไชยศรีซึ่งเดิมเป็นโรงละคร โรงปืนใหญ่ ปรับเป็นที่ตั้งของทหารมหาดเล็กและทหารช่าง จนเม่ือ มีการจัดตั้งกรมยุทธนาธิการจึงโอนกรมทหารมหาดเล็กไปข้ึนสังกัดท่ีต้ังอยู่นอกพระบรมมหาราชวัง พ้ืนที่ สว่ นนจ้ี งึ ปรบั ปรงุ เปน็ สนามหญา้ สว่ นบรเิ วณโรงหลอ่ ไดเ้ ปลยี่ นเปน็ หอคองคอเดยี สำหรบั จดั เปน็ พพิ ธิ ภณั ฑสถาน ภายหลงั ใชเ้ ปน็ ทีต่ ง้ั ของหอพระสมุดวชิรญาณ (ปัจจบุ ันคือศาลาสหทยั สมาคม) อาคาร ๒ ฟากของประตูพิมานไชยศรีซ่ึงอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลาง เป็นอาคารตึก ๒ ช้ันแบบ สถาปัตยกรรมตะวันตก ด้านตะวันตกซึ่งหันหน้าเข้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เดิมเคยเป็นที่ตั้งของหอหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อและสร้างข้ึนใหม่ พระราชทานให้เป็นที่ประทับ ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ หลังจากที่ทรงโสกันต์แล้ว ภายหลังเม่ือสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ ทิวงคตจึงได้พระราชทานตึกน้ีให้เป็นท่ีทำการของศาลารัฐมนตรีสภา ส่วนอาคารด้านตะวันออก หน้าพระท่นี ั่งอมรนิ ทรวนิ จิ ฉยั เดิมเป็นโรงอาลักษณ์ ได้ปรับสรา้ งใหมเ่ ป็นทท่ี ำการของกระทรวงวัง พระราชวังบางปะอิน เป็นที่รวมความหลากหลายของงานสถาปัตยกรรมทั้งของไทยและต่างชาต ิ ซึ่งเป็นที่นิยมในขณะน้ัน เป็นการหลอมรวมด้านวัฒนธรรม สร้างอัตลักษณ์ของชาติ ถึงแม้พระราชวังแห่งน้ ี จะเป็นท่ีประทับส่วนพระองค์เพ่ือผ่อนคลายจากพระราชภาระอันหนักหน่วงในการบริหารราชกิจ สิ่งก่อสร้าง ต่างๆ ในพระราชวังน้ีได้สะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถด้านการเมืองและสัมพันธภาพที่มีต่อนานาประเทศ และพสกนิกรที่เป็นชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี เช่น การสร้างพระที่น่ังวโรภาษพิมานในรูปแบบสถาปัตยกรรม ตะวันตก (ศิลปะแบบคอรินเทียนออร์เดอร์) เพ่ือเป็นท้องพระโรงและที่ประทับ (พ.ศ. ๒๔๑๕ - ๒๔๒๘) และ พระท่ีนั่งอุทยานภูมิเสถียร (๒๔๒๐) เป็นเรือนไม้ ๒ ช้ันแบบสวิสชาเลต์ เพื่อเป็นที่ประทับส่วนพระองค์และ ที่ประทับของพระราชวงศ์ยโุ รปที่เสด็จมาเยือนสยาม เช่น องค์มกุฎราชกมุ ารแห่งรัสเซยี (๒๔๓๘) และเจ้านาย แห่งปรัสเซีย (๒๔๕๒) การต้อนรับที่ยิ่งใหญ่ได้สร้างความประทับใจแก่เจ้านายเหล่าน้ีเป็นอย่างมาก มีผล ต่อเน่ืองต่อสถานภาพของสยามในสายตาของชาติมหาอำนาจยุโรป ส่วนพระที่น่ังเวหาศจำรูญ (๒๔๓๒) สร้าง 365

ตามแบบสถาปัตยกรรมจีน โดยกลุ่มข้าราชการเช้ือ สายจีนในกรมท่าซ้ายได้สร้างถวายเพื่อแสดงออกถึง ความจงรกั ภกั ดที ม่ี ตี อ่ องคพ์ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั และแผน่ ดนิ ไทย หลังการเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงนำงานศิลปะสถาปัตยกรรมบางอย่างจากยุโรป มาตกแตง่ ทพี่ ระราชวังนี้ เช่น กระโจมแตรซง่ึ เปน็ แบบ สเปน และรูปตุ๊กตาหินอ่อนแบบกรีก - โรมัน ซ่ึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สั่งจากยุโรปเพื่อนำมาประดับราวสะพานตามแบบ พระท่ีนั่งวโรภาษพิมาน พระราชวงั บางปะอิน สะพานข้ามแม่น้ำไทเบอร์ในโรม ทำให้สระหลวง ซ่ึงเป็นที่ต้ังของพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ซ่ึงเป็น พระทน่ี ่งั โถงแบบไทยมคี วามสงา่ งดงามโดดเดน่ พระทน่ี ง่ั อทุ ยานภมู ิเสถยี ร พระราชวงั บางปะอิน 366

ณ พระราชวังแห่งนี้ยังเป็นประจักษ์พยานแห่งความยุติธรรมและความสนิทเสน่หาที่ทรงมีต่อบุคคล ในครอบครัวของพระองค์ เช่น การสร้างพระตำหนักพระราชทานพระภรรยาเจ้าและพระภรรยากับพระธิดา อย่างเท่าเทียมกัน แต่ท่ีสำคัญทรงนำแนวคิดแบบตะวันตกเข้ามาสะท้อนถึงพระอารมณ์ในเบ้ืองลึก เช่น กรณ ี ที่ทรงสร้างพระราชานุสาวรีย์เพื่อแสดงถึงความอาลัยรักในสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ท่ีส้ินพระชนม์ จากเหตุเรือพระประเทียบล่มเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ หรืออนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ซึ่งสร้างขึ้นเพ่ือเป็นท่ีระลึกถึงการ ส้ินพระชนม์ของพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ซ่ึงล้วน สิน้ พระชนมใ์ น พ.ศ. ๒๔๓๐ สถาปัตยกรรมตะวนั ตกในการกอ่ สร้างของทางราชการ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามสำคัญ ท้ังในพระนครและหัวเมือง ที่สำคัญคือการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามในวโรกาสสมโภชพระนคร ครบ ๑๐๐ ปี มีพระบรมวงศานวุ งศแ์ ละพระอนุชาเป็นแมก่ องแบง่ พนื้ ทคี่ วบคมุ การซ่อมแซม ส่วนใหญ่เป็นการ ทำตามเทคนิคและวิธีการดงั้ เดมิ แบบไทยประเพณี แตเ่ ร่ิมมีการนำวสั ดแุ ละอปุ กรณ์จากตะวันตกบางอย่างมาใช ้ ส่วนพระอารามท่ีสร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกท่ีเด่นชัดคือ วัดนิเวศธรรมประวัติที่ บางปะอินใกล้กับเขตพระราชฐาน พระอุโบสถมีรูปแบบภายนอกคล้ายกับโบสถ์ในคริสต์ศาสนา (ศิลปะโกธิก) หน้าบันมุขทิศเหนือประดับกระจกเขียนลายสี (Stain Glass) เป็นรูปพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนฐานชุกชีและซุ้มประตูหน้าต่างจัดทำแบบอิทธิพลตะวันตก อีกแห่งหน่ึงคือ วดั นิเวศธรรมประวตั ิ (บางปะอนิ ) พระบรมสาทสิ ลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว › บนกระจกสี ทีห่ นา้ บนั พระอุโบสถ วดั นเิ วศธรรมประวตั ิ 367

วดั เบญจมบพติ รดสุ ิตวนาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามซึ่งตกแต่งผนังด้านนอกของพระอุโบสถด้วยหินอ่อนจากอิตาลี ส่วนวัดราชบพิธ- สถิตมหาสีมารามซ่ึงเป็นวัดประจำรัชกาลอีกแห่งหนึ่งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตกแตง่ ภายในพระอโุ บสถแบบโบสถฝ์ รั่ง นอกจากนอี้ าคารของโรงเรยี นสถานศกึ ษาตา่ งๆ ทเ่ี รม่ิ มขี นึ้ ในสมยั นก้ี ส็ รา้ งขนึ้ ตามรปู แบบสถาปตั ยกรรม ตะวนั ตกทงั้ สน้ิ เพราะตอ้ งเปน็ อาคารขนาดใหญ่ มหี ลายชน้ั เพอ่ื รองรบั จำนวนนกั เรยี นในระบบการศกึ ษาแผนใหม่ ทเ่ี พมิ่ จำนวนขนึ้ อยา่ งรวดเรว็ ทงั้ โรงเรยี นหลวงและโรงเรยี นราษฎร์ ในระยะแรกนยิ มสรา้ งเปน็ อาคารไมเ้ รอื นแถว มรี ะเบยี งดา้ นหนา้ อาจมีชั้นเดียวหรือ ๒ ช้ัน ต่อมาจึงเปล่ียนมาเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนเช่นโรงเรียนสุนันทาลัย (ราชนิ )ี โรงเรยี นสวนกหุ ลาบ โรงเรยี นอสั สมั ชัญ ฯลฯ ส่วนสถานที่ราชการในหัวเมืองน้ัน เริ่มมีการก่อสร้างอาคารท่ีเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการ ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรวมอำนาจการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลาง อาคารราชการ ยุคแรกๆ ทีส่ รา้ งขึ้นสว่ นใหญเ่ ปน็ อาคารไมช้ ้นั เดียว ใต้ถุนโล่ง หลงั คาทรงป้ันหยา มมี ุขหนา้ และระเบียง บันได ทอดขน้ึ ชัน้ บนด้านหน้า อาจมกี ารสร้างเรอื นแถวเพิ่มเตมิ ตามประโยชน์การใชส้ อย แตเ่ ดมิ สถานท่ีราชการสำคญั คือจวนข้าหลวงซ่ึงเป็นทั้งที่ทำราชการและท่ีอยู่อาศัยของข้าหลวงซ่ึงมีท้ังคนในพื้นท่ีและเป็นข้าราชการที่ได้รับ การแต่งต้ังจากส่วนกลาง ดังน้ันหากมีการเปล่ียนตัวข้าหลวง จวนก็จะย้ายไปอยู่ที่เรือนข้าหลวงคนใหม่ ทำให้ 368

เกิดความไม่สะดวกในการปฏิบัติราชการ ทางการจึงกำหนดให้มีสถานท่ีปฏิบัติงานท่ีเป็นส่วนกลางแยกต่างหาก จากเรือนข้าหลวง สถานที่ราชการอ่ืนๆ ที่เกิดข้ึนในรัชกาลนี้คือที่ต้ังของฝ่ายทหารและตำรวจซ่ึงพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใส่พระทัยให้การดำเนินการเป็นไปอย่างสมบูรณ์เรียบร้อย ดังปรากฏในพระราช- หัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวเสด็จประพาสต้นเมืองนครสวรรค์ใน ร.ศ. ๑๒๕ ท่ีมีใจความว่าพระองค์ได้เสด็จตรวจความเรียบร้อยของการสร้างอาคารค่ายทหารที่มณฑลนครสวรรค์ว่า มีความก้าวหนา้ ไปเพยี งใด เป็นตน้ การใชช้ ่างฝรง่ั และเทคนิคการก่อสร้างแบบตะวนั ตก การก่อสร้างอาคารสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ท่ีมีรูปทรงและการตกแต่งแบบศิลปะตะวันตก รวมทั้ง การสร้างถนน สะพาน ตลอดจนการจัดระบบสุขาภิบาล นับเป็นเทคนิคใหม่ท่ีช่างไทยและช่างจีนในไทยยังไม่มี ความรอบรู้พอท่ีจะสามารถดำเนินการด้วยตนเองได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้จ้างนายช่างยุโรปหลายแขนงเข้ามาจัดดำเนินการ เน่ืองจากจำเป็นต้องใช้ผู้เช่ียวชาญเฉพาะด้านที่มีความร ู้ ด้านการก่อสร้างพร้อมเทคโนโลยีท่ีทันสมัยรวมท้ังมีความรู้ด้านศิลปกรรมช้ันสูงด้วย ชาวยุโรปท่ีเข้ามาปฏิบัติ หน้าท่ีในด้านน้ีจึงประกอบด้วยสถาปนิก ผู้ออกแบบ ช่างเขียนแบบ วิศวกรก่อสร้าง วิศวกรสำรวจ วิศวกร ไฟฟ้า - ประปา มัณฑนศิลป์ผู้ตกแต่งภายใน ตลอดจนจิตรกร ประติมากร จัดสร้างงานศิลปะอันทรงคุณค่า เป็นจำนวนมาก กลุ่มช่างฝร่ังท่ีมีบทบาทด้านการช่างในรัชสมัยน้ี ในระยะแรกจะได้รับการว่าจ้างให้มารับราชการกับ หนว่ ยงานเฉพาะดา้ นโดยตรงคอื กรมโยธาธกิ ารซง่ึ ไดร้ บั การยกฐานะขน้ึ เปน็ กระทรวงใน พ.ศ. ๒๔๓๕ ระยะตอ่ มา ยังมีนายช่างจากหน่วยงานอื่นเข้ามาช่วยงานด้วย เช่น กรมรถไฟ กรมสุขาภิบาล ท่ีถูกขอยืมตัวหรือโอนมา ช่วยงาน ถ้าหากว่ามีหน้าที่ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างพระราชวังใหม่ก็ให้สังกัดอยู่ในกรมพระคลังข้างท่ี จนเม่อื งานสำเร็จจงึ โอนกลบั หน่วยงานเดมิ นอกจากชา่ งหลวงเหล่านแ้ี ลว้ ช่างฝรง่ั บางคนทีร่ ับราชการอยจู่ นครบ สัญญาจา้ ง กจ็ ะออกมาประกอบอาชพี อสิ ระท่ยี งั คงเก่ียวขอ้ งกับงานก่อสรา้ งตามความถนัดของตนในสยามต่อไป แต่ในทางกลับกันก็มีช่างฝร่ังบางคนที่เข้ามารับจ้างงานก่อสร้างในสยามในนามของบริษัทเอกชนก่อน ภายหลัง จึงสมคั รเข้ารับราชการ อยา่ งไรก็ตาม ช่างฝรั่งทร่ี บั ราชการอยู่น้ี ทางการไทยเปดิ โอกาสให้รบั จ้างทำงานสว่ นตวั ควบคไู่ ปดว้ ยได้ ถา้ ไมเ่ ปน็ ผลเสยี ตอ่ งานราชการทป่ี ฏบิ ตั อิ ยู่ การวา่ จา้ งสถาปนกิ และวศิ วกรประจำกรมโยธาธกิ าร ยงั คงทวจี ำนวนข้นึ เพราะการก่อสร้างอาคารงานสาธารณปู โภคยงั คงมีอย่อู ยา่ งตอ่ เนื่องท้งั ในกรุงและหวั เมอื ง กลุ่มช่างที่เข้ามามีบทบาทด้านการช่างในรัชสมัยนี้มีหลายเชื้อชาติ ถ้าสังกัดในกรมโยธาธิการส่วนใหญ่ จะเป็นชาวอิตาเลียน นอกนั้นก็เป็นชาวเยอรมันและอังกฤษ ส่วนช่างที่สังกัดกรมสุขาภิบาลจะเป็นชาวฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นสัญญาที่รัฐบาลท้ังสองประเทศได้ตกลงกันไว้ ส่วนช่างชาวอิตาเลียนมีจำนวนมากกว่าชาติอื่นๆ ทั้งนี้อาจเนื่องจากนายเยรินีซ่ึงรับราชการอยู่ในกระทรวงกลาโหมได้ชักชวนสถาปนิกและวิศวกรชาวอิตาเลียน ให้เข้ามาทำงานในสยาม ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยและโปรดปราน งานศิลปะของอิตาลีอย่างมากนับแต่ครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปครั้งแรก ความประทับใจในอาคาร สถาปัตยกรรมอันวิจิตรตระการตาในอิตาลีเป็นผลให้มีการติดต่อว่าจ้างคณะช่างก่อสร้างจากอิตาลีมาก่อสร้าง 369

พระทน่ี งั่ อนนั ตสมาคม เพอ่ื ใหม้ คี วามงดงามสมบรู ณพ์ รอ้ มความสงา่ งามของภมู ทิ ศั นโ์ ดยรอบสมเปน็ สญั ลกั ษณ์ ของพระนครยุคใหม ่ ภาระหน้าท่ีที่รัฐบาลสยามมอบหมายให้นายช่างฝรั่งปฏิบัติคือเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ เขียนแบบ คำนวณค่าใช้จ่าย และควบคุมดูแลการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ ท้ังน้ีการก่อสร้างจะใช้วิธีว่าจ้าง บริษัทเอกชนมารับเหมาตามวงเงินท่ีกำหนดไว้ บริษัทที่รับเหมานี้มีชาวยุโรปเป็นเจ้าของ บางบริษัทเข้ามา ประกอบธุรกิจในสยามโดยเฉพาะ แต่บางบริษัทก็เป็นเครือข่ายมาจากบริษัทแม่ในสิงคโปร์และยุโรป ซึ่งจะ จัดจำหน่ายวัสดุและอุปกรณ์ท่ีใช้ในการก่อสร้างตลอดจนตกแต่งภายใน เช่น โครงเหล็กจากอังกฤษ เยอรมนี ปูนซเี มนต์จากสิงคโปร์ หนิ อ่อนจากอิตาลี กระจกสี กระจกใส และกระจกฝา้ จากเบลเยยี มและฝร่ังเศส ระดบั นายชา่ งจะเป็นชาวยโุ รป สว่ นคนงานกจ็ ะมที งั้ ชาวไทย จนี และทวาย รูปแบบตลอดจนการตกแต่งอาคารเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อศิลปะตะวันตกท่ีนิยมกันอยู่ในสมัยน้ัน ท้ังนี้ เพราะสถาปนิกผู้ออกแบบย่อมนำสิ่งที่ตนเรียนรู้และซึมซับจากประสบการณ์มาเป็นหลักในการออกแบบ ในระยะแรกจะเป็นการดัดแปลงจากศิลปะแบบอิตาเลียนเรอเนสซองส์ผสมโกธิก ที่เรียกว่าลักษณะพาลลาเดียน สไตล์ เช่น ตึกสุนันทาลัยที่ปากคลองตลาด แต่ถ้าเป็นช่างเยอรมันก็จะใช้รูปแบบของเยอรมันเรอเนซองส์แทน เช่น พระราชวังบ้านปืน ช่างชาวยุโรปเหล่านี้สามารถนำรูปแบบและเทคโนโลยีตะวันตกมาประยุกต์ให้เข้ากับ สภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของไทย เช่น เพิ่มกันสาดเหนือกรอบประตูหน้าต่างเพ่ือกันฝน เจาะช่องลม ใช้หน้าต่างบานเกร็ดเพ่ือระบายลม เทคโนโลยีแบบตะวันตกที่นำมาใช้เช่น โครงสร้างหลักเป็นแบบผนังรับ น้ำหนัก ระยะแรกจะใชว้ ิธีกอ่ อิฐหมุ้ เสาไม้และใชผ้ นงั กอ่ อิฐฉาบปูน ตอนปลายรัชกาลจึงเริ่มใช้โครงสร้างเป็นเสา และคานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีการนำเคร่ืองจักรมาช่วยผ่อนแรง เช่น เครื่องตอกเสาเข็ม เพื่อเสริมสร้าง ส่วนรากฐานอกี หลายลักษณะ นายช่างฝรั่งท่ีสำคัญในรัชสมัยนี้ได้แก่ นายคลูนิซ (Mr. Clunice) สถาปนิกชาวอังกฤษ ผลงาน สำคัญคือ ออกแบบก่อสร้างและแก้ไขพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทและพระท่ีน่ังบรมราชสถิตยมโหฬารใน พระบรมมหาราชวัง นายกรัซชี (Mr. Grassi) สถาปนิกชาวอิตาเลียน ผลงานสำคัญคือ วังบูรพาภิรมย์ของ สมเดจ็ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟา้ ภาณุรงั ษสี วา่ งวงศ์ ตึกโรงทหารหน้า (กระทรวงกลาโหม) วดั นเิ วศธรรมประวัติ ที่บางปะอิน ตึกที่ทำการศุลกสถาน (กรมศุลกากร) ท่ีบางรัก และตึกแบงค์สยามกัมมาจล นายคาร์ล ดอริ่ง (Mr. Karl Doring) สถาปนิกชาวเยอรมัน ผลงานสำคัญคือ พระตำหนักใหญ่และพระตำหนักสมเด็จ วังบางขุนพรหมของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซ่ึงมีรูปแบบของศิลปะแบบเยอรมัน เรอเนสซองส์ผสมผสานแบบโรโคโค อีกแห่งคือพระราชวังบ้านปืนซึ่งประยุกต์มาจากพระราชวังฤดูร้อนของ พระเจ้าไกเซอร์แห่งเยอรมัน เป็นศิลปะแบบอาร์ตนูโวของเยอรมันที่เน้นการตกแต่งภายใน และวังวรดิศของ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ นายซันเดรซสกี (Mr. Sandreezki) สถาปนิกชาวเยอรมัน ผลงานสำคญั คอื การออกแบบก่อสร้างพระราชวังดสุ ิต (พระท่ีนั่งอมั พรสถาน ฯลฯ) วงั จันทรเกษม (กระทรวง ธรรมการ) นายตามัญโย (Mr. Tamagno) สถาปนิกชาวอิตาเลียน พร้อมคณะวิศวกรและสถาปนิกจากอิตาล ี มาร่วมดำเนินการคือ นายริโกติ (Mr. Rigotti) นายอัลเลกรี (Mr. Allegri) นายคอลโล (Mr. Gollo) และ นายอ.ี มนั เฟรดี (Mr. E. Manfredy) ผลงานสำคญั คอื พระทน่ี ง่ั อนนั ตสมาคม ซง่ึ มลี กั ษณะรปู ทรงและการตกแตง่ 370

แบบศลิ ปะอติ าเลยี นเรอเนสซองส์ คือประกอบไปด้วย นายคารล์ ซกิ ฟรดี ดอรง่ิ โดมใหญ่น้อย ใช้หินอ่อนอิตาลีเป็นผนัง วัดเบญจม- สถาปนกิ ชาวเยอรมัน บพิตรดุสิตวนาราม อาคารหลังในของบริษัทอีสต์- เอเชียติก อาคารบริษทั แบงคส์ ยามกัมมาจล จำกดั อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการก่อสร้าง อาคารสำคัญๆ โดยเฉพาะพระที่น่ัง พระอาราม และ สถานทร่ี าชการตา่ งๆ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ - เจ้าอยู่หัวจะโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายและข้าราชการ ระดับสูงที่มีความสามารถด้านการช่างและเข้าใจงาน สถาปัตยกรรมตะวันตกเป็นแม่กองอำนวยการ กอ่ สรา้ ง หรอื เปน็ นายชา่ งใหญค่ วบคมุ การกอ่ สรา้ ง เชน่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้านริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุพันธุวงศ์วรเดช หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เจ้าพระยายมราช พระยาประชากรกิจพิจารณ์ พระ- สถิตยน์ มิ านการ ฯลฯ ส่วนช่างไทยที่เคยทำงานร่วมกับนายช่างชาวตะวันตกมีโอกาสได้เรียนรู้วิธีการและเทคนิคการก่อสร้าง จากชาวยุโรป ส่ังสมประสบการณ์จนสามารถรับงานออกแบบและก่อสร้างอาคารแบบตะวันตกได้ เช่น พระยา ประดิษฐ์อมรพิมาน พระยาเวียงในนฤบาล หลวงนวกิจโกศล นอกจากน้ี ยังมีการจัดตั้งห้างร้านของคนยุโรป คนจีนและคนไทยเชอ้ื สายจนี เพ่ือจัดจำหนา่ ยสินค้าและวสั ดกุ อ่ สรา้ งจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก การเปลย่ี นแปลงดา้ นสถาปัตยกรรม การสร้างภาพลักษณ์ของบ้านเมืองที่ปรากฏเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนรวดเร็วท่ีสุด คือการก่อสร้าง อาคารสถาปัตยกรรม ในรัชสมัยน้ีนับเป็นห้วงเวลาเร่ิมการประยุกต์รูปแบบอาคารทรงไทยเข้ากับเทคนิคและ รูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก ซ่ึงเริ่มขึ้นหลังจากการเสด็จพระราชดำเนินเยือนดินแดนในเอเชียซึ่งเป็น อาณานคิ มของตะวันตกทีส่ ิงคโปร์ ปตั ตาเวีย และอินเดยี ไดแ้ ก่ หมู่พระทน่ี ัง่ จักรมี หาปราสาท และพระตำหนัก ฝา่ ยในของพระบรมมหาราชวัง และพระทีน่ ั่งบางองคข์ องพระราชวังบางปะอนิ 371

วังปารสุ กวัน ทีป่ ระทับของสมเดจ็ พระเจา้ ลูกยาเธอ เจ้าฟา้ จักรพงษภ์ วู นาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ วงั บางขุนพรหม ที่ประทบั ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจา้ ฟา้ บรพิ ตั รสุขุมพนั ธุ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพนิ ติ 372

วังลดาวลั ย์ ที่ประทบั ของสมเด็จพระเจา้ ลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆมั พร กรมหลวงลพบุรรี าเมศร์ อาคารสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกได้รับความนิยมเพิ่มข้ึนหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปใน พ.ศ. ๒๔๔๐ เริ่มจากการสร้างพระราชวังดุสิต พระที่น่ังที่สร้าง แบบยโุ รปคอื พระทนี่ งั่ อมั พรสถาน พระทน่ี งั่ อนนั ตสมาคม พรอ้ มลานกวา้ งสำหรบั ประกอบพระราชพธิ กี ลางแจง้ เพือ่ ให้เปน็ ศรสี งา่ ของพระนครเชน่ เดียวกบั มหานครของอารยประเทศ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ใหส้ ร้างวังใหม่ พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอที่สำเร็จการศึกษาจากยุโรป เช่น วังบางขุนพรหม วังปารุสกวัน วังลดาวัลย์ ฯลฯ ท้ังยังมีการตัดถนนใหม่เป็นระบบเครือข่ายอย่างดี มีการริเร่ิมจัดระบบสาธารณูปโภค เช่น ประปา ไฟฟ้า ทางระบายน้ำข้างถนน ฯลฯ เท่ากับเป็นการวางผังเมืองและระบบสุขาภิบาลของนครหลวงกรุงเทพฯ ให้เกิด ระเบยี บและทันสมัย อาคารแบบตะวันตกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐ ถอื ปนู ๒ - ๓ ชนั้ โครงสรา้ งแตเ่ ดมิ เปน็ ไมฉ้ าบปนู ในระยะหลงั จงึ เปลย่ี นเปน็ คอนกรตี เสรมิ เหลก็ ผนงั ภายนอก ชั้นล่างนิยมแต่งปูนหยาบเซาะร่องตามแนวนอน ชั้นสองฉาบปูนเรียบตกแต่งด้วยเสาอิง ทำซุ้มประตูหน้าต่าง บันไดเป็นจุดเด่นของอาคาร ส่วนผนังภายในจะฉาบปูนทาสี ประดับตกแต่งด้วยรูปภาพและกระจกเงา บางครั้ง ใช้ลายปูนป้ันปิดทอง ในส่วนของเพดานจะตกแต่งลวดลายแบบตะวันตกหรือผสมคตินิยมแบบไทยเช่น ลายมงคลเก้าอย่างงดงาม ส่วนเสาจะเป็นรูปแบบของเสาหินอ่อนแบบกรีก สำหรับหน้าบันและซุ้มประตูหน้าต่าง นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทำเป็นรูปพระราชสัญลักษณ์มหาจักรี ตราอาร์ม แผน่ ดนิ และพระเกี้ยวยอด แทนลวดลายแบบเกา่ 373

พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเก่ียวกับการแบ่งพ้ืนที่ใช้สอยในพระท่ีน่ัง ในพระราชวังดุสิตที่สร้างขึ้นในรูปแบบที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมตะวันตกนั้น มีการจัดแบ่งออกเป็นห้อง ต่างๆ แบบอาคารยุโรป แต่คำนึงถึงประโยชน์ในการใช้สอยแบบไทย ดังหลักฐานในหนังสือพระราชวังดุสิตของ สำนกั พระราชวงั ฉบบั พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่อัญเชิญสำเนารา่ งพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้า- เจา้ อยู่หวั พระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนริศรานุวดั ตวิ งศ์ ความว่า “ความปรารถนาในเร่อื งทอี่ ยูท่ ่นี ึกอยากได้บ่อยๆ เปนหอ้ งทจ่ี ะต้องการคือ --- ท่ีออกขุนนางสำหรับยะโส เปนหอ้ งโธรนรบั แขก เรื่องทำการพระราชพิธตี า่ งๆ... --- ท่ีออกขนุ นางตามปกติ แต่ถา้ ใหไ้ ด้นง่ั ในทสี่ ั้นๆ แลเหน็ หน้าคนได้ตลอด... --- ห้องรบั แขกท่มี โี ต๊ะเกา้ อี้ ฤๅเปนหอ้ งดรออง่ิ รมู หอ้ งใหญห่ อ้ ง ๑ ห้องรบั แขกย่อม... --- ห้องเล้ยี งโต๊ะสำหรบั เลีย้ งแขกเมือง ฤๅเลีย้ งพระราชาคณะตามธรรมเนยี ม... --- หอ้ งไวห้ นังสอื แลทำการต่างๆ...ตอ้ งมเี ฉลยี งมีชานอยา่ งไรใหเ้ ปนทอ่ี อกอยไู่ ด้ โถงๆ...เปนหอ้ งทีจ่ ะอยมู่ าก...กวา้ งหนอ่ ยดกี วา่ แคบ --- ห้องกินขา้ วบนเรอื น ต้องมีที่เปิดโถงเหมือนกัน...แลลกู มาหามักจะในเวลากนิ เขา้ --- ซติ ตงิ รูมถัดหอ้ งนอน เปนที่สำหรบั ข้างในเฝา้ เฉพาะๆ ตวั ฤาลกู เฉพาะคน... --- ห้องนอน ตอ้ งการใหส้ ูงแลเหน็ วิวได้ไกลๆ --- อยากมีชานโถงทีไ่ ม่มหี ลงั คาฤๅมีหลังคาคร่งึ หน่ึง เปนทีป่ ลกู ต้นไมก้ ระถางเลน่ รมิ ห้องนงั่ ฤๅหอ้ งกนิ เข้า ฤๅห้องนอนแห่งใดแหง่ หนึ่งซ่งึ ในบางกอกน้ีไม่มเี ลย นอกจากสวนสวรรค์ที่ปลกู ตน้ ไมอ้ ะไรไมไ่ ด้ กาแย่งหมด... --- อยากใหม้ ีท่ีโรงกวา้ งๆ คล้ายใต้ถุนทีห่ น้าตาเปนโรงลคร...ตอ่ น่าโรงนัน้ ออกไป ใหเ้ ปนลานสำหรบั เลน่ โครเกร...คือถา้ เวลาฝนตกจะได้หนีเขา้ โรงน้ไี ด.้ ..” พระราชหตั ถเลขาฉบบั นแี้ สดงใหเ้ หน็ ถงึ สายพระเนตรอนั กวา้ งไกลของพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ - เจา้ อยหู่ วั ในการจดั รปู แบบการใชพ้ นื้ ทใี่ นเขตเรอื นทอี่ ยอู่ าศยั ใหเ้ ปน็ สดั สว่ นตามประโยชนก์ ารใชส้ อยเชน่ เดยี วกบั อาคารสถาปัตยกรรมตะวันตก แต่ขณะเดียวกันพระองค์ทรงนำค่านิยมแบบด้ังเดิมของไทยมาปรับให้เข้ากับรูป แบบใหม่ อาทิเชน่ ห้องทใ่ี ชเ้ ป็นที่ประทับปฏิบตั พิ ระราชกิจส่วนพระองค์เช่นห้องเสวย หอ้ งทรงงาน จะเปน็ หอ้ ง ที่มีลักษณะเปิดโล่งโดยอาศัยเฉลียงและชานเรือนแบบไทยๆ ส่วนท่ีเป็นการประยุกต์ผสมผสานก็ได้แก ่ การสร้างศาลาโถงอเนกประสงค์ไว้ข้างลานเล่นกีฬาที่แพร่หลายขณะน้ันคือ โครเกต์ แนวพระราชดำริเช่นน้ีได้ ปรากฏเป็นพระท่ีนั่งวิมานเมฆ และเป็นต้นแบบของอาคารแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ ประชาชน 374

พ ร ะ ร า ช วั ง ดุ สิ ต เ ป็ น พ ร ะ ร า ช วั ง ใ ห ม่ ที่ พระทีน่ ัง่ อภิเษกดสุ ิต พระราชวังดุสติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างข้ึนในบริเวณชานพระนครด้านเหนือ เดิมทรง มีพระราชประสงค์จะสร้างเป็นอุทยานสถานสำหรับ ประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถเป็นการส่วนพระองค์ จึงมีแต่เพียงพลับพลาชั่วคราว แต่ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างท่ีประทับถาวรขึ้น ซ่ึงมีท้ังแบบไทยประเพณี คือพระตำหนักเรือนต้น แบบตะวันตกคือพระท่ีนั่ง อัมพรสถานและพระท่ีน่ังอนันตสมาคม (สร้างเสร็จ ในสมัยรัชกาลท่ี ๖) แต่ท่ีนับเป็นต้นแบบอาคารไม ้ ทรงไทยประยุกต์อันงดงามคือพระท่ีนั่งวิมานเมฆและ พระท่นี ัง่ อภิเษกดุสิต ในส่วนของพระที่นั่งวิมานเมฆซ่ึงเป็นพระที่นั่งไม้สักทองท้ังองค์น้ัน มีที่มาจากการรื้อพระท่ีนั่งไม้ “มันธาตุราชโรจน์” จากเกาะสีชังซึ่งมิได้ใช้เป็นที่ประพาสแล้วต้ังแต่คราวเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ มาปลูก ใหม่ในพระราชวังดสุ ิต พระราชทานนามวา่ “พระท่นี ง่ั วมิ านเมฆ” มสี มเด็จเจา้ ฟา้ ฯ กรมหลวงนรศิ รานุวัดติวงศ์ ทรงกำกับการออกแบบ เป็นอาคารไม้สามช้ันรูปตัวแอล ยกเว้นบริเวณที่ประทับที่เรียกว่าแปดเหลี่ยมท่ีสร้าง พระทีน่ ัง่ วิมานเมฆ พระราชวงั ดุสติ 375

เปน็ สชี่ นั้ ชน้ั ท่ีอย่ตู ิดดนิ ใช้วิธกี ่ออฐิ ถอื ปนู สว่ นทอี่ ยูเ่ หนอื ข้ึนไปเป็นเรือนไม้สร้างด้วยรปู แบบใหม่ ปลายสุดของ อาคารสร้างเปน็ โรงเฟิรน์ แบบเรอื นกระจก สำหรบั ปลกู ต้นไม้ทท่ี รงนำพันธแุ์ ละหน่อมาจากตา่ งประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระท่ีน่ังอภิเษกดุสิตเพื่อเป็น ท้องพระโรง มีพระสถิตย์นิมานการเป็นสถาปนิก ลักษณะอาคารเป็นพระท่ีน่ังไม้โถงหลังยาวชั้นเดียว แบบอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกคือ ใต้ชั้นต่ำก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงปั้นหยา แนวระเบียงชายคาและ ช่องลมเป็นไม้ฉลุลวดลายแบบขนมปังขงิ หนา้ บันของมุขหน้า - หลงั มลี ายปูนปนั้ รูปตราแผ่นดนิ สว่ นทค่ี อสอง ประดบั ด้วยกระจกสอี ยา่ งวิจติ รงดงาม ส่วนอาณาบริเวณโดยรอบในพระราชวังน้ีได้มีการตกแต่งภูมิทัศน์อย่างงดงามเช่นเดียวกับสวน (park) ในทวีปยุโรป ประกอบด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่น้อย ไม้ดอก สระน้ำขนาดใหญ่ (อ่างหยก) และลำคลองต่างๆ ซึ่งขุดเชอ่ื มต่อจากคลองซงั ฮ้ีลงสูแ่ ม่นำ้ เจ้าพระยา พระทีน่ ัง่ อมั พรสถาน พระราชวังดุสติ 376

พระที่น่ังอนันตสมาคม พระราชวงั ดุสติ สว่ นอาคารทกี่ อ่ สรา้ งตามแบบสถาปตั ยกรรมตะวนั ตกคอื พระทนี่ ง่ั อมั พรสถาน (พ.ศ. ๒๔๔๕ - ๒๔๔๙) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาประทับ ณ พระที่น่ังองค์น้ีเป็นการถาวร จนเสด็จ สวรรคต ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๑ โปรดเกล้าฯ ให้เริ่มก่อสร้างพระท่ีน่ังอนันตสมาคม (ตามช่ือพระที่น่ังเก่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ในวโรกาสรัชมงคลสมัยที่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัต ิ ครบ ๔๐ ปี พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้พระที่นั่งองค์น้ีสำหรับเสด็จออก มหาสมาคมและตอ้ นรับพระราชอาคนั ตกุ ะ จึงโปรดเกลา้ ฯ ใหจ้ ้างสถาปนกิ และวิศวกรชาวยโุ รปเป็นผูด้ ำเนินการ ในรูปแบบอิตาเลียนเรอเนสซองส์ผสมนีโอคลาสสิก ใช้วัสดุอุปกรณ์ช้ันเลิศจากยุโรปในการก่อสร้าง เป็นอาคาร หินอ่อนสองช้ัน มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยโดมเล็กอีก ๖ โดม เพดานภายในมีภาพจิตรกรรมแสดง เหตุการณ์ทางประวตั ิศาสตร์ท่ีสำคญั ในสมัยรัตนโกสินทร์ตัง้ แตร่ ัชกาลท่ี ๑ - ๖ 377

การเปลย่ี นแปลงด้านศลิ ปกรรม การสร้างสรรค์งานศิลปกรรมไทยแต่ดั้งเดิมจะเป็นศิลปะแบบอุดมคติ สะท้อนภาพความมีอารยะ โดยสมบูรณ์ของไทย เพราะถึงพร้อมด้วยฝีมือการสร้างสรรค์ของช่าง การรู้จักนำธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ใน การพัฒนาเทคนิค รวมถงึ ความรอบรเู้ ข้าถึงปรัชญาในเนือ้ หาของภาพซึ่งสว่ นใหญ่เป็นงานทเี่ กย่ี วกบั พุทธศาสนา รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว งานศิลปกรรมไทยเริ่มปรับเปล่ียนไปเป็นศิลปะแบบตะวันตก มากข้ึน มีการนำรูปแบบ ค่านิยม และเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานเชิงประยุกต์ ตลอดจนการ นำงานศิลปวัตถุของตะวันตกมาตกแต่งประดับอาคารสถาปัตยกรรม หรือนำมาเป็นเครื่องใช้ในวิถีชีวิตท ่ี ปรับเปล่ียนเป็นแบบตะวันตก มูลเหตุสำคัญแห่งความสนพระทัยในงานศิลปะแบบตะวันตกของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสาเหตุหน่ึงคือ พระราชประสงค์ที่จะแสดงให้นานาประเทศรับรู้ว่าคนไทยมีศักยภาพ ในการเข้าถึงวัฒนธรรมของชาติตะวันตก และมีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมอารยประเทศ ซึ่งจะมีผลทางอ้อม มใิ ห้สยามตอ้ งตกเปน็ เมืองขึน้ ของกลุม่ ประเทศลา่ อาณานคิ มโดยง่ายนัก ด้านจิตรกรรม ถึงแม้ว่าในรัชสมัยน้ีจะอยู่ในยุคการปรับตัวให้ทันสมัยแบบตะวันตก แต่พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงสนับสนุนการอนุรักษ์งานจิตรกรรมไทยแบบประเพณีให้ดำรงอยู่คู่ สังคมไทย เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง ดังปรากฏในพระราชกระแสเก่ียวกับการบูรณะงานจิตรกรรมฝาผนังใน พระอโุ บสถวดั อรุณราชวราราม ซ่ึงแสดงให้เหน็ ถึงความเข้าพระทยั และใสพ่ ระทยั ในงานศลิ ปอ์ ยา่ งแทจ้ รงิ ดงั น้ ี ...การซ่อมงานเขียนทั้งปวงในพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามน้ัน...สำคัญอยู่แต ่ การเขียนผนังเท่าน้ัน เพราะว่าของเก่าทำไว้อย่างสุดฝีมือของช่างเอกในเวลานั้น ในการที่ เพลิงไหม้คร้ังน้ีก็ไม่ทำให้เสียหายไปหมด...ท่ีปูนไม่แตกสีไม่เสีย ควรคงเก่าไว้ให้กุลบุตร ภายหน้าได้ดูต่อไป...ส่วนที่บุบสลายเสียไปน้ัน...ก็เห็นว่าอย่างเขียนเลียนให้เหมือนเก่าดีกว่า เพราะว่าจะได้เข้ากันกับของเดิมที่ยังเหลืออยู่ แลทั้งเปนกระบวนไทยแท้น่าชมกว่าวิธีเขียน อย่างใหม.่ .. งานอนุรักษ์จิตรกรรมไทยแบบประเพณีนอกจากท่ีอุโบสถวัดอรุณราชวรารามแล้ว ท่ีสำคัญอีกแห่งคือ ภาพจิตรกรรมชุดรามเกียรติ์ท่ีผนังระเบียงคดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งจัดทำเป็นการสำคัญเน่ืองในโอกาส สมโภชกรงุ รตั นโกสนิ ทรค์ รบ ๑๐๐ ปีใน พ.ศ. ๒๔๒๕ โดยในคราวน้โี ปรดเกลา้ ฯ ให้ลบเขยี นใหม่ในบรเิ วณที่ ชำรุดของภาพจิตรกรรมท่ีเขียนไว้ต้ังแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีแม่กองในการซ่อมแซม เปน็ พระภกิ ษุช่าง ๒ รปู คอื พระอาจารย์ลอย วัดสุวรรณาราม และพระอาจารยแ์ ดง วดั หงส์รตั นาราม ในส่วนของภาพจิตรกรรมไทยแบบประยุกต์ในรัชกาลนี้คงเป็นการดำเนินงานสืบต่อจากแนวคิด ในรัชกาลก่อน ซ่ึงปรากฏชัดเจนในผลงานจิตรกรรมฝาผนังของขรัวอินโข่งที่วัดบรมนิวาส คือปรับปรุงรูปแบบ ภาพเขียนแบบประเพณีของไทยที่เป็นภาพ ๒ มิติ ที่มีเฉพาะความกว้างและยาว มาเป็นภาพ ๓ มิติคือเพ่ิม ความลึก โดยมีการใช้แสงเงาและระยะใกล้ไกลตามแบบศิลปะตะวันตก รวมท้ังแสดงภาพทิวทัศน์และภาพ เหมือนบุคคลในเน้ือหาด้วย ตัวอย่างสำคัญคือภาพจิตรกรรมฝาผนังท่ีพระท่ีน่ังทรงผนวชซึ่งเป็นภาพแสดง พระราชประวตั ิของพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั 378

จติ รกรรมฝาผนังในพระท่นี ่งั ทรงผนวช วัดเบญจมบพิตรดสุ ติ วนาราม แสดงพระราชประวตั พิ ระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอย่หู ัวในชว่ งตน้ รชั กาล อน่ึง ในช่วงกลางรัชกาล ไทยได้ว่าจ้างช่างและจิตรกรยุโรปเข้ามารับราชการอีกหลายคน เป็นผลให้มี การปรับปรุงผสมผสานรูปแบบและเทคโนโลยีในงานจิตรกรรมไทยระหว่างจิตรกรไทยและยุโรปในระยะต่อมา เชน่ ความนิยมใช้สนี ำ้ มันวาดบนผนื ผา้ ใบเป็นภาพตา่ งๆ สำหรบั ตกแตง่ บนผนัง หรอื วาดภาพปูนเปยี ก (Fresco) บนผนังหรือเพดาน การวาดภาพบุคคลในรูปแบบธรรมชาติมิใช่ภาพแบบอุดมคติ รวมทั้งมีการใช้แสงเงา ดังตัวอย่างภาพจิตรกรรมฝาผนังท่ีอุโบสถวัดราชาธิวาสและวัดพระปฐมเจดีย์ ซ่ึงเป็นผลงานของเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนรศิ รานวุ ดั ตวิ งศ์ และนายรโิ กลที ท่ี ำงานรว่ มกนั มาตง้ั แตส่ มยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั 379

อิทธิพลจิตรกรรมแบบตะวันตกท่ีสำคัญคือ การวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ใน ราชวงศ์จกั รีและพระสาทิสลักษณข์ องพระบรมวงศานุวงศ์อกี จำนวนมาก เพอ่ื ติดตั้งประดบั ตามพระราชวงั ต่างๆ การวาดภาพเหมือนบุคคลนับเป็นการเปลี่ยนค่านิยมดั้งเดิมของคนไทยที่จะไม่จำลองภาพเหมือนบุคคลไม่ว่า จะเปน็ การวาด การปน้ั แกะ หรอื หล่อ แต่นบั จากรัชสมยั พระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจ้าอยูห่ ัวท่ที รงรเิ รมิ่ การ ฉายพระบรมฉายาลกั ษณแ์ ละหล่อพระบรมรปู สงั คมไทยจงึ หันมานิยมการทำภาพเหมือนบุคคลเพ่มิ มากขนึ้ พระบรมสาทิสลักษณ์และพระสาทิสลักษณ์ชุดสำคัญคือ ชุดที่ได้รับการติดต้ังไว้ท่ีพระที่นั่งจักรี มหาปราสาท โดยให้จิตรกรในยุโรปวาดจากพระบรมฉายาลักษณ์และพระฉายาลักษณ์ที่ไทยจัดส่งไปให้ เม่ือสำเร็จจึงส่งกลับเข้ามาติดต้ังในไทย แต่ในระยะต่อมาจิตรกรไทยได้พยายามศึกษาเทคนิคแบบตะวันตก และนำมาวาดภาพพระสาทสิ ลกั ษณไ์ ดง้ ดงามไมน่ อ้ ยไปกวา่ ชา่ งฝรง่ั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ยงั ให้ ความสนพระทัยในงานศิลปะเหล่านี้อย่างมาก ดังปรากฏว่าเม่ือคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งท่ี ๒ พระองค์ได้ เสด็จไปทอดพระเนตรการแสดงผลงานของศิลปินตามแกลลอรี่ต่างๆ ท้ังในอิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี ฯลฯ พระราชหัตถเลขาในพระราชนิพนธ์ไกลบ้านฉบับที่ ๑๖ ลงวันท่ี ๑๗ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖ ทรงกล่าวถึง ร้านขายศิลปะในเมืองเวนิส ความว่า “...รูปท่ีชอบใจพ่อมีอยู่สิบห้าสิบหกรูป รูปหล่อบ้าง ได้สั่งให้ซื้อแล้ว สักสามรูป... กลับมาหยุดกินน้ำชา...แล้วกลับไปร้านอีกตามเดิม...ถ้าจะเที่ยวร้านเหล่าน้ี ไม่ถึงสองวันสี่เวลาแล้ว เปนไมต่ ลอดเลยเปนอันขาดเพราะของมนั ชวนดูชวนซ้อื เสยี จรงิ ...” พระบรมสาทสิ ลกั ษณ์สนี ้ำมนั ทีโ่ ปรดเกลา้ ฯ ให้จิตรกรชาวอติ าลวี าด ประดิษฐานอยู่ในพระทีน่ ่ังจกั รมี หาปราสาท พระบรมมหาราชวงั 380

พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยหู่ วั ทรงถ่ายภาพ การบันทึกภาพเหมือนบุคคลอีกวิธีการหน่ึงซ่ึงเร่ิมแพร่หลายเข้ามาในไทยรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัวก็คือ การถ่ายภาพ ระยะแรกจะมีช่างภาพชาวยุโรปเข้ามาดำเนินการควบคู่กับช่างภาพหลวง ของไทย ท่ีสำคัญคือขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ (ฟรานซิส จิต) ซึ่งเรียนการถ่ายรูปจากบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ ดังน้ันภาพบุคคลสำคัญ ภาพบ้านเมืองสยามจึงได้ปรากฏต่อสายตาของชาวโลก นับเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ท่ีสำคัญอีกประเภทหนึ่งโดยเฉพาะในยุคการปรับตัวให้ทันสมัย ต้นรัชกาลจะมีช่างหลวงเป็นผู้บันทึก พระบรมฉายาลักษณ์ถวายท้ังขณะประทับในประเทศและเสด็จประพาสต่างประเทศ ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดท่ีจะถ่ายรูปบันทึกภาพและล้างภาพด้วยพระองค์เอง ดังปรากฏหลักฐาน ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์คณะบุคคล สถานท่ี และทิวทัศน์ของหัวเมืองต่างๆ ท่ีเสด็จประพาสต้นซึ่งเร่ิมขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๗ ภาพฝพี ระหตั ถเ์ หลา่ นน้ี บั ว่าทรงคุณคา่ อยา่ งยง่ิ นอกจากนี้ ในหนงั สือรายการพระราชกุศลในการ สถาปนาวดั เบญจมบพติ รดสุ ติ วนาราม ภาคที่ ๑๑ ซง่ึ เอนก นาวกิ มลู ไดอ้ า้ งองิ ไวใ้ นหนงั สอื “ประวตั กิ ารถา่ ยรปู ยคุ แรกของไทย” ยงั ไดก้ ลา่ วถงึ งานแสดงและประกวดรปู ถา่ ยและการถา่ ยรปู ของรา้ นหลวง เพอื่ เกบ็ เงนิ สมทบทนุ ให้แก่วัด ในการน้ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาร่วมอยู่ในคณะช่างภาพ โดยมี พระบรมวงศานุวงศ์ทง้ั ฝา่ ยหน้าและฝา่ ยในช่วยงานด้านอน่ื ๆ พระราชนิยมในการถ่ายรปู ยงั ปรากฏในคราวเสด็จ 381

เจา้ นายทรงเล่นกลอ้ งถา่ ยภาพ ซ่งึ เป็นที่นิยมในรัชสมัยพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อย่หู วั ฝ่ายใน ฝึกถ่ายภาพตามพระราชนิยม 382

ประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๕๐ ซึ่งทรงบันทึกภาพสถานท่ีซึ่งเสด็จพระราชดำเนิน รวมทั้งจัดหาซื้อกล้องถ่ายรูป ต่างๆ พระราชทานให้ท้ังฝ่ายหน้าฝ่ายในด้วย ปรากฏหลักฐานในพระราชหัตถเลขาพระราชทานกรมหลวง ดำรงราชานภุ าพ ฉบับวนั ท่ี ๑๕ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖ ความว่า ...เร่ืองกล้องถ่ายรูป...บัดนี้ได้ส่งกล้องนั้นมา ๖ กล้อง คือของเธอ ๑ กล้อง ของหญิงกลาง ๑ กลอ้ ง หญิงน้อย ๑ กล้อง นางเอิบ ๑ กลอ้ ง นางเอื้อน ๑ กล้อง แต่วิธีซ่ึง จะใช้อย่างไร จะบอกมาที่เธอคนเดยี ว ดว้ ยความหวงั ใจวา่ คงจะคลำถกู แลจะไปฐกให้ลูกเมีย ฉัน เขา้ ใจได้... ด้านประติมากรรม พระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเก่ียวกับงาน ประติมากรรมของไทยกเ็ ชน่ เดยี วกับด้านจติ รกรรม คือ ทรงสนับสนนุ การอนรุ ักษท์ ำนุบำรงุ งานศลิ ปะประเพณี โดยเฉพาะในส่วนท่ีเก่ียวกับการซ่อมแซมพระอารามสำคัญๆ และการสถาปนาพระอารามใหม่ เช่น การ ปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระราชลัญจกรประจำองค์พระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีห้าพระองค์ประดิษฐานในบุษบกพร้อมช้างเผือกสำริดประจำรัชกาล ประดิษฐานไว้ที่มุม พระมหามณฑป การจัดทำรูปศิลาจำหลักตัวละครในวรรณคดีสำคัญประดับไว้ทั้ง ๔ มุมของพระอุโบสถ การนำกระเบื้องเบญจรงค์มาประดับตกแต่งท้ังผนังด้านนอก เสา ระเบียง และพ้ืนของพระอุโบสถวัดราชบพิธ- สถติ มหาสมี าราม ซงึ่ เปน็ วดั ทโ่ี ปรดเกลา้ ฯ สถาปนาเปน็ พระอารามประจำรชั กาล วดั นจ้ี งึ เปน็ แหลง่ รวมงานศลิ ปะ ประเพณีอันงดงามทั้งด้านประติมากรรมและประณีตศิลป์ โดยเฉพาะบานประตูไม้ประดับมุกของพระอุโบสถ ซึ่งทำเปน็ ลายเครอ่ื งราชอิสริยาภรณ ์ ส่วนหลักฐานด้านงานหล่อแบบเก่าของไทยในยุคนี้คือองค์พระพุทธชินราชจำลองซ่ึงพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพระประธานในอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม นอกจากนนั้ วดั นยี้ งั เปน็ แหลง่ รวมของพระพทุ ธรปู สำรดิ อนั งดงามทงั้ เกา่ - ใหมท่ โ่ี ปรดเกลา้ ฯ ใหน้ ำมาประดษิ ฐาน รอบระเบียงคด งานหล่อสำริดโดยนายช่างยุโรปตามเทคโนโลยีตะวันตกที่จัดทำขึ้นในตอนต้นรัชกาลคือ พระบรมรูป ของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ๔ พระองค์แรกซ่ึงได้นำข้ึนประดิษฐานที่พระท่ีนั่งศิวาลัยมหาปราสาท ใน พ.ศ. ๒๔๒๕ ในวโรกาสฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๐๐ ปี หลังจากนั้นโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธี ถวายบงั คมพระบรมรปู เปน็ ประจำทกุ ปี นอกจากนน้ั กม็ รี ปู หลอ่ พระบรมวงศานวุ งศอ์ กี จำนวนหนง่ึ เชน่ พระรปู สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช สยามมกุฎราชกมุ าร พระองคแ์ รก แต่งานหล่อช้ินสำคัญที่สุดคือ “พระบรมรูปทรงม้า” สืบเน่ืองมาจากเมื่อคร้ังท่ีพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปคร้ังที่ ๒ ทรงมีพระราชดำริท่ีจะสร้างพระบรมรูปของพระองค์ ประทับบนหลังม้า เพอื่ ประดษิ ฐาน ณ ลานพระราชวังดสุ ิต ตรงปลายถนนราชดำเนนิ เฉกเช่นพระราชานุสาวรยี ์ ของกษัตริย์ในยุโรป ดังน้ัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ องค์ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในระหว่างท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป จึงได้ชักชวนเจ้านาย ขุนนาง พ่อค้า ประชาชน ใหร้ ว่ มกนั บรจิ าคทรพั ยเ์ พอื่ จดั สรา้ งพระบรมราชานสุ าวรยี ด์ งั กลา่ ว เปน็ การสนองพระมหากรณุ าธคิ ณุ ในวโรกาสอภิลักขิตมงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 383

๔๑ ปี ยาวนานย่ิงกว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ พระบรมรูปทรงม้าหล่อโดยประติมากรชาวฝร่ังเศส ตามรปู ป้ันหุ่นท่พี ระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั เสดจ็ ประทบั เปน็ แบบเม่อื พ.ศ. ๒๔๕๐ รปู หล่อสำเรจ็ ส่งมาถึงกรุงเทพฯ และอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนแท่นประกอบพิธีเปิดได้ทันงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกเม่ือ วันท่ี ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ งานประติมากรรมแบบตะวันตกอีกประเภทหน่ึงซ่ึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเร่ิม เข้ามาแพร่หลายในไทยคือ รูปหินอ่อนแกะสลัก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประทับใจ ในรูปสลักหินอ่อนเป็นเทพเจ้าเทพธิดากรีก - โรมันระหว่างเสด็จประพาสอิตาลีเม่ือครั้งประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ หลังจากนั้นพระองค์ได้ส่ังรูปสลักหินอ่อนเทพธิดากรีกและตุ๊กตาหินอ่อนจากอิตาลีมาประดับ ตกแต่งทั้งภายในและภายนอกพระท่ีน่ังตามพระราชวังต่างๆ ท่ีรู้จักกันทั่วไปคือ “สะพานตุ๊กตา” ข้างพระที่นั่ง ไอศวรรย์ทิพยอาสน์ท่ีพระราชวังบางปะอิน นอกจากนั้น ยังมีพระบรมรูปหินอ่อนเต็มพระองค์หรือเฉพาะ พระพักตร์ลงมาถึงพระอุระ ทั้งของพระองค์เองและพระบรมวงศานุวงศ์ด้วย เพื่อประดิษฐานไว้ตามสถานที่ สำคญั ต่างๆ เช่น อนสุ าวรยี ์ ๔ พระองคท์ ีพ่ ระราชวังบางปะอนิ พระราชนยิ มเช่นนีไ้ ดแ้ พรห่ ลายในหมชู่ นชนั้ สูง ท้งั วงั เจา้ นายและบ้านเรอื นขนุ นาง ตลอดจนมกี ารนำพระพุทธรูปหนิ ออ่ นไปถวายตามพระอารามสำคญั ด้วย พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั ที่แกะสลกั จากหนิ ออ่ น ฝมี ือชา่ งชาวยโุ รป 384

ศิลปวัตถุที่เป็นเครื่องใช้และของสะสม รัชกาลน้ีเป็นยุคแห่งการปรับตัวให้ทันสมัย ทำให้จำเป็นต้อง ปรับเปลี่ยนขนบและวิถีการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับวิถีตะวันตก โดยเฉพาะในการรับรองราชอาคันตุกะท ่ี มาเยี่ยมเยียนอยู่ตลอดรัชกาล แต่ท่ีสำคัญคือทูตานุทูตท่ีมาอยู่ประจำตลอดจนข้าราชการต่างชาติและพ่อค้า สำคัญท่ีจะได้รับเชิญเข้ามายังราชสำนักในวาระสำคัญ ดังนั้น ราชสำนักจึงต้องจัดเตรียมวัสดุเคร่ืองใช้ตลอดจน เครอื่ งเรอื นเครอ่ื งประดบั ตกแตง่ ตา่ งๆ เพอื่ แสดงภาพลกั ษณท์ ที่ นั สมยั ของสยาม จนทส่ี ดุ ไดก้ ลายเปน็ คา่ นยิ มใหม่ ในสังคมไทย จากพระราชนิยมจึงแพร่หลายไปส่สู งั คมภายนอก ทงั้ ในรปู ของเครอ่ื งใชแ้ ละของสะสม เคร่อื งใช้ : พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยหู่ วั ทรงสง่ั ภาชนะและเครื่องใชท้ อี่ ยใู่ นสมัยนิยมจาก หลายชาติในยุโรป เช่น ภาชนะบนโต๊ะอาหาร เครื่องใช้บนโต๊ะทำงาน เครื่องพระสำอาง (เคร่ืองใช้ในห้องสรง) เครอื่ งใช้สว่ นพระองค์ เครอ่ื งใช้เหลา่ น้ีแบง่ เป็นประเภทต่างๆ ไดแ้ ก่ เครื่องกระเบ้ือง ถ้าเป็นเครื่องโต๊ะจะโปรดเกล้าฯ ให้ส่ังทำท้ังชุด ประกอบด้วยพระปรมาภิไธย “จปร.” หรือพระบรมรูป จากโรงงานในฝรั่งเศส เยอรมนีและอังกฤษ คือ จาน - ชามขนาดต่างๆ รวมท้ังชุด นำ้ ชา - กาแฟ นอกจากนี้ ยังมีเคร่ืองใช้บนโต๊ะทำงานเป็นชุดต่างๆ รวมทั้งแจกันอีกหลากหลายรูปทรง ส่วนชุด ชาจีนยงั โปรดเกลา้ ฯ ใหส้ ง่ั ทำจากจีน ทสี่ ำคัญคือ ชุดชาจักรีสตี ่างๆ และชุดลายคราม จ.ป.ร. เคร่อื งกระเบ้ืองมีพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. สง่ั ทำจากฝรัง่ เศส 385

เครื่องถว้ ยชดุ ชาจักรี สั่งทำจากจนี 386

เคร่ืองแก้ว ส่วนใหญ่เป็นเครื่องแก้ว เจียระไนนานาสี นอกจากนั้น ก็มีเคร่ืองแก้ว สลักลายและเคร่ืองแก้วเขียนลาย นิยมนำมาใช้ ประกอบเคร่ืองบูชาพระ (แจกัน - พาน - โถ) ที่ใช้ใน ราชสำนัก จะมีท้ังชุดแก้วบนโต๊ะอาหารซึ่งจะม ี พระปรมาภิไธยย่อ (จ.ป.ร., ส.ผ.) เครื่องใช้บนโต๊ะ ทำงาน เคร่ืองพระสำอาง (ขวดน้ำอบ - โถแป้ง หรือ เหยอื ก - อ่างลา้ งหนา้ ) เครอื่ งแกว้ ชุดสรงพระพกั ตร์ มีพระบรมฉายาลักษณ ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อยหู่ วั สั่งทำจากยุโรป แก้วสลักพระปรมาภไิ ธย จจจ. (จุลจอมเกล้าเจา้ อยหู่ วั ) สัง่ ทำจากยโุ รป เคร่ืองเงิน - ทอง เครื่องโต๊ะ เช่น มีด - ส้อม - ช้อน - โถ - ถาด และชุดน้ำชา - กาแฟ แม้แต่เครื่องใช ้ ส่วนพระองค์ เช่น หีบพระศรี หีบพระโอสถมวน กล้องยาสูบ ขวดยานัตถุ์ ก็ได้มีการดัดแปลงให้มีลวดลาย หรอื นำเทคนิคการถ่ายภาพหนิ พระบรมรูป (ล็อกเกต) มาประดับบนเคร่อื งใช้เหลา่ นี้ดว้ ย 387

เครือ่ งสะสม : ในชว่ งหลังจาก พ.ศ. ๒๔๔๕ บ้านเมืองเร่ิมเป็นปกติสุข ผ่อนคลายจากภาวะวิกฤต ต่างๆ แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระพลานามัยที่ทรุดโทรมลงมาก จนเป็น สาเหตุหนึ่งในการเสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๕๐ อยา่ งไรก็ตาม ในช่วงเวลาดงั กล่าว พระองคท์ รงหาวิธี ผ่อนคลายพระอารมณ์ด้วยการเสด็จประพาสหัวเมือง และการเสด็จมาประทับท่ีพระที่น่ังวิมานเมฆ ซ่ึงส่งผล ให้เกิดแนวคิดในการสะสมและจัดประกวดแข่งขันกัน ในหมู่ราชสำนักท้ังฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เช่น ตลับงา เครอ่ื งลายครามจนี กล้องยาสูบ เป็นส่ิงท่ีต่ืนเต้นสนุกสนานอย่างมาก สำหรบั ชาววงั ในยคุ นน้ั ดงั ปรากฏในหนงั สอื ความทรงจำ ของหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล ความว่า “...ในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็นสมยั ทน่ี ิยมเล่นตลับงากนั ...จากการ ท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรเห็นตลับงาของเสดจ็ อากรมหลวงทพิ ยรตั น์ฯ...สีของขผ้ี งึ้ จบั ตา ดูงามสีเหมือนโมรา พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่าราวกับผู้ชายเล่นกล้องเมซ่อม...ต่อจากนั้นจึงได้เกิดนิยมเล่น ตลับงากัน...มกี ารออกแบบเป็นรปู ตา่ งๆ ใครเป็นเจ้าของแบบกต็ ้องมาจดทะเบยี นเป็นเจ้าของ...” เคร่ืองกระเบื้องลายคราม ลายพระปรมาภไิ ธย จ.ป.ร. สั่งทำจากจีน 388

ส่ิงของที่มีการสะสมมากอีกอย่างสำหรับฝ่ายหน้าในเวลาน้ันคือ เคร่ืองลายคราม ซึ่งคนไทยรู้จัก มานานแล้ว แต่ในยุโรปขณะนั้นกำลังสนใจที่จะสะสมเครื่องกระเบื้องชนิดนี้ ทำให้คนไทยหันมาสะสมด้วย ดงั ปรากฏหลกั ฐานจากพระราชหตั ถเลขาในพระราชนพิ นธไ์ กลบา้ น ฉบบั วนั ที่ ๒๐ มถิ นุ ายน ร.ศ. ๑๒๖ ความวา่ “...ข้อท่ีประหลาดนั้นซื้อเครื่องลายครามได้เปนอันมาก...ถ้าเปนชิ้นเล็กๆ...ไม่ว่าดีว่าเลว ราคาอยู่ใน ๓๐ ชิลลิง ปอนด์หน่ึง ช่างเพลิดเพลินใจเสียนี่กระไร...ฝรั่งกำลังคล่ังเล่นปอสเลนจัด ของใหม่ๆ ท่ีขายบางกอกไม่ได้ ออกมาอยูเ่ มอื งฝรั่งต้งั ครืดไปแทบทกุ ร้าน...” งานพิพิธภัณฑ์ การสะสมที่นับว่าสำคัญท่ีสุดในรัชกาลน้ีคืองานสะสมสมบัติของชาติเพ่ือเป็นสื่อ แสดงออกถึงความเจริญรุ่งเรอื งทางวัฒนธรรมของชาติ เป็นการสรา้ งภาพลักษณ์ความมอี ารยธรรมอนั ยาวนาน ของสยามให้เป็นท่ีประจักษ์แก่ชาติตะวันตก นอกจากน้ี ยังเป็นการสืบสานแนวพระราชดำริของพระบาท สมเด็จพระบรมชนกนาถท่ีทรงรวบรวมศิลปวัตถุอันมีค่าท่ีชาวไทยและต่างชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายและจัดแสดง ไว้ ณ พระที่นงั่ ประพาสพพิ ิธภณั ฑใ์ นหมู่พระอภเิ นาวน์ เิ วศน ์ การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเร่ิมข้ึนหลังการเสด็จประพาส ดินแดนในเอเชีย อาจเนื่องจากทรงมีโอกาสทอดพระเนตรการจัดพิพิธภัณฑสถานในสิงคโปร์ ปัตตาเวีย และ อกี หลายแหง่ ในอนิ เดยี ซงึ่ กอ่ ตงั้ โดยผปู้ กครองชาวตะวนั ตกอยา่ งเปน็ ระบบ ดงั นน้ั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ - เจ้าอยู่หัวจงึ โปรดเกล้าฯ พระราชทานหอคองคอเดียซึง่ เดิมเป็นอาคารสโมสรมหาดเล็กในบริเวณพระราชฐานช้ัน นอก ใหเ้ ปน็ สถานทจี่ ดั แสดงสง่ิ ของสำคัญของชาติ เพื่อเป็นการเปดิ โลกทศั น์และแสดงภูมปิ ัญญาอารยธรรมไทย ท้ังแก่ประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ระยะแรกเปิดให้เข้าชมเฉพาะในโอกาสสำคัญ เริ่มจากวันเฉลิม พระชนมพรรษาเมอื่ วันท่ี ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๗ และเปิดตอ่ มาเป็นประจำทุกปี รวมท้ังโอกาสสำคัญอน่ื ๆ เช่น งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๐๐ ปี งานต้อนรับแขกเมอื ง ฯลฯ ศาลาคองคอเดยี ในพระบรมมหาราชวัง ตน้ กำเนิดของพพิ ธิ ภณั ฑ์ และหอสมดุ แหง่ ชาติ 389

พระราชวังบวรสถานมงคล (วงั หน้า) ส่วนทเี่ ป็นพิพธิ ภณั ฑสถานแห่งชาติ ในปัจจุบนั ในการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ให้ลุล่วงด้วยดี โปรดเกล้าฯ ให้มีคณะผู้ดำเนินการทั้งขุนนางไทย และชาวยุโรป ต่อมาเมื่อย้ายพิพิธภัณฑสถานมาตั้งอยู่ในบริเวณพระท่ีน่ังของพระราชวังบวรสถานมงคลแล้ว จึงได้จัดต้ังข้ึนเป็นกรมพิพิธภัณฑ์ สังกัดกระทรวงธรรมการ รวมท้ังส่งข้าราชการไปศึกษาระบบการบริหาร จัดการพิพิธภัณฑ์ในยุโรปด้วย งานพิพิธภัณฑ์ได้รับความสนใจท้ังในหมู่ประชาชนชาวไทยและต่างชาติ ดังปรากฏในบันทึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสยามของซาร์เรวิช มกุฎราชกุมารรัสเซีย ที่เสด็จเยือนสยาม ใน พ.ศ. ๒๔๓๓ - ๒๔๓๔ ความว่า “...ส่ิงที่มีความสำคัญมากที่สุดในพิพิธภัณฑ์น้ีคือส่วนท่ีเปนเร่ืองเกี่ยวกับ ชาตพิ ันธ์ุวรรณาของประเทศ...พวกโลหะมีคา่ ตา่ งๆ อญั มณแี ละพวกเคร่อื งแก้ว...พวกงาชา้ งและเคร่อื งถว้ ยชาม... เคร่อื งดนตรีสยาม...มตี ้นไม้ที่มลี ำตน้ และกิง่ ทำด้วยทอง...” ความสนพระทัยในกิจการพิพิธภัณฑ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีอยู่อย่าง ต่อเน่ืองโดยเฉพาะในช่วงที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปทั้ง ๒ คร้ัง พระองค์ได้ทรงหาเวลาเสด็จ พระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ของประเทศต่างๆ รวมท้ังงานเอกซิบิช่ันของเอกชนอยู่เสมอ ทรงนำแนวทางมาปรับปรุงกิจการด้านน้ีในไทยเพราะทรงเห็นว่าการท่ีประเทศใดจะเป็นมหาอำนาจได้น้ัน มิใช่ เฉพาะแสนยานุภาพดา้ นการทหาร แตต่ อ้ งมีความมั่นคงดา้ นอารยธรรมดว้ ย 390

อนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราโชบายในการจัดแสดงความรุ่งเรือง ม่ังคั่งของสยามในรูปแบบอื่นๆ ด้วย เช่น การจัดงานแสดงสินค้าพ้ืนเมืองไทยที่สนามหลวง ในพิธีสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๐๐ ปี เป็นนิทรรศการใหญ่มีห้องจัดแสดงถึง ๔๐ ห้อง จัดแสดงท้ังเคร่ืองราชูปโภค งานชา่ งศลิ ปต์ า่ งๆ ของไทย ศลิ ปวตั ถุ ทรพั ยากรธรรมชาติ สนิ คา้ พน้ื เมอื ง และผลติ ผลทางการเกษตร การรวบรวม สะสมท่ีสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือ การสำรวจสืบค้นด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี อันเป็นผลให้มีการรวบรวม โบราณวตั ถทุ ้ังโดยทางการและเอกชน เช่นทศี่ าลาวา่ การมณฑลทีส่ ำคญั คอื มิวเซยี มกรงุ เก่า ตลอดจนตามวดั วา อารามต่างๆ ท่ีประชาชนนำมามอบให้ ในตอนปลายรัชกาลยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการประกวดพันธุ์ข้าวใน พ.ศ. ๒๔๕๐ และ ๒๔๕๒ สว่ นงานแสดงกสกิ รรมแลพาณิชยการคร้งั ท่ี ๑ จัดข้นึ ใน พ.ศ. ๒๔๕๓ อันเป็นปสี ดุ ทา้ ย ในรัชกาล นอกจากการจดั พพิ ธิ ภณั ฑใ์ นสยามแลว้ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ยงั ทรงมสี ายพระเนตร อันกว้างไกลในการเผยแพร่ภาพลักษณ์อารยธรรมและผลผลิตของสยามให้เป็นที่รู้จักในหมู่นานาประเทศ ผา่ นการจดั นิทรรศการของสยามควบคูก่ ับนโยบายทางการทตู เช่น งานศลิ ปหตั ถกรรมนานาชาติ ณ กรุงปารีส พ.ศ. ๒๔๒๑ งานแสดงสินค้าโลกท่ีกรุงปารีส พ.ศ. ๒๔๓๓ งานเวิลด์เอ็กซโปที่เมืองชิคาโก พ.ศ. ๒๔๓๖ นิทรรศการแสดงฝีมือช่าง ณ เมืองโอซากา ญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๔๔๖ และนิทรรศการที่เมืองเซนต์หลุยส์ สหรฐั อเมรกิ า พ.ศ. ๒๔๔๗ พระราชกุศโลบายดังกล่าวจะเหน็ ไดจ้ ากสูจิบตั รประกอบนิทรรศการ พ.ศ. ๒๔๔๘ ความวา่ “...การทเี่ ราจดั ของไปตง้ั พพิ ธิ ภณั ฑค์ ราวนี้ กเ็ พอื่ ประสงคจ์ ะใหค้ นอเมรกิ นั รจู้ กั ประเทศสยาม ความเปนไป ในสยาม แลท้งั สนิ คา้ ซ่ึงเปนผลแห่งการเพาะปลูกและฝมี อื แหง่ ชาติแหง่ เรา ส่ิงใดกไ็ ม่กระทำให้อเมรกิ นั ซมึ ทราบ ไดด้ กี วา่ ที่ไดเ้ หน็ สิ่งของดว้ ยตา แลไดอ้ ่านคำอธบิ ายในแคตาลอ๊ กประกอบด้วย...” ด้วยเหตุท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศิลปกรรมไทย ให้ก้าวไกล จงึ ปรากฏกลอนสุภาพสรรเสรญิ พระเกียรติเม่ือ พ.ศ. ๒๔๒๐ โดยไมป่ รากฏนามผู้แต่ง ความว่า ก็ทรงสละพระราชทรพั ย์หลาย ไม่เสยี ดายโดยผดุงกรงุ สยาม ให้ซ่อมแปลงแต่งใหมว่ ไิ ลยงาม ลว้ นตึกรามเรอื งจรสั รัถยา โรงมเุ ซียม โรงทหารหัดการยุทธ พระสมมุติเทวราชสงิ หาสน์มหา โรงกระษาปณ์ใหญค่ รึม้ มหมึ า หอรัษฎากรพพิ ฒั นส์ วัสดี (จากหนงั สอื “สมเดจ็ พระปยิ มหาราช พระผพู้ ระราชทาน กำเนดิ พิพธิ ภณั ฑสถานเพือ่ ปวงประชา”) 391



๓ ความรักต่อพสกนกิ ร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook