ข้าราชการกรมทะเบียนท่ดี ิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์ประธานในการแจกโฉนดท่ีดินแบบใหม่แก่ ราษฎรเป็นครง้ั แรกท่พี ระราชวงั บางปะอิน เมือ่ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ ในเวลาต่อมา กระทรวงเกษตรพานิชยการได้ขยายวิธีออกโฉนดท่ีดินออกไปให้กว้างขวางถึงมณฑล ราชบุรี และเมืองสวรรคโลก สุโขทัย ในมณฑลพิษณุโลก จึงเป็นที่นิยมยินดีของราษฎร และเป็นขวัญกำลังใจ ต่อการประกอบการเกษตรยงิ่ ข้ึน การมีโฉนดที่ดินแบบใหม่นี้ ทำให้ราษฎรได้รับความม่ันใจในการถือครองที่ดินว่าตนมีสิทธิ์ถูกต้อง ตามกฎหมาย เพราะ “...โฉนดที่ดินซึ่งออกให้แก่เจ้าของที่ดินตามพระราชบัญญัติน้ี ที่ดินอยู่ในเขตเมืองใด ตอ้ งประทบั ตราตำแหนง่ ผบู้ ญั ชาการเมอื งนนั้ นายอำเภอผปู้ กครองทอ้ งทซ่ี งึ่ ทดี่ นิ แปลงนนั้ อยใู่ นนนั้ แลเจา้ พนกั งาน เกษตราธิการได้เซ็นช่ือประทับตรา จึงเปนโฉนดอันได้ทำโดยชอบด้วยกฎหมาย...” การได้รับโฉนดที่ดิน เป็นการกระตุ้นให้ราษฎรท่ีประกอบอาชีพทำนามีความตั้งใจท่ีจะทำนาเต็มพ้ืนที่ที่ตนครอบครองทั้งหมด เพราะ มฉิ ะนนั้ แลว้ ราษฎรจะตอ้ งเสยี อากรคา่ นาโดยเปลา่ ประโยชนใ์ นพนื้ ทท่ี ม่ี ไิ ดท้ ำนา โดยเฉพาะบรเิ วณมณฑลกรงุ เกา่ ซ่งึ เปน็ พนื้ ท่ีปลกู ขา้ วมากทสี่ ดุ ในประเทศ โฉนดที่ดินแบบใหม่นี้แสดงถึงการยอมรับกรรมสิทธิ์ในท่ีดินของราษฎรเป็นคร้ังแรกเพราะข้อ ๗ แห่ง ประกาศออกโฉนดทด่ี นิ ร.ศ. ๑๒๐ ไดบ้ ญั ญตั ไิ วว้ า่ “...ทดี่ นิ ซงึ่ ไดอ้ อกโฉนดตามประกาศนี้ ใหเ้ จา้ ของมกี รรมสทิ ธิ์ เหมอื นอย่างนาคโู่ ค คือ ต้องเสยี คา่ ทห่ี รอื คา่ นาแก่รัฐบาลทุกๆ ปี...” 245
ผลของการออกโฉนดท่ีดินแบบใหม่ มีส่วนช่วยขจัดปัญหาต่างๆ ที่เคยสร้างความหนักใจให้ท้ังฝ่าย รัฐบาลและราษฎร เช่น ปัญหาข้อพิพาทในเรื่องท่ีดิน ปัญหาการเก็บอากรค่านา ฯลฯ ให้หมดสิ้นไป ราษฎร สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสงบสุข มีความม่ันคงในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรัฐบาลสามารถ บริหารงานเรือ่ งท่ีดินของประเทศได้อย่างมีประสทิ ธิภาพ นอกจากน้ี โฉนดทดี่ นิ แบบใหม่ยงั เป็นรากฐานของการ ออกโฉนดที่ดินใหแ้ ก่ราษฎรทว่ั ประเทศมาจนถึงปจั จุบัน การพัฒนาเทคโนโลยแี ละวิธกี ารผลติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนเมืองสิงคโปร์และเกาะชวา สถานที่ท่ีพระองค์จะต้องเสด็จพระราชดำเนินไปทุกครั้งที่ทรงมีเวลาและโอกาสคือสวนพฤกษศาสตร์ (Botanical Garden) โดยเฉพาะสวนพฤกษศาสตร์โบกอร์ (Bogor Botanical Garden) ที่เมืองบุยเตนซอค (Buitenzorg) บนเกาะชวาซ่ึงเป็นสวนต้นไม้และดอกไม้สวยงามที่ฮอลันดาสร้างไว้ ด้วยความประทับใจในความสวยงาม และประโยชนข์ องสวนพฤกษศาสตร์ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ให้ สร้างพระราชอุทยานในสวนดุสิตให้มีลักษณะใกล้เคียงกับสวนพฤกษศาสตร์ท่ีเมืองบุยเตนซอค และทรงจ้าง นายเอเลบาส ชาวฮอลันดาผู้เช่ียวชาญเร่ืองการเพาะปลูก พร้อมด้วยชาวชวาอีก ๒ คน มาตกแต่งสวน ในพระราชวงั ดุสติ ดว้ ย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราโชบายท่ีจะปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ทรงมี พระราชดำริว่าบรรดาเมืองใหญ่ๆ ในต่างประเทศส่วนใหญ่นิยมสวนพฤกษศาสตร์ จึงทรงตั้งสวนทดลอง เพาะปลูกหรือสวนพฤกษศาสตร์ตามแบบอย่างสิงคโปร์และชวา เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพันธ์ุพืช และขยายพันธุ์พืชเศรษฐกิจท่ีอาจนำรายได้เข้าสู่ประเทศ พระองค์พระราชทานที่ดินเนื้อที่ ๑๐๐ ไร่ในสวนดุสิต เพื่อเป็นท่ีทดลองเพาะปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ แต่แนวพระราชดำริน้ีไม่เป็นผลในขณะนั้นเพราะยังขาดคนท่ีมีความรู้ พอท่ีจะดำเนินการได้ การบำรุงพันธ์พุ ืชและพนั ธุส์ ตั ว์ การบำรุงพันธ์ุพืชและพันธุ์สัตว์เป็นนโยบายด้านการเกษตรกรรมของรัฐบาล แม้ว่าการปรับปรุง การเกษตรต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนหลายด้าน ทั้งเวลา ทุนทรัพย์ และบุคลากรที่มีความรู้ความเช่ียวชาญ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามยังขาดปัจจัยเหล่านี้อยู่ ต่อมาในตอนปลายรัชกาล รัฐบาลได้ปรับปรุงส่วนราชการและบุคลากรให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงเกษตรพานิชยการอย่าง เหมาะสม มีช่างหลวงฝ่ายเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบเร่ืองการเพาะปลูกประจำมณฑลต่างๆ โดยกระทรวง มหาดไทยและข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลต่างๆ ให้ความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรพานิชยการในการปรับปรุง การเกษตร มีการรับฟังความคิดเห็นจากชาวนาโดยจัดประชุมชาวนาเปน็ ครัง้ แรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ นอกจากน้ี ยังมกี ารทำนบุ ำรงุ พันธุ์พชื ไดแ้ ก ่ ข้าว กรมเพาะปลูกดำเนินการทดลองหาพันธ์ุข้าวชนิดดีทั้งในประเทศและนอกประเทศ แจกจ่าย ส่งเสริมให้ชาวนานำไปเพาะปลูก ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้มีการจัดแสดงประกวดพันธุ์ข้าวเฉพาะเขตคลองทุ่งรังสิต 246
เปน็ ครัง้ แรกท่เี มอื งธัญบุรี ในสมยั ทเี่ จา้ พระยาวงศานปุ ระพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ)์ เป็นเสนาบดีกระทรวง เกษตรพานิชยการ (พ.ศ. ๒๔๕๒ - ๒๔๕๕) มีการแสดงกสิกรรมและพานิชการครั้งท่ี ๑ ใน พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดงาน ณ บริเวณสระปทุมวัน เม่ือวันท่ี ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๓ ในงานนี้มีการจัดประกวดพันธ์ุข้าวทั่วราชอาณาจักรรวมทั้งพืชผลอ่ืนๆ ด้วย ทำให้ชาวนาเกิดความกระตือรือร้นในการทำนา รัฐบาลได้แจกข้าวพันธุ์ดีให้ชาวนาไปปลูก ซ่ึงได้ผลผลิตด ี ท้ังคุณภาพและปริมาณ นอกจากน้ียังมีการพัฒนาบุคลากรโดยส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาเพาะปลูกที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาด้วย พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยูห่ ัว เสด็จพระราชดำเนินเปดิ งานแสดงกสิกรรมและพานิชการ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสเปิดงานกสกิ รรมและพานชิ การ คร้งั ที่ ๑ 247
ไหม รัฐบาลส่งเสริมการผลิตผ้าไหม โดยกระทรวงเกษตรพานิชยการได้จ้างผู้เช่ียวชาญชาวญ่ีปุ่น คือ นายโตยามา (Toyama) มาเป็นทปี่ รึกษาของกรมชา่ งไหมซง่ึ ตง้ั ขนึ้ เมอื่ พ.ศ. ๒๔๔๖ นายโตยามาได้เสนอใหม้ ีการ ปรับปรงุ คดั เลอื กพันธุไ์ หมและนำไปเผยแพรแ่ กป่ ระชาชน สว่ นการทอผา้ ไหมกใ็ หใ้ ชเ้ ครอื่ งมอื ท่ีมคี ุณภาพ มกี ารตั้ง โรงเรียนสอนการทอผ้าไหมด้วยเทคนิคใหม่ๆ เพ่ือส่งเสริมการผลิตผ้าไหมให้เป็นอาชีพ เริ่มจากเมือง นครราชสีมาและร้อยเอ็ด แต่โครงการน้ไี มป่ ระสบผลสำเรจ็ กรมชา่ งไหมล้มเลกิ ไปในรัชกาลต่อมา ฝ้าย รัฐบาลได้ฟื้นฟูการปลูกฝ้ายในเขตมณฑลพิษณุโลก โดยได้จ้างผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกัน คือ นายเอฟ. ลุปซา (F. Lupsa) มาช่วยจัดตั้งสถานีทดลองพันธุ์ฝ้ายเพ่ือหาพันธ์ุท่ีดีแจกจ่ายให้แก่ประชาชนไปปลูก แล้วนำมาป้อนโรงหีบฝ้ายและโรงงานทอผ้าของทางการท่ีต้ังข้ึนในมณฑลน้ี แต่อุตสาหกรรมทอผ้าฝ้าย ไม่ประสบผลสำเร็จ เน่ืองจากประชาชนนิยมซื้อผ้าที่ผลิตจากโรงงานต่างชาติซ่ึงมีราคาถูกตามนโยบายเปิด การคา้ เสรี ส่งผลให้การปลกู ฝา้ ยไม่ขยายตัว ส่วนการบำรุงพันธุ์สัตว์ แต่เดิมมาการเล้ียงสัตว์ของไทยใช้วิธีเลี้ยงแบบธรรมชาติ เมื่อการทำนา ขยายตัวจึงได้มีการปรับปรุงคุณภาพของสัตว์เล้ียง เช่น ก่อตั้งกรมผสมพันธุ์สัตว์ ต้ังโรงเรียนสัตวแพทย์ โดยจา้ งครตู ่างชาติ ต้งั กองบำรงุ สัตว์ จดั ทำวคั ซนี เซรุ่มปราบโรคระบาดสตั ว์ วางระเบียบการส่งสตั วไ์ ปจำหน่าย ตา่ งประเทศ งานปศสุ ัตวม์ ผี บู้ ริหารรับผดิ ชอบเปน็ ชาวองั กฤษ คือ ดร. เลโอนาร์ด (Dr. Leonard) การอุตสาหกรรมยุคใหม ่ การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคของประเทศสยามแต่เดิมเป็นระบบอุตสาหกรรมในครัวเรือน และ การผลิตเพื่อจำหน่ายในพื้นที่เฉพาะ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเริ่มมีการผลิตเชิงพาณิชย์ในระบบ อุตสาหกรรมขนาดเล็กคือโรงงานน้ำตาลทราย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มมีผลิตผล เกษตรกรรมออกสู่ตลาดโลกเพ่ิมข้ึน ในขณะเดียวกันเกิดการผลิตรูปแบบใหม่ในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็น การนำทรัพยากรในประเทศมาผลิตเพื่อการส่งออกโดยใช้เคร่ืองจักรกลเป็นแรงงาน เช่น โรงสีข้าวและโรงเลื่อย เจ้าของกิจการส่วนใหญ่เป็นคนจีน จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการ อตุ สาหกรรมจึงขยายตวั เพิม่ ขึน้ โรงงานอุตสาหกรรมในสมัยนี้ ไดแ้ ก ่ โรงสีข้าว การส่งข้าวเป็นสินค้าออกเป็นผลให้เกิดโรงสีข้าวจำนวนมากบริเวณริมฝ่ังแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนลา่ ง ตัง้ แต่ใตป้ ากคลองสานและคลองผดงุ กรงุ เกษมลงไป เนอ่ื งจากเปน็ เขตท่าเรือ สามารถขนส่งข้าวซงึ่ เป็น สินคา้ ออกไปตา่ งประเทศไดง้ า่ ย 248
เคร่อื งสขี า้ วทใ่ี ชจ้ กั รกลสมยั ใหม่ โรงเล่ือยจักร สินค้าออกท่ีสำคัญของไทยอีกชนิดหนึ่งคือ ไม้สักและไม้เบญจพรรณ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐบาลได้อนุญาตให้มีการออกสัมปทานป่าไม้ในภาคเหนือแก่บริษัท ต่างชาติซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทของอังกฤษ จึงมีการล่องซุงมาตามลำน้ำเจ้าพระยาเพื่อบรรทุกขึ้นเรือท่ีท่าเรือ กรุงเทพฯ ไม้ที่จัดส่งไปจำหน่ายนี้มีท้ังไม้ซุงและไม้แปรรูป ดังนั้น จึงมีการตั้งโรงเลื่อยจักรทั้งสองฝั่งแม่น้ำ เจ้าพระยาเป็นจำนวนมากในรัชสมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว โรงงานน้ำตาลทรายขาว เป็นกิจการต่อเน่ืองกับการปลูกอ้อย ต้ังอยู่ในบริเวณที่เป็นแหล่งปลูกอ้อย เช่นท่ีจังหวดั ฉะเชิงเทราและนครปฐม โรงหบี อ้อยทำนำ้ ตาลทีเ่ มอื งนครไชยศร ี 249
อตู่ อ่ เรือสมยั ใหม่ มีทัง้ ของหลวงและเอกชน เปน็ เรือกลไฟและเรือเหล็ก ทา่ เรอื กรงุ เทพฯ ที่มีเรือสินคา้ คับคงั่ เหมืองแร่ สว่ นใหญเ่ ป็นเหมืองดีบกุ ทางภาคใต้ ชุมชนชาวเหมอื งตอ่ มาไดเ้ ติบโตขน้ึ เป็นเมอื งใหญ่ เชน่ เมืองระนอง ภูเก็ต การทำเหมอื งแร่ในภาคใต ้ 250
เมอ่ื มกี ารปฏริ ปู การปกครองและจดั ตง้ั กระทรวงขน้ึ ในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั กิจการด้านอุตสาหกรรมยังอยู่ภายใต้กระทรวงเกษตรพานิชยการ มีการจัดต้ังหน่วยงานย่อยระดับกรม รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยุคใหม่ พร้อมกันน้ีได้ว่าจ้างผู้เช่ียวชาญชาวต่างประเทศเข้ามาทำงานในกรม สำคญั ๆ ดังตอ่ ไปน้ ี กรมป่าไม้ กรมป่าไม้ต้ังข้ึนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ สาเหตุของการก่อต้ังก็เพื่อป้องกันมิให้ อังกฤษซึ่งมีผลประโยชน์ในกิจการป่าไม้ทางภาคเหนือ ถอื โอกาสเขา้ แทรกแซงกจิ การภายในของประเทศสยาม กรมป่าไม้มีหน้าที่จัดวางระเบียบปฏิบัติ ตรวจตรา พ้ืนที่ป่าไม้ และประสานงานกับกงสลุ อังกฤษตลอดจน คนในบังคับอังกฤษ ดังนั้น จึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ ชาวต่างชาติโดยได้ว่าจ้างนายเอช. สเลด (H. Slade) ชาวอังกฤษ ซ่ึงขณะนั้นรับราชการอยู่ที่พม่ามาเป็น อธิบดี (พ.ศ. ๒๔๓๙ - ๒๔๔๕) หลังจากนั้นคือ นายทอตเตนนมั (Tottenham) (พ.ศ. ๒๔๔๕ - ๒๔๔๗) และนายลอยด์ (Lloyd) (พ.ศ. ๒๔๔๗ - ๒๔๖๖) ตามลำดบั มสิ เตอรเ์ อช. สเลด เจา้ กรมปา่ ไม ้ อธิบดีกรมป่าไม้ตั้งแต่คนแรกเป็นต้นมา ได้วางรากฐานและโครงสร้างของกรมป่าไม้ ที่สำคัญคือการ เจรจาขอโอนการครอบครองป่าไม้จากเจ้านายฝ่ายเหนือมาเป็นของรัฐบาลสยาม ควบคุมการขอสัมปทานทำ ปา่ ไมอ้ ยา่ งรดั กมุ รว่ มมอื กบั องั กฤษตงั้ กองดา่ นปา่ ไมท้ ชี่ กั ลากไมซ้ งุ ผา่ นลำนำ้ สาละวนิ จดั ทำนโยบายบำรงุ รกั ษาปา่ ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองและป้องกันป่าไม้ พระราชบัญญัติป้องกันการลักลอบชักลากไม้ขอนสัก เริ่มโครงการจัดตั้งป่าสงวน ส่งเสริมการปลูกสวนสัก ขณะเดียวกันก็ได้จัดเตรียมบุคลากรโดยส่งนักเรียนไทย ไปศกึ ษาอบรมวิชาป่าไมใ้ นต่างประเทศ และตอ่ มากไ็ ด้จดั ต้งั โรงเรยี นป่าไมข้ ้ึนในภาคเหนือของสยาม กรมราชโลหะและภมู วิ ทิ ยา หรอื กรมแร่ เนอ่ื งจากในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั มีชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนกิจการเหมืองแร่มากขึ้น ทำให้มีการสำรวจหาแร่หลายประเภทและในหลายพ้ืนท่ี ซ่ึงอาจก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากขึ้นได้ รัฐบาลจึงได้จัดตั้งกรมราชโลหะและภูมิวิทยาข้ึนใน พ.ศ. ๒๔๓๔ มีหน้าท่ี ควบคุมดูแลกิจการต่างๆ ที่เก่ียวกับแร่ ส่งเสริมการทำเหมืองแร่ จัดทำสัญญาในการขอสัมปทานทำเหมืองแร่ 251
ไม้ซุงจากภาคเหนอื ล่องตามลำนำ้ สู่ภาคกลาง ส่วนการดำเนินงานของกรมราชโลหะและภูมิวิทยา รัฐบาลได้ว่าจ้างชาวเยอรมันในระดับอธิบดีและวิศวกรผู้ช่วย ไดแ้ ก่ นายอี. เดอ มุลเลอร์ (E. de Muller) และนายวอริงตนั สไมล์ (Warrington Smile) ท้งั น้อี าจเปน็ เพราะ ตอ้ งการถ่วงดลุ อำนาจของอังกฤษท่กี ำลังขยายเขา้ มาในบริเวณภาคใต้ การที่กรมราชโลหะและภูมิวิทยาบริหารโดยชาวตะวันตก ระเบียบและกฎเกณฑ์ต่างๆ เก่ียวกับการให้ สมั ปทานหรอื การเกบ็ ผลประโยชนจ์ งึ เปลย่ี นไปเปน็ แบบสากล งานชน้ิ แรกของกรมคอื การจดั รา่ งพระราชบญั ญตั ิ เหมืองแร่ ลดอากรดีบุก เพ่ือสนบั สนุนให้มกี ารทำเหมืองเพ่มิ ข้ึนซง่ึ รฐั กจ็ ะได้กำไรเข้าประเทศมากข้นึ ดว้ ย 252
กรมแผนท่ี งานแผนที่ในตอนต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผลงานของ นายอลาบาสเตอรซ์ ึง่ เปน็ ที่ปรกึ ษาสว่ นพระองคพ์ ระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยหู่ วั โดยมกี ารจัดทำแผนที่ บางส่วนของกรุงเทพฯ และบริเวณปากอ่าว รวมท้ังจัดทำโครงการร่วมมือกับฝรั่งเศสในแผนท่ีการวางสาย โทรเลขระหว่างกรุงเทพฯ - เมืองพระตะบอง พอดีกับในขณะนั้นอังกฤษได้ติดต่อขอทำแผนท่ีพม่าผ่านเข้ามา ในเขตแดนไทย และไดเ้ สนอใหไ้ ทยวา่ จา้ งนกั ทำแผนทชี่ าวองั กฤษเขา้ มารบั ราชการในคราวเดยี วกนั รฐั บาลสยาม จึงได้ว่าจ้างนายเจมส์ แมคคาร์ที ชาวอังกฤษ เข้ามาช่วยงานการทำแผนที่ทางชายพระราชอาณาเขตสยาม เพอื่ เปน็ หลักฐานในการปักปนั เขตแดนกับฝรงั่ เศส ใน พ.ศ. ๒๔๒๘ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพซึ่งดำรงพระยศเป็นนายพันโทจัดตั้งกรมแผนท่ีข้ึนในกรมทหาร มหาดเล็กร่วมกับนายแมคคาร์ที การจัดตั้งกรมแผนที่น้ีมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพ่ือความมั่นคงทางการเมือง โดยเฉพาะประเด็นเก่ียวกับปัญหาพรมแดนกับอังกฤษและฝรั่งเศส และเมื่อต้ังขึ้นแล้วยังเอ้ือประโยชน์ด้าน เศรษฐกิจ เชน่ การระบุบรเิ วณเหมอื ง ปา่ ไม้ ตลอดจนโฉนดที่ดิน กรมแผนที่ที่กอ่ ตั้งขน้ึ ใหมน่ มี้ ีนายแมคคารท์ ดี ำรงตำแหน่งเป็นอธิบดี (พ.ศ. ๒๔๒๘ - ๒๔๔๔) ผลงาน สำคัญของนายแมคคาร์ทีและผู้ช่วยชาวอังกฤษของเขา คือการทำแผนที่ชายแดนเชียงใหม่และชายแดนอีสาน แต่ที่สำคัญคือแผนที่ประเทศไทยฉบับแมคคาร์ที พ.ศ. ๒๔๓๐ ต่อมากรมแผนท่ีได้ย้ายไปอยู่กับกระทรวง เกษตรพานิชยการ การทำแผนที่ในช่วงน้ีส่วนใหญ่เป็นการทำแผนที่การใช้ที่ดินในมณฑลต่างๆ แผนที่โฉนด และแผนที่สำหรับประกอบการพิจารณาคดี งานในราชการของนายแมคคาร์ทีนับว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศ สยาม โดยเฉพาะการจัดต้ังโรงเรยี นแผนท่สี ำหรับฝึกข้าราชการไทยให้มีความรู้เชี่ยวชาญในการทำแผนท่ี โดยสรปุ การปฏริ ปู ดา้ นเกษตรกรรมและอตุ สาหกรรมในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ได้ชว่ ยพฒั นาเศรษฐกจิ ของประเทศให้เจรญิ ก้าวหน้าทดั เทยี มกับประเทศอืน่ ในภูมิภาค 253
๑๒ เปิดโลกสื่อสาร - คมนาคม ...ต้ังแต่แรกเราได้เถลิงถวัลยราชสมบัติมาจนบัดนี้ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงกว่า แต่ก่อนเปนอันมาก ท้ังในเมืองนี้แลเมืองอ่ืนๆ ส่ิงของที่คิดทำกันข้ึนใหม่ๆ อย่าง มหัศจรรย์บรรทุกเข้ามาจากเมืองอ่ืนๆ หลายอย่าง เรือกลไฟไปมาแลเครื่องไฟฟ้า โทรเลขกระทำให้ระยะทางท่ีไกลๆ กันในระหว่างเมืองเขากับเมืองอ่ืนท้ังหลายอันไกล ที่สุดในโลกนี้ให้ใกล้ชิดติดกันเข้าเปนอันมาก รถรางแลทางรถไฟก็ได้ต้ังเร่ิมใช้เปน หนทางในเมืองน้ีแล้ว สิ่งของต่างๆ ก็คิดประดิษฐ์ข้ึนใช้ด้วยแรงไอน้ำ แลแรงไฟฟ้า สำหรบั เปนประโยชนใ์ ชห้ ลายประการ... (พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยูห่ ัวพระราชทาน ประชาชนชาวสยามเม่อื เสดจ็ กลับจากยโุ รป วนั ท่ี ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๐) ด้วยพระหฤทัยที่ห่วงใยทุกข์สุขของราษฎร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี พระราชดำริว่า การคมนาคมเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศและความผาสุกของพสกนิกร จึง โปรดเกล้าฯ ให้จัดการคมนาคมท้ังทางบกและทางน้ำ ได้แก่ การสร้างถนน ทางรถราง สะพาน ทางรถไฟ และการขุดคลอง เส้นทางคมนาคมต่างๆ นี้ได้จัดสร้างสืบต่อมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า- เจา้ อยหู่ วั แลว้ หลังจากที่ประเทศสยามได้ทำสนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์กับนานาประเทศในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวต่างชาติได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยมากขึ้น พระองค์ทรงคำนึงถึง ผลประโยชน์ของการบำรุงการค้าขายของประเทศและการสัญจรไปมาของประชาชน จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ถนน สะพาน และคลอง ในพระนครเพ่ือการคมนาคม ถนนสายสำคัญ เช่น ถนนเจริญกรุงหรือถนนใหม่ ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร และถนนหัวลำโพง เป็นต้น ส่วนสะพานข้ามคลอง ก็มีสะพานถนนตรง และ สะพานสำเพ็ง เป็นต้น นอกจากน้ี ยังโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองเพ่ือการคมนาคมในหัวเมืองเชื่อมกับกรุงเทพฯ ได้แก่ คลองมหาสวัสดิ์ คลองดำเนนิ สะดวก และคลองภาษีเจรญิ 255
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเห็นความจำเป็นท่ีจะต้องพัฒนาการ คมนาคมทางบกเพ่ิมข้ึน ท้ังน้ีทรงศึกษาแบบอย่างของการพัฒนาคมนาคมเมื่อครั้งเสด็จประพาสชวาและอินเดีย ทั้งการสร้างถนน รถราง สะพาน และทางรถไฟ โดยมเี หตผุ ลสำคัญคอื ๑. การปกครองภายในประเทศ หลังจากท่ีทรงปฏิรูปการปกครองเม่ือ พ.ศ. ๒๔๓๕ แล้ว มีการ เปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนภูมิภาคมาเป็นแบบรวมอำนาจภายใต้มณฑลเทศาภิบาล ทำให้ผู้ปกครองเดิม มีปฏิกิริยาต่อต้านรัฐบาลกลาง ดังเหตุการณ์ขบถผู้มีบุญภาคอีสาน (พ.ศ. ๒๔๔๔ - ๒๔๔๕) และขบถเงี้ยว เมอื งแพร่ (พ.ศ. ๒๔๔๕) พระองคท์ รงตระหนักว่าสภาพการคมนาคมในขณะน้นั ลำบาก จำเปน็ อย่างยิง่ ท่จี ะตอ้ ง มีระบบการคมนาคมทส่ี ะดวก รวดเร็ว เพอ่ื ใหร้ ฐั บาลสามารถสงั่ ราชการและรกั ษาความสงบไดท้ ันท่วงท ี ๒. การป้องกันลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก ขณะนั้นอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังแผ่ขยายอำนาจเข้ามา ในดินแดนสยามทุกด้าน รัฐบาลจึงต้องรีบทำนุบำรุงเส้นทางคมนาคมให้ไปมาได้สะดวกรวดเร็ว เพื่อประโยชน์ ทางยุทธศาสตร์และการรักษาเอกราชของชาติ อนึ่ง การพัฒนาเส้นทางคมนาคมยังเป็นการเปิดพ้ืนที่รกร้าง วา่ งเปล่าให้ประชาราษฎร์เข้ามาทำมาหากินอย่างกวา้ งขวาง ๓. การพัฒนาเศรษฐกจิ ภายหลงั การลงนามในสนธสิ ญั ญาเบาว์ริงแล้ว เศรษฐกจิ ของไทยเปลีย่ นจาก เศรษฐกิจแบบเล้ียงตนเองเป็นเศรษฐกิจเพ่ือการส่งออก มีการนำผลผลิตทางเกษตรกรรมจากภูมิภาคเข้าสู่ กรงุ เทพฯ เพ่อื การส่งออกต่อไป รัฐบาลจึงตอ้ งปรับปรุงการคมนาคมจากชนบทเข้าสู่กรงุ เทพฯ ให้สะดวกย่ิงข้นึ การสร้างถนน ถนนเจริญกรงุ พระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการสร้างถนนในกรุงเทพฯ คือ การ สรา้ งถนนระหว่างชานเมอื งกบั ภายในเมอื ง ถนนเลยี บคเู มืองคลองผดุงกรุงเกษมและคลองคเู มืองเดิม และถนน ในพ้ืนท่ีท่ีเจริญแล้วเพ่ือส่งเสริมการค้าขาย เช่น โครงการถนนอำเภอสำเพ็ง ต่อมาได้ขยายการสร้างถนนไปยัง พื้นท่ที ่ยี งั ไมเ่ จริญตามชานเมอื ง เพื่อให้มกี ารขยายพน้ื ที่เมอื งหลวงออกไป ดังเช่นโครงการถนนอำเภอดุสติ 256
การสร้างถนนในกรุงเทพฯ เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงโยธาธิการ ต่อมาเม่ือรัฐบาลได้ต้ัง กรมสุขาภิบาลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ เพื่อทำหน้าท่ีรักษาความสะอาดในกรุงเทพฯ และรักษาถนน โดยอยู่ในสังกัด กระทรวงนครบาล ทำให้มีการทำงานในลักษณะต่างคนต่างทำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จงึ ทรงมพี ระราชหตั ถเลขาถงึ กรมหมน่ื พทิ ยลาภพฤฒธิ าดา เมอื่ วนั ที่ ๒ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ ใหก้ รมโยธาธกิ าร และกรมสขุ าภิบาลประสานงานกนั ในการสร้างถนนสายต่างๆ ในกรงุ เทพฯ ความวา่ ...ควรที่กรมโยธากับกรมสุขาภิบาล จะต้องตรวจแลคิดการที่จะทำถนนพร้อมกัน เหมือนอยู่ในกรมเดียวกัน เพราะกรมหนึ่งจะทำ กรมหนึ่งจะรักษา เปนต้นว่าจะตัดถนน สายใด ในเม่ือจะขีดแผนที่ลง ฤๅขีดแผนที่ลงแล้ว ให้ปฤกษากรมสุขาภิบาลในทางที่จะวาง ถนนตรงแลคดอย่างไร จะขุดวางไว้สำหรับทำท่อลึกกว้างอย่างใด ซึ่งจะเปนการสดวกแก่ กรมสขุ าภิบาลเมอ่ื ได้รับถนนนนั้ ไปรักษา... ต่อมาในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมสุขาภิบาลได้รับมอบหมายให้ทำ หน้าท่สี รา้ งและรกั ษาถนนกับสะพานในกรงุ เทพฯ เพียงหน่วยงานเดยี วเพื่อความคล่องตวั ในการบริหารจัดการ โครงการสร้างถนนในกรุงเทพฯ มี ๓ โครงการ คือ ๑. โครงการถนนอำเภอสำเพ็ง อำเภอสำเพ็งเป็นย่านการค้าภายในประเทศท่ีมีความเจริญมากอีก แห่งหนึ่งนอกจากถนนเจริญกรุง แต่ขาดถนนขนาดใหญ่ที่จะอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า ในเรื่องนี้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ได้กราบบังคมทูลพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว ในหนังสอื ท่ี ๔๗๐/๒๓ ลงวนั ที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ความว่า ...ในปัจจุบันน้ี ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้า ว่าไม่มีท่ีแห่งใดจะเจริญมากกว่าแขวง สำเพ็ง ด้วยเปนทำเลการค้าขายมีประโยชน์มากในท่ีนั้น แต่ประโยชน์ซึ่งมีในท่ีนั้นดูบกพร่อง เหตุเพราะถนนมีน้อย แลที่มีอยู่แล้วก็แคบเล็กเปนที่ขัดขวางทางไปมาของการค้าขาย ไม่พอ แก่การเจริญซ่ึงควรจะเกิดข้ึนได้อีกเปนอันมาก ถ้าทำถนนใหญ่เพ่ิมเติมขึ้นอีก ท่ีดินเหล่าน้ัน คงเจริญข้ึนอีกหลายสิบเท่าโดยไม่ต้องสงไสย ในการที่จะทำถนนเพ่ิมเติมข้ึนนั้นจำจะต้อง รีบทำโดยเร็ว เพราะที่ท้ังหลายในแขวงสำเพ็งน้ัน ย่อมมีผู้สร้างตึกข้ึนใหม่เสมอไม่เว้นว่าง ถา้ ไมร่ บี จัดการเสียนานไปการตัดถนนก็คงไม่สำเรจ็ เพราะต้องไปตดิ ตกึ ซง่ึ มรี าคามาก... โครงการถนนในยา่ นสำเพง็ ทส่ี มเดจ็ พระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมขนุ นรศิ รานวุ ดั ตวิ งศ์ เสนอนนั้ มถี งึ ๑๘ ถนน อาทิ ถนนเยาวราช ถนนจกั รวรรดิ ถนนราชวงษ์ ถนนอนุวงศ์ และถนนมหาไชย เปน็ ต้น 257
ถนนมหาไชย ๒. โครงการถนนอำเภอดุสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเร่ิมโครงการข้ึน พร้อมๆ กับการสร้างพระราชวังดุสิตใน พ.ศ. ๒๔๔๑ เพราะสถานท่ีตั้งพระราชวังดุสิตขวางก้ันการเดินทาง ของประชาชนท่ีอาศัยอยู่ในบริเวณน้ัน ดังน้ัน เพ่ือความสะดวกในการคมนาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริวา่ ...ทางวังดุสิตซ่ึงปลูกพลับพลาอยู่เดี๋ยวน้ี เม่ือล้อมปิดเสียไม่ให้ราษฎรเดิรไปมา ก็จะต้องเปิดทางอ่ืนให้เดิร จึงเปนการจำเปนต้องตัดถนนราชวัด (ถนนนครไชยศรี) สกัด ด้านเหนือสายหนึ่ง ถนนซ่ิว (ถนนสวรรคโลก) สกัดด้านตะวันออกสายหน่ึง ถนนตอเสื้อ (ถนนพิษณโุ ลก) สกัดด้านใตส้ ายหนง่ึ เปนถนนเดิรรอบบรเิ วณสวนดุสติ แลถนนตัดลงแม่น้ำ เพื่อจะให้เปนการสะดวกแก่ผู้ที่ค้าขาย แลผู้ท่ีตั้งอยู่ในท้องถนนสามเสนอีก ๓ สายคือ ถนนซังฮ้ีนอก (ถนนราชวิถี) ถนนดวงเดือนนอก (ถนนสุโขทัย) ถนนดาวข่าง ยังปลาย ถนนเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งออกไปนอกบริเวณสวนดุสิต แต่เพ่ือจะให้สวนดุสิตจดถนนหลวง แลคลองเปรมประชากรซ่ึงตื้นรกแลพังเปนอันมาก แต่จะปิดเสียไม่ได้เพราะเป็นทางที่เรือ ราษฎรเดริ ไปมาตลอดจนถงึ แขวงกรุงเก่า กจ็ ำเปนต้องทำให้หมดจนสดวก... นอกจากนย้ี งั มถี นนดวงตะวนั (ถนนศรอี ยธุ ยา) ถนนลก (ถนนพระรามท่ี ๕) ถนนฮก (ถนนนครปฐม) ถนนสม้ มอื หนู (ถนนสุพรรณ) ถนนดวงดาว (ถนนนครราชสีมา) ถนนพุดตานเหนอื (ถนนพิชัย) เป็นตน้ 258
๓. โครงการถนนราชดำเนิน ถนนราชดำเนินเป็นถนนสายหน่ึงที่มีการนำรูปแบบและวิธีการสร้างมา จากการทำถนนของชวา ดังในพระราชนิพนธจ์ ดหมายรายวนั เมอ่ื เสด็จประพาสชวาวา่ ...เมื่อเช้านไี้ ปซอื้ โปสตก๊าด เหนเขาทำถนน เอาหนิ ต้งั ก้อนใหญ่ๆ เรียงลำดบั เหมือน อย่างก่ออิฐตะแคง แล้วเอาคนน่ังย่อยหัวศิลาสูงๆ ให้ราบ เศษตกลงมาไปยาแนวไปในตัว แล้วเอาทรายหยาบถม แล้วจึงเอาศิลาย่อยขนาดโรยถนนโรยทับอีกช้ันหนึ่ง น่าทำที่ถนน ราชดำเนนิ เชน่ น้ี เสียดาย แตห่ ินของเราหายาก กลวั จะแพงเหลือเกนิ ... ใน พ.ศ. ๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเร่ิมโครงการถนนราชดำเนิน ภายหลังจากได้เร่ิมโครงการถนนอำเภอดุสิตแล้ว การก่อสร้างถนนเร่ิมท่ีถนนราชดำเนินนอกก่อน ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้สร้างถนนราชดำเนินเพ่ิมอีก ๒ สายคือ ถนนราชดำเนินกลางและถนนราชดำเนินใน ถนนท้ังหมดน้ีใช้วิธีก่อสร้างแบบถมดินปูอิฐและถมด้วยดินทับอีกทีหน่ึงตามแบบอย่างการทำถนนท่ีเมืองบันดุง ในชวา จุดประสงค์ของการสร้างถนนราชดำเนิน เพ่ือสำหรับเสด็จพระราชดำเนินระหว่างพระบรมมหาราชวัง กับพระราชวังดุสิต เพ่ือความสง่างามของบ้านเมือง และเพ่ือให้ประชาชนได้เดินเท่ียวพักผ่อน ด้วยเหตุนี ้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชประสงค์ให้สร้างถนนราชดำเนินให้กว้างท่ีสุด ในขณะน้ัน ให้สองฟากถนนราชดำเนินเป็นที่ตั้งวังและสถานท่ีราชการใหม่ๆ ไม่โปรดให้สร้างตึกแถวหรือร้าน เล็กๆ ซึ่งจะทำให้กลายเป็นย่านการค้า ดังในพระราชหัตถเลขา ท่ี ๓๐/๖๙๖ ถึงเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ ความวา่ สะพานผา่ นพภิ พลีลา ถนนราชดำเนิน 259
...เพราะที่เหล่านั้นเปนแต่สวน ไม่มีบ้านเรือนมากนัก แลอยู่ตรงน่าพระท่ีนั่งออกมา จะเปนที่งดงาม เปนถนนแฟตช่ันเนบอลสำหรับข่ีรถวนไปวนมา ที่สองข้างนั้นต่อไปจะต้อง เปนวงั เปนออฟฟีซใหญๆ่ ฤๅบา้ นผ้มู ั่งมี ทจ่ี ะตง้ั รา้ นหยมุ ๆ หยิมๆ ไม่ได้...เพอื่ แกใ้ ห้เปนการ ใหญส่ ำหรับประชมุ คนไปเที่ยวเชน่ น้ี คงจะกลับเปนทางคนไปมาเทย่ี วเตรด่ ขี นึ้ นบั ว่าเปนราศี ของเมอื งไทยสักแห่งหน่ึง... แผนทถี่ นนและคลอง พ.ศ. ๒๔๓๙ 260
ถนนราชดำเนินเป็นศรีสง่าแก่พระนคร เช่นเดียวกับถนนชองป์ส เอลิเซ่ (The Champs Elyse´e) ของกรุงปารีส ประเทศฝร่ังเศส หลังจากน้ันมีการสร้างสะพานท่ีสวยงาม เช่น สะพานผ่านพิภพลีลา สะพาน ผ่านฟ้าลีลาศ และสะพานมัฆวานรงั สรรค์ เป็นต้น การพัฒนาเส้นทางคมนาคมเมืองหลวงตามแบบสมัยใหม่ ประกอบกับการขยายเมืองหลวง การจัด ระบบการคมนาคมให้คล่องตัว การจัดสาธารณูปโภคและการรักษาความสะอาดพร้อมกับการปลูกต้นไม้สอง ข้างถนนใหร้ ่มร่ืน รถราง รถรางถือเป็นพาหนะมวลชน เป็นวิธีการคมนาคมท่ีรวดเร็วและขนถ่ายผู้โดยสารได้คราวละมากๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐบาลกำหนดนโยบายให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ มีการ แข่งขันกันระหว่าง ๒ บริษัท คือ บริษัทไฟฟ้าสะสมทุนจำกัด และบริษัทรถรางไทยทุนจำกัด ภายหลังบริษัท ไฟฟา้ สยามทนุ จำกดั ไดร้ บั โอนกจิ การของบรษิ ทั รถรางไทยทนุ จำกดั ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ทำใหบ้ รษิ ทั ไฟฟา้ สยามทนุ จำกัดไดผ้ กู ขาดการเดินรถรางในกรงุ เทพฯ แต่เพียงผ้เู ดียว รถรางรนุ่ แรก ในวันท่ี ๒๒ กนั ยายน พ.ศ. ๒๔๓๑ ได้เปิดการเดนิ รถรางคร้งั แรกจากศาลหลกั เมอื งถึงบางคอแหลม โดยใช้ม้าเทียม จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๗ จึงใช้รถรางไฟฟ้าแทน และใน พ.ศ. ๒๔๔๘ บริษัทรถรางไทยทุนจำกัด ได้เปิดรถรางสายรอบเมอื ง 261
เส้นทางเดินรถรางได้ผ่านสถานท่ีสำคัญเกือบทุกแห่งในกรุงเทพฯ ได้แก่ สายบางคอแหลม สาย สามเสน สายอษั ฎางค์ และสายราชวงษ์ โดยเฉพาะอย่างยง่ิ สายบางคอแหลมและสายสามเสน มคี วามสำคัญต่อ การเดนิ ทางในชีวติ ประจำวันของพอ่ คา้ ประชาชนระหว่างชานเมืองด้านใต้และดา้ นเหนอื สพู่ ืน้ ทีภ่ ายในกรงุ เทพฯ รถรางมีส่วนช่วยให้การคมนาคมขนส่งในกรุงเทพฯ สะดวกยิ่งข้ึน มีท้ังเส้นทางเช่ือมชานเมืองกับ ภายในเมือง เส้นทางรอบกำแพงเมือง เส้นทางจากรถรางสายหลักไปยังท่าเรือที่สำคัญๆ เส้นทางเชื่อมชุมทาง รถไฟกบั ภายในเมือง เปน็ ต้น ในระยะแรกๆ ประชาชนไม่นยิ มโดยสารรถราง แต่ตอ่ มาจากความสะดวกรวดเร็ว ของการเดินทางโดยรถราง ประกอบกับค่านิยมท่ีว่าผู้โดยสารรถรางเป็นบุคคลทันสมัย เป็นผลให้รถราง กลายเป็นสิง่ จำเปน็ สำหรับชาวกรงุ เทพฯ อย่างไรก็ตาม การโดยสารรถรางนน้ั ถงึ แมว้ า่ จะรวดเรว็ มากในขณะนนั้ ก็ตาม แต่ในเวลาต่อมาเม่ือมีพาหนะคับค่ังบนท้องถนน ประกอบกับรถรางต้องรอหลีกทำให้เสียเวลามาก และกลายเป็นส่ิงกีดขวางการจราจรบนท้องถนน จงึ ทำใหร้ ฐั บาลยุบเลกิ กจิ การไปในเวลาต่อมา การสร้างสะพาน ด้วยเหตุท่ีกรุงเทพฯ มีลำคลองเป็นจำนวนมาก การสร้างถนนส่วนใหญ่จึงต้องสร้างผ่านคลองต่างๆ ดังนนั้ พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั จงึ โปรดเกล้าฯ ให้มกี ารสรา้ งและซ่อมแซมสะพานเพื่อให้ราษฎร สามารถเดินทางข้ามคลองต่างๆ เป็นการย่นระยะเวลาโดยไม่ต้องเดินทางไกล บางสถานที่มีสะพานอยู่แล้ว แต่สะพานนั้นเก่า ชำรุดทรุดโทรมมาก บางแห่งก็เป็นสะพานเล็กๆ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อสะพานเดิม แลว้ สรา้ งสะพานใหมข่ นึ้ แทน โดยสะพานทส่ี รา้ งในสมยั นนั้ มี ๓ แบบ คอื สะพานไม้ สะพานเหลก็ และสะพานทอ่ ทรงมอบหมายกรมโยธาธกิ ารเป็นผสู้ รา้ งและกรมสขุ าภบิ าลเป็นผู้ทำนบุ ำรงุ รกั ษา แนวพระราชดำริในการสร้างสะพานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดข้ึนเมื่อคราว เสด็จประพาสเมืองปัตตาเวีย พระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรสะพานยกหรือสะพานหกให้เรือผ่านได้โดย กึ่งกลางของสะพานเป็นโครงเหล็กสูง ด้านหนึ่งของโครงเหล็กมีโซ่และลูกตุ้มเหล็กเป็นเคร่ืองถ่วง อีกด้านหนึ่ง ของสะพานมีโซ่เหล็กห้อยลงมายึดตัวสะพานให้ยกหรือหกได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำ รูปแบบของสะพานลักษณะน้ีมาสร้างในกรุงเทพฯ รวมทั้งส้ิน ๘ แห่งคือ สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม ท่ีหน้า กระทรวงมหาดไทย และหลังกระทรวงกลาโหม สะพานข้ามคลองวัดอนงคาราม คลองวัดพิชัยญาติ คลองสระ ปทมุ คลองริมวังพระองคเ์ จา้ สาย คลองบางกอกใหญ่ และคลองมอญ ปัจจุบันมีเหลอื เพียงสะพานเดยี วท่ีไดร้ ับ การอนรุ กั ษ์ซอ่ มแซมให้คงสภาพเดิม คอื สะพานข้ามคลองคเู มืองเดมิ ทีห่ น้ากระทรวงมหาดไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญของการสร้างสะพานเชื่อมถนนข้าม คลอง พระองค์ได้พระราชทานเงินอุทิศวันละสลึงเท่าพระชนมายุในการเฉลิมพระชนมพรรษาแต่ละปี จัดสร้าง สะพานข้ึนเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน ร.ศ. ๑๑๔ เม่ือมีพระชนมายุครบ ๔๒ พรรษาจนถึง ร.ศ. ๑๒๙ ซึ่งเปน็ ปสี ุดท้ายแหง่ พระชนมช์ พี รวม ๑๗ สะพาน โดยพระราชทานนามสะพาน ขึ้นต้นด้วยคำว่า “เฉลิม” และตัวเลขต่อท้ายระบุพระชนมพรรษา ดังในรายงานการสร้างสะพานเฉลิม ๕๐ ตอนหนึ่งวา่ 262
สะพานหนั โดยกระแสร์พระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ให้กระทรวง โยธาธิการ อำนวยการสร้างสะพานข้ึนท่ีปลายถนนสุรวงษ์ ข้ามคลองหัวลำโพง ณ ที่น้ีด้วย พระราชทรัพย์ซึ่งทรงพระราชศรัทธาบริจาคในคราวเฉลิมพระชนม์พรรษา รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๑ ด้วยหวังพระราชหฤทัยเพ่ือประโยชน์ เปนสาธารณทานแล้ว และจะได้พระราชทาน นามว่า สะพานเฉลิม ๕๐ นน้ั ... 263
พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว เสดจ็ พระราชดำเนนิ เปดิ สะพานเฉลมิ โลก ๕๕ สะพานเฉลมิ โลก ๕๕ ขา้ มคลองแสนแสบ 264
สะพานแห่งแรกท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเน่ืองในวโรกาส เฉลิมพระชนมพรรษา คือ สะพานเฉลิมศรี ๔๒ จากถนนสามเสนข้ามคลองบางขุนพรหม สร้างเม่ือ พ.ศ. ๒๔๓๘ ขณะเจรญิ พระชนมายุ ๔๒ พรรษา และสะพานสดุ ทา้ ยคือ สะพานเฉลมิ สวรรค์ ๕๘ นอกเหนือจากสะพาน “เฉลิม” แล้ว พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างสะพานอีกจำนวนมาก ในบรเิ วณแนวคลองชนั้ นอกไดส้ รา้ งสะพานขา้ มคลอง ๕ แหง่ คอื สะพานเทเวศรนฤมติ ร สะพานวศิ นกุ รรมนฤมาน สะพานมัฆวานรังสรรค์ สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรพักตรรังสฤษฎ์ และเน่ืองจากสะพานมัฆวาน- รังสรรค์ซ่ึงได้ช่ือว่าเป็นสะพานที่งดงามที่สุดในกรุงเทพฯ เป็นสะพานข้ามถนนราชดำเนิน จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานแบบเดียวกันอีก ๒ แห่ง คือ สะพานผ่านพิภพลีลา และสะพานผ่านฟ้าลีลาศ นอกจากน ้ี ยังโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ประทานเงินร่วมสร้างสะพานข้ามคลองต่างๆ อีกหลายแห่ง เช่น สะพานดำรงสถติ ย์ สะพานพิทยเสถยี ร เปน็ ตน้ การขุดคลอง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คลองเป็นเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญกว่าเส้นทาง อ่ืนๆ เพราะในสมัยน้ันรถยนต์ยังไม่มีบทบาทเป็นท่ีแพร่หลายในการเดินทาง ชาวบ้านส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือน อยู่ริมแม่น้ำและใช้เรือเป็นพาหนะ การขยายเมืองในสมัยก่อนจึงต้องขุดคลองต่างๆ เพ่ือความสะดวกในการ คมนาคม ในกรงุ เทพฯ มกี ารขุดคลองจำนวนมากจนได้รบั สมญานามวา่ “เวนิสตะวนั ออก” คลองคูพระนครช้ันใน (คลองหลอด) 265
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองเพ่ือความสะดวกในการเดินทาง คมนาคมทางนำ้ และการทำมาหากินของราษฎร มีการขุดลอกคลองเก่าให้สะอาดและใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ได้แก่ คลองสำเพ็ง คลองบางรัก คลองแสนแสบ และคลองสีลม เป็นต้น โดยมอบให้กรมสุขาภิบาลดูแลรักษาและ ซอ่ มแซมคลองเพ่อื ประโยชน์แกร่ าษฎร การขุดคลองอยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตราธิการซ่ึงเป็นเจ้าพนักงานบังคับบัญชาการรักษา คลอง การอนุญาตให้ขุดคลอง ตลอดจนการปิดคลองหากมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบท่วั กันวา่ การสำรวจและขุดคลองรงั สิต ...บรรดาคลองทงั้ ปวงทไ่ี ดข้ ดุ แลว้ เปนของหลวง มแี มก่ องรกั ษาอยกู่ ด็ ี คลองทเี่ อกชน ได้รับพระบรมราชานุญาต ไปขุดโดยเฉลี่ยเร่ียไรแก่ผู้จับจองท่ีนา แลผู้ได้รับบรมราชานุญาต น้ันยังเปนธุระอยู่ในคลองนั้นก็ดี ฤๅคลองที่จะขอพระบรมราชานุญาตขุดต่อไปก็ดีซ่ึงเปน คลองกลางสำหรับมหาชนจะไดอ้ าไศรยใชท้ ว่ั ไปน้นั ให้ยกมาขึน้ อยใู่ นกระทรวงเกษตราธกิ าร ทั้งสนิ้ ... 266
คลองท่ีขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวมี ๑๘ คลอง ในจำนวนนี้มี ๑๑ คลอง ซ่ึงรัฐบาลเป็นผู้ลงทุนออกทุนทรัพย์ร่วมกับราษฎรซึ่งได้ท่ีดินตอบแทน ส่วนอีก ๗ คลองน้ันให้เอกชนเป็น ผูข้ ุด โดยเฉพาะคลองรังสิตประยรู ศักดิ์ (ปจั จบุ นั คือคลองรังสิต) น้นั ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ ว่าจ้างบริษัทขุดคลองและคูนาสยาม ดำเนินการขุดคลองในบริเวณทุ่งนาระหว่างลุ่มน้ำเจ้าพระยากับจังหวัด นครนายก คลองนี้ใช้ประโยชน์ท้ังเป็นทางคมนาคมและการชลประทานเพ่ือการเกษตร เม่ือบริษัทขุดคลอง เสรจ็ เรียบร้อยแลว้ ในวันที่ ๑๘ พฤศจกิ ายน ร.ศ. ๑๑๕ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยูห่ วั พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจา้ เสาวภาผอ่ งศรี พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดคลองรังสติ ประยรู ศักด์ิ และเสด็จทอดพระเนตรประตูน้ำ ในพระราชพิธีคร้ังนี้ ม.ร.ว. สุวพรรณ สนิทวงศ์ ผู้แทนของบริษัทฯ ได้อ่าน คำกราบบังคมทูลมีใจความวา่ ...เดิมทรงพระราชดำริห์ จะทะนุบำรุงแผ่นดินแลราษฎรได้ดำรัสว่า ในกรุงสยาม คลองเปนการสำคัญสมควรจะมีขึ้นทุกปี ถึงจะออกพระราชทรัพย์ ก็ไม่ทรงเสียดาย บริษัท ไดท้ ราบพระกระแสนี้ จงึ ปฤกษาดว้ ยชาวนา เหน็ พอจะทำใหส้ ำเรจตามพระบรมราชประสงคไ์ ด้ โดยไม่ต้องเปลืองพระราชทรัพย.์ .. พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมพี ระราชดำรัสตอบใจความว่า ...ทรงยินดีท่ีจะเปิดคลอง อันสำเร็จแล้วคราวนี้ ที่ได้ทรงพระราชดำริห์อยู่แต่เดิมว่า จะเปนการมีประโยชน์แก่พระราชอาณาจักรมาก บัดน้ีก็ได้ทอดพระเนตรเห็นเปนการสมจริง ดังทรงพระราชดำริห์ การคลองน้ีถึงว่าเปนการร้ังรอเนิ่นช้า ก็เปนความอุสาหของบริษัท ผู้ที่ทำการน้ีให้สำเร็จได้ ย่อมเปนประโยชน์แก่ราษฎรท่ีได้ทำการเพาะปลูกได้ผล แลเปน ประโยชนแ์ ก่การสินคา้ ด้วย นบั วา่ เปนคุณทง้ั ชาวสยามแลชาวตา่ งประเทศ การคลองนส้ี มควร จะมีตอ่ ไปอีกมากๆ... บริษัทขุดคลองและคูนาสยามถือเอาการท่ีทรงเปิดประตูน้ำเป็นพระฤกษ์นี้ตั้งเป็นนามของประตูน้ำด้าน ตะวันตกตามพระบรมนามาภิไธยว่า “ประตูจุฬาลงกรณ์” ส่วนประตูน้ำด้านตะวันออก สมเด็จพระนางเจ้า เสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ทรงชักเชือกเปิดประตูน้ำ บริษัทฯ ได้ถือเอาพระนามเป็นชื่อประตูว่า “ประตเู สาวภาผ่องศร”ี คลองอื่นๆ ท่ีสร้างข้ึนในสมัยนี้ ได้แก่ คลองสวัสดิเปรมประชากร (ปัจจุบันคือคลองเปรมประชากร) คลองนครเน่ืองเขตร คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองแยกอีก ๔ คลอง คลองทวีวัฒนา และคลองประตูน้ำ ภาษเี จรญิ เปน็ ตน้ คลองบางแหง่ ทรี่ าษฎรมสี ว่ นรว่ มชว่ ยออกเงนิ คา่ ขดุ คลอง ไดแ้ ก่ คลองเปรม คลองหลวงแพง่ และคลองอุดมขจร ส่วนคลองสาทรนั้น หลวงสาทรราชยุกต์ หรือเจ้าสัวยม พิศลยบุตร เป็นผู้ขุดเพื่อจัดสรร ทด่ี นิ ขาย โดยดนิ ทไ่ี ด้จากการขดุ คลองสาทรนี้ใช้ถมเปน็ ถนนสาทร การรถไฟ ในการพัฒนาการคมนาคมทางบก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยทางรถไฟ มากเป็นอันดับหน่ึง ด้วยเหตุผลประการแรก รถไฟเป็นยานพาหนะท่ีเร็วท่ีสุดในขณะนั้น ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัด 267
คือวิ่งไปเฉพาะบนรางที่วางไว้ก็ตาม แต่รัฐบาลสามารถเลือกวางรางเช่ือมระหว่างเมืองสำคัญๆ ซ่ึงจะช่วย ประหยัดเวลาการเดินทางได้มาก นอกจากความรวดเร็วแล้ว รถไฟยังให้ความสะดวกแก่ราษฎรได้โดยสาร ทกุ ฤดกู าล และมเี นอื้ ทบี่ รรทกุ สง่ิ ของไดม้ ากกวา่ การคมนาคมทางอนื่ นอกจากนี้ รฐั บาลสามารถนำผลตอบแทน โดยตรงคือเงินจากค่าโดยสารและค่าระวางสินค้าไปผ่อนชำระเป็นค่าดอกเบ้ียและเงินต้นที่กู้เงินจากต่างประเทศ เพือ่ ลงทุนสร้างทางรถไฟ พระราชดำริในการสรา้ งทางรถไฟ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับแรงบันดาลใจเรื่องการสร้างทางรถไฟจากเม่ือ คราวเสด็จประพาสชวาและอินเดีย กลา่ วคอื ใน พ.ศ. ๒๔๑๓ เมื่อเสดจ็ ไปที่เมืองเซมารังในเกาะชวา ไดเ้ สดจ็ ไป ทอดพระเนตรรถไฟและสะพานรถไฟท่ีกำลังสร้างอยู่ และใน พ.ศ. ๒๔๑๔ เม่ือเสด็จประพาสอินเดีย ได้เสด็จ พระราชดำเนนิ โดยรถไฟจากเมอื งกลั กตั ตาไปยงั เมอื งเดลี อคั รา ลกั เนาว์ และบอมเบย์ ใชเ้ วลาเดนิ ทางรวมแลว้ ถงึ ๒๐๐ ชั่วโมง ทรงเห็นว่ารถไฟเป็นการเปิดกิจการคมนาคมแบบใหม่เพราะสามารถขนถ่ายสินค้าได้เป็นจำนวน มาก และทำให้อำนาจการปกครองของรัฐบาลกลางแผ่ขยายครอบคลุมไปถึงดินแดนท่ีอยู่ห่างไกล พระองคท์ รง ตระหนักถึงความสำคญั ของการคมนาคมทางรถไฟเพราะตลอดระยะเวลาท่ีเสด็จพระราชดำเนนิ โดย รถไฟ ทรง ไดร้ บั ความสะดวก รวดเรว็ ถงึ กบั ทรงมพี ระราชดำรวิ า่ นา่ จะไดจ้ ดั การรถไฟเชน่ นใ้ี นพระราชอาณาจกั ร สยามบ้าง ในเร่ืองการสร้างทางรถไฟ กรมหม่ืนนเรศร์วรฤทธ์ิ ราชทูตสยามประจำประเทศอังกฤษ ทรงแสดง ความคิดเหน็ ไวว้ ่า ...เร่ืองการทำรถไฟน้ี ฉันตริตรองดูเหนว่า ฝ่ายเราควรต้องทำโดยเรวจริงจึงจะเปน ความเจริญแก่บ้านเมอื งใหเ้ ปนประโยชนเ์ รวขนึ้ ทง้ั จะเปนทป่ี รากฏแก่คนทั่วโลกย์ใหเ้ หนไดว้ า่ เรามคี วามอตุ สาหท์ สี่ ดุ ทจี่ ดั การบา้ นเมอื งโดยจรงิ จงั จะทำใหเ้ ขากรณุ าปอ้ งกนั ความเบยี ดเบยี น ขม่ เหง... ใน พ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ก่อต้ังกรมรถไฟข้ึน และ ว่าจ้างชาวเยอรมันดำรงตำแหน่งอธิบดีต่อเน่ืองกันถึง ๓ คนคือ แฮร์ คาล เบทเก (Herr Karl Bethge) (พ.ศ. ๒๔๓๒ - ๒๔๓๗) แฮร์ เฮอร์มานน์ เกทซ์ (Herr Hermann Gertz) (พ.ศ. ๒๔๓๗ - ๒๔๔๗) และแฮร์ หลยุ ส์ ฮีเลอร์ (Herr Louis Heiler) (พ.ศ. ๒๔๔๗ - ๒๔๖๐) พระราชประสงคข์ องพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ซงึ่ ปรากฏอยใู่ นประกาศและพระราชดำรสั ในการสร้างทางรถไฟสายต่างๆ สรุปได้ว่า ทรงต้องการความสะดวกในการคมนาคม ความก้าวหน้าในทาง เศรษฐกิจ และความสะดวกในการปกครองประเทศ ดังในประกาศสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาเมื่อวันที่ ๑ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ความวา่ ...ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า การสร้างหนทางรถไฟเดินไปมาระหว่างหัวเมืองไกล เปนเหตใุ ห้เกิดความเจริญแก่บ้านเมอื ง ได้เปนอย่างสำคญั อันหนึ่ง เพราะทางรถไฟอาจจะชัก ย่นหนทางหัวเมืองซ่ึงต้ังอยู่ไกลไปมากันยากให้กลับเปนหัวเมืองใกล้ ไปมาถึงกันได้สะดวก เร็วพลัน การย้ายขนสินค้าไปมาเปนการลำบาก ก็สามารถย้ายขนไปมาถึงกันได้โดยง่าย 268
เมื่อเปนดังน้ี หัวเมืองใดซ่ึงท่ีดินอุดมดี แต่สินค้ายังไม่บริบูรณเพราะขัดสนทางไปมายาก ไม่สามารถท่ีจะย้ายขนสินค้าท่ีบังเกิดขึ้นไปค้าขายแลกเปล่ียนกันกับหัวเมืองอ่ืนได้ ก็คงม ี ผู้อุสาหคิดสร้างทำเลเพาะปลูกส่งสินค้านั้นให้มากยิ่งขึ้น เปนการเปิดโอกาสให้อาณา ประชาราษฎร มีทางตั้งการทำมาหากินกว้างขวางออกไป แล้วนำทรัพย์สมบัติกรุงสยาม ให้มากยิ่งขึ้นด้วย ท้ังเปนคุณประโยชน์ในการบังคับบัญชาตรวจตราราชการบำรุงรักษา พระราชอาณาเขตใหร้ าษฎรอยูเ่ ย็นเปนศกุ ได้โดยสดวก... รถไฟสมยั แรกหัวรถจกั รเปน็ ประเภทปลอ่ งกระโถน การสรา้ งทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ รัฐบาลได้เรมิ่ โครงการรถไฟเส้นทางกรงุ เทพฯ ถงึ นครราชสีมาเป็นสายแรก แตม่ เี หตุ ให้ต้องหยุดโครงการไว้เพราะปัญหาเร่ืองผลประโยชน์ของการลงทุนของชาติมหาอำนาจซึ่งจะเปิดโอกาสให้ ประเทศมหาอำนาจเข้าแทรกแซงการเมืองไทยได้ จนถึง พ.ศ. ๒๔๒๘ เม่ืออังกฤษต้องการขยายผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจเช่ือมโยงการค้าในภูมิภาคน้ี จึงผลักดันให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรง ตัดสินพระทัยดำเนินการสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยยึดหลักการคำนึงถึงผลประโยชน์ทาง การเมืองและความมั่นคงทางดินแดนแถบนี้ เพ่ือยับย้ังการขยายอิทธิพลของฝร่ังเศสซ่ึงกำลังคุกคามทางด้าน ตะวันออกของไทย รัฐบาลสยามมีทางเลือกเพียงทางเดียวคือต้องสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา เพ่ือกระชับ การปกครองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้มัน่ คง การสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาเริ่มขึ้นเม่ือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินขุดดินเป็นปฐมฤกษ์ เม่ือวันท่ี ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสในการ เรม่ิ ทำทางรถไฟสายนีว้ า่ 269
...เราได้สำนึกแน่อยู่ว่า ธรรมดาความเจริญรุ่งเรืองของประชุมชน ย่อมอาศัย ถนนหนทางไปมาหากันเปนใหญ่เปนสำคัญ เมื่อมีหนทางคนจะได้ไปมาได้ง่ายได้ไกลได้เร็ว ขึ้นเพียงไร ก็เปนการขยายประชุมชนให้ไพศาลยิ่งขึ้นเพียงน้ัน บรรดาการค้าขายอันเปน สมบัติของบ้านเมืองก็จะรุ่งเรืองวัฒนาขึ้นโดยส่วนถนนหนทางนั้น เราจึงได้อุตสาหะคิดจะทำ ทางรถไฟให้สมกบั กำลังบา้ นเมือง... การก่อสร้างได้ทำพร้อมๆ กัน ๓ ช่วง คือ กรุงเทพฯ ถึงกรุงเก่า กรุงเก่าถึงแก่งคอย และแก่งคอย ถึงนครราชสีมา โดยเร่ิมเปิดเดินรถไฟหลวงครั้งแรกระหว่างกรุงเทพฯ กับอยุธยา มีระยะทาง ๗๑ กิโลเมตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีเดินรถไฟเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ และเปิดให้ประชาชนเดนิ ทางหลังจากน้ันอกี ๒ วัน ส่วนเสน้ ทางอยธุ ยาถึงแกง่ คอย ได้เปดิ เดนิ รถ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๐ และเปิดเดินรถตลอดจากกรุงเทพฯ ถึงเมืองนครราชสีมา ระยะทาง ๒๖๔ กิโลเมตร เมือ่ วันท่ี ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๓ ความสำเร็จในการสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา เป็นผลให้การคมนาคมระหว่างกรุงเทพฯ กับภาค ตะวันออกเฉียงเหนือสะดวกรวดเร็วย่ิงข้ึน เพราะทางรถไฟสายนี้สามารถย่นระยะเวลาเดินทางดั้งเดิมโดย ทางเกวียน ซึ่งใช้เวลาเดินทาง ๒๐ - ๓๐ วัน เหลือเพียง ๑๐ ช่ัวโมงในระยะแรกๆ ต่อมาได้ลดลงเหลือเพียง ๘ ชั่วโมง นอกจากนี้ยังทำให้สามารถติดต่อคมนาคมได้ตลอดทั้งปีเป็นคร้ังแรกในประวัติศาสตร์ และปลอดภัย จากโรคภยั ต่างๆ ดว้ ย เสน้ ทางรถไฟผ่านดนิ แดนในชนบท 270
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระอักษรถึงพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมต- อมรพันธ์ุ ราชเลขานุการว่า ไดเ้ สดจ็ ขน้ึ ไปตรวจราชการเมอื งนครราชสมี า เมือ่ ร.ศ. ๑๒๑ ทรงเห็นความเจริญ ในเมืองนครราชสมี าหลงั จากมรี ถไฟซ่ึงรุ่งเรืองกวา่ เดิม การเปลย่ี นแปลงที่เกิดข้นึ เช่น พอ่ คา้ มณฑลอสี าน อดุ ร ไม่รับซื้อสินค้าจากพ่อค้าโคราช แต่ลงไปซ้ือที่กรุงเทพฯ เอง มีการนำปลาย่าง ปลากรอบจากเมืองพระตะบอง บรรทุกรถไฟลงไปขายท่ีกรุงเทพฯ นอกจากนี้ราคาท่ีดินในเมืองนครราชสีมาก็สูงขึ้น ท่ีดินริมถนนท้องตลาด ราคาวาละ ๖ - ๗ บาท และมีการสร้างบ้านเรือนข้างทางรถไฟมากข้ึน โดยเฉพาะที่บ้านสูงเนิน “มีตลาดแล โรงแถวครกึ คร้ืนขึน้ มาก” การสรา้ งทางรถไฟสายเหนือ อังกฤษเรมิ่ ขยายอทิ ธพิ ลเขา้ มาทางภาคเหนอื ของไทย โดยสนับสนนุ พ่อค้าอังกฤษให้เข้ามาขอสัมปทาน สร้างทางรถไฟสายเหนือ ตง้ั แตเ่ มืองอยุธยาถงึ เมืองเชียงใหม่ ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ ทำใหร้ ฐั บาลสยามตัดสินใจสรา้ ง ทางรถไฟตง้ั แตบ่ ้านภาชถี ึงเมืองลพบุรี และสามารถเปดิ เดนิ รถไดใ้ นวนั ท่ี ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๔ การวางทางรถไฟสายเหนือ ต่อมาเม่ือเกิดขบถเงี้ยวเมืองแพร่ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ รัฐบาลตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนท่ีจะสร้าง ทางรถไฟสายเหนือช่วงลพบุรีถึงปากน้ำโพ ทำให้สามารถเปิดเดินรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ ถึงเมืองพิษณุโลกได้ ในเดือนพฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๕๐ และเปดิ เดนิ ถึงบ้านดารา แขวงเมืองพิชัย ไดใ้ นเดือนธนั วาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ จากนั้นรฐั บาลสยามไดห้ ันไปพฒั นาทางรถไฟสายใต ้ 271
การสรา้ งทางรถไฟสายใต ้ เส้นทางรถไฟสายใต้เร่ิมจากกรุงเทพฯ ถึงเพชรบุรีก่อน เส้นทางรถไฟสายน้ีหวังจะรับผู้โดยสาร มากกว่าการบรรทุกสินค้า จึงตัดเส้นทางผ่านเมืองสำคัญๆ และตำบลที่มีประชาชนตั้งบ้านเรือนอาศัยประกอบ อาชพี คือพระปฐมเจดยี ์ บา้ นโปง่ โพธาราม ราชบรุ ี และเพชรบรุ ี ระยะทาง ๑๕๑ กโิ ลเมตร เปดิ เดินรถในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๖ ความสำคัญของเส้นทางรถไฟสายน้ี ปรากฏอยู่ในคำกราบบังคมทูลถวายรายงานการจัดสร้างทาง รถไฟสายเพชรบุรีตอ่ พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว ดงั นี้ ...ผลประโยชน์แห่งทางรถไฟสายนี้ จะมีเปนอันมาก ด้วยทางได้ทำผ่านไปในแผนที่ อันได้มีราชฎรประกอบการทำมาหารับพระราชทาน ด้วยการเพาะปลูกอยู่แล้วเกือบจะ ตลอดทาง แลถูกท่ีประชุมชนอันใหญ่อยู่ถึง ๖ ตำบล คือ กรุงเทพฯ, พระปฐมเจดีย์, บ้านโป่ง, โพธาราม, ราชบุรี กับท้ังเพ็ชรบุรีเปนที่สุด แลยังมีช่องที่จะขยายการสร้างต่อไป ในหัวเมืองปักใต้ฝ่ายตวันตก อันมีเมืองที่บริบูรณ์อยู่แล้วอีกมากนั้น ก็ได้ในภายน่าด้วย เพราะฉน้ันทางรถไฟสายน้ีต้องนับว่าเปนต้นรากแห่งทางรถไฟทั้งหลายในพระราชอาณาจักร์ ซกี ตวันตก เปนทางสำคญั อันหนึ่ง ซึง่ จะมคี วามเจรญิ เกดิ ขน้ึ ในภายนา่ หาประมาณมิได้... พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยูห่ ัวเสดจ็ เปดิ เส้นทางรถไฟสายใต้ทเ่ี มืองราชบุร ี 272
ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ รฐั บาลองั กฤษขยายอทิ ธพิ ลจากแหลมมลายขู น้ึ มายงั ภาคใตข้ องไทย ทำใหร้ ฐั บาลไทย ตระหนักถึงความจำเป็นท่ีจะต้องจัดการคมนาคมในแหลมมลายูเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขาย และการขนส่งแร่ รวมทั้งเพ่ือป้องกันมิให้รัฐบาลและพ่อค้าอังกฤษถือเป็นข้ออ้างในการรุกรานไทย รัฐบาลจึง ดำเนินโครงการสร้างทางรถไฟสายใต้จากเพชรบุรีลงไปใน พ.ศ. ๒๔๕๒ โดยกู้เงินจากอังกฤษผ่านสหพันธรัฐ มลายูเป็นจำนวนเงิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ ปอนดส์ เตอลงิ การสรา้ งทางรถไฟสายตะวนั ออก กรมการรถไฟเร่ิมสร้างทางรถไฟสายตะวันออกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๘ ต้ังต้นจาก กรุงเทพฯ โดยแยกจากทางรถไฟสายนครราชสีมาท่ีสะพานยมราชมาตามคลองบางกะปิ คลองประเวศบุรีรมย์ และแม่นำ้ บางปะกง จนถงึ เมืองฉะเชิงเทรา ระยะทาง ๖๓.๔ กิโลเมตร เปิดเดนิ รถใน พ.ศ. ๒๔๕๐ นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้สัมปทานเอกชนสร้างทางรถไฟอีกด้วย โดยมีผู้ขออนุญาต ๖ สาย คือ สายกรงุ เทพฯ ถงึ สมทุ รปราการ สายสงขลาถงึ ไทรบรุ ี สายเพชรบรุ ี สายพระพทุ ธบาท สายมหาชยั และสายแมก่ ลอง การพัฒนาทางรถไฟในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดังกล่าวทำให้รัฐบาลสามารถ จดั หาวิธีการตดิ ตอ่ ระหวา่ งกรุงเทพฯ กบั ภมู ภิ าคตา่ งๆ ให้สะดวกรวดเรว็ ปลอดภัย และสมำ่ เสมอตลอดทง้ั ปี ทีท่ ำการการรถไฟแห่งประเทศไทย 273
ระบบขนส่งโทรคมนาคม การพัฒนาระบบขนส่งโทรคมนาคมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดขึ้น เน่อื งจากความจำเปน็ ในการรกั ษาเสถยี รภาพและบรู ณภาพของประเทศสยาม ซึง่ เป็นผลตอ่ เนอื่ งถึงการขยายตวั ทางดา้ นเศรษฐกจิ ทงั้ เกษตรกรรม อตุ สาหกรรม และพาณชิ ยกรรม ควบคไู่ ปกบั การมเี อกภาพทางการปกครอง และสังคม ระหวา่ งเมอื งหลวงกบั ชนบททอี่ ยูห่ า่ งไกล การไปรษณียแ์ ละโทรเลข ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริงและสนธิสัญญากับนานาประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการก่อตั้งสถานทูตและสถานกงสุลของต่างชาติในประเทศสยาม การติดต่อสื่อสาร ระหว่างประเทศจึงมีเพ่ิมมากข้ึน แต่เดิมมาการติดต่อระหว่างพระนครกับหัวเมืองต้องใช้คนเดินสาร ใช้เรือหรือ ม้าเป็นพาหนะ ซึ่งการติดต่อด้วยวิธีนี้เป็นไปอย่างล่าช้า ประกอบกับหนทางยังไม่สะดวก แม้แต่การส่งจดหมาย ไปมาระหว่างประเทศสยามกับต่างประเทศในสมัยนั้นก็มีความลำบาก เพราะยังไม่มีกรมไปรษณีย์ ในระยะแรก การรับส่งจดหมายไปรษณียภัณฑ์ไปยุโรปต้องอาศัยสถานกงสุลอังกฤษเป็นศูนย์กลาง เพราะมีเรือกลไฟของ อังกฤษเดินเรือระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองสิงคโปร์และเมืองฮ่องกง ท่ีศาลาท่าน้ำของสถานกงสุลอังกฤษจัดเป็น ที่ทำการไปรษณีย์ห้องหนึ่ง และเอาตั๋วตราไปรษณีย์ เมืองสิงคโปร์พิมพ์อักษร B (เป็นเครื่องหมายว่า บางกอก) เพ่ิมลงเป็นเครื่องหมาย หากจะส่งหนังสือ ไ ป ต่ า ง ป ร ะ เ ท ศ ก็ ไ ป ซ้ื อ ตั๋ ว ต ร า นั้ น ปิ ด ต า ม อั ต ร า ไปรษณีย์อังกฤษ แล้วมอบไว้ท่ีสถานกงสุล เม่ือเรือ จะออกจากประเทศสยาม กงสุลอังกฤษก็รวบรวม หนังสือเหล่าน้ันใส่ถุง ฝากไปส่งกรมไปรษณีย์ท่ีเมือง สิงคโปร์หรือเมืองฮ่องกงไปส่งอีกต่อหน่ึง แต่ถ้าเป็น หนังสือของรัฐบาล กรมท่าจะมอบกับนายเรือให้ไปส่ง กบั กงสุลสยามเพื่อส่งไปรษณีย์ทเี่ มืองสงิ คโปร์ ไมต่ ้อง ส่งผ่านไปรษณีย์ท่ีสถานกงสุลอังกฤษ เม่ือเรือเข้ามา ถึงกรุงเทพฯ ผู้ที่คาดว่าจะได้รับหนังสือหรือจดหมาย จากต่างประเทศ ก็ต้องไปติดต่อที่สถานกงสุลอังกฤษ ถ้ามีหนังสือมาถึงก็รับเอามา หรือถ้าพบหนังสือถึง ผู้อืน่ ก็จะสง่ ขา่ วให้ไปรบั กระบวนการรับส่งหนังสือกับ ต่างประเทศเป็นเช่นน้ีมาจนกระท่ังมีการจัดตั้ง กรมไปรษณีย์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ ส่งผลให้การติดต่อ สอ่ื สารมคี วามสะดวกขน้ึ เครอื่ งแตง่ กายและพาหนะของบรุ ษุ ไปรษณยี ์ 274
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บรุ ุษไปรษณยี แ์ ละตูไ้ ปรษณยี ์ ทรงทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของการส่ือสารทาง ไปรษณีย์ เพราะการทป่ี ระเทศสยามต้องอาศัยตา่ งชาติ ในการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศ ทำให้อาจเกิด ข้อขัดข้องหากมีปัญหาขัดแย้งกัน พระองค์จึงทรง ตัดสินพระทัยที่จะให้สยามดำเนินงานด้านนี้เอง โปรดเกล้าฯ ให้ใช้จังหวัดนครปฐมเป็นที่เร่ิมต้นการ ไปรษณียค์ รง้ั แรกของประเทศสยาม ใน พ.ศ. ๒๔๑๒ โดยมีวิศวกรชาวอังกฤษ ๒ นายช่วยกันประกอบและ ทำการทดลองการโทรเลขขึน้ แตก่ ารทำงานของบุคคล ทั้งสองไม่สามารถทำได้อย่างเต็มท่ี เน่ืองจากใน ขณะนั้นยังมีป่าไม้อยู่เป็นจำนวนมาก การส่ือสารทาง โทรเลขจึงไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมากระทรวง กลาโหมโดยความริเร่ิมของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้รับงานนี้มาดำเนิน การวางสายโทรเลขเองต้ังแต่ พ.ศ. ๒๔๑๘ ใช้เวลา นานถึง ๖ ปี โทรเลขสายแรกจงึ เริ่มเปดิ ดำเนินการได้ โดยส่งสายโทรเลขระหวา่ งกรงุ เทพฯ ถึงสมทุ รปราการ รวมระยะทาง ๔๕ กิโลเมตร และยังมีการวางสาย พนกั งานโทรเลข ปฏิบตั งิ านใน กรมไปรษณยี ์โทรเลข 275
แฮร์ ธโี อดอร์ โคลมานน์ ถา่ ยภาพร่วมกับขา้ ราชการกรมไปรษณยี ์ ใต้น้ำต่อไปจนถึงประภาคารท่ีปากน้ำเจ้าพระยาสำหรับบอกร่องน้ำเม่ือเรือเข้าออก ส่วนสายที่ ๒ จากกรุงเทพฯ ถึงบางปะอิน สร้างเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๒๖ และยังขยายเส้นทางออกไปอีกหลายสาย ใน พ.ศ. ๒๔๒๖ รัฐบาล ไดต้ ้งั กรมโทรเลขขึน้ เชน่ เดยี วกับการไปรษณยี ์ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมไปรษณยี เ์ ปน็ ครัง้ แรกเมือ่ พ.ศ. ๒๔๒๖ ที่ตึกริมแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือปากคลองโอ่งอ่าง ในระยะแรกเขตการบริหารการไปรษณีย์ด้านทิศเหนือถึงตำบล สามเสน ด้านใต้ถงึ บางคอแหลม ดา้ นตะวันออกถงึ สระปทุมวัน ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๑ โปรดเกลา้ ฯ ให้รวมการ ไปรษณีย์และการโทรเลขเข้าด้วยกัน เรียกว่า “กรมไปรษณีย์โทรเลข” อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงโยธาธิการ แต่งานวางสายโทรเลขได้มอบใหก้ รมรถไฟช่วยจัดการให ้ การดำเนินงานของกรมโทรเลขระยะแรกน้ันใช้วิศวกรชาวฝรั่งเศส เพราะปฏิบัติงานร่วมกันในกิจการ โทรเลขสายกรุงเทพฯ - พระตะบองอยู่แล้ว แต่รัฐบาลสยามไม่ค่อยพอใจการปฏิบัติงานของข้าราชการ ชาวฝรั่งเศสเท่าใดนัก เน่ืองจากไม่ค่อยยอมรับฟังคำส่ังของผู้บังคับบัญชาชาวไทย ประจวบกับระยะต่อมา เกิดปัญหาวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ รฐั บาลจึงจดั หาชาวตา่ งชาติอื่นๆ มาปฏบิ ตั งิ านแทน ท่ีทำการกรมไปรษณยี ์โทรเลข > ริมแมน่ ้ำเจ้าพระยา หน้าวดั ราชบูรณะ 276
277
สำหรับกิจการของกรมไปรษณีย์นั้น ท้ังอังกฤษและฝรั่งเศสแสดงความประสงค์จะให้รัฐบาลสยาม จ้างคนชาติของตน แต่สยามปฏิเสธเพราะไม่ต้องการให้ฝรั่งเศสเข้ามาควบคุมกิจการส่ือสารหมดทั้งสองกรม สว่ นการทไ่ี มร่ บั องั กฤษกเ็ พราะเกรงวา่ จะเปน็ สาเหตใุ หฝ้ รง่ั เศสขยายขอ้ เรยี กรอ้ งอกี เพราะเปน็ คแู่ ขง่ กบั องั กฤษอยู่ อน่ึง สยามก็เกรงว่าท้ังสองชาติซึ่งล้วนคุกคามสยามอยู่จะล่วงรู้ความลับในราชการ ในท่ีสุดรัฐบาลจึงตัดสินใจ จ้างชาวเยอรมันด้วยเหตุผลท่ีชาวเยอรมันไม่มีผลประโยชน์ในสยามและได้แสดงไมตรีจิตช่วยเหลือสนับสนุน กิจการไปรษณีย์สยามมาตั้งแต่ต้น ผู้เช่ียวชาญชาวเยอรมันที่จ้างมาเป็นที่ปรึกษากรมไปรษณีย์คือ นายปันเกา (Mr. Panckow) และแฮร์ โคลมานน์ (Herr Collmann) (พ.ศ. ๒๔๓๓ - ๒๔๕๒) ซ่งึ ภายหลังไดเ้ ปน็ ปลดั กรม ไปรษณีย์ด้วย แต่อยู่ในกรอบข้อตกลงกับนานาชาติ ในระยะต่อมาบริษัทเอกชนของประเทศเยอรมนียังเข้ามา มีบทบาทในกิจการโทรศัพท์และวิทยุโทรเลข จนอาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลสยามไว้วางใจให้ประเทศเยอรมนี ช่วยปรบั ปรงุ กิจการส่ือสารของประเทศ แฮร์ โคลมานน์ ได้เสนอให้ปฏิรูปกรมไปรษณีย์โทรเลขด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จัดต้ัง ผู้ตรวจการไปรษณีย์ในแต่ละมณฑลเพื่อเพ่ิมประสิทธิภาพการทำงานและรายได้แก่รัฐ เสนอให้จ้างสมุห์บัญชี เพ่ือปฏิบัติหน้าที่ด้านการเงินโดยเฉพาะ และประการสำคัญคือการส่งข้าราชการไทยไปศึกษาอบรมในประเทศ เยอรมนี ต่อมารัฐบาลได้ต้ังโรงเรียนไปรษณีย์โทรเลขเพื่อฝึกฝนให้คนไทยมีความรู้ความชำนาญ เป็นการ ประหยดั งบประมาณในการจ้างชาวต่างชาต ิ การโทรศพั ท ์ กระทรวงกลาโหมไดน้ ำวทิ ยาการสมยั ใหมท่ เี่ รยี กวา่ โทรศพั ท์ มาทดลองใชใ้ น พ.ศ. ๒๔๒๔ โดยตดิ ตงั้ ทดลองใช้ครั้งแรกระหว่างกรุงเทพฯ ถึงเมืองสมุทรปราการ การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคเก่ียวกับโทรศัพท์ใช้ เวลานานกว่า ๓ ปี จึงเสร็จสมบูรณ์เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๒๙ หลังจากน้ันกรมโทรเลขก็ได้รับโอนกิจการ ต้ังหน่วยงานโทรศัพท์กลางข้ึนในกรุงเทพฯ พร้อมกันน้ีก็ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไป บริษัทห้างร้านเอกชนและ ส่วนราชการได้มีโอกาสเช่าโทรศพั ทเ์ พอื่ เป็นธุรกจิ ตดิ ตอ่ สอ่ื สารกัน การพัฒนาการขนส่งคมนาคมและการสื่อสารในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีผลให้ ประเทศสยามเปล่ียนโฉมหน้ากลายเป็นประเทศที่ทันสมัย การดำรงชีวิตของประชาชนมีความสะดวกสบาย ประชาชนสามารถติดต่อถึงกันด้วยการส่ือสารและการคมนาคมต่างๆ ใกล้ชิดกันมากข้ึน มีความเจริญก้าวหน้า ทางด้านเศรษฐกิจ สินค้าจากชนบทหัวเมืองถูกลำเลียงเข้ามาขายในกรุงเทพฯ และส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ได้ง่ายขึ้น ดังจะเห็นได้จากคำกราบบังคมทูลของราษฎรชาวไทย จีน ฝรั่ง แขก และพ่อค้า ที่กราบทูลพระบาท สมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัวหลงั เสดจ็ กลับจากยุโรป เมอื่ พ.ศ. ๒๔๔๐ วา่ 278
เคร่อื งโทรศพั ท์ยคุ แรกสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจ้าอย่หู วั ...อน่ึง การค้าขาย ซึ่งเปนผลแห่งทรัพย์สมบัติของราษฎรน้ัน ก็ทรงทนุบำรุงการ ขุดคลองหลายสายให้ทั่วไร่นามีเข้าเปนสินค้าใหญ่ มีทางรถไฟแลเรือกลไฟใหญ่น้อยสำหรับ คนโดยสาร แลนำสินค้าไปมาในหัวเมือง มีทั้งไปรสนีย์โทรเลขโทรศัพท์ท่ีได้ส่งข่าวแจ้ง การค้าขายได้โดยงา่ ย รวดเรว็ จนการคา้ ขายมีสรรพสินค้าตา่ งๆ มาเจอื จานพระราชอาณาจกั ร มบี ริบูรณ์ยิ่งขนึ้ กว่าแตก่ อ่ นเปนอันมาก... การคมนาคมส่ือสารถือเป็นตัวจักรกลสำคัญในการปกครองประเทศ เพราะช่วยให้รัฐบาลทราบ เหตุการณ์ที่เกิดข้ึนในหัวเมืองได้รวดเร็วข้ึน สามารถจัดการปกครองได้ครอบคลุมท่ัวถึงทั้งประเทศ และสร้าง เอกภาพให้เกิดข้ึนในประเทศได้ จึงกล่าวได้ว่าพระราชหฤทัยที่ห่วงใยประเทศชาติและพสกนิกรแห่งพระบาท สมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั ไดก้ อ่ ให้เกดิ การพัฒนาท่มี คี ณุ ูปการย่งิ ใหญไ่ พศาลตอ่ สังคมไทย 279
๑๓ สยามสูว่ กิ ฤต ...ได้นึกอยู่เสมอว่าเงินส่วนท่ีฝากแล้วน้ีก็ดี ฤๅส่วนท่ียังมีเก็บคงอยู่ เปนเงิน พระคลังข้างท่ีก็ดี ถ้าเวลาใดจะต้องใช้ เพื่อให้เปนการป้องกันฤๅถ่ายถอนพระนคร อย่างหน่ีงอย่างใด ก็จะถอนเงินท่ีได้ฝากไว้แล้วแลยอมยกเงินท่ียังมีเหลืออยู่นั้นใช้ จนส้ินเน้ือประดาตัวทุกเม่ือ ท่ีกล่าวเช่นน้ีเพราะเหตุใด ด้วยเหตุว่าฉันรู้ตัวชัดอยู่ว่า ถา้ ความเปนเอกราชของกรงุ สยามไดส้ ดุ สน้ิ ไปเมื่อใดชวี ิตรฉันกค็ งจะสุดสน้ิ ไปเม่ือนน้ั ... (พระราชหตั ถเลขาในพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว ฉบบั วนั ที่ ๑๐ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นช่วงวิกฤตท่ีจะต้องพยายามธำรงรักษาเอกราช และบูรณภาพของประเทศสยามให้รอดพ้นจากนโยบายจักรวรรดินิยม อังกฤษและฝรั่งเศสใช้กฎกติกาของตน เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติต่อดินแดนท่ีตนกำลังแข่งขันเข้ายึดครอง สำหรับดินแดนส่วนต่างๆ ของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ มหาอำนาจท้ังสองได้รุกคืบหน้าเข้ามาโดยรอบสยามนับต้ังแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนัง่ เกลา้ เจา้ อย่หู ัวเป็นต้นมา ในกรณีของอังกฤษหลังจากยึดครองอินเดียเป็นผลสำเร็จ เป้าหมายต่อไปคือการขยายอิทธิพลไปสู่จีน แต่ขณะเดียวกันอังกฤษก็เล็งเห็นความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ของบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผลให้ อังกฤษตัดสินใจเข้ายึดครองดินแดนส่วนต่างๆ บนคาบสมุทรมลายูและในช่องแคบมะละกา พร้อมกับการรุก เข้ามาในดินแดนของพม่าทางด้านตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของไทย ความอ่อนแอของกษัตริย์และ การแย่งชิงอำนาจภายในพม่าทำให้บรรดาเมืองประเทศราชโดยเฉพาะไทยใหญ่เคล่ือนไหวเพื่อแยกตนเป็นอิสระ ล้านนาซ่ึงมีฐานะเป็นประเทศราชของสยามจึงรีบขยายอิทธิพลไปยังบางส่วนของดินแดนดังกล่าว ส่งผลให้เกิด ปญั หากบั พวกพอ่ คา้ และนกั ธรุ กจิ ชาวองั กฤษทก่ี ำลงั ขยายบทบาทเขา้ ไปในแควน้ กะเหรยี่ งและไทยใหญ่ โดยเฉพาะ การควบคุมผูกขาดกิจการป่าไม้สักซึ่งให้ผลตอบแทนสูง ทำให้อังกฤษคิดจะสร้างรากฐานอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมอื งเหนือดนิ แดนแคว้นฉานและล้านนาของไทยดว้ ย 281
ส่วนฝร่ังเศสสามารถครอบครองโคชินจีนเป็นอาณานิคมได้สำเร็จ หลังจากน้ันก็ทุ่มเทความสนใจสู่ ลำน้ำโขงในฐานะเส้นทางสัญจรเช่ือมต่อกับจีน ฝรั่งเศสใช้กุศโลบายให้สยามยอมตกลงยกดินแดนเขมร ส่วนนอกเป็นรัฐในอารักขาของฝร่ังเศส และบีบบังคับชักชวนให้กษัตริย์เวียดนามยอมทำสัญญาให้อันนัม และตังเกีย๋ เปน็ รฐั ในอารกั ขาด้วย ขณะเดียวกนั ฝรั่งเศสกพ็ ยายามขยายอำนาจเขา้ สู่ลาว (หลวงพระบาง) ท้งั ดา้ น การเมืองและเศรษฐกิจโดยขออนุญาตจากสยามจัดตั้งสถานกงสุลไว้ที่หลวงพระบาง เป็นโอกาสในการโน้มน้าว ให้หลวงพระบางภักดีต่อฝร่ังเศส ต่อมาเกิดปัญหากบฏฮ่อที่คุกคามหลวงพระบางในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทำใหฝ้ รงั่ เศสสามารถจดั สง่ กองกำลงั เขา้ มาแทรกแซงในลาวมากขน้ึ จนเกดิ การขดั แยง้ ถงึ ขัน้ ปะทะกบั ทัพไทยทีส่ ว่ นกลางส่งไปดแู ลปราบปรามความว่นุ วาย การแผ่อิทธิพลของอังกฤษและฝรั่งเศสท่ีดำเนินการอย่างต่อเน่ืองจนเข้ามาถึงอาณาบริเวณที่เป็นเขต อิทธิพลของสยามเช่นน้ี ทำให้สยามต้องรีบหาทางแก้ไขป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นกรณีการสูญเสียดินแดน เขมรส่วนนอกในรัชกาลก่อน การคุกคามดังกล่าวของมหาอำนาจทั้งสองจึงเป็นมหันตภัยอย่างยิ่งต่ออำนาจ อธปิ ไตยและคงความเปน็ ไทยของสยาม ดงั นน้ั ในรชั กาลนจ้ี งึ พยายามโอนออ่ นตามความประสงคข์ องชาตติ ะวนั ตก เท่าท่ีจะทำได้ พร้อมกันน้ันก็จำเป็นต้องหาวิธีป้องกันมิให้สถานการณ์ของประเทศต้องอยู่ในฐานะเบ้ียล่างที่ถูก มหาอำนาจตะวนั ตกหาทางเอาเปรยี บเรียกร้องผลประโยชน์ไม่ร้จู กั จบส้นิ การพัฒนาประเทศ พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การเสริมสร้างเสถียรภาพ ทางการเมืองระหว่างประเทศไปพร้อมๆ กับการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงและทันสมัย การพัฒนา บ้านเมืองในสมัยน้ีมีการดำเนินการเป็น ๒ ลักษณะ ลักษณะแรกคือการปรับช่องว่างทางวัฒนธรรมมิให ้ แตกต่างไปจากชาติตะวันตก เป็นท่ีรู้จักในนามของ นโยบายปรับตัวให้ทันสมัย อันเป็นวิธีการที่ชาติเอเชีย ใช้เป็นมาตรการในการปกป้องตนเองจากการคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมในขณะนั้น ท้ังน้ีโดยเร่งดำเนินการ ปรับด้านภาพลักษณ์ให้มีรูปแบบคล้ายคลึงชาติตะวันตกให้มากท่ีสุด แต่ในส่วนท่ีจะปรับตนให้สมบูรณ์ได้น้ัน กจ็ ำเป็นต้องเรยี นรภู้ าษาและวัฒนธรรม เพ่ือท่ีจะได้เข้าถงึ จิตวิญญาณของความเปน็ ตะวันตกอย่างแท้จริง จะได้ สามารถรูเ้ ท่าทนั ความคดิ และแกไ้ ขการเอาเปรียบของชาติตะวันตกได้ ลกั ษณะต่อมาคอื การปฏิรปู ระเบยี บการ บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นระบบสากลสอดคล้องกับชาติตะวันตก และการปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจและ สังคมเพอ่ื รองรบั นโยบายการพัฒนาประเทศให้ทนั สมยั แบบตะวันตก ดังไดก้ ลา่ วมาแล้วในบทต่างๆ กอ่ นหน้าน้ี การปฏิรูปดังกล่าวเป็นการโอนอำนาจการบริหารท้ังมวลมาสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ สามารถสร้างความเป็น เอกภาพ สงบ สามัคคี รวมพลังความเป็นราชอาณาจักรป้องกันมิให้ชาติตะวันตกเข้าแทรกแซงโดยเฉพาะ ในบริเวณหัวเมอื งชายแดนและเขตประเทศราช อนึ่ง ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามเริ่มแลเห็นความขัดข้องที่เกิดจาก ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต โดยเฉพาะเมื่อมีข้อพิพาทกับคนในบังคับอังกฤษที่เกิดขึ้นเป็นประจำในดินแดน ทอี่ ยตู่ ดิ เขตอทิ ธพิ ลขององั กฤษ ซง่ึ มสี าเหตมุ าจากปญั หาการใหส้ มั ปทานปา่ ไมใ้ นภาคเหนอื หรอื การทำเหมอื งแร่ ในภาคใต้ เมื่อเกิดคดีพิพาท คู่กรณีซ่ึงเป็นคนในบังคับมักจะชนะคดีเพราะได้รับประโยชน์จากการพิจารณา 282
ของกงสุลอังกฤษ สิทธิสภาพนอกอาณาเขตจึงเป็นเครื่องมือท่ีเปิดโอกาสให้อังกฤษและฝรั่งเศสสามารถขยาย ขอบเขตอิทธิพลเข้ามาในดินแดนประเทศราชของสยาม ประกอบกับเจ้าผู้ครองนครประเทศราชเหล่านี้ เช่น เขมร มลายู หลวงพระบาง มิไดม้ คี วามเปน็ อนั หนงึ่ อันเดียวกบั กรงุ เทพฯ ดงั น้นั จงึ พร้อมท่ีจะยอมรบั มหาอำนาจ อนื่ ทเ่ี ขม้ แข็งกวา่ ไดโ้ ดยงา่ ย ปัญหาวิกฤตเฉพาะหน้าคือพ้ืนที่ซ่ึงเปรียบเสมือนเป็นรัฐกันชนระหว่างสยามกับอาณานิคมของอังกฤษ และฝร่ังเศส ส่วนปัญหาระยะยาวที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ก็คือเร่ืองสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ซ่ึงกำลังกลายเป็น ปัญหาสำคัญข้ึนทุกขณะ เน่ืองจากผู้ท่ีจดทะเบียนเป็นคนในบังคับของชาติตะวันตก มิใช่เฉพาะผู้ท่ีเป็นประชากร ของอาณานิคมนั้นๆ ที่เข้ามาอยู่ในสยาม แต่กลับกลายเป็นชาวจีนหรือชนหมู่น้อยอื่นๆ ที่ต้ังหลักแหล่งอยู่ในน้ี มาก่อน คนเหล่าน้ันแต่เดิมก็ได้รับสิทธิพิเศษจากสยามอยู่แล้ว เม่ือไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับต่างชาติก็ยิ่ง ได้เปรียบเหนือประชาชนชาวไทยท่ีแท้จริง รัฐบาลจึงเห็นความจำเป็นเร่งด่วนท่ีจะต้องแก้ไขประเด็นนี้ให้ลุล่วง ไปพร้อมๆ กบั การเจรจาแกไ้ ขปัญหาเรือ่ งดนิ แดนกบั นานาประเทศ เป็นท่ีน่าสังเกตว่านโยบายการปรับตัวให้ทันสมัยและการทำสนธิสัญญาเพ่ือแก้ไขปัญหากับต่างชาต ิ มาดำเนินการในช่วงกลางรัชกาล อาจเป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรอโอกาส และ ช่วงเวลาให้สามารถเพิม่ พูนพระราชอำนาจทางการเมืองไดส้ มบูรณ์เสียกอ่ น ประกอบกับรฐั บาลยังไมม่ บี ุคลากร ท่ีจะปฏิบัติหน้าท่ีเหล่าน้ี ถึงแม้จะมีพระเจ้าน้องยาเธอและขุนนางหัวก้าวหน้าจำนวนหนึ่งช่วยสนองพระราชกิจ ก็ตาม เพราะเป็นตำแหนง่ ทต่ี อ้ งเปน็ ผเู้ ชีย่ วชาญเฉพาะด้าน พระเจ้าลกู ยาเธอหรอื บตุ รหลานขุนนางท่ีสง่ ไปศึกษา ในตา่ งประเทศกย็ ังไม่มปี ระสบการณใ์ นการทำงานเพียงพอ การปรับตัวให้ทันสมัย การใช้กฎหมายและระบบยุติธรรมตามแบบสากลจนสัมฤทธิผลได้น้ัน จำเป็น ต้องได้คนที่มีความรู้ความสามารถในกิจการรูปแบบใหม่มาบริหารจัดการ แต่ปัญหาสำคัญของสยามคือ ยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านในวิทยาการอันทันสมัย ดังน้ัน จึงจำเป็นต้องใช้ นโยบายว่าจ้างชาวต่างชาติที่มีความรู้ความเช่ียวชาญและมีประสบการณ์คุ้นเคยกับกิจการต่างๆ เป็นอย่างดี มาช่วยดำเนินงานไปพลางก่อน ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังพระยาวิสุทธสุริยศักด์ิ ราชทูตไทยประจำอังกฤษ ลงวันท่ี ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๒ มีใจความวา่ ...ในเมืองเราเวลาน้ีไม่ขัดสนอนั ใดย่ิงกว่าคน...เพราะเหตุขัดสนเชน่ นี้จงึ ต้องจำใชฝ้ ร่ัง ในที่ซึ่งคนเรายังไม่มีความรู้แลความสามารถไม่พอ...คนเรามันไปไม่ไหวจริงๆ ไม่ใช่ไม่ไหว ดว้ ยกำลงั วงั ชาฤๅความคดิ ความสามารถไมไ่ หวดว้ ยมนั ไมม่ คี วามรเู้ สยี เลย.....การทเ่ี ราใชฝ้ รงั่ นน้ั แปลวา่ เราใช้ตำราสำเรจ็ คอื เอาที่เขาลองแลเห็นวา่ ดีแลว้ มาทำทเี ดียว... แนวความคดิ เชน่ นย้ี งั คงมอี ยใู่ นแวดวงราชการไทยจนถงึ รชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือดุสิตสมติ ฉบบั วนั ที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๖ ท่ีแสดงแนวพระราชดำรใิ นเรอ่ื งนีไ้ วว้ ่า ...อะไรที่เราทำเองไม่ได้ เพื่อมิให้ขาดเราก็ต้องเอาคนอ่ืนเข้ามาช่วยทำเพราะการ ต่ืนตนจะทำเองเสียทุกอย่าง ไม่ว่าจะทำได้หรือไม่น้ัน ผิดหลักเศรษฐวิทยา ท้ังเปนการทนง ในที่ผดิ 283
...เพราะนอกจากจะคลำผิดคลำถูก เสียเวลาลองแล้วแก้เล่า พยายามจะตรัสรู้ใน ความรู้ทีม่ ีอยดู่ ื่นแล้ว เปนความเขลายิง่ กวา่ เขลาเสยี อีก... แนวพระราชดำริดังกล่าวสะทอ้ นความคดิ ของชนชนั้ ปกครองของสยามในยคุ นั้นวา่ การพัฒนาประเทศ ให้เป็นแบบตะวันตกเป็นส่ิงจำเป็น และการว่าจ้างชาวต่างชาติมาช่วยราชการก็มิใช่ข้อผิดแปลก รวมทั้งไม่คิดว่า จะกอ่ ใหเ้ กดิ อนั ตรายใดๆ แกป่ ระเทศชาติ ตราบใดทผี่ ปู้ กครองชาวไทยยงั เอาใจใสค่ วบคมุ ดแู ลอยา่ งอยา่ งใกลช้ ดิ และสามารถสอ่ื สารเขา้ ใจแนวคดิ แนวปฏบิ ตั ขิ องขา้ ราชการตา่ งชาติ สยามพยายามใชน้ โยบายถว่ งดลุ อำนาจมใิ หเ้ อนเอยี งไปทางชาตใิ ดชาตหิ นงึ่ คอื ใหม้ ขี า้ ราชการหลายชาติ กระจายอยู่ตามกรมต่างๆ เป็นการป้องกันมิให้มหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่งมามีอำนาจเหนือระบบราชการ สยาม รวมท้ังยังสามารถควบคุมการทำงานของข้าราชการต่างชาติเหล่านั้นได้ด้วย ดังปรากฏในพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว ความวา่ ...การเรอื่ งทีใ่ ช้ฝรงั่ มากนี้ เปนสำคัญ คอื ชาตเิ ดยี วกนั ทง้ั หมด เชิงไม่สู้จะดีใหบ้ งั เกิด ความรษิ ยาของชาติอ่นื ๆ มนั จวนๆ จะใหเ้ ข้าทางผกู ขาด กรมนเี้ ปนของชาตนิ นั้ กรมนั้นเปน ของชาตนิ ี.้ .. ...คนท่ีเรียกมานี้ ควรจะเรียกต่างชาติต่างภาษา คนละอย่างสองอย่าง ท่ีจะได้มา ประกวดประชันกัน ไม่ให้เปนกลมเกลียวถูกคอกันได้ แลต่างคนจะได้ทำดีต่อเราด้วย แลจะ ไดก้ นั ความกำเริบในตวั คนเหลา่ นั้น... รัฐบาลไทยได้กำหนดนโยบายเฉล่ยี จำนวนขา้ ราชการตา่ งชาติจากประเทศต่างๆ แต่ตามข้อเท็จจริงแลว้ มีชาวอังกฤษมารับราชการมากกว่าชาติอ่ืนๆ ด้วยเหตุผลสำคัญคือ ประการแรก กรณีวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ทำให้ไทยหวังพ่ึงอังกฤษเพื่อถ่วงดุลอำนาจฝร่ังเศสที่ขยายบทบาทเข้าสู่ดินแดนริมฝ่ังแม่น้ำโขง ประการต่อมา ข้าราชการเหลา่ นสี้ ว่ นใหญ่เคยรับราชการในอนิ เดียและพมา่ มากอ่ น ดงั น้นั จงึ ค่อนข้างคนุ้ เคยกบั สภาพภมู อิ ากาศ และภูมิประเทศในเขตน้ีเป็นอย่างดี สามารถปฏิบัติหน้าท่ีในไทยได้ดีกว่าและอดทนกว่าผู้ท่ีเพิ่งมาจากยุโรป โดยตรง ประการสดุ ท้าย เจ้านาย ขนุ นาง และพอ่ ค้าของไทย สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้มากกว่าภาษาอื่นๆ โดยเฉพาะชนช้ันปกครองท่ีก่อนหน้านี้จำเป็นจะต้องเรียนรู้และเข้าใจภาษาอังกฤษเพื่อประโยชน์ในการเจรจา ทำสนธสิ ัญญาหรอื ขอ้ ตกลงต่างๆ ประกอบกับมีมชิ ชนั นารชี าวองั กฤษและอเมริกนั เขา้ มาเผยแผศ่ าสนาตลอดจน ศิลปวิทยาการสมัยใหม่ซ่ึงรวมทั้งการสอนภาษาอังกฤษ ทำให้ภาษาอังกฤษแพร่หลายมากกว่าภาษาตะวันตก อื่นๆ ยิ่งในระยะหลังปัญญาชนไทยรุ่นใหม่ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษและคุ้นเคยกับวัฒนธรรม องั กฤษ จึงทำใหภ้ าษาอังกฤษและชาวอังกฤษเข้ามามีบทบาทสงู ในวงราชการของไทย อย่างไรก็ตาม การจ้างชาวต่างชาติเข้ามารับราชการบางครั้งก็ถูกแทรกแซงจากประเทศท่ีเก่ียวข้อง โดยเฉพาะอังกฤษ เน่ืองจากเหตุผลสำคัญคืออังกฤษเห็นว่าการจ้างผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคนอังกฤษจะเป็นการ ปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของตน แต่สยามเข้าใจดีและรู้ทันถึงจุดมุ่งหมายของอังกฤษ ดังปรากฏใน พระราชหัตถเลขา ความว่า 284
...การที่คอเวอนเมนต์อินเดียเลือกคนดีๆ ให้เรา เมื่อขอไม่ได้เจาะจงตัวนั้นเพราะ เหตุใด เพราะเหตุที่เขาอยากเปนครู เขาถือว่าคนของเขาได้มาทำการใหญ่เช่นน้ี การงานใดๆ กอ็ ยูใ่ นมือเขาหมด ซงึ่ ฝรั่งเศสอจิ ฉาแลอยากจะมีบ้าง จนชอบเปนความอยเู่ สมอ... พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหนักพระทัยในการแทรกแซงของอังกฤษ ดังพระราช- ปรารภที่พระราชทานไปถึงกรมหลวงเทวะวงศว์ โรปการ ความวา่ ...การเร่ืองนี้เธอก็ทราบอยู่แล้ว ฉันมีความรำคาญมาก ด้วยเดี๋ยวน้ีกลายเปนเรา ไม่ได้จ้างสำหรับเพื่อให้การงานของเรา กลายเปนจ้างกำนัลชาติต่างๆ เรื่องจ้างคนนี้ไม่ได้ เก่ียวแก่หนังสือสัญญาอาณัติอย่างหน่ึงอย่างใดกลับจะกลายเปนข้อที่จะหมองหมาง พระราชไมตรีง่ายเสียย่ิงกว่าเรื่องอื่นๆ เสียแล้ว ยังจะได้ความลำบากอีกด้วย เรื่องผู้ท่ีมา ทำการในน่าที่ต่างๆ ดูเหมือนเปนที่หมายจะเล่ือนขึ้นเปนท่ีสูง จนพ้นจากความรู้ของเขาท่ีจะ ทำได้ ถ้าเปนไปถงึ เช่นนนั้ แล้ว ราชการของเราจะเสีย... เสถยี รภาพดา้ นการเมืองระหวา่ งประเทศ ในการเจรจาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกับประเทศต่างๆ กระทรวงการต่างประเทศของไทยรับผิดชอบ การกำหนดนโยบาย รูปแบบ และวิธีดำเนินการ โดยมีที่ปรึกษาราชการท่ัวไปช่วยเหลือในการให้คำแนะนำ ชี้แนะช่องทาง วิเคราะห์ความได้เปรียบเสียเปรียบ รวมท้ังจัดร่างและตรวจตราจดหมายและร่างสัญญาต่างๆ ภายใต้การกล่ันกรองและเห็นชอบขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเสนาบดีเจ้ากระทรวง รวมท้ัง อคั รราชทตู ทเี่ กีย่ วข้อง การเจรจาทำสนธสิ ญั ญากับประเทศต่างๆ ท่ีเป็นบทบาทของขา้ ราชการต่างชาติ จำแนกได้ดงั น ี้ ความสัมพันธ์กับฝรงั่ เศส ปัญหาท่ีเกิดขึ้นกับฝร่ังเศสนับเป็นประเด็นที่ยืดเย้ือยาวนานมาตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว อันไดแ้ กก่ รณีของเขมรและลำน้ำโขง ถงึ แม้วา่ ฝร่งั เศสจะไดด้ นิ แดนเขมรส่วนนอกไปเปน็ รฐั ในอารกั ขาของตนนับแต่ พ.ศ. ๒๔๑๐ แล้วกต็ าม แต่ฝร่ังเศสกย็ งั มีความประสงคจ์ ะไดค้ รอบครองสทิ ธิเหนือ ลำน้ำโขงเพราะมีความเชื่อมั่นว่าสามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อไปยังจีนได้ ฝร่ังเศสซึ่งเข้าไปมีอิทธิพล ควบคุมตังเกี๋ยอยู่แล้วได้ถือโอกาสขยายอำนาจเข้าไปในลาวโดยเฉพาะบริเวณที่มีพ้ืนที่ติดต่อกับตังเกี๋ย จนที่สุด กส็ ามารถใชเ้ ลห่ เ์ หลย่ี มยดึ ครองดนิ แดนหวั พนั ทง้ั หา้ ทงั้ หก และสบิ สองจไุ ทไปจากสยามไดส้ ำเรจ็ ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ การเสียพื้นที่ส่วนน้ีไปนั้น ส่วนหน่ึงเป็นข้อผิดพลาดมาจากการท่ีสยามใช้วิธีการปกครองประเทศราชแบบเก่า จนเกิดข้อขัดแย้งกับเจ้านายพื้นเมือง ทำให้เมืองเหล่าน้ันหันไปภักดีต่อฝรั่งเศสมากกว่า ดังเช่นกรณีของเมือง แถงเมอื งไล ต่อมา ความขัดแย้งขยายวงกว้างมากข้ึน เพราะฝรั่งเศสแสดงความปรารถนาว่าจะครอบครองพ้ืนท่ี ตลอดริมฝั่งแม่น้ำโขง ซ่ึงประกอบด้วยเมืองสำคัญในลาวคือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักด์ิ สว่ นเมอื งในเขมร เช่น สตึงเตรง เขมราฐ เปน็ ต้น ฝร่ังเศสได้ใช้กบฏฮอ่ มาเป็นเหตผุ ลในการสง่ กองทหารเข้ามา 285
ในลาวโดยอ้างว่าเพื่อปกป้องดินแดน ชีวิต และทรัพย์สินของฝร่ังเศสในแคว้นหลวงพระบางทั้งๆ ที่สยามได้ส่ง กองทัพเข้าไปรักษาความสงบไว้ได้แล้วก็ตาม เป็นเหตุให้เกิดการปะทะของกองกำลังทั้ง ๒ ฝ่ายท่ีรุนแรงขึ้น ทุกขณะ ก่อนเกิดวิกฤตความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศส ร.ศ. ๑๑๒ รัฐบาลของทั้ง ๒ ประเทศเริ่มการ เจรจาแกไ้ ขปญั หาเขตแดน (เขมร - ลาว) ตง้ั แตต่ น้ รชั กาล ไทยไดใ้ หม้ สิ เตอรแ์ มคคารท์ ี (พระวภิ าคภวู ดล) ทำแผนที่ ชายเขตแดนทางภาคเหนือจนถึงสิบสองจุไท แต่ยังไม่ได้ปักเขตแดน เพราะฝรั่งเศสกล่าวหาว่าไทยรุกล้ำ อาณาเขตของญวน ฝร่ังเศสส่งคนเข้ามาในเขตน้ีโดยตลอดซ่ึงไทยก็ตอบโต้ฝรั่งเศสกลับออกไปทุกครั้ง ต่อมา ความสัมพันธ์ยิ่งร้าวฉานอันเนื่องจากปัญหากบฏฮ่อท่ีรุกล้ำเข้ามาในเขตหลวงพระบาง พระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัวทรงตัดสินพระทัยสง่ ทพั เขา้ ไปปราบกบฏใน พ.ศ. ๒๔๒๘ ดงั ปรากฏในพระราชดำรัส ซ่ึงแสดงถึงความหว่ งใยในบา้ นเมอื งและประชาชน ความว่า ...เราขออำนวยพรให้ทหารทั้งปวง บรรดาซึ่งจะไปราชการทัพคร้ังน้ีจงปราศจากภัย อันตรายท้ังปวงคือ ศัตรูภายในกล่าวคือความเจ็บไข้ต่างๆ ศัตรูภายนอกคือข้าสึกซึ่งจะไป ต่อสู้นั้น อย่าให้ทำอันตรายอันใดแก่ทหารท้ังปวงได้ ขอให้มีอำนาจแลกำลังอาจปราบปราม ข้าศึกศัตรูทั้งหลายให้พ่ายแพ้ราบคาบได้ดังประสงค์ จะได้เปนเกียรติยศและชื่อเสียงของ กรมทหาร แลตวั ผู้ซ่งึ ไปทำการ ปรากฏสืบไปชว่ั บุตรแลหลาน... ขณะเดียวกัน รัฐบาลฝร่ังเศสตกลงว่าจะ ปราบกบฏฮ่อในเขตแดนญวนของฝรั่งเศสด้วย ดังน้ัน เพื่อป้องกันมิให้ฝรั่งเศสเข้ายึดดินแดนท่ีเป็นของไทย นายทหารไทยได้คุมพลไปรักษาเมืองแถง เมืองซ่อน เมืองแวน เมืองสบแอด เมอื งเชียงคอ้ ไว้ แตเ่ มอซิเออร์ ปาวี (M. Pavie) กงสุลฝรั่งเศสประจำหลวงพระบาง ได้เกล้ียกล่อมพวกฮ่อให้เข้าเป็นพวกฝรั่งเศสมากขึ้น ทัพฝร่ังเศสได้รุกเข้ายึดดินแดนเข้ามาในสิบสองจุไท จนมาประจนั หนา้ กบั ทหารไทยทเี่ มอื งแถง เมอซเิ ออรป์ าวี ไดพ้ บกบั พระยาสรุ ศกั ดมิ์ นตรี ขอใหท้ พั ไทยถอยไปโดย อา้ งวา่ สบิ สองจไุ ท และหัวพันท้ังห้าทั้งหกเป็นเมืองข้ึน ของญวน แต่แม่ทัพไทยยืนยันสิทธิและอำนาจของไทย เหนือดินแดนเหล่าน้ีและปฏิเสธไม่ยอมถอนทหาร จนกวา่ จะได้รบั คำส่ังจากรัฐบาลทกี่ รงุ เทพฯ เมอซิเออร์ปาวี ผู้มบี ทบาทสำคัญท่ีทำใหเ้ กดิ วกิ ฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ 286
คณะนายทหารไทยทรี่ ว่ มในสงครามปราบฮ่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ระหว่างนั้นเพื่อป้องกันการแทรกแซงของอังกฤษในล้านนาและฝรั่งเศสในลาว รัฐบาลสยามจึงเร่ิมจัด ระเบยี บการปกครองในดนิ แดนชายขอบพระราชอาณาจกั ร โดยใน พ.ศ. ๒๔๓๔ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ - เจา้ อย่หู ัวโปรดเกล้าฯ ให้รวมหวั เมืองฝ่ายเหนอื และอสี าน จัดแบ่งออกเป็นมณฑลเพื่อสะดวกแกก่ ารปกครองและ การจัดราชการบ้านเมืองให้เป็นที่เรียบร้อย โดยมีข้าหลวงที่ทรงคุณวุฒิปรีชาสามารถออกไปประจำรักษาการ ตา่ งพระเนตรพระกรรณซ่งึ เปน็ การเรม่ิ แรกของการจัดแบ่งการปกครองทอ้ งถนิ่ ออกเปน็ มณฑลๆ คอื กรมหลวงพชิ ิตปรีชากร เป็นข้าหลวงใหญแ่ ควน้ ลาวกาว บญั ชาการอยทู่ ่ีเมอื งจำปาศกั ด์ ิ กรมหมื่นประจักษศ์ ลิ ปาคม เปน็ ข้าหลวงใหญ่แควน้ ลาวพวน บัญชาการอยู่ทเี่ มืองหนองคาย กรมหมนื่ สรรพสิทธ์ิประสงค์ เป็นขา้ หลวงใหญแ่ คว้นลาวพงุ ขาว หรือแคว้นหลวงพระบาง ประจำอย่ทู ่ี นครราชสมี า โดยมพี ระยาฤทธริ งค์รณเฉททำหนา้ ท่ีขา้ หลวงใหญ่แทน พระยาไกรโกษา เปน็ ขา้ หลวงใหญแ่ คว้นลาวเฉยี ง บัญชาการอยทู่ ีเ่ มืองเชยี งใหม่ ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ฝร่งั เศสได้เริม่ ดำเนินการทางทหารใชก้ ำลังบีบบงั คับไทยใหร้ ่นถอย ไปจากฝ่ังซา้ ยแม่นำ้ โขง และในเวลาเดยี วกันก็ได้ส่งเรอื ลูแตงเขา้ มาจอดอย่ใู นกรุงเทพฯ อกี ด้วย ความยุง่ ยากทาง ชายแดนของไทยกเ็ รมิ่ มมี ากขนึ้ ตามลำดบั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั จงึ ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ 287
กองทหารไทยเคลื่อนกำลังตามฝ่งั แม่นำ้ โขง ร.ศ. ๑๑๒ แต่งต้ังคณะกรรมการปรึกษาการป้องกันพระราช- อาณาเขต ประกอบด้วยทางด้านกองทัพบกนั้น มีกรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นแม่ทัพด้านลาวกาว บญั ชาการทพั อยทู่ เ่ี มอื งอบุ ล กรมหมน่ื ประจกั ษศ์ ลิ ปาคม เป็นแม่ทัพด้านลาวพวน บัญชาการทัพอยู่ท่ีเมือง หนองคาย กรมยุทธนาธิการได้จัดส่งกำลังทหารบก พร้อมด้วยอาวุธยุทธภัณฑ์ไปเพิ่มเติมแก่กองทัพ แต่ละด้าน และได้ระดมเกณฑ์คนทางหัวเมืองชายแดน หนุนเน่ืองเข้าไปยังตำบลต่างๆ ท่ีคาดหมายว่าฝร่ังเศส จะรุกล้ำเข้ามา โดยมี พันเอก จม่ืนไวยวรนาถ (เจิม แสงชโู ต) เปน็ แมท่ พั ตอ่ มาไดร้ บั พระราชทานบรรดาศกั ดิ์ เปน็ เจา้ พระยาสรุ ศกั ดิ์มนตร ี พันเอก จม่นื ไวยวรนาถ (เจิม แสงชูโต) 288
พลเรอื โท พระองคเ์ จา้ เขจรจรสั วงศ์ ส่วนการจัดเตรียมในการป้องกันทางด้าน ผบู้ ญั ชาการทหารเรือในวกิ ฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ทะเล พระองค์เจ้าเขจรจรัสวงศ์ กรมหมื่นบำราบ- ปรปกั ษ์ เปน็ ผบู้ ญั ชาการทหารเรอื พระยาชลยทุ ธโยธนิ (Richelieu) ชาวเดนมารก์ เปน็ รองผบู้ ญั ชาการทหารเรอื พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงเปน็ จอมทพั บญั ชาการ ท่วั ไปในการป้องกนั พระราชอาณาเขต ในท่ีสุดข้าหลวงฝรั่งเศสประจำอินโดจีน ได้ตัดสินใจใช้นโยบายเรือปืน (Gun Boat Policy) กบั สยามโดยจดั สง่ กองเรอื มาปดิ ปากอา่ วไทย มกี ำหนด จะเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ เพอ่ื ฟงั คำตอบจากรัฐบาลสยามเรื่องลาว รู้จกั กันในนามวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (River Crisis) แนวพระราชดำริและความต้ังพระทัยของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเตรียมการเพื่อ รับสถานการณ์วิกฤตของประเทศคร้ังนี้ท้ังด้านอาวุธ ยุทโธปกรณ์ แผนการศึก ดังปรากฏในพระราชดำรัส พระยาชลยทุ ธโยธนิ (Richelieu) ที่มไี ปมากับพระยาชลยทุ ธโยธินดังน้ี รองบญั ชาการการป้องกนั ทป่ี อ้ มพระจุลจอมเกลา้ ...เมื่อฉันได้ฟังคำพระยา- คราววกิ ฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ชลยุทธ กรมหม่ืนดำรง แลคำ พระยาอภัยรณฤทธ์ิตอบดังน ี้ เปนท่ีให้เกิดความยินดีของฉันมาก แลฉันขอบอกให้ทราบท่ัวกันว่า ถ้ า เ ห ตุ ก า ร ณ์ จ ะ มี แ ก่ บ้ า น เ มื อ ง ประการใด ตัวฉันมิได้ย่อท้อ ทดถอยอย่างหน่ึงอย่างใด ขอให้ ทา่ นทงั้ หลายไวใ้ จเถดิ วา่ ฉนั กบั ทา่ น ทงั้ หลายคงจะชว่ ยกนั รกั ษาบา้ นเมอื ง ของเราจนสุดกำลงั แลความคดิ ... พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใส่พระทัยในการเตรียมความพร้อมรับการบุกรุก ของกองเรือฝรั่งเศส มาตรการสำคัญคือการสร้างและ ซ่อมแซมป้อมปราการบริเวณปากน้ำเจ้าพระยา ท้ังน้ี 289
โปรดเกล้าฯ ให้นำเงินพระคลังข้างท่ีซึ่งเป็นพระราช- ทรัพย์ส่วนพระองค์ท่ีทรงกำหนดไว้สำหรับบำเพ็ญ พระราชกุศล ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาตามโบราณ ราชประเพณีประมาณ ๓ หมื่นช่ังมาใช้ในการป้องกัน ประเทศ ป้อมสำคัญท่ีสร้างใหม่คือป้อมแหลมฟ้าผ่า ซง่ึ โปรดเกลา้ ฯ ใหส้ รา้ งขน้ึ ตง้ั แต่ พ.ศ. ๒๔๒๗ แลว้ เสรจ็ ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระราชทานนามวา่ ปอ้ มพระจลุ จอม- เกล้า พร้อมทั้งจัดซ้ือปืนใหญ่และอาวุธประจำการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จตรวจราชการน้ี ป้อมพระจลุ จอมเกล้า ปากแมน่ ำ้ เจา้ พระยา อย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอ ดังจะเห็นได้ว่าต้นเดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ พระองค์เสด็จพระราชดำเนนิ เป็นการลับท่ีปากน้ำเจ้าพระยาโดยรถไฟพิเศษเพ่ือ ทอดพระเนตรป้อมเสือซ่อนเล็บ ป้อมพระจุลจอมเกล้า และป้อมแผลงไฟฟ้าที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ รวมท้ังเสด็จ ไปตรวจทเี่ รือจมตงั้ แต่ฟากตะวนั ออกและทดลองยิงทุ่นระเบิด (ตอรป์ ิโด) แนวพระราชดำริในวิกฤตการณ์คร้ังน้ียังปรากฏในพระราชหัตถเลขา ฉบับวันท่ี ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ถงึ พระยาชลยทุ ธโยธิน ความว่า ...กำหนดเรอื รบฝรงั่ เศสจะเขา้ ในวนั ที่ ๑๓ กรกฎาคม เวลาเยน็ แลฝา่ ยเราไมย่ อมนนั้ ให้พระยาชลยุทธโยธิน คิดวางตอร์ปิโดเสียให้เต็มช่องถ้าเข้ามาเมื่อไร ก็เปนการจำเปนแล้ว ท่จี ะตอ้ งระเบดิ อย่าใหต้ อ้ งฟังคำส่ังอีกเลย แลถ้าเขายงิ กอ่ นแลว้ เราตอ้ งยิง... และพระราชหตั ถเลขาถงึ พระองค์เจา้ เขจรจรัสวงศ์ ความวา่ ...ด้วยการที่ได้มีคำส่ังมาแต่เมื่อคืนน้ี ว่าด้วยการป้องกันเรือรบฝรั่งเศส ให้ใช้ ตอร์ปิโดก่อน อย่าให้ใช้ปืนยิงก่อนจนกว่าเรือรบจะยิงฝ่ายเราน้ัน บัดนี้ได้ตริตรองดูแล้ว แลได้ปรึกษากันตกลงเห็นชอบด้วยกันเปนอันแน่แล้ว จึงได้ทำคำส่ังน้ีไว้ว่า ถ้าเรือรบ ฝรั่งเศสไม่ได้รับอนุญาตให้ข้ามสันดอนเข้ามาในลำน้ำ แลขืนแล่นเข้ามาโดยประการใดๆ ก็ดี ให้กรมทหารเรือห้ามปรามตามธรรมเนียมท่ีนัดหมายกันด้วยยิงปืนไม่มีกระสุนนัดหน่ึง แลว้ ถา้ ไมฟ่ งั ก็ให้ยิงตัดหนา้ เรือด้วยกระสุนนัดหนง่ึ ถ้ายังขนื ไมฟ่ งั ห้าม กใ็ หย้ งิ หมายให้ถูกได้ จะใช้ยิงปืนก่อนฤๅใช้ตอร์ปิโดยิงระเบิดอย่างไร ก็ให้ใช้ได้ตามที่ชอบใจใช้ เพ่ือจะห้ามให้หยุด จรงิ ใหท้ ำตามคำสงั่ ตามเหตทุ จี่ ะเปนขึน้ ทุกประการ สยามินทร์ อย่างไรก็ตาม มาตรการป้องกันของสยามไม่บังเกิดผล เพียงแต่ทำให้เรือนำร่องของฝรั่งเศสเสียหาย ฝร่ังเศสสามารถนำเรือปืนเข้ามาจอดหน้าพระบรมมหาราชวัง ย่ืนข้อเรียกร้องผลประโยชน์อย่างมหาศาล จากสยาม เป็นผลให้มีการทำสนธิสัญญาระหว่างสยามและฝรั่งเศสเพ่ือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งคร้ังนี ้ อีกหลายฉบบั ได้แก่ 290
291
สนธสิ ญั ญาระหว่างสยามกับฝร่ังเศส ฉบับ พ.ศ. ๒๔๓๖ (Franco - Siamese Treaty) เมอซิเออร์ปาวีกงสุลฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ได้บีบบังคับให้รัฐบาลสยามยอมตกลงทำสนธิสัญญา มีใจความสำคัญคือ สยามต้องยอมยกดินแดนฝ่ังซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝร่ังเศสพร้อมค่าปฏิกรรมสงครามอีก ๒ ล้านฟรังก์ นอกจากน้ีสยามยังต้องถอนกำลังและอำนาจการบริหารปกครองเหนือดินแดนที่ลึกเข้ามาทางฝ่ัง ขวาแม่น้ำโขงอีก ๒๕ กิโลเมตร รวมท้ังรื้อป้อมค่ายต่างๆ ให้หมดสิ้น ท้ังนี้ฝร่ังเศสจะยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็น ประกันจนกวา่ สยามจะปฏิบตั ิตามพันธะสญั ญาไดค้ รบถ้วน สยามส่งมอบเงนิ คา่ ปฏกิ รรมสงครามแกฝ่ รง่ั เศส พ.ศ. ๒๔๓๖ กองกำลงั ฝรง่ั เศสยึดเมอื งจันทบรุ ี สนธิสัญญาฉบับนี้ก่อความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่ประเทศชาติ เพราะเป็นการสูญเสียท้ังพื้นที่ เงินทอง และเกียรติภูมิ กล่าวคือต้องเสียดินแดนท่ีเป็นประเทศราชผืนใหญ่คือลาวทางฝ่ังซ้ายแม่น้ำโขง ส่วนความเสียหายทางเศรษฐกิจนอกจากค่าใช้จ่ายในการทำสงครามแล้ว สยามยังต้องสูญเสียเงินคงคลังของ ประเทศเป็นคา่ ปฏิกรรมสงครามจำนวนมากรวมท้ังส่วยบรรณาการจากประเทศราช แต่ที่นับว่าเป็นอันตรายต่อ เอกราชและบูรณภาพของประเทศก็คือการท่ีฝรั่งเศสยึดครองจันทบุรีซ่ึงเป็นเมืองสำคัญ เป็นศูนย์ปกครองทาง ชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทยมาแต่อดีต สนธิสัญญาน้ีเป็นผลให้พ้ืนที่ชายฝั่งจากจันทบุรีลงไปถึงเขมร ส่วนในพลอยตกอยู่ใต้อิทธิพลของฝรั่งเศสโดยปริยาย อีกประเด็นหน่ึงคือกรณีดินแดนฝ่ังขวาแม่น้ำโขงซึ่งเป็น เขตปกครองอันแทจ้ รงิ ของสยาม เมอ่ื สยามจำต้องถอนอำนาจการบริหารออกไป จึงเป็นการสะดวกท่ีฝรงั่ เศสจะ ฉวยโอกาสเข้ามาแทรกแซง หรอื ถึงขนั้ ยึดครองได้ในอนาคต ดังปรากฏหลกั ฐานจากการทฝ่ี รง่ั เศสสง่ คนของตน เข้ามาเกล้ียกล่อมให้ประชาชนในเขตนี้หันไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับของฝรั่งเศสเป็นอันมากในช่วงเวลา เพียงไม่ก่ีปี ด้วยปัจจัยความจำเป็นเหล่าน้ีรัฐบาลสยามจึงพยายามจะแก้ไขให้หลุดพ้นจากภาวะตึงเครียดน ้ี โดยเร็ว 292
ความทุกข์โทมนัสอันเป็นผลจากการสูญเสียในวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ เป็นผลให้พระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อย่หู วั ทรงพระประชวรหนกั ถึงกับไมม่ ีพระราชประสงคจ์ ะทรงดำรงพระชนม์ชีพ ดงั ปรากฏ ในบทพระราชนพิ นธโ์ คลงทท่ี รงพรรณนาถงึ ความทกุ ขแ์ สนสาหสั ถงึ ขนาดคดิ ใครจ่ ะปลดเปลอื้ งความเหนด็ เหนอ่ื ย แห่งชวี ติ เพอ่ื หนีไปสู่ภพเบ้อื งหนา้ เสียดงั นี ้ เจบ็ นานหนกั อกผ้ ู บรริ ักษ์ ปวงเฮย คิดใครล่ าลาญหกั ปลดเปล้ือง ความเหนอื่ ยแหง่ สจู กั พลันสร่าง ตูจกั สู่ภพเบือ้ ง หนา้ น้นั พลนั เขษม เป็นฝสี ามยอดแล้ว ยงั ราย ส่านอ ปวดเจบ็ ใครจกั หมาย เช่อื ได ้ ใชเ่ ป็นแตส่ ่วนกาย เศยี รกลัด กลมุ้ แฮ ใครต่ ่อเป็นจ่งึ ผ้ ู นนั่ นั้นเห็นจริง ตะปดู อกใหญ่ตรึง บาทา อยเู่ ฮย จงึ บ่อาจลีลา คล่องได้ เชญิ ผทู้ ่เี มตตา แก่สตั ว์ ปวงแฮ ชกั ตะปูน้ใี ห้ ส่งขา้ อันขยม ชีวติ มนุษย์น้ี เปลี่ยนแปลง จรงิ แฮ ทุกขแ์ ละศุขพลกิ แพลง มากครง้ั โบราณทา่ นจึงแสดง เป็นเย่ียง อย่างนา ชั่วนบั เจด็ ทีทัง้ เจด็ คร้ังฝา่ ยด ี เป็นเด็กมสี ขุ คลา้ ย ดิรฉาน ร้ศู ุขรู้ทกุ ข์หาญ ขลาดด้วย ละอยา่ งละอย่างพาล หยอ่ นเพราะ เผลอแฮ คลา้ ยกับผ้จู วนม้วย ชีพสิน้ สติสูญ ฉันไปปะเดก็ ห้า หกคน โกนเกศนุ่งขาวยล เคลบิ เคล้ิม ถามว่าเขาเป็นคน เชิญเครอ่ื ง ไปทีห่ อศพเริ้ม รกิ เร้าเหงาใจ กลว้ ยเหลอื งแก่กล้ำ เกินพระ ลักษณน์ า แรกก็ออกอรอ่ ยจะ ใครก่ ลำ้ นานวนั ยิ่งเครอะคระ กลืนยาก คนจ่อซ่อมจ้มิ จ้ำ แตกสิ้นสุดใบ 293
และทรงลงทา้ ยเปน็ คำฉนั ทท์ แี่ สดงถงึ การทพ่ี ระองคไ์ มส่ ามารถจะปฏบิ ตั หิ นา้ ทแ่ี หง่ องคพ์ ระมหากษตั รยิ ์ ในการปกปอ้ งประเทศจนอาจสญู เสียเอกราชเหมือนดินแดนเพ่ือนบา้ นวา่ เจ็บนานนึกหนา่ ยนติ ย์ มนะเรอื่ งบำรงุ กาย สว่ นจติ บ่มสี บาย ศริ ะกลมุ่ อรุ าตรึง แม้หายกพ็ ลนั ยาก จะลำบากฤทยั พึง ตริแตจ่ ะถูกรึง อุระรัดและอตั รา กลัวเปน็ ทวิราช บตรปิ อ้ งอยุธยา เสียเมอื งจะนินทา จึงจะอดุ และเลยสญู ฯ เป็นที่เข้าใจกันว่าบุคคลท่ีได้ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปล่ียนพระทัยมี ขัตติยมานะท่ีจะเร่ิมเสวยพระกระยาหารและบำรุงพระวรกายให้แข็งแรงตามเดิมเพ่ือต่อสู้แก้ไขปัญหาของประเทศ สืบต่อไปคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ซ่ึงได้ทรงกวีนิพนธ์ถวาย เพ่ือเป็นการปลุกพระทัย ให้ทรงนึกถึงความสำคัญของพระองค์เองที่มีต่อประเทศชาติและประชากรชาวสยาม เปรียบประดุจนายท้ายเรือ ทีจ่ ะนำพารัฐนาวาสยามฟนั ฝ่าคล่ืนลมแหง่ จักรวรรดนิ ิยม ดงั นี ้ ขอเดชะเบ้อื งบาท วรราชะปกส ี โรตมข์ า้ ผ้มู นั่ ม ี มนะตัง้ กตญั ญู ได้รับพระราชทาน อ่านราชนิพนธด์ ู ทงั้ โคลงและฉันทต์ ู ขา้ จึงตรดิ ำหริตาม อนั พระประชวรครั้ง นแ้ี ท้ทั้งไทยสยาม เหลา่ ขา้ พระบาทความ วิตกพน้ จะอุปมา ประสาแตอ่ ยใู่ กล ้ ทง้ั รใู้ ช่ว่าหนกั หนา เลือดเน้อื ผิเจอื ยา ใหห้ ายได้จะชงิ ถวาย ทกุ หนา้ ทกุ ตาด ู บพบผจู้ ะพงึ สบาย ปรบั ทุกข์ทุรนทุราย กันมเิ ว้นทวิ าวนั ดุจเหลา่ พละนาวา วะเหวว่ า้ กะปติ ัน นายทา้ ยฉงนงนั ทศิ ทางก็คลางแคลง นายกลประจำจักร จะใช้หนักกน็ ึกแหนง จะรอก็ระแวง จะไม่ทนั ธุระการ อดึ อดั ทกุ หนา้ ท ี่ ทุกข์ทวีทุกวนั วาร เหตยุ ่างบดียาน อนั เคยไว้นำ้ ใจชน ถ้าจะว่าบรรดากิจ ก็ไม่ผิด ณ นิยม เรือแลน่ ทะเลลม จะเปรยี บตอ่ ก็พอกนั ธรรมดามหาสมุทร มีคราวหยุดพายผุ ัน มีคราวสลาตัน ต้งั ระลอกกระฉอกฉาน 294
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 497
- 498
- 499
- 500
- 501
- 502
- 503
- 504
- 505
- 506
- 507
- 508
- 509
- 510
- 511
- 512
- 513
- 514
- 515
- 516
- 517
- 518
- 519
- 520
- 521
- 522
- 523
- 524
- 525
- 526
- 527
- 528
- 529
- 530
- 531
- 532
- 533
- 534
- 535
- 536
- 537
- 538
- 539
- 540
- 541
- 542
- 543
- 544
- 545
- 546
- 547
- 548
- 549
- 550
- 551
- 552
- 553
- 554
- 555
- 556
- 557
- 558
- 559
- 560
- 561
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 500
- 501 - 550
- 551 - 561
Pages: