Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 0000005674

0000005674

Published by สมหมาย เสียงเพราะ, 2022-07-30 10:31:35

Description: 0000005674

Search

Read the Text Version

๒๑ ประชาชนเปน็ สขุ ร่มเย็น ...การซงึ่ จะใหก้ ำลงั บรบิ รู ณไ์ ดต้ อ้ งอาไศรยความปกครองใหร้ าษฎรไดท้ ำมาหากนิ โดยสะดวกได้รับผลประโยชน์อันเกิดข้ึนจากแผ่นดิน ซ่ึงจะได้มาเสียภาษีอากร จ่ึงจะ เปนกำลงั บา้ นเมอื งได้ เพราะฉะนนั้ การทจ่ี ะปกครองรกั ษาบา้ นเมอื งใหแ้ ขงแรงเรยี บรอ้ ย แลบำรุงประโยชน์ในทางหากินค้าขายของราษฎรพลเมือง จึงเปนหัวใจเปนยอดของ ความตง้ั ม่ันแห่งพระราชอาณาเขตน.้ี .. (พระราชหตั ถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั พระราชทานเสนาบดกี ระทรวงมหาดไทย) การสร้างความร่มเย็นเป็นสุขแก่พสกนิกร กระทรวงนครบาล เ ป็ น พ ร ะ ร า ช ป ณิ ธ า น ข อ ง พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ - จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการปกครองประเทศ พระราชภารกิจที่พระองค์ทรงให้ความสนพระทัย อย่างย่ิงคือการรักษาสวัสดิภาพความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของราษฎร เพื่อให้สามารถประกอบ อาชีพทำมาหากินได้เป็นปกติสุขและสร้างความม่ันคง แก่ประเทศ กระทรวงนครบาลเป็นผู้รับผิดชอบงาน ด้านน้ี มีกรมพลตระเวนปฏิบัติหน้าท่ีรักษาความสงบ เรยี บรอ้ ยในพระนคร พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ - เจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชบายในการรักษา สวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของราษฎรโดยทรงถอื หลกั “ปอ้ งกนั ดกี วา่ ปราบปราม” ดงั พระบรมราโชวาทถงึ กรมหมนื่ นเรศรว์ รฤทธิ์ เสนาบดี กระทรวงนครบาล ตอนหนง่ึ วา่ 445

...การจับผู้ร้ายน้ันจะไม่ถือเปนความชอบ เปนแต่นับว่าผู้น้ันได้กระทำการครบถ้วน แก่หน้าที่เท่านั้น แต่จะถือเปนความชอบต่อเม่ือได้ปกครองป้องกันเหตุร้าย ให้ชีวิตแล ทรพั ยส์ มบตั ขิ องขา้ แผน่ ดนิ ในท้องทีน่ ้นั อยูเ่ ย็นเปนสุขพอสมควร... ปวงประชาอนุ่ ใจ ในการอำนวยประโยชน์สุขและบำบัดทุกข์แก่ราษฎรน้ัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญต่อการกวดขันการปฏิบัติหน้าท่ีของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมิให้มีการข่มเหงรังแกราษฎร หากเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติขึ้นก็ทรงมีรับสั่งให้ทางราชการเร่งระงับเหตุโดยเร็ว ตัวอย่างของภัยพิบัติท่ีเกิดขึ้น บ่อยครั้งซ่ึงเป็นการทำลายชีวิตและทรัพย์สินของราษฎรจำนวนมากคือ อัคคีภัย ปัญหาเร่ืองอัคคีภัยนี้พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงน่ิงนอนพระทัย ทุกครั้งที่เกิดเพลิงไหม้ พระองค์จะทรงมีรับสั่งถาม และทรงติดตามเรื่องราวอย่างใกล้ชิด บางครั้งพระองค์ถึงกับเสด็จพระราชดำเนินไปยังที่เกิดเหตุเพื่อ ทอดพระเนตรการปฏิบัติหน้าท่ีของทางราชการและทรงเสนอวิธีแก้ไข ดังในพระราชหัตถเลขาถึงกรมหม่ืน นเรศร์วรฤทธิ์ เมอ่ื วนั ที่ ๒๙ มกราคม ร.ศ. ๑๑๓ ว่า กรมหมน่ื นเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล ทรงฉายรว่ มกับข้าราชการของกรมตำรวจ 446

...นี่จะส้ินอำนาจส้ินกำลังท่ีจะระงับไฟไหม้เสียจริงแล้วหรือ ถึง ๓ คืนติดกันมาแล้ว จะคิดอ่านอย่างไร ถ้าไฟไม่หยุดไหม้แล้วอย่านอนบ้านเลย ให้มานอนคอยประจำออฟฟิศ สำหรบั จะไดว้ ิ่งไปดับง่ายๆ กว่าจะซาเรื่องไฟไหม้ จงึ คอ่ ยกลับไป... เมื่อคราวเสด็จไปทอดพระเนตรการดับไฟของเจ้าหน้าท่ีท่ีตลาดนางเลิ้ง ทรงเห็นตำรวจกระทำ การหยาบช้า ข่มเหงรังแกชาวจีนและตบหน้าคนไทยซึ่งเดินเกะกะในเวลาเสด็จ พระองค์ทรงตำหนิการกระทำ ดงั กล่าว วา่ ...จึงเห็นว่าคงมีคนกิริยาไม่ดี ใจคอหยาบช้าเข้าประจำอยู่ในสเตช่ัน ควรจะบังคับให้ นายตรวจตรา ถ้าเห็นวา่ เปนคนใจรา้ ยเชน่ นี้ ไมค่ วรจะให้เปนโปลิศดแู ลทกุ ข์สุขของราษฎร... ข้อความข้างต้นนี้แสดงถึงพระบรมราโชบายต่อการปฏิบัติหน้าท่ีของข้าราชการ หากประพฤติตน บกพร่อง ผู้บังคับบัญชาต้องคอยสอดส่องดูแลมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาข่มเหงราษฎร พระองค์ทรงม ี พระราชดำรัสถึงกรมหม่ืนนเรศร์วรฤทธิ์ว่าเจ้าหน้าท่ีตำรวจต้องเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์และประพฤติตน ให้สมกบั ความรับผิดชอบ ไม่ซ้ำเติมผ้ไู ด้รบั ความเดอื ดร้อน ดังขอ้ ความตอนหนง่ึ วา่ ...ได้ทราบจากคนท่ีซ่ือเงียบๆ ที่เท่ียวเตร่เคยไปดับไฟ ได้เห็นแลได้ยินคนว่า โปลิศประสมมือแย่งของ รู้แลพูดกันทั่วท้ังเมือง เม่ือมีเหตุปรากฏเช่นน้ีจึงกระทบใจมาก ฉันรู้เชื่อถือว่าเธอมีน้ำใจปรารถนาดีอย่างยิ่ง ไม่ผิดอันใดกับตัวฉันเลย แต่มุนนายฝ่ายโปลิศ มักมีความเห็นวิปริตไปเสียต่างว่า จะเสียเกียรติยศช่ือเสียงของกรมโปลิศท่ีจับได้ลงโทษกัน บ้างน้ันก็จริงแตม่ ันนอ้ ย... พลตระเวน หรอื โปลศิ ในรัชสมัยพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว 447

ความเดือดร้อนของราษฎรนอกจากจะมาจากการกระทำของเหล่าข้าราชการแล้ว ยังมาจากการ ถูกเกณฑ์แรงงาน เคร่ืองใช้ ท้ังทางตรงและทางอ้อม ประเภท “ขอแกมบังคับ” พระบาทสมเด็จพระจุลจอม- เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำชับข้าราชการให้ระมัดระวังอย่าให้เกิดขึ้นได้ ดังในพระราชหัตถเลขาถึงกรมหลวง ดำรงราชานภุ าพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๖ ตลุ าคม ร.ศ. ๑๒๓ ว่า ...เรื่องถวายๆ เช่นนี้ กลัวจะเปนแต่ข้าหลวงไปเห็นม้างามๆ เข้าแล้วสั่งให้ถวาย ขดั ไม่ไดก้ ็ตอ้ งถวาย พวกเหล่านั้นยากจน จะเปนทีเ่ ดอื ดรอ้ น ขอให้คดิ อ่านจัดการใหด้ .ี .. การเลกิ บ่อนเบีย้ การพนัน ในสมัยก่อน ชาวสยามนิยมเล่นการพนันเป็นของสนุก มีการแข่งขันพนันกันด้วยสมบัติและทรัพย์สิน เงนิ ทอง การพนันทีน่ ิยมเลน่ ในสมัยนัน้ เชน่ การว่ิงม้า วิ่งววั ชนนก ชนไก่ ชนปลา และไพ่ตา่ งๆ ส่วนการเลน่ ถ่ัวโปซ่ึงมีภายหลังนั้นเป็นการพนันของชาวจีนท่ีเข้ามาทำมาหากินและต้ังเป็นบ่อนการพนัน ท้ังยังชักจูง ให้คนไทยเข้าไปร่วมเล่นด้วย ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเก็บอากรบ่อนเบี้ย โดยวิธีผูกขาด การจัดเก็บอากรบ่อนเบี้ยทำให้มีเงินรายได้จำนวนมากเข้าสู่ท้องพระคลัง ขณะเดียวกันก็ทำให้ คนไทยพากันหมกมุ่นอยู่กับการเล่นการพนันจนไม่เป็นอันทำมาหากิน ต้องเสียทรัพย์เสียเวลา และท่ีสำคัญ เปน็ การขัดขวางความเจริญกา้ วหน้าของบา้ นเมอื ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะให้เลิกบ่อนเบ้ียซ่ึงเป็นแหล่งอบายมุข ของราษฎรมาต้ังแต่เริ่มจัดต้ังหอรัษฎากรพิพัฒน์ แต่เนื่องจากพระคลังได้รับเงินรายได้จากอากรบ่อนเบ้ีย ในแตล่ ะปมี ากกวา่ รายไดท้ างอนื่ บางปมี จี ำนวนถงึ ๖,๘๗๙,๕๒๖ บาท ทำใหห้ อรษั ฎากรพพิ ฒั นไ์ มก่ ลา้ ตดั สนิ ใจ ยกเลิกอากรบ่อนเบ้ียเพราะเกรงว่าจะไม่สามารถหารายได้ทางอ่ืนมาชดเชยได้ จึงได้รีรอมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๓๐ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ อธิบดีกระทรวงการคลัง และพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ รองอธิบดีกระทรวงการคลัง กราบบังคมทูลรับท่ีจะดำเนินการลดบ่อนเบ้ีย ลงตามพระราชประสงค์ โดยให้คงไว้เฉพาะโรงบ่อนซึ่งเป็นที่เล่นของชาวจีนเท่านั้น พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีประกาศหอรัษฎากรพิพัฒน์กำหนดการลดบ่อนเบี้ย ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ วา่ ...จึงมีพระบรมราชโองการ มาณบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสเหนือเกล้าฯ ส่ังให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ อธิบดีที่ ๑ ใน กรมพระคลังมหาสมบัติ มีรับสั่งให้เจ้าพนักงานกรมพระคลังสินค้า ไปกะท่ีโรงบ่อนซึ่งเล่น โปถ่ัวอยู่ในแขวงกรุงเทพฯ ให้คงไว้เปนท่ีเล่นของพวกจีนนักเลง ซึ่งเคยเล่นบ้างพอสมควร นอกนั้นให้เลิกเสียมิให้เล่นต่อไป คือบ่อนใหญ่ให้เล่นโปถั่ว ๑๒๖ แห่งนั้น ให้คงเล่นอยู่แต่ ๖๗ ตำบล ให้เลิกเสีย ๕๙ ตำบล แลบ่อนยอ่ ยอกี ประมาณ ๒๗๗ ตำบล ซ่ึงเหลอื ประมาณ น้ันให้เลิกเสียให้หมด ต่อไปห้ามมิให้เล่นเปนอันขาดแลโรงบ่อนซ่ึงอนุญาตให้คนเล่นเคย ต้ังเล่นอยู่ ณ สถานท่ีใด ก็ให้คงต้ังเล่นอยู่ในที่น้ัน มิให้ย้ายแขวงย้ายตำบลไปได้ กำหนดให้ 448

เปิดการเล่นแต่เวลาโมงเช้าจนถึงเวลา ๕ ทุ่ม แลเวลาท่ีเล่นน้ันให้มีโปลิศประจำอยู่ทุกบ่อน เพ่อื มิให้จีนเจา้ ของบอ่ นทำความบงั อาจลว่ งเกินส่งิ ใดแต่โดยอำนาจเจ้าของบอ่ นน้นั การที่จะจัดให้เลิกโรงบ่อนนี้ กำหนดให้ลงเมื่อตั้งแต่วันข้ึนค่ำหน่ึง เดือน ๕ ปีชวด เป็นนพศก จุลศักราช ๑๒๔๙ แลต่อไปนั้นถ้าถึงกำหนดวันแล้ว ผู้หนึ่งผู้ใดบังอาจเล่น การพนันโปถ่ัวในที่ห้าม คือท่ีให้เลิกเสียหรือในที่ที่ไม่อนุญาตให้เล่นจับตัวได้พิจารณาเปน สตั ยใ์ หล้ งโทษตามพระราชกำหนดกฎหมาย... การลดจำนวนบ่อนเบี้ยเป็นนโยบายสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม เพราะเมื่อไม่มีโรงบ่อน ประชาชนจะได้เอาใจใส่ทำมาหากิน ไม่หมกมุ่นกับการพนันใช้จ่ายทรัพย์ในทางท่ีไม่เป็นประโยชน์ ส่วนการเล่น รื่นเรงิ สำหรบั มหาชน เชน่ การวง่ิ มา้ วง่ิ วัว และแข่งเรือนนั้ โปรดเกลา้ ฯ ให้เอาออกจากอากร ปลอ่ ยใหร้ าษฎร เล่นได้ตามใจชอบ หลังจากลดบ่อนโปถั่วแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริท่ีจะให้เลิก โรงหวยต่อไป ชาวจีนเป็นผู้นำการเล่นหวยเข้ามาแพร่หลายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเจส๊ วั หงไดข้ ออนญุ าตออกหวยเปน็ ครงั้ แรกใน พ.ศ. ๒๓๗๘ ตอ่ มาพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงเห็นว่าการเล่นหวยเป็นการเพาะนิสัยช่ัวร้ายให้ราษฎรหมกมุ่นอยู่กับการเส่ียงโชคมากกว่าจะสนใจทำมา หากินตามปกติ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมืน่ ดำรงราชานภุ าพ ทรงกล่าวไว้ในตำนานเลกิ บอ่ นเบ้ียและหวยว่า ...คุณแลโทษของหวยแลบ่อนเบ้ีย แลอากรทั้ง ๒ อย่างน้ัน เปนการค้าความชั่ว ก็จริง แต่ถา้ จะคน้ หาคุณก็มีอยูบ่ า้ ง...คือ ทีเ่ ปนอุบายการเกบ็ ภาษีจากราษฎรอย่างหมดจด ...ส่วนโทษนั้นมีอเนกปริยาย ว่าโดยย่อก็คือ เปนเหตุทำให้ไพร่บ้านพลเมืองยากจน ไม่มีกำลังท่ีจะประกอบการตนเอง แลบ้านเมืองมีความเจริญประการหน่ึง เปนเหตุให้ไพร่ บา้ นพลเมืองเกิดนสิ ยั เปนคนพาลสันดานช่ัวประการหนงึ่ ... ...ถ้าจะพิจารณาต่อไปว่า หวยกับบ่อนเบ้ียให้โทษผิดกันอย่างไร เห็นว่าบ่อนเบี้ย ใหโ้ ทษแก่คนช้นั ตำ่ เพราะการเล่นเบ้ียต้องไปเลน่ ถงึ บอ่ น จงึ มักไปเล่นแตค่ นชน้ั ตำ่ คนชั้นสงู ที่ไปเล่นเบ้ียถึงบ่อนโดยตรงหรือลักเล่นเบี้ยตามบ้านเรือนมีน้อย ส่วนหวยนั้นให้โทษแก่ คนช้ันสูงมากกว่าคนช้ันต่ำ เพราะอาจจะเล่นได้ในที่ลับไม่ต้องออกหน้าไปแทงถึงโรงหวย ผู้ดีจึงชอบเล่น กระบวนทางได้เสียก็ผิดกัน เล่นเบ้ียนั้นมีทุนไปเล่นเท่าใดก็เล่นหมดพก ในเวลาเดียวกัน แต่เล่นหวยชักทีละน้อยค่อยเล่นค่อยเปลืองไป ถ้าจะอุปมาว่าด้วยลักษณะ ที่เสีย คนเล่นเบ้ียเหมือนเปนอหิวาตกโรค คนเล่นหวยเหมือนคนเปนวัณโรค ถ้าลงได้เปน แล้วมักตาย ผิดกัน อยา่ งหน่งึ ตายเรว็ อกี อย่างหน่งึ ตายช้า ที่ว่านักเลงเล่นเบี้ยหรือเล่นหวยคนใดจะเล่นจนรวยจนถึงต้ังตัวได้เพราะการเล่น หวยเล่นเบี้ยน้ัน ไม่เคยปรากฏตัวเลย กล่าวกันว่ามีพระภาษีเล็กตั้งตัวได้จนถึงได้สร้างวัด ด้วยเล่นเบ้ียมีอยู่คนหน่ึง แต่มิใช่รวยเพราะแทงถ่ัวโปหรือแทงหวย ท่ีต้ังตัวได้เพราะรับผูก 449

อากรบอ่ นเบยี้ แลทำภาษอี ากรอยา่ งอน่ื ดว้ ยจงึ รวย จนไดส้ รา้ งวดั ภาวนาภริ ตาราม อนั ปรากฏ อยู่ในคลองบางกอกน้อย แต่ถึงจะมีบ้างก็ไม่ถึงกับเรือนหม่ืนเรือนแสนของจำนวนคน ทีเ่ สียทรัพยเ์ สียตวั ปน่ ปไ้ี ปเพราะหลงเลน่ เบ้ยี แลเลน่ หวย... นโยบายยกเลิกการเล่นหวยและบ่อนเบี้ยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสบความสำเรจ็ และยุตไิ ด้เดด็ ขาดใน พ.ศ. ๒๔๕๙ รัชสมยั พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลา้ เจ้าอยู่หัว หนว่ ยตำรวจมา้ ทีเ่ มอื งภเู กต็ การรักษาความสงบภายใน : กรณีการปราบองั้ ยี ่ รัฐบาลไทยมีนโยบายเก่ียวกับชาวจีนบนพ้ืนฐานท่ีว่า รัฐบาลไม่เคยมีความคิดแบ่งแยกว่าชาวจีน เป็นคนต่างชาติ และยอมรับเรื่องการผสมกลมกลืนระหว่างชาวไทยกับชาวจีนตลอดมา แต่รัฐบาลก ็ ประสบปัญหายุ่งยากจากชาวจีนมิใช่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม่ือชาวจีนรวมตัวกันเป็นกลุ่มอิทธิพลท่ีเรียกว่า “อ้ังย่ี” ซึ่งเป็นสมาคมลับกลุ่มต่างๆ มาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว พฤติกรรมของพวก อั้งยี่ได้แก่การลักลอบค้าฝ่ิน กระทำสิ่งผิดกฎหมาย ตั้งตนเป็นกลุ่มอันธพาล ใช้อิทธิพลในการผูกขาด การประมูลภาษีอากร มีการขัดผลประโยชน์กันเองจนถึงกับก่อการวิวาทใช้กำลังต่อกันและต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ ฝ่ายไทย ซ่ึงเป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่คนไทย ครั้นเม่ือรัฐบาลใช้กำลังเข้าปราบปราม พวกน้ีก็หันไป พ่ึงขุนนางท่ีมีอิทธิพลหรือไม่ก็ขอเป็นคนในบังคับของต่างชาติ ทำให้ทางการไทยไม่สามารถปราบปรามได้อย่าง เด็ดขาด 450

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัญหาการก่อความไม่สงบของพวกอั้งยี ่ ยังมิได้หมดสิ้นไป แต่กลับทวีอิทธิพลมากข้ึนทั้งในเมืองหลวงและหัวเมือง จากคำกราบบังคมทูลของกรมหม่ืน นเรศร์วรฤทธิ์เม่ือวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๖ ระบุว่าเฉพาะพวกอ้ังย่ีแต้จิ๋วมีถึง ๑๔ ก๊ก ความขัดแย้ง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทำให้พวกอั้งยี่ก่อการวิวาทกันไม่หยุดหย่อน เช่น เม่ือเปลี่ยนรัชกาลพวกอั้งย ี่ ก็เท่ียวปล้นราษฎรในแขวงจังหวัดนครชัยศรี ใน พ.ศ. ๒๔๑๙ พวกจีนอั้งย่ีที่เป็นกรรมกรเหมืองแร่ดีบุก ท่ีเมืองระนองและเมืองภูเก็ตก่อความวุ่นวายฆ่านายเหมืองและเผาบ้านเรือนราษฎร ส่วนในกรุงเทพฯ เม่ือกลาง เดือนมถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๓๒ พวกอ้งั ย่ี ๒ กลุม่ ก่อการววิ าทกันเองแถบถนนเจริญกรุง ยานนาวา ถงึ กับจะเผา โรงสแี ถบนนั้ สรา้ งความเบื่อหนา่ ยแก่ราษฎรอยา่ งมาก และระหว่างวันท่ี ๒๓ - ๒๕ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๓๘ กลมุ่ อง้ั ย่ไี ดก้ อ่ การววิ าทในสวนพลู ตำบลบางย่ีเรือ พฤติกรรมของกลุ่มอ้ังย่ีที่เป็นกลุ่มอันธพาล ก่อการทะเลาะวิวาท ปล้น ฆ่าประชาชนอยู่เสมอ ทำให้เกิดความเดือดร้อนเป็นท่ีหวาดกลัวแก่ประชาชนทั่วไป นอกจากน้ันยังมีการสร้างข่าวลือต่างๆ เป็นต้นว่า รัฐบาลจะจับคนจีนทุกคนไม่ว่าจะเป็นอ้ังย่ีหรือไม่ก็ตามในตลาดพลู สร้างความหวาดกลัวให้แก่ชาวจีนท่ ี ไม่ได้เกี่ยวข้อง จนทางการต้องออกประกาศของสารวัตรใหญ่กองตระเวนบางย่ีเรือ เมื่อ ร.ศ. ๑๑๔ จาก คำกราบบังคมทูลของกรมหมนื่ นเรศร์วรฤทธิ์ เมือ่ วนั ท่ี ๒๔ พฤศจกิ ายน ร.ศ. ๑๑๔ ไดก้ ล่าวถึงความแตกตืน่ ของราษฎรไทยว่า “...ได้ข่าวว่าราษฎรในสวนตำบลวัดนางชีต่ืนกันลงมานอนอยู่ในเรือในลำคลอง โดยว่า มีพวกจีนยกพวกมาที่รมิ คลองวดั นางชีเปนอนั มาก...” นอกจากน้ี การทะเลาะวิวาทของกลุ่มอั้งยี่ยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เพราะบ้านเรือนร้านค้าของ ราษฎรได้รับความเสียหาย การค้าหยุดชะงัก ราคาสินค้าโดยเฉพาะพลูแพงข้ึนกว่าเท่าตัว ดังปรากฏในรายงาน การชำระจนี อ้งั ยี่ของกรมหมืน่ นเรศรว์ รฤทธ์ิ กระทรวงนครบาล ลงวันที่ ๒๗ พฤศจกิ ายน ร.ศ. ๑๑๔ ว่า ...อน่ึง พลูในตลาดขายข้ึนราคา โดยจีนอ้ังย่ีพวกที่วิวาทกันในสวนพลูหลบหนีไป พลูท่ีออกขายไม่มากนักเหมือนแต่ก่อน แต่ที่ราคาขึ้นนี้ไม่ใช่ขึ้นเม่ือระงับวิวาทแล้ว ขึ้นมา แตก่ อ่ นวนั จนี ววิ าทกนั ๓ วนั ... ดังน้ัน เพ่ือให้บ้านเมืองเข้าสู่ความสงบเรียบร้อยและประชาชนได้ดำรงชีวิตอย่างร่มเย็นเป็นสุข รฐั บาลจึงตอ้ งใช้วิธีการหลากหลายทจี่ ะปอ้ งกนั ไม่ให้พวกอง้ั ยีส่ ร้างความเดือดร้อนแก่ราษฎร ไดแ้ ก ่ ๑. การเลี้ยงอั้งยี่ ในช่วงต้นของรัชกาล อำนาจการควบคุมพวกอั้งย่ีอยู่ท่ีสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์ ท่านได้นำวิธีการที่อังกฤษใช้ในแหลมมลายูมาเป็นแบบอย่าง โดยเอาพวกหัวหน้าอั้งย่ี ๑๔ คน มากระทำสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าหลวงพ่อโตซึ่งเป็นพระประธานวัดกัลยาณมิตรและเป็นท่ีนับถือ ของชาวจีนว่า จะไม่คิดร้ายต่อแผ่นดินและจะคอยระวังมิให้พวกของตนก่อเหตุร้าย หลังจากน้ันได้เอา พวกหัวหน้าอ้ังย่ีเหล่านั้นมาใช้สอยใกล้ชิด นโยบายน้ีประสบความสำเร็จอย่างมากเพราะพวกหัวหน้าอั้งยี่ เกรงกลัวสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ไม่กล้าคิดการร้ายและให้ความร่วมมือกับทางการเป็นอย่างดี ดงั จะเห็นไดว้ ่าเม่ือมีการจลาจลท่เี มืองภูเก็ตและระนองใน พ.ศ. ๒๔๑๙ หัวหนา้ อ้งั ยีก่ เ็ ขียนตวั๋ ออกไปหา้ มปราม พวกแซ่ของตน แต่เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ถึงแก่พิราลัยไปแล้ว นโยบายนี้ก็ใช้ไม่ได้ผล 451

กระทรวงนครบาลซึ่งทำหน้าที่ควบคุมดูแลพวกอ้ังยี่ต่อมาไม่สามารถระงับเหตุที่เกิดจากพวกอ้ังยี่ได้ พวกอ้ังย ี่ ก่อเหตุวุ่นวาย ขัดขวางอำนาจและต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั ถึงเจ้าพระยายมราชว่า ...ข้อหนึ่งตั้วเห่ียเหล่าน้ี การก็กลับกลายไปเสียแล้ว คนเหล่าน้ีเปนคนของเจ้าคุณ ทั้งนั้น คนใช้อยู่กับบ้านของท่านเม่ือเกิดเหตุวุ่นวายขึ้น จึงดับง่ายด้วยเปนการไว้อำนาจ ของท่านถึงเอามาสาบานแล้ว มันก็ยังเท่ียวปล้นชิงของอยู่ไม่เว้นแต่ละวัน ราษฎรได้รับ ความเดือดร้อนมากอยู่มันก็ลงเอาว่า เพราะขุนหลวงเปนเด็ก พวกจีนจึงกำเริบข้ึน มีความ ด้วยเร่ืองปล้นหัวเมืองบอกมาไม่ขาด...การต่อไปข้างหน้าเจ้าคุณไม่มีตัวตนแล้ว กำลังมัน ก็แกข่ ้ึนทกุ วันยงิ่ นานไปก็เหมอื นเพ่ิมอำนาจให้มัน... ๒. การให้ความอนุเคราะห์แก่คนจีนเพ่ือสร้างความจงรักภักดี ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งศาลคดีจีนขึ้นในกรมท่าซ้ายสำหรับชำระความชาวจีน ด้วยทรงเห็นว่าชาวจีน ไดร้ ับความลำบากในการไปฟ้องร้องทีศ่ าลไทยเพราะยงั ไมร่ ้จู ักธรรมเนยี มกฎหมายไทยดพี อ คนจนี จะได้รู้สกึ วา่ ตนได้รับความอุปถัมภ์จากรัฐบาลไทย ไม่จำเป็นต้องหันไปพึ่งต่างชาติหรือเข้าเป็นอั้งยี่ นอกจากน้ี พระองค์ ยังทรงแต่งตั้งหัวหน้าชาวจีนให้ดูแลว่ากล่าวพวกจีนด้วยกันเอง ในเร่ืองนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธบิ ายว่า ...นอกจากตั้งศาลสำหรับชำระความจีนขึ้นในกรุงเทพฯ แล้ว ในท้องที่ซ่ึงมีจีน อยู่มาก เช่น สำเพ็ง ทางการได้ตั้งนายอำเภอจีนสำหรับดูแลกิจการทุกข์สุขของพวกจีน เหมือนอย่างที่มีนายอำเภอไทย และในที่อ่ืนๆ ตามหัวเมืองซึ่งยังไม่มี ก็ต้ังกรรมการจีนขึ้น ในตำแหน่งเรยี กวา่ “กงสุลจนี ในบังคบั สยาม”... ๓. การใช้กำลังปราบปรามอย่างเด็ดขาด วิธีน้ีใช้ในกรณีที่สถานการณ์รุนแรงเกินกำลังของ กระทรวงนครบาลจะจัดการได้ โดยจะส่งกองทหารไปปราบหรือข่มขวัญให้เกรงกลัว ดังในกรณีวิวาทท ่ี ตำบลบางขวางใน ร.ศ. ๑๐๘ หรือกรณีวิวาทที่สวนพลู ตำบลบางย่ีเรือ เป็นต้น ส่วนวิธีการข่มขวัญให้ เกรงกลัวนั้น ก็มีการจัดการซ้อมรบท่ีสนามชัย ถวายพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรบนพระท่ีน่ังสุทไธสวรรย ์ ทกุ สัปดาห์ บางวนั ให้ทหารนำอาวุธปนื ใหญอ่ อกมาขดั ทำทปี ระหนงึ่ วา่ กำลงั เตรยี มตวั จะไปปราบอัง้ ยี่ แลว้ ยงิ ปนื ติดดินดำ เสียงดังสนั่น บางวันก็ให้ทำเป็นโครงค่ายมีหุ่นรูปคนอยู่ประจำ เอาช้างสงครามสัก ๓ - ๔ เชือก ออกซ้อมแทงหุ่นทำลายค่าย หรือในกรณีประหารชีวิตคนจีนท่ีเข้าปล้นสะดมราษฎรในแขวงเมืองนครชัยศรี ก็เอาป้ายแขวนประจานห้ามไม่ให้เอาเย่ียงอย่างและนำไปประหารให้ราษฎรเห็นโดยทั่วกัน ทำให้เกิดกิตติศัพท์ ไปถึงพวกอั้งย่ี พวกนจ้ี ึงกลัวไมก่ ลา้ กอ่ เหตอุ นั ใด ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๐ เป็นสมัยท่ีเจ้าพระยายมราชดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงนครบาล ได้เกิดเหตุพ่อค้าชาวจีนในกรุงเทพฯ พากันปิดร้านไม่ขายสินค้าเนื่องจากมีการท้ิงใบปลิวจากพวกจีนสั่ง ให้ปิดร้าน มิฉะนั้นจะถูกปล้นทำลายของในร้าน เจ้าพระยายมราชไปปรึกษากรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช เสนาธิการทหารบก ตกลงกันใช้อุบายให้ทหารม้าประมาณ ๒ กองร้อยแยกกันเป็นหลายหมวดเดินแถว 452

ผ่านไปตามถนนเจริญกรุงจนถึงบางรักและสถานที่ท่ีมีชาวจีนอยู่จำนวนมากคล้ายกับไปตรวจตราโดยไม่มี ผู้ใดทราบว่าทหารม้าจะทำอะไร วันรุ่งขึ้นเจ้าพระยายมราชก็ให้พลตระเวนไปสั่งให้พ่อค้าจีนเปิดร้านค้าขาย เหมือนเดิม เหตกุ ารณจ์ ึงกลับเขา้ สู่ความสงบ ๔. การใช้อำนาจการศาลและกฎหมายไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงม ี พระราชดำรัสถึงกฎหมายที่จะใช้ควบคุมและปราบปรามพวกอ้ังย่ีดังเช่นในสเตรทเซทเทิลเมนท์ของอังกฤษ มาตงั้ แต่ พ.ศ. ๒๔๓๘ แตก่ ล็ ่าช้าจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๐ ดงั คำกราบบงั คมทลู ของกรมหมน่ื นเรศรว์ รฤทธวิ์ ่า ...ข้าพระพุทธเจ้าคิดด้วยเกล้าว่า เรื่องการท่ีต้ังเปนพวกเป็นก๊กเปนเหล่าน้ีจะต้อง ออกพระราชบัญญัติ เร่ืองการตั้งบริษัทฤๅการตั้งก๊กตั้งแหล่งเปนอ้ังย่ีนั้นต้องให้ลงบาญชีชื่อ บริษัทลงช่ือคนท่ีเขาเปนพรรคพวก แลแจ้งชื่อบังคับของก๊กเหล่านั้นให้เจ้าพนักงานทราบต่อ ไป แลการเร่ืองนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แก่เจ้าพระยาอภัยราชา ให้ปฤกษา จัดการทำพระราชบัญญัติกับข้าพระพุทธเจ้าคร้ังหน่ึงแล้ว แต่สมัยน้ันเจ้าพระยาอภัยราชา ตดิ ราชการอื่นท่สี ำคัญกว่าการน้ีจึงยังคงค้างอยู่... ในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติอั้งยี่ รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖ ขึ้น และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเม่ือวันที่ ๑๐ ตุลาคม ปีเดียวกัน ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ บรรดาหมู่เหล่าที่ต้ังข้ึนก่อนและหลังพระราชบัญญัติ ต้องมาลงทะเบียน พร้อมกับแจง้ รายละเอียดทุกอย่างเก่ียวกับกล่มุ หรือสมาคมของตนใหท้ างการทราบ ผูม้ าลงทะเบียนตอ้ งเสียเงิน จำนวนหน่ึงเพ่ือเป็นประกันว่าจะไม่ทำผิดพระราชบัญญัติ และมีการกำหนดโทษบุคคลท่ีเข้าร่วมหรือตั้งกลุ่ม ที่ผิดกฎหมายไว้อย่างชัดแจ้ง ดังน้ันการเป็นอั้งยี่จึงถือว่าเป็นการกระทำผิดตามกฎหมาย ผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษ ถึงประหารชวี ิตหรอื เนรเทศ หลังจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติอั้งยี่ การวิวาทของพวกอั้งยี่ก็สงบลง ดังปรากฏในหนังสือของ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง ตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้จดทะเบียน ถึงเสนาบดีกระทรวงนครบาล กล่าวถึง สถานการณใ์ นขณะนนั้ ว่า ...ตั้งแต่วันที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ประกาศเจ้าแจ้งหลายวัน ก็ไม่มีผู้ใดผู้หน่ึงมา จดทะเบียน ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้ให้ตามตัวผู้ซ่ึงเปนหัวหน้าอ้ังย่ีตามที่ได้รู้จักแต่ก่อน เมื่อพบ ข้าพระพุทธเจ้าแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าชี้แจงว่าให้มาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติ ฝ่ายผู้ซ่ึง เปนหัวน่านั้นได้พูดตอบว่าต้ังแต่ได้ทราบว่าโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติอั้งย่ีแล้ว ไดเ้ ลกิ การซึ่งกระทำอง้ั ย่ี หาไดต้ วั อัง้ ยเ่ี ชน่ แตก่ อ่ นไม่... ในปลายรัชกาล กลุ่มอั้งย่ีเสื่อมสลายแตกแยกเป็นก๊กเล็กก๊กน้อยและมีบทบาทน้อยลงไม่เป็นที่สนใจ ของผู้ใด ความเดอื ดรอ้ นจากพวกอั้งยี่หมดลง บา้ นเมืองกลบั สู่ความสงบสขุ 453

พระมหากรณุ าธคิ ุณต่อชนต่างชาติ ชนชาติต่างๆ เข้ามาพ่ึงพระบรมโพธิสมภารและประกอบอาชีพค้าขายในแผ่นดินสยามมาตั้งแต่คร้ัง สุโขทัยจนกระท่ังถึงสมัยรัตนโกสินทร์อย่างปกติสุข คนไทยไม่รังเกียจคนต่างชาติต่างศาสนา หากมีความ เอ้ือเฟื้อเผ่ือแผ่ สามารถอยู่ร่วมกับชนชาติอื่นได้อย่างมีความสุข ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ บำรุงชาวตา่ งชาติในด้านตา่ งๆ เช่น พระราชทานท่ีดินสำหรับเป็นที่อยู่อาศยั โรงสินค้า และวัดในศาสนาของตน ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทรงมีขันติธรรมทางศาสนาโดยอนุญาตให้มิชชันนารีชาวตะวันตก เผยแผค่ รสิ ต์ศาสนาในพระราชอาณาจักรสยามได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงห่วงใยเฉพาะพสกนิกรชาวไทยเท่านั้น หากยังทรงมี น้ำพระทัยโอบอ้อมอารี ให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชาวต่างชาติท่ีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในประเทศ พระองค์ทรงสนับสนุนการประกอบธุรกิจการค้าของพ่อค้ายุโรป อินเดีย และจีน ส่วนชนชาติเพื่อนบ้านที่เข้ามา อาศัยอยู่ในพระราชอาณาจักร ก็ทรงมีพระเมตตาให้ดำรงชีพอยู่ด้วยความมั่นคงและมีความสุข น้ำพระทัยของ พระองคป์ รากฏอย่ใู นพระราชดำรสั ต่อชนกลุม่ ต่างๆ เมือ่ คร้ังเสด็จกลบั จากยโุ รปใน พ.ศ. ๒๔๔๐ ดังต่อไปน ้ี ชาวพม่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า พม่ากับไทยนับถือ พระพุทธศาสนาเหมือนกัน เม่ือพระองค์ทรงพบปะผู้ที่นับถือศาสนาเดียวกัน ก็ทรงมีเมตตาจิตและ เป็นมิตรไมตรีต่อกัน ดังในพระราชดำรัสตอนหน่ึงว่า “...เราจะต้ังใจอยู่เสมอเพ่ือจะบำรุงรักษาท่านทั้งหลาย ใหต้ ้งั อยใู่ นความสุข แลสำเร็จประโยชน์ความปรารถนาอนั ชอบธรรม ซ่ึงท่านทงั้ หลายได้ประกอบการอยนู่ น้ั แลว้ ทุกประการ” ชาวญวน ชาวญวนได้เข้ารับราชการและประกอบอาชีพทำมาหากินอยู่ในไทย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความมั่นใจว่า “...เรามีน้ำใจที่จะเปนผู้ปกครองแลทำนุบำรุงท่านทั้งหลาย ให้ต้ังอยู่ในความสขุ แลความสะดวกมัน่ คงสบื ไปภายหนา้ อีก...” ชาวอินเดีย กรุงสยามกับอินเดียมีการเจริญทางพระราชไมตรีต่อกันมาแต่โบราณ มีพ่อค้าชาวอินเดีย เข้ามาค้าขายจนเจริญรุ่งเรืองอยู่ในไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสถึงพ่อค้า ชาวอินเดียว่า “...พ่อค้าอินเดียได้เคยมีการค้าขายอันเจริญ แลได้มาต้ังอยู่โดยปราศจากภัยในกรุงสยามช้านาน ก่อนหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีทั้งปวงซึ่งมีอยู่ในบัดน้ี ฝ่ายเรามีความยินดีท่ีจะกล่าวว่าพ่อค้าอินเดีย ทั้งหลาย ได้ประกอบการเล้ียงชีพอย่างประเทศซ่ึงตนถือเอาโดยแท้ จนถึงกับมีความทุกข์แลสุขกับเราด้วย เสมอมา...จงเปนทแี่ น่ใจเถดิ ว่าความเมตตาแลความปกป้องของเราจะมตี ่อทา่ นทัง้ หลายโดยน้ำใจอนั สจุ รติ ...” คณะบาทหลวงชาวยุโรป ในการเผยแผ่คริสต์ศาสนาของคณะบาทหลวงชาวยุโรป พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงรังเกียจหรือขัดขวางการประกอบศาสนกิจของท่านเหล่าน้ี พระองค์ทรงแสดง ความปรารถนาดีต่อคนต่างศาสนา ดังในพุทธภาษิตที่ว่า “เมตัญจ สพพโลสมึ จงตั้งใจปรารถนาดีต่อชน ท่วั โลก” พระองค์ทรงมพี ระราชดำรสั วา่ “...แตอ่ าณาประชาชนท้งั หลายในพระราชอาณาจักรน้ี ถึงจะเปนราษฎร ของเราหรือของต่างประเทศก็ดี แลจะเปนพุทธศาสนิกชน หรือคริสต์ศาสนิกชนก็ดี หรือแม้ว่าจะนับถือศาสนา อื่นอย่างใดๆ ก็ดี ท่านทั้งหลายท้ังปวงพึงวางใจได้เสมอ เหมือนส่วนข้าพเจ้าไว้ใจอยู่ในความปรารถนาของท่าน ทั้งหลายทมี่ ตี อ่ ตัวเราแลมตี อ่ ราษฎรของเราแลว้ เหตฉุ ะน้ันเราทั้งหลายควรจะหวังใจวา่ เพราะความปรารถนาดี 454

อันมีต่อกันแลกันนั้น จะพึงนำมาซึ่งผลอันงามอันดี ท่ีจะบังเกิดความสงบเรียบร้อยแลผาสุก แม้แต่อย่างน้อย ท่ีสดุ ก็เพยี งในภมู ภิ าคอนั น.้ี ..” ชาวตะวันตก ภายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริง พ่อค้าชาวยุโรปและชาวอเมริกันเข้ามาค้าขายกับไทย เป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริมให้ชาวตะวันตกเข้ามาตั้งหลักแหล่ง และค้าขายเพื่อความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของชาติ ดังในพระราชดำรัสว่า “...ไม่มีผู้ใดจะมีความประสงค ์ ยิ่งกว่าเราในการเจริญชุมนุมพ่อค้าชาวยุโรปแลอเมริกันในกรุงน้ี เราทราบอยู่ว่าในการท้ังปวงซ่ึงเกี่ยวด้วย การบำรุงค้าขายแลการช่างนานาประเทศน้ัน ย่อมจะมีผู้ได้รับประโยชน์ทั้งสองข้าง เหตุฉะน้ันท่านคงจะหวังได้ ในตัวเราว่าเปนผู้เห็นชอบในความคิดอันใดอันหนึ่ง ซ่ึงต้นทุนต่างประเทศจะได้ใช้จ่ายให้ชอบธรรมและมิให ้ สูญเสียเปล่า เพ่ือจะไดเ้ ปดิ เผยสมบัตทิ ั้งปวงในเมือง...” ชาวจีน ชาวจีนเป็นชนต่างชาติสำคัญท่ีเข้ามาค้าขายและตั้งรกรากอยู่ในดินแดนไทยมาต้ังแต่สมัย สุโขทัยแล้ว ชาวจีนและชาวไทยผสมกลมกลืนกันโดยการแต่งงาน เกิดบุตรหลานซ่ึงกลายเป็นคนไทยในที่สุด ชนเชื้อสายชาวจีนค่อยๆ ปรับวัฒนธรรมด้ังเดิมของตนให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย พ่อค้าชาวจีนได้เข้ารับราชการ และชว่ ยเหลอื ราชการในการทำการคา้ กบั ตา่ งประเทศ และมสี ว่ นในการเพม่ิ พนู รายไดจ้ ากการคา้ แกท่ อ้ งพระคลงั ด้วยความขยันหม่ันเพียรในการทำงานชาวจีนในไทยจึงมีชีวิตที่ม่ันคงและถูกหลอมรวมกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคมไทยเสมือนเป็นคนไทยด้วย รัฐบาลให้สิทธิแก่ชาวจีนเฉกเช่นคนไทย มิหนำซ้ำชาวจีนยังมีสถานภาพดี กว่าชาวไทยตรงที่สามารถประกอบอาชพี ได้โดยอสิ ระ ไมต่ อ้ งรับราชการดว้ ยการถกู เกณฑ์แรงงานอย่างชาวไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระทัยท่ีชาวจีนแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ ดังใน พระราชดำรสั ตอนหน่ึงวา่ ...ความจริงแต่โบราณนานมาจนถึงทุกวันนี้ พระเจ้าแผ่นดินท้ังหลายย่อมม ี พระราชหฤทัยเมตตาปราณีแก่พวกจีนว่าเปนพลเมืองอันดีมีความอุตสาหะทำมาหากินให้เกิด ผลประโยชน์ขึ้นในแผ่นดินเปนอันมาก แลเปนผู้ซ่ึงถือเอาเมืองที่ตนมาอยู่ด้วยเหมือน อย่างเมืองของตัว แลการท่ีอยู่กินปนกันกับคนไทยสืบมาช้านานก็ย่อมมีอัชฌาศัยเปนคนไทย แทม้ ากขนึ้ โดยลำดับ โดยรบั เข้าในสมาคมแหง่ ชาตขิ องเราโดยสนทิ ยอ่ มมีสว่ นดว้ ยในความสขุ แลความทุกข์ของเมืองเราเหมือนกับคนไทยท้ังหลายดังต่อไปภายหน้าพวกจีนคงเปนผู้ซ่ึง ได้รับความป้องกันรักษา แลเปนผู้ได้รับความอุดหนุนทำนุบำรุงเปนอันดีในการท่ีเราจะได้ จัดการเปล่ียนแปลงอย่างหน่ึงอย่างใดในการทำนุบำรงุ บา้ นเมอื งของเรา... พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเสมอว่าชาวจีนไม่ใช่ชาวต่างชาติ แต่เป็น ราษฎรไทยท่ไี ดท้ ำคณุ ประโยชนใ์ ห้แก่บา้ นเมอื ง จงึ ทรงปรารถนาใหช้ าวจีนไดร้ บั ความสขุ มีความเจรญิ มั่นคงใน ชวี ติ และทรพั ยส์ มบตั ิ ดงั ในพระราชดำรสั วา่ ...เราย่อมรู้อยู่แล้วว่า ความสามารถในทางค้าขายของพ่อค้าจีน แลความอุตสาหะ แลพยายามของจีนผู้ทำการงานเปนอันมากท่ีได้เข้ามาอยู่ในเมืองนี้นั้น ย่อมเปนคุณมีราคา มากเพียงไร จีนท่ีเกิดในเมืองจีนน้ัน ถึงแม้ว่าเปนคนต่างภาษากับไทยอย่างหน่ึงแล้วก็ด ี แต่ก็ยังไม่ต้องการให้มีผู้แทนทางราชการมาช่วยให้ดีท่ีเหมาะสำหรับทำการค้าขาย อันเปน 455

คณะขา้ ราชการศาลโบริสภา ทีว่ า่ การตำรวจพระนครบาลที่ ๑ ถนนจกั รเพช็ ร ์ 456

คุณวิเศษของพวกจีนซ่ึงได้ปรากฏแล้ว ความคิดเรานั้นย่อมมีอยู่แล้วเสมอมาว่า จีนใน กรุงสยามควรจะได้มีโอกาสที่จะทำการงาน แลมีประโยชน์เหมือนเช่นคนไทยเรา เราถือว่า พวกจนี นนั้ เหมอื นไมเ่ ปนคนตา่ งประเทศ แตห่ ากวา่ จะเปนในเมอื งเราสว่ นหนงึ่ และมสี ว่ นไดร้ บั ผลในความเจริญรุ่งเรอื งของบ้านเมอื งเหมือนกัน... นอกจากนี้ยงั มีพระราชดำรสั อีกตอนหนง่ึ วา่ ...อันความจริงแท้ซ่ึงมีอยู่ในใจเรา เราย่อมคิดเห็นเสมอว่าพวกจีนทั้งหลายอันเปน ราษฎรซึ่งควรรักของเรา เปนผู้มีสติปัญญาแลความอุตสาหะประกอบการค้าขายแลการช่าง ให้เปนประโยชน์เปนการเจริญแก่บ้านเมืองเราย่ิงนัก ด้วยเหตุน้ีเราจึงสามารถที่จะยืนยันแก่ ท่านทั้งหลายว่าเปนความคิดอันตั้งอยู่ในใจเราเป็นนิตย์ ที่จะบำรุงท่านท้ังหลายให้มีความ คล่องสะดวกในการทำมาหากินให้ได้รับความป้องกันอันมั่นคงในชีวิตแลทรัพย์สมบัต ิ ใหเ้ จรญิ ประโยชน์ซึ่งสมควรท่ีทา่ นท้ังหลายจะได้โดยชอบธรรมทุกเมอ่ื ... พระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยได้ปกแผ่ถึงพสกนิกรทั้งชาวไทยและชนต่างชาติ ต่างภาษาท่ีเข้ามาพ่ึงพระบรมโพธิสมภารโดยถ้วนหน้า บุคคลเหล่านี้ได้อยู่เป็นสุขและร่มเย็น ท้ังยังมีส่วน ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า อย่างไรก็ตาม ชนต่างชาติบางกลุ่มได้สร้างปัญหา ให้เกิดความไม่ปกติสุขขึ้นในสังคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแก้ปัญหาให้เกิดสันติสุข ในสังคม ด้วยพระเมตตาบารมีและความรักต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ประชาชนชาวไทยจึงเป็นสุขร่มเย็น ใต้พระบารมีแหง่ สมเดจ็ พระพุทธเจ้าหลวง พลตระเวนและโรงพกั ย่านบางรกั 457



๒๒ วถิ ีทนั สมัยแหง่ วัฒนธรรม ...เราจะต้องไม่เปนผู้หลงใหลหลับตาถือม่ันตามแบบอย่างหรือกฎหมายโบราณ ซึ่งอาจจะดีได้ในกาลครั้งหน่ึง แต่เปนกาลล่วงพ้นจากความพอดีซ่ึงมีความต้องการ... เราทั้งหลายจะเดินต่อไปด้วยกันในทางซ่ึงสมควร แลเปนทางท่ีเจริญข้ึนเนืองนิตย์ จะละหลกี ทางทแ่ี รงเกนิ ไปทง้ั สองฝา่ ย คอื จะไมห่ ยดุ นงิ่ เกนิ ไป หรอื ไมเ่ ดนิ เรว็ เกนิ ไปกวา่ ที่ สมควรจะเดนิ ... (พระราชดำรสั ในพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั ตอบพระบรมวงศานวุ งศ์ ผ้แู ทนรัฐบาลตา่ งประเทศ แลขา้ ทูลละออง ธุลพี ระบาท ณ พระที่นง่ั ราชกจิ วินิจฉัย วนั ที่ ๑๐ ธนั วาคม ร.ศ. ๑๑๖) นโยบายการปรับตัวให้ทันสมัยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้มีเฉพาะ การปรับภาพลักษณ์ของบ้านเมืองท่ีเน้นเฉพาะวัตถุที่เป็นรูปธรรมเท่าน้ัน หากแต่ยังรวมถึงการปลูกฝังแนวคิด วิทยาการแบบตะวันตก บ่มเพาะชาวสยามให้เกิดการเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้ทัดเทียมมหาอำนาจตะวันตก จะได้สามารถเสริมสร้างความแข็งแกร่งต่อต้านการคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมได้ ประกอบกับเจ้านายและ ข้าราชการรุ่นใหม่ท่ีเคยศึกษาและใช้ชีวิตในต่างประเทศมีความคุ้นเคยกับวิถีตะวันตก จึงต้องการนำรูปแบบ การดำรงชีวิตเช่นนั้นมาใช้ในสยาม รวมท้ังยังมีพ่อค้ายุโรปและจีนเปิดห้างร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค แบบตะวันตกเพ่ิมข้ึนเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้ชาวสยามปรับรสนิยมและวิถีชีวิตเป็นแบบสากลนิยมมากข้ึน โดยเฉพาะในเขตพระนครและหัวเมอื งสำคญั ขนบธรรมเนียม การปรับวิถีทันสมัยเร่ิมขึ้นจากในราชสำนักตั้งแต่ต้นรัชกาล ภายหลังการเสด็จประพาสสิงคโปร ์ และปตั ตาเวียใน พ.ศ. ๒๔๑๓ โดยมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อยูห่ ัวท่จี ะพฒั นา บุคลิกภาพและขนบธรรมเนียมบางอย่างของสยามมิให้เป็นท่ีดูแคลนของชาวตะวันตก ดังปรากฏในหนังสือ “พระพทุ ธเจ้าหลวงกับพระสนมเอก” ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานภุ าพ ความว่า 459

...ยังมีประเพณีอย่างอื่นอีกบางอย่างซึ่งทรงปรารภว่าขายหน้าฝรั่ง เช่น ประเพณี ท่ีคุกคลานหมอบเฝ้ากับพ้ืน ให้ฝรั่งแขกเมืองเดินกรายหัวเข้ามายืนค้ำเจ้านายแลข้าราชการ ผู้ใหญ่ในที่เฝ้า...กับทั้งท่ีแต่งตัวออกแขกไม่มีถุงน่องรองเท้า ก็ชวนให้ฝรั่งดูหม่ินน่าอาย เชน่ เดยี วกัน... พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดังกล่าวปรากฏเป็นนโยบายที่เป็นรูปธรรม ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ ที่ทรงโปรดเกลา้ ฯ ให้ออกประกาศเลิกธรรมเนยี มหมอบคลาน ดงั ต่อไปนี ้ ประกาศเลิกธรรมเนยี มหมอบคลาน เราพระเจ้ากรงุ สยาม ขอประกาษแก่พระบรมวงษานุวงษ แลเสนาบดขี า้ ธลุ ีพระบาท ผู้ใหญ่ผู้น้อยให้ทราบทั่วกันว่า ต้ังแต่ได้รับบรมราชาภิเศกถวัลยราชสมบัติครองแผ่นดินมา กไ็ ดต้ งั้ ใจคดิ การทจี่ ะทำนบุ ำรงุ พระราชอาณาจกั ร ใหม้ คี วามศขุ เจรญิ แหง่ พระบรมวงษานวุ งษ แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ทั้งสมณชีพราหมณ ประชาราษฎรทั้งปวงทั่วไป การส่ิงไรท่ีเปน การกดข่ีแก่กัน ให้ได้ความยากลำบากน้ัน ไม่คิดจะให้มีแก่ชนทั้งหลายในพระราชอาณาจักร ตอ่ ไป ดว้ ยไดเ้ หนแลทราบการวา่ ในมหาประเทศตา่ งๆ ซง่ึ เปนมหานครอนั ใหญใ่ นทศิ ตวนั ออก ตวันตกก็ได้เลิกเปลี่ยนธรรมเนียมนี้หมดทุกประเทศแล้ว การท่ีเขาได้พร้อมกันเลิกเปล่ียน ธรรมเนียมท่ีหมอบคลานกราบไหว้นั้น ก็เพ่ือจะให้เหนความดี ท่ีจะไม่มีการกดข่ีแก่กัน ในบ้านเมืองนั้นอีกต่อไป บัดนี้ บ้านเมืองประเทศเหล่าน้ันก็มีความเจริญทุกๆ เมืองโดยมาก ก็ในประเทศสยามนี้ธรรมเนียมบ้านเมืองที่เปนการกดขี่แก่กัน อันไม่ต้องด้วยยุติธรรมน้ัน มีอยู่อีกหลายอย่างหลายประการ จะต้องคิดลดหย่อนผ่อนเปลี่ยนเสียบ้าง แต่จะให้แล้วไป ในครั้งเดียวนั้นไม่ได้ จะต้องค่อยคิดเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาท่ีควรแก่การจะเปล่ียนแปลงได้ บ้านเมืองจึงจะได้มีความเจริญสมบูรณ์ย่ิงขึ้นไป แลธรรมเนียมท่ีหมอบคลานกราบไหว ้ ในประเทศสยามนี้ เหนว่าเปนการกดข่ีแก่กันแขงแรงนัก ไม่เหนว่ามีประโยชน์แก่บ้านเมือง แต่ส่ิงหน่ึงสิ่งใด เพราะฉน้ัน จึ่งจะต้องละธรรมเนียมเดิมที่ถือว่า หมอบคลานเปนการเคารพ อย่างย่ิงในประเทศสยามน้ีเสีย ให้เปล่ียนอิริยาบถเปนยืนเปนเดิน ธรรมเนียมที่ถวายบังคม กราบไหวน้ ้นั ให้เปลี่ยนอริ ยิ าบถเปนกม้ ศศี ะ กซ็ ึ่งใหเ้ ปลี่ยนธรรมเนยี มใหม่ดังน้ี เพราะจะให้ เหนเปนแน่ว่าจะไม่มีความกดข่ีแก่กัน ในการท่ีไม่เปนยุติธรรมอีกต่อไป ตั้งแต่นี้สืบไป พระบรมวงษานวุ งษแลขา้ ราชการผใู้ หญผ่ นู้ อ้ ย ซงึ่ จะเขา้ มาในทเ่ี ฝา้ แหง่ หนง่ึ แหง่ ใด จงประพฤติ ตามขอ้ บัญญัติใหม่ ซงึ่ ให้ยนื ใหเ้ ดินนัน้ เทอญ นอกจากประกาศเลกิ ธรรมเนยี มหมอบคลานแล้ว ในปีเดียวกันน้ยี งั มี ประกาศเลิกธรรมเนียมหมอบ คลานเปน็ โค้งศรี ษะ และเรื่องการแต่งตวั เขา้ เฝ้าดว้ ยโดยปรบั ปรุงธรรมเนยี มการเข้าเฝ้าอยา่ งเป็นขนั้ ตอน คือ ช่วงแรก กำหนดประเพณีเข้าเฝ้าเป็น ๒ แบบคือ เฝ้าแบบเดิม ในเวลาเสด็จออกขุนนางในท้องพระโรง และ เฝ้าอย่างใหม่ ในเวลารับแขกเมือง โดยให้ยืนเฝ้าและถวายคำนับอย่างฝรั่ง และถ้าโปรดเกล้าฯ ให้นั่งก็น่ังเก้าอี้ ดว้ ยกนั ทง้ั หมด โดยใหผ้ เู้ ขา้ เฝา้ ปรบั การแตง่ กาย สวมเสอื้ ผกู ผา้ ผกู คอ ใสถ่ งุ นอ่ งรองเทา้ แตย่ งั คงนงุ่ โจงกระเบน 460

พร้อมกันนั้นโปรดเกล้าฯ ให้มีการเตรียมสถานที่สำหรับการเข้าเฝ้าแบบใหม่ เช่น การก่อสร้าง พระราชนิเวศน์หมู่ใหม่ รวมทั้งปรับพระที่น่ังไพศาลทักษิณองค์ตะวันตกเป็นห้องรับแขกให้เจ้านายข้าราชการ เข้าเฝ้าแบบใหม่ และเข้าร่วมโต๊ะเสวยในพระที่นั่งองค์ตะวันออกทั้งตอนกลางวันและรอบเย็น วิธีการเข้าเฝ้า และต้อนรับแบบอย่างใหม่ได้ใช้เป็นแบบอย่างไปถึงวังเจ้านายและจวนเสนาบดี แต่สำหรับฝ่ายในยังคงใช้ ธรรมเนียมการหมอบเฝา้ แบบเดิม การประกาศให้ใช้เฉพาะธรรมเนียมการเข้าเฝ้าแบบใหม่อย่างเป็นทางการได้รับการบรรจุเข้าเป็น รายการหน่ึงในวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เม่ือวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๔๑๖ ซึ่งสมเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้บันทึกภาพเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ด้วยความประทับใจไว้ในหนังสือ “พระพุทธ- เจา้ หลวงกบั พระสนมเอก” ความวา่ ...เวลาเสด็จออกมหาสมาคมในพระที่น่ังอมรินทรวินิจฉัย...เมื่อเสนาบดีทูลถวาย ราชสมบตั ติ ามประเพณแี ลว้ โปรดฯ ใหอ้ าลกั ษณอ์ า่ นประกาศวา่ ประเพณหี มอบคลานเขา้ เฝา้ เช่นใช้มาแต่โบราณไม่สมควรกับสมัยของบ้านเมืองเสียแล้ว ให้เลิกประเพณีหมอบคลานเสีย เปล่ียนเปนยืนเฝ้า แลเคารพด้วยถวายคำนับต่อไป พออาลักษณ์อ่านประกาศจบ เหล่าข้า เฝ้านับแต่กรมพระราชวังบวรฯ เปนต้น บรรดาท่ีหมอบอยู่เต็มทั้งท้องพระโรง ก็ลุกขึ้นถวาย คำนับพร้อมกัน ดูเหมือนกับเปลี่ยนฉากรูปภาพอย่างหนึ่งเปนอย่างอ่ืนไปในทันที น่าพิศวง อย่างยิ่ง เวลาน้ันตัวฉัน ๑๒ ปียังไว้ผมจุก ได้เห็นยังจับใจไม่ลืมอยู่จนบัดนี้ เม่ือเสด็จขึ้น ข้างใน...เจ้านายแลข้าราชการผู้หญิงเฝ้า ก็มีการอ่านประกาศแลลุกข้ึนยืนเฝ้า.....ก็เปนอัน เพิกถอนระเบยี บการเฝา้ อย่างเกา่ ......เปล่ียนระเบยี บใหมซ่ ง่ึ ตั้งข้ึนในรชั กาลที่ ๕ แต่นน้ั ไป... ธรรมเนียมราชสำนักอีกประการหน่ึงที่ได้รับการปรับปรุงคือ กฎมณเฑียรบาลเกี่ยวกับการถวาย ความอารักขาและความช่วยเหลือแก่พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในในยามท่ีประสบภาวะอันตราย ซ่ึงเกิดข้ึน หลังกรณีเรือพระประเทียบล่มใน พ.ศ. ๒๔๒๓ จนเป็นเหตุให้สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรม- ราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ส้ินพระชนม์ ธรรมเนียมอีกอย่างที่มีการ ปรับเปลี่ยนในทางปฏิบัติคือการที่พระภรรยาเจ้าได้เสด็จข้ึนมาประทับร่วมพระราชมณเฑียร เร่ิมจากการท่ี พระนางเจา้ เสาวภาผอ่ งศรี พระวรราชเทวี เสดจ็ ไปประทบั รว่ มในหมพู่ ระทน่ี ง่ั จกั รมี หาปราสาท (พระทน่ี งั่ สทุ ธา- ศรีอภิรมย)์ และภายหลงั เม่อื มีการสรา้ งพระทน่ี ่งั วมิ านเมฆและพระทน่ี ่งั อมั พรสถาน ก็ไดม้ ีการจดั หอ้ งท่ปี ระทับ ใหก้ บั พระภรรยาเจา้ บนพระทน่ี ง่ั ดังกลา่ วด้วย ธรรมเนียมสำหรับฝ่ายในที่มีการเปลี่ยนแปลงจนเป็นแบบอย่างของสังคมไทยท่ีสำคัญคือ การให้สตรี มีโอกาสเข้าสมาคมโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาประเทศชาติให้ทันสมัย อันเป็นผลให้บทบาท ของสตรีทเ่ี คยอยูแ่ ตเ่ บ้อื งหลงั ได้รบั การยอมรบั ในสังคมวา่ มสี ถานภาพทัดเทียมบุรษุ เพศ ทง้ั ทต่ี ามความเปน็ จริง สตรรี ะดบั สามญั ชนไดแ้ บกรบั ภาระในการดแู ลบา้ นเรอื น ตลอดจนประกอบอาชพี เพอื่ เลย้ี งดคู รอบครวั ใหเ้ ปน็ สขุ ในระหว่างทบ่ี ุรุษตอ้ งเขา้ รับราชการอยแู่ ล้ว พระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัวท่ใี ห้สตรีเข้ามามีบทบาททางสังคม เร่ิมจาก ในส่วนของราชสำนัก ดังจะเห็นได้จากการท่ีโปรดเกล้าฯ ให้พระอัครมเหสีคือสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา 461

พระบรมราชเทวี และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี เสด็จออกต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ท่ีเสด็จมาเยือนสยาม และเสด็จออกในพระราชพิธีท่ีมีคณะทูตานุทูตเข้าเฝ้าในวโรกาสต่างๆ นอกจากนี้ ในเวลา เสด็จพระราชดำเนินประพาสสิงคโปร์และชวาในช่วงกลางรัชกาล พระอัครมเหสีได้โดยเสด็จในพิธีรับรอง ข้าหลวงต่างชาติและผ้ปู กครองพ้นื เมอื งอยูเ่ ปน็ ประจำ ในการเสดจ็ ออกของพระอัครมเหสี จะมีสตรี บรรดาศักดิ์ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษและรู้ธรรมเนียม การเข้าสมาคมแบบชนชั้นสูงของยุโรป ทำหน้าที่เป็น นางสนองพระโอษฐ์ให้แก่พระอัครมเหสี รวมทั้งเป็น ผู้ช่วยเจ้าภาพฝ่ายสตรีในเวลามีงานพระราชทาน พระกระยาหารค่ำแก่พระราชอาคันตุกะ ตลอดจน ทำหน้าที่เจ้าภาพอำนวยความสะดวกแก่พระราช- อาคันตุกะฝ่ายสตรีท่ีเสด็จไปตามสถานที่ต่างๆ ระยะแรกผู้ปฏิบัติหน้าท่ีนางสนองพระโอษฐ์และผู้ช่วย เจ้าภาพ ได้แก่ ภรยิ าของอัครราชทูตไทยทเ่ี คยติดตาม สามีไปอยู่ในยุโรป แต่ต่อมาเมื่อมีแขกเมืองมาเยือน สยามมากขึ้น จึงเพ่ิมจำนวนสตรีไทยมาทำหน้าที ่ เจ้าภาพ ได้แก่ พระชายาในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกยาเธอ พระธิดาในกรมหลวงเทวะวงศ์- วโรปการ พระธิดาในกรมหลวงดำรงราชานภุ าพ และ หม่อมเจา้ จงจิตรถนอม ดศิ กลุ นักเรียนหญิงจากโรงเรียนสตรีท่ีเปิดสอนการศึกษา ในระบบใหม่ เชน่ โรงเรยี นสตรวี งั หลงั วฒั นา โรงเรยี น ราชินี ดังท่ีปรากฏเรื่องราวในบันทึกความทรงจำของ หมอ่ มเจา้ จงจติ รถนอม ดศิ กลุ กล่าววา่ เมอ่ื พระราชโอรสของจักรพรรดิเยอรมนั มาเยือนสยามใน พ.ศ. ๒๔๔๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกลา้ ฯ ใหพ้ ำนกั ทว่ี งั สราญรมย์ และพระราชทานเลย้ี งแบงเควต ที่ท้องพระโรงกลางพระท่ีน่ังจักรีมหาปราสาท โดยเจ้าชายทรงจูงพระหัตถ์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จ พระเจา้ อย่หู วั ทรงจงู พระหัตถ์พระสณุ ิศา ฯลฯ ธรรมเนียมใหม่ท่ีนับว่าสำคัญและเป็นการปรับสถานภาพและบทบาทของสตรีในรัชกาลน้ี คือการที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสต่างแดน เพราะแต่เดิมพระมหากษัตริย์ ไทยจะไม่เสด็จออกนอกพระราชอาณาจักรยกเว้นในราชการศึกสงคราม แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัวได้เสด็จด้วยเหตุผลทางการทูตเพื่อกระชับสัมพันธไมตรี โดยท่ีส่วนใหญ่จะทรงแต่งตั้งพระบรม- วงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าท่ีทรงไว้วางพระทัยเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ยกเว้นในคราวเสด็จเยือนยุโรป ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ ทง้ั ๆ ทเี่ ปน็ การเสด็จระยะยาวและอยใู่ นช่วงเวลาทสี่ ยามยงั เผชญิ ปัญหาวกิ ฤต แต่พระองค์กลับ ทรงสถาปนาพระอคั รมเหสคี ือสมเดจ็ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ขึน้ เป็นองค์ผสู้ ำเร็จราชการ แทนพระองค์ ทง้ั นเี้ พราะทรงตระหนกั ในพระปรชี าสามารถของพระอคั รมเหสใี นการบรหิ ารราชการบรหิ ารบคุ คล 462

รวมทั้งพระวิจารณญาณในการริเริ่มและดำเนินกิจการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อแผ่นดินมาตลอด ดังน้ันในช่วง เวลาท่ีสมเด็จรีเยนต์ทรงปฏิบัติหน้าท่ีผู้สำเร็จราชการ จึงจำเป็นต้องมีการปรับกฎระเบียบสำหรับฝ่ายในให้เข้า กบั สถานการณ์ อันส่งผลไปถึงการปรับเปลี่ยนบทบาทและสถานภาพของสตรไี ทยท่ัวไปในระยะต่อมาดว้ ย รปู ลกั ษณ์ของคนไทย การปรบั ปรุงรูปลกั ษณข์ องคนไทย นับแตก่ ารแตง่ กาย ทรงผม บุคลกิ ภาพ กริ ยิ าท่าทาง มีข้นึ หลงั จาก การเสด็จประพาสต่างแดนคร้งั แรกใน พ.ศ. ๒๔๑๓ โดยทรงเริ่มจากเรอ่ื งของทรงผม ทั้งนี้ สมเด็จกรมพระยา ดำรงราชานภุ าพไดบ้ ันทึกไว้ในหนังสือพระพุทธเจา้ หลวงกับพระสนมเอก ความว่า ...ทรงพระราชปรารภกับท่านผู้ใหญ่ว่าที่ไทยเรายังไว้ผมมหาดไทยอย่างโบราณ ใช้โกนผมรอบหัวไว้แต่บนกลางกระบานน้ัน ทำให้ฝรั่งดูหม่ินไทยว่าเปนชาวป่าเถ่ือน ข้อนี้ก็รู้ กันอยู่...แม้เม่ือพระองค์เสด็จไปสิงคโปร์คร้ังน้ี ก็ต้องให้ผู้ไปเลิกตัดผมมหาดไทย ไว้ผมยาว เสยี กอ่ นทกุ ครง้ั ...ทรงมพี ระราชดำรหิ ว์ า่ บา้ นเมอื งเจรญิ ขน้ึ คงมฝี รง่ั มากขนึ้ ถา้ ไวผ้ มมหาดไทย อยู่ ฝรั่งก็จะเข้ามาดูหมิ่นถึงในบ้านเมือง ควรจะเลิกประเพณีตัดผมมหาดไทยเสีย ไว้ผมยาว ตดั เปนทรงเดียวกนั ท้งั หวั เหมือนฝรั่ง...พอเหน็ พระเจา้ อยู่หัวไว้พระเกษายาว...ในไม่ชา้ เจา้ นาย แลข้าราชการกเ็ ลกิ ไวผ้ มมหาดไทยหมด... สำหรับทรงผมของสตรีซ่ึงขณะน้ันยังไว้ผมปีก ซ่ึงเป็นทรงเดียวกับผมมหาดไทยเพียงแต่มีไรจุก และผมทดั ทีจ่ อนหู ปรากฏว่าพวกฝ่ายในไมอ่ ยากเลกิ เจา้ จอมมารดาแพไดท้ ลู รับอาสาไวผ้ มยาวกอ่ นผอู้ ่ืน ไมช่ ้า ก็มีพวกนางในทำตามมากขึ้นจนผมปีกสูญหายไป ปรับเป็นทรง “ดอกกระทุ่มหรือผมตัด” ส่วนเด็กหญิง ยังไว้จุก หลังโกนจุกแล้วจึงเร่ิมไว้ผมยาวประบ่า ยกเว้นพระธิดาบางองค์เช่นสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ซ่ึงไว ้ พระเกศายาวมาตงั้ แตย่ ังทรงพระเยาว์ แตก่ ท็ รงเข้าพระราชพิธีโสกนั ตต์ ามกำหนด สำหรับการแต่งกายมีการเปล่ียนแปลงทั้งบุรุษและสตรี กล่าวคือเครื่องแต่งกายของบุรุษท่ีเปลี่ยนไป แต่งแบบฝร่ังนั้นเร่ิมจากเมื่อคราวเสด็จสิงคโปร์ ในหมายกำหนดการได้ระบุไว้ว่าถ้าแต่งเต็มยศใช้เสื้อติวนิก อย่างฝรั่ง เวลาปกติสวมเสื้อเปิดอกไว้ชั้นนอก มีเสื้อเช้ิตช้ันในและผ้าผูกคอ แต่ยังคงนุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่ถุงน่องรองเท้า ส่วนในคราวเสด็จประพาสอินเดียโปรดเกล้าฯ ให้ช่างฝร่ังทำเส้ือที่สวมใส่สะดวกเหมาะกับ ภมู ิอากาศของไทยเป็นเสื้อสีขาวคอปิด แขนยาว ผ่าหนา้ กลดั กระดุม ๕ เม็ด มีกระเปา๋ บน - ล่าง เรียกกนั ท่วั ไป ว่าเสื้อ “ราชแปตแตน” (ราชปะแตน) เป็นเครื่องแบบข้าราชการที่ใช้กับผ้าโจงสีกรมท่า ส่วนฝ่ายทหารจะมี ยนู ฟิ อรม์ ทใ่ี ชค้ ู่กบั กางเกง การแต่งกายของสตรีได้รับการปรับปรุงหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ คือ ถ้าเป็นเครื่อง เต็มยศใหญ่ ให้นุ่งผ้าจีบห่มตาด (สไบปัก) ถ้าแบบปกตินุ่งโจงสวมเส้ือตัวสั้นแขนยาว ห่มแพรสไบเฉียง สวมรองเท้าและถุงน่อง แต่ถ้าตามเสด็จประพาสหัวเมืองด้วยกระบวนม้า นางในเปลี่ยนมาสะพายแพรแทน การห่มสไบเฉียง และสวมหมวก ต่อมาเส้ือแขนกระบอกยาวได้เปลี่ยนเป็นเสื้อแขนพองบริเวณไหล่แบบ ยุควิกตอเรียเรียกว่า “เส้ือแขนหมูแฮม” ภายหลังเปล่ียนมานิยมเสื้อแขนยาวตัวส้ัน เย็บเข้ารูป คอต้ัง ประดับ ตกแต่งด้วยผ้าลูกไม้ของฝรั่ง สะพายแพร ใช้กับท้ังผ้าโจงและผ้าจีบ สวมรองเท้าส้นสูง ถุงน่องโปร่งหรือ มีลายปกั 463

สมเด็จพระนางเจา้ สนุ ันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทว ี สมเดจ็ พระนางเจา้ สวา่ งวฒั นา พระบรมราชเทวี ทรงเครื่องเต็มยศแบบจารตี ทรงพระภูษาโจง เส้อื ผ้าลกู ไม้ 464

สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผอ่ งศรี พระบรมราชนิ นี าถ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินนี าถ ทรงพระภูษาโจง เส้ือแขนหมูแฮม ทรงเคร่อื งประดับแบบยุโรป 465

เจา้ จอมมารดาชมุ่ ในชดุ สตรียโุ รป การแตง่ กายสตรบี รรดาศักด ์ิ เครื่องแตง่ กายของบุรุษที่เป็นแบบตะวันตกอยา่ งแทจ้ ริงมีข้ึนเมอ่ื ครัง้ เสด็จประพาสยโุ รป พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ตามเสด็จแต่งกายแบบยุโรป คือนุ่งกางเกงขายาว สวมเสื้อเชิ้ตทับด้วยเสื้อกั๊กและเสื้อนอก ผูกเน็คไท ใส่รองเท้าถุงเท้า สวมหมวก โดยมีหมายกำหนดเครื่อง แต่งกายไว้ตามวาระต่างๆ เช่น เคร่ืองทรงสำหรับชาติและยูนิฟอร์ม (เคร่ืองต้นเต็มยศและเครื่องต้นอย่างทหาร ทั้งเต็มยศและครึ่งยศ) ฉลองพระองค์สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ที่ตามเสด็จ เคร่ืองแต่งกายสำหรับข้าราชการ ท่ีตามเสด็จท้ังฝ่ายทหารและพลเรือน สำหรับเคร่ืองแต่งกายแบบยุโรปน้ีมีช่างฝรั่ง ช่างจีน และแขก เข้ามาเปิด ห้างร้านตัดเย็บและจำหน่ายผ้า เคร่ืองแต่งตัวต่างๆ รวมท้ังมอบหมายให้ข้าราชการสถานทูตในยุโรปจัดเตรียม ถวาย ต่อมาเมื่อเจ้านายและชนชั้นสูงที่ไปศึกษาท่ียุโรปกลับมารับราชการในไทย ก็ได้นำรูปแบบการแต่งกาย ใหมๆ่ มาเผยแพร่ พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั > ในฉลองพระองค์ท่ีทรงเรม่ิ ปรับปรุงใหท้ นั สมัย 466

467

ฉลองพระองคต์ ้นแบบราชปะแตน ฉลองพระองค์แบบสากลยคุ แรก 468

พระบรมฉายาลกั ษณค์ รึง่ พระองค์ ฉลองพระองค์ทหาร เครอื่ งแบบฉลองพระองคท์ หาร และพลเรือน 469

การแต่งกายของเจา้ นายและขา้ ราชการในเวลาตรวจราชการหวั เมือง องค์ประกอบของการแต่งกายท่ีสำคัญอีกประการหน่ึงโดยเฉพาะสำหรับสตรีก็คือเคร่ืองประดับ ดังจะเห็นได้จากเมื่อคร้ังเสด็จประพาสต่างประเทศครั้งใด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จ พระราชดำเนินไปทอดพระเนตรร้านขายเคร่ืองประดับเพ่ือจัดซื้อมาพระราชทานแก่ฝ่ายในท่ีทรงโปรดปราน โดยเฉพาะในคราวเสดจ็ พระราชดำเนนิ ประพาสยโุ รปทง้ั ๒ ครง้ั ในครง้ั แรก พ.ศ. ๒๔๔๐ นนั้ พระราชหตั ถเลขา ที่มีพระราชทานมายังสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงกล่าวถึงการแต่งกายและ วิธีการประดับเครื่องเพชรรูปแบบต่างๆ ของพระราชวงศ์ฝ่ายในของยุโรปเพื่อเป็นแบบอย่างในการแต่งพระองค์ ของสมเด็จพระบรมราชินีสืบต่อไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดซ้ือเครื่องประดับต่างๆ ทงั้ ชดุ เพชร อญั มณี รวมทงั้ ไข่มุก ซง่ึ มที ั้งศริ าภรณ์ สร้อยพระศอ ตมุ้ หู เขม็ กลดั กำไล สรอ้ ยข้อมือและแหวน เพ่ือพระราชทานแก่พระบรมราชินีนาถเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏในหนังสือ “กำเนิดวังปารุสก์” ของพระเจ้า 470

วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ท่ีกล่าวถึงเครื่องประดับในสมเด็จย่าของพระองค์ซ่ึงมีหลากหลายรูปแบบ และนานาประเภท ส่วนในคราวเสดจ็ ประพาสยโุ รปครงั้ ท่ี ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ ทรงจดั ซอื้ เครอื่ งประดับจำพวก เพชรและอัญมณีรูปแบบท่ีกำลังนิยมอยู่ในขณะนั้น เช่น โช้กเกอร์ สร้อยคอ กำไล แหวน รวมทั้งนาฬิกาตา่ งๆ เพื่อพระราชทานแก่พระมเหสี พระธิดา และเจ้าจอมที่ทรงโปรดปรานอีกจำนวนหน่ึงด้วย ดังปรากฏในหนังสือ พระราชนพิ นธ์ “ไกลบา้ น” และ “อตั ตชวี ประวตั ิ” ของเจา้ จอมสดบั ลดาวัลย ์ ส่วนการแต่งกายในเวลาอื่นๆ ของเจ้านายขุนนาง รวมท้ังในชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไปก็ยังคง เป็นแบบดงั้ เดิม โดยนุ่งโจงดว้ ยผา้ ฝา้ ยพ้ืนหรือลาย สตรจี ะห่มผา้ สไบเฉยี งหรือผ้าแถบ สำหรบั ผ้าลายน้ันแต่เดมิ จะส่ังจากอินเดีย หากเม่ืออังกฤษเข้าครอบครองอินเดียและควบคุมธุรกิจสิ่งทอของอินเดีย ประกอบกับ การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ จึงทำให้มีกิจการทอผ้าป้อนตลาดเอเชียในหลายพ้ืนท่ีของยุโรป ในพระราชนิพนธ์ “ไกลบ้าน” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงเรื่องน้ีไว้ในตอนเสด็จ ประพาสเมอื งซรู คิ สวติ เซอรแ์ ลนด์ เมอ่ื วนั ที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ วา่ “...เมอื งซรู คิ ...มโี รงจกั รรายรอบ... ของท่ีเข้าไปเมืองเรา เช่น ผ้าพื้น ผ้าลาย ท่ีเรียกว่าผ้าฝรั่งแล้ว ไปจากนี่ท้ังนั้น...ไม่ได้ซ้ือขายกันที่น่ี ทำส่งแต่ที่ บางกอกแห่งเดียว นอกนนั้ ทำแพรทำผา้ ดอก ทำลูกไม้...ผ้าโสรง่ ไหมมลายู ผา้ โสรง่ เขียนขผ้ี งึ้ ชวา...” การแต่งกายของสตรสี ามญั ชน 471

ในส่วนของการพัฒนาบุคลิกภาพท่ีสำคัญคือ เร่ืองของการขัดฟันให้ขาว โดยเฉพาะในวาระที่จะต้อง เสดจ็ พระราชดำเนนิ ไปกระชับสมั พนั ธไมตรกี บั ดนิ แดนตา่ งๆ ท้ังนเ้ี พื่อมิใหด้ แู ปลกแตกต่างจนทำให้ชาวตะวันตก ดูแคลนได้ ซึ่งการขัดฟันและการงดกินหมากในช่วงเสด็จประพาสน้ี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังโปรดเกล้าฯ ให้คณะผู้ตามเสด็จต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัดด้วย ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาคราวเสด็จ พระราชดำเนนิ ประพาสยโุ รปใน พ.ศ. ๒๔๔๐ พระราชทานสมเดจ็ พระนางเจา้ เสาวภาผอ่ งศรี พระบรมราชนิ นี าถ ฉบบั วันที่ ๗ เมษายน ร.ศ. ๑๑๖ ความว่า ...การใหญใ่ นเร่ืองขัดฟันประดกั ประเดดิ เต็มที วันนีเ้ กอื บจะวา่ ถยู ังค่ำได้ ตอ้ งสำเรจ็ กนั ดว้ ยมดี พอหนิ ปูนหมดข้างนอก แตย่ งั เครอะคระนา่ เกลียด ฉนั เหน็ อัศจรรย์ทหี่ นิ ปูนเข้าใจ ว่าน้อย พอขูดแล้วฟันเล็กลงเปนกอง แม่เล็กทายถูกว่าหน้าคงไม่บ้านัก...เร่ืองฟันประดัก ประเดิดเต็มที.....หมอแกว่าฉันฟันขาวดูหนุ่มขึ้นเหมือนอายุสัก ๓๐ ปี กรมสมมตแกก็ว่า เหมือนกนั ...แต่ถา้ ขาวที่บ้านเห็นจะเหยเก ที่น่มี ันขาวไปดว้ ยกันหมดดูไม่เปนไร... การพัฒนาบุคลิกภาพที่สำคัญอีกประการหน่ึงในสมัยนี้คือ การรู้จักการเข้าสมาคมในสังคมแบบชนช้ัน ผู้ดีของชาวยุโรป เมื่อสยามจำเป็นต้องคบค้าสมาคมกับชาวตะวันตก จึงต้องเรียนรู้กิริยามารยาทระเบียบปฏิบัติ ในทกุ ๆ ขน้ั ตอน ทง้ั นรี้ ะดบั พระราชวงศต์ ลอดจนตระกลู ขนุ นางระดบั สงู เรมิ่ ไดร้ บั การฝกึ ฝนมาตงั้ แตร่ ชั กาลกอ่ น ต่อมาการเข้าสมาคมแบบผู้ดียุโรปแพร่หลายมากขึ้นในรัชกาลนี้เนื่องจากความจำเป็นท่ีจะต้องไปรับราชการหรือ ไปศึกษาตอ่ รวมท้งั จัดการตอ้ นรับคณะทตู และพระราชอาคันตุกะ และที่สำคัญคอื การตามเสด็จในเวลาประพาส ต่างประเทศ ซ่ึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใส่พระทัยกวดขันคณะตามเสด็จอย่างใกล้ชิด ทงั้ มารยาทในการทักทาย การสนทนา การนงั่ โต๊ะรับประทานอาหาร การชมความบนั เทงิ โดยเฉพาะในการพูด และความเขา้ ใจในภาษาอังกฤษ อาหาร การบริโภคอาหารของคนไทยสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของวิถีชีวิต ความคิดและจิตวิญญาณของ ความเป็นไทย เดิมคนไทยจะบริโภคข้าว ปลา และผักพ้ืนบ้านเป็นอาหารหลัก ประกอบด้วยผลไม้ต่างๆ ตามฤดูกาล แต่ในสมัยอยุธยาสังคมไทยมีโอกาสรับและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารการกินจาก ชาวตา่ งชาติท่ีเขา้ มาค้าขายหรอื อพยพเข้ามาตั้งถน่ิ ฐาน ทั้งชาวจีน อินเดีย อาหรบั มอญ เขมร ลาว และยุโรป สมัยรัตนโกสินทร์ยุคปรับปรุงประเทศ ไทยเริ่มปรับเปล่ียนวิถีชีวิตเป็นแบบตะวันตก ส่งผลให้วิถีการ บริโภคแบบเดิมค่อยๆ เปลี่ยนไป เริ่มจากกลุ่มชนชั้นสูงและนักเรียนนอกที่เลิกวิธีการบริโภคท่ีนั่งล้อมวง รับประทานกับพื้น มีสำรับรวมอยู่ตรงกลาง และใช้มือเปิบข้าว หรือถ้าเป็นชนช้ันสูงจะมีสำรับแยกบริโภค เฉพาะรายบุคคล สำหรับวิถีการบริโภคแบบใหม่เปล่ียนเป็นการนั่งโต๊ะรับประทานอาหารพร้อมกัน มีผู้เสิร์ฟ อาหารทีละรายการสำหรับอาหารฝร่ัง หรือเป็นสำรับรวมแบบอาหารไทย - จีน ส่วนภาชนะเคร่ืองโต๊ะก็เปลี่ยน จากเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์หรือเคร่ืองถ้วยจีนเป็นจานชามแบบฝร่ัง รวมทั้งมีการใช้ช้อนส้อมตักข้าวและ กับข้าวแทนการเปิบด้วยมือ ตลอดจนมีเคร่ืองดื่มต่างๆ แทนการดื่มแต่น้ำเปล่า การเปลี่ยนแปลงน้ียังทำให้ต้อง มกี ารทำหอ้ งสำหรบั รบั ประทานอาหารด้วย 472

เคร่ืองโตะ๊ แบบยโุ รป การจดั โตะ๊ ดนิ เนอร์ ทพ่ี ระราชวงั ดุสติ 473

พระราชนิยมด้านอาหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏในเอกสารต่างๆ เป็น จำนวนมาก ท้ังในพระราชหัตถเลขา กระแสรับส่ัง ลายพระหัตถ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนบันทึกของ ข้าราชบริพารฝ่ายในร่วมสมัยที่ใกล้ชิด หลักฐานเหล่าน้ีแสดงให้เห็นว่าพระองค์โปรดเสวยพระกระยาหารแบบ คนสามญั เชน่ คนไทยทงั้ ปวง เชน่ นำ้ พรกิ แกง อาหารทะเลแหง้ ยำ ขนมจนี ขา้ วตม้ ฯลฯ ดงั เชน่ พระราชโทรเลข พระราชทานพระเจ้านอ้ งยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ลงวนั ที่ ๑๓ กันยายน ร.ศ. ๑๑๖ ความวา่ “ฉันมี ความประสงค์อย่างหน่ึงว่า เม่ือพระยารัษฎามารับฉันท่ีเมืองโคลมโบน้ัน ควรจะให้เอาจีนสำหรับทำกับเข้า มาด้วยสักคนหน่ึง แลให้มีเครื่องทำกับเข้าอย่างสามัญเช่นผักกาดเค็มแลเต้าหู้ย้ีเปนต้นมาด้วย อาหารชนิดนั้น จะเปนทพี่ อใจมาก แตม่ คี วามสำคญั ขอ้ หนง่ึ คอื เขา้ สารอยา่ งดตี อ้ งมมี าดว้ ยอยา่ ลมื เสยี ...” นอกจากนใี้ นพระราชนพิ นธ์ ไกลบ้าน ยงั มพี ระราชหัตถเลขาฉบบั ท่ี ๔๒ วนั ที่ ๑๙ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๖ ความวา่ ...เวลาคำ่ เปนดินเนอร.์ ..พอ่ ก็กนิ ไม่ได้มาก...เปนดว้ ยลำคอ ฤๅกระเภาะอาหารไมบ่ าน รับอาหารที่แห้งแขง แลรศเดียวเช่นน้ี...แต่ถ้าเข้าต้มฤๅเข้าสวยถูกลำคอเข้าดูมันแย้มโล่งลงไป ตลอดกระเภาะอาหาร...พ่อนอนหลับ..ไปต่ืนขึ้นด้วยความหิว.... นึกว่าจะแก้ได้ตามเคยคือ ดื่มน้ำ.....แล้วนอนสมาธิต่อไปใหม่...แลเห็นปลากุเราทอดใส่จานมาอยู่ท่ีไนยตา...ไข่เค็มเปน มันย่องมาโผล่ข้ึนแทน แล้วคราวนี้เจ้าพวกแห้งๆ...น้ำพริก มาเปนแถว...เปิดไฟฟ้าขึ้นอ่าน หนังสือจะให้ลืมพวกผีปลาผีหอยมาหลอก....ลงมือชักม่านดับไฟ พยายามจะหลับ...ในกำลัง นกึ อยนู่ น้ั เองเขา้ กบั แกงเผด็ โผลข่ นึ้ มาในไนยตาทหี่ ลบั ๆ ประเดยี๋ วไขเ่ จยี วจม้ิ นำ้ พรกิ ประเดย๋ี ว ทอดมันกุ้ง ปลาผัดแห้งอะไรพากันมาล้อหลอกเสียใหญ่ หลับตาไม่ได้ต้องลืม ลืมก็แลเห็น แกงเทโพหลอกได้ท้ังกำลงั ตน่ื ๆ เช่นน้นั จนชั้นยำแตงกวากพ็ ลอยกำเรบิ ดีแต่ปลาร้าขนมจีน นำ้ ยาฤๅนำ้ พรกิ สงสารไมย่ กั มาหลอก มีแต่เจ้ากะปิควั่ มาเมียงอยูไ่ กลๆ... จะเห็นได้ว่าในช่วงสุดท้ายของการเสด็จประพาสยุโรปคร้ังที่ ๒ น้ัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัวทรงระลึกถึงรสชาติของอาหารไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งทางกรุงเทพฯ ก็ได้จัดเตรียมการสนองพระราช- ประสงค์อย่างเต็มท่ี ตามหนังสือลายพระหัตถ์พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ฉบับวันท่ี ๒๗ กนั ยายน ทลู เกลา้ ฯ ถวายพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั คราวเสดจ็ ประพาสยโุ รป ร.ศ. ๑๒๖ เกย่ี วกบั การออกไปรบั เสดจ็ ทีโ่ คลัมโบ ลงั กา คือพระยารษั ฎานปุ ระดิษฐ์ (คอซิมบ้ี) ข้าหลวงเทศามณฑลภูเก็ต จะนำขา้ ว เกาเหลาพร้อมเคร่ืองประกอบอาหารและเจ้าพนักงานชายที่พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย ์ ทรงอบรมกวดขันให้ไปประกอบพระกระยาหารไทยถวายเป็นการส่วนพระองค์ ส่วนพระอัครชายา พระธิดา และข้าราชบรพิ ารฝา่ ยในอีกจำนวนหนึง่ จะไปรบั เสดจ็ ท่ปี ีนัง 474

พระอคั รชายาเธอ พระองคเ์ จ้าสายสวลภี ิรมย์ ในหอ้ งพระเครอ่ื งต้น ภายในหอ้ งพระเครือ่ งตน้ อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการเสวยพระกระยาหารท่ีแปลก แตกต่างไปของต่างชาติ โดยทรงนำมาเปรียบเทียบกับอาหารไทยท่ีใกล้เคียง ท้ังยังทรงศึกษาถึงเคร่ืองปรุง วิธีการปรุงโดยละเอียด และบันทึกไว้เพ่ือนำกลับมาทรงทดลองประกอบอาหารน้ันๆ นับเป็นตำรากับข้าวฝรั่ง ยุคแรกๆ โดยเฉพาะในคราวเสด็จพระราชดำเนินยโุ รป พ.ศ. ๒๔๕๐ พระราชหตั ถเลขาหลายฉบบั ทรงบรรยาย ถงึ พระกระยาหารทมี่ ชี อ่ื เสยี งของภตั ตาคารในยโุ รป เชน่ ฉบบั ที่ ๒๔ วนั ที่ ๒๐ มถิ นุ ายน ทรงกลา่ วถงึ ภตั ตาคาร ในปารสี ทม่ี ีช่อื เสยี งในการทำเป็ดอดั ดงั นี้ 475

476

...ต้ังต้นแต่ฆ่าเป็ดถอนขนแล้วเอาเข้าเตาย่าง...เอาเคร่ืองอัดมาตั้งไว้ริมโต๊ะ แล้วตั้ง ถาดแลเตาออลกอฮอท่ีรองถาด...มีเปลซ้อด ๒ เปลซึ่งรับเลือดเป็ดฤๅน้ำท่ีย่างเป็ดมาจาก เตา...แรกมาถึงก็ลงมือห่ันขาออกก่อน...แล้วฝานน่าอกเปนชิ้นบางๆ วางลงในถาดปนกับ โลหิตซ่ึงจะเปนน้ำซ้อด ห่ันปีกด้วย ครั้นห่ันเสร็จแล้วถลกหนังด้านข้างหลังแลตัดก้นออกท้ิง เสียเอาแตต่ ัว ทาเกลือพริกไทยมาก แล้วตัดกลางเปนสองท่อน เอาลงในเคร่ืองอดั แล้วหมุน เคร่อื งอดั ให้เลอื ดเดินลงไปในถาดจนหมด แลว้ จงึ จุดตเกยี งดวงเดียวกอ่ น ภายหลังจึงเอามอื จ้ิมออลกอฮอ จุดไฟไปจุดอีกดวงหน่ึง คราวนี้พอน้ำที่ในถาดนั้นร้อนก็ตักรด แลกลอกปาก ถาดด้วยเหตุใดไม่รู้ รดบ้างคนบ้างไปจนซ้อดนั้นค่น แล้วจึงเติมโลหิตลงไปอีก รดไปใหม่ กลอกไปใหม่ แล้วก็เรียงเน้ือเป็ดลงในถาดน้ัน โรยพริกไทยอีกชั้นหนึ่ง แล้วจึงได้ยกมาเลี้ยง เป็ดนั้นสุกดี...ของแกอร่อยมาก...ขาเป็ดท่ีเอาไปย่าง ใช้ย่างแห้ง...คราวนี้ถึงของหวาน ลูกไม้ ต่างๆ คือ สตรอเบอรีใหญ่ สตรอเบอรีเล็ก ลูกแปร์ เชอรี คว้านแลหั่นเปนช้ินเล็กๆ ผสม น้ำตาล เจือปอตไวน์ แล้วเอาเข้าในตูน้ ำ้ แขง็ ให้เยน็ ... ส่วนฉบับที่ ๓๘ วันที่ ๑๗ กันยายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบรรยายเปรียบ เทียบถึงวิธีการบริโภคอาหารในเรสเตอรองต์ขนาดเล็กกับภัตตาคารในโรงแรม หรือเวลามีงานเล้ียงเพื่อ พระราชทานความร้แู กส่ มเดจ็ หญงิ นอ้ ย ดงั น ้ี ...ครัวเรสเตอรองต์เช่นน้ีไม่ใช่ครัวใหญ่อะไร...ไปถึงเอาบาญชีกับเข้ามาให้เลือก... แล้วก็ไปลงมือทำ เวลาท่ีนั่งคอยอยู่น้ัน กินของแกล้ม...ไปพลางกว่ากับเข้าจะมา กับเข้าที่เอา มานั้นมาในหม้อฤๅภาชนะที่ทำน้ันเอง เพราะฉะน้ันของกินจึงร้อนเสมอ...ถ้ากินที่โฮเตล ต้อง คอยใหก้ ินแล้วกนั หมดจึงจะมาเกบ็ จาน แล้วจึงจะตง้ั จาน ตั้งจานแลว้ เอาของมายังตอ้ งมาตง้ั นิง่ เสียที ให้สญั ญาอาณัตกิ ันท่ีจะออกแจกให้พร้อมกนั อะไรๆ กไ็ มย่ ากเทา่ ท่จี ะเร่งใหเ้ ลีย้ งให้ ไดเ้ รว ถ้าปล่อยไปตามเรอื่ งเขา เกอื บ ๒ ชั่วโมงจึงจะแลว้ น่งั เสียเจ็บหลงั ... ความสนพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะรูปแบบ และรสชาติของพระกระยาหาร หากยังรวมถึงเครื่องปรุงและวิธีการปรุงเพื่อนำมาเผยแพร่ให้ฝ่ายในนำไปลองทำ ย่ิงกว่าน้ันพระองค์ยังโปรดท่ีจะปรุงพระกระยาหารด้วยพระองค์เอง โดยเฉพาะในช่วงเสด็จประพาสต้น เช่น ทรงทำข้าวตม้ สามกษตั ริย์ และช่วงท่เี สด็จมาประทับที่พระราชวงั ดสุ ิต ทัง้ นอ้ี าจเพราะในขณะนัน้ พระราชภารกจิ อันหนักหน่วงในการบริหารปกป้องบ้านเมืองเริ่มเข้าที่ ประกอบกับพระโอรสหลายพระองค์ได้เจริญพระชนม์ พอจะรับราชการสนองพระราโชบายได้ แต่ท่ีสำคัญคือการประกอบอาหารทำให้ทรงสำราญพระทัยจากเหต ุ ทีพ่ ระพลานามัยเรม่ิ ทรุดโทรมด้วย บันทกึ ความทรงจำของหม่อมเจา้ หญิงจงจิตรถนอม ดศิ กลุ ได้ทรงเลา่ ไวว้ ่า “...พระเจ้าอยหู่ ัวทรงโปรด ทำกับข้าวต้ังแต่ประพาสต้น เม่ือเสด็จกลับแล้วก็ยังทรงทำอยู่ วันหน่ึงเมื่อประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ทรงโปรดทำขนมจีนน้ำยาเสวยพระกระยาหารท่ีห้องเขียว...” ส่วนอีกตอนหนึ่งกล่าวถึงงานพิธีเสด็จขึ้น พระตำหนัก “เรือนต้น” ว่า 477

...การข้ึนเรือนต้นน้ัน...อาหารที่ทำท้ังคาวหวานล้วนแต่เป็นฝีพระหัตถ์พระเจ้าอยู่หัว ทรงทำ และเจ้านายท้ังฝ่ายหน้าฝ่ายใน...พระเจ้าอยู่หัวทรงหลนปลาร้า แกงเทโพ กรมหลวง ประจักษ์ศิลปาคม กรมหลวงสรรพสาตร์ศุภกิจ กรมหม่ืนมหิศรราชหฤทัย ทูลกระหม่อม พระองค์ชาย ทรงทำของคาว เสด็จพ่อ ทูลกระหม่อมอัษฎางค์ กรมพระสมมติอมรพันธ ์ หุงข้าว...ฝ่ายในสมเด็จพระปติ จุ ฉาเจ้าฯ หงุ ข้าว พระองค์เจ้าแขไขดวง พระองคเ์ จ้าพวงสรอ้ ย- สอางค์ ทรงทำกับข้าว ทูลกระหม่อมพระองค์หญิง สมเด็จหญิงใหญ่ สมเด็จหญิงเล็ก สมเด็จหญิงกลาง สมเด็จหญิงนอ้ ย ทรงทำของหวาน... จากบนั ทกึ ดงั กลา่ วจะเหน็ ไดว้ า่ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงโปรดและมคี วามเชย่ี วชาญ จนสามารถปรุงพระกระยาหารท่ีมีกรรมวิธีการปรุงที่ซับซ้อน นอกจากนี้ ยังโปรดท่ีจะทำพระกระยาหารฝร่ัง ด้วย ตามทห่ี ม่อมเจา้ หญิงจงจิตรถนอม ดิศกลุ ไดก้ ล่าวไวว้ า่ “...ตอ่ มาภายหลังทรงทำกับข้าวฝรง่ั ท่ีชัน้ ลา่ งหน้า เรอื นตน้ ริมคลอง ทรงตม้ หมแู ฮม ทรงทำไส้กรอก และคนาเปหนา้ ปทู ะเล...” พัฒนาการการบริโภคอาหารของคนไทยที่นิยมบริโภคอาหารฝร่ังและวิถีการบริโภคแบบใหม่ รวมท้ัง การทม่ี ีชาวต่างชาติเขา้ มาทำงานและประกอบอาชีพในกรุงเทพฯ มากขึน้ ทำให้มพี อ่ คา้ ทั้งฝรง่ั และจนี เขา้ มาจดั ตงั้ ห้างร้านจำหน่ายอาหารกระป๋อง เครื่องปรุง ผลไม้ ตลอดจนภาชนะและวัสดุอุปกรณ์เครื่องครัวและเครื่องโต๊ะ แบบตะวันตก ห้างร้านเหล่านี้ส่วนใหญ่จะต้ังอยู่ริมถนนเจริญกรุงแถบบางรัก สี่พระยา ซึ่งเป็นเขตชุมชน ชาวตะวันตกขนาดใหญ่ มีท้ังบ้านเรือน สถานทูต โรงแรม และโบสถ์คริสต์ อีกทั้งยังมีห้างร้านจำหน่ายสินค้า ทที่ นั สมยั อน่ื ๆ ด้วย การเปล่ียนแปลงวิถีการบริโภคอีกอย่างหน่ึงของคนไทยในรัชกาลต่อๆ มาคือ ความนิยมออกไป รับประทานอาหารนอกบ้านตามร้านอาหารหรือภัตตาคาร (เหลา) ท่ีตกแต่งอย่างหรูหรา ส่วนใหญ่เป็นร้าน ของคนจีน จำหน่ายท้ังอาหารฝร่ังและอาหารจนี นอกจากนี้ ยงั มีขา้ วต้มกยุ๊ ซึ่งเปน็ อาหารหลกั ของแรงงานชาวจนี จำนวนมากทอี่ พยพเขา้ มาประกอบอาชพี ในไทย ท่ีอย่อู าศัย ยา่ นที่อยอู่ าศัยใหม่ในปลายรชั สมัย พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ริมถนนสาทร วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทยโดยเฉพาะในเขต พระนครและภาคกลางจะเป็นแบบชาวน้ำ คือต้ัง บ้านเรือนชุมชนอยู่ริมลำน้ำและใช้ประโยชน์จาก สายน้ำทั้งการบริโภค อุปโภค และเป็นเส้นทาง คมนาคม สายน้ำจะเป็นแหล่งก่อเกิดคติความเชื่อ และขนบประเพณี ตลอดจนสภาพการดำรงชีพ อนั หลากหลาย พบหลกั ฐานทงั้ จากวรรณกรรม เอกสาร ของชาวต่างชาติ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมต่างๆ แตเ่ มอ่ื วทิ ยาการและเทคโนโลยแี บบตะวนั ตกแพรห่ ลาย เข้าสู่สังคมไทยตามนโยบายปรับตัวให้ทันสมัย ส่งผล 478

ให้วิถีชีวิตโดยเฉพาะด้านที่อยู่อาศัยเริ่มเปล่ียนแปลงไปโดยเฉพาะในหมู่ข้าราชการและพ่อค้าต่างชาติ ซึ่งได้ กระจายตัวไปค้าขายอยู่ท่ีตึกแถวหรือสร้างบ้านเรือนอาศัยริมถนนตัดใหม่ท่ีต่อเนื่องกับเขตเศรษฐกิจด้ังเดิม เพ่ือความสะดวกในการประกอบอาชีพ ขณะเดียวกันเรือนแพและตลาดน้ำที่เคยกระจายอยู่รอบกรุงก็ค่อยๆ แปรสภาพเป็นตลาดบก เนื่องจากสายน้ำเจ้าพระยามีเรือจักรกลแบบใหม่เข้ามามากข้ึน การอาศัยในเรือนแพ จงึ ไมส่ ะดวก อาคารที่พักอาศัยของประชาชนสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นยุค ของการปรบั ตัวใหท้ ันสมัยแบบตะวันตก มีการก่อสร้างท้ังตามแนวพระราโชบายและพระราชนยิ ม โดยทรงริเร่มิ จากองค์พระที่นั่ง พระตำหนัก และอาคารสถานที่ราชการต่างๆ ท่ีพักอาศัยในสมัยนี้มีการปรับปรุงรูปแบบและ นำเทคโนโลยีแบบตะวนั ตกมาใช้ รวมท้ังนำนายชา่ งสถาปนิกและวิศวกรยุโรปมาชว่ ยในการกอ่ สร้าง อาคารรูปแบบใหม่ในสมัยนี้แบง่ เป็น ๒ กลมุ่ คือ ๑. ตึกแถว เรือนแถว หรือเรือนพักอาศัยก่ึงร้านค้า ตั้งอยู่ริมถนนสำคัญในเขตพระนคร เช่น ถนนเจรญิ กรุง บำรุงเมอื ง เฟือ่ งนคร หรอื ยา่ นบา้ นฝรง่ั แถบบางรัก ในรูปแบบสถาปัตยกรรมจนี ผสมตะวันตก ทเี่ รยี กว่า สไตลช์ ีโน - โปรตกุ ีส กลา่ วคอื เป็นอาคารกอ่ อฐิ ถอื ปนู ๒ ชนั้ แต่บางแหง่ ชน้ั บนอาจเป็นไม้ อาคาร แบบน้ีสร้างต่อกันเป็นแถว เว้นด้านหน้าช้ันล่างเป็นทางเท้าภายในอาคาร แต่ละห้องจะมีบันไดขึ้นชั้นบนอยู่ ภายใน ส่วนครัวและหอ้ งน้ำอยดู่ ้านหลงั เหนอื กรอบประตหู น้าต่างเจาะเปน็ ช่องแสง หน้าตา่ งอาจใชไ้ ม้บานเกร็ด ประตูเป็นบานไม้หรือบานเฟีย้ ม ชายคาประดับไม้ฉลุลาย ๒. บ้านเดี่ยวท่ีใช้อยู่อาศัย ในสมัยน้ีมีความแตกต่างชัดเจนระหว่างบ้านเรือนของสามัญชนและเรือน ของผู้มีฐานะดีหรือวังของเจ้านาย แต่เดิมท่ีอยู่อาศัยของชาวสยามจะเป็นหมู่เรือนไทยเช่นเดียวกัน โดยมีข้อต่าง อย่ทู ่วี สั ดทุ น่ี ำมาปรงุ เรอื นและขนาดของเรือน วังหรือเรือนของผู้มีฐานะดีนิยมสร้างเป็นตึก ๒ ชั้นขนาดใหญ่ ก่ออิฐถือปูนท้ัง ๒ ช้ัน หรือก่อเฉพาะ ช้ันล่าง ส่วนช้ันบนเป็นไม้ ด้านหน้าตรงกลางทำเป็นมุข อาจเป็นรูปกลมหรือรูปหลายเหลี่ยม ปีก ๒ ข้างจะ เหมือนกัน บันไดใหญ่อยู่ด้านนอกทอดข้ึนชั้นบนตรงมุขกลาง ปูด้วยหินอ่อนหรือกระเบื้อง ราวบันไดเป็น ลูกมะหวด ด้านในมีบันไดไม้ขนาดเล็กสำหรับบริวาร หลังคาเป็นทรงมนิลาหรือทรงป้ันหยา ตกแต่งประดับจั่ว ด้วยไม้ฉลุลายท่ีเรียกว่าแบบขนมปังขิง มุงด้วยกระเบื้องแบบต่างๆ ส่วนใหญ่นิยมใช้กระเบ้ืองว่าวและมีรางน้ำ ประตูหน้าต่างเป็นบานคู่เปิดออกภายนอก เหนือกรอบประตูหน้าต่างทำเป็นช่องแสงและช่องลม ประดับด้วย ลวดลายไม้ฉลุหรือกระจกสี บางแห่งนิยมทำกันสาดไว้เหนือบานหน้าต่างด้วย ผนังด้านนอกอาจใช้ลายปูนปั้น ตกแต่งเป็นเสาหลอกท่ีมีบัวหัวเสาแบบกรีก - โรมัน ส่วนห้องครัว ห้องน้ำ จะสร้างแยกไว้ด้านหลังเรือนใหญ่ รวมท้งั เรือนบริวารอน่ื ๆ เรือนสามัญชนเริ่มมีการปรับรูปแบบของตัวเรือนในช่วงปลายรัชกาล อาจเป็นการเลียนแบบลักษณะ การก่อสร้างพระที่น่ังวิมานเมฆและเรือนของพวกมิชชันนารี เรือนไม้ปรุงใหม่ได้รับการพัฒนามากขึ้นในรัชกาล ต่อมา ลักษณะท่ีสำคัญคือเป็นบ้านไม้ ๒ ช้ัน บางแห่งยังคงปล่อยใต้ถุนโล่ง ช้ันล่างใช้เสาก่ออิฐถือปูน ช้ันบน เป็นเสาไม้ สว่ นเรอื น ๒ ช้ัน ชน้ั ล่างจะยกพ้ืนสงู จากพื้นดิน ใชเ้ สาไมท้ ้ังหมด มีผนงั ล้อมรอบโดยตลอดทง้ั ๒ ชน้ั 479

และอาจมีระเบียงไม้ที่ชั้นบน หลังคาเป็นทรงมนิลาผสมทรงปั้นหยา มุงด้วยกระเบ้ืองหรือสังกะสี มีรางน้ำ ชายคายื่นยาวกันฝน ติดแผ่นไม้ฉลุโดยรอบ ตรงหน้าจ่ัวมีช่องลมขนาดเล็ก ที่สำคัญคือฝาเป็นไม้กระดาน แนวนอนไว้ด้านนอกโดยใช้เคร่าต้ังไว้ภายใน ส่วนช่องระบายลมมีท้ังส่วนท่ีเป็นกรอบเหนือประตูหน้าต่าง หรือ อยู่ตอนบนของผนังใต้ฝ้าเพดานตลอดตัวบ้าน นิยมทำเป็นไม้ระแนงตีตารางหรือเป็นไม้ซีกแนวต้ัง บันไดอยู่ใน ตัวบ้าน ประตูหนา้ ตา่ งเป็นไม้หรอื บานเกร็ดบานคเู่ ปดิ ออก ด้านที่อยู่อาศัยที่แปรเปลี่ยนไปในยุคนี้อีกลักษณะหน่ึงคือ การจัดแบ่งพ้ืนท่ีใช้สอยเป็นห้องๆ ต่างจาก แบบเดิมที่เป็นอาคารโถงรวม ใช้สอยประโยชน์อเนกประสงค์ร่วมกัน หากจะก้ันแบ่งก็เป็นแบบช่ัวคราวโดยใช้ ฉากลับแลหรือตู้กั้น แต่เมื่อมีความนิยมก่อสร้างอาคารแบบตะวันตกรวมท้ังมีชาวตะวันตกเข้ามาอยู่อาศัย ประกอบอาชีพ และมีผู้สำเร็จการศึกษาจากยุโรปกลับเข้ามามากขึ้น การใช้ชีวิตแบบตะวันตกจึงได้แพร่หลาย ไปอย่างรวดเร็วเพราะเป็นการแสดงถึงสถานภาพในสังคมของบุคคลด้วย อาคารแบบยุโรปมีการกำหนด การใช้สอยพ้ืนท่ีเฉพาะเป็นห้องๆ เช่น ห้องรับแขก ห้องรับประทานอาหารใหญ่ ห้องทำงาน รวมท้ังห้องสมุด ห้องน่ังเล่นเฉพาะครอบครัว ห้องนอน และยังอาจเพ่ิมห้องพระ ห้องพักสำหรับแขก ส่วนห้องน้ำจะอยู่ด้านหลัง เรอื น และมเี รือนครวั แยกไปต่างหาก เรอื นสามญั ชน 480

การที่มีห้องเฉพาะกิจเช่นน้ี ทำให้เกิดความจำเป็นต้องมีเครื่องเรือนแยกชิ้นเฉพาะของแต่ละห้อง เช่น ห้องรับรองแขกซึ่งเป็นห้องท่ีแสดงถึงฐานะของเจ้าของบ้าน จึงต้องมีเครื่องเรือนและศิลปวัตถุอันมีค่า เช่น ชุดรับแขกอย่างดี ตู้โชว์สิ่งของมีค่าหรือของที่ระลึก กระจกเงาขนาดใหญ่ รูปภาพ เป็นต้น เคร่ืองเรือนเหล่าน้ี ในระยะแรกต้องส่ังจากยุโรปหรือสิงคโปร์ มีราคาสูงมากและมีใช้เฉพาะในพระบรมมหาราชวัง แต่ต่อมาได้มี บริษัทยุโรปเข้ามาจัดต้ังห้างร้านตัวแทนจำหน่ายและรับส่ังสินค้าในกรุงเทพฯ แต่ยังมีราคาสูง เป็นผลให้มีช่าง ไทย - จีนใช้ฝีมือทางด้านการช่างคิดประดิษฐ์พัฒนาเครื่องเรือนแบบฝร่ังข้ึน ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สถาปนิกและมัณฑนากรไทยท่ีมีช่ือเสียงในด้านการทำเคร่ืองเรือนและการตกแต่งก่อสร้างอาคารสถาปัตยกรรม ในยุคน้ีท่านหนึ่งคือ ม.ร.ว. เย็น อิศรเสนา (เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์) จางวางมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยหู่ วั ผลงานสำคญั ของท่านทป่ี รากฏในหนงั สอื “พระราชหตั ถเลขาพระราชทานเจ้าพระยา วรพงศ์พิพัฒน์และประวัติเจ้าคุณพ่อ” คอื การสนองพระราชดำริในการสร้างและซ่อมแซมพระที่น่ัง พระตำหนัก ต่างๆ ทั้งในพระบรมมหาราชวังและพระราชวังดุสิต โดยเฉพาะการจัดทำเคร่ืองเรือนที่เรียกว่า “ตู้เสาเกลียว” แบบยุโรปได้อย่างสวยงามไม่ด้อยไปกว่าของที่ผลิตในยุโรป นอกจากเคร่ืองเรือนแบบฝร่ังและที่ทำเลียนแบบ ฝร่ังแล้ว เคร่ืองเรือนของจีนท้ังแบบศิลปะไม้ประดับมุกหรือประดับหินอ่อน รวมท้ังเคร่ืองเรือนแบบฝร่ังที่สร้าง ในจีน ก็ได้รับความนิยมจากสังคมไทยยุคใหม่เช่นกัน โดยเฉพาะตามบ้านของข้าราชการไทยเชื้อสายจีนและ พอ่ คา้ จนี ทีม่ ัง่ คง่ั การจดั สวนและปลกู ตน้ ไม้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในเรื่องการปลูกไม้ประดับเพื่อตกแต่ง พระราชวังมาตั้งแต่ต้นรัชกาลแล้ว ดังจะเห็นได้จากการจัดสวนท่ีพระราชวังบางปะอิน ซ่ึงส่วนใหญ่จะเป็น ไม้หอมและไม้ดอกของไทย รวมท้ังการสร้างสวนสวรรค์บนชานเช่ือมพระที่น่ังอมรพิมานมณี กับตำหนัก สมเด็จพระบรมราชเทวใี นพระบรมมหาราชวงั ในหนงั สือ “ประวัติเจา้ คุณพอ่ ” (เจา้ พระยาวรพงศฯ์ ) ได้กล่าวถงึ ต้นไม้ท่ีทรงสนพระทยั ในขณะนัน้ คอื ตะโกดัด ซง่ึ เปน็ ไมท้ ีไ่ ดร้ ับความนิยมและมีการนำไปปลกู ตามวดั วงั เจา้ นาย และเรอื นขนุ นางอยา่ งแพรห่ ลาย นอกจากนกี้ ย็ งั มกี ารนำพนั ธไุ์ มจ้ ากตา่ งแดนมาปลกู ดว้ ย ดงั ในพระราชหตั ถเลขา ลงวันท่ี ๖ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่ังการให้เจ้าหมื่นเสมอใจ ยา้ ยตน้ ปาลม์ จากสวนสวรรคไ์ ปปลกู ขยายพนั ธใ์ุ นพระราชวงั ดสุ ติ ดว้ ย สว่ นฉบบั ลงวนั ที่ ๑๙ มนี าคม ร.ศ. ๑๑๘ ทรงกล่าวถึงต้นปาล์มและมะพร้าวจากชวาซ่ึงโตเต็มกระถาง แสดงว่าการปลูกต้นไม้ในพระบรมมหาราชวัง สว่ นใหญ่เปน็ ไม้กระถาง สว่ นท่พี ระราชวงั ดสุ ิตเปน็ การปลกู ลงดินและปลูกหญ้าเป็นสนามด้วย การปลูกต้นไม้ริมถนน แนวพระราชดำริด้านน้ีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่ม เหน็ ชัดเจนหลงั การเสดจ็ ประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ ทั้งน้ีเพราะในการเสด็จพระราชดำเนนิ คร้ังน้ัน พระองค์ได้ ทอดพระเนตรสวนสาธารณะ สวนประจำวงั ของราชสำนกั ตา่ งๆ ในยุโรป สวนปา่ และภูมทิ ศั น์อันงดงาม รวมท้ัง การปลกู ตน้ ไมป้ ระดบั รมิ ถนนทที่ ำใหเ้ กดิ ความรม่ รน่ื พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดป้ รบั แนวคดิ นี้ เข้ากับคตินิยมด้ังเดิมของไทย อาทิเช่น โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าเมืองต่างๆ นำต้นมะขามซ่ึงเป็นไม้มงคลมาปลูก รอบสนามหลวงและริมถนนราชดำเนิน ส่วนถนนตัดใหม่โดยรอบพระราชวังดุสิตน้ันก็ปลูกไม้หอมและไม้ผล 481

แบบไทย เช่น จำปี มังคุด รวมท้ังโปรดเกล้าฯ ให้นำต้นลำไย ลิ้นจี่ ซ่ึงเป็นไม้ใหม่หายากมาปลูกขยายพันธ์ุ จนเป็นผลไมไ้ ทยที่ไดร้ ับความนยิ มและเปน็ พืชเศรษฐกิจสบื มาถงึ ปจั จุบนั ในการเสด็จประพาสยุโรปทั้งสองคร้ัง นอกจากการเสด็จประพาสสวนรุกขชาติต่างๆ แล้ว พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ท่ีจะให้นำหน่อและเมล็ดพันธุ์ไม้ดอกอันงดงามท่ีสามารถปลูก ไดใ้ นเมอื งรอ้ นกลบั มาปลูกในไทย รวมทั้งพระราชทานพระบรมวงศานวุ งศฝ์ า่ ยหนา้ ฝ่ายในบางพระองค์ โดยได้ ทรงซักถามและบันทึกรายละเอียดเก่ียวกับวิธีเพาะปลูกและการบำรุงรักษาจากผู้ดูแลสวนต่างๆ แสดงถึงความ โปรดปรานใส่พระทัยในเร่ืองการปลูกต้นไม้อย่างแท้จริง ไม้ดอกซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยน้ันคือ ดอกกุหลาบนานาสีหลากหลายพันธุ์ท่ีแพร่หลายไปท่ัวประเทศ ประจักษ์พยานคือกุหลาบสีชมพูท่ีพระราชชายา เจ้าดารารัศมีโปรดฯ ให้เพาะพันธ์ุขึ้นที่เชียงใหม่และให้ชื่อว่าพันธุ์ “จุฬาลงกรณ์” หลักฐานที่แสดงถึงความรัก ต้นไม้ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกอย่างหน่ึงคือ การที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือนกระจก สำหรับปลกู พนั ธไ์ุ มใ้ หมๆ่ ที่ทรงนำจากยุโรปไวท้ ่ีท้ายพระทน่ี ัง่ วิมานเมฆ เรียกชอ่ื วา่ “โรงเฟริ น์ ” โรงเฟิร์น พระท่นี ่ังวมิ านเมฆ พระราชวังดุสติ ความบันเทงิ วิธีผ่อนคลายความเคร่งเครียดในรัชสมัยน้ีตามพระราชนิยมน้ันจะเห็นได้ว่ามีหลายรูปแบบและมี พฒั นาการคลค่ี ลายไปตามสภาพการณ์และความนิยมของยุคสมัย ดงั น ี้ การละเล่นมหรสพ พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อย่หู ัวโปรดเกลา้ ฯ ใหย้ กเลกิ การแสดงมหรสพ พิธีหลวงบางประเภท อาจเน่ืองจากทรงเห็นว่าใช้เวลาการแสดงนานเกินไป ประกอบกับขาดแคลนผู้เล่นระดับ ต่างๆ ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ราชสำนักนับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ยุติการฝึกหัด ละครหลวง ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเร่ิมฝึกละครในเม่ือต้นรัชกาล แต่มิได้ดำเนินไป อย่างต่อเน่ือง ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงร้ือฟ้ืนกิจการละครหลวงข้ึนอีก เป็นผลให้มหรสพบางประเภทเสื่อมความนิยมไป เช่น หุ่นหลวง หนังใหญ่ อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงใส่พระทัยในนาฏยกรรมและดนตรีไทย ดังท่ีปรากฏใน “เร่ืองบ่อเกิดของ พระราชนพิ นธ์เงาะป่า” ในหนังสืออตั ตชีวประวัติของเจ้าจอม ม.ร.ว. สดบั ลดาวัลย์ ความวา่ 482

...ท่านองค์เล็กทรงรับผิดชอบในหน้าที่ถวายพระราชอุปฐากในระยะนี้ไม่ใคร่ทรง พระสำราญพระอนามัย......ท่านทรงคิดค้นเอาหนังสืออิเหนาขึ้นมาให้ข้าหลวงร้องพอได้ยิน เสียงแว่วๆ....ตั้งแต่เวลาประมาณยามถึงเวลาเสด็จขึ้นในที่พระบรรทม.........ระยะนั้นเป็นสมัย ที่ทรงซักไซร้ไล่เลียงชีวประวัติของพวกนายคนัง...จึงทรงเขียนบทคนัง...ให้คนที่น่ังร้อง ลองร้องดู มีพระราชดำรัสว่าให้เอาอิเหนาเป็นหลัก...กิจการเรื่องน้ีกว้างออกไป จึงทรง พระราชนิพนธ์เร่ืองเงาะปา่ พระราชทานใหพ้ วกครูบรรจุเพลงประจำบท แตบ่ ทพิเศษ...ทรงมี พระบัญชาโดยตรง...สังเกตว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงสนพระราชหฤทัย ละเอียดกวดขนั ในเรื่องให้รอ้ งชดั คำไมเ่ ปน็ อกั ขระวบิ ตั ิ และใหม้ ีชีวติ ชวี ามากกว่าทำนอง... ในส่วนการแสดงต่อสาธารณชนโดยเฉพาะในการรับรองพระราชอาคันตุกะและคณะทูตานุทูตน้ัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามที่จะนำศิลปวัฒนธรรมแขนงน้ีมาแสดงให้ชาวต่างชาติ ตระหนักในความสามารถอันสูงส่งของศิลปินไทย แต่ขณะเดียวกันพระองค์ก็เข้าพระทัยดีว่าชาวต่างชาติอาจ ไม่เข้าใจในท่วงท่าลีลาและเน้ือหาทั้งหมดได้ พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ดัดแปลงทั้งรูปแบบการแสดง วิธีการ แสดงและการนำเสนอ ให้คล้ายคลึงกับของชาวตะวันตก เช่น จัดทำสูจิบัตรอธิบายส้ันๆ จัดแสดงเฉพาะตอน ที่กระชับรวดเร็ว และมีการแสดงหลายชุดแบบรีวิวและมีฉากประกอบ โดยมีเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ เป็นผู้รับสนองพระราชดำริ ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ ได้เปิดการแสดงลักษณะน้ีท่ีโรงละครของท่าน มีพ่อค้า ประชาชนท่วั ไปสนใจเข้าชมเป็นอันมาก ต่อมาเมื่ออิทธิพลวรรณกรรมและละครแบบตะวันตกแพร่หลายเข้ามาในสังคมไทยมากข้ึน จึงมีผู้คิด ดัดแปลงแก้ไขการแสดงแบบฝร่ังและไทย จนกลายเป็นรูปแบบการแสดงแบบใหม่ซึ่งเป็นท่ีนิยมในรัชกาลต่อมา เป็นอย่างมากคือ “ละครร้อง” โดยให้ตัวแสดงแต่งกายตามสมัยนิยม ใช้การร้องเป็นการบอกเล่าเน้ือหา แต่ไม่ต้องมีการร่ายรำ ตัวแสดงเอกใช้ผู้หญิงทั้งหมด คณะละครสำคัญคือคณะของคุณหญิงเล่ือนราชฤทธ์ิ ซ่ึงพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หวั โปรดเกลา้ ฯ ให้นำเขา้ มาแสดงในพระราชวงั ดุสิตหลายคร้ัง สว่ นอีก คณะหน่ึงคือของกรมหมน่ื นราธิปประพันธ์พงศ์ แสดงเรือ่ งดัดแปลงจากชาดกผสมเหตกุ ารณ์ในยุคนน้ั งานรื่นเริงการแสดงที่เป็นส่วนพระองค์ในราชสำนักคือ การโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายและข้าราชบริพาร ฝ่ายในแต่งแฟนซีประกวดในงานเทศกาลรื่นเริงต่างๆ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันประสูติ หรือวันขึ้น พระที่น่ังพระตำหนักใหม่ ซ่ึงจะจัดขึ้นเป็นประจำ ดังปรากฏหลักฐานจากรูปถ่ายที่เจ้านายทรงฉลองพระองค์ แบบแปลกๆ แตกต่างกันไป บางครั้งยังจัดให้มีประกวดชิงถ้วยรางวัลด้วย ต่อมาพระราชนิยมดังกล่าวค่อยๆ แพร่หลายไปตามวงั เจา้ นาย ข้าราชการ และประชาชนในทสี่ ดุ ส่วนใหญม่ กั จะจดั ข้ึนเวลารวมเปน็ หมคู่ ณะใหญๆ่ เชน่ ในสถานที่ราชการหรือตามโรงเรียนในชว่ งเทศกาลร่ืนเรงิ งานร่ืนเริงของสังคมสยามยุคใหม่ที่นับเป็นงานใหญ่ คืองานฉลองสมโภชวัดเบญจมบพิตรซ่ึงสร้าง สำเร็จใน พ.ศ. ๒๔๔๗ ในการนโ้ี ปรดเกล้าฯ ใหจ้ ดั งานฉลองสมโภช ขณะเดียวกันกเ็ ปน็ การหาทนุ สมทบเพ่ือจัด สร้างเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ จนกลายเป็นธรรมเนียมท่ีต้องจัดงานน้ีเป็นประจำทุกปี โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดออกร้านจำหน่ายและแสดงสินค้าแปลกและทันสมัย มีการขายอาหาร การแสดงต่างๆ ที่สำคัญคือ โปรดเกล้าฯ ใหม้ ีการออกรา้ นถ่ายรูปของหลวง มกี ารจัดประกวดรปู ถา่ ย และงานฝีมือเกา่ ใหมผ่ ลัดเปลีย่ นกนั ไป 483

นับว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้แก่ประชาชนที่มีโอกาสเข้าร่วมงานท่ีจัดโดยราชสำนัก นอกจากนี้ ในงาน ดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้สตรีเข้ามาร่วมชมงานตลอดจนร่วมในการออกร้านค้าต่างๆ ด้วยซึ่งมีทั้งร้านของ เจ้านาย ข้าราชการ พ่อค้าจีน พ่อค้าฝร่ัง นับเป็นงานร่ืนเริงยอดนิยมของยุคนั้นที่จัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม แต่ต่อมาเม่ือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต งานน้ีได้เล่ือนมาจัดวันที่ ๒๓ ตุลาคม ทำให้ พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงไมพ่ อพระทยั วา่ ไมค่ วรจะมงี านรนื่ เรงิ ในวนั ดงั กลา่ ว จงึ ทรงประกาศ ยตุ ิการจัดงานวัดเบญจมบพิตร การท่องเท่ียวตากอากาศ การท่องเท่ียวรูปแบบเก่าของคนไทยคือ การไปเยี่ยมญาติพ่ีน้องซึ่งก็ เป็นการเดินทางท่ีไม่ไกลนักเพราะส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนอยู่ในละแวกใกล้เคียงกัน สำหรับชาวกรุงอาจจะ เป็นการไปเย่ียมญาติท่ีมีเคหสถานอยู่ในสวนแถวฝั่งธนหรือขึ้นไปถึงเมืองนนท์หรือลงมาแถบพระประแดง และปากน้ำ แต่ในส่วนราชสำนัก การเสด็จประพาสนอกเขตราชธานีท่ีเป็นประเพณีสืบมาแต่สมัยอยุธยา อย่างหน่ึงคือ การไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี และสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาซึ่งเริ่มในสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากน้ี พระองค์ยังโปรดการเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลทั้งฝ่ังตะวันตก และตะวันออกของอ่าวไทย โดยมีเรือกลไฟแบบตะวันตกเป็นราชพาหนะ การเสด็จประพาสจึงทำได้สะดวกข้ึน ดังปรากฏมีการบูรณะก่อสร้างพระราชวังเป็นท่ีประทับประจำในหัวเมือง ท้ังที่อยุธยา ลพบุรี เพชรบุรี ในการ เสดจ็ พระราชดำเนินเกือบทุกคร้งั สมเด็จพระเจา้ ลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ได้โดยเสดจ็ ดว้ ย ด้วยเหตุน้ีเม่ือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จข้ึนครองราชย์แล้ว จึงโปรดการเสด็จ ประพาสหัวเมืองอยู่เป็นประจำ เช่น เสด็จข้ึนไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ในช่วงต้นรัชกาลยังต้องเสด็จ โดยกระบวนม้าและกระบวนช้าง แต่พอถึงปลายรัชกาลได้ทรงเปล่ียนมาเสด็จด้วยรถไฟที่มีเอกชนจัดสร้าง (สายท่าเรือ - พระพุทธบาท) ส่วนการเสด็จประพาสท่ีอื่นๆ ทรงใช้กระบวนเรือ ถ้าเป็นการเสด็จตามลำน้ำ จะมีเรือจักรลากโยงเรือพระที่นั่งและเรือพระประเทียบ จนปลายรัชกาลในการเสด็จประพาสต้นได้โปรดเกล้าฯ ใหต้ ่อเรือเกง๋ แจวและเรือเก๋งจักร แต่หากเป็นการเสดจ็ ประพาสทางทะเลโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เรอื เดินทะเลซง่ึ จดั ซื้อ จากบรษิ ทั ตา่ งชาติ เช่น เรือมหาจกั รี เรือมกฎุ ราชกมุ าร เรืออรรคราชวรเดช ต้นรัชกาลสถานที่ซ่ึงเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับเป็นประจำคือพระราชวังบางปะอิน นอกจากน้ียัง โปรดเกล้าฯ เสด็จประพาสน้ำตกแถบเมืองกาญจน์ (ไทรโยค) และหัวเมืองชายทะเลฝ่ังตะวันออกโดยเฉพาะ แถบจังหวัดจันทบุรี จนมีการสร้างพระราชวังที่เกาะสีชังอีกแห่งหน่ึง ด้วยเหตุผลว่าภายในพระบรมมหาราชวัง ค่อนข้างแออัดคับแคบ อากาศร้อนอบอ้าว ไม่เป็นผลดีต่อพระพลานามัยเท่าใดนัก การเสด็จแปรพระราชฐาน จึงเป็นผลดีต่อพระพลานามัยท้ังของพระองค์เองและพระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบกับในสมัยนี้มีชาว ตา่ งประเทศเขา้ มารับราชการและประกอบกจิ การค้าในกรงุ เทพฯ มากขน้ึ จงึ มสี ว่ นชว่ ยในการขยายคา่ นยิ มในการ ออกไปพักผ่อนตากอากาศตามหัวเมืองชายทะเล หรือไปท่องเที่ยว ตามหัวเมืองต่างๆ เป็นเหตุให้เจ้านาย ข้าราชการที่สุขภาพไม่ดีนิยมออกไปพักผ่อนตากอากาศระยะยาวในหัวเมืองชายทะเล เช่น สมเด็จพระนางเจ้า สว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เสด็จไปประทับที่ศรีราชา เป็นต้น และได้กลายเป็นความนิยมต่อเนื่องถึงรัชกาล ต่อๆ มาทจ่ี ะตอ้ งมกี ารหยุดพกั ผอ่ นไปตากอากาศชายทะเลในช่วงฤดูร้อน 484

เรือพระท่ีนง่ั ทใ่ี ช้ในการเสดจ็ ประพาสตน้ ฝา่ ยในตามเสดจ็ ประพาสหัวเมือง 485

ในปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเป็นการส่วนพระองค์ และเสด็จตรวจราชการตามหัวเมืองต่างๆ ท้ังในภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกอยู่เป็นประจำ ด้วยทรงมี พระราชประสงค์จะทอดพระเนตรวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนและบ้านเมือง โดยเฉพาะเพ่ือทรงตรวจผลจาก พระราโชบายในการปฏริ ปู ประเทศวา่ มคี วามสมั ฤทธผิ ลเพยี งใด ดงั ปรากฏหลกั ฐานในจดหมายเหตเุ สดจ็ ประพาส ตน้ และภาพเกา่ ในหวั เมอื งต่างๆ ท่ีทรงฉายด้วยพระองคเ์ อง เป็นขอ้ มูลสำคญั ดา้ นประวตั ศิ าสตร์ในปจั จบุ นั นอกจากการเสด็จประพาสในประเทศแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรม- วงศานวุ งศย์ งั โปรดทจ่ี ะเสดจ็ ประพาสตา่ งแดนเปน็ การสว่ นพระองคอ์ กี หลายครง้ั โดยเฉพาะการเสดจ็ ประพาสชวา ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ และ พ.ศ. ๒๔๔๔ ซ่ึงมีฝ่ายในตามเสด็จด้วยทั้งสองครั้ง การท่องเที่ยวในช่วงหลังได้ขยาย ขอบเขตไปถึงการทอ่ งเที่ยวเชงิ วัฒนธรรม คอื ศึกษาเชิงประวตั ศิ าสตร์และโบราณคดดี ้วย การเล่นกีฬา ความบันเทิงอีกรูปแบบหน่ึงท่ีเกิดขึ้นในยุคนี้คือ ด้านการกีฬาและการออกกำลังกาย ซึง่ เป็นค่านิยมแบบตะวนั ตกทจ่ี ะพยายามจัดกจิ กรรมกลางแจง้ เนื่องจากความจำกดั ของสภาพภูมอิ ากาศ สำหรบั ชาวไทย การเล่นกีฬาส่วนใหญ่จะเน้นในเชิงการต่อสู้และการแข่งขันของเพศชาย เช่น การชกมวย การแข่งเรือ จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชสำนักฝ่ายในนิยมออกกำลังกลางแจ้งมากข้ึน กีฬา ทไ่ี ดร้ บั ความนยิ มอยา่ งมากคอื การเลน่ โครเกตซ์ ง่ึ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง สนามเล่นกีฬาน้ีไว้ในบริเวณสวนศิวาลัย ข้างสระเต่า จึงปรากฏภาพถ่ายของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในท่ีทรง พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัวทรงกีฬาโครเกตร์ ว่ มกับฝ่ายใน ในพระบรมมหาราชวงั 486

เพลิดเพลินกับกีฬาน้ี โดยเฉพาะในช่วงท่ีสมเด็จ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินระหว่าง ท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ ประพาสยุโรปใน พ.ศ. ๒๔๔๐ นอกจากน้ี ยังมีการ เลน่ แบดมนิ ตัน และเทนนิส รถยนต์เปน็ ยานพาหนะทเ่ี ริ่มไดร้ บั ความนยิ มในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอย่หู ัว หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงริเร่ิมสร้างพลับพลาและพระท่ีนั่งในพระราชวังดุสิต รวมทั้งมีการ ตัดถนนราชดำเนินและถนนอื่นๆ เช่ือมพระราชวังน้ีกับในเมืองและวังเจ้านายอ่ืนๆ ได้เกิดความนิยมใช้จักรยาน เป็นพาหนะในการเดินทางไปตามวังและสถานท่ีต่างๆ ซึ่งเท่ากับเป็นการออกกำลังกลางแจ้งท่ีดีอย่างหนึ่ง หม่อมศรพี รหมา กฤดากร ณ อยธุ ยา กล่าวถึงเหตกุ ารณ์ช่วงนไ้ี ว้ในหนงั สอื “ชีวติ ในวังสมัยพระจุลจอมเกลา้ - เจ้าอยู่หัว” ว่า “...เม่ือถึงสมัยถีบรถจักรยาน สมเด็จ...ทรงซื้อรถประทาน...แล้วก็หัดกันเอง...ขณะนี้ทรงสร้าง สวนดุสิตใหม่ๆ...สมเด็จจึงเสด็จไปประพาส...แทบทุกวันก็ว่าได้ วันเสาร์เด็กๆ ได้ตามเสด็จกัน...” และ “...สมัย นั้นมีการต่ืนถีบรถจักรยานกันอย่างสุดขีด เจ้านายฝ่ายใน..ที่ทรงพระเจริญพอหัดได้ เจ้าฟ้าเจ้าจอมจะหัดกัน ทั้งน้ัน...เย็นลงในสนามสวนเก่าจะเต็มไปด้วยผู้คน...” ความนิยมข่ีจักรยานได้แพร่หลายไปสู่ภายนอกในหมู่ ชนชน้ั สงู แตไ่ มน่ านกเ็ ปลยี่ นไปนยิ มรถยนตแ์ ทน สว่ นประชาชนทว่ั ไปยงั คงใชเ้ รอื หรอื รถลาก รถราง เปน็ พาหนะ รวมท้งั การเดนิ เทา้ แบบเก่า วรรณกรรม พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงใสพ่ ระทยั ในเรอ่ื งของภาษาและวรรณกรรมไทย โดยเฉพาะ การเขยี น การออกเสยี ง ทต่ี อ้ งศกึ ษาใหร้ จู้ รงิ และไมห่ ลงลมื ความเปน็ ไทย ดงั ปรากฏในพระราชหตั ถเลขาทท่ี รงมี ถึงพระยาไพศาลศิลปศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๕๓ ความว่า “...ยังเมืองพม่าเมืองจีนบรรดาท่ีมีช่ืออยู่ในพงศาวดาร แลในหนังสือไทย กลับเรียกตามเสียงฝรั่งไปหมด...ช่ือเมืองที่เคยมีในภาษาไทยให้ใช้ภาษาไทย อย่าให้จดหมาย แลพงศาวดารแตกสูญเสียได้จะดี...” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เป็นแบบอย่าง ของการใช้ภาษาอันไพเราะ กะทัดรัด มีกระบวนการพรรณนาท่ีแจ่มแจ้งได้ใจความ เข้าใจง่าย แฝงด้วยคต ิ คำส่ังสอน ขณะเดียวกันก็มีการวิเคราะห์วินิจฉัยจากข้อมูลที่ทรงรวบรวมสืบค้นตามแนวทางของระเบียบวิธีวิจัย แบบสากลด้วย นับเป็นต้นแบบของการเขียนความเรียงวิชาการแบบร้อยแก้วสมัยใหม่ของชนช้ันปกครอง ปัญญาชนรุ่นใหม่ และประชาชนท่ัวไป เช่น พระราชนิพนธ์เร่ืองพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชวิจารณ์ 487

จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี พระบรมราโชวาทพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอขณะเสด็จ ไปศึกษาในต่างประเทศ พระบรมราชาธบิ ายเรอ่ื งธรรมเนยี มในราชตระกูลในกรุงสยาม พระราชดำรสั ทรงแถลง พระบรมราโชบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน พระราชหัตถเลขาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า มหาวชิรุณหิศฯ พระราชหัตถเลขาพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินีนาถระหว่างเสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ พระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ ฯลฯ พระราชหัตถเลขาลายพระหัตถ์และ จดหมายต่างๆ เปน็ หลกั ฐานสำคัญดา้ นประวตั ิศาสตรย์ คุ น้ันอย่างมาก พระราชนิพนธ์สำคัญเล่มหน่ึงคือหนังสือเรื่องไกลบ้าน ซ่ึงสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวิจารณ์ไว้ในตำนานหนังสือเรื่องไกลบ้านตอนหน่ึงว่า “...แลหนังสือเร่ืองไกลบ้านน้ีนอกจากดำรัสเล่าเรื่อง ความทกุ ขส์ ขุ สว่ นพระองคใ์ นการเสดจ็ ไปครง้ั นนั้ ทรงพระราชนพิ นธพ์ รรณนาวา่ ดว้ ยถนิ่ ฐานบา้ นเมอื ง แลบรรยาย ถึงขนบธรรมเนียมต่างๆ ของนานาประเทศ ซึ่งเปนเรื่องแปลกประกอบกับกระแสพระราชดำริวิจารณ์อันสุขุม คัมภรี ภาพ แลมีเร่ืองสนกุ ขบขนั แกมกันไป จึงชวนอ่านเพลนิ มิรู้จกั เบ่อื ...” ตวั อยา่ งหนง่ึ ของพระราชนิพนธไ์ กลบ้านท่ีตรงกับบทวจิ ารณข์ องสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพคอื พระราชหัตถเลขาทเ่ี มอื งปารีส ฉบับวนั ท่ี ๑๖ สงิ หาคม ร.ศ. ๑๒๖ ความว่า ...เวลาค่ำไปดูออปรา...ทางที่ไปมันสว่างเหมือนมีงานมีการไปทุกหนทุกแห่ง... ตามเรสเตอรองต์แลกาเฟต่างๆ ต้ังโต๊ะกินเข้าเล็กๆ อยู่ริมถนนแน่นๆ ไป ที่อ่ืนถึงจะมีบ้าง ก็ไม่เหมือนปารีส ลอนดอนเปนไม่มีเลย...เปนสันดานคนอังกฤษไม่ชอบท่ีจะไปเที่ยวน่ังกิน เช่นน้ัน ฤๅฤดูมันไม่ให้ด้วยมักเปนฝนเปนหมอกควันมืดไปต่างๆ อย่างเช่นปารีสอากาศ แจม่ ใสแลอนุ่ สบาย ชวนใหอ้ อกเล่นกลางแจง้ ... พระราชนิพนธ์ร้อยกรองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่ีทรงไว้ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มีความไพเราะและเปน็ คตสิ อนใจ หลากหลายประเภท เชน่ โคลงนิราศ โคลงสุภาษิต โคลงประกอบภาพ พงศาวดาร กาพย์เห่เรือ และบทละคร เช่น ลิลิตนิทราชาคริต และเงาะป่า ซึ่งบทพระราชนิพนธ์เรื่องน้ีมิใช่ เป็นเพียงบทละครเริงรมย์ หากแต่ยังได้แสดงถึงการศึกษาค้นคว้าแนวคติชนวิทยาของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หัวเกย่ี วกับชนเผ่าซาไกซง่ึ อาศัยอยูท่ างตอนใต้ของดินแดนสยาม พระราโชบายของพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ในดา้ นการสง่ เสรมิ การศกึ ษาและวรรณกรรม ที่สำคัญคือโครงการจัดตั้งหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับเป็นแหล่งรวบรวมสรรพความรู้เพื่อประชาชนและ ประเทศชาติ มูลเหตุการก่อต้ังหอพระสมุดแห่งน้ีเกิดจากความร่วมพระทัยในพระโอรสธิดาของพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะรวบรวมหนังสือเก่าใหม่ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศไว้ในที่แห่ง เดียวกัน เพ่ือเป็นการเฉลิมพระเกียรติแก่สมเด็จพระบรมชนกนาถในวโรกาสครบ ๑๐๐ ปีพระชนมพรรษา ใน พ.ศ. ๒๔๔๒ จึงได้ชื่อว่าหอพระสมุดวชิรญาณตามพระราชสมญานามของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า- เจา้ อยหู่ ัวขณะทรงผนวช ระยะแรกหอพระสมุดวชิรญาณมีทที่ ำการอยู่ ณ ช้ันลา่ งของพระท่นี งั่ จักรมี หาปราสาท ตอ่ มาได้ย้ายไป อยู่ที่หอคองคอเดีย แต่กิจกรรมยังคงดำเนินอยู่ในวงจำกัดเฉพาะสมาชิก ภารกิจสำคัญคือการจัดพิมพ์เอกสาร สำคัญเช่นหนังสือพิมพ์วชิรญาณ หนังสือประวัติศาสตร์ และวรรณคดีฉบับสมบูรณ์ แสวงหาเอกสารเก่า 488

ภายในหอพระสมดุ วชริ ญาณ ทั้งจากในกรุงและหัวเมืองได้อีกจำนวนมาก ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวมแหล่งสะสมหนังสือ ๓ แห่งคือ หอพระสมุดวชิรญาณ หอพระมณเฑียรธรรม และ หอพุทธศาสนสังคหะ เขา้ ดว้ ยกันจัดตัง้ เปน็ หอสมดุ สำหรับพระนคร ตามพระราชปณธิ านว่า “...หอสมุดนีจ้ ะเปน คณุ เกิดประโยชน์ แลเปนเกียรติยศแก่บ้านเมอื ง...” พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั โปรดเกลา้ ฯ แตง่ ตง้ั คณะกรรมการหอพระสมดุ เปน็ ผดู้ ำเนนิ งาน ข้ึนกับกระทรวงธรรมการ คณะกรรมการจะคัดเลือกจัดพิมพ์หนังสือท่ีมีคุณค่า เลือกสรรผู้แต่งหนังสือดี และ เร่ิมการคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่ผู้ประพันธ์ ความนิยมในการจัดตั้งห้องสมุดได้แพร่หลายไปยังหน่วยราชการอื่นๆ ดว้ ย ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ โปรดเกล้าฯ ใหต้ ัง้ โบราณคดสี โมสร สังกัดหอพระสมุด เนน้ การศึกษาดา้ นประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรม หนังสือและเอกสารท่ีได้รับการคัดเลือกตีพิมพ์จากหอพระสมุดมีโอกาสได้รับ การเผยแพร่ไปสู่ปวงชนมากขึ้น เนื่องจากในรัชสมัยนี้ได้มีผู้ปฏิบัติตามพระราชนิยมในการจัดพิมพ์หนังสือจาก หอพระสมดุ เพอื่ แจกเป็นของท่ีระลกึ ในวโรกาสสำคญั ตา่ งๆ เป็นท้งั วทิ ยาทานและการหารายได้บำรุงหอพระสมุด อีกทางหน่ึง แสดงให้เห็นถึงพระราโชบายในการเผยแพร่ความรู้เร่ืองความเป็นมาและความเจริญรุ่งเรือง ของบา้ นเมอื งไปสปู่ วงชนอกี ทางหนง่ึ เทา่ กบั เปน็ การเพาะบม่ ความรสู้ กึ รกั หวงแหนในความเปน็ ไทยและตอ้ งการ ปกปอ้ งรักษาความเปน็ ประเทศชาตไิ ว้ 489



๒๓ ชีวิตไทยทท่ี รงประสบ …พระองคท์ รงรกั ใครใ่ นไพรฟ่ า้ ขา้ แผน่ ดนิ เหมอื นกบั บดิ ารกั บตุ ร พอพระราชหฤทยั ที่จะคุ้นเคยคบหาแลถึงเล่นหัวกับอาณาประชาราษฎร์ โดยมิได้ถือพระองค์ ยกตัวอย่าง ดังจะเห็นได้ในเรื่องประพาสต้นนี้เปนพยาน การที่พระองค์ทรงสมาคมกับราษฎร ไม่ใช่ สกั แตว่ า่ เพยี งจะรจู้ กั หรอื สนทนาปราศรยั ใหค้ นุ้ เคยกนั เทา่ นน้ั ยอ่ มทรงเปนพระราชธรุ ะ ไตถ่ ามถงึ ความทกุ ขส์ ขุ แลความเดอื ดรอ้ นทไ่ี ดร้ บั จากผปู้ กครองอยา่ งใดๆ บา้ งทกุ โอกาส... เปนเหตุให้การเสด็จประพาสเปนคุณประโยชน์แก่ความสุขสำราญของราษฎรได้อีกเปน อนั มาก... (จดหมายเหตนุ ายทรงอานภุ าพเลา่ เรื่องเสด็จประพาสต้นครง้ั แรก พระนิพนธส์ มเดจ็ พระเจา้ บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ตลอดระยะเวลา ๔๒ ปีแห่งรัชสมัยพระบาท พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอย่หู ัว สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรง เสด็จประพาสเกาะพะงัน สรุ าษฎร์ธาน ี ใฝ่พระทัยในทุกข์สขุ ของอาณาประชาราษฎร์ พระราช- กรณียกิจในดา้ นตา่ งๆ แสดงถึงพระประสงค์ที่จะสร้าง ความอยู่เย็นเป็นสุขและความเจริญรุ่งเรืองแก่ราษฎร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดที่จะ เสดจ็ ไปตรวจราชการยังหัวเมืองน้อยใหญ่ในพระราช- อาณาเขตเปน็ การสว่ นพระองคเ์ พอ่ื สำราญพระอริ ยิ าบถ อย่างสามัญชน ที่เรียกว่า “การเสด็จประพาสต้น” ทำให้พระองคท์ รงทราบความเป็นไปของบ้านเมอื งและ สภาพความเป็นอย่ทู ี่แท้จริงของราษฎร 491

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสยังหัวเมืองเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ ซง่ึ เปน็ การเสดจ็ แวะหวั เมอื งชายทะเลฝง่ั ตะวันตกคอื ภเู ก็ต พงั งา ไทรบรุ ี และสงขลา นบั ต้งั แต่ พ.ศ. ๒๔๑๕ - ๒๔๕๒ พระองคเ์ สด็จประพาสหวั เมืองทงั้ หมด ๑๙ คร้ัง ดังต่อไปนี้ หัวเมืองภาคกลาง เป็นหัวเมืองท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสมากท่ีสุด พระองค์เสดจ็ ประพาส ๔ ครงั้ คอื ใน พ.ศ. ๒๔๔๒ พ.ศ. ๒๔๔๗ พ.ศ. ๒๔๕๑ และ พ.ศ. ๒๔๕๒ สว่ นใหญ่ เป็นการเสด็จประพาสทางน้ำซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในสมัยน้ัน มีทั้งการเสด็จเพื่อตรวจราชการและ เสด็จประพาสต้น เมืองท่ีเสด็จพระราชดำเนินไปถึง ได้แก่ อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท มโนรมย์ นครสวรรค์ นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครชัยศรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี สพุ รรณบรุ ี ปราจนี บรุ ี และฉะเชงิ เทรา หัวเมืองเหนือ เสด็จประพาส ๓ คร้ัง คือ ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ พ.ศ. ๒๔๔๙ และ พ.ศ. ๒๔๕๒ เมืองสำคัญท่ีเสด็จไปถึง ได้แก่ เมืองอ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก พิชัย และอุตรดิตถ์ เป็นการเสด็จประพาสหลังจากที่รัฐบาลได้รวมหัวเมืองเหนือเข้าเป็นส่วนหน่ึงของสยามแล้ว จุดประสงค์ของการเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือเน้นการเพ่ิมพูนความสัมพันธ์ระหว่างเมืองหลวงกับฝ่าย ปกครองและราษฎรใหใ้ กล้ชดิ สนิทสนมกันย่ิงขนึ้ หัวเมืองชายทะเลตะวนั ออก เสดจ็ ประพาส ๕ ครั้ง คือ ใน พ.ศ. ๒๔๑๙ พ.ศ. ๒๔๒๕ พ.ศ. ๒๔๒๖ พ.ศ. ๒๔๒๗ และ พ.ศ. ๒๔๕๒ เมืองสำคัญที่เสด็จไปถึง ได้แก่ เมืองจันทบุรี และชลบุรี ส่วนใหญ่เป็นการ เสด็จเพ่ือทรงพระเกษมสำราญและตรวจสภาพความเปน็ อยู่ของราษฎรท่เี มืองจนั ทบรุ ี เรือราชการมาเฝ้ารบั เสด็จพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หวั ในการเสดจ็ เมอื งตรงั กานู พ.ศ. ๒๔๔๘ 492

หัวเมืองภาคใต้และหัวเมืองประเทศราชทางใต้ เสด็จประพาส ๗ คร้ัง คือ ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ พ.ศ. ๒๔๓๒ พ.ศ. ๒๔๓๓ พ.ศ. ๒๔๔๒ พ.ศ. ๒๔๔๘ และ พ.ศ. ๒๔๔๙ (คร้งั ท่ี ๑ และครง้ั ที่ ๒) เป็นการ เสด็จประพาสเพ่อื ทรงตรวจราชการและสรา้ งความคุน้ เคยกบั ขา้ ราชการทอ้ งถิน่ กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมณฑลหัวเมืองในพระราชอาณาเขต ทั่วทุกมณฑล ยกเว้นมณฑลภาคพายัพ มณฑลเพชรบูรณ์ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน เนื่องจากขณะนั้น ทางคมนาคมไปยังมณฑลเหลา่ นน้ั ยังทรุ กนั ดารและมีความลำบากในการเดนิ ทาง รูปแบบการเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมี ๒ ลักษณะคือ การเสดจ็ ประพาสอย่างเปน็ ทางการและการเสดจ็ ประพาสส่วนพระองค์หรอื การเสด็จประพาสตน้ การเสดจ็ ประพาสหวั เมอื งอยา่ งเปน็ ทางการ เปน็ การเสดจ็ ประพาสเพอ่ื ตรวจราชการและทอดพระเนตร ภูมิลำเนา การทำมาหาเล้ียงชีพของราษฎรตามหัวเมืองต่างๆ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเมือง ความเป็นอยู่ ของราษฎรที่เสด็จประพาสผ่าน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอนุญาตให้มีการจัดพิธีรับเสด็จ ตลอดจนให้ราษฎรมาคอยรับเสด็จและเข้าเฝ้าริมทางเสด็จได้ พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการเสด็จ ประพาสหัวเมือง เพราะเป็นประโยชน์ต่อการปกครองบ้านเมืองเนื่องจากทำให้พระองค์ทรงมีโอกาสใกล้ชิดกับ ราษฎรและข้าราชการหัวเมอื ง สง่ ผลใหท้ รงเขา้ พระทยั สภาพของบ้านเมืองตามความเปน็ จรงิ การเสดจ็ ประพาส อยา่ งเป็นทางการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจ้าอย่หู ัวจึงเกดิ ขน้ึ ต่อเนื่องตลอดรชั กาล ราษฎรเมืองนครศรธี รรมราชรอรับเสดจ็ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอย่หู ัว 493

การเสด็จประพาสต้น เป็นการเสด็จทางเรือเพื่อสำราญพระอิริยาบถเย่ียงสามัญชนไปเท่ียวเล่น สาเหตุของการเสด็จประพาส ปรากฏในจดหมายเหตุนายทรงอานุภาพ (พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรง- ราชานุภาพ) เลา่ เรือ่ งเสด็จประพาสต้นครง้ั แรก เป็นจดหมายฉบบั ท่ี ๑ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๓ ว่า ...เหตทุ ่ีจะเสดจ็ ประพาสตอ่ ไปในคราวน้ี ไดท้ ราบวา่ เมอ่ื กอ่ นจะเสด็จขน้ึ มาบางปะอนิ พระเจา้ อยหู่ วั ไมใ่ ครจ่ ะทรงสบาย หมายจะเสดจ็ ขน้ึ มาพกั รกั ษาพระองคต์ ามเคย กม็ พี ระราชกงั วล แลพระราชกิจติดตามขึ้นมา หาเวลาพักไม่ใคร่ได้จึงไม่ทรงสบายมากไป เสวยไม่ได้แล บรรทมไม่หลับท้ังสองอย่าง หมอเห็นว่าจะต้องเสด็จประพาสเที่ยวไปให้พ้นความรำคาญ อย่าให้ต้องทรงเปนพระราชธุระในราชกิจอย่างใดๆ เสียสักคราวหน่ึง จึงจะรักษาพระองค์ ให้ทรงสบายได้ดังเก่าโดยเร็ว...ทรงดำริเห็นชอบด้วยจึงจะเสด็จไปประพาสตามลำน้ำด้วย กระบวนเรอื ปกิ นกิ พ่วงเรอื ไฟไปจากบางปะอินนี้.. การเสด็จประพาสต้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นการเสด็จเพ่ือการพักผ่อน ตามคำแนะนำของแพทยห์ ลวงโดยกระบวนเรอื ปกิ นกิ มีเรอื กลไฟสำหรบั พ่วงลากเรอื พระท่ีนงั่ ซง่ึ เป็นเรือมาดเก๋ง ๔ แจว กับเรือมาดประทุน ๔ แจวท่ีเรียกว่า “เรือต้น” ซ่ึงเป็นเรือเคร่ืองครัว ล่องไปตามแม่น้ำลำคลองตาม หัวเมืองแถบภาคกลาง บางคร้ังอาจเสด็จโดยทางรถไฟช้ัน ๓ ทรงแต่งพระองค์อย่างสามัญชน มิให้ราษฎร รู้จักพระองค์ เม่ือเสด็จไปถึงที่ใด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงมีพระราชประสงค ์ ที่จะให้มีการรับเสด็จอย่างเป็นทางการ แต่ให้จัดการสถานท่ีเสด็จไปให้เรียบง่ายคือ ไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมือง ให้จัดทำท่ีประทับแรม ณ ที่ใดๆ หากมีพระราชประสงค์จะประทับแรมท่ีใดก็แล้วแต่พระราชอัธยาศัย อาจปลูก พลับพลาท่ีประทับกันเอง บางครั้งก็ประทับแรมท่ีศาลาวัด หุงหาอาหารเสวยหรือรับประทานกันโดยซื้อเสบียง อาหารจากตลาดทอ้ งถิน่ พระองค์โปรดทีจ่ ะแวะตามวัดตา่ งๆ หรอื ตามบ้านเรอื นของราษฎร ส่วนผู้ตามเสดจ็ น้ัน โปรดเกล้าฯ ให้ฝ่ายใน พระบรมวงศานุวงศ์ เจ้านายช้ันผู้ใหญ่และข้าราชบริพารที่ใกล้ชิดตามเสด็จไปด้วย อาทิ สมเดจ็ พระนางเจา้ เสาวภาผอ่ งศรี พระบรมราชนิ นี าถ พระนางเจา้ สขุ มุ าลมารศรี พระราชเทวี พระอคั รชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า อษั ฎางคเ์ ดชาวุธ พระเจ้าลกู ยาเธอ พระองคเ์ จ้าอุรุพงษร์ ชั สมโภช พระเจา้ น้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานภุ าพ พระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บนุ นาค) พระยาบรุ ษุ รตั นราชพลั ลภ และหลวงศกั ดนิ์ ายเวร หรือจมื่นเสมอใจราช (อน้ นรพลั ลภ) ฯลฯ 494


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook