Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 0000005674

0000005674

Published by สมหมาย เสียงเพราะ, 2022-07-30 10:31:35

Description: 0000005674

Search

Read the Text Version

ผิวพอกำลงั เรือ ก็แล่นลอดไม่ร้าวราน หากกรรมจะบนั ดาล กค็ งลม่ ทุกลำไป ชาวเรอื กย็ ่อมรู้ ฉะนี้อยทู่ กุ จติ ใจ แตล่ อยอยูต่ ราบใด ตอ้ งจำแกด้ ว้ ยแรงระดม แก้รอดตลอดฝง่ั จะรอดท้งั จะชน่ื ชม เหลือแกก้ ็จะจม ให้ปรากฏวา่ ถงึ กรรม ผดิ ทอดธุระนง่ั บว่ิงวนุ่ เยียวยาทำ ท่ีสดุ ก็สูญลำ เหมือนทแี่ ก้ไม่หวาดไหว ผดิ กนั แตถ่ า้ แก ้ ให้เต็มแยจ่ ึงจมไป ใครห่อนประมาทใจ วา่ ขาดเขลาและเมาเมิน เสยี ทีกม็ ีชือ่ ได้เลื่องลอื สรรเสริญ สงสารวา่ กรรมเมนิ กำลังดอกจงึ จมสญู นี้ใดนำ้ ใจข้า อปุ มาบงั คมทลู ทุกวันน้ีอาดูร แตท่ ที่ รงประชวรนาน เปรียบตัวเหมอื นอย่างม้า ท่เี ป็นพาหนะยาน ผูกเครอ่ื งบงั เหียนอาน ประจำหนา้ พลับพลาชยั คอยพระประทบั อาสน์ กระหยบั บาทจะคลาไคล ตามแตพ่ ระทัยไท ธจะชักไปซ้ายขวา ไกลใกล้บไ่ ดเ้ ลือก จะกระเดอื กเตม็ ประดา ตราบเท่าจะถึงวา ระชวี ิตมลายปราณ ขอตายให้ตาหลับ ดว้ ยช่ือนับว่าชายชาญ เกดิ มาประสพภาร ธุระไดบ้ ำเพญ็ ทำ ด้วยเดชะบุญญา ภินหิ ารแหง่ คำ สตั ยข์ ้าจงได้สำ ฤทธ์ิดงั มโนหมาย ขอจงวราพาธ บรมนาถเร่งเคลือ่ นคลาย พระจติ พระวรกาย จงผ่องพ้นทหี่ มน่ หมอง ขอจงสำเรจ็ รา ชะประสงคท์ ที่ รงปอง ปกข้าฝ่าละออง พระบาทใหส้ ามัคคี ขอเหตุท่ีขนุ่ ขัด จะวบิ ัตเิ พราะขนั ต ี จงคลายเหมือนหลายป ี จะลมื เลิกละลายสญู ขอจงพระชนมา ยสุ ถาวรพูน เพ่ิมเกียรตอิ นกุ ูล สยามรัฐพิพฒั นผ์ ลฯ 295

นอกจากน้ี พระมเหสีเทวีพระองค์หน่ึงคือ พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี ได้ทรงนิพนธ์บทโคลงพรรณนา ถงึ ความรันทดทอ้ ของบรรดาฝ่ายในนำข้นึ ถวายด้วย (ดรู ายละเอยี ดในบทที่ ๒) การเจรจาแกไ้ ขสนธสิ ญั ญาฉบบั พ.ศ. ๒๔๓๖ และร่างอนุสัญญา ฉบบั พ.ศ. ๒๔๔๕ สนธิสญั ญาระหวา่ งสยามและฝรัง่ เศส ฉบับ พ.ศ. ๒๔๓๖ กอ่ ผลเสยี ระยะยาวแกส่ ยาม เพราะฝรงั่ เศส เพิกเฉยที่จะปฏิบัติตามพันธะสัญญาท่ีได้ตกลงกันไว้ ท้ังการไม่ยอมถอนกองกำลังออกจากจันทบุรีตลอดจน การเขา้ มาชกั ชวนราษฎรในเขตฝง่ั ขวาแมน่ ำ้ โขงใหจ้ ดทะเบยี นเปน็ คนในบงั คบั ฝรงั่ เศส ทงั้ หมดนลี้ ว้ นเปน็ อนั ตราย ต่อความม่ันคงของประเทศท้ังสิ้น รัฐบาลจึงพยายามเปิดการเจรจากับตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสจากอินโดจีนใน กรุงเทพฯ ตอ่ มาจึงเจรจาโดยตรงกับรฐั บาลฝรง่ั เศสท่ีปารีส แตร่ ฐั สภาฝรั่งเศสไม่เหน็ ชอบ อนุสญั ญาฉบบั พ.ศ. ๒๔๔๕ จึงไม่เป็นผล ประเด็นสำคัญในการเจรจาของทางฝ่ายสยามคือ สิทธิของสยามเหนือบริเวณ ๒๕ กิโลเมตรทางขวา แม่น้ำโขง และการให้ฝร่ังเศสถอนกองกำลังออกจากเมืองจันทบุรี ส่วนทางฝรั่งเศสก็ยื่นข้อเรียกร้องจะให้ส่ง ชาวญวน เขมร และลาวท่ีเข้ามาอยู่ในพระราชอาณาจักรไทยตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นกลับคืนประเทศ เดิม หรือมิฉะนั้นก็ให้จดทะเบียนเป็นคนในบังคับฝรั่งเศส ซึ่งข้อน้ีสยามไม่สามารถจะยินยอมได้เน่ืองจาก ในปัจจุบันบุตรหลานของคนรนุ่ นั้นได้กลายเปน็ คนไทยไปหมดส้ินแล้ว การทำอนสุ ัญญาระหว่างสยามกบั ฝร่ังเศส ฉบบั พ.ศ. ๒๔๔๗ รัฐบาลของท้ัง ๒ ฝ่าย ได้จัดให้มีการเจรจาท่ีปารีสอีกครั้งหนึ่ง โดยนำเค้าโครงร่างอนุสัญญาฉบับ พ.ศ. ๒๔๔๕ มาพิจารณา การเจรจาครั้งนี้พระยาสุริยานุวัตร ทูตไทยประจำฝรั่งเศสได้ขอตัวนายสโตรเบล ท่ีปรึกษาราชการแผ่นดินใหม่ของสยามและผู้ช่วยคือนายเวสเตนการ์ดมาช่วยในการดำเนินการ อนุสัญญาฉบับ นี้นับเป็นคร้ังแรกท่ีท้ัง ๒ ฝ่ายสามารถเจรจาตกลงได้สำเร็จ ใจความสำคัญคือสยามยอมยกดินแดนฝั่งขวา แม่น้ำโขง ตรงข้ามหลวงพระบาง มโนไพรและจำปาศักด์ิให้แก่ฝรั่งเศส ส่วนฝร่ังเศสจะยอมผ่อนคลายเรื่อง สิทธิสภาพนอกอาณาเขตได้ คือชาวเอเชียที่จดทะเบียนเป็นคนในบังคับฝร่ังเศสจะมีสิทธิตกทอดได้ถึงเฉพาะ รุ่นลูก ส่วนชาวยุโรปจะได้สิทธิสืบทอดไปถึงรุ่นหลาน สำหรับอำนาจการตัดสินคดีความยังคงข้ึนกับศาลกงสุล ยกเว้นผู้ที่พำนักในเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ และน่าน ที่ต้องข้ึนศาลต่างประเทศ และท้ายสุดคือฝรั่งเศส ยินยอมจะถอนกำลังออกจากจันทบุรีซ่ึงเป็นความปรารถนาท่ีสำคัญย่ิง เพราะรัฐบาลสยามเข้าใจดีถึงความทุกข์ ยากเดือดร้อนของชาวเมืองจันทบุรี ทั้งพ่อค้า ประชาชน ตลอดจนภิกษุสงฆ์ที่ถูกทหารฝร่ังเศสและญวน ในบังคับฝร่ังเศสใช้อำนาจกดข่ีข่มเห่ง ย่ำยี ปล้นสะดม ตามท่ีปรากฏในใบบอกของฝ่ายนครบาลท่ีรายงาน การเคลื่อนไหวตา่ งๆ ในเมืองจันทบรุ เี ขา้ มายงั กรงุ เทพฯ อยา่ งสมำ่ เสมอ สนธสิ ญั ญาระหวา่ งสยามกบั ฝร่ังเศส ฉบับ พ.ศ. ๒๔๔๙ สยามและฝรั่งเศสได้เปิดการเจรจาแก้ไขปัญหาท่ียังคั่งค้างจนบรรลุข้อตกลงฉบับใหม่ อันเป็นการยุติ ปัญหาข้อขัดแย้งยาวนานระหว่างประเทศท้ังสอง สนธิสัญญาฉบับน้ีทำท่ีปารีสอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ทันการเสด็จ ประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นายสโตรเบลมีบทบาทสำคัญยิ่งตั้งแต่ การใหค้ ำแนะนำ กำหนดเง่อื นไขในการเจรจา และจัดรา่ งสนธิสัญญาดว้ ยตนเอง 296

ใจความสำคัญในสนธิสัญญาฉบับนี้แยกเน้ือหาเป็น ๒ ส่วน คือ เรื่องดินแดน สยามตัดสินใจยก ดินแดนเขมรส่วนในคือ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ ให้ตามความประสงค์ของฝร่ังเศส ส่วนทางฝร่ังเศส ยอมคืนเมืองด่านซ้าย (เลย) ตราด และหมู่เกาะตั้งแต่ใต้แหลมสิงห์ถึงเกาะกูดให้ แต่มีข้อแม้คือห้ามนำพ้ืนที่ เหล่าน้ีไปให้สัมปทานแก่ชนชาติอ่ืนยกเว้นฝร่ังเศส เน้ือหาอีกส่วนท่ีสำคัญคือเร่ืองสิทธิสภาพนอกอาณาเขต โดยกำหนดให้คนในบังคับท่ีเป็นชาวเอเชียมาขึ้นศาลต่างประเทศ และข้ึนศาลไทยเมื่อสยามประกาศใช้ประมวล กฎหมายแบบสากลจนครบถ้วน สำหรับคนในบังคับท่ีเป็นชาวเอเชียซ่ึงจดทะเบียนหลังวันทำสัญญาฉบับน ี้ ต้องมาข้ึนศาลไทยท้ังสิ้น แต่กงสุลชาตินั้นๆ ยังมีสิทธิถอนคดีไปพิจารณาจนกว่าจะมีการประกาศใช้ประมวล กฎหมายแบบสากล ในกรณีน้ีคนในบังคับที่เป็นชาวเอเชียจะได้รับสิทธิในการครอบครองกรรมสิทธิ์ท่ีดิน สทิ ธใิ นการพำนกั หรอื ทอ่ งเทย่ี วได้ทัว่ พระราชอาณาจักรโดยไมต่ ้องขออนญุ าตกอ่ น ความสมั พันธก์ บั องั กฤษ การเจรจาทำสนธิสัญญากับอังกฤษในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาจากสาเหตุ สำคัญคือแก้ไขปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ผนวกกับความต้องการดึงอังกฤษมาเป็นพันธมิตรคานอิทธิพล ของฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าสยามจะตระหนักถึงความไม่จริงใจของอังกฤษแต่เพราะสถานการณ์ที่บีบบังคับจึงจำยอม เสียเปรียบอังกฤษ ดังกรณีท่ีสยามจำต้องยกดินแดนหัวเมืองเง้ียวท้ัง ๕ และหัวเมืองกะเหรี่ยงตะวันออกท่ีมา ขอข้ึนกบั เชยี งใหม่ให้แก่อังกฤษใน พ.ศ. ๒๔๓๕ อนุสญั ญาลับระหวา่ งองั กฤษและไทย ฉบับ พ.ศ. ๒๔๔๐ (Secret Convention) สาเหตุของการทำข้อตกลงฉบับนี้เป็นผลสืบเน่ืองมาจากกรณีท่ีอังกฤษและฝร่ังเศสได้ตกลงทำสัญญา ประกันอิสรภาพของสยามฉบับ พ.ศ. ๒๔๓๙ แต่ครอบคลุมพื้นท่ีเฉพาะบริเวณภาคกลางของประเทศได้แก ่ ล่มุ แมน่ ้ำเจ้าพระยา ทา่ จีน แม่กลอง เพชรบรุ ี และบางปะกงเทา่ นั้น สัญญาฉบบั นสี้ ง่ ผลโดยตรงถึงการยอมรบั ของนานาชาติในอำนาจการปกครองของสยาม รัฐบาลหว่ันเกรงว่าพื้นท่ีที่อยู่นอกเหนือจากการประกันอาจถูก มหาอำนาจตะวันตกเข้ายึดครองเม่ือใดก็ได้ ประเทศคู่สัญญาทั้งสองต่างได้รับประโยชน์เพราะไม่ต้องแก่งแย่ง แข่งขนั กนั อกี ต่อไป สยามจงึ ไม่มีทางเลอื กอนื่ นอกจากรอให้สถานการณค์ ล่คี ลายไปเอง 297

แผนทีส่ ยามแสดงการแบง่ แยกเขตอทิ ธพิ ลระหวา่ งอังกฤษ (ซกี ตะวันตก) และฝร่ังเศส (ซกี ตะวนั ออก) พมิ พ์บนผา้ เชด็ หนา้ (เอือ้ เฟอื้ โดย พลตรี ม.ร.ว. ศภุ วฒั ย์ เกษมศรี) 298

หลังจากทำข้อตกลงประกันความเป็นกลางกับฝรั่งเศสแล้ว อังกฤษได้ทาบทามขอทำข้อตกลงกับสยาม เพราะอังกฤษหวั่นเกรงว่าชาติตะวันตกอื่นๆ เช่นเยอรมนีซึ่งกำลังได้รับความเช่ือถือจากรัฐบาลสยาม จะถือ โอกาสชิงเข้าไปมีบทบาทในพ้ืนที่ภาคใต้ท่ีอังกฤษปรารถนาเสียก่อน อังกฤษได้ยื่นข้อเสนอที่จะประกันเอกราช ในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ โดยท่ีสยามต้องไม่อนุญาตให้ชาติตะวันตกอื่นใดเข้ามาเช่าหรือให้สัมปทานในพ้ืนที่ ภาคใต้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากอังกฤษ และขอให้ทำเป็นสัญญาลับ เพราะอังกฤษเกรงว่าชาติอื่นจะมาขอ ทำสญั ญาในทำนองเดยี วกัน ข้อตกลงนี้กระทำอย่างเร่งด่วนโดยที่สยามไม่มีทางหลีกเลี่ยง เพ่ือให้ทันการเสด็จประพาสยุโรป คร้ังแรกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพิจารณาจากเหตุผลองค์ประกอบต่างๆ จะเห็นได้ว่า เป็นการฉวยโอกาสของอังกฤษ เพราะอังกฤษเข้าใจดีถึงสภาวะเลวร้ายท่ีสยามกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ และประสงค์ท่ีจะผ่อนคลายภาวะความตึงเครียดและประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ยังรุมเร้าอยู่ในขณะน้ัน ที่สำคัญคือสยามต้องการจะได้อังกฤษมาเป็นพันธมิตรถ่วงดุลอำนาจของฝร่ังเศส อีกทั้งโครงการเสด็จประพาส ยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้กำหนดรายละเอียดไว้แน่นอนและใกล้จะถึงเวลาเสด็จ โดยมีพระประสงค์จะใช้โอกาสนี้ดำเนินนโยบายกระชับไมตรีกับนานาชาติในยุโรป อังกฤษจึงบีบบังคับให้สยาม รบี ตกลงทำสญั ญาเปน็ การดว่ น มฉิ ะนน้ั รฐั บาลองั กฤษไมร่ บั รองวา่ จะสามารถถวายการรบั เสดจ็ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หวั ได ้ ข้อตกลงฉบับนี้ก่อให้เกิดปัญหาอันรุนแรงในระยะต่อมา เพราะกระทบกระเทือนถึงอำนาจอธิปไตย ของสยามเหนือดินแดนคาบสมุทรภาคใต้ ตั้งแต่ตำบลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปจนตลอด คาบสมุทรเป็นอย่างมาก เนื่องจากข้อตกลงนี้กีดขวางมิให้รัฐบาลสยามสามารถจัดระเบียบการปกครองในพ้ืนท่ี ส่วนน้ีอย่างเป็นอสิ ระได้ ท้งั ยังเป็นการขัดขวางการขยายภาวะการลงทุนทางเศรษฐกจิ ในพน้ื ท่บี ริเวณนี้ กล่าวคอื สยามไม่สามารถจะให้สัมปทานในธุรกิจใดๆ โดยมิได้รับความเห็นชอบจากอังกฤษเสียก่อน ดังนั้นจึงเท่ากับว่า ดินแดนส่วนน้ีตกเป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษโดยปริยาย ประเด็นน้ีได้กลายเป็นปัญหาสำคัญท่ีรัฐบาลสยาม และทปี่ รกึ ษาราชการทวั่ ไปคนตอ่ ๆ มาต้องเขา้ ไปจดั การแกไ้ ขจนเป็นสาเหตขุ องการจัดทำสนธสิ ญั ญาฉบบั ต่อมา สนธิสัญญาระหวา่ งสยามกับอังกฤษ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๕๑ (Anglo - Siamese Treaty) นบั แตอ่ งั กฤษบรรลวุ ตั ถปุ ระสงคใ์ นอนสุ ญั ญาลบั ฉบบั พ.ศ. ๒๔๔๐ แลว้ องั กฤษไดพ้ ยายามรกุ คบื หนา้ เข้าสู่รัฐมลายูของสยามตลอดมา ตัวอย่างท่ีเห็นชัดเจนคือกรณีที่อังกฤษสนับสนุนให้รัฐเประเรียกร้องปรับปรุง แนวพรมแดนระหวา่ งเประ - ราหม์ นั กบั รฐั บาลสยาม โดยองั กฤษใหร้ าษฎรรฐั เประอพยพเขา้ ไปอยอู่ าศยั ในพนื้ ที่ ปัญหาก่อนท่ีจะมีการเรียกร้อง สยามจำต้องยินยอมจนเกิดเป็นข้อตกลงปรับปรุงแบ่งปันเขตแดนเประ - ราห์มัน ฉบับ พ.ศ. ๒๔๔๒ ดนิ แดนทีเ่ สียให้เประคราวนี้คิดเปน็ พ้นื ที่ ๑ ใน ๓ ของทเ่ี ประเรยี กร้องมา สำหรบั พน้ื ทท่ี เี่ ปน็ จดุ ลอ่ แหลมในเขตปกครองของสยามโดยตรงคอื ไทรบรุ ี กลนั ตนั ตรงั กานู และปะลศิ นนั้ รัฐบาลตระหนักมาโดยตลอดว่าเป็นเป้าหมายการครอบครองของอังกฤษ จึงพยายามหาทางแก้ไขป้องกันมา ตั้งแต่ต้นรัชกาล เช่น ดำเนินนโยบายกระชับมิตรกับสุลต่านผู้ครองนคร ปรับปรุงระเบียบบริหารโดยต้ังเป็น มณฑลข้ึนตรงต่อกระทรวงมหาดไทย โดยผ่อนผันให้ใช้วิธีการปกครองตามกฎหมายอิสลามในบางส่วน 299

อย่างไรก็ตาม วิธีการเหล่านี้ไม่สามารถผ่อนคลายให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ อังกฤษย่ิงบีบคั้นมากข้ึนโดยเฉพาะ หลังจากการทำอนุสัญญาลับ เช่นการส่งกองกำลังเข้ามาปราบปรามผู้ร้ายข้ามแดนจากรัฐปะหังท่ีหนีเข้ามา ในกลันตนั และตรงั กานูรวมทั้งแทรกแซงการตง้ั ทป่ี รึกษาประจำรฐั เหลา่ น้ี และขอเขา้ มาจดั การในบรเิ วณหัวเมือง มลายู โดยสง่ ชาวองั กฤษทรี่ บั ราชการกบั สยามไปทำหนา้ ทเี่ ปน็ ทปี่ รกึ ษาประจำรฐั มลายทู งั้ ๔ ตามความเหน็ ชอบ ขององั กฤษซงึ่ รัฐบาลสยามต้องยอมผ่อนปรน การแกไ้ ขปญั หาการแทรกแซงขององั กฤษในรัฐมลายูและปญั หาจากอนุสญั ญาลับ พ.ศ. ๒๔๔๐ ทำให้ เกิดการเจรจาท่ีนำไปสู่การทำสนธิสัญญาฉบับใหม่กับอังกฤษภายใต้การดำเนินงานของที่ปรึกษาทั่วไปคือ สโตรเบลและเวสเตนการ์ด สโตรเบลเห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อสยามและพร้อมจะรับผิดชอบ ในการเจรจาคร้งั นี้ ดังปรากฏในบนั ทึก ฉบบั วันท่ี ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ ความวา่ ...รัฐบาลสยามไม่ได้รับประโยชน์อันใดจากรัฐเหล่าน้ี กลับต้องรับผิดชอบในการ จัดการบริหารของรัฐท้ังหลายนั้น และในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถปฏิบัติงานอย่างมี ประสทิ ธิภาพในการควบคุมเหนือรัฐเหล่าน้นั โดยปราศจากการแทรกแซงจากอังกฤษ... สำหรบั ข้อแลกเปล่ยี นท่สี ยามเรียกรอ้ งตอบแทนการยกรัฐมลายูให้แกอ่ ังกฤษคอื การยกเลกิ อนุสัญญา ลับฉบับ พ.ศ. ๒๔๔๐ การแก้ไขปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานเดียวกับฝร่ังเศส นอกจากนี้ยงั มปี ระเดน็ การขอกยู้ มื เงนิ จากสหพันธรัฐมลายู (Federated Malay States) เพอ่ื ใชใ้ นการสร้างทาง รถไฟสายใต้ สโตรเบลได้ให้คำแนะนำว่าการสร้างทางรถไฟสายนี้จะให้ประโยชน์ในการปฏิรูปการปกครองของ ไทยอยา่ งเตม็ ท่ตี อ่ เม่อื มีการยกเลกิ อนุสัญญาลบั เสียกอ่ น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและคณะเสนาบดีได้พิจารณาเง่ือนไขอย่างรอบคอบ เพราะ ไม่อยากจะสูญเสียพระราชอาณาเขตไปอีกซ่ึงส่งผลกระทบต่อเกียรติภูมิของชาติเป็นอย่างย่ิง พระบาทสมเด็จ พระเจา้ อยหู่ วั ถงึ กบั ทรงมพี ระราชปรารภวา่ ถา้ ไมเ่ ปน็ เพราะทรงเชอื่ มน่ั ในสตปิ ญั ญา ความคดิ และความเชย่ี วชาญ ของสโตรเบลแล้ว กค็ งจะเลกิ การเจรจาคราวนี้ ทา่ ทีของไทยต่อรฐั มลายู รัฐบาลสยามเข้าใจดีถึงปัญหารัฐมลายูและการคุกคามของอังกฤษท่ีพยายามเข้าแทรกแซงและพยายาม หาทางแก้ไขอยู่เสมอ โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาแบบแผนการดำเนินงาน วธิ ปี กครอง บรหิ าร ของอังกฤษ จะได้นำมาเป็นแบบอย่างในการปรับปรุงงานในไทย ทรงแวะตรวจราชการใน หัวเมืองมลายู พยายามผูกน้ำใจเจ้าเมืองมลายู เช่น ทรงยกฐานันดรเจ้าผู้ครองรัฐไทรบุรีเป็นเจ้าพระยาไทรบุรี ให้เมืองไทรบุรีข้ึนตรงต่อกรุงเทพฯ ยกไทรบุรีข้ึนเป็นมณฑล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ เยือนกระชับความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายูอีกหลายคร้ังเพื่อให้เจ้าเมืองมลายูเหล่านั้นมีความสามิภักด์ิต่อไทย มากขน้ึ พระองคท์ รงใหเ้ หตผุ ลในการดำเนินนโยบายเช่นนว้ี า่ ...เพราะเราไม่มีความประสงค์อันใด นอกจากท่ีจะให้หัวเมืองมลายูเปนพระราช- อาณาเขตชั้นนอกต่อกับฝรั่ง อีกประการหน่ึงเมืองเหล่าน้ีปรากฏว่าอยู่ในของไทยจะตกไป 300

แต่อังกฤษเข้ามาบำรุงเราก็ไม่ขาดทุนอันใด ชั่วแต่ไม่ได้ต้นไม้เงินต้นไม้ทองไม่เปนราคากี่มาก นอ้ ยแตย่ ังรสู้ กึ วา่ เปนการเสยี เกยี รตยิ ศอย.ู่ .. เจา้ เมอื งมลายเู หลา่ นม้ี คี วามรสู้ กึ จงรกั ภกั ดตี อ่ ไทยและพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั มากขนึ้ ดังปรากฏในพระราชบนั ทกึ การเสด็จพระราชดำเนินประพาสแหลมมลายู พ.ศ. ๒๔๔๓ ว่า ...เจา้ พระยาไทรว่าตวั มคี วามรสู้ ึกมาช้านานแล้ว วา่ เราได้ยกย่องทำนุบำรงุ แตเ่ ดิมมา แลได้แสดงพระกรุณาต่อตัวเขาเปนอันมาก มีความคิดอย่างเดียวที่จะตั้งใจทำการให้ถูก ตามพระราชประสงค์ทุกอย่าง.....ไม่ได้มีความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากความซ่ือสัตย์ สจุ รติ เลย... เมอื่ ไทยตกลงทำสนธสิ ญั ญากบั อังกฤษฉบบั พ.ศ. ๒๔๕๑ โดยยกรัฐมลายทู งั้ ๔ ใหแ้ กอ่ ังกฤษ ดว้ ย เหตผุ ลที่ว่าเสียอีกเพียงเลก็ น้อยคงจะไมเ่ ปน็ ไร ดกี ว่าจะต้องเสียไปทง้ั หมด ดงั ปรากฏในพระราชหตั ถเลขาวา่ ...ในการคร้ังนี้นับเห็นว่าอาจจะเปล่ียนข้อกำหนดเขตแดนโดยแยกร้องเช่นนี้ก็เปนได้ ถ้าหากว่าไม่เปนขึ้นคร้ังน้ีเราจะได้ความลำบากด้วย เขตแดนเศษเล็กเศษน้อยเหล่าน้ีจะเปน แผลท่ีรักษายาก เลยต้องตัดทิ้งถ้าหากว่าคงบ่มแผลไว้อาจจะเปนบาทยักษ์ลุกลามเข้ามาถึง มณฑลปตั ตาน.ี .. แต่การยกดินแดนรัฐมลายูให้แก่อังกฤษน้ี ทางไทยไม่ได้แจ้งให้สุลต่านเจ้าของรัฐเหล่านั้นทราบเลย นับเป็นความผิดพลาดอย่างหนึ่ง เป็นการทำลายความเข้าใจดีซ่ึงกันและกันเสีย และทำให้สุลต่านเหล่าน้ัน โกรธเคืองไทยมาก หลังจากการทำสนธิสัญญาและจะมีการมอบดินแดนนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสให้ข้าหลวงไทยท่ีจะไปในพิธีน้ันอธิบายความจำเป็นของไทยให้เจ้ารัฐมลาย ู โดยเฉพาะรัฐตรงั กานเู หลา่ นน้ั เข้าใจด้วย ตามพระราชดำรัสสั่งมีใจความวา่ ...อังกฤษมีความปรารถนาที่จะเก่ียวข้องเมืองตรังกานูมาช้านานอันพระยาตรังกานู ย่อมทราบอยู่แก่ใจแล้ว การจึงเก่ียวข้องกันในระหว่างกรุงสยามกับเมืองตรังกานูมีเพียงแต่ ส่งต้นไม้เงินทอง การงานในบ้านเมืองอันใดก็สิทธิขาดอยู่ในพระยาตรังกานู ถ้าอังกฤษ หาเหตุการอันใดหยิบยกขึ้นเบียดเบียฬเมืองตรังกานู หรือพระยาตรังกานูทำการอย่างหนึ่ง อย่างใดซ่ึงไม่เปนท่ีพอใจกันกับอังกฤษๆ ก็คงจะถือเอาว่ากรุงสยามเปนผู้รับผิดชอบใน การเมอื งตรงั กานูแลขอให้กรงุ สยามบงั คบั บญั ชา... การเจริญไมตรกี ับนานาประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำพระราโชบายเจริญพระราชไมตรีอย่างใกล้ชิดกับ นานาประเทศทั้งในเอเชียและยุโรปเพื่อกระชับความสัมพันธ์และถ่วงดุลอำนาจกับประเทศเหล่าน้ัน โดยเฉพาะ ชาติมหาอำนาจตะวันตก ทงั้ น้ีเพอ่ื แกไ้ ขสถานการณว์ ิกฤตที่สยามกำลงั เผชิญหน้าอยใู่ นขณะนั้น การเจรญิ พระราชไมตรใี นสมยั นกี้ อปรดว้ ยวธิ กี ารอนั แยบยลหลากหลายทแี่ สดงใหเ้ หน็ ถงึ สายพระเนตร อันกวา้ งไกลและพระราชวนิ ิจฉัยอนั ลกึ ซง้ึ ขององค์สมเด็จพระเจา้ อยูห่ วั จำแนกเปน็ ลักษณะตา่ งๆ ดงั นี้ 301

การเสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศต่างๆ พระราชจริยวัตรในลักษณะนี้นับว่าต่างไปจาก บทบาทหน้าท่ีในอดีตของพระมหากษัตริย์ไทย แต่ในฐานะองค์พระประมุขของประเทศที่กำลังเผชิญการคุกคาม อย่างหนักหน่วงของลัทธิล่าอาณานิคม พระองค์จึงต้องเร่งดำเนินการสร้างและกระชับความสัมพันธ์กับประมุข และผู้นำของกลุ่มประเทศในยุโรป ซ่ึงมีทั้งการเสด็จเยือนประเทศเหล่าน้ันด้วยพระองค์เอง หรือมอบหมายให้ พระบรมวงศานุวงศ์ที่สำคัญเสด็จแทนพระองค์ด้วย นอกจากนี้ยังทรงเช้ือเชิญองค์พระประมุขหรือเจ้านาย ในพระราชวงศ์ยุโรปให้เสด็จมาเยี่ยมเยือนสยามในวโรกาสต่างๆ ท้ังนี้ไม่ว่าจะเป็นการเสด็จประพาสหรือ การต้อนรับเจ้านายต่างแดนก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเตรียมพระองค์ ผู้ร่วมคณะ และการจัดดำเนินการตา่ งๆ ถูกตอ้ งสมบูรณค์ รบถ้วนตามธรรมเนยี มปฏบิ ัติของชนชัน้ สูงในยุโรป เป็นทีป่ ระทับ ใจของผู้ท่ีเก่ียวข้องเป็นอย่างย่ิง ดังข้อความในพระราชหัตถเลขาพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถในคราวเสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ ฉบับที่ ๓๔ ลงวันที่ ๒๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๖ ความว่า ...ตาหมอบอกว่าตามท่ีแกเห็นเองเห็นฉันภูมิ...พวกฝร่ัง...ที่เปนสมุหราชองครักษ์ ของเจ้าแผ่นดินอิตาลีเปนต้น ได้กล่าวกับแกเองว่าเจ้าของท่านช่างประหลาดใจเราเสียจริงๆ ดูเหมือนเคยมาอยู่ในยุโรปแลเท่ียวไปมาในคอตต่างๆ นานมาแล้ว...ดูเหมือนอยู่กับบ้านของ ตัวเองทุกแห่ง ไม่เห็นผิดกับเจ้านายของเรา แต่ยังทำให้คนเปนที่รักมาก...แลมีสง่าให้คนเปน ท่เี กรงใจ... พระราชไมตรีอันแน่นแฟ้นระหว่างราชสำนักสยามและรัสเซีย รวมทั้งอังกฤษ อิตาลี สเปน เยอรมนี ฯลฯ ส่งผลท้ังทางตรงและทางอ้อมให้ชาติมหาอำนาจตะวันตกมีมุมมองในทางดีต่อสยามและยอมรับความ เป็นสยามประเทศ แม้แต่ฝร่ังเศสซึ่งเคยแสดงท่าทีไม่ปรารถนาดีต่อสยามก็ถวายการรับเสด็จพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หัวเป็นอย่างดีในการเสดจ็ ประพาสยุโรปท้ัง ๒ ครง้ั การจัดตั้งสถานทูต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งอัครราชทูตไปประจำหลาย ประเทศในยโุ รป นบั เปน็ ความจำเป็นอยา่ งเร่งดว่ นเพราะทตู จะเป็นตัวแทนรฐั บาลสยามในการเจรจาแกไ้ ขปญั หา กับรัฐบาลของประเทศน้ันๆ ได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งเป็นผู้รายงานความเคลื่อนไหวและความนึกคิดของกลุ่ม ผู้บริหารสมาชิกสภานักการเมืองและประชาชนของประเทศน้ันๆ ให้รัฐบาลสยามได้รับทราบเพ่ือจะได้สามารถ วางแนวทางในการเตรียมรับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างพรักพร้อม นอกจากนี้ทูตบางแห่งยังทำหน้าท่ีเป็น ผู้ถวายความดูแลอารักขาให้แก่พระเจ้าลูกยาเธอที่ประทับศึกษาอยู่ในประเทศนั้นๆ เช่น พระยามหิบาล อคั รราชทตู สยามประจำราชสำนกั เซนต์ปีเตอรส์ เบอรก์ การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ส่งสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกยาเธอ ตลอดจนเจ้านายรุ่นเล็กและบุตรหลานขุนนางไปศึกษาวิทยาการในยุโรป สำหรับพระราชโอรสน้ันทรงมีพระราโชบายให้กระจายไปศึกษาในประเทศต่างๆ กันไป เช่น สมเด็จพระบรม- โอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทรงศึกษาท่ีอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ุทรงศึกษา ที่เยอรมนี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถทรงศึกษาที่รัสเซีย พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้า จิรประวัติวรเดชทรงศึกษาที่เดนมาร์ก พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์อ่ืนๆ ส่วนใหญ่จะทรงศึกษาวิทยาการทั้งฝ่าย 302

ทหารและพลเรอื นอยู่ทอ่ี ังกฤษ พระราชโอรสเหลา่ น้ีจงึ เปรียบเสมือนตวั แทนขององคส์ มเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัวในการ กระชบั สมั พนั ธไมตรรี ะหวา่ งราชสำนกั สยามกบั ราชสำนกั ตา่ งๆ ของยโุ รป อนั มผี ลทางออ้ มตอ่ ความมมี ติ รไมตรี ระหว่างกัน นบั เป็นพระราโชบายด้านการตา่ งประเทศที่สมั ฤทธผิ ลเปน็ อยา่ งดี ท่ามกลางกระแสของลัทธิจักรวรรดินิยมท่ีถาโถมเข้ามาอย่างต่อเน่ือง พระบาทสมเด็จพระจุลจอม- เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฝ่าวิกฤตท่ีซัดกระหน่ำครั้งแล้วคร้ังเล่า บางคร้ังพระองค์แทบจะไม่ทรงสามารถประคอง พระวรกายให้ยืนหยัดอยู่ได้ แต่ด้วยพระราชปณิธานอันแรงกล้าที่เปี่ยมไปด้วยความรักต่อแผ่นดิน พระองค์ จึงทรงดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาด้วยพระปรีชาสามารถและพระราชปณิธานแน่วแน่ท่ีจะธำรงรักษาเอกราช และอธิปไตยของชาตไิ ว้ ส่งผลให้สยามประเทศดำรงเอกราชใหแ้ กล่ กู หลานไทยในปจั จบุ นั 303



๑๔ เสดจ็ ประพาสแดนไกล ...ได้จากบ้านมาไกลปานน้ีไม่ได้มาเปล่า แต่จะเปนผู้นำระเบียบการงานอันน ้ี กับทั้งความรู้ไปเป็นครูบอกเล่าพวกเราท้ังหลายให้ความรู้ดียิ่งขึ้น และช่วยกันยกชาต ิ ให้เรารุ่งเรืองด้วยวิชาและด้วยอำนาจเสมอกับประเทศท้ังปวงที่เราจะได้เห็น เราจะได้ ไมต่ อ้ งนอ้ ยหน้าเขา... (จดหมายเหตเุ สด็จประพาสยโุ รป ร.ศ. ๑๑๖ พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วริ ิยศิร)ิ เรียบเรยี ง) “พระมหากษัตริย์ผู้เปิดโลกแห่งการเดินทาง” (The King Who Opened the World of Travelling) เป็นหนึ่งในพระราชสมัญญานามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับ ด้วยพระองค์ทรงเป็น พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกท่ีเสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศต่างๆ ท้ังใกล้และไกล ทั้งดินแดนประเทศ เพ่ือนบ้านในทวีปเอเชีย และดินแดนที่อยู่ห่างไกลถึงทวีปยุโรปซึ่งเป็นศูนย์กลางของโลกในทุกๆ ด้านในเวลานั้น การเสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศมีทั้งท่ีเป็นเรื่องของวิเทโศบาย การศึกษาการบริหารราชการแผ่นดินของ ต่างแดน การปฏริ ปู ประเทศสยามให้ทันสมัยเพื่อใหป้ ระเทศมหาอำนาจตะวันตกรบั รถู้ ึงการดำรงอย่ขู องประเทศ สยามในฐานะรัฐเอกราชทมี่ พี ระมหากษัตริย์ทรงเปน็ ประมุข และการรักษาพระวรกาย พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยูห่ ัว ประทบั ในเรือกอนโดลาระหวา่ งเสดจ็ ประพาส เมืองเวนสิ ประเทศอติ าลี พ.ศ. ๒๔๔๐ 305

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อย่หู วั เสด็จประพาสตา่ งประเทศรวมทง้ั สนิ้ ๙ ครั้งดงั น ้ี ครัง้ ที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๑๓ เสด็จสิงคโปรแ์ ละชวาอยา่ งเปน็ ทางการครั้งแรก เป็นเวลา ๓๘ วัน เพ่ือศึกษา ดงู านในอาณานิคมของประเทศตะวนั ตก ครงั้ ท่ี ๒ พ.ศ. ๒๔๑๔ เสด็จอาณานคิ มอินเดยี ขององั กฤษเปน็ ทางการ เปน็ เวลา ๙๒ วนั เพ่ือศกึ ษา ดูงานในอินเดีย ระหว่างการเสด็จ ทรงแวะสิงคโปร์ มะละกา ปีนัง มะละแหม่ง ย่างกุ้ง ตอนเสด็จกลับทรง แวะภเู ก็ต ไทรบุรี และสงขลา ครง้ั ที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๓๑ เสดจ็ รฐั มลายทู างเหนอื คอื กลนั ตนั ตรงั กานู ในสมยั ทยี่ งั เปน็ เมอื งประเทศราช ของสยาม ครัง้ ที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๓๓ เสดจ็ เยอื นปกั ษใ์ ตแ้ ถบเมอื งระนอง พังงา ภเู กต็ แล้วทรงข้ามไปยังเกาะลงั กาวี ปีนัง และไทรบุรี ครั้งท่ี ๕ พ.ศ. ๒๔๓๙ เสด็จสิงคโปร์และชวาคร้ังท่ีสองเป็นการส่วนพระองค์ เป็นเวลา ๓ เดือน ๑๙ วนั การเสด็จคร้ังนม้ี ฝี า่ ยในโดยเฉพาะสมเด็จพระราชินีเสดจ็ ด้วย ครงั้ ท่ี ๖ พ.ศ. ๒๔๔๐ เสดจ็ ยโุ รปครงั้ แรกและครงั้ สำคญั อยา่ งเปน็ ทางการ เปน็ เวลา ๘ เดอื นเศษ คร้ังท่ี ๗ พ.ศ. ๒๔๔๔ เสด็จชวาคร้งั ทสี่ ามเปน็ การส่วนพระองค์ เปน็ เวลา ๘๐ วัน ครัง้ ที่ ๘ พ.ศ. ๒๔๔๙ เสดจ็ สิงคโปร์เพ่ือเจรจากบั ขา้ หลวงใหญเ่ รอ่ื งปัญหารัฐมลายูเหนือ คร้ังที่ ๙ พ.ศ. ๒๔๕๐ เสด็จยุโรปคร้ังท่ีสองและคร้ังสุดท้ายเพ่ือรักษาพระวรกายตามคำแนะนำของ แพทย์ เป็นเวลา ๗ เดือนเศษ ตอนเสด็จกลับทรงแวะเมืองตราดซ่ึงฝรั่งเศสเคยยึดครองภายหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ทรงรบั ดนิ แดนตราดคืนสู่ราชอาณาจักรสยาม การเสดจ็ ประพาสสิงคโปร์ และชวา การท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชสมบัติขณะมีพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินจนกว่าจะทรงเจริญพระชนมายุ ๒๐ พรรษา ทำให้พระองค์ทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างฐานอำนาจของพระองค์เองและปรับปรุงประเทศสยาม ให้ทนั สมัย พระราชกรณยี กิจประการหนึ่งคือการเสด็จต่างประเทศ เพ่อื ศึกษาแบบอยา่ งการปกครอง เศรษฐกจิ และสังคมของอารยประเทศ และนำมาพฒั นาประเทศสยามให้เจรญิ ขึน้ ดินแดนแห่งแรกท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินคือสิงคโปร์ซึ่งอยู่ ใต้การปกครองของอังกฤษ ขณะนั้นอังกฤษได้พัฒนาให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหน้าน้ันพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยทรงมีพระราชดำริ ที่จะเสด็จประพาสสิงคโปร์ แต่ทรงพระประชวรและสวรรคตเสียก่อน ดังนั้นการเสด็จสิงคโปร์ใน พ.ศ. ๒๔๑๓ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเป็นการสานต่อพระราชดำริของสมเด็จพระบรมชนกนาถ ในพระนพิ นธเ์ รอ่ื ง “ความทรงจำ” ของสมเดจ็ กรมพระยาดำรงราชานภุ าพ ไดก้ ลา่ วถงึ การเสดจ็ สงิ คโปรค์ รงั้ นว้ี า่ 306

...คร้ันถึงรัชกาลที่ ๕ เม่ือเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์แรกได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พวกกงสุลต่างประเทศมี มิสเตอร์น็อกส์ กงสุลเยเนอราลอังกฤษเป็นต้น ถามท่านว่าจะคิด อ่านให้พระเจ้าแผ่นดินทรงศึกษาวิธีปกครองบ้านเมืองด้วยประการใด ท่านตอบว่าคิดจะให้ เสด็จไปทอดพระเนตรวิธีปกครองบ้านเมืองของต่างประเทศที่เมืองสิงคโปร์และเมืองบะเตเวีย พวกกงสุลก็พากันซ้องสาธุการและรับจะบอกไปถึงรัฐบาลตน ให้รับเสด็จให้สมพระเกียรติ ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เม่ือทรงทราบว่าจะได้เสด็จไปทอดพระเนตร ตา่ งประเทศก็ยนิ ดีเตม็ พระราชหฤทยั ... เมืองสิงคโปร์เป็นเสมือนหน้าต่างบานแรก ท่ีเปิดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรเหน็ “ตะวนั ตก” และ “ความศวิ ไิ ลซ”์ ดงั นน้ั ในการเสดจ็ สงิ คโปร์ พระองคจ์ งึ ทรงตระเตรยี ม เครื่องแต่งกายท้ังของพระองค์เองและคณะผู้ตามเสด็จ ที่แสดงให้เห็นว่าตนศิวิไลซ์ อันได้แก่ การสวมถุงเท้า รองเท้า แต่งเครื่องแบบเต็มยศและปกติทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือน แต่ยังนุ่งผ้าม่วงอยู่ นอกจากนี้ทรงให้ ผตู้ ามเสดจ็ เรมิ่ ไวผ้ มยาว ยกเวน้ สมเดจ็ พระเจา้ นอ้ งยาเธอ เจ้าฟ้าภาณรุ ังษสี ว่างวงศ์ ทยี่ ังทรงไวพ้ ระเกศาจกุ เมื่อเรือพระท่ีนั่งพิทยัมรณยุทธแล่นไปถึง เมอื งสงิ คโปร์ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงได้รับการต้อนรับจากข้าหลวงใหญ่สิงคโปร์อย่าง สมพระเกยี รตยิ ศ โดยจดั ทปี่ ระทบั ถวายทเ่ี กาเวอเมนตเ์ ฮาส์ (Government’s House) ซึ่งเป็นตึกที่อยู่ของเจ้าเมือง สิงคโปร์บนยอดเขา หนังสือพิมพ์ท่ีสิงคโปร์ได้ลงข่าว การเสด็จประพาสในครั้งนี้ด้วย เมื่อเสด็จถึงที่ประทับ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี พระราชโทรเลขถึงสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย พระเจ้า แผ่นดินอังกฤษ ดงั น้ี ภาพจิตรกรรมฝาผนงั ในพระท่นี ัง่ ทรงผนวช วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แสดงเรือ่ งการเสดจ็ ประพาสสิงคโปร์ พ.ศ. ๒๔๑๓ 307

ทูล สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย หม่อมฉันออกจากกรุงเทพฯ เม่ือวันท่ี ๙ มีนาคม มาตรวจตราหัวเมืองของหม่อมฉันแล้ว ได้ลงมาถึงเมืองสิงคโปร์ซ่ึงเปนเมืองข้ึนของพระองค์ เปนครงั้ แรกทเี่ จา้ แผน่ ดนิ สยามไดม้ าทเ่ี มอื งขนึ้ ขององั กฤษ ทา่ นรง้ั ราชการไดต้ อ้ นรบั หมอ่ มฉนั เปนเกียรตยิ ศอยา่ งสูงสุด และได้จดั ให้พักท่จี วน มคี วามสขุ สบายมาก หม่อมฉนั มคี วามยินดี ที่ได้เห็นบ้านเมืองและผู้คนซึ่งอยู่ในพระราชอำนาจของพระองค์มีความรุ่งเรืองถึงเพียงน้ี หม่อมฉันขอบพระทัยที่พระองค์ทรงรับรองโดยไมตรี และขอให้พระองค์ทรงมีพระชนม์สุข ทุกประการ ขณะประทับอยู่ท่ีเมืองสิงคโปร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทอดพระเนตร สถานท่ตี ่างๆ เช่น ค่ายทหาร ท่ที ำการไปรษณีย์ โบสถ์อังกฤษ โรงเรยี นแรฟเฟิล โรงพยาบาลรกั ษาคนเสยี จริต และรักษาคนป่วย เรือนจำ ท่ีทำการโทรเลข ศาลชำระความ ถนนหนทางในเมือง สวนพฤกษศาสตร์ และ ห้างขายสินค้าต่างๆ ฯลฯ ตอนค่ำมีงานเลี้ยงและงานราตรีสโมสรสันนิบาตซ่ึงจัดอย่างประเพณีตะวันตก โดยมี ชาวตา่ งประเทศประมาณ ๔๐๐ คนมารว่ มถวายการตอ้ นรบั ภายหลังการเสด็จเยือนสิงคโปร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ต่อไปยังเมืองปตั ตาเวีย (Batavia) และเซมารัง (Semarang) บนเกาะชวาซ่งึ เป็นอาณานิคมของฮอลันดา ข่าวการ เสด็จในคร้ังนี้แพร่สะพัดไปทั่วเมืองใหญ่ๆ ในชวา ได้รับความสนใจและเป็นหัวข้อสำคัญของการสนทนาของ ชาวเมอื งเพราะเปน็ ครง้ั แรกทม่ี แี ขกกติ ตมิ ศกั ดซิ์ งึ่ เปน็ ถงึ พระเจา้ แผน่ ดนิ ของรฐั ในภมู ภิ าคนมี้ าเยอื น หนงั สอื พมิ พ์ ท้องถ่ินได้ตีพิมพ์ข่าวการตื่นตัวของผู้คนต่อการเสด็จของพระเจ้าแผ่นดินสยาม เมื่อถึงวันเสด็จมีผู้คน ท้ังชาวตะวันตก ชาวจีน และชาวพื้นเมืองจำนวนมากเดินทางมายังเมืองปัตตาเวียเพ่ือรอรับเสด็จ บริษัทอินเดีย ตะวันออกของฮอลันดา (Dutch East Indies Company) ในนามของรัฐบาลฮอลันดา ได้ถวายการต้อนรับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างสมพระเกียรติยศเช่นเดียวกับสิงคโปร์ พระองค์ทรงประทับ พระหฤทัยในไมตรีจิตของชาวชวาดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาว่า “...ถ้าหากว่านอกจากกรุงเทพฯ แล้ว จะหา ทใี่ ดซ่งึ จะเปนทีม่ ไี มตรสี บายดเี หมอื นยาวาไมม่ ีแล้ว...” ส่วนหนงั สอื พมิ พ์ “Bataviaasch Handelsblad” ของชวา ก็กล่าวชมหนังสือพิมพ์สิงคโปร์ว่าไม่ได้กล่าวเกินความจริงเลยเมื่อเล่าถึงพระจริยวัตรที่สงบเยือกเย็นสุขุมและ ความสง่างามของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซ่ึงแม้ว่ายังทรงพระเยาว์แต่พระเจ้าแผ่นดิน แหง่ สยามกท็ รงสรา้ งความประทบั ใจใหแ้ กผ่ ไู้ ดช้ น่ื ชมพระบารมี ขณะประทับอยู่ที่เมืองปัตตาเวีย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทอดพระเนตร บ้านเมอื ง ถนนหนทาง โรงทำปนื ตึกเรยี นวชิ าการทหาร ตกึ รักษาทหารเจบ็ ปว่ ย สวนพฤกษศาสตร์ สวนสตั ว์ วดั ครสิ ต์ พพิ ธิ ภัณฑ์ การเตน้ รำทีส่ โมสรคองคอเดยี และห้างรา้ นต่างๆ ฯลฯ และเมอ่ื เสด็จต่อไปยงั เมืองเซมารัง ได้เสด็จทอดพระเนตรโรงทำดินปืน ตึกรักษาคนเสียจริตและคนไข้ การทำผ้าบาติก โรงเรียนสอนหนังสือสตรี ของบาทหลวง สถานีรถไฟ เคร่อื งจักรผลติ รถ ถนนท่ีขนึ้ ไปบนเขา ตึกขังนกั โทษชาวฮอลันดา สเุ หรา่ แขก และ ละครชวา ฯลฯ 308

พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสสิงคโปรค์ รง้ั ที่หนึ่ง พ.ศ. ๒๔๑๓ การเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. ๒๔๑๓ เป็นการเสด็จไปทอดพระเนตรกิจการความรุ่งเรืองของบ้านเมืองอื่น ซ่ึงได้แก่ กิจการด้านการศึกษา การ สาธารณสุขและสาธารณูปโภค ขนบธรรมเนียมสากล และความเจริญทางกายภาพ รวมถึงความก้าวหน้า ดา้ นการพาณชิ ย์ของเมอื งทา่ สมยั ใหมท่ ีเ่ กดิ จากการบริหารของจกั รวรรดอิ งั กฤษในภูมิภาคน้ี และเป็นแบบอย่าง ให้ผู้นำของไทยปรับปรุงประเทศ ดังจะเห็นได้จากการเปล่ียนแปลงในด้านต่างๆ ของสยามหลังจากที่ได ้ เสดจ็ กลับแลว้ ดังน้ี การแต่งกาย เริ่มมีการแต่งกายแบบสากล โดยการสวมถุงเท้า รองเท้า เลิกประเพณีการไว้ผมทรง มหาดไทยมาเปน็ ไวผ้ มยาวทงั้ ศีรษะ ในการเข้าเฝ้าชว่ งบา่ ยและคำ่ กอ่ นเวลาเสวยเพระกระยาหารเยน็ โปรดเกลา้ ฯ ใหผ้ เู้ ข้าเฝ้าแตง่ กายโดยสวมถุงเท้ารองเทา้ ใส่เสอื้ คอเปิดแบบฝรง่ั นงุ่ ผา้ มว่ งสกี รมท่า ธรรมเนียมในราชสำนัก การเข้าเฝ้าในช่วงบ่ายและค่ำ โปรดเกล้าฯ ให้ผู้เข้าเฝ้ายืนเฝ้าแบบฝร่ัง ไม่ต้องหมอบกราบ และให้เจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ร่วมโต๊ะเสวยด้วย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๖ มีพระบรม- ราชโองการให้เปล่ียนธรรมเนียมการถวายบังคมและการกราบไหว้เป็นการก้มศีรษะถวายคำนับตามแบบอย่าง ตะวันตก และใหน้ ัง่ เก้าอีแ้ ทนการนั่งกบั พืน้ 309

การศึกษา จากการที่ได้เสด็จไปทอดพระเนตรโรงเรียนแรฟเฟิลในสิงคโปร์ ทำให้พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริที่จะตั้งโรงเรียนภาษาอังกฤษ แต่เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่สามารถ หาครูสอนได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งนักเรียนไทยไปเรียนท่ีโรงเรียนแรฟเฟิลในสิงคโปร์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ นอกจากนี้ การท่ีได้เสด็จไปทอดพระเนตรโรงเรียนสอนหนังสือทั่วไปและโรงเรียนของหมอสอนศาสนาท่ีสอน แต่เฉพาะเด็กหญิง ส่งผลให้มีการตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงในระยะต่อมา เช่น โรงเรียนสุนันทาลัย โรงเรียน เสาวภา และโรงเรียนราชินี เป็นตน้ การต้ังกรมทหารมหาดเล็ก เม่ือเสด็จกลับจากชวา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ใหต้ ง้ั กรมทหารมหาดเลก็ ข้นึ มกี ารรับสมัครเจา้ นายและบตุ รของมหาดเล็กเข้าเป็นทหาร และสร้าง ตกึ แถว ๒ ชน้ั ข้างประตูพมิ านไชยศรีเป็นทีอ่ ยู่ของทหารมหาดเลก็ ตามแบบบาแร็กท่ไี ด้ทอดพระเนตรที่สิงคโปร์ และสร้างตึกใหญ่สำหรับเป็นสโมสรของทหารมหาดเล็กตามแบบสโมสรคองคอเดียของทหารฮอลันดาท่ ี เมืองปัตตาเวียเรียกว่าหอคองคอเดียหรือศาลาสหทัยสมาคม ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๗ โปรดเกล้าฯ ให้จัดเป็น พพิ ิธภัณฑ์ การสาธารณสุข มีการสร้างโรงพยาบาลขึ้นหลายแห่งในประเทศสยาม ทั้งโรงพยาบาลท่ีรักษา โรคทั่วไป และโรงพยาบาลรักษาคนเสียจริต นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกรมพยาบาล โรงเรียนแพทยาลัย และ โรงเรยี นนางผดุงครรภ์ การคมนาคมทางบก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยการสร้างถนนหนทาง ตามเมืองต่างๆ ของชวา และทรงนิยมวิธีการทำถนนของชวาว่าดูม่ันคงแข็งแรง มีการสร้างถนนหลายสาย ในกรุงเทพฯ ขนานไปกับลำคลองเหมือนอย่างในชวา นอกจากนี้เม่ือมีการใช้รถเป็นยานพาหนะในภายหลัง รถยนต์ส่วนใหญ่สั่งซื้อจากเมืองสิงคโปร์และปัตตาเวียมาใช้ในกรุงเทพฯ หลังจากที่มีการใช้รถมากขึ้น ก็มีการ สร้างอู่ตอ่ รถและอซู่ อ่ มรถขน้ึ การชลประทาน เม่ือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสชวา พระองค์ทรงชื่นชม วธิ กี ารเกบ็ กกั นำ้ และวธิ กี ารระบายนำ้ หรอื ระบบการชลประทานของชวาซง่ึ เปน็ ผลงานของฮอลนั ดาทวี่ างระบบไว้ ด้วยเหตุนี้จึงทรงว่าจ้างนายเจ. โฮมัน แวน เดอ ไฮเด (J. Homan Van der Heide) วิศวกรชลประทาน ชาวฮอลันดา มาศึกษาและวางโครงการชลประทานในไทย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้มีการจัดต้ังกรมคลอง หรือตอ่ มาคือกรมชลประทาน โดยมีนายแวน เดอ ไฮเด เปน็ เจ้ากรม กิจการรถไฟ ในระหว่างที่ประทับอยู่ในชวา ส่วนใหญ่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จโดยทางรถไฟซ่ึงมีใช้มาต้ังแต่ พ.ศ. ๒๔๐๕ พระองค์ทรงให้ความสนพระทัยกิจการรถไฟอย่างมาก ดังที่ได้เสด็จไปทอดพระเนตรรถไฟและสะพานรถไฟที่ยังสร้างไม่เสร็จท่ีเมืองเซมารัง ดังนั้นการเสด็จไป ทอดพระเนตรกจิ การรถไฟในชวาจึงนา่ จะมีส่วนสำคญั ในการพัฒนากจิ การรถไฟไทยทีเ่ พ่ิงเร่มิ ตน้ ไดอ้ ยา่ งดี การสร้างสวนพฤกษศาสตร์ ทุกครั้งท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส สิงคโปร์และชวา พระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรสวนพฤกษศาสตร์และทรงประทับใจความสวยงาม และประโยชน์ของสวนพฤกษศาสตร์ ดังน้ันในภายหลังเม่ือทรงจัดสร้างพระราชอุทยานในพระราชวังดุสิต จึงโปรดเกลา้ ฯ ให้สร้างในลกั ษณะใกลเ้ คียงกับสวนพฤกษศาสตรข์ องชวา 310

การเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. ๒๔๑๓ มีผู้สรุปว่าเป็นการประกาศการมีอยู่ของสยามในฐานะรัฐเอกราช ดังบทความเรื่อง “การเสด็จประพาส (สิงคโปร์) เบตาเวีย และสมารัง ในปี ๑๘๗๑ และการพิสูจน์ “ตัวตน” ของสยามในฐานะของรัฐเอกราช” ของกรรณิการ์ สาตรปรงุ ความว่า การเสดจ็ ประพาสสงิ คโปร์ เบตาเวยี และสมารงั ครง้ั แรกนนั้ ไมไ่ ดม้ คี วามหมาย แค่เป็นการไปเรียนรู้เทคโนโลยีหรือวิทยาการ หรือดูงานการเมืองการปกครองเพื่อนำ มาเป็นแบบอย่างในสยามในขณะน้ัน หากนัยสำคัญคือ การที่ชนชั้นนำสยามพยายาม ท่ีจะสร้างและพิสูจน์การมีอยู่ของรัฐสยาม (Visibility) ในฐานะของรัฐเอกราชที่มีความ แตกต่างจากรฐั ทอ้ งถน่ิ อืน่ ๆ และแม้วา่ ชนชาวสยามจะเปน็ ชาติพันธช์ุ าวเอเชยี แตส่ ยาม เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุพิเศษท่ีอยู่ในสถานะที่สูงกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในละแวกภูมิภาคน้ีที่ถูกประเมินจากเหล่าประเทศจักรวรรดินิยมว่าต้อยต่ำกว่าชาวยุโรป กล่าวคือ สยามเป็นกลุ่มชาติพันธ์ุที่ศิวิไลซ์และมีศักยภาพในการปรับตัวและพัฒนา ตนเองให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดขึ้น และมีความสามารถในการนำตัวเองไปสู่ ระดับความเจริญในระเบยี บโลกใหม่ท่มี ชี าตติ ะวนั ตกเปน็ ผนู้ ำ... พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยูห่ ัวและคณะผ้ตู ามเสด็จประพาสชวา ครง้ั ทส่ี อง พ.ศ. ๒๔๓๙ 311

พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั ทรงฉายพระรูปรว่ มกับสลุ ตา่ นรัฐยะโฮร์ พ.ศ. ๒๔๓๙ 312

พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยหู่ วั ทรงฉายพระรปู ท่เี มืองสงิ คโปร์ พ.ศ. ๒๔๓๙ 313

การเสดจ็ ประพาสอนิ เดยี หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากสิงคโปร์และชวาครั้งแรก พระองค์ ทรงมีพระราชปรารภต่อเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เสนาบดีต่างประเทศว่า สิงคโปร ์ และชวาเป็นเพียงเมืองข้ึนท่ีฝร่ังปกครองคนต่างชาติต่างภาษา การเสด็จไปสิงคโปร์และชวาจึงได้ประโยชน์น้อย พระองค์มีพระราชประสงค์จะเสด็จไปยังยุโรปเพ่ือให้ได้เห็นขนบธรรมเนียมในราชสำนักและประเพณีบ้านเมือง ของฝร่ังซ่ึงเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจและความเจริญของโลกโดยตรง แต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ซ่ึงเป็นผู้สำเร็จ ราชการแผ่นดินมีความเห็นว่าการเสด็จยุโรปเป็นการเส่ียงภัยเพราะหนทางไกล อาจเป็นอันตรายต่อองค ์ พระมหากษัตริย์ได้ เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ จึงกราบบังคมทูลเสนอความเห็นว่า อินเดียก็รุ่งเรืองคล้ายยุโรปและ หนทางไม่ไกลนัก ดังนั้น การเสด็จประพาสอินเดียใน พ.ศ. ๒๔๑๔ จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการเปิดประตูสู่ ยุโรป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัวทรงฉายพระรปู รว่ มกับคณะผ้ตู ิดตามเสด็จประพาสอนิ เดยี พ.ศ. ๒๔๑๔ อินเดียเป็นอาณานิคมสำคัญของอังกฤษ เปรียบเสมือน “เพชรประดับมงกุฎ” ของจักรวรรดิอังกฤษ อังกฤษเข้ามาบริหารจัดการปกครองโดยมีศูนย์กลางอำนาจในเขตปกครอง ๓ แห่งคือ บอมเบย์ทางฝ่ังทะเล ด้านตะวันตก มัทราสทางตอนใต้ และกัลกัตตาในเขตเบงกอล รวมเรียกว่า เขตปกครองบริติช - อินเดีย (British - India) ภายใต้ข้าหลวงใหญ่ มีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย แห่งจักรวรรดิอังกฤษ ส่ิงท่ีชนชั้นนำชาวสยามรับรู้เกี่ยวกับอินเดียในขณะน้ันคือการมีแสนยานุภาพและ 314

การขยายอำนาจของจักรวรรดิอังกฤษเข้ามาประชิดชายเขตพระราชอาณาจักรสยามมาต้ังแต่สมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ทำให้มีการรับรูปแบบการจัดการและเทคโนโลยีด้านอาวุธมาใช้พัฒนากองทัพด้วยการจัดการทหาร อย่างฝรั่งที่เรียกว่า “ทหารซีป่าย” มาจากจักรวรรดิบริติช - อินเดียต้ังแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ- เลศิ หลา้ นภาลัยแลว้ ในการเตรียมการเสด็จประพาสอินเดีย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ กำหนดแบบแผนประเพณีท่ีแสดงออกต่อสาธารณชนและการสร้างภาพลักษณ์แบบตะวันตก เช่น การแต่งกาย ตามแบบตะวันตกเหมือนคร้ังเสด็จสิงคโปร์และชวา เคร่ืองฉลองพระองค์ที่เป็นเคร่ืองแบบทหารเต็มยศ ส่วนเครื่องแบบพลเรือนเป็นแบบชุดสุภาพบุรุษอย่างยุโรปยุคกลาง และชุดพลเรือนกึ่งตะวันตกกึ่งสยาม ที่ทรงนุ่งโจงแทนสนับเพลากางเกง แต่เคร่ืองแบบที่เป็นกึ่งตะวันตกนี้ไม่เหมาะกับอากาศร้อนท่ีอินเดีย จึงทรง ออกแบบเส้ือใหเ้ ปน็ เสือ้ ช้ันเดยี ว คอปดิ แขนยาว ที่เรยี กวา่ เสอ้ื “ราชปะแตน” คณะตามเสด็จทงั้ หมดสวมถุงเทา้ และรองเท้า และยังโปรดเกลา้ ฯ ใหป้ ระกาศธรรมเนียมการยนื เข้าเฝ้าท้งั กรณที ีเ่ ป็นทางการและส่วนพระองค์ ภาพจติ รกรรมฝาผนงั ในพระทนี่ ่ังทรงผนวช วดั เบญจมบพิตรดสุ ติ วนาราม แสดงสภาพบา้ นเมืองของอนิ เดยี พ.ศ. ๒๔๑๔ ในระหว่างที่เสด็จประพาสอยู่ในอินเดีย ชาวอินเดียได้เห็นถึงกิริยามารยาทและการแสดงออกถึง บุคลิกภาพของคณะเสด็จประพาสท่ีปรากฏต่อสาธารณชนซ่ึงเป็นภาพลักษณ์ท่ีดูเป็นตะวันตก ตามผลงาน การค้นคว้าวิจัยของศาสตราจารย์สาคชิดอนันท สหาย (Sachachidanand Sahai) แห่งมหาวิทยาลัยมคธ เรื่อง “India in 1872 as Seen by the Siamese” และรายงานของพันเอกสลาเดน (E.B. Sladen) นายทหารอังกฤษ ผู้ตามเสด็จตลอดการเดินทางครั้งน้ี ได้กล่าวถึงการวางท่าและบุคลิกภาพที่โดดเด่นของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือการสูบซิการ์และถือไม้เท้า ซ่ึงเป็นความนิยมของชาวอังกฤษในสมัยวิกตอเรีย นอกจากนี้คณะผู้ตามเสด็จทุกท่านยังมีความรอบรู้ในมารยาทการปฏิบัติตนตามแบบแผนประเพณีของ ชาวอังกฤษ มีการสัมผัสมือซ่ึงเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับจารีตตะวันออกและราชสำนักไทย ในสายตาของ ส่ือมวลชน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งภาษาอังกฤษได้ดี ที่สำคัญ ทรงเข้าพระทัย 315

และมีความรู้เกี่ยวกับแบบแผนพิธีการทูตในการต้อนรับระดับรัฐ เช่น การยิงสลุตตอบ ๒๑ นัดให้กับฝ่าย เจ้าบ้านท่ียิงสลุตต้อนรับ ๒๑ นัดก่อน การแต่งกายและการปฏิบัติตามธรรมเนียมสากลนิยมของยุโรปทำให้ ฝ่ายอังกฤษมีความพอใจและให้ความสนิทสนมต่อฝ่ายไทย ส่ือมวลชนในอินเดียต่างแสดงความชื่นชมท่ี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางพระองค์ได้อย่างเหมาะสมตามแบบแผนประเพณีตะวันตก พนั เอกสลาเดนกล่าวไว้ตอนหนึ่งวา่ ...ข้าพเจ้าประทับใจในความฉลาดของพระองค์ท่าน ประทับใจในพระราชวินิจฉัย ต่อเร่ืองต่างๆ ที่ทรงพบเห็นอย่างมีเหตุผลและมีความเป็นไปได้ อีกท้ังพระราชจริยวัตรและ พระราชกรณียกิจอันล้วนเป็นไปโดยมั่นคงและสุจริตใจ พระองค์ทรงเป็นคนตรงไปตรงมา และเหน็ อกเห็นใจในทุกเรอ่ื ง และการวางพระองคซ์ ง่ึ มีพระชนมายุเพียง ๑๙ พรรษา มีความ โดดเด่นเป็นสง่าและสร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็นเสมอ ทรงมีกิริยามารยาทงดงาม มบี ุคลกิ ภาพตามแบบฉบับสภุ าพบุรษุ โดยแท้... พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ในอินเดียถึง ๔๗ วัน สถานที่ท่ีเสด็จประพาส ครงั้ น้ีมเี มอื งใหญ่ ๓ เมอื งคือ กลั กัตตา เดลี และบอมเบย์ และเมอื งสำคญั อ่นื ๆ เช่น อัครา ลคั เนาว์ พาราณสี และสารนาถ ส่วนใหญ่เป็นการเสด็จโดยรถไฟ พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับจากรัฐบาลบริติช - อินเดียอย่าง สมพระเกียรติยศตามระเบียบพิธีการ และได้ทรงทอดพระเนตรสถานท่ีสำคัญอันได้แก่ กิจการด้านโครงสร้าง พน้ื ฐานและกจิ การสาธารณูปโภค กจิ การทหารและกองทพั ตลอดจนเมืองสำคัญทางพระพทุ ธศาสนา กิจการด้านโครงสร้างพ้ืนฐานและกิจการสาธารณูปโภค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรโรงกษาปณ์ โรงจ่ายน้ำประปา ทัณฑสถาน โรงพยาบาล การรถไฟ ฯลฯ พระองค์ทรงสน พระทัยกิจการรถไฟอย่างมาก เพราะสามารถขนถ่ายวัตถุดิบเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมและสินค้าจำนวน มากๆ ใหค้ วามสะดวกในการเคล่อื นย้ายกองทพั อีกท้ังเป็นพาหนะเดินทางท่มี คี วามสะดวก รวดเรว็ ถงึ กบั ทรง มีพระราชดำริจะได้จัดการรถไฟเช่นนี้ในราชอาณาจักรสยามทันทีท่ีเสด็จนิวัตพระนคร ส่วนกิจการโรงกษาปณ์ เป็นกิจการท่ีพระองค์ทรงสนพระทัยรองลงมา เน่ืองจากเมื่อเสด็จข้ึนครองราชย์ เกิดปัญหาเงินปลอมซ่ึงมี ผลกระทบต่อการค้าขายของประเทศ จึงมีพระราชประสงค์ที่จะพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการผลิต เงินตราของโรงกษาปณ์อย่างเช่นโรงกษาปณ์ในเมืองกัลกัตตา ส่วนกิจการโรงกรองน้ำก็เป็นเรื่องท่ีพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระทัย เน่ืองมาจากในสมัยนั้นเกิดปัญหาอหิวาตกโรคระบาด ในประเทศ การจัดหาน้ำสะอาดให้ประชาชนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับรัฐบาล พระองค์ทรงมีรับส่ังถาม การทำงานของโรงกรองน้ำและชมกจิ การอยูน่ านถึง ๒ ชั่วโมง กิจการทหารสมัยใหม่ คณะเสด็จอินเดียได้เยือนโรงหล่อคอร์ซิเปอร์ เมืองกัลกัตตา ซึ่งเป็นโรงงาน ผลิตอาวุธปืนใหญ่และกระสุนสำหรับปืน เพ่ือใช้ในกองทัพบกและกองทัพเรือของอังกฤษ และเมื่อเสด็จถึง เมืองบอมเบย์ได้ทอดพระเนตรเรือรบและการสาธิตการแสดงแสนยานุภาพของอาวุธในเรือรบ ทำให้พระองค์ ทรงทราบถึงแสนยานภุ าพกองทพั เรอื ของบรติ ชิ - อินเดียที่เปน็ แบบตะวนั ตกเป็นครัง้ แรก ส่วนกจิ การกองทัพบก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเย่ียมป้อมวิลเลียมซึ่งเป็นค่ายทหารถาวรขนาดใหญ่ นอกจาก น้ียังได้ทอดพระเนตรการประลองยุทธ์และการซ้อมรบ อันเป็นการปฏิบัติการทหารเต็มรูปแบบที่แสดง แสนยานภุ าพทางทหารอนั เกรียงไกรของอังกฤษ พรอ้ มท้งั การฝึกทหารตามยุทธวธิ ที นั สมัยของยโุ รป 316

การเสด็จสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา สารนาถ มฤคทายวัน และพาราณสี ล้วนเป็นสถานที่ สำคัญทางพระพุทธศาสนา ท้ังน้ีพระพุทธศาสนาและศาสนสถานส่วนใหญ่ได้ถูกทำลายทั้งจากผู้นับถือศาสนา ฮินดูและศาสนาอิสลาม มีความพยายามกลืนกลายให้พระพุทธเจ้าเป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์อวตาร ในลัทธิฮินดู ส่วนในสมัยราชวงศ์โมกุลซ่ึงนับถือศาสนาอิสลามก็มีการรื้อถอนทำลายศาสนสถานของ พระพุทธศาสนา ดังนั้น การเสด็จเมืองสารนาถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงถือได้ว่า เป็นการเสด็จไปสืบพระศาสนา ซ่ึงเป็นการกระตุ้นให้เกิดการศึกษาโบราณคดีที่เก่ียวกับพระพุทธศาสนาและ ส่งเสริมพระพุทธศาสนาในประเทศสยามให้เจริญรุ่งเรือง ดังจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั โดยเฉพาะอยา่ งยิง่ การชำระและจดั พมิ พพ์ ระไตร- ปฎิ กภาษาไทยข้ึนใน พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๓๖ และโปรดเกล้าฯ ใหเ้ ผยแพร่พระไตรปฎิ กชดุ นไ้ี ปทัว่ โลก หลังการเสด็จประพาสอินเดีย ในปีรุ่งขึ้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชันษา ๒๐ ปีบริบูรณ์ และเม่ือประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกคร้ังท่ีสองใน พ.ศ. ๒๔๑๖ แล้ว ก็ทรงสามารถ บริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำประสบการณ์และความรู้ที่ทรงทอดพระเนตรจาก อินเดียมาปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยแบบตะวันตก เช่น การจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ การจัดตั้งสภา ทปี่ รกึ ษาราชการแผน่ ดนิ และสภาทปี่ รึกษาในพระองค์ การพัฒนากองทพั จดั ต้ังโรงเรียนฝกึ หัดนายทหารอาชพี คอื โรงเรยี นคะเด็ตทหารหนา้ การวา่ จ้างผเู้ ช่ียวชาญชาวต่างประเทศมาทำงาน การพฒั นากิจการสาธารณูปโภค และการปฏิรูประบบราชการเพ่ือเร่งสร้างเสถียรภาพของประเทศ ป้องกันการแทรกแซงของอังกฤษดังท่ีเกิดขึ้น ในอนิ เดีย เห็นได้ว่า การเสด็จประพาสดินแดนอาณานิคมของชาติตะวันตกในเอเชียของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในรัชสมัยของพระองค์ เพราะพระองค์ทรงนำ ประสบการณท์ ไี่ ดท้ อดพระเนตรจากการเสดจ็ พระราชดำเนนิ มาใชใ้ นการพฒั นาประเทศใหท้ ดั เทยี มอารยประเทศ อยา่ งไรกต็ าม โลกศวิ ไิ ลซข์ องตะวนั ตกนน้ั แทจ้ รงิ แลว้ อยใู่ นทวปี ยโุ รปซง่ึ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงต้องการแสวงหามากที่สุด ดังนั้น เป้าหมายการเสด็จประพาสต่อไปก็คือการเสด็จประพาสยุโรปซ่ึงเป็น ศนู ย์กลางอำนาจและความเจรญิ ของโลกในเวลานั้น การเสด็จประพาสยโุ รป ในชว่ งเวลา ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๕๐) พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัวเสด็จประพาส ยุโรป ๒ คร้ัง คือ ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ และ พ.ศ. ๒๔๕๐ ตามลำดับ การเสด็จประพาสยุโรปท้ัง ๒ ครั้ง มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน กล่าวคือ การเสด็จคร้ังแรกเน้นการเจริญพระราชไมตรีเพื่อธำรงรักษาเอกราช และอธิปไตยของชาติ เน่ืองจากสยามประเทศกำลังเผชิญภัยคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคมของมหาอำนาจ ตะวันตก และเพ่ือศึกษาความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ ของชาติตะวันตกซ่ึงเป็นแบบอย่างในการพัฒนา และปฏิรูปประเทศของไทย ส่วนการเสด็จประพาสยุโรปคร้ังหลังเป็นการเสด็จไปรักษาพระวรกายและ เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับชาติตะวันตก การเสด็จประพาสยุโรปท้ัง ๒ ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีสายพระเนตรกว้างไกลในการดำเนินวิเทโศบายเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น ให้กับประเทศ ท้ังการธำรงรักษาเอกราชให้เป็นท่ียอมรับของนานาประเทศ และเพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญ รงุ่ เรอื งและทนั สมยั ทดั เทยี มอารยประเทศทง้ั ปวง 317

การเสดจ็ ประพาสยโุ รปคร้งั ที่ ๑ ... ทรงพระราชดำริเห็นว่าการที่เสด็จประพาสเมืองต่างประเทศดังได้เสด็จ มาแล้ว แม้เมืองเหล่าน้ันเปนแต่เมืองขึ้นของมหาประเทศซึ่งอยู่ในประเทศยุโรปก็ยัง เปนเหตุให้เกิดการเจริญรุ่งเรืองแก่พระราชอาณาจักรได้เปนอันมาก ถ้าเสด็จได้ถึง มหาประเทศเหลา่ นัน้ เอง ประโยชนย์ อ่ มจะมที วขี ึน้ อีกหลายเท่า ทงั้ ที่จะไดท้ รงตรวจตรา แบบแผนราชการบ้านเมืองและจะได้ทรงวิสาสะคุ้นเคยกับพระมหากษัตริย์รัฐบาลแห่ง นานาประเทศใหญ่น้อยในประเทศยุโรป เจริญทางพระราชไมตรีซ่ึงมีต่อกรุงสยามให้ เรยี บร้อยรงุ่ เรืองยิง่ ข้นึ กว่าแตก่ อ่ น... (จดหมายเหตเุ สด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖ พระยาศรีสหเทพ (เสง็ วิรยิ ศิริ) เรียบเรียง) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรือพระที่นั่งมหาจักรี พระราชพาหนะในการเสด็จประพาสยโุ รป เสด็จประพาสยุโรปคร้ังที่ ๑ ระหว่างเดือนเมษายนถึง คร้งั ที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๔๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ รวมระยะเวลา ๘ เดือนเศษ พระราชพาหนะท่ีใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินคือ เรอื พระทนี่ งั่ มหาจกั รี และมผี ตู้ ามเสดจ็ ๒๙๑ พระองค/์ คน หนึ่งในคณะผู้ตามเสด็จคือพระยาสฤษด์ิพจนกร (เส็ง วิริยศิริ) หรือพระยาศรีสหเทพในเวลาต่อมา ผู้ได้บันทึกเรื่องราวการเสด็จประพาสยุโรปคร้ังน้ีไว้ อย่างละเอียดในหนังสือ จดหมายเหตุเสด็จยุโรป คร้ังที่ ๑ ร.ศ. ๑๑๖ ทำให้ผู้ศึกษาทราบถึงพระราช- กรณยี กจิ ของพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดเ้ ปน็ อยา่ งด ี พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงฉายพระรปู ร่วมกบั นายทหารเรอื ประจำเรอื พระท่ีนัง่ มหาจกั ร ี 318

พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดเ้ สดจ็ เยือนประเทศต่างๆ รวม ๑๓ ประเทศ ได้แก่ อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรยี - ฮังการี รสั เซยี - โปแลนด์ สวเี ดน เดนมาร์ก อังกฤษ เบลเยยี ม เยอรมนี ฮอลแลนด์ (เนเธอร์แลนด์) ฝรั่งเศส สเปน และโปรตุเกส ประเทศต่างๆ เหล่านี้ได้ถวายการต้อนรับพระบาทสมเด็จพระ- จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างสมพระเกียรติยศ โดยเฉพาะพระเจ้าซาร์นิโคลัสท่ี ๒ แห่งรัสเซีย ซึ่งทรงรู้จัก สนิทสนมกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ยังทรงดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย ไดถ้ วายการตอ้ นรบั ผนู้ ำของไทยอยา่ งยง่ิ ใหญ่ เปน็ แบบอยา่ งแกผ่ นู้ ำของชาตอิ นื่ ๆ ทถี่ วายการตอ้ นรบั อยา่ งยง่ิ ใหญ่ เชน่ กัน ซุม้ รบั เสด็จพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หวั ทก่ี รุงสตอกโฮลม์ ประเทศสวเี ดน พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยรวม จดุ มงุ่ หมายสำคัญในการเสด็จประพาสยุโรปคร้ังที่ ๑ คอื เพ่อื เจรญิ สมั พันธไมตรกี ับประเทศ ตะวันตกในฐานะชาติอธิปไตยท่ีมีสถานะเท่าเทียมกัน และเพ่ือศึกษาดูงานการพัฒนาความเจริญด้านต่างๆ ของ ชาติตะวนั ตก 319

การเจรญิ สัมพนั ธไมตรีกบั ประเทศตะวนั ตก หลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงภัยอันใหญ่ หลวงจากการคุกคามของมหาอำนาจตะวันตก ซ่ึงมิได้หยุดยั้งเพียงแค่การทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๔๓๖ เทา่ นัน้ หากฝรง่ั เศสยังแสดงนโยบายเด่นชดั ท่ีจะยึดครองดินแดนสว่ นอน่ื ๆ ในลาวและเขมรท่ียังคง เหลืออยู่ นอกจากนฝ้ี รัง่ เศสและองั กฤษยังมขี ้อตกลงใน พ.ศ. ๒๔๓๘ ที่จะใหไ้ ทยเปน็ รัฐกันกระทบระหว่างเขต อิทธิพลของประเทศทั้งสองโดยรับรองเขตแดนของไทยเพียงแค่บริเวณลุ่มแม่น้ำในภาคกลางเท่าน้ัน ด้วยเหตุน้ี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราโชบายจะเสด็จพระราชดำเนินไปยังทวีปยุโรปเพื่อ เจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอื่นในยุโรป และเพื่อสร้างการยอมรับว่า ประเทศสยามเป็นชาติอธิปไตยท่ีมีฐานะทัดเทียมกับชาติยุโรป เพราะการท่ีประมุขของชาติยุโรปได้ถวายการ ต้อนรับพระองค์อย่างสมพระเกียรติยศเช่นเดียวกับประมุขชาติอื่นๆ ก็แสดงถึงการยอมรับว่าพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประมุขของชาติอธิปไตยที่มีสถานะเท่าเทียมกับชาติยุโรปท้ังหลาย อย่างไร ก็ตาม ก่อนการเสด็จประพาสยุโรปในคร้ังนี้ อังกฤษได้ยื่นเง่ือนไขให้รัฐบาลสยามลงนามในข้อตกลงลับระหว่าง ไทยกับอังกฤษ พ.ศ. ๒๔๔๐ ซ่ึงมีผลให้ไทยต้องประสบปัญหาอธิปไตยเหนือดินแดนในภาคใต้ตั้งแต่ ประจวบคีรีขันธ์ลงไป แต่ฝ่ายไทยก็จำเป็นต้องยินยอมลงนามในสัญญาดังกล่าวเพ่ือให้รัฐบาลอังกฤษรับรอง การเสด็จประพาสยโุ รปในคร้งั น้ ี อย่างไรก็ตาม แม้ระหว่างท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จถึงยุโรป ท้ังอังกฤษและ ฝรัง่ เศสยงั คงรีรอท่ีจะแจ้งกำหนดการรบั เสดจ็ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หู ัวอย่างเปน็ ทางการ ทำให้ พระองค์ถึงกลับทรงระบายความอัดอ้ันพระราชหฤทัยที่มีต่อประเทศทั้งสอง ในพระราชหัตถเลขาลงวันที่ ๑๓ มถิ ุนายน ร.ศ. ๑๑๖ ถงึ สมเด็จพระนางเจา้ เสาวภาผ่องศรี พระบรมราชนิ ีนาถ ดงั นี้ ด้วยการมาคร้ังนี้ท่ีอื่นก็ไม่พอเปนไร วิตกอยู่แต่อังกฤษกับฝรั่งเศสท่ีมันเตรียมจะ เปนนายเราอยู่ทง้ั สองฝา่ ย ข้างองั กฤษนน้ั ความสมั พนั ธ์เราก็ไดต้ กลงจะทำแลว้ แต่ก็ยังไมไ่ ด้ ทำสัญญา เรื่องคนในบังคับน้ันได้ทราบว่าอยู่ในมือหมอกฎหมาย กำลังท่ีจะตรวจตราอยู่ ท้องเรื่องนั้นจะชวนเปนการยาววัน ยังมีอีกก็คงเปนแต่เร่ืองรถไฟแต่ฝรั่งเศสนั้น เปนก้อน สดุดของเราสำคัญยิ่งใหญ่...ถ้าไม่ไปเมืองฝร่ังเศส ก็เปนอันประกาศว่าเปนสัตรูกันเหนเปน การร้ายมากอย่.ู .. แม้การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศยุโรปในคร้ังน้ีจะมีอุปสรรคจากท้ังอังกฤษและฝรั่งเศส แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงได้รับการถวายพระเกียรติจากประมุขของประเทศต่างๆ อย่างสมพระเกียรติ โดยเฉพาะท่ีประเทศรัสเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีแสนยานุภาพไม่ยิ่งหย่อนกว่าประเทศใด ในยโุ รป พระเจา้ ซารน์ โิ คลสั ท่ี ๒ ไดถ้ วายการตอ้ นรบั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ดจุ พระสหายสนทิ เปน็ ผลใหป้ ระเทศอนื่ ๆ รวมทงั้ ฝรงั่ เศสจดั ถวายการรบั รองคณะของไทยไมใ่ หน้ อ้ ยหนา้ รสั เซยี ดงั พระราชหตั ถเลขา ถงึ สมเดจ็ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ลงวนั ที่ ๑๑ กันยายน ร.ศ. ๑๑๖ ความว่า 320

ถงึ แม่เล็ก ดว้ ยตง้ั แตฉ่ นั ออกมาครง้ั นย้ี งั ไมเ่ คยไดค้ วามคบั แคน้ เดอื ดรอ้ นเหมอื นอยา่ งครงั้ นเ้ี ลย การท่ีแม่เล็กรู้สึกหนักในเร่ืองท่ีฉันจะมาเมืองฝร่ังเศสประการใด ขอให้เข้าใจว่าฉันหนักกว่า สิบเท่าอยู่แล้ว เพราะเปนผู้ท่ีมาเองแต่ครั้นเมื่อมาถึงปารีสเข้า เขาก็รับรองอย่างแขงแรง เปรสเิ ดนทก์ ข็ นึ้ รถมาสง่ ถงึ ทอ่ี ยู่ ซงึ่ เปนการทเี่ ขาไมไ่ ดท้ ำใหแ้ กผ่ ใู้ ดนอกจากเอมเปอเรอรสั เซยี การท่ีเขาทำเช่นน้ี ผู้ซ่ึงมีสัญญาไม่วิปลาศคงจะเข้าใจได้ว่า เขาไม่ได้ทำด้วยเกรงอำนาจเรา อย่างใด ทำด้วยเหนแก่พระบารมีเอมเปอเรอ แลด้วยกำลังต่ืนรู้ขนบธรรมเนียมเจ้านาย เพราะไดไ้ ปเคยเหนการรับรองที่รสั เซยี มา การท่ที ำอะไรก็ถา่ ยแบบท่นี ั้นมาทั้งสน้ิ ในภาพรวมของการเสด็จพระราชดำเนินไป พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หวั เจริญสัมพันธไมตรีกับชาติในยุโรปคร้ังที่ ๑ พระบาท และสมเด็จพระเจ้าซาร์นโิ คลัสที่ ๒ แห่งรสั เซยี สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประสบผลสำเร็จ ระหวา่ งเสด็จพระราชดำเนนิ เยือนรสั เซีย พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นอย่างดีเพราะประเทศมหาอำนาจตะวันตกอ่ืนๆ โดยเฉพาะรัสเซียและเยอรมนีได้ให้การรับรองสถานะ ของสยามในฐานะรัฐเอกราช ทั้งนี้พระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงมพี ระราชหตั ถเลขาเลา่ ให้ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ฟังว่า พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ ทรงช่วยเจรจากับ จักรพรรดิแห่งเยอรมนีให้ค้ำประกันเอกราชของไทย ดงั ข้อความที่ว่า ...คำอันใดที่เอมเปอเรอ รสั เซียได้รบั สงั่ กบั ฉัน ไดค้ ิดแลว้ จึง ได้ตรัสทั้งสิ้น ตรัสแล้วไม่ได้ลืมทิ้ง เสียเลย คำท่ีว่าอินดิเปนเดนต์ของ เมืองไทยไม่มีเวลาที่จะต้องสูญ ต้องทำลาย ยังปรากฏติดหูอยู่ แต่ ควรเหนได้ว่าเอมเปอเรอไม่เปนคน พูดมาก ไม่ชี้แจงถึงเหตุการณ์ที ่ คิดอ่านจะทำอย่างไร แต่ได้ทำ อยู่เสมอโดยเงียบๆ อย่างเช่น พูดกับเอมเปอเรอเยอรมนีดังน้ี ฉันมีความนับถือและเช่ือในสติ ปัญญาอันลึกซ้ึงของเอมเปอเรอ รสั เซียมากนกั ... 321

นโยบายของรัสเซียและเยอรมนีที่ให้การรับรองเอกราชของไทยจึงสอดคล้องกับพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะนำมหาอำนาจชาติอื่นมาถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษและฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม พระองค์ก็ทรงเข้าพระทัยดีว่าที่สุดแล้วประเทศสยามก็จำเป็นต้องยืนหยัดอยู่ด้วยตนเองมากกว่า จะรอพงึ่ มหาอำนาจชาติอืน่ ดงั พระราชหตั ถเลขาถงึ สมเดจ็ พระนางเจา้ เสาวภาผอ่ งศรี พระบรมราชนิ นี าถ ว่า ...นอกจากน้ีแล้ว ความทุกข์ร้อนอันใดของเราท่ีจะพึ่งปากผู้อ่ืนให้ช่วยพูด พึ่ง ความคิดผู้อ่ืนให้ช่วยคิดน้ัน อย่าได้ฝันเหนเลยว่าใครจะเปนธุระโดยว่าเขาจะเปนธุระก็เสีย แก่เรา เราเปนเมืองเอกราชต้องพูดเองจึงจะสมควร ถ้าเขาไม่ต้องการเราเปนโปรเตกชั่นแล้ว เขาไมฮ่ บุ เลย... กองเกียรติยศถวายการรบั เสดจ็ ท่ีประเทศเยอรมนี ในการเสดจ็ ประพาสยโุ รปคร้ังที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๔๐ 322

การศกึ ษาดูงานการพฒั นาความเจริญของชาติตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีแนวพระราชดำริในการพัฒนาประเทศตามแบบ ตะวันตกต้ังแต่แรกเสด็จประพาสประเทศเพ่ือนบ้านซ่ึงเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ต้ังแต่นั้นมาพระองค ์ ทรงเร่ิมวางรากฐานการพัฒนาความเจริญด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านสาธารณูปโภคพ้ืนฐาน ต่อมาพระองค ์ มีพระราชประสงค์จะศึกษาความเจริญด้านต่างๆ ของชาติตะวันตกเพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศ สยามให้ทัดเทียมชาติตะวันตกท่ีกำลังแผ่อิทธิพลครอบคลุมภูมิภาคต่างๆ ของเอเชีย ดังนั้น หมายกำหนดการ เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศยุโรปคร้ังท่ี ๑ จึงมีการเสด็จศึกษาดูงานและประพาสสถานที่ท่ีน่าสนใจ ของประเทศต่างๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม พิพิธภัณฑ์ ศาล เขื่อนกั้นน้ำ ฯลฯ หลังเสด็จพระราชดำเนินกลับ ประเทศสยาม พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัวทรงนำแบบอยา่ งทไ่ี ด้ทอดพระเนตรจากยุโรปมาพัฒนา ประเทศหลายดา้ น ที่สำคญั เช่น การทหาร เทคโนโลยี การพาณิชย์ ขนบธรรมเนยี มประเพณี ฯลฯ ด้านการทหาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การพัฒนาด้านการทหาร โดยเฉพาะการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่และกิจการทหารบกทหารเรือ หลังจากน้ันโปรดเกล้าฯ ให้มีการพัฒนากิจการทหารบกและทหารเรือ รวมทั้งการสนับสนุนให้พระราชโอรส ศึกษาด้านวิชาการทหาร ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาของพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ถึงสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ลงวันท่ี ๒๗ เมษายน ร.ศ. ๑๑๗ ความว่า “...ทรงพระราชดำริห์ เหนว่าบรรดาพระเจ้าลูกเธอในช้ันเจ้าฟ้าน้ันควรจะให้เรียนทหารท้ังหมด เว้นไว้แต่ขัดด้วยรูปแลไม่มีกำลังพอ เทา่ นนั้ ...” เทคโนโลยี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า เทคโนโลยีมีความจำเป็น ในการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย จึงทรงส่งเสริมให้นำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรและเทคโนโลยีสมัยใหม ่ ให้มากยิ่งขึ้น เช่น รถยนต์ รถไฟ รถราง เรือกลไฟ รถจักรยาน จักรเย็บผ้า กล้องถ่ายรูป ฯลฯ รวมท้ังการ ใช้วัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก ปูน หินอ่อน เสาไฟฟ้า ฯลฯ ในการก่อสร้างอาคาร สะพานและถนน เพ่ือรองรับ การขยายพ้ืนทข่ี องกรงุ เทพฯ การพาณชิ ย์ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ - ห้างของชาวยุโรปจำหน่ายอัญมณีและเคร่ืองประดบั เจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ถนนเฟอื่ งนคร ของยุโรปซ่ึงมีรากฐานจากการพาณิชย์ พระองค์ ได้เสด็จเย่ียมเยียนห้างร้านและโรงงานผลิตสินค้า ทรงชักชวนให้พ่อค้าชาวยุโรปเข้ามาลงทุนและ ขยายธุรกิจการค้าในประเทศสยาม จากเดิมท่ีมีพ่อค้า อังกฤษเข้ามาค้าขายเป็นส่วนใหญ่ เป็นผลให้มีพ่อค้า ยุโรปชาติอนื่ ๆ เข้ามาประกอบธรุ กจิ มากขึน้ ทั้งบริษัท ขนาดใหญ่ เช่น บริษัทบีกริมแอนด์โก ซ่ึงจำหน่าย เครื่องจักรกลต่างๆ บริษัทไฟฟ้าสยามทุนจำกัด ของชาวเดนมาร์ก ซ่ึงจัดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ 323

ประชาชนในเขตพระนคร ตลอดจนห้างร้านค้าต่างๆ จำนวนมาก ทำให้ย่านการค้าในเขตถนนเจริญกรุง ถนน บำรุงเมือง ถนนเฟอื่ งนคร และถนนเยาวราช มคี วามคกึ คกั เพ่มิ ขึน้ หา้ งยอน แซมสัน ทถี่ นนเจริญกรุง ห้างแบตแมน ท่ีเชงิ สะพานผา่ นพิภพลีลา ถนนราชดำเนิน 324

การศึกษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษา ซ่ึงเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศ พระองค์พระราชทานทุนทรัพย์ท้ังพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จไปศึกษา ณ ประเทศยุโรป และทุน เล่าเรียนหลวงแก่ลูกหลานขุนนางและสามัญชน เพื่อให้นำความรู้และวิทยาการสมัยใหม่มาร่วมกันพัฒนา ประเทศ ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งท่ี ๑ น้ี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเย่ียม โรงเรียนอีตันซ่ึงเป็นโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ท่ีสำคัญพระองค ์ ยังทรงพบปะนักเรียนไทยท่ีได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงลอนดอน และพระราชทานพระราโชวาท ใหน้ กั เรียนไทยขยันศกึ ษาหาความรเู้ พอื่ จะไดก้ ลบั ไปชว่ ยกันพัฒนาบา้ นเมอื ง ขอ้ ความตอนหนึ่งในพระราชดำรัส ของพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อย่หู วั ทพ่ี ระราชทานแกน่ กั เรียนไทย คอื ...เพราะฉะน้ัน ถ้าเจ้าทั้งหลายรู้บุญคุณของคอเวอนแมนต์ไทยท่ีออกทรัพย์และ สง่ ให้มาเลา่ เรียนแล้ว เจ้ากค็ งจะได้รับความดคี วามเจริญ ใหเ้ จา้ จำไวใ้ นใจวา่ ถงึ เจา้ จะเปนไทย ไปเร่อๆ ร่าๆ เจ้ากค็ งจะไดด้ ี ไมจ่ ำตอ้ งทำท่าเปนอยา่ งฝร่งั ใหเ้ จ้าหมน่ั อุตส่าหร์ บี เล่าเรยี นให้ แล้วเสร็จ เจ้าจะได้กลับไปบ้านเมือง ถ้าเจ้าจะนึกว่าอยู่ที่นี่สบาย นึกเสียว่าจะเล่าเรียนเมื่อใด กไ็ ดเ้ ช่นน้ี เปนอนั ว่าเนรคณุ ตอ่ คอเวอนแมนต์ไทยท่ีออกทุนสง่ มาเลา่ เรยี นวชิ าท้งั หลาย การที่ เจ้าจะเล่าเรียนน้ัน เจ้าต้องขวนขวายให้ได้วิชาเปนอย่างดี และอย่าให้นึกว่าตัวเจ้าจะแปลก กับคนในกรุงเทพฯ อยา่ งใดเพราะเขากม็ คี วามรเู้ หมอื นกนั ... พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรงฉายพร้อมพระราชโอรสทที่ รงศกึ ษาอยู่ในยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ 325

ขนบธรรมเนียมประเพณี ตั้งแต่ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชสำนักไทย ได้เป็นต้นแบบของการปรับเปล่ียนขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อให้สอดคล้องกับการเปิดรับความก้าวหน้า แบบตะวันตก การเปล่ียนแปลงไปสู่ความทันสมัยได้เริ่มในช่วงต้นรัชกาลแต่ยังไม่สู้แพร่หลายนัก ต่อมาเมื่อม ี ผู้สำเร็จการศึกษาจากยุโรปเดินทางกลับมา บุคคลเหล่านั้นได้นำรูปแบบการดำเนินชีวิตตะวันตกเข้ามาด้วย ทำให้มีการเปล่ียนแปลงขนบธรรมเนียมเป็นแบบสมัยใหม่มากขึ้นในหมู่ชนช้ันสูงและพ่อค้า คร้ันเมื่อพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากยุโรป ความทันสมัยท่ีพระองค์ทรงนำเข้ามาได้กลายเป็น “พระราชนยิ ม” ที่เปน็ ต้นแบบแกร่ าษฎร การพัฒนาความทันสมัยในคณะผู้ปฏิบัติราชการตามเสด็จประพาสยุโรปคร้ังท่ี ๑ ได้ปรากฏ ขณะเสด็จพระราชดำเนินอยู่บนเรือพระท่ีน่ังมหาจักรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ ลกู เรอื ท้ังหลายฝึกฝนภาษาอังกฤษเพ่ือเตรียมพร้อมในการพบปะสนทนากับชาวยุโรป พร้อมท้ังมีพระราโชวาท แก่บรรดานายเรอื และลกู เรือให้ประพฤติตนใหส้ มเกียรติ ดังน้ี ...คราวน้ีเปนคราวแรกที่เจ้าทั้งปวงได้มารับราชการ ในบ้านเมืองและในหมู่คน ซ่ึงเปนต่างประเทศต่างชาติต่างภาษา เปนเมืองต่างประเทศที่เขาถือชาติรักษาเกียรติยศ ขนบธรรมเนียมแบบแผนของเขาอย่างกวดขัน พวกเราก็เปนชาติหน่ึงซ่ึงได้มีอยู่ และจะไปใน ท่ามกลางคนต่างประเทศเหล่าน้ี เพราะฉะนั้นขอให้เจ้าท้ังปวงประพฤติตนจงดี และรักษา แบบแผนขนบธรรมเนียมโดยกวดขนั อย่าให้เขาตเิ ตียนได้วา่ พวกเราเปนชาตเิ ลวทราม... การเสด็จประพาสยุโรปคร้ังท่ี ๑ ในช่วงหัวเล้ียวหัวต่อทางการเมืองของประเทศสยาม นับเป็น พระราชกรณียกิจสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการธำรงรักษาเอกราชและอธิปไตย ของชาติ โดยส่วนพระองค์ได้ทรงประเมินผลของการเดินทางคร้ังนี้ว่า “การท่ีจะว่าได้รับประโยชน์อันใดในการ มายุโรป โดยส่วนตัวนั้นน้อยนัก หากจะมีประโยชน์บ้างก็แต่ในส่วนราชการแผ่นดิน ได้นั่งพิจารณาดูตัวแลถาม ไชยนั ตส์ อบว่ามันไดข้ นึ้ บ้างฤๅไม่ กเ็ ห็นไมไ่ ดเ้ ลยว่ามีโกข้ น้ึ ที่ตรงไหน...” การเสดจ็ ประพาสยโุ รปครง้ั ที่ ๒ ๑๐ ปีต่อมาหลังการเสด็จประพาสยุโรปคร้ังที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ ประพาสยุโรปครัง้ ที่ ๒ ครง้ั นเ้ี ป็นการเสด็จสว่ นพระองค์ จุดมุ่งหมายหลกั คือการเสดจ็ พระราชดำเนนิ เพือ่ รักษา พระอาการประชวรพระโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและพระวักกะ แต่ก็ส่งผลให้มีการกระชับสัมพันธไมตรี กับมิตรประเทศทท่ี รงคนุ้ เคยแมจ้ ะมิใชเ่ ป้าหมายหลักของการเสด็จพระราชดำเนินก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งท่ี ๒ ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ รวมระยะเวลา ๗ เดือนเศษ พระราชพาหนะท่ีใช้ในการ เดินทางไปยังยุโรปส่วนใหญ่ประทับเรือโดยสาร กล่าวคือ พระองค์เสด็จโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรีไปถึงสิงคโปร์ จากนั้นประทับเรือ “ซักเซน” สัญชาติเยอรมันจนถึงยุโรป ระหว่างนั้นขณะเสด็จเยือนนอร์เวย์ ทรงประทับเรือ พระที่นั่งชื่อ “อัลเบียน” ส่วนการเสด็จพระราชดำเนินกลับ ได้ประทับเรือช่ือ “พม่า” ของบริษัทอีสต์เอเชียติก จากประเทศอิตาลีจนถึงคลองสุเอซ จากนั้นได้ประทับเรือ “ซักเซน” ลำเดิมมาถึงสิงคโปร์ และเสด็จนิวัต 326

327

พระนครโดยเรือพระที่นัง่ มหาจักรี การเสดจ็ พระราชดำเนนิ คร้งั นี้มีผูต้ ามเสด็จคอื เจ้านาย ข้าราชการ และแพทย์ ประจำพระองค์ รวม ๑๕ คน/องค์ ประเทศยุโรปท่ีเสด็จในคร้ังนี้คืออิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส เดนมาร์ก อังกฤษ เบลเยียม นอร์เวย์ และมอลตา เรื่องราวการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ปรากฏในหนังสือเร่ือง “ไกลบ้าน” ซ่ึงเป็นงานพระราชนิพนธ์ที่รวบรวมพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซ่ึงพระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล (กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี) หรือสมเด็จหญิงน้อย รวม ๔๓ ฉบับ เนื้อหาเก่ียวกับพระราชกรณียกิจระหว่างเสด็จพระราชดำเนิน ข้อมูลเกี่ยวกับสถานท่ีและ บา้ นเมืองต่างๆ รวมทง้ั แนวพระราชดำริตา่ งๆ ท่ีเปน็ ประโยชนต์ ่อผูศ้ ึกษาอยา่ งมาก สมเด็จพระบรมโอรสาธริ าช เจา้ ฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกมุ าร และเจ้านาย - ขา้ ราชบรพิ าร ส่งเสด็จพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จประพาสยุโรปคร้ังที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๕๐ บนเรอื พระทน่ี ง่ั มหาจักร ี แม้การเสด็จประพาสยุโรปคร้ังท่ี ๒ เป็นการเสด็จส่วนพระองค์และเกี่ยวข้องกับการรักษาพระอาการ ประชวรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสำคัญ แต่รัฐบาลก็ได้รับประโยชน์ในด้านการดำเนิน นโยบายต่างประเทศกับชาติตะวันตกซ่ึงรวมทั้งอังกฤษและฝร่ังเศส เพราะเม่ือประมุขและผู้นำของประเทศต่างๆ 328

ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสประเทศของตน แม้จะเป็นการส่วนพระองค์ ต่างก็ให้การรับรองอย่างดี ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น กษัตริย์อังกฤษได้ทูลเชิญให้พระองค์ ประทับที่พระราชวังวินเซอร์และทรงร่วมงานเล้ียงพระกระยาหารอย่างเป็นทางการท่ีพระราชวังวินเซอร์ ซึ่งมี ผู้ได้รับเชิญถึง ๘,๕๐๐ คน กษัตริย์แห่งนอร์เวย์ได้ถวายพระกระยาหารเพ่ือเป็นเกียรติแก่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเป็นทางการ อนึ่งท้ังจักรพรรดิเยอรมนี กษัตริย์เดนมาร์ก กษัตริย์นอร์เวย์ ต่างทูลเชิญให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับที่พระราชวัง/วังท่ีทรงจัดถวาย นอกจากนี้ ท้ังประธานาธิบดีของฝร่ังเศสและสวิตเซอร์แลนด์ก็กราบบังคมทูลเชิญเสด็จเพื่อถวายเล้ียงพระกระยาหาร อย่างไม่เป็นทางการเช่นกัน ส่วนพระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลของอิตาลีก็ทรงประทับเรือหลวงไปส่งเสด็จ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อย่หู ัวขณะประทับบนเรือ “พมา่ ” ด้วย นอกจากการกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ในยุโรปแล้ว ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินเยือน ยุโรปครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงศึกษาสภาพบ้านเมืองและวิถีชีวิตของผู้คนซึ่งเป็น องค์ความรู้ท่ีเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ เช่น การปกครองท้องถ่ิน การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาพลังงาน รวมทั้งด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม พระองค์ทรงยอมรับว่าชาติยุโรปมีความเจริญ ก้าวหน้าอย่างต่อเน่ืองไม่หยุดย้ัง “...เช่นกับรู้จักใช้ไอน้ำ ไอน้ำอาจนำไปใช้สารพัดทุกอย่าง จนกระทั่งถึงเวลานี้ กำลังไฟฟ้า ไฟฟ้าอาจจะใช้สารพัดทุกอย่าง แลกำลังเดินขึ้นอยู่เสมอ ใครจะทำนายไม่ได้ว่าไฟฟ้าอาจจะให้ผล อย่างไร ตอ่ ไปภายนา่ ถงึ ทสี่ ดุ เพยี งไหน ฤๅจะมีอะไรเกดิ ขนึ้ ต่อไปภายนา่ ดขี ึ้นไปกว่าไฟฟ้า ใครเลยจะแลเหน็ ได้...” ซุ้มรับเสดจ็ การเสด็จนวิ ัตพระนครของพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พ.ศ. ๒๔๕๐ 329

ซุ้มรบั เสดจ็ ของกระทรวงนครบาล พ.ศ. ๒๔๕๐ ซมุ้ รับเสดจ็ ของชาวจนี บนถนนราชดำเนิน พ.ศ. ๒๔๕๐ 330

โดยสรุป การเสด็จประพาสยุโรปทั้ง ๒ คร้ังของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ส่งผลดี ตอ่ ประเทศชาติ ทัง้ ตอ่ การดำรงอยขู่ องสยามในฐานะรฐั เอกราช และการพฒั นาประเทศทยี่ ดึ ตะวนั ตกเป็นแบบอยา่ ง ทงั้ นี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกลา่ วถึงการเสดจ็ ประพาสยุโรปครั้งที่ ๑ วา่ ได้ทอดพระเนตร ความเป็นไปของยโุ รป ๔ ประการคือ เห็นชวี ิตในยุโรป เห็นทีเ่ กดิ แห่งทรพั ย์ (สาเหตุทท่ี ำให้ยุโรปเจริญก้าวหนา้ เหน็ กำลัง (แสนยานภุ าพ) และเห็นความสนกุ (ความเจรญิ รุ่งเรืองของสังคมยุโรป)) สว่ นการเสดจ็ ประพาสยุโรป คร้ังที่ ๒ น้นั พระองคท์ รงตอบคำถามทีว่ ่า “ไปยโุ รปเหน็ อย่างไรบ้าง” โดยทรงสรปุ ว่า “พ้ืนภูมประเทศยุโรปนน้ั มันหมดดีเสียแล้ว แต่ความรู้ในยุโรปไม่ใช่แต่กำลังท่ีเดินข้ึนสู่ความเจริญ มันกำลังเดินกระโดดโลดโผนซึ่ง จะเดนิ ตามยาก นเี่ ปนส่วนขา้ งฝ่ายดขี องยโุ รป” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ ัวเสดจ็ พระราชดำเนนิ ไปตามถนนราชดำเนนิ ในพระราชพธิ ีถวายการรบั เสด็จนิวัตพระนคร พ.ศ. ๒๔๕๐ 331



๑๕ ทำนบุ ำรุงพระพทุ ธศาสนา ...พระราชอาณาจักรน้ีเปนท่ีประดิษฐานพระบวรพุทธศาสนาตัวข้าพเจ้าเปน ผู้นับถือพระพุทธศาสนา การอ่ืนใดซ่ึงจะบังเกิดเปนเคร่ืองเจริญดีงามแก่พระราช- อาณาจักร ก็ย่อมเปนเหตุความเจริญแลต้ังม่ันของพระพุทธศาสนาทวียิ่งข้ึน ข้าพเจ้า ย่อมรู้สึกว่าหน้าที่ของข้าพเจ้าซึ่งจะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซ่ึงเปนส่ิงคู่กันกับ พระราชอาณาจกั รใหด้ ำเนนิ ไปในทางวฒั นาถาวรพรอ้ มกันทัง้ สองฝ่าย... (พระราชดำรสั ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั แกพ่ ระสงฆเ์ มื่อเสดจ็ กลับจากยุโรป วันท่ี ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๐) ดินแดนสยามเป็นถ่ินท่ีอยู่ของชนกลุ่มต่างๆ ท่ีมาต้ังบ้านเรือนอยู่รวมกัน มีการผสมกลมกลืนทาง วัฒนธรรมภายใต้ความเช่ือในศาสนาเดียวกันคือพระพุทธศาสนา ยังผลให้สยามกลายเป็นสังคมพุทธศาสนา ในสมัยสุโขทัย พุทธศาสนานิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ได้เผยแผ่จากเมืองนครศรีธรรมราชข้ึนมายังกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชศรัทธาเล่ือมใสในพระพุทธศาสนา ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความ เจริญม่ันคง ในสมัยน้ีมีการแบ่งการปกครองคณะสงฆ์ออกเป็นฝ่ายคามวาสีและฝ่ายอรัญวาสี สืบมาจนถึง สมัยรตั นโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ขณะผนวช (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔) ได้ทรงตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่คือธรรมยุติกนิกาย จึงทำให้พระพุทธศาสนานิกาย เถรวาทในประเทศสยามแบง่ ออกเปน็ ๒ กลมุ่ คือ มหานกิ ายกบั ธรรมยตุ กิ นิกาย ในครงั้ นั้นสมเดจ็ เจา้ ฟา้ มงกุฎ (วชริ ญาณภิกขุ) ทรงปรับปรุงแกไ้ ขวัตรปฏิบัตขิ องพระสงฆไ์ ทยให้สมบูรณ์ทงั้ พระธรรมและพระวินัย นอกจากน้ี พระองค์ยังทรงจัดวางระเบียบคณะสงฆ์ การปกครองวัด และการศึกษาพระปริยัติธรรม ทำให้ประชาชน เกิดความนิยมศรทั ธาในพระสงฆ์ธรรมยุตกิ นิกาย เม่ือสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จข้ึนครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสืบต่อจาก พระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ การพระพทุ ธศาสนาในรชั กาลนน้ี บั วา่ เจรญิ รงุ่ เรอื งขนึ้ มาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเอาพระทัยใส่การศึกษาของพระภิกษุสงฆ์ มีการติดต่อระหว่างคณะสงฆ์ไทย 333

กับลังกาและเขมร ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเป็นผู้ก่อต้ังคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย แต่เมื่อขนึ้ ครองราชยแ์ ล้วกท็ รงวางพระองคเ์ ป็นกลาง ทรงทำนบุ ำรุงพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายอันเปน็ นิกายเดิมกับ ธรรมยตุ ิกนกิ ายอยา่ งเท่าเทียมกนั และทรงเป็นองค์อัครศาสนปู ถัมภกในพระพทุ ธศาสนา รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงแม้พระองค์ทรงมีพระราชภารกิจในการบริหาร ราชการแผ่นดินและการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยตามแบบสากล แต่พระองค์ก็มิได้ละเลยการพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงตระหนักถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ในฐานะองค์อัครศาสนูปถัมภก ทรงเป็นพุทธมามกะ และ มีภาระหน้าท่ีในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงเป็นสถาบันหลักของชาติ ดังพระราชดำรัสในงาน พระราชพิธรี ชั ดาภเิ ษก ร.ศ. ๑๑๒ ตอนหนงึ่ ว่า ...ข้าพเจ้าอาจจะปฏิญาณใจได้ว่า ถ้าข้าพเจ้ายังมีชีวิตร์อยู่ตราบใดแล้วคงจะคิด ทำนุบำรุงพระพุทธสาสนาให้ไพโรจน์รุ่งเรืองเจริญข้ึน แลอุดหนุนพระสงฆ์ทั้งปวงให้ดำรง อยู่ในความศุขเกษมนิราศไภย จะได้อยู่ประพฤติพรตพรหมจรรย์ตามธรรมวิไนยของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เปนท่ีเลื่อมใสสักการบูชาของมหาชนสืบไป แลทั้งจะได้ช่วย ทำนุบำรุงพระพุทธสาสนาให้ถาวรจิรฐิติกาล พระพุทธสาสนาในสยามประเทศก็จะมีความ ไพบูลย์มิได้เส่ือมถอย เปนเหตุชักนำให้อเนกชนนิกรเล่ือมใสสละบาปบำเพญบุญอันเปนเหตุ ใหเ้ กดิ บรมศขุ ตลอดอนาคตกาล... พระบรมบรรพต วัดสระเกศราชวรมหาวหิ าร 334

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปณิธานแน่วแน่ท่ีจะทำนุบำรุงพระพุทธ- ศาสนานิกายเถรวาทให้ยืนยง ด้วยในเวลานั้นมีเพียงสยามประเทศซ่ึงเป็นรัฐเอกราชเพียงชาติเดียวท่ีนับถือและ อุปถัมภ์พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ในขณะที่ประเทศจีนและญ่ีปุ่นซ่ึงนับถือพระพุทธศาสนาเช่นกันแต่เป็น ฝา่ ยนกิ ายมหายาน พระองค์ทรงเป็นท่ยี อมรับของนานาประเทศว่าทรงเปน็ องค์อัครศาสนูปถัมภกของพระพทุ ธ- ศาสนานกิ ายเถรวาทของโลก ดังปรากฏจากการทรี่ ัฐบาลองั กฤษได้ทลู เกลา้ ฯ ถวายพระบรมสารรี กิ ธาตทุ ขี่ ุดพบ ท่ีเมืองกบิลพัสด์ุในประเทศอินเดียแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเม่ือ พ.ศ. ๒๔๔๒ หลงั จากนน้ั พระองคไ์ ดพ้ ระราชทานพระบรมสารรี กิ ธาตแุ กป่ ระเทศตา่ งๆ ที่ขณะน้ันมีประชาชนเป็นชาวพุทธ เชน่ ประเทศจนี ญป่ี นุ่ และรสั เซยี พระบรมสารรี กิ ธาตทุ ่ีนอกเหนือจากการพระราชทานให้แก่ประเทศต่างๆ แล้ว ได้อัญเชิญไป ประดิษฐานไว้ ณ พระเจดีย์ทองบนยอดพระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) วดั สระเกศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านศาสนาเยี่ยง พุทธศาสนิกชนท่ัวไปมาโดยตลอด เม่ือมีพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๔๐๙ ได้เสด็จออกผนวชเป็น สามเณรตามโบราณราชประเพณี ขณะข้ึนครองราชย์ เม่ือมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษาใน พ.ศ. ๒๔๑๖ ก็เสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุ การที่ทรงมีโอกาสได้ ผนวชในพระบวรพทุ ธศาสนา ทำใหพ้ ระองคท์ รงไดร้ บั การปลูกฝังให้มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และมีพระราชประสงค์ที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้เจรญิ รุ่งเรืองสืบไป พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยูห่ วั ทรงผนวชเป็นพระภิกษุทวี่ ัดบวรนิเวศวหิ าร พ.ศ. ๒๔๑๖ 335

การบูรณปฏิสังขรณ์และการสร้างวัด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเอาพระทัยใส่ในการดูแลวัดสำคัญท่ีชำรุดทรุดโทรม มีการบูรณปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ดังเช่น วัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์คร้ังใหญ่ทั้งพระอารามเพ่ือรับงานสมโภชพระนครอายุครบ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๒๕ วัดสำคัญในกรุงเทพฯ และหัวเมืองที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่ วัดมหาธาตุ- ยุวราชรังสฤษฎ์ิ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม เปน็ ตน้ สว่ นวดั ใหม่ทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัวโปรดเกลา้ ฯ ใหส้ ร้างขึ้น ทีส่ ำคัญได้แก่ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงช้ันเอก ราชวรวิหาร พื้นที่เดิมเป็นวังของพระ- บรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ใน พ.ศ. ๒๔๑๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยมีแม่กองอำนวยการสร้างคือ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนสรรพสาตรศุภกิจ และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) แล้วเสร็จในปีต่อมา ภายในพระอโุ บสถมีพระพทุ ธองั คีรสเป็นพระประธาน พระพทุ ธอังครี ส พระประธานวัดราชบพธิ สถติ มหาสีมาราม 336

วัดน้ีถือเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นตัวอย่างของการก่อสร้างท่ีมีการผสมผสานระหว่างศิลปะแบบตะวันตกและตะวันออก ภายในพระอุโบสถ และพระวิหารตกแตง่ ตามแบบตะวันตก ส่วนภายนอกตกแตง่ ตามแบบศิลปะไทย ทง้ั วัดประดับด้วยกระเบอื้ งสี ลายเบญจรงค์ ลักษณะเด่นท่ีเป็นศิลปกรรมไทยในวัดแห่งนี้คือ บานประตูและหน้าต่างพระอุโบสถประดับมุก เป็นรูปดวงตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประกอบลายกนกและกินรกินรี นับว่าเป็นฝีมือชั้นเลิศของสมัย รัตนโกสนิ ทร ์ บานประตมู กุ พระอโุ บสถวดั ราชบพธิ สถิตมหาสีมาราม ลายเคร่อื งราชอิสริยาภรณป์ ระถมาภรณช์ ้างเผอื ก วดั ราชบพธิ สถติ มหาสมี ารามเปน็ สสุ านหลวง สถานที่บรรจพุ ระสรีรงั คารและพระองั คารของพระบรม- วงศ์ชั้นสูงท่นี ับเนอ่ื งตรงมาจากพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั 337

วดั เบญจมบพติ รดุสิตวนาราม เดิมเปน็ วดั โบราณสมยั อยธุ ยา ชือ่ วดั แหลมหรอื วัดไทรทอง เคยไดร้ บั การปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิต ใน พ.ศ. ๒๔๔๒ มีการนำพื้นที่บริเวณที่เป็นวัดมาสร้างพระราชวังและ ถนน พระองค์จึงทรงมพี ระราชปรารภทจ่ี ะสร้างวดั ใหม่ข้นึ ทดแทน และโปรดเกล้าฯ ใหส้ มเด็จพระเจา้ นอ้ งยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์เป็นสถาปนิกออกแบบและควบคุมการสร้างวัดโดยใช้วัสดุคือหินอ่อนจาก อิตาลีทั้งหมด พระอุโบสถของวัดเป็นทรงจตุรมุข ในขณะเดียวกันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้หล่อจำลองพระพุทธชินราชจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เพ่ือเป็นพระประธาน ในพระอุโบสถ เม่ือสร้างเสร็จได้พระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ซ่ึงมีความหมายว่า วัดพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ท่ี ๕ ทรงสร้าง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามเป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมไทย ที่มีความงดงามยง่ิ ของสมัยรัตนโกสนิ ทร์ วดั เบญจมบพติ รดสุ ติ วนาราม 338

นอกจากนี้ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ - พระที่นัง่ ทรงผนวช วดั เบญจมบพิตรดสุ ิตวนาราม เจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ร้ือพระที่น่ังทรงผนวชจาก พระพุทธรัตนสถานในพระบรมมหาราชวัง มาถวาย เป็นกุฏิพระสงฆ์ของวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ภายในพระที่นั่งทรงผนวชมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพ พงศาวดารรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หวั เริ่มตั้งแตก่ ารประกอบพระราชพิธโี สกนั ต ์ หลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๕๔ แล้ว ได้มีการอัญเชิญพระบรมราชสรีรังคาร ของพระองค์มาบรรจุไว้ใต้รัตนบัลลังก์พระพุทธ- ชินราชจำลอง พระประธานของวัดเบญจมบพิตร- ดสุ ิตวนาราม วดั นิเวศธรรมประวัติ บางปะอนิ วัดนิเวศธรรมประวัติ ต้ังอยู่บนเกาะลอย บางปะอิน อยุธยา เป็นพระอารามหลวงช้ันเอก ราชวรวหิ าร พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงมีพระราชประสงค์ให้สร้างพระอารามสำหรับ พระราชวังบางปะอินเป็นที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ในขณะเสด็จมาประทับแรมอยู่ท่ีพระราชวังบางปะอิน จึงทรงบริจาคพระราชทรัพย์สร้างพระอารามขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๑๙ โดยให้ช่างชาวตะวันตกเป็นผู้สร้าง ตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกสมัยศิลปะโกธิก ตกแต่งอาคารด้วยกระจกสี พระบาทสมเด็จพระ- จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชาธิบายถึง เรื่องนี้ว่า “...ด้วยมีความประสงค์จะบูชาพระพุทธ- ศาสนาด้วยของแปลกประหลาด และเพื่อให้อาณา ประชาราษฎร์ทัง้ ปวงชมเลน่ เปนของแปลก ยงั ไม่เคยมี ในพระอารามอน่ื และเปนของม่ันคงถาวร สมควรเปน พระอารามหลวงในหัวเมอื ง ใช่จะนิยมยนิ ดเี ลือ่ มใสใน ลทั ธิศาสนาอืน่ นอกจากพระพุทธศาสนานัน้ หามไิ ด.้ ..” การก่อสร้างใช้เวลา ๒ ปีจึงแล้วเสร็จ พระราชทาน นามพระอารามนี้ว่า วัดนิเวศธรรมประวัติ แล้วเชิญ พระพุทธนฤมลธรรโมภาสจากวัดราชประดิษฐสถิต- มหาสมี าราม เปน็ พระประธานในพระอโุ บสถ 339

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนิรันตราย มาประดิษฐานบนห้ิงตรงหน้าเรือนแก้วชั้นล่าง ทรงพระราชอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถ วัดนิเวศธรรมประวัติเป็นวัดในธรรมยุติกนิกายต่อจากวัดราชประดิษฐสถิตมหา- สมี าราม การจดั พมิ พ์พระไตรปฎิ ก ใน พ.ศ. ๒๔๓๐ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎก ซึ่งรวบรวมคำเทศนาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ โดยเร่ิมดำเนินการต้ังแต่ พ.ศ. ๒๔๓๑ หากพิจารณาสถานการณ์ท่ีประเทศสยามเผชิญอย ู่ ในขณะนั้นก็พอจะเข้าใจสาเหตุท่ีพระองคท์ รงมพี ระราชประสงคท์ จี่ ะจดั พมิ พพ์ ระไตรปฎิ กในคร้ังน้ีได้ คือการที่ ประเทศมหาอำนาจตะวันตกซ่ึงนับถือคริสต์ศาสนากำลังเข้ามาล่าอาณานิคมในเอเชีย และสามารถครอบครอง ประเทศทน่ี บั ถอื พระพทุ ธศาสนาอนั ไดแ้ ก่ ลงั กา พมา่ ลาว และเขมร ทำใหพ้ ระพทุ ธศาสนาเส่ือมทรามลงเพราะ ขาดผู้ทำนุบำรุงอุดหนุนให้ม่ันคงต่อไป พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการประชุมพระภิกษุสงฆ์ และขา้ ราชการ ณ วดั พระศรีรัตนศาสดาราม ว่า พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยูห่ วั เมอ่ื ครง้ั ทรงผนวช (องคซ์ ้ายสุด) ทรงฉายพระรปู หมู่กับพระเถรานุเถระ 340

...การพระพุทธสาสนายังเจริญมั่นคงถาวรอยู่แต่ในประเทศสยามนี้ประเทศเดียว จึงเปนเวลาสมควรที่จะสอบสวนพระไตรปิฎกให้ถูกต้องบริบูรณ์ แล้วสร้างขึ้นไว้ให้มากฉบับ แพร่หลาย จะได้เปนหลักฐานเช้ือสายของสาสนธรรมคำส่ังสอนแห่งพระพุทธเจ้าสืบไป ภายน่า จ่ึงไดค้ ดิ จัดการครั้งนี้ เพื่อจะรักษาพระไตรปิฎกไว้มิให้วิปริตผิดผัน เปนการยกย่อง บำรุงพระพทุ ธสาสนาใหต้ ง่ั มัน่ ถาวรสืบไป... พระราชดำรัสนี้แสดงพระราชวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการชำระ พระไตรปฎิ กซง่ึ เปน็ แกน่ แทข้ องพระพุทธศาสนาเพือ่ ให้เป็นเสาหลักแห่งความเจรญิ ม่นั คงของชาติ และเพอื่ รักษา มรดกภูมิปัญญาของชาติ ในยามที่สยามกำลังเผชิญภยันตรายจากลัทธิล่าอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก ซ่ึงจะมีผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงเห็นความเชื่อมโยงของความเป็นไทยกับ วิกฤตการณ์เฉพาะหน้า และทรงตระหนักในบทบาทที่พึงกระทำในฐานะสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้นำสูงสุด ของแผ่นดินในการรักษาสถาบันศาสนาให้เป็นหลักของแผ่นดิน หากพระองค์ทรงประสบความสำเร็จในฉลอง มหกรรมพระไตรปิฎกในโอกาสพระราชพิธรี ัชดาภเิ ษก ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ได้ กห็ มายความว่าประเทศ สยามจะสามารถดำรงเอกราชของชาติท่ีมีสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ย่งั ยนื ต่อไป ผู้ตรวจชำระพระไตรปิฎกเพื่อตีพิมพ์คร้ังน้ี ประกอบด้วยพระสงฆ์ผู้เช่ียวชาญภาษาบาลีและพระไตร ปิฎก จำนวน ๑๑๐ องค์ โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นประธาน นอกจากน้ียังมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนวชิรญาณวโรรส และหม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต (ต่อมาคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า) เป็นต้น ทรงเป็นคณะดำเนินการ สำหรับ การอ้างอิงพระไตรปิฎกเพ่ือการตรวจสอบชำระได้ตรวจสอบจากต้นฉบับอักษรขอม ฉบับอักษรสิงหฬ และฉบับรามัญ รวมท้ังพระไตรปิฎกอักษรขอมซึ่งเป็นคัมภีร์ใบลานที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์สังคายนาและจารขึ้นเป็นฉบับหลวงเม่ือ พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัวทรงมพี ระราชาธิบายถึงจุดประสงคใ์ นการจัดพิมพ์พระไตรปฎิ กครงั้ นี้ไวว้ ่า ...ฉบับหนังสือท่ีจะตีพิมพ์ครั้งนี้ จะเปนของม่ันคงถาวรแลแพร่หลายไปมาก ถ้าพิมพ์คลาศเคล่ือนไป ก็หาเปนการสมควรไม่ จะต้องตรวจแก้ต้นฉบับให้ถูกถ้วนแล้ว จึงส่งไปลองพิมพ์ แล้วต้องตรวจตราแก้ไขตัวพมิ พ์มใิ ห้ผิดเพี้ยนได้... ส่วนคณะกรรมการบริหารการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประธานใหญ่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทรงเป็นกรรมการผู้จัดพิมพ์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ ทรงเป็น ราชเลขานุการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ร่วมในการ จัดพิมพ์ นอกจากน้ียังโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการและประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีส่วนร่วมทำบุญ จัดพิมพ์ จัดส่ง และสมโภชพระไตรปิฎก ณ วัดต่างๆ ท่ัวประเทศ ตลอดจนร่วมการส่งไปยังสถาบันต่างๆ ท่ัวโลก ถือเป็น การทำมหากุศลยิ่งใหญ่ในพระพุทธศาสนา และเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของชนในชาตอิ ีกดว้ ย 341

พระไตรปฎิ กฉบับพิมพช์ ุดแรกของโลก และแผน่ ซดี ีท่ีจดั ทำเผยแพร่ในปจั จบุ นั ดังน้ัน การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกในคร้ังน้ี จึงเป็นบุญกิริยาร่วมกันของคนไทยท้ังชาติ ซึ่งจะมีผล ช่วยรักษาความเป็นเอกราชของไทย เป็นที่ประจักษ์และมีสำนึกร่วมกันในชนทุกหมู่เหล่า หากมีเหตุการณ์ รุนแรงใดเกิดข้ึน ทุกคนในชาติจะพร้อมเพรียงกันปกป้องและแก้ไขปัญหาตามพระราชปัญญาญาณของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นผู้นำในการพิมพ์พระไตรปิฎก ดังปรากฏในหนังสือกราบบังคมทูลเร่ือง การสมโภชพระไตรปิฎก ฉบับ ร.ศ. ๑๑๒ ท่ีเจ้าคณะภาคและเจ้าอาวาสวัดต่างๆ ท่ัวประเทศ ถวายพระพรแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยูห่ วั เช่น ในหนงั สือจากวดั ศรีสุรยิ ะวงษาราม เมอื งราชบรุ ี มีขอ้ ความวา่ ...ขอให้พระบาทสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้าผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ จงเจริญพระชนมายุยืนนาน เสวยศิริศุขสมบัติ ปกครองสยามรัฏฐมณฑลผาศุข นิราศ ภยันตราย ปัจจามิตรอริราชสัตรูทั้งมวลจงเกรงขามครั่นคร้าม พระบรมเดชานุภาพ จงทุก ทิวาราตรีเทอญ 342

ตราอาร์ม ประทับบนปกพระไตรปิฎกฉบับพมิ พ์ พ.ศ. ๒๔๓๖ การดำเนินการจดั พิมพ์พระไตรปิฎกในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัวเป็นเรอื่ งใหญ่ และยากยิ่ง เพราะแต่เดิมพระไตรปิฎกใช้วิธีจารด้วยอักษรขอมบนใบลาน เขียนตัวอักษรติดต่อกันไป แต่ในครั้งน้ีได้นำเทคโนโลยีอันทันสมัย มีประสิทธิภาพและคุณภาพแห่งการพิมพ์ที่เป็นมาตรฐานสากล นับเป็น พระไตรปิฎกท่ีพิมพด์ ้วยตัวอักษรไทยครั้งแรกของโลก เม่อื นำมาจัดพิมพ์ จำเปน็ ตอ้ งปริวรรตตัวอักษรกันใหม่ จากอักษรขอมเป็นอักษรไทยพร้อมทั้งจัดแยกคำ แยกประโยค จัดวรรคตอน อีกทั้งใส่เครื่องหมายกำกับเสียง กำกับความหมาย ใช้เวลาดำเนินการ ๖ ปีจึงแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๓๖ นับเป็นความสำเร็จท่ีน่าอัศจรรย์ยิ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกจำนวน ๑,๐๐๐ จบ จบละ ๓๙ เล่ม รวมเป็นหนังสือ ๓๙,๐๐๐ เล่ม เรียกกันว่า “พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์” ที่หน้าปกของพระไตรปิฎก ได้ประทับตราอาร์มคือตราแผ่นดิน มีคาถาภาษาบาลีว่า “สัพเพสํ สํฆภูตานํ สามัคคี วุฑฒิสาธิกา” ซึ่งแปลว่า “ความสามัคคขี องหมชู่ นทงั้ ปวงยงั ความเจรญิ ใหส้ ำเรจ็ ” เปน็ การแสดงถงึ ความเป็นเอกราชของชาติ ใน ร.ศ. ๑๑๒ อันเป็นปีแห่งงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก ฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระไตรปิฎกพร้อมด้วยตู้พระธรรมซึ่งสร้างด้วยไม้สัก อย่างงดงามสลักตราแผ่นดินไปยังพระอารามหลวงท้ังในกรุงเทพฯ และหัวเมือง แต่ละวัดที่ได้รับพระราชทาน พระไตรปิฎกได้จัดงานสมโภชอย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลา ๓ - ๗ วัน มีราษฎรเข้าร่วมการสมโภชทั้งชาวไทย จีน มอญ ลาว และกะเหร่ียง วัดญวนและวัดจีนก็ได้ร่วมสมโภชด้วยการถือศีลและปฏิบัติธรรม การพิมพ์ พระไตรปิฎกจึงทำให้ประชาชนท้ังประเทศได้ร่วมกันบำเพ็ญบุญกิริยาที่ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา นบั เปน็ การสบื ทอดพระพุทธศาสนาในวถิ ชี วี ิตของประชาชนอยา่ งแท้จริง 343

นอกจากการเผยแพรพ่ ระไตรปฎิ กฉบบั พมิ พไ์ ปทว่ั ประเทศแลว้ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ยังได้พระราชทานพระไตรปิฎกในลักษณะเป็นพระธรรมทานไปยังสถาบันการศึกษาและหอสมุดสำคัญใน นานาประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย ยโุ รป และอเมริกา รวม ๒๖๐ สถาบัน พระไตรปิฎกทีพ่ ระราชทานแกส่ ถาบนั ในต่างประเทศน้ีน้ีมีหน้าพิเศษระบุการพระราชทานเฉพาะแต่ละสถาบัน ส่วนบนสุดของหน้าพิมพ์ตราแผ่นดิน ต่อมาเป็นประกาศข้อความอักษรไทย ภาษาบาลี ความว่า “พระไตรปิฎกน้ีได้ลงพิมพ์ประกาศโดยพระบรม- ราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม ในสมัยเมื่อไดเ้ สดจ็ เถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๒๕ ปี แลพระราชทานให้เปนที่ระฤกในเหตุนี้แก่...” ใต้อักษรไทยเป็นคำแปล ข้อความข้างต้นเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน นอกจากนี้ ยังมีภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชขัตติยพัศตราภรณ์เครื่องต้น ประกอบด้วยเครื่องราช- กกุธภัณฑ์ ประทับน่ังบนพระราชบัลลังก์พระมหากษัตริย์พุทธมามกะแห่งกรุงสยาม เป็นการประดิษฐาน พระไตรปิฎกในระดับโลกและเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอกี ทางหนึ่งด้วย พระไตรปิฎกที่พระราชทานไปยังต่างประเทศได้สร้างความประทับใจให้แก่สถาบันท่ีได้รับเป็นอย่างย่ิง เพราะเปน็ หนังสอื ชุดที่พมิ พอ์ ย่างงดงาม นอกจากน้ียังเปน็ มรดกภมู ปิ ัญญาทีย่ ิ่งใหญ่และสำคญั ในประวตั ศิ าสตร์ ภูมิปัญญาของมนุษยชาติ ท่ีสำคัญ พระไตรปิฏกชุดน้ีเป็นของพระราชทานจากพระมหากษัตริย์พุทธมามกะ แห่งสยาม ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่สามารถครองความเป็นเอกราชในภูมิภาค มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ชน ในชาติภาคภูมิใจและร่วมกันพิทักษ์รักษาอย่างเข้มแข็งด้วยวิถีทางแห่งสันติ ทั่วโลกได้ประจักษ์ในพระเมตตา ธรรมอันไพศาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะใน พ.ศ. ๒๔๓๘ ภายหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระไตรปิฎกแก่สถาบันในประเทศฝรั่งเศสถึง ๒๐ สถาบัน ทั้งๆ ที่ฝร่ังเศสได้รุกรานอธิปไตยของไทยอย่างต่อเน่ืองยาวนานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๖ เป็นต้นมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ ผลของการพระราชทานพระไตรปิฎกแก่นานาประเทศทั่วโลก เป็นการประดิษฐานพระไตรปิฎก ในระดับโลกซึ่งก่อให้เกิดฐานความรู้พระไตรปิฎกสากลในพระพุทธศาสนาและในโลกอย่างยั่งยืน มีผู้สนใจ ศึกษาพระไตรปิฎกและพระพุทธศาสนามากข้ึน เป็นการสร้างสัมพนั ธไมตรีกบั นานาประเทศ ความสำเร็จของการสร้างธรรมทานในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาโลก ทำให้พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการยกย่องจากนานาประเทศว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์บรมธรรมิก มหาราชของโลก ดังเช่นหนังสือจากประเทศออสเตรีย กราบทูลสรรเสริญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยูห่ ัว ภายหลังไดร้ บั พระราชทานพระไตรปิฎก ความวา่ “The Enlightened Majesty, the first and only Buddhist Monarch of our age, the unparalleled Successor of Asoka the Great” (พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พุทธมามกะผู้ทรงปัญญาธิคุณ พระองค์แรก และพระองค์เดียวในยุคของเรา ทรงเป็นผู้มิมีผู้ใดเทียมเท่าท่ีสืบทอดต่อจากพระเจ้าอโศก บรมธรรมกิ มหาราช) 344


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook