Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 0000005674

0000005674

Published by สมหมาย เสียงเพราะ, 2022-07-30 10:31:35

Description: 0000005674

Search

Read the Text Version

เจา้ นายฝ่ายในโดยเสด็จพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อย่หู วั ในการเสด็จเย่ยี มราษฎร เรือพระท่ีน่งั สวุ รรณวจิ ิกและเรอื ชลา่ ใช้ พระราชพาหนะในการเสดจ็ ประพาสต้น 495

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสต้น ๓ ครั้ง คร้ังแรกระหว่างวันท่ี ๑๔ กรกฎาคม ถึงวันท่ี ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ รวมระยะเวลา ๒๕ วัน พระองค์เสด็จพระราชดำเนินจาก พระราชวังบางปะอิน เมืองอยุธยา ไปยังเมืองราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าเรื่องเสด็จประพาสต้นคร้ังแรกในรูปของจดหมายเหตุ โดยใชพ้ ระนามแฝงว่า นายทรงอานุภาพ การเสด็จประพาสต้นครั้งท่สี องระหวา่ งวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ถงึ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ รวมระยะเวลา ๓๔ วัน พระองค์ประทับเรือพระท่ีนั่งช่ือ เรือสุวรรณวิจิกซึ่งเป็น เรอื แมป่ ะ เสด็จพระราชดำเนนิ จากกรงุ เทพฯ ไปยงั นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา สระบรุ ี อ่างทอง สงิ หบ์ ุรี ชยั นาท อุทัยธานี นครสวรรค์ และกำแพงเพชร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เร่ืองราว การเสด็จประพาสต้นไว้โดยละเอียดเช่นกัน ส่วนการเสด็จประพาสต้นคร้ังท่ีสามมีข้ึนใน พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นการ เสด็จโดยทางรถไฟจนถึงเมืองนครสวรรค์ แล้วทรงเรือพระที่น่ังล่องลำน้ำลงมาเข้าปากแม่น้ำมะขามเฒ่าและ เสด็จต่อไปจนถึงเมืองสุพรรณบุรี พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์การเสด็จประพาสครั้งนี้ไว้ในพระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ จดหมายเหตุและพระราชนิพนธ์การเสด็จประพาสแต่ละครั้ง เปน็ เอกสารสำคญั ย่ิงทางด้านประวตั ิศาสตร์และโบราณคดขี องไทยเกีย่ วกับยคุ สมยั ในขณะนน้ั การเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ว่าจะเป็นการเสด็จอย่าง เป็นทางการหรือการเสด็จประพาสต้น มีผลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทอดพระเนตรสภาพ ที่แท้จริงของบ้านเมืองและชีวิตความเป็นอยู่ของเหล่าอาณาประชาราษฎร์เน่ืองจากทรงทราบทุกข์สุขของราษฎร จากปากราษฎรโดยตรง เป็นเหตุให้ทรงแก้ไขปัดเป่าความทุกข์ยากของราษฎร ท่ีสำคัญคือเป็นแรงบันดาลใจ ให้พระองค์ทรงเร่งพัฒนาและปรับปรุงบ้านเมืองให้ก้าวพ้นจากความล้าหลัง ก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศสยาม ในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและสังคม ประจวบกับในขณะนั้นประเทศสยามกำลังประสบปัญหา ต่างๆ ท้ังภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแผ่ขยายอำนาจของประเทศมหาอำนาจตะวันตก เข้ามายงั ทวปี เอเชยี การปรับปรงุ ประเทศให้ทนั สมัยทดั เทยี มอารยประเทศ จึงเป็นแนวทางทชี่ ว่ ยให้ไทยสามารถ ดำรงความเป็นชาติอยู่ได้ การเสด็จประพาสหัวเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสด็จประพาสต้นของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นประสบการณ์ตรงท่ีพระองค์ได้ทรงรับรู้เกี่ยวกับพระราชอาณาจักรสยาม ขณะเดียวกันก็ทำให้ชาวไทยได้ทราบถึงพระราชอัธยาศัยเรียบง่ายของพระองค์ ซึ่งทรงเป็นท้ัง “เจ้าชีวิต” และ “พระเจา้ แผน่ ดิน” ของทวยราษฎร์ทงั้ ปวง การตรวจราชการหวั เมือง ในการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ เพื่อตรวจราชการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผลดีต่อการบริหารราชการแผ่นดินท้ังส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น เพราะพระองค์ได้ทรงทอดพระเนตร สภาพและปัญหาข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามหัวเมือง ขณะเดียวกันข้าราชการหัวเมืองก็พากันตื่นตัวที่จะ ปรับปรุงบ้านเมืองของตนให้เป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้น ได้แก่การปรับปรุงสถานที่ราชการให้สะอาด สวยงาม อาคารใดที่ทรุดโทรมก็มีการสร้างข้ึนใหม่ เพื่อถวายการต้อนรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนการเสด็จประพาสต้น ยังหวั เมืองต่างๆ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยูห่ วั มพี ระราชประสงค์ใหเ้ ปน็ การเสด็จอย่างเงยี บๆ มิให้ 496

ผู้ใดทราบ เพื่อจะได้ทอดพระเนตรบ้านเมืองในยามปกติ โดยที่ทางการไม่ได้จัดการตระเตรียมการเพ่ือรับเสด็จ แต่อย่างใด ดังเช่นในการเสด็จประพาสเมืองเพชรบุรีเม่ือวันท่ี ๑๗ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๓ โดยรวมการเสด็จ ตรวจราชการหัวเมืองทำให้ข้าราชการต้องปรับปรงุ ข้อบกพรอ่ งต่างๆ ใหด้ ขี น้ึ ดงั จะเห็นได้จากเรอื่ งต่อไปน ้ี การปกครองสว่ นภูมภิ าค เม่ือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมือง พระองค์ทรงทอดพระเนตร การจัดการบริหารการปกครองแบบเก่าที่เรียกว่า “การครองเมือง” แล้วทรงมีพระราชดำริว่าหากข้าราชการ ประจำหัวเมืองกระทำการทุจริต กดข่ีข่มเหง และเรียกร้องผลประโยชน์ส่วนตัวจากราษฎร อาจสร้างความ เดือดร้อนแก่ราษฎรได้โดยที่รัฐบาลส่วนกลางไม่ทราบเรื่องเน่ืองจากอยู่ห่างไกลจากหัวเมือง ดังน้ัน เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ ตั้งแต่หัวเมืองเหนือ หัวเมืองใต้ จนถึง หัวเมืองประเทศราช พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาคโดยจัดตั้ง มณฑลเทศาภิบาลและยุบหัวเมืองประเทศราช รวมเข้าเป็นหัวเมืองในพระราชอาณาจักร ภายใต้การควบคุม ของกระทรวงมหาดไทย อันเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง หลังจากใช้การปกครองแบบเทศาภิบาลแล้ว ปรากฏว่าการปกครองท่ัวไปเรียบร้อยเป็นปกติ บ้านเมืองเจริญขึ้นและมีความสงบเรียบร้อยกว่าแต่ก่อน ดังข้อความในพระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีถึงพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานภุ าพว่า ...อนึ่งฝ่ายการปกครองนั้นเล่า ได้รับเร่ืองราวซึ่งชาวเหนืออดไม่ได้เคยร้องกันมา เสมอนน้ั ไดต้ งั้ ใจตรวจเองบา้ ง ใหช้ ว่ ยกนั ตรวจบา้ ง กไ็ ดค้ วามขอ้ หนง่ึ ซง่ึ รว่ มกนั ทกุ ๆ ฉบบั วา่ ตั้งแต่จัดการมณฑลมีความสุขโดยโจรผู้ร้ายเบา โคกระบือปล่อยได้...เพราะฉะน้ันจึงควร สันนิษฐานว่าการปกครอง ซึ่งจัดขึ้นใหม่นี้เปนเหตุให้ราษฎรมีความสุขสบายดีข้ึนมากนัก ความปลน้ ฆ่ากันตายท่เี ปนฉกรรจไ์ ม่ใคร่มนี บั ว่าเปนการสงบราบคาบตามหนทางทม่ี า... นอกจากน้ี การเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีผลให้ ข้าราชการเกิดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติราชการ โดยเฉพาะการทำให้บ้านเมืองร่มเย็น ปราศจากปัญหา โจรผู้ร้าย ดังปรากฏข้อความในจดหมายเหตุคราวเสด็จประพาสเมืองอุทัยธานี พ.ศ. ๒๔๔๔ ว่า “...แต่บัดน้ี ไดแ้ ก้ไขในการปอ้ งกนั รักษา โจรผ้รู ้ายปลายแดน คือ ตงั้ กองตำรวจภธู รไว้แลว้ ๒ อำเภอ ความผรู้ ้ายปลายแดน เปนการสงบเรียบร้อยอยู.่ ..” การปกครองส่วนทอ้ งถิ่น เม่ือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสนครเขื่อนขันธ์ใน พ.ศ. ๒๔๔๘ ทรง ทอดพระเนตรเห็นถนนและเมืองนครเข่ือนขันธ์สกปรกมาก พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสในที่ประชุมเสนาบดีว่า ตลาดเมืองนครเข่ือนขันธ์สกปรกเหมือนตลาดท่าจีน ท่ีตำบลท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร พระราชปรารภน้ ี เป็นสาเหตุให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่ดูแล รับผิดชอบตำบลท่าฉลอม ทรงขอให้เจ้าเมืองสมุทรสาครปรับปรุงตลาดท่าจีนให้สะอาด และทรงยกบ้านตลาด 497

พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัวเสด็จตำบลท่าฉลอม สมทุ รสาคร ท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลทดลองแห่งแรกในหัวเมืองตามความเห็นของท่ีประชุมเทศาภิบาล นับว่าการเสด็จ ประพาสนครเข่ือนขันธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผลให้มีการจัดระบบการปกครอง ท้องถน่ิ แบบสขุ าภิบาล ดว้ ยการตราพระราชบญั ญัตจิ ดั การสุขาภิบาลตามหัวเมอื ง ร.ศ. ๑๒๗ มคี ณะกรรมการ สขุ าภบิ าลเป็นผู้ดำเนนิ การบรหิ ารสุขาภบิ าล การสร้างและปรบั ปรงุ สถานทีร่ าชการ การสร้างและปรับปรุงสถานที่ราชการในหัวเมืองต่างๆ เป็นผลมาจากการเสด็จประพาสหัวเมืองของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บางครั้งพระองค์เสด็จตรวจราชการหัวเมืองโดยไม่มีการแจ้งไว้ ล่วงหน้า ข้าราชการก็ต้องคอยต่ืนตัว จัดการสถานที่ราชการเตรียมพร้อมรับเสด็จไว้เสมอเพ่ือให้เป็นที่พอ พระราชหฤทัย ตัวอย่างของสถานท่ีราชการท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม ่ ก็คอื เม่ือคราวเสด็จประพาสหวั เมอื งเหนอื พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงมพี ระราชดำรใิ หส้ ร้างศาลารฐั บาลประจำมณฑล ศาลาประจำจงั หวดั ทวี่ า่ การอำเภอ และทอ่ี ยขู่ องขา้ ราชการ เหมอื นอยา่ งทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงสร้างศาลากลางพระราชทานเม่ือเสด็จหัวเมืองเหนือใน พ.ศ. ๒๔๐๙ ดังในพระราชหัตถเลขาพระบาท สมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัวคราวเสดจ็ มณฑลฝ่ายเหนือ วา่ 498

...พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเม่ือปีขาลฯ กาลล่วงมาถึง ๓๕ ปี พวกพสกนิกรชาวเมืองเหนือซ่ึงจะได้มีโอกาสเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวของตนอีก สมควรจะสถาปนา ส่ิงสำคัญพระราชทานไว้ตามหัวเมืองให้เปนที่ระลึกถึงการท่ีเสด็จเมืองเหนือครั้งน้ัน ทำนอง เดียวกับท่ีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ ให้สร้างศาลากลางพระราชทาน แต่ก่อนมา แต่มาในช้ันน้ีได้สร้างศาลารัฐบาลประจำมณฑล ศาลากลางประจำจังหวัดแล ท่ีว่าการอำเภอ ตลอดจนทอี่ ย่ขู องขา้ ราชการเปนของหลวงไว้ประจำเปนทม่ี ั่นคง... ส่วนสถานท่ีราชการทมี่ ีการปรับปรงุ ขนึ้ ใหม่ มปี รากฏหลกั ฐานในพระราชนิพนธ์เรอ่ื งเสด็จประพาสต้น คร้ังท่ีสองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จถึงเมืองอ่างทอง ในวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ว่า ...ถึงอ่างทองแวะที่ตลาดถ่ายรูปแลซื้อของบ้าง เลิกบ่อนเสียตลาดโรยไป ๑ ใน ๑๐ ไม่มากนัก ออกจากตลาดลงเรือมาดมาท่ีท่ีว่าการเมือง ซ่ึงย้ายขึ้นไปต้ังข้างหน้าเหนือน้ำ โรงเล่ือยซึ่งอยู่ตรงขา้ มฟากอันเริ่มทำเม่ือข้ึนไปเมืองเหนือบัดนี้สำเร็จแล้ว ท่ีว่าการเกา่ เปลย่ี น เปนทพ่ี กั สำหรบั ขา้ หลวงตรวจราชการ ทว่ี า่ การใหมท่ ำหา่ งแมน่ ำ้ เขา้ ไปเปนตกึ งดงามแนน่ หนาดี แต่ศาลยงั เปนไม้อย่.ู .. พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยู่หัวเสด็จเยีย่ มเมืองราชบรุ ี 499

การวางผังเมอื ง ใน พ.ศ. ๒๔๕๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองราชบุรี ทรงม ี พระราชดำริว่าเมืองราชบุรีอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม การจัดเมืองยังขาดการวางผังเมืองอย่างเป็นแบบแผน ทำให้ การปลูกสร้างยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ แม้แต่ถนนเมืองราชบุรีสายที่ดีท่ีสุดน้ันการก่อสร้างก็ยังไม่เรียบร้อย มีน้ำขังและเน่าเสีย พระองค์ทรงติเตียนว่าเป็นเพราะไม่ได้ก่อสร้างตามท่ีวางแผนไว้แต่ต้น และมีรับส่ังให้แก้ไข ดงั ปรากฏในพระราชหัตถเลขาท่พี ระองค์ทรงมีถึงคณะผู้รักษาพระนครวา่ ...เมืองราชบุรีมีตึกตลาดพระคลังข้างท่ีติดแน่นหนาดีมาก ตัวตลาดของสด ไม่พอ ซึ่งที่จะขยายยังติดเกะกะ ต่างๆ ด้านหลังเปนตึกเก่าท่ีจะต้องรื้อด้านหน้าที่เปนโรงตำรวจภูธร จะย้ายไปไหนก็ยังไม่ได้ ที่พักมิชชันนารีเข้าไปแทรกอยู่ในระวางน้ันยังจะต้องย้ายเปล่ียนกัน อีกหลายต่อจึงจะขยายตลาดออกไปได้ พิเคราะห์ดูตึกรามที่ทำขึ้นไว้ก็เปนเครื่องน่าสังเวช แตจ่ ะทนสู้เรอื นฝากระดานก็ไมไ่ ด้ เพราะเหตุท่ีทำตึกแตไ่ มร่ ู้จักทำตึกปลูก สรา้ งขน้ึ เหมือนยัง เรือนไม้ง่อนแงน่ กำมะลอไปทงั้ น้ัน... ข้อที่ทรงติเตียนมายังผู้รักษาพระนครในคร้ังน้ี ทำให้ผู้เก่ียวข้องต้องรีบแก้ไข ด้วยเกรงว่าพระองค ์ จะเสด็จกลับมาทอดพระเนตรอีก การเสด็จประพาสตน้ เยย่ี งสามัญชน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะไม่แสดงองค์ว่าเป็นใคร และ วางพระองค์ง่ายๆ เหมือนกับราษฎรทั้งหลาย ระหว่างเสด็จประพาสเมื่อพลบค่ำท่ีใดก็จะประทับแรม ณ ที่น้ัน เชน่ ในคราวเสดจ็ ประพาสตน้ ครง้ั แรก ทรงหยดุ กระบวนเรอื ประทบั แรมทวี่ ดั โชตทิ ายการาม คลองดำเนนิ สะดวก และในคราวเสดจ็ ประพาสตน้ ครั้งทสี่ อง ทรงประทับแรมท่ีศาลาวดั เวยี งจาม ปทมุ ธานี นอกจากนี้ ในบางโอกาส พระองคท์ รงเปลยี่ นวธิ เี ดนิ ทางจากทางเรอื เปน็ ทางรถไฟ ปะปนไปกบั ราษฎร ดงั ในจดหมายเหตเุ สดจ็ ประพาสตน้ ของนายทรงอานุภาพ ได้เขยี นไวว้ า่ ...วนั ที่ ๒๐ กรกฎาคม เสด็จอาศัยรถไฟบา่ ยทจ่ี ะไปกรุงเทพฯ ที่ใชค้ ำวา่ เสดจ็ อาศยั ในที่น้ี เพราะเสด็จรถไฟช้นั ท่ี ๓ ประทบั ปะปนไปกบั ราษฎรไม่ใหใ้ ครรู้วา่ ใครเปนใคร เพ่อื จะ ใคร่ทรงทราบว่าราษฎรอาศัยไปมากันอย่างไร เจ้าพนักงานรถไฟก็เหลือดีมีอัธยาศัยรู้ พระราชประสงค์ ที่จริงแกรู้แต่แกล้งทำเฉย เรียกติเก็ตตรวจพวกเราเหมือนกับราษฎร ทั้งปวง ทำไม่ให้ผิดกันอย่างไร ต่อผู้ใดสังเกตจริงๆ จึงจะพอเห็นได้ว่า หน้าแกออกจะซีดๆ แลเมอ่ื ไปเรียกติเกต็ พระเจ้าอยหู่ วั มือไมแ้ กสัน่ ผดิ ปกติ... การวางพระองค์เยี่ยงสามัญชนในระหว่างเสด็จประพาสหัวเมืองทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัวทรงมีโอกาสได้ใกล้ชิดราษฎรโดยท่ีคนเหล่าน้ันไม่ทราบว่าพระองค์เป็นใคร ในคร้ังที่พระองค์เสด็จไป ประทับแรมท่ีวัดโชติทายการาม คลองดำเนินสะดวก ตอนบ่ายทรงเรือเล็กพายไปประพาสทุ่ง ไปถึงบ้าน หลังหน่ึง หญิงเจ้าของบ้านชื่อยายผ้ึงร้องเชิญให้แวะบ้าน จึงเสด็จข้ึนเรือน ยายผ้ึงให้การต้อนรับอย่างเต็มท่ี ท้ังยังยกหม้อข้าวกับกระบะไม้ใส่ชามกะลา มีผักกาดหมู ปลาเค็ม น้ำพริก ซึ่งเป็นอาหารของตนในเวลาเย็น 500

มาตั้งเล้ียง นายทรงอานุภาพได้บรรยายไว้ในจดหมายเหตุเรื่องประพาสต้นครั้งแรกว่า “...ใครเคยตามเสด็จ ประพาสไปรเวตมาแต่ก่อนย่อมเข้าใจดีว่า ถ้ามีช่องสนุกในการท่ีจะได้ทรงสมาคมกับราษฎรเกิดขึ้นอย่างน้ีแล้ว ท่ีพระเจ้าอยู่หัวของเราจะเว้นเปนไม่มี พอยายผึ้งเชิญพวกเราก็เข้าล้อมสำรับกับพระเจ้าอยู่หัวด้วยกัน ว่ากัน คนละคำสองคำ...เสด็จเที่ยวนี้ตั้งต้นชอบกลดี ทีจะสนุกมาก ตั้งแต่เสด็จออกจากบางปะอิน พระเจ้าอยู่หัวทรง สบายขน้ึ มาก” พระราชอธั ยาศยั เร่อื งการเสวยระหวา่ งเสดจ็ ประพาสหัวเมือง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเร่ืองการเสวยพระกระยาหารมาตั้งแต่ ยังทรงพระเยาว์ โดยมี “เสด็จยาย” หรือพระบรมมไหยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ทรงปรุง พระกระยาหารถวาย ในยามที่เสด็จประพาสยุโรปซึ่งเป็นการเดินทางยาวนาน พระองค์ทรงมีพระราชปรารภว่า ทรงคิดถึง “ข้าวคลุกกะปิ” ของเสด็จยาย โดยปกติแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดการ ปรุงพระกระยาหารด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงใส่พระทัยในรายละเอียดเก่ียวกับอาหารทุกด้าน ดังท่ีพระยา สีหศักดิ์สนิทวงศ์กล่าวไว้ในหนังสือประวัติของท่านว่า “...พระองค์ท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงเอาพระราช- หฤทัยใส่ในศิลปการปรุงรสอาหารเป็นอย่างดี เมื่อเชิญไปถึงพอทรงทราบนามเครื่องต้นท่ีนำไปน้ันว่าเป็นอะไร กท็ รงพระราชวิจารณ์วา่ ส่งิ น้กี ินร้อนสิง่ นั้นกนิ เย็นได้ รสอะไรข้นึ หนา้ และตามหลงั จงึ อร่อย...” พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว เสวยพระกระยาหารร่วมกบั ขา้ ราชบริพารผตู้ ามเสด็จประพาสต้นโดยไม่ถือพระองค ์ 501

ระหว่างการเสด็จประพาสต้น ตกช่วงเย็นเจ้าพนักงานกองเสบียงจะเป็นฝ่ายจัดหาอาหารรับประทาน คร้ังหนึ่งเมื่อเสด็จไปถึงเมืองโพธาราม ราชบุรี เจ้าพนักงานกองเสบียงเห็นชาวจีนนำปลาทูสดจากเมืองเพชรบุรี มาขาย จึงซ้ือมาทำอาหารมื้อเย็น ฝ่ายกองครัวก็เที่ยวซ้ือหาอาหาร เครื่องภาชนะใช้สอยคือหม้อข้าวและ ถ้วยชาม จดหมายเหตุเร่ืองเสด็จประพาสต้นของนายทรงอานุภาพเล่าว่า “...ได้พร้อมแล้วก็หุงข้าวต้มแกง ตามลำพังฝมี ือพวกทไ่ี ปตามเสดจ็ สำเร็จไดเ้ ล้ียงกนั พอเวลาพลบคำ่ ทคี่ าดหมายไปวา่ จะได้กนิ สนุกยง่ิ กว่าอรอ่ ย เปนการคาดผิดท้ังสิ้น อาหารวันนี้อร่อยเหลือเกิน ดูเหมือนจะกินอิ่มจนเกือบเดินไม่ไหวแทบทุกคน” พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่าการทำครัวเล้ียงกันในระหว่างเสด็จประพาสเช่นน้ี เป็นเหตุ ให้เจริญอาหารดีกว่าให้กุ๊กทำ จึงมีรับสั่งให้นำเครื่องครัวติดไปในเวลาเสด็จประพาสต้นด้วย คือ มีหม้อข้าว เตาไฟ ถ้วยชาม และเครื่องครัวบรรทุกไปในเรือมหาดเล็ก กำหนดว่าเม่ือไปถึงตลาดแห่งใดก็แวะซื้อเสบียง อาหารและหาท่ีทำครัวเลี้ยงกัน มีการแบ่งหน้าที่ของพนักงานครัวเป็นฝ่ายหุงข้าว ทำกับข้าว และกองล้างชาม ซ่ึงทำหน้าท่ีหาสถานที่ทำครัวและบริการอาหารด้วย ทำให้พระองค์ทรงพระสำราญยิ่งนัก ดังเช่น เมื่อเสด็จ ประพาสต้นไปที่เมืองเพชรบุรี ทรงคิดทำอาหารเช้าเป็นข้าวต้ม ๓ กษัตริย์ ปรากฏเน้ือความในจดหมายเหตุ เรือ่ งเสด็จประพาสตน้ ของนายทรงอานุภาพว่า ขา้ ราชบรพิ ารท่ีตามเสดจ็ ประพาสตน้ ชว่ ยกนั เตรยี มอาหารระหว่างการเดนิ ทาง 502

วันท่ี ๒๔ เวลาเช้าเสด็จทรงเรือฉลอม แล่นใบออกไปประพาสละมุที่เขาจับปลา ตามปากอ่าวแม่กลอง มีเรือฉลอมแล่นไปในกระบวนเสด็จ ๓ ลำด้วยกัน เที่ยวซื้อกุ้งปลาที่ เขาจับได้ตามละมุ แลว้ ตม้ ข้าวต้ม ๓ กษัตรยิ ์ข้นึ ในเรือฉลอม ทเ่ี รียกวา่ ข้าวตม้ ๓ กษัตรยิ น์ ัน้ คือ ต้มอย่างข้าวต้มหมูแต่ใช้ปลาทู กุ้งกับปลาหมึกสดแทรกแทนหมู เปนของทรงประดิษฐ์ ข้นึ ในเชา้ วันนนั้ เอง ต้งั แตฉ่ นั เกิดมาไมเ่ คยกินขา้ วตม้ อร่อยเหมือนวันนน้ั เลย... จุดแวะพกั เสวยพระกระยาหารระหวา่ งเสดจ็ ประพาสตน้ จะเห็นได้ว่า พระกระยาหารท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและคณะตามเสด็จเสวยและ รับประทานเป็นอาหารแบบง่ายๆ ที่ชาวบ้านรับประทานกัน แต่ได้รสชาติเอร็ดอร่อย ดังเช่น ในคราวท่ีเสด็จ ประพาสต้นคร้ังท่ีสอง พระองค์เสด็จไปยังเมืองปทุมธานีและแวะสถานท่ีต่างๆ จนเลยเวลาเสวย จึงมีรับสั่งให้ เรือพระที่น่ังจอดทำกับข้าวที่แพซุงใกล้คลองตะเคียน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล่าไว้ใน พระราชนพิ นธเ์ รือ่ งเสด็จประพาสต้นครั้งที่สองว่า “...เปนกับข้าวปัจจบุ ัน มปี ลาแหง้ ผดั ไขเ่ จียว แกงกะทิ สำเรจ็ อาหารกิจอย่างอรอ่ ย...” 503

พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงสนกุ สนานและทรงพระสำราญในการประกอบพระกระยาหาร มาก ในช่วงสุดท้ายของการเสด็จประพาสต้นคร้ังแรก ขบวนเสด็จประพาสเดินทางไปถึงคลองบางหลวงเมือง อยุธยาและเที่ยวหาสถานท่ีทำครัวจนหิว ได้พบบ้านหลังหน่ึงมีสะพานและโรงยาวอยู่ริมน้ำ พอจะอาศัยทำครัว เลี้ยงกันที่นั้นได้ จึงแวะเรือขอเข้าไปทำครัวท่ีบ้านนายช้างและอำแดงพลับ อำแดงพลับก็เข้ามาช่วยทำครัวด้วย ส่วนนายช้างซ่ึงเข้าใจว่าคณะของพระองค์เป็นพวกขุนนางที่ตามเสด็จก็นำน้ำร้อนน้ำชาออกมาต้อนรับ แล้วนั่ง เคียงไหล่สนทนากับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเหมือนกับเป็นมิตรสหายที่มีฐานะเสมอกัน นายทรงอานุภาพได้เล่าไว้ในจดหมายเหตุเร่ืองเสด็จประพาสต้นคร้ังแรกว่า “...ประเดี๋ยวได้ยินเสียงยายพลับ เอะอะข้ึนท่ีในครัว ได้ความว่าแกเอ็ดหมื่นสรรพกิจเรื่องชิมแกง แกว่าเปนผู้ลากมากดีทำไมถึงชิมแกงด้วยจวัก เขาถอื กนั ไมร่ หู้ รอื เลยเฮกนั ใหญ่ การทำครวั ทบี่ า้ นนายชา้ งวนั นส้ี นกุ ยงิ่ กวา่ ทไ่ี ดเ้ คยทำมาในทอ่ี น่ื ๆ ดว้ ยเจา้ ของบา้ น ทั้งผัวเมียรับรองแข็งขอบ แลมิได้มีความสงสัยว่าผู้ใดเปนใครเลย...” ก่อนที่เรือพระที่น่ังจะออกจากบ้าน นายชา้ ง พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั ได้พระราชทานเงิน ๔๐๐ บาท ใส่ซองให้นายชา้ งตอบแทนที่ ได้รับเสด็จ เมื่อพระองค์เสด็จกลับไปแล้ว นายช้างกับนางพลับจึงได้รู้ว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาที่บ้าน ของตน ตอ่ มาพระองคท์ รงนบั วา่ นายชา้ งและนางพลบั อยใู่ นพวก “เพ่อื นต้น” เรอื นของนายช้างท่ขี บวนเสดจ็ ประพาสต้นแวะเยย่ี ม 504

หลังจากเสด็จกลับจากประพาสต้นครั้งนี้แล้ว อกี ๒ ปตี อ่ มาพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ได้เสด็จไปที่บ้านนายช้างกับนางพลับอีกคร้ังหนึ่ง และทรงร่วมทำครัวด้วย ในพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จ ประพาสต้นครง้ั ทสี่ อง ทรงเลา่ วา่ “...เสรจ็ การปราศรยั แล้วก็ลงไปทำครัว นางลูกสาวแกงไก่ ยายพลับ แกงบะฉ่อ แก้ซ่ึงมีผู้ใส่น้ำปลาคร้ังก่อน แต่เสียง ยายพลับเบาไปไม่จ้าเหมือนคร้ังก่อนตาช้างว่าคราวนี้ สนุกกว่าคราวก่อน แต่ยายพลับว่าคราวก่อนสนุกกว่า คราวนี้...” ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต้ัง นายช้างเป็นหมื่นปฏิพัทธภูวนาถ และเป็นคนโปรด ของพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั ครอบครวั นายช้างกับนางพลบั การศกึ ษาสภาพภมู ปิ ระเทศบา้ นเรือนและสถานที่ตา่ งๆ ตามหวั เมอื ง พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยหู่ วั ทรงเหน็ ความสำคัญของการเสด็จไปยังหวั เมอื งตา่ งๆ ภายใน พระราชอาณาเขตเพอื่ จะไดท้ รงรจู้ กั สถานทต่ี า่ งๆ และราษฎรตามหวั เมอื งเหลา่ นน้ั สมเดจ็ พระเจา้ นอ้ งยาเธอ เจา้ ฟา้ กรมพระภาณุพนั ธุวงศว์ รเดชซงึ่ ทรงตามเสด็จอย่เู สมอ ทรงกลา่ วถงึ ผลดีของการเสดจ็ ประพาสหวั เมืองไว้ในบท พระนิพนธ์เรือ่ ง “เที่ยวเดินทางในเขตสยาม” ไวว้ ่า ...ประการหน่ึง ถ้าได้ไปในเมืองนั้นคงจะรู้จักบ้านเมืองและจำลู่ทางชัดเจนเร็ว แน่นอน ถ้าจะมีผู้ซักผู้พูดถึงเมืองน้ันๆ ก็จะได้เล่าได้พูดตามความรู้ความเห็นของตัว ไม่เป็น คนโง่เซอะนิ่งได้อย่างหนึ่ง ประการหน่ึงจะได้รู้จักชาติแห่งคนชาวบ้านชาวเมืองภูมิประเทศ นั้นๆ ท่ีจะมีกิริยาหน้าตาสุ้งเสียงอย่างไร แลจะทำมาหากินเล้ียงชีวิตด้วยส่ิงอันใด ความทุกข์ ความสุขของชาวราษฎรซึ่งอยู่ในบังคับผู้ใหญ่น้ัน จะเดือดร้อนร่มเย็นประการใด เม่ือม ี ชอ่ งโอกาสที่ชว่ ยราษฎรซง่ึ คับแคน้ ได้ ก็จะได้ชว่ ยใหบ้ ้านเมอื งเรยี บรอ้ ยเจรญิ ต่อไป... 505

หลักฐานทางประวัติศาสตร์การเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ส่วนหน่ึงได้มาจากภาพถ่ายฝีพระหัตถ์อันเป็นพระราชนิยมของพระองค์ ทำให้เราได้ ทราบถึงสภาพบ้านเมืองและสถานที่ต่างๆ ในสมัยน้ันได้เป็นอย่างดี ในพระราชนิพนธ์เร่ืองเสด็จประพาสต้น คร้ังที่สอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล่าถึงการถ่ายรูปเม่ือเสด็จประพาสทางเส้นทาง กรุงเทพฯ - นนทบุรี - ปทุมธานี - อยธุ ยา - สระบุรี ตงั้ แตว่ ันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เปน็ ตน้ มา ว่า วนั ท่ี ๒๙ เชา้ ข้นึ ไปบนวัดถา่ ยรปู วัดนเี้ รยี กตามตำบลชือ่ เวยี งจาม เปนพระรามัญ เปนวดั ทสี่ ดุ เขตประทมุ ... วนั ที่ ๓๐ เช้า ขน้ึ ไปถา่ ยรปู บนสะพานแลบ้านกรมมรุพงศ์...ลงเรือจากตลาดแวะซือ้ ของท่ีตลาดเรือสี่แยก แล้วข้ึนมาตามแควป่าสัก แวะกินข้าวกลางวันที่พระนครหลวง ถ่ายรูป แลทำกบั ขา้ วกำลงั กินฝนตกวันน้มี าก... วันที่ ๓๑ เช้า ๓ โมงออกเรือ แวะที่ท่าเจ้าสนุก เขาถางเห็นรากกำแพงแล พระที่นั่ง...ตรงท่าเจ้าสนุกข้ามเรียกว่า ท่าเกย คือ เปนที่เกยประทับช้าง เวลาเสด็จพระบาท ตอ้ งลงเรอื ข้ามไปท่าเกย แวะถ่ายรปู บางแห่ง มีสะพานจกั รี เปนต้น... พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาประวัติความเป็นมาของเมืองต่างๆ เม่ือเสด็จ ประพาสไปถึงเมืองใด ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินไปสำรวจสภาพภูมิศาสตร์ของเมืองเหล่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม ดังเช่น ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้เสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า มณฑลนครสวรรค์ ซ่ึงเคยเป็นแม่น้ำ ท่ีไหลผ่านเมืองสำคัญๆ ในอดีต ทรงพบว่าลำน้ำสายนี้ต้ืนเขินและเปล่ียนทางเดิน ทรงเคยมีรับสั่งให้พระยา โบราณบรุ านรุ กั ษ์ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเกา่ ทำการตรวจสอบกับหลักฐานทางโบราณคดี จดหมายเหตุ และพงศาวดาร ว่าลำน้ำเดิมเป็นอย่างไรและเพราะเหตุใดจึงตื้นเขิน แต่การดำเนินการเป็นไปอย่างล่าช้า จึงมี พระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวง ดำรงราชานุภาพ และข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจีน มณฑลนครชัยศรี มณฑลกรุงเก่า มณฑลนครสวรรค์ มณฑลพษิ ณโุ ลก มณฑลเพชรบูรณ์ และผวู้ ่าราชการเมอื งกำแพงเพชร เป็นผู้สำรวจลำนำ้ มะขามเฒา่ พรอ้ มกับ ให้พระยาศรีสหเทพซ่ึงมีความรู้ทางด้านแผนท่ี เป็นผู้ทำแผนที่แม่น้ำเก่าและใหม่ ส่งให้คณะผู้สำรวจลำน้ำ มะขามเฒา่ ในการน้ี “...ใหต้ า่ งมณฑลตา่ งสอบสวนลำแมน่ ำ้ เกา่ แลตำบลอนั มชี อื่ เสยี งปรากฏซงึ่ ตง้ั อยใู่ นลำนำ้ นน้ั ได้ความประการใดให้แจ้งไปยังพระยาศรีสหเทพ จะได้พิเคราะห์สอบสวนกับสายน้ำซึ่งมีอยู่ในแผนที่ให้เห็นว่า สายนำ้ เดมิ จะเปนอยา่ งไร เปลย่ี นแปลงตนื้ ตนั ดว้ ยนำ้ มารว่ มกนั แลขาดกนั อยา่ งไร จะเปนประโยชนแ์ กท่ างความรู้ เรื่องราวในพระราชอาณาจักรเปนอนั มาก...” กล่าวได้ว่า การท่ีมีพระบรมราชโองการให้สำรวจลำน้ำมะขามเฒ่า เป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้ ความเข้าใจประวัติศาสตร์ของประเทศ เป็นการวางรากฐานการพัฒนาเส้นทางคมนาคมในท้องถ่ิน และท่ีสำคัญ คือเพอ่ื ให้ราษฎรทอ่ี ยูต่ ามเสน้ ทางเสด็จประพาสไดร้ บั การพฒั นาในดา้ นชวี ติ ความเปน็ อย่ใู ห้ดขี ึน้ ต่อไป 506

สภาพความเปน็ อยู่ ความเชอ่ื และขนบธรรมเนยี มประเพณขี องราษฎร ตามหัวเมืองรายทางที่พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่าน พระองค์ทรงเห็นสภาพชีวิต ความเป็นอยู่และขนบธรรมเนียมประเพณีของราษฎร ทรงเห็นว่าราษฎรมีความเป็นอยู่เรียบง่าย ส่วนใหญ่ มีอาชีพทางเกษตรกรรม อาหารการกินนับว่าอุดมสมบูรณ์ ประชาชนมีศรัทธายึดม่ันในพระพุทธศาสนา ดังจะ เห็นว่ามีวัดวาอารามอยู่มากมาย ประชาชนนิยมการทำบุญทอดกฐิน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังเชื่อทางไสยศาสตร์ มกี ารรดน้ำมนตไ์ ลผ่ ี การรกั ษาโรคแบบโบราณ โดยทั่วไปแล้วประชาชนดำรงชีวิตอยู่เยน็ เป็นสขุ มนี ้ำใจเอื้อเฟ้ือ เผ่อื แผ่และมีความสามัคคีต่อกนั การต้งั ถนิ่ ฐานของราษฎร ดินแดนสยามประเทศนอกจากเป็นถิ่นท่ีอยู่ของชาวสยามแล้ว ยังมีชนอีกหลากหลายชาติพันธ์ุ ตั้งถิ่นฐานอยู่ ท้ังที่เป็นชนด้ังเดิมที่อาศัยมาแต่โบราณ กับชนชาติต่างๆ ท่ีอพยพเข้ามาอยู่ภายหลัง ชนเหล่านี้ ได้ผสมกลมกลืนเข้าด้วยกันเป็นอย่างดี สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เช่น ในมณฑลนครสวรรค์ท่ีพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นใน พ.ศ. ๒๔๔๙ เจ้าของไร่อ้อยเป็นพวกจีนแคะ หัวหน้า ชื่อจีนเม่งกุ่ย ได้ถวายการรับเสด็จท่ีเรือนของตน มีการต้ังโต๊ะเคร่ืองบูชา และถวายโต๊ะเก้าอี้หุ้มแพร เตียงนอน มุ้งแพรอย่างจีนทั้งส้ิน ถวายในการประทับแรม มีการบรรเลงพิณพาทย์ไทย พิณพาทย์จีน และม้าล่อ ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดเ้ สดจ็ ประพาสลำนำ้ มะขามเฒา่ มณฑลนครสวรรค์ ทรงพบว่าคนลาวก็อพยพมาทำมาหากินอยู่ท่ีนี่ด้วย โดยมาจากเมืองเขมราฐ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ เป็นลูกจ้างตัดฟืนและทำทางรถไฟแล้วส่งเงินไปให้บิดามารดาบุตรภรรยาใช้ นายจ้างชมเชยพวกลาวเหล่านี้ว่า ทำงานขยนั ขันแข็ง หลังจากเสด็จออกจากนครสวรรค์ใน พ.ศ. ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินต่อไปยังตำบลแสนตอ เมืองขาณุวรลักษณ์ กำแพงเพชร พระองค์ทรงพบครอบครัวคนผมแดง ซ่ึงอพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ก่อนสมัยเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว บุคคลเหล่านี้อยู่ที่เมืองขาณุฯ มาช้านานจนกระทั่งพูดไทยและมีกิริยาอาการเป็นไทยไปแล้ว นอกจากจะทรงพบ ครอบครัวคนผมแดงแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงตั้งข้อสังเกตว่า ราษฎรเมืองน้ ี อายุยืนเพราะมีแต่คนแก่ แต่ก็มีปัญหาเรื่องการเจ็บไข้ ดังในพระราชนิพนธ์เม่ือเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร ในครั้งนว้ี า่ “...ท่เี มอื งกำแพงนปี้ ระหลาดว่าเปนทมี่ ไี ขเ้ จบ็ ชุม ถึงถามชาวเมืองน้นั เองก็ไมม่ ีใครปฏิเสธสกั คนหนึ่ง วา่ ไขไ้ ม่ชุมแลไมร่ า้ ย แต่ไดพ้ บคนแก่ทง้ั หญิงทั้งชายมากกวา่ ท่ีไหนๆ หมด กรมการครำ่ ๆ อายุ ๗๐ - ๘๐ กม็ ี มากหลายคน ราษฎรตามแถวตลาดก็มีคนแก่มาก ถ้าจะหารือพวกกำแพงจริงคงบอกว่า พระพิมพ์ป้องกันด้วย นับถอื กนั มาก...” พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยหู่ วั ทรงถ่ายรูปครอบครวั พระยากำแพงเพชรท่มี ีสมาชกิ รวมกันห้าช่ัวอายุคน ได้แก่ ท่านผู้หญิงทรัพย์ ภรรยาพระยากำแพง อายุ ๙๓ ปี มีลูกช่ือผ้ึง อายุ ๗๓ ปี มีหลานคือหลวงพิพิธอภัย อายุ ๔๔ ปี มีเหลนช่ือกระจ่าง อายุ ๒๔ ปี และโหลนช่ือละเอียด อายุ ๑๓ ปี ซง่ึ สมาชกิ ที่สบื มาแตท่ า่ นผูห้ ญงิ ทรพั ยท์ ่ยี ังมีชวี ิตอยดู่ ว้ ยกนั ในขณะน้นั มีถึง ๑๑๑ คน 507

พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัว ประทบั แครห่ ามระหวา่ งการเสด็จประพาสเมืองนครสวรรค์ พ.ศ. ๒๔๔๙ การเสดจ็ ประพาสตน้ เมืองกำแพงเพชร พ.ศ. ๒๔๔๙ 508

การประกอบอาชีพของราษฎร การเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่าราษฎร ของพระองคส์ ว่ นใหญป่ ระกอบอาชพี เกษตรกรรมเปน็ หลกั โดยเฉพาะการทำนา ในบางทอ้ งทพี่ ระองคท์ รงพบวา่ ประชาชนมีปัญหาในการทำนาคือผลผลิตไม่พอเล้ียงครอบครัว ต้องไปซื้อข้าวจากเมืองอื่น ส่วนการเลี้ยงสัตว ์ ก็มีเพียงบริโภคภายในครัวเรือนเท่าน้ัน ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาเมื่อเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายใต้ใน พ.ศ. ๒๔๓๒ ว่า ...ท่ีเกาะหลักข้ึนไปถึงบนฝั่งมีบ้านเรือนคนประมาณร้อยหลัง มีวัดวัดหนึ่งคนอยู่ที่น้ี ตดั ฝางตดั ไมข้ ายเปนฟนื ทำนาแตเ่ ขา้ ไมพ่ อกนิ ตอ้ งไปซอ้ื เมอื งประจวบครี ขี นั ธบ์ า้ ง เพช็ รบรุ บี า้ ง การทำปาณาตบิ าต ก็ทำอยูแ่ ตพ่ อกนิ ... ส่วนการทำสวนในหวั เมอื งภาคใต้ กม็ กี ารทำสวนทเุ รียน ปลูกมะพร้าว หมาก พลู กาแฟ มงั คุด มะไฟ เงาะ ลางสาด และเครื่องเทศต่างๆ มีความอุดมสมบูรณ์ ดังในพระราชหัตถเลขาเมื่อเสด็จประพาสเมืองระนอง ใน พ.ศ. ๒๔๓๓ วา่ ...ที่สวนเปนการทำง่ายอย่างย่ิง ทุเรียนน้ันจะเรียกว่าสวนฤๅจะเรียกว่าป่าก็เกือบจะ ได้เพราะเจ้าของไม่ต้องทำนุบำรุงอันใดปลูกทิ้งไว้กับพื้นราบๆ ไม่ต้องยกร่องเพราะน้ำไม่มี ทว่ ม... หรือการเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือใน พ.ศ. ๒๔๔๒ ในท้องที่เมืองพรหมพิราม พิษณุโลก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรการเกษตร ทำนา ทำไร่อ้อย ไร่ยาสูบ สวนส้มโอ ของราษฎร ปรากฏในพระราชหัตถเลขาวา่ ...เมืองพรหมพิรามน้ีฉันไม่ได้นึกว่าจะเปนดังนี้เลย เปนเมืองที่มีแผ่นดินอุดมดี ตามระยะทางขึ้นมาบ้านช่อง ผู้คนมีมาก ทำนาแลทำอ้อย เวลาฤดูแล้งปลูกยาสูบตาม ริมแม่น้ำ...ตามบ้านเรือนเปนสวนผลไม้ทั่วทุกแห่ง มีส้มเปนสำคัญ ต้นส้มโอสูงใหญ่เหมือน ต้นมะม่วง เวลาท่ีมาน้ีเกินกำหนด แต่ยังมีที่เหลืออยู่บ้าง ต้นหน่ึงกว่า ๓๐๐ ผลมีราษฎร ท่บี ริบูรณ์มีอันจะกนิ มาก... นอกจากอาชีพเกษตรกรรมแล้ว ราษฎรยังประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การทำอิฐ โอ่ง การทอผ้าเพื่อใช้สอยส่วนตัวและเพ่ือจำหน่ายซ่ึงเป็นงานหัตถกรรมขนาดเล็ก และทำน้ำตาลโตนดขาย ต่างเมือง ทำให้มีการค้าขายอย่างคับคั่ง เป็นผลให้เศรษฐกิจในเมืองมีความเจริญ ซ่ึงพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรเห็นการประกอบอาชีพค้าขายคึกคักในเมืองสำคัญต่างๆ เช่น ในหัวเมืองภาคใต้ท่ีเมืองตานีและเมืองไชยาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ ในเมืองนครสวรรค์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ และ ในมณฑลราชบุรเี มอ่ื พ.ศ. ๒๔๕๒ พระองคท์ รงบรรยายการคา้ ขายทคี่ ับค่ังในตลาดตำบลโพธาราม ราชบุรวี ่า ...ออกจากวัดโพธารามลงตามทางซ่ึงตรงลงไปสะพานวัด แต่เปนร้านขายของ ทั้ง ๒ ฟาก แล้วจึงเล้ียวไปตามในตลาดริมน้ำไปจนสุดตลาด ซึ่งเกือบจะถึงท่ีว่าการอำเภอ ราษฎรได้คาดปรำปูผ้าตลอดทาง ตำบลโพธารามน้ีเปนที่ตลาดอย่างสำเพ็งยืดยาวมาก ผู้คนแนน่ หนา... 509

ราษฎรเมืองสงขลาประดบั ธงรับเสด็จพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หัว ในการเสด็จเย่ยี มราษฎรหวั เมอื งปักษใ์ ต้ พ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระทัยยินดีท่ีทราบว่า หลังจากท่ีรัฐบาลให้เลิก โรงบ่อนเบ้ียไปแล้ว ชาวบ่อนก็หันมาประกอบอาชีพค้าขายและเพาะปลูกกัน ดังในพระราชนิพนธ์เร่ือง เสดจ็ ประพาสต้นคร้งั ทีส่ อง เมือ่ เสดจ็ ประพาสเมืองนครสวรรค์ ความวา่ ...ได้ความจากพระศรีสทิ ธกิ รรม์ นายอำเภอบรรพตวา่ ต้งั แต่เลิกบ่อน พวกท่หี ากิน ในการบอ่ นสาดขน้ึ มาตามลำนำ้ ทเ่ี มอื งบรรพตมมี ากทหี่ าดสม้ เลย้ี วพวกคา้ ขายมากขน้ึ จนตอ้ ง ถึงทำโรงตลาดเพิ่มเติมหลายสิบห้อง ท่ีจับการเพาะปลูกไว้แล้วก็มี น้ีเปนข่าวท่ีได้ยินใหม่ ในผลของการที่เลิกบอ่ นเบยี้ ... เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรเห็นปัญหาเรื่องการทำมาหากิน ของราษฎรจากการเสดจ็ ประพาสหวั เมอื ง พระองคท์ รงจดั การแกป้ ญั หาเพอ่ื ชว่ ยใหร้ าษฎรมชี วี ติ ความเปน็ อยดู่ ขี นึ้ อาทิ การส่งเสริมอาชีพการเกษตร การสร้างโครงสร้างพืน้ ฐานคือ เสน้ ทางคมนาคมทางรถไฟ และถนน การขดุ คลองเพอ่ื เปิดพ้ืนทที่ ำนาและใช้เป็นทางคมนาคม และการชลประทานเพ่อื ส่งเสริมการเกษตร 510

การรกั ษาโรคภัยไขเ้ จ็บ การรักษาโรคในท้องถิ่นชนบทสมัยน้ันยังใช้วิธีไสยศาสตร์อยู่ เม่ือชาวบ้านเจ็บป่วยมักเช่ือว่าตนถูก ผีเข้า และทำการรักษาตัวด้วยการรดน้ำมนต์ที่วัดเพ่ือไล่ผี ขบวนเสด็จประพาสไปพบเห็นวิธีไล่ผีท่ีวัดประดู่ เมืองสมุทรสงคราม ตามท่ีนายทรงอานุภาพได้บรรยายไว้ในจดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นครั้งแรก เม่ือ พ.ศ. ๒๔๔๗ วา่ “...ที่วดั น้ีวา่ เปนหมอนำ้ มนต์ มผี ู้คนทเ่ี จบ็ ไข้ไปคอยรดนำ้ มนต์รักษาตัวอยูห่ ลายคน ได้ความวา่ เปนโรคผีเข้าบ้าง ถูกกระทำยำเยียบ้าง แลโรคอย่างอื่นๆ บ้าง...รดน้ำมนต์แบบน้ีฉันก็พึ่งเคยเห็น คนพูดจากัน อยู่ดีๆ พอเข้าไปน่ังให้พระรดน้ำ ก็มีกิริยาอาการวิปลาสไปต่างๆ บางคนก็เฝ้าแต่ขากเสลดพ่นน้ำลายดังขากปูๆ ไปจนพระหยดุ รดนำ้ มนตจ์ งึ หยดุ ขาก กลบั หนั มาบอกเราวา่ สบายเบาในอกโลง่ ทเี ดยี ว...นแี่ หละจะจรงิ เทจ็ เพยี งใด ก็ไม่ทราบ เล่าเท่าที่ตาเห็น แต่พวกเราที่ไปตามเสด็จไม่มีใครรับอาสาเข้าไปให้พระรดน้ำมนต์ถวายตัว จึงไม่มี พยานทจี่ ะยนื ยนั ...” ความเชอ่ื ดงั กลา่ วนมี้ อี ยใู่ นวถิ ชี วี ติ ของชาวชนบทสมยั นน้ั กอ่ นทกี่ ารแพทยแ์ ผนปจั จบุ นั จะไปถงึ นอกจากการรักษาโรคด้วยวิธีไสยศาสตร์แล้ว ชาวบ้านยังพึ่งพาพระพุทธรูปศักด์ิสิทธ์ิว่าจะช่วยบอก ตำรายาให้ได้ ท่ีวัดป่าโมกข์ เมืองอ่างทอง อุบาสิกาเหลียนได้กราบพระพุทธไสยาสน์ในวัดขอให้ช่วยรักษาลุง ที่ป่วยไข้อยู่ ปรากฏว่ามีเสียงก้องออกมาจากพระอุระของพระพุทธไสยาสน์บอกตำรายา จึงนำยาไปรักษาลุง จนหายป่วย ไม่มีผู้ใดเชื่อเรื่องดังกล่าว มีการพิสูจน์กันก็ได้ยินเสียงของพระพุทธไสยาสน์ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสดจ็ ประพาสไปถึงวดั ปา่ โมกข์ ก็ทรงพบอุบาสิกาเหลียนดว้ ย สถานท่ีอีกแห่งหนึ่งท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรเห็นวิธีการรักษา โรคภัยไข้เจ็บตามแบบแผนโบราณโดยใช้ยาสมุนไพร วิธีทางไสยศาสตร์ คาถาอาคม และรดน้ำมนต์ คือ ท่ีวัด พระปรางค์เหลือง ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี เมืองนครสวรรค์ โดยเฉพาะการรักษาโรคเคล็ดขัดยอก และอัมพาตโดยวิธี “เหยยี บฉา่ ” ของพระเขมร วธิ กี ารรกั ษา พระหมอจะใชเ้ ทา้ เหยยี บยาสมนุ ไพรหรอื นำ้ มนั ยา แล้วเหยียบลงบนเหล็กท่ีเผาไฟจนแดงร้อนจัด หรือใช้เท้าลนไฟถ่านให้ร้อนจัด แล้วเหยียบบริเวณท่ีเกิดอาการ ของคนไขเ้ สยี งดังฉ่า หลงั จากน้นั คนไข้จะรู้สกึ ว่าอาการดีข้ึน ในคราวเสด็จประพาสเมอื่ พ.ศ. ๒๔๔๙ นี้ พระเจ้า นอ้ งยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมก็ได้ทดลองให้พระหมอเหยยี บฉา่ ด้วยเช่นกัน การที่ประชาชนยังคงมีความเช่ือทางไสยศาสตร์และรักษาโรคตามวิธีการตามแบบพ้ืนบ้านน้ี ทำให้ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงหว่ งใยวา่ วธิ ดี งั กลา่ วจะไมส่ ามารถรกั ษาความเจบ็ ปว่ ยของราษฎรได้ จึงมีพระราชดำริท่ีจะให้ราษฎรมียาฝร่ังอันเป็นการแพทย์แผนปัจจุบันสำหรับรักษาโรค เมื่อมีการผลิตยา โอสถศาลา ก็โปรดเกล้าฯ ใหส้ ง่ ยาโอสถศาลาไปจำหน่ายยงั หัวเมอื ง ความรูเ้ ก่ยี วกับประวัติศาสตร์และโบราณคดี เม่ือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปถึงเมืองโบราณในประวัติศาสตร์ พระองค์ทรง ค้นคว้าหาประวัติความเป็นมาของเมืองน้ันๆ และทรงศึกษาจากหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้ทรงทราบถึง ความสำคัญของเมืองต่างๆ และทรงแสดงพระราชวิจารณ์อย่างผู้มีความรู้ในเร่ืองนั้นๆ ดังเช่น ในการเสด็จ ประพาสเมืองโบราณที่กำแพงเพชรซ่ึงถูกทิ้งร้างมานาน พระองค์ทรงสำรวจเมืองและทรงมีพระราชวิจารณ์ เก่ียวกบั ประวัติศาสตร์เมอื งกำแพงเพชร ดงั น้ ี 511

...ข้อซ่ึงจะโจษสงสัยว่าเปนเมืองไตรตรึงส์แน่ละหรือ เพราะมีข้อท่ีพากันสงสัยว่า เจ้าแผ่นดินลงมาแต่เชียงราย เวลาน้ันเมืองกำแพงเพชรก็มีเจ้า เหตุไฉนจะข้ามลงไปสร้าง เมืองไตรตรึงสข์ ึ้นในท่ีใกล้หา่ งกนั เพยี ง ๔๐๐ เส้น ความท่ีเดาว่าเมืองกำแพงเพชรมเี จ้าอยใู่ น เวลานั้น น่าจะเดาจากบาญชีเมืองประเทศราชครั้งแผ่นดินพระเจ้าอู่ทอง ในท้องเรื่องท่ีว่า เจ้าเชียงรายยกลงมา ไม่ได้กล่าวว่าตีเมืองกำแพงเพชรไปต้ังเมืองแปป เปนเมืองไตรตรึงส์ ทีเดียวจึงเกิดสงสัย...เมืองกำแพงเพชรที่อยู่ฝั่งตะวันออกคงจะเก่ียวดอง หรืออยู่ในอำนาจ เมืองสวรรคโลก สุโขทัย พิษณุโลก จึงต้ังฝั่งทางท่ีเปนแผ่นดินเดียวกัน ถ้าพวกเชียงราย จรมาจะไปตั้งฝ่ังตะวันตกก็จะได้ เพราะถูกต้องตามความในจดหมายว่า ข้ามแม่น้ำโพไปตั้ง ฝัง่ ตะวนั ตกเมืองกำแพงเพชร เห็นจะเปนเมืองไตรตรึงสแ์ น.่ .. นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงให้ข้อสันนิษฐานเก่ียวกับที่มาของชื่อ เมืองกำแพงเพชรไวว้ ่า ...เมืองกำแพงเพชรนี้เดิมต้ังอยู่ห่างฝั่งแม่น้ำทุกวันนี้ประมาณ ๑๐๐ เส้น น่าจะม ี ลำน้ำมาที่ชายเนินแลงซ่ึงได้กล่าวไว้ว่าเปนท่ีลุ่มน้ำ หรือท่ีอื่นตลอดจนถึง เวลาพระร่วง เปนใหญ่ในเมืองสวรรคโลก เปนเวลาร่วมกันกับมังรายลงมาจากเชียงราย ตั้งเชียงใหม ่ เปนเมืองหลวง พวกเจ้านายในเมืองสวรรคโลกกลัวว่าสวรรคโลกล่อแหลมนัก จึงคิดอ่าน ต้ังสุโขทัยเปนเมืองหลวงขึ้นอีกเมืองหน่ึง สวรรคโลกให้ลูกเธอไปอยู่เปนทัพหน้า ข้างฝ่าย แม่น้ำน้อยน้ีจะเปนด้วยแม่น้ำเปล่ียนไปก็ตาม หรือเมืองเดิมตั้งอยู่ห่างน้ำก็ตาม พระร่วงหรือ วงศ์พระร่วงเห็นว่า ควรจะเล่ือนเมืองลงมาต้ังริมน้ำให้ข่มแม่น้ำนี้ จึงมาสร้างกำแพงขึ้นใหม่ ใหช้ อื่ เมอื งกำแพงเพชร... ความจงรกั ภักดีทร่ี าษฎรมีตอ่ พระมหากษตั รยิ ์ ราษฎรตามหัวเมือง แม้จะไม่มีโอกาสได้พบเห็นพระมหากษัตริย์ แต่ก็มีความจงรักภักดีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์เป็นล้นพ้น ตามบ้านเรือนของราษฎรจะติดกรอบรูปพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ที่ฝาผนังบ้านสำหรับเคารพบูชา หากได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ก็จะถือว่าเป็นบุญ และได้รับสิริมงคลในชีวิต ในคร้ังท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นไปถึงคลอง ดำเนินสะดวก พระองค์ได้รับเชิญจากเจ้าของบ้านช่ือยายผึ้งซ่ึงมีน้ำใจชวนให้เสวยพระกระยาหารด้วยโดยที่ไม่รู้ จกั วา่ พระองคค์ ือพระมหากษตั ริย์ จนกระท่ังเจ๊กฮวด บตุ รชายของยายผ้งึ สงั เกตเหน็ วา่ พระองคท์ รงมพี ระพักตร์ คล้ายกับรปู ที่ตั้งไว้ตามเคร่ืองบูชา กร็ ้องวา่ “...คลา้ ยนัก คล้ายนกั ขอรับ ถามวา่ คล้ายอะไร มันบอกว่าคลา้ ยรูป ที่เขาต้ังไว้ตามเครื่องบูชา พอประเด๋ียวก็ลุกข้ึนน่ังยองๆ เอาผ้าปูกราบพระเจ้าอยู่หัว บอกว่า แน่ละขอรับ ไม่ผิดละเหมือนนัก ยายผึ้งยายแพ่งเลยรู้ว่าพระเจ้าอยู่หัว แต่ก็ได้พระราชทานมากอยู่ เห็นจะหลายสิบเท่าราคา สำรับกบั ข้าวที่ยายผึ้งเล้ยี ง...” ในการเสด็จประพาสต้นหัวเมืองบางครั้ง ขบวนเสด็จพบคนรู้จักกันก็ขอความร่วมมือให้ช่วยกันปกปิด มิให้ผู้อ่ืนได้รู้ว่าเป็นขบวนเสด็จของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซ่ึงได้รับความร่วมมืออย่างดี แต่สุดท้ายก็อดท่ีจะถวาย 512

ราษฎรรอเฝ้ารับเสดจ็ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อย่หู วั 513

ความเคารพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ ดังเช่นเมื่อขบวนเสด็จประพาสต้นไปถึงเมืองสมุทรสงคราม แวะซ้ือ เสบียงอาหารที่ตลาดปากคลองวัดประดู่ นายทรงอานุภาพได้เล่าว่า “...พวกเราเดินชุลมุนขวักไขว่กันไปตาม เพลงไม่มีใครจะรู้จัก เขากำลังเล่นลิเกกันหน้าโรงบ่อน ฉันเดินไถลไปดูพบทหารเรือซ่ึงเคยเปนบ๋อยพระยา ชลยุทธ รู้จักกันมาแต่ก่อน เห็นมันรู้จักจึงกระซิบบอกอ้ายหมอน่ันว่า เอ็งอย่าอึกทึกให้ใครรู้ว่าเสด็จ ดูมันก็ทำ น่ิงเฉยดีอยู่ไม่เห็นผู้ใดรู้เห็นวี่แวว จนกระท่ังเสด็จกลับลงเรือพอเรือออกจากท่า เจ้าพิณพาทย์ลิเกก็ตีเพลง สรรเสริญพระบารมีส่งเสด็จ...” เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะต้องประทับแรมกลางทางระหว่างอำเภอสองพ่ีน้อง กับเมืองสุพรรณบุรี คือท่ีหน้าวัดบางบัวทอง แต่ยังไม่ได้จัดเตรียมท่ีประทับตลอดจนสะพานท่ีจอดเรือพระท่ีน่ัง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพได้ให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเรียกลูกบ้านจัดเครื่องมือมาช่วยกันทำงาน เพ่ือรับเสด็จ ปรากฏว่าภายใน ๒ ชั่วโมงมีชาวบ้านมาช่วยงานราว ๓๐๐ - ๔๐๐ คน แม้แต่ผู้หญิงที่ไม่ได ้ ถูกขอแรงทำงาน ก็รับอาสาทำครัวเลี้ยงคนงานโดยไม่ยอมรับเงินช่วยค่าอาหาร นายทรงอานุภาพได้เล่าว่า “...กรมหลวงดำรงจะขอใช้เงินค่าสะเบียงอาหารให้กไ็ ม่มใี ครยอมรบั ว่าอยากจะชว่ ยกนั รับเสด็จ พอบ่าย ๔ โมง การแลว้ เสร็จ เลยี้ งกนั เอิกเกริกสนุกสนานราวกับงานไหว้พระอย่างใหญ่ ใครได้เห็นแลว้ จะต้องยนิ ดี ด้วยเหน็ ได้ วา่ ไพรฟ่ า้ ข้าแผ่นดนิ มคี วามสามภิ ักดต์ิ ่อพระเจ้าอย่หู ัวเพยี งใร...” ในยามท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปถึงหัวเมืองใด ราษฎรท่ีทราบข่าวการเสด็จ ก็จะรู้สึกดีใจ พากันมาเฝ้ารับเสด็จโดยไม่เห็นแก่ความยากลำบากท่ีต้องเดินทางมาเฝ้า ดังเช่นการเสด็จประพาส และประทบั แรมที่เมืองตรอน อุตรดติ ถ์ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๔๔ พระองค์ได้เสด็จลำน้ำตรอนเพือ่ ค้นหาทต่ี ัง้ ค่ายหลวง ของพระเจ้าตากสินมหาราชเม่ือครั้งยกทัพข้ึนมาตีเมืองฝางเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓ ราษฎรเมืองตรอนซึ่งส่วนใหญ่ เป็นพวกลาวพุงดำพากันมารอรับเสด็จอยู่เป็นเวลานาน เมื่อพระองค์เสด็จออกมานอกเขตลำน้ำตรอน ทรงพบ ชาวเมืองรอเฝ้าด้วยความช่ืนชมยินดีและมีความปลาบปลื้มใจท่ีได้เห็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเป็นท่ีพอพระทัย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่งที่ทรงเห็นชาวตรอนแสดงความเคารพรักพระองค์ ดังข้อความในพระราชหัตถเลขาถึงพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ลงวันท่ี ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ วา่ “...ราษฎรมคี วามชน่ื ชมยนิ ดีมาก อยากจะเหน็ อยทู่ ่ัวกนั เปนทีพ่ อใจในความจงรกั ภกั ดขี องเขา เปนอนั มาก...” การเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือครั้งน้ี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน พระแสงราชศัสตราวุธประจำเมืองต่างๆ และทรงแจกของท่ีระลึกให้กับราษฎร เช่น เสมาเงินเป็นลาย รูปพระจุลมงกุฎ และอักษรพระนามสำหรับพระราชทานเด็กชายหญิง เพ่ือสร้างความใกล้ชิดผูกพันกับราษฎร สร้างความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมาก ประเพณีการพระราชทานพระแสง ราชศัสตราวธุ และพระราชทานเสมาได้เร่ิมมีข้นึ นบั แตน่ ้นั เป็นต้นมา โดยรวม การเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้เป็นเพียง เพ่ือทรงพักผ่อนสำราญพระอิริยาบถแต่ประการเดียว พระองค์ทรงใช้โอกาสนี้ตรวจดูลักษณะภูมิประเทศ ความเป็นอยู่ของราษฎร และการตรวจราชการท้องท่ีซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อการปกครองหลายประการ เป็นการ กระชับความสัมพันธ์ระหว่างเมืองหลวงกับหัวเมือง และระหว่างพระมหากษัตริย์กับเจ้าเมืองและราษฎรทั้งปวง สง่ ผลใหเ้ กิดความมัน่ คงทางการเมืองการปกครอง 514

กล่าวได้ว่าการเสด็จประพาสต้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราโชบาย อย่างหนึ่งในการเข้าถึงประชาชน ทำให้พระองค์ได้ทรงสมาคมกับราษฎรอย่างใกล้ชิดอย่างมิได้ถือพระองค์ โดยท่ีราษฎรไม่ทราบว่าพระองค์คือพระเจ้าแผ่นดินของตน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงม ี พระเมตตาแก่พสกนิกร เสด็จไปถึงท่ีใดก็พระราชทานเงินทองและสิ่งของต่างๆ แก่ราษฎรอย่างท่ัวถึง การที่ ทรงใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชนก็เป็นประสบการณ์ตรงท่ีทำให้พระองค์ทรงทราบความเป็นไปท่ีแท้จริงของบ้านเมือง ตลอดจนทุกข์สุขของราษฎรด้วยพระองค์เอง ซึ่งโดยปกติจะไม่ทรงทราบได้อย่างถ่องแท้ ทำให้พระองค์ทรงมี ส่วนช่วยขจัดปัดเป่าความเดือดร้อนของราษฎรให้พ้นจากความทุกข์ร้อน กล่าวได้ว่าการพัฒนาประเทศในด้าน ตา่ งๆ ทมี่ ขี ึน้ ในรชั กาลน้ี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเสดจ็ ประพาสหวั เมอื งของพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ - เจ้าอยู่หัวท่ีทรงทราบถึงทุกข์สุขของราษฎรที่พระองค์ทรงให้ความรักดั่งบิดารักบุตร ขณะเดียวกันความผูกพัน ใกล้ชิดกับราษฎรก็ทำให้ราษฎรเกิดความคุ้นเคย มีความศรัทธาและจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ด้วย พระองค์จึงทรงเป็นที่รักใคร่และเทิดทูนบูชาของอาณาประชาราษฎร์ท่ัวหน้า สมกับท่ีได้รับพระสมญานามจาก ปวงชนชาวไทยว่า “พระปยิ มหาราช” 515



๒๔ ปิยมหาราชาสดุด ี ...ในระหว่างส่ีสิบปีท่ีล่วงมาแล้ว...ถ้ามิได้อาไศรยพระปรีชาญาณสามารถแห่ง ใตฝ้ า่ ลอองธลุ พี ระบาท ทรงพระมหากรณุ าชกั จงู ประชาชนดว้ ยรฐั ฐาภปิ าลโนบายอนั สขุ มุ ให้ดำเนินไปในหนทางอันชอบไซ้ เมืองไทยก็จักหาได้ย่างข้ึนสู่ความจำเริญรุ่งเรืองเช่นน้ ี ไมเ่ ลยพยานแหง่ พระเมตตาคณุ ของใตฝ้ า่ ลอองธลุ พี ระบาท อนั มอี ยใู่ นชาวสยามประเทศนี้ แมจ้ ะพรรณนากห็ าทส่ี ดุ มไิ ด้ เปรยี บประดจุ มหาสมทุ รอนั ใหญก่ วา้ งสดุ สายตาแหง่ มนษุ ย์ จะแลเหน็ ตลอดไปถึงฝั่งฟากโพน้ ได้... (คำกราบบังคมทูลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจา้ ฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกฎุ ราชกุมาร ถวายพระบรมรูปทรงมา้ แดพ่ ระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยหู่ วั วันท่ี ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑) ความโศกอาลัยในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเม่ือวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ณ พระที่น่ังอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ยังความโศกอาลัยแก่ชนชาวสยามทุกหมู่เหล่า ไม่เว้นแม้แต่ พระภิกษุสงฆ์ ดังปรากฏว่าเมื่อมีการอัญเชิญพระบรมศพข้ึนประดิษฐานบนพระที่น่ังดุสิตมหาปราสาท และนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นสดับปกรณ์ตามประเพณี พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ไม่สามารถกลั้นความเศร้าโศกความอาลัย ไวไ้ ด้ ตามทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงพระราชนพิ นธไ์ วใ้ นหนงั สอื “ประวตั ติ น้ รชั กาลท่ี ๖” วา่ ...สมเดจ็ พระมหาสมณะเจา้ (ซงึ่ เวลานน้ั ดำรงพระยศเปนกรมหลวงวชริ ญาณวโรรส) ตรัสกับฉนั พระสุรเสยี งเครือและสอ้นื , เสด็จกรมหมนื่ ชนิ วรสริ วิ ฒั น์ (ซึ่งเวลานั้นดำรงพระยศ เปนพระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต) ทรงสวดไม่ใคร่จะออก, สมเด็จพระวันรัตน (ทิต) วัดมหาธาตุ, เสียงเครือจวนๆ จะเอาไว้ไม่อยู่, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธ์ิ) วัดอรุณ สวดพลางน้ำตาไหลพลาง, และสอ้ืนด้วย, และสมเด็จพระวันรัตน (จ่าย, เวลานั้นเปน พระธรรมวโรดม) วดั เบญจมบพติ ร,์ ร้องไหอ้ ยา่ งคนๆ ทีเดียว... 517

518

ตามโบราณราชประเพณี เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต พระบรมศพของพระองค์จะประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไม่เคยมีประเพณีให้ประชาชนเข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพในพระที่นั่งดุสิต มหาปราสาทได้ แต่ปรากฏว่าในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพทรงถวายความเห็นต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ควรมีพระบรม- ราชานุญาตให้ประชาชนได้เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมพระบรมศพเพ่ือให้สมกับที่ทรงได้รับพระราชสมัญญานามว่า “ปยิ มหาราช” เหตผุ ลที่ทรงช้ีแจงปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธข์ องพระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลา้ เจ้าอยูห่ วั เรอ่ื ง “ประวัตติ น้ รัชกาลที่ ๖” ดังนี ้ ...แต่ก่อนมาราษฎรมิได้มีโอกาสเข้าใกล้พระองค์พระเจ้าแผ่นดิน เพราะฉะนั้น ความกลัวจงึ มีมากกว่าความรกั ที่ไมใ่ หร้ าษฎรเข้าใกลน้ กั นนั้ กเ็ กิดแตค่ วามไมไ่ วใ้ จ ซงึ่ บังเกิด ขึ้นเพราะการแบ่งอำนาจกระจายไปไว้ในมือคนหลายคน กล่าวคือการให้เจ้านายและขุนนาง ควบคุมเลขเปนหมู่เปนกองน้ันเอง ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงแก้ไข ประเพณีอันให้ผลร้ายอันนี้แล้ว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรได้มีโอกาสแลเห็น พระองค์และเฝ้าใกล้ๆ ได้ ราษฎรจึ่งมาเกิดรู้สึกรักใคร่ ซ่ึงมิได้เคยรู้สึกต่อพระเจ้าแผ่นดิน ชา้ นานมาแล้ว เมื่อเสดจ็ สวรรคตลงราษฎรจ่ึงมคี วามเศร้าโศกจริงๆ ท่วั ถึงกัน... พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราชประกาศว่า จะเปิดให้ ประชาชนไดเ้ ขา้ ไปถวายบังคมพระบรมศพพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงเป็นพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ได้ท่ีพระที่น่ังดุสิตมหาปราสาท ในวันที่ ๑ และ วันท่ี ๑๕ ทุกๆ เดือนจนกว่าจะบอกงด ในวันดงั กล่าวประชาชนไดข้ น้ึ ไปถวายบงั คมมไิ ดข้ าด บางคนมพี วงมาลา หรอื ดอกไม้ถวายเปน็ ราชสักการะดว้ ย ทูตานุทูตและชาวตา่ งประเทศในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยูห่ ัว ณ พระทีน่ ่ังดุสิตมหาปราสาท < พระบรมโกศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัว ประดิษฐาน ณ พระทน่ี ่ังดสุ ติ มหาปราสาท พระบรมมหาราชวงั 519

ขบวนแหพ่ ระบรมโกศพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัวไปยงั ทอ้ งสนามหลวง ประชาชนมารว่ มงานพระราชพธิ ีถวายพระเพลงิ พระบรมศพพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว ณ พระเมรมุ าศ ทอ้ งสนามหลวง 520

พระบรมรูปทรงมา้ พระบรมรูปทรงม้าเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่แสดงถึงความจงรักภักดีและความสำนึกในพระ- มหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่ีมีต่อปวงชนชาวไทย ประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้ร่วมใจกันบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างพระบรมรูปทรงม้า น้อมเกล้าฯ ถวายในวโรกาสท่ีพระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยูห่ วั ทรงครองสิรริ าชสมบัตคิ รบ ๔๐ ปใี นพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พระบรมรูปทรงมา้ เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของแผ่นดินที่สถิตอยู่ในดวงใจของประชาชนชาวสยามอย่างต่อเนื่องกว่า ๑๐๐ ปี ดังปรากฏในพิธีวางพุ่มดอกไม้และพวงมาลาถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ในวันคล้ายวันสวรรคต ของพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัวคอื วนั ท่ี ๒๓ ตลุ าคม ของทกุ ป ี สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าถึงการสร้างพระบรมรูปทรงม้าว่า เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสยุโรปคร้ังท่ีสองใน พ.ศ. ๒๔๕๐ นั้น การสร้างถนนราชดำเนิน ได้สำเร็จลุล่วงแล้ว และกำลังสร้างพระที่น่ังอนันตสมาคม พระองค์ทรงมีพระราชดำริถึงแผนผังสนามใหญ ่ เชื่อมถนนราชดำเนินกับบริเวณพระที่น่ังอนันตสมาคมเพื่อเตรียมการสมโภชในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ท้งั นพ้ี ระองค์ทรงมีรับสั่งให้สมเดจ็ พระบรมโอรสาธิราช เจา้ ฟา้ มหาวชิราวธุ สยามมกุฎราชกมุ าร ซง่ึ เปน็ ผสู้ ำเรจ็ ราชการรกั ษาพระนคร ทรงปรกึ ษาการดำเนนิ การกบั เสนาบดี ในระหวา่ งทพ่ี ระองคเ์ สดจ็ ตา่ งประเทศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร องค์ประธานจัดงานพระราชพิธี และคณะกรรมการได้ประชุมเห็นสมควรให้ประชาชนร่วมกันแสดงความจงรักภักดีถวายพระบาทสมเด็จ พระเจา้ อยหู่ วั ดว้ ยการบรจิ าคเงนิ เพอ่ื เปน็ การเฉลมิ พระขวญั พระองค์ ดงั ลายพระหตั ถท์ ที่ รงมไี ปถงึ พระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมขนุ สมมตอมรพนั ธ์ุ ราชเลขานุการ เม่อื วนั ท่ี ๑๑ กนั ยายน รตั นโกสนิ ทร์ศก ๑๒๗ ความตอนหนงึ่ ว่า ...พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ไดป้ กครองทำนบุ ำรงุ ประเทศและประชาชนชาวสยาม ใหเ้ จรญิ รงุ่ เรอื ง และไพรฟ่ า้ ขา้ แผน่ ดนิ เปนสขุ สำราญมาชา้ นานกวา่ พระมหากษตั รยิ แ์ ตป่ างกอ่ น ขอ้ นเี้ ปนหลกั ชกั ชวนชาวสยามทกุ ชาตทิ กุ ภาษาทว่ั พระราชอาณาเขตใหบ้ รจิ าคทรพั ยต์ ามกำลงั รวบรวมเงนิ ทลู เกลา้ ฯ ถวายเปนของชาวสยามรายตวั ทว่ั หนา้ พรอ้ มใจกนั สนองพระเดชพระคณุ อย่างที่เรยี กกันเปนสามญั ว่า “ทำขวัญ” แลว้ แต่จะทรงใชส้ อยเงินนัน้ ตามพระราชหฤทยั ... ปรากฏว่าพระบรมวงศานุวงศ์ ประชาชนท้ังในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ยินดีเข้าร่วมโครงการเฉลิม พระขวัญกันถ้วนหน้า ทำให้ได้เงินบริจาคเป็นจำนวนถึง ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท ในระหว่างน้ัน พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสพระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝร่ังเศส และทรงสน พระทัยพระบรมรูปพระเจา้ หลยุ ส์ท่ี ๑๔ ทรงมา้ หล่อด้วยทองสัมฤทธ์ซิ ่ึงต้ังอยหู่ น้าลานพระราชวัง พระองค์ทรง ปรารภว่าถ้ามีพระบรมรูปของพระองค์ทรงม้าตั้งไว้ในสนามที่ถนนราชดำเนินต่อกับบริเวณพระที่นั่งอนันต- สมาคม พระราชวังดสุ ิต ก็จะเปน็ ความสง่างามเหมอื นอย่างประเทศในยโุ รป พรอ้ มกันน้นั พระองคท์ รงสบื ราคา ค่าก่อสร้างพระบรมรูปดังกล่าวน้ีว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายราว ๒๐๐,๐๐๐ บาท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ได้นำพระราชปรารภนี้เข้าท่ีประชุมคณะเสนาบดีซ่ึงเป็นคณะกรรมการ เรี่ยไรการเฉลิมพระขวัญ ท่ีประชุมเห็นชอบท่ีจะนำเงินเร่ียไรนี้มาใช้ในการสร้างพระบรมรูปทรงม้าตาม พระราชปรารภ ด้วยเหตุน้ีพระบรมรูปทรงม้าจึงเป็นพระบรมราชานุสรณ์สำคัญจากงานสมโภชในพระราชพิธี 521

522 โรงหลอ่ พระบรมรปู ทรงมา้ ประเทศฝรั่งเศส

รัชมังคลาภิเษก ที่ปวงราษฎร์ได้พร้อมใจกันบริจาคเงิน “เฉลิมพระขวัญ” เพื่อสร้างพระบรมรูปทรงม้า ตามพระราชดำรขิ องพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยูห่ วั ในการจัดสร้างพระบรมรูปทรงม้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงว่าจ้างโรงหล่อของ พ่ีน้องตระกูลซูสแฟร (SUSSE Fre`res Fondeurs) ท่ีกรุงปารีสให้เป็นผู้หล่อพระบรมรูปทรงม้า เมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๐ ด้วยเงินบริจาคเฉลิมพระขวัญ ซึ่งแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ ส่วนเงิน ท่ีเหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำไปสร้างโรงเรียน ข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือต่อมาคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพอ่ื เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์อนั ถาวรอีกแหง่ หน่งึ การประกอบพระบรมราชานสุ าวรยี ์พระบรมรูปทรงม้า ณ ลานพระราชวังดสุ ิต < โรงหล่อพระบรมรปู ทรงม้า ทกี่ รุงปารสี ประเทศฝรั่งเศส พร้อมคณะช่างผดู้ ำเนินการ 523

524

พธิ เี ปดิ พระบรมรูปทรงมา้ 525

ในวันประกอบพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เม่ือวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้มีการเชิญ พระบรมรปู ทรงมา้ ขน้ึ ประดษิ ฐานบนแทน่ ทลี่ านพระราชวงั ดสุ ติ สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช เจา้ ฟา้ มหาวชริ าวธุ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงอ่านคำถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก และน้อมเกล้าฯ ถวายพระบรมรูปทรงม้า ในคำกราบบังคมทูล ทรงสดุดีพระมหากรุณาธิคุณและพระราชกรณียกิจในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่ียังให้เกิดประโยชน์สุขแก่ชาติบ้านเมืองและพสกนิกรชาวสยาม นำประเทศ ไปสูค่ วามเจริญรุ่งเรอื ง ความว่า ...อน่ึง ข้าพระพุทธเจ้าท้ังหลายมีความประสงค์จะใคร่มีส่ิงใดส่ิงหนึ่งไว้เปนพยาน ให้มหาชนในอนาคตกาลทราบความรู้สึกแห่งข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในบัดน้ีจึงได้ช่วยกัน ขวนขวายตามกำลังสามารถสถาปนาพระบรมรูปของใตฝ้ า่ ลอองธลุ พี ระบาทขึ้นไว้ หวังใหเ้ ปน อนุสาวรีย์แห่งความจงรักภักดีของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันมีอยู่ใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท ปรากฏอยชู่ ั่วกาลปาวสาน... จากนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟา้ มหาวชิราวธุ ฯ ทรงกราบบงั คมทูลเชิญเสดจ็ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงประกอบพระราชพิธีเปิดผ้าคลุมพระบรมรูปทรงม้า เพ่ือเป็นปฐมฤกษ์และ ประกาศพระเกยี รตคิ ณุ ให้ปรากฏสืบไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสตอบ ดังความตอนหน่งึ วา่ ...การซึ่งท่านท้ังหลาย ได้พร้อมใจกันสร้างรูปเราข้ึนไว้ใน คร้ังน้ี ก็นับว่าเปนถาวรนิมิตรอันดี ใ น ค ว า ม พ ร้ อ ม เ พ รี ย ง ข อ ง ช า ติ อั น เ กิ ด ข้ึ น ใ น ใ จ ท่ า น ทั้ ง ห ล า ย แลแสดงเปนพยานความเชื่อถือไว้ วางใจในเจ้าแผ่นดินแลรัฐบาลของ ตน อันเปนเหตจุ ะใหเ้ กดิ มหรรคผล เพอื่ ความผาศกุ สำเรจ็ แกช่ าตขิ องเรา ในภายนา่ ... ...เราขอแสดงความขอบใจ ท่านทั้งหลายแท้จริงพร้อมกันกับ ด้วยพระบรมวงษานุวงษ์ ท่านผู้มี บรรดาศกั ด์ิ ทงั้ อาณาประชาราษฎร ของเรา ในการท่ีได้ยกย่องให้ เ กี ย ร ติ ย ศ อั น ย่ิ ง ใ ห ญ่ แ ก่ ตั ว เ ร า แต่เวลายังมีชีวิตร จะเปนท่ีตั้งแห่ง ความพอใจของเราอยเู่ ปนนจิ นริ นั ดร... 526

พระบรมรูปทรงม้า เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของแผ่นดินท่ีได้รับความศรัทธานับถือจากปวงชน ชาวไทยมาโดยตลอด และเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ท่ีได้รับการเคารพสักการะจากปวงชนชาวไทยอย่างไม่มี เส่อื มคลาย ทุกวนั ท่ี ๒๓ ตลุ าคมซง่ึ ตรงกับวันสวรรคตของพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ประชาชน ทวั่ ทงั้ ประเทศไดเ้ ขา้ รว่ มพธิ วี างพวงมาลาสกั การะพระบรมรปู ทรงมา้ ดว้ ยความสำนกึ ในพระมหากรณุ าธคิ ณุ ของ “สมเดจ็ พระปยิ มหาราช” ทท่ี รงมตี อ่ ชาตแิ ละเหลา่ พสกนกิ ร นอกจากนี้ ความศรทั ธาเชอ่ื มน่ั ในพระบญุ ญาธกิ าร ของพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ยงั นอ้ มนำใหป้ วงชนชาวไทยพากันขอพระบารมีแห่งพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นท่ีพึ่ง ด้วยการกระทำพิธีสักการบูชาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพระบรมรปู ทรงมา้ เปน็ ประจำทกุ วนั โดยเฉพาะวนั องั คาร อนั เป็นวันคลา้ ยวนั พระราชสมภพของพระองค์ โดยหวังให้ดวงพระวิญญาณของพระองค์ทรงปกปักรักษาพระราชอาณาจักรสยามให้แคล้วคลาดปลอดภัยจาก ภยันตรายท้ังปวง ความรักและความศรัทธาในพระบารมแี หง่ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั จึงสถิตอยู่ ในใจของปวงชนชาวไทยชว่ั นิรันดร ์ อนึ่ง ในวนั ท่ี ๒๐ กนั ยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ อันเปน็ มหามงคลสมัยครบ ๑๕๐ ปแี ห่งวนั พระราชสมภพ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ไดป้ ระกาศยกย่องพระเกียรติคณุ ให้พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอย่หู วั ทรงเป็นบคุ คลสำคัญ ของโลกในสาขาการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา การพัฒนาสังคมและส่ือสาร ในฐานะ ท่ีทรงเป็นพระมหากษัตริย์ท่ีทรงอุทิศพระองค์เพ่ือความผาสุกของอาณาประชาราษฎร์และชาติบ้านเมือง ตลอดระยะเวลา ๔๒ ปีแห่งการครองราชย ์ 527



ปกิณกะ พระราชนยิ มส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยหู่ วั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีวิธีผ่อนคลายพระอารมณ์เพื่อพักผ่อนพระอิริยาบถ จากพระราชภารกิจในการบริหารงานราชการแผ่นดินอันหนักหน่วง วิธีการผ่อนคลายดังกล่าวได้กลายเป็น พระราชนิยมปฏิบัติแพร่หลายในสังคมไทยขณะน้ัน และบางเรื่องได้เป็นต้นเค้าความนิยมสืบเน่ืองมาถึงปัจจุบัน พระราชนิยมในพระองค์บางประเด็นได้อัญเชิญจากพระราชหัตถเลขาในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน แสดงให้เห็นถึง ความใสพ่ ระทัยอยา่ งลกึ ซึ้งมใิ ช่ความพึงพอใจเพียงฉาบฉวย

ดอกกหุ ลาบและสวนดอกไม ้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานดอกไม้อย่างย่ิงโดยเฉพาะดอกกุหลาบ ความสนพระทยั ดอกไมน้ านาพรรณของพระองคป์ รากฏในพระราชหัตถเลขาว่า “...เรอ่ื งดอกไม้น้นั เปนท่ีปรากฏ เสียแล้วว่าพ่อชอบมาก ไปถึงแห่งใดก็แต่งเต็มไปด้วยดอกไม้ทั้งห้อง งามช่ืนตาช่ืนใจ...” ในการเสด็จ พระราชดำเนินประพาสยุโรปคร้ังที่สอง พ.ศ. ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีเวลาว่าง พอที่จะเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรรายละเอียดในสวนพฤกษศาสตร์ของหลายประเทศ พระองค์ทรง ซักถามข้อมูลเก่ียวกับวิธีการเพาะปลูกและทำนุบำรุง พรรณไม้ดอกต่างๆ โดยเฉพาะดอกกุหลาบเพ่ือนำมาปลูก และจัดสวนในสยาม ดังปรากฏมีการจัดสร้างสวนกุหลาบ ขึ้นทางมุมตะวันตกเฉียงใต้ของพระราชวังดุสิต และยัง พระราชทานนาม “พระตำหนักวังสวนกุหลาบ” พระราช- หัตถเลขาที่เกี่ยวข้องกับพระราชนิยมเร่ืองดอกไม้และ สวนดอกไม้มปี รากฏต่อไปน ี้ พระตำหนักวังสวนกุหลาบ 530

พระราชหัตถเลขาฉบับท่ี ๑๘ วันท่ี ๒๖ พฤษภาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ ณ ประเทศสวติ เซอรแ์ ลนด์ ทรงเลา่ ถึงดอกไมท้ ่ขี ึ้นตามภเู ขาไว้วา่ ...ทางทขี่ น้ึ ยอดเขาน.้ี ..มดี อกไมท้ ข่ี นึ้ บนหญา้ คอื ทเ่ี รยี กสะโนดรอป สขี าวกม็ ี มว่ งกม็ ี มีดอกเหลอื งอีกอยา่ งหน่งึ ดอกเปนกำมหยอ่ี กี อยา่ งหนง่ึ ...ตอนยอดเขาท่สี ูงปนอยู่กับสะโนนัน้ มีแต่ส่ีอย่างเท่าน้ี แต่ตอนเหนือโคขึ้นมายังไม่ถึงสเตชั่นนี้มีดอกไม้มาก สีเหลืองสีบานเย็น เปนช่อเหมือนอย่างกล้วยไม้สีขาวสีน้ำเงินเขียว ใจกลางขาวดาดไปเหมือนปูพรม หมู่ท ่ี ดอกนาซซี สั ขนึ้ ขาวดาดไปทง้ั ไหลเ่ ขาสงู ประมาณสกั คบื เศษเทา่ นน้ั มดี อกชสู ลอนไป เหมอื นเอา ผ้าดอกฤๅแพรดวงลาดแลสดุ ๆ ตา มกี ล่นิ หอมกรุ่นๆ ...ในแฟ้มทไ่ี ดอ้ ดั สง่ มานัน้ เปนดอกไม้ บนเขาทั้งสิ้น...ได้ช่วยกันเกบ็ หอ่ ผ้าเช็ดหน้ามา... พระราชหัตถเลขาฉบับท่ี ๒๓ วันที่ ๑๔ มิถุนายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ ณ เมอื งบาเดนบาเดน ประเทศเยอรมนี ทรงบรรยายถงึ เรือนกหุ ลาบวา่ ...ถัดเรือนปาล์มไป มีสวนปลูกต้นกุหลาบต่างๆ...กำลังมีดอกสีต่างๆ ครืดไปท้ังน้ัน ที่น่ารักมากคือกุหลาบเลื้อย เล้ือยข้ึนโค้งใหญ่เต็มโค้งได้จริงๆ มีดอกตั้งแต่โคนข้ึนไป จนกระท่ังถึงยอด กุหลาบต้นหนึ่งสูงประมาณสักสิบศอก...เดินเลียบไปอีกข้างหน่ึงม ี สระใหญ่.....มีสวนที่ใช้ไออบอุ่นอยู่ตอนหนึ่ง...ทำเปนโรงยาวกว้าง...ห้องหนึ่งพอออกมุขย่ืนไป เปนโรงหลังคากระจกเต้ียๆ...ปลูกต้นไม้ที่ต้องการร้อน ใช้แรงไอน้ำ...ร้อนมากบ้างน้อยบ้าง ตามประเภทของต้นไม้.....ถ้าเราจะพยายามปลูกต้นไม้เมืองหนาวบ้าง คิดทำเรือนเย็นเห็นจะ ฉิบหายมากกว่าเขาทำรอ้ น... พระราชหัตถเลขาฉบบั ที่ ๙ วันท่ี ๒๗ เมษายน รัตนโกสนิ ทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ ณ เมืองเยนัว ประเทศอิตาลี ทรงเล่าเรื่องดอกไม้ท่ี โรงแรมท่ปี ระทับปลูกไว้ว่า . . . ท่ี นี่ มี ด อ ก ไ ม้ ห รู กุหลาบจฬุ าลงกรณ ์ หลายอย่าง ที่วิเศษแท้นั้นคือ กหุ ลาบ กหุ ลาบอยา่ งทดี่ กุ๊ เรียก ภาพถา่ ยฝพี ระหตั ถ์กุหลาบ ว่ามอญ แต่ที่แท้ของไทยนั้น ประกอบเรอ่ื งทรงบรรยายโรงกุหลาบ มันโตเท่ากุหลาบเย็บกันเล่น... กลีบใหญ่ได้ส่วน ดอกโต เท่าขนาดใหญ่ของเราสามดอก รวมกนั กล่ินกห็ อมเปนกุหลาบ ไทย ดอกไม้อ่ืนๆ มีอีกมาก เชน่ ตลุ ปิ สตี า่ งๆ เยเรเนยี มสตี า่ งๆ... 531

พระราชหัตถเลขาฉบับท่ี ๑๐ วันที่ ๒๙ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ ณ เมืองซันเรโม ประเทศอิตาลี ทรงบรรยายวา่ ...ต้นไม้มันช่างผิดกับบ้านเราเสียจริงๆ คือปลูกเปนต้นฤๅกอที่พอจะจุกระถางดิน ขนาดต่างๆ กะให้พอออกดอกพร้อมกันหมด...กุหลาบต้นหน่ึงมันมีดอกพร้อมกันหมด ตั้งย่ีสิบสามสิบดอก…ต้นอื่นๆ ท่ีมีดอกเปนช่อใหญ่ๆ ดอกติดกันหมดเหมือนจัดพุ่ม เครื่องนมัสการเปนแต่เต้ียงามกว่าจัดดอกไม้หัวโล้น...พ่อได้พิเคราะห์ดูหนักแล้ว...ได้ถูก ได้ดมรู้ว่าเปนดอกไม้จริงๆ...เหตุท่ีมันสดใสงดงามเช่นนี้ เพราะอะไร เพราะแสงแดดท่ีน ่ี ไม่แรงสีไม่ตก ดอกไม้ของเราที่ว่างามสักเท่าใดเท่าใด...มันมาปรากฏแก่ไนยตาว่าสีตก... อีกอย่างหนึ่งมันสดจริงๆ กลีบชุ่มน้ำ...ดอกไม้เมืองเรา ถ้าจะมีดอกไม้ที่จะเปรียบในทางสด กับดอกไม้เมืองฝร่ังได้ เห็นจะมีแต่ดอกบัวซ่ึงพึ่งแย้มในเวลาต้องพระอาทิตย์…ในเรื่อง ปลูกไม้ดอกเมืองเราน้ีน่าท้อใจเปนอันมาก ถึงจะได้ก่ิงได้เม็ดไปปลูก คงจะไม่พ้นจากเซียลง แลกลีบอ่อนบอบแบบ ดอกไม้ฝร่ังเช่นกุหลาบบานออกเต็มที่แล้วทิ้งไว้ในห้องเท่าไรๆ ก็ไม่โรย...ถ้าเมืองเราเด็ดจากต้น ถือสักครึ่งช่ัวโมงเท่านั้นก็หน้าคว่ำ...อีกอย่างหนึ่งเร่ืองกล่ิน ที่เรากริ้วว่าดอกไม้ฝรั่งไม่หอมน้ัน...ท่ีจริงดอกไม้มันมีกล่ินหอม แต่มันหอมสำหรับอากาศ อ่อนๆ...ไปปลูกท่ีเมืองเรามันหายหอมหมด เพราะพอบานออกก็ถูกแดดเผาน้ำฤๅน้ำมันแห้ง ทันที... พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๑๒ วันที่ ๕ พฤษภาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ ณ เมอื งซนั เรโม ประเทศอิตาลี ทรงมพี ระราชดำริท่จี ะนำพรรณไม้ไปปลูกในสยาม ความวา่ ...ส่วนพืชพรรณนั้น ต้องไปเอาพระสารสาสน์ (เยรินี) มาขอให้ช่วยเปนผู้จัดการ ได้ตกลงกันว่าไม้ท่ีปลูกด้วยหัวกำลังเปนฤดูลงอยู่ในเวลานี้ จะให้ได้ส่งหัวเข้าไปก่อนเม็ด ท่ีควรจะได้ก็ให้ส่ง แต่ไม้ที่ต้องเอาตอเอากิ่งเข้าไป ซ่ึงเปนฤดูล่าจะได้ต่อเดือนตุลาคมนั้น จะไว้คอยส่งลงเรือเมล์ท่ีพ่อจะกลับทีเดียว จะได้ดูแลรักษาไปได้ ส่วนไม้ท่ีจะส่งล่วงน่าไป กอ่ นนนั้ พอ่ สง่ั ใหแ้ กพูดตรงกับกรมดำรง... อน่ึงลืมบอกเม่ือวานนี้ ว่าพืชพรรณต้นไม้เหล่าน้ีมิใช่เปนของเกิดในตำบลน้ี… เพราะฉนั้นต้นไม้บางอย่างอาจเปนได้ในบ้านเราดี...ถ้าจับเล่นกันอีก...คงจะไปได้เท่าไรๆ ไม่มี ท่สี ดุ ... 532

พระราชหัตถเลขาฉบับท่ี ๑๔ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ ณ เมืองซันเรโม ประเทศอิตาลี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทอดพระเนตรสวนกุหลาบ ของชาวเยอรมันช่ือบรอยเออ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องการผสมต้นกุหลาบ พระองค์ทรงให้ล่ามแปลวิธีการ ปลูกกุหลาบ ตั้งแต่เร่ืองดิน วิธีผสมเกสร วิธีฝากหนาม และวิธีต่อกิ่งกุหลาบ และทรงเล่าพระราชทานสมเด็จ พระเจ้าลกู เธอ เจา้ ฟ้านภิ านภดลว่า ...มีกุหลาบท่ตี านผี่ สมใหมอ่ ย่างหน่งึ ดอกโตเทา่ ดอกบวั สตบงกช กลบี ซ้อนจนไม่แล เห็นเกษร สีแดงเข้มเกือบเปนบานเย็น ...เขาขอตั้งช่ือว่าพระเจ้าแผ่นดินสยาม พ่อได้อนุญาต ให้แกต้งั ... ในเร่ืองปลกู ตน้ กุหลาบน้ี ถา้ จะเล่นในเมืองเราให้ได้ดีจรงิ ต้องมีมนษุ ย์อย่างเชน่ ตานี่ คนหน่ึง ต้องซ้ือพรรณกุหลาบไปจากยุโรปผสมในเมืองเราเห็นจะยาก ด้วยมันร้อนเกินไป จะต้องคอยสืบซ้ือพรรณซึ่งเขาผสมออกใหม่อยู่เสมอเปนนิจ ดินเมืองเรามันดีเกินไปจะ ต้องหาดินที่แร้นแค้นผสมทรายไปจากท่ีอ่ืน ถ้าจะมีสวนกุหลาบอย่างดีสวนหน่ึง ออกเงินสัก ปลี ะ ๑๐๐ ช่ัง ฤๅ ๑๕๐ ชั่ง ทง้ั คา่ จ้างค่าตน้ ไม้คา่ ดิน เหน็ จะมีสวนกหุ ลาบดีเล่นสวนหนึ่งได้... พอ่ ได้ส่ังให้นำให้รู้จกั กบั พระสารสาสนแ์ ล้ว... 533

อาหาร พระราชนิยมด้านอาหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นท่ีประจักษ์รับรู้กันทั่วไป มิใช่เฉพาะเพียงโปรดการเสวยพระกระยาหารท้ังไทยและเทศ แต่ยังทรงให้ข้อสังเกตและทรงศึกษาถึง วิธีการประกอบอาหารนั้นๆ อย่างถ่ีถ้วน โดยเฉพาะการปรุงอาหารแบบตะวันตกซึ่งเป็นเร่ืองใหม่สำหรับคนไทย พระองค์ทรงถ่ายทอดวิธีการทำอาหารแบบตะวันตกแก่พระมเหสีและพระธิดาเพ่ือให้ทรงทดลองทำ จนอาจ กล่าวได้ว่าเป็นตำราอาหารแบบตะวันตกยุคแรกเริ่มของไทย ยิ่งกว่าน้ันพระองค์ยังโปรดท่ีจะประกอบ พระกระยาหารต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ดังปรากฏหลักฐานทั้งเม่ือคร้ังเสด็จประพาสต้นและคราวเสด็จ ประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๕๐ ตามพระราชหตั ถเลขาในพระราชนิพนธไ์ กลบ้านดังน้ ี พระราชหัตถเลขาฉบับท่ี ๗ วันท่ี ๒๕ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ ณ เมอื งเนเปอล ประเทศอิตาลี พระองคท์ รงบรรยายถึงอาหารอติ าเลียน ความว่า ...เหล้าอิตาเลียนที่กินนี้ มีสองอย่างที่สำหรับกินต่างน้ำ เหล้าเหลืองรศเปรี้ยวอ่อน หน่อยหนึ่ง เหล้าแดงรศหวานด่ืมง่ายแต่ฉุน...กับเข้าต้ังต้นมักกะโรนีเส้นเล็ก...สิทธิการิยะ วิธีกินมักกะโรนีน้ัน ท่านให้ถือซ่อมมือขวา ถือช้อนมือซ้าย เอาซ่อมหมุนม้วนเส้นมักกะโรนี แล้วเอาช้อนประคองจนกลมเปนคำแล้วจึงใส่ปากแล กับเข้าท่ีสองเข้าสุกกับตับไก่ หั่นช้ิน เล็กๆ ปรุงด้วยเนยแขงเจือมะนาว...ท่ีสามปลา ปลานั้นยาวกว่าปลาทูหน่อย...ทอดหนังกรอบ เนื้อในนุ่มไม่พบก้าง หว่างจานที่ว่างอยู่สองข้าง ข้างหนึ่งเปนกุ้งฝอย ข้างหนึ่งปลาหมึก... หวานดีทั้งสามอย่าง...ท่ีสี่เน้ือโคย่าง ห่ันชิ้นบางๆ ท่ีสุด...ของหวานไข่เจียวหวานแลผลไม้ ผักทสี่ ำหรบั กินกับผลไม.้ .. พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๑๓ วันท่ี ๘ พฤษภาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ ณ เมืองซันเรโม ประเทศอติ าลี ทรงบรรยายวธิ ีการทำไข่เจียวแกส่ มเดจ็ พระเจ้าลูกเธอ เจา้ ฟา้ นภิ านภดล ความว่า ...ไข่เจียวอีกอย่างหน่ึงท่ีควรเราจะทำกินได้เอง คือเจียวข้างล่างสุก อ่อนอย่าง ไข่เจียวฝร่ัง แล้วจึงเอาไข่ผสมกับเคร่ืองปรุง มีหมูแฮมแลเนื้ออะไรเล็กๆ เห็ด หยอดลงไป ที่ตรงกลางแล้วพับทันทีกดขอบให้ติดกันไม่ให้ไข่ที่กลางน้ันไหล สำเร็จเปนไข่เจียว ข้างใน เปนยางมะตูม สำหรับกนิ เวลาเช้าอร่อย พอ่ คดิ ถึงลูกจงึ เลา่ เขา้ มาให้ฟงั เช่นนี้ นึกว่าถ้าลองทำ คงทำได้ทันท.ี .. พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๒๘ วนั ท่ี ๑๐ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศ์ ก ๑๒๖ ขณะเสดจ็ ออกจากเมือง โบเดอ ประเทศนอร์เวย์ ทรงเล่าถึงการที่พระองค์ทรงทำข้าวต้มปลาซัลมันซ่ึงเป็นการประยุกต์อาหารไทยท่ีใช้ วัตถุดบิ ของฝรั่งวา่ ...นึกถึงปลาซัลมันท่ีเขาให้ ว่าจะทำอะไรกินดี ตกลงว่าควรจะต้มเข้าต้มปลาซัลมัน แต่ไม่มีผู้ใดสันทัด โทษถึงเสด็จไปต้มท่ีครัวเอง ถามถึงน้ำปลา ตาอ้นนิ่งเหมือนไม่ได้ยิน... พระยาบุรุษก็นิ่งเสียด้วย...ทอดธุระว่าจะใช้เกลือ ทีหลังนายศรีทหารเรือท่ีเอามาใช้ มายืนยัน ว่ามีรับจะไปเอามาให้ ตกลงเปนได้ มาต้มเล้ียงกันทั้งฝร่ังทั้งไทยอร่อยดีมาก เสียแต่ปลา มนั จดื ออกจะเปนกระดาษๆ สปู้ ลากระพงไมไ่ ด.้ .. 534

พระราชหตั ถเลขาฉบับท่ี ๔๐ วันที่ ๒๖ กันยายน รัตนโกสนิ ทร์ศก ๑๒๖ ระหวา่ งเสดจ็ จากกรุงปารีส ประเทศฝรง่ั เศส มายังเมอื งลเู ซนิ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ทรงช่นื ชมอาหารฝรัง่ เศสว่า ...วันน้ีเปนวันที่สุดในปารีส...ปรารภว่าจะไปลองกินเข้าอยู่แห่งหนึ่ง คือที่กาแฟ อังเกลส์...เขาว่าแพงอย่างย่ิง...อาหารตั้งต้นซุปปอดโอเฟอ ต้มดีอย่างยิ่งแต่เขาไม่ปรุงผัก ลงในนัน้ มบี รรจชุ ามเงนิ มาตา่ งหาก...ที่ ๒ น้ันเขา้ กบั แกงไก่ ไมใ่ ช่อยา่ งแกงการี แตเ่ ขา้ หงุ ดี... วิธีหุงเห็นจะหุงอย่างเข้ามัน...ที่ ๓ น้ันนกแลผักสลัด ผักสลัดนั้นแห่งใดจะมามีดีเท่าเมือง ฝร่งั เศสเปนไม่มแี ล้ว สดกรอบแลหวาน...ของหวาน ลูกปชิ เช่ือมแลผลไม้ กบั เข้าทำดีจริง... นอกจากน้ี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้แสดงฝีพระหัตถ์การปรุงพระกระยาหาร แบบไทย ดังในพระราชหัตถเลขาฉบับท่ี ๒๘ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ ๑๒๖ ขณะประทับบนเรือ พระท่นี ัง่ อลั เบียน ฮาเมอเฟสต์ ความว่า ...จวนเท่ียงจึงลกุ ขึน้ ทำกับเขา้ ตาอ้นไปหุงเขา้ ไว้กอ่ น ชายบริพตั รทอดเน้ือกบั น้ำสม้ น้ำปลา แลกุ้งไม้...เยนตราจัดผักอยู่ข้างจะแขงแรงมาก ว่าเสียหรู...พ่อตำน้ำพริก ขาดน้ำตาล ใช้น้ำตาลกรวดแทน...แก้อย่างไรมันก็ปร่าอยู่นั้นเอง...ได้อินเวนต์ยำลูกแอบเปอลอร่อยดีมาก ควรจะพากลบั เข้าไปถึงบางกอกได.้ .. ทรงประกอบพระกระยาหาร ณ เรือนต้น 535

536

งานศลิ ปะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดสะสมศิลปวัตถุท้ังของเอเชียและชาติตะวันตก ทั้งน้ีคงเป็นพระราชนิยมท่ีสืบเน่ืองมาจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ดังปรากฏมีการจัดต้ังหอคองคอเดีย เพื่อจัดแสดงงานศิลปวัตถุต่างๆ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน ประพาสตา่ งแดนทง้ั ในเอเชียและยโุ รป จึงทรงมีพระราชวโรกาสที่จะเลอื กซอ้ื หางานศลิ ปวตั ถทุ ง่ี ดงามทรงคุณคา่ และเป็นที่นิยมในช่วงเวลาน้ัน ซึ่งมีทั้งภาพวาด รูปประติมากรรม ตลอดจนเคร่ืองถ้วยจีนและเครื่องแก้ว ฯลฯ ดงั ในพระราชหตั ถเลขาทที่ รงมถี งึ สมเดจ็ พระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟา้ นภิ านภดลในคราวเสดจ็ ประพาสยโุ รป พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้ทรงเล่าถึงงานศลิ ปะต่างๆ ดังน ี้ < พระบรมสาทิสลักษณพ์ ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อย่หู ัว ท่มี องสิเออร์ดรู งั วาดและใสก่ รอบเพือ่ ถวายให้ทอดพระเนตรเปน็ ตัวอยา่ ง เม่อื คราวเสด็จประพาสยโุ รปคร้งั ที่ ๒ 537

พระราชหัตถเลขาฉบับท่ี ๑๖ วันท่ี ๑๗ พฤษภาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ ณ เมืองเวนสิ ประเทศอติ าลี ทรงบรรยายถงึ งานช่างฝมี ือของชาวเมืองเวนิสวา่ จะว่าด้วยการช่างที่จะพึงหาของเล่นของใช้จะหาเมืองไหนเปรียบยาก เพราะของท่ี เปนฝีมือช่างสำหรับเมืองน้ีมีหลายอย่างซ่ึงถูกตาถูกใจเรา คือ เครื่องแก้ว...แก้วขุ่นๆ สี ต่างๆ...แก้วใส แลเคร่ืองแก้วที่ขุดลงไปในเนื้อแก้วแล้วตะทองเปนลวดลาย...ยังมีพวกประสม สเี ลยี นของโบราณ...นอกจากเครอ่ื งแกว้ ยงั เครอื่ งถว้ ยชาม เครอ่ื งไมส้ ลกั ทที่ ำดว้ ยไมว้ อลนตั เปนตน้ แลเคร่ืองประดับด้วยแกว้ สที เ่ี รยี กว่าโมเสก... เมืองนี้ยังเปนอู่เปนเปลท่ีเกิดของลูกไม้ถักที่เรียกว่าเล้ศ ซึ่งมีน้อยแห่งในประเทศ ยุโรปจะทำได้ดีถึงเท่าน้ี...แลเปนที่ทอแพรแลกำมหยี่ดอก ซ่ึงใช้หุ้มเก้าอ้ีแลทำย่ามถวายพระ... เปนของทำดว้ ยมอื จรงิ ๆ พอ่ ไดไ้ ปเหน็ แกต่ า ราคาสง่ จากรา้ นถกู กวา่ ซอ้ื ในบางกอกเกอื บครงึ่ ตวั ... พระราชหัตถเลขาฉบับท่ี ๑๓ วันท่ี ๘ พฤษภาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ ณ เมืองซันเรโม ประเทศอิตาลี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มองสิเออร์คาโรลอส ดูรัง จิตรกรชาวฝร่ังเศสซ่ึงมีสตูดิโออยู่ท่ีกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้เขียนพระบรมรูปของพระองค์ และทรงเล่าว่า ...เวลาบ่ายไปท่ีห้องช่างเขียนมากอตตี...ไปยืนต้ังท่าให้เขียน...ท่าทางที่แกวางให้งาม จริงๆ มองสิเออดูรังน้มี คี ุณสมบตั เิ ปนช่างเขยี นแท้... พระราชหตั ถเลขาฉบบั ท่ี ๑๗ วันท่ี ๒๐ - ๒๑ พฤษภาคม รตั นโกสินทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ ณ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปท่ีร้านจำหน่ายภาพวาด พระองคท์ รงบรรยายวา่ แล้วไปดูที่ร้านปิซานี ซึ่งเปนที่สำหรับรับรวบรวมรูปภาพมาขายรูปซึ่งเปนสำคัญ มีอยู่...แตร่ าคาแพงเหลือเกนิ ...ทนไมไ่ หว...เลอื กทจ่ี ะซ้ือไดร้ าวสกั หกเจ็ดแผ่น... ครนั้ เวลาบา่ ย ๕ โมงเศษ ไปดทู สี่ ตเู ดยี วชา่ งทำรปู ศลิ า...หยดุ ซอ้ื เครอ่ื งฟลอเรนศไ์ ตน สังเขปพอเป็นทีร่ ฦก... ...ไปที่โปรเฟสเซอเยลลี...สตูเดียวของแกสนุกจริงๆ....เข้าของต้ังแต่งเข้าทีหมด ทุกช้ิน...รูปภาพท่ีมีอยู่ในนั้นพ่อชอบรูปหน่ึง......ฝีมือเขียนดีจริงๆ..จึงได้บอกว่าอยากซื้อรูปแก แกจะให้ซื้อรปู ไหน แกกช็ ีร้ ปู นนั้ ถามราคาบอกวา่ แล้วแต่จะโปรดประทาน...แต่ใจรกั จงึ ตกลง ซือ้ โดยไมเ่ สียใจท่ีราคาแพงอย.ู่ .. 538

สตูดิโอของโปรเฟสเซอเยลลี พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๒๔ วันท่ี ๒๐ มิถุนายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ ณ เมืองปารีส ประเทศฝร่ังเศส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ช่างฉายพระบรมรูป ของพระองค์ เพอื่ เปน็ แบบในการหลอ่ พระบรมรปู ทรงมา้ หลงั จากนนั้ ไดเ้ สดจ็ ไปยงั สตดู โิ อของมองสเิ ออรค์ าโรลอส ดูรัง เพ่ือทอดพระเนตรภาพเขียนพระบรมรูปของพระองค์ พระองค์ทรงพึงพอพระทัยผลงานของนายดูรังมาก ทรงเลา่ ว่า ถ่ายรูปแล้ว ไปท่ีสตูเดียวมองสิเออคาโรลัสดูรัง...รูปคร่ึงตัวหน้าดีกว่าเต็มตัว ถ้าเวลาแลดูใกลด้ ไู มเ่ หมอื น ออกมาไกลดขี นึ้ ถา้ ยงิ่ ดใู นกระจกเงา อีกด้านหนึ่งยิ่งเหมือนมาก เปรสเิ ดนตไ์ ด้สรรเสรญิ มองสเิ ออดรู งั มาก วา่ เปนชา่ งอยา่ งสงู วเิ ศษ... พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๓๐ วันท่ี ๒๑ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่บนเรือ พระที่น่ังอัลเบียนซึ่งจอดอยู่ท่ีตำบลบัลฮม ประเทศนอร์เวย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงซ้ือภาพเขยี นจากจิตรกรฝีมอื ดี ดังความในพระราชหตั ถเลขาว่า ...มาหยุดถ่ายรูปท่ีบ้านช่างเขียนท่ีชื่ออันสดาล...ตานี่เปนช่างเขียนฝีมือดี มีรูปเขียน ดๆี ...พ่อไดซ้ ้อื ๔ แผน่ แกถนดั เขยี นภาพเรื่องนำ้ ... 539

พระราชหัตถเลขาฉบับท่ี ๓ วันท่ี ๙ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ท่ีเกาะลังกา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนทนากับเซอร์เฮนรี อาเธอร์ เบลก ซ่ึงเป็นข้าหลวงอังกฤษ ประจำกรุงโคลอมโบ ประเทศศรลี งั กา ถึงเรือ่ งเครือ่ งถ้วยจนี ไวว้ า่ ...ว่าเร่ืองกิมต๋ึงกันเสียหมดพุง เพราะเขาอยู่ข้างจะเข้าใจแลมีกิมตึ๋งมาก พ่อไปได้ แต้มเปนพดู อยเู่ รือ่ งหนึ่ง...ไดถ้ ามว่าแปะ๊ เต๋งมีไหม... พระราชหตั ถเลขาฉบับท่ี ๒๔ วันที่ ๒๖ มถิ นุ ายน รัตนโกสนิ ทรศ์ ก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ ณ กรุง ลอนดอน ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงซ้ือเคร่ืองลายคราม ซ่ึงกำลังอยู่ใน ความนิยมของชาวตะวันตก ทรงเล่าว่า ...ไปห้างเมเปอล ของมันมากมายเหลือเกิน...แต่ข้อที่ประหลาดนั้นซ้ือเครื่อง ลายครามได้เปนอันมาก เก่าๆ ดีๆ...ถ้าช้ินโตๆ...เรียกราคาแพง ถ้าเปนชิ้นเล็กๆ...ไม่ว่าดี ว่าเลว ราคาอยู่ใน ๓๐ ชิลลิง ปอนด์หน่ึง ช่างเพลิดเพลินใจเสียนี่กระไร...ได้เลือกโดย เตม็ กำลงั เกอื บจะคุมเปนโตะ๊ จับชา่ ยได้โต๊ะหนึง่ .....ฝรง่ั กำลงั คลง่ั เล่นปอสเลนจดั .....ประหลาด ที่ทำไมของเก่าๆ เราซื้อทางตวันออกแพงเหลือเกิน ฝร่ังขายถูกท่ีสุด.......ฝรั่งเขาไม่ถือผิดฝา ขาดฝาแลไม่บังคับลาย... พระราชหัตถเลขาฉบับท่ี ๓๒ วันที่ ๕ สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ขณะประทับอยู่ ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงเลา่ วา่ พระเจา้ นอ้ งยาเธอทรงซ้ือ เครื่องลายครามไดเ้ ป็นจำนวนมาก ดงั ในพระราชหัตถเลขาวา่ . . . ดุ๊ ก ไ ป ไ ด ้ เคร่ืองลายครามมาอีกมาก... เห็นเข้าตกใจว่าทำไมที่น่ีถึงได้มี เครื่องลายครามมาก ล้วนแต ่ เก่งๆ แป๊ะเต๋งก็มีขาวก็มี...เคร่ือง ลายครามมาเมืองฝรั่งเสียมาก แล้ว...ท่ีดุ๊กซื้อน้ันไปซื้อเลหลัง ได้ประมาณสักสามร้อยชิ้น... มาเท่ียวยุโรปคราวนี้ดีกว่าจิระ ไปเมืองจีน เครื่องลายคราม มากกวา่ จริ ะเปนแน่... เครือ่ งลายครามจีน 540

เครือ่ งลายครามจีน หลกั ฐานทแ่ี สดงถงึ พระราชนยิ มในเครอ่ื งถว้ ยจนี ยงั ปรากฏในชอ่ื พระตำหนกั ของพระมเหสี พระราชธดิ า พร้อมเจ้าจอมมารดา ในพระราชวงั ดสุ ติ ซ่ึงพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯ พระราชทาน นามตามช่ือเคร่ืองกิมต๋ึง ได้แก่ พระตำหนักสวนสี่ฤดู (สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ) พระตำหนักสวนหงส์ (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) พระตำหนักสวนนกไม้ (พระนางเจ้า สุขุมาลมารศรี พระราชเทวี) พระตำหนักสวนบัว (พระอัครชายาเธอ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ) ตำหนักสวนฝร่ัง กังไส (พระราชชายา เจ้าดารารัศมี) ตำหนักสวนป๋วยไผ่ (เจ้าจอมมารดาแสและพระธิดา) ตำหนักสวนพุดตาน (เจ้าจอมมารดาอ่อนและพระธิดา กับเจ้าจอมก๊กออ) ตำหนักสวนพุดตานเบญจมาศ (เจ้าจอมมารดาชุ่มและ พระธิดา) ตำหนักสวนหนังสือเล็ก (เจ้าจอมมารดาแสงและพระธิดา) ตำหนักสวนเขาไม้ (เจ้าจอมมารดามรกฎ และพระธิดา) ตำหนักสวนไม้สามอย่าง (เจ้าจอมมารดาตลับและพระธิดา) ตำหนักสวนม้าสน (เจ้าจอมมารดา ทับทิมและพระธิดา) ตำหนกั สวนผักชีซีด (เจ้าจอมมารดาสุดและพระธดิ า) ตำหนักสวนผกั ชเี ข้ม (เจา้ จอมมารดา จนั ทร์และพระธิดา) ตำหนกั สวนโปย๊ เซียน (เจ้าจอมมารดาโหมด) ตำหนกั สวนภาพผหู้ ญิง (เจ้าจอมมารดาแพ) 541

542

การเลน่ ตลับงา ตลับงาเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องเชี่ยนหมากสำหรับบรรจุข้ีผ้ึงสีปาก ความนิยมในการเล่นตลับงาเกิดขึ้น เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรเห็นตลับงาของ “เสด็จอธิบดี” พระองค์ เจ้านภาพรประภามีสีของขี้ผึ้งจับดูงดงาม จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำตลับงารูปทรงต่างๆ เป็นเถาและนำมาขัดให้ เงางาม การเล่นตลับงาได้รับความนิยมแพร่หลายในราชสำนักทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน มีการจดทะเบียนลิขสิทธ์ิ รปู ทรงตลบั เช่น รูปลูกพลับแห้ง รปู ลูกรอกขา้ งแขง็ รปู ลกู ตาลเฉาะ รปู ลกู พลบั เตีย้ (ทรงจรกา) ฯลฯ ตลับงาของหลวงที่เป็นรูปลูกพลับพระราชทานชื่อเป็นรูปดาวต่างๆ คือ สหัศประภา จันทราชัชชาล องั คารสกุ สดุ พธุ นพเนาว์ เสาร์แจม่ จรัส พฤหัสวามวู่ ราหเู ห็นเงา ศุกรเ์ พรารศั มี อสั สนีประภัศร ภรณฟี อ่ งฟ้า กัตตกิ าพร่าพราว วาวโรหณิ ี มคิ ศรรี ายระดะ อัทรเรืองจรูญ ปุนพั พสสุ ว่าง พรา่ งปุสยรตั น์ อสเลศเลือ่ มเหลือง ประเทืองมาฆวิมล บุพพผลบริสุทธิ์ อุตรผลเรืองรุ่ง หัตถพุ่งผ่อง จิตต์ส่องแสงศรี สวาดีเด่นตา วิสาขะระดาษ อนุราชเรียงราย พรายเชฏฐไพบูลย์ มูลแสงกล้า บุพพาสาฬหะ อุตราสาธ ชัชวาลสาวัน พรายพรรณธนิฏฐ สตพั พสิ ชไพโรจน์ ชว่ งโชตบิ พุ พาภทั ท์ ถว่ งถดั อตุ รา แจม้ จา้ เรวดี ศรสี กุ จรเข้ แพรเ่ ลห่ ด์ าวหาง พรา่ งดจุ ดาวคลอ้ ย นอ้ ยหนึ่งพระเกตุ ลบิ เนตรมฤตย ู ส่วนรูปลูกพลับเต้ียของหลวงเรียกว่าพวกจรกา พระราชทานช่ือตามเคร่ืองทรงเครื่องต้นและ เคร่ืองราชูปโภค คือ ชฎาเดินหน กุณฑลไพโรจน์ กรรเจียกโชติฉายฉันท์ สุวรรณมาลัย ดอกไม้ไหวเรืองรอง ฉลองศอประดบั ทบั ทรวงพงึ พศิ ตาบทพิ ยพ์ สิ ดาร สงั วาลเพรศิ พรงิ้ สองิ้ เพชรจรสั พาหรุ ดั บวร ตน้ พระกรจำรญู แกว้ เกยรู สวมหตั ถ์ รตั รพตั รบรรจง รดั องคง์ ามประกอบ ครรทอบพรายแสง ชายแครงไฉไล ชายไหวเถอื กเถกงิ กรองเชิงชมภูนุช เรือนครุฑธำรงค์ ฉลององค์พระกรน้อย กันจุกร้อยเพชรรัตน์ เชิงงอนขัดสนับเพลา พรายเพลาภูษา กฤษชวาสุวรรณ สุพรรณปาทุกา พระร่วมราชาวดี จอกพระศรีสมทรง ผอบคงเคียงคู่ ตลับภู่ทรงศรี ซองมณีศรีสลา ซองจินดาบุหร่ี สุพรรณศรีกุดั่น พระเต้าสรรพางค์จำหลัก ข้นสระภักตรสุคนธ์ โต๊ะชุดสนหลอดทอง พระกล้องไม้ราชวัง กรันต์ฝังเพชรประดับ เครื่องชาสรรพถ้วยถาด สุพรรณราชปากผาย กาเวียนลายรปู งิว้ นอกจากน้ียังมีตลับงาของหลวงอีกชุดหน่ึงเป็นรูปลูกพลับเต้ีย มีช่ือเป็นราชยานต่างๆ คือ บัลลังก์ ราเชนทร์ นเรนทร์ราชยาน พุดตาลวรอาสน์ ราชยานกง ดุรงค์อานกุดั่น อานสุวรรณเทพนม อานปักถม อย่างเทศ อานฝร่ังเศสบรรณา กูบสี่หน้าเอี่ยมลออ คอคชสาร คชาธารทรง วอทรงวเิ ศษ วอประเวศวัง ส่ ว น ต ลั บ ง า ข อ ง พ ร ะ ม เ ห สี เ ท วี ก็ ไ ด้ รั บ พระราชทานช่ือเป็นชุดๆ ต่างกันไป คือ ของสมเด็จ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เป็นชื่อ ดอกไม้ต่างๆ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรม- ราชเทวี เป็นชุดปลา และพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี เป็นชดุ นก เปน็ ต้น ตลบั งาของสมเดจ็ พระนางเจา้ เสาวภาผอ่ งศรี พระบรมราชนิ นี าถ 543


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook