๑๗ เลกิ ไพร่ - ทาส ราษฎร์เปน็ ไท ...ขา้ พเจา้ มคี วามปรารถนาวา่ การสง่ิ ไรซง่ึ เปนการเจรญิ มคี ณุ แกร่ าษฎร ควรจะ ให้เปนไปทีละน้อยตามกาลเวลา การสิ่งไรซึ่งเปนธรรมเนียมมาแต่บ้านเมืองโบราณ แตไ่ มส่ ยู้ ตุ ธิ รรม กอ็ ยากจะเลกิ ถอนเสยี แตจ่ ะจโู่ จมหกั เอาทเี ดยี วนนั้ จะตอ้ งคอ่ ยตดั ทอน ไปทลี ะนอ้ ย ให้เรยี บรอ้ ยไปตามเวลาตามกาล... (พระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอย่หู ัว วา่ ดว้ ยทาสและเกษยี ณอายุ พ.ศ. ๒๔๑๗) โครงสร้างของสังคมไทยตั้งแต่คร้ังโบราณจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แบ่งชนในสงั คมออกเป็นกล่มุ ตา่ งๆ ไดแ้ ก่ เจ้า ขนุ นาง พระสงฆ์ ไพร่ และทาส เจา้ และขุนนางเป็นชนชัน้ เจ้านาย ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครอง ส่วนไพร่และทาสคือราษฎรผู้เป็นข้าแผ่นดินและเป็นชนส่วนใหญ่ของสังคม โดยมี พระสงฆ์เป็นผู้เช่ือมโยงความสัมพันธ์ของชนชั้นเจ้านาย ไพร่ และทาสเข้าด้วยกัน ในระบบศักดินา ไพร่ ได้แก ่ ชายฉกรรจ์ผู้มีหน้าที่รับใช้ราชการ อยู่ภายใต้สังกัดหรือการควบคุมดูแลของเจ้านายท่ีเรียกกันโดยท่ัวไปว่า “มูลนาย” ส่วนทาสเป็นผู้ที่ไม่มีอิสระในชีวิตของตนเอง ไพร่และทาสได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ กลายเป็น “เสรชี น” ในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว การเลิกระบบไพร ่ การกำหนดให้ราษฎรหรือสามัญชนมีฐานะเป็นไพร่ มีรากฐานมาจากความจำเป็นของบ้านเมืองท่ีต้อง อาศัยกำลังคนในการป้องกันประเทศให้พ้นภัยจากข้าศึกศัตรู รัฐจัดระเบียบให้ราษฎรอยู่กันเป็นหมู่เป็นเหล่า ภายใตก้ ารบงั คับบญั ชาและการดูแลของมูลนาย 395
ไพร่แบ่งออกเปน็ ๒ ประเภท ได้แก ่ ๑. ไพร่หลวง เป็นไพร่ท่ีพระมหากษัตริย์พระราชทานแก่กรมกองต่างๆ ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหาร ของรฐั มหี นา้ ท่ี “รบั ราชการงานโยธา” คอื การถกู เกณฑแ์ รงงานไปทำงานสาธารณประโยชนใ์ หห้ ลวง เปน็ ตน้ วา่ ไปขุดคลอง สร้างสะพาน ปอ้ มปราการ ฯลฯ ตามแตม่ ลู นายจะส่งั ในสมยั อยุธยา ไพรห่ ลวงต้องทำงานด้วยการ เขา้ เวรปลี ะ ๖ เดอื น ในลกั ษณะ “เขา้ เดือน ออกเดือน” ระยะเวลาการทำงานของไพรห่ ลวงในยคุ ตอ่ มาจะค่อยๆ ลดลง จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหลือเพียงปีละ ๓ เดือน ไพร่หลวงอาจสง่ ส่วยสิง่ ของหรือเงินคา่ ราชการแทนการเข้าเวรได้ เรยี กไพรป่ ระเภทน้ีวา่ “ไพรส่ ่วย” ๒. ไพร่สม เป็นไพร่ท่ีพระมหากษัตริย์พระราชทานแก่เจ้านายและขุนนางท่ีมีตำแหน่งทางราชการ เพื่อเป็นผลประโยชน์ของเจ้านายและขุนนางผู้น้ัน ไพร่สมบางส่วนอาจมาจากไพร่หลวงที่หลบหนีไปสมัคร อยู่กบั เจ้านายและขนุ นางก็ได้ ไพรป่ ระเภทน้เี ปรียบเสมือนกำลงั คนส่วนตวั ของเจา้ นายและขนุ นาง ตามโบราณราชประเพณี พลเมืองที่เป็นชาย เม่ืออายุถึงวัยฉกรรจ์แล้ว ทุกคนต้องมาลงทะเบียน เข้าสังกัดหมวดหมู่ในกรมกองต่างๆ โดยมีกรมพระสุรัสวดีทำหน้าท่ีเป็นผู้รวบรวมบัญชีไพร่ ไพร่จะถูกสักนาม เมืองและชื่อของมูลนายไว้ที่ข้อมือ หรือไม่ก็ถูกสักเลขหมายหมู่ที่ตนสังกัดตรงหลังมือ จึงอาจเรียกไพร่ว่า เลข หรอื เลก กไ็ ด้ ภายใต้ระบบไพร่ ไพร่ต้องสังกัดมูลนาย หากไม่มีมูลนายหรือลอยตัวเป็นอิสระจะถือว่าไพร่ทำ ผิดกฎหมาย และจะไม่ไดร้ ับการค้มุ ครองใดๆ ดงั ในกฎหมายลกั ษณะรับฟ้อง พุทธศกั ราช ๑๘๙๙ มาตรา ๑๐ ระบวุ า่ ...ราษฎรมาฟ้องร้องด้วยคดีประการใดๆ แลมิได้สังกัดมูลนาย อย่าพึงรับไว้บังคับ บญั ชาเปนอันขาดทีเดยี ว ให้สง่ ตัวผู้หาสังกัดมูลนายมไิ ดน้ ้ันแกส่ ัสดเี อาเปนคนหลวง... ระบบไพร่เป็นพ้ืนฐานท่ีสำคัญของสังคมไทยทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ทางด้านการเมือง ไพร่เป็นฐานกำลังที่สำคัญในกองทัพยามที่บ้านเมืองต้องสู้รบกับข้าศึกศัตรู นอกจากนี้ พวกขุนนางยังได้อาศัย กำลังของไพร่ในการเสริมสร้างฐานะ อำนาจ และความเข้มแข็งของตนอีกด้วย ส่วนทางด้านเศรษฐกิจ แรงงาน จากไพร่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตทางเกษตรกรรมและอื่นๆ เจ้านายและขุนนางท่ีควบคุมไพร่ต่างได้รับ ประโยชน์จากไพร่ท้ังในด้านแรงงาน ผลผลิต ตลอดจนส่วยสาอากรและค่าธรรมเนียมต่างๆ บ่อยครั้งท่ีไพร ่ ตอ้ งรบั ใชม้ ลู นายเปน็ การสว่ นตวั นอกเหนอื จากทต่ี อ้ งเขา้ เวรรบั ราชการ จงึ ทำใหไ้ พรม่ กั ไมค่ อ่ ยมเี วลาทำมาหากนิ และดแู ลครอบครวั เม่ือพิจารณาสถานภาพของประชาชนในระบบไพร่นี้ จะเห็นได้ว่าคนไทยขาดเสรีภาพในชีวิตของตน เพราะต้องรับใช้ราชการด้วยการถกู เกณฑ์แรงงาน ดงั ใน “ประกาศท่ีจะหกั ไพร่สมตายชราพิการ” พ.ศ. ๒๔๒๐ วา่ ...โบราณราชประเพณีมาแต่ก่อน เลขไพร่หลวงเลขไพร่สมต่อๆ มาเปนสองจำพวก พวกไพร่หลวงรับราชการปีหนึ่งสามเดือน เดือนหนึ่งตำลึงกึ่ง ปีหนึ่งส่ีตำลึงก่ึง ไพร่สม รบั ราชการปีละเดอื นๆ ตำลึงก่ึง... 396
ไพร่ถูกจำกัดเสรีภาพในการต้ังถิ่นฐานและการเลือกสถานท่ีทำมาหากิน เพราะตามพระราชกำหนด ท่อี อกในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดที ่ี ๒ แหง่ กรงุ ศรีอยุธยา เมือ่ พ.ศ. ๒๐๗๐ ระบุว่า ผทู้ ่ีไมค่ งอยใู่ นหมู่บ้าน อำเภอเดิมของตน จะมีความผิดฐานหลบหนีราชการ นอกจากนี้ การที่ไพร่มีหน้าที่ต้องมาเข้าเวรและรับใช้ มูลนาย ก็ทำให้ไพร่ไม่มีเวลาประกอบอาชีพ ช่วยเหลือครอบครัวทำมาหากินได้ ภาระการเล้ียงดูครอบครัว จงึ ตกเป็นของภรรยา ในแง่สังคม ระบบไพร่ยังทำให้เกิดการแบ่งสถานะทางสังคมและหน้าที่ท่ีต้องปฏิบัติ รวมทั้งถูกจำกัด เสรีภาพบางประการ เช่น การตั้งถ่ินฐาน ขณะเดียวกัน การที่ไพร่มีภาระหน้าที่เป็นแรงงานของรัฐ จึงมองว่า สถานะของตนต่ำต้อยและไร้เกียรติ นอกจากน้ีบางคร้ังไพร่ยังถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้านายและขุนนาง ท่ีขาดคุณธรรม ก่อให้เกิดความคับแคน้ ใจ แตต่ ้องจำยอมรบั สภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงพอพระทัยสภาพสังคมและธรรมเนียมประเพณี แบบเก่าของไทย เช่น ระบบไพร่ ทาส และการหมอบคลาน เป็นต้น พระองค์ทรงมีพระบรมราโชบายที่เน้น การปรับเปล่ียนสังคมไทยให้เหมาะสมแก่กาลสมัย เพ่ือให้ประเทศสยามในรัชสมัยของพระองค์เป็นจุดเริ่มต้น ของสังคมแบบใหม่ท่ีมุ่งประโยชน์และความผาสุกของมหาชนเป็นหลักสำคัญ พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ระบบไพร่ก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมแก่ชนหมู่มากซ่ึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศ การยังคงมีระบบไพร่อยู่ แสดงใหเ้ หน็ วา่ บา้ นเมอื งยงั มกี ารกดขี่ ราษฎรถกู ลดคณุ คา่ และเกยี รตภิ มู แิ หง่ ความเปน็ มนษุ ย์ ดงั พระราชปรารภ ในประกาศเปลีย่ นธรรมเนยี มหมอบคลานกราบไหว้ พ.ศ. ๒๔๑๖ ตอนหนง่ึ ว่า ...ก็ในประเทศสยามน้ี ธรรมเนียมบ้านเมืองท่ีเปนการกดข่ีแก่กัน อันไม่ต้องด้วย ยุติธรรมก็ยังมีอยู่อีกหลายอย่างหลายประการ จะต้องค่อยคิดเปล่ียนแปลงไปตามเวลาที่ควร แก่การจะเปล่ยี นแปลง บ้านเมอื งจงึ จะไดม้ ีความเจริญสมบูรณ์ยิ่งขึน้ ไป... เห็นได้วา่ พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หวั ทรงเป็นผู้นำในการปลดปล่อยไพรใ่ ห้เปน็ “เสรีชน” พระองค์ทรงเร่ิมวางมาตรการดึงอำนาจการควบคุมไพร่จากเจ้าขุนมูลนายมาเป็นของหลวง จนกระทั่งในท่ีสุด ทรงสามารถเปลี่ยนแปลงสถานภาพของไพร่ให้กลายเป็นพลเมืองเสรีได้สำเร็จ พระองค์ทรงดำเนินการเป็น ขัน้ ตอนดังน้ี ๑. การจดั ตง้ั กรมทหารหน้า ใน พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) จัดตั้ง กรมทหารหน้า โดยรับบรรดาไพร่ของเจ้านายที่สิ้นพระชนม์หรือมูลนายถึงแก่กรรม และไพร่หัวเมือง เข้ามา รับราชการเป็น “ทหารสมัคร” ผู้มาสมัครเป็นทหารจะได้รับพระราชทานเงินคนละ ๔ บาท และผ้า ๑ สำรับ เป็นสินน้ำใจ นอกจากนี้ทหารหน้ายังได้รับเครื่องแบบสักหลาดสีดำ ๑ ชุด เงินเดือนเดือนละ ๑๐ บาท และอาหารวนั ละ ๒ ม้อื จึงไดร้ บั ความนิยมอย่างรวดเร็ว ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช ได้กล่าวถึงการรับทหาร สมคั รในครั้งนไี้ วใ้ นหนงั สือเร่ือง “ฐานันดรไพร่” ไว้วา่ 397
...การที่ไพร่สม ไพร่หัวเมือง ซ่ึงเคยแต่ถูกทางราชการเกณฑ์บังคับมาทำการโยธา โดยจำต้องจัดหาเสื้อผ้า อาหาร เครื่องมือทำงานมาเองตลอดระยะเวลาถูกเกณฑ์ มาได้รับ การเอาใจใสใ่ นทกุ ขส์ ุขในการดำเนนิ ชีวิตตามแบบแผนใหมเ่ ชน่ นี้ การสมัครเป็น “ทหารหน้า” จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายโดยรวดเร็ว จนทางราชการจำต้องปิดการรับสมัครเพราะเกินความ ต้องการ... การจัดต้ังกรมทหารหนา้ เปน็ ผลให้ไพร่สมและไพร่หลวงหัวเมืองได้แปลงสภาพมาเปน็ ไพร่หลวง ทั้งยงั เปน็ จุดเร่มิ ต้นในการปลดปล่อยไพรท่ ง้ั หลายให้กา้ วสคู่ วามเปน็ ไทยในเวลาตอ่ มา ๒. การแปลงไพร่สมเปน็ ไพร่หลวง ตามธรรมเนียมแต่โบราณ เมอื่ เจ้านายของไพร่สมมีความผิด ถกู รบิ ราชบาทว์ ไพรส่ มของเจ้านายผู้น้นั จะถูกนำตัวมาสักเป็นไพร่หลวง แต่ในกรณีที่มูลนายท่ีเป็นเจ้านาย/ขุนนางของไพร่สมส้ินพระชนม์หรือ ถึงแก่กรรม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มี “ประกาศเร่ืองชำระเลขเจ้าส้ินพระชนม์ นายถึงแก่กรรม” เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๐ ให้ทำการแปลงเลขไพร่ของเจ้านายท่ีส้ินพระชนม ์ และขนุ นางถงึ แกก่ รรมมาเป็นไพรห่ ลวง ทำใหไ้ พรส่ มค่อยๆ ลดจำนวนลง ๓. พระราชบัญญัติทหาร พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงตรา “พระราชบญั ญตั ทิ หาร” ขนึ้ เมอ่ื วนั ที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ซงึ่ มใี จความสำคัญว่า พลทหารบกและเรอื จะตอ้ งรับใชร้ าชการไปจนครบ ๑๐ ปีจงึ จะครบกำหนด เกษียณอายุ แต่ถ้ายังสมัครรับราชการต่อไป ทางราชการจะเพ่ิมเบ้ียหวัดหรือเงินปี และเงินรางวัลให้ กฎหมาย ฉบับน้ีมีผลให้ไพร่ทั้งหลายหลุดพ้นจากการถูกบังคับให้ “รับราชการงานโยธา” มีอิสระท่ีจะ “สมัครเป็นทหาร” โดยไดร้ ับเงินเดอื น เงนิ ปี และเงนิ รางวัล เป็นการตอบแทน ๔. พระราชบัญญัตลิ กั ษณะการเกณฑ์ทหาร การเป็นทหารซ่ึงไพร่ทั้งปวงสมัครเป็นด้วยใจรัก ตามพระราโชบายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ เปล่ียนมาเป็น การเกณฑท์ หารเปน็ ครั้งแรก โดย “พระราชบัญญัติลกั ษณะการเกณฑ์ทหาร รัตนโกสินทรศ์ ก ๑๒๔” เมอ่ื วนั ที่ ๒๙ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ซ่ึงมีใจความสำคัญวา่ ...ให้ชายฉกรรจ์ท่ีมีอายุครบ ๑๘ ปี รับราชการในกองประจำการ มีกำหนด ๒ ปี แล้วปลดไปอยู่ในกองหนุน...ผู้ท่ีได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ผนู้ ั้นพน้ จากที่จะตอ้ งเสยี เงนิ คา่ ราชการอย่างใดๆ จนตลอดชีวติ ... พระราชบัญญัติฉบับน้ีทำให้ชายฉกรรจ์ทุกคนในแผ่นดินมีสิทธิหน้าที่เท่าเทียมกันในการรับใช้ประเทศ ชาติด้วยการเป็นทหารเหมือนกัน โดยเป็นการยกเลิกระบบไพร่ท่ีดำรงอยู่ในสังคมไทยมาหลายร้อยปีให้สลาย ไปในที่สุด 398
การเลิกไพร่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปสังคมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็น พระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงท่ีได้พระราชทานต่อแผ่นดินและพสกนิกร เพราะเป็นการปลดปล่อยไพร ่ ให้หลุดพ้นจากฐานันดรไพร่ กลายเป็นพลเรือนเสรีโดยสมบูรณ์ และเริ่มมีสิทธิต่างๆ ในฐานะประชาชนทั่วไป การยกเลิกระบบไพร่เป็นการยกเลิกระบบการเกณฑ์แรงงานเพราะทำให้ไพร่ซึ่งเคยสังกัดมูลนายได้เป็นอิสระ นับเป็นการขจัดการกดขี่และเลิกระบบอันล้าสมัยให้สิ้นไปจากสังคมไทย ผู้มีสถานะเป็นไพร่ในอดีตสามารถ ดำเนินชีวิตได้อย่างอิสระ มีเสรีภาพในการเคล่ือนย้ายเพ่ือต้ังถ่ินฐาน มีอิสระในการประกอบอาชีพ มีฐานะทาง สังคมดีข้ึน ทุกคนมีความเสมอภาคในการแสวงหาโอกาสและเท่าเทียมกันอย่างน้อยที่สุดก็ในแง่กฎหมาย ส่วนการป้องกันบ้านเมืองก็มีการจัดตั้งกองทัพสมัยใหม่ เกิดกลุ่มวิชาชีพฝ่ายทหารหรือการเป็นทหารอาชีพ และท่ีสำคัญคือเม่ือพลเมืองไม่ต้องสังกัดมูลนาย ความจงรักภักดีของไพร่ที่เคยมีต่อเจ้านายและขุนนาง ก็เปล่ียนมาเป็นความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งเปี่ยมด้วยพระเมตตาและความรักต่อพสกนิกรของ พระองค์ วิถีชีวติ ของราษฎรในรชั สมยั พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอย่หู ัว การเลกิ ทาส ในขณะท่ีแนวความคิดทางการเมืองและวัฒนธรรมแบบตะวันตกกำลังหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทย แบบแผนประเพณีหลายอย่างของไทยกลายเป็นเร่ืองล้าสมัย เป็นอุปสรรคต่อความเจริญก้าวหน้าของชาต ิ บ้านเมือง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีสายพระเนตรที่กว้างไกล จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิก ธรรมเนียมบางอย่างท่ีไม่เหมาะสมแก่กาลสมัย พระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ในด้านการเปลี่ยนแปลงแบบแผน ประเพณีคือ การเลกิ ทาส 399
การมีทาสเป็นหน่ึงในรูปแบบการปกครองของไทยมาแต่โบราณ พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและ ตำแหน่งนาทหารหัวเมือง พ.ศ. ๑๙๙๗ ซึ่งตราข้ึนในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา กำหนดให้ทาสเป็นชนชน้ั ตำ่ สุดในสังคม ไมม่ ีอิสรภาพและเสรีภาพครบถ้วนเหมือนผู้เป็นไทแก่ตัว ในบานแพนก ของพระไอยการทาส แบง่ ทาสออกเปน็ ๗ ประเภท ไดแ้ ก่ ทาสสินไถ่ ทาสในเรอื นเบ้ีย ทาสได้มาแต่บิดามารดา ทาสท่านให้ ทาสทีช่ ่วยจากทัณฑโทษ ทาสท่ชี ่วยจากทพุ ภิกขภัย และทาสเชลย ตน้ รชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั การเปน็ ทาสโดยสรปุ แลว้ มี ๒ ลกั ษณะ รปู แบบแรก คือ การเป็นทาสโดยกำเนิดเน่ืองจากมีบิดามารดาเป็นทาส ส่วนรูปแบบที่สอง คือ การเป็นทาสอันเน่ืองจาก บิดามารดานำบุตรมาขายเป็นทาส หรืออาจเป็นทาสท่ีขายตนเองเพ่ือนำเงินไปชำระหน้ีสินหรือเลี้ยงดูครอบครัว ซ่ึงสะท้อนใหเ้ หน็ ถึงปญั หาทางเศรษฐกิจของสงั คมไทยในสมัยน้นั อนึ่ง ไม่ว่าทาสประเภทใดก็ตามล้วนไม่มีอิสระในตัวเอง กฎหมายระบุให้นายทาสมีอำนาจเหนือทาส อย่างเบด็ เสร็จเดด็ ขาด มสี ิทธ์ิลงโทษทาสด้วยวิธีการต่างๆ ทำให้ทาสแทบไมม่ สี ิทธิของความเปน็ มนุษย์เหลืออย ู่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า การเป็นทาสทำให้พลเมือง ขาดสิทธิและเสรีภาพ พระราชวิสัยทัศน์ในเร่ืองทาสนี้ น่าจะปรากฏข้ึนต้ังแต่เมื่อคร้ังได้ทรงพระอักษรภาษา องั กฤษกบั นางแอนนา เลยี วโนเวนส์ (Anna Leonowens) ครชู าวองั กฤษ ขณะยงั ทรงพระเยาว์ ทำใหท้ รงทราบถงึ ค่านิยมและวิธีคิดของสังคมตะวันตก ท่ีแฝงด้วย โลกทัศน์แบบมนุษยธรรมนิยม พระองค์ทรงมีพระ- ราชดำรแิ ละทรงสนพระทยั ในเรอื่ งทาสและการเลกิ ทาส โดยเฉพาะปัญหาการกำเนิดของลูกทาสซ่ึงทรงเห็นว่า ลูกทาสควรได้รับความเป็นธรรมและเป็นไทแก่ตัวเอง ดังความในพระราชปรารภว่าด้วยทาสและเกษียณอายุ เมอ่ื วันท่ี ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ตอนหนง่ึ ว่า นางแอนนา เลียวโนเวนส ์ ครูสอนภาษาองั กฤษของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยูห่ วั เม่อื ทรงพระเยาว ์ ...ข้าพเจ้าคิดเห็นว่าลูกทาสซ่ึงเกิดในเรือนเบี้ยต้ังแต่ออกจากท้อง พอลืมตาก็ต้อง นับเปนทาส มีค่าตัวไปจนถึงอายุ ๑๐๐ หน่ึงก็ยังไม่หมด ดังน้ีดูเปนหามีความกรุณาแก่ ลูกทาสไม่ ด้วยตัวเด็กที่เกิดมาไม่ได้รู้ไม่ได้เห็นส่ิงไรเลย บิดามารดาทำช่ัวไปขายตัวท่านแล้ว ยังพาบุตรไปให้เปนทาสจนส้ินชีวิตอีกเล่า เพราะรับโทษทุกข์ของบิดามารดาเท่านั้นเอง หาควรที่จะเอาเปนทาสจนตลอดชวี ติ ไม่... 400
นอกจากน้ี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงตระหนักดีว่า คนบางพวกยังยินดีที่จะ เปน็ ทาสเพราะมคี วามสขุ สบายกวา่ เปน็ ไพรเ่ พราะมนี ายเลยี้ งดู ดงั ในพระราชปรารภวา่ ดว้ ยเรอื่ งทาสและเกษยี ณอายุ ตอนหนงึ่ วา่ ...แต่การซ่ึงคิดมาน้ี ข้าพเจ้าท่ีเปนต้นคิดก็แลเห็นอยู่ว่าจะไปไม่ตลอดทีเดียว เพราะ การอ่ืนๆ ยังกดอยู่มากเหมือนหนึ่งไม่อยากให้คนเปนทาส คนก็คงจะยังอยากเปนทาสอยู่ เพราะเหตุที่เปนทาสไม่ต้องเสียค่าราชการมากนัก แล้วก็ไม่ต้องทำมาหากินสิ่งไร อาศัย กินข้าวของนายไปม้ือหนึ่งๆ เมื่อมีการมาก็ทำ ก็เม่ือไม่มีการก็นอนอยู่เปล่าๆ ถ้ามีทุนรอน บ้างเล็กน้อยก็คิดเล่นโปเล่นหวย ลองเคราะห์ดีเคราะห์ร้ายอยู่ทีหนึ่ง เมื่อมันเสียแล้วไป อยู่ในคงมขี ้าวกนิ กก็ ารซึง่ จะให้ทาสหมดไปน้ัน ถา้ ตน้ เหตยุ งั ไม่สน้ิ ปลายเหตุกย็ งั คงม.ี .. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตำหนิสภาพแวดล้อมของสังคมท่ีมัวเมาอยู่ในอบายมุข ว่าเป็นสาเหตปุ ระการหน่งึ ที่ทำให้เดก็ ต้องตกเป็นทาส ดงั ในประกาศหา้ มมิให้เด็กเล่นการพนนั ต่างๆ ว่า ...ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า เปนเคร่ืองจูงใจให้เด็กเพลิดเพลินเอินอาบเลยลาม ไปจนเล่นการพนนั ใหญ่ คือไพต่ า่ งๆ ๑ ดวด ๑ ถว่ั ๑ โป ๑ จนเด็กยับเยนิ เปนหนีเ้ ปนทาษ แลพาบิดามารดาเปนหน้ีเปนทาสเข้าด้วยก็มีเปนมาก...จึงโปรดเกล้าฯ ว่าตั้งแต่น้ีสืบไปภายน่า ให้บิดามารดาญาติ ฤๅนายเงนิ ของเดก็ ห้ามปรามเด็กอยา่ ให้ประพฤติการเลน่ อยา่ งที่ว่ามา... พระองค์ทรงมีพระราชดำริท่ีจะเลิกทาส ด้วยทรงเห็นว่าทาสเป็นเครื่องถ่วงความเจริญของบ้านเมือง ลา้ สมยั ไม่เหมาะกบั ประเทศท่เี จริญแลว้ ดังในพระราชดำริตอนหน่งึ ว่า ...ประเพณีทาสที่มีอยู่ในราชอาณาจักรสยาม ถึงจะเปนวิธีทาสทำสารกรมธรรม์ ขายตัวด้วยใจสมัคร มิใช้ทาสเชลยที่เปนการกดข่ีอย่างร้ายแรงก็จริง แต่ก็เปนเคร่ืองกีดขวาง ความเจริญประโยชน์และสุขสำราญของมหาชนอยู่อย่างหน่ึง ซึ่งจะเปนจะต้องเลิกถอน อย่าให้มีประเพณีทาสในพระราชอาณาจักรกรุงสยาม จึงจะมีความเจริญสมบูรณ์เท่าทัน ประเทศอื่น... ในการเลิกทาส แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ท่ีจะเลิกทาส อย่างจริงจัง แต่พระองค์ก็ทรงดำเนินพระราชกุศโลบายอย่างสุขุมรอบคอบและเป็นไปตามลำดับข้ันอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักหาญ ทรงพยายามให้กระทบกระเทือนน้อยที่สุดทั้งฝ่ายนายเงินและทาส ดังใน พระราชปรารภแห่งพระราชบญั ญตั ิทาส รัตนโกสนิ ทรศ์ ก ๑๒๔ วา่ ...ประเพณีทาสเปนของมีสืบเน่ืองมาแต่โบราณ คนทั้งหลายทุกชั้นบรรดาศักด์ิได้ คุ้นเคยและมีประโยชน์ทรัพย์สมบัติเก่ียวเนื่องอยู่ในวิธีทาสโดยมาก จะเลิกถอนเสียทันทีก็น่า ที่จะเกิดความลำบากในประชุมชนทั้งหลายได้มากอยู่ การเลิกทาสสมควรจะต้องผ่อนผัน เลิกถอนไปเปนลำดับตามควรแก่การ จงึ จะเปนประโยชนด์ ดี ้วยประการทัง้ ปวง... ขั้นตอนแรกของการเลิกทาส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกประชุมสภา ทป่ี รกึ ษาราชการแผน่ ดนิ (Council of State) เพ่ือพิจารณาเรอื่ งการเลกิ ทาส ยงั ผลให้มกี ารออกพระราชบญั ญตั ิ 401
พิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย รัตนโกสินทร์ศก ๙๓ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ซึ่งกำหนดว่า ลกู ทาสลกู ไทยทถ่ี กู ขายตวั ลงเปน็ ทาส ถา้ เกดิ ในปมี ะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ อนั เปน็ ปที พ่ี ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ - เจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ และท่ีเกิดในปีต่อๆ มา จะได้ลดค่าตัวลงมาเป็นลำดับ จนกระทั่งเมื่อ อายุครบ ๒๑ ปี ให้พ้นค่าตัวทาสเป็นไท ไม่ว่าทาสน้ันจะอยู่กับเจ้าหมู่มูลนายเดิมหรือย้ายโอนไปอยู่กับเจ้าหมู่ มูลนายใหม่ ผู้ที่ได้เป็นไทแก่ตัวแล้ว ห้ามมิให้ทำการซ้ือขายเป็นทาสอีก หากจะเข้าอาศัยในบ้านใดให้มีฐานะ เป็นลูกจา้ งเท่าน้นั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงเป็นผู้นำในการเลิกทาสด้วย โดยได้พระราชทาน พระราชทรพั ยส์ ว่ นพระองคช์ ว่ ยไถถ่ อนทาสใหไ้ ดเ้ ปน็ ไทจำนวน ๔๔ คน เนอื่ งในพระราชพธิ เี ฉลมิ พระชนมพรรษา ครบ ๒๔ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๒๐ มผี ลใหบ้ รรดาเจา้ นายและขนุ นางตา่ งโดยเสดจ็ ตามพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ - เจ้าอยหู่ ัวดว้ ยการบรจิ าคเงินเพื่อไถ่ถอนทาสใหเ้ ปน็ อสิ ระด้วย ข้ันตอนต่อมา คือ การตราพระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือและมณฑลบูรพา ซ่ึงยังมิได้มีการเลิกทาส เน่ืองจากในพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย ร.ศ. ๙๓ มิได้ใช้บังคับ ทั่วพระราชอาณาจักร แต่ใช้เฉพาะในมณฑลส่วนกลางและใกล้เคียงเท่าน้ัน ทำให้ทาสได้รับการปลดปล่อย ให้เปน็ อิสระเพิม่ มากขึน้ ขนั้ ตอนสุดท้าย คอื การตราพระราชบญั ญัตทิ าสรัตนโกสินทรศ์ ก ๑๒๔ เม่ือวนั ท่ี ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘ โดยให้ถือว่าลูกทาสท่ีเกิดมาไม่ต้องเป็นทาสในเรือนเบี้ยดังแต่ก่อน ตลอดจนผู้เป็นไทหรือผู้ที่เป็นทาส แต่หลุดพ้นค่าตัวแล้ว ห้ามมิให้เป็นทาสอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ลดค่าตัวทาสเพื่อให้เป็นไทได้เร็วขึ้น โดยให้เจา้ ของทาสลดคา่ ตัวทาสเปน็ เงนิ เดอื นเดอื นละ ๔ บาท นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘ เปน็ ต้นไป จนกวา่ จะหมดค่าตวั จะเห็นได้ว่าการเลิกทาสในประเทศสยามที่ดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนนี้ มิใช่วิธีการ “หักด้ามพร้า ด้วยเข่า” ผู้เป็นนายทาสมีเวลาเตรียมตัว มีโอกาสที่จะปรับตัวเข้าสู่ระบบใหม่ ในขณะเดียวกันทาสรุ่นใหม่ใน วัยเด็กท่ีกำลังจะเติบโตเป็นหนุ่มสาวก็รู้ว่าวันหนึ่งตัวเองจะเป็นอิสระ จึงมีเวลาเตรียมตัวขวนขวายหาทางศึกษา ดลู ูท่ างทำมาหากิน เตรียมความพร้อมทจี่ ะดำเนินชวี ติ ใหม่ ดงั ในพระราชปรารภวา่ ดว้ ยทาสและเกษียณอายุว่า ...ลูกทาสน้ีแต่เล็กมาก็ได้ให้นายใช้อยู่จนโตไม่ได้ร่ำเรียนวิชาการสิ่งใด ฝึกหัด ชำนาญอยู่แต่การท่ีจะเปนทาสปฏิบัตินาย ไม่ได้รู้ในการทำมาหากินส่ิงไร...ถ้าจะออกจากทาส จริงๆ แล้วก็ไม่มีวิชาการส่ิงไรที่จะพาตัวให้ดี ก็คงวกกลับลงเปนทาสร่ำไป...จึงเห็นว่า การหนังสือนี้จะช่วยทาสให้เปนไทได้จริงๆ...เห็นว่าจะเปนการเจริญแก่ราษฎรในบ้านเมือง อย่างหน่ึง จะเปนการชักถอนให้ทาสเบาบางลง ถึงกาลต่อไปข้างหน้าจะเลิกถอนตัดรอน อย่างไรกค็ ่อยง่ายขน้ึ ... ตลอดรชั สมัยของพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว ตัง้ แต่ พ.ศ. ๒๔๑๑ จนถงึ พ.ศ. ๒๔๔๘ นับเป็นเวลาถึง ๓๗ ปี การเลิกทาสได้สำเร็จลุล่วงโดยสันติ ปราศจากความวุ่นวายหรือการสูญเสียเลือดเน้ือ ดังที่เคยเกิดข้ึนในประเทศสหรัฐอเมริกา บรรดาชาวต่างชาติอาทิเช่น มิชชันนารีท่ีอาศัยอยู่ในประเทศสยาม ขณะน้ันได้สรรเสริญพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่ีทำให้ประชาชนชาวสยาม 402
ไดม้ ีเสรีภาพเทา่ เทียมกนั เปน็ คร้งั แรก และมองเหน็ วา่ พระองค์ทรงมพี ระเมตตากรุณาแก่ผู้ทตี่ กเป็นทาส ทรงเข้า พระทัยในเหตุผลและตรรกของความเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งทรงมีพระราชประสงค์ท่ีจะสร้างความเจริญ ก้าวหน้าตลอดจนความสุขสมบรู ณใ์ ห้แก่ราษฎรของพระองค์ พระราโชบายการเลิกไพร่และทาสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน้ีสะท้อนถึงความรัก ท่ีพระมหากษัตริย์ทรงมีต่อปวงชนชาวสยาม ท่ีต้องขาดอิสรภาพ ขาดศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ ให้มีโอกาสได้ เท่าเทียมกับคนทั้งหลายในแผ่นดิน นับเป็นคุโณปการอย่างใหญ่หลวงต่อเหล่าพสกนิกร พระราชกรณียกิจ ท่ีสำคัญดังกล่าวน้ีถูกจารึกอยู่ในหัวใจของประชาชนชาวไทยตลอดมา ด้วยความสำนึกในพระเมตตาของ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั และความรกั ที่ทรงมีตอ่ พสกนิกรทุกหมูเ่ หลา่ พระองค์จงึ ทรงเปน็ ทร่ี กั ของประชาชนและทรงสถติ อยใู่ นใจของราษฎรเสมอมา ดงั เหน็ ไดจ้ ากพระราชสมญานามทถี่ วายตอ่ พระองคท์ า่ นวา่ “พระปยิ มหาราช” หลังประกาศเลกิ ไพรแ่ ละเลิกทาส ราษฎรมอี ิสระในการดำเนนิ ชวี ิตและประกอบอาชีพ 403
๑๘ เพาะบ่มต้นกลา้ ทางปญั ญาแก่พสกนิกร ...วิชาหนังสือเปนวิชาท่ีนับถือ แลเปนที่สรรเสริญมาแต่โบราณว่าเปนวิชา อย่างประเสริฐ ซ่ึงผู้ที่เปนใหญ่ย่ิง นับแต่พระมหากษัตริย์เปนต้น จนตลอดราษฎร พลเมือง สมควรแลจำเปนจะต้องรู้ เพราะเปนวิชาที่อาจทำให้การท้ังปวงสำเร็จไปได ้ ทุกส่ิงทุกอย่างโดยการทรงจำร่ำเรียน แลเปนวิชาที่ทำให้ผู้ได้รู้มีความฉลาดได้เร็ว ไดง้ ่ายขน้ึ ... (พระราชดำรสั ในพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ในการพระราชทานรางวัลนักเรยี นทีโ่ รงเรียนพระตำหนกั สวนกุหลาบ พ.ศ. ๒๔๒๗) การศึกษาเป็นเคร่ืองชี้วัดที่สำคัญประการหน่ึงในการแสดงถึงคุณภาพของคน บ้านเมืองที่มีความ เจริญรุ่งเรืองได้ต้องมีพลเมืองที่มีคุณภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญของ การศึกษาซึ่งเป็นรากฐานความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง พระองค์ทรงมีพระบรมราโชบายท่ีจะให้พลเมืองของ พระองค์มีความรู้และสติปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถใช้วิชาความรู้ให้เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพและ การใช้ชีวิตในสังคม อันจะเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองให้สูงขึ้น พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า “...การวิชาหนงั สอื เปนต้นทางของวชิ าความรู้ท้งั ปวง สมควรทจี่ ะทะนุบำรุงใหเ้ จริญร่งุ เรืองยิ่งขน้ึ ไป...” การศกึ ษาของไทยในอดตี ระบบการศึกษาของไทยแต่เดิมมีลักษณะเป็นการศึกษานอกระบบและมีขอบเขตจำกัด คนไทย ส่วนใหญ่ขาดโอกาสทางการศึกษา ผู้ท่ีได้รับการศึกษามีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้านาย ขุนนาง และ บุตรหลานของขุนนางซ่ึงเป็นกลุ่มชนช้ันสูง นอกจากน้ียังมีพระสงฆ์และเด็กชายท่ีบิดามารดานำไปฝากตัวกับ พระเพอ่ื บวชเรียนอยใู่ นวัด โดยยงั ไม่มีโรงเรยี น ครูอาชีพ และการเรียนการสอนที่เป็นแบบแผนแน่นอน เด็กชาย มักได้เรียนภาษาไทยและการคำนวณเบ้ืองต้นจากพระภิกษุ ครั้นเม่ือเติบโตก็เรียนวิชาชีพภายในครอบครัว ส่วนสตรีสามัญแทบจะไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาเลย ได้แต่ฝึกฝนวิชากุลสตรีท่ีบ้านเพื่อเป็นแม่บ้านแม่เรือน ตอ่ ไป 405
การศึกษาสำหรับสามัญชนนอกวัดเริ่มปรากฏขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว เม่ือมิชชันนารีนิกายโปรเตสแตนต์ได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนหนังสือให้แก่ประชาชนทั่วไป แต่ยังไม่ได้รับความนิยม เพราะผปู้ กครองสว่ นมากยงั เชอ่ื ถอื การศกึ ษาแบบเกา่ อยู่ จนกระทง่ั ในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั สังคมไทยได้เปิดรับชาวตะวันตกมากข้ึน พวกมิชชันนารีได้ตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กชายแห่งแรกที่ตำบลสำเหร่ เม่ือ พ.ศ. ๒๓๙๕ หลงั จากนั้นโรงเรียนของมิชชนั นารกี ข็ ยายไปยงั หัวเมืองต่างๆ เช่น เชยี งใหม่ เพชรบรุ ี ตรงั และพิษณุโลก รวมท้ังได้เผยแพร่การศึกษาไปยังสตรีท้ังในวังและสามัญชนทั่วไป ทำให้เกิดมีโรงเรียนแนวใหม่ แบบตะวันตกขึ้นในไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก และถือเป็น พระราโชบายทสี่ ำคญั ในการปกครอง ดังพระราชดำรสั ตอนหน่งึ ว่า “...ฉันจึงได้มคี วามมุ่งหมายตงั้ ใจทจ่ี ะจดั การ เล่าเรยี นท่วั ไปทงั้ บา้ นทงั้ เมอื งใหเ้ ปนการรงุ่ เรืองเจรญิ ขนึ้ โดยเร็ว...” กำเนดิ โรงเรียนหลวงในพระบรมมหาราชวัง หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสแหลมมลายู ชวา และอินเดีย ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๑๔ พระองค์ทรงตั้งโรงเรียนหลวงข้ึนในพระบรมมหาราชวังข้ึนเพื่อส่ังสอน วิชาความรู้แก่บรรดามหาดเล็กหลวง การตั้งโรงเรียนหลวงนี้สืบเน่ืองจากเม่ือพระองค์เสด็จข้ึนเสวยราชย์แล้ว พวกมหาดเล็กข้าหลวงเดิมได้เข้ามาสมทบเป็นมหาดเล็กหลวง โปรดเกล้าฯ ให้คัดเลือกมหาดเล็กที่อยู่ในวัย หนุ่มมาเป็นทหารประมาณ ๒๐ คน และฝึกหัดกับครูทหารหน้า ในขณะเดียวกันทรงมีพระราชดำริให้ฝึกสอน วิชาอื่นๆ แก่มหาดเล็กเหล่าน้ีอีกด้วย พระยาสุรศักด์ิมนตรี (แสง ชูโต) จางวางมหาดเล็กซึ่งเล่ือมใสใน พระราชดำริดังกล่าวจึงชักชวนข้าราชการผู้ใหญ่ให้ถวายบุตรชายเป็นทหารมหาดเล็ก เพ่ือจะได้รับราชการฉลอง พระมหากรณุ าธคิ ณุ ตอ่ ไป นอกจากน้ี พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ยงั ทรงชกั ชวนพระเจา้ นอ้ งยาเธอ หมอ่ มเจา้ และหมอ่ มราชวงศใ์ หเ้ ขา้ เปน็ ทหารมหาดเลก็ ดว้ ย ทหารมหาดเลก็ จงึ มจี ำนวนเพม่ิ มากขนึ้ ใน พ.ศ. ๒๔๑๓ พระองคโ์ ปรดเกลา้ ฯ ใหต้ ง้ั กรมทหารมหาดเลก็ รกั ษาพระองคข์ นึ้ พรอ้ มกบั โปรดเกลา้ ฯ ใหต้ ง้ั โรงเรยี นหนงั สอื ไทย ข้ึนในกรมทหารมหาดเล็ก นับเป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรกท่ีได้จัดต้ังขึ้นโดยมีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เม่ือยังเป็นหลวงสารประเสริฐ ปลัดกรมพระอาลักษณ์ เป็นอาจารย์ใหญ่ และได้แต่งตำราเรียน ชดุ มลู บทบรรพกจิ สำหรับสอนพวกทหารมหาดเลก็ เมอื่ กจิ การโรงเรยี นลลุ ว่ งแลว้ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั โปรดเกลา้ ฯ ใหม้ หี มายประกาศ ชักชวนพระราชวงศแ์ ละข้าราชการใหส้ ่งบตุ รหลานเข้าเรียน ดงั ประกาศเร่ืองโรงเรยี น เมอ่ื วันท่ี ๓๐ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๑๔ ใจความว่า ...ทรงพระราชดำริว่า บุตรหลานของท่านท้ังปวงบรรดาท่ีเข้ารับราชการฉลอง พระเดชพระคุณอยู่นั้น แต่ล้วนเปนผู้มีชาติมีตระกูลควรจะรับราชการในเบื้องหน้าต่อไป แต่ยังไม่รู้หนังสือไทยแลขนบธรรมเนียมราชการอยู่โดยมาก ท่ีรู้อยู่บ้างแต่ยังใช้อักษร เอกโท แลตัวสะกดผิดๆ ไม่ถูกต้องตามแบบอย่างก็มีอยู่มาก แลการรู้หนังสือน้ีก็เปนคุณ สำคัญข้อใหญ่ เปนเหตุจะให้ได้รู้วิชาแลขนบธรรมเนียมต่างๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ 406
ให้จัดโรงสอนข้ึนไว้ที่ในพระบรมมหาราชวัง แล้วจัดคนในกรมพระอาลักษณ์ตั้งให้เปน ขุนนาง พนักงานสำหรับเปนครูสอนหนังสือไทย สอนคิดเลขแลขนบธรรมเนียมราชการ พระราชทานเงินเดือนครูสอนให้สมควรพอใช้สอย ส่วนผู้เรียนหนังสือน้ัน ก็จะพระราชทาน เสื้อผ้านุ่งห่มกับเบี้ยเลี้ยงกลางวันเวลาหนึ่งทุกวันครูสอนนั้นจะให้สอนโดยอาการเรียบร้อย ไมใ่ ห้ดา่ ตหี ยาบคาย... ในขณะที่อิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตกกำลังแผ่ขยายเข้าสู่ประเทศสยาม พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความจำเป็นท่ีจะต้องพัฒนาคนไทยให้มีความรู้ในวิทยาการตะวันตก ท้ังน้ีการแสวงหาความรู้ทางวิชาการต่างๆ จำเป็นต้องรู้ภาษาอังกฤษเสียก่อน พระองค์ทรงส่งเสริมให้มี การเรยี นภาษาอังกฤษเพราะทรงเหน็ ว่าภาษาเป็นส่อื ของความรูท้ ีด่ ี โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงในยุคแรกของการจดั การ ศึกษานั้น ตำราหรือหนังสือทางวิชาการที่เป็นภาษาไทยมีอยู่น้อยมาก จึงจำเป็นต้องรู้ภาษาอังกฤษเพื่อศึกษา เพม่ิ พนู ความรขู้ องแตล่ ะคน และนำความรนู้ นั้ มาใชป้ ระโยชนก์ บั ตนเองและประเทศ พระองคท์ รงมพี ระราชดำรสั ให้หม่ันศึกษาภาษาอังกฤษ เพราะ “...วิชาหนังสือไทยน้ันเม่ือรู้ดีแล้วพอทำการได้จริงอยู่ แต่เม่ือไม่รู้หนังสือ องั กฤษดว้ ยแลว้ จะรูส้ ึกคับแคบใจเมอื่ ภายหลงั เพราะเหตวุ ่าตำรับตำราวชิ าการตา่ งๆ ซึ่งเขาลงพมิ พไ์ วเ้ ปนภาษา ต่างประเทศ มีภาษาอังกฤษเปนต้น...ให้อุตสาหะเล่าเรียนภาษาอังกฤษให้มากขึ้น คงจะเปนทั้งประโยชน์ตัว แลประโยชน์ในราชการตอ่ ไปภายหน้ามากเปนแท.้ ..” ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บนุ นาค) เจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ต้ังโรงเรียนหลวงสำหรับ สอนภาษาอังกฤษขึ้นอีกแห่งหน่ึงท่ีตึกสองชั้น ริมประตูพิมานไชยศรีด้านตะวันออก (ภายหลังเป็น พระคลงั ขา้ งท)ี่ อยใู่ นความดแู ลของเจา้ พระยาภาสกรวงศ์ เม่ือคร้ังยังเป็นนายราชาณัตยานุหาร ว่าที่เจ้าหม่ืน ศรีสรรักษ์ และโปรดเกล้าฯ ให้นายฟรานซิส ยอร์ช แปตเตอร์สัน (Francis George Patterson) ชาวองั กฤษเปน็ ครผู สู้ อน อนงึ่ โรงเรยี นหลวงภาษาไทย และโรงเรียนหลวงภาษาอังกฤษในสมัยแรกน้ัน ขึ้นอยู่กับกรมทหารมหาดเล็กเนื่องจากโรงเรียนต้ังอยู่ ในบริเวณโรงทหารมหาดเล็ก ดังนั้น ผู้บังคับการ ทหารมหาดเล็กจึงทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน หลวงด้วย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๙ นายแปตเตอร์สัน ลากลับไปประเทศอังกฤษ โรงเรียนแห่งน้ีจึงเลิกไป จนกระท่ังใน พ.ศ. ๒๔๒๒ พระบาทสมเด็จพระ- จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ต้ังโรงเรียน สอนภาษาอังกฤษข้ึนใหม่ท่ีวังนันทอุทยาน ฝ่ังธนบุรี 407
เปิดสอนระหว่าง พ.ศ. ๒๔๒๒ - ๒๔๓๑ จากนั้นได้ย้ายไปรวมกับโรงเรียนสุนันทาลัยท่ีปากคลองตลาด เพอ่ื ประหยดั คา่ ใชจ้ า่ ย จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๕ เมอื่ โรงเรยี นสนุ นั ทาลยั เลกิ กิจการ กำเนดิ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ใน พ.ศ. ๒๔๒๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้า น้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการทหารมหาดเล็ก และโปรดเกล้าฯ ให้ต้ังโรงเรียนสำหรับฝึกสอนผู้จะเป็นนายร้อยนายสิบในกรม ทหารมหาดเลก็ ขนึ้ ใน พ.ศ. ๒๔๒๔ แตเ่ น่ืองจากสถานท่ีทีจ่ ะต้งั โรงเรียนคบั แคบ พระเจา้ น้องยาเธอ พระองค์เจ้า ดิศวรกุมารทรงพบว่าพระตำหนักสวนกุหลาบซ่ึงเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ยังไม่ได้เสวยราชย์ ถูกทอดทิ้งให้รกรุงรังไม่ได้ใช้ประโยชน์อันใด จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใหจ้ ัดตั้งโรงเรียนข้ึน ณ ทน่ี ัน้ และให้ชื่อโรงเรยี นน้ีวา่ “โรงเรยี นพระตำหนกั สวนกุหลาบ” ระยะแรกผู้ท่ีเข้าเรียนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบจำกัดอยู่เฉพาะพระราชวงศ์และชนช้ันสูง เท่าน้ัน ยังมิได้แพร่หลายมาถึงราษฎรสามัญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ ทีจ่ ะให้เจ้านายในพระราชวงศท์ กุ พระองค์ไดเ้ ข้าเรียนในโรงเรยี นพระตำหนักสวนกุหลาบ ดงั ขอ้ ความในพระราช- ดำรสั เม่อื วนั ที่ ๒๗ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ตอนหน่งึ วา่ ...ฉันได้ต้ังใจไว้วา่ ต้งั แต่ลูกฉนั ลงไปจะต้องเข้าในโรงเรียนนี้ ฝึกซอ้ มวชิ าเหมือนกับ ลูกหลานเจ้านายท้ังปวงทุกคน แต่ถึงว่าฉันรับว่าเปนการเห็นแก่ประโยชน์ตัวดั่งน้ี ก็ต้องขอ เถียงว่าไม่ได้เปนแต่ประโยชน์ตัวคนเดียว เปนประโยชน์ทั่วไปแก่พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งปวง ให้ลงความเห็นเปนอันหน่ึงอันเดียวกับฉัน ส่งหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ซึ่งมีอายุสมควร จะเรียนมาเรียนในโรงเรียนน้ีได้ส้ินเชิง เพื่อจะได้เปนคุณแก่ตัวเด็กผู้ที่ส่งมาเรียนน้ันต่อไป ภายหน้า แลเปนการยกการประคองพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชวงศ์ แลพระเกียรติยศของทา่ นผเู้ ปนปู่และบดิ าดว้ ย... โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบต้ังข้ึนโดยมีวัตถุประสงค์ท่ีจะฝึกหัดวิชาทหารให้แก่ผู้ท่ีจะเป็น นายทหารมหาดเล็ก ขณะเดียวกันก็เรียนวิชาต่างๆ เหมือนกับโรงเรียนทั้งหลาย ในปีแรกมีนักเรียนประมาณ ๑๐ คน เป็นหม่อมเจ้าและหม่อมราชวงศ์ หลังจากนั้นก็มีบุตรหลานข้าราชการสมัครเข้าเรียนมากขึ้นจนเกิน จำนวนที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนายทหารมหาดเล็ก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงม ี พระราชดำริว่าถ้าหากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบได้ขยายเป็นโรงเรียนข้าราชการ ก็จะเป็นประโยชน ์ แก่บ้านเมืองย่ิงกว่าเป็นโรงเรียนสำหรับนายทหารมหาดเล็กอย่างเดียว เพราะขณะนั้นกระทรวงต่างๆ มีความต้องการบุคลากรที่มีวิชาความรู้เข้ารับราชการอยู่เป็นอันมาก ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จไปพระราชทานรางวัลแก่นักเรียนโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ที่สอบไล่หนังสือได้ เมื่อวนั ท่ี ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ความวา่ 408
โรงเรียนพระตำหนกั สวนกุหลาบ (บน) นกั เรียนโรงเรียนพระตำหนกั สวนกหุ ลาบ (ลา่ ง) 409
...การทหารนั้นเปนการสำคัญท่ีจะได้ป้องกันรักษาบ้านเมือง ถ้าไม่มีทะแกล้วทหาร ให้แข็งแรงก็จะรักษาบ้านเมืองยาก จ่ึงเปนการจำเปนท่ีจะต้องจัดการทหารให้แข็งแรงข้ึน แต่มิใช่จะต้องการแต่ทหาร เดี๋ยวน้ีต้องการคนที่ใช้ราชการพลเรือน ให้เปนผู้มีความรู้แล เปนผู้มีปัญญาใช้การได้จริงนั้นเปนการร้อน อยากท่ีจะได้โดยเร็วมาก เพราะฉะน้ันไม่ควรจะ วิตกเลยท่ีจะต้องเปนทหารตลอดไป เม่ือผู้ใดมีปัญญามีความรู้สมควร จะได้รับราชการ ในตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใด ก็คงจะได้รับการตามคุณวิชาของผู้นั้น หรือจะไม่รับทำราชการ จะทำการอ่ืนๆ ก็ได้... การเรียนการสอนของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ใช้หนังสือแบบเรียนที่พระยาศรีสุนทรโวหาร เปน็ ผู้แตง่ มที ้ังหมด ๖ เล่ม ไดแ้ ก่ หนังสอื มูลบทบรรพกจิ วาหนติ ินกิ ร อกั ษรประโยค สงั โยคพธิ าน ไวพจน-์ พิจารณ์ และพศิ าลการันต์ เมื่อเรยี นจบ ๖ เล่มนแ้ี ล้วถือว่าเรยี นจบวชิ าชั้นต้น สามารถเขียนอา่ นหนังสือได้คล่อง และหางานทำได้ง่าย แต่ปรากฏว่าผู้ท่ีเรียนหนังสือจนจบ ๖ เล่มมีจำนวนน้อยเพราะส่วนใหญ่ออกไปทำงาน เสียก่อน โรงเรียนจึงคิดหาวิธีท่ีจะให้นักเรียนเรียนจนจบโดยการ “ไล่หนังสือไทย” ทำนองเดียวกับพระสงฆ์ สอบพระปริยัติธรรม เป็นการกำหนดให้นักเรียนได้รู้ว่าตนมีความรู้ช้ันไหน และให้เจ้ากระทรวงท่ีจะรับคนเข้า ทำงานกำหนดเกณฑค์ วามรู้ของผ้จู ะเขา้ ทำงานวา่ จะรบั คนทีเ่ รยี นถึงชั้นใดจึงจะเหมาะสมกบั หน้าท่ี การไล่หนงั สอื ไทยจึงมีข้ึนเป็นคร้ังแรกใน พ.ศ. ๒๔๒๗ นักเรียนท่ีสอบไล่หนังสือได้จะได้รับพระราชทานรางวัลจากพระบาท สมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อย่หู ัว นับตั้งแต่มีการสอบไล่หนังสือไทย โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบก็เจริญรุ่งเรืองข้ึนอย่างรวดเร็ว มีนกั เรยี นรวมหลายร้อยคน ผทู้ ีม่ าเรยี นมตี ัง้ แต่พระเจา้ ลูกยาเธอ หม่อมเจา้ หมอ่ มราชวงศ์ ลงไปถงึ บุตรหลาน ของข้าราชการท่ัวไป นักเรียนที่สอบไล่หนังสือได้เมื่อไปสมัครงานที่กระทรวงใด เจ้ากระทรวงนั้นก็ยินดีรับ เพราะเชอ่ื มั่นวา่ เปน็ คนท่มี ีความร้สู ามารถทำงานได ้ โรงเรียนสวนกหุ ลาบวทิ ยาลยั ถนนตรเี พช็ ร 410
การจดั การศกึ ษาเพ่อื ปวงประชา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโรงเรียนแก่สามัญชนทั่วไปด้วย เพื่อประโยชน์ของประชาชน มิได้ส่งเสริมเฉพาะบุตรธิดาขุนนางข้าราชการหรือโอรสธิดาเจ้านายเท่านั้น ดังกระแสพระราชดำรัสเม่ือครั้งเสด็จไปพระราชทานรางวัลแก่นักเรียนท่ีโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๒๗ ความตอนหน่ึงว่า ...เมื่อได้กล่าวถึงโรงเรียนน้ีว่า จะเปนการสงเคราะห์แต่ตระกูลเจ้านายด่ังน้ี ใช่ว่าจะ ละเลยตระกูลข้าราชการแลราษฎรเสียเมื่อไร โรงเรียนที่มีอยู่แล้วแลที่จะตั้งขึ้นต่อไป ภายหน้าโดยมากได้คิดจัดการ โดยอุตส่าห์เต็มกำลังท่ีจะให้เปนการเรียบร้อยพร้อมเพรียง เหมือนอย่างโรงเรียนน้ีแลจะคิดให้แพร่หลายกว้างขวางเปนที่คนเรียนได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ท้ังจะมีโรงเรียนวิชาอย่างสูงข้ึนไปอีก ซ่ึงได้กำลังคิดจัดอยู่บัดนี้ เจ้านายราชตระกูลตั้งแต ่ ลูกฉันเปนต้นลงไปตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกันไม ่ ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะน้ันจึงขอบอกได้ว่าการเล่าเรียนในบ้านเมืองเราน้ีจะเปน ขอ้ สำคญั ท่หี นงึ่ ซงึ่ ฉนั จะอุตสา่ หจ์ ดั ขึ้นใหเ้ จรญิ จงได.้ .. พระราชดำรสั ขา้ งตน้ นี้ แสดงถงึ พระราชปณธิ านอนั แนว่ แนข่ องพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ที่จะส่งเสริมการศึกษาของประเทศให้แพร่ขยายไปสู่ประชาชน อน่ึง เพ่ือให้ราษฎรทั้งหลายได้รับการศึกษา โดยท่ัวถึงกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้า ดิศวรกุมารดำเนินการจัดต้ังโรงเรียนหลวงสำหรับ ราษฎรขึ้นในวัด เพื่อให้บุตรหลานของไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินได้เล่าเรียนโดยสะดวก ไม่ต้องเสียเงิน คา่ เลา่ เรยี น ดงั ในประกาศตง้ั โรงเรยี น พ.ศ. ๒๔๒๘ วา่ . . . พ ร ะ ร า ช ด ำ ริ ห์ ข อ ง พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ จ้ า อ ยู่ หั ว ซึ่งโปรดเกล้าฯ จัดการโรงเรียน ทั้งปวงนี้ก็เพราะทรงพระมหา- กรุณาแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน แลมี พระราชประสงค์จะให้วิชาหนังสือ ไทยรุ่งเรืองแพร่หลายเปนคุณแก่ ร า ช ก า ร แ ล เ ป น ค ว า ม เ จ ริ ญ แ ก ่ บา้ นเมืองยิง่ ขนึ้ ไป... การที่รัฐบาลกำหนดให้มีการจัดต้ังโรงเรียน มหาอำมาตยเ์ อก เจ้าพระยาธรรมศกั ดิ์มนตร ี หลวงสำหรับราษฎรที่วัดน้ัน เป็นเพราะตามประเพณี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ โบราณราษฎรมักส่งบุตรหลานไปศึกษาอยู่ในสำนัก พ ร ะ ภิ ก ษุ ต า ม พ ร ะ อ า ร า ม ด้ ว ย ค ว า ม เ ลื่ อ ม ใ ส ว่ า 411
พระภิกษุเปน็ ผู้ทรงความรู้ เมื่อรฐั บาลจะตงั้ โรงเรยี นหลวงสำหรบั ใหร้ าษฎรไดเ้ ลา่ เรียน ถ้าจะไปตั้งทีอ่ น่ื นอกเขต วัดก็จะมีความขัดข้องด้วยผิดประเพณีเดิม นอกจากน้ี การต้ังโรงเรียนหลวงจำเป็นต้องมีค่าใช้สอยในการ ซื้อท่ีดินและก่อสร้างโรงเรียน อาจจะต้ังโรงเรียนได้ไม่กี่แห่ง หากต้ังโรงเรียนท่ีในวัด จะได้อาศัยท้ังที่ดินและ ศาลาท่ีมีอยู่แล้วเป็นท่ีเรียน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้อาศัยศาลาการเปรียญ และอาคารของวัดเป็นสถานท่ีเรียน ดังข้อความในพระราชหัตถเลขาพระราชทานเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนนั่ เทพหัสดินทร ณ อยุธยา) เม่อื คร้งั เป็นหลวงไพศาลศลิ ปศาสตร์ ตอนหนง่ึ ว่า ถงึ เจา้ สนน่ั ข้าจะบอกลาภให้ วัดมศี าลาการเปรียญทุกวดั จงเอาศาลานนั่ แหละเปนโรงเรยี น ด้วยพระราชดำริดังกล่าว จึงมีการจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับสามัญชนทั่วไปตามวัดวาอารามต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรกคือโรงเรียนวัดมหรรณพาราม จากนั้นได้ ขยายออกไปยังพระอารามหลวงอนื่ ๆ อกี อย่างรวดเร็ว วัดมหรรณพาราม ที่ต้งั โรงเรียนหลวงสำหรบั ราษฎรแห่งแรก อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งโรงเรียนหลวง ตามวัดก็มีอุปสรรค เน่ืองจากประชาชนต่ืนกลัว เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นพระราชประสงค์ที่จะเอา เดก็ นกั เรยี นไปเปน็ ทหาร พระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมหมนื่ ดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า ในวันเปิดเรียน ของโรงเรียนวัดมหรรณพาราม เม่ือครูไปถึงวัด ก็ปรากฏว่าบิดามารดาผู้ปกครองของเด็กนักเรียน ได้พากันเอาลูกของตนออกไปเกือบหมด เม่ือเป็น เช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศโรงเรียนช้ีแจงว่า การพูดเล่าลือน้ีไม่เป็นความจริง ดังในประกาศ ลงวนั ท่ี ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ ความวา่ ...บัดนี้ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า ราษฎรต่ืนเล่าลือกันว่า ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ต้ังโรงเรียนนั้น พระราชประสงค์จะเก็บเด็กนักเรียนเปนทหารผู้ที่จะส่งบุตรหลานเข้ามา เรียนหนังสือก็มักจะพากันหวาดหว่ันครั่นคร้าม ว่าบุตรหลานจะต้องเปนทหารเปนอันมาก ที่พูดเล่าลืออย่างน้ีเปนการไม่จริง ห้ามอย่าให้ผู้ใดพลอยตื่นเต้นเช่ือฟังคำเล่าลือน้ีเปนอันขาด คนที่ควรจะชักเปนทหารก็มีอยู่พวกหน่ึงต่างหาก ไม่ต้องตั้งโรงเรียนเกล้ียกล่อมเด็กมาเปน ทหารเลย.......ผู้ที่เล่าลือโจษกันอย่างนั้นเหมือนเปนคนไม่มีกตัญญู ไม่รู้พระเดชพระคุณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันทรงพระมหากรุณาทรงพระราชดำริจัดการจะให้เปนคุณ เปนประโยชนแ์ กป่ ระชาราษฎรทว่ั ไปในพระราชอาณาจกั รถอ้ ยคำของคนเชน่ นน้ั ใครๆ ไมค่ วร 412
จะเชื่อเอาเปนประมาณ ถ้าใครมีบุตร์หลานอยากจะให้ได้เล่าเรียน ให้มีวิชาความรู้สำหรับตัว กส็ ง่ เข้าเล่าเรยี นในโรงสอนท่ใี กลเ้ คยี งเขตรบ์ า้ นทอ่ี ยนู่ นั้ เถิด อย่าคดิ หวาดหวั่นครั่นครา้ มดว้ ย ขอ้ ทบ่ี ตุ รห์ ลานจะตอ้ งตดิ เปนทหารนั้นเลย... หลังจากได้มีประกาศออกไปแล้ว ประชาชนก็คลายความวิตกกังวลและเข้าใจความประสงค์ของการ จัดตั้งโรงเรียนดีข้ึน จึงมีผู้นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนมากขึ้น การจัดต้ังโรงเรียนตามพระอารามก็แพร่หลาย ทั้งในกรุงและหัวเมือง การศึกษาชัน้ ตน้ ของสยามจึงเริ่มต้นเจริญก้าวหน้า อน่ึง นอกจากจะสนับสนุนให้ราษฎร มกี ารศึกษาแล้ว พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัวยังทรงมรี บั สั่งใหก้ วดขันมิให้เดก็ ใช้เวลาท่ีจะเลา่ เรยี น ไปเล่นการพนัน โดยทรงออกประกาศห้ามเด็กเล่นการพนันต่างๆ ผู้ใหญ่ท่ีสนับสนุนหรือรู้เห็นกับการเล่น การพนนั ของเด็ก รฐั บาลถอื ว่าเปน็ ผู้กระทำผดิ ดว้ ย สภาพห้องเรียนของโรงเรียนสมัยแรกๆ การท่ีจะให้ราษฎรสามัญชนมีโอกาสได้รับการศึกษานี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีพระราชดำริไปถึงกลุ่มลูกทาสอีกด้วย พระองค์ทรงห่วงใยทาสที่ได้รับการปลดปล่อยว่าจะดำรงชีวิต อยู่อย่างยากลำบากหลังจากเป็นอิสระแล้วเพราะไม่มีวิชาความรู้ที่จะหาเล้ียงตนได้ เป็นเหตุให้อาจต้องกลับไป เป็นทาสอีก จึงมีพระราชประสงค์จะให้มีโรงเรียนสำหรับทาสได้เรียนหนังสือ เพื่อช่วยให้ทาสได้เป็นไทอย่าง แท้จริง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อทาสอย่างย่ิง ดังปรากฏข้อความจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั ว่าด้วยเรอ่ื งทาสและเกษยี ณอายุ พ.ศ. ๒๔๑๗ ว่า 413
...การหนังสือนี้จะช่วยทาสให้เปนไทยได้จริงๆ ถ้าลูกทาสหลุดค่าตัวได้ดังนี้แล้ว คดิ ตง้ั โรงเรยี นขน้ึ ไดจ้ รงิ ๆ กจ็ ะเปนการชว่ ยสงเคราะหอ์ ยา่ งหนงึ่ คอื ลกู ทาสอายุ ๑๑ ปี ๑๒ ปี ค่าตัวเพียง ๗ ตำลึง ๕ ตำลึง สองบาทถ้าจะลงทุนคิดซ้ือเอาเด็กเหล่าน้ีมาให้เข้าโรงเรียน จัดโรงเรียนเสียให้เรียบร้อย...สอนหนังสือพอให้รู้ แล้วให้เรียนวิชาต่างๆ ถึงจะแปลมาจาก วชิ าขา้ งยโุ รปกไ็ ด้ พอจะรกู้ ารแล้วอายุได้ ๑๗ ปี ๑๘ ปี ก็ปลอ่ ยให้ไปรับราชการตา่ งๆ ก็คน ซึ่งรู้หนังสือวิชาอย่างนี้แล้ว ก็คงจะมีผู้ต้องการเอาใช้สอย เปนขุนหม่ืนขุนพัน เปนเสมียน ทนาย หรือจะคิดรบั จา้ งทำการงานต่างๆ ก็ได.้ .. การตงั้ กรมศึกษาธิการ เพ่ือให้การจัดการศึกษาของประเทศมีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง ในวันท่ี ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ต้ังกรมศึกษาธิการข้ึนเป็นกรมอิสระแยกออกจากกรมทหาร มหาดเล็ก ดงั ในประกาศตงั้ กรมศึกษาธกิ าร พ.ศ. ๒๔๓๐ ความว่า ...การเล่าเรียนวิชาเปนการสำคัญของราชการบ้านเมือง แต่ก่อนมายังหาได้จัดต้ังขึ้น เปนแบบแผนให้แพร่หลาย แลยังหาได้มีเจ้าพนักงานสำหรับบังคับบัญชาราชการฝ่ายการ เลา่ เรยี นทง้ั ปวงไม่ บดั นไ้ี ดท้ รงทำนบุ ำรงุ การเลา่ เรยี นใหเ้ ปนแบบอยา่ งเจรญิ รงุ่ เรอื งขนึ้ ไดม้ าก แลไดท้ รงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหม้ เี จา้ พนกั งานรบั กระแสพระราชดำรสั จดั การนน้ั ตลอดมา... แต่ยงั หาไดม้ ีตำแหนง่ ในราชการไม่... กระทรวงธรรมการ ถนนมหาราช 414
บัดนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานซ่ึงสำหรับจัดการเล่าเรียนทั้งปวง รวมเปนกรม ๑ เรยี กวา่ กรมศกึ ษาธิการ ผซู้ ง่ึ ได้รับกระแสพระราชดำรเิ ปนหัวหนา้ พนกั งาน จัดการเล่าเรียน เปนตำแหน่งข้าหลวงผู้บัญชาการศึกษา แลให้ผู้ซ่ึงได้รับราชการอยู่ใน พนักงานจัดการเล่าเรียนท้ังปวงสังกัดข้นึ อยใู่ นกรมศึกษาธกิ ารตามตำแหน่ง ซึ่งได้รบั ราชการ นน้ั ทกุ คน ใหก้ รมศกึ ษาธกิ ารนเี้ ปนกรม ๑ ในราชการฝา่ ยพลเรอื นเหมอื นกบั กรมอนื่ ๆ สบื ไป เมื่อประกาศต้ังกรมศึกษาธิการแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกลา้ ฯ ให้พระเจา้ น้องยาเธอ กรมหม่ืนดำรงราชานภุ าพบญั ชาการกรมศกึ ษาธิการ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๒ โปรดเกลา้ ฯ ใหร้ วมกรมธรรมการสงั ฆการี กรมศกึ ษาธกิ าร กรมแผนท่ี กรมพยาบาล และกรมพพิ ธิ ภณั ฑสถาน ซึ่งเป็นกรมอิสระอยู่ก่อน และยกข้ึนเป็นกระทรวงธรรมการ แต่เรียกว่ากรมธรรมการ มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนดำรงราชานุภาพทรงเป็นอธิบดี บัญชาการกระทรวง และเมื่อมีการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน กไ็ ดม้ กี ารประกาศตงั้ กรมธรรมการเปน็ กระทรวงธรรมการขนึ้ ในวนั ที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยมเี จา้ พระยา ภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เปน็ เสนาบดี มีหนา้ ที่ดแู ลจัดการการศึกษาของชาติ การศกึ ษาสำหรับสตรี นกั เรียนโรงเรยี นสุนนั ทาลยั การศึกษาของสตรีไทยเริ่มขึ้นเมื่อภรรยาของ มิชชันนารีอเมริกันได้ต้ังโรงเรียนกุลสตรีวังหลังข้ึน เม่ือ พ.ศ. ๒๔๑๗ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๒๓ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสตรีข้ึนที่ปากคลองตลาด เพ่ือเป็นอนุสรณ์แก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา- กุมารีรัตน์ ซ่ึงส้ินพระชนม์เพราะเรือพระประเทียบล่ม พร้อมกับพระราชธิดาขณะเสด็จประพาสบางปะอิน และพระราชทานนามว่า “โรงเรียนสุนันทาลัย” โรงเรียนน้ีต้ังข้ึนในพ้ืนที่ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของวัง กรมหมื่นอุดมรัตนราษี สืบเนื่องจากพระประสงค ์ ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เมื่อคร้ังยัง ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ และเคยกราบบังคมทูลพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า สตรีไทยนั้น ไร้ท่ีศึกษาอบรม จะมีอยู่ก็แต่เพียงในพระบรมมหา- ราชวังเท่าน้ัน โรงเรียนสุนันทาลัยเปิดสอนร่วมกับ โรงเรียนนันทอุทยานมาถึง พ.ศ. ๒๔๓๕ นอกจากน้ี สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ยังทรงมีบทบาทส่งเสริมการศึกษาของสตรีโดยใน พ.ศ. ๒๔๔๐ พระองค์ทรงตั้งโรงเรียนเสาวภาซ่ึงเป็น 415
ตึกสุนนั ทาลยั ปัจจุบนั คือโรงเรียนราชนิ ี โรงเรียนสำหรับสตรี และใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้สถานที ่ ของโรงเรียนสุนันทาลัยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนราชินี รวมทั้งยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์จัดสร้าง โรงเรียนสตรีตามจังหวัดต่างๆ อีกหลายแห่ง เช่น โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม โรงเรียนวิเชียรมาตุ และโรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง เป็นต้น อน่งึ กอ่ นหนา้ น้ีกลุม่ มชิ ชันนารไี ด้ก่อตั้งโรงเรียนสตรคี อื โรงเรียนแหมม่ โคลหรอื โรงเรยี นวังหลังวฒั นา (ปจั จบุ นั คอื โรงเรยี นวฒั นาวิทยาลัย) นกั เรยี นสตรีทโี่ รงเรยี นสวนนอก 416
การศึกษาวชิ าชีพ การศกึ ษาวชิ าชพี จดั ขน้ึ เพอื่ รองรบั การปรบั ปรงุ ประเทศใหเ้ จรญิ กา้ วหนา้ ทนั สมยั ตามแบบชาตติ ะวนั ตก ท่ีจำเป็นต้องพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาบ้านเมืองให้เกิด ประสิทธิผล เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินด้วยการตั้ง กระทรวงทบวงกรมแผนใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ แต่ละหน่วยงานต่างขาดแคลนบุคลากรท่ีมีความรู้ความสามารถ มารับราชการ จงึ โปรดเกล้าฯ ใหเ้ ร่มิ จัดต้งั โรงเรียนสำหรับฝึกหดั วชิ าขา้ ราชการพลเรอื นใน พ.ศ. ๒๔๔๒ โดยมี พระยาวิสุทธสุริยศักด์ิ (เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี) เป็นผู้ดำเนินการ ซ่ึงภายหลังได้เปล่ียนชื่อเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยก โรงเรียนมหาดเล็กเป็น “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” และ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ตามลำดับ นอกจากนี้ หน่วยงานกรมกองต่างๆ ก็ได้จัดต้ังโรงเรียนเพ่ือ ผลิตบุคลากรเฉพาะทางเข้ารับราชการในหน่วยงานของตน โรงเรียนท่ีเปิดสอนด้านวิชาชีพเฉพาะทาง ได้แก่ โรงเรยี นไปรษณีย์โทรเลข โรงเรยี นแผนที่ โรงเรยี นกฎหมาย โรงเรียนราชแพทยาลัย โรงเรยี นแพทยผ์ ดงุ ครรภ์ โรงเรยี นเกษตร โรงเรยี นฝกึ หดั อาจารย์ โรงเรียนนายรอ้ ย และโรงเรยี นนายเรือ เปน็ ต้น แบบตึกใหญข่ องโรงเรยี นข้าราชการพลเรือน ออกแบบโดย นายคาร์ล ดอริ่ง และนายเอด็ เวิร์ด ฮีล ี 417
การสง่ นักเรยี นไปศึกษายงั ต่างประเทศ ในการเรียนร้คู วามเจริญของตะวนั ตกน้นั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัวทรงมพี ระราชดำริ ว่าการไปศึกษาถึงแหล่งสรรพวิชาในต่างประเทศเป็นเรื่องจำเป็น เพราะจะทำให้ผู้ศึกษาได้มีความรู้แตกฉาน ในวิชาน้ันๆ สามารถนำความรู้ท่ีได้รับมาพัฒนาประเทศสยามให้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมอารยประเทศได้ เม่ือ คร้ังท่ีเสด็จประพาสสิงคโปร์ใน พ.ศ. ๒๔๑๓ พระองค์ทรงทอดพระเนตรโรงเรียนแรฟเฟิล แล้วมีพระราชดำร ิ จะต้ังโรงเรียนภาษาอังกฤษในไทยแต่หาครูสอนไม่ได้ จึงทรงส่งเจ้านายจำนวน ๑๔ พระองค์ไปเรียนท ี่ โรงเรียนแรฟเฟิล นับเป็นครั้งแรกที่มีการส่งนักเรียนไทยไปเรียนต่างประเทศ หลังจากที่เสด็จกลับจากอินเดีย ใน พ.ศ. ๒๔๑๔ และทรงหาครูอังกฤษได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ต้ังโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษข้ึน แล้วให ้ เจ้านายที่ถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนแรฟเฟิล สิงคโปร์ กลับมาเรียนในกรุงเทพฯ ยกเว้นพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ หม่อมเจา้ เจก๊ นพวงศ์ และพระยาชัยสรุ นิ ทรได้ไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ นบั เป็นคร้งั แรกท่ีมกี ารสง่ นกั เรยี น หลวงไปเรียนในยุโรป ในภายหลังพระองค์ก็ทรงส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกยาเธออีกหลาย พระองคไ์ ปศกึ ษาวิชาการตา่ งๆในยโุ รป เช่น องั กฤษ เยอรมนี เดนมาร์ก และรัสเซยี นอกจากน้ี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้สละพระราชทรัพย์ตั้งทุนเล่าเรียนหลวง ที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า คิงสกอลาชิป (King Scholarship) ให้แก่นักเรียนซ่ึงเป็นสามัญชนผู้มีสติปัญญาดี และสามารถสอบแข่งขันไปศึกษายังต่างประเทศปีละ ๒ คน พระองค์พระราชทานโอกาสแก่ชนทุกช้ัน ท่ีมีความรู้ความสามารถ ไม่เลือกชาติตระกูล ให้ได้ไปศึกษา ณ ต่างประเทศเท่าเทียมกับพระราชโอรส ดังในพระบรมราโชวาทพระราชทานนักเรียนในกรุงเทพฯ เมื่อเสด็จกลับจากยุโรป เม่ือวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๐ วา่ ...นักเรียนผู้ใดที่มีความรู้แลความสามารถไม่ว่าชาติตระกูลอย่างใด คงจะได้รับ ความอุดหนุนของเราให้ความรู้ตามสมควรแก่ปัญญาของตน และได้รับผลอันเกิดแต ่ ความรู้น้ันโดยไม่มีที่เลือกที่เว้น เพราะฉะนั้นขอให้นักเรียนทั้งหลายอุตสาหะเล่าเรียนด้วย ความรา่ เรงิ ใจทวั่ กันทกุ คนเถิด สำหรับวัตถุประสงค์ในการส่งนักเรียนไทยไปศึกษายังต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรสั ว่า ...เราไม่ได้มาเรียนจะเปนฝรั่ง เรียนเพื่อจะเปนคนไทยท่ีมีความรู้เสมอด้วยฝรั่ง เมืองเราเวลาน้ีต้องการคนที่มีความรู้จะรับราชการในหน้าท่ีต่างๆ แลประกอบการต่างๆ ทั่วไปเปนอันมาก เพ่ือจะให้การปกครองบ้านเมือง แลผลสำเร็จแท้จริง แลให้ชาติเราเจริญ ด้วยทรัพย์สมบัติ แลวิชาความรู้แลการช่างเฟื่องฟุ้งแพร่หลายเสมอเหมือนชาติอื่น การเรียน จงึ เปนข้อสำคัญในความเจริญของบา้ นเมอื งเปนอันมาก... 418
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งหวังให้นักเรียนไทยท่ีส่งไปเรียนยังต่างประเทศ นำความรู้มาทำประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมือง พระองค์ทรงตักเตือนให้นักเรียนเหล่าน้ันตั้งใจศึกษาเล่าเรียนให้ เต็มท่ี ดังในพระบรมราโชวาทพระราชทานนกั เรยี นไทยทีศ่ กึ ษาอยใู่ นประเทศองั กฤษ เม่อื พ.ศ. ๒๔๔๐ ว่า การที่คอเวอนแมนต์ไทยให้เจ้าทั้งหลายมาเล่าเรียนวิชาในกรุงอังกฤษนี้ ให้มาเปน ตัวอย่างของนักเรียนไทย แลให้ได้รับความอุดหนุนทุกอย่าง ถ้าเจ้าทั้งหลายมาเรียนวิชาได ้ ไม่ตลอดเปนแต่เรียนวิชาผิวๆ ไปเปนฝรัง่ เช่นน้ัน นบั ว่าเปนอนั เสียท้ังเงนิ แลเสยี ราชการดว้ ย คอเวอนแมนต์ไทยไม่ได้ให้มาเล่าเรียนเพื่อให้เสียเงินเปล่า ตั้งใจจะให้เล่าเรียนกลับไปทำการ ในบ้านเมืองของเราให้เจริญดีย่ิงข้ึน..ให้เจ้าอุตส่าห์รีบเล่าเรียนให้ แล้วเสร็จเจ้าจะได้กลับไป บ้านเมือง... ตลอดระยะเวลา ๔๒ ปีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การศึกษาของไทย ได้วิวัฒนาการอย่างกว้างขวาง คนไทยที่เคยขาดโอกาสทางการศึกษาทั้งชายและหญิง ต่างมีโอกาสได้ศึกษา เล่าเรียนมากขึ้น ในช่วงเวลาที่มีการปฏิรูปบ้านเมืองคร้ังใหญ่ ผู้ท่ีได้รับการศึกษาเหล่าน้ีได้ใช้ความรู้ความ สามารถเข้าปฏิบัติงานในกระทรวงกรมต่างๆ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัวที่ส่งเสริมการศึกษาของชนชาวไทย มีผลให้ราษฎรได้ยกระดับฐานะความเป็นอยู่และฐานะทาง สังคมให้สูงขึ้น เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ และมีส่วนช่วยนำพาประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง พระราชกรณียกิจในด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถือว่าเป็นการปฏิรูปสังคม ที่สำคญั ยิ่ง และเปน็ การพัฒนาคนด้วยความรกั ที่ทรงมตี ่อพสกนกิ รอยา่ งแทจ้ ริง 419
๑๙ สาธารณสุขแหง่ สยาม ...ลูกซ่ึงเป็นที่รักตายเปนที่สลดใจด้วยการรักษาไข้เจ็บ เห็นแต่ว่าลูกเรา ซ่ึงพิทักษ์รักษาเพียงเท่าน้ี ยังได้รับความทุกขเวทนาแสนสาหัส ลูกราษฎรท่ีอนาถา ทั้งปวง จะได้รบั ความทกุ ขเวทนายงิ่ กว่านป้ี ระการใด... (พระราชปรารภในพระราชหตั ถเลขาพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว ถึงคณะกรรมการสรา้ งโรงศริ ริ าชพยาบาล) ในสมัยโบราณ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บของคนไทยล้วนอาศัยแพทย์แผนไทย โดยรักษาด้วยตัวยา สมุนไพร การนวด หรือใช้วิธีไสยศาสตร์ตามคติความเชื่อในท้องถ่ิน หมอผู้รักษามีทั้งฆราวาสและพระสงฆ์ เม่ือประเทศสยามเปิดรับความเจริญทางวิทยาการจากตะวันตก จึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสาธารณสุข โดยการริเริ่มของมิชชันนารีอเมริกันนับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา หลังจากนั้น การแพทยแ์ ผนใหม่ค่อยๆ เขา้ มาแทนท่กี ารแพทยแ์ ผนโบราณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยในสุขภาพอนามัยของประชาชน พระองค์ ทรงมีพระราชดำริที่จะปรับปรุงการสาธารณสุขเพื่อให้ราษฎรมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีชีวิตยืนยาว พระองค์ทรง ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากพวกมิชชันนารี พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางในการพัฒนางานสาธารณสุข เพื่อประชาชน งานด้านสาธารณสุขนี้เป็นการจัดการปรับปรุงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีความ สะดวกและปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยนำวิธีการของตะวันตกมาเป็นแบบอย่าง การพัฒนางาน สาธารณสุขในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ สูติกรรมสมัยใหม่ การต้ังโรงพยาบาล และโอสถศาลา การตัง้ สภาอณุ าโลมแดงหรือสภากาชาดไทย สุขอนามัยและการปอ้ งกนั โรคระบาด สตู ิกรรมสมยั ใหม ่ แต่เดิม หญิงไทยคลอดบุตรที่บ้านโดยมีหมอตำแยประจำชุมชนเป็นผู้ดูแลและให้การรักษาพยาบาล แบบดั้งเดิม คือ การอยู่ไฟ การคลอดบุตรถือว่าเป็นการเสี่ยงภัยแก่ชีวิตทั้งมารดาและบุตรที่คลอดใหม่ จึงต้อง 421
ใช้ความระมัดระวังมาก วิธีพยาบาลคนคลอดบุตรที่ไทยเราใช้กันมาแต่โบราณนั้น จะให้หญิงที่คลอดบุตรอยู่ไฟ โดยให้นุ่งผ้าขัดเตี่ยวนอนบนกระดานแผ่นหนึ่งท่ีเรียกว่า “กระดานอยู่ไฟ” มีเตาสุมไฟไว้ข้างกระดานให้ส่ง ความรอ้ นแก่คนคลอดบุตรอยตู่ ลอดเวลาไมต่ ่ำกว่า ๑๕ วัน รวมทัง้ กินยา ทายาและอบตัวไปดว้ ยในขณะอย่ไู ฟ ผู้หญิงในสมัยก่อนเชื่อในประโยชน์ของการอยู่ไฟ เมื่อเห็นหญิงคนใดคลอดบุตรและร่างกาย ทรุดโทรม ก็เชื่อว่าเป็นเพราะ “อยู่ไฟไม่ได้” แต่ถ้าอ้วนท้วนผิวพรรณผุดผ่องใส ก็จะชมว่า “เพราะอยู่ไฟได้” จึงเป็นเหตุให้เชื่อว่าการอยู่ไฟเป็นคุณและช่วยในการป้องกันอันตราย อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ท่ีคลอดบุตรมีพิษไข ้ อยู่แล้ว ไอความร้อนจากไฟจะให้โทษมากกว่าให้คุณและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ กระน้ันผู้ที่คลอดบุตร กย็ ังไม่กลา้ เลิกอยู่ไฟ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงมูลเหตุท่ีทำให้เกิดการเปล่ียนแปลงวิธีพยาบาล คนคลอดบตุ รโดยเลกิ การอยไู่ ฟวา่ เมอื่ ครง้ั ทห่ี มอ่ มเปย่ี มในกรมหมน่ื ปราบปรปกั ษม์ บี ตุ รคนแรกคอื ม.ร.ว. เปยี มาลากุล (เจ้าพระยาพระเสด็จฯ) และเป็นไข้ แต่ผู้ใหญ่ก็ยังบังคับให้อยู่ไฟ กระทั่งทนความร้อนไม่ได้จึงเสียชีวิต ในท่ีสุด เหตุการณ์คร้ังนั้นทำให้กรมหมื่นปราบปรปักษ์ทรงปฏิญาณว่าถ้าทรงมีบุตรอีก จะไม่ให้หม่อมอยู่ไฟ เป็นอันขาด ประจวบกับหมอปีเตอร์ เคาแวน (Peter Cowen) ได้มาเป็นแพทย์ประจำพระองค์พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมหมื่นปราบปรปักษ์จึงทรงให้หมอเคาแวนเป็นผู้ผดุงครรภ์และพยาบาล ตามแบบฝรั่ง นับว่ากรมหมื่นปราบปรปักษ์ทรงเป็นผู้นำในการเลิกการอยู่ไฟและใช้วิธีพยาบาลคนคลอดบุตร ตามแบบฝรั่งกอ่ นผู้อืน่ ตอ่ มาเม่ือกรมหมื่นปราบปรปักษ์ทรงทราบว่าพระนางเจ้าเสาวภาผอ่ งศรี พระวรราชเทวี ประชวรไข้เมื่อครั้งประสูติสมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหมื่นปราบปรปักษ์จึงทูลชี้แจงถึงประโยชน์ของ วธิ พี ยาบาลอยา่ งฝรงั่ พระนางเจา้ เสาวภาผอ่ งศรี พระวรราชเทวที รงเลอ่ื มใส ขอพระราชทานพระบรมราชานญุ าต เลิกการอยู่ไฟและให้หมอเคาแวนพยาบาลตามแบบฝร่ังซึ่งดีกว่าวิธีอยู่ไฟอย่างเดิม แต่นั้นมาจึงเลิกการอยู่ไฟใน พระบรมมหาราชวงั สว่ นข้างนอกวังกม็ ีผู้ปฏบิ ัติตามในเวลาตอ่ มาบา้ ง เม่ือโรงศิริราชพยาบาลเปิดรักษาคนไข้ ได้มีการเปิดแผนกสูติกรรมด้วย แต่การที่จะให้ราษฎรเปล่ียน มาใช้วิธีรักษาพยาบาลอย่างฝรั่งในโรงพยาบาลต้องใช้เวลาสักระยะหน่ึง เนื่องจากในเวลานั้นมีผู้หญิงไป คลอดบุตรที่โรงพยาบาลน้อย และต้องการใช้วิธีคลอดบุตรอย่างเดิมแม้จะชี้แจงชักชวนให้ใช้วิธีอย่างใหม่ ก็ยังไม่มีใครยอม จึงเกิดความขัดข้องเพราะถ้าบังคับกันก็คงไม่มีใครไปคลอดบุตรที่โรงพยาบาล เมื่อสมเด็จ พระนางเจา้ เสาวภาผ่องศรี พระอคั รราชเทวที รงทราบความขดั ข้องน้นั จึงโปรดประทานอนญุ าตให้กรมพยาบาล อ้างกระแสรับส่ังชี้แจงแก่คนท่ีจะคลอดบุตรในโรงพยาบาลว่า พระองค์ทรงเคยอยู่ไฟมาก่อนแล้วเปล่ียนมาใช้ วธิ ีพยาบาลอยา่ งใหม่ ทรงสบายกวา่ อยู่ไฟอย่างแต่ก่อนมาก จงึ ทรงมพี ระราชประสงค์ให้ราษฎรได้ความสุขด้วย ทั้งทรงแนะนำให้ทำตามอย่างพระองค์เพราะไม่มีอันตรายใดๆ หากใครทำตามท่ีทรงชักชวนจะพระราชทาน เงินทำขวัญบตุ รที่คลอดใหมค่ นละ ๔ บาท พรอ้ มเบาะและผา้ อ้อมแก่ทารก ๑ ชุด เม่ือมีกระแสรบั ส่งั ของสมเด็จ พระอัครราชเทวีเช่นนั้น จึงมีคนสมัครให้พยาบาลทำการคลอดบุตรให้ตามวิธีใหม่ และเม่ือคนส่วนใหญ่เห็นว่า คนทไี่ มอ่ ยูไ่ ฟปลอดภยั ดี จงึ มผี ูน้ ยิ มวธิ พี ยาบาลแบบฝรัง่ กันมากขน้ึ อนึ่ง เพ่ือให้การทำคลอดเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและเพ่ือให้ความปลอดภัยแก่มารดา ผู้คลอดบุตร ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวีจึงทรงมีพระดำริให้เปิด 422
โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ข้ึนท่ีตึกเสาวภาคย์ โรงศิริราชพยาบาล โดยมีพระราชเสาวนีย์ให้เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เป็นผู้วางหลักสูตรการอบรมพยาบาลและการผดุงครรภ์ และโปรดเกล้าฯ ให้ ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ภรรยาของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน พระราชทานช่ือว่า “โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาล” มีนายแพทย์ฮันส์ อะดัมสัน (Hans Adamson) หรือพระบำบัด- สรรพโรคซง่ึ เปน็ สูติแพทยข์ องโรงพยาบาลเป็นอาจารย์สอน เรม่ิ เปิดสอนเมือ่ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๐ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ขณะทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จ ราชการแผ่นดิน ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรการดำเนินงานของโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ เม่ือวันที่ ๘ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๖ โดย “...เสด็จตึกเสาวภาคย์ซ่ึงเปนโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ นักเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ ได้อธิบายด้วยลักษณะคลอดบุตรถวาย...” นอกจากน้ียังโปรดเกล้าฯ ให้ขยายสถาบันการแพทย์และพยาบาล ผดุงครรภ์ โดยทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จ่ายเป็นเงินเดือนนายแพทย์ มิชชันนารี รวมทั้งบรรดา นักเรียนแพทย์ ผดุงครรภ์ ซึ่งได้รับพระราชทานเงินเดือนเป็นค่าใช้จ่ายอีกด้วย นักเรียนแพทย์และผดุงครรภ ์ ท่สี อบได้ตามหลักสตู รและได้รับพระราชทานประกาศนียบตั รรุ่นแรกมีจำนวน ๑๐ คน การตง้ั โรงพยาบาลและโอสถศาลา การตั้งสถานพยาบาลเป็นสิ่งแปลกใหม่ในด้านการแพทย์ของไทย เพราะแต่เดิมมาเม่ือมีผู้เจ็บป่วย หมอกลางบ้านจะไปรักษาท่ีบ้านของคนป่วยด้วยวิธีแพทย์แผนไทย จนกระทั่งมิชชันนารีอเมริกันเข้ามาจึงเร่ิม มีการจัดตั้งสถานพยาบาลขึ้นในพระนครและหัวเมือง เช่น โรงพยาบาลบางรัก (ต่อมาคือโรงพยาบาลเลิดสิน) ในกรุงเทพฯ และโรงพยาบาลแมคคอรม์ ิค ที่เชยี งใหม่ เป็นตน้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้สร้างโรงพยาบาลเพ่ือใช้เป็นท่ีรักษา ประชาชนแบบแพทย์แผนใหม่ที่ทันสมัยอย่างในต่างประเทศ เพราะการรักษาด้วยยากลางบ้านนั้นล้าสมัย เมื่อเกิดโรคระบาดก็ไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงทีทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เช่นเม่ือคราวเกิด อหวิ าตกโรคระบาดครง้ั ใหญใ่ น พ.ศ. ๒๔๒๔ ตอ่ มาวนั ท่ี ๒๒ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๒๙ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงตง้ั กรรมการคณะหนง่ึ จำนวน ๙ คน ใหด้ ำเนนิ การจดั ตง้ั โรงพยาบาลตามพระราชประสงค์ มพี ระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมหม่ืนศิริธัชสังกาส เป็นประธาน กรรมการท่ีสำคัญได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนดำรงราชานุภาพ พระเจา้ นอ้ งยาเธอ พระองคเ์ จา้ ศรเี สาวภางค์ และนายแพทยป์ ีเตอร์ เคาแวน เปน็ ตน้ คณะกรรมการประชุมปรึกษาเห็นสมควรให้ตั้งโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียวก่อน เมื่อดำเนินการรักษา พยาบาลให้คนทั้งหลายเห็นคุณประโยชน์ของโรงพยาบาลเป็นที่ประจักษ์แล้ว จึงค่อยขยายต้ังโรงพยาบาล ให้แพร่หลายออกไป ในขั้นต้นได้กราบบังคมทูลขอแบ่งท่ีวังหลังข้างตอนใต้อันเป็นที่หลวงร้างอยู่ทางฟากธนบุรี สำหรับสร้างโรงพยาบาล พรอ้ มกับซ้อื ทด่ี นิ รมิ น้ำข้างเหนอื โรงเรยี นของมิชชันนารอี เมรกิ นั (แหม่มโคล) สำหรับ ทำท่าขึน้ ไปยงั โรงพยาบาล ใหช้ ื่อโรงพยาบาลทีจ่ ะสร้างข้ึนน้ีว่า “โรงพยาบาลวงั หลัง” นบั เปน็ โรงพยาบาลหลวง แห่งแรกของประเทศสยามที่นำวิธีการรักษาแบบตะวันตกมาใช้ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนซ่ึงเป็นกำลัง สำคญั ในการพฒั นาบ้านเมือง 423
ตามความประสงค์ของกรรมการในชั้นแรก จะให้มีโรงพยาบาลพร้อมด้วยพนักงานรักษาพยาบาล และคนไข้อยู่ในโรงพยาบาลบ้างแล้ว จึงจะเชิญเสด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงทำพิธีเปิดโรงพยาบาล กรรมการ ได้มอบให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ กับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ดำเนินการต้ังโรงพยาบาลโดยกรมหมื่นดำรงราชานุภาพเป็นฝ่ายก่อสร้าง และพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ เป็นฝ่ายจัดการภายในโรงพยาบาล สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายเก่ียวกับเรื่องการจัดสร้างโรงพยาบาลว่าการก่อสร้าง โรงพยาบาลไม่เป็นเร่ืองยากลำบากอันใด แต่การจะหาหมอมาประจำโรงพยาบาลในตำแหน่งนายแพทย์ และแพทย์รองมีปัญหาคือ ไม่มีหมอมาประจำโรงพยาบาลเน่ืองจากหมอแต่ละคนต่างมีวิธีการรักษาโรคต่างกัน และต่างพวกต่างรังเกียจกัน จึงต้องใช้วิธีหาหมอท่ีมีช่ือเสียงคนหนึ่งให้มีตำแหน่งเป็นนายแพทย์ แล้วให้ แพทย์ผู้น้ันไปหาแพทย์รองมาเอง และกำหนดให้โรงพยาบาลใช้วิธีรักษาไข้และใช้ยาให้เป็นมาตรฐานอย่าง เดยี วกัน นอกจากความยากลำบากเร่ืองการหาหมอมาประจำโรงพยาบาลแล้ว ยังมีความลำบากเรื่องการหา คนไข้ หลังจากท่ีมีโรงพยาบาลและพนักงานรักษาพยาบาลแล้ว โรงพยาบาลก็ประกาศรับรักษาคนไข้โดย ไม่เสียเงินค่ารักษา คนไข้ท่ีมาพักรักษาตัวนอนอยู่ในโรงพยาบาลไม่ต้องจ่ายค่าอาหารหรือค่ายาแต่อย่างใด แต่ประชาชนก็ยังไม่ไว้ใจ ไม่ยอมไปโรงพยาบาล ครั้นเมื่อเริ่มมีการส่งคนไข้ไปรักษา ก็ล้วนเป็นคนไข้อาการ เพียบหนักที่ไม่มีใครยอมรักษาแล้ว เมื่อไปถึงโรงพยาบาลไม่นานก็ส้ินใจ ไม่มีโอกาสรักษาให้หายได้ ทำให้โรงพยาบาลกลายเป็นเรือนตายของคนไข้ คณะกรรมการเกรงว่าจะทำให้โรงพยาบาลเสียช่ือเสียง จึงปรึกษากันให้ช่วยหาคนไข้ท่ีพอจะรักษาหาย มาเข้าโรงพยาบาล มีผู้แนะนำให้ไปเอาขอทานท่ีเป็น โรคมะเร็งตามหน้าแข้งซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีนที่ น่ังขอทานอยู่แถวสะพานหันและสำเพ็งเพราะโรคน้ี สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็ไม่มีใครยอมไปรับการ รกั ษาเพราะเกรงวา่ ถา้ แผลหายแลว้ จะกลบั มาขอทานอกี ไมไ่ ด้ ในทสี่ ดุ กรรมการตอ้ งไปชกั ชวนพวกพอ้ งบา่ วไพร่ ของตนท่ีแม้เจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยก็ให้ไปขอยาหรือ รกั ษาตวั ท่โี รงพยาบาลจนหายเจบ็ ภายหลงั มีผู้อน่ื ตาม ไปรักษาตัวท่ีโรงพยาบาล ความเชื่อถือในโรงพยาบาล จงึ เพ่ิมขึน้ โดยลำดบั สมเด็จเจ้าฟ้าศริ ริ าชกกุธภณั ฑ์ ระหว่างท่ีโรงพยาบาลวังหลังกำลังก่อสร้าง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ ์ ได้ประชวรพระโรคบิดสิ้นพระชนม์ลง เม่ือวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ ยังความอาลัยเศร้าโศกแก่ 424
พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั อยา่ งยงิ่ ในงานพระเมรพุ ระราชทานเพลงิ พระศพสมเดจ็ พระเจา้ ลกู ยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ท่ีท้องสนามหลวง เม่ือ พ.ศ. ๒๔๓๐ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงกับพระนางเจ้าเสาวภา- ผอ่ งศรี พระวรราชเทวี พระราชมารดาทรงมีพระราชดำริจะบำเพ็ญพระราชกุศลโดยการเกื้อกูลแก่โรงพยาบาล แห่งนี้ ท้ังยังทรงแนะนำผู้ประสงค์จะช่วยงานพระเมรุสมเด็จฯ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ให้ช่วยอุดหนุนการต้ัง โรงพยาบาลด้วย เป็นผลให้การสรา้ งโรงพยาบาลสำเรจ็ ลงดว้ ยดี ในวนั ท่ี ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาท สมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั เสดจ็ ไปทรงประกอบพธิ เี ปดิ โรงพยาบาล พระราชทานนามวา่ “ศริ ริ าชพยาบาล” ซ่ึงอยู่ในความดูแลของกรมพยาบาล ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๒ คณะกรรมการดำเนินงานเห็นสมควรให้มีการ ผลิตแพทย์คนไทยเพ่ือปฏิบัติหน้าท่ีในโรงพยาบาล จึงเปิดสอนวิชาแพทย์แผนตะวันตกควบคู่กับการสอนวิชา แพทย์แผนไทย ให้ช่ือวา่ “โรงเรียนศริ ิราชแพทยากร” จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๐ โรงเรยี นแห่งนีแ้ ยกออกมาตัง้ เป็น เอกเทศจากโรงศิริราชพยาบาล ได้รับพระราชทานนามว่า “โรงเรียนราชแพทยาลัย” มีนายแพทย์ยอร์ช แมคฟาร์แลนด์ (George B. McFarland) หรือพระอาจวิทยาคมเป็นผู้อำนวยการ ภายหลังมีผู้นิยมเข้าศึกษา เฉพาะแผนตะวันตก แผนกแพทย์แผนไทยจึงยุติลง นอกจากน้ียังมีการจัดต้ังแพทย์ประจำตามหัวเมือง และมกี ารแพทยท์ หารบกดว้ ย อาจารย์และนกั เรียนแพทย์ โรงเรยี นราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช ตึกเจ้าจอมมารดาแสง 425
นายแพทย์ยอรช์ แมคฟาร์แลนด์ ต่อมามีบรรดาศักด์เิ ป็นพระอาจวิทยาคม ผ้บู กุ เบิกวชิ าแพทย์แผนปัจจบุ ัน เม่ือคนส่วนใหญ่เห็นว่าการตั้งโรงพยาบาลประสบความสำเร็จจึงเลื่อมใส เพราะเป็นการบรรเทาทุกข์ เพื่อนมนุษย์ซ่ึงถือว่าเป็นกุศลกรรมทางศาสนา แต่นั้นมาผู้คนทั้งหลายต่างให้ความช่วยเหลือโรงพยาบาลด้วย วิธีการต่างๆ เช่น การบริจาคเงินสร้างตึกรับคนไข้ จึงเกิดประเพณีที่ถือกันว่าโรงพยาบาลเป็นสถานท่ีทำบุญ แห่งหน่ึง หลังจากน้ันโรงศิริราชพยาบาลได้ขยายการดำเนินงาน ทำให้มีคนนิยมสนใจวิธีการรักษาพยาบาล แผนใหม่และให้ความเชื่อถือโรงพยาบาลมากขึ้น เม่ือกิจการโรงพยาบาลแห่งแรกน้ีมีความม่ันคง รัฐบาลก็ตั้ง โรงพยาบาลเฉพาะโรคและเฉพาะอาชีพขึ้นอีกหลายแห่งในกรุงเทพฯ ได้แก่ โรงพยาบาลคนเสียจริต ท่ีปากคลองสาน ฝั่งธนบุรี ทำการรักษาผู้ป่วยท่ีมีปัญหาทางจิต (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา) โรงพยาบาลบูรพา ซ่ึงเป็นโรงพยาบาลสามัญ อยู่แถบริมคลองคูพระนครตรงหน้าวังบูรพาภิรมย์ โรงพยาบาล เทพศิรินทร์ ใกล้วัดเทพศิรินทราวาส (ภายหลังโรงพยาบาลบูรพาและโรงพยาบาลเทพศิรินทร์ยกเลิกไป) โรงพยาบาลหญิงหาเงิน อยู่หลังวัดพลับพลาไชย ให้บริการตรวจรักษาหญิงโสเภณีโดยเฉพาะเพื่อควบคุม 426
กามโรค โรงพยาบาลพลตระเวน ให้บริการรักษาตำรวจท่ีได้รับบาดเจ็บและประชาชนที่ถูกทำร้าย (ภายหลัง ได้ยุบรวมโรงพยาบาลหญิงหาเงินและโรงพยาบาลพลตระเวน เป็นโรงพยาบาลกลาง) และโรงพยาบาลสามเสน (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลวชิระ) ในช่วงนี้ประชาชนเห็นคุณประโยชน์ของโรงพยาบาลแล้ว ดังน้ันเมื่อมีการเปิด โรงพยาบาลใหมท่ ใี่ ดกม็ คี นไขไ้ ปขอทำการรกั ษา โรงพยาบาลไมต่ อ้ งขวนขวายหาคนไขเ้ องเหมอื นกอ่ น นอกจากนี้ หลงั การปฏิรูปการปกครอง รฐั บาลไดข้ ยายงานรักษาพยาบาลออกไปในตา่ งจงั หวัดในรูปของโอสถศาลาดว้ ย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยูห่ วั ทรงห่วงใยราษฎรที่อย่หู ่างไกลความเจริญวา่ เมือ่ ยามเจ็บไข้ ได้ป่วยจะไม่สามารถหายารักษาได้ทันท่วงที ดังในพระบรมราชโองการประกาศตั้งโอสถสภา เม่ือวันท่ี ๑๗ พฤษภาคม รตั นโกสินทรศ์ ก ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ความว่า ...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว...ได้ทรงสังเกตตามใบบอก จดหมายเหตุความ ไข้เจ็บซึ่งเกิดขึ้นตามหัวเมืองในบางคาบบางคราว มีจำนวนราษฎรตามบ้านป่าเมืองไกล เปนอันตรายเสียด้วยความไข้อันพึงเยียวยารักษาได้ เช่น ไข้จับ เปนต้น คราวละมากๆ ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าทุกวันน้ียารักษาโรคที่เปนยาดีมีคุณก็มีมากหลายขนาน แต่หากว่า ยาเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายออกไปถึงราษฎรท่ีอยู่ตามบ้านป่าเมืองไกล...จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโอสถสภา แลโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตร์วัฒโนดม เปนประธานจัดการประกอบโอสถซึ่งเปนของเคยเห็นคุณปรากฏในการระงับโรคต่างๆ สง่ ออกไปจำหนา่ ยตามหวั เมอื งโดยราคาอยา่ งถกู พอคมุ้ ทนุ ทไี่ ดจ้ ำหนา่ ยไป โดยพระราชประสงค์ จะให้ยาโอสถสภาน้ี แพร่หลายเปนประโยชน์ระงับความไข้เจ็บของอนาประชาราษฎรท่ัวไป ในพระราชอาณาจกั ร... แนวคิดที่จะให้มียาดีสำหรับรักษาโรคภัยไข้เจ็บแพร่หลายไปถึงราษฎรตามหัวเมืองน้ัน เป็นหน้าที่ ของกระทรวงมหาดไทยในการดำเนินการ แต่มีปัญหาท่ีต้องตัดสินอยู่ ๒ ข้อคือ ข้อหนึ่ง ควรจะผลิตยาแก้โรค อะไรบ้าง โดยต้องพิจารณาว่าโรคท่ีราษฎรเป็นกันบ่อยคือโรคใด ก็จะผลิตยาเพ่ือรักษาโรคนั้น เช่น ยาแก้ไข้ และแก้โรคบิด เป็นต้น ส่วนข้อท่ีสอง ยาท่ีจะผลิตนั้นจะใช้ตำราฝร่ังหรือตำราไทยดี สมเด็จกรมพระยาดำรง- ราชานุภาพทรงเห็นว่าใช้ยาฝร่ังดีกว่าเพราะออกฤทธิ์ได้ภายใน ๒ - ๓ นาที จึงรักษาโรคได้ชะงัดกว่ายาไทย นอกจากนี้ การผลิตยาฝร่ังสะดวกกว่ายาไทยเพราะอาจทำเป็นยาเม็ดเล็กๆ บรรจุลงกลักหรือใส่ห่อส่งไปตาม ท่ีต่างๆ ได้ง่าย คนไข้กินเพียง ๑ - ๒ เม็ดก็เห็นผล อีกประการหน่ึง ยาไทยก็มีใช้กันตามพื้นเมืองอยู่แล้ว แต่ตามหัวเมืองยาฝร่ัง เช่น ยาควินินแก้ไข้จับส่ันยังหายาก จึงตกลงว่าจะผลิตยาฝร่ัง การผลิตยานี้จะทำเป็น ของรฐั บาล เป็นสาธารณประโยชนส์ ำหรบั บ้านเมือง ในการดำเนินการผลิตยา ได้มีการประชุมหมอฝรั่งที่ศาลาลูกขุนกระทรวงมหาดไทย แจ้งให้ทราบ พระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์ท่ีจะบำรุงการอนามัยในบ้านเมือง บรรดาหมอฝร่ังก็รับจะช่วยทำให้ตาม ความประสงค์ของรัฐบาล และแนะนำให้รัฐบาลผลิตยาต่างๆ จำนวน ๑๐ ขนาน พร้อมทั้งกำหนดเครื่องยา กับส่วนผสมของยาน้ันๆ โดยให้ตำรายานั้นเป็นสมบัติของรัฐบาล หมอฝรั่งท่ีจะผลิตยาให้คือ หมออะดัมสัน โดยใช้สำนักงานของเขาที่ส่ีก๊ักถนนเจริญกรุงเป็นสถานที่ผลิตในราคาเท่าทุน และจะหัดคนที่จะผสมยาให้จนกว่า กระทรวงมหาดไทยจะตงั้ สถานท่ีผลิตยาเอง ดงั นน้ั การเลือกและผลิตยาสำหรับสง่ ไปตามหวั เมืองก็สำเร็จลงได้ 427
อยา่ งไรกต็ าม ความยากลำบากอยทู่ ก่ี ารจะใหค้ นนยิ มใชย้ าทผ่ี ลติ ขนึ้ ใหมน่ เ้ี พราะเปน็ ยาฝรง่ั ในสมยั นนั้ ประชาชนไม่ค่อยเช่ือถือยาฝร่ังมากนักแม้ในกรุงเทพฯ ก็ตาม กระทรวงมหาดไทยจึงต้องคิดวิธีแก้ไขความ รังเกียจด้วยการให้เรียกชื่อยาท่ีผลิตข้ึนใหม่ว่า “ยาโอสถศาลา” แต่ละขนานใส่กลักเล็กๆ กลักละ ๒๐ เม็ด พิมพ์หนังสือปิดข้างนอกกลักยาเอาแต่ช่ือโรค เช่น ยาแก้ไข้จับ ยาแก้ลงท้อง ยาแก้บิด เป็นต้น ข้างในกลัก มีกระดาษใบปลวิ บอกวิธีทจ่ี ะใช้ยานั้น แลว้ รวมกลักยาห่อเปน็ ชดุ ๆ มใี บปลวิ โฆษณาสรรพคุณของยาโอสถศาลา สอดไปด้วย แล้วส่งไปให้หมอตำบลเป็นผู้จำหน่ายในราคากลักละ ๑๐ สตางค์ เมื่อคนทดลองใช้ยาโอสถศาลา เหน็ วา่ ไดผ้ ล กจ็ ำหนา่ ยยาไดแ้ พรห่ ลาย กระทรวงมหาดไทยจงึ ใหต้ ง้ั สถานโอสถศาลาขนึ้ ทโี่ รงพยาบาลเทพศริ นิ ทร์ การผลติ และจำหน่ายยาโอสถศาลาจงึ เป็นงานของรัฐสบื มา ส่วนการปลูกหนองฝีป้องกันไข้ทรพิษก็ได้ริเริ่มดำเนินการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจา้ อยหู่ วั แตย่ งั คงใชห้ นองฝแี หง้ ทน่ี ำเขา้ จากดนิ แดนใกลเ้ คยี งทเ่ี ปน็ อาณานคิ มของชาตติ ะวนั ตก จนปลายรชั กาล จึงเร่มิ มีการจัดต้ังสถานที ดลองผลิตเซร่มุ หนองฝีขนึ้ ในประเทศและมาประสบผลสำเรจ็ ในรชั กาลตอ่ มา สภาอณุ าโลมแดงหรือสภากาชาดไทย สภาอุณาโลมแดง เป็นองค์กรการกุศลท่ีมีภารกิจในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขทหารและพลเรือนในยาม ท่ีบ้านเมืองไม่สงบสุข ก่อต้ังข้ึนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ สภาอุณาโลมแดงมีช่ือเรียกในปัจจุบันว่า “สภากาชาดไทย” สถานเสาวภา สภากาชาดไทย 428
ท่านผู้หญิงเปลี่ยนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ผู้เป็นสามีในการปฏิบัติ ภารกิจด้านราชการงานเมือง เม่ือครอบครัวต้องขาดผู้นำเป็นครั้งคราว เนื่องจากเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ต้องไป ปฏิบัติราชการยังต่างประเทศ ท่านผู้หญิงเปล่ียนต้องทำหน้าท่ีสานต่อภารกิจของสามีที่ยังคั่งค้าง ช่วยแบ่งเบา การงานของสามีในการติดต่อกับข้าราชการเพ่ือนร่วมงานผู้ใหญ่ผู้น้อย รวมทั้งสนับสนุนหน้าที่ราชการของสามี สนองนโยบายของทางราชการซง่ึ ได้แกก่ ารก่อตั้งสภาอุณาโลมแดง เหตุการณ์สำคัญท่ีทำให้มีการก่อตั้งสภาอุณาโลมแดงก็คือ เหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ เม่ือไทยกับฝรั่งเศสเกิดกรณีพิพาทเร่ืองพรมแดนทางฝั่งแม่น้ำโขง ผลของการกระทบกระทั่งกลายเป็นการสู้รบ เนอื่ งจากฝรงั่ เศสสง่ เรอื รบมาปดิ อา่ วทเ่ี มอื งสมทุ รปราการ ในการสรู้ บครง้ั นนั้ มรี าษฎรและทหารของทงั้ สองฝา่ ย ได้รับบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนไม่น้อย ท่านผู้หญิงเปลี่ยนได้เล็งเห็นความทุกข์ยากของทหารและราษฎร เหล่านั้น จึงชักชวนบรรดาสตรีชั้นสูงให้มาร่วมมือกันก่อตั้งองค์กรเพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ จากน้ันได้นำความ ขน้ึ กราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ขอให้ทรงรบั เป็น “ชนนีผู้บำรงุ ” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านผู้หญิงเปลย่ี น ภาสกรวงศ์ ทรงพอพระราชหฤทัยแนวคิดน้ีเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ ทรงมีพระราชดำริว่าองค์กรนี้เป็นองค์กรการกุศล เหมือนอย่างประเทศตะวันตกที่เคยมีมาแล้ว จึงทรง รับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ พระราชทานชื่อว่า “สภาอณุ าโลมแดงแหง่ สยาม” นอกจากนยี้ งั โปรดเกลา้ ฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทรงเป็น “สภาชนนี” พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ทรงดำรงตำแหน่ง “สภานายิกา” พระองค์แรก และท่านผู้หญิงเปล่ียน ภาสกรวงศ์ มตี ำแหน่งเป็นเลขานกุ าริณี นอกจากน้ี ยงั โปรดเกล้าฯ ให้นายโรลัง ยัคแมงส์ ท่ีปรึกษาราชการแผ่นดิน ชาวตา่ งประเทศ เปน็ ผจู้ ดั กจิ กรรมของสภาอณุ าโลมแดง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี พระบรมราชานุญาตให้กลุ่มสตรีอาสาสมัครดังกล่าว เรี่ยไรเงินได้ทั้งสิ้น ๔๔๔,๗๒๘ บาท นำไปใช้ในการ ซ้ือยาเพื่อรักษาผู้บาดเจ็บจากการสู้รบ และส่วนหน่ึง ใชใ้ นการเดนิ ทางไปเยย่ี มเยยี นและชว่ ยเหลอื ครอบครวั ทหารและพลเรือนที่ออกปฏิบัติหน้าทใ่ี นคร้งั นี้ด้วย 429
งานสำคัญของสภาอุณาโลมแดงแห่งสยามคือ การจัดส่งเวชภัณฑ์ อาหาร เส้ือผ้า และเคร่ืองใช้ต่างๆ ให้ทหารในสนามรบ ซึ่งสภาอุณาโลมแดงแห่งสยามดำเนินการได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจจนกระทั่งสงครามยุติลง นับเป็นการปฏิบัติภารกิจท่ีมีคุณประโยชน์ใหญ่หลวง เป็นการช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ทหารและพลเรือน ภายหลังการดำเนินงานของสภาอุณาโลมแดงได้ขยายไปท่ัวประเทศตามแนวพระราชดำริขององค์สภานายิกา ในเวลาต่อมาสภาอุณาโลมแดงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สภากาชาดสยาม” หรือ “สภากาชาดไทย” ในปัจจุบัน และ ได้เข้าเป็นสมาชิกสภากาชาดสากลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ต่อมาสภากาชาดไทยได้ก่อต้ังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ ์ เพ่อื รกั ษาผปู้ ว่ ยทั่วไป โรงพยาบาลจฬุ าลงกรณ์ในยุคแรก สุขอนามยั และการป้องกันโรคระบาด ในสมัยก่อน คนไทยที่ต้องเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บมีจำนวนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะจากโรคระบาด ซึ่งได้แก่ ไข้ทรพิษหรือฝีดาษ และอหิวาตกโรค เนื่องจากประชาชนยังไม่รู้จักวิธีป้องกันโรคท่ีมากับสายน้ำ และการรักษาความสะอาด กรรมวิธีในการกำจัดขยะมูลฝอยยังล้าสมัย ประชาชนท่ีอาศัยตามเรือนแพริมน้ำ มกั กำจัดขยะอยา่ งงา่ ยๆ คอื การโยนขยะลงนำ้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเอาพระทัยใส่ในสุขภาพพลานามัยของประชาชน ด้วยทรงตระหนักดีว่าพลเมืองท่ีมีอนามัยสมบูรณ์ กอปรด้วยสติปัญญาความสามารถ ย่อมเป็นทรัพยากร อันล้ำค่าของแผ่นดิน ในส่วนที่เป็นการป้องกันโรคาพยาธิ เช่นโรคระบาดร้ายแรงต่างๆ พระองค์ก็มิได้นิ่งนอน พระทัย ทรงดำเนนิ การบำบดั รกั ษาและหาวธิ ีป้องกนั เพ่ือมิใหร้ าษฎรของพระองค์ตอ้ งเสียชวี ิตลงคราวละมากๆ 430
ใน พ.ศ. ๒๔๒๔ เกิดอหิวาตกโรคระบาดคร้ังใหญ่ในประเทศสยาม ผู้คนต่ืนตกใจกันมากเนื่องจาก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเม่ือ พ.ศ. ๒๓๖๓ และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ เคยเกิดอหิวาตกโรคครั้งใหญ่และมีผู้คนล้มตายลงมาก พระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพิธีทางศาสนาเพื่อป้องกันอหิวาตกโรค คือ พระราชพิธีอาพาธพินาศ โดยให้ยิงปืนใหญ่ขับไล่ความอัปมงคล และอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พร้อมด้วยพระบรมสารีริกธาตุออกแห่ไปท่ัวพระนคร นิมนต์พระภิกษุประพรมน้ำพระพุทธมนต์ไปตามทาง พระองคเ์ องก็ทรงรักษาศีลและโปรดเกลา้ ฯ ให้ขา้ ราชการหยดุ งานสวดมนตภ์ าวนาอยู่แต่ในบ้าน การระงับอหิวาตกโรคในคร้ังน้ี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการ รักษาพยาบาลแทนการทำพิธีทางศาสนาดังเช่นที่เคยทำมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ อธิบดีกรมหมอ ได้คิดปรุงยาฝรั่งรักษาโรคอยู่ ๒ ขนาน คือ “...เอายาวิสัมพญา ใหญ่ตามตำราไทยกับด้วยกอฮอล์ ทำเปนยาหยดในน้ำขนาน ๑ เอาการบูรทำเปนยาหยดเช่นนั้นเรียกว่า นำการบูรอีกขนาน ๑ สำหรับรักษาอหิวาตกโรค แลแนะนำให้ใช้การบูรโรยเสื้อผ้าเปนเครื่องป้องกันเชื้อโรค อีกอย่าง ๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสขอแรงเจ้านายแลข้าราชการผู้ใหญ่รับยาหลวงไปต้ังเปน ทำนองโอสถศาลาข้ึนตามวังแลบ้านหรือตามที่ประชุมชน รักษาราษฎรท่ัวทั้งพระนคร...” โรคอหิวาต์ท่ีเกิดขึ้น คร้ังน้ีระบาดอยู่ราว ๑ เดือนก็สงบ เมื่อสงบแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญทำด้วยทองสัมฤทธ์ิด้านหน่ึง อีกด้านหน่ึงเป็นรูปเทวดาถือพวงมาลัย มีตัวอักษรทรงขอบใจ พระราชทานเป็นบำเหน็จแก่ผู้ท่ีตั้งโอสถศาลา ท่วั กนั ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชกำหนด สุขาภิบาล กรุงเทพฯ ร.ศ. ๑๑๖” ให้มีหน่วยงานสุขาภิบาลซ่ึงมีภาระหน้าท่ีคือ กำจัดขยะมูลฝอย จัดส้วม สำหรับประชาชน ขนย้ายส่ิงโสโครกและควบคุมการสร้างบ้านเรือนที่อาจเป็นบ่อเกิดของโรคระบาด โดยให้ขึ้น อยู่กับกระทรวงเกษตรและภายหลังได้เปล่ียนมาอยู่ภายใต้กระทรวงนครบาล และโปรดเกล้าฯ ให้ต้ัง กรมสุขาภิบาลขึ้น ให้กระทรวงมหาดไทยจัดการสุขาภิบาลในหัวเมืองต่างๆ เริ่มที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัด สมุทรสาคร เป็นแห่งแรก ความสำเร็จของสุขาภิบาลท่าฉลอมเป็นผลให้กระทรวงมหาดไทยนำไปปฏิบัติ ในท่ีอ่ืนๆ โดยตรา “พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลหัวเมือง ร.ศ. ๑๒๗” มีการประกาศและตรากฎหมาย เก่ียวกับสุขาภิบาลหลายฉบับ เช่น ประกาศจัดการทำความสะอาดพระนคร ประกาศเกี่ยวกับการเผาศพ ตามวัดต่างๆ ห้ามทิ้งซากสัตว์ลงในท่ีสาธารณะ ห้ามขีดเขียนตามกำแพง ให้จัดการทำลายขยะมูลฝอย ฯลฯ และโปรดเกลา้ ฯ ใหต้ ราพระราชบญั ญัติปอ้ งกนั สัญจรโรค เป็นตน้ ในการป้องกันโรคระบาดแพร่จากต่างประเทศนั้น รัฐบาลก็มิได้ละเลย ในสมัยท่ีสมเด็จพระนางเจ้า เสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในคราวพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกเม่ือ พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น เกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) ที่เมืองซัวเถา ประเทศจีน เพื่อป้องกันมิให้โรคน้ีแพร่เข้าสู่ประเทศสยาม ในวันท่ี ๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๖ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศเร่ืองห้ามเรือมาจากซัวเถา ความวา่ 431
...กำปั่นสำเภาลำใดๆ ท่ีได้ออกจากเมืองซัวเถาก็ดี เมืองฮ่องกงก็ดี...ต้องให้หยุดอยู่ ท่ีเกาะไผ่ จนกว่าจะส้ินกำหนดเก้าวันนับตั้งแต่วันที่เรือลำนั้นๆ ได้ออกมาจากเมืองซัวเถา คร้ันเม่ือครบกำหนดเก้าวันน้ี ถ้าหมอผู้ตรวจได้ตรวจให้หนังสือสำคัญแก่เรือลำนั้นๆ ว่าไม่มี กาฬโรคฤๅโรคห่าเกดิ ขึ้นฤๅอยู่ในเรือนั้นแล้ว เรอื ลำน้ันจะเดินเขา้ มาในปากนำ้ ก็ได.้ .. โรคระบาดร้ายแรงอีกโรคหน่ึงในประเทศสยาม คือ กาฬโรค ซึ่งระบาดอยู่ทั่วโลกในเวลานั้น และยังไม่ค้นพบวัคซีนท่ีจะรักษาโรคน้ีได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้น่ิงนอนพระทัย นอกจากจะทรงว่าจ้างนายแพทย์ชาวต่างประเทศให้มาทำการบำบัดรักษาและหาวิธีป้องกันเพื่อมิให้ราษฎร ต้องเสียชีวิตด้วยโรคน้ี พระองค์ยังทรงคิดค้นถึงเหตุแห่งโรคและทรงพยายามกำจัดต้นเหตุของโรค ดังปรากฏ ในพระราชหัตถเลขาถึงกรมหม่ืนนเรศร์วรฤทธ์ิ เมื่อวันท่ี ๓๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๕ ทรงกล่าวถึงการกำจัด พาหะของโรค และการรักษาความสะอาดบ้านเรือน แม่น้ำลำคลอง โดยเฉพาะเม่ือกล่าวถึงน้ำในคลองหลอด พระองค์ทรงตั้งขอ้ สังเกตไวว้ ่า ...ฉันให้ติดใจคลองหลอดเสียแล้วเพราะเปนคลองน้ำไม่ไหลแรง มีเวลาแห้งเขิน อะไรๆ ก็ท้ิงลงในคลองทั้งส้ิน ถ้าใครเจอหนูตายทายว่าจะเอาไปข้างไหน ท่ีจะขุดหลุมฝัง ฤๅเผาหนูน้ัน ไม่มีเลย คงจะโยนลงคลองก็คงกินน้ำในคลองอยู่เสมอ มันจึงได้ลุกลาม ไปถงึ บา้ นกรมหลวงเทววงษ์ น่าจะลามไปตลอดลำคลอง...ขอให้คิดอ่านอย่านอนใจ… ในการป้องกันกาฬโรค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงแนะนำให้ดูตัวอย่าง วิธปี อ้ งกันโรคจากท่ีอ่ืนท่ีทำได้ผล ดังในพระราชหัตถเลขา “บันทกึ เก่ียวกบั การสขุ าภิบาล” เมื่อวนั ท่ี ๙ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๕ ถงึ กรมหลวงดำรงราชานุภาพวา่ ด้วยได้รับหนังสือท่ี ๓๔๔๙/๓๓๓๐๑ ลงวานน้ี เรื่องคนเปนไข้กาฬโรคท่ีตลาด พระปฐมเจดีย์ ว่าพระยาสุนทรบุรีได้ตรวจเหนที่เหล่าน้ันโสโครกมากเพราะไม่มีทางน้ำเน่า จะไหลไปลงคลองใหญ่ได้ ได้เรี่ยรายเงินจ้างจีนขุดท่อน้ำ ให้ไหลตกคลองใหญ่ แลจัดการ ชำระล้างสิ่งโสโครก บัดน้ี กาฬโรคได้สงบแล้วน้ันทราบแล้ว ล้างของโสโครกไปในคลอง มันยังกระไรอยู่ ท่ีไม่มีเหตุขึ้นช้ันน้ีก็เปนดีแต่ถ้าท่ีนั้นคงโสโครกต่อไปอีกแลของโสโครกน้ัน จะไหลลงคลองๆ ก็เปนท่ีน้ำไม่ไหล น่ากลัวจะมีอันตรายแผ่ซ่านได้มาก ขอให้ระวังให้ดี เหมือนอย่างที่โรงพยาบาลคลองสาร น้ำในท่อโรงพยาบาลเขากักไว้ทำลายตัวซีรัมหมด แล้วจึงค่อยปล่อยลงคลอง ขอให้พิจารณาในการรักษาดูให้ดีอย่าให้กลับพลาดไป เพราะทำ ด้วยความคิดไม่รอบคอบ... พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในสุขภาพพลานามัยของอาณาประชาราษฎร์ การบริโภคส่ิงท่ีเป็นพิษภัยต่อร่างกายจนนำความเส่ือมโทรมมาสู่ร่างกายและเป็นความเสียหายแก่บ้านเมือง เช่น การสูบฝ่ินซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษก็ทรงมีพระราชดำริให้เลิกเสีย ทั้งๆ ท่ีการยกเลิกสูบฝิ่นน้ัน เป็นการ กระทบกระเทือนต่อรายได้ของรัฐที่ได้จากภาษีฝ่ิน แต่พระองค์ก็ทรงคำนึงถึงประโยชน์สุขของราษฎรเหนือ ส่งิ อ่นื ใด ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ สมยั ที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เป็นเสนาบดีกระทรวงการคลงั 432
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เลิกตำแหน่งนายอากรผูกขาดภาษีฝ่ินเสีย นอกจากนี้ ยงั โปรดให้ออกประกาศหา้ มสบู ฝ่ิน ดงั ความวา่ ...ยังมีการอกี อยา่ งหนึ่งซ่ึงเราไดต้ ริตรองมาช้านาน คือ เร่ืองฝน่ิ เปนของให้โทษแก่ ผู้สูบ แลถ้าไพร่บ้านพลเมืองเปนคนติดฝ่ินเสียโดยมาก ความเสื่อมทรามก็จะมีแก่บ้านเมือง น้ัน ได้ตกลงที่จะแก้อากรฝ่ินให้เปนไปในทางที่จะให้คนสูบฝ่ินน้อยลง แลยอมให้ประโยชน์ แผน่ ดินทไี่ ดจ้ ากอากรฝ่ินค่อยลดลงโดยลำดบั จนห้ามขาดแลเลิกขาดไดเ้ ปนท่ีสุด… จากประกาศห้ามสูบฝิ่นและผสมฝิ่นเป็นยา พระราชบัญญัติกำหนดโทษผู้ทำฝิ่นเถ่ือน ในที่สุดโรงฝิ่น ในกรงุ เทพฯ กส็ ามารถยกเลิกไปไดถ้ ึง ๕๐๐ กวา่ แหง่ ในปลายรชั กาลของพระองค์ การพัฒนาการสาธารณสุขให้ทันสมัยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผล มาจากการเอาพระทัยใส่และการสนับสนุนของพระองค์ การส่งเสริมด้านการแพทย์และสุขอนามัยช่วยให้ราษฎร ท้ังในพระนครและหัวเมืองมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งมีโอกาสเข้าถึงการสาธารณสุขและได้รับประโยชน์สุขจากรัฐบาล เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็ได้รับการรักษาให้หาย จากอาการเจ็บป่วย การเสียชีวิตก็ลดน้อยลง ประเทศสยามในยุคของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเขา้ สู่สังคมแบบใหม่ที่มงุ่ ประโยชนแ์ ละความผาสกุ ของประชาชนเปน็ หลักสำคัญ การปลูกฝีไขท้ รพิษทีร่ อ้ ยเอด็ 433
๒๐ สาธารณปู โภคเพ่ือปวงประชา ...กรุงเทพมหานครเปนพระราชธานีที่ประชุมชนต้ังอยู่เปนอันมาก ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการศุขาภิบาลจัดการให้เปนประโยชน์ความศุข แลความ สดวกแก่ชนท้ังปวงข้ึนไว้แล้ว แต่การยังหาสำเร็จได้ดีดังพระราชประสงค์ไม่ เหตุด้วย ขาดสิ่งสำคัญคือ น้ำซ่ึงสำหรับจะบริโภคแลใช้สอยชำระล้างสิ่งซึ่งไม่สอาด เพ่ือบำบัด โรคภัยแลให้เจริญความศุขสำราญในพระนคร... (“ประกาศการสร้างประปา” ใน ประชุมกฎหมายประจำศก เล่ม ๒๓ ร.ศ. ๑๒๘) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริมการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ทันสมัย และมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับท่ีมีการดำเนินงานในต่างแดนที่พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตร เพราะทรงเห็นว่า เป็นประโยชน์แก่อาณาประชาราษฎร์ การสาธารณูปโภคที่สำคัญย่ิงในสมัยนี้ ได้แก่ การประปา การไฟฟ้า และการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค การประปา ใน พ.ศ. ๒๔๒๔ เกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพฯ อันเป็นผลมาจากการที่ประชาชนซึ่งส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ตามริมน้ำมักทิ้งขยะมูลฝอยและส่ิงโสโครกรวมท้ังน้ำเสียลงในแม่น้ำลำคลอง ทำให้เกิดโรคระบาดข้ึน ในฤดูแล้งอยู่เสมอเพราะประชาชนไม่สามารถหาน้ำดื่มที่สะอาดบริโภคได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัวทรงมพี ระราชดำริว่า ประเทศสยามควรมีน้ำสะอาดเพื่อใชใ้ นการอุปโภคและบริโภค ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ต้ัง “กรมสุขาภิบาล” เพื่อดำเนินการด้านสาธารณสุขในกรุงเทพฯ มีเจ้าพระยาเทเวศร- วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) เป็นอธิบดี ครั้นเม่ือเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ได้รับแต่งต้ังเป็นเสนาบดี กระทรวงเกษตร กรมสุขาภิบาลจึงไปสังกัดกระทรวงเกษตรด้วย ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์มีปัญหา ด้านสุขภาพต้องลาออกจากตำแหน่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้โอน 435
เจา้ พระยายมราช (ป้ัน สุขมุ ) กรมสุขาภิบาลไปขึ้นกับกระทรวงนครบาลซ่ึงมี เสนาบดกี ระทรวงนครบาลที่กำกับดูแลการประปา เจ้าพระยายมราช (ป้ัน สุขุม) เป็นเสนาบดีและให้ดูแล ด้าน “การประปา” อนึ่ง เพื่อบรรเทาปัญหาเรื่องโรคระบาดท ่ี เกิดจากการด่ืมและการใช้น้ำไม่สะอาดเป็นการถาวร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลดำเนินการจัดหาน้ำดื่มสำหรับ ประชาชนในกรุงเทพฯ กรมสุขาภิบาลได้มอบหมายให้ วศิ วกรประจำกรมคอื นายมาโฮเตีย (De la Mahotia) ชาวฝร่ังเศสเป็นผู้ดำเนินการ นายมาโฮเตียเสนอให้ นำน้ำท่ีสูบจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลเชียงรากน้อย แขวงเมืองปทุมธานี มากรองใช้ แต่โครงการนไี้ ปซอ้ น กบั โครงการของนายแวน เดอ ไฮเด (Van der Heide) อธิบดีกรมคลอง ที่มีแผนงานขุดคลองเป็นทางระบาย น้ำจืดจากภาคกลางตอนบนลงมากรุงเทพฯ อยู่แล้ว ใน พ.ศ. ๒๔๔๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัวจึงทรงตัดสินพระทัยให้ทั้ง ๒ หน่วยงาน ร่วมมือกันจัดน้ำจืดมาใช้ โดยปิดทำนบท่ีเมืองชัยนาท และขุดคลองสายตะวันออกเพ่ือส่งน้ำลงมาถึงคลอง สามเสน แล้วให้กรมคลองขุดคลองจากเชียงราก มาถึงโรงสูบน้ำท่ีคลองสามเสน ส่วนกรมสุขาภิบาล ทำโรงกรองน้ำและฝังท่อต่อถังจ่ายน้ำไปท่ัวพระนคร โครงการนีไ้ ดร้ บั การขนานนามวา่ “การประปา” 436
แผนที่แสดงเขตทดนำ้ บรเิ วณเชยี งรากนอ้ ย จังหวดั ปทุมธาน ี 437
ข้าราชการการประปา ณ โรงกรองน้ำสามเสน การประปาเร่ิมดำเนินการใน พ.ศ. ๒๔๕๑ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มพี ระบรมราชโองการประกาศการสรา้ งประปา เมอื่ วนั ท่ี ๑๓ กรกฎาคม รตั นโกสนิ ทรศก ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) ความว่า ...บัดน้ีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศุขาภิบาลจัดการที่จะนำน้ำมาใช้ใน พระนครตามแบบอย่างที่สมควรแก่ภูมิประเทศเห็นว่าจะทำการสำเร็จตลอดได้ ด้วยใช้ เงินทุนประมาณ ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาทเศษ จึงนำความข้ึนกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบ ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงพระราชดำริห์เห็นชอบแล้ว จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใหก้ รมศขุ าภิบาลเรม่ิ จัดการนำน้ำมาใช้ในพระมหานครโดยกำหนดทีจ่ ะกลา่ วตอ่ ไปน้ี ๑. ให้ต้ังทำท่ีขังน้ำที่คลองเชียงรากแขวงเมืองประทุมธานีอันเปนที่พ้นเขตร นำ้ เค็มจะขึน้ ถงึ ทุกฤดกู าล ๒. ให้ขุดคลองแยกจากที่ขังน้ำนั้น สำหรับให้น้ำเดิรมาตามลำคลอง เมื่อลำคลอง ที่ขุดสายน้ำมานี้ ผ่านคลองเดิมแห่งใดให้ใช้ท่อเหล็กฝังลอดมาใต้คลอง เพ่ือจะมิให้น้ำใน 438
คลองเดิรปนกับสายน้ำท่ีจะนำมาใช้น้ัน ลำคลองน้ีตัดตรงมาจากลำน้ำเชียงรากทิศตวันตก ของทางรถไฟนครราชสีมาจนถึงคลองบางซื่อ ต่อนั้นมาคลองหักเลี้ยวไปข้างทิศตวันออก ของทางรถไฟถงึ ฝั่งคลองสามเสนขา้ งเหนือ ๓. จะตั้งโรงสูบข้ึนณที่น้ัน เพื่อจะได้สูบน้ำข้ึนในที่ขังน้ำแลกรองให้น้ำใสบริสุทธ์ิ ปราศจากส่ิงซ่ึงจะเปนท่ีต้ังแห่งโรคภัยต่างๆ ตามควร จะได้จำหน่ายลำน้ำจากที่น้ีไปโดยท่อ ยงั ถงั ใหญซ่ ง่ึ จะไดต้ งั้ ไวพ้ ระนคร ณ ทอ่ี นั สมควร แลว้ จำหนา่ ยนำ้ ไปยงั ทตี่ า่ งๆ โดยทอ่ ทแ่ี ยกยา้ ย ไปตามผู้ท่ตี อ้ งประสงค์ ๔. กิจการท่ีจะนำน้ำมาใช้ในพระนครนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกตาม ภาษาสันสกฤต เพ่ือจะให้เปนคำสั้นว่า “การประปา” ให้เสนาบดีกระทรวงนครบาลจัดการ ในเร่ืองท่ีดิน แลกำหนดทางกำหนดการที่จะทำ เพื่อให้การประปานี้แล้วสำเร็จความคิด ซึ่งไดท้ รงพระราชดำรหิ เ์ ห็นชอบแลว้ นน้ั ทุกประการ ด้วยเหตุน้ี จึงมีการดำเนินการด้านการประปาในกรุงเทพฯ ขึ้นเป็นครั้งแรก ภายหลังได้ขยายกิจการ ต่อไปในส่วนภูมิภาค ส่งผลให้การประปากลายเป็นกิจการด้านสาธารณูปโภคที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ของคนไทยมาจนถงึ ปัจจบุ ัน สำนักงานประปากรุงเทพฯ ถนนจักรพรรดิพงษ์ (สแี่ ยกแมน้ ศร)ี 439
การไฟฟา้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลด้วยเห็นว่าไฟฟ้าเป็น พลังงานท่ีสำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก เมื่อทรงมีโอกาสเสด็จประพาสต่างประเทศได้ทอดพระเนตร กิจการไฟฟ้า และทรงเห็นคุณประโยชน์มหาศาลที่เกิดจากการมีไฟฟ้าใช้ พระองค์ทรงริเร่ิมให้มีการใช้ไฟฟ้า ข้ึนในพระราชอาณาจักรโดยใน พ.ศ. ๒๔๒๗ ทรงมอบหมายให้เจ้าพระยาสุรศักด์ิมนตรี (เจิม แสงชูโต) ซ่ึงขณะนน้ั เป็นเจา้ หมน่ื ไวยวรนาถ เป็นผู้นำเครอ่ื งกำเนดิ ไฟฟา้ มาใชเ้ ปน็ คนแรก ใน พ.ศ. ๒๔๓๓ มีการต้ังโรงไฟฟ้าท่ีวัดเลียบหรือวัดราชบูรณะ อีก ๓ ปีต่อมารัฐบาลได้โอนกิจการ ให้บริษัทอเมริกันช่ือ แบงค็อค อิเลคตริกซิตี้ ซินดิเคท ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านน้ีเข้ามาดำเนินงานต่อ และในปี ถัดไป บริษัทเดนมาร์กได้เข้ามาตั้งโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าเพ่ือใช้ในการเดินรถรางที่บริษัทได้รับสัมปทาน การเดินรถในเขตพระนคร ต่อมาบริษัทต่างชาติท้ังสองได้ร่วมกันรับช่วงงานจากเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ก่อต้ังเป็น บริษัทไฟฟ้าสยามขนึ้ ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ นับเป็นการบุกเบิกไฟฟ้าครง้ั สำคญั ในประวัติศาสตร์ไทย ตามประกาศของกระทรวงโยธาธิการ เมื่อวันท่ี ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๙ แจ้งว่า พระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ตง้ั กรมไฟฟา้ หลวงขน้ึ อยใู่ นบงั คบั ของกระทรวงโยธาธกิ าร กรมไฟฟ้าเริ่มดำเนินการด้านไฟฟ้ามาต้ังแต่เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๓๗ แต่ในเวลานั้นวัสดุอุปกรณ์ยังไม่ครบ บรบิ รู ณ์ และตอ้ งเตรียมปกั เสาไฟในพน้ื ท่ีต่างๆ ดว้ ย ตอ่ มาใน พ.ศ. ๒๔๓๘ กรมไฟฟา้ หลวงไดด้ ำเนนิ การพอ ที่จะเปิดใช้ไฟฟ้าได้บ้าง และได้เปิดใช้เป็นลำดับมาถึงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๓๙ ไฟฟ้าที่ได้เปิดใช้ในท่ีต่างๆ เช่นในพระบรมมหาราชวัง รวมใช้ไฟฟ้าถึง ๒๒๒ ดวง การใช้ไฟฟ้ามีมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไปตาม สถานที่ ต่อมากระทรวงโยธาธิการมีนโยบายจะติดไฟตามสถานท่ีสาธารณะต่างๆ ที่สำคัญคือบริเวณพ้ืนท ่ี รมิ ถนนหลวง ดงั ประกาศท่วี า่ ...แต่บดั นี้กระทรวงโยธาธิการ มาดำรหิ ์เหน็ ว่า ตามถนนใหญๆ่ ซงึ่ เปนทีป่ ระชมุ ชน เดินไปมามาก ควรต้องรีบจัดการทำในถนนเหล่าน้ัน ก่อนบ้านของเอกชน เพื่อจะได้รักษา อันตรายของมหาชนท่ัวไปได้สดวก แม้ว่าได้จัดการไฟฟ้าข้ึนในที่สำคัญต่างๆ ได้ตลอดแล้ว จะได้ลงมือจัดการไฟฟ้าไปตามบ้านเรือนของผู้ที่มาร้องขอเช่าซึ่งเปนจำนวนย่อยๆ น้ันต่อไป ฤๅผู้ที่ได้ต้ังบ้านเรือนอยู่ใกล้กับทางสายไฟฟ้าซึ่งได้ต้ังอยู่แล้วนั้น ถ้าต้องการจะขอให้ติดไป ที่เรือนของตน ถ้ากรมไฟฟ้าเหนว่าพอกับประโยชน์ที่จะลงทุนทำไปได้ ก็จะทำไปให้ตาม ประสงค์ก่อน... การติดต้ังไฟฟ้าริมถนนในเขตพระนครนับเป็นการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก ่ ราษฎรเพราะช่วยให้ราษฎรสามารถเดินทางในเวลาค่ำคืนได้ ในเวลาต่อมามีการขยายการบริการด้านไฟฟ้า ไปจนถึงครัวเรือนของราษฎรท้ังในพระนครและส่วนภูมิภาค ทำให้ชาวไทยมีมาตรฐานการดำรงชีวิตท ่ี สะดวกสบายเชน่ เดยี วกบั ประเทศอ่นื ๆ ทีม่ ีการพัฒนาดา้ นสาธารณูปโภคแลว้ 440
การบำรุงรกั ษาสาธารณสขุ และสาธารณูปโภค หลังจากมีการขุดคลอง สร้างสะพาน และถนนในพระนครแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. ๑๑๖ เพื่อให้มีบทกำหนดครอบคลุมถึง การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ตลอดจนการทำนุบำรุงสาธารณูปโภค ท้ังหลาย ท้ังยังโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมสุขาภิบาลเป็นหน่วยงานสำคัญในการดูแลรักษาส่ิงปลูกสร้างและ สาธารณปู โภค ตลอดจนมีประกาศสุขาภิบาลตามมาหลายฉบับเชน่ ๑. ประกาศกรมสุขาภิบาล วันท่ี ๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๗ ตักเตือนไม่ให้ประชาชนปลูกเพิง หรือวางสิ่งของกีดขวางทางรถม้าและคนเดิน ห้ามทำความสกปรก เทส่ิงโสโครก หรือถ่ายอุจจาระบนถนน ผู้ฝา่ ฝืนนอกจากจะถูกปรับแล้วยงั อาจถกู จบั ตัวสง่ ใหศ้ าลพจิ ารณาโทษตามพระราชบัญญัติด้วย ๒. ประกาศจัดการสะอาดในจังหวัดพระนคร วนั ท่ี ๒๒ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๗ ๓. ประกาศกรมสขุ าภบิ าล เรอ่ื ง จดั การบา้ นเรอื นใหส้ ะอาด วนั ที่ ๑ กมุ ภาพนั ธ์ ร.ศ. ๑๒๓ เพอื่ ปอ้ งกนั โรคกาฬโรคทกี่ ำลังระบาดอย่ ู พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราโชบายและพระราชดำริ ว่ากรมสุขาภิบาลจะต้องดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้อยู่ในสภาพดี หมั่นตรวจตราซ่อมแซมถนนและ คูคลองให้อยู่ในสภาพดีและสะอาดเรียบร้อย เพ่ือป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนและทรัพย์สินของรัฐ นอกจากนั้น ในการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างสาธารณูปโภคมักมีเร่ืองขัดแย้งระหว่างกระทรวงโยธาธิการกับ กระทรวงนครบาลเนื่องจากเม่ือกระทรวงโยธาธิการขุดคลองหรือสร้างถนน ชาวบ้านท่ีเดือดร้อนมักจะร้องเรียน กระทรวงนครบาลซ่ึงรับผิดชอบในด้านความสงบเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง โปรดเกล้าฯ ให้ออกกฎหมายเวนคืนที่ดินซ่ึงกำหนดลักษณะของท่ีดิน เช่น หากเป็นท่ีว่างเปล่าไม่ใช้ประโยชน์ หรือมีมากเกินความจำเป็นก็ไม่ต้องชดเชยค่าท่ีดิน หากมีความจำเป็นไม่มากนักก็จ่ายค่าท่ีดินพอสมควร หากเป็นท่ีดินซ่ึงมีราคาก็จะกำหนดไว้ว่าให้รัฐซื้อท่ีดินน้ันแล้วตัดถนน เมื่อที่ดินมีราคาก็จะขายให้เจ้าของที่ดิน เดิมในราคาท่ีเหมาะสม เงนิ ท่ไี ด้นัน้ ให้เกบ็ ไวข้ ยายสาธารณปู โภคต่อไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเอาพระทัยใส่ในเร่ืองการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค อย่างจริงจัง แม้บางเร่ืองท่ีเจ้าหน้าท่ีเห็นว่าเป็นเร่ืองเล็กน้อยและมองข้ามไปหรือมิได้ดูแลให้ท่ัวถึง ก็จะทรง ย้ำเตือนอยู่เนืองๆ ดังเช่นเมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลราชบุรีเม่ือเดือนกันยายน ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) ทรงแวะตลาดปฐมเจดีย์ ท่ีเมืองนครปฐม ได้ทอดพระเนตรเห็นความสกปรกก็ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ให้ปรับปรุงแก้ไขเสีย ดังในพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เม่ือวันที่ ๗ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘ ใจความตอนหนึง่ ว่า 441
...เมื่อถึงปฐมเจดีย์ ได้แวะไปดูตลาดทั้ง ๒ ข้าง เห็นติดแน่นหนาบริบูรณ์เกือบจะ ว่าตลาดไหนสู้ไม่ได้ แต่พ้ืนยังเปนโคลนลุ่มดอนต้องโรยแกลบ จะต้องคิดจัดการใหม่ให้ สะอาดขึ้น ส่วนถนนเปนของสุขาภิบาลก็ยังไม่ได้ถมหิน เห็นว่าเปนการสมควรแท้ที่จะต้อง ถมหนิ อย่างราชบรุ ี แล้วแต่การท่ีจะกระทำนัน้ ถ้าทำใหม้ ่นั คงคือมีหนิ เปนอับเฉาหินก้อนย่อย แล้วจึงโรยละเอียด ซึ่งต้องลงทุนมากแต่ทนทานนั้นจะดีกว่าท่ีจะรีบโรยให้ทั่วไปทุกถนน เพราะท่ีปฐมเจดีย์ถึงถนนไม่ได้โรยหินก็แห้งเร็วรถไม่มีก่ีคัน ถ้าทำเสียให้ดี ถึงจะได้ทีละน้อย คงจะทนไปไดต้ ้งั ๑ ปี... ตลาดนครปฐมในรัชสมยั พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัว 442
แนวพระราชดำริและพระราโชบายในการทำนุบำรุงความเป็นอยู่ของราษฎรท่ีปรากฏในการจัดการ ด้านสาธารณูปโภคในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งในเขตพระนครและหัวเมือง ต่างๆ สะท้อนถึงน้ำพระทัยที่เปี่ยมล้นด้วยความรักและเอาใจใส่ทุกข์สุขของราษฎรทุกหมู่เหล่าเสมอกัน พระราชกรณียกิจในด้านนี้กลายเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาสาธารณูปโภคท่ีปวงชนชาวไทยได้ตระหนัก ในพระมหากรณุ าธคิ ณุ อยู่ตราบจนปัจจบุ ัน 443
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 497
- 498
- 499
- 500
- 501
- 502
- 503
- 504
- 505
- 506
- 507
- 508
- 509
- 510
- 511
- 512
- 513
- 514
- 515
- 516
- 517
- 518
- 519
- 520
- 521
- 522
- 523
- 524
- 525
- 526
- 527
- 528
- 529
- 530
- 531
- 532
- 533
- 534
- 535
- 536
- 537
- 538
- 539
- 540
- 541
- 542
- 543
- 544
- 545
- 546
- 547
- 548
- 549
- 550
- 551
- 552
- 553
- 554
- 555
- 556
- 557
- 558
- 559
- 560
- 561
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 500
- 501 - 550
- 551 - 561
Pages: