Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore tripitaka_41

tripitaka_41

Published by sadudees, 2017-01-10 01:15:40

Description: tripitaka_41

Search

Read the Text Version

พระสุตตันตปฎ ก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาที่ 129 แกอรรถ บรรดาบทเหลานั้น บทวา อปปฺ มตฺโต คอื มีประมาณนิดหนอ ย.สองบทวา โย จ สลี วต ความวา สวนกล่นิ ศลี ของผูมีศลี ท้ังหลายใด. กลน่ิ ศลี นน้ั หาเปน กลนิ่ เล็กนอ ย เหมือนกลิ่นในกฤษณาและจนั ทนแ ดงไม คอื เปน กล่นิ อันโอฬาร แผซ า นไปเหลือเกนิ , ดว ยเหตุนน้ั แล กล่นิ ศีล จงึ เปน กลนิ่ สงู สุด คอื ประเสรฐิ เลศิ ฟงุ ไปในเหลา เทพเจาและเหลามนุษย คือฟุงไปในเหลา เทพเจา และเหลา มนษุ ยไดแ กห อมตลบทว่ั ไปทีเดยี ว. ในเวลาจบเทศนา ชนเปนอันมากบรรลุอรยิ ผลท้ังหลาย มีโสดา-ปต ตผิ ลเปน ตน . เทศนาเกิดประโยชนแกม หาชนแลว ดงั นีแ้ ล. เร่อื งถวายบณิ ฑบาตแกพ ระมหากัสสปเถระ จบ.

พระสุตตนั ตปฎก ขทุ ทกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 130 ๑๑. เรือ่ งปรนิ ิพพานของพระโคธิกเถระ [๔๓] ขอความเบือ้ งตน พระศาสดา เมอ่ื เสดจ็ เขาไปอาศยั กรุงราชคฤห ประทับอยใู นพระ-เวฬุวนั ทรงปรารภการปรินิพพานของพระโคธกิ เถระ ตรสั พระธรรม-เทศนานว้ี า \"เตส สมฺปนนฺ สลี าน \" เปนตน . พระเถระคดิ ฆา ตนเพราะเสื่อมจากฌาน ความพสิ ดารวา ทานผูมีอายุนนั้ อยใู กลถํ้ากาฬสิลาขา งภเู ขาอิสคิ ิลิเปน ผไู มประมาท มีความเพียร มีตนสงไปแลว ถูกตองเจโตวมิ ตุ ติอนั เกิดขึ้นในสมัย (เกิดเปนครงั้ คราว) เสื่อมจากเจโตวมิ ุตตินนั้ ดวยอํานาจแหงโรคชนิดหน่งึ อันเร้อื รัง. ทา นยงั ฌานท่ี ๒ บาง ท่ี ๓ บางใหเ กิดขึน้ ถงึ ๖ คร้ัง แลว กเ็ สือ่ ม ในวาระท่ี ๗ ใหเ กิดขนึ้ แลว คิดวา\"เราเส่อื มจากฌานถงึ ๖ ครง้ั แลว, ก็คตขิ องผูมีฌานเสื่อมแลวแล ไมแ น-นอน, คราวนีแ้ ล เราจกั นําศสั ตรามา\" ดงั นีแ้ ลว จึงถือมีดสาํ หรบัปลงผม นอนบนเตยี งนอ ย เพื่อจะตดั กานคอแลว . มารทูลใหพระศาสดาทรงทราบ มารรูจิตของทานแลวคดิ วา \"ภิกษนุ ้ี ใครจ ะนําศสั ตรามา;กแ็ ล ภกิ ษุทงั้ หลายเมื่อนาํ ศัสตรามา ยอ มเปน ผหู มดความอาลยั ในชวี ติ ,ภิกษเุ หลาน้ันเรม่ิ ตง้ั วปิ ส สนาแลว ยอมบรรลุพระอรหตั ได, ถาเราจกั หา มภกิ ษุน้ัน; เธอจักไมทําตามคําของเรา, เราจกั ทูลใหพ ระศาสดาหา ม\"

พระสุตตนั ตปฎ ก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 131ดังนี้แลว จงึ เขา ไปเฝาพระศาสดา ดว ยเพศทีค่ นอ่นื ไมร ูจัก กราบทูลอยางนนั้ วา๑:- \"ขา แตพระมหาวีระ ผูมบี ุญมาก รุงเร่ืองดวย ฤทธ์ิ ดว ยยศ ลว งเสยี ไดซ งึ่ เวรและภยั ทั้งปวง ผมู ีจกั ษุ ขาพระองคขอถวายบงั คมพระบาททง้ั สอง. ขา แตพ ระมหาวีระ สาวกของพระองค อนั ความตาย ครอบงาํ ยอมจํานง คิดถงึ ความตาย, ขาแตพระองค ผูทรงไวซ ่งึ ความรงุ เรอื่ ง ขอพระองคจ งทรงหา มพระ- สาวกนน้ั , ขา แตพระผมู พี ระภาคเจา ผูปรากฏในหมชู น สาวกของพระองคย ินดีแลว ในศาสนา (แต) มีธรรม มใี นใจยงั มไิ ดบรรลุ ยงั เปน ผูจะตอ งศึกษา จะพงึ ทาํ กาละเสยี อยา งไรเลา ?\" มารแสวงหาวิญญาณของพระโคธิกะ ในขณะน้ัน พระเถระนําศสั ตรามาแลว. พระศาสดาทรงทราบวา\" ผูน ี้ เปน มาร \" จงึ ตรสั พระคาถาน้วี า:- \"ปราชญทั้งหลายยอมทําอยา งนนั้ แล ยอ มไม จํานงชวี ติ , โคธกิ ะ ถอนตณั หาข้นึ พรอมทั้งราก ปรนิ พิ พานแลว .\" ครั้งน้นั แล พระผูมพี ระภาคเจา ไดเสดจ็ ไปสทู ่พี ระเถระนําศัสตรามานอนอยูแลว พรอ มดว ยภกิ ษเุ ปน อันมาก. ขณะน้ัน มารผลู ามกคดิ วา\" ปฏิสนธิวิญญาณของพระโคธกิ ะน้ี ตั้งอยูแลว ในทไ่ี หนหนอแล ?\"๑. ส . ส. ๑๕/๑๗๗.

พระสตุ ตันตปฎ ก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ท่ี 132ดงั น้ีแลว เปน ดุจกลมุ ควันและกอนเมฆ แสวงหาวิญญาณของพระเถระในทศิ ท้ังปวง. พระผมู พี ระภาคเจา ทรงแสดงความท่ีมารน้นั เปนควนัและกอ นเมฆน้ัน แกภกิ ษุทงั้ หลายแลว ตรสั วา \"ภิกษทุ ้งั หลาย มารผูลามกนน่ั แล แสวงหาวิญญาณของกุลบุตรชื่อโคธิกะอยู ดวยคิดวา'วิญญาณของกุลบตุ รชอ่ื โคธิกะต้ังอยูแ ลว ณ ที่ไหน ?' ภกิ ษุทงั้ หลายกุลบุตรชอ่ื โคธกิ ะมีวญิ ญาณไมตัง้ อยูเลย ปรนิ พิ พานแลว.\" แมมารเมอ่ื ไมอ าจเห็นทตี่ ั้งวิญญาณของพระโคธกิ ะน้นั ได จึงแปลงเพศเปน กมุ ารถือพณิ มีสเี หลอื งดจุ ผลมะตมู เขาไปเฝา พระศาสดา ทูลถามวา :- \" ขาพระองคเ ท่ียวแสวงหาอยู ในทิศเบอ้ื งบน เบือ้ งต่าํ เบือ้ งขวาง ทศิ ใหญ ทิศนอ ย ก็มิได ประสบ, พระโคธิกะนัน้ ไปแลว ณ ทีไ่ หน ?\" ครง้ั น้นั พระศาสดาตรัสกะมารนนั้ วา :- \" ภกิ ษชุ ่อื โคธิกะ เปน ปราชญ สมบูรณด วย ปญญาเครื่องทรงจาํ มีณาน ยินดีแลวในณาน ในกาลทุกเม่ือ ประกอบความเพียรทงั้ กลางวนั กลางคืน ไมไ ยดีชีวิต ชนะเสนาแหง มจั จุไดแ ลว ไมม าสูภพอีก ถอนตณั หาพรอมทัง้ ราก ปรนิ ิพพาน แลว. \" เม่อื พระศาสดาตรสั อยา งน้ันแลว, พณิ ไดพลัดตกจากรักแรข องมารน้นั ผอู ันความโศกครอบงาํ ลําดับนน้ั ยกั ษน้ันเสียใจ ไดหายไปในทนี่ น้ันนั่ เอง ดวยประการฉะนี้.

พระสตุ ตนั ตปฎ ก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ท่ี 133 แมพ ระศาสดา ตรัสวา \"มารผูลามก เจา ตองการอะไรดว ยสถานที่กลุ บุตรชื่อโคธกิ ะเกดิ แลว. เพราะคนอยา งเจา ต้ังรอ ย ต้ังพนักไ็ มอาจจะเห็นท่ีท่ีโคธกิ ะน้ันเกิด\" ดังน้ีแลว ไดตรสั พระคาถานี้วา :- ๑๑. เตส สมปฺ นนฺ สีลาน อุปฺปมาทวหิ าริน สมมฺ ทฺ า วมิ ุตฺตาน มาโร มคฺค น วินทฺ ติ. \"มาร ยอ มไมป ระสบพางของทานผูม ศี ลี ถงึ พรอมแลว มปี กตอิ ยูดว ยความไมป ระมาท พนวเิ ศษ แลว เพราะรชู อบ เหลา น้ัน. แกอรรถ บรรดาบทเหลานน้ั บทวา เตส คือ แหง ทานท่ปี รินพิ พานเหมอื นอยางกุลบุตรชือ่ โคธกิ ะ มีวญิ ญาณไมตัง้ อยู ปรนิ ิพพานแลว ฉะนั้น บทวา สมปฺ นนฺ สีลาน คอื ผูมีศลี บรบิ ูรณแ ลว . บทวา อปปฺ -มาทวหิ าริน คอื ผูอยดู วยความไมประมาท กลา วคือ ความไมอยูปราศจากสติ. บาทพระคาถาวา สมฺมทฺา วมิ ตุ ตฺ าน ความวา ผพู น วิเศษแลว ดวยวิมตุ ติ ๕ เหลานนั้ คอื \"ตทังควมิ ตุ ติ วกิ ขมั ภนวมิ ตุ ติ สมจุ -เฉทวมิ ตุ ติ ปฏิปสสทั ธิวิมตุ ติ นสิ สรณวิมุตต\"ิ เพราะรโู ดยเหตุ คือโดยนัย โดยการณ. บาทพระคาถาวา มาโร มคิค น วินฺทติ ความวา มารแมแสวงหาอยู โดยเตม็ กําลัง ยอ มไมป ระสบ คือยอมไมไดเฉพาะ ไดแกยอมไมเห็น ทางแหงพระมหาขีณาสพทั้งหลาย ผูเหน็ ปานน้ี ไปแลว .

พระสุตตนั ตปฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 134 ในเวลาจบเทศนา ชนเปนอันมากบรรลุอรยิ ผลทงั้ หลาย มโี สดา-ปต ตผิ ลเปนตน แลว . เทศนามีประโยชนแ กม หาชน ดงั นแ้ี ล. เรื่องปรนิ พิ พานของพระโคธกิ เถระ จบ.

พระสตุ ตันตปฎก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ที่ 135 ๑๒. เคร่อื งครหทนิ น [๔๔] ขอความเบื้องตน พระศาสดา เม่อื ประทบั อยใู นพระเชตวัน ทรงปรารภสาวกของนิครนถ ชื่อครหทินน ตรัสพระธรรมเทศนานวี้ า \"ยถา สงฺการ-ธานสมฺ ึ\" เปน ตน . เปนสหายกนั แตเ ล่อื มใสวตั ถุไมต รงกนั ความพิสดารวา ในกรงุ สาวัตถี ไดมชี นผูเปนสหายกนั สองคนคือ สิรคิ ตุ ต ๑ ครหทนิ น ๑. ในสองคนนั้น สิริคตุ ตเปน อุบาสก,ครหทินนเ ปน สาวกของนคิ รนถ. พวกนิครนถ ยอมกลา วกะครหทินนนน้ั เนือง ๆ อยา งนีว้ า \"การที่ทา นพดู กะสิรคิ ตุ ต ผูส หายของทา นวาทานเขาไปหาพระสมณโคดมทาํ ไม ? ทานจกั ไดอ ะไร ในสํานกั ของพระสมณโคดมนนั้ ? ' ดงั นแี้ ลว กลาวสอนโดยอาการท่ีสิรคิ ตุ ตเ ขามาหาพวกเราแลว จกั ใหไทยธรรมแกพวกเรา จะไมควรหรือ ?\" ครหทินนฟงคําของนคิ รนถเหลานน้ั แลว กห็ มัน่ ไปพดู กะสิรคิ ุตต\" ในท่ีท่เี ขายนืและนัง่ แลว เปนตน อยางนว้ี า \"สหาย ประโยชนอะไรของทา นดว ยพระสมณโคดมเลา ? ทา นเขา ไปหาพระสมณโคดมน้นั จักไดอ ะไร ? การทที่ า นเขาไปหาพระผูเปน เจา ของเราแลว ถวายทานแกพ ระผเู ปน เจาเหลานนั้ จะไมค วรหรือ ?\" สริ ิคตุ ตแมฟงคําของครหทนิ นนัน้ กน็ ิง่ เฉย

พระสุตตันตปฎก ขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ที่ 136เสียหลายวนั ราํ คาญแลว วนั หนึง่ จงึ พูดวา \"เพือ่ น ทา นหมัน่ มาพดูกะเราในท่ีทยี่ ืนแลว เปน ตน อยา งน้วี า 'ทา นไปหาพระสม โคคมแลวจกั ไดอะไร ? ทา นจงเขาไปหาพระผเู ปน เจา ของเรา ถวายทานแกพระผูเปน เจาเหลา นนั้ . ทา นจงบอกแกเ รากอ น. พระผูเปน เจาทงั้ หลายของทานยอมรูอะไร ?\" ครหทินน. \"โอ ! นาย ทานอยาพูดอยางนี้ ข้นึ ชอ่ื วา สิ่งท่พี ระ-ผูเ ปน เจาท้ังหลายของเรา จะไมรไู มม ,ี พระผเู ปนเจาท้ังหลาย ยอ มรูเ หตุทีเ่ ปน อดีต อนาคต และปจจุบนั ทง้ั หมด, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทัง้ หมด, ยอ มรเู หตทุ ค่ี วรและไมค วรทง้ั หมดวา 'เหตุนี้ จกั มี, เหตนุ ้ีจกั ไมม ี.' สริ คิ ตุ ต. ทานพดู วา 'พระผเู ปนเจาของทา น ยอมร'ู ดังน้ีมใิ ชห รอื ? ครหทนิ น. ขา พเจาพูดอยางน้นั . สิริคตุ ต. ถาเมื่อเปนเชน นัน้ , ทา นไมบ อกเนอ้ื ความน้ีแกขาพเจาตลอดกาลประมาณเทา นี้ นบั วาทาํ กรรมหนกั แลว, วนั นี้ ขาพเจาทราบอานภุ าพแหงญาณของพระผูเปน เจาทัง้ หลายแลว , จงไปเถิดสหาย, จงนิมนตพ ระผูเปนเจาทงั้ หลาย ตามคาํ ของขา พเจา. ครหทินนน้ันไปสาํ นักของพวกนิคร้นั ถ ไหวนิครนถเ หลานน้ั แลวกลาววา \" สริ คิ ตุ ตส หายของขาพเจา นมิ นตเพอ่ื ฉันวนั พรงุ นี.้ \" นคิ รนถ. สิริคุตตพูดกะทา นเองหรอื ? ครหทินน. อยา งนั้น พระผูเ ปนเจา . นคิ รนถเหลา นั้นราเรงิ ยินดีแลว กลา วแลววา \" กจิ ของพวกเรา

พระสุตตันตปฎก ขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 137สาํ เรจ็ แลว , จาํ เดมิ แตก าลท่สี ิรคิ ตุ ตเ ลอื่ มใสในพวกเราแลว สมบตั ชิ ื่ออะไร จักไมมแี กพ วกเรา ?\" ทอ่ี ยู แมของสิรคิ ตุ ตกใ็ หญ. สริ คิ ุตตเ ตรียมรับรองนคิ รนถ สริ ิคุตตน ้นั ใหค นขดุ หลุมยาว ๒ ขา ง ในระหวา งเรือน ๒ หลงันนั้ แลว ก็ใหเ อาคูถเหลวใสจ นเตม็ , ใหต อกหลกั ไวใ นท่สี ุด ๒ ขา งภายนอกหลุม ใหผ กู เชอื กไวท ห่ี ลักเหลา นนั้ ใหต้งั เทาหนา ของอาสนะทัง้ หลายไวบนเบื้องบนหลุม ใหตง้ั เทา หลังไวที่เชอื ก สาํ คัญอยวู า \"ในเวลาท่นี งั่ แลวอยางนน้ั แล พวกนคิ รนถจ ักมหี วั ปกตกลง.\" ใหค นลาดเครื่องลาดไวเบอ้ื งบนอาสนะท้งั หลาย โดยอาการทีห่ ลุมจะไมป รากฏ. ใหคนลา งตุม ใหญ ๆ แลว ใหผูกปากดวยใบกลว ยและผา เกา ทาํ ตุมเปลาเหลานน้ั แล ใหเ ปอ นดว ยเมล็ดขา วตม ขาวสวย เนยใส น้ําออยและขนมในภายนอกแลว ใหต ัง้ ไวขา งหลังเรอื น. ครหทนิ นร บี ไปเรือนของสริ ิคตุ ตน ้ันแตเชาตรูแลว ถามวา \"ทานจัดแจงสักการะเพอ่ื พระผเู ปนเจา ท้ังหลายแลว หรือ ?\" สริ คิ ตุ ต. เออ สหาย ขา พเจาจดั แจงแลว. ครหทินน. กส็ ักการะน่ันอยไู หน ? สริ คิ ุตต. ขา วตมในตุมทั้งหลายน่นั ประมาณเทาน้ี, ขา วสวยในตมุประมาณเทา น,้ี เนยใส น้าํ ออย ขนม เบอื้ งตน ในตุมประมาณเทาน้ีอาสนะปไู วแลว . ครหทินนนั้นกลา ววา \" ดลี ะ\" แลวกไ็ ป. ในเวลาทคี่ รหทนิ นนั้นไปแลว พวกนคิ รนถประมาณ ๕๐๐ กม็ า. สริ คิ ตุ ตอ อกจากเรือน

พระสุตตนั ตปฎก ขทุ ทกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 138ไหวพ วกนคิ รนถด วยเบญจางคประดษิ ฐแ ลว ยืนประคองอัญชลอี ยูเบือ้ งหนา ของนิครนถเ หลา น้นั คิดวา \"นัยวา ทา นทั้งหลาย ยอมรเู หตุทกุ อยาง ตา งโดยเปนเหตุที่เปน อดตี เปน ตน. อุปฏ ฐากของพวกทานบอกแกข าพเจาแลวอยา งน้ัน ถา พวกทาน ยอ มรเู หตุทั้งหมด, พวกทานอยาเขา ไปสูเรือนของขาพเจา เพราะเม่อื พวกทานเขา ไปสเู รอื นของขา พเจาแลว ขา วตม ไมม ีเลย ขา วสวยเปน ตนกไ็ มม ี ถา พวกทานไมร กู ็จงเขาไป, เราใหพวกทา นตกลงในหลุมคูถแลว จักใหต ,ี \" คร้นั คิดอยา งน้ันแลว จงึ ใหส ญั ญาแกพ วกบุรุษวา \"พวกทานรูภาวะคอื การนัง่ของนิครนถเ หลา นน้ั แลว ยนื อยขู า งหลัง พงึ นําเครือ่ งลาดในเบอื้ งบนแหง อาสนะท้งั หลายออกเสีย อาสนะเหลานั้นอยา เปอ นแลวดวยของไมสะอาดเลย.\" ครงั้ นน้ั สิริคุตต พดู กะพวกนิครนถว า \"นิมนตม าขางนเ้ี ถดิ ขอรับ.\" พวกนิครนถเขาไปแลวก็ปรารภเพ่อื จะน่ังบนอาสนะทเ่ี ขาปูไว. ครัง้ นน้ั มนุษยท้งั หลายกลาวกะนคิ รนถเ หลานน้ั วา \"จงรอกอ น ขอรับ, จงอยาน่ังกอ น.\" นคิ รนถ. เพราะอะไร ? มนุษย. การทพี่ ระผูเปน เจา ทั้งหลาย เขา ไปสเู รือนของพวกขา พเจา รูธรรมเนยี มแลว จึงน่ัง ยอ มสมควร. นคิ รนถ. ทาํ อยางไร จงึ สมควรเลา ? ทาน มนุษย. การท่พี ระผเู ปนเจาทง้ั หมด ยืนอยูใ กลอ าสนะทถี่ งึ แกตน ๆแลว นัง่ ลงพรอมกันทเี ทยี ว จึงควร. ไดยนิ วา สริ ิคุตตน น้ั ใหท ําพิธีนี้ กด็ ว ยคดิ วา \"เมือ่ นิครนถ

พระสตุ ตนั ตปฎก ขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 139คนหน่ึง ตกลงในหลุมแลว, นิครนถท ่ีเหลือ อยา นง่ั แลว .\" นิครนถเหลานัน้ กลา ววา \"ดี\" แลว คดิ วา \"การท่ีพวกเราทาํ ตามถอยคาํท่คี นพวกนี้บอกแลว สมควร.\" พวกนคิ รนถตกหลุมคูถ ครัง้ นน้ั นิครนถท้งั หมด ไดยนื อยูใกลอ าสนะทีถ่ ึงแลวแกตน ๆโดยลําดบั . ลาํ ดับนัน้ พวกมนุษย กลา วกะนิครนถเ หลาน้นั วา \" พวกทา นจงรบี น่ังพรอ มกนั ทเี ดียว ขอรบั \" รูภาวะคอื การน่งั ของนคิ รนถเหลาน้ันแลว จงึ นําเครอื่ งลาดเบอ้ื งบนอาสนะทง้ั หลายออก. พวกนคิ รนถน่ังพรอ มกันทีเดยี ว. เทาอาสนะท่ีตงั้ ไวบนเชอื ก พลัดตกแลว. พวกนคิ รนถห ัวขมาํ ตกลงในหลมุ . สิริคุตต เมอื่ พวกนคิ รนถน ้ัน ตกลงแลวจึงปด ประตู ใหเ อาทอนไมต พี วกนคิ รนถท ีต่ ะกายขน้ึ แลว ๆ ดว ยพดู วา\" พวกทา น ไมรเู หตทุ ี่เปนอดตี อนาคต และปจ จบุ นั เพราะเหตุไร ?\"แลวบอกวา \" การทําเทา น้ี จักสมควรแกพวกนคิ รนถเ หลานั้น\" ดงั นี้แลว จึงใหเปดประตู. พวกนิครนถเหลานั้นออกแลว ปรารภเพอื่ จะหนีไป. กใ็ นทางไปแหง พวกนิครนถนัน้ สิรคิ ตุ ตใหคนทาํ พนื้ ท่อี นั ทาํบริกรรมดวยปุนขาวไวใหล ่ืน. สริ คิ ตุ ต ใหค นโบกซํา้ พวกนคิ รนถน้นัผยู นื อยูไมไ ดในที่นั้น ลม ลงแลว ๆ จึงสง ไปดวยคาํ วา \"การทาํ เทานี้พอแกท านทัง้ หลาย.\" นิครนถเหลาน้นั คร่ําครวญอยูวา \" พวกเรา อันทา นใหฉ ิบหาย, พวกเรา อนั ทา นใหฉ บิ หาย\" ไดไ ปสปู ระตูเรือนของอปุ ฏ ฐานแลว.

พระสุตตนั ตปฎก ขทุ ทกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาที่ 140 ครหทนิ นฟอ งสริ ิคุตตแดพระราชา ครหทนิ น เหน็ ประการอนั แปลกน้นั ของนิครนถเ หลา นั้นแลวโกรธ คดิ วา \"เรา อันสริ คิ ตุ ตใหฉ ิบหายแลว , มันใหโ บกพระผเู ปนเจาท้ังหลายของเรา ผูเปน บญุ เขต ผไู ดนามวาสามารถเพ่ือจะใหเทวโลกท้งั ๖ แกม นุษยท ้งั หลาย ผูเ หยียดมอื ออกไหวอ ยู ตามความพอใจ ใหถงึ ความฉิบหายแลว\" จงึ ไปยังราชตระกลู กราบทลู ใหพ ระราชาทรงทําสินไหมแกส ริ คิ ุตตน น้ั ๑ พันกหาปณะ. ครั้งน้ัน พระราชาทรงสงพระราชสาสนไปแกส ริ ิคุตตน้ัน. สิริคตุ ตน ัน้ ไปถวายบังคมพระราชาแลวกราบทูลวา \"พระเจา ขา พระองคท รงสอบสวนแลว จกั ปรับสนิ ไหมได,ยังมไิ ดท รงสอบสวน อยาปรับ.\" พระราชา. เราสอบสวนดแู ลว จึงจักปรบั . สิริคตุ ต. ดลี ะ พระเจาขา ถา กระน้นั จงปรับเถดิ . พระราชา. ถา กระนั้น จงพดู . สิริคุตต กราบทูลความเปนไปนั้นทงั้ หมด ตั้งตน แตเ รือ่ งนวี้ า \"พระเจาขา สหายของขาพระองคเ ปนสาวกของนคิ รนถ เขา ไปหาขาพระองคแ ลว กลาวอยา งนเ้ี นอื ง ๆ ในที่ยืนทนี่ ั่งเปนตนวา 'สหาย ประโยชนอ ะไรของทานดว ยพระสมณโคดมเลา ?ทา นเขา ไปหาพระสมณโคดมน้นั จักไดอะไร ?\" ดังนแ้ี ลว กราบทูลวา \" พระเจาขา ถาการปรบั สนิ ไหมในเพราะเหตนุ ี้ ควรแลว : ขอจงปรบั เถิด.\" พระราชา ทอดพระเนตรครหทินน ตรสั วา \"นยั วา เจาพดู อยางนน้ั จริงหรอื ? ครหทินน. จรงิ พระเจา ขา. พระราชา. เจา คบพวกนคิ รนถ ผูไ มร ูแมเหตเุ พยี งเทา นเี้ ทย่ี วไป

พระสุตตนั ตปฎ ก ขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ที่ 141อยู ดวยคิดวา 'เปนครู' บอกแกสาวกของพระตถาคตวา 'ยอมรูทุกอยา ง' เพราะเหตุไร ? สนิ ไหมอนั เจา ยกขนึ้ ปรบั จงมีแกเ จาเองเถิด. ครหทินนน ั้นแล อันพระราชาทรงปรับสินไหมแลว ดว ยอาการอยา งน้ัน. พวกนคิ รนถ เขาถึงสกลุ ของครหทนิ นน นั้ นั่นแล อนั สริ คิ ตุ ตโบยไลออกแลว . ครหทินนเตรยี มแกแ คน สริ คิ ุตต ครหทนิ นน ้นั โกรธสิรคิ ตุ ตน ้ันแลว จาํ เดิมแตน น้ั ไมพดู กบัดว ยสริ คิ ุตต เปนเวลาประมาณก่ึงเดือน คิดวา \"การเท่ยี วไปโดยอาการอยางนั้น ไมควรแกเ รา. การท่เี ราทาํ ความฉิบหาย แมแกพวกภกิ ษผุ เู ขาถึงสกลุ ของสริ คิ ุตตน ้นั ยอมควร\" ดงั น้แี ลว จงึ เขาไปหาสริ คิ ุตตกลา ววา \"สหาย สิรคิ ตุ ต.\" สริ คิ ตุ ต. อะไร ? สหาย. ครหทนิ น. ธรรมดาญาตแิ ละสหายทงั้ หลาย ยอ มมกี ารทะเลาะกนั บา ง ววิ าทกันบา ง, ทานไมพูดอะไรๆ, เพราะเหตุอะไร ทา นจึงทาํ อยา งนัน้ ? สิรคิ ตุ ต. สหาย ขา พเจาไมพูด ก็เพราะทานไมพูดกบั ขา พเจากรรมใดอนั ขา พเจา ทําแลว. กรรมน้ันจงเปน อนั ทาํ แลว เถดิ เราทั้งสองจักไมทาํ ลายไมตรีกนั . จําเดมิ แตกาลนนั้ สหายท้ังสองยอ มยนื ยอมนัง่ ในทแี่ หง เดียวกัน. ตอมาในกาลวนั หน่ึง สริ ิคุตตก ลา วกะครหทินนวา \" ประโยชน

พระสตุ ตันตปฎ ก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 142อะไรของทานดว ยพวกนิครนถเลา ? ทา นเขา ไปพานคิ รนถเหลา นน้ั จกั ไดอะไร ? การเขา ไปหาพระศาสดาของเราก็ดี การถวายทานแกพ ระผูเปนเจา ท้งั หลายก็ดี จะไมค วรแกท า นหรอื ?\" แมครหทินนน นั้ ยอ มหวงัเหตนุ ีเ้ หมอื นกัน, เพราะฉะนัน้ คําพดู ของสิริคุตตน นั้ จงึ ไดเปน เหมือนเกาทีแ่ ผลฝดว ยเล็บ. แมค รหทนิ นน ั้น ถามสิรคิ ตุ ตวา \"พระศาสดาของทา นยอ มรอู ะไร?\" สริ ิคตุ ต. ทานผูเ จรญิ ทา นอยา พดู อยางน้นั , ขนึ้ ชอื่ วา สิง่ อนัพระศาสดาของเราไมร ูไ มม ;ี พระศาสดาของเราน้ัน ยอ มรเู หตุทั้งหมดตางโดยเหตทุ ่เี ปนอดตี เปนตน, ยอ มกําหนดจติ ของสัตวท ้งั หลายโดยอาการ ๑๖ อยางได. ครหทนิ น. ขา พเจา ไมท ราบอยา งนัน้ , เพราะเหตุอะไร ทา นจึงไมบอกแกข า พเจา ตลอดกาลประมาณเทา น้ี ? ถากระนั้นทา นจงไป,จงทูลนมิ นตพระศาสดา เพอ่ื เสวยในวนั พรุงนี้ ขาพเจาจักใหเ สวย. ทา นจงกราบทลู เพ่อื ทรงรับภกิ ษาของขาพเจา พรอ มดวยภิกษุ ๕๐๐ รูป สริ ิคตุ ตเขา ไปเฝา พระศาสดา ถวายบังคมแลว กราบทูลอยา งน้ีวา\" พระเจาขา ครหทนิ นส หายของขาพระองค ส่งั ใหทูลนิมนตพระองค,ทราบวา ขอพระองคทรงรบั ภิกษาของครหทนิ นน้นั พรอมดวยภิกษุ ๕๐๐รูปในวนั พรงุ น้ี ; ก็ในวนั กอ นแล กรรมชอื่ นี้ อันขาพระองคท ําแลวแกพ วกนคิ รนถ ผเู ขาถึงสกลุ ของครหทินนน ้ัน, ขา พระองคย อ มไมท ราบแมการทาํ ตอบ แกกรรมอนั ขาพระองคทําแลว, ขา พระองคไมท ราบแมค วามทค่ี รหทนิ นน้นั ใครจะถวายภกิ ษาแกพ ระองคดว ยจิตอันบรสิ ุทธิ์,พระองคท รงพจิ ารณาแลว, หากสมควร, จงทรงรับ, หากไมส มควร,

พระสตุ ตันตปฎก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาที่ 143อยาทรงรบั .\" พระศาสดาทรงพิจารณาวา \" ครหทนิ นน นั้ ใครจะถวายแกเ ราหรอื หนอแล ?\" ไดท รงเห็นวา \"ครหทินนน ้นั ใหค นขุดหลุมใหญใ นระหวางเรอื น ๒ หลังแลว ใหค นนาํ ไมตะเคียนมาประมาณ ๘๐เลม เกวียนจุดไฟแลว ตอ งการจะใหเราตกลงในหลุมถา นเพลิงแลว ขมข\"ี่ทรงพิจารณาอีกวา \"เพราะเราไปในท่ีนั้นเปนปจจัย ประโยชนจะมหี รอืไมม ีหนอแล ? ลําดบั นั้น ไดท รงเหน็ เหตนุ ว้ี า \" เราจกั เหยียดเทาบนหลุมถานเพลงิ . เสอ่ื ลาํ แพนท่วี างปดหลุมถานเพลงิ นั้น จกั หายไป,ดอกบวั ใหญป ระมาณเทาลอ จกั ผุดข้นึ ทําลายหลุมถา นเพลงิ , เมอ่ื เปนเชน นนั้ เราจักเหยียบกลบี บวั ไปน่ังบนอาสนะ, ภิกษทุ ้งั ๕๐๐ จกั ไปนง่ั อยางน้นั เหมอื นกนั ; มหาชนจกั ประชุมกัน, เราจักทาํ อนุโมทนาดวยคาถา ๒ คาถา ในสมาคมนน้ั , ในเวลาจบอนุโมทนา ความตรสั รธู รรมจักมแี กส ัตว ๘ หมื่น ๔ พนั . สริ ิคุตตและครหทนิ น จักเปนโสดาบนัจกั หวา นกองทรพั ยของตน ๆ ในศาสนา; การท่เี ราอาศยั กุลบุตรนีไ้ ปยอ มสมควร\" ดงั นแ้ี ลว จงึ ทรงรับภกิ ษา. สริ ิคุตตท ราบการรบั ของพระศาสดาแลว จงึ บอกแกครหทนิ น แลวบอกวา \"ทา นจงทําสักการะแกพระโลกเชษฐ. \" ครหทนิ นเตรียมรบั พระศาสดา ครหทินน คดิ วา \"บัดนี้ เราจกั รูกิจทีค่ วรทาํ แกพ ระสมณโคดมนัน้ \" จงึ ใหขดุ หลมุ ใหญไวในระหวางเรอื น ๒ หลัง ใหนําไมตะเคียนมาประมาณ ๘๐ เลมเกวยี น ใหจ ุดไฟสุมตลอดคนื ยังรงุ แลว ใหท าํ กองถา นเพลงิ ไมตะเคียนไว วางไมเรียบบนปากหลุม ใหป ดดว ยเส่อื ลําแพน

พระสุตตนั ตปฎก ขทุ ทกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ท่ี 144ใหทาดวยโคมยั ลาดทอ นไมผุไวโดยขา งหน่ึงแลว ใหทําทางเปนท่ไี ปสาํ คญั อยวู า \"ในเวลาทีพ่ วกสมณะเหยียบแลว ๆ อยา งน้ัน เมอื่ ทอ นไมทั้งหลายหักแลว พวกสมณะจักกล้งิ ตกไปในหลมุ ถานเพลงิ .\" ใหทัง้ ตมุไวในภาคแหงหลงั เรือน โดยวิธีทสี่ ิรคิ ตุ ตตงั้ แลว เหมอื นกนั . ใหป ูแมอาสนะทัง้ หลายไวอยางนั้นเหมือนกัน. สิรคิ ุตตไปเรือนของครหทนิ นนน้ัแตเ ชาตรแู ลว กลาววา \"สหาย ทา นทําสกั การะแลว หรอื ? ครหนิ น. เออ สหาย สิรคิ ตุ ต. ก็ สกั การะนนั่ อยูท่ไี หน ? ครหทนิ น ตอบวา \"จงมา, จะดูกัน\" แลว แสดงของท้ังหมดโดยวธิ ที ี่สิรคิ ตุ ตแ สดงแลว เหมือนกนั . สิรคิ ตุ ตกลา ววา \"ดีละสหาย.\"มหาชน ประชุมแลว. ก็เม่อื พระศาสดา อนั คนผูมิจฉาทิฏฐนิ มิ นตแ ลวการประชมุ ใหญ ยอมม.ี ฝา ยพวกมิจฉาทฏิ ฐยิ อมประชมุ กัน ดว ยคดิ วา\" พวกเราจักเหน็ ประการอนั แปลกของพระสมณโคดม.\" ฝา ยพวกสัมมาทิฏฐิ ยอมประชุมกนั ดว ยคดิ วา \"วันนี้ พระศาสดา จกั ทรงแสดงธรรมเทศนาอยางใหญ พวกเราจกั กาํ หนดพุทธวสิ ยั พุทธลลี า.\"ในวนั รงุ ขึ้น พระศาสดา ไดเ สด็จไปประตูเรือนของครหทินน กับภิกษุ๕๐๐ รูป. ครหทินนน ้นั ออกจากเรือนแลว ถวายบงั คมดวยเบญจางค-ประดิษฐ ยนื ประคองอญั ชลีอยเู บอื้ งพระพกั ตร คิดวา \"พระเจาขาอุปฏฐากของพระองค บอกแกข า พระองคอ ยา งน้วี า 'ไดย ินวา พระองคยอมทรงทราบเหตุทุกอยาง ตา งโดยเหตทุ ่ีเปน อดีตเปน ตน, ยอมทรงกําหนดจิตของสตั วท้ังหลาย โดยอาการ ๑๖ อยา งได, ถา พระองคท รงทราบอยู ขอพระองคอ ยา เสด็จเขาไปสเู รอื นของขา พระองค, เพราะเม่อื

พระสุตตันตปฎก ขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 145พระองคเ สด็จเขา ไปแลว ขา วยาคูไมมเี ลย ภัตเปน ตน กไ็ มมี, ก็แลขาพระองคจักยงั ทา นทง้ั หมด ใหต กลงในหลมุ ถา นเพลงิ แลว ขมข.่ี \" ครนั้คิดอยางนั้นแลว จึงรบั บาตรของพระศาสดา กราบทลู วา \"ขอพระผูม -ีพระภาคเจา จงเสด็จมาทางน้ี\" แลว กราบทลู วา \" พระเจาขา ผมู าสเู รือนของขาพระองค รูธรรมเนยี มแลว มา จงึ สมควร.\" พระศาสดา. เราทาํ อยางไร จึงควรเลา ? ทาน. ครหทนิ น. ในเวลาทภี่ กิ ษรุ ูปหนึ่ง ๆ เขา ไปขา งหนา น่งั แลวภกิ ษอุ นื่ มาในภายหลงั จึงควร. ไดย ินวา ครหทนิ นนั้น ไดม ีความปรวิ ติ กอยา งนว้ี า \"ภกิ ษทุ ่ีเหลือ เหน็ ภิกษผุ ไู ปขา งหนา ตกลงในหลมุ ถา นเพลิงแลว จกั ไมม า.เราจักใหภิกษุตกลงทีละรปู ๆ เทา น้ันแลว ขม ขี่.\" พระศาสดา ตรสั วา\" ดีละ \" แลวเสด็จเขา ไปแตพ ระองคเดียว. ครหทนิ น ถงึ หลุมถา นเพลงิแลว ถอยออกไปยืนอยู กราบทลู วา \"ขอพระองคเสดจ็ ไปขา งหนา เถดิพระเจาขา .\" ครหทินนเลอ่ื มใสพระพุทธเจา ลาํ ดบั น้นั พระศาสดา ทรงเหยียดพระบาทลงเหนือหลมุ ถานเพลงิ ,เสอื่ ลาํ แพน หายไปแลว , ดอกบวั ประมาณเทา ลอ ผดุ ข้ึนทาํ ลายหลุมถานเพลิง พระศาสดา ทรงเหยยี บกลีบบัว เสด็จไปประทับนัง่ ลงบนพุทธอาสน ทเ่ี ขาปูลาดไว. แมภ ิกษทุ ้งั หลาย กไ็ ปนัง่ บนอาสนะอยา งน้ันเหมอื นกัน. ความเรา รอ นต้งั ขึ้นแตกายของครหทนิ นแ ลว . เขาไปโดยเรว็ เขาไปหาสิรคิ ตุ ต บอกวา \" นาย ขอทานจงเปนทีพ่ งึ่ ของขาพเจา .\"

พระสุตตันตปฎ ก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ท่ี 146 สิรคิ ตุ ต. นี่ อะไรกัน ? ครหทินน. ขา วยาคูหรือภัตเปน ตน เพอ่ื ภิกษุ ๕๐๐ รปู ไมม ใี นเรือน, ขาพเจาจะทําอยางไรหนอแล ? สริ คิ ุตต. กท็ านทาํ อะไรไว ? ครหทนิ น. ขาพเจา ใหคนทําหลมุ ใหญไวใ นระหวา งเรอื น ๒ หลงัเต็มดว ยถา นเพลิง ดว ยหวังวา 'จักใหพวกภิกษตุ กไปในหลุมถา นเพลิงน้นั แลวขมข.่ี ' ทนี ้นั ดอกบัวใหญ ผดุ ข้ึนทาํ ลายหลุมถานเพลิงน้นั .ภกิ ษทุ ั้งหมด เหยยี บกลีบบวั เดนิ ไปนง่ั บนอาสนะทเี่ ขาปลู าดไว, บัดน้ีขา พเจา จะทําอยา งไร ? สิรคิ ุตต. ทานแสดงแกข าพเจาเดย๋ี วนี้เองวา ' ตมุ ขาวยาคเู ทา น้,ีตมุ ภตั เปน ตนเทาน,ี้ มิใชห รอื . ครหทินน. น้ันเทจ็ นาย, ตุมเปลาทง้ั น้ัน. สริ ิคตุ ต. ชางเถิด, ทานจงไป, จงตรวจดูขา วยาคูเปนตนในตมุ เหลา น้ัน. ในขณะน้ันน่ันเอง ขา วยาคูในตมุ ทง้ั หลายใด อนั ครหทินนน้นับอกแลว, ตมุ เหลา นนั้ เตม็ ดวยขาวยาคูแลว, ภัตเปน ตน ในตุมเหลาใด อนั ครหทนิ นบ อกแลว, ตุมเหลานนั้ ไดเตม็ แลวดวยภัตเปนตน เทยี ว. เพราะไดเ ห็นสมบัตนิ ั้น สรีระของครหทินน เต็มดวยปติและปราโมทยแ ลว . จิตเล่อื มใสแลว . เขาอังคาสภิกษสุ งฆมพี ระพทุ ธเจา เปนประมุข โดยความเคารพ ใครจ ะใหทรงทําอนุโมทนา จงึ รับบาตรของพระศาสดา ผูทรงทําภตั กิจเสรจ็ แลว.

พระสตุ ตันตปฎ ก ขทุ ทกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 147 สตั วไมรคู ณุ พระศาสนาเพราะไรป ญ ญา พระศาสดา เมอ่ื จะทรงทําอนโุ มทนา ตรัสวา \" สัตวเหลา นัน้ ไมรูค ณุแหงสาวกของเรา และแหง พระพุทธศาสนา เพราะความไมม ปี ญ ญาจักษุชอ่ื วาผมู ืด, ผูม ีปญ ญา ชอื่ วา มจี กั ษ\"ุ ดงั น้ีแลว ไดตรสั พระคาถาเหลา นนั้ วา :- ๑๒. ยถา สงกฺ ารธานสฺนึ อชุ ฌฺ ติ สฺมึ มหาปเถ ปทมุ  ตตถฺ ชาเยถ สุจคิ นธฺ  มโนรม เอว สงฺการภูเตสุ อนฺธภูเต ปุถุชฺชเน อติโรจติ ปฺ าย สมมฺ าสมพฺ ทุ ฺธสาวโก \"ดอกบัวมีกลน่ิ ดี พงึ เกิดในกองหยากเยอ่ื อนั บุคคลท้งิ แลว ใกลท างใหญ ดอกบวั นนั้ ๑ พงึ เปนท่ี ชอบใจ ฉันใด, สาวกของพระสมั มาสัมพุทธเจา เม่ือ ปุถุชนเปน ดังกองหยากเยือ่ เกดิ แลว ยอมไพโรจน ลว งซ่งึ ปุถชุ นผูม ืดท้ังหลาย ดว ยปญญา ฉนั น้ัน.\" แกอรรถ บรรดาบทเหลา นนั้ บทวา สงฺการธานสมฺ ึ คอื ในทท่ี ิ้งหยากเย่อื อธิบายวา ในกองหยากเยือ่ . สองบทวา อชุ ฌฺ ิตสฺมึ มหาปเถคอื อันบคุ คลทงิ้ แลว ใกลท างใหญ. บทวา สจุ ิคนธฺ  คอื มีกลิ่นหอม.บทวา มโนรม มีวเิ คราะหว า ใจยอมยนิ ดีในดอกบวั น้ี เหตนุ ้ัน ดอกบวันน้ั ชอื่ วา เปนทร่ี นื่ รมยแหง ใจ. บทวา สงฺการภูเตสุ คอื เปนดัง๑. ทแี่ ปลอยา งนี้ แปลตามนัยอรรถกถา. แตบางทานแปล ตตฺถ เปนวเิ สสนะ ของ สงกฺ าร-ธานสมฺ ึ.

พระสุตตนั ตปฎก ขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ท่ี 148หยากเยอื่ . บทวา ปถุ ชุ ชฺ เน ความวา ซ่ึงโลกิยมหาชนทง้ั หลาย ผมู ชี ือ่อันไดแลวอยา งนั้น เพราะยงั กเิ ลสหนาใหเกดิ . พระผูม ีพระภาคตรัสคํานไี้ ววา \"ดอกบัวมีกลนิ่ ดี พงึ เกดิ ในกองหยากเยอ่ื อันบคุ คลทิ้งแลวใกลท างใหญ แมไ มส ะอาด นาเกลียด ปฏิกลูดอกบัวน้ัน พึงเปนท่ชี อบใจ คือ พงึ เปน ของนาใคร พงึ ใจ ไดแกพงึ เปนของควรประดษิ ฐานไวเหนอื กระหมอ มแหงอิสรชนท้ังหลาย มีพระราชาและมหาอาํ มาตยข องพระราชาเปน ตน ชื่อฉันใด; สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจา คอื ภกิ ษุผูขีณาสพ กฉ็ ันนนั้ เหมือนกัน เม่อื ปุถุชนแมเปน ดังกองหยากเยอ่ื เกิดแลว แมเกิดในระหวา งแหงมหาชน ผไู มม ีปญญา ไมม จี ักษุ ยอมไพโรจนล วงดว ยกําลงั แหงปญญาของตน เห็นโทษในกามทั้งหลาย และอานิสงสใ นการออกบวช ออกบวชแลว ยอ มไพโรจนล วง แมด วยคณุ สกั วาการบรรพชา, แมย ก (ตน) ขนึ้ สูศลีสมาธิ ปญ ญา วิมตุ ติ วิมตุ ตญิ าณทสั สนะ ยิง่ กวา คณุ สักวาการบรรพชานน้ั กย็ อ มไพโรจน คืองามลวง ซ่ึงปุถชุ นผมู ืดทัง้ หลาย.\" ครหทนิ นก ับสิรคิ ตุ ตบ รรลุโสดาปต ติผล ในเวลาจบเทศนา ความตรัสรธู รรม ไดมีแลวแกส ัตว ๘ หมืน่๔ พัน. ครหทินนและสิรคิ ตุ ตบ รรลุโสดาปต ตผิ ลแลว. สองคนน้นั หวา นทรพั ยของตนท้ังหมดลงในพระพุทธศาสนาแลว. พระศาสดาไดเ สด็จลกุจากอาสนะ ไปสวู ิหาร. ภกิ ษุทัง้ หลาย ยงั กถาใหต ้ังข้ึนในโรงธรรมเวลาเยน็ วา \"นาเลือ่ มใส ธรรมดาคุณของพระพุทธเจา นาอศั จรรย, ดอกบวั ผุดขนึ้

พระสุตตันตปฎก ขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ที่ 149ทาํ ลายกองถา นตะเคยี น ช่ือเหน็ ปานนัน้ แลว .\" พระศาสดาเสด็จมาแลวตรัสถามวา \"ภิกษุท้ังหลาย บดั นี้ พวกเธอนัง่ ประชุมกนั ดว ยกกถาอะไรหนอ ? เมอื่ ภกิ ษทุ งั้ หลาย กราบทูลวา \"ดวยกถาชือ่ นี\"้ แลวจึงตรัสวา \"ภิกษทุ ้งั หลาย ขอท่ีดอกบวั ผุดข้นึ แตก องถานเพลิงเพื่อเราผเู ปน พระพุทธเจา ในกาลบัดน้ี ไมน าอัศจรรย ในกาลกอนดอกบัวเหลา นัน้ กผ็ ุดข้นึ แลว เพื่อเรา แมผูเ ปนโพธิสัตว เปน ไปอยูใ นประเทศญาณ,\" อนั ภิกษเุ หลาน้ัน ทลู ออนวอนวา \" ในกาลไร พระเจาขา ,ขอพระองคจ งตรัสบอกแกขา พระองคท ั้งหลาย\" ดงั นแี้ ลว จงึ ทรงนําอดีตนิทานมา ตรัสขทริ ังคารชาดก๑ น้ี ใหพ สิ ดารวา :- \" เรามีเทาขึน้ เบ้ืองบน มีศรี ษะลงเบอื้ งตา่ํ จะตกสเู หวโดยแท เราจักไมท ํากรรมอนั มใิ ชข อง พระอรยิ ะ, เชญิ ทา นรบั กอนขา วเถดิ \" ดงั นี้แล. เร่ืองครหทนิ น จบ. ปุปผวรรควรรณนา จบ. วรรคที่ ๔ จบ.๑. ข.ุ ชา. ๒๗/๑๓ อรรถกถา. ๑/๓๓๘.

พระสุตตนั ตปฎ ก ขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 150 คาถาธรรมบท พาลวรรค๑ท่ี ๕ วาดวยคนพาลรอยกวาทกุ อยาง [๑๕] ๑. ราตรีของคนผตู นื่ อยนู าน โยชนของคนลา แลวไกล สงสารของคนพาลทง้ั หลาย ผูไมร อู ยซู ึง่ สัทธรรมยอมยาว. ๒. ถา บุคคลเม่ือเทีย่ วไป ไมพึงประสบสหาย ผปู ระเสริฐกวา ผเู ชนกบั (ดว ยคณุ ) ของคนไซร พึงทําความเทีย่ วไปคนเดียวใหมนั่ เพราะวา คณุ เคร่อื งเปน สหายยอ มไมม ใี นเพราะคนพาล. ๓. คนพาลยอ มเดือดรอ นวา บตุ รทง้ั หลาย ของเรามอี ยู ทรพั ย ( ของเรา) มีอยู ตนแลยอ ม ไมมีแกต น บตุ รท้ังหลายจกั มีแตท่ีไหน ทรัพยจ ักมี แตท ่ีไหน. ๔. บคุ คลใดโง ยอมสาํ คัญความทตี่ นเปน คนโง บุคคลน้ันจะเปน บัณฑิต เพราะเหตุนั้นไดบา ง สวนบคุ คลใดเปนคนโง มคี วามสําคญั วาตนเปน บณั ฑติ บุคคลน้นั แล เราเรยี กวาคนโง. ๕. ถา คนพาล เขา ไปนั่งใกลบัณฑติ อยูแ มจ น๑. วรรคนี้ มอี รรถกถา ๑๕ เรือ่ ง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook