Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore tripitaka_41

tripitaka_41

Published by sadudees, 2017-01-10 01:15:40

Description: tripitaka_41

Search

Read the Text Version

พระสุตตันตปฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ที่ 201คยุ ฝนุ ออกแลว ถอื เอาถงุ ทรัพย คกุ คามวา \"แกปลนเรือนแลว เทียวไปราวกบั ไถนาอย\"ู โบยดว ยทอ นไม นาํ ไปแสดงแกพระราชาแลว.พระราชา ทรงสดบั ความเปน ไปน้นั แลว จงึ รบั ส่ังใหป ระหารชีวติ ชาวนาน้ัน. พวกราชบรุ ษุ มัดชาวนานั้นใหมแี ขนไพลห ลัง เฆีย่ นดว ยหวายนําไปสตู ะแลงแกงแลว. ชาวนานัน้ ถกู ราชบุรษุ เฆี่ยนดวยหวาย ไมกลาวคาํ อะไร ๆ อ่ืน กลา วอยูวา \"เหน็ ไหม อานนท อสรพษิ , 'เหน็พระเจาขา อสรพิษรา ย \" เดนิ ไปอยู. ครง้ั นัน้ พวกราชบุรษุ ถามเขาวา\" แกกลาวถอ ยคาํ ของพระศาสดาและพระอานนทเถระเทา นัน้ , น่ชี ่อือะไร ?\" เม่อื ชาวนาตอบวา \"เราเม่ือไดเ ฝาพระราชาจงึ จกั บอก,\" จึงนาํ ไปสสู าํ นักของพระราชา กราบทลู ความเปนไปนั้นแดพระราชาแลว. ชาวนาพน โทษเพราะอา งพระสาดาเปนพยาน ลําดับนน้ั พระราชา ตรสั ถามชาวนานั้นวา \"เพราะเหตุไร เจาจงึ กลา วดงั นัน้ ?\" แมชาวนานั้น กราบทลู วา \"ขา แตสมมตเิ ทพขา พระองคไมใชโ จร\" แลวกก็ ราบทูลเรื่องน้นั ทั้งหมดแดพ ระราชา จําเดมิแตกาลที่คนออกไปเพื่อตองการจะไถนา. พระราชา ทรงสดับถอ ยคําของชาวนานนั้ แลว ตรัสวา \" พนาย ชาวนานอี้ า งเอาพระศาสดาผเู ปน บคุ คลเลิศในโลกเปนพยาน, เราจะยกโทษแกชาวนานี่ยงั ไมส มควร, เราจกั รูส ่งิ ที่ควรกระทาํ ในเร่อื งน\"ี้ ดงั นี้แลว ทรงพาชาวนานั้นไปยงั สาํ นักของพระ-ศาสดาในเวลาเยน็ ทูลถามพระศาสดาวา \"ขา แตพระผูมพี ระภาค พระ-องคไดเสดจ็ ไปสูท ่ไี ถนาของชาวนาน้ัน กับพระอานนทเถระแลหรือ ?\" พระศาสดา. ขอถวายพระพร มหาบพิตร.

พระสุตตนั ตปฎก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาที่ 202 พระราชา. พระองคทอดพระเนตรเห็นอะไรในนาน้นั ? พระศาสดา. ถงุ ทรัพยพ ันหน่ึง มหาบพิตร. พระราชา. ทอดพระเนตรเห็นแลว ไดตรัสคาํ อะไร ? พระศาสดา. คําช่อื นี้ มหาบพติ ร. พระราชา. พระเจาขา ถา บุรุษน้จี กั ไมไ ดก ระทําการอา งบคุ คลผูเชนกับดวยพระองคแ ลว ไซร, เขาจักไมไดช ีวติ . แตเขากลา วคาํ ทีพ่ ระ-องคต รสั แลว จงึ ไดช วี ิต. ไมควรทํากรรมท่ใี หผ ลเดอื ดรอนในภายหลัง พระศาสดา ทรงสดับพระราชดาํ รัสนั้นแลว ตรสั วา \"ขอถวายพระพร มหาบพิตร, แมตถาคตกลาวคํามปี ระมาณเทา นั้นน่ันเองแลวก็ไป, ความตามเดือดรอ นในภายหลงั ยอมมี เพราะกระทํากรรมใดกรรมน้ัน ผชู ือ่ วาเปนบัณฑิตไมพ ึงกระทํา \" ดงั น้ี เมอ่ื จะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรสั พระคาถาน้วี า :- ๘. น ต กมฺม กต สาธุ ย กตฺวา อนุตปฺปติ ยสฺส อสฺสมุ ุโข โรท วปิ าก ปฏเิ สวติ. \"บุคคลกระทํากรรมใดแลว ยอ มเดือดรอนใน ภายหลัง เปน ผูมหี นา ชมุ ดว ยนํ้าตา รองไหเสวย ผลของกรรมใดอยู กรรมนน้ั อันบุคคลกระทําแลว ไมด ีเลย.\" แกอ รรถ บรรดาบทเหลา นัน้ สองบทวา ย กตฺวา ความวา บุคคลกระทํา

พระสุตตนั ตปฎก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 203กรรมใด คืออันสามารถจะใหเกิดในอบายภูมิท้ังหลายมนี รกเปนตน ไดแกมีทกุ ขเปน กําไร เมื่อตามระลึกถงึ ชือ่ วายอ มเดือดรอนในภายหลัง คอืยอ มเศราโศกในภายหลัง ในขณะที่ระลึกถึงแลว ๆ, กรรมน้นั อนั บคุ คลกระทาํ แลวไมดี คือไมง าม ไดแก ไมสละสลวย. สองบทวา ยสฺส อสฺสมุ โุ ข ความวา เปน ผมู หี นาชุมดวยนาํ้ ตารองไห ยอ มเสวยผลกรรมใด. ในเวลาจบเทศนา อุบาสกชาวนาบรรลโุ สดาปตตผิ ลแลว . แมภกิ ษุผูป ระชมุ กันเปนอันมาก กบ็ รรลอุ รยิ ผลทง้ั หลาย มีโสดาปต ตผิ ลเปนตนดงั นีแ้ ล. เรอ่ื งชาวนา จบ.

พระสตุ ตนั ตปฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ที่ 204 ๙. เรือ่ งนายสมุ นมาลาการ [๕๓] ขอ ความเบ้อื งตน พระศาสดา เมื่อประทบั อยูในพระเวฬวุ นั ทรงปรารภนายมาลาการชอื่ สุมนะ ตรสั พระธรรมเทศนานวี้ า \" ตจฺ กมฺม กต สาธุ \"เปน ตน . พระศาสดาเสด็จบิณฑบาต ดงั ไดส ดบั มา นายมาลาการน้ัน บํารุงพระเจา พิมพิสารดวยดอกมะลิ ๘ ทะนานแตเ ชา ตรทู ุกวนั ยอ มไดกหาปณะวันละ ๘ กหาปณะ.ตอ มาวนั หน่งึ เมอ่ื นายมาลาการนน้ั ถอื ดอกไม พอเขา ไปสูพระนครพระผมู พี ระภาคเจา อนั ภกิ ษุสงฆห มใู หญแวดลอ ม ทรงเปลง พระรัศมีมีพรรณะ ๖ เสด็จเขาไปสูพระนคร เพอื่ บิณฑบาต ดว ยพระพทุ ธานภุ าพอันใหญ ดว ยพระพทุ ธลีลาอันใหญ. แทจ ริง ในกาลบางคราว พระ-ผูม พี ระภาคทรงปด พระรัศมีมพี รรณะ ๖ ดวยจวี รแลว เสดจ็ ไป เหมือนภกิ ษผุ เู ทย่ี วบณิ ฑบาตเปนวัตรรูปใดรูปหนึง่ เหมือนเสด็จไปตอนรับพระ-องั คุลิมาล สิน้ ทางตง้ั ๓๐ โยชน. ในกาลบางคราว ทรงเปลง พระรัศมีมีพรรณะ ๖ เหมือนทรงเปลง ในเวลาเสดจ็ เขาไปสูกรุงกบิลพัสดุเปนตน.แมใ นวันนั้น พระผูมพี ระภาคเจา ทรงเปลง พระรศั มีมพี รรณะ ๖ จากพระสรรี ะ เสด็จเขาไปสูก รุงราชคฤห ดวยพระพุทธานุภาพอนั ใหญ ดวยพระพุทธลีลาอันใหญ.

พระสุตตนั ตปฎก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ท่ี 205 นายมาลาการบูชาพระศาสดาดวยดอกไม ครั้งนน้ั นายมาลาการเหน็ อัตภาพพระผูมีพระภาคเจา เชนกบั ดวยรัตนะอนั มคี าและทอง๑อันมคี า แลดพู ระสรรี ะซง่ึ ประดบั แลว ดวยมหา-ปุรสิ ลักษณะ ๓๒ มสี วนความงามดวยพระสิรคิ อื อนพุ ยัญชนะ ๘๐ มจี ติเล่อื มใสแลว คิดวา \"เราจักทําการบชู าอันยง่ิ แดพระศาสดาอยา งไรหนอแล ?\" เมอ่ื ไมเ หน็ สิ่งอืน่ จงึ คิดวา \" เราจกั บูชาพระผูมีพระภาคเจา ดวยดอกไมเ หลานี้\" คดิ อกี วา \"ดอกไมเหลา นเี้ ปนดอกไมสาํ หรบั บํารุงพระราชาประจํา, พระราชา เมื่อไมทรงไดด อกไมเ หลานี้ พงึ ใหจ องจาํเราบา ง พงึ ใหฆ าเราบาง พึงขบั ไลเ สยี จากแวนแควนบา ง, เราจะทาํอยางไรหนอแล ?\" ครั้งนน้ั ความคิดอยางนไี้ ดมีแกน ายมาลาการนนั้ วา\" พระราชาจะทรงฆา เราเสียก็ตาม ขับไลเสียจากแวนแควนกต็ าม, กพ็ ระ-ราชานน้ั แมเม่ือพระราชทานแกเรา พึงพระราชทานทรพั ยส ักวาเล้ยี งชีพใหอตั ภาพน้;ี สวนการบูชาพระศาสดา อาจเพ่ือประโยชนเ กอื้ กูลและความสขุ แกเ ราในโกฏิกปั เปนอเนกทีเดยี ว\" สละชีวติ ของตน แดพ ระ-ตถาคตแลว . นายมาลาการนั้น คิดวา \" จติ เลอื่ มใสของเราไมก ลบั กลายเพียงใด; เราจักทาํ การบชู าเพียงนัน้ ทเี ดยี ว\" เปน ผรู าเรงิ บันเทงิ แลว มีจติ เบิกบานและแชม ช่ืน บูชาพระศาสดาแลว. ความอัศจรรยข องดอกไมท ่เี ปน พทุ ธบชู า นายมาลาการนัน้ บชู าอยางไร ? ทแี รก นายมาลาการซดั ดอกไม๒ กํา ข้นึ ไปในเบอ้ื งบนแหง พระตถาคตกอ น. ดอกไม ๒ กาํ น้ัน๑. เชนกบั ดวยพวงแกว และพวงทองก็วา โบราณวา เชนกบั ดว ยพนมแกวและพนมทองกม็ .ี

พระสตุ ตันตปฎก ขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 206ไดต ั้งเปน เพดานในเบอ้ื งบนพระเศยี ร. เขาซดั ดอกไม ๒ กําอืน่ อกี .ดอกไม ๒ กําน้ันไดย อยลงมาตงั้ อยูทางดานพระหัตถข วา โดยอาการอนัมาลาบังไว. เขาซดั ดอกไม ๒ กําอ่ืนอีก. ดอกไม ๒ กํานัน้ ไดห อ ยยอยลงมาต้งั อยทู างดานพระปฤษฎางค อยางน้นั เหมอื นกัน. เขาซดั ดอกไม ๒ กําอ่นื อกี . ดอกไม ๒ กาํ น้นั หอ ยยอยลงมาตงั้ อยทู างดานพระ-หตั ถซ าย อยา งนั้นเหมอื นกนั . ดอกไม ๘ ทะนานเปน ๘ กํา แวดลอ มพระตถาคตในฐานะท้งั ๔ ดวยประการฉะน.ี้ ไดม ที างพอเปน ประตูเดนิ ไปขางหนา เทานนั้ . ขว้ั ดอกไมท ง้ั หลายไดห นั หนา เขาขา งใน, หนักลีบออกขางนอก. พระผมู ีพระภาคเจา เปน ราวกะวา แวดลอ มแลว ดวยแผน เงนิ เสด็จไปแลว. ดอกไมท งั้ หลาย แมไ มม จี ิต อาศยั บคุ คลผูมีจติไมแยกกนั ไมต กลง ยอ มไปกับพระศาสดาน่ันเทยี ว ยอมหยุดในที่ประทับยนื . รัศมีเปน ราวกะวาสายฟา แลบตง้ั แสนสาย ออกจากพระสรีระของพระศาสดา. พระรศั มีท่อี อก (จากพระกายนนั้ ) ออกท้งั ขางหนาทั้งขา งหลงั ทั้งขา งขวาทัง้ ขางซา ย ทง้ั เบ้อื งบนพระเศยี ร. พระรศั มีแมแ ตส ายหนง่ึ ไมห ายไปทางทตี่ รงเบื้องพระพกั ตร แมทั้งหมดกระทาํประทกั ษิณพระศาสดา ๓ รอบแลว รวมเปน พระรศั มี มปี ระมาณเทาลําตาลหนมุ พงุ ตรงไปขา งหนาทางเดยี ว. นายมาลาการบอกแกภ รรยา นครทั้งส้นิ เลอื่ งลอื แลว. บรรดาชน ๑๘ โกฏิ คือในภายในนคร๙ โกฏิ ภายนอกนคร ๙ โกฏิ ชายหรือหญงิ แมคนหนง่ึ ชื่อวาจะไมถือเอาภิกษาออกไปยอมไมมี. มหาชนบันลือสีหนาท ทาํ การยกทอนผา

พระสตุ ตันตปฎก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ท่ี 207ขน้ึ ตง้ั พันอยูขา งหนาของพระศาสดาเทยี ว. แมพ ระศาสดาเพือ่ จะทรงทาํคณุ ของนายมาลาการใหป รากฏ ไดเสด็จเทีย่ วไปในพระนครประมาณ ๓คาวุต โดยหนทางเปน ท่ีเท่ียวไปดว ยยกลองนั้นเอง. สรีระทงั้ สนิ้ ของนายมาลาการเตม็ เปย มดวยปต ิมวี รรณะ ๕. นายมาลาการน้นั เทีย่ วไปกบั พระ-ตถาคตหนอยหนึง่ เทา นัน้ เขา ไปในภายในแหง พุทธรศั มี เปน ราวกะวาจมลงในรสแหง มโนสิลา ชมเชยถวายบงั คมพระศาสดาแลว ไดถอื เอากระเชา เปลานัน่ แลไปสเู รอื น. คร้ังนนั้ ภรรยาถามเขาวา \" ดอกไมอ ยทู ี่ไหน ?\" มาลาการ. เราบชู าพระศาสดาแลว . ภรรยา. บัดนี้ ทา นจกั ทําอะไรแดพระราชาเลา ? มาลาการ. พระราชาจะทรงฆา เรากต็ าม ขบั ไลจากแวนแควนก็ตาม, เราสละชวี ิตบูชาพระศาสดาแลว , ดอกไมทั้งหมดมี ๘ กาํ , บชู าชือ่ เห็นปานนเ้ี กดิ แลว , มหาชนทาํ การโหรอ งตัง้ พัน เท่ยี วไปกบั พระ-ศาสดา นัน่ เสียงโหรอ งของมหาชนในท่นี ั้น. ภรรยาไมเ ล่อื มใสฟองพระราซา ลําดับนั้น ภรรยาของเขาเปนหญิงอันธพาล ไมยังความเลื่อมใสในพระปาฏิหาริยเ ห็นปานนนั้ ใหเ กดิ ดาเขาแลว กลา ววา \" ธรรมดาพระราชาท้งั หลาย เปน ผูดรุ าย กริว้ คราวเดียวก็กระทําความพินาศแมมาก ดวยการตดั มอื และเทาเปน ตน, ความพนิ าศพงึ มีแมแกเรา เพราะกรรมที่เธอกระทํา\" พาพวกบุตรไปสรู าชตระกลู ผอู ันพระราชาตรัส

พระสุตตันตปฎก ขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ท่ี 208เรยี กมาถามวา \" อะไรกันนี่ ?\" จงึ กราบทลู วา \" สามีของหมอ มฉันเอาดอกไมสาํ หรบั บาํ รุงพระองคบ ูชาพระศาสดาแลว มมี อื เปลา มาสูเรือนถกู หมอ มฉนั ถามวา \" ดอกไมอ ยูไหน ? ' กก็ ลา วคําชือ่ น้,ี หมอมฉนั ดาเขาแลว กลา ววา ' ธรรมดาพระราชาท้งั หลายเปน ผูดรุ า ย กร้ิวคราวเดยี วก็กระทาํ ความพนิ าศแมม าก ดว ยการตัดมือและเทา เปนตน , ความพินาศพึงมีแมแ กเรา เพราะกรรมที่เธอกระทํา ' ดงั น้แี ลว ก็ทิ้งเขามาในท่ีน้ี;กรรมทเี่ ขากระทาํ จงเปน กรรมดีก็ตาม จงเปน กรรมชว่ั ก็ตาม, กรรมน้นั จงเปนของเขาผูเ ดยี ว; ขอเดชะ พระองคจ งทรงทราบความที่เขาอนัหมอ มฉนั ทิ้งแลว.\" พระราชาทรงทาํ เปน กร้ิว พระราชาทรงบรรลโุ สดาปต ตผิ ล ถึงพรอมดว ยศรทั ธา เปนอรยิ สาวก ดวยการเหน็ ทีแรกน้ันแล ทรงดําริวา \"โอ ! หญงิ น้เี ปนอนั ธพาล ไมยังความเลอื่ มใสในคุณเหน็ ปานน้ใี หเกดิ ขึ้น.\" ทาวเธอทําเปนดงั กริ้ว ตรสั วา \" เจา พดู อะไร แม ? นายมาลาการน้ันกระทาํการบูชา ดว ยดอกไมส าํ หรบั บาํ รงุ เราหรือ ?\" หญิงนน้ั ทูลวา\" ขอเดชะ พระเจา ขา.\" พระราชาตรัสวา \" ความดอี ันเจาทงิ้ เขากระทําแลว, เราจักรกู ิจทีค่ วรกระทําแกน ายมาลาการผูกระทําการบูชาดวยดอกไมทงั้ หลายของเรา,\" ทรงสงหญงิ นั้นไปแลว รีบเสดจ็ ไปในสาํ นักพระศาสดา ถวายบังคมแลว เสดจ็ เทยี่ วไปกบั ดว ยพระศาสดาน่ันเทียว.พระศาสดาทรงทราบความเลื่อมใสแหง พระหฤทัย ของพระราชานนั้เสด็จเทย่ี วไปสูพ ระนครตามถนนเปนท่ีเท่ยี วไปดว ยกลองแลว ไดเ สดจ็ ไป

พระสตุ ตันตปฎ ก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ท่ี 209สพู ระทวารแหงพระราชมนเฑียรของพระราชา. พระราชาทรงรับบาตรไดทรงมพี ระประสงคจะเชิญเสด็จพระศาสดาเขาไปสูพ ระราชมนเฑยี ร. สวนพระศาสดา ไดทรงแสดงพระอาการทจ่ี ะประทบั นงั่ ในพระลานหลวงนนั่ เอง. พระราชาทรงทราบพระอาการนนั้ แลว รับส่งั ใหกระทาํ ปะรําในขณะน้ันนั่นเอง ดวยพระดาํ รัสวา \"ทา นทั้งหลายจงกระทําปะรําโดยเรว็ .\"พระศาสดาประทบั นัง่ กับหมภู กิ ษแุ ลว . ถามวา \" กเ็ พราะเหตไุ ร พระศาสดาจึงไมเสดจ็ เขาสพู ระราช-มนเทียร ? \" แกวา \" (เพราะ) ไดยนิ วา ความปรวิ ติ กอยางนไี้ ดม แี กพระ-องควา 'ถา วา เราพึงเขาไปนง่ั ในภายในไซร, มหาชนไมพ งึ ไดเ พ่ือจะเหน็ เรา. คุณของนายมาลาการจะไมพึงปรากฏ, แตว ามหาชนจักไดเพอ่ืเห็นเราผูนัง่ อยู ณ พระลานหลวง, คุณของนายมาลาการจักปรากฏ.\" พระราชาทรงพระราชทานสิ่งของอยางละ ๘ อยาง จริงอยู พระพุทธเจา ของเราเทา นนั้ ยอมอาจเพ่อื กระทาํ คุณของบคุ คลผมู คี ณุ ท้ังหลายใหป รากฏ, ชนท่เี หลือเมอื่ จะกลาวคณุ ของบุคคลผมู ีคุณทัง้ หลาย ยอมประพฤตติ ระหนี่ (คอื ออมเสยี ). แผนดอกไม ๔ แผนไดต ัง้ อยูในทศิ ท้ัง ๔ แลว. มหาชนแวดลอมพระศาสดาแลว . พระราชาทรงองั คาสภกิ ษสุ งฆ มพี ระพทุ ธเจาเปน ประมขุ ดว ยอาหารอนั ประณตี .ในเวลาเสรจ็ ภตั กิจ พระศาสดาทรงกระทาํ อนุโมทนาแลว อนั แผนดอกไม ๔ แผน แวดลอมโดยนยั กอ นน่ันแล อันมหาชนผูบนั ลือสหี นาทแวดลอม ไดเสด็จไปสูว หิ ารแลว . พระราชา ตามสงพระศาสดา กลบั

พระสตุ ตนั ตปฎก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ที่ 210แลว รับสั่งใหห านายมาลาการมาแลว ตรสั ถามวา \" เจาวาอยางไรจึงบชู าพระศาสดาดว ยดอกไม อนั ตนพึงนํามาเพ่อื เรา ?\" นายมาลาการกราบทลู วา \"ขอเดชะ ขา พระองคค ดิ วา 'พระราชาจะฆาเรากต็ ามจะขับไลเราเสียจากแวน แควน ก็ตาม' ดังน้ีแลว จึงสละชีวติ บูชาพระ-ศาสดา.\" พระราชาตรัสวา \"เจา ช่ือวาเปนมหาบุรุษ\" แลวพระราชทานของทคี่ วรให ชือ่ หมวด ๘ แหง วัตถุท้งั ปวงนี้ คือชา ง ๘ มา ๘ ทาส ๘ทาสี ๘ เครอ่ื งประดบั ใหญ ๘ กหาปณะ ๘ พัน นารี ๘ นาง ที่นํามาจากราชตระกูล ประดบั ดวยเครือ่ งอลังการทัง้ ปวง และบานสว ย ๘ ตาํ บล พระศาสดาตรสั สรรเสรญิ นายมาลาการ พระอานนทเ ถร ะ คิดวา \"วันน้ี ตงั้ แตเชา ตรู เสยี งสหี นาทตงั้ พนั และการยกทอ นผาขึน้ ตั้งพนั ยอมเปนไป. วิบากของนายมาลาการเปนอยางไรหนอแล ?\" พระเถระนัน้ ทูลถามพระศาสดาแลว ลําดับน้นัพระศาสดา ตรสั กะพระเถระน้ันวา \" อานนท เธออยาไดก ําหนดวากรรมมีประมาณเล็กนอย อันนายมาลาการนก้ี ระทําแลว' ก็นายมาลาการนไ้ี ดสละชีวิตกระทําการบชู าเราแลว, เขายังจิตใหเลอ่ื มใสในเราดว ยอาการอยางนน้ั จักไมไปสทู คุ ติ ตลอดแสนกัลป\" ดังน้แี ลว ตรัสวา :- \"นายมาลาการ จักดาํ รงอยูในเทวดาและมนษุ ย ทง้ั หลาย จกั ไมไปสทู ตุ ิ ตลอดแสนกลั ป, น่เี ปน ผลแหง กรรมน้นั , ภายหลงั เขาจกั เปนพระปจเจก- พุทธะ นามวา สุมนะ.\" ก็ในเวลาพระศาสดาเสดจ็ ถงึ วิหาร เขา ไปสพู ระคนั ธกฎุ ี ดอกไมเหลา นัน้ ตกลงทีซ่ มุ พระทวารแลว.

พระสตุ ตันตปฎ ก ขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ที่ 211 ไมค วรทาํ กรรมทเ่ี ดอื ดรอนภายหลงั ในเวลาเย็น ภิกษุทง้ั หลายสนทนากนั ในโรงธรรมวา \" แหม !กรรมของนายมาลาการ นา อัศจรรย. เธอสละชวี ติ เพื่อพระพทุ ธเจา ผยู ังดํารงพระชนมอยู กระทําการบชู าดวยดอกไมแลว ไดของพระราชทานช่ือวาหมวด ๘ ลว น ในขณะน้นั นัน่ เอง.\" พระศาสดาเสด็จออกจากพระคนั ธกุฎีแลว ไปสโู รงธรรมดวยการเสด็จไป ๓ อยา ง อยา งใดอยางหนง่ึ ประทบั นงั่ บนพระพทุ ธอาสนแ ลว ตรสั ถามวา \" ภกิ ษุทัง้ หลาย บดั น้ี เธอทงั้ หลายน่งั ประชุมกันดว ยกถาอะไรหนอ ?\" เมอื่ภกิ ษุเหลานั้นกราบทลู วา \" ดว ยกถาชอื่ นี้,\" จงึ ตรสั วา \"อยางนน้ั ภกิ ษุท้งั หลาย ความเดือดรอ นในภายหลงั ยอ มไมม ี โสมนสั เทานั้นยอมเกดิ ขึ้นในขณะทร่ี ะลึกแลว ๆ เพราะบุคคลกระทํากรรมใด, กรรมเหน็ ปานนน้ัอนั บุคคลควรกระทาํ แท\" เมอื่ จะทรงสืบอนสุ นธแิ สดงธรรม จึงตรัสพระคาถานวี้ า:- ๙. ตจฺ กมฺม กต สาธุ ย กตฺวา นานุตปปฺ ติ ยสฺส ปตโี ต สุมโน วปิ าก ปฏิเสวต.ิ \"บุคคลทาํ กรรมใดแลว ยอ มไมเดอื ดรอนใน ภายหลงั เปนผูเ อบิ อม่ิ มีใจดี ยอมเสวยผลของ กรรมใด, กรรมนน้ั แล อนั บุคคลทําแลว เปน กรรมดี.\" แกอรรถ บรรดาบทเหลา นนั้ สองบทวา ย กตวฺ า ความวา บคุ คลกระทํา

พระสุตตนั ตปฎก ขทุ ทกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ที่ 212กรรมใด คือกรรมทีส่ ามารถเพื่ออนั ยงั สมบัติแหงเทวดาและสมบัตแิ หงมนษุ ย และนิพพานสมบัติใหเกิด คอื มีสุขเปนกําไร ยอ มไมต ามเดือดรอน, โดยทีแ่ ท บุคคลนน้ั ชื่อวา เปนผูเ อบิ อ่มิ แลวดว ยกําลงั แหงปต ิ และชอื่ วา มีใจดีดวยกาํ ลงั แหงโสมนสั ในขณะที่ระลึกถึง ๆ เปนผูเกดิ ปต ิและโสมนสั ในกาลตอ ไป ยอมเสวยผล ในทิฏฐธรรมนั่นเอง,กรรมนัน้ อันบคุ คลกระทําแลว เปนกรรมดี คือเปนกรรมงาม ไดแ กสละสลวย. ในเวลาจบเทศนา การตรสั รธู รรมไดม แี กสัตว ๘ หมืน่ ๔ พนั แลวดังนีแ้ ล. เรือ่ งนายสุมนมาลาการ จบ.

พระสุตตันตปฎ ก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 213 ๑๐. เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี [๕๔] ขอ ความเบ้ืองตน พระศาสดา เมื่อประทบั อยูใ นพระเชตวนั ทรงปรารภพระเถรีนามวา อบุ ลวรรณา ตรสั พระธรรมเทศนาน้ีวา \"มธุวา มฺตี พาโล\"เปนตน . พระเถรีตั้งความปรารถนา ดงั ไดสดับมา พระเถรนี นั้ ตง้ั ความปรารถนาไวแ ทบบาทมูลของพระพทุ ธเจาพระนามวาปทมุ ุตตระ กระทาํ บุญทัง้ หลาย สนิ้ แสนกัลปทอ งเทย่ี วอยู ในเทวดาและมนุษย จตุ จิ ากเทวโลก ถือปฏิสนธใิ นสกุลเศรษฐี ในกรุงสาวตั ถี ในพุทธุปบาทกาลน.ี้ ก็มารดาบดิ าไดตงั้ ชอ่ื นางวา อุบลวรรณนา เพราะนางมีผิวพรรณเหมือนกลบี อบุ ลเขยี ว. ตอมาในกาลท่นี างเจริญวัยแลว พระราชาและเศรษฐีท้ังหลายในสกลชมพู-ทวปี สงบรรณาการไปสสู ํานักของเศรษฐีวา \"ขอเศรษฐจี งใหธ ดิ าแกเ รา.\" ชือ่ วาคนผไู มสง บรรณาการไป มไิ ดม ี. ลําดบั นนั้ เศรษฐีคิดวา \"เราจักไมส ามารถเอาใจของคนทง้ั หมดได. แตเราจักทาํ อบุ ายลักอยางหนง่ึ .\" เศรษฐีนนั้ เรียกธดิ ามาแลว กลา ววา \" แม เจาจกั อาจเพื่อบวชไหม ? \" คําของบดิ าไดเปนเหมอื นน้ํามนั ทห่ี ุงแลว ตั้ง ๑๐๐ ครงั้อนั เขารดลงบนศรี ษะ เพราะความทนี่ างมีภพมใี นท่สี ุด; เพราะฉะนั้นนางจึงกลาวกะบดิ าวา \"พอ ฉันจักบวช.\" เศรษฐนี ั่น ทําสักการะเปน อันมากแกน างแลว นาํ นางไปสูสาํ นกั นางภิกษณุ ี ใหบ วชแลว .

พระสตุ ตันตปฎก ขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ที่ 214 พระอุบลวรรณาเถรบี รรลุพระอรหตั เมอ่ื นางบวชแลวไมนาน วาระรักษาลูกดาลในโรงอโุ บสถถึงแลวนางตามประทปี กวาดโรงอุโบสถ ยนื ถอื นิมิตแหง เปลวประทปี แลดูแลว ๆ เลา ๆ ยงั ฌานมีเตโชกสิณเปน อารมณใ หเกิดแลว กระทาํ ฌานน้ันแลใหเ ปนบาท บรรลุพระอรหตั พรอมดว ยปฏิสมั ภิทาและอภญิ ญาท้ังหลายแลว. โดยสมยั อน่ื พระเถรนี ั้นเทย่ี วจาริกไปในชนบท กลับมาแลว เขาไปสูปาอนั ธวนั . ในกาลนน้ั พระศาสดายังไมทรงหา มการอยปู าของพวกนางภิกษุณี. ครงั้ นั้นพวกมนุษยท ํากระทอ ม ต้ังเตยี งกั้นมานไวในปา น้นั แกพระเถรนี น้ั . พระเถรีน้นั เขาไปบณิ ฑบาตในกรงุ สาวตั ถีออกมาแลว. นนั ทมาณพขม ขนื พระเถรี ฝายนนั ทมาณพ ผูเปนบตุ รแหง ลงุ ของพระเถรนี ัน้ มจี ิตปฏพิ ทั ธตง้ั แตก าลแหงพระเถรียงั เปน คฤหสั ถ สดับความที่พระเถรมี า จึงไปสูปาอนั ธวนั กอนแตพ ระเถรีมาทีเดยี ว เขา ไปสูกระทอ ม ซอ นอยภู ายใตเตยี งพอเม่อื พระเถรมี าแลว เขา ไปสกู ระทอ ม ปด ประตู น่งั ลงบนเตยี ง เมอ่ืความมดื ในคลองจกั ษุยังไมทนั หาย เพราะมาจาก (กลาง) แดดในภายนอก, จึงออกมาจากภายใตเตยี ง ข้ึนเตียงแลว ถกู พระเถรหี ามอยูว า\" คนพาล เธออยา ฉิบหายเลย, คนพาล เธออยาฉิบหายเลย\" ขม ขืนกระทํากรรมอันตนปรารถนาแลว กห็ นไี ป. คร้งั นน้ั แผน ดนิ ใหป ระดจุวาไมอ าจจะทรงโทษของเขาไวได แยกออกเปน ๒ สว นแลว . เขาขาไปสูแผน ดนิ ไปเกิดในอเวจีมหานรกแลว .

พระสตุ ตันตปฎ ก ขทุ ทกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 215 ฝายพระเถรี บอกเน้อื ความแกภ กิ ษณุ ีท้ังหลายแลว. พวกภกิ ษุณีแจง เนือ้ ความน้นั แกภกิ ษทุ ง้ั หลาย. พวกภกิ ษุ กราบทูลแดพ ระผมู -ีพระภาคเจา . คนพาลประสบทุกขเพราะบาปกรรม พระศาสดา ทรงสดบั เร่ืองนั้นแลว ตรัสเรียกภิกษทุ ัง้ หลายมาตรสัวา \" ภกิ ษุท้ังหลาย บรรดาภกิ ษุ ภกิ ษุณี อบุ าสก อบุ าสกิ า ผใู ดผหู นึ่งเปนพาล เมอ่ื ทาํ กรรมลามก เปน ผูยินดีราเริง เปนประดุจฟูข้นึ ๆยอ มทาํ ได ประดุจบุรุษเค้ียวกินรสของหวาน มจี ําพวกน้ําผึง้ และนาํ้ ตาลกรวดเปน ตน บางชนิด\" ดังนแ้ี ลว เม่อื จะทรงสืบอนุสนธแิ สดงธรรม ตรัสพระคาถาน้ีวา :- ๑๐. มธวุ า มฺ ตี พาโล ยาว ปาป น ปจจฺ ติ ยทา จ ปจจฺ ติ ปาป อถ (พาโล) ทุกฺข นคิ จฺฉติ. \"คนพาลยอ มสําคัญบาปประดจุ นํา้ ผ้ึง ตราบเทา ทบี่ าปยังไมใหผ ล; กเ็ ม่ือใด บาปใหผล; เมอื่ น้นั คนพาล ยอมประสพทกุ ข. แกอรรถ บรรดาบทเหลานัน้ บทวา มธวุ า เปน ตน ความวา กเ็ มอ่ืคนพาลกระทําบาป คืออกุศลกรรมอยู กรรมน้นั ยอ มปรากฏดจุ นา้ํ ผึ้ง คอืดุจนา้ํ หวาน ไดแกประดุจนา ใคร นาชอบใจ, คนพาลนนั้ ยอมสําคัญบาปน้ัน เหมอื นนํ้าหวาน ดว ยประการฉะนี้. บทวา ยาว คือ ตลอดกาลเพียงใด.

พระสุตตนั ตปฎก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ท่ี 216 สองบทวา ปาป น ปจฺจติ ความวา คนพาล ยอมสําคัญบาปนั้นอยา งนนั้ ตราบเทาทีบ่ าปยังไมใ หผ ลในทิฏฐธรรม หรอื ในสัมปรายภพ. บทวา ยทา จ ความวา กใ็ นกาลใด เม่ือคนพาลนนั้ ถูกทาํกรรมกรณตาง ๆ ในทฏิ ฐธรรม หรอื เสวยทุกขใ หญใ นอบายมนี รกเปนตน ในสมั ปรายภพ บาปนัน้ ชื่อวา ยอ มใหผล; ในกาลน้นั คนพาลนน้ัยอมเขาถงึ คือประสพ ไดแกกลับไดท กุ ข. ในกาลจบเทศนา ชนเปน อนั มากบรรลอุ รยิ ผลท้งั หลาย มโี สดา-ปตติผลเปน ตน . พระขีณาสพไมย ินดกี ามสุข โดยสมัยอนื่ มหาชนสนทนากันในธรรมสภาวา \"แมพระขณี าสพทง้ั หลาย ชะรอยจะยังยินดกี ามสขุ ยังเสพกาม, ทาํ ไมจักไมซ อ งเสพ;เพราะพระขณี าสพเหลานั้น ไมใ ชไ มผ,ุ ไมใ ชจ อมปลวก. มเี น้อื และสรีระยังสดเหมือนกนั ; เพราะฉะนน้ั แมพระขณี าสพเหลา นัน้ ยังยินดีกามสุข, ยังเสพกาม.\" พระศาสดา เสด็จมา ตรัสถามวา \"ภกิ ษุทงั้ หลาย บดั นี้ พวกเธอนั่งสนทนาดวยเร่ืองอะไรกนั ?\" เมื่อพวกภกิ ษุ กราบทูลวา \" ดวยเรื่องชอื่ นี้\" จึงตรัสวา \"ภิกษทุ ้ังหลาย พระขีณาสพทง้ั หลาย ไมยนิ ดีกามสขุ ไมเ สพกาม, เหมือนอยา งวา หยาดน้าํ ตกลงบนใบบวั ยอ มไมต ิด ไมต ัง้ อย.ู ยอมกล้ิงตกไปทเี ดยี ว; และเหมือนเมล็ดพนั ธุผักกาดไมต ดิ ไมตงั้ อยู ที่ปลายเหลก็ แหลม, ยอมกล้ิงตกไปแนแ ท ฉันใด;

พระสุตตนั ตปฎ ก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาที่ 217กามแม ๒อยา ง ยอมไมซึมซาบ ไมต ้ังอยูในจติ ของพระขณี าสพ ฉันน้นั \"ดงั นแ้ี ลว เมอ่ื จะทรงสบื อนุสนธแิ สดงธรรม จงึ ตรัสพระคาถาม ในพราหมณวรรค๑วา :- \"เรากลา วบุคคล ผไู มติดอยใู นกามท้งั หลาย เหมือนนํ้าไมติดอยูในใบบวั เหมือนเมลด็ พันธุ ผักกาดไมต ิดอยทู ี่ปลายเหล็กแหลม; วาเปน พราหมณ. \" เนอื้ ความแหงพระคาถานี้ จักแจม แจงในพราหมณวรรคนน่ั แล. ภกิ ษุณีควรอยใู นพระนคร กพ็ ระศาสดา รับสง่ั ใหเชิญพระเจาปเสนทิโกศลมาแลว ตรสั วา\" มหาบพติ ร แมกลุ ธิดาทัง้ หลาย ในพระศาสนาน้ี ละหมญู าตอิ ันใหญและกองแหง โภคะมาก บวชแลว ยอ มอยูในปา เหมอื นอยางกลุ บุตรทงั้ หลายเหมือนกัน, คนลามก ถูกราคะยอ มแลว ยอ มเบยี ดเบียนภิกษณุ ีเหลา นัน้ ผูอยใู นปา ดวยสามารถแหงการดถู กู ดูหมนิ่ บา ง ใหถ งึ อนั ตรายแหง พรหมจรรยบาง; เพราะฉะน้นั พระองคควรทําทอ่ี ยูภายในพระนครแกภิกษณุ ีสงฆ. \" พระราชา ทรงรบั วา \"ดลี ะ\" ดังน้แี ลว รับส่ังใหส รางท่อี ยูเพ่ือภกิ ษุณีสงฆ ท่ขี า งหนึง่ แหง พระนคร. จาํ เดิมแตน ้ันมา พวกภกิ ษุณียอ มอยใู นละแวกบานเทา นนั้ . เรอื่ งพระอุบลวรรณาเถรี จบ.๑. ขุ. ธ. ๒๕/๖๙.

พระสุตตันตปฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ที่ 218 ๑๑. เรื่องชมั พกุ าชวี ก [๕๕] ขอความเบื้องตน พระศาสดา เมือ่ ประทับอยใู นพระเวฬวุ ัน ทรงปรารภชมั พกุ าชีวกตรัสพระธรรมเทศนาน้ีวา \"มาเส มาเส กุสคฺเคน\" เปนตน . กุฏมพบี าํ รงุ พระเถระ ไดยินวา ในกาลแหงพระสัมมาสมั พุทธเจา พระนามวากสั สปในอดตี กาล กุฎมพชี าวบา นคนหน่ึง สรา งวิหาร ( ถวาย ) แกพระเถระรูปหน่ึงแลว บํารงุ พระเถระผอู ยใู นวิหารน้ันดว ยปจ จยั ๔. พระเถระฉนั ในเรือนของกุฎมพีนนั้ เปนนิตย. ครัง้ นน้ั ภกิ ษุขีณาสพรูปหนึง่ เท่ยี วบิตฑบาตในกลางวนั ถึงประตเู รอื นของกฎุ ม พีนั้น. กฎุ มพีเหน็ พระ-ขีณาสพน้ันแลว เล่ือมใสในอิริยาบถของทาน นมิ นตใ หเขา ไปสูเรอื นอังคาสดว ยโภชนะอันประณีตโดยเคารพ ถวายผาสาฎกผนื ใหญ ดวยเรียนวา \" ทา นผเู จริญ ทา นพึงยอมผาสาฎกนีน้ ุงเถิด\" ดังนแี้ ลว เรยี นวา\" ทา นผเู จริญ ผมของทานยาว; กระผมจักนาํ ชา งกลั บกมา เพอ่ื ประโยชนแกอนั ปลงผมของทาน, จักใหจัดเตยี งมาเพือ่ ประโยชนแกก ารนอน.\"ภิกษกุ ลุ ุปกะ ผูฉนั อยูใ นเรือนเปนนิตย เห็นสกั การะนัน้ ของพระ-ขณี าสพนน้ั ไมอาจยงั จติ ใหเ ลือ่ มใสได คดิ วา \" กฎุ มพีน้ี ทาํ สกั การะน้นั เห็นปานนี้ แกภกิ ษุผูท ค่ี นเห็นแลว ครูเดยี ว, แตไ มทําแกเ ราผฉู ันอยูในเรอื นเปน นติ ย\" ดังน้แี ลว ไดไปสวู ิหาร. แมภิกษุขณี าสพนอกน้ี

พระสตุ ตนั ตปฎ ก ขทุ ทกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ท่ี 219ไปกบั ดวยภิกษุน้ันนน่ั แล ยอมผา สาฎกทก่ี ฏุ ม พถี วายนุง แลว. แมกุฎมพีพาชา งกัลบกไปใหป ลงผมของพระเถระ ใหค นลาดเตยี งไวแลว เรยี นวา\" ทานผเู จริญ ขอทา นจงนอนบนเตียงน้แี หละ\" นมิ นตพ ระเถระทัง้ สองรปู เพื่อฉันในวันพรุงนแ้ี ลว กห็ ลกี ไป. ภิกษุเจา ถ่ินไมอ าจอดกล้ันสกั การะท่ีกุฎม พีทําแกพ ระขีณาสพน้นั ได. ดา พระอรหันตด ว ยอาการ ๔ มโี ทษ ครน้ั เวลาเยน็ เธอไปสูทีท่ ี่พระเถระนนั้ นอนแลว ดาดวยอาการ๔ อยางวา \" อาคันตุกะผูมีอายุ ทา นเค้ียวกินคถู ประเสริฐกวาการบรโิ ภคภัตในเรือนของกุฎม พ.ี ทา นใหถ อนผมดว ยแปรงตาล ประเสริฐวา การปลงผมดว ยชา งกัลบก ทีก่ ฎุ มพีนํามา, ทานเปลอื ยกายเท่ียวไปประเสรฐิ กวา การนงุ ผาสาฎก ท่กี ฏุ ม พีถวาย, ทานนอนเหนอื แผนดินประเสรฐิ กวาการนอนบนเตยี ง ทก่ี ฎุ มพนี ํามา.\" ฝายพระเถระ คิดวา\" คนพาลน่ี อยาฉบิ หายเพราะอาศัยเราเลย\" ดงั นี้แลว ไมเอ้ือเฟอ ถึงการนมิ นต ลกุ ข้นึ แตเชาตรไู ดไปตามสบายแลว. ฝายภิกษเุ จา ถ่นิ ทําวัตรทค่ี วรทําในวิหารแตเ ชาตรูแลว เคาะระฆงั ดว ยหลังเลบ็ เทานนั้ ดว ยความสาํ คญั วา \" เวลานี้ เปนเวลาเทีย่ วภิกษา, แมบ ดั น้ี ภิกษุอาคนั ตุกะหลับอย,ู เธอพงึ ต่ืนดว ยเสียงระฆัง ดังนแี้ ลว เขาไปสูบ า นเพือ่บิณฑบาต แมก ุฎมพีนัน้ กระทาํ สักการะแลว แลดทู างมาของพระเถระทั้งสอง เห็นภิกษเุ จาถิ่นแลว ถามวา \" ทา นผูเ จริญ พระเถระไปไหน ?\"ทนี ั้น ภกิ ษุเจาถิ่น กลา วกะกฎุ ม พนี ั้นวา \" ผมู อี ายุ อยา ไดพ ดู ถึงเลยภิกษุกุลปุ กะของทาน เขา สูหองนอย ในเวลาทีท่ านออกไปเมือ่ วาน

พระสตุ ตนั ตปฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาท่ี 220กา วลงสคู วามหลบั เมอื่ ขาพเจา ทําเสียงกวาดวิหารก็ดี เสียงกรอกนาํ้ในหมอฉันและหมอ นํ้าใชก็ดี เสยี งระฆังก็ดี ตงั้ แตเชาตรู ก็ยงั ไมรสู ึก...\"กฎม พีคิดวา \"ชอ่ื วา การหลบั จนถึงกาลน้ี ยอมไมมี แกพ ระผเู ปน เจา ของเราประกอบดว ยอริ ิยาบถสมบตั เิ ชนน้ัน, แตท า นผูเ จริญรปู น้ี จักกลา วคําอะไร ๆ แนน อน เพราะเหน็ เราทําสกั การะแกทาน.\" เพราะความทต่ี นเปนบณั ฑติ กุฎม พีนน้ั จงึ นิมนตใ หภ กิ ษุฉนั โดยเคารพ ลางบาตรของทา นใหด แี ลว ใหเต็มดวยโภชนะมีรสเลิศตา ง ๆ แลวกลาววา \" ทานผูเ จรญิ ถา ทานพึงเหน็ พระผูเปนเจา ของกระผม, ทานพงึ ถวายบิณฑบาตน้ี แกพ ระผเู ปนเจา นัน้ .\" ภิกษนุ อกนีพ้ อรับบณิ ฑบาตน้ันแลว กค็ ิดวา\"ถา ภิกษนุ ้นั จกั บริโภคบิณฑบาตเห็นปานนี้ไซร, เธอกจ็ ักของอยูในที่นี้เทา นั้น\" ทิ้งบิณฑบาตน้ันในระหวา งทาง ไปสทู ีอ่ ยขู องพระเถระ แลดูพระเถระนนั้ ในทนี่ น้ั มไิ ดเห็นแลว . ทนี ้ัน สมณธรรมแมท ่เี ธอทาํ ไว ส้ินสองหมื่นปไมอาจเพ่ือรกั ษาเธอได เพราะเธอทาํ กรรมประมาณเทาน.้ี ก็ในกาลส้ินอายุ เธอเกิดแลวในอเวจี เสวยทกุ ขเปนอนั มาก สนิ้ พทุ ธนั ดรหนงึ่ ในพทุ ธุปบาทกาลนี้ เกิดในเรือนแหงตระกลู ซึง่ มีขาวและนํ้ามากแหงหนึ่งในพระนครราชคฤห. โทษของการดาพระอรหันต จาํ เดิมแตกาลทีเ่ ดินไดด วยเทา เขาไมป รารถนา เพ่ือจะนอนบนที่นอนทเี ดยี ว ไมป รารถนาเพื่อจะบริโภคภัต, เคย้ี วกนิ แตส รรี วลญั ชะ๑ของตนเทา นั้น. มารดาบิดา เลี้ยงทารกนัน้ ไว ดวยสาํ คญั วา \" เด็ก๑. อุจจาระ.

พระสุตตันตปฎ ก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ที่ 221ไมร เู พราะยงั ออ น จงึ ทาํ .\" แมใ นเวลาเปนผูใหญ เขาไมป รารถนาเพอื่จะนงุ ผา. เปนผูเ ปลือยกายเทีย่ วไป นอนบนแผน ดนิ , เคี้ยวกินแตสรีรวลัญชะของตนเทานน้ั . ลําดบั นน้ั มารดาและบดิ าของเขา คิดวา\" เด็กน้ีไมส มควรแกเรือนแหง สกุล; เด็กน้สี มควรแกพวกอาชีวก\" ดังน้ีแลว จงึ นําไปสูสํานกั ของอาชีวกเหลานัน้ ไดมอบใหว า \" ขอทา นท้ังหลายจงยังเดก็ นใ้ี หบ วชเถิด.\" ลาํ ดบั น้ัน อาชีวกเหลาน้ันยงั เขาใหบ วชแลว กแ็ ลครนั้ ใหบวชแลว พวกอาชีวกนน้ั ตง้ั เขาไวใ นหลุมประมาณเพยี งคอ วางไมเ รียบไวบนจะงอยบา ทง้ั สอง นงั่ บนไมเรียบเหลาน้นั ถอนผมดว ยทอ นแหงแปรงตาล. ลาํ ดับน้นั มารดาบิดาของเขา เชญิ อาชวี กเหลาน้นั เพือ่ ฉันในวนั พรงุ น้ีแลว หลกี ไป. วนั รุง ข้นึ พวกอาชวี กกลาวกะเขาวา \"ทา นจงมา, พวกเราจกั เขา ไปสบู าน.\" เขากลาววา \"ขอเชญิ พวกทานไปเถิด, ขาพเจา จกั อยใู นที่น้ีแล\" ดังนีแ้ ลว กไ็ มปรารถนา.ครั้งนน้ั อาชวี กทั้งหลาย ไดละเขาผกู ลาวแลว ๆ เลา ๆ ซ่งึ ไมปรารถนาอยู ไปแลว . ฝายเขาทราบความทีอ่ าชวี กเหลาน้ันไปแลว เปดประตูเวจกฏุ ีลงไปกินคูถปน ใหเปน คาํ ดวยมอื ท้งั สอง พวกอาชีวกสงอาหารไปจากภาย-ในบานเพื่อเขา. เขาไมป รารถนาแมอาหารนน้ั , แมถกู พวกอาชวี กกลา วอยูบอย ๆ ก็กลา ววา \"ขาพเจา ไมต อ งการอาหารน.้ี อาหารอันขา พเจาไดแลว .\" พวกอาชวี กถามวา \" ทานไดอ าหารท่ีไหน ?\" เขาตอบวา \"ื ไดในท่ีนนี้ ้ันเอง. \" แมในวันท่ี ๒ ท่ี ๓ ที่ ๘ เขาถกู พวกอาชีวกน้ัน กลาวอยแู มมากอยา งนัน้ ก็ยังกลา ว \"ขา พเจาจกั อยูในที่นแี้ หละ\" ไมป รากฏนาเพือ่ จะไปบาน. พวกอาชีววิ ก คิดวา \"อาชีวกนี้ ไมป รารถนาจะเขา

พระสตุ ตันตปฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ท่ี 222บา นทุกวัน ๆ ทีเดยี ว, ไมป รารถนาจะกลืนกินอาหารทพี่ วกเรานํามาใหกลา วอยูวา 'อาหารเราไดแ ลว ในทน่ี ี้เทยี ว; เขาทําอะไรหนอแล ? พวกเราจกั จบั ผิดเขา' ดังนีแ้ ลว เม่อื จะเขาไปสบู าน เวน คนไวคนหนึง่สองคน เพือ่ จับผดิ แมซึง่ อาชวี กนนั้ จึงไป. อาชีวกเหลานั้น เปนราวกะไปขางหลัง ซอนอยูแลว . แมเ ขา รูความทอ่ี าชวี กเหลา น้นั ไปแลว ลงสูเ วจกฎุ ี กินคถู โดยนยั กอนนั้นแล. พวกอาชีวกนอกนี้ เห็นกริ ิยาของเขาแลว จงึ บอกแกอ าชีวกทัง้ หลาย. พวกอาชีวก ฟง คาํ นนั้แลว คิดวา \" โอ กรรมหนัก; ถา สาวกของพระสมณโคดม พึงรูไ ซร, พึงประกาศความเสื่อมเกียรติของพวกเราวา 'อาชีวกทงั้ หลายเทย่ี วกนิ คูถ; อาชีวกนี้ไมสมควรแกพวกเรา\" จงึ ขบั ไลเขาออกจากสํานกั ของตนแลว . เขาถูกพวกอาชีวกเหลา น้ันไลอ อกแลว . มหี นิ ดาดกอนหนึง่ ท่เี ขาลาดไวใ นท่ีถายอจุ จาระของมหาชน, มีกระพังใหญบ นแผนหนิ นนั้ , มหาชนอาศยั หินดาดเปน ทถ่ี ายอจุ จาระ. เขาไปในทน่ี ้ันกนิ คถู ในกลางคืน ในกาลทีม่ หาชนมาเพอ่ื ตอ งการถา ยอจุ จาระ เหนย่ี วกอ นหินขางหนง่ึ ดว ยมือขา งหนง่ึ ยกเทาขน้ึ ขา งหนึ่งตั้งไวบนเขา ยืนเงยหนา อาปากอย.ู มหาชนเหน็ เขาแลว เขาไปหา ไหวแลว ถามวา\" ทานผเู จรญิ เพราะเหตุไร พระผูเปน เจา จงึ ยนื อา ปาก ?\" อาชวี ก. (เพราะ) เรามีลมเปน ภักษา อาหารอยางอน่ื ของเราไมม .ี มหาชน. เมอื่ เชนน้นั เพราะเหตไุ ร ทานจึงยกเทา ขางหนงึ่ ตั้งไวบนเขา ยืนอยูเลา ขอรบั ? อาชวี ก. เรามตี บะสงู มีตบะกลา แผน ดนิ ถกู เราเหยยี บดว ยเทา

พระสุตตนั ตปฎ ก ขทุ ทกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนา ท่ี 223ท้ังสองยอมหว่นั ไหว; เพราะฉะนั้น เราจึงยกเทาขึ้นขางหนงึ่ ไวบ นเขายนื อยู, ก็เราแลยืนอยางเดยี ว ยิ่งกาลใหลวงไป ไมน่งั ไมน อน. ขึน้ ชอื่ วา พวกมนุษยโ ดยมาก มกั เช่ือเพยี งถอยคาํ เทานั้น; เพราะ-ฉะนั้น ชนชาวแควน องั คะและมคธะโดยมาก จงึ ลือกระฉอนวา \"แหม !นาอศั จรรยจ รงิ . ทา นผมู ีตบะชอ่ื แมเ ห็นปานนี้ มีอยู, ผเู ชน น้ี พวกเรายังไมเคยเห็น\" ดงั นี้แลว ยอ มนาํ สกั การะเปน อันมากไปทกุ ๆ เดือน.อาชวี กน้ัน กลา ววา \"เรากินลมอยางเดียว, ไมก ินอาหารอยา งอื่น.เพราะเมอ่ื เรากินอาหารอยางอ่ืน ตบะยอ มเส่ือมไป \" ดังนีแ้ ลว ไมปรารถนาของอะไรๆ ที่พวกมนษุ ยเ หลา น้นั นาํ มา. พวกมนษุ ย ออนวอนบอย ๆ วา \" ทานผูเ จรญิ ทานอยาใหพ วกกระผมฉิบหายเลย, การบริโภค อันคนผมู ีตบะกลา เชนทา นกระทาํ แลว ยอ มเปน ไปเพอ่ื ประโยชนเพอื่ ความสขุ แกพ วกกระผม ส้ินกาลนาน.\" อาชวี ก กลา ววา \"เรานน้ั ไมชอบใจอาหารอยา งอ่นื \" แตถูกมหาชนรบกวนดว ยการออนวอนจงึ วางเภสัชมีเนยใสและนํ้าออ ยเปน ตน อันชนเหลา นั้นนํามา ที่ปลายล้นิดว ยปลายหญา คาแลว สง ไป ดวยคาํ วา \" พวกทา นจงไปเถดิ , เทา นี้พอละเพ่อื ประโยชน เพอ่ื ความสขุ แกทา นทงั้ หลาย.\" อาชวี กนั้นเปนคนเปลอื ย เค้ยี วกนิ คถู ถอนผม นอนบนแผน ดนิ ใหก าลลวงไป๕๕ ป ดวยประการฉะน้.ี พระพุทธเจา เสด็จไปโปรดชมั พุกาชีวก การตรวจดูสัตวโลก ในเวลาใกลร ุง๑ เปน พุทธกจิ แมอ ัน๑. ปจจฺ ูสกาเล ปฏ-ิ อสุ -กาล กาลเปนที่กําจดั ตอบซงึ่ มืด.

พระสุตตนั ตปฎ ก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หนาที่ 224พระพุทธเจา ทัง้ หลาย ไมทรงละโดยแท; เพราะฉะนั้น เมือ่ พระผูมี-พระภาคเจา ทางพิจารณาดสู ัตวโลกในเวลาใกลรงุ วนั หนงึ่ , ชมั พกุ าชีวกน้ี ปรากฏภายในขา ยคือพระญาณแลว . พระศาสดา ทรงใครค รวญวา\"อะไรหนอแล จักมี ?\" ทรงเหน็ อุปนสิ ยั แหงพระอรหัต พรอ มดวยปฏิสัมภิทาของเขาแลว ทรงทราบวา \"เราจักทําชัมพกุ าชีวกน้นั ใหเปนตนแลว กลาวคาถา ๆ หน่ึง, ในกาลจบคาถา สัตว ๘ หมนื่ ๔ พนัจักตรัสรธู รรม อาศยั กุลบตุ รนี้ มหาชนจักถึงความสวสั ด\"ี ดังนแ้ี ลวในวนั รงุ ขนึ้ เสด็จเทย่ี วไปในกรุงราชคฤหเพอ่ื บณิ ฑบาต เสด็จกลับจากบณิ ฑบาตแลว ตรัสกะพระอานนทเถระวา \"อานนท เราจกั ไปสสู าํ นกัของชมั พกุ าชวี ก.\" อานนท. พระองคเ ทา น้นั จักเสดจ็ ไปหรือ พระเจา ขา ? พระศาสดา. อยา งน้นั เราผเู ดียวจกั ไป. พระศาสดา ครัน้ ตรัสอยา งนนั้ แลว ในเวลาบา ย เสดจ็ ไปสูสํานกัของชมั พุกาชีวกน้ัน. เทวดาทงั้ หลาย คิดวา \"พระศาสดาจะเสดจ็ ไปสูสํานักของชัมพกุ าชีวกในเวลาเย็น, กช็ ัมพกุ าชวี กนั้น อยบู นหนิ ดาดนาเกลยี ด เปนท่ีถายอจุ จาระปส สาวะ เศราหมองดวยไมช ําระฟน,พวกเราควรใหฝ นตก\" ดงั นแ้ี ลว จงึ ยังฝนใหต ก ครเู ดียวเทานน้ัดวยอานุภาพของตน. หินดาด ไดสะอาดปราศจากมลทนิ แลว . ลําดับนนั้เทวดาทง้ั หลาย ยังฝนเปนวิการแหงดอกไม ๕ สี ใหต กลงบนหนิ ดาดนนั้ . ในเวลาเยน็ พระศาสดา เสด็จไปสสู ํานักของชัมพุกาชวี กแลว ไดเปลง พระสุรเสียงวา \"ชัมพุกะ.\" ชมั พกุ ะคิดวา \"น่นั ใครหนอแล รูย าก




















































Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook