Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 0000005674

0000005674

Published by สมหมาย เสียงเพราะ, 2022-07-30 10:31:35

Description: 0000005674

Search

Read the Text Version

คำนำ ด้วยน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรง คุณูปการย่ิงใหญ่มากล้นต่ออาณาประชาราษฎร์และต่อสยามประเทศ ตลอดพระชนม์ชีพ นับแต่เถลิงถวัลย- ราชสมบัติ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ จวบจนเสด็จสู่สวรรคาลัยในวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ กาลล่วงแล้ว นับ ๑๐๐ ปีในวันท่ี ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ธนาคารกสิกรไทย ขอถวายกตเวทิตาคุณ โดยโครงการ “ธิราชเจ้าจอมสยาม” ไดจ้ ดั ทำเป็นหนังสือและสารคดีก่งึ ละครโทรทศั น์ เทิดพระเกยี รติเพอ่ื น้อมรำลึกในวาระน้ี หนังสือ “ธิราชเจ้าจอมสยาม” น้ี ผศ. ดร. วงเดือน นาราสัจจ์ ผศ. ชมพูนุท นาคีรักษ์ และอาจารย์ สุวรรณา สัจจวีรวรรณ ได้ค้นคว้าประมวลเรียบเรียงข้อมูลอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ พล.ต. ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี ได้ตรวจทานข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ และคุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ได้อ่านทานเชิงภาษาวรรณกรรม พรอ้ มทงั้ ไดร้ บั ความอนเุ คราะหใ์ นการสำเนาภาพเพอ่ื ประกอบในหนงั สอื เลม่ นี้ จากสำนกั หอจดหมายเหตแุ หง่ ชาติ กรมศลิ ปากร และภาพจากหนงั สอื ตา่ งๆ ทป่ี รากฏชอื่ ในบรรณานกุ รม จงึ เชอ่ื มนั่ วา่ หนงั สอื “ธริ าชเจา้ จอมสยาม” จะเป็นหนงั สือวิชาการท่ีอ่านเพลนิ แน่นดว้ ยสาระ ถกู ต้องตามข้อเท็จจริงเชิงประวตั ิศาสตร์ เพ่ือผู้อ่านจะได้ร่วม ถวายราชสักการะแดส่ มเดจ็ พระปิยมหาราช ผู้ทรงเปน็ ทีร่ ักและสถิตในดวงใจชาวไทยทุกดวง ๒๓ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๕๓

คำนิยม ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีแห่งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในป ี พุทธศักราช ๒๕๕๓ นับเป็นวาระสำคัญที่ชาวไทยทุกคนจะได้ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันย่ิงใหญ่ ทที่ รงมตี ่ออาณาประชาราษฎรแ์ ละสยามประเทศมาตราบจนทุกวนั นี ้ ผมได้อ่านตรวจทานความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ของหนังสือ “ธิราชเจ้าจอมสยาม” เล่มนี้แล้ว ขอแสดงความชื่นชม ผศ. ดร. วงเดือน นาราสัจจ์ ผศ. ชมพูนุท นาคีรักษ์ และอาจารย์สุวรรณา สัจจวีรวรรณ ท่ีได้ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้ตรงกับข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้ “ธิราชเจ้า จอมสยาม” เป็นหนังสือท่ีมีมุมมองในอีกมิติหน่ึงท่ีน่าสนใจ มีการใช้ภาษาท่ีอ่านเข้าใจง่าย สามารถทราบ เร่ืองราวของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ผ่านพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในภาพรวมได้ในเล่มเดียว ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลท่ัวไปและต่อเยาวชนรุ่นหลังที่จะได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์ อันทรงคุณค่าแล้ว ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสในความรักอันหาท่ีสุดมิได้ ที่เราทุกคนจะร่วมกันถวายแด่องค์สมเด็จ พระปยิ มหาราชผู้ทรงเปน็ ที่รกั ของคนไทยทกุ คนมิรู้ลมื พลตรี หม่อมราชวงศศ์ ุภวฒั ย์ เกษมศรี

บนั ทึกจากผเู้ ขยี น ครบหนึ่งศตวรรษแห่งการท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ “สยามมินทร์” ไดเ้ สดจ็ สสู่ วรรคาลยั จำพรากจากปวงชนชาวไทย ในวนั ท่ี ๒๓ ตลุ าคม พทุ ธศกั ราช ๒๔๕๓ แตพ่ ระมหากรณุ าธคิ ณุ ที่ทรงมีต่อแผ่นดินสยามและพสกนิกรทุกหมู่เหล่า นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปีพุทธศักราช ๒๔๑๑ ตราบถงึ ปีสุดท้ายแห่งพระชนมช์ พี ยงั คงตราตรงึ สถิตเสถียรอยู่ในความทรงจำของชาวสยามอยา่ งมิรูล้ มื เลอื น ข้าพระพุทธเจ้าคณะผู้เขียนขอประนมกรน้อมเกล้าถวายสักการะในพระราชวิริยะอุตสาหะที่ทรง ตรากตรำพระวรกายและทุ่มเทพระราชหฤทัยบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันหลากหลายอย่างต่อเน่ืองยาวนานถึง ๔๒ ปี และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตประมวลถึงน้ำพระทัยด้านความรักในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในช่ือหนังสือ ธิราชเจ้าจอมสยาม โดยอัญเชิญชื่อน้ีมาจากส่วนหน่ึงของโคลง พระนพิ นธใ์ นพระนางเจา้ สขุ มุ าลมารศรี พระราชเทวี ทที่ รงนพิ นธถ์ วายพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ใน ร.ศ. ๑๑๒ ความวา่ สรวมชพี ข้าบาทผ ู้ ภกั ดี พระราชเทวที รง สฤษด์ิให ้ สุขมุ าลมารศรี เสนายศ นีน้ า ขอกราบทลู ท่านไท้ ธิราชเจ้าจอมสยาม หนังสือเล่มนี้ได้อาศัยข้อมูลจากพระราชดำริ พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท และพระราชหัตถเลขา ที่ทรงไว้ตลอดรัชสมัย รวมทั้งจากลายพระหัตถ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ จดหมายส่วนบุคคล และเอกสาร ประวัตศิ าสตรอ์ ่นื ๆ ความรกั ในสมเดจ็ พระพทุ ธเจา้ หลวงในลำดบั แรกเรม่ิ จากสมาชกิ แหง่ บรมราชจกั รวี งศ์ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระองค์ในฐานะองค์พระประมุขแห่งราชตระกูลโดยสมบูรณ์ พระราชทาน พระเมตตาเก้ือกูลดูแลทำนุบำรุงพระบรมวงศานุวงศ์ทุกระดับช้ันอย่างทั่วถึงท้ังพระญาติผู้ใหญ่ พระอนุชา พระขนษิ ฐา พระภรรยา พระโอรสธดิ า และเครือราชตระกลู ตลอดจนขา้ ราชการข้าราชสำนกั ทั้งฝา่ ยหนา้ ฝ่ายใน ทงั้ ปวง

ส่วนความรักยิ่งใหญ่ที่ทรงผูกพันเป็นพระราชภาระอันสำคัญย่ิงอีกด้านหนึ่งคือ “สยามประเทศ” ซ่ึงพระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ในการบริหารปกครองและดำเนินพระราโชบายอย่างสุขุมรอบคอบ เพ่ือให้สยาม สามารถดำรงไวซ้ งึ่ เอกราชอธปิ ไตย ปลอดพน้ ภยั คกุ คามของลทั ธจิ กั รวรรดนิ ยิ มจากมหาอำนาจตะวนั ตก รวมทงั้ สามารถพัฒนาใหเ้ จริญร่งุ เรอื งยนื ยงมัน่ คงสบื ไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้พระราชทานความรักความใส่พระทัยที่จะขจัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ราษฎรโดยไม่เลือกเชื้อชาติและลัทธิศาสนา พระองค์ทรงพยายามขจัดความเหล่ือมล้ำในสังคม พระราชทานโอกาสให้ประชาชนได้รับสิทธิเสมอภาค มีอิสรภาพในการดำเนินชีวิต สามารถพัฒนาศักยภาพ เปน็ บุคลากรทม่ี คี ุณภาพและมจี ติ สำนึกในการรวมพลังเพอ่ื สร้างคณุ ประโยชนต์ อ่ ประเทศชาติ พระราชกรณียกิจตามกรอบพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ อธปิ ไตย พัฒนา สามัคคี ได้สง่ ผลใหป้ ระเทศสยามมเี สถยี รภาพมั่นคง สามารถพฒั นาใหม้ ีความเจรญิ รุ่งเรือง ทัดเทียมอารยประเทศ สมดังแนวพระราชดำริท่ีให้จัดสร้างตราอาร์มแผ่นดินไว้เป็นสัญลักษณ์แห่งประเทศชาติ ยุคใหม่ ผลงานของพระองค์เป็นที่ประจักษ์ชัดทั้งในหมู่ชาวไทยและต่างชาติสืบต่อมา สอดคล้องกับพระบรม- ราโชวาททีพ่ ระราชทานสมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช เจ้าฟา้ มหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกมุ าร ความว่า ...เจ้าแผ่นดิน...ผลท่ีจะได้นั้น มีแต่ช่ือเสียงท่ีปรากฏเม่ือเวลาตายไปแล้วว่าเปน ผรู้ ักษาวงศ์ตระกลู ไวไ้ ด้ แลเปนผปู้ อ้ งกนั ความทุกข์สุขของราษฎรซง่ึ อยใู่ นอำนาจปกครอง... ดว้ ยเกลา้ ดว้ ยกระหม่อมขอเดชะ วงเดือน นาราสจั จ ์ ชมพูนุท นาครี กั ษ์ สวุ รรณา สจั จวีรวรรณ

สารบัญ บทนำ ความรกั แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หู ัว ธริ าชเจา้ จอมสยาม ๓ ตอนที่ ๑ ความรกั ต่อราชตระกลู ๕ บทท่ี ๑ ปฐมบทแห่งพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หัว ๗ บทท่ี ๒ สนิทเสน่หาในสมเด็จพระพทุ ธเจ้าหลวง ๓๕ บทที่ ๓ โศกนาฏกรรมแห่งพระนางเรือลม่ ๘๕ บทที่ ๔ ความรกั แหง่ พระราชบดิ า ๑๐๕ บทที่ ๕ พระประยรู ญาตผิ คู้ ้ำจุนบัลลงั ก ์ ๑๓๕ บทท่ี ๖ เสถยี รภาพแห่งราชบัลลังก ์ ๑๔๙ ตอนท่ี ๒ ความรักตอ่ แผ่นดินสยาม ๑๖๕ บทที่ ๗ รวมพลังบรหิ ารบ้านเมือง ๑๖๗ บทที่ ๘ ระบบคลังมัน่ คง ๑๘๗ บทที่ ๙ ดำรงยุตธิ รรม ๒๐๑ บทที่ ๑๐ กำเนดิ ทหารอาชีพ ๒๑๗ บทท่ี ๑๑ เกษตรกรรม - อตุ สาหกรรมยุคใหม ่ ๒๓๗ บทท่ี ๑๒ เปิดโลกสือ่ สาร - คมนาคม ๒๕๕ บทท่ี ๑๓ สยามส่วู กิ ฤต ๒๘๑ บทที่ ๑๔ เสด็จประพาสแดนไกล ๓๐๕ บทท่ี ๑๕ ทำนบุ ำรุงพระพทุ ธศาสนา ๓๓๓ บทท่ี ๑๖ ศลิ ปกรรมกา้ วไกล ๓๕๙ ตอนที่ ๓ ความรกั ต่อพสกนิกร ๓๙๓ บทท่ี ๑๗ เลกิ ไพร่ - ทาส ราษฎร์เปน็ ไท ๓๙๕ บทท่ี ๑๘ เพาะบ่มตน้ กลา้ ทางปัญญาแกพ่ สกนิกร ๔๐๕ บทท่ี ๑๙ สาธารณสขุ แหง่ สยาม ๔๒๑ บทท่ี ๒๐ สาธารณูปโภคเพอ่ื ปวงประชา ๔๓๕ บทท่ี ๒๑ ประชาชนเปน็ สขุ ร่มเย็น ๔๔๕ บทท่ี ๒๒ วิถีทันสมยั แหง่ วัฒนธรรม ๔๕๙ บทที่ ๒๓ ชวี ิตไทยทที่ รงประสบ ๔๙๑ บทที่ ๒๔ ปยิ มหาราชาสดุด ี ๕๑๗ ปกณิ กะ : พระราชนยิ มส่วนพระองค์ในพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยูห่ ัว ๕๒๙ บรรณานกุ รม ๕๔๕



บทนำ ความรักแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ธริ าชเจา้ จอมสยาม บารมีพระมากพ้น รำพัน ถ่องแท ้ พระพทิ กั ษย์ ตุ ิธรรม์ สอ่ งโลก ไสร้แฮ บริสทุ ธ์ิดุจดวงตะวนั ย่ิงดว้ ยปิตุรงค์ ทวยราษฎร์รักบาทแม้ (จากลลิ ติ นิทราชาครติ บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ) ในกาลสมัยแห่งพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓) สยามอยทู่ า่ มกลาง กระแสอนั เชยี่ วกรากของลทั ธจิ กั รวรรดนิ ยิ มตะวนั ตกทแี่ พรข่ ยายสดู่ นิ แดนเอเชยี ประเทศสยามถกู กดดนั รอบดา้ น หม่ินเหม่ต่อการสูญเสียเอกราช หากด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีความรักความหวงแหนอธิปไตยของชาติเหนือส่ิงใด และทรงดำเนินพระราโชบายอย่างสุขุมรอบคอบ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคร้ังยิ่งใหญ่ในสยาม จนสามารถรักษาพระราชอาณาเขตและเอกราชของประเทศ ไวไ้ ด้อยา่ งม่นั คง ความรกั อนั ยง่ิ ใหญท่ มี่ ตี อ่ แผน่ ดนิ สยามและพสกนกิ รชาวสยามแหง่ องคพ์ ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ - เจา้ อยหู่ วั ไดส้ ะทอ้ นอยใู่ นการบรหิ ารประเทศตลอด ๔๒ ปแี หง่ การครองราชย์ พระองคท์ รงสรา้ งความวฒั นาถาวร แก่สยามประเทศอย่างใหญ่หลวง นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระองค์ทรงศึกษาแบบแผนการปกครอง ระบบกฎหมาย การคลงั การจดั ระเบยี บสงั คม และความเจรญิ ของตะวนั ตก ทรงพฒั นาประเทศใหเ้ จรญิ กา้ วหนา้ ทดั เทยี มอารยประเทศ โดยมพี ระบรมวงศานวุ งศ์ ขนุ นาง ขา้ ราชการ และทปี่ รกึ ษา เปน็ กำลงั สำคญั ในการปรบั ปรงุ บ้านเมืองให้ทันสมัย เกิดเอกภาพและความม่ันคงสามัคคีในชาติ พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ในชีวิตความเป็นอย ู่ ของราษฎรให้ได้รับความผาสุกร่มเย็น ทรงเป็นที่เคารพสักการะเทิดทูนของเหล่าพสกนิกรซึ่งสำนึกในพระมหา- กรณุ าธคิ ณุ เปน็ อยา่ งยง่ิ ความจงรกั ภกั ดขี องปวงชนชาวไทยทม่ี ตี อ่ พระองคน์ น้ั มากลน้ สดุ ทจ่ี ะหาสงิ่ ใดมาเปรยี บได้ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงเปน็ “พระปยิ มหาราช” ทส่ี ถติ อยใู่ นสำนกึ ของชาวไทยตราบจนปจั จบุ นั



๑ ความรักต่อราชตระกลู



ปฐมบทแหง่ พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัว ๑ ...เมื่อพ่อได้รับราชสมบัติในเวลาอายุเพียง ๑๕ ปีเท่าน้ัน เหมือนตะเกียงริบหรี ่ จวนจะดับ แต่อาศัยด้วยปฏิบัติอธิษฐานน้ำใจในความสัตย์ธรรมมิได้วู่วามแลมิได้ อาฆาตปองร้ายต่อผู้ใด ตั้งใจจะประพฤติตามแบบอย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในต้นพระราชวงศ์ซ่ึงได้ทรงปฏิบัติมา แลอาศัยความอุตสาหะความพิจารณาเนืองนิตย์ จงึ ได้มีความเจริญรงุ่ เรืองสืบมาจนถึงเพียงน.้ี .. (พระราชหตั ถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว ถึงสมเดจ็ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรณุ หศิ สยามมกุฎราชกุมาร) พระราชประวตั ิ พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ร มิ น ท ร ม ห า - จุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระ- มหากษัตริย์รัชกาลท่ี ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ท่ี ๔ ในพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระองค์แรก ในพระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ หรือกรมสมเด็จ พระเทพศิรินทรามาตย์ ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๒๑๕ เทียบปฏิทินทางสุริยคติ ตรงกับ วันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ เวลาย่ำค่ำ ลว่ งแลว้ ๕๑ นาที (๑๘.๕๑ น.) ทรงมพี ระขนิษฐาและ พระอนชุ ารว่ มสมเดจ็ พระบรมราชชนนอี กี ๓ พระองค์ คือ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั

(จากซา้ ยไปขวา) สมเดจ็ พระเจา้ ลกู ยาเธอ เจ้าฟา้ ภาณรุ ังษสี ว่างวงศ ์ สมเด็จพระเจา้ ลกู ยาเธอ เจ้าฟา้ จุฬาลงกรณ ์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจา้ ฟา้ จาตุรนต์รัศม ี ๑. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี (ภายหลังเฉลิมพระนามพระอัฐิเป็น สมเดจ็ เจ้าฟา้ ฯ กรมหลวงวิสุทธกิ ษตั รยิ )์ ๒. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี (ภายหลังเลื่อนพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระจกั รพรรดิพงศ)์ ๓. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ (ภายหลังเล่ือนพระอิสริยยศเป็นสมเด็จ พระราชปติ ุลาบรมพงศาภมิ ขุ เจ้าฟา้ ฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศว์ รเดช) เม่ือพระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ทรงมีพระประสูติกาลพระราชโอรสพระองค์แรก พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ ทรงมพี ระราชหฤทยั ยินดยี ิ่งนกั โปรดเกลา้ ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ และเสนาบดีประกอบพระราชพิธีสมโภชพระราชโอรส และพระราชทานนามพระราชโอรสว่า “เจ้าฟ้า จุฬาลงกรณ์” ต่อมาในวันท่ี ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระ- บรมราชโองการเฉลิมพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร” และโปรดเกล้าฯ ให้ม ี พระอิสรยิ ยศเปน็ เจา้ ฟ้าตา่ งกรม มพี ระนามกรมว่า “กรมหม่ืนพฆิ เนศวรสุรสังกาศ” ทรงศักดนิ า ๔๐,๐๐๐ ในวันท่ี ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๔ สมเด็จพระราชชนนีสิ้นพระชนม์ ขณะที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ยังทรงพระเยาว์ ผู้ท่ีถวายการอภิบาลแทนคือพระองค์เจ้าลม่อม หรือพระบรมมไหยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ซ่ึงทรงเรียกว่า “เสด็จยาย” ต่อมาเมื่อทรงมีพระชันษาถึงกำหนดโสกันต์ ใน พ.ศ. ๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีโสกันต์อย่างเต็ม ตำรา และในปีถัดมาทรงผนวชเป็นสามเณรตามโบราณราชประเพณี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระองคป์ ระทับท่ีวัดบวรนเิ วศวิหาร จนครบ ๖ เดือนจงึ ทรงลาผนวช หลังจากพระบาทสมเด็จพระป่ินเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าสวรรคต ใน พ.ศ. ๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงแต่งต้ังให้ผู้ใดข้ึนดำรงตำแหน่งแทน จนถึง








































































Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook