Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore HighAreaHighAreaNew-60

HighAreaHighAreaNew-60

Published by Takkey Chaiyasing, 2020-10-26 06:46:28

Description: HighAreaHighAreaNew-60

Search

Read the Text Version

การวิจัยการศกึ ษาเปรียบเทยี บการพัฒนาบนพน้ื ท่สี ูงในอดีตและปจั จบุ นั 123 ทฤษฎีบทบาทเกี่ยวข้องกับการให้แรงสนับสนุนทางสงั คมโดยตรง เนื่องจากในเครือขา่ ย ทางสังคมจะประกอบด้วยบทบาทต่างๆ มากมาย นอกจากน้ี บุคคลยังเปลี่ยนแปลงบทบาทได้ ตามสถานการณ์ที่เปล่ยี นแปลงไป บทบาทที่เปลีย่ นแปลงไปย่อมมีผลต่อการสนบั สนุนทางสังคม ทงั้ ใน ด้านบวกและด้านลบ นักสังคมสงเคราะห์จึงต้องมีความเข้าใจในทฤษฎีบทบาท เมื่อปฏิบัติงานโดย คานงึ ถงึ เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนนุ ทางสังคม 14. ทฤษฎกี ารปฏิสัมพนั ธ์ ทฤษฎีการปฏิสัมพันธ์อธิบายถึงเครือข่ายทางสังคมว่า คือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลที่มีความสาคัญ การปฏิสัมพันธ์ของบุคคลในเครือข่ายครอบคลุมการแลกเปล่ียนซ่ึงกันและกัน ทง้ั ทีเ่ ปน็ ทางการและไมเ่ ป็นทางการ ท ฤ ษ ฎี ก า ร ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ส ะ ท้ อ น ใ ห้ เ ห็ น พ ล วั ต ร ข อ ง ก า ร ติ ด ต่ อ สั ม พั น ธ์ ข อ ง บุ ค ค ล ใ น เครือข่าย ต้ังแต่ครอบครัวจนถงึ เครอื ข่ายรอบวงนอกออก เป็นแบบแผนพฤติกรรมของการตอบสนอง ความต้องการของบุคคลในเครือข่าย การปรับตัวระหว่างบุคคลท่ีมีสัมพันธภาพต่อกัน ทฤษฎีการ ปฏิสัมพันธ์จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวิเคราะห์การสนับสนุนทางสังคม ทาให้เห็นแบบแผนของ พฤติกรรมท่ีแสดงออกต่อบุคคลในระดับสัมพันธภาพแตกต่างกัน นักสังคมสงเคราะห์พึงพิจารณา ปฏิสัมพันธ์เหลา่ น้ี ทั้งในด้านบวกและลบ ในการสนับสนนุ ทางสังคมกบั ผู้ใชบ้ ริการ 11. งานวิจัยและผลงานที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาผลการวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธ์ุบนพ้ืนท่ีสูงในประเทศไทยได้ พบผล การศกึ ษาในหลากหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกบั สวัสดิการสงั คมของกลุ่มชาตพิ นั ธบุ์ นพ้นื ที่สูง ดังนี้ สารณีย์ ไทยานันท์และคณะ ( 2545:10-12 ) ได้ทาการวิจัยเรื่อง การต่อสู้ดิ้นรนของ ครอบครัวคนจน กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงหรือชาวเขา ตกอยู่ในสถานะถูกกีดกันและถูกเบียดเป็นคน ชายขอบของสังคม ในมิติทางภูมิศาสตร์ คนชายขอบต้ังถิ่นฐานบริเวณชายแดนระหว่างรัฐ ในมิติทาง สังคมวฒั นธรรม ชาวเขามวี ฒั นธรรมทแ่ี ตกตา่ งจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ มติ ิทางการเมือง ชาวเขา ไม่มีสถานะความเป็นพลเมืองของรัฐใด มิติสิ่งแวดล้อม ที่ตั้งของชุมชนบนภูเขา มีความเสี่ยงต่อการ เกิดภัยธรรมชาติและผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม นอกจากนั้น ความเป็นคนชายขอบยังเกี่ยวข้องกับ กระบวนการลดทอนค่าความเป็นมนุษย์ ซ่ึงจะเกิดข้ึนใน 2 ลักษณะท่ีตรงข้ามกัน คือ (1) การถูกผลักไส เกิดการถูกกีดกัน ลิดรอนอานาจและถูกประทับตราบาป (2) การถูกผนวก เข้าร่วมกระบวนการพัฒนา โดยเฉพาะนโยบายส่งเสริมการท่องเท่ียวชุมชนชาวเขา ทาให้กลุ่มชาติ พันธ์ุบนพ้ืนที่สูง มีสถานภาพเป็นเพียงสินค้าสาหรับเอาใจและบริการนักท่องเที่ยวเท่านั้น เมื่อมอง ชาวเขาผ่านกระบวนการสรา้ งรัฐชาติไทยยุคใหม่ ว่าเป็นชนเผ่าลา้ หลงั ด้อยวัฒนธรรม อาศัยอยู่ในป่า นอกปริมณฑลของความเป็นไทย ส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นท่ีสูง ถูกมองอย่างหวาดระแวงว่าเป็น กลุ่มท่ีเป็นอันตรายต่อความม่ันคงของประเทศ เป็นภัยต่อส่ิงแวดล้อมธรรมชาติ เป็นการสร้าง ความชอบธรรมให้กระบวนการครอบครองและควบคุมพ้ืนท่ีภายในอาณาเขตรัฐ โดยกาหนดพื้นที่ใน

124 การวจิ ัยการศกึ ษาเปรียบเทยี บการพัฒนาบนพืน้ ทส่ี ูงในอดีตและปจั จบุ ัน รูปพื้นท่ีพัฒนา เพื่อความม่ันคงและเขตป่าอนุรักษ์ การพัฒนาการเกษตรที่สูง ทาให้สถานะของ ชาวเขา กลายเปน็ ผู้รา้ ยของกระบวนการอนรุ ักษส์ ิง่ แวดลอ้ ม ปลายปี 2530 เปน็ ตน้ มา กระแสอนุรักษ์ สงิ่ แวดลอ้ มไดข้ ยายตวั ทาให้ชาวเขากลายเป็นผรู้ ้ายคนสาคัญต่อปัญหาความเสือ่ มโทรมของทรพั ยากร และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงข้ึนเป็นลาดับ รวมทั้งนโยบายปราบปราม ยาเสพติด ได้สร้างตราบาปให้กับชาวเขาว่า มีส่วนเก่ียวข้องกับปัญหาการแพร่กระจายของยาเสพติด ทาให้ชุมชนชาวเขาเป็นเป้าหมายของการพัฒนาที่สูงเพ่ือปลูกทดแทนฝิ่น ทาให้ระบบการผลิตของ ชาวเขา ถกู ผนวกเขา้ สูร่ ะบบการผลิตเชิงพาณชิ ย์ อุไรวรรณ แสงศรและคณะ ( 2547:98 - 106 ) ได้ทาการศึกษาเร่ือง ระบบสวัสดิการ สังคมบนท่ีสูงกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาหมู่บ้านชาวเขาในเขตโครงการหลวง พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ มีการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเป็นระบบในลักษณะภูมิปัญญาเชิงปฏิบัติ โดยมีประเภทของกิจกรรมไม่แตกต่างไปจากการจัดสวัสดิการของรัฐท่ีใช้แนวคิดและหลักการแบบ ตะวันตกเท่าใดนักกิจกรรมดังกล่าว แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การสังคมสงเคราะห์หรือ การช่วยเหลือสังคม ( Social Assistance ) การประกันสังคม หรือการสร้างหลักประกันความม่ันคง ของชวี ิต ( Social Security) และการบริการสังคม ( Social Services ) ระบบสวัสดิการสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นภูมิปัญญาเชิงปฏิบัติที่ใช้ การถักทอ ความสัมพันธ์ทางสังคม เพื่อเปิดพื้นท่ี โอกาส ทางเลือกที่หลากหลายให้สมาชิกมีส่วนร่วมและพันธะ ต่อกัน จนเกิดสานึกร่วมท่ีจะช่วยเหลือเก้ือกูล พึ่งพาอาศัย และร่วมแรงร่วมใจกันในการเผชิญหน้า ป้องกันและเยียวยาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ นอกจากนี้ ระบบสวัสดิการสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ ยังเป็น กระบวนการจัดการความสัมพันธ์ทางสังคมที่เป็นพลวัต มีหน่วยการจัดการหลายระดับ มีทั้งหน่วย ระดับ ชุมชน เครือญาติ ครอบครัว ปัจเจกบุคคล ตลอดจนกลุ่มและเครือข่ายทางสังคมต่างๆ ที่เกาะ เกย่ี วกัน เสรมิ แรงกนั อย่างแนน่ เหนยี ว มีวิธีการจดั การทย่ี ืดหย่นุ เคลอื่ นไหว ปรับเปลยี่ นได้ตามเงอื่ นไข และบริบทสังคมที่แปรเปลี่ยนไม่หยุดน่ิง อีกท้ังยังมีรูปแบบการบริการ และกิจกรรมที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาท่ีเกิดขึ้นและระยะห่างของความสัมพันธ์ทางสังคม ทาให้ระบบสวัสดิการสังคม ดังกล่าวมีลักษณะบูรณาการของการดาเนินชีวิตประจาวันในมิติต่างๆ (อภิญญาและกิตติพัฒน์ 2546 : 242 ) นอกจากน้นั ยังสอดคล้องกบั สภาพปญั หาและความตอ้ งการทีเ่ ป็นจริงด้วย ระบบสวัสดิการสังคมของกลุ่มชาติพันธ์ุเป็นการจัดการแบบองค์รวม ไม่ได้แยกส่วนออก จากกันเหมือนกับการบริการสวัสดิการสังคมของรัฐ ในการทาความเข้าใจหรือสังเคราะห์ระบบ สวัสดิการสังคมดังกล่าว มีความจาเป็นต้องวิเคราะห์อย่างแยกแยะให้เห็นถึงความสาคัญของแต่ละ ส่วน อันประกอบด้วย ความเอื้อเฟ้ือ / การช่วยเหลือทางสังคม ความเอ้ืออาทร / การสร้าง หลักประกันความมั่นคงของชีวิต และความเอื้ออารี/การบริการชุมชน เพ่ือให้มองเห็นแนวคิดและ ระบบคณุ คา่ ท่ีให้ความหมายและกากับอยเู่ บ้ืองหลงั กจิ กรรมต่าง ๆ ความเอื้อเฟ้ือ:การช่วยเหลือทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นการจัดการความสัมพันธ์ทาง สังคม ให้สมาชิกชุมชนเกิดสานึกร่วมท่ีจะช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้ประสบความเดือดร้อน โดยใช้เกณฑ์ คุณคา่ ทางวัฒนธรรมบางอยา่ งเป็นพืน้ ฐาน โดยมองว่าความทุกขย์ ากเดือดร้อนเปน็ ภาวะปกติของชีวิต สังคม ความขัดสนเป็นส่ิงสะดุดหรือโชคร้ายท่ีเกิดข้ึนกับใครเม่ือไรก็ได้ เพื่อนบ้านจึงเป็นเพื่อร่วมทุกข์

การวิจยั การศกึ ษาเปรียบเทยี บการพฒั นาบนพ้ืนทีส่ งู ในอดตี และปจั จบุ นั 125 แต่ละคนมีหน้าท่ีและสานึกที่ต้องเอ้ือเฟื้อเผื่อแผ่ผู้ที่ขัดสนกว่า ให้สามารถผ่านพ้นปัญหาไปได้ ดังน้ัน การเอื้อเฟ้ือแบ่งปัน จึงเป็นเกณฑ์คุณค่าหลักในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อความอยู่รอดร่วมกันของ ชุมชนบนทส่ี ูง โดยมคี รอบครัว เครอื ญาติ และชุมชนเปน็ หนว่ ยสาคญั ในการจดั การ ความเอื้ออาทร:การสร้างหลักประกันความม่ันคงของชีวิต เป็นการจัดองค์การ ทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและปัจจัยที่จาเป็นใน การดารงชีวิต เป็นการสร้างพันธะทางสังคมให้สมาชิกชุมชนร่วมไม้ร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจ และพ่ึงพา อาศัยกัน บนฐานคิดเก่ียวกับอุดมการณ์ความอุดมสมบูรณ์ โดยมีจริยธรรมการยงั ชพี เป็นเกณฑ์คุณคา่ หลัก พ้ืนฐานของจริยธรรมการยังชีพท่ีมีหลักการท่ีสาคัญ 4 ประการ คือ (1) การตอบแทนกัน (2) การใช้ประโยชน์ร่วมกัน (3) สิทธิการใช้ (4) สิทธิตามธรรมชาติ ซ่ึงหลักการดังกล่าวแทรกอยู่ใน ชีวติ ประจาวนั ของคนในชุมชนที่เอื้อประโยชน์ให้แตล่ ะคนมีทางเลือก โอกาส และพ้นื ท่แี สดงศักยภาพ ในด้านต่างๆ ของตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นโครงข่ายป้องกันภัยและสร้าง ความม่ันคงทางสังคมไดอ้ กี ด้วย การสร้างหลักประกันความมั่นคงของชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ ขึ้นอยู่กับการจัดการฐาน ทรพั ยากรธรรมชาตใิ นชมุ ชน ท้ังทรพั ยากรธรรมชาติและกาลังแรงงานทจ่ี ะเปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติ เป็นปัจจัยการดารงชีวิต ระบบจัดการทรัพยากรทั้งสองประเภท สะท้อนความเอื้ออาทรของสมาชิก ในชุมชนที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันตามแนวคิดจริยธรรมการยังชีพ โดยให้ความสาคัญกับความเป็นธรรม ในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งที่ทากิน แหล่งน้า และป่า เป็นทรัพย์สินส่วนรวม ( common property ) การแลกเปลี่ยน ตอบแทนกันในการจัดการแรงงาน ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตแบบยังชีพ ตามหลัก การใชป้ ระโยชนร์ ่วมกนั และสิทธิชุมชน เชน่ ระบบการผลติ แบบไร่หมนุ เวยี นของกะเหรีย่ ง ท่ที ากนิ เปน็ ทรัพย์สินส่วนรวม ชุมชนเป็นหน่วยจัดการหลัก เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีที่ดินปลูกข้าว ระบบการทาไร่ย้ายท่ี ของ ม้ง ลาหู่ และอาข่า ทุกครัวเรือนมีสิทธ์ิที่จะใช้แรงงานไปหักร้างถางพง เพ่ือเปิดท่ีป่าเป็นที่ทากิน เป็นต้น แต่เม่ือรัฐเข้ามาจัดการและควบคุมที่ดินบนที่สูงผ่านกฎหมายป่าไม้หลายฉบับ ทาให้ระบบการจัดการที่ดินเปลี่ยนแปลงไป ท่ีดินกลายเป็นทรัพย์สินของครอบครัวและปัจเจกบุคคล แรงงานกลายเป็นสินค้า แต่ละครัวเรือนต้องดิ้นรนต่อสู้เพ่ือให้เข้าถึงทรัพยากรและปัจจัย การผลิตที่จาเป็นกันเอาเอง เน่ืองจากไม่สามารถยืมหรือแบ่งท่ีดินจากเพ่ือนบ้านได้อีก ทั้งยังไม่ สามารถซื้อหาท่ีดินทากินและจ้างแรงงานมาทาการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ ขณะท่ีรัฐจัดบริการ ประกันสังคมให้กับแรงงานในระบบ ไม่ครอบคลุมถึงแรงงานรับจ้างในพื้นท่ี วิถีชีวิตของครอบครัว คนจนจงึ ตกอยูใ่ นภาวะขาดหลักประกันความมนั่ คงในการดารงชีวิตในหลายด้าน ความเอ้ืออารี:การบริการชุมชนของกลุ่มชาติพันธ์ุ เป็นการสร้างพื้นท่ีและกิจกรรม บริการสาธารณะท่ีให้ส่วนรวมได้ใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน นอกจากเป็นการยกระดับคุณภาพ ชีวิตและมาตรฐานการดารงชีวิตของคนในชุมชนแล้ว ยงั เปน็ กิจกรรมท่ีแสดงความเป็นตัวตนของกลุ่มชาติ พนั ธ์ดุ ว้ ย การบริการชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การสร้างพ้ืนที่ สาธารณะ และกิจกรรมสาธารณประโยชนต์ ่าง ๆ โดยพ้ืนท่สี าธารณะ ประกอบด้วยทรพั ยากรส่วนรวม และสมบัติสาธารณะ ทรัพยากรส่วนรวม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ พื้นท่ีป่าที่ชุมชนได้กาหนด

126 การวจิ ัยการศกึ ษาเปรียบเทยี บการพฒั นาบนพ้นื ทีส่ งู ในอดีตและปจั จุบัน กฎเกณฑ์การจัดการและใช้ประโยชน์ร่วมกัน ระบบสาธารณูปโภคของชุมชน ศาสนาสถานหรือ สถานทศี่ กั ด์ิสทิ ธ์ิตามความเช่ือ สมบตั ิสาธารณะ ได้แก่ พื้นที่เลยี้ งสตั ว์ ศาลาอเนกประสงค์ สนามกีฬา เป็นต้น ส่วน กิจกรรมบริการสาธารณะ ประกอบด้วย กิจกรรมสาธารณประโยชน์ ความรู้และภูมิ ปญั ญาท้องถน่ิ ต่าง ๆ บรกิ ารชุมชนตามประเพณี ระบบสวัสดิการสังคมของชุมชนในอดีตเป็นผลจากการสร้างกิจกรรม และพ้ืนท่ีสังคมต่างๆ ข้นึ มาผสาน จัดระเบียบใหห้ น่วยทางสังคมต่างๆ ชว่ ยเหลอื เกือ้ กูล พึ่งพาอาศัยกันและแบง่ ปันกัน โดย มีระบบคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม ที่ปรากฏอยู่ในรูปของจารีต ประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ เป็นเกณฑ์ในการสร้างสานึกร่วมของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ส่งผลให้ระบบสวัสดิการสังคมท่ีเคย วางอยู่บนหลักการและภูมิปัญญาเชิงปฏิบัติที่ให้ความสาคัญกับการเอื้อเฟ้ือเผื่อแผ่ ความเอ้ืออาทร และความเออ้ื อารีต่อกนั ต้องตกอยใู่ นภาวะส่ันคลอนจนสญู เสยี ศกั ยภาพในการจัดการไปอย่างมาก ข้อเสนอแนะในเชิงพัฒนาสังคม การจัดบริการสวัสดิการสังคมในชุมชนบนพ้ืนที่สูง ควรให้ความสาคัญกับระบบสวัสดิการสังคมตามประเพณีท่ีมีอยู่เดิมไม่น้อยกว่าบริการแบบใหม่ท่ีรัฐ จัดหาให้ ขณะเดียวกันควรสนับสนุนระบบดังกล่าวให้มีการพัฒนาได้ด้วยตนเองอย่างต่อเน่ือง เพ่ือเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และเพ่ิมพูนศักยภาพในการช่วยเหลือเกื้อกูล และ พงึ่ พาอาศยั กนั ระหว่างคนในชมุ ชน สวสั ดกิ าร และความมน่ั คงทางสังคมจึงจะเกดิ เปน็ จรงิ ไดต้ ่อไป นโยบายและแนวทางดาเนนิ งานของรัฐบาล ปัจจุบัน ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยจาแนกออกได้เป็น 9 เผ่า ได้แก่ กะเหร่ียง มูเซอ แม้ว เย้า ลีซอ ลัวะ ถ่ิน ขมุ อาข่า และมลาบรี ( ตองเหลือง ) ในการดาเนินงานเกี่ยวกับชาวเขามี นโยบาย แผนงาน และองค์กรรับผดิ ชอบเป็นการเฉพาะ คอื 1. วัตถุประสงค์และนโยบายแก้ไขปัญหาความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับชาวเขาและ การปลกู พืชเสพตดิ (มตคิ ณะรัฐมนตรี เมอ่ื วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2532) วัตถุประสงค์และนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับชาวเขา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันท่ี 7 กุมภาพันธ์ 2532 มีหลักการท่ีมุ่งให้ชาวเขาท่ีได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย รวมถึง ราษฎรไทยและกลุ่มชนอ่ืนท่ีอยู่บนพ้ืนท่ีสูงมีความเป็นอยู่อย่างมีระเบียบ ได้รับการพัฒนาด้าน เศรษฐกิจและสังคมในระดับที่พอเพียงแก่ความจาเปน็ ในการดารงชวี ิต เพื่อเตรียมความพร้อมสาหรับ การเขา้ สรู่ ะบบการปกครองและการพฒั นาปกติต่อไป โดยได้กาหนดวตั ถุประสงคข์ องนโยบายไว้ดงั น้ี ดา้ นการเมอื งการปกครอง ให้กลุ่มคนบนพื้นท่ีสูงมีท่ีอยู่อาศัยและท่ีดินทากินถาวรถูกต้องตามกฎหมายไม่อพยพ เคลื่อนย้ายอีกต่อไปพ้นจากภัยคุกคามของกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ และได้รับการจัดระเบียบการปกครอง ชุมชนเข้าสู่ระบบท่ีถูกต้องตามกฎหมายต่อไป ให้ชาวเขาอยู่ร่วมในสังคมไทยโดยไม่สร้างปัญหาและ กอ่ ภาวะทางดา้ นการเมอื ง เศรษฐกิจและสงั คม มีความสานกึ ในความเป็นคนไทย ตระหนกั ถึงสทิ ธแิ ละ หนา้ ทีข่ องตนตามกฎหมาย ปฏบิ ัติตามกฎหมายและระเบยี บของทางราชการ มีสว่ นรว่ มในการพัฒนา

การวจิ ัยการศกึ ษาเปรยี บเทยี บการพัฒนาบนพ้นื ทส่ี ูงในอดีตและปัจจุบัน 127 ชุมชนและทาประโยชน์แก่สังคมตามความเหมาะสม ให้มีการสกัดก้ันและผลักดันชาวเขาที่อพยพเข้า มาใหมจ่ ากนอกประเทศโดยเดด็ ขาด ดา้ นการพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคม เพอ่ื ยกระดับรายได้และพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ 1) ให้ชาวเขาได้รับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้พอเพียงแก่ความจาเป็นในการ ดารงชวี ิตและพงึ่ ตนเองได้ในท่สี ดุ 2) ให้อัตราการเพิ่มประชากรชาวเขาอยู่ในระดับท่ีใกล้เคียงกับอัตราเพิ่มของ ประชากรพ้นื ท่ี 3) การเลิกปลูกและเสพพืชเสพตดิ ให้ชาวเขาท่ีปลูกหรือเสพพืชเสพติด ลดการปลกู หรือเสพพืชเสพติด จนเลกิ ปลูกหรือเสพพืชเสพติดไปในทีส่ ุด ด้านการอนุรักษ์ การใช้และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ให้มีระบบการอนุรักษ์การใช้ และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติท่ีเหมาะสม เพ่ือรักษาสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อ ประโยชน์แก่สว่ นรวมและเอือ้ อานวยต่อการแก้ไขปัญหาชาวเขาและการปลกู พชื เสพตดิ 2. แผนแม่บทเพ่ือการพัฒนาชุมชน ส่ิงแวดล้อมและการควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่ สงู พ.ศ. 2435-2539 (มตคิ ณะรฐั มนตรี เมือ่ วันที่ 11 กุมภาพนั ธ์ 2535) เพื่อใหก้ ารดาเนนิ งานชาวเขาบรรลุตามวตั ถุประสงคแ์ ละนโยบายขา้ งต้นคณะรัฐมนตรไี ดม้ ีมติ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2535 อนุมัติแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน ส่ิงแวดล้อม และการควบคุม พืชเสพติดบนพื้นที่สูง พ.ศ.2535–2539 ซ่ึงจะเป็นเครื่องมือท่ีสาคัญสาหรับการบริหารงานของ กระทรวงทบวง กรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน แผนแม่บทได้กาหนดกรอบงานไว้ 4 ด้าน 17 แผนงานหลัก ดังนี้ ดา้ นการเมอื งการปกครอง - แผนงานการจัดต้งั ถิ่นฐานและที่ทากินถาวร - แผนงานการสารวจและลงสัญชาติไทยใหแ้ ก่กลุ่มประชากรเป้าหมาย - แผนงานจดั ระบบการปกครองหมู่บ้าน - แผนงานปอ้ งปรามการอพยพเข้ามาจากนอกประเทศโดยผดิ กฎหมาย - แผนงานส่งเสริมประชากรและชมุ ชนมสี ่วนร่วมในการพฒั นา ดา้ นการพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คม - แผนงานเพ่มิ รายไดข้ องกลุ่มประชากรเปา้ หมาย - แผนงานพัฒนาโครงสรา้ งพ้ืนฐานทางเศรษฐกจิ - แผนงานจดั บริการการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน - แผนงานพัฒนาและจัดบรกิ ารสาธารณสุขข้ันพืน้ ฐานและลดอัตราการเพม่ิ ประชากร - แผนงานสวสั ดิการสงั คม - แผนงานการกากับดูแลการเผยแพรศ่ าสนาในกลุ่มประชากร

128 การวจิ ยั การศกึ ษาเปรยี บเทียบการพัฒนาบนพ้ืนท่ีสูงในอดตี และปจั จบุ นั ดา้ นการควบคุมพืชเสพติด - แผนงานการควบคมุ การปลูกพชื เสพตดิ - แผนงานเพ่อื ขจดั อิทธพิ ลทส่ี นบั สนุนการปลูกและคา้ ยาเสพติด ดา้ นการอนุรกั ษ์การใชแ้ ละการพัฒนาทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อม - แผนงานศกึ ษาความเหมาะสมเบื้องตน้ เพ่ือวางแผนการใชแ้ ละพฒั นาพืน้ ทส่ี ูง - แผนงานเพอ่ื จดั ระบบการอนุรกั ษ์ การใช้ และการพฒั นาทรัพยากรธรรมชาติและ ส่งิ แวดล้อม 3. องคก์ รบริหาร การแก้ไขปัญหาชาวเขา มีคณะกรรมการดูแลรับผิดชอบเป็นลาดับตั้งแต่ระดับชาติถึง ระดบั อาเภอ คือ ระดับชาติ ได้แก่ คณะกรรมการอานวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับ ชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด (อขส.) มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ และผู้แทนจาก ส่วนราชการต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการ โดยมีเลขานุการสภาความม่ันคงแห่งชาติเป็นกรรมการและ เลขานุการ มีหน้าท่ีกาหนดนโยบายท่ีเก่ียวข้องกับการแก้ไขปัญหาชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด รวมท้ังปัญหาอื่นๆ ที่เก่ียวข้อง รวมตลอดถึงการส่ังการ การประสานการปฏิบัติของส่วนราชการต่างๆ และแตง่ ตง้ั คณะอนกุ รรมการได้ตามความจาเป็น ระดับภาค ได้แก่ คณะกรรมการศูนย์อานวยการประสานงานแก้ไขปัญหาชาวเขาและ กาจัดการปลูกพืชเสพติด กองทักภาคท่ี 3 (ศอ.ชข.ทภ.3) มีแม่ทัพภาคท่ี 3 เป็นประธานกรรมการ และผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมเป็นกรรมการ โดยมีเสนาธิการกองทัพภาคท่ี 3 เป็นกรรมการ และเลขานุการ มีหน้าท่ีในการอานวยการประสานงานและบริหารศูนย์อานวยการประสานงานแก้ไข ปัญหาชาวเขาและการกาจัดการปลกู พืชเสพตดิ กองทพั ภาคที่ 3 ระดับจังหวัด ได้แก่ คณะกรรมการชาวเขาจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน กรรมการและผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการ หัวหน้าสานักงานจังหวัดเป็นกรรมการ และเลขานุการ มีหน้าที่พิจารณาจัดทาแผน ประสานงาน ติดตามผลการปฏบิ ัติงาน ตามนโยบายเป็น ศูนย์กลางในการแก้ไขปญั หาชาวเขาและปญั หาบนพืน้ ทส่ี งู ในจังหวดั นั้น รวมท้งั มอี านาจในการแต่งต้ัง คณะอนกุ รรมการและคณะทางานตามความจาเป็น ระดับอาเภอ ได้แก่ คณะกรรมการชาวเขาอาเภอ มีนายอาเภอเป็นประธานกรรมการ หวั หน้าสว่ นราชการต่างๆ ในอาเภอร่วมเป็นกรรมการ ปลดั อาเภอฝ่ายกิจการพิเศษเปน็ กรรมการและ เลขานุการ คณะกรรมการชาวเขาอาเภอ มอี านาจหน้าทีด่ งั น้ี - ประสานแผนและจัดทาแผนเพื่อแก้ไขปัญหาชาวเขาและปัญหาบนพื้นที่สูงใน อาเภอนัน้ ๆ - อานวยการและติดตามผลการปฏิบัตงิ านตามนโยบาย แผนงาน โครงการ และ กาหนดมาตรการเพื่อแกไ้ ขปัญหาชาวเขาและปัญหาบนพื้นทสี่ งู ในอาเภอน้ัน ๆ - เป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาชาวเขาและปัญหาบนพื้นท่สี ูงในอาเภอนน้ั

การวิจัยการศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาบนพื้นทีส่ งู ในอดตี และปจั จบุ ัน 129 กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมนั่ คงของมนุษย์ พ.ศ. 2559 (ราชกจิ จานเุ บกษา หนา้ 29 วนั ท่ี 1 พฤศจกิ ายน 2559) ได้ปรับโครงสร้างศูนย์พัฒนาชาวเขา เป็นศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นท่ีสูง ภายใต้กอง พฒั นาสังคมกลุ่มเป้าหมายพเิ ศษ โครงสรา้ งองค์กรบรหิ ารงานแกไ้ ขปญั หาชาวเขา คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการอานวยการแก้ไขปญั หาความมัน่ คง แห่งชาติเก่ียวกับชาวเขาและการปลกู พืชเสพติด (อขส.) กระทรวง รองนายกรัฐมนตรเี ป็นประธาน คณะกรรมการศูนยอ์ านวยการประสานงานแกไ้ ขปญั หาชาวเขา จงั หวัด และกาจดั การปลกู พชื เสพตดิ กองทพั ภาคท่ี 3 (ศข.ชข.ทภ.3) อาเภอ แม่ทพั ภาคท่ี 3 เป็นประธาน คณะกรรมการชาวเขาจงั หวัด ตาบล ผูว้ ่าราชการจังหวัดเปน็ ประธาน หมู่บ้าน คณะกรรมการชาวเขาอาเภอ นายอาเภอเปน็ ประธาน นโยบายและแนวทางดาเนินงานของกรมประชาสงเคราะห์ 1. นโยบายของกรมประชาสงเคราะห์ นโยบายของกรมประชาสงเคราะห์ พ.ศ. 2535 – 2539 ในส่วนที่เก่ียวข้องกับ ชาวเขาได้กาหนดไว้ ดงั นี้ พัฒนาชาวเขาให้เป็นพลเมืองไทยท่ีมีคุณภาพ สามารถช่วยตนเองได้โดยเข้าถึง ชาวเขาท่ีอยู่ในประเทศได้มากที่สุด และเน้นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ให้ชาวเขารู้จักการช่วยตนเอง และอยรู่ วมกลมุ่ เป็นหลกั แหลง่ ถาวร

130 การวิจยั การศึกษาเปรียบเทียบการพฒั นาบนพน้ื ท่สี ูงในอดตี และปัจจุบัน 2. การจัดการองค์กร ส่วนกลาง มีกองสงเคราะห์ชาวเขารับผิดชอบ และสานักงานบริหารโครงการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมบนท่ีสูง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานสนับสนุนทางด้านวิชาการ ด้านการ ติดตามและด้านการประสานงานกับศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา และหน่วยงานต่างๆ ทเ่ี ก่ียวข้องในภาคเหนอื ส่วนภูมิภาค มีศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา มีศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จงั หวัด ซึ่งปจั จบุ ัน มี 14 ศนู ย์ ได้แก่ ศนู ย์พฒั นาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกาญจนบุรี กาแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลาปาง ลาพูน และ อุทัยธานี(เอกสาร:การจัดการความรู้ งานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา :โครงการคลังปัญญางาน พัฒนาชาวเขา 53 ปี :กรมพฒั นาสังคมและสวัสดิการ :หนา้ 281-284) ทวิช จตุวรพฤกษ์,ธันยวัต สุขโชค และคณะ (2558) ได้ศึกษาการจัดระเบียบท่ีดินและ ป่าไม้ : ธรรมาภิบาลท้องถ่ิน ท่ีหมู่บ้านมือเจะคี อาเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่พบว่าความ ขัดแย้งระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับหน่วยงานของรัฐมีแนวโน้มเพิ่มความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นไปอีก เม่อื จงั หวดั เชียงใหมด่ าเนินนโยบายจัดระเบียบทด่ี ินในพื้นที่อาเภอกลั ยาณิวัฒนาใน พ.ศ.2553 โดยให้ หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านป่าไม้ในพื้นท่ีร่วมกับชุมชนท้องถ่ินไปร่วมกันจาแนกประเภทการใช้ ประโยชน์ท่ีดินและป่าไม้ โดยให้ขีดวงพื้นท่ีท่ีเป็นที่ทากินกับท่ีอยู่อาศัยเอาไว้เพ่ือให้พื้นท่ีส่วนที่เหลือ เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมและ GPS เป็นเครือ่ งมือสาคญั ปัญหาท่ีเกดิ ขึ้นก็คือ ความแตกตา่ งกันในการนยิ ามความหมายของ “ทที่ ากิน” และ “ทีป่ า่ ” ของชาวปกาเกอะญอกบั เจา้ หน้าท่ี ป่าไม้ เน่ืองจากชาวปกาเกอะญอ ได้พัฒนาระบบการเกษตรเชิงวัฒนธรรมท่ีเรียกว่า “ไร่หมุนเวียน” เป็นเทคโนโลยีการผลิตหลักมายาวนาน โดยแต่ละครัวเรือนมีท่ีทากินประมาณ 5-7 แปลงสาหรับ หมุนเวียนการใช้ประโยชน์ ซึ่งแต่ละปีมีการใช้ท่ีดินเพาะปลูกเพียงแปลงเดียว แปลงที่เหลือถูกพัก เอาไว้ให้ฟื้นตัวเตรียมพร้อมสาหรับการใช้ในรอบต่อไป (อาจจะอีก 5-7 ปี ข้างหน้า) ดังนั้น ท่ีทากินที่ ถูกพักเอาไว้ (เรียกว่า “ไร่เหล่า”) เม่ือมีอายุ 4 ปีขึ้นไป จะมีสภาพเป็นป่ารกครึ้ม มีสัตว์ป่าขนาดเล็ก เข้ามาอยู่อาศัย มักจะถูกมองจากเจ้าหน้าท่ีป่าไม้ว่าเป็น “ที่ป่า” โดยเฉพาะหากมองจากภาพถ่าย ทางอากาศ ส่งผลให้ที่ทากินในระบบไร่หมุนเวียนของชาวบ้านถูกกันออกเป็นพื้นท่ีป่าประเภทต่างๆ จานวนมาก นับตั้งแต่มีการสารวจที่ทากินในเขตป่าของชาวบ้านเพื่อรอพิสูจน์สิทธ์ิในช่วงปี พ.ศ. 2541-2542 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม โครงการจัดระเบียบที่ดินในพ้ืนที่นาร่อง 3 อาเภอ คือ แม่แจ่ม อมก๋อย และกัลยาณิวัฒนา ซ่ึงได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดทาแนวเขตท่ดี ินให้ชัดเจนว่า เขตป่าและเขตที่ทากินอยทู่ ่ี ไหน ซึ่งชาวบ้านมสี ่วนรว่ มน้อยมาก ก็ยงั ดาเนนิ การยังไมแ่ ล้วเสรจ็ หลังจากได้เป็นอาเภอกัลยาณิวัฒนาแล้ว เกิดปัญหาท่ีดินทากินและป่าไม้อีกอย่างหน่ึง คือ การซื้อขายท่ีดินอันสืบเน่ืองมาจากกระบวนการพัฒนาที่ถูกนาเข้ามาในพื้นท่ีโดยรัฐและตลาด จังหวัดเชียงใหม่มีแนวนโยบายการพัฒนาอาเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและ

การวิจัยการศึกษาเปรยี บเทียบการพฒั นาบนพ้ืนที่สูงในอดีตและปัจจุบัน 131 นิเวศวิทยา ส่งผลให้ท่ีดินบนที่สูงในเขตอาเภอกัลยาณิวัฒนากลายเป็นสินค้าท่ีมีราคาค่างวดเพิ่มขึ้น อย่างก้าวกระโดด จากพื้นท่ีชายขอบห่างไกลความเจริญกลายเป็นพ้ืนที่ที่กาลังถูกพัฒนาเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวใหม่ควบคู่ไปกับอาเภอปาย ที่ดินใกล้แหล่งน้าและเขตตัวอาเภอเป็นที่ต้องการของนายทุน ค้าท่ีดินเพื่อเก็งกาไรอย่างมาก จังหวัดเชียงใหม่ได้ออกประกาศจังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2553 ระบุว่า “เอกสารใบตอบรับที่ราษฎรได้รับในการครอบครองท่ีดินในพ้ืนที่ป่าไม้ ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 พฤษภาคม 2542 เป็นเพียงเอกสารรอการพิสูจน์สิทธ์ิ และเป็น การคมุ้ ครองสิทธชิ ว่ั คราวโดยมีเง่ือนไขหา้ มจาหนา่ ย ถ่ายโอน” หลงั จากนนั้ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกสารวจ และจดั แนวเขตแยกทดี่ นิ ทากินออกจากเขตป่าสงวนแหง่ ชาติ เพ่ือจะไดอ้ อกเอกสารรับรองสทิ ธิการถือ ครองแบบใดแบบหน่ึงต่อไป ฝ่ายชาวบ้านเมื่อทราบข่าวนี้จึงได้ต้ังความหวังเอาไว้ว่า เมื่อสารวจเสร็จ แล้วจะได้มีกรรมสิทธ์ิในท่ีดินแต่เมื่อเจ้าหน้าที่ได้แจ้งกับชาวบ้านว่าที่ดินที่ชาวบ้านอ้างสิทธ์ิถือครอง และใช้ประโยชน์บางส่วนอยู่ในสภาพป่าสมบูรณ์ (ไร่เหล่าอายุ 4 ปีขึ้นไปจะมีสภาพป่ารกครึ้ม มีสัตว์ ป่าขนาดเล็กอาศัยอยู่) ไม่ใช่พื้นท่ีท่ีมีการแผ้วถางจนเตียนโล่งสาหรับเพาะปลูก ทาให้ไม่อาจ จัดประเภทท่ีดินดังกล่าวเป็นพ้ืนท่ีการเกษตรได้ แต่จัดเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ การวินิจฉัยปัญหา ของเจ้าหน้าท่ีป่าไม้ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการอาศัยอานาจรัฐ (กฎหมายป่าไม้) ยึดเอาท่ีทากิน (ไร่เหล่าอายุ 4 ปีข้ึนไป) ในระบบไร่หมุนเวียนของชาวบ้านไปแล้ว ยังเป็นการชี้ทางหรือสนบั สนุนโดย ทางอ้อมให้ชาวบ้านตัดต้นไม้ในเขตท่ีทากินของตนเองให้เตียนโล่ง เพ่ือให้เป็นป่าเส่ือมโทรมหรือพ้ืนท่ี การเกษตรท่ีไม่มีต้นไม้ขนาดใหญ่เหลืออยู่อีกอย่างไรก็ตาม ชาวปกาเกอะญอ ส่วนใหญ่ยังคงมีแนวคดิ ว่าระบบการเกษตรแบบไร่หมุนเวียนยังคงเป็นเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพและทาให้อนุรักษ์ พ้ืนที่ป่าเอาไว้ได้อย่างยั่งยืน แม้ว่าทางการไม่อาจออกเอกสารสทิ ธิ์ใดๆ ให้ก็ตามในการเคล่ือนไหวทาง สังคมเพื่อเผชิญหน้ากับปัญหาท่ีทากินและป่าไม้ของชาวบ้านมีความเป็นเอกภาพมากกว่า การเคล่อื นไหวในเรื่องการออกแบบอาคารศูนยร์ าชการอาเภอ เน่อื งจากเป็นการเคลื่อนไหวรว่ มกันใน นามสภาชนเผ่าพ้ืนเมืองอาเภกัลยาณวิ ัฒนา โดยเริ่มจากการสร้างการเรยี นรู้ให้กับทุกกลุ่มชาตพิ ันธใ์ุ น พื้นท่ีให้รู้เท่าทันสถานการณ์ท่ีกาลังเผชิญอยู่จากนั้นจึงกาหนดประเด็นปัญหาท่ีจะผลักดันให้เกิดการ แก้ไขร่วมกัน โดยไม่ได้จากัดเฉพาะปัญหาที่ทากิน ป่าไม้ หรือส่ิงแวดล้อมเท่านั้น แต่รวมไปถึงปัญหา ด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมด้วย ในการลงมือปฏิบัติการน้ันสภาชนเผ่าพื้นเมือง อาเภอกัลยาณิวัฒนาได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือจากองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กร สาธารณประโยชน์หลายองค์กร ได้แก่ สมาคมเครือข่ายชุมชนปกาเกอะญอเพ่ือการพัฒนาสังคมและ สิ่งแวดล้อม เครือข่ายชุมชนลุ่มน้าแม่ละอุบ มูลนิธิรักษ์ไทย และมูลนิธิการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น ชาวบ้านในแต่ละพ้ืนท่ไี ด้ร่วมกันสารวจและจัดทาแผนที่ GPS การใช้ประโยชน์ท่ีดนิ เปน็ รายแปลงของ แตล่ ะครัวเรอื น (ซง่ึ ชาวบา้ นเรยี กวา่ การทา “โฉนดชุมชน”) ของท้ังอาเภอโดยมีคณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมรู้เห็นและรับรองความถูกต้อง ซึ่งแผนที่ GPS นี้เป็นหลักฐานที่สร้างข้ึนจากภาคประชาสังคม เพื่อระบุว่าพ้ืนท่ีส่วนไหน ใครเป็นผู้ถือครองและใช้ประโยชน์ไม่ได้แสดงกรรมสิทธ์ิครอบครองตาม กฎหมายแต่อย่างใด เอกสารแผนที่ GPS ของที่ดินแต่ละแปลงมีการแยกเก็บรักษาไว้ 3 แห่ง คือ

132 การวิจยั การศึกษาเปรียบเทยี บการพฒั นาบนพ้นื ทีส่ งู ในอดีตและปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตาบล ท่ีว่าการอาเภอกัลยาณิวัฒนา และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เอกสารครอบครองที่ดินดงั กล่าวนี้ไมส่ ามารถนาไปซื้อขายหรือเปล่ยี นกรรมสิทธ์ิ แตเ่ ป็นมรดกตกทอด ถึงบุตรหลานได้ การจัดทาแผนท่ีการใช้ประโยชน์ท่ีดิน หรือโฉนดชุมชนน้ีเป็นไปเพ่ือป้องกันและหยุดยั้ง ปัญหาการขยายพ้ืนที่เพาะปลูกรุกลา้ เข้าไปในเขตป่าสงวนอันเนื่องมาจากการเข้ามาของกลไกตลาดที่ ส่งผลให้ท่ีดินใกล้น้าและใกล้เมืองมีราคาแพง จนชาวบ้านต้องตัดสินใจขายท่ีดินของตนเองให้กับ นายทุนภายนอก แล้วไปบุกรุกที่ป่าธรรมชาติเพ่ิมขึ้นเพ่ือทามาหากิน การสารวจครั้งนี้ชาวบ้านได้รว่ ม สมทบค่าใช้จ่าย โดยมีมูลนิธิรักษ์ไทยสนบั สนุนงบประมาณในการรังวดั และการใช้ GPS มาจัดทาแผน ที่ ตลอดจนจัดทาเอกสารแสดงสิทธิถือครอง (หรือ “โฉนดชุมชน”) ของครัวเรือนในการสารวจได้มี การขอคืนพื้นที่บางแปลงจากชาวบ้านที่มีท่ีทากินหลายแปลงให้กลับคืนสู่สภาพป่าธรรมชาติ โดยเฉพาะแปลงท่ีอยู่ใกลบ้ รเิ วณต้นน้าและส่มุ เส่ียงทจี่ ะกอ่ ผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมโดยรวม การที่สภาชนเผ่าพื้นเมืองอาเภอกัลยาณิวัฒนาได้รับความไว้วา งใจจากชาวบ้านและ ชุมชนท้องถิ่นท้ังอาเภอกัลยาณิวฒั นาใหเ้ ข้าร่วมดาเนินการจัดทาแผนท่กี ารใช้ประโยชน์ที่ดินของภาพ ประชาสังคมข้ึนน้ีเป็นการประกาศเจตนารมณ์อย่างแน่วแน่ท่ีจะเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาที่ ทากินและป่าไม้ร่วมกับภาคราชการ เป็นการ “จัดการตนเอง” โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมกาหนด ทิศทางพัฒนาและแก้ไขปัญหาใหช้ ุมชนท้องถิ่นของตนเอง การจัดการตนเองในแง่ของชาวบ้านจึงเป็น การเข้าไปมีส่วนร่วมไม่ได้มองว่าภาคราชการเป็นศัตรู เป็นการพยายามถมหรือเติมเต็มช่องว่างและ ความไม่ไว้วางใจระหว่างชุมชนท้องถ่ินและภาพราชการหรือหน่วยงานรัฐในพื้นท่ี รวมท้ังมีความ พยายามท่ีจะยกระดับสภาพชนเผ่าพื้นเมืองอาเภอกัลยาณิวัฒนาให้มีศักยภาพเพียงพอท่ีจะเข้าไปอยู่ ในโครงสรา้ งการแกไ้ ขปญั หาและการกาหนดทิศทางการพฒั นาของอาเภอในทุกๆด้านในอนาคต จุดมุ่งหมายของการจัดการตนเองของชาวกัลยาณิวัฒนา คือ ความม่ันคงใน การดารงชีวิต (livelihood security) ซึ่งแต่เดิมผูกติดอยู่กับความสามารถ ในการเข้าถึงและจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติภายใต้กฎเกณฑ์ตามจารีตประเพณีเป็นหลัก การทานาและการทาไร่หมุนเวียนเป็น ระบบการผลิตหลักของแทบทุกครัวเรือน มีสัตว์เล้ียงเป็นแหล่งรายได้เงินสดสาหรับใช้จ่ายสิ่งของ ทจี่ าเปน็ ในการดารงชีวิต แต่เม่ือโครงการหลวงเข้ามาส่งเสริมระบบการผลิตแบบพันธะสัญญา แมว้ ่าจะมี เพียงเกษตรกรรายใหญ่ มีฐานะดี บางรายได้รับประโยชน์ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงมีความ มั่นคงในชีวิตตามวิถีการผลิตแบบจารีตประเพณีได้ต่อไป แม้ว่าจะมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นบ้างก็ ตาม แต่เมื่อมีการก่อต้ังอาเภอกัลยาณิวัฒนาข้ึน ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมที่เกิดขึน้ พรอ้ มๆ กบั การเข้ามาของการใช้อานาจรัฐอย่างเขม้ งวด ได้ก่อให้เกดิ ความไม่ม่ันคง ในการดารงชวี ิตในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่ม่นั คงในการถือครองทด่ี ินทากนิ ที่เคยจัดการ ภายใต้กฎจารีตประเพณี การเตรียมพื้นท่ีทากินได้กลายเป็นการบุกรุกทาลายพ้ืนท่ีป่าสงวน เนื่องจาก พนักงานปา่ ไม้มองว่าการตัดโค่นและเผาไรเ่ หล่าอายุ 4 ปี ขึ้นไปเป็นการทาลายป่า ผิดกฎหมายปา่ ไม้

การวจิ ยั การศกึ ษาเปรยี บเทียบการพฒั นาบนพื้นทส่ี ูงในอดีตและปจั จุบัน 133 สภาชนเผ่าพื้นเมืองอาเภอกัลยาณิวัฒนาได้พยายามแก้ไขปั ญหาความไม่ม่ันคงใน การเข้าถึงและถือครองท่ีดินดังกล่าว โดยพยายามผลักดันกฎเกณฑ์การจัดการทรัพยากรท่ีดินและ ป่าไม้ตามจารีตประเพณีของท้องถิ่นบางอย่างท่ีคนส่วนใหญ่ที่มีส่วนได้เสียยอมรับได้ ให้เข้าไปอยู่ใน เทศบญั ญตั ิ การสรา้ งความมน่ั คงในการดารงชวี ติ ไม่ใช่การสร้างความเข้มแข็งให้กฎเกณฑ์ท้องถ่ินเพียง ด้านเดียว แต่อยู่ที่การผลักดันให้ความคิดแบบท้องถิ่นหรือกฎเกณฑ์ท้องถิ่น สามารถมีส่วนในการถูก นาไปตัดสินเร่ืองราวหรือกรณีพิพาทต่างๆ ท่ีเกิดขึ้น โดยกฎเกณฑ์ท้องถ่ินดังกล่าวต้องเกิดจากการ ผสมผสานหลายๆ อย่างให้เกิดเป็นกฎหมายพหุลักษณ์ขึ้นมา ซ่ึงเป็นการยกระดับข้อตกลงชาวบ้าน หรือข้อตกลงท้องถิ่นให้มีลักษณะเป็นทางการหรือเป็นกลไกเชิงสถาบันมากข้ึน การออกกฎหมายที่ รัฐเป็นฝ่ายดาเนินการก็ใช้วิธีการเดียวกัน คือทาสิ่งที่เป็นข้อตกลงในสภาให้เป็นทางการก็คือทาให้ เป็นกฎหมายรูปแบบใดรูปแบบหน่ึงน่ันเอง ซึ่งในท้องถ่ินสามารถทาได้ไม่แตกต่างกัน เรียกว่า ธรรมาภบิ าลท้องถน่ิ หรอื local governance การเคล่ือนไหวทางสังคมของสภาชนเผ่าพ้ืนเมืองอาเภอกัลยาณิวัฒนาในปัจจุบัน จึงอยู่ ที่การพยายามผลักดันกระบวนการท่ีทาให้เกิดข้อตกลงใหม่และยกระดับให้มีกลไกเชิงสถาบัน อย่างเป็นทางการใน 2 ระดับ คือ ระดับองค์การบริหารส่วนตาบลหรือเทศบาลตาบลกับอาเภอหรือ ราชการส่วนภูมิภาค การสร้างกลไกเชิงสถาบันมาจากกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม โดยการพยายามขบั เคลื่อนใหเ้ กิดข้อตกลงที่เป็นธรรมาภิบาลท้องถ่ิน แล้วผลกั ดันให้เป็นทางการท้ังใน ระดับการปกครองส่วนท้องถ่ิน และราชการส่วนภูมิภาค การสร้างหลักประกันความมั่นคงในการ ดารงชีวิตต้องทาให้กลไกเชิงสถาบันท่ีมีความเป็นทางการ มีลักษณะหลากหลายมีการบังคับให้และ เคารพในกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันหลายระดับเนื่องจากในเวลานี้มีการยึดกฎหมายจากฝ่ายรัฐเพียงกฎ เดียวและมีการบังคับใช้อย่างตายตัว การบังคับใช้กฎหมายเชิงเดี่ยวก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ดัง ตัวอย่างชาวบ้านถูกจับดาเนินคดีข้อหาบุกรุกทาลายป่า ทั้งๆ ท่ีกาลังปรับพ้ืนท่ีเพาะปลูกในที่ทากิน ของตนเอง ดงั น้นั กฎเกณฑ์เชงิ ซอ้ น หรอื การบงั คบั ใช้กฎหมายท่เี กดิ จากข้อตกลงในท้องถ่ินท่ีแตกต่าง หลากหลายระดับจะกอ่ ให้เกดิ ความเป็นธรรมและแก้ปัญหาทด่ี นิ ทากนิ และป่าไม้ในพ้ืนท่ีกัลยาณิวัฒนา ได้ดีกว่าการบังคับใช้กฎหมายเชงิ เดย่ี วอย่างตายตวั ทวิช จตุวรพฤกษ์ ประณยา ชัยรังษี และคณะ (2558) ได้ดาเนินการศึกษา โรงเรียน ชุมชนจัดการตนเอง ที่หมู่บ้านโจ๊ะมอวาคี ตาบลแม่วิน อาเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า “บ้านมอวาคี” เป็นชุมชนชาวกะเหรี่ยงหรือปกเกอะยอมีชอ่ื ทางการว่า “บ้านหนองมณฑา” ชาวบ้าน พ้ืนราบบรเิ วณนน้ั เรยี กอกี ชอื่ หน่งึ วา่ “บ้านขุนแม่มูด” คาว่า “มอวาค”ี เป็นภาษาปกเกอะญอ แปลว่า โป่งขาว ที่อยู่ใกล้ลาห้วย ส่วนคาว่า “หนองมณฑา” เป็นชื่อท่ีตั้งข้ึนตามชาวบ้านท่ีชื่อนายบูทา ซึ่งได้ พบตัวแลนที่หนองน้าใกล้โป่งขาวนั้น ชาวบ้านจึงเรียกพ้ืนท่ีบริเวณน้ีว่า หนองน้าของนายบูทา หรือ “หนองบูทา” ต่อมาเสียงเรียกได้ผิดเพี้ยนไปเป็น “หนองมณฑา” แต่ปัจจุบันน้ีหนองบูทาหรือหนอง มณฑา ไดก้ ลายเปน็ ที่นาของชาวบ้านไปแล้ว

134 การวิจยั การศึกษาเปรียบเทยี บการพัฒนาบนพนื้ ท่ีสงู ในอดตี และปัจจบุ ัน ชาวบ้านคาดว่าบริเวณท่ีตั้งบ้านมอวาคี เคยเป็นชุมชนมีผู้คนอยู่อาศัยมาเมื่อ 700-800 ปีมาแล้ว หลักฐานดู้ได้จากมีร่องรอยชุมชนถูกท้ิงร้างของชาวลัวะในบริเวณนี้ อยู่ห่างจาบ้านมอวาคี ราว 1 กิโลเมตร ชาวปกาเกอะญอ น่าจะเขา้ มาอยใู่ นพนื้ ที่บริเวณนเ้ี มือ่ ราว 250-300 ปที แ่ี ลว้ มา ผู้อาวุโสของชุมชนผู้หน่ึงเล่าว่าในเขตป่าของบ้านมอวาคีมีการตั้งบ้านเรือนมาหลาย ชั่วอายุคนและหลายกลุ่ม เท่าท่ีจาได้ผู้ที่เข้ามาต้ังบ้านเรือนกลุ่มแรกมาจากบ้านโต๋และแม่ขะปู อาเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มีนายต่าเข่อเหล่อ เป็นคนแรกที่เข้ามาอยู่ ในอดีตมีจานวนครัวเรือน ไม่กี่หลัง และไม่ได้อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ แค่ปลูกบ้านอยู่กระจัดกระจาย ซึ่งได้ปรากฏร่องรอยของ บ้านร้าง หรือ “แดลอ” ในบริเวณน้ี สาเหตุการย้ายแต่ละคร้ังเน่ืองจากอยู่ไกลแหล่งน้า หน้าแล้ง ประสบปญั หาขาดแคลนนา้ อยเู่ นอื งๆ ทาใหจ้ าเปน็ ต้องเคลื่อนย้ายบ้านเรอื นในบริเวณน้ีหลายครงั้ ต่อมา มีชาวจีนฮ่อ เข้ามาปล้นหมู่บ้าน เป็นเหตุให้ชาวบ้านถูกฆ่าตายหลายราย ทาให้ ต้องโยกย้ายไปอยู่ท่ีบ้านมอวาคี หรือหนองมณฑาเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐาน มีแหล่งน้าใช้ได้ตลอดปีใกล้พื้นท่ีทากิน บางส่วนย้ายไปอยู่ที่บ้านใหม่ หรือเก้อหล่อไล อยู่ห่าง บ้านมอวาคี 1 กิโลเมตร ในอดีตบา้ นมอวาคี ตงั้ อยู่ทีห่ มทู่ ี่ 6 หมูเ่ ดียวกับบ้านแม่มูด ตอ่ มาในปี พ.ศ.2531 ได้แยก ออกเป็น 2 หมู่บ้าน บ้านหนองมณฑา เป็นหมู่ท่ี 16 ตาบลแม่วิน อาเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีนายภิรมย์ พงศ์ชานาญไพร เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก พตี่พาโละ เป็นฮีโข่(ผู้นาพิธีกรรม) ปัจจุบัน บ้านมอวาคีหรือหนองมณฑา ประกอบด้วย 4 หย่อมบ้าน คือ มอวาคี(หนองมณฑา) บ้านใหม่ ป่าโมะ และขุนวนิ ทกี่ ารผู้ใหญบ่ า้ นหม่ทู ี่ 16 อยู่ทหี่ ยอ่ มบา้ นมอวาคี (หนองมณฑา) บ้านมอวาคี อยู่ห่างจากตัวอาเภอแม่วาง ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 24 กิโลเมตร อยู่หา่ งจากตวั จังหวัดเชยี งใหม่ ไปทางใต้ ประมาณ 45 กิโลเมตร อาณาเขตบ้านมอวาคี ทิศตะวันออก ติดต่อกับป่าคามมาเลโกละ ทิศตะวันตกติดต่อกับบ้านห้วยอีค่าง ทิศใต้ติดต่อกับบ้านทุ่งหลวง ทิศเหนอื ตดิ ตอ่ กบั บา้ นขนุ วนิ เสน้ ทางคมนาคมเข้าออกหมู่บ้านมอวาคี มี 3 เส้นทาง คอื 1) เส้นทาง แม่วาง-ทุ่งหลวง-หนองมณฑา เป็นทางลาดยาวจากแม่วาง-ทุ่งหลวง ระยะทาง 15 กิโลเมตร และถนนลูกรังจากทุ่งหลวง-หนองมณฑาระยะทาง 9 กิโลเมตร เป็นถนนดิน แดงทาใหก้ ารสญั จรเปน็ ไปด้วยความยากลาบากในฤดูฝน 2) เส้นทางหนองมณฑา-ขุนวิน เป็นทางเดินเท้าระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร 3) เสน้ ทางหนองมณฑา-ป่าคานอกเปน็ ทางเดินเทา้ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ลักษณะภูมิอากาศของบ้านมอวาคี มี 3 ฤดู เนื่องจากชุมชนตั้งอยู่บริเวณไหล่เขา มีลมพัดตลอดเวลา ทาให้มีอากาศเย็นตลอดปี ลักษณะภูมิประเทศของมอวาคีส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ชาวบ้านต้ังบ้านเรือนอยู่ตามที่ราบและไหล่เขา สภาพป่าของบ้านมอวาคีเป็นป่าดิบเขา ในฤดูร้อนมี อากาศร้อนบ้างแต่ไม่มากนัก สภาพป่าบนยอดเขาเป็นป่าดิบชื้น ตอนล่างเป็นป่าดิบเขาและป่าเต็งรัง เรยี กเป็นภาษาปกเกอะญอ วา่ “ก่อเบรโข”่ ไม้ในป่าสว่ นใหญเ่ ปน็ ไมเ้ น้อื แข็ง

การวจิ ยั การศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาบนพ้ืนทส่ี ูงในอดีตและปจั จบุ นั 135 บ้านมอวาคียังไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านยังคงใช้ตะเกียง เทียนไข สาหรับให้แสงสว่างใชฟ้ ืน หุงหาอาหาร ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวงบ้านมอวาคีมีไฟฟ้าจากแผงกาเนิดไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซล่าเซลล์เป็นแหล่งให้แสงสว่าง จานวน 20 แผง มีแบตเตอร่ีสารองไฟฟ้า จานวน 22 ลูก ปัจจุบัน ชาวบ้านมอวาคีบางรายได้รับแผงโซล่าเซลล์ โดยได้รับการสนับสนุนจาก พระอาจารยน์ าวนิ เจา้ อาวาสวัดถา้ ดอยโตน แตย่ ังได้ไมค่ รบทกุ หลังคาเรอื น ระบบการผลิตของบ้านมอวาคี ยังคงเป็นการผลิตแบบจารีตประเพณีเป็นหลกั กล่าวคือ เป็นระบบการผลิตท่ีให้ความสาคัญกับการยังชีพเป็นหลัก มีการจัดการพื้นท่ีป่าให้เป็นที่ทากินใช้ ประโยชน์ได้อย่างต่อเน่ืองและยั่งยืน โดยไม่กระทบต่อระบบนิเวศน์โดยรวม ระบบการผลิตที่มีการ หมุนเวียนการใช้พื้นท่ี ที่เรียกว่า “การทาไร่หมุนเวีน” โดยมีการทานาข้ันบันได การทาสวน เก็บของ ป่า ล่าสัตว์ เล้ียงสัตว์ และรับจ้างเป็นระบบการผลิตรองเป็นตัวสนับสนุน มีระบบการผลิตของชุมชน มอวาคี ประกอบดว้ ย 1. การทาไร่หมุนเวียน เป็นการใช้พ้ืนที่เป็นระยะส้ัน ทิ้งให้ฟ้ืนคืนสภาพป่าธรรมชาติใน ระยะยาว ชาวบ้านมอวาคี ร้อยละ 70 ยังคงทาไร่หมุนเวียน มีรอบหมุนเวียน 5-7 ปี ในระบบน้ีเป็น การใช้ประโยชน์ที่ดินระยะส้ันเพียงฤดูการผลิตเดียว แล้วท้ิงให้พื้นท่ีกลับคืนสภาพเป็นป่าสาหรับใช้ ประโยชนอ์ กี ครั้งในอีก 5-7 ปถี ดั ไป ดงั นั้น แตล่ ะครัวเรือนจึงมีสิทธิทากินในไร่หมุนเวียน ครัวเรือนละ 5-7 แปลง หากครัวเรือนใดไม่ใช้ประโยชน์ เมื่อถึงฤดูกาลทาไร่ ครัวเรือนอื่นๆ ไปขอใช้ประโยชน์ได้ แต่ตอ้ งคืนสิทธกิ ารใช้ให้แกเ่ จา้ ของเดิมมื่อใชเ้ สรจ็ แลว้ 2. การทานาขั้นบันได การรู้จักทานาขั้นบันไดเป็นปัจจัยหน่ึงที่ทาให้ชาวปกาเกอะญอ ตั้งถน่ิ ฐานบนที่สูงอย่างถาวรได้ ครัวเรือนชาวมอวาคีประมาณร้อยละ 80 มที นี่ าเปน็ ของตวั เอง และมี แนวโน้มว่าพ้ืนท่ีไร่หมุนเวียนที่อยู่ใกล้แหล่งน้าและสามารถทาเหมืองฝายทดน้าเข้าได้ จะถูกบุกเบิก เป็นทีน่ าเพม่ิ ขน้ึ ครัวเรือนที่มีทั้งที่นาและไร่หมุนเวียน จึงมีหลักประกันการมีข้าวพอกินได้มากกว่าทาไร่ เพียงอย่างเดียว ครัวเรือนที่มีท่ีนามากพออาจทานาเพียงอย่างเดียว ก็สามารถมีข้าวพอกินตลอดปี โดยไมต่ ้องทาไรก่ ไ็ ด้ 3. การเลี้ยงสัตว์ ชาวมอวาคีมีการเลี้ยงสัตว์หลายประเภท อาจแบ่งตามลักษณะการใช้ ประโชน์ ดังนี้คือ หนง่ึ ประกอบพธิ ีกรรม ไดแ้ ก่ ไก่และหมู ไกใ่ ชก้ ับพิธกี รรมระดบั ครัวเรือน สว่ นหมู่ใช้ ในพิธีกรรมระดับชุมชน เช่น พิธีแต่งงาน เป็นต้น สอง ใช้งาน ได้แก่ ควาย ช้าง สาม ขาย ได้แก่ วัว หมู สตั วเ์ ลี้ยงเหล่านน้ั เปน็ ตวั ชว้ี ดั ฐานทางเศรษฐกจิ ของครัวเรือนได้ 4.การทาสวน การปลูกพืชสวนของชาวบ้านมอวาคี ส่วนใหญ่ปลูกสาหรับบริโภคใน ครัวเรือน โดยใช้พื้นที่หวั ไรป่ ลายนา และรอบๆ บ้านทป่ี ลกู สวนเหลา่ นี้เปน็ ทรัพยส์ ินตกทอดไปยังบุตร หลานได้ 5. การทาสวน การปลูกพืชสวนของชาวบ้านมอวาคี ส่วนใหญป่ ลูกสาหรับบริโภคใน ครวั เรือน โดยใช้พนื้ ทห่ี วั ไรป่ ลายนา และรอบๆบ้านทปี่ ลูกสวนเหลา่ น้เี ปน็ ทรพั ย์สนิ ตกทอดไปยงั บตุ ร หลานได้

136 การวจิ ยั การศกึ ษาเปรียบเทียบการพัฒนาบนพ้นื ทส่ี งู ในอดีตและปัจจุบัน 6. การเก็บของป่า ล่าสัตว์ พื้นที่ป่าของชุมชนและไร่เหล่าน้ันเป็นแหล่งเก็บหาอาหาร ของชาวบา้ น ทาใหช้ ว่ ยลดคา่ ใชจ้ า่ ยของครัวเรือน 7. อาชีพนอกภาคการเกษตร ชาวบ้านมอวาคี บางส่วนเม่ือหมดช่วงฤดูเพาะปลูก (สว่ นใหญ่เป็นเยาวชน) จะออกไปรบั จ้างทัว่ ไป เช่น ทานา เกี่ยวข้าว ปลูกหอมแดง เปน็ ต้น ในหมู่บ้าน มีรา้ นขายของ 23 ร้านและมกี ารทาธุรกิจโฮมสเตย์ 2-3 ครวั เรอื น อาชพี นอกภาคการเกษตรเหล่านี้จึง เป็นเพียงแหลง่ รายไดเ้ สริมเทา่ นัน้ อาชีพหลกั ยังคงเปน็ การทาการเกษตร ระบบความสมั พนั ธท์ างสังคม หนว่ ยการจดั การความสมั พันธ์ทางสังคมของชาวปกาเกอะญอมหี ลายระดับ ต้ังแตร่ ะดับ ครัวเรือน ชุมชน ระหวา่ งชุมชน และเครือข่ายทางสังคม วัฒนธรรมต่างๆ ในระดับครอบครัว/เครือญาติ ครอบครัวปกาเกอะญอส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเด่ียว ประกอบด้วย พ่อแม่และลูกๆ ส่วนที่เป็นครอบครัวขยายจะเป็นครอบครัวของบุตรสาวคนสุดท้องท่ี ต้องดูแลบุพการีทาให้ต้องรับเขยเข้ามาอยู่ด้วย ลูกๆ ท่ีแต่งงานแยกครอบครัวออกไป มักจะปลูกบ้าน อยู่ใกล้บา้ นพอ่ แม่ บุตรเขยเม่อื แยกบ้านกจ็ ะสร้างอยู่ใกล้บา้ นของพ่อตา แม่ยายนน่ั เอง ชาวปกาเกอะญอสืบเช้ือสายทางมารดา ที่เรียกว่า มาตุพงศ์(Matrilineal) พิธีกรรม สาคัญประจาปีของครัวเรือนและเครือญาติ คือ พิธีไหว้ผีประจาตระกูลของเครือญาติฝ่ายหญิง (เบอะกะ๊ ) เรียกวา่ พิธีแอแฆ ในระดับชุมชน โครงสรา้ งความสมั พนั ธ์ระดบั ชุมชนของชาวปกาเกอะญอ ใหค้ วามสาคัญ กับการพึ่งพาอาศัยและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน นอกจากนี้ การเห็นคุณค่าของการเป็นคนดีของสังคม มีสว่ นสง่ เสรมิ ให้การเออ้ื เผือ้ เก้ือกูลกันเปน็ คุณธรรมประการหนึ่งของการอยู่รว่ มกนั เปน็ สงั คมหมูบ่ ้าน ในระดับระหว่างชุมชนและเครือข่ายสังคม เนื่องจากชาวปกาเกอะญอ รู้จักทานาและ เหมืองฝายมานาน ดังนั้นการจัดการน้าในระบบเหมืองฝาย เป็นการจัดความสัมพันธ์ระดับเครือข่าย สังคมของผู้ใช้น้าร่วมกันทั้งลุ่มน้ามายาวนาน ปัจจุบันมีการต่ืนตัวในเร่ืองการอนุรั กษ์ ทรัพยากรธรรมชาติชาวบ้านบริเวณน้ีได้รวมกลุ่มกันก่อต้ัง “เครือข่ายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และส่ิงแวดล้อมลุ่มน้าแม่วางตอนบน”ข้ึนเพื่อรักษาทรัพยากรของท้องถิ่นเอาไว้ รวมทั้งมีการรวมตัว กันเป็น “เครือข่ายกองบุญข้าว” ของชาวปกาเกอะญอ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อ ชว่ ยเหลอื ครอบครวั ปกาเกอะญอท่ปี ระสบปญั หาข้าวไม่พอกนิ การจัดการศึกษาชุมชนบนพ้นื ทส่ี ูง เมื่อปี พ.ศ.2523 กรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ในสังกัดกระทรวงการศึกษาธิการ ได้จัดตั้ง “ศูนย์การศึกษาเพ่ือชุมชนเขตภูเขา” (ศศช.) ขึ้นเพื่อจัดการศึกษาให้กับชุมชนบนพ้ืนท่ีสูง ในประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นการจัดการศึกษาให้กับชุมชนบนภูเขาในรูปแบบการศึกษาในระบบ โรงเรียนตามปกติยังไม่ทั่วถึง มีโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน และโรงเรียนชั่วค ราวของ กรมประชาสงเคราะห์เป็นโรงเรียนเสริมจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กๆ บนพ้ืนท่ีสูง กรมการศึกษา นอกโรงเรียนได้ส่งครูอาสาหรือท่ีเรียกกันว่า “ครูดอย” แห่งละ 1-2 คน เข้าไปฝังตัว พักอยู่กับ ชาวบ้านในชุมชนมีการสร้างอาคารช่ัวคราวขนาดเล็กๆ ด้วยวัสดุท้องถ่ิน เรียกว่า “อาศรม” เพื่อเป็น สถานทใี่ หบ้ รกิ ารการศกึ ษาและพฒั นาชมุ ชนแกผ่ ใู้ หญ่ในเวลากลางคนื และสอนเด็กตัง้ แต่อนบุ าลถึงชั้น

การวิจยั การศึกษาเปรยี บเทียบการพฒั นาบนพ้นื ที่สูงในอดีตและปัจจบุ ัน 137 ประถมศึกษาปีท่ี 6 ในตอนกลางวัน โครงการศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา ได้รับรางวัลจาก องค์การ UNESCO เม่ือปี พ.ศ.2537 ในฐานะเป็นแนวคิดใหม่ในการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็น พ้ืนฐาน ปัจจุบันมีการขยายเป็นตามชุมชนท่ีทรุ กันดารถงึ 773 แห่ง ใน 17 จังหวดั ท่มี ีกลุ่มชนบนพ้ืนท่ี สูงอาศัยอยู่ ในปี พ.ศ.2535 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนีได้พระราชทานทรัพยส์ ่วนพระองค์ สร้างอาคารศูนย์การศึกษาเพ่ือชุมชนในเขตภูเขาบ้านห้วยหวาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เน่ืองจากได้ ทรงทราบถงึ ความยากลาบากของการเปน็ ครูดอยถ่ินกนั ดาร ตอ่ มาไดพ้ ระราชทานความชว่ ยเหลือและ ทรงรับ ศศช.ทกุ แห่งไว้ในพระอุปถมั ภจ์ นถงึ ปจั จุบัน ในปี พ.ศ.2539 กรมการศึกษานอกโรงเรียนที่ได้ซาบซ้ึงในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์ จึงได้กราบบังคมทลู พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช ขอพระราชทาน ชื่อของศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา(ศศช.) และพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า “ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง” ซ่ึงเป็นราชสมัญญา นามของพระองค์ท่าน “แม่ฟ้าหลวง” หรือ “สมเด็จย่า” แต่ชื่อย่อยังคงใช้ติดของเก่าว่า ศศช. เหมือนเดิม แต่เดิมการจัดการศึกษาบนภูเขาใช้หลักสูตรประถมศึกษาเพ่ือชุมชนในเขตภูเขา พุทธศักราช 2524 ต่อมาหลักสูตรนี้ถูกยกเลิกไปใช้หลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน พ.ศ.2544 โดยจัด การศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีท่ี 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 รวม 9 ปี ตามพระราชบัญญัติการศึกษา ภาคบังคับ พ.ศ.2545 อย่างไรก็ตาม การจัดการศึกษาภาคบังคับสาหรับสถานศึกษาในชุมชนบนพื้นที่ สูงในบางพ้ืนท่ียังคงอยู่ในความรบั ผิดชอบของกรมการศึกษานอกโรงเรียน ปัจจุบันมีการจัดการศึกษา โดยใช้หลกั สตู รการศกึ ษานอกระบบระดับการศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐานพุทธศึกราช 2551 แนวทางจัดการศึกษาของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวงแต่ละแห่งใช้วิธี ของทั้งการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยไม่ต่างกันกับการจัดการศึกษาของศูนย์การ เรียนรู้ชุมชนในพ้ืนราบ ความแตกต่างกันอยู่ท่ีกระบวนการจัดการศึกษาทั้งด้านหลักการเป้าหมาย กระบวนการท่ีจะให้เกิดการเรียนรู้ อันเน่ืองมาจากความผิดแยกกันในเร่ืองวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความพร้อมการสื่อสาร และปัญหาการคมนาคมการจัดการเรียนการสอนของ ศศช.จึงมีการจัดการ เรียนการสอนหลากหลายรูปแบบคละเคล้ากันไป ท้ังแบบการศึกษาในระบบ นอกระบบและตาม อัธยาศัยมีหลักการคือเป็นการจัดการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคมใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ มงุ่ แก้ปัญหาชวี ิตความเป็นอยู่ เพื่อนาไปสู่คุณภาพชีวติ ท่ีดีขน้ึ ใช้หลักสตู รท้องถ่ินที่สอดคล้องกับความ เป็นอยู่ของชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วมคิด และปฏิบัติตามวิถีชีวติ ขนบประเพณี ความเชื่อ และภูมิปัญญา ท้องถ่ินของชุมชนฃ

138 การวจิ ัยการศกึ ษาเปรยี บเทียบการพฒั นาบนพืน้ ท่สี งู ในอดตี และปจั จบุ นั สถานการณ์และปญั หาการจดั การศึกษาของชุมชนบนภูเขา ตลอดระยะเวลากว่าห้าสิบปีของการจัดการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียน ให้ชุมชน บนพื้นท่ีสูงในประเทศไทย เป็นกระบวนการกลืนกลายทางวัฒนธรรม ให้กลุ่มชนต่างๆที่อาศัยอยู่บน ภูเขากลายเป็นคนไทยตามนโยบายรวมพวกเป็นมาตรการเชิงสันติท่ีมุ่งปรับเปลี่ยนวิธีคิด และ อัตลักษณ์ชาติพันธ์ุที่ถูกผลักดัน ควบคู่ไปกับมาตรการเชิงปราบปราม ซึ่งปรากฏอยู่ในเรื่องของการ ควบคุมการใช้ทรัพยากรบนภูเขา การปราบปรามการปลูกพืชเสพติด และการอพยพคนออกจ าก เขตป่ากระบวนการกลืนกลายทางวัฒนธรรมด้วยมาตรการเชิงสันติทั้งด้านการจัดการศึกษา การส่งเสริมสุขอนามัยและสาธารณสุข รวมทั้งโครงการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจต่างๆ บนพ้ืนที่สูง ประสบความสาเร็จไม่น้อย ปัจจุบันชุมชนบนพ้ืนที่สูงและเขตภูเขาส่วนใหญ่ ได้ปรับเปล่ียนวิถี การดาเนินชีวิตไปจากเดิม บุตรหลานรุ่นต่างๆ มาจานวนไม่น้อยของกลุ่มชาติพันธ์ุบนภูเขา ประสบความสาเร็จเป็นอย่างดีท้ังด้านเศรษฐกิจและการศึกษา กลายเป็นเจ้าของกิจการหรือประกอบ ธุรกิจท่ีประสบความสาเร็จ สาเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษารวมทั้งเป็นมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต เป็นจานวนไม่น้อย เช่นกัน อย่างไรก็ตามความสาเร็จดังกล่าวเป็นเพียงปลายปีรามิด หรือยอดภูเขา น้าแข็งที่โผล่เหนือน้าเท่านั้น ยังคงมีกลุ่มคนและชุมชนชายขอบอีกจานวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึง ขาดความเท่าเทียมในการเข้าถึงและไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแม้ว่า การศึกษาไทยจะผ่านการปฏิรูปมาต้ังแต่การประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 เปน็ ตน้ มา โดยเฉพาะสิทธิในการจัดการศึกษาของชมุ ชนพ้ืนทส่ี ูงให้เหมาะสมสอดคล้องกบั สภาพ เศรษฐกิจ สังคมการเมอื งและวัฒนธรรมของชุมชนทอ้ งถน่ิ สังคมไทยและชุมชนโลก ปัญหาด้านการศึกษาที่ชุมชนบนภูเขาประสบ ที่เป็นผลมาจากการจัดการศึกษาของรัฐ มมี ากมายหลายระดับ ไดแ้ ก่ 1. ปัญหาระดับโครงสร้าง กฎหมายการศึกษาแห่งชาติกาหนด (หรือบังคับ) ให้บิดา มารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี (มาตรา11) แต่ไม่ไดบ้ งั คับให้หน่วยงานภาครัฐจดั การศึกษาภาคบังคับให้ทั่วถึงแต่อยา่ งใด สถานศึกษา ท่ีต้ังอยู่ในชุมชนบนพ้ืนท่ีสูง ทั้งในรูปแบบโรงเรียนและศูนย์การเรียนส่วนใหญ่ จึงมีเพียงระดับ ประถมศึกษาเท่าน้ัน หมายความว่า หากเด็กๆ ชนเผ่าต้องการเรียนให้จบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี (มัธยมศึกษาปีท่ี 3) ผู้ปกครองจาเป็นต้องส่งเด็กไปเรียนต่อที่อื่นๆ ส่วนใหญ่จะส่งเด็กเข้าไปเรียนใน เมือง ซ่ึงทาให้ผู้ปกครองเด็กชนเผ่าต้องมีค่าใช้จ่ายท่ีจาเป็นเพ่ือการศึกษาของบุตรมากกว่าผู้ปกครอง เด็กในเมือง นอกจากนี้การบังคับให้เด็กทุกคนเข้าสู่ระบบโรงเรียนเมื่อมีอายุเข้าเกณฑ์ (ย่างเข้าเจ็ด ขวบ) เท่ากับผลักดันให้เด็กที่ยังไม่พร้อมต้องเข้าโรงเรียนไปด้วย เช่น เด็กท่ีมีพัฒนาการทางกายภาพ หรือสมองและปัญญาช้ากว่าปกติ เด็กจากครอบครัวแตกแยกหรือเด็กพิการ ด้อยโอกาส และอยู่บริเวณ ชายขอบของสังคม ทาให้เกดิ ปัญหาเหลอื่ มล้าในการเรยี นตามมา

การวจิ ยั การศึกษาเปรียบเทยี บการพัฒนาบนพ้นื ทีส่ ูงในอดีตและปัจจบุ ัน 139 2. ปัญหาระดับกระบวนการเรยี นรู้ การจัดหลกั สูตรการเรยี นการสอนที่มีมาตรฐานเดียว เน้นการเรียนให้เป็นเลิศในรายวิชาแบบแยกส่วนแทนท่ีจะเรียนเพื่อทาความเข้าใจองค์รวม ทาให้เด็ก ไมส่ ามารถบูรณาการเนื้อหาวชิ าการตา่ งสาขาใหเ้ กดิ องค์ความรหู้ รือนวัตกรรมใหม่ได้ 3. ปัญหาระดับอุดมการณ์ เนื่องจากรัฐกาหนดนโยบายการศึกษาแห่งชาติเพ่ือเป็นเป้า หลอมเด็กหรือสร้างอนุชนออกมาเหมือนๆ กันเป็นจานวนมาก ระบบโรงเรียนและสถานศึกษาท่ัว ประเทศ จึงเป็นเสมือนแหล่งผลิตอุปกรณ์หรือเครื่องมือสาหรับขับเคลื่อนภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและ ระบบราชการ มากกวา่ สร้างปจั เจกบคุ คลทคี่ ิดเปน็ สามารถเจริญเติบโตเป็นพลเมืองทีม่ ีคณุ ภาพ 4. ปัญหาระดับบริหารจัดการ การบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบรวมศูนย์ นาไปสู่ การจากัดวิธีการเรียนการสอนให้เหลือเพียงไม่กี่วิธี ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อหลักปรัชญาของการศึกษาท่ี ต้องการให้การศึกษาเป็นเคร่ืองมือพัฒนา และยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พร้อมทุกด้าน อีกท้ังยังขัดกับวิถีชีวิตและสภาพความต้องการของผู้เรยี นท่ีแตกต่างไปตามความหมาย ทางชาติพันธุแ์ ละสภาพทางเศรษฐกิจและสงั คมอีกด้วย การปฏิรูปการศึกษาจึงควรเปิดช่องทางและทางเลือกในการจัดการศึกษาให้มากข้ึน ควรส่งเสริมความหลากหลายของการจัดการศึกษาเพ่ือจะได้สามารถตอบสนองความจาเป็นและ ความตอ้ งการของผเู้ รียนไดท้ ุกกลุ่ม สถานการณ์ด้านการศึกษาบนพ้ืนท่ีสูงในปัจจุบัน ชุมชนบนภูเขาเผชิญกับปัญหา การมีความคิดเห็นแตกตา่ งกันระหว่างรุ่นและวัยผ้อู าวุโสวัยกลางคนขึ้นไปมีความห่วงใยตอ่ ผลกระทบ ทีเ่ กดิ จากความเปล่ยี นแปลงทางสงั คมและวฒั นธรรม ท่ีเกิดกบั คนรนุ่ เดก็ เยาวชนและวัยหน่มุ สาวเป็น อย่างมาก ภาระท่ีพ่อแม่รุ่นใหม่วัยหนุ่มสาวมุ่งหวังให้ลูกๆ เรียนระดับสูงข้ึน เพื่อเปิดโอกาสการเข้าสู่ อาชีพอ่ืนๆ นอกเหนือไปจากเกษตรกรรม ส่วนคนรุ่นอาวุโสคาดหวังให้อนุชนรุ่นหลังสืบทอดวิถีชีวิต และประเพณีเดิมของตนเองเอาไว้ ดังได้กล่าวไปแล้วว่า การเรียนในระดับสูงกว่าประถมศึกษาและ ภาคบังคับ ผู้ปกครองที่เป็นชนเผ่าจาเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายเพ่ิมข้ึนเป็นการลงทุนสาหรับอนาคตของ ลูกหลาน เพราะจะต้องเข้าไปเรียนในตัวเมือง ซ่ึงใช่ว่าทุกครัวเรือนหรือเด็กชนเผ่าทุกคนจะได้รับ โอกาสเช่นที่ว่าน้ีครัวเรือนท่ีสามารถส่งเสียลูกจนสาเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าภาคบังคับหรือ อุดมศึกษาได้ จะไม่เป็นปัญหามากนัก ส่วนเด็กและเยาวชนท่ีออกไปเรียนในเมืองแต่ไม่ประสบ ความสาเร็จใดๆ จะพบว่าตนเองมีความแปลกแยกจากคนอื่น และคนรุ่นอาวุโสในชุมชน การได้รับ การศึกษาในระบบโรงเรียนเพยี งแต่ระดับประถมศึกษา (เนือ่ งจากโรงเรียนที่ตั้งอย่บู นพน้ื ที่สงู สว่ นใหญ่ เปิดสอนได้เพียงระดับประถมศึกษาเท่าน้ัน) การเรียนต่อจนจบภาคบังคับ (ต้องไปเรียนต่อในเมือง) นอกจากไม่ได้ช่วยเพิ่มโอกาสและช่องทางเข้าสู่อาชีพอ่ืนๆ ท่ีมีรายได้เท่าน้ัน ยังเป็นการพรากเด็กๆ ออกไปจากวิถีชีวิตแบบชุมชนและจารีตประเพณีเดิมของพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ด้วย ความแปลกแยก จงึ เกิดขนึ้ กบั เด็กๆ เหล่านี้ ซ่ึงมเี ป็นจานวนมากขึน้ เปน็ ลาดบั กะเหรี่ยงหรอื ปกาเกอะญอ เปน็ กลมุ่ ชาติ พันธ์ุหน่ึงท่ีตระหนักถึงปัญหานี้เป็นอย่างดี และมีการต่ืนตัวในเรื่องการอนุรักษ์และร้ือฟ้ืนวิถีชีวิต วฒั นธรรมที่กาลังจะถกู อนชุ นกะเหรี่ยงรุ่นหลงั หลงลืมและละทง้ิ ไปแล้ว

140 การวิจยั การศึกษาเปรยี บเทยี บการพัฒนาบนพ้ืนทส่ี ูงในอดตี และปัจจบุ นั จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ท้องถ่ินและชาวบ้านถึงปัญหาของการจัดการศึกษาในระบบ โรงเรียนของชุมชนบนพ้ืนท่ีสูง พอสรุปได้ว่า ชุมชนมีส่วนร่วมน้อยมากในกิจกรรมการจัดการเรียน การสอนของโรงเรียน เน้ือหาสาระที่ใช้สอนส่วนใหญ่เป็นความรู้เกี่ยวกับภายนอก มุ่งพัฒนาทักษะ ผู้เรียนให้เป็นบุคลากรท่ีพร้อมเข้าสู่วัฒนธรรมกระแสหลัก บริโภคนิยมและอุตสาหกรรมนิยม ซึ่งชาวบ้านเห็นว่าความรู้ดงั กลา่ วได้เข้ามากดทับภูมปิ ัญญาและความรู้ท้องถิ่น ทาให้เด็กๆ แปลกแยก จากรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเองและพร้อมท่ีจะละท้ิงถ่ินเกิด ทาให้ชาวบ้านปกาเกอะญอ กลุ่ม หนึ่งมองเห็นความสาคัญของการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับลูกหลาน ให้มีความรู้สมัยใหม่ รู้จัก วัฒนธรรมท้องถิ่น ม่ันใจในความเป็นชาติพันธ์ุและชนเผ่ากล้านาเสนอตัวตนและพร้อมที่จะเผชิญกับ ความแตกตา่ งหลากหลายทางความคิดเมอื่ ต้องออกไปสูโ่ ลกภายนอก ศูนย์กศาูนรยเ์กรียารนเชรียมุ นชชนุมชชานวชไทาวยไภทเูยขภาูเข(ศาปสช(.ศ)ศบชา้.)นบม้าอนวมาอควี าคี จากเหตุการณ์อุทกภัยท่ีสร้างความเสียหายครั้งใหญ่ในภาคใต้ เม่ือเดือนพฤศจิ กายน 2531 และการออกพระราชกาหนดปิดสัมปทานป่าไม้(เฉพาะป่าบก) ทั่วประเทศ เม่ือวันที่ 14 มกราคม 2532 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายเพ่ิมพ้ืนที่ป่าอนุรักษ์โดยให้กรมป่าไม้ ออกสารวจพ้ืนที่ป่า 28 แห่งทั่วประเทศ ในจานวนนี้มีพ้ืนที่ป่าสงวนแหง่ ชาติป่าแม่แตง ป่าแม่ริม และ ป่าสะเมิง ป่าแม่ขาน-แม่วาง และป่าท่าช้าง-แม่ขนิล จังหวัดเชียงใหม่ รวมอยู่ด้วย ในปี พ.ศ.2535 คณะกรรมการอุทยานแห่งชาตมิ ีมติเห็นชอบใหก้ รมปา่ ไม้ดาเนินการสารวจป่าสงวนแห่งชาติปา่ สะเมิง ป่าแม่ขาน-แมว่ าง และป่าท่าช้าง-แม่ขนิล เพือ่ ประกาศเป็น “อทุ ยานแห่งชาติออบขาน” ต่อไป บ้านมอวาคี หรือหนองมณฑา อยู่ในตาบลแม่วิน จึงเป็นพ้ืนที่ท่ีกาลังถูกประกาศเป็น อทุ ยานแหง่ ชาติออบขานไปด้วย ประกอบกับในหว้ งเวลาดังกล่าว (พ.ศ.2535) เกดิ การชุมนุมประท้วง ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาป่าไม้และที่ทากินกันอย่างกว้างขวางท่ัวประเทศในนาม “สมัชชาคนจน” โดยเฉพาะพื้นท่ีภาคเหนือปัญหาการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับที่ทากินและที่ต้ังชุมชนของชน เผ่าบนภูเขาเกิดข้ึนอย่างกว้างขวาง ในพื้นท่ีลุ่มน้าแม่วาง มีการรวมตัวของชาวบ้านร่วมกับเครือข่าย เกษตรกรภาคเหนือ (คนก.) เพ่ือเรยี กรอ้ งใหร้ ฐั บาลแก้ไขปัญหานี้เช่นกัน ในปี พ.ศ.2535 นายจอนิ โอ่โดเชา แกนนาชุมชนลุ่มนา้ แม่วาง(ปัจจุบันได้รับการยอมรับ และยกยอ่ งเป็น “ปราชญ์ชาวบ้าน” มีบทบาทสาคัญในการเผยแพรภ่ ูมปิ ัญญาปกาเกอะญอ ในการจัด การทรัพยากรบนท่สี ูงอย่างย่ังยืนออกสูส่ าธารณชนท้ังในระดบั ประเทศและนานาชาติ) ร่วมกับสมาคม ศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศวท.หรือ IMPECT) ซึ่งเป็น องค์กรพัฒนาเอกชนท่ีมุ่งทางานพัฒนาบนพ้ืนที่สูงเป็นแห่งแรกๆ และมีบุคลากรส่วนใหญ่เป็นชนเผ่า พื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธ์ุ เข้าไปศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนมอวาคี พบว่าบ้านมอวาคี หรือหนองมณฑา ขาดแคลนสิ่งที่เป็นความจาเป็นพื้นฐานสาหรับการดารงชีวิต อีกมากมาย อาทิเช่น ความอัตคัดขาดแคลนปัจจัยสี่ ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยและสภาพแวดล้อม และท่ีสาคัญคือไม่มีโรงเรียนในหมู่บ้าน เด็กๆ ของมอวาคี ต้องไปเรียนที่โรงเรียนบ้านทุ่งหลวงหรือ โรงเรยี นบา้ นหนองเต่า ที่อยหู่ า่ งออกไป 10 กวา่ กิโลเมตร

การวจิ ยั การศึกษาเปรยี บเทียบการพฒั นาบนพน้ื ทีส่ ูงในอดตี และปจั จุบนั 141 การรวมตัวของชาวบ้านเป็นเครือข่ายชุมชนลุ่มแม่น้าแม่วางเพื่อเรียกร้องสิทธ์ิในที่ดิน ทากินท่ีถูกผนวกเป็นเขตอุทยานแห่งชาติออบขานทาให้เกิดเวทีชาวบ้านเพื่อพูดคุยกันอย่างมากใน เร่ืองการจัดการทรัพยากรธรรมชาตขิ องชาวปกาเกอะญอ ว่าเป็นระบบการจัดการที่รักษาความสมดลุ ของระบบนิเวศของป่าธรรมชาติได้ ซ่ึงชาวบ้านมองว่าภูมิปัญญาปกาเกอะญอ คือ องค์ความรู้ เชิงปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติกับชีวิต แต่ลูกหลานรุ่นหลังๆ กลับไม่มีความรู้เหล่าน้ี เหลืออยู่มากนัก ดังน้ันข้อสรุปท่ีนาไปสู่การกาหนดแนวทางในการเคล่ือนไหวเพื่อต่อสู้เรียกร้องสิทธิ ของชุมชนพ้ืนถิ่นในการจัดทรัพยากรในท้องถิ่นก็ต้องมองไปถึงการเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้กับวิถีชีวิตอัตลักษณ์ภูมิปัญญาชนเผ่าไปพร้อมกันด้วย เพ่ือบอกเล่าต่อสังคมไทยและโลกภายนอก ให้รบั รู้ถึงศกั ยภาพของภมู ิปญั ญาปกาเกอะญอ ในการจดั การป่าไม้ การเกษตร และเศรษฐกจิ ชุมชน อย่างไรก็ตาม ปัญหาอุปสรรคหรือขวากหนามท่ีสาคัญที่ขวางหน้าอยู่ก็คือ ปัญหาท่ีเป็น ผลมาจากระบบการศึกษาของรฐั ที่กลา่ วถึงแลว้ ข้างตน้ เด็กและเยาวชนที่กาลังเรียนและจบการศึกษา ภาคบังคับจากโรงเรียน ไม่มีความรู้ ความเข้าใจ และไม่ภาคภูมิใจในความเป็นปกาเกอะญอเหลืออยู่ มากนัก บางคนไปร่าเรียนในเมืองจนจบแต่ไม่มีงานทา กลับมาอยู่ในหมู่บ้านก็หยิบจับทาอะไรไม่เป็น ไมม่ คี วามรูท้ ่เี ป็นทักษะในการดารงชวี ติ แบบปกาเกอะญอเหลืออยู่เลย จุดเริ่มต้นของความต้องการให้มีโรงเรียนในชุมชนมอวาคีจึงไม่ได้เกิดจากการที่ไม่มี โรงเรียนในหมู่บ้าน ทาให้เด็กๆ ต้องไปเรียนต่างหมู่บ้านที่อยู่ไกลออกไปเท่าน้ัน แต่เกิดจาก การวเิ คราะหป์ ัญหาการจดั การศึกษาในระบบโรงเรียน ร่วมกับแกนนาชาวบ้าน ผู้รทู้ ้องถน่ิ และสมาคม IMPECT ทาให้เกิดข้อสรุปร่วมกันว่าการศึกษาในระบบก่อนให้เกิดความห่างเหินระหว่างคนต่าง รุ่นต่างวัยด้วยและความตระหนักถึงปัญหาและการมีวิสัยทัศน์มองเห็นความเปล่ียนแปลงทางสังคม วฒั นธรรมทีก่ าลงั จะเกิดขน้ึ ในอนาคตว่าไม่มสี ิ่งใดเปน็ ตาข่ายนิรภัยรองรับความเสียหายในวนั ขา้ งหน้า ได้ดีเท่ากับการจัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้เหมาะสม ชาวบ้านมอวาคีรวมท้ัง ชุมชนอ่ืนๆ ในพ้ืนที่ลุ่มแม่น้าวาง จึงได้มีความคิดริเริ่มที่จะจัดให้มีการเรียนการสอน 2 หลักสูตร ไปพร้อมๆกัน เพื่อเปิดโอกาสและทางเลือกให้เด็กๆ ในชุมชนได้เข้าถึงแหล่งความรู้และเน้ือหาสาระ ทั้งแบบที่เป็นความรู้ท้องถ่ินที่สามารถนาไปใช้ในการดารงชีวิตประจาวันในชุมชนต่อไปได้กับสาระ ความรสู้ มยั ใหม่ท่ีเป็นช่องทางให้เด็กๆ ออกไปมสี ่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาสังคมของโลกภายนอก โดยการไปเรยี นตอ่ ในระดบั การศึกษาที่สงู ขนึ้ ภายหลังจากการวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาด้านการศึกษาในพ้ืนที่และได้ข้อสรุป ของแนวทางการจัดการศึกษาของตนเองแล้วมีการประเมินความเป็นไปได้ของการจัดตั้งโรงเรียน มอวาคี ใหม้ กี ารจัดการเรียนการสอน 2 หลักสูตร คอื ใช้หลักสตู รแกนกลางร่วมกับหลกั สูตรท้องถิ่นที่ พัฒนาให้มีเนื้อหาสาระเก่ียวกับวัฒนธรรมปกาเกอะญอ โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรม การดาเนินงาน รับรู้ปัญหาและแก้ไขปัญหาของโรงเรียน ซ่ึงเป็นแนวทางการจัดการศึกษาท่ีชุมชนมี ส่วนร่วม ตามที่พะติ จอนิ โอ่โดเชา แกนนาเครือข่ายชุมชนลุ่มน้าวาง และปราชญ์ชาวบ้านไดก้ ล่าวถึง หัวใจสาคัญของการเรียนรู้ของชาวปกาเกอะญอ เอาไวว้ ่า

142 การวิจยั การศึกษาเปรยี บเทยี บการพัฒนาบนพ้ืนทส่ี งู ในอดตี และปัจจบุ นั “เราอยากให้ลูกหลานได้เรียนรู้ทั้งน้าบ่อหน้าที่หมายถึงเรื่องราวข้างนอกความรู้ ภายนอก แต่ต้องเรียนรู้น้าบ่อหลัง ซ่ึงก็คือเร่ืองราวภายใน เร่ืองราวของตัวเองด้วยการเรียนรู้ด้วย หลกั สูตรชาติพนั ธุจ์ ึงเปน็ การผสมผสานความร้สู รา้ งคนท่พี ่ึงตนเองไดแ้ ละจัดการตนเองเป็น” การตั้งโรงเรียนในบ้านมอวาคี เพ่ือให้มีการจัดการศึกษาด้วยหลักสูตรที่มีลักษณะ พหุวัฒนธรรมจึงเร่ิมต้นขึ้น โดยได้รับความช่วยเหลือจากสมาคม IMPECT ไปประสานงานกับ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ ให้เข้ามาจัดตั้งโรงเรยี นและจัดการเรียนการสอนร่วมกับ ชุมชน ซึ่งได้รับการอนุมัติให้จัดต้ัง “ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาบ้านมอวาคี” ในปี พ.ศ.2535 นั่นเอง โดยสมาคม IMPECT ได้คัดเลือกปกาเกอะญอ ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านการศึกษา จานวน 4 คน มาเป็นครูในโรงเรียนร่วมกับครูของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดเชียงใหม่ โดยก่อนจะทาการสอน ได้ส่งไปฝึกอบรมหลักสูตรการจัดการศึกษาในชุมชน ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลาปาง ซ่ึงเป็นศูนย์กลางและแหล่งรวมความรู้เชิงวิชาการ ของการจัดการศกึ ษาสาหรับชุมชนบนพ้นื ท่ีสงู ศศช.บ้านมอวาคี หรือ “อาศรมมอวาคี” เปิดสอนตั้งแต่ระดับช้ันอนุบาลถึงประถมศึกษา ปีท่ี 6 ในช่วงเร่ิมต้นการเรียนการสอนใช้หลักสูตรศูนย์การศึกษาเพ่ือชุมชนในเขตภูเขา พ.ศ.2524 หรือเรียกว่า “หลักสูตร ศศช.” เนื่องจากยังไม่ได้พัฒนาหลักสูตรท้องถ่ินข้ึนมารองรับสอนโดยครู ชาวปกาเกอะญอ ซ่ึงไม่ได้มีสถานภาพเป็นข้าราชการครู ในสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน แต่เป็น บุคลากรของสมาคม IMPECT หลังจากน้ันไม่นานโรงเรียนที่บ้านมอวาคี เปล่ียนช่ือเป็น “ศูนย์การ เรยี นชมุ ชนชาวไทยภเู ขาแม่ฟ้าหลวง บา้ นหมองมณฑา” หรอื ศศช.บา้ นหนองมณฑา กลุ่มขุนวาง “อาศรมมอวาคี” จึงเกิดข้ึนจากการริเร่ิมและการร่วมมือร่วมใจกันของคนในหมู่บ้าน เห็นได้จากการตัดสินในร่วมกันมอบพ้ืนท่ีป่าสะดือ(เดปอ) ซ่ึงเป็นป่าพิธีกรรมและสถานท่ีฝังศพสัตว์ เลี้ยง เนื่องจากเห็นว่าอยู่บริเวณทางเข้าหมู่บ้านเป็นศูนย์กลางของชุมชน สะดวกในการเดินทางไป โรงเรยี นของเดก็ ๆ ทวิช จตุวรพฤกษ์ และคณะ (2558) ได้ศึกษาเร่ือง ธุรกิจชุมชนและทรัพยากรส่วนรวม ทีห่ มบู่ ้านกลาง ตาบลบา้ นดง อาเภอแมเ่ มาะ จังหวดั ลาปาง พบว่า “บ้านกลาง” เป็นชุมชนกะเหร่ียงโปว์ หรือ พล่ง การต้ังถ่ินฐานบ้านเรือนของชาวบ้าน ในอาณาบรเิ วณนีม้ ปี ระวตั ิย้อนหลังไปไม่น้อยกวา่ 200 ปี คนเฒา่ คนแก่ในหมู่บ้านได้เลา่ ถึงประวัติการ ตั้งชุมชนเอาไว้ว่าชาวบ้านได้มาตั้งบ้านเรือนในพ้ืนที่ปัจจุบันมาแล้วประมาณ 5 ช่ัวอายุคน (ประมาณ 150 -200 ปี) ชาวบ้านกลุ่มแรกท่ีมาบุกเบิกการตั้งถ่ินฐานในพ้ืนท่ีเป็นกลุ่มครัวเรือนกะเหร่ียงโปว์ จากจังหวัดกาญจนบุรี ได้เดินทางมาค้าขายที่บ้านสลกและบ้านสรอย (ปัจจุบันอยู่ในเขตอาเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่) ครัวเรือนบางส่วนได้เดินทางต่อไปยังเชียงแสน ตามเส้นทางสันดอยหลวงระหว่างทาง ได้หยุดพักที่บริเวณใกล้ลาห้วยแม่มาย พบว่าเป็นพ้ืนท่ีเหมาะกับการตั้งบ้านเรือนทามาหากิน มีป่าอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้าและสัตว์ป่ามากมาย จึงได้ตัดสินใจสร้างบ้านเรือนใกล้ลาห้วยแม่มาย เรียกวา่ “บา้ นเนาะ” เหตุการณด์ ังกล่าวน่าจะเกดิ ขึ้นเมื่อวา่ 200 ปีทแ่ี ลว้ มา

การวิจัยการศกึ ษาเปรยี บเทียบการพฒั นาบนพ้นื ที่สูงในอดตี และปัจจบุ ัน 143 เมื่อชุมชนขยายตัวขึ้น ในระยะต่อมา ได้มีการขยับขยายท่ีทากินไปทางทิศเหนือ บางส่วนแยกออกไปต้ังบ้านเรือนท่ีห้วยแม่ต๋า ต่อมาบ้ายไปที่ห้วยเปียง ปัจจุบันคือบ้านแม่ส้าน บางสว่ นแยกออกไปตัง้ บา้ นเรอื นมาต้ังท่ี “บา้ นกลาง” จนกระทง่ั ปจั จบุ ัน หลกั ฐานสาคัญอกี ช้ินหนึ่งที่ยนื ยันได้ถงึ ความเก่าแก่ของชุมชนบ้านกลางวา่ ยาวนานเกิน กว่าหนึ่งร้อยปีก็คืออนุสรณ์พระกิตติคุณเข้ามาในกะเหรี่ยงแบ๊บติสต์แห่งประเทศไทย ปี ค.ศ.1881 (The Godspel Came to Thailand Karen Baptist Convention ในปี ค.ศ.1881) ซ่ึงตั้งอยู่ที่ บา้ นเนาะ (ที่ตง้ั บ้านเดมิ ของชาวบ้านกลาง ปัจจบุ ันเป็นทท่ี ากนิ ) ซึ่งสร้างขน้ึ ในปี ค.ศ.1981(พ.ศ.2524 ในวาระครบรอบ 100 ปี ท่บี ้านกลางได้เป็นชมุ ชนกะเหรีย่ งหมู่บา้ นแรกของการก่อต้ังสมัชชากะเหรี่ยง แบ๊บติสต์ของประเทศไทย “บ้านกลาง” อยู่ในเขตตาบลบ้านดง อาเภอแม่เมาะ จังหวัดลาปาง เดิมขึ้นอยู่กับ ตาบลเมอื งมาย อาเภอแจห้ ่ม ต่อมาย้ายมาขนึ้ กบั ตาบลบ้านดง อาเภอเมืองลาปาง แต่เนือ่ งจากปัญหา ความยากลาบากในการเดินทางไปติดต่อราชการกับตัวอาเภอเมืองลาปาง จึงย้ายมาขึ้นกับอาเภอ แม่เมาะ จังหวัดลาปาง ท่ีตั้งขึน้ ใหมบ่ ้านกลางมปี ระชากร ทงั้ หมด 279 คน 72 ครวั เรือน ภูมนิ เิ วศ “บ้านกลาง” ตั้งอยู่หมู่ท่ี 5 ตาบลบ้านดง อาเภอแม่เมาะ จังหวัดลาปาง มีอาณาเขต ติดต่อระหว่าง 3 อาเภอของจังหวัดลาปาง โดยทิศเหนือติดต่อกับบ้านแม่ส้าน อาเภอแม่ทะ ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านจาปุย อาเภอแม่เมาะ ทิศตะวันตกติดต่อกับบ้านปู่จ้อย อาเภอเมืองลาปาง ทศิ ตะวนั ออกติดต่อกบั บ้านปางหละ อาเภองาว จงั หวดั ลาปาง สภาพภูมิประเทศของ “บ้านกลาง” โดยท่ัวไป เป็นพื้นที่สูงมีทิวเขาโอบล้อม สภาพ ภูมินิเวศเปน็ หุบเขาขนาดเล็ก ท่ีมีพื้นท่ีราบแคบๆ ระหว่างภเู ขาเป็นที่ตั้งบ้านเรือน เน้ือดินเป็นดินรว่ น ที่เกิดจากการย่อยสลายของเศษใบไม้ที่ทับถมกัน สภาพดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์จากฮิวมัสเหมาะ ต่อการเจริญเติบโตของพืช สภาพภูเขาบริเวณนี้ ส่วนใหญ่เป็นดินลูกรัง ปกคลุมด้วยป่าเบญจพรรณ ปา่ ดิบแลง้ (ป่าแพะ) และป่าดบิ เขาและเปน็ ต้นน้าของลาหว้ ยหลายสาย พ้ืนที่ป่าของบ้านกลางเป็นป่าเบญจพรรณ มีลักษณะเป็นป่าโปร่งผลัดใบ ต้นไม้ขนาด กลาง และมีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ข้ึนอยู่ท่ัวไป ไม้ไผ่เป็นไม้พื้นล่าง มีมากมายหลายชนิด ได้แก่ ไผ่หก ไผ่บง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่รวก ไผเฮียะ ไผ่ไร่ และไผ่ซาง ทาให้ป่าไผ่เป็นไม้สัญลักษณ์ที่บอกว่า กาลังเข้าใกล้เขต บ้านกลาง เขตภูเขาเป็นป่าดิบเขา พ้ืนป่าไม้รกทึบในฤดูฝน แต่จะเขียวชอุ่มท้ังไม้ช้ันบน (เหียง ท่อ ฯลฯ) และไม้ช้ันล่าง (ปรงป่า หญ้า ไม้พุ่ม กล้วยไม้ต่างๆ) ตามหุบเขาเป็นป่าดิบแล้งหรือป่าแพะ มียางนา มะคา่ โมง กัดลนิ้ กะบก ฯลฯ เปน็ ไมส้ าคญั สว่ นไมช้ นั้ ล่างมหี วาย ขงิ ขา่ ต่างๆ ไม่มากนกั ค่อนข้าง โลง่ เตียน

144 การวิจยั การศึกษาเปรยี บเทียบการพฒั นาบนพน้ื ทสี่ ูงในอดีตและปัจจบุ นั พ้ืนท่ีของบ้านกลางมีลาห้วย น้าซับหลายแห่งที่มีน้าไหลตลอดปี ทาให้ป่ามี ความหลากหลายของพรรณพืช แหล่งน้าสาคัญท่ีหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรของบ้านกลาง คือ ห้วยแม่มาย และห้วยแม่ต๋า ซ่ึงมีห้วยสาขาอีกหลายสาย น้าอุปโภค บริโภคของชาวบ้านได้จาก ห้วยแมต่ ๋า ซึ่งชาวบ้านได้นา้ จากหว้ ยต๋า มาทาประปาหมู่บ้าน “บ้านกลาง” อยู่สูงกว่าระดับน้าทะเลประมาณ 500-600 เมตร สภาพป่ารอบพ้ืนท่ีต้ัง ชุมชนเป็นป่าไผ่ ซึ่งเป็นแหล่งเก็บหาอาหารและรายได้ท่ีสาคัญ ชาวบ้านเล่าว่า สมัยก่อน พื้นที่ป่า ของบ้านกลางไมใ่ ช่ป่าไผ่ เปน็ ป่าทอ่ี ดุ มสมบรู ณ์ ชาวบา้ นทาไร่หมนุ เวยี นเป็นหลัก มีรอบหมนุ เวียนการ ใช้พ้ืนที่กว่า 10 ปี ชาวบ้านกลางนิยมทาไร่แบบแปลงกระจายเป็นหย่อมๆ ไปทั่วบริเวณ ทาให้ไม่มี พื้นที่ป่าถูกตัด ฟัน โค่นเผาเพื่อทาไร่เป็นพื้นท่ีขนาดใหญ่การมีท่ีทากินให้หมุนเวียนใช้ประโยชน์เกิน กว่า 10 ปี ทาให้มีผลผลิตข้าวไร่อยู่ในเกณฑ์ดี การเบิกท่ีนา จึงไม่จาเป็นมากนัก ตอนนั้นชาวบ้านยัง ชีพด้วยการทาไรข่ ้าว เก็บหาอาหารจากปา่ และไร่ อาจเอาของป่าไปขายบา้ งแตไ่ ม่มากนัก สภาพป่าในพื้นที่บ้านกลาง เกิดการเปลี่ยนแปลงคร้ังใหญ่เมื่อมีการสัมปทานทาไม้ใน บริเวณนี้ 3 ครงั้ เปน็ เหตใุ หค้ วามอุดมสมบรู ณ์ของป่าไมล้ ดน้อยลง ชาวบ้านกลางมีการจาแนกพ้ืนที่ป่าตามลักษณะการใช้ประโยชน์ และการจัด ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่าเพ่ือรักษาระบบนิเวศของท้องถ่ินให้สามารถฟ้ืนตัวและคงสภาพอุดม สมบูรณ์อย่างยั่งยืน โดยกาหนดให้ป่าท่ีคงสภาพเป็นป่าดงดิบท่ีมีความอุดมสมบูรณ์สูงเป็นป่าอนุรักษ์ มีกฎห้ามตัดไม้ และเขตหมู่บ้านสัตว์ป่า มีกฎห้ามล่าสัตว์ ยกเว้นการเก็บหาตัวยาสมุนไพร ส่วนป่า เบญจพรรณที่ดกด่ืนไปด้วยพันธุ์พืชและสัตว์ กาหนดให้เป็นเขตเก็บหาของป่า ตัดไม้ไผ่ใช้สอย ปล่อยสัตว์เลี้ยงแต่ห้ามตัดต้นไม้ใหญ่ และถางไร่เผาป่าโดยเด็ดขาด ส่วนบริเวณป่าแพะท่ีมีสภาพป่า เป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลางขึ้นประปรายกาหนดให้เป็นป่าใช้สอยของชุมชน เปน็ แหล่งเก็บฟนื ตดั ต้นไม้สร้างและซอ่ มแซมบ้าน โดยการขออนญุ าตจาก “คณะกรรมการปา่ ชมุ ชน” แต่ห้ามเผาป่าและทาไร่ พนื้ ท่ีของบา้ นกลางมีท้ังหมดประมาณ 23,100 ไร่ แบ่งเป็น 1.พนื้ ทท่ี ากนิ ประมาณ 2,200 ไร่ (รอ้ ยละ 9.52) ประกอบด้วย - ไรห่ มุนเวยี น 1,700 ไร่ - นา 200 ไร่ - สวน 300 ไร่ 2.พน้ื ทป่ี า่ ประมาณ 20,800 ไร่ (รอ้ ยละ 90.05) ประกอบด้วย - ปา่ อนรุ ักษ์ 10,900 ไร่ - ปา่ ใช้สอย (ปา่ แพะ) 2,700 ไร่ - ปา่ เศรษฐกจิ ชมุ ชน (หาของป่า) 6,100 ไร่ - หมบู่ า้ น สตั วป์ า่ 1,100 ไร่ 3.ที่อยู่อาศยั ประมาณ 100 ไร่ (รอ้ ยละ 0.45)

การวจิ ยั การศกึ ษาเปรยี บเทียบการพฒั นาบนพนื้ ทสี่ งู ในอดีตและปจั จบุ ัน 145 จะเห็นว่าชุมชนบ้านกลางมีการจัดการใช้ทรัพยากรในพื้นท่ีอย่างเป็นระบบ ทั้งตาม ประเพณี กฎระเบียบชุมชนและกฎหมาย โดยมุ่งหวังให้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติท่ีแวดล้อมอยู่นั้น สามารถดารงศักยภาพรองรับการใช้ได้อย่างย่ังยืน การที่ชาวบ้านกลางใช้ประโยชน์ในที่ดินเพียงปีละ ประมาณ 600 ไร่ (ไร่ข้าว 100 ไร่ ท่ีนา 200 ไร่ และสวน 300 ไร่) คิดเป็นการใช้พื้นท่ีเพียงร้อยละ 3.29 เท่านั้น ขณะที่พื้นที่ป่ามีถึงร้อยละ 91.77 ดังน้ัน กระบวนการจัดการทรัพยากรของชุมชน บา้ นกลาง จงึ มคี วามนา่ สนใจเป็นอยา่ งยิง่ การเผชิญหน้ากบั “การพัฒนา” และ ระบบตลาดเสรี ในอดีตชาวบ้านกลาง ดารงชีวิตโดยการทาไร่หมุนเวียนเพื่อผลิตข้าวและพืช อาหาร หลายชนิดสาหรบั บรโิ ภคในครวั เรอื น บางครวั เรือนเบิกท่ีนาปลูกขา้ ว ทาใหบ้ างปไี มต่ อ้ งทาไร่ขา้ ว หรือ ทาแค่เพียงเล็กน้อยให้เพียงพอแต่การบริโภค นอกจากน้ัน ชาวบ้านยังเก็บของป่าและล่าสัตว์เป็น แหล่งรายได้ หรือใช้แลกเปลี่ยนส่ิงของท่ีจาเป็น ดังน้ัน ชุมชนบ้านกลางในสมัยที่ยังคงเป็น “บ้านป่า บ้านดอย” เป็นชุมชนท่ีอยู่ห่างไกลไม่เป็นที่รู้จัก ชาวบ้านทามาหากินอยู่บนหุบเขาขนาดเล็ก แวดล้อม ดว้ ยผืนป่าขนาดใหญ่ โดยมคี วามจาเปน็ ในการตดิ ต่อกับโลกภายนอกไม่มากนัก พนื้ ท่ีของบ้านกลางในอดตี มที รพั ยากรปา่ ไม้อุดมสมบรู ณโ์ ดยเฉพาะไมส้ ัก สง่ ผลใหพ้ ื้นท่ี ป่าบริเวณน้เี ป็นพนื้ ท่ีปา่ สมั ปทานปา่ ถึง 3 ครัง้ คร้งั แรกเม่ือปี พ.ศ.2493 รัฐบาลไดใ้ หส้ มั ปทานการทาไม้สัก ให้กับบริษัทบอมเบย์เบอร์มา ซ่ึงเป็นบริษัทาธุรกิจส่งออกไม้ของประเทศอังกฤษ ส่งผลให้ไม้สักขนาด ใหญ่ ขนาด 2-5 คนโอบ ถูกตัดและลาเลียงออกไปจนหมด ต่อมาในปี พ.ศ.2502 รัฐบาลได้ ให้สัมปทานป่าไม้อีกคร้ังกับบริษัทของคนไทย ทาให้ไม้ขนาดใหญ่ท่ีหลงเหลืออยู่ถูกตัดไปขาย จนกระท่ังปี พ.ศ.2514 ได้มีการให้สัมปทานอีกเป็นครั้งที่สาม ให้กับนายทุนภายในประเทศ ทาให้ต้นไมใ้ หญ่ในพนื้ ทถ่ี ูกตดั โค่นจนแทบไม่เหลือ สมั ปทานป่าไมใ้ นพื้นทส่ี น้ิ สดุ ลง ในปี พ.ศ.2532 แต่ การตัดไม้ทาลายป่าในพื้นท่ีบ้านกลาง ยังคงดาเนินไปอย่างต่อเน่ือง แม้ว่าจะปิดสัมปทานไปแล้ว ก็ตาม ขบวนการลักลอบตัดไม้เถื่อนท่ีมีนายทุนและผู้มีอิทธิพลหนุนหลัง ยังคงเข้ามาตัดไม้ในเขตป่า ของบ้านกลางต่อไป ทาให้สภาพป่าท่ีเคยดกด่ืนด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่นานาชนิดรวมทั้งสัตว์ป่านานา พันธุ์ ต้องถูกตัดฟันล้มตายและลดจานวนลงอย่างรวดเร็ว ผลจากการเผชิญหน้ากับนโยบายการ จัดการป่าของรัฐคร้ังแรกส่งผลให้ภายในเวลาไม่ถึง 40 ปี ป่าบ้านกลางอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม น้าใน ลาห้วยหลายสายแห้งขอดในหน้าแล้ง เกิดความแห้งแล้ง ทาให้ผลผลิตข้าวของชาวบ้านลดน้อยลง จนแทบไม่พอกนิ ชาวบา้ นจึงไดร้ บั ความเดอื ดร้อนอย่างมาก ในปี พ.ศ.2516 ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จงั หวัดลาปางสังกัด กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ในขณะน้ันได้มาตั้งหน่วยพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาที่บ้านแม่ส้าน เพ่ือดาเนินงานพัฒนา”ชาวเขา” 4 ด้าน คือ การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน สุขอนามัย ส่งเสริมการเกษตรและ จัดทาทะเบียนบุคคลบนพ้ืนที่สูง โดยมีเป้าหมายเพ่ือให้ประชากร “ชาวเขา” ในประเทศไทยเปิดตัว สู่สังคมไทยในวงกว้าง ได้รับการศึกษาข้ันพื้นฐาน ได้รับการปรับปรุงสุขอนามัย ส่งเสริมการปลูกพืช

146 การวจิ ัยการศกึ ษาเปรยี บเทียบการพฒั นาบนพื้นทสี่ ูงในอดตี และปัจจุบนั เศรษฐกิจทดแทนการปลูกฝิ่น และปลูกฝังจิตสานึกการเป็นพลเมืองไทย นโยบายการพัฒนาชาวเขา ในชว่ งแรกๆ ไม่ได้สง่ ผลตอ่ การดารงชวี ติ ของชาวบา้ นกลางมากนัก ต่อมา ภายในปี พ.ศ.2532 โครงการพัฒนาพื้นท่ีสูง ไทย-ออสเตรเลีย โดยการสนับสนนุ งบประมาณจากรัฐบาลของประเทศออสเตรเลีย ได้เข้ามาต้ังสถานที่ทดลองท่ีบ้านจาพุย และตั้ง สานักงานโครงการที่บ้านแม่ส้าน โครงการพัฒนาพ้ืนที่สูง ไทย-ออสเตรเลีย เข้ามาสนับสนุนให้ ชาวบ้านเบิกนาข้ันบันได ทาสวนไม้ผลยืนต้น (เช่น กาแฟ ส้มโอ มะม่วง รวมท้ังลิ้นจ่ี และลาไย) ปลูกพืชเศรษฐกิจระยะสั้น (ได้แก่ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ถ่ัวเขียว ถ่ัวเหลือง ถั่งแดง) ต่อมาได้ทดลอง ปลกู ยางพาราเปน็ ครั้งแรกในพื้นท่ี ในช่วงเริ่มต้นโครงการพัฒนาพื้นที่สูง ไทย-ออสเตรเลีย ชาวบ้านเบิกนาเพิ่มข้ึนไม่ มากนัก เนื่องจากลาห้วยมีน้าน้อย อันเป็นผลมาจากการที่พ้ืนที่ป่าของบ้านกลางตกอยู่ในสภาพเส่ือม โทรมจากการสัมปทานทาไม้มาหลายคร้ัง และการลักลอบตัดไม้เถ่ือนในพ้ืนท่ี ชาวบ้านกลางเร่ิม เบิกนาเพ่มิ ข้ึน เม่อื ความอุดมสมบูรณ์ของป่าเร่ิมฟื้นกลับมาใหม่ จนนา้ ในลา้ หว้ ยไหลตลอดปี ท่รี าบลุ่ม รมิ ห้วยจึงถูกเบิกเปน็ นาขนั้ บนั ได ส่วนการปลูกพืชเงินสดหลังนา รวมท้ังการปลูกไม้ผลยืนต้นและสวนผลไม้ในพ้ืนที่ ไร่เหล่าได้ให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าเช่นเดียวกันเน่ืองจากเร่ืองราคาผลผลติ ไม่แน่นอนและอยู่ไกลตลาด จึงมักจะถกู พ่อคา้ กดราคา แตช่ าวบ้านตอ้ งลงทุนเรือ่ งปัจจัยการผลติ เพ่มิ ขึ้น เชน่ ปยุ๋ เช้ือพันธุ์ สารเคมี ปราบศัตรูพืช เป็นต้น ชาวบ้านกลางจึงได้รับบทเรียนว่า การปลูกพืชเศรษฐกิจต้องลงทุนสูง การขาย ต้องขายผ่านพ่อค้าคนกลาง และไม่สามารถกาหนดราคาพืชผลได้เอง ทาให้ได้ผลตอบแทน ไม่คุ้มค่าการลงทุนลงแรง ทาให้เกิดหนี้สินครัวเรือน ชาวบ้านจึงเลิกปลูกพืชเงินสดไปในที่สุด และตดั สนิ ใจปฏิเสธไมเ่ ขา้ ร่วมโครงการปลกู พชื เงนิ สดอกี เม่ือประมาณปี พ.ศ.2538 การปลูกไม้ผลและผลไม้ไม่ได้ผลดีนักเช่นกัน กาแฟให้ผลผลิตต่า เช่นเดียวกับล้ินจี่ ท่ีมีคุณภาพไม่ดีนัก ทาให้ขายไม่ได้ราคา จึงเลิกปลูกและตัดทิ้งไปในท่ีสุด คงเหลือต้นไม้ผลที่ปลูก บริเวณบา้ น และหวั ไรป่ ลายนาเท่าน้นั เมื่อเลิกปลูกพืชเงินสดอย่างสิ้นเชิง ชาวบ้านกลับไปทาไร่หมุนเวียนเป็นหลักดังเดิม หลังจากเลิกปลูกพืชเชิงพาณิชย์ไปได้ไม่กี่ปี ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นท่ีป่าได้เริ่มฟื้นคืนมา น้าในลา ห้วยเพิ่มปริมาณ สามารถใช้ได้ตลอดปี เหมาะสาหรับการเพาะปลูก ท่ีราบลุ่มริมห้วยจึงถูกเบิกเป็นท่ี นาส่วนใหญ่อยู่บริเวณริมห้วยแม่มายและห้วยแม่ต๋า การมีที่นาเพิ่มข้ึน มีส่วนช่วยลดแรงกดดันต่อป่า จากการทาไรห่ มนุ เวยี นแต่ละปีไปด้วย การเพ่ิมพ้ืนทน่ี าเทา่ กับชว่ ยลดการเพ่ิมพนื้ ท่กี ารทาไร่หมนุ เวียน ได้ แม้ว่าจะมีประชากรเพ่ิมขึ้น ซึ่งในชุมชนบ้านกลางมีสัดส่วนการใช้พื้นท่ีปลูกข้าวไร่ในแต่ละปีใน ระดับคงทปี่ ระมาณ 100 ไร่ มานานหลายปีแล้ว การตน่ื ตัวของกระแสอนุรักษ์ส่งิ แวดลอ้ ม การเปล่ียนแปลงของระบบภูมินิเวศในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะในเขตภูเขาและท่ีสูง ซ่ึงเป็นท่อี ยู่อาศัยของกลุ่มชนเผ่า และชาติพันธตุ์ ่างๆ เกดิ ขนึ้ อย่างรวดเรว็ ในชว่ งประมาณ 40 ปที ่ผี ่าน

การวิจยั การศกึ ษาเปรยี บเทยี บการพฒั นาบนพ้นื ท่ีสูงในอดีตและปจั จุบนั 147 มา ในช่วงทศวรรษที่ 2520 เป็นต้นมา ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติถูกทาลายและสิ่งแวดล้อมเส่ือม โทรม เร่ิมทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ปัญหาโลกร้อนจากการเปล่ียนแปลงภูมิอากาศของโลกเริ่มเป็นที่ตะ หนักของนานาชาติ หน่วยงานภาครัฐของไทยได้หันมาสนใจปัญหาน้ีอย่างจริงจัง หลังเกิดเหตุน้าท่วม อยา่ งรนุ แรงและภูเขาถลม่ ในภาคใต้ในปี พ.ศ.2531 คณะรฐั มนตรมี ีมตใิ ห้ยกเลิกการสมั ปทานปา่ ไม้ท้ัง ประเทศ ในปี พ.ศ.2532 กรมป่าไม้กาหนดเป้าหมายเพิ่มพ้ืนท่ีป่าอนุรักษ์ของประเทศให้ได้ถึงร้อยละ 25 มีการเร่งหาพ้ืนที่ในเขตต้นน้าลาธาร เพ่ือใช้สาหรับปลูกบ้านป่าทดแทนและฟื้นฟูต้นน้า การที่รัฐ กาหนดเป้าหมายเพ่ิมพ้ืนท่ีปลูกป่าเป็นจานวนมาก ส่งผลกระทบต่อระบบการใช้ท่ีดินตามประเพณี บนท่ีสูงของชาวปกาเกอะญอ และกลุ่มชาติพันธบ์ุ นภูเขาอ่ืนๆโดยตรง เนื่องจากพื้นที่ปลูกป่ามักเปน็ ท่ี ในเขตการทาการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน น่ันคือ เป็นพ้ืนที่ไร่เหล่าของชาวบ้านที่ทิ้งไว้หลังจากใช้ ประโยชน์ในระยะเวลา 1-3 ปี เป็นสภาพป่าท่ีกาลังฟื้นตัว ยังไม่มีต้นไม้ขนาดใหญ่มากนักจึงถูก เจ้าหน้าท่ีรัฐนามาเป็นพ้ืนที่ปลูกป่าทดแทน ก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อระบบไร่หมุนเวียน และ นาไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกรมปา่ ไมห้ รือกรมอทุ ยานแหง่ ชาติ และชุมชนทอ้ งถิ่นในที่สุด บ้านกลางไดร้ ับผลกระทบโดยตรงจากนโยบายเพิ่มพน้ื ทป่ี ่าอนุรักษ์ของกรมป่าไม้เช่นกัน ในปี พ.ศ.2534 กรมป่าไมไ้ ดด้ าเนินการสารวจพ้ืนท่ีป่าสงวนป่าแม่ยาง – ปา่ แม่งาว ป่าแมต่ า๋ – ปา่ แม่ มาย ป่าแม่งาวฝั่งขวาและป่าแม่โป่งในท้องที่อาเภอเมืองลาปาง อาเภอแจ้ห่ม อาเภอแม่เมาะและ อาเภองาว จังหวัดลาปาง มีเน้ือท่ีท้ังหมดประมาณ 758,750 ไร่ หรือราว 1,214 ตารางกิโลเมตรและ อยู่ในข้ันตอนรวบรวมข้อมูลและเจรจากับชาวบ้านเพื่อพิจารณาประกาศตั้งเป็น “อุทยานแห่งชาติ ถ้าผาไท” ต่อไปซ่ึงพ้ืนท่ีไร่เหล่าในระบบการเกษตรแบบไร่หมุนเวียนของชาวบ้านถูกกันออกเป็นเขต อุทยานไปด้วย ส่งผลต่อระบบการหมุนเวยี นการใช้พ้ืนที่หมุนเวียนปลกู ข้าวไร่ของชาวบ้าน ทาให้รอบ หมุนลดลงเหลือเพยี ง 3-5 ปี เทา่ นนั้ รวมท้ังถูกจากดั สิทธิการใช้ประโยชน์และพึ่งพาทรัพยากรจากป่า ซึ่งเปน็ แหล่งอาหาร ยา และรายได้จากการหาของปา่ ขายดว้ ย ในปี พ.ศ.2538 ชาวบ้านท่ีประสบปัญหาเกี่ยวกับป่าไม้และที่ทากิน ท่ีเกิดจากการ ประกาศเขตอุทยานทับที่ทากิน ได้รวมตัวกันในนาม “เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ” หรือ คกน. เรียกร้องให้รัฐบาลในขณะนั้นดาเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการใช้ที่ดินในเขตป่าระหว่าง ชาวบ้านกับกรมปา่ ไม้ ต่อมาได้เคล่อื นไหวและชุมนุมร่วมกบั สมัชชาคนจน เพ่ือเรียกร้องให้แก้ไขปัญหา ป่าไม้และท่ีทากิน จนเกิดมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 และ 19 เมษายน 2540 ให้มีการพิสูจน์สิทธิ และสารวจรังวัด และกันพื้นที่ทากินของชาวบ้าน โดยเฉพาะพ้ืนท่ีไร่เหล่าในระบบเกษตรแบบ ไร่หมุนเวียนออกจากพ้ืนที่อุทยานแห่งชาติ ในพ้ืนท่ีป่าของบ้านกลาง ชาวบ้านได้เข้าร่วมกับเจ้าหน้าท่ี อุทยานฯ เข้าสารวจรังวัดและพิสูจน์สิทธิในพ้ืนที่ทากินของชาวบ้าน การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ีเป็นไป อย่างล่าช้าและคาราคาซัง การกันพื้นท่ีไร่เหล่าออกจากเขตอุทยานถ้าผาไทยังคงไม่เกิดข้ึน แต่ชาวบ้านกลางได้สูญเสียพื้นที่ไร่หมุนเวียนไปราวคร่ึงหน่ึงของที่เคยใช้ปร ะโยชน์มาแต่เก่าก่อนจน ต้องลดระบบการหมนุ เวยี นการใช้พน้ื ท่ปี ลกู ขา้ วไรล่ งจาก 7-10 ปี เหลอื เพยี ง 3-5 ปี เทา่ น้นั

148 การวจิ ัยการศกึ ษาเปรยี บเทยี บการพัฒนาบนพื้นทส่ี ูงในอดีตและปัจจบุ ัน ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชนในเร่ืองท่ีทากินในเขตป่านี้นาไปสู่การชุมนุม ของเครือข่ายเกษตรภาคเหนือ ในนามสมัชชาคนจนที่ต่อเน่ืองเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งวันท่ี 3 เมษายน 2544 รัฐบาลได้มีมติคณะรัฐมนตรีรองรับแนวทางแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ซึ่งใน กรณีพ้ืนที่ในเขตไร่หมุนเวียนของชาวบ้านบนที่สูง ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหา เก่ียวกับกรณีป่าไม้และท่ีดิน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาวิจัยระบบการผลิตแบบไร่หมุนเวียนในพื้นที่ชุมชนของเครือข่าย เกษตรกรภาคเหนอื รวม 11 พ้ืนท่ี (บา้ นกลางเปน็ หนง่ึ ในพ้ืนท่ีวิจัยในครั้งน้ดี ้วย) ในปี พ.ศ.2545-2547 แต่การแกป้ ญั หายังคงไมม่ คี วามคืบหน้าและถูกยกเลกิ ไป หลงั ส้นิ สดุ การวิจยั ไปไมน่ าน ตงั้ แตป่ ี พ.ศ.2550 เป็นต้นมา เกิดปญั หาหมอกควนั ทัว่ พน้ื ทภ่ี าคเหนือประกอบกับมีกระ แสต่นื ตวั เร่อื งปัญหาการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ส่งผลใหเ้ จ้าหน้าที่อุทยาน เพิ่มมาตรการควบคุมการใช้พื้นท่ีทาไร่หมุนเวียนของชาวบ้านอย่างเข้มงวด ในปี พ.ศ.2553 ชาวบ้าน กลางถูกเจ้าหน้าที่อุทยานเข้ายึดพื้นท่ีไร่เหล่าและประกาศเป็นพื้นท่ีหวงห้าม ที่ผู้ฝ่าฝืนเข้าไปใช้ ประโยชน์จะถูกดาเนินคดีข้อหาทาลายป่า และเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อน หรือชาวบ้านเรียกว่า คดีโลกร้อน ในปี พ.ศ.2555 ชาวบ้านกลางได้ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือดาเนินการศึกษาวิจัย เรื่อง “วิถีการผลิตในระบบวนเกษตรไร่หมุนเวียนและการจัดการป่าชุมชนกับการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ และการสร้างความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกรรายย่อยบนพ้ืนที่สูง” โดยได้รับการ สนับสนุนทุนวิจัย จาก อ๊อกแฟม เกรทบริเทน (Oxfam-GB) (โครงการประเทศไทย) และมูลนิธิร็อคกี้ เฟลเลอร์ ซึ่งผลการศึกษาวิจัย สรุปว่า วิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอในชุมชนบ้านกลาง ใช้ทรัพยากร เฉลี่ย หรือทิ้งรอยเท้านิเวศ (Ecological footprint) เอาไว้เพียง 5 ไร่ต่อคน ขณะที่คนในเมืองใช้ 15 ไร่ และประชากรโดยรวมใช้ 16.87 ไร่ต่อคน ขณะท่ีโลกมีทรัพยากรให้ใช้เพียง 11.25 ไร่ต่อคน ซ่ึงชาวปกาเกอะญอบ้านกลางใช้ต่ากว่าเกณฑ์อยู่ไม่น้อย และมีความสามารถกักเก็บคาร์บอนได้ ประมาณ 760,000 ตัน ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 27,500 ตันต่อปี และเป็นผืนป่าที่ปล่อย ออกซเิ จนออกมาปลี ะ 20,000 ตนั ชมุ ชนบา้ นกลางไดร้ ับรางวลั “ลูกโลกสเี ขียว” คร้ังท่ี 15 ประจาปี พ.ศ.2556 เป็นผลงาน ประเภท “สิปนนท์ เกตุทัต รางวัลแห่งความย่ังยืนในฐานะชุมชนที่รักป่า เป็นแหล่งพืชอาหาร มีการรวบรวมความรทู้ อ้ งถิ่นอยา่ งเป็นระบบ โดยการศึกษาวจิ ัยเร่อื ง รอยเท้านเิ วศและคารบ์ อนเครดิต เป็นชมุ ชนที่ “ใช้ทรัพยากรน้อย แตค่ ืนอากาศบริสุทธอิ์ อกมามาก” การจดั การปา่ ไม้ : ฐานทรัพยากรส่วนรวม ชุมชนบ้านกลางมีการจาแนกประเภทของป่าตามลักษณะของภูมินิเวศออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) กะเนอหมื่อ แปลว่า ป่าดงดิบเป็นป่าที่มีสภาพความอุดมสมบูรณ์สูง เป็นแหล่งต้นน้า ลาธาร มีต้นไม้ขนาดใหญ่ มีสัตว์ป่าชุกชุม และอยู่ห่างที่ต้ังชุมชนมาก ชาวบ้านเรียกช่ือป่าเหล่าน้ี ในหลายช่ือ เช่น ป่าดง ป่าขุนห้วย เน่ืองจากชาวปกาเกอะญอ มีความเข้าใจโครงสร้าง ลักษณะและ

การวจิ ยั การศึกษาเปรียบเทียบการพฒั นาบนพืน้ ที่สูงในอดตี และปัจจบุ นั 149 กาลังการผลิตของป่าเป็นอย่างดี ชาวบ้านหวงแหนป่าประเภทนี้มากเป็นพิเศษ จึงกาหนดให้เป็น “เขตป่าอนุรักษ์และหมู่สัตว์ป่า” การจัดการพ้ืนที่ป่าแบบ “กะเนอหม่ือ” มีการตั้งกฎเกณฑ์บังคับใช้ อย่างเข้มงวด ได้แก่ ห้ามตัดไม้ ห้ามล่าสัตว์ป่า แผ้วถาง บุกเบิกพ้ืนท่ีทากิน รวมถึงห้ามทาประโยชน์ อ่ืนใด ยกเวน้ การเกบ็ ตวั ยาสมุนไพรเทา่ นัน้ 2) กะเนอพา หรือ ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่มีความหลากหลายของพรรณพืช สัตว์ป่า ขนาดเล็ก และแมลงต่างๆ อีกทั้งยังมีลาห้วยหล่อเลี้ยงหลายสาย ป่านี้จึงเป็นแหล่งน้า แหล่งอาหาร ของคนและสัตว์ เป็นพื้นท่ีทากินและแหล่งเก็บของป่าท้ังเพ่ือการบริโภคและขาย ชุมชนจึงกาหนดให้ เป็น “เขตป่าหากิน” หรือ แหล่งทามาหากิน ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์จากกะเนอพาท้ังเป็น การเก็บหาอาหาร ปล่อยสัตว์เล้ียง เก็บหาของป่า และพืชสมุนไพร ทั้งเพื่อการยังชีพและการค้า ภายใตก้ ฎเกณฑช์ มุ ชนพ้นื ที่ “กะเนอพา” น้หี า้ มตัดไม้ หา้ มเผาปา่ ห้ามทาไร่ เชน่ เดยี วกนั 3) แพะโข่ หรือ ป่าแพะ มีสภาพเป็นป่าโปรง่ เป็นป่าที่มีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลาง ขึ้นอยู่กระจายอยู่ทั่วไป เป็นต้นไม้ท่ีให้เนื้อไม้ที่มีคุณค่า ชุมชนจึงกาหนดเป็น “ป่าใช้สอย” เป็นแหล่ง เก็บฟืน ตัดไม้ใช้สอยเพื่อซ่อมแซม หรือปลูกบ้านใหม่ แต่ห้ามตัดไม้ขาย ห้ามเผาหรือใช้เป็นที่ทากิน การตัดไมใ้ ชส้ อยในครวั เรอื นตอ้ งผ่านการขอใชแ้ ละพิจารณาจากคณะกรรมการของชุมชน ชุมชนบ้านกลาง ถือว่าป่าทุกประเภทเป็นทรัพยากรส่วนรวม (Communal property) การจัดการและใช้ประโยชน์เป็นสิทธิอานาจตามจารีตประเพณีของชุมชน เป็นส่ิงท่ีคนรุ่นก่อนๆ ได้ รักษาและส่งต่อให้คนรุ่นปัจจุบัน ซ่ึงมีหน้าที่รักษาและสืบทอดให้คนรุ่นถัดไปเป็นเช่นนี้เร่ือยไป หลักเกณฑ์การจัดการจึงยึดหลักประโยชน์ส่วนรวมและความเป็นธรรมในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ อยา่ งท่วั ถงึ พ้ืนที่ป่าของชุมชนบ้านกลางท้ังหมดอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยางและป่าแม่อาง และอุทยานแห่งชาติถ้าผาไท ในพ้ืนท่ีมีปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรป่าไม้และท่ีทากินจากหลายฝ่าย คือ ชุมชนท่ีอยู่ใกล้เคียงและเจ้าหน้าที่รัฐ ปัญหาระหว่างชุมชนส่วนใหญ่มักจะเป็นการลักลอบตัดไม้ และลา่ สตั ว์ในเขต ปา่ ของบา้ นกลาง รวมทัง้ ลักลอบจดุ ไฟเผาป่า ความขดั แยง้ ระหวา่ งชุมชนบา้ นกลาง กับเจ้าหน้าที่รัฐเป็นเร่ืองการประกาศขยายเขตอุทยานแห่งชาติถ้าผาไทเข้าไปทับท่ีทากินในระบบไร่ หมุนเวียนในบางส่วน แต่สถานการณ์ส่วนใหญ่เรียบร้อยดี ชุมชนบ้านกลางได้พยายามปรับตัวโดย การเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเชิงธุรกิจเข้ามาชดเชยการจัดการตามจารีต ประเพณีเพียงด้านเดียว รวมท้ังได้ต้ังคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านกลางข้ึน เพ่ือให้การบริหารจัดการ ทรพั ยากรในทอ้ งถิน่ มีประสทิ ธิภาพมากข้ึน “คณะกรรมการปา่ ชุมชนบ้านกลาง” เปน็ ผลมาจากมติคณะรัฐมนตรี สมัยพลเอกชวลติ ยงใจ ยุทธ เปน็ นายกรัฐมนตรี วนั ท่ี 17 เมษายน 2540 ท่ใี ห้แตง่ ตง้ั คณะกรรมการพสิ ูจน์สทิ ธกิ ารอยู่ก่อนการ ประกาศเขตป่าอนุรักษ์ ซ่ึงประกอบด้วย เขตอุทยานแห่งชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตลุ่ม น้าชั้น 1 หรือไม่ หากพิสูจน์ได้ว่าอยู่มาก่อนหรือที่ทากินของชุมชนถูกเขตป่าอนุรักษ์บุกรุก ให้ทาง ราชการรับรองสิทธิทั้งท่ีอยู่อาศัยและทากินให้มีความม่ันคง โดยให้สิทธิดังกล่าวตกทอดแก่ทายาทได้

150 การวจิ ัยการศึกษาเปรยี บเทยี บการพัฒนาบนพ้ืนทส่ี งู ในอดีตและปัจจบุ นั แต่ห้ามจาหน่ายถ่ายโอนแก่บุคคลอื่น และมติคณะรัฐมนตรี วันท่ี 29 เมษายน 2540 ซ่ึงผ่อนผันให้ ราษฎรอยู่อาศัยและทากินในพื้นที่เดิมได้ในระหว่างการแก้ปัญหา เพราะในช่วงเวลานั้น ชาวบ้านใน เขตป่าบนพ้ืนที่สูงมักจะถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับกุมดาเนินคดีข้อหาบุกรุกทาลายป่า และมีการพยายาม ผลักดันให้ชาวบ้านอพยพออกจากพ้ืนที่ป่าโดยไม่ได้มีการพิสูจน์สิทธิใดๆ มาก่อน คณะกรรมการป่า ชุมชนและชาวบา้ นบ้านกลางได้รว่ มกับเจ้าหน้าท่ีอุทยานแห่งชาติถ้าผาไทได้สารวจรางวัดและกันพื้นที่ ทากินโดยเฉพาะพื้นท่ีทาไร่หมุนเวียนหรือไร่เหล่าของชาวบ้านออกจากเขตอุทยาน จนกระท่ัง กระบวนการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการระดับอาเภอ ในช่วงที่ เตรียมส่งหลักฐานให้คณะกรรมการระดับจังหวัดพิจารณาน้ันเอง มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้ ถกู ยกเลิกไปโดยมติคณะรัฐมนตรี วนั ที่ 30 มิถุนายน 2541 สมัยนายชวน หลกั ภยั เปน็ นายกรฐั มนตรี ได้ยกเลิกการพิสจู น์สทิ ธกิ ารอยูม่ าก่อนการประกาศเขตป่าอนรุ ักษ์ของชุมชน แต่ตอ้ งพิสจู นว์ า่ ชาวบ้าน อยู่มาก่อนการสงวนหวงห้ามเป็นพื้นท่ีป่าเป็นคร้ังแรก โดยใช้หลักเกณฑ์ใหม่ท่ีมีกรมป่าไม้เป็น ผู้ดาเนินการพิสูจน์โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ รวมท้ังยกเลิกการรับรองสิทธิ จากัดการพัฒนา จากัด การใช้ท่ีดินทากิน และอนุญาตให้สามารถอพยพราษฎรในระหว่างการพิสูจน์สิทธิไดทาให้การ แกป้ ญั หาทดี่ นิ ทากนิ และปา่ ไม้ต้องสะดดุ หยดุ ลงไปอกี ครงั้ ความตื่นตัวของกระแสอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ แรงกดดันของรัฐจากการขยาย เขตอุทยานแห่งชาติ การผ่านประสบการณ์ภัยแล้งและอุทกภัยในพ้ืนท่ี รวมท้ังการเข้าสู่กระบวน การเรยี นรกู้ ารพิทกั ษ์ และเรยี กรอ้ งสทิ ธกิ ารจัดการทรพั ยากรของชุมชนผ่านการรวมชุมชนเรยี กร้องให้ รัฐแก้ไขปัญหาป่าไม้และท่ีทากินร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.) ชาวบ้านกลางได้ ตอบสนองต่อสถานการณ์ดังกล่าว โดยได้รวมตัวกันกาหนดนโยบายการจัดการป่าของชุมชนโดยการ แสวงหาแนวทางและความร่วมมือป้องกันรักษาสภาพป่าไม้ให้ถูกทาลายและฟื้นฟูสภาพให้คืน ความอุดมสมบูรณ์ ประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนใกล้เคียงที่ร่วมใช้พื้นท่ีป่าเดียวกัน เพื่อให้เกิด การอนุรักษ์ป่าต้นน้าและฟื้นฟูสภาพป่าให้ลาธารมีน้าไหลเป็นแหล่งน้าอุปโภคบริโภคได้ตลอดปี หลงั จากนัน้ ได้ก่อตั้ง “คณะกรรมการป่าชมุ ชนบา้ นกลาง” ข้นึ เป็นองค์กรเฉพาะกิจ หรือกลไกทป่ี ฏิบัติงาน ได้อย่างอิสระ ไม่อยู่ภายใต้การกากับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินตามกฎหมาย โดยมี นายบุญมาก อินตา เป็นประธานกรรมการ นายสมชาติ หละแหลม เป็นผู้ประสานงาน และ มคี ณะกรรมการด้านอืน่ ๆ อีก 22 คน รวมเปน็ 24 คน มีวตั ถุประสงค์ คือ 1) ประสานความร่วมมือระหวา่ งชุมชนกับชุมชน ชุมชนกับรัฐ และชมุ ชนกับองค์กรอ่ืน 2) สรา้ งความรคู้ วามเข้าใจในการอนุรักษ์ปา่ ไม้ 3) แสวงหาแนวทางและความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพป่าท่ีถูกบุกรุกจนเส่ือมโทรม เพอื่ ใหล้ าห้วยมนี ้าตลอดไป คณะกรรมการป่าชุมชนบ้านกลาง มีบทบาทหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐท่ี เก่ียวข้องกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งองค์การบริหารส่วนตาบลบ้านดง การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แม่เมาะ รวมท้ังเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ เพื่อขอรับการสนับสนุนการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ฟ้ืนฟู

การวิจัยการศึกษาเปรยี บเทียบการพัฒนาบนพื้นท่ีสงู ในอดตี และปจั จบุ นั 151 ป่าไม้ ให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ เจรจาต่อรองเพื่อแก้ไขปัญหาและจัดทาข้อเสนอแนวทางการจัด การทรัพยากรปา่ ไมโ้ ดยชุมชนต่อภาครฐั กจิ กรรมการเฝา้ ระวังรักษาปา่ ของชมุ ชนบา้ นกลาง มที ัง้ การจัดเวรยามชาวบา้ นทาหน้าที่ ระแวดระวัง ตักเตือนการจุดไฟเผาไร่ การล่าสัตว์ การทาแนวกันไฟในฤดูแล้งรอบอาณาเขตป่าของ ชุมชน ท้ังป่าอนุรักษ์ป่าหากิน และพ้ืนที่ทาไร่ของชาวบ้าน การดับไฟป่า การจัดเวรยามตระเวน ตรวจตราปา่ และจดั กิจกรรมรณรงคป์ ้องกนั ไฟปา่ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนของทุกปี ชาวบ้านจะร่วมกันทาแนวกันไฟและ ออกตรวจตราหรือลาดตระเวนเฝ้าระวังและดับไฟป่า ทั้งท่ีเกิดขึ้นจากการลักลอบจุดไฟเผาและ การเตรียมพื้นที่ทาไร่ตามฤดูกาล ในการทาแนวกันไฟ ชาวบ้านท้ังชุมชนร่วมแรงร่วมใจกันทาแนวกัน ไฟรอบอาณาเขตของป่าอนุรักษ์ ป่าใช้สอยและรอบๆ บริเวณพื้นท่ีทากินในระบบไร่หมุนเวียน ที่จะมีการตัดฟันโค่นเผา เพื่อป้องกันไฟไม่ให้ลุกลามออกไปนอกพื้นท่ี ส่วนการตรวจตราเฝ้าระวังป่า ได้มี การจดั เวรยามหมนุ เวียนกันออกไปตรวจตราอยา่ งน้อยสัปดาห์ละคร้ัง ซง่ึ เปน็ การป้องกันการเกิดไฟป่า เผาป่าและลักลอบตัดไม้ในป่า หากเกิดไฟป่าชาวบ้านท้ังหมดจะช่วยกันดับไฟ โดยการดับไฟจาก ข้างล่างขึ้นไปพ้ืนที่สูง อย่างไรก็ตามการดับไฟป่าของชาวบ้านไม่ค่อยได้ผลเท่าใดนัก เน่ืองจากขาด อุปกรณท์ ่ีมีประสิทธิภาพ และมีความยากลาบากในการนาน้าและอุปกรณ์ไปดับไฟเพราะไฟปา่ มักเกิด ในพื้นท่ีสูง อย่างไรก็ตาม การเฝ้าระวังและตรวจตราป่าของชุมชนบ้านกลางมีประสิทธิภาพมาก ที่สดุ คอื การท่ชี าวบา้ นทุกๆ คนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังโดยตรงจากการดาเนินชวี ิตประจาวนั ได้แก่ การออกไปเก็บหาของป่า การล่าสัตว์ เป็นการสารวจตรวจตราป่าที่เกิดขึ้นเป็นประจาทุกวัน หากเกิด เหตุการณ์ผิดปกติ ชาวบ้านจะไปแจง้ กบั คณะกรรมการหมู่บา้ น หรือคณะกรรมการปา่ ชมุ ชน 12. บทสรุปผลการพฒั นาบนพ้ืนท่สี งู กลา่ วได้วา่ หนว่ ยงานท่ีเกย่ี วข้องกันการพัฒนาราษฎรบนพ้ืนทสี่ งู ในอดตี และปัจจุบันได้มี การดาเนินงาน โครงการเพื่อการพัฒนาการเข้าใจปัญหาต่างๆมากมาย ในทุกๆด้าน ทั้งด้านการ ส่งเสริมเศรษฐกจิ การสังคม ความมั่นคง และการดูแลช่วยเหลือเยียวยา ให้บริการทางสังคมตา่ งๆ เชน่ 1. งานพฒั นาสงั คมบนพื้นทส่ี ูง 2. งานส่งเสรมิ ความมนั่ คงในชมุ ชนเมือง 3. งานพัฒนาสงั คมและสวสั ดกิ ารชุมชนบนพนื้ ทสี่ ูง 4. งานโครงการพระธรรมจาริก 5. โครงการสง่ เสริมเศรษฐกิจชุมชนบนพ้นื ท่สี งู 6. โครงการพัฒนาเกษตรท่ีสงู (โครงการหลวง) 7. โครงการขยายผลงานโครงการหลวง เพอ่ื การเกษตรแบบยัง่ ยนื 8. โครงการขยายผลโครงการหลวง เพอ่ื แกป้ ัญหาพนื้ ท่ปี ลูกพชื อย่างยงั่ ยนื 9. งานการพัฒนาคณุ ภาพชีวิต

152 การวิจยั การศกึ ษาเปรยี บเทียบการพัฒนาบนพ้นื ทส่ี ูงในอดตี และปจั จุบนั 10. งานการพัฒนาสงิ่ แวดลอ้ ม 11. การปฏบิ ัติภารกจิ สาคญั ของกองสงเคราะหช์ าวเขาในอดตี 11.1 พฒั นาคณุ ภาพชวี ิตราษฏรบนพนื้ ทสี่ ูง 11.2 เสรมิ สรา้ งศกั ยภาพชุมชน 11.3 ส่งเสรมิ ชุมชนใหม้ ีสว่ นร่วม 11.4 ใหบ้ ริการสวสั ดกิ ารสังคมในชมุ ชน 11.5 อนุรกั ษ์ศิลปวฒั นธรรมชุมชน 11.6 สร้างเครอื ข่ายการใหบ้ รกิ ารสวัสดกิ ารสงั คม 12. โครงการพัฒนาสงั คม ด้านการศกึ ษา ดา้ นสุขอนามัย งานชาวเขาสัมพนั ธ์ 13. โครงการส่งเสรมิ เกษตรทฤษฏีใหม่ 14. โครงการส่งเสรมิ การท่องเท่ียวเชิงอนุรกั ษบ์ นพนื้ ทสี่ งู 15. โครงการพัฒนาชาวเขาเชิงอนรุ ักษ์ 16. โครงการความรว่ มมอื กับตา่ งประเทศ 16.1โครงการพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมบนพน้ื ทสี่ งู 16.2โครงการพัฒนาทสี่ งู ไทย – เยอรมัน 16.3โครงการพัฒนาท่สี งู ไทย – นอรเ์ วย์ 16.4โครงการต้นแบบพฒั นาชาวเขาพงึ่ ตนเอง (IICA) 17. โครงการธนาคารอาหารของชุมชน 18. โครงการพัฒนาท่ดี นิ ชมุ ชนบนพื้นทส่ี งู 19. การพฒั นาสงั คมชาติพันธุ์ ชุดความรู้เชิงยุทธศาสตร์ท่ีสาคัญเพ่ือการพัฒนาราษฏรบนพื้นที่สูง ท่ีเหมาะสมใน ปัจจุบันและอนาคต คอื ศาสตร์พระราชา เพ่ือการพฒั นาที่ยง่ั ยืน ดังนี้ ผลการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การพัฒนาในอดตี การบรหิ ารการพัฒนาราษฏรบนพื้นท่ีสูง ในปจั จบุ นั ทาใหโ้ อกาส และแนวทางท่ีควรจะเสรมิ เติมเตม็ เป็นการพัฒนาราษฏรบนพื้นที่สูงในอนาคต คอื

การวจิ ยั การศึกษาเปรยี บเทยี บการพัฒนาบนพืน้ ที่สูงในอดตี และปจั จุบนั 153 1. วธิ ีรักษาการพฒั นาชุมชนราษฏรบนพื้นทส่ี งู เชิงบรู ณาการ 2. ระบบการจัดการเพ่ือการพฒั นาราษฏรบนพน้ื ทีส่ งู อย่างต่อเนื่อง 3. ระบบการจดั การสร้างการมีส่วนรว่ มพฒั นาราษฏรบนพ้ืนทสี่ ูงเชิงองค์รวม 4. การสรา้ งชุดความคิดเพือ่ การจดั การเชิงนโยบายพฒั นาชาติพันธอุ์ ยา่ งยังยนื 5. การสรา้ งและพัฒนาเครือข่ายพฒั นาชุมชนราษฏรบพนื้ ท่สี งู ทเ่ี ข้มแข็งและมน่ั คง 6. ระบบการส่งเสริมทุนทางสังคมทุกสรรพสิ่งในชุมชนเพ่ือการพัฒนาราษฏรบน พื้นท่ีสูงอยา่ งมคี ณุ ภาพ 7. มีการวจิ ยั และพัฒนาองคค์ วามรเู้ พอ่ื การเขา้ ใจและเขา้ ถึงเพื่อพฒั นา 8. มีกระบวนการพฒั นาศักยภาพของ ศพพ. ให้เข้มแข็งเช่ียวชาญ ทุกฝา่ ยงาน 9. มีแบบแผนของการพฒั นาชุมชนราษฏรบนพื้นท่ีสูง 4 ระยะตอ่ เน่ืองกันคือ 9.1 วิเคราะห์ความพร้อมชุมชน 9.2 สร้างเสรมิ ศกั ยภาพชุมชน 9.3 พัฒนาชุมชน 9.4 วัดความสาเรจ็ ชมุ ชน

154 การวจิ ัยการศกึ ษาเปรยี บเทียบการพัฒนาบนพ้นื ทส่ี ูงในอดีตและปัจจบุ ัน บทท่ี 3 วธิ ีการดําเนนิ การวิจยั การวิจัยคร้ังน้ีเปนการวิจัยแบบผสานวิธี ( Mixed Method Design ) ดําเนินการศึกษา โดยใชวิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Methodology)และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพอื่ ใหบรรลวุ ตั ถปุ ระสงคของการวิจัย โดยมเี คร่อื งมือการวจิ ยั 4 แบบ 1. แบบสาํ รวจชมุ ชน 2. แบบสอบถาม 3. แบบสัมภาษณ 4. แบบสนทนากลุม โดยมเี ทคนคิ วิธกี ารวจิ ัย ดังน้ี 1. การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใชแบบสอบถาม ท่ีมีความมุงหมายในการเก็บรวบรวมขอมูล จากกลุมตัวอยางท่ีสามารถใหคําตอบ หรือแสดงความคิดเห็นท่ีเปนประโยชนในดานการสํารวจสภาพ ปญหาของการพัฒนาราษฎรบนพ้ืนที่สูง การวิเคราะหความตองการของราษฎรบนพ้ืนที่สูง อยางถูกตอ งเหมาะสม โดยดําเนินการ ดงั นี้ 1.1 การคดั เลอื กพืน้ ท่ี ในการศึกษาคร้ังน้ี ไดคัดเลือกพ้ืนท่ีแบบเจาะจง ดวยเหตุผลในเชิงการบริหารการมีสวนรวม โดยเลือกพื้นที่รับผิดชอบของสํานักงานสงเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4, 8, 9, 10 ที่มีหนวยงานศูนย พฒั นาราษฎรบนพ้นื ทสี่ ูง 16 จังหวัด และคัดเลือกชุมชนของ 16 ศูนยฯ ๆ ละ 2 ชุมชน รวม 32 ชุมชน ในพนื้ ที่ 26 ตาํ บล 13 อาํ เภอ 16 จังหวัด โดยใชเ กณฑการเลือกชุมชน ดังน้ี 1. ระดับการพัฒนาชมุ ชน 2. ระดบั ขนาดของชุมชน 3. ความหลากหลายของชาตพิ นั ธุ 4. ความหลากหลายของผูใ หขอมลู คนสาํ คัญ พ้ืนที่ ดําเนินการศึกษาวิจัยในเขตพื้นที่สํานักงานสงเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 ไดค ัดเลือกพืน้ ทศ่ี ูนยพ ฒั นาราษฎรบนพ้นื ทส่ี งู จํานวน 3 แหง ดังนี้ 1) ศูนยพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดกาญจนบุรี ไดแก ชุมชนบานเขาเหล็ก ตําบลเขาโจด อาํ เภอศรีสวสั ดิ์ และ บา นทพิ ุเย ตําบลชะแล อาํ เภอทองผาภูมิ 2.) ศูนยพ ฒั นาราษฎรบนพื้นทีส่ งู จงั หวดั ราชบรุ ี ไดแก ชุมชนบานบางกะมา ตําบลบานบึง อาํ เภอบา นคา และ บา นพรุ ะกาํ ตาํ บลตะนาวศรี อําเภอสวนผ้งึ 3) ศูนยพัฒนาราษฎรบนพ้ืนที่สูงจังหวัดเพชรบุรี ไดแก ชุมชนบานปาละอู ตําบลหวยสัตวใหญ อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ และ บานปาเด็งใต ตําบลปาเด็ง อําเภอแกง กระจาน

การวจิ ยั การศกึ ษาเปรียบเทียบการพฒั นาบนพื้นทส่ี งู ในอดตี และปจั จุบนั 155 พ้ืนที่ดาเนินการวิจัยในเขตพ้ืนท่ี สานั กงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 ไดค้ ดั เลือก ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพ้นื ทสี่ ูง จานวน 2 แหง่ ดงั น้ี 4) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนท่ีสูงจังหวัดกาแพงเพชร ได้แก่ ชุมชนบ้านม้งโล๊ะโค๊ะ ตาบลโกสัมพี อาเภอโกสมั พีนคร และบา้ นกะเหร่ยี งโละ๊ โค๊ะ ตาบลโกสมั พี อาเภอโกสัมพนี คร 5) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนท่ีสูงจังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ ชุมชนบ้านอีมาดอีทราย ตาบลแกน่ มะกรูด อาเภอบา้ นไร่ และ บา้ นใต้ ตาบลแก่นมะกรูด อาเภอบ้านไร่ พ้ืนท่ีดาเนินการวิจัยในเขตพื้นท่ี สานักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 9 ไดค้ ดั เลอื ก ศนู ยพ์ ัฒนาราษฎรบนพืน้ ที่สงู จานวน 3 แห่ง ดงั นี้ 6) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนที่สูงจังหวัดตาก ได้แก่ ชุมชนบ้านห้วยปลาหลด ตาบลพระวอ อาเภอแมส่ อด และ บา้ นปแู ป้ ตาบลพระวอ อาเภอแม่สอด 7) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นท่ีสูงจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ ชุมชนบ้านห้วยน้าไซเหนือ ตาบลเนินเพิ่ม อาเภอนครไทย และ หว้ ยนา้ ไซไต้ ตาบลเนนิ เพม่ิ อาเภอนครไทย 8) ศู น ย์ พั ฒ น าราษ ฎ รบ น พื้ น ท่ี สู ง จั งห วัด เพ ช รบู รณ์ ได้ แ ก่ ชุ ม ช น บ้ าน ดอยนา้ เพยี งดิน ตาบลบ้านเนนิ อาเภอหลม่ เก่า และ บา้ นทับเบกิ ตาบลวังบาง อาเภอหลม่ เก่า พ้ืนท่ีดาเนินการวิจัยในเขตพื้นท่ี สานั กงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 ไดค้ ดั เลือก ศูนย์พฒั นาราษฎรบนพืน้ ทสี่ งู จานวน 8 แห่ง ดังน้ี 9) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นท่ีสูงจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ชุมชนบ้านปางกื๊ด (ห้วยตาด) ตาบลอนิ ทขิล อาเภอแม่แตง และ บ้านแมส่ าน้อย ตาบลโปง่ แยง อาเภอแมร่ ิม 10) ศูนย์พฒั นาราษฎรบนพ้ืนท่ีสงู จังหวัดลาพูน ไดแ้ ก่ ชมุ ชนบ้านห้วยฮ่อมนอก ตาบล ทาแม่ลอบ อาเภอแมท่ า และ บ้านพระบาทหว้ ยตม้ ตาบลนาทราย อาเภอล้ี 11) ศูนย์พั ฒนาราษฎรบนพื้ นที่ สูงจังหวัดลาปาง ได้แก่ ชุมชนบ้านสันติสุข ตาบลนาแก อาภองาว และ บ้านแม่ฮา่ งใต้ ตาบลนาแก อาภองาว 12) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนที่สูงจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้แก่ ชุมชนบ้านแม่ริดป่าแก่ ตาบลแมเ่ หาะ อาภอแมส่ ะเรยี ง และ บา้ นแม่สวรรค์นอ้ ย ตาบลแม่เหาะ อาภอแมส่ ะเรยี ง 13) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนท่ีสูงจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ชุมชนบ้านแสนเจริญ ตาบลวาวี อาเภอแมส่ รวย และ บา้ นแม่ยางมิ้น ตาบลศรีถ้อย อาภอแมส่ รวย 14) ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนที่สูงจังหวัดพะเยา ได้แก่ ชุมชนบ้านปางปูเลาะ ตาบลศรถี ้อย อาเภอแมใ่ จ และ บ้านประชาภักดี ตาบลร่มเยน็ อาเภอเชยี งคา 15) ศู นย์ พั ฒ นาราษฎรบนพ้ื นที่ สู งจังหวัดแพร่ ได้ แก่ ชุ มชนบ้ านแม่ พร้าว ตาบลสะเอียบ อาภอสอง และ บา้ นหว้ ยฮอ่ ม ตาบลบ้านเวียง อาภอร้องกวาง 16) ศูนย์พั ฒ นาราษฎรบนพื้ นท่ี สูงจังหวัดน่าน ได้แก่ ชุมชนบ้ านห้ วยเลียบ ตาบลแมข่ ะนิง อาเภอเวยี งสา และ บา้ นห่างทางหลวง ตาบลภฟู า้ อาเภอบ่อเกลือ 1.2 การคดั เลือกประชากรและกลุม่ ตัวอย่าง ป ร ะ ช า ก ร ใน ก า ร ศึ ก ษ า ค รั้ ง น้ี ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย ผู้ บ ริ ห า ร ส่ ว น ก ล า ง อดีตผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้อานวยการและเจ้าหน้าที่ ศนู ย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนที่สูง 16 ศูนย์ฯ เจา้ หน้าท่ีหน่วยงานในท้องถิ่น นักพัฒนา นักวจิ ัย นักวิชาการ

156 การวิจยั การศกึ ษาเปรยี บเทยี บการพฒั นาบนพนื้ ท่ีสูงในอดีตและปัจจบุ นั ผู้ทรงคุณวุฒิราษฎรบนพ้ืนที่สูง ผู้นาชุมชน แกนนาหมู่บ้าน 32 บ้าน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องกับการพัฒนาบนพ้ืนท่ีสูง โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ทม่ี ีความเปน็ ตวั แทนของกลมุ่ ประชากรบนพนื้ ท่สี งู แต่ละพน้ื ท่ที ่ีทาการวจิ ยั 1.3 การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ในพ้นื ที่ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยนักวิจัยและทีมงาน จากสานักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ และศนู ยพ์ ัฒนาราษฎรบนพ้นื ทสี่ งู ดังนี้ สสว 4 เกบ็ ขอ้ มูล ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพืน้ ที่สูง จานวน 3 แหง่ สสว 8 เกบ็ ข้อมูล ศูนยพ์ ฒั นาราษฎรบนพ้นื ท่สี ูง จานวน 2 แห่ง สสว 9 เก็บขอ้ มูล ศนู ยพ์ ฒั นาราษฎรบนพน้ื ที่สงู จานวน 3 แหง่ สสว 10 เก็บข้อมลู ศูนย์พฒั นาราษฎรบนพืน้ ทีส่ งู จานวน 8 แห่ง 1.4 เครอื่ งมือในการศกึ ษาวิจยั เชิงปรมิ าณ การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามรวม 960 ชุด โดย เก็บข้อมูล ในพ้นื ท่ศี นู ยพ์ ฒั นาราษฎรบนพน้ื ที่สงู 32 ชมุ ชน ๆ ละ 30 ชุด แบบสอบถามการวิจัย มีความมุ่งหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ที่สามารถให้คาตอบ หรือเเสดงความคิดเห็นท่ีจะเป็นประโยชน์ในด้านการสารวจสภาพปั ญหา ของการพฒั นาราษฎรบนพนื้ ทสี่ งู การวเิ คราะหค์ วามตอ้ งการของชมุ ชน แนวทางการจดั การเชงิ นโยบาย และการไดม้ าซึง่ องค์ความร้เู พ่ือการพฒั นาชมุ ชนราษฎรบนพื้นทส่ี ูงอย่างถูกต้องและเหมาะสม แบบสอบถามประกอบดว้ ยเนือ้ หา 3 ส่วน คอื ส่วนท่ี 1 ขอ้ มลู พ้นื ฐานของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนท่ี 2 ความคิดเห็นด้านตา่ ง ๆ ประกอบด้วย สภ าพ ปั ญ ห าของราษ ฎ รบ น พื้ น ท่ี สูง ด้าน คุณ ภ าพ ชีวิตสุขภ าพ อนามัย ระบบสวัสดิการสังคมในชุมชน ด้านการดูแลด้านสุขภาพจิตใจท่ีดีจากครอบครัว การประกอบอาชีพ เกษตรกรรม สิทธิในความเป็นมนุษย์ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน วัฒนธรรมชุมชน ด้านศิลปะ หัตถกรรมในชุมชน ทัศนคติของคนพ้ืนราบ อาชีพที่ผิดกฎหมาย การทาลายทรัพยากรธรรมชาติ และส่ิงแวดลอ้ ม ภมู ปิ ญั ญาพืน้ บา้ น ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง ความต้องการของชุมชน เช่น คุณภาพชีวิตการพัฒนาท่ีมีคุณภาพ ส่งเสริมพัฒนา อย่างมีอัตลักษณ์ การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง การดูแลด้านระบบสุขภาพที่ดี การศึกษา ที่เพียงพอ การถ่ายทอดภูมิปัญญาพ้ืนบ้าน การประกอบอาชีพ การจัดการศูนย์การเรียนรู้ สิทธิความ เป็นพลเมือง อนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชนประเพณีที่ดีงามวิถีชีวิตด้ังเดิมควรได้รับการส่งเสริมอย่าง เหมาะสมมิใช่เปน็ เพียงสนิ ค้าการท่องเทีย่ ว แนวทางการจัดการเชิงนโยบาย เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต./เทศบาล) ควรมีนโยบายให้การสนับสนุนความเป็นชุมชนราษฎรบนพื้นท่ีสูง ชุมชนควรมีคณะกรรมการ ร่วมจากทุกภาคส่วน กาหนดนโยบายการพัฒนาราษฎรบนพ้ืนที่สูง คนทุกช่วงวัยได้รับการดูแล ดา้ นนโยบายดา้ นการศึกษาและการอบรมท่ีดี การจัดการดูแลสุขภาพแบบคู่ขนานทั้งภูมิปัญญาพ้ืนบ้าน และการสาธารณสุขสมัยใหม่ มีระบบสวัสดิการสังคมในชุมชนอย่างย่ังยืนเวทีแห่งการแสดงศิลปะ ของราษฎรบนพ้ืนท่ีสูง การป้องกันยาเสพติด การสร้างเสริมศักยภาพชุมชนให้มีบทบาทการพัฒนา ประเทศทกุ ระดบั บทบาท เช่นด้านวัฒนธรรมระดับชาติ

การวจิ ัยการศกึ ษาเปรียบเทียบการพฒั นาบนพืน้ ที่สูงในอดีตและปจั จบุ ัน 157 ความคิดเหน็ ของข้อมูลในสว่ นที่ 2 แบ่งเปน็ 5 ระดับ ดังน้ี 5 = เหน็ ด้วยมากทีส่ ดุ 4 = เหน็ ด้วยมาก 3 = เหน็ ดว้ ยปานกลาง 2 = เหน็ ด้วยน้อย 1 = เห็นดว้ ยน้อยทส่ี ุด สว่ นที่ 3 : ความคิดเหน็ อสิ ระของผ้ตู อบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเหน็ 2. การวจิ ัยเชงิ คณุ ภาพ ดาเนนิ การโดย 2.1 การคดั เลอื กพ้ืนที่ การศึกษาครั้งน้ี ได้คัดเลือกพ้ืนท่ีแบบเจาะจง โดยแต่ละสานักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ (สสว.4, 8, 9, 10) ได้คัดเลือกชมุ ชนจานวน 3 แหง่ ในพ้ืนท่ีศูนยพ์ ัฒนาราษฎรบนพื้นที่สงู 16 จังหวัด รวม 32 ชมุ ชนใน 26 ตาบล 13 อาเภอ 16 จงั หวดั 2.2 การคัดเลอื กประชากรผ้ใู ห้ขอ้ มูลคนสาคัญ (Key informants) ประชากรในการศึกษาคร้ังนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารส่วนกลาง อดีตผู้บริหาร กระทรวงพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนษุ ย์ ผู้อานวยการศูนย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาราษฎรบน พื้นที่สูงจานวน 16 แห่ง เจ้าหน้าที่หน่วยงานในท้องถิ่น นักพัฒนานักวิจัย นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ราษฎรบนพื้นท่ีสูง ผู้นาชมุ ชน แกนนาหมู่บ้าน ผแู้ ทนองค์กรเอกชน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาบนพื้นที่สูง ผู้บริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และอดีตผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความม่ันคงของมนุษย์ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาซึ่งสามารถเป็นตัวแทนการให้ข้อมูลการ วจิ ยั ไดอ้ ย่างมีประสทิ ธภิ าพ 2.3 การเกบ็ รวบรวมข้อมลู ในพน้ื ที่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยคณะนักวิจัยสานักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ รว่ มกับศนู ย์พฒั นาราษฎรบนพนื้ ที่สูง สสว. 4 เก็บข้อมลู รว่ มกบั ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพืน้ ทีส่ ูง จานวน 3 แหง่ สสว. 8 เก็บขอ้ มลู รว่ มกบั ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพ้นื ทส่ี งู จานวน 2 แหง่ สสว. 9 เกบ็ ข้อมลู รว่ มกับ ศูนยพ์ ัฒนาราษฎรบนพ้ืนที่สูง จานวน 3 แห่ง สสว. 10 เก็บขอ้ มลู รว่ มกบั ศนู ย์พัฒนาราษฎรบนพื้นท่สี งู จานวน 8 แหง่ โดยดาเนินการเก็บขอ้ มูลเชิงคุณภาพด้วยเครือ่ งมอื วิจัย 4 แบบ ดงั น้ี 1) แบบศึกษาชมุ ชน มรี ายละเอยี ด ดงั น้ี 1.1) ช่อื ชุมชน 1.2) ประวัตคิ วามเป็นมาของชุมชน 1.3) ภูมปิ ระเทศ (อดตี ปจั จุบัน แนวโน้มอนาคต) 1.4) ภมู ิอากาศ( อดีตปจั จุบนั แนวโน้มอนาคต) 1.5) สภาพส่ิงแวดล้อมชมุ ชน(อดตี ปจั จบุ นั แนวโน้ม อนาคต)

158 การวิจยั การศกึ ษาเปรยี บเทียบการพฒั นาบนพ้นื ที่สงู ในอดีตและปัจจบุ ัน 1.6) โครงสร้างชุมชน ผู้นาชุมชน (ท้ังผู้นาตามธรรมชาติและผู้นาแบบทางการ) โครงสร้าง / จานวนประชากร / กติกา / กฎ / ระเบียบชุมชน / อาณาเขตพ้ืนที่ติดต่อหน่วยงาน ราชการ (ช่อื หนว่ ย/สภาพทีต่ ั้ง) 1.7) สภาพเศรษฐกิจ / อาชีพ (แยกตามกลุ่มอาชีพในชุมชน) กลุ่มอาชีพหลักของ คนในชุมชน การเกษตรกรรม (มีอะไรบ้าง/สถานภาพความเข้มแข็งเป็นอย่างไร) แหล่งรายได้ (ระบุแหล่งท่ีมาของรายได้รวมในชุมชน) ศิลปหัตถกรรม (มีอะไรบ้าง/สถานภาพความเข้มแข็งเป็น อย่างไร) ร้านค้า/สินคา้ /ลานจาหน่ายสินคา้ ( ประเภท /จานวน / แผนผงั รา้ นคา้ ในชมุ ชน ) 1.8) สภาพสังคม / การศึกษา / สถานศึกษา ศาสนา / ความเชื่อ / ลัทธิศาสนสถาน / สัญลักษณ์ ความสัมพันธ์ ระบบเครือญาติ (ชนเผ่า/แผนภูมิความเป็นเครือญาติในชุมชน) อัตลักษณ์ ความเป็นชนเผา่ (มกี เ่ี ผา่ และอัตลักษณข์ องเผา่ ) บคุ คลผูย้ งั ไมไ่ ด้มสี ัญชาติไทย (จานวน / เหตุผล ) 1.9) การสาธารณสุข/สุขภาพคนในชุมชน / สภาวะสุขภาพกาย / ใจของราษฎรบน พื้นที่สูงพฤติกรรม สุขภาพของประชาชน โรคพื้นบ้าน / การรักษาพ้ืนบ้าน (มีอะไรบ้าง /วิธีการรักษา โดยย่อ )สมุนไพรพื้นบ้าน (มีอะไรบ้าง/สรรพคุณโดยย่อ)หมอพ้ืนบ้าน (มีแขนงใดบ้าง / ใครบ้าง / มีแนวทางการรกั ษาเยียวยาโรคอยา่ งไร) 1.10) วัฒนธรรมชุมชนวัฒนธรรมชนเผ่า ( มีก่ีเผ่า/แต่ละเผ่ามีวัฒนธรรมอะไร) ประเพณีพื้นบ้าน(ประเภทและแนวทางปฏิบัติ) ศิลปะการแสดง (ประเภท/โอกาสการแสดง ) การแต่งกาย ( รูปแบบ ความหมาย กาลเทศะและภาพถา่ ย )อาหาร (กลุ่ม/ประเภท คุณค่า/ความหมาย และภาพถ่าย) 1.11) สภาวการณ์ อื่นๆ ท่ีเป็นประเด็นปัญหาการพฒั นาของราษฎรบนพื้นท่ีสงู 2) แบบสมั ภาษณ์ สัมภาษณ์ผู้อานวยการศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง และ ตัวแทนชุมชนในพื้นที่ศูนย์ พัฒนาราษฎนบนพื้นท่ีสูง จานวน 16 แห่ง ท่ีกาหนดทั้งหมด 20 คน แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยน้ีมี ความมงุ่ หมายในการรวบรวมข้อมูลการวจิ ยั ในเชิงของขอ้ คดิ เห็น ความรอบรู้ ประสบการณ์และผลกึ ภูมิ ปัญญา จากผู้ให้ข้อมลู ความสาคัญโดยผลการสัมภาษณ์จะสรุป เปน็ ภาพรวม มหี ัวข้อคาถาม ดังนี้ 2.1) ขอ้ มลู พ้นื ฐาน: ผใู้ หส้ ัมภาษณ์ ( ช่อื / สกุล / อายุ / บทบาท / ตาแหนง่ ) 2.2) ขอ้ คาถามการสัมภาษณ์ ดังนี้ 1) สภาพปัญหาของการพฒั นาราษฎรบนพ้ืนทส่ี ูง ทงั้ ในอดีตและปัจจุบันเป็นอย่างไร 2) คณุ ภาพชวี ิตของราษฎรบนพืน้ ทส่ี ูง ในอดีตและปจั จบุ นั เป็นอย่างไร 3) ทัศนคติของคนไทยพื้นราบ ต่อชาวไทยราษฎรบนพ้ืนที่สูง ในอดีตและปัจจุบัน เป็นอย่างไร 4) ชาวไทยพื้นราบใหค้ ุณค่าความเป็นมนษุ ยก์ ับราษฎรบนพื้นทสี่ ูงอย่างไร 5) ชุดความคิด ในการศึกษากลุ่มราษฎรบนพื้นที่สูงควรเป็นแบบ Inside out หรือ Out side in 6) ชุดความรู้ ในการศึกษากล่มุ ราษฎรบนพ้ืนที่สงู ในแบบวัฒนธรรมข้ามคนหรือ คนขา้ มวัฒนธรรมเปน็ อยา่ งไร

การวิจัยการศกึ ษาเปรียบเทยี บการพัฒนาบนพื้นที่สูงในอดตี และปัจจบุ ัน 159 7) จุดยืนของศูนย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนท่ีสูงควรมีการจัดการเชิงนโยบาย เพื่อพฒั นาราษฎรบนพนื้ ที่สูงอย่างไร 8) กระบวนการศึกษา สถานะ หรือสภาวะ ความเป็นวัฒนธรรมพ้ืนบ้าน ของราษฎรบนพืน้ ท่ีสงู ควรเปน็ แบบหยดุ นิง่ (Static) หรอื เป็นแบบพลวตั ร (Dynamic) 9) ชมุ ชนราษฎรบนพนื้ ทส่ี งู ควรมีการสง่ เสรมิ สวสั ดิการทางสังคมอย่างไร 2.3) แบบสนทนากล่มุ ยอ่ ย (Focus Group) การสนทนากลุ่มย่อยเพ่ือการวิจัยคร้ังน้ี มีความมุ่งหมายในการแลกเปลี่ยนชุด ของข้อมูลในเชิงทัศนะ ความคิด ความเห็น ความรู้ และประสบการณ์ ตลอดจนวิสัยทัศน์และวิธี การบริหาร การพัฒนาราษฎรบนพื้นท่ีสูงที่ผู้วิจัย จะได้สงั เคราะห์ เป็นองค์ความรู้ที่เหมาะสม โดยมีการ สนทนากลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนท่ีสูง 16 แห่งและผู้แทนชุมชน แห่งๆ ละ 20 คน มปี ระเด็นคาถาม ดงั นี้ 1.) ประเด็น สภาพปัญหาการพฒั นาราษฎรบนพื้นทสี่ งู เป็นอย่างไร 2.) ความต้องการในการพฒั นาราษฎรบนพน้ื ทส่ี ูงเป็นอยา่ งไร 3.) จุดยนื การทางานของศูนย์พัฒนาราษฎรบนพน้ื ทสี่ งู จานวน 16 แหง่ ควรเป็น อยา่ งไร 4.) แนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการพ่ึงตนเองของราษฎรบนพื้นที่สูง ควรเปน็ อยา่ งไร 5.) การจัดการระบบสวัสดิการสังคมพ้ืนบ้านร่วมกับระบบสวัสดิการสังคมแบบใหม่ ควรดาเนนิ การอย่างไร 6.) ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ราษฎรบนพ้ืนท่ีสูงได้นามาเผยแพร่/เน้นย้า และเรียนรู้ในชุมชนอยา่ งไร 7.) อนาคตภาพของความเป็นกลมุ่ ราษฎรบนพืน้ ทีส่ งู ในศตวรรษ 21 ควรเปน็ อย่างไร 8.)ปัจจัยแห่งความสาเรจ็ และปัจจัยแห่งความล้มเหลวในการพัฒนาราษฎรบนพน้ื ที่สูงคือ อะไร 2.4) การสัมภาษณ์ผู้บริหาร สัมภาษณ์ผู้บริหารส่วนกลางและอดีตผู้บริหาร สว่ นภมู ิภาค มีประเด็นคาถามเกยี่ วกบั พฒั นาการ ราษฎรบนพ้ืนทส่ี ูงดงั น้ี 1.) ทา่ นคิดวา่ กระบวนการพัฒนาราษฎรบนพ้ืนท่สี งู ในอดีตและปจั จบุ ันเปน็ อย่างไร 2.) ท่านคดิ วา่ ปัจจัยความสาเรจ็ ทผี่ ่านมาของการทางานพฒั นาราษฎรบนพนื้ ทีส่ ูง ในอดตี เปน็ อย่างไร และแนวทางการพัฒนาราษฎรบนพ้ืนทีส่ งู ในอนาคตควรเป็นอยา่ งไร 3.) ปัญหาหรืออุปสรรคของการพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงในอดีตและปัจจุบัน เปน็ อยา่ งไร 4.) ระบบการจัดสวสั ดิการของราษฎรบนพ้นื ทส่ี งู ในปัจจบุ ันและอนาคตควรเป็นอยา่ งไร 5.) ภาพอนาคตของสงั คมหรือชุมชนราษฎรบนพ้ืนท่ีสูง ที่เหมาะสมมีความสมดุล และความพอดีของการอนรุ กั ษ์ กบั การพฒั นา ควรเปน็ อย่างไร 6.) การจัดการเชิงนโยบาย แผนงาน โครงการ เพื่อการพัฒนาศักยภาพ ชุมชน หรือสังคมราษฎรบนพน้ื ท่ีสงู ควรเปน็ อยา่ งไร

160 การวจิ ัยการศกึ ษาเปรยี บเทยี บการพัฒนาบนพืน้ ท่ีสูงในอดตี และปจั จบุ นั 7.) การทางานท่ีมีผลิตภาพ (Productivity) ของศูนย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนท่ีสูง ทง้ั ในปัจจบุ นั และอนาคต ควรเปน็ อยา่ งไร 3. การสร้างและหาคณุ ภาพของเคร่อื งมือการวิจยั คณะทมี งานการวจิ ัยไดม้ ขี นั้ ตอนการสรา้ งและหาคุณภาพเคร่ืองมอื การวจิ ยั ดงั น้ี 3.1 การอา่ นเอกสารและการทบทวนวรรณกรรมที่เกยี่ วข้อง 3.2 การตรวจสอบวิเคราะหส์ าระสาคัญของคาตอบการวิจยั จากวตั ถุประสงค์ 3.3 ทบทวนและจาแนกสาระเน้ือหาจากนยิ ามศพั ทเ์ ชิงปฏิบัตกิ าร 3.4 วิเคราะหต์ วั แปรและปัจจยั สาคัญในการแสวงหาคาตอบจากกรอบแนวคิดการวิจัย 3.5 ร่างเครอื่ งมือการวิจัยและนาเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจประเมินคุณภาพในเชิงเน้ือหา ของเครอ่ื งมอื วจิ ัยทกุ ประเภท คอื (1) แบบสารวจชมุ ชน (2) แบบสอบถามการวจิ ัย (3) แบบสมั ภาษณเ์ ชิงลึก (4) แบบสนทนากลมุ่ เครอื่ งมือ Face validity IOC Cronbach แบบวิเคราะห์ √ √ - ศึกษาชมุ ชน √ √ √ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ √ √ *= 0.92 แบบสนทนากลุ่มยอ่ ย √ √ - คณุ ภาพเครื่องมอื ผา่ น IOC ของทุกฉบบั ≥0.65 - โดยภาพรวม - สตู รการหารคา่ IOC = โดย IOC= ดัชนีความสอดคล้องของวตั ถุประสงคก์ ารวจิ ยั กับเครื่องมอื การวจิ ัย ERI = ผลรวมความคดิ เหน็ รายขอ้ แลว้ นามาหาค่าเฉลย่ี N = จานวนคนทเ่ี ข้าร่วมการประเมนิ คณุ ภาพ

การวจิ ยั การศกึ ษาเปรยี บเทยี บการพฒั นาบนพ้ืนทสี่ ูงในอดีตและปจั จุบัน 161 4. การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย จากการเก็บข้อมูลแต่ละเครื่องมือจะได้บทสรุปท่ีดี จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีมีท้ังข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บจากแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพซึ่งเก็บจาก แบบศึกษาชุมชน แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่มยอ่ ย ลาดบั เคร่อื งมอื สถิต/ิ เทคนิคการวิเคราะห์ เชงิ ปรมิ าณ เชิงคณุ ภาพ 1 แบบศกึ ษาชุมชน 32 ชมุ ชน การวเิ คราะห์ขอ้ มูลเทคนิค (ไม่มีการหาคา่ สถติ ิ) Content Analysis 2 แบบสอบถาม 1. ความถ่ี ขอ้ มลู จากคาถาม ปลายเปดิ นามาทา Content 2. คา่ เฉลยี่ (  ) Analysis 3. ค่าสว่ นเบ่ียงเบนมาตรฐาน SD 3 แบบสัมภาษณ์ 32 ชมุ ชน ใช้หลักการยนื ยนั (ไม่มกี ารหาค่าสถติ ิ) 3 เส้า 4 แบบสนทนากลมุ่ ย่อย 32 ชมุ ชน 1.ใช้เทคนิคการยืนยนั 3 เส้า (ไม่มีการหาคา่ สถิต)ิ 2.การวเิ คราะห์ข้อมลู เชงิ คุณภาพดว้ ยเทคนคิ 6’C (นภัทร์ แก้วนาค 2555) หมายเหตุ ผ้เู ช่ยี วชาญตรวจสอบความตรง เคร่อื งมือการวจิ ยั 1. น.อ.ดร.นภัทร์ แก้วนาค อาจารยอ์ าวโุ ส วิทยาลยั การทัพอากาศ กองทพั อากาศ 2. น.อ.ดร.อมั พร เพช็ ราช อาจารย์ วิทยาลัยการทพั อากาศ กองทัพอากาศ 3. นอ.หญงิ ดร.อุษา โพนทอง นายทหารประจากรมเสมยี นตรา กระทรวงกลาโหม 4. ดร.จดิ าภา เร่งมศี รสี ุข อาจารยส์ าขาวชิ าสงั คมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยราชมงคล 5. ดร.พรเทพ เตชะพรชยั นกั วชิ าการอิสระทางสังคมศาสตร์

162 การวิจยั การศึกษาเปรยี บเทยี บการพฒั นาบนพ้ืนท่สี งู ในอดีตและปจั จบุ ัน บทท่ี 4 ผลการวิเคราะห์ขอ้ มลู การศึกษาวิจัย “การศึกษาเปรยี บเทียบการพัฒนาบนพ้ืนท่ีสูงในอดีตและปัจจุบัน” เป็นการวิจัย แบบผสานวธิ ี โดยจัดเก็บข้อมูลท้ังเชิงปริมาณและคุณภาพจากผู้บริหารส่วนกลาง อดีตผู้บริหารกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้อานวยการและเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนที่สูง 16 ศูนย์ฯ เจ้าหน้าท่ีในหน่วยงานท้องถ่ิน นักพัฒนา นักวจิ ัย นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ราษฎรบนพื้นท่ีสูง ผู้นาชุมชน และแกนนาหมู่บ้าน เพ่ือให้ทราบถึงสภาพปัญหาและความต้องการของการพัฒนาราษฎร บนพ้ืนท่ีสูง รูปแบบการบริหารการพัฒนาราษฎรบนพ้ืนท่ีสูง การจัดการบริหารและการพัฒนาราษฎร บนพน้ื ทสี่ ูง คณะผู้วจิ ยั ไดส้ รุปผลการศกึ ษาขอ้ มูลเป็น 2 สว่ น ประกอบดว้ ย ส่วนที่ 1 ผลการวจิ ัยเชงิ ปริมาณ ส่วนท่ี 2 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ผลการศึกษาชุมชน ผลการสัมภาษณ์ ผลการสนทนากลุม่ ยอ่ ย ผลจากเวทีวพิ ากษ์ และผลจากเวทีคนื ข้อมูล 4.1 การวิเคราะห์ข้อมูลเชงิ ปรมิ าณ จากแบบสอบถามท่ีจัดเก็บข้อมูลจากลุ่มเป้าหมาย ท้ัง 16 จังหวัด 32 ชุมชน 960 ราย ผู้วิจัยจะได้นาข้อมูลที่ได้ทั้งหมดไปทาการตรวจสอบความถูกต้อง การลงรหัส และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปเพื่อทาการคานวณค่าสถิติต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์การนาเสนอและสรุป ผลการวิจัย ซึ่งเปน็ สถติ ิพรรณนา (Descriptive Statistics) สาหรบั อธิบายลักษณะทัว่ ไปของกล่มุ ตัวอยา่ ง สถิติท่ีใช้ คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ตามเกณฑ์การวัดชนิดประมาณค่าตัดสินระดับความคิดเห็นสาหรับการตอบท่ีเป็น มาตรฐานค่า 5ระดบั เกณฑ์การวิเคราะห์และแปลความ (สุวิมล ว่องวาณิช,การวิจัยประเมินความต้องการ จาเป็น,2550) : 230 คา่ เฉล่ยี 4.50 – 5.00 มคี วามเหน็ ด้วยมากทสี่ ดุ คา่ เฉล่ยี 3.50 – 4.49 มีความเหน็ ดว้ ยมาก ค่าเฉลย่ี 2.50 – 3.49 มีความเหน็ ด้วยปานกลาง ค่าเฉลย่ี 1.50 – 2.49 มคี วามเหน็ ดว้ ยน้อย คา่ เฉล่ีย 1.00 – 1.49 มีความเห็นดว้ ยน้อยทส่ี ุด สัญลักษณ์ต่างๆ ทใ่ี ชใ้ นการวิเคราะหข์ อ้ มลู เชงิ ปรมิ าณดังน้ี n = จานวนกลุ่มตวั อย่าง X = คา่ เฉลีย่ ของกลุ่มตวั อย่าง S.D. = คา่ สว่ นเบ่ยี งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

การวจิ ยั การศกึ ษาเปรยี บเทียบการพัฒนาบนพ้นื ที่สูงในอดตี และปจั จุบัน 163 ตอนท่ี 1 ข้อมลู ท่ัวไป การวิเคราะห์ สงั เคราะห์ ขอ้ มลู เชิงปริมาณ ตอนทต่ีา1ราขง้อ4ม.ลู1ทแว่ั สไดปงจกาานรววนิเแคลระาระอ้หย์ สลังะเคจราาแะนหก์ ตขา้อมมสูลถเาชนงิ ภปารพิมสาว่ณนบุคคล ตาราง 4.1 แสดงจานวนและรอ้ ยละ จาแนกตามสถานภาพส่วนบคุ คล ขอ้ มูลท่ัวไปของผตู้ อบแบบสอบถาม จานวน ร้อยละ 1. เพศ ข้อมูลทั่วไปของผตู้ อบแบบสอบถาม จานวน รอ้ ยละ 1. เพศ ชาย 455 47.4 ชาย หญงิ 455 500 47.452.1 หญิงเพศทางเลือก 500 5 52.1 0.5 เพศทราวงมเลือก 5 960 0.5 100 2. อายุ รวม 960 100 2. อายุ ตา่ กวา่ 35 ปี 253 26.4 ตา่ กว3่า53-550ปปี ี 253 444 26.446.2 35-5051ปปี ีข้นึ ไป 444 263 46.227.4 51 ปรขี วนึ้ มไป 263 960 27.4 100 3.อาชีพ รวม 960 100 3.อาชีพ เจ้าหนา้ ท่ขี องรัฐ 41 4.3 เจา้ หเนก้าษทต่ีขรอกงรรรัฐม 41 737 4.3 76.8 เกษตอร่ืนกรๆรม(ระบุ)…………………… 737 182 76.819.0 อ่ืน ๆรว(รมะบุ)…………………… 182 960 19.0 100 จากตารารงว4ม.1 พบว่า ข้อมูลท่ัวไปของผู้ตอบแบบส9อ6บ0ถามจาแนกต1า0ม0เพศ มี เพศชาย จานวน จ4า5ก5ตคารนางคิด4เ.ป1็นพรบ้อวย่าลขะ้อ4ม7ูล.ท4ั่วเไพปศขอหงญผิงู้ตอ5บ0แ0บคบนสอคบิดถเาปม็นจรา้อแยนลกะตา5ม2เ.พ1 ศเพมศี เสพภศาชพาย5 คน จานวคนิดเ4ป5็น5ร้อคยนลคะิด0เป.5็นจร้าอแยนละกต4า7ม.4ช่เวพงศอหาญยุ ิงต่5าก00ว่าค3น5คปิดี เจปา็นนรว้อนยล2ะ5352ค.1น เคพิดศเสปภ็นารพ้อย5ลคะน26.4 คิดเปช็น่วงรอ้อายยลุระห0ว.่า5งจ3า5แ-5น0กปตีจาามนชว่นวง4อ4า4ยคุ ตน่าคกิดวเ่าป็น3ร5้อยปลี ะจา4น6ว.2น แ2ล5ะ3ช่วคงนอาคยิดุ 5เป1็นปรีข้อ้ึนยไปละจา2น6ว.น4 263 ช่วงอคายนุระคหิดวเ่าปง็น3ร5้อ-5ย0ละปีจ2า7น.ว4นจ4า4แ4นคกนตคาิดมเปอ็นารช้อีพยเลจะ้า4ห6น.2้าทแี่ขลอะงชร่วัฐงอจาายนุ 5ว1นป4ีข1้ึนไคปนจคานิดวเนป็น2ร6้อ3ยละ คน ค4ิดเกเปษ็นตรก้อรยรลมะจา2น7วน.47จ3า7แคนนกคติดาเปม็นอรา้อชยีพละเจ7้า6ห.8นอ้าื่นที่ขๆอจงารนัฐวนจา1น8ว2นคน41คิดคเนป็นคริด้อยเปล็นะ ร1้อ9ย.0ลสะรุปได้ 4 เกษวต่ารกกลรุ่มรตมัวจอานย่วางนส7่ว3น7มาคกนเปค็นิดเพปศ็นหร้อญยิงลมะีก7ล6ุ่ม.8อาอย่ืนุ 3ๆ5จ-5า0นวปนี ม1า8ก2ที่คสุนด คแลิดะเปส็น่วรน้อมยาลกะอ1า9ช.ี0พเสกรษุปตไรดก้ รรม ว่ากลถุ่มึงรต้อัวยอลยะ่า7ง6ส.่8วนมากเป็นเพศหญิง มีกลุ่มอายุ 35-50 ปี มากที่สุด และส่วนมาก อาชีพเกษตรกรรม ถึงร้อยละ 76.8 กล่าวได้ว่า กลุ่มตัวอย่างของการตอบแบบสอบถามท้ังหมด 960 คน ผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศหกญล่างิ มวไาดก้วก่าวา่ กเพลุ่มศตชัวายอยม่าอี งาขยออุ งยก่ใูานรชตว่ องบ3แ5บ-บ50สอปบี แถลาะมสทว่ ั้งนหใมหดญ9เ่ ป6็น0เกคษนตผรู้กตรอบแบบสอบถาม เปน็ เพศหญงิ มากกว่าเพศชาย มอี ายุอยใู่ นชว่ ง 35-50 ปี และส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร

164 การวจิ ัยการศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาบนพน้ื ทส่ี งู ในอดีตและปัจจบุ นั ตอนท่ี 2 ความคิดเห็นต่อการพัฒนาบนพ้ืนทส่ี ูงในอดีตและปจั จบุ นั ตาราง 4.2 ค่าเฉล่ีย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับของความคิดเห็นต่อการพัฒนาราษฎร บนพน้ื ที่สูงในอดตี และปัจจุบัน (n=960) ระดบั ความคิดเหน็ การพัฒนาราษฎรบนพ้ืนทีส่ งู ในอดีตและปจั จุบนั  S.D. การแปลผล 1. สภาพปัญหาของราษฎรบนพ้ืนทสี่ ูงที่มีอยุ่ 3.85 .55 มาก 2. ประเดน็ ความต้องการของชุมชนในการพฒั นา 4.39 .59 มาก 3. ประเด็นแนวทางการจัดการเชิงนโยบายเพื่อบริหาร 4.34 .63 มาก การพฒั นา 4.19 .87 มาก ค่าเฉลี่ยภาพรวม จากตาราง 4.2 พบว่าค่าเฉล่ีย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และระดับของความคิดเห็นเกี่ยวกับ การพั ฒ น าราษ ฎ รบ น พื้ น ที่ สูงใน อดีต และปั จจุบั น โด ยรวม อยู่ใน ระดับ ม าก ( = 4.19) เม่ือพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่าด้านท่ีค่าเฉล่ียสูงสุด คือ ประเด็นความต้องการของชุมชน อยู่ในระดับมาก ( =4.39) รองมาคือ ประเด็นแน วทางการจัดการเชิงนโยบาย อยู่ในระดับมาก ( = 4.34) และดา้ นทมี่ ีค่าเฉลย่ี น้อยท่ีสดุ คือ ประเดน็ สภาพปัญหาของราษฎรบนพืน้ ทส่ี งู อยใู่ นระดับมาก ( =3.85) สรปุ ได้ว่า ราษฎรบนพ้นื ทีส่ ูงยังคงมีปัญหาในการพฒั นาชุมชน มีความต้องการในการพัฒนา และควรมีแนวทางการจัดการเชิงนโยบาย การบริหารการพัฒนาท่ีชัดเจน สรุปสาระสาคัญ สรปุ ไดด้ งั น้ี

การวิจัยการศกึ ษาเปรียบเทียบการพฒั นาบนพ้ืนที่สูงในอดีตและปจั จบุ ัน 165 ตาราง 4.3 ค่าเฉล่ีย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับของความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา ของราษฎรบนพน้ื ทส่ี งู (n=960) ลาดบั สภาพปญั หาของราษฎรบนพ้ืนทีส่ ูง ระดับความคิดเห็น  S.D. การแปลผล 1. ราษฎรบนพื้นท่สี งู ยังมีปญั หาดา้ นคณุ ภาพชวี ติ ทเ่ี หมาะสม 3.76 1.07 มาก 2. สภาพปญั หาดา้ นสุขภาพยังขาดระบบการดแู ลทีด่ ี 3.45 1.19 ปานกลาง 3. ราษฎรบนพื้นทีส่ ูงยงั ขาดระบบสวสั ดกิ ารสังคมในชุมชน 3.52 1.17 มาก 4. ผสู้ งู วัยในชมุ ชนยังขาดการดแู ลดา้ นสขุ ภาพจติ ใจทด่ี ี 3.30 1.30 ปานกลาง 5. การประกอบอาชีพเกษตรกรรมของชมุ ชนยงั คงทาแบบดั้งเดิม 3.46 1.17 ปานกลาง 6. ราษฎรบนพ้นื ที่สงู ควรไดร้ บั สทิ ธใิ นความเปน็ มนษุ ย์อยา่ งเสมอภาค 4.09 1.01 มาก 7. กระบวนการมสี ่วนรว่ มจากประชาชนในการพฒั นาชุมชนมีนอ้ ย 3.38 1.24 ปานกลาง 8. วัฒนธรรมชมุ ชนของความเป็นราษฎรบนพ้ืนทีส่ ูงควรได้รบั การ 4.33 .84 มาก ส่งเสริมให้มากข้นึ 9. ทกุ ภาคส่วนควรให้การเสรมิ หนนุ ด้านศิลปหัตถกรรมในชุมชน 4.24 .89 มาก 10. ทศั นคติของชาวไทยพ้นื ราบต่อราษฎรบนพืน้ ที่สงู ทเี่ หมาะสม 4.10 .87 มาก 11. ปัจจบุ นั ราษฎรบนพน้ื ทสี่ งู ประกอบอาชีพผดิ กฎหมายน้อยมาก 3.92 1.18 มาก 12. ปจั จบุ ันราษฎรบนพนื้ ท่ีสูงไม่มีพฤติกรรมการทาลาย 3.88 1.12 มาก ทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อม 13. ราษฎรบนพื้นที่สูงมีส่วนเกยี่ วข้องกบั ยาเสพติดนอ้ ยมาก 3.79 1.22 มาก 14 ภูมปิ ัญญาพ้นื บ้านของราษฎรบนพนื้ ทีส่ งู ควรได้รับการสง่ เสรมิ 4.32 .87 มาก ให้มากขนึ้ 15. ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียงมีความเหมาะสมกบั วิถชี วี ติ ราษฎร 4.26 .88 มาก บนพื้นท่สี งู ภาพรวม 3.85 .55 มาก

166 การวจิ ัยการศกึ ษาเปรียบเทยี บการพฒั นาบนพ้ืนท่ีสงู ในอดีตและปัจจบุ ัน จากตาราง 4.3 พบว่าค่าเฉล่ีย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และระดับของความคิดเห็นเกี่ยวกับ สภาพปัญหาของราษฎรบนพ้ืนที่สูง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.85) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า วัฒ นธรรมชุมชนของความเป็นราษฎรบนพื้นท่ีสูงควรได้รับการส่งเสริม ให้มากขึ้น มีค่าเฉล่ียสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก ( =4.33) รองลงมา คือ ภูมิปัญญาพื้นบ้านของราษฎรบนพ้ืนท่ีสูงควรได้รับการส่งเสริม ให้มากขึ้นมีค่าเฉล่ีย อยู่ในระดับมาก ( =4.33) และข้อที่มีค่าเฉล่ียน้อยที่สุด คือ ผู้สูงวัยในชุมชนยังขาด การดแู ลด้านสุขภาพจติ ใจท่ดี ี มีค่าเฉลย่ี อย่ใู นระดบั ปานกลาง ( =3.30) สรุปว่า ราษฎรบนพื้นทสี่ ูงมปี ัญหาการพฒั นาเรียงลาดบั ความสาคญั 5 ลาดบั แรก คอื 1. ปัญหาด้านวัฒนธรรมชุมชนราษฎรบนพื้นทสี่ ูงทไี่ ม่ไดร้ บั การส่งเสริม 2. ปัญหาดา้ นภูมปิ ญั ญาพืน้ บ้านของราษฎรบนพนื้ ทีส่ ูงท่ขี าดการสานตอ่ ถ่ายทอด 3. ปัญหาด้านคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขาดการปฏิบัติการ อยา่ งจริงจัง 4. ปญั หาการสนับสนนุ ศิลปะ หัตถกรรมในชมุ ชนใหม้ คี ุณภาพและมคี ุณคา่ 5. ปญั หาด้านสิทธใิ นความเปน็ มนุษย์ทเ่ี สมอภาคกัน กล่าวได้ว่าราษฎรบนพ้ืนท่ีสุงให้ความสาคัญกับประเด็นปัญหาเพื่อการพัฒนาชุมชน ในด้าน การส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ปัญหาด้านภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ขาดการสานต่อถ่ายทอด จากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน ปัญหาด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่เรียนรู้ ดูงาน แต่ไม่ สานต่อให้เห็นผลด้วยการลงมือทาจริง รวมถึงประเด็นปัญหาการสนับสนุน ส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรม ในชุมชน ให้มีคุณภาพมีคุณค่าและมีมูลค่าเชิงเศรษฐกิจรายได้ในชุมชนและประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ การไม่ไดร้ บั สิทธอิ ยา่ งความเสมอภาค

การวิจยั การศึกษาเปรียบเทยี บการพฒั นาบนพ้นื ที่สูงในอดีตและปจั จบุ นั 167 ตาราง 4.4 ค่าเฉลยี่ สว่ นเบยี่ งเบนมาตรฐาน และระดับของความคิดเหน็ เกี่ยวกับประเด็น ความตอ้ งการของชมุ ชน (n=960) ลาดบั ความตอ้ งการของชุมชน ระดบั ความคดิ เห็น  S.D. การแปลผล 1. ราษฎรบนพื้นท่ีสูงยงั มคี วามต้องการคณุ ภาพชีวิตทดี่ ขี นึ้ 4.44 .78 มาก 2. ชุมชนบนพ้ืนที่สงู ควรไดร้ ับการพัฒนาให้เปน็ สงั คมคุณภาพ 4.36 .76 มาก 3. ความเปน็ ชมุ ชนชาตพิ ันธคุ์ วรไดร้ บั การสง่ เสริมพฒั นาอย่าง 4.32 .79 มาก มอี ัตลักษณ์ มาก ราษฎรบนพ้ืนที่สงู มีความต้องการในการมสี ่วนรว่ มพัฒนา 4.40 .77 มาก 4. ชมุ ชนใหเ้ ขม้ แข็ง มาก มาก 5. ราษฎรบนพื้นทสี่ ูงมีความต้องการไดร้ ับการดแู ลดา้ นระบบ 4.36 .80 มาก สุขภาพ มาก เยาวชนของราษฎรบนพนื้ ที่สูงควรได้รับการศกึ ษาที่เพียงพอ 4.40 .81 มาก 6. อยา่ งมีคุณภาพ มาก มาก 7. ผสู้ ูงวัยในชุมชนควรได้รับการเสรมิ หนุนดา้ นการถ่ายทอดภูมิ 4.35 .79 มาก ปญั ญาพ้นื บา้ น ราษฎรบนพน้ื ท่สี ูงมีความต้องการการสนับสนุนด้าน 4.34 .78 8. ประสทิ ธภิ าพ การประกอบอาชพี ภาคการเกษตรกรรม 9 ชมุ ชนบนพ้ืนทสี่ ูงควรมีการจดั การศนู ย์การเรียนรชู้ าตพิ ันธท์ุ ี่มี 4.36 .80 คุณภาพ ราษฎรบนพน้ื ท่ีสงู ควรไดร้ ับการสง่ เสริมดแู ล เรื่อง สทิ ธิความ 4.38 .75 10. เปน็ พลเมืองมากขน้ึ 11. วฒั นธรรมชมุ ชน ประเพณีทด่ี ีงามตอ้ งการ การอนุรักษ์และ 4.51 .75 สง่ เสริมอย่างย่ังยนื วิถชี วี ติ ดง้ั เดิมของราษฎรบนพ้ืนทสี่ ูงควรได้รับการส่งเสริม 4.42 .80 12. อยา่ งเหมาะสมมใิ ชเ่ ป็นเพียงสินคา้ การท่องเทีย่ ว คา่ เฉลยี่ ภาพรวม 4.39 .75 จากตาราง 4.4 พบว่าค่าเฉลี่ย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และระดับของความคิดเห็นเก่ียวกับ ประเด็นความต้องการของชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.39) เม่ือพิจารณารายข้อพบว่า วัฒนธรรมชุมชน ประเพณีที่ดีงามต้องการ การอนุรักษ์และส่งเสริมอย่างยั่งยืน มีค่าเฉล่ียสูงท่ีสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.51 ) รองลงมา คือ ราษฎรบนพื้นท่ีสูงยังมีความต้องการคุณภาพชีวิตท่ีดีข้ึน มีค่าเฉล่ีย อยู่ในระดับมาก

168 การวิจยั การ1ศ1ึก.ษาเปรียวสบัฒง่ เเทนสียรธบมิกรารอรมยพชัฒา่ ุมงนยาชบ่ังนนยพืนปน้ื รทะ่สี งูเพในณอดที ตี แดี่ ลีงะาปมจั ตจบุ ้อนั งการ การอนุรักษแ์ ละ 4.51 .75 มาก วถิ ีชีวิตด้ังเดิมของราษฎรบนพ้ืนท่ีสูงควรไดร้ บั การสง่ เสริม 4.42 .80 มาก 12. อยา่ งเหมาะสมมิใชเ่ ปน็ เพียงสินคา้ การท่องเทยี่ ว 4.39 .75 มาก ค่าเฉลย่ี ภาพรวม จากตาราง 4.4 พบว่าค่าเฉลี่ย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และระดับของความคิดเห็นเกี่ยวกับ ประเด็นความต้องการของชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.39) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า วฒั นธรรมชุมชน ประเพณีที่ดีงามต้องการ การอนุรักษ์และส่งเสริมอย่างย่ังยืน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.51 ) รองลงมา คือ ราษฎรบนพ้ืนท่ีสูงยังมีความต้องการคุณภาพชีวิตท่ีดีข้ึน มีค่าเฉล่ีย อยู่ในระดับมาก ( =4.44) และข้อที่มีค่าเฉล่ียน้อยที่สุด คือ ความเป็นชุมชนชาติพันธ์ุควรได้รับการส่งเสริมพัฒนา อย่างมีอัตลกั ษณ์ มีคา่ เฉล่ยี อยูใ่ นระดบั มาก ( =4.32) สรุปไดว้ ่า ชุมชน มีประเดน็ ความต้องการเพ่ือการพฒั นา เรียงลาดบั ความสาคัญ 5 ลาดับแรก ดงั นี้ 1. ความต้องการได้รับการพัฒนาวัฒนธรรม ประเพณี อันดีงามควรได้รับการอนุรักษ์ สง่ เสริมอย่างยั่งยืน 2. ความต้องการได้รบั การพัฒนาคุณภาพชวี ติ ท่ดี ีของราษฎรบนพื้นทส่ี ูง 3. ความตอ้ งการส่งเสริมวถิ ีชวี ิตดัง่ เดิมให้มีคุณค่า 4. ความต้องการมสี ่วนรว่ มในการพัฒนาชมุ ชนกบั ทกุ ภาคส่วนใหเ้ กดิ การพฒั นาอย่างยงั่ ยืน 5. ความตอ้ งการใหเ้ ยาวชนไดร้ ับการศกึ ษาทเ่ี พยี งพออยา่ งมคี ุณภาพ กล่าวได้ว่าราษฎรบนพื้นที่สูงมีประเด็นความต้องการสนับสนุนจากภาครัฐ คือการพัฒนา วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามควรได้รับการส่งเสริมความมีคุณค่า ความหมายและการให้ความสาคัญ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตดีกว่าเดิมให้ทุกคนทุกวัย อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามภูมิสังคมแต่ละชนเผ่า สร้างความม่ันใจในชีวิตและความม่ันคงให้เกิดข้ึนในชุมชน รวมถึงการส่งเสริมวิถีชีวิต เรียบง่าย สมถะ พอเพียงแบบดั้งเดิมให้คงมีอยู่ต่อไป ได้รับการสนับสนุนด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน ชุมชน ของตนกบั ทกุ ภาคสว่ นอยา่ งเทา่ เทยี มกัน รวมทั้งเยาวชนควรได้รบั การศึกษาอย่างเพียงพอ

การวิจยั การศกึ ษาเปรยี บเทียบการพฒั นาบนพ้นื ทีส่ งู ในอดตี และปัจจบุ ัน 169 ตารตางาร4า.ง5 4ค.า่5เฉคล่าียเฉสล่ว่ยี นเสบว่ ยี่นงเเบบยี่ นงมเบานตมรฐาตานรฐแานละแรละะดรับะขดอบั งขคอวงาคมวคาิดมเคหิดน็ เหเกน็ ี่ยเวกก่ียับวแกนับวแกนาวรจดั การเชิงนโยบาย ทางการจัดการเชิงนโยบาย (n=960) ลาดบั แนวทางการจัดการเชิงนโยบาย ระดับความคิดเห็น  S.D. การแปลผล องค์กรปกครองส่วนท้องถนิ่ หรือ อบต./เทศบาล ควร 1. มีนโยบายให้การสนบั สนุนความเปน็ ชมุ ชนชาติพันธุ์ 4.41 .82 มาก 2. ชุ ม ช น ค ว ร มี ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร จ าก ทุ ก ภ า ค ส่ ว น ร่ ว ม 4.29 .77 มาก กาหนดนโยบายการพฒั นาราษฎรบนพน้ื ทสี่ งู คนทุกช่วงวัยในความเป็นราษฎรบนพื้นที่สูงควร 3. ได้รบั การดูแลเชงิ นโยบายด้านการศึกษาอบรมท่ดี ี 4.29 .82 มาก รฐั ควรใหก้ ารเสริมหนุนระบบการจดั การดูแลสุขภาพ 4.33 .80 มาก 4. แบบคขู่ นานทัง้ ภูมปิ ัญญาพื้นบ้านและการ มาก สาธารณสุขสมัยใหม่ ทุกภาคส่วนควรได้มีแนวทางเชิงนโยบายกาหนด 5. ระบบสวสั ดิการสังคมในชุมชนอย่างยั่งยืน 4.36 .81 ชมุ ชนควรไดร้ ับการสนบั สนุนด้านการมีลาน 4.26 .87 มาก 6. วฒั นธรรมคณุ ภาพหรอื เวทีแห่งการแสดงศิลปะ ราษฎรบนพนื้ ที่สงู ควรมรี ะบบการจัดการเชิงนโยบายสร้างสรรคป์ ้องกนั 7. ราษฎรบนพนื้ ท่สี งู เข้าไปมสี ่วนเก่ียวข้องกบั ยาเสพตดิ 4.34 .87 มาก 8. รัฐควรให้การเสริมหนุนด้านนโยบายการสรา้ งเสริม 4.42 .79 มาก ศักยภาพชมุ ชนบนพน้ื ที่สงู ใหเ้ ขม้ แข็ง รฐั ควรสร้างนโยบายใหโ้ อกาสกลุ่มชาตพิ นั ธ์ไุ ด้เข้าไป 9. มบี ทบาทการพฒั นาประเทศทุกระดับ 4.34 .81 มาก ควรมีผู้แทนราษฎรบนพ้ืนทส่ี ูงไดม้ ีโอกาสเป็นตวั แทน 4.40 .79 มาก 10. กลมุ่ ชาตพิ นั ธ์ใุ นการมีบทบาทดา้ นวฒั นธรรม ระดับชาติ คา่ เฉลีย่ ภาพรวม 4.34 .87 มาก

170 การวิจยั การศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาบนพ้ืนที่สงู ในอดตี และปัจจบุ นั จากตาราง 4.5 พบวา่ ค่าเฉล่ีย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และระดับของความคิดเหน็ เก่ียวกับแนวทาง การจัด การเชิ งน โยบ ายโดยรวม อยู่ใน ระดับ มาก ( =4.34) เม่ื อพิ จารณ ารายข้อพ บ ว่า รัฐควรให้การเสริมหนุนด้านนโยบายการสร้างเสริมศักยภาพชุมชน บนพ้ืนที่สูงให้เข้มแข็ง มีค่าเฉลี่ยสูงท่ีสุด อยู่ในระดับมาก ( =4.42) รองลงมา คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ อบต./ เทศบาล ควรมีนโยบายให้การสนับสนุนความเป็นชุมชนชาติพันธุ์ มีค่าเฉล่ีย อยู่ในระดับมาก ( = 4.41) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ชุมชนควรได้รับการสนับสนุนด้านการมีลานวัฒนธรรม คณุ ภาพหรอื เวทแี ห่งการแสดงศลิ ปะราษฎรบนพนื้ ที่สงู มคี า่ เฉลี่ย อยู่ในระดบั มาก ( =4.26) สรุปได้ว่า ภาครัฐควรมีการจัดการเชิงนโยบายในการบริหารการพัฒนาราษฎรบนพื้นท่ีสูง เรยี งลาดบั ความสาคัญ 5 ลาดับแรก ดังน้ี 1. ควรมนี โยบายสนบั สนนุ ให้ ศักยภาพชมุ ชนมคี วามเข้มแขง็ 2. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลและ อบต.) ควรมีนโยบายส่งเสริมความ เป็นชมุ ชนชาตพิ นั ธ์ุ 3. ควรมีตัวแทนราษฎรบนพื้นที่สูงเป็นตัวแทนกลุ่มชาติพันธ์ุ ที่มีบทบาททางวัฒนธรรม ระดับชาติ 4. ทุกภาคส่วนควรได้มีแนวทางเชิงนโยบายในการส่งเสริมระบบสวัสดิการสังคมในชุมชน อยา่ งยั่งยนื 5. ควรมีนโยบายเชิงสร้างสรรค์ป้องกันราษฎรบนพ้ืนที่สูงไม่ให้มีส่วนเก่ียวข้องกับยาเสพติด ทกุ รูปแบบ กล่าวได้ว่าหน่วยงานท่ีมีบทบาทในการกาหนดนโยบายการพัฒนาราษฎรบนพื้นท่ีสูง ควรได้ให้ความสาคัญกับการจัดการเชิงนโยบายสาคัญท้ัง 5 ประการแรกนี้ คือการเสริมหนุนให้มีการ พัฒนาศักยภาพของชุมชนราษฎรบนพ้ืนที่สูง เป็นที่พึ่งของประชาชนและชุมชนพึ่งตนเองได้ อปท. ทุกระดับทุกแห่งที่มีราษฎรบนพ้ืนที่สูงควรมีนโยบาย มีแผนตาบลหรือเทศบัญญัติ สนับสนุน กิจกรรมต่างๆ ของความเป็นชนเผ่าหรือชุมชนชาติพันธ์ุอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงควรส่งเสริมให้มีตัวแทน จากชนเผ่า เป็นตัวแทนเชิงวัฒนธรรมระดับชาติและทุกภาคส่วนควรมีนโยบายป้องกันชนเผ่าไม่ให้ เกีย่ วขอ้ งกับยาเสพตดิ

การวิจัยการศึกษาเปรยี บเทยี บการพฒั นาบนพืน้ ที่สูงในอดตี และปัจจุบนั 171 หากพิจารณาข้อมูลแยกตามพื้นท่ีความรับผิดชอบของสานักงานส่งเสริมและสนับสนุน วชิ าการ ท้ัง 4 สานกั งาน สามารถสรุปสาระสาคญั ได้ ดังนี้ กลมุ่ ตวั อย่างในพนื้ ทคี่ วามรบั ผดิ ชอบของสานักงานสง่ เสริมและสนับสนนุ วิชาการ 4 (สสว.4) ตาราง 4.6 ค่าเฉล่ีย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับของความคิดเห็นต่อการพัฒนาบนพื้นที่สูง ในอดีตและปัจจบุ ัน (n=180) ระดับความคดิ เหน็ การพัฒนาราษฎรบนพื้นท่ีสงู ในอดีตและปัจจบุ นั  S.D. การแปลผล 1. สภาพปัญหาของราษฎรบนพน้ื ทส่ี งู ท่ีมอี ยู่ 4.05 .64 มาก 2. ประเด็นความตอ้ งการของชุมชนในการพัฒนา 4.60 .45 มาก 3. ประเด็นแนวทางการจัดการเชิงนโยบายเพ่ือการ 4.61 .45 มาก บริหารการพฒั นา 4.42 .44 มาก ภาพรวม จากตาราง 4.6 พบว่าค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับของความคิดเห็นเกี่ยวกับ การพัฒนาราษฎรบนพื้นท่ีสูงในอดีตและปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42) เมื่อพิจารณา ในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ประเด็นแนวทางการจัดการเชิงนโยบาย อยู่ในระดับมาก ( =4.61) รองมา คือ ประเด็นความต้องการของชุมชนอยู่ในระดับมาก ( = 4.60) และด้านที่มีค่าเฉลี่ย นอ้ ยท่ีสดุ คือ ประเดน็ สภาพปัญหาของราษฎรบนพน้ื ท่ีสูง อยใู่ นระดับมาก ( =4.05) สรุปได้ว่า ราษฎรบนพ้ืนท่ีสูงให้ความสาคัญกับ ทุกประเด็น คือ สภาพปัญหาของราษฎร บนพ้ืนท่ีสูง ความต้องการของชุมชนราษฎรบนพื้นที่สูง และควรมีแนวทางการจัดการ เชิงนโยบาย ท่ชี ัดเจนเก่ยี วกบั ราษฎรบนพ้นื ทีส่ งู

172 การวจิ ยั การศกึ ษาเปรยี บเทยี บการพัฒนาบนพ้ืนทสี่ งู ในอดีตและปจั จบุ นั ตาราง 4.7 ค่าเฉล่ีย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับของความคิดเห็นเก่ียวกับสภาพปัญหา ของราษฎรบนพื้นท่สี งู (n=180) ลาดบั สภาพปญั หาของราษฎรบนพ้ืนที่สูง ระดบั ความคดิ เหน็  S.D. การแปลผล 1. ราษฎรบนพืน้ ท่ีสงู ยงั มปี ญั หาด้านคณุ ภาพชวี ิตท่ีเหมาะสม 3.55 1.13 มาก 2. สภาพปญั หาด้านสุขภาพยังขาดระบบการดูแลทีด่ ี 3.70 1.20 มาก 3. ราษฎรบนพ้นื ท่สี ูงยังขาดระบบสวสั ดิการสังคมในชุมชน 3.81 1.16 มาก 4. ผู้สูงวยั ในชุมชนยังขาดการดูแลด้านสขุ ภาพจิตใจท่ดี ี 3.80 1.26 มาก 5. การประกอบอาชีพเกษตรกรรมของชมุ ชนยงั คงทาแบบดั้งเดิม 3.53 1.33 มาก 6. ราษฎรบนพนื้ ทสี่ งู ควรไดร้ ับสทิ ธิในความเป็นมนษุ ย์อย่างเสมอภาค 4.36 .91 มาก 7. กระบวนการมสี ่วนรว่ มจากประชาชนในการพฒั นาชมุ ชนมีน้อย 3.71 1.19 มาก 8. วฒั นธรรมชุมชนของความเป็นราษฎรบนพน้ื ท่สี งู ควรได้รบั การ 4.46 .88 มาก สง่ เสรมิ ใหม้ ากข้นึ 9. ทกุ ภาคสว่ นควรให้การเสรมิ หนุนดา้ นศิลปหัตถกรรมในชมุ ชน 4.39 .88 มาก 10. ทศั นคติของชาวไทยพืน้ ราบต่อราษฎรบนพืน้ ท่สี ูงทเี่ หมาะสม 4.28 .84 มาก 11. ปัจจุบันราษฎรบนพนื้ ที่สงู ประกอบอาชีพผิดกฎหมายน้อยมาก 4.02 1.40 มาก 12. ปจั จุบนั ราษฎรบนพ้ืนทส่ี งู ไมม่ ีพฤติกรรมการทาลายทรัพยกร 4.06 1.24 มาก ธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม 13. ราษฎรบนพ้ืนท่ีสูงมสี ว่ นเกี่ยวข้องกับยาเสพติดน้อยมาก 4.06 1.39 มาก 14 ภมู ปิ ัญญาพ้ืนบ้านของราษฎรบนพน้ื ท่ีสูงควรไดร้ บั การสง่ เสริม 4.51 .80 มาก ใหม้ ากขึน้ 15. ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี งมีความเหมาะสมกับวิถีชีวติ ราษฎร 4.57 .77 มาก บนพื้นทสี่ งู คา่ เฉลย่ี ภาพรวม 4.05 1.24 มาก


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook