Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือรางวัลยกย่องจุฬา 2562

หนังสือรางวัลยกย่องจุฬา 2562

Published by Research Chula, 2019-09-12 10:38:21

Description: หนังสือรางวัลยกย่องจุฬา 2562

Search

Read the Text Version

ประวัติ รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.วริษา พงศ์เรขนานนท์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เภสัชศาสตร์ บัณฑิตจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ ๑) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และ ปริญญาเอก วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีเภสัชกรรม (นานาชาติ) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ หลังจากนั้นได้เข้าท�ำงานเป็นอาจารย์ท่ีภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้มีโอกาสไปเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอก ท่ีศูนย์ชีววิทยา พฒั นาการเซลล์ รเิ กน็ (RIKEN Center for Cell Developmental Biology ปจั จบุ นั คอื Center for Biosystems Dynamics Research) เมืองโกเบ ประเทศญป่ี ุ่น ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ ผลงานวจิ ยั โดยสรปุ งานวิจัยของรองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.วริษา พงศ์เรขนานนท์ เก่ียวกับการศึกษาชีววิทยาของ เซลล์มะเร็งปอด เน่ืองจากมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบอันดับต้น ๆ ทั้งในประเทศไทยและท่ัวโลกซึ่งมีอัตรา การเสียชีวิตสูง โดยการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งสาเหตุหลัก งานวิจัยของรองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.วริษา พงศ์เรขนานนท์ จึงศึกษาหากลไกการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งปอด และพบว่าโปรตีน CAMSAP ซึ่งเป็นโปรตีนท่ีควบคุมสมดุลพลวัตรและการเปลี่ยนแปลงโปรตีนหลังการถอดรหัสยีน (Post-translational modification) ของไมโครทบู ลู มบี ทบาทควบคมุ การเคลอื่ นทข่ี องเซลลม์ ะเรง็ ปอด เมอ่ื ท�ำการลบยนี CAMSAP3 โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม ท�ำให้เซลล์มะเร็งมีการเคลื่อนท่ีแพร่กระจายมากข้ึน ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงลึก ครั้งแรกถึงบทบาทของโปรตีนนี้ทางชีววิทยาของเซลล์มะเร็ง หากเราเข้าใจองค์ความรู้พื้นฐานระดับโมเลกุล ท่ีควบคุมกลไกความรุนแรงของเซลล์มะเร็งดังกล่าว ก็จะสามารถน�ำไปเป็นโปรตีนบ่งช้ี/โมเลกุลเป้าหมาย ในการพัฒนายาในการรักษามะเร็งต่อไปได้ นอกจากนั้นงานวิจัยของรองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.วริษา พงศ์เรขนานนท์ ได้ศึกษาศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและกลไกระดับโมเลกุลของสารจากธรรมชาติในการต้าน มะเร็งปอด เพ่ือเป็นแนวทางในการพัฒนาและวิจัยสารเหล่านี้ในสัตว์ทดลองและทางคลินิคต่อไป และสามารถ นำ� สารดงั กล่าวไปพัฒนาไปเป็นยาเพือ่ เพิม่ มูลค่าของสารจากธรรมชาตทิ ่ีพบในประเทศไทยได้ งานวจิ ยั ในอนาคต จากการศกึ ษาพบว่า โปรตีน CAMSAP มบี ทบาทควบคุมการเคลือ่ นท่ขี องเซลล์มะเรง็ โดยส่งผลต่อกลไก การเปลย่ี นแปลงของเซลลเ์ ยอื่ บผุ วิ ไปเปน็ เซลลม์ เี ซนไคม์ ซง่ึ เปน็ กลไกทส่ี ำ� คญั ของการแพรก่ ระจายของเซลลม์ ะเรง็ งานวิจัยปัจจุบันและต่อเน่ืองในอนาคต ได้ด�ำเนินการศึกษาบทบาทของโปรตีนเชิงลึก ในเซลล์มะเร็งปอด ด้านอื่น ๆ ท้ังในด้านผลต่อการแบ่งเซลล์ การดื้อต่อยาเคมีบ�ำบัด การควบคุมความเป็นสเต็มเซลล์ของ เซลลม์ ะเร็ง กลไก autophagy และการเสือ่ มชราของเซลลม์ ะเร็ง (Senescence) ในระดับเซลลแ์ ละสัตว์ทดลอง และมีการศึกษาพบว่าโปรตีน CAMSAP เป็นโปรตีนท่ีจับกับด้านลบ (minus end-microtubule binding protein) และควบคุมความคงตัวของไมโครทูบูลชนิดท่ีไม่ได้ก�ำเนิดจากเซนโตรโซม (non-centrosomal ยกย่องเชดิ ชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 499

microtubules) จากโครงการวิจัยแรก ค้นพบว่าโปรตีน CAMSAP ส่งผลต่อการเปล่ียนแปลงโปรตีน หลงั การถอดรหสั ยีน (Post-translational modification) ของไมโครทูบูลชนิดนี้ จงึ นำ� ไปสู่การค้นพบบทบาท ท่ีน่าสนใจของการเปลี่ยนแปลงโปรตีนหลังการถอดรหัสยีน (post-translational modification) ของ ไมโครทูบูลต่อการท�ำงานของโปรตีนไคเนส (kinase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ส�ำคัญของกระบวนการส่งถ่ายสัญญาณ ท่คี วบคมุ การเจรญิ เตบิ โต การแบง่ เซลล์ การเคลอื่ นท่ี และการอยู่รอดของเซลล์มะเรง็ เน่ืองจากปัจจบุ นั ยังไม่มี การศึกษาหน้าท่ีของโปรตีน CAMSAP และการท�ำงานของการเปลี่ยนแปลงโปรตีนหลังการถอดรหัสยีนของ ไมโครทูบูลดังกล่าวในเซลล์มะเร็งปอด นอกจากน้ันพบว่าโปรตีนกลุ่มนี้มีการแสดงออกในเซลล์มะเร็งต่างจาก เซลล์ปกติ และมีระดับการแสดงออกที่แตกต่างกันในแต่ละระยะของเซลล์มะเร็ง หากเราเข้าใจการท�ำหน้าที่ ของโปรตีน CAMSAP และการการท�ำงานของการเปลี่ยนแปลงโปรตีนหลังการถอดรหัสยีนของไมโครทูบูล ย่อมนำ� ไปสกู่ ารพฒั นาเปน็ โปรตีนบง่ ชีข้ องเซลล์มะเรง็ และ/หรือ เปา้ หมายในการออกฤทธข์ิ องยาในอนาคตได้ นอกจากนั้นยังได้วิจัยและพัฒนาสารจากธรรมชาติหรือสารสังเคราะห์ต่อการยับยั้งการท�ำงานของโปรตีน ไคเนส (kinase) และตัวรับ (receptor) ท่ีควบคุมการเจริญเติบโต การอยู่รอด และการแพร่กระจายของ เซลล์มะเรง็ เพือ่ เปน็ แนวทางในการพฒั นาและวิจัยสารเหลา่ นใ้ี นสตั ว์ทดลองและทางคลินิคต่อไป งานวจิ ัยเด่น (เปน็ ทป่ี ระจกั ษ)์ งานวิจัยของรองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.วริษา พงศ์เรขนานนท์ เป็นการค้นพบบทบาทท่ีส�ำคัญ ของโปรตีน CAMSAPs ทั้งในชีววิทยามะเร็งและชีววิทยาพัฒนาการเชิงลึกคร้ังแรก งานทางด้านชีววิทยามะเร็ง พบว่าโปรตีน CAMSAP3 ควบคุมกลไกการเปลี่ยนแปลงโปรตีนหลังการถอดรหัสยีนของไมโครทูบูล เมื่อมี การลบยีน CAMSAP3 โดย CRISPR-Cas9 ส่งผลให้เซลล์มะเร็งปอดมีระดับการเปลี่ยนแปลงโปรตีนหลัง การถอดรหัสยีนของไมโครทูบูล โดยมีการเติมหมู่อะเซทิล (acetyl) บนสายไมโครทูบูลสูงขึ้น และส่งเสริม การเปลี่ยนแปลงคุณลกั ษณะจากเซลล์เย่อื บุผวิ ไปเปน็ เซลล์มเี ซนไคม์ ผา่ นทางโปรตนี ไคเนสบี (protein kinase B/Akt) ท�ำใหเ้ ซลลม์ ะเร็งปอดมกี ารเคลอ่ื นที่เพิ่มข้ึน ซงึ่ คุณสมบตั ิดังกลา่ วเปน็ กลไกทส่ี ำ� คัญของการแพร่กระจาย ของเซลล์มะเร็ง๑ ถึงแม้ว่าระดับโปรตีน CAMSAP3 ระหว่างเซลล์มะเร็งปอดและเซลล์ปกติข้างเคียงไม่ได้ แตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ในเซลล์มะเร็งปอดท่ีมีการแพร่กระจายจะมีปริมาณ CAMSAP3 ลดลง๒ และจาก ระดับการแสดงออกของโปรตีน CAMSAP3 ท่ีลดลงน้ีมีความสัมพันธ์กับอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยมะเร็งปอด๓ ซง่ึ สอดคลอ้ งกบั การค้นพบจากงานวิจัย นอกจากน้นั การศึกษาบทบาทของโปรตนี CAMSAP3 ทางดา้ นชวี วิทยา พัฒนาการ (Developmental Biology) ในเซลล์ประสาท พบว่าเซลล์ประสาทบริเวณสมองสว่ นฮิปโปแคมปสั ท่ีแยกจากตัวอ่อนของหนูที่มีการลบยีน CAMSAP3 มีจ�ำนวนเส้นใยประสาท Axon เพิ่มขึ้น มีรูปร่าง เปลีย่ นแปลงไป ซึง่ ในเซลลป์ ระสาทมีจ�ำนวนเสน้ ใยประสาท Axon เพียงเส้นใยเดียว ท�ำหนา้ ท่สี ง่ ถ่ายสญั ญาณ ประสาทระหว่างเซลล์ และเซลล์ประสาทที่แยกจากตัวอ่อนของหนูท่ีมีการลบยีน CAMSAP2 มีจ�ำนวนเส้นใย dendrite ลดลงเมือ่ เทียบกบั เซลลป์ ระสาทท่ีได้จากหนกู ลุ่มควบคมุ แสดงใหเ้ หน็ ว่าโปรตนี CAMSAP มบี ทบาท ต่อการพัฒนาการทางระบบประสาทของตวั อ่อนของสตั วเ์ ล้ียงลูกด้วยนม๔ 500 ยกยอ่ งเชดิ ชเู กยี รติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ส่วนงานทางด้านเภสัชวิทยาของมะเร็ง ได้ศึกษาสารจากกล้วยไม้ไทยในการยับย้ังการแพร่กระจายและการเพ่ิม ความไวต่อยาเคมีบ�ำบัดของเซลล์มะเร็งปอด โดยศึกษาเชิงลึกระดับโมเลกุลพบว่า สารมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง การทำ� งานของโปรตนี ไคเนสบี (protein kinase B/Akt) และโปรตีนเปา้ หมายท่ีเกี่ยวขอ้ ง๕,๖ ซ่ึงนำ� ไปสู่การศกึ ษา ทดสอบฤทธิ์ตา้ นมะเรง็ ในสัตว์ทดลองตอ่ ไป อ้างอิง ๑. Pongrakhananon, V., Wattanathamsan, O., Takeichi, M., Chetprayoon, P. & Chanvorachote, P. Loss of CAMSAP3 promotes EMT via the modification of microtubule–Akt machinery. J. Cell Sci. 131, jcs216168 (2018). ๒. Rhodes, D. R. et al. ONCOMINE: a cancer microarray database and integrated data- mining platform. Neoplasia 6, 1-6 ๓. Cerami, E. et al. The cBio cancer genomics portal: an open platform for exploring multidimensional cancer genomics data. Cancer Discov. 2, 401-4 (2012). ๔. Pongrakhananon, V. et al. CAMSAP3 maintains neuronal polarity through regulation of microtubule stability. Proc. Natl. Acad. Sci. U. S. A. 201803875 (2018). doi:10.1073/ pnas.1803875115 ๕. Treesuwan, S., Sritularak, B., Chanvorachote, P. & Pongrakhananon, V. Cypripedin diminishes an epithelial-to-mesenchymal transition in non-small cell lung cancer cells through suppression of Akt/GSK-3β signalling. Sci. Rep. 8, 8009 (2018). ๖. Wattanathamsan, O., Treesuwan, S., Sritularak, B. & Pongrakhananon, V. Cypripedin, a phenanthrenequinone from Dendrobium densiflorum, sensitizes non-small cell lung cancer H460 cells to cisplatin-mediated apoptosis. J. Nat. Med. 72, 1-11 (2018). สถานที่ตดิ ตอ่ ภาควชิ าเภสชั วิทยาและสรรี วิทยา คณะเภสชั ศาสตร์ โทรศพั ท์ ๐-๒๒๑๘-๘๓๒๕ โทรสาร ๐-๒๒๑๘-๘๓๔๐ E-mail: [email protected] ยกย่องเชดิ ชูเกียรตบิ ุคลากรแห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 501

รางวลั นกั วจิ ยั รุ่นเยาว์ สาขาวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ้ชู ่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนิษฐ์ ปราณนี รารตั น์ ภาควชิ าเคมี คณะวิทยาศาสตร์ 502 ยกยอ่ งเชิดชูเกียรตบิ ุคลากรแหง่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ประวตั ิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนิษฐ์ ปราณีนรารัตน์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากภาควชิ าเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย เมอ่ื ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และไดร้ ับ พระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดลแผนกวิทยาศาสตร์ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก (Ph. D.) ในสาขาเคมีจนจบการศกึ ษาจาก University of Wisconsin-Madison ประเทศ สหรัฐอเมริกา เม่ือปี พ.ศ. ๒๕๕๔ จากนนั้ จงึ ไดก้ ลบั มาบรรจเุ ปน็ อาจารยร์ ะดบั A-5 สงั กดั ภาควชิ าเคมี คณะวทิ ยาศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และไดด้ �ำรงตำ� แหน่งผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ A-4 ตง้ั แตป่ ี พ.ศ. ๒๕๕๘ ผลงานวจิ ัยโดยสรุป ผลงานวจิ ยั ตง้ั แตบ่ รรจเุ ปน็ อาจารยป์ ระจำ� คณะวทิ ยาศาสตรไ์ ดเ้ กย่ี วขอ้ งกบั การพฒั นา วิธีการดัดแปรพ้ืนผิวของเซลลูโลส ซึ่งเป็นโครงสร้างพ้ืนฐานของวัสดุที่พบได้ในชีวิตประจ�ำ วนั เช่น กระดาษ หรอื ผา้ เพ่อื ประยุกตต์ อบโจทยว์ จิ ยั ที่ส�ำคญั ทางชีววทิ ยา โดยการดดั แปร ยกยอ่ งเชิดชูเกียรติบคุ ลากรแห่งจุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 503

จะอาศัยปฏิกิริยาทางเคมีท่ีจ�ำเพาะ เพ่ือให้ได้วัสดุดัดแปรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับ การประยกุ ต์ในรูปแบบต่าง ๆ ตัวอยา่ งโครงการวจิ ยั ทสี่ ำ� คญั ได้แก่ การตรึงสารเลียนแบบ สารพันธุกรรมบนกระดาษ เพื่อประยุกต์เป็นตัวตรวจวัดสารพันธุกรรมท่ีมีราคาถูกและ พกพาได้ การตรึงสารส�ำคัญที่มีฤทธ์ิทางชีวภาพบนผ้าฝ้าย เพ่ือผลิตผ้าที่มีฤทธ์ิยับยั้งเชื้อ แบคทีเรียประเภทที่ไม่มีการรั่วไหลของสารออกฤทธิ์ลงสู่สิ่งแวดล้อม และการตรึง สารประกอบท่ีให้การเปล่ียนแปลงเชิงแสงเมื่อจับกับโลหะหนักบนกระดาษ เพื่อประดิษฐ์ ตัวตรวจวดั โลหะหนักชนิดใหม่จากกระดาษ งานวจิ ัยในอนาคต งานวจิ ยั ในอนาคตจะเกย่ี วขอ้ งกบั การเชอ่ื มโยงองคค์ วามรพู้ นื้ ฐานทางเคมสี กู่ ารประยกุ ต์ ใช้ท่ีหลากหลายและมีผลกระทบท่ีสูงขึ้น เช่น การประยุกต์องค์ความรู้ทางเคมีสู่การตอบ โจทย์วิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร หรือการวิจัยที่เก่ียวข้องกับสารเคมีมูลค่าสูงใน ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เป็นต้น ซง่ึ องค์ความรแู้ ละเครอ่ื งมือทางเคมสี ามารถนำ� ไปใช้ในด้านดงั กล่าวได้เปน็ อยา่ งดี และน�ำไปสู่ผลงานตพี มิ พ์ที่หลากหลาย เชน่ ๑. การพัฒนาวิธีการจ�ำแนกแหล่งที่มาของขมิ้นด้วยปฏิกิริยาเคมีอย่างง่าย ซ่ึงเป็น ตัวอย่างส�ำคัญของการสร้างส่ิงบ่งช้ีทางภูมิศาสตร์ (geographical indication) ซ่ึงมี ศักยภาพในการต่อยอดทางการค้าและเศรษฐกิจที่สูงมาก เนื่องด้วยความหลากหลายและ เป็นทต่ี ้องการของผลิตผลทางการเกษตรและอาหารของไทย ๒. การพัฒนาวิธีทางเคมีเพ่ือวิเคราะห์สารปนเปื้อนในอาหาร โดยมุ่งเน้นวิธีการ ทสี่ ะดวก รวดเร็วและตน้ ทนุ ต่�ำ เชน่ ผลงานการวเิ คราะหต์ วั อย่างยาปฏชิ วี นะในสารคัดหล่งั จากหมดู ้วยเทคนิคฐานกระดาษ โดยผลงานในอดีต ก็สามารถน�ำมาต่อยอดเพื่อปรับทิศทางไปในแนวทางวิจัยน้ีได้ เช่นกัน เช่น การตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรคในอาหาร หรือการพัฒนาวัสดุยับยั้ง เช้ือจลุ นิ ทรยี ใ์ นอาหาร เปน็ ตน้ ซึ่งกล่มุ วจิ ยั ก็จะด�ำเนินการอยา่ งต่อเน่อื ง เพื่อใหเ้ กดิ ทศิ ทาง ใหม่ในการวจิ ยั ทางเคมที ่สี ่งผลกระทบเชงิ บวกแก่ศาสตรอ์ ่ืน ๆ ไดอ้ ย่างมีประสทิ ธิภาพ 504 ยกย่องเชิดชูเกยี รตบิ คุ ลากรแหง่ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

งานวิจยั เด่น (เปน็ ที่ประจักษ)์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนิษฐ์ ปราณีนรารัตน์ ได้มีผลงานตีพิมพ์ตั้งแต่เป็นอาจารย์ ประจ�ำของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาแล้วกว่า ๑๑ เรื่อง โดยเป็นผู้วิจัยหลักท้ังหมด ๑๐ เรื่อง โดยในจำ� นวนเกอื บทง้ั หมดนี้ ตพี มิ พใ์ นวารสารในลำ� ดับ Quartile 1 (Q1) โดยมี ๓ ผลงานที่อยู่ในวารสารระดับ Tier 1 สถานท่ีตดิ ตอ่ ภาควิชาเคมี คณะวทิ ยาศาสตร์ โทรศัพท์ ๐๘-๔๙๒๑-๙๑๙๖, ๐-๒๒๑๘-๗๖๓๘ โทรสาร - E-mail: [email protected] ยกย่องเชิดชเู กียรติบคุ ลากรแห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 505

รางวัลศนู ยเ์ ชยี่ วชาญเฉพาะทาง (CE) ทม่ี ีผลงานดีเดน่ สาขา วิทยาศาสตร์สุขภาพ ช่ือศนู ย์ ศนู ย์เช่ยี วชาญเฉพาะทางดา้ นเวชพนั ธุศาสตร์ (Center of Excellence for Medical Genomics) หวั หน้าศูนย์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์วรศักด์ิ โชตเิ ลอศกั ดิ์ สังกัด ภาควชิ ากมุ ารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ 506 ยกย่องเชิดชเู กียรติบคุ ลากรแห่งจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ความเป็นมาของศูนย์ฯ กลุ่มโรคท่ีเป็นสาเหตุส�ำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะเด็ก ในประเทศไทยมีสัดส่วนของโรคพันธุกรรมสูงขึ้น พันธุศาสตร์-พันธุกรรม เป็นท้ังศาสตร์ (แขนงวิชาซึง่ สง่ ผลต่อความร้ใู นการวนิ ิจฉัยและการดูแลรักษาโรคในมนษุ ย์) และเทคโนโลยี อาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยท่ีมีความรู้และเชี่ยวชาญทางพันธุศาสตร์ได้เล็งเห็น ความส�ำคัญ และเชื่อม่ันว่าความรู้ทางศาสตร์น้ีนอกจากจะสามารถน�ำมาใช้ในการเรียน การสอนและการให้บริการทางการแพทย์ในทุกกลุ่มอายุต้ังแต่อยู่ในครรภ์จนสูงวัย ในหลายกลมุ่ โรคแล้ว ยังสามารถน�ำมาใช้ในการวจิ ยั เพือ่ ให้ได้องคค์ วามรใู้ หม่ เพ่อื แข่งขนั กับนานาประเทศและเพือ่ ประโยชน์ของประชาชนชาวไทย วิสัยทศั น์ของศูนย์ฯ เป็นศูนย์ฯ ทางเวชพันธุศาสตร์ช้ันน�ำในระดับภูมิภาค ท้ังด้านการวิจัย การบริการ ทางการแพทย์ และการฝึกอบรม ยกย่องเชดิ ชูเกยี รติบุคลากรแหง่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 507

เปา้ หมายของศนู ย์ฯ ๑. ผลงานตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติชั้นน�ำอย่างน้อย ๕ เร่ือง ต่อปี ๒. การผลิตบคุ ลากร : ผลิตดุษฎบี ัณฑิตและมหาบัณฑิตท่มี ีคุณภาพ ๓. การบริการทางการแพทย์ : ให้การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคพันธุกรรมตลอดจน ทารกในครรภ์ด้วยวิธที างอณพู นั ธุศาสตร์ รวมทง้ั ใหค้ ำ� ปรกึ ษาแนะน�ำทางพนั ธศุ าสตร์ ๔. การบรกิ ารทางวิชาการ: ใหค้ วามรทู้ างเวชพนั ธุศาสตรก์ บั แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ผู้ปว่ ยและประชาชนทัว่ ไปอยา่ งต่อเน่อื ง บคุ ลากรในหน่วยฯ (เฉพาะอาจารย์และนกั วจิ ยั ) ศาสตราจารย์ ดร. แพทยห์ ญิงกัญญา ศุภปีติพร, อาจารย์ นายแพทย์ประสิทธ์ิ เผ่าทองค�ำ, รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.ฑัณฑริรา พรทวีทัศน์, อาจารย์ แพทย์หญิงปองหทัย ด�ำรงผล, อาจารย์ นายแพทย์ วทุ ธิชาติ กมลวิศษิ ฎ์, ดร.ชพู งศ์ อทิ ธิวฒุ ิ, ดร.รงุ่ นภา อิทธวิ ฒุ ิ, อาจารย์ ดร.จรุ ีรัตน์ โพธ์แิ ก้ว, อาจารย์ ดร.ภัทรา ย่ีทอง, อาจารย์ ดร.มนนัทธ์ พงษ์พานิชย,์ รองศาสตราจารย์ แพทยห์ ญิง ธนินี สหกิจรุ่งเรือง, ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิชิต สุพรศิลป์ชัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รชั นีกร ธรรมโชต,ิ ดร.ศริ ประภา ทองกอบเพชร, นายเฉลิมพล ศรจี อมทอง, นส.อัจจมิ า อัศวพิทักษ์สกุล, นส.อาญญฬิฎา บัวสงค์, นส.วรรณนา เชฎฐ์เรืองชัย ผลงานวจิ ัยโดยสรปุ (ย้อนหลัง ๕ ป)ี ศูนย์ฯ ได้ค�ำถามการวิจัยจากการให้ บริการทางการแพทย์ จากนน้ั ใชเ้ ทคโนโลยี Next Generation Sequencing (NGS) เพ่ือท�ำการหาการกลายพันธุ์ในผู้ป่วย คณะผู้วิจัยพบว่าผู้ป่วยไทยหลายโรคมี ลกั ษณะการกลายพนั ธท์ุ เ่ี ปน็ ลกั ษณะเฉพาะ ไม่เหมือนผู้ป่วยชนชาติอื่น ซ่ึงส่งผลต่อ 508 ยกยอ่ งเชิดชูเกยี รติบคุ ลากรแห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ความแตกต่างของลักษณะทางคลินิก และการเลือกวิธีการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ นอกจากน้ี ยังพบยนี ก่อโรคใหม่ ซึ่งตอ้ งใช้วธิ กี ารตรวจยนื ยันถงึ ความผดิ ปกตขิ องหนา้ ที่ของ โปรตนี ทยี่ นี เหลา่ นส้ี รา้ งขนึ้ (pathogenicity) และการทดลองเพอื่ ยนื ยนั ถงึ ความเปน็ สาเหตุ ของโรคท่ีศึกษาอยู่ (etiologic role) ยีนที่คณะผู้วิจัยศึกษา เช่น MBTPS2 ก่อโรค osteogenesis imperfecta (Nature Communications. IF 12.353), NUDT15 สมั พันธ์ กับความเสี่ยงของการใชย้ า 6-mercaptopurine (Haematologica. IF 9.09), KREMEN1 กอ่ โรค ectodermal dysplasia (British Journal of Dermatology. IF 6.129) และ KIF6 กอ่ โรคพฒั นาการช้า (PLoS Genetics. IF 5.54) ผลงานตีพิมพ์ และผลกระทบ (ย้อนหลัง) ๓ ปี จ�ำนวนเรอ่ื ง จ�ำนวนบทความ รวม ปี ๒๕๕๙ ปี ๒๕๖๐ ปี ๒๕๖๑ ๑๔ Tier 1 ๔ ๒ ๘ ๓๙ มี impact factor ๑๑ ๑๓ ๑๕ ๑๔๘ Citation ๘ ๕๑ ๘๙ ผลงานตีพมิ พ์ ยกย่องเชดิ ชูเกยี รตบิ ุคลากรแหง่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 509

การอ้างอิง การผลิตบณั ฑติ นิสติ ปกี ารศึกษา รวม ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑ ปรญิ ญาโท ๒ ๒ ๒ ๓ ๑๐ ปริญญาเอก ๘ ๗ ๗ ๓ หลังปรญิ ญาเอก ๓ ๓ ๒ ผลกระทบ (impact) ทม่ี ีตอ่ สังคม/การใช้ประโยชน์ ผลงานวจิ ยั ทไี่ ด้ ไดร้ บั การนำ� ไปใชป้ ระโยชนต์ อ่ สงั คม ทง้ั ในระดบั โลกและระดบั ประเทศ เช่น ๑. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ตั้งให้มีศูนย์ความเป็นเลิศด้านเวชพันธุศาสตร์แห่ง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มคี ลนิ กิ เวชพนั ธศุ าสตร์ ใหก้ ารวนิ จิ ฉัยและดูแลรกั ษาผปู้ ่วย ตลอด จนใหค้ �ำปรึกษาแนะน�ำทางพันธุศาสตร์ รวมทัง้ มีการเปิดรหสั เพ่อื ตรวจยนี ต่าง ๆ 510 ยกย่องเชดิ ชเู กียรติบุคลากรแหง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

๒. ผปู้ ว่ ยไดร้ บั การวนิ จิ ฉยั ทแี่ นช่ ดั (definite diagnosis) น�ำมาซงึ่ แนวทางการรกั ษา ทีจ่ �ำเพาะกบั ผู้ปว่ ย สมาชิกคนอนื่ ในครอบครวั ได้ค�ำปรึกษาแนะน�ำทางพนั ธศุ าสตรท์ ่แี ม่นย�ำ ลดโอกาสเสยี่ งของการเกดิ ซำ�้ ในครอบครวั และสามารถใหก้ ารวนิ จิ ฉยั กอ่ นคลอดดว้ ยวธิ ที าง อณูพนั ธศุ าสตร์ได้ ความร่วมมอื กบั หนว่ ยงานภายนอก หน่วยงานในประเทศ • ร่วมมือกับอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อรวบรวมผู้ป่วยพันธุกรรม และ/หรือท�ำการทดลองทางห้องปฏิบัติการร่วมกัน อาทิหน่วยโรคระบบประสาท ผู้ป่วย โรคลมชกั , หนว่ ยศลั ยกรรมตกแตง่ และเสริมสรา้ ง ผปู้ ่วยโรคปากแหว่ง เพดานโหว,่ หน่วย เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา ครอบครัวที่ท�ำการ ตรวจวนิ ิจฉัยก่อนคลอด, หน่วยโรคผิวหนงั ผ้ปู ่วยโรคผวิ หนงั . • สร้างเครือข่ายโรคหายากขึ้น (rare disease network) ซึ่งมีแพทย์และ นักวทิ ยาศาสตรจ์ าก ๑๒ สถาบนั ท่วั ประเทศ หนว่ ยงานต่างประเทศ ๑. William A Gahl, MD, PhD, National Institutes of Health, USA ๒. Philip Beales, MD, University College London, UK ๓. Joan C Marini, MD, PhD, National Institutes of Health, USA สถานทีต่ ิดตอ่ ภาควชิ ากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โทรศัพท์ ๐-๒๒๕๖-๔๐๐๐ ตอ่ ๓๓๕ โทรสาร ๐-๒๒๕๖-๔๙๑๑ E-mail: [email protected] ยกย่องเชิดชเู กียรตบิ ุคลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 511

8 รางวลั ศนู ยเ์ ช่ียวชาญเฉพาะทาง (CE) ท่ีมผี ลงานดีเดน่ สาขา วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ ชื่อศูนย์ ศูนย์เช่ียวชาญเฉพาะทางด้านภมู ิคมุ้ กันวทิ ยาและโรคทเ่ี กี่ยวข้องกับระบบภมู คิ มุ้ กนั Center of Excellence in Immunology and Immune-mediated diseases หวั หนา้ ศูนย์ ศาสตราจารย์ ดร. แพทยห์ ญงิ ณฏั ฐิยา หิรัญกาญจน์ สังกดั ภาควชิ าจุลชวี วิทยา คณะแพทยศาสตร์ 512 ยกย่องเชิดชูเกยี รตบิ คุ ลากรแหง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ความเป็นมาของศูนย์ฯ ศนู ยเ์ ชย่ี วชาญเฉพาะทางดา้ นภมู คิ มุ้ กนั วทิ ยาและโรคทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั ระบบภมู คิ มุ้ กนั พฒั นามา จากหนว่ ยปฏบิ ตั กิ ารวจิ ยั ลปู สั ซงึ่ ดำ� เนนิ การผลติ ผลงานวจิ ยั มาตอ่ เนอื่ งกนั ตง้ั แตป่ ี พ.ศ. ๒๕๔๘ โดย ทีมผเู้ ชยี่ วชาญจากหลายสาขาอาทิ ผู้เชีย่ วชาญระบบภูมิคุม้ กัน, ผู้เชี่ยวชาญโรคไต, ผเู้ ชี่ยวชาญโรค ผวิ หนงั , นกั พนั ธกุ รรมศาสตร,์ นกั อณชู วี โมเลกลุ , และเภสชั พนั ธศุ าสตร์ ซง่ึ มคี วามสนใจในโรคลปู สั ต่อมาศูนย์ฯยังขยายงานวิจัยไปยังโรคอ่ืน ๆ ที่มีพยาธิก�ำเนิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่ยังเป็นปัญหา สขุ ภาพของประเทศ วสิ ัยทัศน์ของศูนยฯ์ มงุ่ สคู่ วามเปน็ เลศิ ทางวจิ ยั เกยี่ วกบั โรคทม่ี พี ยาธกิ ำ� เนดิ จากระบบภมู คิ มุ้ กนั ทเี่ ปน็ ปญั หาสขุ ภาพ ของประเทศ และนำ� ความรไู้ ปประยกุ ตใ์ ชเ้ พอ่ื เพมิ่ ประสทิ ธภิ าพตอ่ การใหบ้ รกิ ารตอ่ ผปู้ ว่ ยและสงั คม เปา้ หมายของศนู ยฯ์ ๑. ผลิตผลงานตีพิมพ์ในวารสารทางวชิ าการระดับนานาชาติ อยา่ งนอ้ ย ๑๐ เรอ่ื ง/ปี ๒. น�ำเสนอผลงานวชิ าการ อยา่ งน้อย ๘ เรอ่ื ง/ปี ๓. ผลติ นิสติ ระดับมหาบณั ฑิตและดษุ ฎีบณั ฑิตอยา่ งน้อย ๔ คนตอ่ ปี ๔. จัดอบรมและเผยแพร่ความรแู้ ก่ผูส้ นใจและประชาชนอยา่ งนอ้ ย ๑ คร้ังต่อปี ๕. ให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการแก่โรคที่เก่ียวข้องกับภูมิคุ้มกันวิทยาท่ีทันสมัยต่อ ประชาชน บคุ ลากรในศนู ย์ฯ (เฉพาะอาจารยแ์ ละนักวิจยั ) ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ดร.ณัฏฐิยา หิรัญกาญจน์ (หัวหน้าศูนย์), ศาสตราจารย์ นายแพทยย์ ่ิงยศ อวิหิงสานนท์, รองศาสตราจารย์ ดร.ธนาภัทร ปาลกะ, รองศาสตราจารย์ แพทย์ หญงิ ดร.จงกลนี วงศ์ปิยะบวร, ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.อษั ฎาศ์ ลีฬหวนชิ กลุ , ผชู้ ว่ ย ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ดร.ปาจรีย์ จริยวิลาศกุล, อาจารย์ นายแพทย์ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล, อาจารย์ นายแพทย์ ดร.ดเิ รกฤทธิ์ เช่ยี วเชงิ กล, อาจารย์ แพทยห์ ญิง ดร.รงั สมิ า เหรยี ญตระกลู , ดร.ภูริชญา สมภาร, ดร.พิมพเยาว์ สดใส ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 513

ผลงานวจิ ัยโดยสรปุ (ยอ้ นหลัง ๕ ป)ี ผลงานวจิ ัยทสี่ �ำคญั ของศนู ยฯ์ ได้แก่ ๑. การคน้ พบยนี กอ่ โรคและยนี ทกี่ ำ� หนดความรนุ แรงของโรคไตอกั เสบลปู สั โดยศนู ยฯ์ เปน็ สว่ นหนงึ่ ของ Asian Lupus Genetics Consortium (ALGC) และผลติ ผลงานตพี มิ พด์ า้ น Lupus Genetics อยา่ งตอ่ เนอ่ื ง ลา่ สดุ กำ� ลงั ทำ� การวจิ ยั แบบ Genome Wide Association Study (GWAS) และ Whole Exome Analysis ๒. ศึกษากลไกการเกิดโรคภูมิต้านเน้ือเยื่อตนเองที่เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการ การควบคุมอิพิเจเนติกส์ และความผิดปกติของไมโครไบโอมของโรคลูปัส โรคสะเก็ดเงินและ โรคภูมแิ พท้ างผวิ หนงั เพือ่ หาเป้าหมายใหม่ ๆ ในการรักษาและปอ้ งกันโรค ๓. คน้ พบไซโตไคน/์ คโี มไคนซ์ ง่ึ สามารถตรวจในเลอื ดและปสั สาวะเพอ่ื ใชใ้ นการตดิ ตามการ รักษาและพยากรณ์โรคไตอักเสบลูปัส โดยได้ท�ำการวิจัยทางคลินิกแบบสหสถาบันศึกษา และ ขณะนี้กำ� ลงั เร่ิมพัฒนาเป็นการตรวจดว้ ยวธิ ี LAMP รว่ มกับนกั วิจัยจากสวทช. เพอ่ื เป็นการตรวจ อย่างรวดเร็วข้างเตียงไดศ้ นู ย์ฯ ๔. เป็นส่วนหน่ึงของ Asian Lupus Nephritis Network ท�ำงานวิจัยทางคลินิก รว่ มกนั และสร้าง Guideline การดูแลรักษาผปู้ ว่ ยไตอักเสบลูปัส ๕. ใช้สัตว์ทดลองโดยเฉพาะอย่างย่ิงหนู FcGRIIb knockout เป็นโมเดลของโรคภูมิต้าน เนือ้ เย่อื ตนเองในการศึกษาความเสี่ยงต่อการติดเช้อื ต่าง ๆ เพ่ือช่วยเพม่ิ ประสิทธภิ าพในการดูแล ผ้ปู ่วย ๖. นอกจากนศ้ี ูนยฯ์ ยงั ศึกษากลไกทางภมู คิ ุ้มกนั ท้งั ในด้านการหายีนก่อโรค ความผดิ ปกติ ของโมเลกุลและเซลล์ทางด้านภูมิคุ้มกันท่ีอาจน�ำมาเป็นตัวบ่งช้ีการเกิดโรคหรือน�ำมาใช้ในการ พยากรณ์โรคได้ในโรคส�ำคัญอื่น ๆ และในช่วง ๒ ปีท่ีผ่านมาได้เข้าไปร่วมพัฒนาโครงการรักษา ผู้ป่วยมะเร็งดว้ ยวธิ ภี ูมคิ มุ้ กันบ�ำบัด ผลงานตพี มิ พ์ และผลกระทบ (ย้อนหลัง) ๕ ปี จ�ำนวนเร่ือง จำ� นวนบทความ รวม ปี ๒๕๕๗ ปี ๒๕๕๘ ปี ๒๕๕๙ ปี ๒๕๖๐ ปี ๒๕๖๑ มี impact factor ๑๖ ๒๒ ๒๑ ๑๔ ๑๙ ๙๒ - ไมม่ ี impact factor - - - - - 514 ยกยอ่ งเชดิ ชูเกยี รติบคุ ลากรแหง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ผลงานตีพิมพ์ การอ้างองิ การผลิตบัณฑิต นิสติ ปีการศึกษา รวม ๒๕๕๗ ๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑ ๑๘ ปรญิ ญาโท ๒ ๕ ๑ ๗ ๓ ๑๓ ปรญิ ญาเอก ๑ ๓ ๓ ๓ ๓ ๙ หลงั ปรญิ ญาเอก ๑ ๑ ๒ ๒ ๓ ยกยอ่ งเชิดชเู กียรติบุคลากรแหง่ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 515

ผลกระทบ (impact) ทมี่ ตี อ่ สงั คม/การใช้ประโยชน์ ๑) ได้น�ำการตรวจวัดระดบั Mycophenolic Acid (MPA level) มาใช้กับผู้ป่วยลูปัสท่ีได้รบั ยา Mycophenolate Mofetil (MMF) เพ่อื ปรับระดบั ยาที่ใช้รกั ษาใหเ้ หมาะสมกับผู้ปว่ ยแตล่ ะคน รวมท้งั ไดป้ ระชาสัมพันธใ์ ห้แพทย์โรตไตทีร่ กั ษาผู้ป่วยด้วยยา MMF นี้ ส่งตรวจวิธีนด้ี ว้ ย ๒) การแสดงออกของยีน Thiopurine S-methyltransferase ท่ีมรี ูปแบบ *3C ถกู พัฒนา มาใชใ้ นงานบรกิ ารเพื่อตรวจประเมินผูป้ ่วยก่อนทีจ่ ะไดร้ บั การรักษาด้วยยา azathioprine ๓) ได้น�ำการตรวจวดั ระดบั mRNA ของ Cytokine ในปัสสาวะด้วยวิธี Real-Time PCR มา ประยกุ ตใ์ ชค้ วบคกู่ บั การตรวจทางหอ้ งปฏบิ ตั กิ ารชวี เคมแี ละใชใ้ นการวจิ ยั โครงการ Control Lupus ซง่ึ เป็น Multi-Center Clinical trial และบรกิ ารในโรงพยาบาลจฬุ าลงกรณ์ และกำ� ลงั พัฒนาชดุ ตรวจ LAMP เพ่ิมเติม ๔) จัดประชุมและอบรมด้านภูมิคุ้มกันเพื่อนิสิต นักศึกษา แพทย์ประจ�ำบ้าน แพทย์ และ ประชาชนทสี่ นใจอยา่ งตอ่ เนอื่ งเพอ่ื เผยแพรค่ วามรู้ และความเขา้ ใจทถ่ี กู ตอ้ ง รวมทงั้ เปน็ การสง่ เสรมิ งานวิจยั ท่นี �ำความรู้ด้านภูมิคมุ้ กนั ไปประยุกต์ใช้ ๕) ร่วมพัฒนาโครงการศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบ�ำบัดมะเร็งเพื่อให้เกิดการรักษาผู้ ปว่ ยมะเร็งด้วยเทคโนโลยีใหมน่ ้ีโดยเรว็ ทส่ี ดุ ความร่วมมอื กับหน่วยงานภายนอก หนว่ ยงานในประเทศ ศูนย์บริการโลหิตฯ, สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะฯ, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ , แผนกโรคไต โรงพยาบาลพระมงกฎุ , หอ้ งปฏบิ ตั กิ ารชวี สถติ แิ ละสารสนเทศ ของสถาบนั จโี นม ศนู ยพ์ นั ธวุ ศิ วกรรมและเทคโนโลยชี วี ภาพแหง่ ชาติ (ไบโอเทค) ส�ำนกั งานพฒั นา วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยแี ห่งชาติ (สวทช.), สถาบันจุฬาภรณ์ หน่วยงานตา่ งประเทศ • Prof. Wanling Yang and Prof. Yu Lung Lau, Faculty of Medicine, University of Hong Kong • Prof. Tak Mao Chan, Nephrologist, University of Hong Kong (Lupus Nephritis) • Prof. Steven Edwards, Head of School, University of Liverpool, United Kingdom (SLE and neutrophil) 516 ยกยอ่ งเชิดชเู กยี รติบุคลากรแห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

• Prof. Barbara Osborne, University of Massachusetts Amherst, USA (Notch signaling) • A/Prof. Yu-Wei Leu, National Chung Cheng University (Epigenetics in Macrophages and Cancer) • Prof. Martin van Hagen, Erasmus Medical Center (Clinical Immunology and Primary Immunodeficiency) • Prof. Ulrich Siebenlist (Immunologist, NIH), Prof. Soren Paludan (Immunologist, Aarhus University), Prof. Mark Knepper (Symtems Biologist, NIH), and Prof. Robert Fenton (Molecular Biologist, Aarhus University) • Prof. Yoshiyuki Takahashi (Nagoya University, Japan) สถานทตี่ ิดตอ่ ภาควชิ าจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ โทรศัพท์ ๐-๒๒๕๖-๔๐๐๐ ต่อ ๔๑๓๒ โทรสาร ๐-๒๒๕๒-๕๙๕๒ E-mail: [email protected] ยกยอ่ งเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 517

รางวลั หนว่ ยปฏบิ ัติการวิจัย (RU) ทีม่ ผี ลงานดเี ด่น สาขา วทิ ยาศาสตร์สขุ ภาพ ชือ่ หนว่ ย หนว่ ยปฏบิ ัตกิ ารวจิ ัยศึกษากลไกการออกฤทธ์ขิ องสารทีจ่ ะพฒั นาเป็นยา และผลิตภัณฑส์ ุขภาพในระดับเซลล์ Cell-based Drug and Health Product Development Research Unit (CDD) หัวหน้าหนว่ ย รองศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.ปิติ จันทรว์ รโชติ สงั กัด ภาควชิ าเภสัชวิทยาและสรรี วิทยา คณะเภสชั ศาสตร์ 518 ยกย่องเชิดชเู กียรติบุคลากรแหง่ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ความเป็นมาของหน่วยฯ หน่วยปฏิบัติการวิจัยศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของสารท่ีจะพัฒนาเป็นยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในระดบั เซลล์ เกดิ จากคณาจารยแ์ ละนกั วจิ ยั รว่ มมอื กนั ผลติ ผลงานตพี มิ พใ์ นวารสารระดบั นานาชาตทิ อ่ี ยู่ ในฐานข้อมูล ISI และ SCOPUS นอกจากน้ีหน่วยปฏิบัติการวิจัยมีความต้องการที่จะผลิตนิสิตระดับ ปริญญาโทและปริญญาเอกเป็นก�ำลังส�ำคัญ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยมีการฝึกฝนบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มี ความรู้ความสามารถ และมีพ้ืนฐานทางการวิจัยที่เข้มแข็ง โดยมุ่งเน้นให้สามารถผลิตผลงานวิจัยที่เป็น ทย่ี อมรบั ในระดับนานาชาติ ท้ังน้ีหน่วยปฏิบัติการวิจัยมีการเพมิ่ ความรว่ มมือกับหนว่ ยงานวจิ ัยอ่ืนท้ังใน ประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมถึงภาค เอกชน เพอ่ื ใหห้ นว่ ยงานมผี ลงานวิจัยท่สี ามารถตอบโจทยก์ ารวจิ ยั จากภาคเอกชน ซึ่งเป็นการเสรมิ สรา้ ง การยอมรบั และสง่ เสริมการพฒั นาอตุ สาหกรรมในประเทศต่อไป วิสยั ทัศน์ของหนว่ ยฯ ๑. ส่งเสริมงานวิจัยทางเภสัชวิทยาและกลไกระดับโมเลกุลของเซลล์ให้เป็นที่ยอมรับและอ้างอิง ในระดบั ชาติและนานาชาติ ๒. สรา้ งองค์ความรใู้ หม่และบรู ณาการองคค์ วามรเู้ พื่อพฒั นายาและผลิตภัณฑส์ ขุ ภาพ ๓. สรา้ งบัณฑติ และนกั วิจัยทมี่ คี วามร้คู วามสามารถสูงและเช่ียวชาญงานวิจัย เป้าหมายของหนว่ ยฯ ๑. มผี ลงานตพี มิ พร์ ะดับนานาชาติอยา่ งน้อยปลี ะ ๔ เรือ่ ง ๒. มกี ารน�ำเสนอผลงานวิจัยระดบั ชาตแิ ละนานาชาตริ วมอย่างน้อยปีละ ๓ เรือ่ ง ๓. ผลิตบณั ฑติ ระดบั บัณฑติ ศึกษาอย่างน้อยปลี ะ ๔ คน ๔. มงี านวจิ ยั ทน่ี ำ� ไปสกู่ ารมสี ว่ นรว่ มในการพฒั นากบั ภาคอตุ สาหกรรมอยา่ งนอ้ ย ๒ เรอ่ื ง ใน ๕ ปี บุคลากรในหนว่ ยฯ รองศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.ปิติ จนั ทรว์ รโชติ หวั หน้าหนว่ ยฯ : รองศาสตราจารย์ เภสชั กร ดร.ธงชยั สขุ เศวต ผู้รว่ มในหนว่ ยฯ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.กลุ วรา เมฆสวรรค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสชั กรหญงิ ดร.อังคณา ตนั ติธวุ านนท์ รองศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.บุญชู ศรตี ลุ ารักษ์ รองศาสตราจารย์ เภสชั กรหญงิ ดร. วรษิ า พงศเ์ รขนานนท์ ยกย่องเชิดชูเกียรตบิ ุคลากรแห่งจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 519

ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร. ฉตั รชยั เชาว์ธรรม นกั วิจัยหลงั ปริญญาเอก ดร.อรจริ า ประคองชีพ ดร.นงเยาว์ โนนปัญญา นกั วิจยั ในความร่วมมอื กบั หน่วยงานภายนอก : นางสาวฐิติพร ทองเย็น ผลงานวจิ ยั โดยสรุป (ย้อนหลัง ๕ ปี) หน่วยปฏิบัติการวิจัยศึกษากลไกการออกฤทธ์ิของสารท่ีจะพัฒนาเป็นยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในระดบั เซลล์ เกดิ จากคณาจารยแ์ ละนกั วจิ ยั รว่ มมอื กนั ผลติ ผลงานตพี มิ พใ์ นวารสารระดบั นานาชาตทิ อ่ี ยู่ ในฐานข้อมลู ISI และ SCOPUS มากถงึ ๑๗๑ ฉบบั แตล่ ะฉบับล้วนแล้วเป็นวารสารท่ีมี impact factor ซึ่งแสดงใหเ้ ห็นถึงศกั ยภาพของนกั วิจัยในหน่วยปฏบิ ตั ิการวิจัยได้เป็นอยา่ งดี นอกจากนหี้ น่วยปฏิบตั ิการ วจิ ยั มนี สิ ติ ระดบั ปรญิ ญาโทและปรญิ ญาเอกเปน็ กำ� ลงั สำ� คญั โดยหนว่ ยปฏบิ ตั กิ ารวจิ ยั มกี ารฝกึ ฝนบณั ฑติ ใหเ้ ป็นผทู้ ่มี คี วามรู้ ความสามารถ และมีพน้ื ฐานทางการวิจยั ที่เข้มแขง็ โดยมุง่ เนน้ ให้สามารถผลติ ผลงาน วจิ ยั ทเี่ ปน็ ทยี่ อมรบั ในระดบั นานาชาติ ทง้ั นห้ี นว่ ยปฏบิ ตั กิ ารวจิ ยั มกี ารเพม่ิ ความรว่ มมอื กบั หนว่ ยงานวจิ ยั อื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเน่ือง แสดงให้เห็นว่าหน่วยปฏิบัติการวิจัยเป็นท่ียอมรับจาก หน่วยงานต่างทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส�ำหรับการติดต่อกับภาคเอกชน หน่วยงานมีผลงานวิจัย ที่สามารถตอบโจทย์การวิจัยจากภาคเอกชน ซ่ึงเป็นการเสริมสร้างการยอมรับและส่งเสริมการพัฒนา อุตสาหกรรมในประเทศต่อไป ในส่วนของการท�ำงานวิจัยในโครงการวิจัยน้ีต้องอาศัยการบูรณาการ ศาสตร์ท่ีเกี่ยวข้องกับการค้นคว้าและพัฒนายา ๓ ด้านเข้าด้วยกันโดยมีนักวิจัยท่ีมีประสบการณ์และ ความเชย่ี วชาญอยา่ งสงู ในแตล่ ะดา้ น โดยประกอบดว้ ยศาสตรด์ า้ นการคน้ ควา้ หาเปา้ หมายใหมใ่ นการออก ฤทธ์ิของยาโดยเน้นท่ีกลไกการควบคุมความเป็นเซลล์มะเร็งต้นก�ำเนิดและกลไกการควบคุมความรุนแรง และแพรก่ ระจายของเซลลม์ ะเรง็ ศาสตรด์ า้ นการทดสอบฤทธข์ิ องสารทม่ี แี นวโนม้ ในการพฒั นาไปเปน็ ยา โดยเน้นเป้าหมายการออกฤทธิ์ท่ีกลไกท่ีมีอยู่เดิมและกลไกท่ีค้นพบใหม่ และศาสตร์ด้านการสกัดแยก และพิสูจน์โครงสร้างสารบริสุทธ์ิจากสมุนไพรเพื่อน�ำมาทดสอบและพัฒนาดัดแปลงโครงสร้างทางเคมี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการออกฤทธิ์ เม่ืออาศัยการบูรณาการในลักษณะดังกล่าวจะท�ำให้เกิดความ สามารถในการผลิตผลงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ท่ีมีคุณภาพสูง ได้อย่างต่อเน่ืองและเป็นการพัฒนา องค์ความรู้ในหลายด้านควบคกู่ ับไป อนั จะเป็นการทำ� งานวจิ ยั รว่ มกันอยา่ งต่อเนื่องและเอื้อประโยชนใ์ น การผลิตบัณฑติ และนกั วจิ ยั ทมี่ ีความรู้ ความสามารถในลกั ษณะรรู้ อบและรู้ลึกรอบด้านที่เนน้ การคน้ คว้า และพฒั นายา 520 ยกย่องเชิดชูเกยี รติบุคลากรแห่งจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ผลงานตีพิมพ์ และผลกระทบ (ยอ้ นหลัง) ๕ ปี จำ� นวนเร่อื ง จำ� นวนบทความ รวม ปี ๒๕๕๗ ป๒ี ๕๕๘ ปี ๒๕๕๙ ป๒ี ๕๖๐ ปี ๒๕๖๑ มี impact factor ๒๙ ๓๒ ๔๕ ๒๗ ๓๘ ๑๗๑ ๗ ไม่มี impact factor ๓ ๑ ๑ ๑ ๑ ผลงานตีพิมพ์ การอา้ งองิ ยกย่องเชิดชูเกยี รตบิ คุ ลากรแหง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 521

การผลติ บณั ฑิต นิสิต ปีการศึกษา รวม ปี ๒๕๕๗ ปี๒๕๕๘ ปี ๒๕๕๙ ป๒ี ๕๖๐ ปี ๒๕๖๑ ปรญิ ญาโท - ๑ ๒ ๔ ๓ ๑๐ ๗ ปริญญาเอก - ๑ ๓ ๐ ๓ ๖ หลงั ปริญญาเอก (ถ้าม)ี - ๑ ๒ ๑ ๒ ผลกระทบ (impact) ท่ีมตี ่อสงั คม/การใชป้ ระโยชน์ ความรใู้ หม่ทีเ่ กิดจากงานวิจัยของหนว่ ย สามารถนำ� ไปตอ่ ยอดพฒั นาเพ่ือเป็นยาไดใ้ นอนาคต ความร่วมมือกบั หนว่ ยงานภายนอก หนว่ ยงานในประเทศ ๑. ร่วมมือกับสำ� นกั งานนวัตกรรมแพนราชเทวี บรษิ ทั ราชเทวกี รุ๊ปจ�ำกดั (มหาชน) ในการศึกษา วิจัยทางดา้ นการทดสอบฤทธ์ิของสารต่อ skin cell โดยมีนกั วิจยั คอื นางสาวฐิตพิ ร ทองเยน็ มาเข้าฝกึ อบรมในหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ ภายใต้การควบคุมของ รศ.ภก.ดร.ปิติ จันทร์วรโชติ ในช่วงระยะเวลา ๑ มิถนุ ายน ๒๕๖๐ ถงึ ปัจจบุ ัน ๒. ร่วมมือกับบริษัทเมก้าศึกษาผลและกลไกทางคลินิกของสารต้านออกซิเดชันจากผลิตภัณฑ์ เสริมอาหาร (astaxanthin) ต่อระบบต้านออกซิเดชันการอักเสบ และการท�ำงานของเซลล์ในระบบ ภูมิคุ้มกันในการต่อตา้ นมะเร็ง หนว่ ยงานตา่ งประเทศ ๑. ท�ำงานวิจัยรว่ มกับ Prof. Dr. rer. nat. Regine Schneider-Stock ประเทศเยอรมนี โดยมี นิสิตปริญญาเอกแลกเปล่ียน จ�ำนวน ๑ คน (นางสาวนฤมล ภุมมาพันธ์) เพื่อไปท�ำงานวิจัยทางด้าน สารสกัดจากสมุนไพรที่มีฤทธ์ิต้านการเกิดพฤติกรรมท่ีรุนแรงของเซลล์มะเร็งต้นก�ำเนิด ต้ังแต่วันท่ี ๑ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๓๑ ตลุ าคม ๒๕๖๑ ๒. มีงานวิจัยร่วมกับ Prof. Dr. rer. nat. Regine Schneider-Stock ประเทศเยอรมนี โดย ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ เภสชั กร ดร.ฉตั รชยั เชาวธ์ รรม ไดร้ บั ทนุ อดุ หนนุ ทว่ั ไป จากเงนิ รายไดค้ ณะเภสชั ศาสตร์ 522 ยกย่องเชิดชเู กยี รตบิ คุ ลากรแห่งจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

เพ่อื ไปท�ำงานวิจยั สาขา Cancer cell biology ตั้งแตว่ ันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑ ถงึ วันท่ี ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ ๓. อาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ มีโครงการวิจัยร่วม/ดูงาน/ไปท�ำวิจัยที่ Toyama University ๑ คน คอื ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.วรษิ า พงศ์เรขนานนท์ ในปี ๒๕๖๑ ดว้ ยทุนสมทบ อาจารย์/นกั วิจยั ของจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัยออกไปทำ� วจิ ยั ต่างประเทศ ๔. นิสิตระดับปริญญาเอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปท�ำวิจัยที่ RIKEN CDB จ�ำนวน ๑ คน ระหว่างเดือน กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๙ ด้วยทุนของ RIKEN CDB ๕. นิสิตระดับปริญญาเอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปท�ำวิจัยที่ RIKEN CDB จ�ำนวน ๑ คน ระหว่างเดอื น สงิ หาคม ๒๕๖๑ - กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๖๒ ด้วยทนุ ของ RIKEN CDB สถานที่ตดิ ต่อ ภาควชิ าเภสชั วทิ ยาและสรรี วทิ ยา คณะเภสชั ศาสตร์ โทรศัพท์ ๐-๒๒๑๘-๘๓๔๔ โทรสาร ๐-๒๒๑๘-๘๓๔๐ E-mail: [email protected] ยกย่องเชดิ ชูเกียรติบคุ ลากรแห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 523

รางวัลหน่วยปฏบิ ตั กิ ารวจิ ัย (RU) ทมี่ ีผลงานดีเด่น สาขา วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชือ่ หน่วย หน่วยปฏบิ ัติการวจิ ัยวิศวกรรมกระบวนการเชงิ ค�ำนวณ Computational Process Engineering หัวหนา้ หน่วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรชัย อาภรณว์ ชิ านพ สังกดั ภาควชิ าวศิ วกรรมเคมี คณะวศิ วกรรมศาสตร์ 524 ยกยอ่ งเชดิ ชูเกียรติบุคลากรแห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ความเปน็ มาของหน่วยฯ ปจั จุบันปัญหาวิกฤตการณ์ดา้ นพลงั งานและสงิ่ แวดล้อม ทรพั ยากรทม่ี อี ย่อู ยา่ งจ�ำกัด รวมท้งั ภาวะ การแขง่ ขนั เชงิ ธรุ กจิ ทำ� ใหภ้ าคอตุ สาหกรรมจำ� เปน็ ตอ้ งพฒั นาและปรบั ปรงุ กระบวนการผลติ โดยประยกุ ต์ ใช้ความร้แู ละเทคโนโลยสี มัยใหม่เพ่อื แกป้ ญั หาและเพม่ิ ประสทิ ธิภาพการผลิต ดังนนั้ การพัฒนางานวิจัย ทางด้านวิศวกรรมกระบวนการที่มุ่งเน้นการวิจัยทางด้านกระบวนการและประยุกต์ใช้ความรู้ทาง คณติ ศาสตร์ ระเบียบวธิ กี ารค�ำนวณและคอมพวิ เตอร์ เพ่ือท�ำการวเิ คราะห์ ปรบั ปรงุ และพฒั นา รวมท้ัง ออกแบบกระบวนการผลติ และผลิตภณั ฑท์ ่เี หมาะสมจงึ เปน็ เร่ืองทส่ี ำ� คญั “หน่วยปฏบิ ตั ิการวจิ ัยวศิ วกรรมกระบวนการเชงิ ค�ำนวณ” ได้เรม่ิ ดำ� เนินการตัง้ แตป่ ี พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยพัฒนามาจาก กลมุ่ การวจิ ัยวิศวกรรมกระบวนการเชิงคำ� นวณ ท่ีไดร้ ับการสนับสนุนจากโครงการขบั เคลอื่ นการวจิ ยั (STAR) ภายใตโ้ ครงการพฒั นาวชิ าการจฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ๑๐๐ ปี (๒๕๕๔ - ๒๕๕๖) หน่วยฯ ได้ด�ำเนินการวิจัยทางดา้ น “วศิ วกรรมกระบวนการ” ซง่ึ เป็นสาขางานวิจยั ทม่ี คี วามสำ� คัญ ทางดา้ นวศิ วกรรมเคมี ครอบคลมุ งานวจิ ยั ทางดา้ น (๑) การพฒั นาแบบจำ� ลองและการจำ� ลองกระบวนการ (process modeling and simulation) (๒) การหาสภาวะทเี่ หมาะสมในการดำ� เนนิ งานของกระบวนการ (process optimization) และ (๓) การออกแบบและควบคุมกระบวนการ (process design and control) วิสยั ทัศน์ของหนว่ ยฯ เปน็ หนว่ ยปฏบิ ตั กิ ารวจิ ยั ทม่ี งุ่ มนั่ และพฒั นางานวจิ ยั ทางดา้ นวศิ วกรรมกระบวนการทม่ี คี ณุ ภาพและ ได้รับการยอมรับในระดบั ชาติและนานาชาติ เป้าหมายของหน่วยฯ สร้างองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมกระบวนการและน�ำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและออกแบบ กระบวนการทางด้านวิศวกรรมเคมีให้มีประสิทธิภาพสูงข้ึน รวมทั้งผลิตผลงานวิจัยทางด้านวิศวกรรม กระบวนการทีม่ ีคณุ ภาพไดก้ ารยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ บุคลากรในหนว่ ยฯ ๑. ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.อมรชัย อาภรณ์วชิ านพ ภาควชิ าวศิ วกรรมเคมี คณะวศิ วกรรมศาสตร์ ๒. รองศาสตราจารย์ ดร.สรุ เทพ เขยี วหอม ภาควชิ าวศิ วกรรมเคมี คณะวศิ วกรรมศาสตร์ ๓. ดร.พิมพพ์ ร พลเพชร ภาควชิ าวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ยกย่องเชดิ ชูเกยี รติบคุ ลากรแหง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 525

๔. ดร.พนิชา ทิพวรรณ (นกั วิจยั ) ๕. ดร.ครษิ ฐา อมิ่ เอบิ (นักวิจัย) ผลงานวจิ ยั โดยสรุป (ย้อนหลัง ๕ ปี) ๑. โครงการวิจัย หน่วยฯ มุ่งเน้นการพัฒนาและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรม กระบวนการกับงานวิจัยและพฒั นาทางด้านเทคโนโยลแี ละระบบพลงั งานอยา่ งยัง่ ยนื โดยหัวขอ้ งานวจิ ัย หลักประกอบด้วย (๑) กระบวนการเปล่ียนรูปพลังงานจากแหล่งพลังานหมุนเวียนเพ่ือผลิตเชื้อเพลิง สังเคราะห์และเคมีภัณฑ์ชีวภาพ (๒) การผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เซลล์เชื้อเพลิงและการผลิตเชื้อเพลิง ไฮโดรเจน และ (๓) ระบบการกกั เกบ็ พลงั งาน ดงั แสดงสรปุ ในรูปด้านลา่ ง ๒. ผลงานวิจัย หน่วยฯ สามารถผลิตผลงานวิจัยท่ีตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำ� นวน ๑๑๖ เร่ือง ผลงานหนงั สือ จ�ำนวน ๑ เลม่ (“ระบบเซลลเ์ ชอ้ื เพลิงชนดิ ออกไซดข์ องแข็งส�ำหรบั การผลิตพลังงานไฟฟ้าสะอาด : การจ�ำลอง การออกแบบ และการวิเคราะห์”) บทความปริทัศน์ (review paper) จำ� นวน ๑ เรอ่ื ง บทในหนงั สอื ทม่ี บี รรณาธกิ าร (book chapter) จำ� นวน ๒ บท บทความ วิชาการ จำ� นวน ๑๒ เร่อื ง และจัดการอบรมสัมมนา จำ� นวน ๗ ครงั้ 526 ยกยอ่ งเชิดชูเกียรตบิ ุคลากรแห่งจุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

๓. รางวัลผลงานวจิ ัย บุคคลกรของหนว่ ยฯ ไดร้ ับรางวัลทางดา้ นวจิ ยั เชน่ (๑) รางวลั Wiley-CST Award for Contributions to Green Chemistry ๒๐๑๓ จากสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ และ ส�ำนักพิมพ์ Wiley (๒) รางวัลศักย์อินทาเนีย ประเภทนักวิจัยรุ่นใหม่ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั (๓) รางวลั ๒๐๑๕ TRF-OHEC-Scopus Researcher Award จากสำ� นกั งาน กองทุนสนับสนนุ การวจิ ัย สำ� นกั งานคณะกรรมการการอุดมศกึ ษา และ Scopus (๔) รางวลั สง่ิ ประดษิ ฐ์ Gold medal และ Special prize จาก Eurobusiness-Haller and Haller Pro Inventio Foundation, Poland ในงาน ๒๐๑๖ Kaohsiung International Invention and Design Expo, Taiwan (๕) รางวัล PTIT Awards (PTIT Scholar) จากสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และ (๖) รางวัล Gold medal with the Congratulations of the Jury ผลงาน “Easily Refuelable Emergency Power Box” in 46th International Exhibition of Inventions Geneva, 11 - 15 April, 2018, Geneva, Switzerland ผลงานตพี มิ พ์ และผลกระทบ (ย้อนหลงั ) ๕ ปี จำ� นวนเรอื่ ง จำ� นวนบทความ รวม ปี ๒๕๕๗ ปี ๒๕๕๘ ปี ๒๕๕๙ ปี ๒๕๖๐ ปี ๒๕๖๑ ๖๙ มี impact factor ๗ ๑๕ ๒๒ ๑๔ ๑๑ ๔๗ ไมม่ ี impact factor ๑๗ ๑๓ ๕ ๗ ๕ การผลิตบณั ฑติ นสิ ิต ปกี ารศกึ ษา รวม 22 ปี ๒๕๕๗ ปี ๒๕๕๘ ปี ๒๕๕๙ ปี ๒๕๖๐ ปี ๒๕๖๑ 7 7 ปรญิ ญาโท 2 5 7 4 4 ปรญิ ญาเอก 1 2 2 1 1 หลังปรญิ ญาเอก (ถ้ามี) 1 1 1 2 2 ยกยอ่ งเชิดชูเกียรตบิ คุ ลากรแหง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 527

ผลกระทบ (impact) ทีม่ ตี อ่ สังคม/การใช้ประโยชน์ หน่วยฯ ได้เผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ผ่านการจัดอบรมสัมมนาและ ส่ือส่ิงพิมพ์ นอกจากนี้ยังได้ด�ำเนินวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม โดยน�ำความรู้ทางด้านวิศวกรรม กระบวนการไปใช้ในการออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพท่ีดีขึ้น ตัวอย่างผลงาน วิจัยท่มี ีการน�ำไปใชป้ ระโยชน์ ได้แก่ • การพัฒนาแบบจ�ำลองและการประยุกต์ใช้หอกลั่นแบบมีปฏิกิริยาส�ำหรับการผลิตไบโอดีเซล ข้อมลู ท่ไี ดจ้ ากการวจิ ัยถูกนำ� ไปใชใ้ นการออกแบบและปรบั ปรงุ กระบวนการผลติ ไบโอดเี ซล • การศึกษาและพัฒนาระบบตรวจสอบสมรรถนะการควบคุม ได้น�ำข้อมูลท่ีได้จากการวิจัยไปใช้ ในการปรบั ปรุงระบบควบคมุ ภายในกระบวนการผลติ ในอตุ สาหกรรมปโิ ตรเคมี • การศกึ ษาและออกแบบแบตเตอรที่ มี่ กี ารไหลของสว่ นเกบ็ พลงั งานวานาเดยี ม ผลจากการศกึ ษา ถูกน�ำไปใช้ในการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือวัดค่า State of Charge ของแบตเตอรี่ที่มีการไหล ของวานาเดียม • การดัดแปลงเคร่ืองแช่เยือกแข็งแบบแยกช้ินเพ่ือลดการติดค้างของเศษผลิตภัณฑ์ในเครื่องโดย ยงั สามารถรักษาประสิทธิภาพการทำ� งานเครื่องและประหยดั พลงั งาน • การศึกษาและพัฒนาท่อควบแน่นส�ำหรับการผลิตน้�ำส้มควันไม้โดยใช้แบบจ�ำลองพลศาสตร์ ของไหลเชงิ คำ� นวณ ซ่งึ สามารถช่วยลดตน้ ทนุ กระบวนการผลิตนำ้� สม้ ควันไม้ • ผลงานส่งิ ประดิษฐ์ ไดแ้ ก่ A High Performance Zinc-Air Fuel Cell System และ Easily Refuelable Emergency Power Box ความรว่ มมอื กับหนว่ ยงานภายนอก หนว่ ยงานในประเทศ • ภาควิชาวศิ วกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยศรนี ครินทรวิโรฒ • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบงั • คณะอตุ สาหกรรมเกษตร สถาบนั เทคโนโลยีพระจอมเกลา้ เจา้ คุณทหารลาดกระบงั • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวศิ วกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยบรู พา • ภาควิชาวศิ วกรรมเคมี คณะวศิ วกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหิดล • ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนอื 528 ยกย่องเชดิ ชูเกยี รตบิ คุ ลากรแห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

• บริษัท SCG Chemicals จำ� กดั • บริษัท ไออารพ์ ซี ี จำ� กัด • บรษิ ัท น�้ำมนั พชื ปทุม จ�ำกดั • บริษัท เซลเลนเนียม (ประเทศไทย) จำ� กดั • บรษิ ทั บ.ี ฟดู้ ส์ โปรดักส์ อินเตอร์เนช่ันแนล หน่วยงานตา่ งประเทศ • Department of Earth Science & Engineering, Imperial College London, UK • School of Chemical Engineering and Advanced Materials, Newcastle University, UK • Department of Chemical and Biochemical Engineering, Technical University of Denmark, Denmark • Research Group of Materials Design, Division of Materials Science and Engineering, Hokkaido University, Japan • Institute of Informatics and Applications, University of Girona, Girona, Spain • Industrial Process and Energy Systems Engineering, École Polytechnique Fédérale de Lausanne, EPFL, Switzerland • Laboratory of Signals and Systems, CentraleSupélec, Université Paris-Saclay, Gif-sur-Yvette, France • Advanced Institute of Manufacturing with High-tech Innovations and Department of Mechanical Engineering, National Chung Cheng University, Taiwan สถานทีต่ ดิ ตอ่ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวศิ วกรรมศาสตร์ โทรศพั ท์ ๐-๒๒๑๘-๖๘๙๒ โทรสาร ๐-๒๒๑๘-๖๘๗๗ E-mail: [email protected]. ยกย่องเชดิ ชเู กยี รติบคุ ลากรแห่งจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 529

รางวลั ผลงานวิจัยดเี ด่น ผลงานวจิ ัยเรอ่ื ง การตรวจแอนติบอดี (IgA, IgG) ตอ่ โปรตีน (E2, Erns) ของไวรสั อหิวาตส์ ุกรจากตวั อยา่ ง นำ้� ลายดว้ ยวธิ อี ไิ ลซา Working Toward a CSFV Oral Fluid Antibody ELISA: Defining Oral Fluid Antibody (IgA, IgG) Kinetics Against Envelope Glycoproteins (E2, Erns) โดย อาจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.เยาวลักษณ์ ปญั ญสิงห์ แหลง่ ทุนที่ไดร้ บั National Pork Board (NPB) ประเทศสหรัฐอเมรกิ า 530 ยกยอ่ งเชดิ ชูเกียรติบคุ ลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ผลงานวจิ ยั โดยสรุป การใช้ตัวอย่างน�้ำลาย (oral fluid) เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคติดเช้ือในสุกร เป็นวิธีการตรวจ แบบใหม่ที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรผู้เล้ียงสุกรและสัตวแพทย์มากขึ้นทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ ด้วยข้อดีที่สามารถท�ำการเก็บตัวอย่างได้ง่าย ปลอดภัยต่อตัวสัตว์และผู้ท�ำการเก็บ ตวั อยา่ ง ไมต่ อ้ งมกี ารจบั บงั คบั สตั วเ์ หมอื นเชน่ การเจาะเลอื ด จงึ ไมท่ �ำใหส้ กุ รเกดิ ความเครยี ดหรอื ไดร้ ับบาดเจ็บ นอกจากนย้ี งั สามารถทำ� การเกบ็ ตัวอย่างไดท้ ้งั แบบรายตวั (individual sample) และแบบรายคอก (pen-based sample) ได้ในสุกรทุกช่วงอายุ ท�ำให้สามารถน�ำมาใช้ในการ ประเมนิ และการตรวจติดตามโรคตดิ เช้ือในสุกรไดท้ ัง้ แบบรายตัวและในระดับฝูง เน่อื งจากนำ้� ลาย มอี งค์ประกอบทีซ่ ับซ้อนและแตกตา่ งจากซรี ัมมาก การศึกษาวจิ ัยเพอ่ื การนำ� ตัวอยา่ งน�ำ้ ลายไปใช้ ในการตรวจวนิ จิ ฉัยโรค และการเฝ้าระวงั โรคสัตวแ์ ปลกถนิ่ ให้ไดอ้ ยา่ งมีประสิทธภิ าพ จำ� เปน็ ตอ้ ง มกี ารศกึ ษาและทำ� ความเขา้ ใจธรรมชาตขิ องเชอื้ กอ่ โรคและภมู คิ มุ้ กนั ทสี่ ตั วส์ รา้ งขนึ้ รวมไปถงึ การ พฒั นาวธิ กี ารตรวจหรอื ชดุ ทดสอบทีม่ ีความจำ� เพาะกบั การตรวจด้วยตัวอย่างนำ้� ลายไปพรอ้ มกนั โรคอหิวาต์สุกร หรอื classical swine fever (CSF) เกิดจากการตดิ เชื้อ classical swine fever virus (CSFV) เป็นโรคท่ีมีความรุนแรงและท�ำให้เกิดความเสียหายอย่างมากในระบบ การเลี้ยงสุกร สุกรท่ีติดเชื้อจะแสดงอาการได้ท้ังแบบเฉียบพลัน ก่ึงเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง พบอตั ราการตายสงู เมอื่ เกดิ อบุ ตั กิ ารณข์ องโรค สกุ รทม่ี อี าการแบบเฉยี บพลนั จะมไี ขส้ งู เบอ่ื อาหาร มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร อาจพบจุดเลือดออกบริเวณผิวหนังและ เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง การพัฒนาชุดทดสอบเพ่ือตรวจหาแอนติบอดีต่อโปรตีนส�ำคัญของไวรัส ได้แก่ E2 และ Erns เป็นวิธีการท่ีสามารถช่วยในการวินิจฉัยและคัดกรองโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถน�ำไปใชไ้ ด้ทัง้ ในพ้ืนทีห่ รอื ประเทศทปี่ ลอดโรคอหวิ าต์สกุ ร เพอ่ื การเฝ้าระวัง ตรวจติดตาม และการคัดกรองโรค และในพ้ืนที่ที่มีโรคอหิวาต์สุกรเป็นโรคประจ�ำถิ่น ซึ่งมักมีการใช้วัคซีนเพื่อ ควบคมุ โรคนกี้ ันอยา่ งแพรห่ ลาย การพัฒนาชุดทดสอบเพ่ือตรวจหาแอนติบอดีจ�ำเพาะร่วมกับการใช้วัคซีนท่ีสามารถใช้แยก ระหวา่ งสกุ รทีม่ ีการตดิ เช้ือตามธรรมชาตกิ ับสุกรทท่ี ำ� วัคซีน จะช่วยในการคดั กรองสกุ รทีม่ กี ารตดิ เชือ้ ออก ทำ� ให้สามารถควบคมุ โรคได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพมากขน้ึ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการปรากฏอยู่ของภูมิคุ้มกันท่ีสุกรสร้างข้ึน (IgA, IgG) ต่อโปรตีน E2 และ Erns ของไวรัสอหิวาต์สุกรในตัวอย่างน้�ำลาย ที่ตอบสนองต่อการติดเช้ือและการท�ำวัคซีน ร่วมกับการพัฒนาชุดทดสอบอิไลซาท่ีมีความจ�ำเพาะในการตรวจไปพร้อมกัน เมื่อน�ำชุดทดสอบ ท่ีได้มีการพัฒนาข้ึนมาทดสอบกับตัวอย่างน้�ำลาย (1,391 ตัวอย่าง) และ ซีรัม (591 ตัวอย่าง) ยกย่องเชดิ ชเู กยี รติบคุ ลากรแหง่ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 531

ท่ีเก็บในระหวา่ งวันท่ี -14 ถึง 28 ของการทดลอง จากสุกรท่ีมีการติดเชื้ออหิวาต์สุกรชนิดความ รุนแรงระดับกลาง (ALD strain) และสุกรที่ได้รับวัคซีนอหิวาต์สุกรชนิดเชื้อเป็น (LOM strain) พบวา่ สามารถตรวจพบแอนตบิ อดีทงั้ ชนิด IgA และ IgG ตอ่ โปรตีน E2 และ Erns ของไวรัสใน ตัวอย่างน�้ำลายได้ไม่ต่างจากท่ีพบในตัวอย่างซีรัม นอกจากน้ียังพบลักษณะการปรากฏของ แอนตบิ อดเี ช่นเดียวกับทตี่ รวจด้วยวธิ ี virus neutralization ซ่งึ เป็นวธิ ีมาตรฐานทีใ่ ช้ในการตรวจ แอนติบอดี และพบความเสถียรในการปรากฏอยู่ของแอนติบอดีชนิด IgG ต่อโปรตีน E2 และ Erns มากกวา่ แอนตบิ อดชี นดิ IgA สง่ิ ทด่ี ีเด่นของงานวจิ ยั ผลงานวจิ ยั เร่อื งการตรวจแอนติบอดี (IgA, IgG) ต่อโปรตีน (E2, Erns) ของไวรสั อหวิ าตส์ กุ ร จากตวั อยา่ งน�้ำลาย (Working toward a CSFV oral fluid antibody ELISA: defining oral fluid antibody (IgA, IgG) kinetics against envelope glycoproteins (E2, Erns) เปน็ งาน วิจัยแรกท่ีมีการศึกษารูปแบบการปรากฏของแอนติบอดีชนิด IgA และ IgG จากตัวอย่างน้�ำลาย สุกรที่มีการติดเช้ืออหิวาต์สุกรและท่ีได้รับวัคซีน และสามารถพัฒนาชุดทดสอบอิไลซาท่ีมีความ จ�ำเพาะต่อการตรวจตัวอย่างน�้ำลาย เพ่ือใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค และการเฝ้าระวังโรคอหิวาต์ สกุ รได้ ผลงานวิจัยน้ีได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Veterinary Microbiology, impact factor 2.78 (2018) SJR journal ranking (Tier 1) in Veterinary Panyasing, Y., Thanawongnuwech, R., Ji, J., Gimenez-Lirola, L., Zimmerman, J. Detection of classical swine fever virus (CSFV) E2 and Erns antibody (IgG, IgA) in oral 532 ยกย่องเชิดชูเกียรตบิ คุ ลากรแหง่ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

fluid specimens from inoculated (ALD strain) or vaccinated (LOM strain) pigs. Vet Microbiol. 2018, 224: 70-77. ผลของการวิจัยนีไ้ ดย้ ื่นขอจดอนุสิทธิบตั รไวจ้ ำ� นวน ๔ เรอ่ื ง ดงั นี้ ๑. การประดิษฐ์เร่ือง “ชุดตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโปรตีน E2 ของไวรัสอหิวาต์สุกรจาก ตวั อยา่ งน�้ำลายสกุ ร” เลขทคี่ ำ� ขอ ๑๗๐๓๐๐๑๒๖๖ ๒. การประดิษฐ์เร่ือง “ชุดตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโปรตีน Erns ของไวรัสอหิวาต์สุกรจาก ตัวอย่างน�้ำลายสกุ ร” เลขท่ีคำ� ขอ ๑๗๐๓๐๐๑๒๖๗ ๓. การประดิษฐ์เร่ือง “ชุดตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโปรตีน E2 ของไวรัสอหิวาต์สุกรจาก ตัวอยา่ งน้�ำล้างเนือ้ หรือซรี ัม” เลขทีค่ ำ� ขอ ๑๗๐๓๐๐๑๒๖๘ ๔. การประดิษฐ์เรื่อง “ชุดตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโปรตีน Erns ของไวรัสอหิวาต์สุกรจาก ตัวอยา่ งน้�ำลา้ งเนื้อหรือซรี มั ” เลขทคี่ ำ� ขอ ๑๗๐๓๐๐๑๒๖๙ นอกจากนี้ ชุดทดสอบที่ได้มีการพัฒนาขึ้นจากงานวิจัยน้ี ได้น�ำไปศึกษาต่อยอดถึง ประสิทธิภาพในการใช้วินิจฉัยโรคอหิวาต์สุกรในรูปแบบอ่ืนด้วย ได้แก่ การทดสอบกับตัวอย่าง นำ้� ลายสุกรทเ่ี ก็บแบบรายคอก และการตรวจในสกุ รทตี่ ิดไวรสั อหิวาตส์ กุ รสายพนั ธอุ์ นื่ โดยได้นำ� ไปทดสอบกบั ตวั อยา่ งนำ�้ ลายและซรี มั ทไ่ี ดจ้ ากสกุ รทมี่ กี ารตดิ เชอื้ อหวิ าตส์ กุ ร สายพนั ธ ์ุ Paderborn ณ Kansas State University ประเทศสหรฐั อเมริกา ในชว่ งเดอื น มนี าคม ถงึ เมษายน ๒๕๖๑ ผลจากการทดสอบพบว่า สามารถตรวจหาแอนติบอดีในตัวอย่างน�้ำลายจากสุกรที่มีการติดเช้ือ อหวิ าตส์ ุกรได้ ทัง้ ในระยะเฉียบพลนั และเรื้อรงั ผลจากงานวิจยั ต่อยอดนีไ้ ด้รบั การเผยแพร่ตีพมิ พ์ ในวารสารวชิ าการระดบั นานาชาติ Veterinary Microbiology, impact factor 2.78 (2018) SJR journal ranking (Tier 1) in Veterinary Popescu, L.N., Panyasing, Y., Gimenez-Lirola, L., Zimmerman, J., Rowland, R.R.R. E2 and Erns isotype-specific antibody responses in serum and oral fluid after infection with classical swine fever virus (CSFV). Vet Microbiol. 2019, 235:265-269. สถานทีต่ ิดต่อ ภาควิชาพยาธวิ ทิ ยา คณะสตั วแพทยศาสตร์ โทรศัพท์ ๐-๒๒๑๘-๙๖๑๙ โทรสาร ๐-๒๒๕๒-๐๗๗๙ E-mail: [email protected] ยกยอ่ งเชิดชูเกยี รติบคุ ลากรแห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 533

รางวลั ผลงานวิจัยดเี ดน่ ผลงานวจิ ัยเรอื่ ง โปรตีนและไมโครอารเ์ อน็ เอควบคมุ ในระบบภูมิคมุ้ กันของกุ้งต่อเชอื้ ก่อโรครุนแรง Protein and Regulatory MicroRNAs in Shrimp Immunity Against Severe Pathogens โดย รองศาสตราจาร์ ดร.กุลยา สมบรู ณว์ ิวัฒน์ แหลง่ ทุนที่ได้รับ ส�ำนักงานกองทนุ สนับสนนุ การวจิ ยั จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย The Asahi Glass Foundation ประเทศญป่ี ุ่น JST/JICA ประเทศญปี่ ุ่น 534 ยกยอ่ งเชดิ ชูเกยี รตบิ คุ ลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ผลงานวจิ ยั โดยสรุป โรคระบาดเป็นปัญหาส�ำคัญของการเลี้ยงกุ้งท่ัวโลก งานวิจัยนี้สนใจศึกษาภูมิคุ้มกัน ของกุ้งที่ตอบสนองต่อเช้ือแบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus สายพันธุ์ท่ีมีการสร้าง โปรตีนสารพิษ (VPAHPND) ซ่ึงเป็นสาเหตุของการระบาดของโรคตายด่วน หรือ early mortality syndrome (EMS) หรอื เรยี กอกี ชอื่ หนง่ึ วา่ Acute hepatopancreatic necrosis syndrome (AHPND) และการตอบสนองตอ่ ไวรสั โดยเฉพาะไวรสั จดุ ขาว หรอื white spot syndrome virus (WSSV) ซ่งึ เปน็ สาเหตุของโรคระบาดทีร่ นุ แรงในการเพาะเลยี้ งก้งุ งานวิจัยน้ีเน้นการศึกษาบทบาทของโมเลกุลส�ำคัญ คือ ยีน โปรตีน และไมโคร อารเ์ อน็ เอควบคุม (regulatory miRNA) ในระบบภมู ิคมุ้ กันของก้งุ ตอ่ เชื้อ VPAHPND และ เชื้อไวรัส WSSV ในส่วนแรกเน้นงานวิจัยการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งต่อ เชอ้ื ไวรสั WSSV ทำ� การศกึ ษาบทบาทของโปรตนี และไมโครอารเ์ อน็ เอ (miRNA) ทตี่ อบสนอง ต่อการติดเช้ือไวรัส WSSV ได้แก่ ๑) ศึกษา Transcriptome ของไมโครอาร์เอ็นเอ (miRNA) ซ่ึงเป็นอาร์เอ็นเอขนาดเล็กที่มีหน้าท่ีควบคุมการแสดงออกของยีนในกุ้งท่ีติดเชื้อ ไวรัส WSSV ร่วมกับการพัฒนาซอฟท์แวร์ท่ีใช้ในการท�ำนายยีนเป้าหมายของ miRNA พบว่าเมื่อกุ้งติดเช้ือไวรัส WSSV จะท�ำให้มีการแสดงออกของ miRNA จ�ำนวนมาก เปล่ียนแปลงไป โดยการตดิ เชอ้ื ไวรสั จะไปกระต้นุ ให้ miR-315 มกี ารแสดงเพมิ่ ขึ้น ทำ� ใหเ้ กดิ การยังย้ังการแสดงออกของยีน PPAE3 ในระบบโพรฟีนอลออกซิเดส (Phenoloxidase) ซ่ึงเป็นระบบที่มีหน้าท่ีส�ำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งในการต่อต่านไวรัส WSSV มีผล ท�ำให้ไวรสั สามารถเพ่ิมจ�ำนวนในกงุ้ ได้มากข้นึ ๒) ศกึ ษายนี ของกุ้งท่ีมกี ารตอบสนองต่อการ ติดเชื้อไวรัส WSSV อย่างมาก พบว่ายีน PmVRP15 ท�ำหน้าท่ีช่วยไวรัสในกระบวนการ trafficking และการ assembly ท�ำให้สามารถเพ่ิมจ�ำนวนในกุ้งได้มากข้ึน โดยอาศัย การเกดิ ปฏสิ ัมพันธ์ของโปรตีน PmVRP15 กับโปรตีน WSV399 ของไวรัสตัว WSSV นัน่ เอง นอกจากจะพบว่าไวรัสสามารถใช้ประโยชน์จากยีน PmVRP15 ของกุ้งได้แล้ว ยังพบว่า ยีน PmVRP15 น่าจะมีหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งในกระบวนการ hemocyte homeostasis ระหว่างที่กุ้งติดเช้ือไวรัสตัวแดงดวงขาวด้วย ส่วนระบบภูมิคุ้มกันของกุ้ง ท่ีตอบสนองต่อโรคตายด่วนนั้น ในงานวิจัยน้ีศึกษาTranscriptome ของกุ้งท่ีติดเชื้อ ยกยอ่ งเชดิ ชเู กยี รติบคุ ลากรแหง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 535

VPAHPND พบยีนท่ีมีการตอบสนองต่อการติดเชื้อ VPAHPND หลายชนิด และเนื่องจาก โปรตีนสารพิษ (Pir toxin) ท่ีแบคทีเรียสร้างข้ึน เป็นสาเหตุส�ำคัญท่ีท�ำให้กุ้งตายจาก โรคตายด่วน มีการค้นพบว่ายีนที่สร้างเปปไทด์ต้านจุลชีพ LvALF และ Hemocyanin มีการแสดงออกตอบสนองต่อสารพิษก่อโรคตายด่วน และมีหน้าท่ีส�ำคัญในการป้องกัน ตวั เองของกงุ้ ตอ่ Pir toxin โดยโปรตนี LvALF และโปรตีนผสม HMC ประกอบดว้ ย HMC และ HMCL1 สามารถไปจับกับและลดพิษของ Pir toxin ได้ดี และจากการวิจัยยังพบ ความเกยี่ วเนอ่ื งกนั ของการท�ำงานระบบภูมิคมุ้ กนั ตอ่ เชือ้ VPAHPND และเชื้อไวรสั WSSV ในกุ้ง จากผลการศึกษาการท�ำงานของเปปไทด์ต้านจุลชีพ ALF พบว่าเป็นโมเลกุลที่มี บทบาทส�ำคญั ตอ่ การตอ่ ต้านเชอ้ื VPAHPND และเชือ้ ไวรัส WSSV โดยกุ้งมกี ารตอบสนอง ตอ่ การติดเช้ือ VPAHPND และเชอื้ ไวรสั WSSV โดยมกี ารแสดงออกของยีน ALF ไอโซฟอรม์ ที่สำ� คัญเพ่มิ ขน้ึ ซึง่ มกี ารควบคุมการแสดงออกของยีนแตล่ ะไอโซฟอร์มแตกตา่ งกนั โดยการ ส่งสญั ญาณผ่านวิถี Toll และวถิ ี IMD ซ่ึงเปน็ วิถีการส่งสญั ญาณทส่ี าํ คัญในระบบภมู ิคุ้มกัน ของกุ้ง และเปปไทด์ตา้ นจุลชพี ALF ทก่ี ุง้ สร้างขึน้ มฤี ทธใิ์ นการฆา่ เชอ้ื แบคทีเรยี VPAHPND และเชอ้ื ไวรัส WSSV ได้ดี 536 ยกย่องเชิดชเู กยี รติบุคลากรแหง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

สิ่งทีด่ เี ดน่ ของงานวิจัย งานวิจยั น้ีคน้ พบ ยีน โปรตีน และไมโครอาร์เอน็ เอควบคุม (regulatory miRNA) ทมี่ ี บทบาทส�ำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคตายด่วน และเช้ือไวรัสก่อโรคตัวแดงจุดขาวท่ีเป็นปัญหาส�ำคัญของอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง โดย องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ในการน�ำไปพัฒนาโมเลกุลท่ีใช้ควบคุม การแพร่ระบาดของโรคในการเพาะเล้ียงกุ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความส�ำคัญยิ่ง ตอ่ ความยงั่ ยนื ของอตุ สาหกรรมการเลยี้ งกงุ้ งานวิจยั จากโครงการนไ้ี ด้ผลติ บัณฑิตท้งั ในระดบั ปรญิ ญาโท และปรญิ ญาเอก รวมทัง้ นักวิจัยหลังปริญญาเอกท่ีมีศักยภาพสูง โดยสามารถตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยระดับ นานาชาตไิ ดจ้ ำ� นวน ๑๐ เรื่อง สถานทตี่ ดิ ตอ่ ภาควชิ าชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ โทรศพั ท์ 02-218-5438 โทรสาร 02-218-5418 E-mail: [email protected] ยกย่องเชิดชเู กยี รติบคุ ลากรแห่งจฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 537

รางวัลผลงานวจิ ยั ดีเดน่ ผลงานวจิ ยั เร่ือง เครอื ขา่ ยการเคลอ่ื นไหวเชิงนโยบายในชนบทไทย : กรณศี กึ ษานโยบายเกษตรและ สวัสดกิ ารชมุ ชน Policy Network Advocacy in Rural Thailand: Case Studies of Agricultural and Community Welfare Policies โดย ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธนพนั ธ์ ไล่ประกอบทรพั ย์ แหลง่ ทุนทไี่ ด้รับ ศนู ย์สง่ เสริมการวจิ ยั ในภมู ภิ าคเอเชยี ของมลู นิธิเกาหลีเพอื่ การศกึ ษาขน้ั สงู 538 ยกย่องเชดิ ชูเกียรตบิ ุคลากรแหง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ผลงานวจิ ัยโดยสรปุ งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุท่ีน�ำไปสู่การสร้างเครือข่าย เคลื่อนไหวเชิงนโยบายในพื้นท่ีชนบทไทย อธิบายกลยุทธ์การสร้างเครือข่าย การผลักดัน วาระเชิงนโยบายของกลุ่มอย่างเป็นระบบและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการ นโยบายสาธารณะกบั กลมุ่ และเครอื ขา่ ยผา่ นเครอื ขา่ ยเคลอ่ื นไหวเชงิ นโยบายระดบั รากหญา้ ในพ้ืนที่ชนบทของไทย ผู้วิจัยได้ท�ำการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับ ผู้น�ำและสมาชิกกลุ่มและเครือข่าย ๖ กลุ่มในพื้นท่ีจังหวัดศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด พัทลุง นครศรีธรรมราชและอ่างทอง จ�ำนวน ๗๒ คนและสัมภาษณ์ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วย งานภาครัฐและผู้น�ำองค์กรพัฒนาเอกชน สมาชิกเครือข่ายผลักดันนโยบายสวัสดิการสังคม จ�ำนวน ๑๐ คน รวมท้ังสังเกตการณ์การประชุมเครือข่ายองค์กรชุมชนระดับอ�ำเภอและ จงั หวดั ต้งั แต่เดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ถงึ เดือน กรกฎาคม ๒๕๖๐ งานวจิ ยั พบวา่ กลมุ่ และเครอื ขา่ ยในชนบทไทยมคี วามหลากหลายในแงม่ มุ ของโครงสรา้ ง และกระบวนการก�ำหนดวาระเชิงนโยบาย โครงสร้างของกลุ่มและเครือข่ายแบ่งออกเป็น โครงสร้างท่ีเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ส่วนกระบวนการก�ำหนดวาระเชิงนโยบาย แบ่งออกเป็นกระบวนการแนวดิ่งและกระบวนการแนวราบ ส่วนกลยุทธ์การผลักดันวาระ เชิงนโยบายแบ่งออกได้เป็น กลยุทธ์แบบบนลงล่าง กลยุทธ์แบบความสัมพันธ์ส่วนตัวและ กลยุทธ์แบบเครือขา่ ย ปจั จัยเชิงสาเหตุที่กำ� หนดโครงสร้าง กระบวนการและกลยทุ ธ์ ไดแ้ ก่ ทรัพยากร ความรู้ การต่อรองและความเชื่อมโยงกบั เครือขา่ ยภายนอก นยั ยะของงานวจิ ยั ช้ินน้ีได้แก่การก�ำหนดนโยบายท่ีค�ำนึงถึงความหลากหลายของเครือข่าย การสร้างการมี สว่ นรว่ มในกระบวนการกำ� หนดนโยบายและการพฒั นาสงั คมประชาธปิ ไตยผา่ นการสง่ เสรมิ กลุ่มและเครอื ขา่ ยเชงิ นโยบายในพน้ื ที่ชนบท ค�ำสำ� คัญ : เครอื ข่ายเชิงนโยบาย วสิ าหกจิ ชมุ ชน ขา้ ว สวสั ดกิ ารชมุ ชน ชนบท ไทย การกำ� หนดนโยบาย ยกย่องเชดิ ชูเกยี รตบิ ุคลากรแหง่ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 539

สิง่ ท่ดี ีเด่นของงานวจิ ัย การก�ำหนดนโยบายของรัฐบาลจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงความหลากหลายของกลุ่มและ เครือข่ายในชนบทไทย การก�ำหนดนโยบายชุดเดียวและน�ำไปปฏิบัติแบบ “เหมารวม (Universal Policy Implementation)” ท้ังน้ีการก�ำหนดนโยบายท่ีตอบสนองความ ตอ้ งการจำ� เปน็ ตอ้ งเปดิ โอกาสใหก้ ลมุ่ และเครอื ขา่ ยเขา้ มามี “สว่ นรว่ ม” ในการกระบวนการ กำ� หนดนโยบายอยา่ งจรงิ จงั งานวจิ ยั ชใ้ี หเ้ หน็ วา่ การผลกั ดนั วาระเชงิ นโยบายของหลายกลมุ่ ขึ้นอย่กู บั ความสมั พนั ธ์ส่วนตัวของผ้นู ำ� กล่มุ กบั หน่วยงานภาครฐั ผปู้ ระกอบการเอกชนหรือ องค์กรภาคประชาสังคมที่ไม่แสวงหาก�ำไรซ่ึงเป็นปัจจัยภายนอกที่ส�ำคัญ ส่วนกลุ่มท่ีไม่มี ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับองค์กรเหล่านี้มักจะไม่มีโอกาสที่จะผลักดันวาระเชิงนโยบายของ ตนเองเข้าสู่กระบวนการก�ำหนดนโยบายในระดับที่สูงขึ้นได้ เท่ากับว่าจะมีเฉพาะบางกลุ่ม และบางคนเท่านั้นที่ได้รับโอกาสในการผลักดันวาระเชิงนโยบายซ่ึงมีผลกระทบต่อความ ไว้วางใจของคนทั่วไปที่มีต่อกระบวนการก�ำหนดนโยบายสาธารณะและความไว้วางใจต่อ สงั คมประชาธิปไตย การมสี ว่ นรว่ มในกระบวนการกำ� หนดนโยบายสาธารณะในการพฒั นากลมุ่ และเครอื ขา่ ย ในชนบทไทยไม่ได้หมายความเฉพาะการเปิดโอกาสให้กลุ่มและเครือข่ายภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมเท่าน้ัน รัฐบาลน่าจะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน เช่น ผู้ประกอบการท่ีเป็น ปัจเจกบุคคลหรือนิติบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการก�ำหนดนโยบายสาธารณะ องค์กรภาคประชาสังคม เช่น มูลนิธิไม่แสวงหาก�ำไร องค์กรพัฒนาเอกชน เป็นภาคส่วนที่ ท�ำงานร่วมมือกับกลุ่มและเครือข่ายในชนบทไทยมาอย่างยาวนาน งานวิจัยช้ีให้เห็นความ สัมพันธ์ระหว่างกลุ่มและเครือข่ายมีมาอย่างยาวนานและองค์กรภาคประชาสังคมเหล่าน ี้ กลับทำ� หน้าทีใ่ นการเปดิ โอกาสใหก้ ลุม่ และเครือขา่ ยในชนบทไทยได้เขา้ ไปมีสว่ นรว่ มในการ ผลักดันวาระเชิงนโยบายร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การวิจัย ร่วมกัน การท�ำกิจกรรมทางสงั คมร่วมกนั หรือการประทว้ งตอ่ ต้านวาระเชงิ นโยบาย เป็นตน้ อย่างไรก็ตาม องค์กรภาคประชาสังคมยังไม่ได้รับการเปิดโอกาสให้เข้าร่วมกระบวนการ กำ� หนดนโยบายอย่างจริงจงั 540 ยกย่องเชิดชูเกยี รตบิ คุ ลากรแหง่ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ความหลากหลายในการเคลื่อนไหวผลกั ดนั วาระเชิงนโยบายของกลมุ่ และเครอื ขา่ ยใน ชนบทไทยมนี ยั ยะตอ่ การพฒั นาสงั คมประชาธปิ ไตย การยอมรบั การเคลอ่ื นไหวของเครอื ขา่ ย ทห่ี ลากหลายรปู แบบสง่ ผลตอ่ ระดบั ความไวว้ างใจในกระบวนการกำ� หนดนโยบายสาธารณะ หนว่ ยงานภาครฐั ควรเปดิ โอกาสใหก้ ลมุ่ และเครอื ขา่ ยไดเ้ ขา้ มามสี ว่ นรว่ มและพฒั นาเครอื ขา่ ย ของตนเองซึ่งมีผลต่อการกระตุ้นให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบกระบวนการ พัฒนาชุมชนของตนเอง การเปดิ พน้ื ที่ด้วยการสรา้ งกล่มุ และเครือขา่ ยเปน็ เสมือนการฝกึ หัด ให้คนได้เข้ามาเรียนรู้การวางแผนพัฒนาชุมชนและเรียนรู้ท่ีจะรับฟังความคิดเห็นของเพ่ือน สมาชกิ และกลมุ่ อื่น ๆ ทีอ่ ยนู่ อกพน้ื ท่ี สถานท่ตี ิดต่อ ภาควชิ าการปกครอง คณะรฐั ศาสตร์ โทรศัพท์ ๐๘-๑๘๔๓-๐๑๒๘ โทรสาร - E-mail: [email protected] ยกย่องเชดิ ชูเกียรตบิ ุคลากรแห่งจุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 541

รางวลั ผลงานวจิ ัยดีเดน่ ผลงานวิจยั เรอ่ื ง การต่างประเทศไทยในยุคสงครามเยน็ Thai Foreign Relations in the Cold War Era โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พวงทอง ภวคั รพันธ์ุ แหล่งทุนท่ไี ดร้ ับ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย 542 ยกย่องเชดิ ชเู กยี รตบิ ุคลากรแหง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ผลงานวิจยั โดยสรุป สงครามท่ีร้อนแรงท่ีสุดในสงครามเย็นได้อุบัติข้ึนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี่เอง นั่นคือ สงครามเวยี ดนาม ทีม่ ีมหาอ�ำนาจต่าง ๆ ร่วมสนบั สนนุ อยา่ งเต็มท่ี เม่อื สงครามเวียดนามยตุ ลิ งไม่ นาน สงครามในกัมพชู ากอ็ บุ ตั ขิ ้ึน ประเทศไทยไดเ้ ข้าไปมีบทบาทแขง็ ขนั ในสงครามทงั้ สองนี้ และ แมว้ า่ สงครามเยน็ ไดย้ ตุ ลิ งมากกวา่ ๒ ทศวรรษแลว้ แตผ่ ลกระทบของสงครามเยน็ ยงั คงดำ� รงอยใู่ น ภมู ภิ าคนอ้ี ย่างกว้างขวาง รวมทง้ั ความสัมพนั ธ์ระหว่างไทยกบั ประเทศเพอื่ นบ้านดว้ ย หนงั สือเล่ม นต้ี อ้ งการน�ำเสนอภาพใหญข่ องการต่างประเทศไทยในยุคสงครามเยน็ โดยมุ่งอธิบายปัจจัยทีเ่ ปน็ ตัวก�ำหนดบทบาท นโยบาย และยทุ ธศาสตร์ของประเทศไทย การกำ� หนดผลประโยชนแ์ ห่งชาติ และการมองภัยคกุ คาม (threat perception) ของรฐั บาลไทยในแต่ละช่วงเวลา บทบาทของกลมุ่ อำ� นาจและกลมุ่ พลงั ทางสงั คมตา่ ง ๆ ผลกระทบทเี่ กดิ ขนึ้ ตอ่ พฒั นาการทางการเมอื งและเศรษฐกจิ ของไทย รวมท้งั บทบาทและยุทธศาสตร์ของมหาอ�ำนาจ และการเมืองภายในของประเทศต่าง ๆ ในภมู ภิ าคทส่ี ง่ ผลตอ่ ความขดั แยง้ นี้ดว้ ย สิง่ ทด่ี ีเดน่ ของงานวิจัย งานวิจัยช้ินนี้มุ่งศึกษาการต่างประเทศไทยเฉพาะช่วงสงครามเย็น โดยใช้สงครามในแต่ละ ชว่ งเวลาเปน็ แกนกลางในการอธบิ ายนโยบายตา่ งประเทศของไทย แมจ้ ะครอบคลมุ ระยะเวลาเพยี ง ๕ ทศวรรษ (กลางทศวรรษ ๑๙๔๐ - ต้นทศวรรษ ๑๙๙๐) แต่เป็นช่วงเวลาที่ส�ำคัญของความ สัมพนั ธ์ระหวา่ งประเทศไทยกับประเทศเพ่ือนบ้านในเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามประเทศในอนิ โดจีน คอื ลาว กมั พูชา และเวียดนาม เปน็ ชว่ งเวลาท่บี ทบาทของประเทศไทย มีความส�ำคัญย่ิงต่อดุลอ�ำนาจของมหาอ�ำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประการส�ำคัญ ความ สัมพันธ์ท่ีประเทศไทยมีกับมหาอ�ำนาจในช่วงสงครามเย็นนีย้ งั สง่ ผลต่อกระบวนการสร้างชาตขิ อง ไทย ทง้ั ในแง่พัฒนาการทางการเมอื งเศรษฐกิจและสังคม ซ่ึงผลของการพฒั นาดงั กลา่ วยงั ปรากฎ ใหเ้ หน็ ไดจ้ นถงึ ปจั จบุ นั สถานทีต่ ิดต่อ ภาควิชาความสัมพนั ธร์ ะหว่างประเทศ คณะรฐั ศาสตร์ โทรศัพท ์ ๐๖-๕๙๓๑-๓๔๖๖ โทรสาร - E-mail: [email protected] ยกย่องเชิดชูเกยี รตบิ คุ ลากรแหง่ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 543

รางวัลผลงานวิจัยดเี ดน่ ผลงานวิจยั เรื่อง นfTrhวoัตemกInรtรhnมeoกvPาahรtบiovnนัeeทMtกึ icuโนsTi้ตcipเaสiltยีฺaNงkปoatาa(ฬStิจaiojา-nกjhพoa-รf-ะPyไaaต- รlTiปeSฎิpoกiutสฺanชัkdaฌ)ายะ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศศี พงศ์สรายทุ ธ แหล่งทนุ ท่ีไดร้ บั ส�ำนกั งานการวิจัยแหง่ ชาติ (วช.) 544 ยกย่องเชดิ ชเู กียรตบิ ุคลากรแหง่ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ผลงานวิจยั โดยสรปุ การวิจัยครั้งน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการออกเสียงปาฬิที่ไม่ตรงตามกฎไวยา กรณป์ าฬ ิ อนั เนอ่ื งมาจากการแทรกแซงทางเสยี งในการนำ� ภาษาทอ้ งถนิ่ ไปปนแทรกกบั เสยี ง ปาฬิ เม่ือน�ำอักขระในภาษาต่างๆ ไปเขียนพระไตรปิฎกที่มุ่งเน้นการแปลเอาเพียงความ หมายของเสยี ง จงึ ทำ� ใหเ้ สียงปาฬทิ ถี่ กู ต้องคลาดเคลอ่ื นไป ผูว้ ิจัยไดเ้ ล็งเหน็ ความสำ� คญั ของการออกเสยี งปาฬิทแ่ี ม่นตรง ดว้ ยการใชว้ ิธีการทางดุริยางคศาสตร์สากลท่มี รี ะบบการ บนั ทกึ โนต้ เพอ่ื กำ� หนดเสยี งทช่ี ดั เจนและมมี าตรฐานเปน็ ทย่ี อมรบั กนั ทว่ั โลก โดยเนน้ กลมุ่ เปา้ หมายเป็นบุคคลท่ัวไปผู้สนใจและให้ความสำ� คัญต่อการออกเสียงสัชฌายะปาฬิ และไม่ได้ จ�ำกัดอยแู่ ตใ่ นวงการสงฆ์แต่เพยี งกลมุ่ เดียว การวจิ ยั ครงั้ นเ้ี ปน็ การวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพทยี่ ดึ ถอื กระบวนทศั นก์ ารตคี วาม โดยอา้ งองิ หลกั การออกเสยี งจากไวยากรณก์ ัจจายะนะปาฬ ิ และพัฒนามาสพู่ ระไตรปิฎกสชั ฌายะที่มีการ แบง่ พยางคใ์ หส้ ามารถอา่ นไดง้ า่ ยขนึ้ ดว้ ยการถอดเสยี งและเขยี นตามการถอดเสยี งปาฬิ โดย ยกยอ่ งเชิดชเู กียรติบคุ ลากรแห่งจุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 545

ใช้เป็นเครื่องมือส�ำคัญในการด�ำเนินการวิจัยในการวิเคราะห์การแบ่งค�ำหรือพยางค์ในการ เปลง่ เสยี ง เพอ่ื ประยกุ ตแ์ ละดดั แปลงเปน็ การบนั ทกึ โนต้ เสยี งปาฬติ ามแบบอยา่ งสากลสำ� หรบั ใช้ในการอ่านออกเสียงสัชฌายะ โดยอาศัยกลุ่มตัวอย่างท่ีหลากหลายนับตั้งแต่บุคคลทั่วไป นกั ดนตรี ไปจนถึงผูศ้ กึ ษาภาษาปาฬ ิ นวัตกรรมการบันทึกเสียงโน้ตปาฬิจากพระไตรปิฎกสัชฌายะนี้ เป็นการแก้ปัญหา วธิ ีเขียนเสียงปาฬิในทางภาษาศาสตร ์ เน่อื งจากการอ่านแต่เพยี งตวั อกั ษรมขี ้อจ�ำกัดในเรื่อง มิติความส้ัน-ยาวของเสียงที่ไม่สามารถก�ำหนดให้ชัดเจนในการอ่านออกเสียงให้แม่นตรงได้ แต่สัญลักษณ์โน้ตดนตรีสากลสามารถใช้เป็นเคร่ืองมือในการช่วยเติมเต็มมิติดังกล่าวที่ ขาดหายไปใหส้ มบรู ณ์ เพอ่ื เปน็ ทางเลอื กในการออกเสยี งปาฬใิ หแ้ มน่ ตรงยง่ิ ขน้ึ โดยโนต้ เสยี ง ปาฬิในพระไตรปิฎกสัชฌายะเป็นการปรับปรุงการศึกษาวิธีออกเสียงสวดมนต์ในอดีตท่ีเดิม จ�ำกัดอยู่ในหมู่สงฆ์ให้แพร่หลายสู่ประชาชนฆราวาสท่ัวไป แม้ผู้ท่ีไม่ได้ศึกษาเสียงปาฬิหรือ ไม่มีความรู้ด้านไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ ก็สามารถออกเสียงสัชฌายะได้รวดเร็วและแม่น ตรงตามโนต้ เสยี งปาฬ ิ เพราะโนต้ เสยี งปาฬสิ รา้ งสรรคข์ นึ้ จากสญั ลกั ษณพ์ นื้ ฐานดนตรสี ากล ทต่ี อ้ งศกึ ษาในโรงเรยี นทว่ั โลก ยวุ ชนนานาชาตริ นุ่ ใหมก่ ส็ ามารถอา่ นและออกเสยี งปาฬิ ดว้ ย การสัชฌายะตามจังหวะโนต้ เสยี งปาฬไิ ดอ้ ย่างงา่ ยดาย สง่ิ ที่ดเี ดน่ ของงานวิจยั ผลงานวิจัยชิ้นนี้เป็นมีวัตถุประสงค์เพ่ือเผยแผ่พระไตรปิฎกฉบับสัชฌายะ หรือฉบับ การอ่านออกเสียงให้แม่นตรงตามกฎไวยากรณ์ปาฬ ิ ไปสรู่ ะดับสากลดว้ ยการอ่านออกเสียง ตามโน้ตสากลเสยี งปาฬ ิ เน่อื งจากยงั ไม่มีผใู้ ดเคยบันทึกการอา่ นออกเสียงพระไตรปิฎกดว้ ย วิธีน้ีมาก่อน ดังน้ัน ผลงานวิจัยชิ้นน้ีจึงถือเป็นการบันทึกพระไตรปิฎกด้วยโน้ตสากลเป็น คร้ังแรกของโลก นวัตกรรมการบันทึกโน้ตเสียงปาฬิจากพระไตรปิฎกสัชฌายะในคร้ังนี้ ท�ำให้ผู้ท่ีอ่าน ตามโน้ตเสียงปาฬิสามารถออกเสียงสัชฌายะได้แม่นตรงตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะและ สัททสัญลักษณ์ สร้างความพร้อมเพรียงและแม่นตรงเป็นมาตรฐานในการออกเสียงที่เป็น หมู่คณะได้ อีกทั้งยังสามารถใช้เขียนเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกปาฬิได้ทั้งชุด ๔๐ เล่ม 546 ยกย่องเชดิ ชเู กียรตบิ คุ ลากรแหง่ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒

เน่ืองจากการบันทึกโน้ตแบบสากลน้ันมีวิธีการที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย แต่สามารถบรรจ ุ รายละเอียดของเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้สัญลักษณ์ที่สามารถสังเกตและ จดจ�ำง่าย มีรูปแบบท่ีมีโครงสร้างท่ีแน่นอน มีระบบระเบียบท่ีช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจ ไดไ้ ม่ยาก งานวิจัยน้ีจึงถอื เปน็ การบูรณาการสหสาขา ไดแ้ ก่ ดรุ ยิ างคศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ปาฬภิ าษา พุทธศาสตร์ และศลิ ปะการออกแบบ เข้าไว้ดว้ ยกันอยา่ งกลมกลนื เปน็ การสร้าง องค์ความรู้ใหม่ในทางวิชาการ เพ่ือศึกษาและฝึกฝนการออกเสียงที่เรียกว่า ‘สัชฌายะ’ ให้มีประสิทธิภาพย่ิงข้ึนในอนาคต การน�ำเสียงพระธรรมในพระไตรปิฎกปาฬิอันเป็นคลัง อารยธรรมทางปัญญามาบูรณาการกับดุริยางคศาสตร์ จึงเป็นการเก็บรักษาพระไตรปิฎก รูปแบบใหม่ไว้เพือ่ ประโยชนข์ องชาตแิ ละมวลมนุษยชาติสบื ไป สถานทต่ี ิดตอ่ ภาควิชาดุริยางคศิลป์ สาขาดรุ ยิ างคศิลปต์ ะวันตก คณะศิลปกรรมศาสตร์ โทรศพั ท ์ ๐-๒๒๑๘-๔๖๑๓, ๐๘-๑๖๒๙-๖๙๙๒ โทรสาร ๐-๒๒๑๘-๔๖๐๔ E-mail: [email protected] ยกย่องเชิดชเู กียรติบคุ ลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ 547

รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ผลงานวิจยั เร่อื ง การพฒั นาชดุ อกั ษรโรมนั เพอ่ื เสรมิ ทกั ษะการอา่ นออกเสยี งภาษาอาหรบั ของผเู้ รยี นชาวไทย The Development of Roman Alphabets for Enhancing Arabic Pronunciation Skill of Thai Learners โดย อาจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ หมัดสะและ แหลง่ ทุนทไี่ ด้รบั ศนู ยน์ วัตกรรมการเรียนรู้ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย 548 ยกย่องเชดิ ชูเกียรตบิ คุ ลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๖๒


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook