496 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ จะเกิดมีสัตถันตรกัปป์๑ คือกัปป์ท่ีอยู่ในระหว่างศัสตรา ๗ วัน คนท้ังหลายจะมี ความส�ำคญั ในกนั และกันว่าเปน็ เน้ือ (มคิ สญั ญา๒) จะมีศัสตรา อันคมเกดิ ขึ้นในมือ ฆ่ากันและกันด้วยสำ� คัญวา่ เน้ือ กลับเจรญิ ข้ึนอีก มีบุคคลบางคนหลบไปอยู่ในป่าดง พงชัฏ กินเหง้าไม้ ผลไม้ในป่า เม่ือพ้น ๗ วัน แล้วออกมา ก็ดีใจร่าเริงท่ีรอดชีวิต จึงตั้งใจท�ำกุศลกรรม ละเว้นการฆ่าสัตว์ และบ�ำเพ็ญกุศล กรรม ละเวน้ อกศุ ลกรรม เพิ่มข้นึ เร่ือย ๆ อายกุ ย็ นื ข้ึนเรอ่ื ย ๆ จนถึง ๘ หม่ืนปี พระเจ้าจักรพรรดอิ กี พระองคห์ นงึ่ พระเจ้าสังขะ เมื่อมนุษย์มีอายุยืน ๘ หม่ืนปีนั้น หญิงสาวอายุ ๕ พันปีจึงมีสามีได้ มนุษย์จะมีโรค เพียง ๓ อยา่ ง คือ ๑. ความปรารถนา (อยากอาหาร) ๒. ความไมอ่ ยากกินอาหาร (เกยี จคร้านอยากจะนอน) ๓. ความแก่ ชมพูทวีปนจ้ี ะม่ังค่งั รุง่ เรอื ง มีคามนคิ มราชธานีแบบไก่บินถงึ (ใกลเ้ คยี งกนั ) ยดั เยียด ไปด้วยมนุษย์ กรุงพาราณสีจะเป็นราชธานีนามว่า เกตุมตี อันม่ังค่ัง มีคนมาก อาหารหาง่าย จักมีพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า สังขะ เป็นพระราชาผู้ปกครองโดยธรรม มีชัยชนะ จบ ๔ ทศิ ปกครองชนบทถาวรสมบรู ณ์ด้วยรัตนะท้งั เจด็ พระเมตไตรยพุทธเจ้า เมื่อมนุษย์มีอายุยืน ๘ หมื่นปีน้ัน พระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย จักบังเกิด ในโลกเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา (ความรู้) จรณะ (ความ ประพฤติ) เป็นต้น แสดงธรรมไพเราะในเบ้ืองต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย พร้อมทั้งอรรถะ พยัญชนะ บริหารภิกษุสงฆ์มีพันเป็นอเนก๓ เช่นเดียวกับท่ีเราบริหารภิกษุสงฆ์มีร้อยเป็น ๑ ค�ำว่า สัตถันตรกัปป์นี้ อรรถกถาอธิบายว่า อันตรกัปป์ท่ีพินาศในระหว่าง คือโลกยังไม่ถึงสังวัฏฏกัปป์ ก็พินาศ ด้วยศัสตราเสียในระหว่าง อันตรกัปป์มี ๓ อย่าง คือ ทุพภิกขันตรกัปป์ กัปป์พินาศในระหว่างเพราะอดอาหาร โรคันตรกัปป์ กัปป์พินาศในระหว่างเพราะโรค สัตถันตรกัปป์ กัปป์พินาศในระหว่างศัสตราเป็นผลแห่งกรรมช่ัว ๓๒ ของมนุษย์ คอื ถา้ โลภจัด ก็พนิ าศเพราะอดอาหาร หลงจัด กพ็ นิ าศเพราะโรค ถ้าโทสะจดั ก็พนิ าศเพราะศัสตรา ค�ำวา่ มคิ สัญญา แปลว่า ความสำ� คญั ว่าเน้ือ ถา้ ใชเ้ ปน็ คณุ ศัพท์ ก็ใชว้ ่า มิคสญั ญี แปลว่า ผมู้ คี วามสำ� คัญวา่ เน้อื พนั เปน็ เอนก หมายความว่า มิใช่พันเดยี วหรอื เปน็ จ�ำนวนมาก - ม.พ.ป. PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 496 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ อัคคัญญสูตร 497 อเนก พระเจ้าสังขจักรพรรดิจักให้ยกปราสาทท่ีพระเจ้ามหาปนาทะให้สร้างข้ึน ครอบครอง ทีฆนิกาย แจกจ่ายทาน และออกผนวชในส�ำนักพระเมตไตรยพุทธเจ้า ในไม่ช้าก็จะท�ำให้แจ้งซึ่งท่ีสุด แหง่ พรหมจรรยอ์ ันยอดเยี่ยมด้วยความรูย้ ง่ิ ดว้ ยพระองค์เอง (คอื สำ� เรจ็ เปน็ พระอรหนั ต)์ ครั้นแล้วตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลายพ่ึงตน พ่ึงธรรม เจริญสติปัฏฐาน ๔ และสอนให้ ท่องเท่ียวไปในโคจรของบิดา (ด�ำเนินตามพระองค์) ก็จักเจริญด้วยอายุ วรรณะ (ผิวพรรณ) สขุ โภคะ (ทรัพย์สมบัต)ิ และพละ (ก�ำลัง) ๑. ทรงแสดงการเจรญิ อิทธิบาท (คณุ ใหบ้ รรลุความสำ� เรจ็ ) ๔ ประการ ว่าเปน็ เหตุให้ ดำ� รงอยู่ได้ ตลอดกัปปห์ รอื กวา่ กปั ป์ ๒. ทรงแสดงการมีศีล ส�ำรวมในปาฏิโมกข์ (ศีลท่ีเป็นประธาน) ว่าเป็นเหตุให้มี วรรณะ ๓ . ทรงแสดงการเจริญฌานท้ัง ๔ วา่ เป็นเหตใุ หม้ สี ุข ๔. ทรงแสดงการเจรญิ พรหมวิหาร ๔ ว่าเปน็ เหตุให้มโี ภคะ (ทรัพย์สมบตั )ิ ๕. ทรงแสดงการท�ำให้แจ้งเจโตวิมุติ (ความหลุดพ้นเพราะสมาธิ) ปัญญาวิมุติ (ความหลุดพ้นเพราะปัญญา) อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน ว่าเป็นเหตุให้มีพละ (ก�ำลงั ) ตรัสในท่ีสุดว่า ไม่ทรงเห็นก�ำลังอย่างอ่ืน สักอย่างหน่ึงท่ีจะครอบง�ำได้ยากเท่ากับ ก�ำลังของมาร๑ เพราะสมาทานกศุ ลธรรม บุญกจ็ ะเจรญิ ย่ิง ๔. อคั คัญญสูตร (สูตรว่าด้วยสงิ่ ท่เี ลิศ หรอื ทีเ่ ป็นตน้ เดมิ ) พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขาในบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี สมยั น้ันสามเณรชือ่ วาเสฏฐะและภารทั วาชะ (เดมิ นับถอื ศาสนาอนื่ ) อยู่ปรวิ าส (อบรม) ในภิกษุ ท้ังหลาย ปรารถนาความเป็นภิกษุ ชวนกันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้ก�ำลังจงกรมอยู่ในท่ีแจ้ง เพ่ือฟังธรรม พระผู้มีพระภาคตรัสว่าพวกท่านมีชาติเป็นพราหมณ์ มีสกุลเป็นพราหมณ์ ออกบวช พวกพราหมณ์ท่ีเป็นช้ันหัวหน้า ไม่ด่าไม่บริภาษบ้างหรือ กราบทูลตอบว่า ด่าอย่าง เต็มท่ี ตรัสถามว่า ด่าอย่างไร กราบทูลว่า ด่าว่าพราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐ เป็นวรรณะ ขาว บริสุทธ์ิ วรรณะอ่ืนเลว เป็นวรรณะด�ำ ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เป็นบุตรของพรหม เกิดจาก ๑ มาร หมายถงึ กิเลส ในทนี่ ีห้ มายความวา่ กิเลสมีก�ำลงั ท่ีเอาชนะไดย้ าก - ม.พ.ป. PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 497 5/4/18 2:25 PM
498 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ปากพรหม เป็นพรหมทายาท พวกท่านละวรรณะอันประเสริฐ ไปเข้าสู่วรรณะเลว คือ พวก สมณะศีรษะโล้น ซึ่งเป็นพวกไพร่ พวกด�ำ พวกเกิดจากเท้าของพระพรหม ซ่ึงเป็นการไม่ดี ไม่สมควรเลย พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์พวกน้ันลืมตน เกิดจากองค์ก�ำเนิด ของพราหมณีแท้ ๆ ยังกล่าวว่าประเสริฐสุด เกิดจากปากพรหม เป็นต้น ซ่ึงเป็นการกล่าวตู่ พระพรหมและพูดปด๑ แล้วตรัสเรื่องมนุษย์ ๔ วรรณะ ที่ท�ำช่ัวท�ำดีได้อย่างเดียวกัน และเรื่องท่ีพระเจ้า ปเสนทิโกศล (ผู้เป็นกษัตริย์) แต่ปฏิบัติต่อพระองค์ ซึ่งพวกพราหมณ์ถือว่าเป็นพวกด�ำ (เพราะปลงศีรษะออกบวช) อยา่ งเต็มไปด้วยความเคารพ ครั้นแล้วตรัส (เป็นเชิงปลอบใจ หรือให้หลักการใหม่) ว่า ท่านทั้งหลายมาบวช จาก โคตร จากสกุลต่าง ๆ เม่ือมีผู้ถามว่า เป็นใคร ก็จงกล่าวตอบว่า พวกเราเป็นสมณะศากยบุตร ผู้ใดมีศรัทธาต้ังมั่น ในตถาคตผู้นั้นย่อมควรท่ีจะกล่าวว่า เราเป็นบุตร เป็นโอรสของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดจากธรรม อันธรรมสร้างเป็นธรรมทายาท (ผู้รับมรดกธรรม) ทั้งนี้ เพราะคำ� วา่ ธมั มกาย (กายธรรม) พรหมกาย (กายพรหม) และผเู้ ปน็ ธรรม ผูเ้ ป็นพรหม น้เี ป็น ชอ่ื ของตถาคต (เป็นการแก้ข้อด่าของพวกพราหมณ์ โดยสร้างหลักการใหม่ให้พวกมาบวชจากทุก วรรณะไดช้ ่ือว่ามีกำ� เนดิ ใหม่ท่ีไม่แพพ้ วกพราหมณ์) คร้ันแล้วตรัสเรื่อง สมัยหนึ่งโลกหมุนเวียนไปสู่ความพินาศ สัตว์ท้ังหลายไปเกิดใน ช้ันอาภัสสรพรหมกันโดยมาก เม่ือโลกหมุนกลับ (คือเกิดใหม่ภายหลังพินาศ) สัตว์เหล่าน้ัน ก็จุติมาสู่โลกนี้ เป็นผู้เกิดข้ึนจากใจ กินปีติเป็นภักษา (ยังมีอ�ำนาจฌานอยู่) มีแสงสว่างในตัว ไปไดใ้ นอากาศ (เชน่ เดยี วกับเมอื่ เกิดในชนั้ อาภสั สรพรหม) อาหารช้นั แรก แล้วเกิดมีรสดิน (หรือเรียกว่าง้วนดิน) อันสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รส สัตว์ท้ังหลาย เอาน้ิวจิ้มง้วนดินล้ิมรสดูก็ชอบใจ เลยหมดแสงสว่างในตัว เมื่อแสงสว่างหายไป ก็มีพระจันทร์ พระอาทิตย์ มีดาวนักษัตร มีคืนวัน มีเดือน มีก่ึงเดือน มีฤดู และปี เม่ือกินง้วนดินเป็น อาหาร กายก็หยาบกระด้าง ความทรามของผิวพรรณก็ปรากฏ พวกมีผิวพรรณดี ก็ดูหม่ิน ๑ เรอ่ื งนไี้ ดแ้ ปลพระพทุ ธภาษติ ไวโ้ ดยละเอยี ด ในหนา้ ๒๐๒ - ๒๐๔ หมายเลข ๒๒๑ ๒๒๒ ๒๒๓ ในทน่ี จี้ งึ กลา่ วโดย รวบรดั PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 498 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ อัคคัญญสูตร 499 พวกมีผิวพรรณทราม เพราะดูหม่ินผู้อ่ืนเร่ืองผิวพรรณ เพราะความถือตัวและดูหมิ่นผู้อ่ืน ทีฆนิกาย ง้วนดินก็หายไป ต่างก็พากันบ่นเสียดาย แล้วก็เกิดสะเก็ดดินท่ีสมบูรณ์ด้วยสี กล่ิน และรส ข้ึนแทน ใช้เป็นอาหารได้ แต่เมื่อกินเข้าไปแล้วร่างกายก็หยาบกระด้างยิ่งขึ้น ความทรามของ ผิวพรรณก็ปรากฏชัดขึ้น เกิดการดูหม่ิน ถือตัว เพราะเหตุผิวพรรณนั้นมากข้ึน สะเก็ดดินก็ หายไป เกิดเถาไม้สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส ขึ้นแทน ใช้กินเป็นอาหารได้ ความหยาบ กระด้างของกาย และความทรามของผิวพรรณก็ปรากฏมากข้ึน เกิดการดูหมิ่น ถือตัว เพราะ เหตุผิวพรรณน้ันมากขึ้น เถาไม้ก็หายไป ข้าวสาลี ไม่มีเปลือก มีกล่ินหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร ก็เกิดข้ึนแทน ใช้เป็นอาหารได้ ข้าวนี้เก็บเย็นเช้าก็แก่แทนท่ีขึ้นมาอีก ไม่ปรากฏพร่องไปเลย ความหยาบกระด้างของกาย ความทรามของผิวพรรณก็ปรากฏมากขึ้น เพศหญงิ เพศชาย จึงปรากฏเพศหญิงเพศชาย เมื่อต่างเพศเพ่งกันแลกันเกินขอบเขต ก็เกิดความ ก�ำหนัดเร่าร้อนและเสพเมถุนธรรมต่อหน้าคนทั้งหลาย เป็นท่ีรังเกียจ และพากันเอาส่ิงของ ขว้างปา เพราะสมัยน้ันถือการเสพเมถุนเป็นอธรรม เช่นกับท่ีสมัยน้ีถือว่าเป็นธรรม (ถูกต้อง) ตอ่ มาจงึ รจู้ ักสรา้ งบ้านเรือน ปกปิดซอ่ นเรน้ การสะสมอาหาร ต่อมามีผู้เกียจคร้านท่ีจะน�ำข้าวสาลีมาตอนเช้าเพื่ออาหารเช้า น�ำมาตอนเย็นเพ่ือ อาหารเย็น จึงน�ำมาครั้งเดียวให้พอทั้งเช้าทั้งเย็น ต่อมาก็น�ำมาครั้งเดียวให้พอส�ำหรับ ๒ วัน ๔ วัน ๘ วัน มีการสะสมอาหาร จึงเกิดมีเปลือกห่อหุ้มข้าวสาร ที่ถอนแล้วก็ไม่งอกขึ้นแทน ปรากฏความพร่อง (เป็นตอน ๆ ที่ถูกถอนไป) มนุษย์เหล่านั้นจึงประชุมกันปรารภความเส่ือม ลงโดยล�ำดบั แลว้ มีการแบง่ ข้าวสาลีกำ� หนดเขต (เปน็ ของคนนั้นคนน้ี) อกุศลธรรมเกิดข้นึ กษัตริยเ์ กิดขนึ้ ต่อมาบางคนรักษาส่วนของตน ขโมยของคนอื่นมาบริโภค เม่ือถูกจับได้ ก็เพียงแต่ สั่งสอนกันไม่ให้ท�ำอีก เขาก็รับค�ำ ต่อมาขโมยอีก ถูกจับได้ถึงครั้งท่ี ๓ ก็สั่งสอนเช่นเดิมอีก แต่บางคนก็ลงโทษ ตบด้วยมือ ขว้างด้วยก้อนดิน ตีด้วยไม้ เขาจึงประชุมกันปรารภว่า การ ลักทรัพย์ การติเตียน การพูดปด การจับท่อนไม้เกิดขึ้น ควรจะแต่งต้ังคนข้ึนให้ท�ำหน้าท่ีติคน ที่ควรติ ขับไล่คนที่ควรขับไล่ โดยพวกเราจะแบ่งส่วนข้าวสาลีให้ จึงเลือกคนท่ีงดงามมีศักดิ์ใหญ่ แต่งตั้งเป็นหัวหน้า เพื่อปกครองคน (ติและขับไล่คนท่ีท�ำผิด) ค�ำว่า ”มหาสมมต„ (ผู้ที่มหาชน แต่งต้ัง) กษัตริย์ (ผเู้ ป็นใหญแ่ หง่ นา) ราชา (ผทู้ �ำความอิม่ ใจ สขุ ใจแกผ่ ูอ้ ่นื ) จึงเกิดขนึ้ กษตั รยิ ์ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 499 5/4/18 2:25 PM
500 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ก็เกิดข้ึนจากคนพวกนั้น มิใช่พวกอื่น๑ จากคนเสมอกัน มิใช่คนไม่เสมอกัน เกิดข้ึนโดยธรรม มใิ ช่เกิดข้นึ โดยอธรรม ธรรมะจงึ เปน็ ส่งิ ประเสรฐิ สดุ ในหมชู่ นทง้ั ในปัจจุบันและอนาคต เกิดพราหมณ์ แพศย์ ศูทร ยังมีคนบางกลุ่มออกบวชมุ่งลอยธรรมท่ีชั่วเป็นอกุศล จึงมีนามว่า พราหมณ์ (ผู้ ลอยบาป) สร้างกุฎีหญ้าขึ้น เพ่งในกุฎีน้ัน จึงมีนามว่า ฌายกะ (ผู้เพ่ง) บางคนไปอยู่รอบ หมู่บ้านรอบนิคม แต่งต�ำรา (อรรถกถาว่า แต่งพระเวทและสอนให้ผู้อ่ืนสวดสาธยาย) คน จึงกล่าวว่า ไม่เพ่ง นามว่า อัชฌายกะ (ผู้ไม่เพ่ง) จึงเกิดขึ้น เดิมหมายความเลว แต่บัดนี้หมาย ความดี (อชั ฌายกะ ปัจจุบนั น้ีแปลว่า ผู้สาธยาย) ยังมีคนบางกลุ่ม ถือการเสพเมถุนธรรม ประกอบการงานเป็นส่วน ๆ จึงมีชื่อว่า เวสสะ (แพศย์ = ประกอบการค้า) ยังมีคนบางกลุ่ม ถือการเสพเมถุนธรรม อาศัยการล่าสัตว์เลี้ยงชีวิต จึงมีชื่อว่าศูทร (พระไตรปิฎกฉบับไทยตกหาย ข้อความวรรคน้ีทั้งวรรค จึงต้องแปลตามฝร่ัง๑ อรรถกถาอธิบาย ค�ำว่า สุทท (ศูทร) ว่าเพ้ียนมาจากค�ำว่า ลุทท (นายพราน) หรือ ขุทท (งานเล็ก ๆ น้อย ๆ) เป็นเชิงว่าพวกแพศย์ คือผู้ท�ำงานส�ำคัญ แต่พวกศูทรท�ำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เข้าใจกันท่ัวไป คอื ศูทรเป็นพวกคนงานหรอื คนรบั ใช)้ คร้ันแล้วตรัสสรูปว่า ท้ังพราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็เกิดจากพวกคนพวกน้ัน มิใช่เกิด จากคนพวกอื่น เกิดจากคนท่ีเสมอกัน มิใช่เกิดจากคนที่ไม่เสมอกัน เกิดข้ึนโดยธรรม มิใช่ เกิดข้ึนโดยอธรรม (แสดงว่าการแบ่งช้ันวรรณะนั้น ในช้ันเดิมได้มาจากหลักการอื่น นอกจาก การแบ่งงานหรือแบ่งหน้าที่กันตามความสมัครใจ แล้วก็ไม่ใช่ว่าใครวิเศษกว่าใครมาแต่ต้น แท้จริงก็คนชั้นเดียวกันมาแต่เดิม ทั้งน้ีเป็นการท�ำลายทิฏฐิมานะ ช่วยให้ลดการดูหม่ิน กันแลกัน เป็นการปฏิเสธหลักการของพราหมณ์ ท่ีว่าใครเกิดจากส่วนไหนของพระพรหม ซึ่งสงู ต�่ำกวา่ กัน) ๑๒ คำ� วา่ มใิ ช่พวกอ่นื เติมตามฉบับยโุ รป สงสยั ว่าฉบับไทย จะตกคำ� ว่า มใิ ช่ แตอ่ รรถกถาแก้วา่ ประกอบการงาน ฝรงั่ แปลวา่ เดินเท้าไปประกอบการค้าต่าง ๆ จากค�ำวา่ วิสํุ กมมฺ นเฺ ต ปโยเชสํุ ท่ีเด่น หรือช้ันสูง มีการเฝ้าหรือรักษา และการค้า เป็นต้น โคปกวาณิชกมฺมาทิเก วิสฺสุเต อุคฺคเต กมฺมนฺเต ปโยเชสํุ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 500 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ อัคคัญญสูตร 501 สมณมณฑล ทีฆนิกาย แล้วตรัสต่อไปว่า มีสมัยซ่ึงบุคคลในวรรณะทั้งส่ีมีกษัตริย์ เป็นต้น ไม่พอใจธรรมะ ของตน ออกบวชไม่ครองเรือน จึงเกิดสมณมณฑล หรือคณะของสมณะข้ึน จากคณะท้ัง ๔ คือเกิดจากคนเหล่านั้น มิใช่เกิดจากคนพวกอื่น เกิดจากคนที่เสมอกัน มิใช่เกิดจากคนท่ี ไม่เสมอกัน เกิดข้ึนโดยธรรม มิใช่เกิดขึ้นโดยอธรรม (อันนี้เป็นการพิสูจน์อีกว่า คนชั้นสมณะ ท่ีพวกพราหมณด์ หู มนิ่ อยา่ งยง่ิ นั้น กเ็ กิดจากวรรณะทง้ั ส่ี ซ่ึงมีมลู เดมิ มาด้วยกนั ไม่ใชใ่ ครสูงตำ�่ กวา่ กนั ) การไดร้ บั ผลเสมอกนั ครั้นแล้วตรัสสรูปว่า ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และสมณะ๑ ถ้าประพฤติ ทุจจริตทางกาย วาจา ใจ มีความเห็นผิด ประกอบกรรมซึ่งเกิดจากความเห็นผิด เมื่อตายไป ก็จะเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก เหมือนกัน ถ้าตรงกันข้าม คือประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ มีความเห็นชอบ ประกอบกรรม ซึ่งเกิดจากความเห็นชอบ เม่ือตายไป ก็จะเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์เหมือนกัน หรือถ้าท�ำท้ังสองอย่าง (คือชั่วก็ท�ำ ดีก็ท�ำ) ก็จะได้รับทั้งสุขท้ังทุกข์ เหมอื นกนั อนง่ึ วรรณะทง้ั สน่ี ้ี ถา้ สำ� รวมกาย วาจา ใจ อาศยั การเจรญิ โพธปิ กั ขยิ ธรรม ๗ ประการ๒ กจ็ ะปรินพิ พานไดใ้ นปจั จุบันเหมือนกนั และวรรณะท้ังสี่เหล่านี้ ผู้ใดเป็นภิกษุ เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ หมดกิจ ปลงภาระ หลุดพ้น เพราะรู้โดยชอบ ผู้น้ันก็นับว่าเป็นยอดแห่งวรรณะเหล่านั้นโดยธรรม มิใช่โดย อธรรม เพราะธรรมะเป็นสิง่ ประเสริฐสุดในหมชู่ นท้งั ในปัจจบุ นั และอนาคต ในท่ีสุดตรัสย�้ำถึงภาษิตของสนังกุมารพรหมและของพระองค์ ท่ีตรงกันว่า ”กษัตริย์ เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้ถือโคตร แต่ผู้ใดมีวิชชา (ความรู้) จรณะ (ความประพฤติ) ผู้น้ัน เป็นผปู้ ระเสรฐิ สดุ ในเทวดาและมนษุ ย์„ (หมายเหตุ : พระสูตรน้ี มีลีลาแสดงความเป็นมาของโลก แต่แสดงแล้ว ก็ยกธรรมะ เป็นจุดสูงสุดในเทวดาและมนุษย์ วรรณะท้ังสี่ก็มาจากคนพวกเดียวกัน ไม่มีใครวิเศษกว่ากัน แต่ภายหลังคนเข้าใจผิดดูหม่ินกันไปเอง การแสดงเรื่องความเป็นมาของโลก อาจวินิจฉัยได้ ๒๑ ฉบับทีฝ่ ร่งั แปล ไม่มคี �ำวา่ สมณะ ถา้ เปน็ เช่นนั้น พระไตรปิฎกฉบบั ยโุ รปก็ตกทส่ี �ำคญั หลายวรรค ๗ มีสติปัฏฐาน อรรถกถาแก้ว่า ได้แก่โพธิปักขิยธรรมทั้งสามสิบเจ็ดน่ันแหละ แต่ถ้าจัดตามหัวข้อใหญ่ก็มี สมั มปั ปธาน เปน็ ต้น ดหู นา้ ๔๕๙ (เสดจ็ ป่ามหาวนั ประชุมภิกษสุ งฆ์) - ม.พ.ป. PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 501 5/4/18 2:25 PM
502 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ เป็น ๒ ประการ คือประการแรก เป็นการเอาหลักของศาสนาพราหมณ์มาเล่า แต่อธิบายหรือ ตีความเสยี ใหมใ่ หเ้ ขา้ รปู เขา้ รอยกบั คติธรรมทางพระพทุ ธศาสนา อันช้ีให้เห็นว่าพราหมณเ์ ขา้ ใจ ของเกา่ ผิด จึงหลงยกตวั เองวา่ ประเสรฐิ อีกอยา่ งหนึง่ เปน็ การเลา่ โดยมิไดอ้ งิ คตขิ องพราหมณ์ โดยถือเป็นของพระพุทธศาสนาแท้ ๆ ก็แปลกดีเหมือนกัน เพราะถ้าเทียบส่วนใหญ่กับส่วนเล็ก ในทางวิทยาศาสตร์แล้วปรมาณูท่ีมีโปรตอนเป็นศูนย์กลาง มีอีเล็กตรอน เป็นตัววิ่งวน รวมทั้ง มีนิวตรอนเป็นส่วนประกอบด้วยน้ัน มีลักษณะใกล้เคียงกับสุริยะระบบ ซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็น จุดศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (PLANETS) เช่นโลกเรา และดาวพระศุกร์ พระเสาร์ เป็นต้น วนรอบคล้ายอีเล็กตรอน มีบางโอกาสท่ีปรมณูอาจถูกแยก ถูกท�ำลาย เพราะเหตุภายนอก เช่น ท่ีนักวิทยาศาสตร์จัดท�ำฉันใด สุริยะระบบ หรือ SOLAR SYSTEM ก็เช่นเดียวกัน อาจถูกท�ำลายหรือสลายตัว แล้วเกิดใหม่ได้ เพราะมีระบบสุริยะอื่นเข้ามาใกล้หรือมีเหตุอ่ืน เกิดขึ้น ในการเกิดก็เช่นเดียวกัน เม่ือท�ำลายได้ก็อาจรวมตัวได้ ในเม่ือธาตุไฮโดรเยนกับ ออกซิเยนรวมตัวกันเป็นน�้ำ พวกฝุ่นผงท่ีแหลกก็เข้ามารวมตัวกับน้�ำได้และแข้นแข็งข้ึนในท่ีสุด เป็นเรื่องเสนอชวนให้คิด แต่มิได้ชวนให้ติดในเกร็ด เพราะสาระส�ำคัญอยู่ท่ีการถือธรรมะ เป็นใหญเ่ ปน็ หลักของสงั คมทุกช้ัน) ๕. สมั ปสาทนยี สูตร (สูตรว่าดว้ ยคุณธรรมที่น่าเล่อื มใสของพระพุทธเจ้า) พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่ามะม่วงซ่ึงเศรษฐีขายผ้าเป็นผู้ถวาย (ปาวาริกัมพวัน) พระสาริบุตรเข้าไปเฝ้ากราบทูลว่า ท่านเล่ือมใสในพระผู้มีพระภาคว่า ไม่มีสมณพราหมณ์ใดใน อดีต อนาคต ปัจจุบัน ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคในทางตรัสรู้ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ท่าน เปล่งวาจาอย่างอาจหาญ บรรลือสีหนาทยืนยันแน่ลงไปโดยส่วนเดียว ท่านก�ำหนดรู้จิตของ พระผู้มีพระภาคในอดีต อนาคต ปัจจุบัน หรือว่ามีศีล มีธรรม มีปัญญา มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ และหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ๆ พระสาริบุตรตอบว่า เปล่า พระเจ้าข้า จึงตรัสถามว่า เมื่อเป็น เช่นน้ัน เหตุไฉนจึงเปล่งวาจาอย่างอาจหาญ บรรลือสีหนาท ยืนยันแน่ลงไปโดยส่วนเดียว อย่างน้ี พระสาริบตุ รแสดงความแน่ใจ พระสารีบุตรกราบทูลแสดงความแน่ใจของท่านว่า เปรียบเหมือนนายประตูผู้ฉลาด เฝา้ อยทู่ างประตเู ข้าออก ไมเ่ หน็ ทางอืน่ เชน่ ทีต่ ่อกำ� แพง หรือชอ่ งกำ� แพง แมท้ ่แี มวจะเขา้ ออก ได้ เขาย่อมแน่ใจว่าสัตว์ตัวใหญ่ย่อมเข้าออกพระนครนี้ทางประตูน้ีเท่าน้ัน ตัวท่านเองก็เป็น PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 502 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ สัมปสาทนียสูตร 503 เช่นนั้น รู้นัยแห่งธรรมว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าท้ังในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ทรงละ ทีฆนิกาย นีวรณ์ ๕ อันเป็นคร่ืองเศร้าหมองแห่งจิต อันท�ำปัญญาให้อ่อนก�ำลัง ทรงต้ังจิตไว้ด้วยดีใน สติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริงแล้ว จึงได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ๑ อันยอดเยี่ยม ท่านได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อสดับธรรม เม่ือสดับธรรมแล้วก็รู้ย่ิง ธรรมบางอย่างในธรรมนั้น ถึงความส�ำเร็จใน (อริยสัจจ) ธรรม เล่ือมใสในพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคแสดงดีแล้ว พระสงฆ์ ปฏิบัติดีแล้ว พระสารบิ ตุ รแสดงขอ้ นา่ เลื่อมใส ๑๕ ขอ้ คร้ันแล้วท่านได้แสดงธรรมะอันยอดเย่ียมที่พระผู้มีพระภาคแสดงแก่ท่าน ซึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสรอู้ ยา่ งไมม่ สี ว่ นเหลือ ไม่มขี อ้ ทคี่ วรร้ยู ่ิงข้นึ ไปอีก ซงึ่ จะพึงมีสมณพราหมณ์ อืน่ ยิ่งไปกว่า เปน็ ข้อ ๆ ดงั ตอ่ ไปนี้ ๑. กุศลธรรม (เเสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการตามหัวข้อใหญ่ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นตน้ จนถึงมรรคมอี งค์ ๘ ดูหนา้ ๔๕๙ เสด็จปา่ มหาวันประชมุ ภกิ ษสุ งฆ)์ ๒. ธรรมในการบัญญัติอายตนะ (ท้ังภายในและภายนอก คือตากับรูป หูกับเสียง จมกู กบั กลน่ิ ล้นิ กับรส กายกบั โผฏฐัพพะ และใจกบั ธรรมะ) ๓. ธรรมในการก้าวลงสู่ครรภ์ (มี ๔ ชนิด มีการก้าวลงสู่ครรภ์ การตั้งอยู่ การออก จากครรภ์ โดยไม่มีความรู้สึกตัว รู้ตัวในข้อแรก ไม่รู้ตัวใน ๒ ข้อหลัง รู้ตัวใน ๒ ข้อแรก ไม่รูต้ ัวในขอ้ หลัง รู้ตัวทั้งสามข้อ) ๔. ธรรมในการแสดงวิธีดักใจคน (อาเทศนาวิธี) (๔ อย่าง คือ ด้วยนิมิต ด้วยได้ ฟงั เสยี ง ด้วยเสียงละเมอ ของผวู้ ตกวจิ าร ด้วยการก�ำหนดรใู้ จของผไู้ ดส้ มาธ)ิ ๕. ธรรมในทัสสนสมาบัติ (เข้าฌานทีม่ กี ารเห็นอารมณต์ า่ ง ๆ รวม ๔ อยา่ ง คือเห็น อาการ ๓๒ มผี ม ขน เปน็ ตน้ พจิ ารณากระดกู พจิ ารณากระแสวญิ ญาณของบรุ ษุ อันตั้งอยู่ในโลกน้ีและโลกอื่น พิจารณาวิญญานของบุรุษอันไม่ตั้งอยู่ในโลกนี้ และโลกอน่ื ความพสิ ดารโปรด ดอู รรถกถา สุ.ว.ิ ๓/๑๑๗) ๑ ในตอนนม้ี คี ำ� ทคี่ วรชค้ี วามหมาย ๔ คอื (๑) นวี รณ์ กเิ ลสอนั กน้ั จติ มใิ หบ้ รรลคุ ณุ ความด ี (๒) สตปิ ฏั ฐานการตงั้ สติ (๓) โพชฌงค์องค์แห่งปัญญาเคร่ืองตรสั รู้ และ (๔) อนตุ ตรสัมมาสัมโพธิญาณ ญาณคอื การตรสั รูเ้ องโดยชอบอนั ยอดเยีย่ ม PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 503 5/4/18 2:25 PM
504 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๖. ธรรมในการบัญญัติบุคคล (มี ๗ อย่าง มีอุภโตภาควิมุต ผู้พ้นโดยส่วนท้ังสอง เป็นตน้ จนถึง สัทธานสุ ารี ผแู้ ล่นไปตามศรัทธา) ๗. ธรรมในกลุ่มท่ีเป็นประธาน (คือโพชฌงค์องค์แห่งปัญญาเป็นเคร่ืองตรัสรู้ ๗ อย่าง มีสติ เปน็ ตน้ ) ๘ . ธรรมในข้อปฏบิ ตั ิ (มี ๔ อยา่ ง มปี ฏบิ ัติล�ำบากและรู้ไดช้ า้ เป็นต้น) ๙. ธรรมในความประพฤติเก่ียวกับคำ� พูด (มี ๔ อย่าง คือ ไมพ่ ดู เท็จ ไม่พดู ส่อเสียด คือไม่ยใุ หแ้ ตกรา้ วกนั ไม่พูดแขง่ ดหี วงั จะไดช้ ัยชนะ เช่น เม่อื ถูกวา่ ท่านเปน็ คน ทศุ ลี กต็ อบวา่ ทา่ นนะ่ สทิ ศุ ลี อาจารยข์ องทา่ นกท็ ศุ ลี พดู ดว้ ยใชป้ ญั ญา มขี อ้ อา้ งองิ ถกู ต้องตามกาล) ๑๐. ธรรมในวธิ กี ารสงั่ สอน (คอื รวู้ ธิ สี งั่ สอนใหเ้ ปน็ พระอรยิ บคุ คล ๔ ชน้ั มพี ระโสดาบนั เป็นตน้ ) ๑๑. ธรรมในการรู้ความหลุดพน้ ของผ้อู ่นื (รู้ความหลุดพน้ ของพระอรยิ บคุ คล ๔) ๑๒. ธรรมในสัสสตวาทะ คือลัทธิที่เห็นว่าเที่ยง (มี ๓ อย่าง คือเห็นว่าตนและ โลกเทยี่ ง เพราะระลึกชาตไิ ด้ ดูหนา้ ๔๑๐ - ๔๑๑ ขอ้ ๑ (๑) (๒) (๓)) ๑๓. ธรรมในญาณหยั่งรู้ความจุติ (เคล่ือนหรือตาย) และอุปบัติ (เกิดข้ึน) ของสัตว์ ทง้ั หลาย มีทพิ ยจกั ษุ เหน็ สตั วไ์ ดช้ ั่วไดด้ ตี ามกรรมของตน) ๑๔. ธรรมในการแสดงฤทธ์ิ (ท้ังฤทธ์ิท่ีมีอาสวะและกิเลส และฤทธ์ิที่ไม่มีอาสวะ และกเิ ลส) ๑๕. พระผู้มีพระภาคทรงบรรลุธรรมท่ีบุรุษผู้มีศรัทธาพึงบรรลุด้วยความเพียร ด้วย เร่ียวแรง ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ไม่ทรงประกอบพระองค์ให้ชุ่มด้วยกาม ไม่ ทรงประกอบการทรมานพระองค์ให้ล�ำบาก ทรงไดฌ้ าน ๔ อันเปน็ เรือ่ งของจติ ใจ ชั้นสูง อนั เปน็ เครอื่ งอยู่เป็นสขุ ในปจั จบุ ันตามพระประสงค์ โดยไม่ยากลำ� บาก ครั้นแล้วท่านก็ย้�ำความแน่ใจของท่านว่า เม่ือมีใครถาม ท่านก็จะยืนยันว่า ไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งในอดีต อนาคต ปัจจุบันจะย่ิงไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางตรัสรู้ แต่ถ้า ถามว่า มีสมณพราหมณ์ในอดีต ในอนาคต ท่ีเสมอด้วยพระผู้มีพระภาคในทางตรัสรู้หรือไม่ ก็จะตอบว่า มี แต่ถ้าถามถึงปัจจุบันก็จะตอบว่าไม่มี ถ้าถูกถามอีกว่า ท�ำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก็จะ ตอบว่า เคยได้สดับมาในท่ีเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ท่ีเสมอด้วยพระองค์ในทางตรัสรู้ และได้เคยสดับในที่เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค (เช่นเดียวกัน) ว่า มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่ในโลกธาตุเดียวกัน จะมี PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 504 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ ปาสาทิกสูตร 505 พระอรหนั ตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกดิ ขน้ึ พรอ้ มกนั ๒ พระองค์ พระผูม้ พี ระภาคก็ตรัสรับรองภาษิต ทีฆนิกาย ของพระสาริบตุ ร คำ� ของพระอุทายี พระอุทายีก็กราบทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคว่า เป็นท่ีน่าอัศจรรย์ที่ทรงมีความ ปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขดั เกลา ทัง้ ๆ ท่ีทรงมีฤทธิม์ าก มีอานภุ าพมาก แตก่ ็ไม่ทรง ท�ำพระองค์ให้ปรากฏ (โออ้ วด) ๖. ปาสาทิกสตู ร (สูตรวา่ ดว้ ยพระธรรมเทศนาทนี่ ่าเลือ่ มใส) พระผู้มีพระภาคประทับในปราสาท ในป่ามะม่วงของเจ้าศากยะผู้เชี่ยวชาญในวิชาธนู (เวธญฺา สกฺยา) คร้ังน้ัน นิครนถนาฏบุตร (เจ้าลัทธิคนหนึ่งของศาสนานิครนถ์ หรือ ศาสนาเชน) ถึงแก่กรรมท่ีกรุงปาวา พวกนิครนถ์เกิดแตกกันเป็นสองฝ่าย ทะเลาะวิวาทกัน อย่างรุนแรง พระจุนทะ๑ (น้องชายพระสาริบุตร) จ�ำพรรษาใกล้กรุงปาวาจนตลอดพรรษาแล้ว ก็ไปหาพระอานนท์ ณ สามคาม ไหว้พระอานนท์แล้วเล่าความให้ฟัง พระอานนท์จึงชวน พระจุนทะไปเฝ้าพระผู้มพี ระภาค กราบทลู ให้ทรงทราบ ศาสดา หลักธรรม สาวก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถึงศาสดา หลักธรรมค�ำสอนและสาวก แบ่งออกเป็น ประเภทดงั นี้ ๑. ศาสดาไม่ดี หลักธรรมไมด่ ี สาวกไม่ดี ก็เป็นที่ตเิ ตียนทง้ั สามฝา่ ย ใครปฏิบตั ิตาม กป็ ระสบสิ่งมิใชบ่ ญุ เป็นอันมาก ๒. ศาสดาไม่ดี หลักธรรมไม่ดี แม้สาวกจะดี คือปฏิบัติตาม ก็เป็นที่ติเตียน ท้งั สามฝา่ ย ใครทำ� ความเพยี รตาม กป็ ระสบสง่ิ มใิ ช่บุญเปน็ อันมาก ๓ . ศาสดาดี หลักธรรมดี สาวกไม่ดี ศาสดาและหลักธรรมย่อมได้รับสรรเสริญ แตส่ าวกถูกตเิ ตียน ใครปฏิบัตติ าม กไ็ ด้ประสบบุญเปน็ อันมาก ๔. ศาสดาดี หลกั ธรรมดี สาวกดี ย่อมไดร้ ับสรรเสรญิ ทัง้ สามฝา่ ย ใครท�ำความเพียร ตาม กไ็ ดป้ ระสบบุญเปน็ อันมาก ๑ ในสำ� นวนบาลี เรยี กเปน็ จุนทะ สมณทุ เทส (สามเณรจุนทะ เปน็ คำ� เรยี กติดปากมาจากสมยั ท่ีทา่ นเปน็ สามเณร) PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 505 5/4/18 2:25 PM
506 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๕. ศาสดาดี หลกั ธรรมดี สาวกไมเ่ ข้าใจเนือ้ ความ (แหง่ ธรรม) แจ่มแจง้ เม่อื ศาสดา ตายแลว้ สาวกก็เดือดรอ้ นภายหลงั ๖. ศาสดาดี หลักธรรมดี สาวกเข้าใจเนื้อความ (แห่งธรรม) แจ่มแจ้ง เม่ือศาสดา ตายแล้ว สาวกกไ็ ม่เดอื ดร้อนภายหลัง พรหมจรรย์บริบูรณห์ รือไม่ ตรัสต่อไปอีกว่า พรหมจรรยท์ ี่ประกอบดว้ ยองคเ์ หลา่ นีแ้ ลว้ ๑. แตถ่ า้ ศาสดามใิ ชเ่ ป็นเถระ ผรู้ ้เู หน็ เหตกุ ารณ์มานาน บวชนาน กย็ งั ชือ่ ว่าบกพร่อง ในข้อน้ี ถ้าศาสดาเปน็ เถระ เป็นตน้ จงึ ชอื่ วา่ บริบูรณใ์ นข้อน้ี ๒ . ถ้าศาสดาเป็นเถระ เป็นต้น แต่ภิกษุผู้เป็นสาวกชั้นเถระไม่ฉลาดอาจหาญ ไม่ บรรลุธรรมอันเกษม ไมส่ ามารถจะบอกเลา่ ว่า สทั ธรรมย่�ำยีปรัปวาท (ข้อกล่าวหา ของผู้อื่น) ก็ยังช่ือว่าบกพร่องในข้อนี้ ถ้าสาวกช้ันเถระเป็นผู้ฉลาดอาจหาญ เป็นต้น จงึ ชอ่ื ว่าบริบูรณ์ในขอ้ นี้ ๓. ถ้าศาสดาและสาวกช้ันเถระเข้าลักษณะที่ดี แต่ภิกษุผู้เป็นสาวกช้ันกลางยังไม่ดี (เหมอื นชน้ั เถระ) กย็ งั ชอ่ื วา่ บกพรอ่ งในขอ้ น้ี โดยนยั นี้ กนิ ความถงึ ภกิ ษผุ เู้ ปน็ สาวก ทบี่ วชใหม ่ นางภกิ ษณุ ผี เู้ ปน็ สาวกิ าชนั้ เถระ ชน้ั กลาง ผบู้ วชใหม ่ อบุ าสกผปู้ ระพฤติ พรหมจรรย์ ผู้บริโภคกาม อุบาสิกาผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้บริโภคกาม๑ ถ้ายัง ไม่ดีสมบูรณ์ พรหมจรรย์ก็ยังไม่สมบูรณ์ ต่อเม่ือดีสมบูรณ์ พรหมจรรย์จึงช่ือว่า สมบูรณ์ ๔. ครั้นแล้วตรัสถึงพระองค์ พระธรรมค�ำสั่งสอน และพระสาวก ท้ังบรรพชิต และ คฤหัสถ์ ว่ามีคุณลักษณะสมบูรณ์ พรหมจรรย์จึงชื่อว่าสมบรู ณ์ ๕. ตรัสถึงพระองค์และพระสงฆ์ ว่าถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ ยศ แล้วตรัสถึงค�ำ ของอุททกดาบส รามบุตร ที่ว่าเห็นอยู่ แต่ไม่เห็น ซึ่งไขความว่า เห็นใบมีดโกนท่ี ลบั ดแี ลว้ แตไ่ มเ่ หน็ คมมดี โกนดงั น้ี วา่ เปน็ ภาษติ ไรป้ ระโยชน์ ทถ่ี กู ควรจะหมายถงึ ไม่เห็นพรหมจรรย์ ที่สมบูรณบ์ ริบรู ณ์และประกาศดแี ลว้ จงึ จะช่ือว่ากลา่ วชอบ ๑ มีข้อน่าสังเกตในที่นี้ คือค�ำว่า อุบาสก อุบาสิกา หรือสาวกฝ่ายคฤหัสถ์น้ัน มีทั้งสองประเภท คือประเภทถือ พรหมจรรย์ และประเภทครองเรือนธรรมดา PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 506 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ ปาสาทิกสูตร 507 ตรัสแนะให้จัดระเบยี บหรือสังคายนาพระธรรม ทีฆนิกาย ตรัสแนะพระจุนทะให้เทียบเคียงธรรมท่ีทรงแสดงแล้วด้วยปัญญาอันย่ิง พึงสังคายนา พึงวิจารอรรถะกับอรรถะ พยัญชนะกับพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ย่ังยืน เป็นไปเพ่ือ ประโยชน์ และความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพ่ืออนุเคราะห์ เพ่ือประโยชน์เกื้อกูล และความสุข แก่เทวาและมนุษย์๑ แล้วทรงช้ีแจงว่า ธรรมท่ีทรงแสดงด้วยปัญญาอันย่ิง มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น มีมรรคมีองค์ ๘ เป็นที่สุด (ที่เรียกว่าโพธิปักขิยธรรม คือธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่ง ปัญญาตรัสรู้รวม ๓๗ ประการ ดูหนา้ ๔๕๙ เสดจ็ ป่ามหาวนั ประชุมภกิ ษุสงฆ)์ ตรัสแนะลักษณะสอบสวนพระธรรม ตรัสแนะให้ศึกษาพระธรรม (ท้ังสามสิบเจ็ดประการเหล่านั้น (ดูหน้า ๔๕๙ เสด็จป่า มหาวนั ประชุมภกิ ษสุ งฆ์) โดยพร้อมเพรยี ง ไม่ววิ าทกันแลว้ ตรัสแนะวธิ ีสอบสวนพระธรรมเมอื่ พระสงฆพ์ รหมจารกี ล่าวธรรม ๑. ถ้ารู้สึกว่า ถือเอา อรรถะผิด ยกพยัญชนะผิด ก็ไม่พึงเห็นด้วย (อภินันท์) หรือ คัดค้าน พึงกลา่ วกะเธอว่า พยัญชนะนี้กับพยัญชนะอกี อันหนึ่ง ของอรรถะน้ี และ อรรถะนกี้ บั อรรถะอกี อนั หนง่ึ ของพยญั ชนะน้ี อยา่ งไหนจะชอบดว้ ยอบุ ายกวา่ กนั ถ้าผู้กล่าวธรรมกล่าวว่า พยัญชนะน้ี อรรถะน้ี ชอบด้วยอุบายกว่าก็ไม่พึงยกย่อง หรือคดั คา้ น พึงกำ� หนดหมายให้ดี เพือ่ พจิ ารณาอรรถะและพยัญชนะนนั้ ๆ (คำ� ว่า พยัญชนะ หมายถงึ ตัวอกั ษรหรือถ้อยค�ำ อรรถะ หมายถึงความหมายของ ตัวอกั ษรหรอื ถอ้ ยค�ำ) ๒. ถา้ ร้สู ึกว่า ถอื เอาอรรถะผิด ยกพยัญชนะถกู ก็พงึ สอบถาม อรรถะของพยัญชนะ สองฝา่ ย ว่าอนั ไหนจะชอบดว้ ยอบุ ายกว่ากนั แล้วพจิ ารณา (เหมือนข้อ ๑) ๓. ถ้ารู้สึกว่า ถือเอาอรรถะถูก ยกพยัญชนะผิด ก็พึงสอบถาม พยัญชนะสองฝ่าย ของอรรถะนี้ วา่ อนั ไหนจะชอบดว้ ยอบุ ายกว่ากัน แล้วพิจารณา (เหมอื นขอ้ ๑) ๔. ถา้ รูส้ ึกวา่ ถือเอาอรรถะถูก ยกพยัญชนะถกู กพ็ ึงอนโุ มทนา อาสวะปัจจบุ ันกับอนาคต แล้วตรัสว่า มิได้ทรงแสดงธรรมเพ่ือให้ส�ำรวมอาสวะ (กิเลสท่ีดองสันดาน) ท่ีเป็น ปจั จุบัน หรอื เพ่ือให้ทำ� ลายอาสวะทเ่ี ปน็ อนาคตอย่างใดอย่างหนึง่ เทา่ น้นั แตเ่ พอื่ ทั้งสองอย่าง ๑ นีเ้ ป็นทมี่ าส�ำคัญ ที่แสดงวา่ พระพทุ ธเจ้าทรงแนะใหส้ ังคายนาใหว้ ิจารพระธรรมที่ทรงแสดงแล้ว ดั่งท่ีอา้ งไวห้ นา้ ๘ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 507 5/4/18 2:25 PM
508 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ แล้วทรงแสดงการที่อนุญาตปัจจัย ๔ ว่า เพื่อบ�ำบัดร้อนหนาวและเพื่อพอยังชีวิตให้ เปน็ ไป เปน็ ต้น ตรัสแนะขอ้ โตต้ อบกบั เจ้าลทั ธอิ ่ืน ๑. ถ้านักบวชลัทธิอื่นกล่าวหาว่า สมณะศากยบุตรประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข พึงถามว่าประกอบแบบไหน เพราะมีอยู่มากด้วยกัน คือบางคนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดปด บำ� เรอ (ตน) ดว้ ยกามคุณ อย่างนช้ี ื่อว่าประกอบตนใหช้ ุ่มด้วยความสขุ แบบชาวบา้ น ซง่ึ ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน ๒. ถ้านักบวชลัทธิอ่ืนกล่าวหาว่า สมณะศากยบุตรประกอบตนให้ชุ่มด้วยความสุข ๔ อย่าง (ดังกล่าวในข้อ ๑) ก็พึงปฏิเสธว่า ไม่เป็นจริง แล้วทรงแสดงการประกอบตนให้ชุ่ม ด้วยความสุข ที่เป็นไปเพื่อนิพพานว่าได้แก่ความสุขในฌาน ๔ ถ้านักบวชลัทธิอ่ืนกล่าวว่า สมณะศากยบุตรประกอบตนใหช้ ุ่มด้วยความสุข ๔ อย่างนี้ กพ็ ึงรบั รองว่ากลา่ วถูกต้อง ๓. ถ้านักบวชลัทธิอ่ืนถามถึงผลและอานิสงส์ (ผลดี) ท่ีผู้ประกอบตนให้ชุ่มด้วย ความสุข (ในฌาน ๔) จะพึงหวงั ได้ กพ็ งึ ตอบว่า มี ๔ อย่าง คือ (๑) เป็นพระโสดาบนั จะได้ตรัสรตู้ อ่ ไป เพราะสนิ้ สัญโญชน์ ๓ (๒) เปน็ พระสกทาคามผี จู้ ะกลบั มาเกดิ เพยี งครง้ั เดยี ว เพราะสน้ิ สญั โญชน์ ๓ และ ทำ� ราคะ โทสะ โมหะ ใหน้ ้อยลง (๓) เปน็ พระอนาคามผี ู้ไมก่ ลับมาเกดิ อีก เพราะส้ินสญั โญชน์เบือ้ งตำ�่ ทัง้ หา้ (๔) ทำ� ใหแ้ จง้ ซงึ่ เจโตวมิ ตุ ิ ปญั ญาวมิ ตุ อิ นั ไมม่ อี าสวะ เพราะสน้ิ อาสวะอยใู่ นปจั จบุ นั (เปน็ พระอรหนั ต)์ ๑ ๑ พระโสดาบันละกิเลสที่เรียกว่าสัญโญชน์ (เคร่ืองร้อยรัดหรือเคร่ืองผูก) ๓ อย่าง คือ (๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็น เป็นเหตุถือตัวตน (๒) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (๓) สีลัพพตปรามาส ความเช่ือถือโชคลางหรือพิธีกรรม พระอนาคามีละเพิ่มได้อีก ๒ คือ (๔) กามราคะ ความก�ำหนัดด้วยอ�ำนาจกิเลสกาม (๕) ปฏิฆะ ความขัดใจ พระอรหันต์ละสัญโญชน์ได้ทั้งสิบ คือ ๕ ข้อแรกที่กล่าวมาแล้ว และ (๖) รูปราคะ ความติดใจในรูป หมายถึง ติดรูปฌาน (๗) อรูปราคะ ความติดใจในสิ่งท่ีมิใช่รูป หมายถึงติดอรูปฌาน (๘) มานะ ความถือตัว (๙) อุทธัจจะ ความฟุ้งสร้าน (๑๐) อวิชชา ความไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง ๕ ข้อแรกเรียกสัญโญชน์เบ้ืองต�่ำ ๕ ขอ้ หลังเรียกสญั โญชนเ์ บ้อื งสงู PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 508 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ ปาสาทิกสูตร 509 ๔. นักบวชลัทธิอื่นกล่าวหาว่า สมณศากยบุตรมีธรรมอันไม่ต้ังมั่น พึงชี้แจงว่า ทีฆนิกาย ธรรมะท่ีพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่สาวก มิให้ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต มีอยู่ คือภิกษุผู้เป็น พระอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้วยอ่ มไมค่ วรก้าวล่วงฐานะ ๙ อย่างจนตลอดชีวติ คือ (๑) ไม่ฆา่ สัตว์โดยจงใจ (๒) ไม่ลกั ทรัพย์ (๓) ไม่เสพเมถุน (๔) ไมพ่ ูดปดทง้ั ท่รี ู้ (๕) ไมส่ ะสมอาหารบรโิ ภคเหมอื นคนทเ่ี คยเป็นเจ้าหน้าท่เี รือนคลงั (๖) ไม่ล�ำเอียงเพราะชอบ (๗) ไมล่ �ำเอยี งเพราะชงั (๘) ไม่ลำ� เอียงเพราะหลง (๙) ไมล่ ำ� เอยี งเพราะกลัว ๕. นักบวชลัทธิอ่ืนอาจกล่าวหาว่า พระสมณโคดมบัญญัติญาณทัสสนะ (ความเห็น ด้วยญาณ) อันไม่มีขอบเขต ปรารภระยะกาลนานไกลอันเป็นอดีต ไม่ปรารภระยะกาลนาน ไกลอันเป็นอนาคต เพราะเป็นผเู้ ขลา ญาณหยง่ั รูค้ วามเป็นไปในชาติก่อน ปรารภอดตี กาลนาน ไกลของพระตถาคต มีอยู่ ปรารถนาจะระลึกเท่าใด ก็ระลึกได้เท่านั้น ส่วนญาณที่เกิดจาก ปัญญาตรัสรู้ ที่ปรารภอนาคตกาลนานไกล ย่อมเกิดขึ้นแก่พระตถาคตว่า ชาตินี้เป็นชาติ สดุ ท้าย ไมม่ กี ารเกดิ อีก ก. อดีต อนาคต ปัจจุบนั ท่ีไมจ่ รงิ ไมแ่ ท้ ไม่มปี ระโยชน์ ตถาคตกไ็ มพ่ ยากรณ์ ข. อดตี อนาคต ปจั จุบนั ทจ่ี ริง แท้ แต่ไม่มปี ระโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์ ค. อดีต อนาคต ปจั จุบนั ที่จริง แท้ มีประโยชน์ ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะตอบ ปญั หานัน้ ในเรือ่ งนนั้ ฆ. ตถาคตเปน็ ผ้กู ลา่ วใหเ้ หมาะแกก่ าล กลา่ วความจรงิ กล่าวส่งิ ทเี่ ป็นจรงิ กลา่ ว ส่ิงมีประโยชน์ กล่าวเป็นธรรมกล่าวเป็นวินัย ในธรรมท่ีเป็นอดีต อนาคต และปจั จุบนั ฉะน้นั จงึ เรยี กวา่ ตถาคต ง. ตถาคตตรัสรู้โดยชอบสิ่งซ่ึงโลก พร้อมท้ังเทวดา มาร พรหม สมณพราหมณ์ ได้รู้แจ้งด้วยอายตนะ ไดบ้ รรลุ ไดแ้ สวงหา ไดต้ รองถึงแลว้ ฉะนน้ั จงึ เรียกว่า ตถาคต PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 509 5/4/18 2:25 PM
510 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ จ. ตถาคตตรัสแสดงถึงส่ิงใดในระหว่างที่ตรัสรู้ จนถึงปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ส่ิงน้ันย่อมเป็นอย่างน้ันท้ังหมด ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น จึงเรยี กวา่ ตถาคต ฉ. ตถาคตพูดได้อย่างใด ท�ำได้อย่างนั้น ท�ำได้อย่างใด พูดได้อย่างนั้น ฉะน้ัน จงึ เรียกวา่ ตถาคต ช. ตถาคตเป็นใหญ่ ไม่มใี ครครอบงำ� ได้ รูเ้ ห็นตามเปน็ จริง เป็นผู้มอี ำ� นาจ (โดย คุณธรรม) ฉะนน้ั จงึ เรียกวา่ ตถาคต๑ ๖. ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามว่า สัตว์ตายแล้วเกิด หรือไม่เกิด หรือว่าท้ังเกิดท้ังไม่เกิด หรอื ว่าเกดิ ก็ไม่ใช่ ไมเ่ กดิ ก็ไม่ใช่ พึงตอบวา่ ข้อนน้ั พระผู้มพี ระภาคไมท่ รงพยากรณ์๒ ๗ . ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามว่า เหตุไฉนพระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรงพยากรณ์ข้อนั้น (ทีก่ ลา่ วในขอ้ ๖) พึงตอบวา่ เพราะไม่ประกอบดว้ ยประโยชน์ ไมป่ ระกอบด้วยธรรม ไม่เป็นไป เพ่ือนิพพาน ถ้าถามว่าอะไรเล่าท่ีทรงพยากรณ์ พึงตอบว่า ทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (อริยสัจจ์ ๔) ถ้าถามว่า เหตุไฉนพระผู้มีพระภาคจึง พยากรณ์เรอื่ ง (อรยิ สจั จ์ ๔) น้ัน พงึ ตอบวา่ เพราะประกอบด้วยประโยชน์ ประกอบด้วยธรรม เปน็ ไปเพ่อื นพิ พาน ไมท่ รงอนุมตั ิทฏิ ฐิตา่ ง ๆ เพราะเหตไุ ร ทรงแสดงว่าเร่ืองท่ีควรพยากรณ์ ก็ทรงพยากรณ์ ไม่ควรพยากรณ์ จะทรงพยากรณ์ ท�ำไม ทรงแสดงท้ังทิฏฐิท่ีปรารภที่สุดเบื้องต้น ทั้งทิฏฐิท่ีปรารภที่สุดเบ้ืองปลาย (ดูพรหมชาล สูตร หน้า ๔๑๐ - ๔๑๓ ซ่ึงในพระสูตรนี้น�ำมากล่าวเพียงบางส่วน) แล้วตรัสว่า ไม่ทรงอนุมัติ ตามค�ำกล่าวของสมณพราหมณ์เหล่าน้ัน เพราะที่ยืนยันลงไปอย่างนั้น ยังมีสัตว์ประเภทอ่ืนอีก ที่เปน็ อย่างอน่ื แล้วทรงแสดงสติปัฏฐาน (การต้ังสติ)๓ ๔ อย่างว่า เพ่ือละ เพ่ือก้าวล่วงทิฏฐิทั้งสอง ประเภทนัน้ พระอุปทานะยืนถวายอยู่งานพัด ณ เบ้ืองพระปฤษฎางค์พระพุทธเจ้า กราบทูล สรรเสริญพระธรรมเทศนาว่า น่าอัศจรรย์ น่าเล่ือมใส (ปาสาทิกะ) พระผู้มีพระภาคจึงตรัสให้ เรยี กชอื่ ธรรมปรยิ ายนวี้ า่ ”ปาสาทิกะ„ ๒๑๓ ควรดหู นา้ ๘๘ หมายเลข ๑๒ ซ่งึ น�ำข้อความพระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ มาแปลไว้ดว้ ย ดหู น้า ๔๓๕ หมายเลข ๖ ดว้ ย ดูหนา้ ๔๗๓ หมายเลข ๙ - ม.พ.ป. PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 510 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ สิงคาลกสูตร 511 ๗. ลักขณสูตร ทีฆนิกาย (สูตรวา่ ดว้ ยมหาปรุ สิ ลกั ขณะ ๓๒ ประการ) พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี ณ ท่ีนั้นตรัสแสดงมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ ท่ีท�ำให้มหาบุรุษมีคติเป็น ๒ คือถ้าอยู่ ครองเรือน จะไดเ้ ปน็ พระเจ้าจกั รพรรดิ ถา้ ออกบวช จะไดเ้ ป็นพระอรหนั ตสัมมาสมั พทุ ธเจ้า มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ มีพระบาทต้ังลงด้วยดี (มีพ้ืนพระบาทเสมอ ไม่ แหว่งเว้า) เป็นข้อต้น มีพระเศียรประดับด้วยพระอุณหิส (กรอบพระพักตร์) เป็นข้อสุดท้าย แลว้ ทรงแสดงวา่ ลกั ษณะแตล่ ะอย่างทเี่ กิดขนึ้ นัน้ เกดิ ขน้ึ เพราะกระทำ� กรรมดตี า่ ง ๆ ไว้ เช่นในข้อแรก เพราะเคยสมาทานม่ันในกุศลธรรม สมาทานม่ันในกุศลธรรมอันยิ่ง ข้อใดข้อหนึ่ง เช่น กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ในการจ�ำแนกทาน สมาทานศีล รักษา อุโบสถ เก้อื กลู มารดา บิดา สมณพราหมณ์ และอ่อนน้อมตอ่ ผู้ใหญใ่ นสกลุ ข้อสดุ ท้าย เพราะเคยเป็นหวั หนา้ ในการบ�ำเพ็ญกศุ ลธรรม มีกายสุจริต เปน็ ตน้ (หมายเหตุ : การเเสดงเหตุผลที่ได้มหาปุริสลักษณะแต่ละข้อ ในพระสูตรน้ีมิได้ เป็นไปตามล�ำดับข้อและในที่นี้ได้น�ำมากล่าวอย่างย่นย่อที่สุด เพื่อสามารถย่อพระไตรปิฎก เล่มอื่น ๆ ได้อีก มิฉะนั้นจะต้องขยายอีกหลายเล่ม แต่ขอเสนอว่า ถ้าท่านผู้ใดสนใจจะอ่าน เร่ืองน้ีโดยละเอียด อาจหาหนังสือปฐมสมโพธิกถาฉบับท่ีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงช�ำระ ซึ่งพิมพ์แพร่หลายพอสมควร๑ อ่านได้จุดส�ำคัญของ พระสูตรนี้ แสดงว่าการได้ดไี ม่ใชเ่ กดิ ขึน้ ลอย ๆ ตอ้ งประกอบเหตุจงึ ไดร้ บั ผล) ๘. สงิ คาลกสตู ร (สตู รวา่ ดว้ ยสิงคาลกมาณพ) พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวัน (ป่าไผ่) ใกล้กรุงราชคฤห์ เช้าวันหน่ึงเสด็จสู่กรุง ราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกมาณพมีผ้าเปียก มีผมเปียก ไหว้ทิศ ทั้งหกอยู่ ตรัสถาม ทราบว่าเป็นการท�ำตามค�ำสั่งของบิดา จึงตรัสว่า ในอริยวินัยไม่พึงไหว้ทิศ แบบนี้ เมื่อมาณพกราบทูลถามว่า พึงไหว้อย่างไร จึงตรัสแสดงธรรมเป็นล�ำดับว่า เพราะเหตุ ท่ีอริยสาวก (สาวกของพระอริยะ) ละกรรมกิเลส ๔ ได้ ไม่ท�ำกรรมชั่วโดยฐานะ ๔ ไม่เสพ ปากทางแห่งความเสื่อมทรัพย์ (โภคานํ อปายมุขานิ) ๖ ประการ เขาปราศจากความชั่ว ๑๔ ๑ พมิ พ์ พ.ศ.๒๔๗๘ จำ� นวน ๒,๐๐๐ ฉบับ โรงพมิ พโ์ สภณพิพรรฒธนากร PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 511 5/4/18 2:25 PM
512 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ด่ังกล่าวได้แล้ว เป็นผู้ปกปิดทิศ ๖ ชื่อว่าปฏิบัติเพ่ือชัยชนะในโลกทั้งสอง คือโลกนี้และ โลกหน้า เมอื่ ตายไปก็จะเข้าถงึ สุคตโิ ลกสวรรค์ กรรมกิเลส ๔ กรรมกิเลส คือการกระท�ำท่ีเศร้าหมอง มี ๔ อย่างท่ีอริยสาวกละได้ คือ (๑) ฆ่าสัตว์ (๒) ลกั ทรพั ย์ (๓) ประพฤตผิ ิดในกาม (๔) พดู ปด ไม่ทำ� ความชว่ั โดยฐานะ ๔ อริยสาวกไม่ท�ำกรรมชั่วโดยฐานะ ๔ คือถึงความล�ำเอียง เพราะรัก เพราะชัง เพราะหลง เพราะกลวั ท�ำกรรมชัว่ อบายมุข ๖ อริยสาวกไม่เสพปากทางแห่งความเส่ือมทรัพย์ ๖ อย่าง คือ (๑) เป็นนักเลงสุรา (๒) เท่ยี วกลางคนื (๓) เที่ยวดูการเลน่ (๔) เล่นการพนัน (๕) คบคนช่วั เป็นมติ ร (๖) เกียจครา้ น ครน้ั แลว้ ทรงแสดงโทษของอบายมขุ แต่ละข้อ ขอ้ ละ ๖ อยา่ ง มติ รเทียม ๔ ประเภท ทรงแสดงมิตรเทียม (มิตตปฏิรูปกะ) ๔ ประเภท คือ (๑) มิตรปอกลอก (๒) มิตร ดีแต่พูด (๓) มิตรหัวประจบ (๔) มิตรชวนในทางเสียหาย พร้อมทั้งแสดงลักษณะของ มิตรเทียมท้ังสป่ี ระเภทนั้น ประเภทละ ๔ ประการ มิตรแท้ ๔ ประเภท ทรงแสดงมิตรแท้ ๔ ประเภท คือ (๑) มิตรมีอุปการะ (๒) มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข (๓) มิตรแนะประโยชน์ (๔) มติ รอนุเคราะห์ (อนุกมั ปกะ)๑ พร้อมท้งั แสดงลักษณะของมิตรแท้ ท้งั ส่ีประเภทน้ัน ประเภทละ ๔ ประการ ๑ ในนวโกวาทใช้ว่า มิตรมีความรักใคร่ คือ ทุกข์ ๆ ด้วย สุข ๆ ด้วย โต้เถียงคนท่ีติเตียนเพ่ือน รับรองคนที่พูด สรรเสริญเพื่อน ส่วนมิตรมีอุปการะประเภทแรก คือป้องกันเพื่อนผู้ประมาท ป้องกันทรัพย์ของเพื่อนผู้ประมาท เม่ือมีภัยเอาเป็นท่ีพึ่งได้ เม่ือมีธุระออกทรัพย์ช่วยเหลือเกินกว่าที่ออกปาก ในท่ีน้ีได้เทียบให้ดูมิตรมีอุปการะ กับ มติ รอนุเคราะห์ ซงึ่ มชี ื่อคล้ายกันว่ามีลกั ษณะตา่ งกันอยา่ งไร PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 512 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ อาฏานาฏิยสูตร 513 ทิศ ๖ คือบุคคล ๖ ประเภท ทีฆนิกาย อริยสาวกเป็นผู้ปกปิด (ปฏิบัติชอบ) ทิศท้ังหก คือ ควรทราบว่า (๑) ทิศเบื้องหน้า ได้แกม่ ารดาบดิ า (๒) ทศิ เบอื้ งขวา ไดแ้ กอ่ าจารย์ (๓) ทศิ เบอ้ื งหลัง ไดแ้ ก่บุตรภรรยา (๔) ทิศ เบ้ืองซ้าย ได้แก่มิตรอ�ำมาตย์ (ค�ำว่า อ�ำมาตย์ เป็นส�ำนวนบาลี หมายถึงมิตรอย่างเดียว) (๕) ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ทาส กรรมกร (๖) ทิศเบ้ืองบน ได้แก่สมณพราหมณ์ (ค�ำว่า พราหมณ์ กเ็ หมือนกัน เป็นสำ� นวนแฝดกับคำ� วา่ สมณะ คงหมายเฉพาะสมณะ) ครั้นแล้วแสดงการปฏิบัติต่อบุคคลท้ังหกประเภท ท่ีเปรียบเหมือนทิศ ๖ เหล่าน้ี ฝ่ายละ ๕ ประการ เป็นการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันทุกฝ่าย เช่น มารดาบิดากับบุตรธิดา อาจารยก์ ับศิษย ์ สามกี บั ภรรยา มติ รกบั มติ ร นายจา้ งกับลกู จ้าง สมณะกับประชาชน สิงคาลมาณพก็เลื่อมใสพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัย ตลอดชีวติ (หมายเหตุ : พระสตู รนชี้ าวยโุ รปเลื่อมใสกนั มากวา่ จะแกป้ ัญหาสังคมได้ เพราะเสนอ หลักทิศ ๖ อันแสดงว่าบุคคลทุกประเภทในสังคมควรปฏิบัติต่อกันในทางท่ีดีงาม ไม่มีการ กดฝ่ายใดฝ่ายหน่ึงลงไป อนึ่ง ในท่ีนี้ไม่ได้แปลรายละเอียดท้ังหมด เพ่ือรวบรัด ผู้ต้องการ ทราบรายละเอียดโปรดอ่านหนังสือนวโกวาท ซงึ่ พมิ พ์แพร่หลายแลว้ นับจำ� นวนลา้ นฉบบั ) ๙. อาฏานาฏยิ สตู ร (สตู รวา่ ด้วยการรักษาในอาฏานาฏานคร) พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ในราตรีหน่ึงท้าวมหาราช ทัง้ ๔๑ พร้อมดว้ ยเสนารกั ษ์ คนธรรพ์ (รุกขเทวดา) กมุ ภัณฑแ์ ละนาค มาเฝา้ พระผู้มพี ระภาค เม่ือท้าวมหาราชทั้งส่ีถวายบังคมแล้ว ท้าวเวสสวัณ (มีนามอีกอย่างหนึ่งว่าท้าวกุเวร) กราบทูลว่า มียักษ์ชั้นผู้ใหญ่ช้ันกลางชั้นต่�ำ ท่ีเล่ือมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ไม่เลื่อมใสก็มี แต่ ท่ีไม่เล่ือมใสมีมาก เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม เพ่ือเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปด ด่ิมสุราเมรัย พวกยักษ์เหล่านั้นไม่เว้นจากสิ่งเหล่าน้ีโดยมาก จึงไม่ชอบ มีสาวกของพระผู้มีพระภาคเสพเสนาสนะอันสงัดในป่า ซึ่งพวกยักษ์ช้ันผู้ใหญ่ที่ ไมเ่ ลอื่ มใสในพระธรรมวนิ ยั ของพระผมู้ พี ระภาคอาศยั อยู่ เพอื่ คมุ้ ครองรกั ษาเพอื่ ไมเ่ บยี ดเบยี น ๑ ท้าวมหาราชทั้งส่ี คือ ท้าวธตรฐ มีคนธรรพ์เป็นบริวาร ครองทิศบูรพา ท้าววิรุฬหก มีกุมภัณฑ์เป็นบริวาร ครองทิศทักษิณ ท้าววิรูปักข์ มีนาคเป็นบริวาร ครองทิศประจิม ท้าวกุเวรหรือเวสสวัณ มียักษ์เป็นบริวาร ครองทิศอุดร PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 513 5/4/18 2:25 PM
514 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ เพ่ืออยู่เป็นสุขแห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงเรียนการรักษา ชื่ออาฏานาฏิยา เพื่อท�ำยักษ์เหล่านั้นให้เลื่อมใส พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ ท้าวเวสสวณั จึงกล่าวถงึ การรักษา๑ ชือ่ อาฏานาฏิยา ใจความแหง่ ”รักขา„ นน้ั เป็นถ้อยค�ำนมัสการพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ มีพระวิปสั สี เป็นต้น พระโคตมพุทธเจ้าเป็นองค์ที่สุด พร้อมทั้งพรรณนาถึงคุณลักษณะของพระองค์ มีการ กล่าวพรรณนาถึงท้าวมหาราชท้ังส่ีองค์ ประจ�ำทิศต่าง ๆ พร้อมด้วยบุตร ซึ่งเคารพ นมัสการ พระพุทธเจ้า เมื่อภิกษุ ภิกษณุ ี อุบาสก อุบาสกิ า เรียน ”รักขา„ น้ี ทอ่ งบน่ ดีแลว้ อมนษุ ยใ์ ด ๆ จะเป็นยักษ์ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค ตลอกจนพวกพ้อง ถ้ามีจิตประทุษร้าย เข้าไปใกล้ ผู้เรียน ”รักขา„ น้ี จะเข้าพวกไม่ได้ จะช่ือว่าประพฤติผิดเหมือนโจร จะถูกลงโทษ พวกยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดจี ะคอยชคี้ วามผดิ ของอมนษุ ยเ์ หล่านัน้ พระผมู้ พี ระภาคจงึ ตรสั เลา่ ใหภ้ กิ ษทุ ง้ั หลายฟงั และทรงพระอนญุ าตใหเ้ รยี น ”รกั ขา„ นไ้ี ด้ (หมายเหตุ : พระสูตรนี้ เมื่อพิจารณาอย่างกว้าง ๆ ย่อมแสดงถึงความเข้มแข็งของ พระพุทธศาสนาเป็นการเสนอหลักการให้ถอนความกลัวต่อภูตผีปีศาจ ซ่ึงคนสมัยน้ันยังเช่ือ กันอยู่ทั่วไป เพราะเม่ือนายของพวกยักษ์ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ และนาคเองยังมาอ่อนน้อม กราบไหว้คุณความดีของพระพุทธเจ้า พวกบริวารก็เกะกะไม่ถนัดนัก เป็นการน�ำความดีช้ันสูง มาช่วยให้ผู้หวาดกลัวมีความอุ่นใจในคุณความดีที่เหนือกว่า เท่ากับเอาชนะความช่ัวด้วย ความด)ี ๑๐. สังคีติสตู ร สตู รว่าดว้ ยการรอ้ ยกรองหรือสงั คายนาค�ำสอน พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จจาริกไปในแคว้นมัลละ ทรง แวะ ณ นครปาวา ประทบั อยู่ในป่ามะมว่ งของนายจนุ ทะบุตรชา่ งทอง คร้ังนั้น มัลลกษัตริย์สร้างสัณฐาคาร๒ ขึ้นใหม่ ยังไม่มีใครใช้ เมื่อทราบว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมาจึงนิมนต์ให้ทรงใช้ก่อน มัลลกษัตริย์จะใช้ภายหลัง พระผู้มีพระภาค ทรงรับนิมนต์แล้ว เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ พระองค์เองประทับน่ังพิงเสากลาง ภิกษุสงฆ์ ๑๒ ค�ำว่า ”รกั ขา„ มีลกั ษณะเดียวกบั ”ปริตร„ คอื คำ� สวดสำ� หรบั คุ้มครองปอ้ งกันภัย โรงโถงหรือหอประชุม PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 514 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ สังคีติสูตร 515 น่ังพิงฝาด้านตะวันออก มัลลกษัตริย์น่ังพิงฝาด้านตะวันตก พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม ทีฆนิกาย จนดึก จึงตรัสให้มัลลกษัตริย์กลับได้ ครั้นทรงเห็นภิกษุสงฆ์ยังไม่ง่วง จึงตรัสสั่งพระสาริบุตร ให้แสดงธรรมแทน พระองค์เองทรงปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ช้ัน ทรงพักผ่อนส�ำเร็จสีหไสยา (บรรทม แบบราชสหี ์ คอื ตะแคงขวา) พระสาริบุตรปรารภความท่ีนิครถนาฏบุตรถึงแก่กรรม สาวกแตกกันเป็นสองฝ่าย โต้เถียงกันด้วยเร่ืองธรรมวินัย จึงสอนแนะให้ภิกษุทั้งหลายสังคายนาพระธรรมไม่วิวาทกัน เพ่ือให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ย่ังยืน คร้ันแล้วท่านได้แสดงตัวอย่างการสังคายนาธรรมเป็นหมวด ๆ (ซง่ึ จะนำ� มากลา่ วในทน่ี ี้พอเป็นตัวอยา่ ง) ดงั ต่อไปน ้ี หมวด ๑ ธรรมอย่างหน่งึ คอื สัตวเ์ ป็นอยไู่ ด้ดว้ ยอาหาร หมวด ๒ ธรรม ๒ อยา่ ง คอื (๑) นาม (๒) รูป (๑) อวชิ ชา (ความหลงไมร่ ้จู รงิ ) (๒) ภวตณั หา (ความทะยานอยากมอี ยากเปน็ ) (๑) ภวทิฏฐิ (ความเห็นทต่ี ิดในความมีความเปน็ ) (๒) วิภวทฏิ ฐิ (ความเหน็ ท่ีตดิ ในความไม่มีไมเ่ ปน็ ) ฯ ล ฯ หมวด ๓ รากเหง้าแหง่ อกุศล ๓ อย่าง คอื (๑) โลภะ (อยากได)้ (๒) โทสะ (คดิ ประทุษร้าย) (๓) โมหะ (หลง) รากเหงา้ แหง่ กุศล ๓ อยา่ ง คือ (๑) ไมโ่ ลภ (๒) ไม่คิดประทุษร้าย (๓) ไม่หลง ฯ ล ฯ หมวด ๔ การตั้งสต ิ (สตปิ ัฏฐาน ดมู หาสติปัฏฐานสูตร หนา้ ๓๓๖) ๔ ความเพยี รชอบ (สัมมปั ปธาน ๔ คอื (๑) เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดข้ึน (๒) เพียรละบาปทีเ่ กิดขึ้นแลว้ (๓) เพียรทำ� กุศลใหเ้ กดิ (๔) เพยี รทำ� กุศลทเี่ กดิ ขึน้ แล้วใหเ้ จรญิ ยิ่งขึ้น) ฯ ล ฯ หมวด ๕ ขันธ์ ๕ คือ (๑) รูปขันธ์ (กองรปู ) (๒) เวทนาขันธ์ (กองเวทนา ความรู้สึกอารมณ์) PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 515 5/4/18 2:25 PM
516 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๓) สัญญาขันธ์ (กองสญั ญา ความจำ� ไดห้ มายร)ู้ (๔) สังขารขนั ธ์ (กองสังขาร หรอื ความคดิ หรอื เจตนาทดี่ ชี ั่ว) (๕) วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ คือความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา หู) เป็นต้น ฯ ล ฯ หมวด ๖ อายตนะภายใน ๖ คือ (๑) ตา (๒) หู (๓) จมูก (๔) ล้ิน (๕) กาย (๖) ใจ ฯ ล ฯ หมวด ๗ อรยิ ทรัพย์ (ทรัพย์อนั ประเสริฐ) ๗ คือ (๑) ศรัทธา (เชอ่ื ส่งิ ท่คี วรเชอื่ ) (๒) ศีล (รกั ษากายวาจาให้เรียบรอ้ ย) (๓) หิริ (ละอายต่อบาป) (๔) โอตตัปปะ (เกรงกลัวต่อบาป) (๕) สุตะ (ศกึ ษาหรือสดบั ตรับฟงั ) (๖) จาคะ (เสยี สละ) (๗) ปัญญา (รอบรู้สิง่ ท่คี วรรู้) ฯ ล ฯ หมวด ๘ ความผิด ๘ คือ (๑) มิจฉาทฏิ ฐิ (ความเหน็ ผิด) (๒) มจิ ฉาสังกัปปะ (ความดำ� ริผิด) (๓) มิจฉาวาจา (วาจาผดิ ) (๔) มิจฉากัมมนั ตะ (การกระท�ำผดิ ) (๕) มจิ ฉาอาชวี ะ (เลย้ี งชพี ผิด) (๖) มจิ ฉาวายามะ (เพยี รพยายามผิด) (๗) มจิ ฉาสติ (ระลกึ ผิด) (๘) มิจฉาสมาธิ (ต้งั ใจมน่ั ผดิ ) ฯ ล ฯ หมวด ๙ ท่ีตั้งแหง่ ความอาฆาต ๙ คอื ผูกอาฆาตว่า (๑) เขาไดป้ ระพฤติสงิ่ ท่ีไมเ่ ป็นประโยชน์ (เสยี หาย) ตอ่ เรา (๒) เขาก�ำลังประพฤตสิ ิง่ ที่ไมเ่ ป็นประโยชนต์ ่อเรา PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 516 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ ทสุตตรสูตร 517 (๓) เขาจักประพฤติส่งิ ที่ไม่เปน็ ประโยชน์ตอ่ เรา ทีฆนิกาย (๔) เขาไดป้ ระพฤติสง่ิ ท่ไี มเ่ ป็นประโยชน์ต่อคนที่รักทีช่ อบใจของเรา (๕) เขาก�ำลังท�ำอย่างนัน้ (๖) เขาจักท�ำอยา่ งน้ัน (๗) เขาได้ประพฤตสิ ่ิงทเ่ี ป็นประโยชนต์ ่อคนท่เี ราไม่รกั ไม่ชอบใจ (๘) เขาก�ำลงั ทำ� อยา่ งนั้น (๙) เขาจักทำ� อยา่ งนัน้ ฯ ล ฯ หมวด ๑๐ ธรรมะท่ีทำ� ที่พ่ึง (นาถกรณธรรม) ๑๐ คือ (๑) มีศลี สำ� รวมปาฏิโมกข์ (ศีลทเี่ ปน็ ประธาน) (๒) สดับตรับฟงั มาก ทรงจ�ำไดด้ ี (๓) คบเพอื่ นท่ีดี (๔) วา่ ง่าย (๕) ขยันชว่ ยท�ำกิจธุระของเพ่อื น (๖) ใคร่ในธรรม (๗) สนั โดษ (ยินดีตามมตี ามได)้ (๘) ลงมอื ทำ� ความเพยี ร (๙) มสี ติ (๑๐) มีปญั ญา ฯ ล ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นจากบรรทม ก็ตรัสชมเชยว่า พระสาริบุตรได้กล่าว สังคตี ิปริยาย (บรรยายเร่อื งสังคายนา) แกภ่ ิกษุทัง้ หลายเป็นอยา่ งดี ๑๑. ทสตุ ตรสตู ร (สูตรว่าดว้ ยหมวดธรรมอนั ยง่ิ ข้นึ ไปจนถึงสบิ ) พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประทับ ณ ฝั่งสระน�้ำชื่อคัคครา ใกล้ กรุงจัมปา (ราชธานีแห่งแคว้นองั คะ) PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 517 5/4/18 2:25 PM
518 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ พระสาริบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย (ท�ำนองเดียวกับสังคีติสูตร หน้า ๕๑๔ ซง่ึ ในที่นจ้ี ะน�ำมากล่าวตง้ั แต่หมวด ๑ ถึงหมวด ๑๐ พอเปน็ ตัวอยา่ ง) ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ ธรรมอย่างหนงึ่ มีอปุ การะมาก คอื ความไมป่ ระมาทในกุศลธรรม ฯ ล ฯ หมวด ๒ ธรรม ๒ อยา่ ง มอี ปุ การะมาก คอื (๑) สติ ความระลกึ ได้ (๒) สมั ปชญั ญะ ความร้ตู วั ฯ ล ฯ หมวด ๓ ธรรม ๓ อยา่ ง มอี ปุ การะมาก คอื (๑) คบสตั บุรุษ (คนด)ี (๒) ฟงั ธรรม (ของท่าน) (๓) ปฏบิ ัตธิ รรมสมควรแก่ธรรม ฯ ล ฯ หมวด ๔ ธรรม ๔ อยา่ ง มีอปุ การะมาก คอื จกั ร ๔ อนั ได้แก่ (๑) อยใู่ นประเทศหรือทีอ่ ยู่อันสมควร (๒) คบ (หรือเข้าใกล)้ สตั บรุ ษุ (๓) ต้ังตนไว้ชอบ (๔) ความเป็นผมู้ บี ุญอนั ได้ท�ำไวใ้ นกาลก่อน ฯ ล ฯ หมวด ๕ ธรรม ๕ อย่าง มีอุปการะมาก คือองค์ ๕ ที่ควรตั้งไว้เป็นประธาน อันไดแ้ ก่ (๑) มีศรทั ธาเช่ือปญั ญาตรสั รู้ของพระพุทธเจา้ (๒) มโี รคน้อย (๓) ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา (๔) ลงมอื ทำ� ความเพียร (๕) มีปญั ญาเห็นความเกดิ ความดบั ฯ ล ฯ หมวด ๖ ธรรม ๖ อย่าง มีอุปการะมาก คือสาราณิยธรรม ธรรมอันเป็นท่ีต้ังแห่ง การทำ� กันแลกันให้ระลึกถงึ อนั ไดแ้ ก่ (๑) ตงั้ กายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา (๒) ตงั้ วจีกรรมอนั ประกอบด้วยเมตตา (๓) ต้งั มโนกรรมอนั ประกอบดว้ ยเมตตา PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 518 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ ทสุตตรสูตร 519 (๔) แบ่งปนั ลาภ ทีฆนิกาย (๕) มศี ลี อันดเี สมอกนั (๖) มีทิฏฐิ (ความเหน็ ) อันดเี สมอกัน ฯ ล ฯ หมวด ๗ ธรรม ๗ อย่าง มีอุปการะมาก คืออริยทรัพย์ ๗ อย่าง (กล่าวไว้แล้ว ในสังคีติสูตร หน้า ๕๑๔) ธรรม ๗ อย่าง ควรเจริญ คือโพชฌงค์ (องค์ แห่งปญั ญาเป็นเครอื่ งตรสั รู)้ ๗ อันได้แก่ (๑) สติ (๒) ธมั มวจิ ยะ เลือกเฟน้ ธรรม (๓) วริ ิยะ ความเพยี ร (๔) ปตี ิ ความอ่มิ ใจ (๕) ปัสสทั ธิ ความสงบความอม่ิ ใจ (๖) สมาธิ ความตัง้ ใจมั่น (๗) อุเบกขา ความวางเฉยอย่างมีสติก�ำกบั ฯ ล ฯ หมวด ๘ ธรรม ๘ อย่าง มีอุปการะมาก คือเหตุ ๘ ปัจจัย ๘ อันเป็นไปเพื่อได้ ปัญญาซึ่งเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ท่ียังไม่ได้ ท�ำปัญญาท่ีได้แล้วให้ เจริญบรบิ ูรณ์ย่งิ ขน้ึ อนั ไดแ้ ก่ (๑) ตั้งความละอายใจ ความเกรงกลัว ความรัก ความเคารพในศาสดา เเละเพอื่ นพรหมจารี (๒) เข้าไปหาไต่ถามเปน็ คร้งั คราว (๓) ฟังธรรมแลว้ กท็ �ำความสงบกาย สงบใจ๑ ให้ถงึ พร้อมท้งั สองอยา่ ง (๔) สำ� รวมในปาฏโิ มกข์ (ศลี ทเ่ี ปน็ ประธาน) สมบรู ณด์ ว้ ยอาจาระ (มารยาท) และโคจร (รจู้ กั ท่ีควรไปไม่ควรไป) (๕) สดับตรับฟงั มาก (๖) ลงมอื ท�ำความเพียร ๑ กายวปู กาเสน จติ ตฺ วปู กาเสน เปน็ ค�ำนาม เมอื่ เทียบกับคณุ ศัพท์ วปู กฏฺ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 519 5/4/18 2:25 PM
520 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๗) มสี ติ (๘) เห็นความเกิดความดับในขันธ์ ๕ ฯ ล ฯ หมวด ๙ ธรรม ๙ อย่าง มีอุปการะมาก คือองค์แห่งความบริสุทธื์ที่ควรต้ังไว้เป็น ประธาน (ปาริสทุ ธปิ ธานิยงั คะ) อนั ไดแ้ ก่ (๑) สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศลี (๒) จิตตวสิ ุทธิ ความหมดจดแห่งจติ (๓) ทิฏฐวิ ิสุทธิ ความหมดจดแหง่ ความเหน็ (๔) กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามความสงสัย เสียได้ (๕) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งการเห็นด้วยญาณ ซึง่ ทางและมิใชท่ าง (๖) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งการเห็นด้วยญาณซึ่ง ข้อปฏิบัติ (๗) ญาณทัสสนวสิ ทุ ธิ ความหมดจดแหง่ การเหน็ ดว้ ยญาณ (๘) ปัญญาวสิ ุทธิ ความหมดจดแหง่ ปญั ญา (๙) วิมุตติวสิ ุทธิ ความหมดจดแห่งความหลดุ พ้น ฯ ล ฯ หมวด ๑๐ ธรรม ๑๐ อยา่ ง มีอปุ การะมาก คือธรรมะที่ทำ� ที่พง่ึ (นาถกรณธรรม) ๑๐ (ซง่ึ กล่าวไวแ้ ลว้ ในสงั คีติสูตร ดูหนา้ ๕๑๕ - ๕๑๗) ฯ ล ฯ เม่อื แสดงธรรมจบ ภิกษุทง้ั หลายกช็ ื่นชมภาษิตของพระสารบิ ุตร (หมายเหตุ : ข้อธรรมในทสุตตรสูตรน้ี ต้ังแต่หมวด ๑ ถึงหมวด ๑๐ ยืนตัวอยู่ ๑๐ หวั ข้อ คือ ๑. ธรรมมอี ปุ การะมาก ๒. ธรรมท่ีควรเจรญิ ๓. ธรรมที่ควรก�ำหนดรู้ ๔. ธรรมท่ีควรละ ๕. ธรรมที่มีสว่ นแหง่ ความเสือ่ ม PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 520 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ ทสุตตรสูตร 521 ๖. ธรรมท่ีมสี ่วนแห่งความเจรญิ ๗. ธรรมท่ีเขา้ ใจไดย้ าก ๘. ธรรมทค่ี วรท�ำให้เกดิ ข้นึ ๙. ธรรมที่ควรรู้ยง่ิ ๑๐. ธรรมที่ควรทำ� ให้แจง้ แลว้ แจกรายละเอียดออกไปตามหมวดวา่ หมวด ๑ ไดแ้ กอ่ ะไร หมวด ๒ ไดแ้ กอ่ ะไร จนถึงหมวด ๑๐ ได้แกอ่ ะไร ในทีน่ แี้ สดงพอเปน็ ตวั อย่าง) จบความย่อแหง่ พระไตรปฎิ ก เล่ม ๑๑ ทีฆนิกาย PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 521 5/4/18 2:25 PM
มัชฌิมนกิ าย๑ มลู ปณั ณาสก์ มัชฌิมปัณณาสก์ อปุ รปิ ัณณาสก์ • มลู ปรยิ ายวรรค ๑๐ สตู ร • คหปตวิ รรค ๑๐ สูตร • เทวทหวรรค ๑๐ สตู ร • สีหนาทวรรค ๑๐ สตู ร • ภกิ ขวุ รรค ๑๐ สูตร • อนปุ ทวรรค ๑๐ สูตร • โอปมั มวรรค ๑๐ สูตร • ปรพิ พาชกวรรค ๑๐ สตู ร • สุญญตวรรค ๑๐ สตู ร • มหายมกวรรค ๑๐ สูตร • ราชวรรค ๑๐ สูตร • วภิ ังควรรค ๑๒ สตู ร • จฬู ยมกวรรค ๑๐ สูตร • พราหมณวรรค ๑๐ สตู ร • สฬายตนวรรค ๑๐ สูตร ๑ มัชฌิมนิกาย เป็นนิกายท่ี ๒ ในสุตตันตปิฎก เป็นพระสูตรหรือพระธรรมเทศนาขนาดกลาง มีพระสูตรรวม ๑๕๒ สตู ร จดั พิมพเ์ ป็นคมั ภรี ์ ๓ เล่ม คือ พระไตรปฎิ ก เล่ม ๑๒ ถึง เล่ม ๑๔ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 522 5/4/18 2:25 PM
เลม่ ๑๒ มัชฌิมนกิ าย มลู ปณั ณาสก์ พระสุตตันตปิฎก ต้ังแต่เล่ม ๙ ถึงเล่ม ๑๑ ท่ีย่อมาแล้ว รวม ๓ เล่ม เป็นทีฆนิกาย คือหมวดหรือพวกแห่งพระสูตรขนาดยาว บัดน้ีมาถึงหมวดถัดมา คือมัชฌิมนิกาย คือหมวด หรือพวกเเห่งพระสูตรขนาดกลาง ไม่ยาวหรือไม่สั้นเกินไป ถ้าพิจารณาดูตัวเลข หรือจ�ำนวน พระสูตรในทีฆนกิ ายกบั มัชฌมิ นกิ ายเทยี บเคียงกนั ดแู ลว้ กพ็ อจะเห็นได้ดังนี้ ทีฆนิกาย เล่ม ๙ มี ๑๓ สูตร เล่ม ๑๐ มี ๑๐ สูตร เล่ม ๑๑ มี ๑๑ สูตร รวม ๓ เล่ม มี ๓๔ สูตร สว่ นมชั ฌมิ นิกาย มี ๓ เล่มเช่นกัน คือ เลม่ ๑๒ มี ๕๐ สูตร เลม่ ๑๓ มี ๕๐ สตู ร เลม่ ๑๔ มี ๕๒ สตู ร รวม ๓ เลม่ มี ๑๕๒ สูตร เม่ือเทียบดูความต่างกันจากจ�ำนวนสูตรแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า ทีฆนิกายมีสูตรยาวกว่า สูตรในมชั ฌมิ นกิ ายประมาณ ๕ เท่า มีข้อที่ควรสังเกต คือพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย ซ่ึงแบ่งออกเป็น ๓ เล่มน้ัน มีชื่อเรียกก�ำหนดด้วยค�ำว่า ปัณณาสก์ หรือปัณณาสกะ (หมวด ๕๐) เป็นหลัก เพราะมีเล่มละ ประมาณ ๕๐ สตู ร เกนิ ไปบา้ งเลก็ นอ้ ยเพยี ง ๒ สตู ร เฉพาะเลม่ สดุ ทา้ ย เลม่ ๑๒ มชั ฌมิ นกิ าย มูลปัณณาสก์ (หมวด ๕๐ ท่ีเป็นรากหรือโคน เทียบด้วยรากหรือโคนต้นไม้) เล่ม ๑๓ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ (หมวด ๕๐ ที่เป็นท่อนกลาง) เล่ม ๑๔ มัชฌิมนิกาย อปุ ริปัณณาสก์ (หมวด ๕๐ ทีเ่ ปน็ ยอดหรือเป็นปลาย) อนึ่ง พึงทราบไว้ด้วยว่า เพื่อสะดวกแก่การท่องจ�ำหรือก�ำหนดหมาย ในปัณณาสก์ หน่ึง ๆ หรือเล่มหน่ึง ๆ ซึ่งมี ๕๐ สูตรนั้น ท่านแบ่งออกเป็น ๕ วรรค วรรคละ ๑๐ สูตร (คงมีวรรคละ ๑๒ สตู ร อยู่วรรคเดยี วในเลม่ ๑๔ หรือเล่มสดุ ทา้ ยแหง่ มัชฌิมนิกาย) ในทีฆนิกายเคยย่อไว้ก่อนว่า แต่ละเล่มมีสูตรชื่ออะไร ใจความว่าอย่างไรบ้าง ย่อ ๆ แล้วจึงขยายความภายหลัง แต่ในมัชฌิมนิกาย ซ่ึงมีพระสูตรเพิ่มขึ้น ๕ เท่าตัว เราต้อง เจียดหน้ากระดาษไว้ย่อเล่มต่อไปอีกหลายเล่ม จึงของด ไม่น�ำช่ือพระสูตรย่อ ๆ มากล่าวไว้๑ จะย่อเป็นล�ำดับไปทีเดียว ท่านผู้ประสงค์จะทราบว่าในเล่ม ๑๒ ๑๓ และ ๑๔ มีสูตรอะไรบ้าง ก็อาจเปิดสารบาญดูได้ ท้ังน้ีเพราะต้องการให้สามารถย่อพระไตรปิฎกฉบับบาลีให้หมดทั้ง ๔๕ เล่มลงใน ๑ เล่มภาษาไทยนใี้ หไ้ ด้ ๑ ในการจัดพิมพ์คร้งั นี้ ไดน้ ำ� ชอื่ วรรค และจ�ำนวนพระสูตรในแตล่ ะเลม่ มาแสดงไว้ในหนา้ ๕๒๒ - ม.พ.ป. PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 523 5/4/18 2:25 PM
524 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ขยายความ มูลปรยิ ายวรรค คือ วรรคทม่ี ีมูลปรยิ ายสูตรเป็นสูตรแรก มี ๑๐ สูตร ๑. มลู ปริยายสตู ร (สตู รว่าด้วยเร่ืองราวอนั เปน็ มูลแห่งธรรมทั้งปวง) พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โคนไม้สาละใหญ่ ในป่าช่ือสุภคะ (ป่าโชคดี) ใกล้เมือง อุกกัฏฐา ณ ท่ีน้ันได้ทรงแสดงเร่ืองราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง (สัพพธัมมมูลปริยาย) มใี จความส�ำคัญแบง่ ออกเปน็ ๘ ส่วน หรือ ๘ นัย เน่ืองดว้ ยบถุ ุชน (คนท่ยี งั หนาไปด้วยกิเลส) ๑ นัย เนื่องด้วยพระเสขะ (พระอริยบุคคลผู้ยังศึกษา หมายถึงพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี) ๑ นัย เน่ืองด้วยพระขีณาสพ (พระอรหันต์ ผู้สิ้นอาสวะคือกิเลสที่ดอง สันดาน) ๔ นัย เนื่องด้วยพระศาสดา ๒ นัย (เม่ือกล่าวถึงบุคคลผู้เกี่ยวข้องแท้ ๆ ก็มีเพียง ๔ ประเภท) ๑. บุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมรู้ตามความจ�ำ (สญฺชานาติ) ถึงส่ิงต่าง ๆ๑ แล้วยึดถือว่า เป็นของเรา เพราะไม่ได้ก�ำหนดรู้ตามเป็นจริงซึ่งส่ิงน้ัน นี้เป็นก�ำหนดภูมิบุถุชน นยั ท่ี ๑ ๒. ภิกษุผู้เป็นเสขะ รู้ยิ่งด้วยปัญญา (อภิชานาติ) ซ่ึงสิ่งต่าง ๆ เพลา๒ การยึดถือว่า เป็นของเรา เพราะสิ่งน้ัน ๆ พระเสขะควรกำ� หนดรู้ได้ น้ีเป็นก�ำหนดภูมิพระเสขะ นัยท่ี ๒ ๓. ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ รู้ย่ิงด้วยปัญญาซ่ึงส่ิงต่าง ๆ ย่อมไม่ถือว่าเป็น ของเรา (๑) เพราะกำ� หนดรสู้ ่งิ นนั้ ๆ แล้ว (๒) เพราะสนิ้ ราคะความกำ� หนดั ยินดี (๓) เพราะสิน้ โทสะความคดิ ประทษุ รา้ ย (๔) เพราะส้ินโมหะความหลง น้เี ปน็ กำ� หนดภมู ิพระขณี าสพนยั ที่ ๓ ๔ ๕ และ ๖ ๒๑ ค�ำวา่ สิ่งต่าง ๆ เป็นคำ� รวบรดั ในบาลแี สดงไวถ้ งึ ๒๑ อย่าง มีดนิ เปน็ ต้น มนี ิพพานเป็นที่สดุ เพลาการยดึ ถอื คือการยดึ ถือเหมือนกัน แตเ่ พลากว่าบุถุชน แตไ่ ม่ถึงกบั ละได้เหมอื นพระอรหันต์ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 524 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค 525 ๔. พระศาสดา รู้ยงิ่ ด้วยปัญญาซึง่ สิ่งต่าง ๆ ไมย่ ึดถอื ว่าเปน็ ของเรา ัมช ิฌม ินกาย (๑) เพราะกำ� หนดร้สู ง่ิ น้ัน ๆ แลว้ (๒) เพราะส้ินตัณหาด้วยประการทั้งปวง ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว นีเ้ ปน็ กำ� หนดภูมพิ ระศาสดานยั ที่ ๗ และ ๘ ๒. สัพพาสวสงั วรสูตร (สตู รว่าด้วยการสำ� รวมระวังอาสวะทุกชนิด) พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามของอนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี ตรสั เทศนาเรือ่ งการส�ำรวมระวงั อาสวะทกุ ชนดิ มี ๗ หลักการใหญ่ คืออาสวะทีพ่ งึ ละไดด้ ้วย ๑. การเหน็ ๒. การสำ� รวมระวัง ๓. การสอ้ งเสพ ๔. การอดทน ๕. การงดเวน้ ๖. การบันเทา ๗. การอบรม พร้อมท้งั รายละเอยี ด (พระสูตรน้แี ปลไวล้ ะเอยี ดแลว้ หน้า ๑๓๘ หมายเลข ๑๑๗) ๓. ธมั มทายาทสตู ร (สตู รว่าดว้ ยผู้รับมรดกธรรม) พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสสอนภิกษุท้ังหลายให้เป็นผู้รับมรดก ธรรม (ธมั มทายาท) อยา่ เป็นผู้รบั มรดกอามิส (อามิสทายาท) ๑. แล้วตรัสยกตัวอย่างว่า พระองค์ฉันพระกระยาหารเหลือ ภิกษุ ๒ รูปหิวเป็น กำ� ลงั มาเฝ้าพระองคก์ ็ทรงอนุญาตวา่ ถา้ จะฉันก็ฉนั ได้ ถ้าไมฉ่ ันกจ็ ะทรงเททง้ิ รปู หน่งึ ทนหวิ ไมฉ่ ัน ด้วยระลกึ ถงึ พระพุทธพจนท์ ี่ใหร้ บั มรดกธรรม ไม่รับมรดก อามิส อีกรูปหนึ่งฉันอาหารที่เหลือนั้น ตรัสว่า ทรงสรรเสริญภิกษุรูปท่ียอมหิว มากกวา่ ๒. เมื่อพระศาสดาเสด็จหลีกไปแล้ว พระสาริบุตรได้ตั้งปัญหาถามภิกษุเหล่าน้ันว่า ด้วยเหตุเพียงไร สาวกจะชื่อว่าไม่ศึกษาหรือศึกษาวิเวก (ความสงัด) ในเมื่อ พระศาสดาเป็นผสู้ งดั แล้ว ภกิ ษทุ ั้งหลายขอให้พระสารบิ ตุ รตอบเอง PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 525 5/4/18 2:25 PM
526 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๓. พระสารบิ ตุ รจึงเฉลยว่า เมอ่ื พระศาสดาเปน็ ผูส้ งัดแล้ว แตส่ าวก (๑) ไมศ่ ึกษาความสงัด (๒) ไมล่ ะธรรมที่พระศาสดาสอนให้ละ (๓) เป็นผู้มักมาก ยอ่ หยอ่ น เห็นแกห่ ลบั นอน ทอดธรุ ะในความสงดั ไมว่ า่ จะเป็นภกิ ษุผู้เถระ ปูนกลาง๑ หรอื บวชใหม่ กถ็ กู ตเิ ตียนโดยฐานะ ๓ เหลา่ น้ี ถ้าพระศาสดาเปน็ ผสู้ งดั และสาวก (๑) ศึกษาความสงดั (๒) ละธรรมทีพ่ ระศาสดาสอนใหล้ ะ (๓) ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธรุ ะในการหลบั นอน มคี วามสงดั เปน็ เบ้อื งหนา้ ก็เป็นท่ีสรรเสรญิ โดยฐานะ ๓ ทงั้ ภกิ ษุท่เี ปน็ เถระ ปนู กลางและบวชใหม่ ๔. ครั้นแล้วได้แสดงทางสายกลาง คือมรรคมีองค์ ๘ มีความเห็นชอบ เป็นต้น ส�ำหรบั ละธรรมทช่ี ่วั คอื (๑) ความโลภและคดิ ประทษุ รา้ ย (๒) ความโกรธและผกู โกรธ (๓) ลบหลู่บญุ คุณทา่ นและตเี สมอ (๔) รษิ ยาและตระหน่ี (๕) มายาและโออ้ วด (๖) กระดา้ งและแขง่ ดี (๗) ถือตวั และดูหมิ่นทา่ น (๘) มวั เมาและประมาท (ธรรมฝ่ายชั่วเหล่านี้ เมื่อคิดเป็นรายข้อจะรวมเป็น ๑๖ ข้อ เรียกว่าอุปกิเลส คือเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตอันจะปรากฏในวัตถูปมสูตรท่ี ๗ ในเล่ม ๑๒ นี้ ใน ท่ีน้ีแสดงควบขอ้ ละ ๒ ประการตามส�ำนวนบาลเี ฉพาะสูตรน้ี) ๑ ปูน หมายถึง คราว รุ่น เช่น ความหน่มุ ความแก่ ร่นุ หนมุ่ รุน่ แก่ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 526 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค 527 ๔. ภยเภรวสูตร ัมช ิฌม ินกาย (สตู รว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่น่ากลวั ) พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ชาณุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้า กราบทูล สรรเสริญว่าทรงเป็นหัวหน้า เป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้แแนะน�ำกุลบุตรท่ีออกบวชอุทิศ พระองค์ แล้วกราบทูลต่อไปว่า เสนาสนะอันสงัดอันตั้งอยู่ในป่าและราวป่า อดทนได้ยาก๑ ความสงัด ความเป็นผู้อยู่ผู้เดียวท�ำได้ยาก ยินดีได้ยาก ประหน่ึงว่าป่าจะน�ำใจของภิกษุผู้ไม่ได้ สมาธิไปเสยี พระผู้มีพระภาคตรัสรับว่าเมื่อก่อนตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ก็เคยทรง คิดถึงเสนาสนะป่าเช่นนั้น แล้วได้ทรงแสดงความคิดของพระองค์ก่อนตรัสรู้ (๑๖ ข้อที่ เกย่ี วกบั เสนาสนะป่า) ดงั ตอ่ ไปน้ี (ขอ้ ๑ ถงึ ๑๖) ทรงคดิ ว่า สมณพราหมณ์บางพวก (๑) มกี ารงานทางกายไม่บริสุทธ์ิ (๒) มกี ารงานทางวาจาไมบ่ รสิ ุทธ์ิ (๓) มกี ารงานทางใจไมบ่ รสิ ุทธ์ิ (๔) มีอาชีพไมบ่ ริสทุ ธ์ิ (๕) มคี วามอยากได้ มีราคะกล้าในกาม (๖) มจี ิตพยาบาท (๗) มีความหดหงู่ ว่ งงุนรัดรงึ จิต (๘) มจี ิตไม่สงบ (๙) มีความลงั เลสงสัย (๑๐) เป็นผ้ยู กตน ขม่ ผู้อนื่ (๑๑) เปน็ ผสู้ ะด้งุ หวาดกลวั (๑๒) ใครล่ าภสักการะช่ือเสยี ง (๑๓) เกยี จครา้ น มคี วามเพยี รเลว ๑ ทรุ ภสิ มฺภวานิ อรรถกถาแก้วา่ ทสุ สฺ หานิ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 527 5/4/18 2:25 PM
528 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๑๔) หลงลืมสติ (๑๕) มีจิตไมต่ ้งั มน่ั หมุนไปผดิ (๑๖) มปี ญั ญาทราม นำ้� ลายไหลเวลาพูด สมณพราหมณเ์ หลา่ นเี้ สพเสนาสนะอนั สงดั อนั ตง้ั อยใู่ นปา่ และราวปา่ ยอ่ มเรยี กรอ้ งเอา อกุศลเพราะเหตุโทษ ๑๖ ข้อน้ันมาเป็นความกลัวและส่ิงท่ีน่ากลัว แต่พระองค์ (พระโพธิสัตว์) ไม่มโี ทษ๑ ๑๖ ขอ้ น้นั ทรงเห็นความสมบรู ณ์ (อันตรงกบั ข้ามกับโทษ ๑๖ ขอ้ ในพระองค)์ จึงมี ขนตก (ไม่หวาดกลัว ไม่ขนพอง) อยู่ป่าได้ดีผู้หนึ่งในพระอริยเจ้าผู้เสพเสนาสนะอันสงัดอันตั้ง อยใู่ นปา่ ทั้งหลาย การเผชิญความกลวั ครั้นแล้วทรงแสดงถึงความคิดของพระองค์ (เม่ือก่อนตรัสรู้) ต่อไปอีกว่า เม่ือถึง วัน ๑๔ ค่�ำ ๑๕ ค่�ำ และ ๘ ค่�ำแห่งปักษ์ ควรทดลองอยู่ในเสนาสนะท่ีน่ากลัวน่าขนพอง สยองเกล้า เช่น สวน ป่า ต้นไม้ ท่ีคนเข้าใจว่าศักดิ์สิทธิ์๒ เพ่ือจะได้เห็นความกลัวและส่ิงท่ี น่ากลัว เม่ือทดลองเข้าไปสู่ที่เช่นนั้น เม่ือสัตว์เดินมา นกยูงท�ำก่ิงไม้ตกลงมา หรือลมพัดถูก เศษใบไม้ เราก็คิดว่า ความกลัวและส่ิงที่น่ากลัวก�ำลังมา และมาในขณะที่เราอยู่ในอาการใด เช่น ก�ำลังเดิน ยืน นั่งหรือนอน เราก็จะอยู่ในอาการน้ัน ไม่เปลี่ยนอาการเป็นอย่างอ่ืน ขจดั ความกลัวและสิง่ ทีน่ ่ากลัวใหจ้ งได้ แล้วเรากท็ �ำตามที่คิดนนั้ บางพวกหลงวันหลงคนื สมณพราหมณ์บางพวกก็หลงกลางคืนว่าเป็นกลางวัน หลงกลางวันว่าเป็นกลางคืน แต่พระองคม์ ไิ ดเ้ ป็นเช่นนน้ั ทรงแสดงข้อปฏบิ ัตขิ องพระองค์ คร้ันแล้วทรงแสดงข้อปฏิบัติของพระองค์ คือการต้ังสติจนมีอารมณ์เป็นอันเดียว ได้ฌานท่ี ๑ ถึงฌานท่ี ๔ แล้วทรงได้วิชชาและแสงสว่าง ประเภทระลึกชาติได้ในยามท่ี ๑ ประเภททิพยจักษุ เห็นการเกิดการตายของสัตว์ท้ังหลายในยามกลาง ประเภทท�ำอาสวะให้สิ้น ในยามสุดท้าย แล้วตรัสสรูปในท่ีสุดว่า อาจมีผู้คิดว่าพระองค์ยังไม่หมดราคะ โทสะ โมหะ จึงต้องเสพเสนาสนะอันสงัดอันตั้งอยู่ในป่า ซ่ึงไม่ควรคิดเช่นน้ัน พระองค์ทรงเห็นอ�ำนาจ ประโยชน์ ๒ อย่าง จงึ เสพเสนาสนะอันสงัดอนั ตง้ั อยู่ในป่า คือ ๒๑ โทษ หมายถึง การกระท�ำม่ีผิด หรือส่งิ ท่ผี ิด - ม.พ.ป. (รุกฺขเจตยิ าน)ิ - ม.พ.ป. สวนศักด์สิ ิทธิ์ (อารามเจตยิ าน)ิ ป่าศักด์สิ ิทธ์ิ (วนเจติยาน)ิ ตน้ ไม้ศกั ด์ิสทิ ธ์ิ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 528 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค 529 ๑. ความอยเู่ ปน็ สขุ ในปัจจบุ นั ของพระองคเ์ อง ัมช ิฌม ินกาย ๒. ทรงมุง่ อนเุ คราะห์คนรนุ่ หลงั (เพ่ือให้ถอื เป็นตัวอย่าง) ชาณุสโสณิพราหมณ์ก็รับรองว่า ทรงอนุเคราะห์คนรุ่นหลังอย่างแท้จริง แล้วประกาศ ความเล่อื มใสในพระธรรมเทศนา แสดงตนเปน็ อุบาสกถึงพระรตั นตรยั ตลอดชวี ิต ๕. อนงั คณสตู ร (สูตรว่าดว้ ยบคุ คลผ้ไู ม่มีกิเลส) ๑. พระผมู้ พี ระภาคประทบั ณ เชตวนาราม พระสารบิ ตุ รแสดงธรรมแกภ่ กิ ษทุ งั้ หลาย ถึงบคุ คล ๔ ประเภท คอื (๑) มีกเิ ลส ไม่รู้ตามความจรงิ ว่ามีกเิ ลส (๒) มีกเิ ลส รู้ตามความจริงว่ามกี ิเลส (๓) ไม่มีกิเลส ไมร่ ้ตู ามความจริงวา่ ไม่มีกิเลส (๔) ไม่มกี เิ ลส รตู้ ามความจรงิ วา่ ไม่มกี ิเลส ประเภทท่ี ๑ เลว ประเภทท่ี ๒ ประเสริฐสุด ใน ๒ ประเภทที่มีกิเลส ประเภทท่ี ๓ เลว ประเภทที่ ๔ ประเสริฐสุดใน ๒ ประเภทท่ีไม่มกี ิเลส ๒. พระโมคคัลลานะกล่าวถามถึงเหตุผลท่ีบุคคลเหล่าน้ันดีเลวกว่ากัน พระสาริบุตร ตอบโดยใจความว่า ๒ พวกที่ไม่รู้ตามความจริง จะเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลส มีจิต เศร้าหมองท�ำกาลกิริยา ส่วน ๒ พวกที่รู้ตามความจริง ถ้ามีกิเลสก็พยายามเพ่ือละกิเลส ถ้าไม่มีกิเลส ราคะก็จะไม่ตามรบกวน ในท่ีสุดก็จะเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลส ไมม่ ีจิตเศร้าหมองท�ำกาลกริ ยิ า ๓. แล้วพระสาริบุตรได้อธิบายว่า ค�ำว่า อังคณะ (กิเลสที่เปรียบเหมือนเนิน) เป็นช่ือ ของอกุศล บาปธรรมอันเป็นที่ท่องเท่ียวแห่งความปรารถนา (มีความปรารถนาอย่างนั้นอย่างน้ี เปน็ ส่วนสำ� คัญ) ๔. ต่อไปได้แสดงตัวอย่างแห่งความปรารถนาของภิกษุซึ่งเกิดขึ้นในทางที่ผิด รวม ๑๓ ตัวอย่าง พร้อมทั้งเกิดความโกรธ ความไม่พอใจตามมาด้วย แล้วสรูปในท้ายของทุกข้อ ว่า ความโกรธ และความไม่พอใจทั้งสองอย่างนั้น เป็นอังคณะ (กิเลสท่ีเปรียบเหมือนเนิน) ตวั อยา่ งแหง่ ความปรารถนา ๑๓ ขอ้ เช่น ภิกษตุ ้องอาบตั ิ ก็ปรารถนาใหภ้ กิ ษุอนื่ อยา่ รูเ้ รือ่ งเป็น ขอ้ แรก ปรารถนาให้ตนเท่าน้นั ได้ลาภ ภกิ ษอุ นื่ อยา่ ไดล้ าภ เป็นขอ้ สดุ ทา้ ย ครั้นไม่สมปรารถนา ก็เกิดความโกรธ ท้ังความปรารถนาและความโกรธน้ันจัดเป็นอังคณะ (กิเลส) ด้วยกันทั้ง สองอย่าง PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 529 5/4/18 2:25 PM
530 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๕. ครั้นแล้วแสดงต่อไปว่า แม้ภิกษุจะอยู่ป่า อยู่เสนาสนะอันสงัด นุ่งห่มผ้าสีหมอง (อันแสดงว่าเคร่ง) แต่ถ้าละอกุศลบาปธรรมท่ีมีความปรารถนาเป็นส่วนส�ำคัญเหล่าน้ีไม่ได้ เพ่ือนพรหมจารีก็ไม่เคารพนับถือ เปรียบเหมือนถาดส�ำริดท่ีใส่ซากศพ ย่อมเป็นที่รังเกียจ ไม่ชวนให้บริโภค แต่ถ้าละอกุศลเหล่านี้ได้ แม้จะอยู่ใกล้บ้าน รับนิมนต์ ทรงคฤหบดีจีวร (ซ่ึงไม่เคร่งเหมือนพระอยู่ป่า) แต่เพ่ือนพรหมจารีก็เคารพนับถือ เปรียบเหมือนถาดส�ำริดท่ี ใส่ขา้ วสุกแหง่ ข้าวสาลี มีแกงและกบั อนั มากมาย ยอ่ มไมเ่ ป็นทรี่ ังเกยี จ แตก่ ลบั ชวนใหบ้ ริโภค พระโมคคัลลานะก็กล่าวสรรเสริญพระสาริบุตรว่า เหมือนช่างถากไม้ท่ีถากได้ดีถึงใจ ส�ำหรับภิกษุท่ียังมีกิเลส ส่วนส�ำหรับภิกษุผู้ไม่มีกิเลส เปรียบเหมือนบุคคลได้พวงมาลัย ดอกไม้หอม เสมือนไดด้ มื่ กนิ ธรรมปรยิ ายนีด้ ้วยปากและด้วยใจ ๖. อากงั เขยยสตู ร (สูตรวา่ ด้วยความหวงั ของภกิ ษ)ุ พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุท้ังหลายให้ส�ำรวม ในปาฏิโมกข์ (ศีลท่ีเป็นประธาน) สมบูรณ์ด้วยมารยาท และการรู้จักไปในที่อันควร เห็นภัย ในโทษแม้เล็กน้อย ต่อจากนนั้ ไดท้ รงแสดงความหวงั ๑๗ ขอ้ เริ่มตน้ แต่ความหวงั ขนาดธรรมดา ใหเ้ ป็น ท่ีรักเคารพของเพ่ือนพรหมจารีขึ้นไปจนถึงความหวังข้ันสูงสุด คือการท�ำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ (เป็นพระอรหันต์) ว่า ถ้าหวังแต่ละข้ออย่างนั้น ก็พึงท�ำให้บริบูรณ์ ในศีล หม่ันประกอบความสงบจิต (เจโตสมถะ) ภายใน ไม่ปล่อยให้ฌานเส่ือม ประกอบด้วย วิปัสสนา เจรญิ การอยู่ในเรอื นวา่ ง (ขอ้ ปฏิบัติที่แสดงในท่ีน้ี คอื ศลี สมาธิ ปัญญา) ๗. วัตถปู มสูตร (สตู รว่าด้วยอปุ มาด้วยผา้ ท่ียอ้ มสี) ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า เม่ือจิต เศร้าหมอง ทุคคติเป็นอันหวังได้ เปรียบเหมือนผ้าที่เศร้าหมองมีมลทินจับ ช่างย้อมจะย้อม ในน�้ำสีใดก็ตาม ก็มีสีไม่ดี ไม่บริสุทธ์ิ เม่ือจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้ เปรียบเหมือน ผ้าที่บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ช่างย้อมจะย้อมในน้�ำสีใด ๆ ก็ตาม ก็มีสีดี บริสุทธิ์ ท้ังน้ีเพราะผ้าไม่ บรสิ ทุ ธิ์หรอื บรสิ ุทธนิ์ ่นั เอง PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 530 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค 531 ๒. ครนั้ แลว้ ทรงแสดงอุปกิเลส (เครอ่ื งเศรา้ หมองจติ ) ๑๖ ประการ คอื (๑) โลภ (๒) พยาบาท (๓) โกรธ (๔) ผูกโกรธ (๕) ลบหลู่บุญคุณท่าน (๖) ตีเสมอ (๗) ริษยา (๘) ตระหน่ี (๙) มายา (๑๐) โอ้อวด (๑๑) กระดา้ ง (๑๒) แข่งดี (๑๓) ถอื ตัว (๑๔) ดหู มนิ่ (๑๕) มวั เมา (๑๖) ประมาท ๓. ภกิ ษผุ รู้ ู้ความจริงเกยี่ วกับอุปกิเลสแห่งจติ ๑๖ อยา่ งเหล่าน้เี เลว้ ยอ่ มละอุปกเิ ลส แห่งจิตเหล่านี้ (แต่ละอย่าง) เสียได้ เมื่อละได้แล้ว ก็มีความเล่ือมใสอันไม่หว่ันไหวใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะละกิเลสท่ีพึงละด้วยมรรคเบ้ืองต่�ำได้ (โสดาปัตติมรรค สกทาคามมิ รรค และอนาคามมิ รรค) จงึ ไดค้ วามรอู้ รรถ รธู้ รรมวา่ ตนมคี วามเลอื่ มใสอนั ไมห่ วนั่ ไหวในพระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ ์ ได้ความปราโมทยอ์ นั ประกอบดว้ ยธรรม เกดิ ปตี ิ มีกาย ัมช ิฌม ินกาย อนั สงบระงับ ไดเ้ สวยสขุ มจี ติ ต้ังมั่น ภกิ ษุมีศลี มธี รรม มปี ัญญาอย่างน้ี ฉันบิณฑบาตขา้ วสาลี มีแกงและกับมากมาย ก็ไม่มีอันตราย เป็นผู้เปรียบเหมือนผ้าอันบริสุทธ์ิหรือทองเงินอันบริสุทธ์ิ ๔. เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไป ๔ ทิศ รวมท้ัง เบื้องบน เบื้องล่าง เบ้ืองขวาง ในที่ทั้งปวง รู้อริยสัจจ์ ๔ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นจาก อาสวะ เม่ือหลุดพ้นก็เกิดญาณหย่ังรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ว่าชาติส้ินแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่ จบแล้ว ท�ำหน้าท่ีเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอ่ืนเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก ภิกษุน้ีช่ือว่าอาบน้�ำแล้วด้วย การอาบนำ้� ภายใน ๕. สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ นั่งอยู่ไม่ไกล จึงชวนพระผู้มีพระภาคไปสู่แม่น้�ำ พาหุกา เพื่อสนานกาย เม่ือตรัสถามเหตุผล พราหมณ์จึงกราบทูลว่า เพราะแม่น้�ำน้ีชนเป็น อนั มากถือกนั ว่าเป็นบุญ ลอยบาปท่ที ำ� ไว้แลว้ ได้ พระผมู้ ีพระภาคจงึ ตรัสอธิบายวา่ แมน่ �้ำตา่ ง ๆ ท่ีมีชื่อน้ันไม่ท�ำให้คนพาลบริสุทธ์ิได้ แต่ถ้าไม่ท�ำความชั่วก็จะไปสู่แม่น�้ำคยาท�ำไม แม้น�้ำด่ืม ก็เป็นแม่น�้ำคยาอยู่แล้ว สุนทริกภารทวาชพราหมณ์เล่ือมใสทูลขอบวช เมื่อบวชแล้วไม่นาน กไ็ ด้สำ� เร็จเปน็ พระอรหนั ต์ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 531 5/4/18 2:25 PM
532 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๘. สัลเลขสูตร (สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส) ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม พระมหาจุนทะเข้าไปเฝ้า กราบทูล ถามปัญหาเรื่องการละ การสละทิฏฐิท่ีประกอบด้วยอัตตวาทะ (วาทะเกี่ยวกับตน) โลกวาทะ (วาทะเก่ียวกับโลก)๑ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เม่ือเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงว่า ทฏิ ฐนิ ั้น ๆ ไมใ่ ชข่ องเรา เราไม่ได้เป็นนัน่ นัน่ ไมใ่ ช่ตัวตนของเรา กจ็ ะละสละทฏิ ฐิเหล่านัน้ ได้ ๒. ตรัสต่อไปว่า ภิกษุเข้ารูปฌาน (ฌานมีรูปเป็นอารมณ์) ท้ังส่ีแต่ละอย่าง แล้ว นึกว่าเราอยู่ด้วยการขัดเกลาดังน้ี ก็ยังไม่เรียกว่าเป็นการขัดเกลาในอริยวินัย เรียกได้แต่ว่า ธรรมะเปน็ เครือ่ งอยู่เปน็ สุขในปัจจุบนั ๓. แล้วตรัสว่า ภิกษุเข้าอรูปฌาน (ฌานมีสิ่งมิใช่รูปเป็นอารมณ์) แล้วนึกว่าเรา อยู่ด้วยการขัดเกลาดังนี้ ก็ยังไม่เรียกว่าเป็นการขัดเกลาในอริยวินัย เรียกได้แต่ว่าธรรมะ เปน็ เครื่องอยู่อนั สงบระงับ ๔. ตรัสสอนให้ท�ำการขัดเกลาว่า คนอ่ืนเขาท�ำความชั่ว เราจักท�ำความดี (ทรงแสดง การเบียดเบียนและอกุศลกรรมบถ ๑๐ มีฆ่าสัตว์ เป็นต้น มีความเห็นผิดเป็นที่สุด มิจฉัตตะ ๑๐ (ความผิด) มีความเห็นผิด เป็นต้น มีความหลุดพ้นผิดเป็นท่ีสุด และทรงแสดงโทษอ่ืน ๆ อกี เช่น อปุ กเิ ลส เป็นฝ่ายช่ัว ตรงกันข้ามเป็นฝ่ายดี รวมฝา่ ยละ ๔๔ ข้อ) ๕. ตรัสสอนว่า เพียงแต่คิดในกุศลธรรม ก็ยังมีอุปการะมาก จึงไม่ต้องกล่าวถึงการ ลงมือท�ำด้วยกายและวาจา ฉะน้ัน จึงควรคิดว่า คนอ่ืนเขาเบียดเบียน เราจักไม่เบียดเบียน เป็นต้น ๖. ตรัสว่า เปรียบเหมือนพึงมีทางเรียบอีกทางหน่ึง เพื่อเล่ียงทางไม่เรียบ พึงมีท่าน�้ำ ท่ีเรียบอีกท่าหนึ่ง เพ่ือเล่ียงท่าน้�ำที่ไม่เรียบ การท�ำความดี เช่น การไม่เบียดเบียน ก็เพ่ือเล่ียง ความชว่ั เช่น การเบียดเบียน ๗. ตรัสว่า อกุศลธรรมท้ังหมดมีการเบียดเบียน เป็นต้น มีความตกต่�ำเป็นท่ีไป กุศลธรรมทงั้ หมด มีการไมเ่ บียดเบียน เปน็ ต้น มีความสูงขึ้นเปน็ ที่ไป ๘. ตรัสว่า คนที่จม (ลงไปในหล่ม) จะอุ้มคนท่ีจม (ลงไปในหล่มด้วยกัน) ขึ้นมาได้ นั้น มิใช่ฐานะท่ีมีได้ คนท่ีไม่จมจึงอุ้มคนท่ีจมขึ้นมาได้ คนท่ีไม่ฝึก ไม่หัด ไม่ดับเย็นด้วย ๑ วาทะเกี่ยวกับตน เชน่ เหน็ รปู เปน็ ตน วาทะเกี่ยวกับโลก เช่น เห็นวา่ ตนและโลกเทย่ี ง เปน็ ต้น PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 532 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค 533 ตนเอง จะฝึก จะหัด จะท�ำให้คนอื่นดับเย็น มิใช่ฐานะที่มีได้ คนท่ีฝึกหัดดับเย็นด้วยตนเอง ัมช ิฌม ินกาย จึงฝึกท�ำให้คนอ่ืนดับเย็นได้ และทรงแจกรายละเอียดว่า ความไม่เบียดเบียนจึงเป็นไปเพ่ือ ดับเยน็ (ปรินพิ พาน) ของผู้เบยี ดเบยี น เปน็ ตน้ (หมายเหตุ : ค�ำสรูปท้ายพระสูตรนี้ คือบท ๔๔ สนธิ ๕ เรียกว่าสัลเลขสูตร ลึกซึ้ง เหมือนสาคร ค�ำว่า บท ๔๔ คือความชั่ว ๔๔ อย่าง ตรงกันข้ามกับความดี ๔๔ อย่าง สนธิ ๕ คือที่ต่อ ๕ แห่ง ได้แก่เงื่อนไข ๕ ประการ พึงนับจากที่ย่อไว้ข้อ ๔ มาถึงข้อ ๘ ก็จะเห็น เง่ือนไขหรอื สนธิ ๕) ๙. สัมมาทฏิ ฐิสตู ร (สูตรวา่ ดว้ ยความเหน็ ชอบ) พระผมู้ ีพระภาคประทบั ณ เชตวนาราม พระสาริบตุ รไดแ้ สดงธรรมแก่ภกิ ษทุ งั้ หลาย ถงึ เรอื่ งความเห็นชอบ โดยยกเอาการร้จู กั อกศุ ลและมลู รากของอกศุ ล การรู้จกั กุศลและมูลราก ของกุศลขึ้นแสดงก่อน เมื่อภิกษุท้ังหลายถามถึงปริยายอย่างอ่ืนอีก ก็แสดงยักย้ายนัยเร่ือย ๆ ไปอีก ๑๕ ข้อ (รวมเปน็ ๑๖ ขอ้ ท้งั นยั แรก) ๑๕ ข้อหลงั คือ ๑. อาหาร ๒. ทกุ ข์ ๓. ชรามรณะ (ความแก่ความตาย) ๔. ชาติ (ความเกิด) ๕. ภพ (ความมคี วามเปน็ ) ๖. อปุ าทาน (ความยดึ มั่นถือมั่น) ๗. ตณั หา (ความทะยานอยาก) ๘. เวทนา (ความรู้สกึ อารมณว์ า่ ทกุ ขส์ ขุ เปน็ ต้น) ๙. ผสั สะ (ความถกู ตอ้ งทางตา เป็นตน้ ) ๑๐. สฬายตนะ (อายตนะ ๖ มีตา เป็นตน้ ) ๑๑. นามรูป (ส่ิงที่เป็นเพียงช่ือ คือเร่ืองของจิตใจ เรียกนาม ส่ิงท่ีถูกต้องได้เห็นได้ เรยี กรูป) ๑๒. วิญญาณ (ความรแู้ จ้งอารมณท์ างตา เปน็ ตน้ ) ๑๓. สงั ขาร (เครอ่ื งปรงุ แต่งกาย วาจา จิต) PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 533 5/4/18 2:25 PM
534 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๑๔. อวชิ ชา (ความไมร่ ้อู รยิ สจั จ์ ๔) ๑๕. อาสวะ (กเิ ลสที่ดองสนั ดาน) โดยรจู้ กั ตวั สงิ่ นนั้ เหตเุ กดิ ของสง่ิ นนั้ ความดบั ของสง่ิ นนั้ ขอ้ ปฏบิ ตั ใิ หถ้ งึ ความดบั สงิ่ นน้ั ๑๐. สติปฏั ฐานสตู ร (สตู รวา่ ด้วยการต้งั สติ ๔ ประการ) ข้อความในพระสูตรนี้ซ�้ำกับข้อความในมหาสติปัฏฐานสูตร ซ่ึงอยู่ในเล่ม ๑๐ สูตรที่ ๙ อนั ยอ่ ไว้แล้วทห่ี นา้ ๔๗๓ สีหนาทวรรค คอื วรรคมีสีหนาทสูตรเปน็ สตู รแรก มี ๑๐ สตู ร ๑๑. จูฬสีหนาทสตู ร (สตู รวา่ ดว้ ยการบรรลอื สหี นาทเลก็ ๑) ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสกับภิกษุท้ังหลายว่า สมณะที่ ๑ ถึงท่ี ๔ (โสดาบัน ถึงอรหันต์) มีเฉพาะในธรรมวินัยนี้เท่าน้ัน ลัทธิอื่นว่างจากสมณะเหล่านี้ ทา่ นท้งั หลายพงึ บรรลือสหี นาทโดยชอบอย่างน้เี ถดิ ๒. ตรัสต่อไปว่า ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามถึงเหตุผลที่กล่าวอย่างนี้ ก็พึงอ้างความ เลื่อมใสในศาสดา ในธรรม การท�ำให้สมบูรณ์ในศีล และอ้างผู้ร่วมประพฤติธรรม ซ่ึงเป็นที่รัก ที่พอใจท้ังคฤหัสถ์และบรรพชิต ถ้าเขาอ้างว่าในลัทธิของเขาก็มีเหมือนกัน จะมีอะไรท�ำให้ ต่างกัน ก็พึงถามว่า ความส�ำเร็จ (สูงสุด) ของท่านมีอย่างเดียวหรือหลายอย่าง ถ้าจะตอบให้ ชอบ เขาก็ควรตอบว่า มีอย่างเดียว พึงถามต่อไปว่า ความส�ำเร็จนั้น ๆ ส�ำหรับผู้มีราคะ โทสะ โมหะ และกิเลสอื่น ๆ อีก หรือว่าส�ำหรับผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ และกิเลสอ่ืน ๆ ถ้าจะ ตอบใหช้ อบ เขากค็ วรตอบว่า ส�ำหรับผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ และกิเลสอนื่ ๆ ๓. ตรัสถึงภวทิฏฐิ (ความเห็นยึดเรื่องความมีความเป็น) วิภวทิฏฐิ (ความเห็นยึด ความไม่มีไม่เป็น) สมณพราหมณ์ผู้ติดอย่างหนึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่ออีกอย่างหนึ่ง ถ้าไม่รู้เท่าทัน ตามเป็นจริง เรากล่าวว่าจะไม่หมดกิเลส ไม่พ้นไปจากความแก่ความตายและความทุกข์ได้ ต่อเมื่อรู้เท่าทันตามเป็นจริง จึงหมดกิเลส และพ้นไปจากความแก่ความตายและความทุกข์ได้ ๑ ค�ำว่า เล็กหรอื นอ้ ย คูก่ บั ใหญ่ หมายความวา่ มีสตู รซ้�ำกนั ๒ สูตร กต็ ้องใช้ค�ำวา่ น้อย สตู รหนึง่ ใหญ่ สตู รหน่ึง เพอ่ื เป็นเครือ่ งหมายจำ� งา่ ย และเป็นเคร่ืองหมายยาวส้นั กว่ากันดว้ ย PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 534 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค 535 ๔. ทรงแสดงอุปาทาน (ความยึดม่ันถือม่ัน) ๔ อย่าง คือความยึดม่ันถือม่ันในกาม ัมช ิฌม ินกาย ทิฏฐิ ศีลพรต (ข้อปฏิบัติประจ�ำลัทธิ พิธี) และวาทะว่าตัวตน แล้วตรัสถึงสมณพราหมณ์ บางพวก ที่ปฏิญญาตนว่า กล่าวถึงการก�ำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง แต่ก็ไม่บัญญัติการก�ำหนดรู้ อุปาทานทั้งปวงจริง คงบัญญัติอย่างเดียวบ้าง ๒ อย่างบ้าง ๓ อย่างบ้าง ขาดไป ๓ อย่างบ้าง ๒ อย่างบ้าง อย่างเดียวบ้าง (คืออุปาทานมี ๔ เม่ือบัญญัติการก�ำหนดรู้เพียงอย่างเดียว ก็ ขาดไป ๓ อย่าง บัญญัติการก�ำหนดรู้เพียง ๒ อย่าง ก็ขาดไป ๒ อย่าง และบัญญัติการ ก�ำหนดรเู้ พียง ๓ อย่าง ก็ขาดไปอยา่ งหนงึ่ ไมส่ มบูรณไ์ ด้) ความเล่ือมใสในธรรมวนิ ัยในศาสดา เปน็ ต้น จึงไม่ถึงความดเี ลศิ (สมั มัคคตะ) เพราะขอ้ น้ันเป็นไปในธรรมวนิ ยั ทก่ี ลา่ วไว้ไม่ดี ๕. ครั้นแล้วตรัสถึงอุปาทาน ๔ ว่าเกิดจากตัณหา ตัณหาเกิดจากเวทนา เวทนาเกิด จากผัสสะ ผัสสะเกิดจากอายตนะ ๖ อายตนะ ๖ เกิดจากนามรูป นามรูปเกิดจากวิญญาณ วิญญาณเกิดจากสังขาร สังขารเกิดจากอวิชชา เมื่อละอวิชชาได้ วิชชาก็เกิดขึ้น จึงท�ำให้ ไมถ่ อื มนั่ ดว้ ยอปุ าทานทงั้ ส่ี เมอื่ ไมม่ อี ปุ าทานกไ็ มด่ นิ้ รน เมอื่ ไมด่ นิ้ รน ยอ่ มดบั สนทิ (ปรนิ พิ พาน) เฉพาะตน ส้ินชาติ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ท�ำหน้าท่ีเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอ่ืนเพื่อความเป็นอย่างน้ี อกี (คำ� อธิบายศัพทใ์ นขอ้ ๕ น้ี มีอย่แู ล้วในสมั มาทฏิ ฐิสูตรท่ี ๙ หนา้ ๕๓๓ ซ่ึงยอ่ มาแล้ว) ๑๒. มหาสหี นาทสตู ร (สตู รวา่ ดว้ ยการบรรลือสีหนาทใหญ่) พระผมู้ พี ระภาคประทบั ในราวป่า ดา้ นตะวันตกแหง่ พระนคร นอกกรุงเวสาลี ๑. สุนักขัตตลิจฉวี๑ ซ่ึงหลีกไปจากพระธรรมวินัย ได้กล่าววาจาในท่ีชุมนุมชน ในกรุงเวสาลีว่า พระสมณโคดมไม่มีอุตตริมนุสสธรรม (ฤทธ์ิอ�ำนาจพิเศษ) แสดงธรรมตามที่ นึกเดาเอา พิจารณาเอาตามปฏิภาณของตน แต่ธรรมะนั้นก็น�ำให้ผู้ที่ท�ำตามพ้นทุกข์ได้ พระสารบิ ตุ รไปบิณฑบาตในกรงุ เวสาลี ไดท้ ราบเรือ่ ง จึงน�ำความมากราบทลู พระผมู้ พี ระภาค ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สุนักขัตตลิจฉวีกล่าวด้วยความโกรธ คิดว่าจะกล่าวโทษ แตท่ กี่ ลา่ ววา่ ธรรมะทีเ่ ราแสดงนำ� ให้ผู้ทำ� ตามพน้ ทกุ ขไ์ ด้น้ัน ก็เปน็ การกลา่ วคณุ แล้วทรงแสดง ว่า สุนักขัตตลิจฉวีไม่มีญาณหย่ังรู้ธรรมเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เก่ียวกับการแสดงฤทธิ์ได้ของ พระพุทธเจ้า เกี่ยวกับทิพยโสต (หูทิพย์) ของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับเจโตปริยญาณ (ญาณ กำ� หนดรู้จิตผูอ้ ่ืน) ของพระพุทธเจ้า ๑ เร่ืองของสุนักขัตตลิจฉวี มีปรากฏในปาฏิกสูตรท่ี ๑ แห่งเล่ม ๑๑ ซึ่งย่อไว้แล้ว หน้า ๔๘๓ โปรดดูประกอบด้วย PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 535 5/4/18 2:25 PM
536 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ก�ำลงั ของพระตถาคต ๑๐ ประการ ๓. ทรงแสดงกำ� ลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ คอื (๑) ฐานาฐานญาณ (ญาณกำ� หนดรู้ฐานะและมใิ ชฐ่ านะ) (๒) วปิ ากญาณ (ญาณก�ำหนดรู้ผลแห่งกรรมในอดตี อนาคตและปจั จุบนั ) (๓) สพั พตั ถคามินปี ฏิปทาญาณ (ญาณก�ำหนดรทู้ างไปส่ภู ูมิท้งั ปวง) (๔) นานาธาตญุ าณ (ญาณก�ำหนดร้ธู าตุตา่ ง ๆ) (๕) นานาธิมตุ ตกิ ญาณ (ญาณกำ� หนดรอู้ ัธยาศยั ตา่ ง ๆ ของสัตวท์ ัง้ หลาย) (๖) อนิ ทรยิ ปโรปรยิ ตั ตญาณ (ญาณกำ� หนดรคู้ วามหยอ่ นและความยงิ่ แหง่ อนิ ทรยี ์ คือศรัทธา ความเพยี ร สติ สมาธิ ปัญญาของสตั วท์ งั้ หลาย) (๗) ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ญาณก�ำหนดรู้อาการ มีความเศร้าหมอง เป็นต้น แหง่ ธรรมมีฌาน เปน็ ต้น) (๘) ปุพฺเพนวิ าสานุสสติญาณ (ญาณก�ำหนดระลึกชาติหนหลงั ได)้ (๙) จุตูปปาตญาณ หรือทิพยจักษุญาณ (ญาณก�ำหนดรู้ความจุติความเกิดของ สัตวท์ ั้งหลาย) (๑๐) อาสวกั ขยญาณ (ญาณอนั ท�ำให้กเิ ลสทห่ี มักดองสนั ดานสน้ิ ไปได)้ แล้วตรัสสรูปในที่สุดของแต่ละข้อว่า เพราะมีญาณแต่ละข้อน้ี จึงปฏิญญา ความเป็นใหญ่๑ บรรลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (ธรรมะซ่ึงเปรียบเหมือนลูกล้อ หมุนไปสู่ความเจรญิ อันประเสริฐ) ความแกลว้ กล้า ๔ (เวสารชั ชะ ๔) ๔. แล้วทรงแสดงความเป็นผู้แกล้วกล้า (เวสารัชชะ) ของพระตถาคต ๔ อย่าง ซึ่ง เปน็ เหตใุ หพ้ ระองคท์ รงปฏญิ ญาความเปน็ ใหญ่ บรรลอื สหี นาทในบรษิ ทั ประกาศพรหมจกั ร คอื ไม่ทรงเห็นว่าจะมสี มณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกจะกลา่ วทกั ทว้ งไดโ้ ดย ชอบธรรมว่า (๑) ธรรมท่ที รงปฏิญญาวา่ ตรัสรแู้ ล้ว มิไดท้ รงตรสั รู้ (๒) อาสวะทที่ รงปฏิญญาวา่ สน้ิ ไปแล้ว ยังไม่ส้นิ ไป ๑ ค�ำว่า ความเปน็ ใหญ่ แปลจากคำ� วา่ อาสภณฺาน ซ่ึงแปลตามตัวว่า ฐานะแหง่ ความเป็นโคผู้ (อุสภะ) โดยใจความ หมายถงึ ความเปน็ หัวหน้า เปน็ ผนู้ �ำ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 536 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค 537 (๓) ธรรมทีต่ รัสว่าท�ำอันตราย ไม่ทำ� อันตรายได้ ัมช ิฌม ินกาย (๔) ทรงแสดงธรรมเพ่ือประโยชน์แก่ผู้ใด ไม่น�ำผู้นั้นซ่ึงท�ำตามให้สิ้นทุกข์โดย ชอบได้ บริษทั ๘ ๕. แล้วทรงแสดงถึงบริษัท ๘ ที่พระองค์ผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้แกล้วกล้า ๔ ประการ เสด็จเข้าไปหา เคยประทับน่ังสนทนาสากัจฉา (ไต่ถาม โต้ตอบ) กับบริษัทเหล่านั้น นับจ�ำนวนหลายร้อยบริษัท คือ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี (ผู้ครองเรือน) สมณะ เทพช้ัน จาตุมมหาราช เทพชั้นดาวดึงส์ มาร พรหม ไม่ทรงเห็นนิมิตหมายที่ว่าจะเกิดความกลัว ความหวาดแก่พระองคใ์ นบริษัทนน้ั ๆ ก�ำเนิด ๔ ๖. แล้วทรงแสดงก�ำเนิด ๔ คือก�ำเนิดจากไข่ (อัณฑชะ) ก�ำเนิดจากปุ่มเปือก (เกิด จากครรภ์มารดา ชลาพชุ ะ) ก�ำเนดิ จากของโสโครก (สังเสทชะ เช่น ในของเปอ่ื ยเน่า ในน�ำ้ ครำ� ) และเกิดเติบโตข้ึนทันที (โอปปาติกะ เช่น เทพ สัตว์นรกบางจ�ำพวก มนุษย์บางจ�ำพวก เปรต บางจำ� พวก) คติ ๕ ๗. แล้วทรงแสดงคติ ๕ คือนรก ก�ำเนิดเดียรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต มนุษย์ เทพ ซึ่งพระองค์ทรงทราบ พร้อมทั้งทรงทราบหนทางและข้อปฏิบัติท่ีจะให้ไปเกิดในคตินั้น ๆ นอกจากนั้นยังทรงแสดงด้วยว่า ทรงรู้จักนิพพาน (สภาพที่ดับเย็น ปราศจากกิเลสและความ ทุกข)์ พร้อมท้งั หนทางและข้อปฏิบัตทิ ี่จะใหถ้ งึ พระนิพพานดว้ ย การประพฤติพรหมจรรยม์ อี งค์ ๔ ๘. ทรงแสดงการประพฤติพรหมจรรย์มอี งค์ ๔ ของพระองค์ คอื (๑) บ�ำเพ็ญตบะอยา่ งยิ่ง (๒) เป็นผู้ปอนหรอื เศรา้ หมองอย่างยง่ิ (๓) เป็นผูร้ ังเกียจ (ในการท�ำลายชีวติ สตั ว์) อย่างย่ิง (๔) เป็นผ้สู งัดอยา่ งย่ิง PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 537 5/4/18 2:25 PM
538 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ แล้วทรงแสดงตวั อยา่ ง ในการบ�ำเพ็ญตบะ เชน่ ทดลองเปลือยกาย น่งั กระหยง่ นอนบนหนาม เปน็ ตน้ ในการเป็นผู้ปอน เช่น ปล่อยให้ธุลีละอองหมักหมม จับกายอยู่จนเป็นสะเก็ด เหมอื นสะเกด็ ไมโ้ ดยไม่คดิ จะลูบทงิ้ ในการรังเกียจ เช่น มีสติก้าวเดิน ตั้งความเอ็นดู แม้ในหยดน�้ำ เพ่ือมิให้สัตว์มีชีวิต ขนาดเล็กถึงความพินาศ ในการเป็นผู้สงัด เช่น ทรงเข้าไปอยู่ป่า หลีกเล่ียงมิให้พบคนเล้ียงโค เลี้ยงปศุสัตว์ คนหาหญ้าหาฟนื คนท�ำงานในปา่ (นี้เป็นการแสดงว่าทรงทดลองหมดทุกอย่างท่ีนักบวชสมัยน้ันประพฤติปฏิบัติกัน อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในภายหลังท่ีทรงคัดค้านการทรมานตัว จะได้ทรงอ้างได้ว่า ทรง ทดลองมาแล้วไมไ่ ด้ผล) การทรมานพระองค์อยา่ งอ่นื อกี ทรงแสดงการทดลองของพระองค์เกี่ยวกับอาหาร คือมูลโค รวมทั้งมูตร แลกรีส (อุจจาระ) ของพระองคเ์ อง ทรงแสดงถึงการเข้าไปอยู่ในป่าท่ีน่ากลัว ซ่ึงคนผู้ยังไม่ปราศจากราคะเข้าไปสู่ป่า เชน่ นั้น ยอ่ มขนพองสยองเกล้าโดยมาก ทรงแสดงถึงการบรรทมหนุนกระดูกศพในป่าช้า บางครั้งเด็กเลี้ยงโคมาถ่มน�้ำลายรด ปัสสาวะรด เอาขี้ฝุ่นโรย เอาซ่ีไม้ยอนช่องพระกรรณ แต่ก็ไม่ทรงมีจิตคิดร้ายในเด็กเหล่านั้น เป็นตัวอย่างแห่งการอยดู่ ว้ ยอเุ บกขา๑ ทรงทดลองความบริสทุ ธ์เิ พราะเหตตุ า่ ง ๆ ๑. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ความบริสุทธ์ิมีได้ด้วยอาหาร จึงทรงยัง พระชนมชีพด้วยผลกะเบา เคี้ยวผลกะเบา ผลกะเบาป่น ดื่มน้�ำกะเบา บริโภคกะเบาท่ีท�ำ เป็นชนิดต่าง ๆ ทรงยังพระชนมชีพด้วยถั่ว งา ข้าวสาร (ลองเป็นอย่าง ๆ ไป) ลดลงจน เหลือเพียงกะเบา ถ่ัว งา หรือข้าวสารเพียงเมล็ดเดียว เพราะขาดอาหารนั้น ท�ำให้พระกาย ๑ อรรถกถาเล่าว่า พวกเด็กเล้ียงโคพยายามรังแกด้วยประการต่าง ๆ ด้วยต้องการจะให้รับส่ัง แต่ก็ทรงนิ่งเฉย อันเป็นพฤติการณ์ตอนหนงึ่ ระหว่างทรงค้นหาความจริงเพื่อตรสั รู้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 538 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค 539 ซูบซีด ซวนล้ม เม่ือลูบพระกาย พระโลมาซึ่งมีรากเน่าก็หลุดจากพระกาย แต่ก็มิได้ทรง ัมช ิฌม ินกาย บรรลุธรรมอันยิ่งของมนุษย์ เพราะมิได้ทรงบรรลุปัญญาอันประเสริฐอันจะท�ำให้ถึงท่ีสุด ทุกข์ได้ ๒ . สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ความบริสุทธ์ิมีได้ด้วยสงสาร (การท่องเที่ยว เวียนว่ายตายเกิด) ก็ไม่มีการท่องเท่ียวไปในท่ีใดที่ไม่ทรงเคยไป จะพึงหาได้ง่ายโดยกาล อันนานนี้ เว้นไว้แต่เทพช้ันสุทธาวาส เพราะถ้าท่องเที่ยวไปในเทพช้ันสุทธาวาส (ซ่ึงเป็นท่ีอยู่ ของพระอนาคามี ผไู้ มก่ ลบั มาสูม่ นุษยโลกอกี ) พระองค์กจ็ ะไม่มาสูโ่ ลกนี้อีก ๓ . และ ๔. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าววา่ ความบริสุทธมิ์ ไี ดด้ ว้ ยการเกดิ (อุปบตั ิ) การอยู่ (อาวาส) ก็ไม่มีการเกิด การอยู่ ในที่ไหนท่ีไม่ทรงเคยเกิด เคยอยู่ โดยกาลอันนานนี้ เวน้ แต่เทพชั้นสทุ ธาวาส เพราะถา้ ทรงเกดิ ทรงอยู่ในเทพช้นั สทุ ธาวาส ก็จะไมม่ าสโู่ ลกนอ้ี กี ๕. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยยัญ ก็ไม่มียัญชนิดไหนท่ี ไมท่ รงเคยบชู าโดยกาลอนั นานน้ี ๖. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยการบ�ำเรอไฟ (คือหา เชื้อใส่ไฟตลอดเวลา) ก็ไม่มไี ฟทีไ่ ม่เคยทรงบำ� เรอโดยกาลอนั นานน้ี คนหน่มุ จงึ มปี ญั ญาจริงหรือ ๗. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า คนยังหนุ่มอยู่ในปฐมวัย จึงประกอบด้วยความ เป็นผู้เฉลียวฉลาดด้วยปัญญา เม่ืออายุถึง ๘๐ ๙๐ ๑๐๐ ก็เส่ือมจากความเป็นผู้เฉลียวฉลาด ด้วยปัญญานั้น ซ่ึงไม่พึงเห็นเช่นนั้น เพราะพระองค์เองมีพระชนมายุ ๘๐ ด�ำเนิน พระสาวก ๔ รปู มีอายุถึง ๑๐๐ ก็ยังประกอบด้วย สติ คติ และความทรงจ�ำอันยอดเย่ียม ประกอบด้วย ความเป็นผู้เฉลียวฉลาดด้วยปัญญาอันยอดเย่ียม สาวกเหล่านั้นทูลถามปัญหาเกี่ยวกับ สติปัฏฐาน (การตั้งสติ) ๔ ก็ทรงตอบไป เธอก็ทรงจ�ำไว้ได้ ไม่ต้องถามเป็นคร้ังที่สอง การ แสดงธรรม การแยกบทแห่งธรรม การตอบปัญหาของตถาคตไม่มีท่ีส้ินสุด (คือด�ำเนินไปได้ ตดิ ตอ่ กัน) เว้นไว้แตก่ นิ ดม่ื หรือถา่ ยอุจจาระปัสสาวะ เปน็ ต้น สาวกท้ังสร่ี ปู นัน้ ผ้มู ีอายุ ๑๐๐ ก็จะท�ำกาละเมื่อล่วง ๑๐๐ ปี แม้ท่านท้ังหลายจะหามตถาคตไปด้วยเตียง ความแปรเป็น อย่างอนื่ แหง่ ความเปน็ ผูเ้ ฉลยี วฉลาดดว้ ยปัญญา ย่อมไมม่ เี ลยเเกต่ ถาคต พระนาคสมาละถวายอยู่งานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ กราบทูลว่า ท่านสดับธรรม บรรยายน้ีแล้วเกิดขนลุก ควรจะเรียกธรรมปริยายน้ีว่ากระไร ตรัสตอบว่า ควรเรียกได้ว่า โลมหังสนปรยิ าย (เรอ่ื งที่ท�ำให้ขนลุก) PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 539 5/4/18 2:25 PM
540 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (หมายเหตุ : มหาสีหนาทสูตรนี้ สมเป็นการบรรลือสีหนาทท่ีย่ิงใหญ่ เพราะเป็นการ เปล่งพระวาจาอย่างอาจหาญ เล่าความท่ีเคยทรงทดลองปฏิบัติมาแล้วทุกอย่าง ตามท่ีเข้าใจ กันว่า จะตรัสรู้ได้ แต่ก็ไม่ส�ำเร็จ การค้านข้อปฏิบัติของสมณพราหมณ์คร้ังน้ัน จึงเป็นการค้าน อย่างมีเหตผุ ลยิ่ง) ๑๓. มหาทกุ ขักขนั ธสูตร (สตู รวา่ ด้วยกองทุกข์ สตู รใหญ)่ ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ถึงเร่ืองที่นักบวช ศาสนาอ่ืนกล่าวว่า พระสมณโคดมและพวกเขาบัญญัติข้อที่ควรก�ำหนดรู้เกี่ยวกับกาม (ความ ใคร่และส่ิงที่น่าใคร่) รูป (ธาตุท้ังสี่ ประชุมกันเป็นกาย) และเวทนา (ความรู้สึกเป็นสุขทุกข์ หรอื ไมท่ กุ ข์ไม่สขุ ) เหมอื น ๆ กนั ไมม่ ีอะไรตา่ งกัน ๒. ตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลายลองย้อนถามดูว่า อะไรคือความพอใจ (อัสสาทะ) โทษ (อาทีนวะ) การพ้นไป (นิสสรณะ = แล่นออก) ของกาม รูป และเวทนา ซ่ึงนักบวชลัทธิอ่ืนจะ ตอบไม่ได้ และมีความอึดอัดยิ่งขึ้น ท้ังนี้เพราะมิใช่ปัญหาในวิสัย ทรงยืนยันว่า ไม่มีใครตอบ ปญั หานี้ได้เป็นท่พี อใจ เว้นไวแ้ ต่ตถาคต สาวกของตถาคต หรอื ผฟู้ ังจากศาสนานี้ ๓. ทรงแสดงกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ ว่าเป็น ความพอใจ (อัสสาทะ) ของกาม ทรงแสดงการต้องประกอบอาชีพต่าง ๆ ล�ำบากตรากตร�ำ หนาวร้อน หิวกระหาย เป็นต้น การที่เพียรพยายาม แต่ไม่ได้ผล ต้อง เศร้าโศกเสียใจ เม่ือได้ผลแล้วก็ต้องทุกข์กายทุกข์ใจ เน่ืองด้วยการอารักขา (สินทรัพย์ที่ เกิดขึ้น) เพื่อมิให้เป็นอันตราย เม่ือมีอันตรายเกิดข้ึนก็เศร้าโศกเสียใจ ทะเลาะวิวาทกับคน ทง้ั หลาย แล้วทำ� ร้ายร่างกายกัน ใชอ้ าวุธท�ำสงครามฆา่ ฟันกัน ก่อสรา้ งปอ้ ม ถกู ลงโทษทรมาน ต่าง ๆ เพราะท�ำความผิด เช่น ตัดช่อง ปล้นสะดม เป็นต้น ที่มีกามเป็นเหตุว่า แต่ละอย่าง เหล่านี้ เป็นโทษของกาม เป็นกองทุกข์ท่ีเห็นทันตา เมื่อตายไปก็เข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก เพราะประพฤติทุจจริตทางกายวาจาใจที่มีกามเป็นเหตุ เป็นโทษของกาม เป็นกองทุกข์ ในอนาคต ทรงแสดงการน�ำความพอใจความก�ำหนัดยินดีในกามออกเสียว่า เป็นการพ้นไป จากกาม สมณพราหมณ์ท่ีไม่รู้เรื่องเหล่านี้ตามเป็นจริงท่ีจะก�ำหนดรู้กามด้วยตนเอง หรือ ชักชวนผู้อื่นเพื่อก�ำหนดรู้ ซ่ึงผู้อ่ืนปฏิบัติตามแล้ว จักก�ำหนดรู้กาม ย่อมเป็นไปไม่ได้ ต่อเม่ือ รู้ตามความจรงิ จึงก�ำหนดรู้กามดว้ ยตนเองหรอื ชกั ชวนผู้อ่นื ให้ก�ำหนดร้ไู ด้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 540 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค 541 ๔. ทรงแสดงความสุขกายสุขใจ เพราะมีผิวพรรณงดงามว่าเป็นความยินดีแห่งรูป ัมช ิฌม ินกาย ทรงแสดงความแก่เฒ่า หลังโกง ฟันหัก ผมหงอก เป็นต้น จนถึงตายถูกท้ิงในป่าช้า มีกระดูก สีขาว ว่าเป็นโทษของรูป ทรงแสดงการน�ำความพอใจ ความก�ำหนัดยินดีในรูปออกเสียว่า เป็นการพ้นไปจากรูป แล้วตรัสเรื่องสมณพราหมณ์ท่ีไม่รู้เรื่องเหล่าน้ีตามเป็นจริง และที่รู้เร่ือง เหลา่ นตี้ ามเปน็ จรงิ เหมอื นเรอื่ งกาม (ในข้อ ๓) ๕. ทรงแสดงการเข้าฌานทั้งสี่ ทีละข้อในสมัยท่ีเข้าฌานนั้น ๆ ย่อมไม่คิดเบียดเบียน ตน เบียดเบียนคนอื่น หรือเบียดเบียนท้ังสองฝ่าย ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มีการเบียดเบียน ว่าเป็นความยินดีแห่งเวทนา ทรงแสดงเวทนาท่ีไม่เท่ียง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็น ธรรมดา ว่าเป็นโทษของเวทนา แล้วทรงแสดงการน�ำความพอใจ ความก�ำหนัดยินดีในเวทนา ออกเสียว่า เป็นการพ้นไปจากเวทนา และสมณพราหมณ์ผู้ไม่รู้ตามเป็นจริงและรู้ตามเป็นจริง เกย่ี วกับเวทนา เช่นเดียวกับเรื่องกาม (ในข้อ ๓) ๑๔. จูฬทกุ ขักขันธสตู ร (สตู รวา่ ดว้ ยกองทกุ ข์ สูตรเล็ก๑) ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นิโครธาราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ตรัส แสดงธรรมแก่มหานามศากยะ ผ้กู ราบทลู ถามวา่ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นเครื่องเศร้าหมองแหง่ จิต ข้าพระองค์ละธรรมอะไรในภายในไม่ได้ บางคราวธรรมะคือโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง จึงครอบง�ำจิตต้ังอยู่ ตรัสตอบว่า ละธรรมภายในนั้นไม่ได้จึงเป็นเช่นน้ัน ถ้าละธรรมภายใน น้นั ได้ กจ็ ะไม่ครองเรอื น ไม่บริโภคกาม ๒. ตรัสถึงอริยสาวก และแม้พระองค์เอง เมื่อก่อนตรัสรู้ ถ้ายังไม่เห็นดีด้วยปัญญา อันชอบตามเป็นจริงว่า กามมีความยินดีน้อย มีทุกข์โทษมากแล้ว ก็ยังมิได้บรรลุความสุขอื่น จากกามหรืออกุศลธรรมหรือประณีตกว่านั้น ยังไม่หมดความเวียนมาในกาม ต่อเม่ือเห็นดี ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว จึงได้บรรลุความสุขท่ีอ่ืนจากกามหรืออกุศลธรรม หรือประณีตกว่าน้ัน หมดความเวยี นมาในกาม ๓. แล้วตรัสแสดงความพอใจของกาม โทษของกาม การออกไปจากกาม เช่นเดียว กับมหาทกุ ขักขนั ธสตู รท่ีย่อมาแล้ว ๑ เล็กหรือใหญ่ ค�ำน้ีมิได้หมายความว่ากองทุกข์เล็กหรือกองทุกข์ใหญ่ หมายถึงสูตรใหญ่ สูตรเล็ก ที่มีช่ืออย่าง เดยี วกนั จงึ ตอ้ งใชค้ �ำวา่ ใหญ่ เลก็ มาประกอบเพื่อจำ� งา่ ย PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 541 5/4/18 2:25 PM
542 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๔. แล้วตรัสเล่าเรื่องท่ีทรงโต้ตอบกับพวกนิครนถ์ทรงเทียบให้ดูว่า พระองค์ทรง มีความสุขมากกวา่ พระเจ้าพมิ พิสารอยา่ งไร ซึง่ พวกนิครนถไ์ ด้ยอมรับวา่ จริง ๑๕. อนมุ านสตู ร (สูตรวา่ ดว้ ยการอนมุ าน) พระมหาโมคคลั ลานะอยใู่ นปา่ ชอื่ เภสกฬา อนั เปน็ ทใี่ หอ้ ภยั แกเ่ นอ้ื ใกลน้ ครสงุ สมุ าคริ ะ แควน้ ภัคคะ ท่านแสดงธรรมแก่ภกิ ษุทัง้ หลาย พอจะกำ� หนดเปน็ ข้อ ๆ ดังตอ่ ไปน้ี ๑. ท่านแสดงถึงภิกษุผู้ปวารณาตนให้ภิกษุอื่นว่ากล่าว แต่ก็เป็นผู้ว่ายาก จึงไม่มีใคร (เพอื่ นพรหมจาร)ี อยากวา่ กลา่ วตกั เตอื นหรอื คนุ้ เคยดว้ ย แลว้ แสดงธรรมะทที่ ำ� ให้ วา่ ยากหลายขอ้ มคี วามปรารถนาลามกเป็นต้น มกี ารยดึ แต่ความเห็นของตนเป็น ข้อสดุ ท้าย ๒. แสดงถึงภิกษุผู้แม้ไม่ปวารณาตนให้ภิกษุผู้อื่นว่ากล่าว แต่เป็นผู้ว่าง่าย จึงมีเพ่ือน พรหมจารีอยากว่ากล่าวตักเตือนหรือคุ้นเคยด้วย แล้วแสดงธรรมะท่ีท�ำให้ว่าง่าย ฝา่ ยตรงกนั ข้าม ๓. สอนภิกษุทั้งหลายให้อนุมาน (คาดคะเน) ตนเองได้ด้วยตนว่า ถ้าประกอบด้วย ความชว่ั มคี วามปรารถนาลามก เปน็ ตน้ กค็ งไมเ่ ปน็ ทพี่ อใจของผอู้ น่ื จงึ ควรตง้ั จติ ทีจ่ ะไมม่ ีความปรารถนาลามก เป็นตน้ ๔. สอนภกิ ษทุ ง้ั หลายให้พจิ ารณาตนด้วยตนวา่ มคี วามชว่ั เชน่ ความปรารถนาลามก เปน็ ตน้ หรอื ไม่ ถา้ มกี ค็ วรพยายามละเสยี ถา้ ไมม่ กี ค็ วรศกึ ษาเนอื ง ๆ ในกศุ ลธรรม ทง้ั หลาย อย่ดู ว้ ยความปตี ปิ ราโมทย์ ภกิ ษุทงั้ หลายกช็ ื่นชมภาษติ ของพระเถระ ๑๖. เจโตขีลสตู ร (สตู รวา่ ด้วยกเิ ลสท่ีเปรียบเหมือนตอของจิต) ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุท้ังหลาย ถึง เรื่องที่ว่า ถ้าภิกษุยังละกิเลสที่เปรียบเหมือนตอของจิต (เจโตขีละ) ๕ ประการ และถอนกิเลส ท่ีเปรียบเหมือนเครื่องผูกมัดจิต (เจตโสวินิพันธะ) ๕ ประการไม่ได้ ก็มิใช่ฐานะที่ภิกษุน้ัน จะถึงความเจริญงอกงามไพบลู ในพระธรรมวินัยน้ี PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 542 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค 543 ตอของจติ ๕ ัมช ิฌม ินกาย ๒. แลว้ ทรงแสดงกเิ ลสทเี่ ปรียบเหมอื นตอของจิต ๕ ประการ คอื (๑) สงสัยในพระศาสดา (๒) สงสัยในพระธรรม (๓) สงสยั ในพระสงฆ์ (๔) สงสยั ในสกิ ขา (ข้อที่จะต้องศึกษา คอื ศีล สมาธิ ปัญญา) (๕) โกรธเคืองในเพ่อื นพรหมจารี เม่ือมีความสงสัยหรือความโกรธเคืองข้อใดข้อหน่ึงนี้แล้ว จิตก็ไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เคร่อื งผูกมัดจติ ๕ ๓. แลว้ ทรงแสดงกิเลสที่เปรยี บเหมือนเคร่ืองผกู มัดจิต ๕ ประการ คือ (๑) ไม่ปราศจากความกำ� หนัดพอใจรกั ใครใ่ นกาม (๒) ไมป่ ราศจากความกำ� หนัดพอใจรกั ใครใ่ นกาย (๓) ไมป่ ราศจากความกำ� หนดั พอใจรกั ใครใ่ นรปู (๔) กนิ แล้วก็ประกอบสุขในการนอน (๕) ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยหวงั ว่าจะไปเกิดในเทพพวกใดพวกหน่งึ เม่ือมีกเิ ลสเหล่าน้ขี อ้ ใดข้อหน่งึ จิตก็ไม่น้อมไปเพ่ือความเพียร ๔. ถ้าละและถอนกิเลสข้างต้นเสียได้ ก็มีฐานะท่ีจะถึงความเจริญงอกงามไพบูล ในพระธรรมวินัยนี้ ๕. ทรงแสดงภิกษุผู้ประกอบด้วยอิทธิบาท คือคุณธรรมท่ีให้ถึงความส�ำเร็จ ๔ ประการ คอื (๑) พอใจ (๒) เพียร (๓) คิด (๔) ไตรต่ รอง พร้อมท้งั มี ความกระตอื รอื ร้น (อุสโฺ สฬฺหิ) เปน็ (๕) รวมเป็นมีคุณธรรม ๑๕ อย่าง คือละกิเลสอย่างละ ๕ สองอย่างข้างต้น กับมี คุณธรรมอีก ๕ อย่าง ก็สามารถจะตรัสรู้ได้ เปรียบเหมือนแม่ไก่กกไข่ดี แม้ไม่ปรารถนาอะไร มาก ลกู ไก่กอ็ อกมาได้ฉะนัน้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 543 5/4/18 2:25 PM
544 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๑๗. วนปัตถสตู ร (สูตรว่าดว้ ยการอยปู่ า่ ของภกิ ษ)ุ ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสแสดงธรรมเรื่องภิกษุผู้อยู่ป่า (๔ ประเภท) คอื (๑) ถา้ อยู่แล้ว สติไม่ต้ังม่ัน จิตไม่เป็นสมาธิ อาสวะไม่สิ้น ไม่บรรลุธรรมอัน ปลอดโปร่งจากกิเลสอันยอดเย่ียม ท้ังปัจจัย ๔ ก็หาได้ยาก ก็ควรหลีกไป จากปา่ นน้ั ไม่ควรอยใู่ นเวลากลางวนั หรือกลางคืน (๒) ถ้าอย่แู ล้ว สติไม่ต้ังมั่น เป็นต้น แต่ปัจจัย ๔ หาได้ไม่ยาก ก็ควรพิจารณา ว่าตนไม่ได้บวชเพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ พิจารณาแล้วก็ควรหลีกไปจากป่า น้ัน ไม่ควรอยู่ (๓) ถ้าอย่แู ล้ว สติต้ังม่ัน เป็นต้น แต่ปัจจัย ๔ หาได้ยากก็ควรพิจารณาว่าตน ไม่ได้บวชเพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ พิจารณาแล้วก็ควรอยู่ป่าน้ัน ไม่ควร หลกี ไป (๔) ถา้ อย่แู ลว้ สตติ ง้ั มน่ั เปน็ ตน้ และปจั จยั ๔ กห็ าไดไ้ มย่ าก กค็ วรอยใู่ นปา่ นนั้ แมต้ ลอดชีวติ ไมค่ วรหลกี ไป ๒. ทรงแสดงถึงภิกษุผู้อยู่อาศัย คาม นิคม นคร ชนบท และ บุคคล โดยท�ำนอง เดียวกับการอยู่ป่า ๔ ข้อข้างต้น โดยเฉพาะท่ีเกี่ยวกับบุคคล หมายถึงการติดตาม (ท�ำนอง ศิษย์ติดตามอาจารย์) โดยทรงเล็งถึงการท่ีจะดีขึ้นทางคุณธรรมเป็นส�ำคัญ ส่วนปัจจัย ๔ หาไดย้ ากหรือไม่ยากไม่เป็นประมาณ ๑๘. มธปุ ณิ ฑิกสูตร (สูตรว่าดว้ ยธรรมะทนี่ า่ พอใจเหมอื นขนมหวาน) ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นิโครธาราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ตรัส ตอบค�ำถามของทัณฑปาณิศากยะ ที่ว่า ”ทรงมีวาทะอย่างไร ตรัสบอกอย่างไร„ โดยทรงช้ีไปว่า ทรงมีวาทะและตรัสบอกในทางท่ีจะไม่ทะเลาะกับใคร ๆ ในโลกพร้อมท้ังเทวโลก และในทางที่ สัญญา (ความก�ำหนดหมายด้วยกิเลส - กิเลสสัญญา - อรรถกถา) จะไม่แฝงตัวตาม๑ บุคคล ๑ ค�ำว่า แฝงตัวตาม แปลจากค�ำว่า อนุเสนฺติ โดยพยัญชนะว่า นอนตาม คือมีอยู่อย่างไม่ค่อยปรากฏตัวเหมือน ตะกอนนอนกน้ ตุ่ม ตอ่ เมอ่ื มีอะไรมากวนจงึ ขุ่นขนึ้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 544 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค 545 ผู้อยู่อย่างไม่ประกอบด้วยกาม ผู้ลอยบาป ผู้ส้ินความสงสัย รังเกียจ ปราศจากความทะยาน ัมช ิฌม ินกาย อยากในภพน้อยใหญ่ ๒. ทรงเล่าเร่ืองข้างต้นให้ภิกษุทั้งหลายฟัง เม่ือภิกษุรูปหนึ่งขอให้ทรงอธิบาย ก็ทรง อธิบายอย่างย่อ ๆ ภิกษุทั้งหลายจึงไปหาพระมหากัจจานเถระให้อธิบายโดยละเอียด พระเถระ จงึ อธิบายขยายความของพระพทุ ธภาษิตสน้ั ๆ ทว่ี ่า ”สว่ นแหง่ ความกำ� หนดหมายกิเลสเปน็ เหตุ ให้เน่ินช้า (ปปัญจสัญญาสังขา๑) ย่อมครอบง�ำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าไม่เพลิดเพลิน ไม่ยึดถือ ในเหตุนั้น (อายตนะ ๑๒) ได้ น่ันแหละเป็นท่ีสุดแห่งกิเลสที่แฝงอยู่ (อนุสัย ๗ กิเลสที่นอน ซ่อนตัวอยู่ในสันดาน) น่ันแหละ เป็นท่ีสุดแห่งการจับท่อนไม้ ศัสตรา การทะเลาะวิวาท การ ชี้หนา้ ดา่ ทอ การส่อเสียด การพูดปด„ โดยขยายความแสดงล�ำดบั ธรรมะ ดงั น้ี (๑) อาศยั อายตนะภายในอายตนะภายนอก เกดิ ความรแู้ จง้ อารมณ์ เรยี กวา่ วญิ ญาณ (๒) รวมธรรม ๓ ประการ คืออายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เรยี กวา่ ผัสสะ (ความถกู ต้อง) (๓) เพราะผสั สะเปน็ ปัจจยั จงึ เกดิ เวทนา (คอื ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไมท่ กุ ข์ไม่สุข) (๔) รสู้ ึกอารมณ์ใด กจ็ ำ� อารมณน์ น้ั ได้ (มีเวทนาก็มสี ัญญา) (๕) จ�ำอารมณ์ใดได้ กต็ รกึ ถึงอารมณ์นั้น (มีสัญญาก็มวี ิตก) (๖) ตรกึ อารมณ์ใด กเ็ น่ินช้าอยกู่ บั อารมณ์น้นั (๗) เน่ินช้าอยู่กับอารมณ์ใด ส่วนแห่งความก�ำหนดหมายกิเลสเป็นเหตุให้เน่ินช้า ในรูปทีพ่ งึ รู้ได้ดว้ ยตา เป็นต้น ทเี่ ปน็ อดตี อนาคต ปัจจบุ ัน ย่อมครอบงำ� เขา เพราะเหตุนัน้ (๘) เม่ือมีอายตนะภายใน มีอายตนะภายนอก มีวิญญาณ ก็มีฐานะท่ีจักบัญญัติ ผัสสะได้ เม่ือมีการบัญญัติผัสสะ ก็มีฐานะที่จักบัญญัติเวทนาได้ เม่ือมีการ บัญญัติเวทนา ก็มีฐานะท่ีจักบัญญัติวิตก (ความตรึก) ได้ เมื่อมีการบัญญัติ วติ ก กม็ ฐี านะทจ่ี กั บญั ญตั กิ ารครอบงำ� ของสว่ นแหง่ ความกำ� หนดหมายกเิ ลส เป็นเหตใุ หเ้ น่นิ ชา้ ๓. พระผมู้ พี ระภาคทรงทราบกท็ รงอนโุ มทนาวา่ ถ้าใหพ้ ระองคท์ รงอธบิ าย ก็จกั ตรัส อธบิ าย เชน่ เดยี วกบั พระมหากจั จานะ พระอานนท์ กราบทูลสรรเสรญิ คำ� อธิบายน้วี า่ เหมอื นคน หวิ ระหายออ่ นกำ� ลงั ไดข้ นมหวาน จึงตรสั ให้เรยี กธรรมปริยายน้วี ่า มธุปณิ ฑิกปรยิ าย (บรรยายท่ี เปรียบเหมอื นขนมหวาน) ๑ คำ� น้ีมีในสกั กปญั หสูตรที่ ๘ หนา้ ๔๗๐ แล้ว โปรดดบู นั ทึกทางวิชาการในภาค ๕ ด้วย PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 545 5/4/18 2:25 PM
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 497
- 498
- 499
- 500
- 501
- 502
- 503
- 504
- 505
- 506
- 507
- 508
- 509
- 510
- 511
- 512
- 513
- 514
- 515
- 516
- 517
- 518
- 519
- 520
- 521
- 522
- 523
- 524
- 525
- 526
- 527
- 528
- 529
- 530
- 531
- 532
- 533
- 534
- 535
- 536
- 537
- 538
- 539
- 540
- 541
- 542
- 543
- 544
- 545
- 546
- 547
- 548
- 549
- 550
- 551
- 552
- 553
- 554
- 555
- 556
- 557
- 558
- 559
- 560
- 561
- 562
- 563
- 564
- 565
- 566
- 567
- 568
- 569
- 570
- 571
- 572
- 573
- 574
- 575
- 576
- 577
- 578
- 579
- 580
- 581
- 582
- 583
- 584
- 585
- 586
- 587
- 588
- 589
- 590
- 591
- 592
- 593
- 594
- 595
- 596
- 597
- 598
- 599
- 600
- 601
- 602
- 603
- 604
- 605
- 606
- 607
- 608
- 609
- 610
- 611
- 612
- 613
- 614
- 615
- 616
- 617
- 618
- 619
- 620
- 621
- 622
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 500
- 501 - 550
- 551 - 600
- 601 - 622
Pages: