896 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๗. ร่าเริงอะไรหรือชื่นใจอะไรกัน ในเม่ือโลกลุกเป็นไฟอยู่เป็นนิตย์ ท่านท้ังหลาย ถูกความมดื หอ่ ห้มุ แลว้ ไฉนจงึ ไมแ่ สวงหาดวงประทีป ๘. ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขาร (สิ่งท่ีปัจจัยปรุงแต่ง) เป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ความ จรงิ ขอ้ นแ้ี ล้วดบั ทุกขไ์ ด้เป็นสุขอยา่ งย่ิง ๙. อตุละเอย การนินทาน้ีเป็นของเก่า มิใช่ของดุจมีในวันนี้ คนนั่งน่ิงก็ถูกนินทา คนพูดมากกถ็ ูกนนิ ทา คนพดู พอประมาณก็ถกู นินทา คนไม่ถกู นนิ ทาไม่มีในโลก ๑๐. ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี เคราะห์เสมอด้วยโทสะไม่มี ข่ายเสมอด้วยโมหะไม่มี แมน่ �ำ้ เสมอดว้ ยตณั หาไม่มี มีค�ำสรูปว่า ในธรรมบทมีคาถา (ค�ำฉันท์) ๔๒๓ บท (บางเรื่องและบางหัวข้อ อาจ ประกอบด้วยค�ำฉันท์หลายบท เพราะฉะน้ัน ท่ีกล่าวว่าประมาณ ๓๐๐ หัวข้อ จึงหมายเฉพาะ เนื้อเร่ือง) ๓. อทุ าน (พระอรรถกถาจารย์อธิบายเรื่องการจัดระเบียบไว้ว่า อุทานนี้มี ๘ วรรค กล่าวโดย สตู รประมาณ ๘๐ สตู ร กลา่ วโดยคาถา (ค�ำฉนั ท)์ มี ๙๕ บท) ใจความส�ำคัญในเร่ืองอุทานก็คือ เม่ือมีเหตุการณ์อะไรเกิดข้ึน พระผู้มีพระภาค ทรงปรารภเหตุการณ์น้ัน ๆ ก็ทรงเปล่งอุทานเป็นข้อธรรมอันมีเนื้อหาเป็นค�ำสั่งสอน ในท่ีน้ี จะเลือกแปลบทอุทานใน ๘ วรรคน้ัน วรรคละ ๒ เรื่อง รวมเป็น ๑๖ เรื่อง (จาก ๘๐ เรื่อง) ดงั ต่อไปนี้ - ๑. โพธิวรรค วา่ ดว้ ยการตรสั รู้ (๑) ทรงเปล่งอุทานในราตรีแรกแหง่ การตรสั รู้ ในยามที่ ๑ ”ในกาลใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลน้นั ความสงสยั ทัง้ ปวงของพราหมณ์นั้น ยอ่ มสิน้ ไป เพราะรธู้ รรมพรอ้ มทงั้ เหต„ุ ในยามท่ี ๒ ”ในกาลใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนน้ั ความสงสัยทง้ั ปวงของพราหมณ์นัน้ ยอ่ มสน้ิ ไป เพราะไดร้ ู้ความสนิ้ ไปแหง่ ปจั จยั „ ในยามที่ ๓ ”ในกาลใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมก�ำจัดมารพร้อมท้ังเสนาเสียได้ เหมือนดวงอาทิตย์ก�ำจัดความมืดท�ำท้องฟ้า ใหส้ วา่ งฉะนน้ั „ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 896 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย อุทาน 897 (๒) ทรงเปล่งอทุ าน ปรารภพระสงั คามชผิ ูไ้ ม่เยือ่ ใยในอดตี ภรยิ า ุขททก ินกาย ”ผู้ใดไม่ยินดีผู้ที่มา ไม่เศร้าโศกถงึ ผ้ทู ่ีไป เรากล่าวถึงผ้นู ัน้ ซึง่ เปน็ ผชู้ นะสงคราม ผ้พู ้นจากความข้อง วา่ เป็นพราหมณ์„ ๒. มุจจลนิ ทวรรค วา่ ดว้ ยเหตุการณ์ท่ีต้นจิก (๑) ทรงเปล่งอทุ านท่ีใตต้ น้ จกิ ”ความสงัดของบุคคลผู้ยินดี ผู้สดับธรรม ผู้เห็นด้วยปัญญา เป็นสุข ความไม่ เบียดเบียน คือ ความส�ำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก ความปราศจากราคะ คือความ ก้าวล่วงกามท้ังหลาย เป็นสุขในโลก การน�ำออกเสียซึ่งอัสมิมานะ (ความถือตัวว่าเราเป็นน่ัน เปน็ น)่ี เป็นสขุ อย่างยง่ิ „ (๒) ทรงเปลง่ อทุ าน ณ เชตวนาราม กรุงสาวตั ถี ปรารภคำ� สนทนาของภกิ ษุท้งั หลาย ”ความสุขทางกามอันใดในโลก และความสขุ ใดอนั เป็นทิพย์ ความสุขทั้งหมดน้ัน ย่อมไม่ถงึ เส้ียวที่ ๑๖ แหง่ ความสขุ เพราะสนิ้ ตัณหา (ความทะยานอยาก)„ ๓. นนั ทวรรค วา่ ด้วยพระนนั ทะ (๑) ทรงเปล่งอทุ านปรารภพระนนั ทะ (ผู้เป็นพระอนุชาตา่ งพระมารดา) ”ผใู้ ดขา้ มหลม่ กามได้ ยำ่� ยหี นามคอื กามได้ บรรลคุ วามสน้ิ ไปแหง่ ความหลง ผนู้ นั้ เป็นผ้เู ห็นภัย (ภกิ ขุ) ยอ่ มไมห่ วน่ั ไหวในสขุ และทุกข์„ (๒) ทรงเปลง่ อทุ าน ปรารภพระปลิ ินทวจั ฉะ (ผู้พูดไม่ไพเราะเพราะเคยปาก) ”ผใู้ ดไมม่ มี ายา ไมม่ คี วามถอื ตวั สน้ิ ความโลภ ไมย่ ดึ วา่ อะไรเปน็ ของเรา ปราศจาก ความหวงั บนั เทาความโกรธ ดบั อตั ตาเสยี ได้ ผ้นู ัน้ เปน็ พราหมณ์ เปน็ สมณะ เป็นภกิ ษุ„ ๔. เมฆยิ วรรค วา่ ดว้ ยพระเมฆิยะ (๑) ทรงเปลง่ อุทาน ปรารภพระเมฆยิ ะ ”ความตรึกท่เี ลว (กามวิตก) ความตรึกทลี่ ะเอียดอ่อน (ปรารภญาติ ชนบท ลาภ สักการะ เป็นต้น) ที่ติดตามไป ท่ีท�ำจิตให้ผิดปกติ ผู้มีจิตหมุนไป ไม่รู้ความตรึกแห่งใจเหล่าน้ี ย่อมแล่นไป ๆ มา ๆ (ในอารมณ์ มีรูป เสียง เป็นต้น) แต่ผู้รู้ความตรึกแห่งใจเหล่าน้ัน มี ความเพียร มีสตสิ �ำรวม ย่อมเป็นผตู้ รัสรู้ ละความตรึกเหลา่ น้นั ทต่ี ดิ ตามไป ท่ที �ำใจให้ผิดปกติ ได้โดยไม่เหลือ„ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 897 5/4/18 2:25 PM
898 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๒) ทรงเปลง่ อุทาน ปรารภพระอุปเสนะวังคนั ตบตุ ร ”ผู้ใดไม่เดือดร้อนต่อชีวิต ไม่เศร้าโศกเมื่อจะตาย ผู้น้ันแลเป็นนักปราชญ์ เป็นผู้ เหน็ บท (แหง่ ธรรม) ยอ่ มไมเ่ ศรา้ โศกในทา่ มกลางแหง่ ความโศก ภกิ ษถุ อนความทะยานอยากใน ภพได้ มจี ติ สงบ ส้นิ ความท่องเทย่ี วสคู่ วามเกิด ยอ่ มไม่มีการเกิดอีก„ ๕. โสณัตเถรวรรค วา่ ดว้ ยพระโสณเถระ (๑) ทรงเปลง่ อทุ าน ปรารภพระราชดำ� รสั ของพระเจา้ ปเสนทโิ กศลและพระนางมลั ลกิ า ”บคุ คลเอาใจตรวจดูทั่วทกุ ทิศแลว้ ไมพ่ บคนอืน่ ซึ่งเปน็ ท่รี ักยงิ่ กว่าตนในท่ีไหน ๆ คนอื่นก็รักตนอย่างย่ิงเช่นเดียวกัน เพราะเหตุนั้น ผู้ใคร่ความสุขแก่ตน จึงไม่ควรเบียดเบียน ผอู้ น่ื „ (๒) ทรงเปล่งอทุ าน ปรารภพระเทวทตั ผู้ทำ� ลายสงฆใ์ ห้แตกกนั ”ความดคี นดที ำ� ไดง้ า่ ย คนชว่ั ทำ� ไดย้ าก ความชว่ั คนชว่ั ทำ� งา่ ย แตค่ นทป่ี ระเสรฐิ ทำ� ได้ยาก„ ๖. ชัจจันธวรรค ว่าด้วยอปุ มาดว้ ยคนตาบอดแต่กำ� เนดิ (๑) ทรงเปลง่ อุทาน ปรารภพระเจา้ ปเสนทโิ กศล ”ไม่พึงพยายามในความชั่วทุกอย่าง ไม่พึงเป็นคนของคนอ่ืน (ควรเป็นตัวของ ตวั เอง) ไมพ่ ึงอาศยั ผู้อื่นดำ� รงชวี ติ ไม่พงึ ประพฤติธรรมให้มแี ผล„ (๒) ทรงเปลง่ อทุ าน ปรารภนกั บวชนอกศาสนาทเี่ ถยี งทะเลาะกนั เพราะเหน็ ตา่ ง ๆ กนั ”สมณพราหมณ์บางพวกย่อมติดอยู่ในทิฏฐิเหล่าน้ี เป็นคนมีความเห็นแง่เดียว ย่อมทะเลาะวิวาทกนั „ ๗. จฬู วรรค ว่าด้วยภิกษผุ ้มู รี ่างเล็ก (๑) ทรงเปล่งอุทาน ปรารภพระภัททยิ ะผู้คอ่ ม ”ผหู้ ลดุ พน้ ในเบอื้ งบน เบอ้ื งตำ�่ ในทท่ี ง้ั ปวง ไมต่ ามเหน็ วา่ เราเปน็ นน่ั เปน็ นี่ ผหู้ ลดุ พ้นอย่างนี้ ไดข้ า้ มแลว้ ซง่ึ โอฆะ (หว้ งนำ้� ) ท่ยี ังไมเ่ คยขา้ ม เพอื่ ความไมเ่ กดิ อีก„ (๒) ทรงเปลง่ อทุ าน ปรารภมนุษย์ผตู้ ดิ อยู่ในกาม ”ผบู้ อดเพราะกาม ติดอยู่ในขา่ ย (คือตณั หา) ถกู เครอ่ื งปกปิดคอื ตณั หาปกปดิ ไว้ ถูกพญามารผู้ผูกมัดสัตว์ผู้ประมาทผูกไว้แล้ว ย่อมเป็นเหมือนปลาเข้าไปในปากไซ ย่อมถึง ความแก่และความตาย เหมอื นลูกโคยังดืม่ นม วิง่ เข้าหาแม„่ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 898 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ 899 ๘. ปาฏลิคามยิ วรรค ว่าดว้ ยอบุ าสกชาวปาฏลคิ าม ุขททก ินกาย (๑) ทรงเปล่งอทุ าน ปรารภพระนิพพาน ”ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะน้ันมีอยู่ คืออายตนะท่ีไม่มีดิน น้�ำ ไฟ ลม อากาสานญั จายตนะ วญิ ญาณัญจายตนะ อากญิ จญั ญายตนะ เนวสญั ญานาสญั ญายตนะ ไมม่ ี โลกน้ี ไม่มีโลกอื่น ไม่มีพระจันทร์ พระอาทิตย์ทั้งสอง เราไม่กล่าวถึงอายตนะนั้น ว่าเป็น การมา การไป การต้ังอยู่ การจุติ (เคลื่อน) การอุปบัติ (เข้าถึงหรือเกิด) อายตนะน้ัน ไม่มีท่ีต้ัง ไม่มคี วามเปน็ ไป ไม่มีอารมณ์ นนั่ แหละเปน็ ทสี่ ดุ แห่งทกุ ข„์ (หมายเหตุ : ค�ำอธิบายพระนิพพานในรูปปฏิเสธเช่นน้ี บางท่านอาจฉงนว่าจะมี ประโยชน์หรือมีความหมายอย่างไร ขอตอบว่า อย่าว่าแต่พระนิพพานซึ่งเป็นธรรมะอันสูงยิ่ง จะอธิบายได้ยากเลย แม้เรื่องง่าย ๆ ในโลกน้ี เช่น สีขาว สีเขียว ถ้าจะให้อธิบาย ก็พูดไม่ถูก เหมือนกัน บางครั้งก็ต้องอาศัยส�ำนวนปฏิเสธหรือชี้ให้ดู พระนิพพานก็เช่นกัน ผู้บรรลุด้วย ตนเองก็ไม่มปี ญั หา สว่ นผู้ยงั มไิ ดบ้ รรลุ กต็ อ้ งอธบิ ายวา่ ไม่เป็นอยา่ งท่เี ขานกึ กันอยา่ งโลก ๆ) (๒) ทรงเปล่งอทุ าน ปรารภนายจุนทะ กัมมารบตุ ร ”บญุ ยอ่ มเจรญิ แกผ่ ใู้ ห้ เวรของผสู้ ำ� รวมยอ่ มไมถ่ กู กอ่ ขน้ึ ผฉู้ ลาดยอ่ มละความชวั่ ปรนิ พิ พาน เพราะส้นิ ราคะ โทสะ โมหะ„ ๔. อติ ิวตุ ตกะ (ว่าดว้ ยข้อความท่พี ระผ้มู พี ระภาคตรัสไวอ้ ย่างน)้ี อติ ิวตุ ตกะน้ี แบ่งออกเปน็ ๔ นบิ าต (ชุมนมุ ธรรมะ ๔ สว่ น) คอื เปน็ เอกนิบาต (ชุมนมุ ธรรมะท่ีมี ๑ ข้อ) ๒๗ สูตร เป็นทุกนิบาต (ชุมนุมธรรมะที่มี ๒ ข้อ) ๒๒ สูตร เป็นติกนิบาต (ชุมนุมธรรมะท่ีมี ๓ ข้อ) ๕๐ สูตร เป็นจตุกกนิบาต (ชุมนุมธรรมะที่มี ๔ ข้อ) ๑๓ สูตร รวมทัง้ สน้ิ จึงมี ๑๑๒ สตู ร๑ ในการย่อจะเลือกยอ่ นบิ าตละ ๕ สตู ร ดงั ตอ่ ไปนี้ เอกนบิ าต ชุมนุมธรรมะท่ีมี ๑ ขอ้ ๑. ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับว่า พระผู้มีพระภาคผู้อรหันต์ได้ตรัสค�ำนี้ไว้ คือ ”ดกู อ่ นภกิ ษทุ งั้ หลาย ทา่ นทง้ั หลายจงละธรรมอยา่ งหนง่ึ เราเปน็ ผปู้ ระกนั พวกเธอใหไ้ ดค้ วามเปน็ ๑ พระสตู รเหลา่ นไี้ ดเ้ ลอื กแปลไวบ้ า้ งแลว้ รวม ๑๕ สตู ร หรอื ๑๕ หวั ขอ้ คอื ระหวา่ งหนา้ ๘๕ - ๘๙ และหนา้ ๙๐ - ๙๑ หมายเลข ๒ ถงึ ๑๔ และ ๑๗ - ๑๘ - ๑๙ ทีน่ �ำมายอ่ ไวใ้ นตอนน้ี จะเลอื กท่ีไมซ่ ้ำ� กัน PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 899 5/4/18 2:25 PM
900 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ พระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งน้ัน คือ ความโลภ„ ตรัสท�ำนองเดียวกันนี้ ถึงโทสะ (ความ คิดประทุษร้าย) โมหะ (ความหลง) ความโกรธ มักขะ (ลบหลู่บุญคุณท่าน) มานะ (ความถือตัว) ๒. ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับว่า พระผู้มีพระภาคผู้อรหันต์ได้ตรัสค�ำน้ีไว้ คือ ”ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่รู้ยิ่ง ไม่ก�ำหนดรู้สิ่งทั้งปวง ไม่ท�ำจิตให้คลายความก�ำหนัดในส่ิงน้ัน ไม่ละส่ิงนั้น ก็ไม่ควรจะสิ้นทุกข์ได้„ และได้ตรัสท�ำนองเดียวกันน้ี ถึงเรื่องมานะ โลภะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความลบหลู่บุญคุณทา่ น ๓.๑ ”ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนีวรณ์ (ธรรมเครื่องก้ันจิตมิให้บรรลุคุณ ความดี) อื่นแม้ข้อหน่ึง ท่ีสัตว์ถูกนีวรณ์นั้นหุ้มห่อแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปตลอด กาลนาน เหมอื น นวี รณ์ คอื อวิชชา (ความไมร่ )ู้ เลย„ ๔. ”ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นเครื่องร้อยรัดอ่ืนแม้ข้อหนึ่ง ท่ีสัตว์ถูกร้อยรัด แล้ว ย่อมแล่นไปท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน เหมือนเคร่ืองร้อยรัด คือ ตัณหา (ความทะยาน อยาก) เลย„ ๕. ”ดูก่อนภิกษุท้ังหลาย เราไม่เห็นองค์ (องคคุณ) อ่ืนแม้ข้อหนึ่ง ท่ีเป็นองค์ภายใน ของภิกษุผู้ยังศึกษา ผู้ยังมิได้บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมอันเกษม (ปลอดโปร่ง) จาก โยคะ๒ อันยอดเย่ียม อันเป็นองค์ท่ีมีอุปการะมาก เหมือนโยนิโสมนสิการ (การใส่ใจหรือการ พิจารณาโดยแยบคาย) นเ้ี ลย„ (องค์ภายนอกตรสั ถงึ การคบเพ่ือนทด่ี ีงาม) ทกุ นิบาต ชมุ นมุ ธรรมะท่ีมี ๒ ขอ้ ๑. ”ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้องขัดเดือดร้อนในปัจจุบัน ตายไปแล้วก็หวังทุคคติ (ท่ีไปอันชั่ว) ได้ ธรรม ๒ อย่าง คือ ความไม่ส�ำรวมอินทรีย์๓ กับ ความไม่รู้ประมาณในโภชนะ คืออาหารท่ีกินเข้าไป„ (ฝ่ายดีคือท่ี ตรงกนั ข้าม) ๒. ”ดูก่อนภิกษุท้ังหลาย ธรรมะ ๒ อย่างเหล่าน้ี ท�ำความเดือดร้อนให้ คือบุคคล บางคนในโลกน้ี ไม่ท�ำความดี ท�ำความชั่วไว้ ผู้น้ันย่อมเดือดร้อนว่า เรามิได้ท�ำความดีไว้ ย่อม เดือดรอ้ นว่า เราได้ทำ� ความชวั่ ไว้„ ธรรมะท่ไี มท่ ำ� ความเดอื ดร้อนให้ คือที่ตรงกนั ขา้ ม) ๑ ค�ำขึ้นต้น แบบเดียวกับข้อ ๑ ข้อ ๒ จึงละไว้ ไม่ต้องกล่าวซำ้� อีก และเป็นอันโปรดทราบด้วยว่า จนจบอิติวุตตกะ ๓๒ มคี ำ� ขึ้นตน้ แบบเดียวกนั ทัง้ สนิ้ โดยใจความ คอื ไม่ระวังตา หู เปน็ ต้น โยคะ คอื กเิ ลสท่ีประกอบสัตวไ์ ว้ในภพ ค�ำเต็มวา่ ไม่สำ� รวมทวารในอนิ ทรีย์ท้งั หลาย PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 900 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ 901 ๓. ”ดูก่อนภิกษุท้ังหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง ย่อมเหมือนถูกน�ำไป ุขททก ินกาย ตั้งไว้ในนรก ธรรมะ ๒ อย่าง คือ ศีลอันช่ัว ทิฏฐิ (ความเห็น) อันชั่ว„ (ฝ่ายดีคือท่ีตรงกันข้าม คือศลี อันดงี าม ทฏิ ฐิอันดงี าม) ๔. ”ดูก่อนภิกษุท้ังหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีความเกรงกลัว (ต่อบาป) เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้ เพ่ือนิพพาน เพื่อบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอันยอดเย่ียม ภิกษุผู้มีความเพียร มีความเกรงกลัว (ต่อบาป) จึงเป็นผู้ควรเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพื่อ บรรลธุ รรมอนั ปลอดโปร่งจากโยคะอันยอดเยี่ยม„ ๕. ”ดกู อ่ นภกิ ษทุ ง้ั หลาย ความตรกึ (วติ ก) ๒ อยา่ ง ยอ่ มมาสพู่ ระตถาคตอรหนั ตสมั มา สัมพุทธเจ้าโดยมาก คือ ความตรึกอันเกษม (ไม่เบียดเบียน) และความตรึกอันสงัด (จากอกุศลธรรม) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีความไม่เบียดเบียนเป็นท่ีมายินดี ยินดีใน ความไม่เบียดเบียน ความตรึกข้อน้ี จึงมาสู่ตถาคตผู้ยินดีในความไม่เบียดเบียนโดยมากว่า เราย่อมไม่เบียดเบียนใคร ๆ ด้วยการกระท�ำน้ี ไม่ว่าจะยังเป็นผู้สะดุ้งดิ้นรน (ด้วยกิเลส) หรือ วา่ เปน็ ผถู้ าวร (ไมด่ นิ้ รนเพราะละกเิ ลสไดแ้ ลว้ ) ดกู อ่ นภกิ ษทุ งั้ หลาย ตถาคตมคี วามสงดั เปน็ ทมี่ า ยินดี ยินดีในความสงัด ความตรึกข้อน้ี จึงมาสู่ตถาตคผู้ยินดีในความสงัดโดยมากว่า เราละ อกุศลได้แล้ว เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงอยู่อย่างยินดีในความไม่เบียดเบียน ยินดี ในความสงดั เถดิ „ ติกนบิ าต ชุมนุมธรรมะท่มี ี ๓ ขอ้ ๑. ”ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๓ อย่างเหล่าน้ี คือ รูปธาตุ (ธาตุคือรูป) อรูปธาตุ (ธาตุคอื ส่ิงทไ่ี ม่มีรปู ) นิโรธธาตุ (ธาตคุ อื นโิ รธความดบั )„ ๒. ”ดกู อ่ นภกิ ษทุ งั้ หลาย การแสวงหา ๓ อยา่ งเหลา่ นี้ คอื กาเมสนา (การแสวงหากาม) ภเวสนา (การแสวงหาภพ คอื ความมคี วามเปน็ ) พรหมจรเิ ยสนา (การแสวงหพรหมจรรย)์ „ ๓. ”ดูก่อนภิกษุท้ังหลาย จักษุ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ มังสจักษุ (ตาเน้ือ) ทิพพจักษุ (ตาทิพย์) ปญั ญาจักษุ (ตาปญั ญา)„ ๔. ”ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิสสรณิยธาตุ (ธาตุคือความแล่นออก หรือความพ้นไป) ๓ ประการ คือ เนกขัมมะ (การออกจากกาม) เป็นความพ้นไปแห่งกามทั้งหลาย อารุปปะ (ความเปน็ ของไม่มรี ปู ) เป็นความพ้นไปแห่งรปู ทัง้ หลาย นิโรธ (ความดบั ) เป็นความพน้ ไปแห่ง ส่ิงท่ปี ัจจัยปรุงแต่ง เกิดขนึ้ เพราะอาศยั ปัจจัย„ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 901 5/4/18 2:25 PM
902 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๕. ”ดกู อ่ นภกิ ษทุ งั้ หลาย บคุ คล ๓ ประเภท มอี ยใู่ นโลก คอื ๑. บคุ คลทเ่ี สมอดว้ ยฝน ที่ไม่ตก ๒. บุคคลท่ีเหมือนฝนตกเฉพาะแห่ง ๓. บุคคลท่ีเหมือนฝนตกทุกแห่ง (ตรัส อธิบายต่อไปว่า ผู้ไม่ให้ทานเลย เปรียบเหมือนฝนไม่ตก ผู้ให้ทานแก่บางคน ไม่ให้แก่บางคน เปรียบเหมือนฝนตกเฉพาะแห่ง ผู้ให้ทานแก่ทุกคน คือแก่สมณะ พราหมณ์ คนก�ำพร้า คนเดินทาง วณพิ พก๑ ยาจก เปรยี บเหมอื นฝนตกทุกแห่ง)„ จตกุ กนบิ าต ชุมนมุ ธรรมะทีม่ ี ๔ ข้อ ๑. ”ดกู อ่ นภกิ ษทุ ง้ั หลาย ของทเี่ ลก็ นอ้ ยดว้ ย หางา่ ยดว้ ย ไมม่ โี ทษดว้ ย มี ๔ อยา่ ง คอื ผา้ เปอ้ื นฝนุ่ (เศษผา้ ทเ่ี ทย่ี วเกบ็ ตกในทนี่ นั้ ๆ) อาหารทหี่ ามาดว้ ยลำ� แขง้ (ทเี่ ทยี่ วบณิ ฑบาตไดม้ า) โคนไม้ ยาดองดว้ ยนำ้� มตู รเนา่ ตราบเวลาทภี่ กิ ษยุ นิ ดดี ว้ ยของเลก็ นอ้ ย อนั หาไดง้ า่ ย อนั ไมม่ โี ทษ เรายอ่ มกลา่ วความยนิ ดนี ้นั วา่ เปน็ องค์ของความเปน็ สมณะแตล่ ะข้อของภิกษนุ „้ี ๒. ”ดกู อ่ นภกิ ษทุ ง้ั หลาย เรายอ่ มกลา่ วถงึ ความสน้ิ ไปแหง่ อาสวะ (กเิ ลสทดี่ องสนั ดาน) ของผู้รผู้ ู้เห็น ไม่กล่าวส�ำหรับผู้ไม่รู้ไมเ่ หน็ คอื รู้ทกุ ข์ เหตใุ หท้ กุ ข์เกดิ ความดบั ทกุ ข์ ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทกุ ข„์ ๓. ”ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดไม่รู้ทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความ ดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ตามเป็นจริง สมณพราหมณ์เหล่าน้ันย่อมเป็นเพียง สมณสมมต พราหมณสมมต ไม่ท�ำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ ประโยชน์ของ ความเป็นพราหมณ์ ดว้ ยความรูย้ ง่ิ อยู่ในปัจจุบนั „ (ฝ่ายดีทรงแสดงตรงกันขา้ ม) ๔. ”ดกู อ่ นภกิ ษทุ งั้ หลาย ความเกดิ ขน้ึ แหง่ ตณั หา ๔ อยา่ งเหลา่ น้ี คอื ความเกดิ ขน้ึ แหง่ ตณั หาเพราะเหตแุ หง่ จวี ร (ผา้ นุ่งหม่ ) อาหาร (บณิ ฑบาต) ท่ีอย่อู าศยั (เสนาสนะ) ความมคี วาม เป็น และความไมม่ ีไม่เป็น (ภวาภวะ)„ ๕. ”ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตก็ปลีกตัวได้จากโลก เหตุท่ีท�ำให้โลกเกิดอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตก็ละเหตุท่ีให้เกิดโลกได้แล้ว ความดับแห่ง โลกอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตก็ได้ท�ำให้แจ้งความดับแห่งโลกแล้ว ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แหง่ โลกอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตก็ไดเ้ จรญิ ข้อปฏบิ ัติใหถ้ งึ ความดบั แห่งโลกแลว้ „ ๑ วณิพพก กับยาจก ต่างกัน คือวณิพพก คือผู้ขออย่างพรรณนาอานิสงส์ของท่านว่า จะให้ได้บรรลุผลดีอย่างนั้น อย่างนี้ สว่ นยาจก คอื ผู้ขอธรรมดา ท้ังนี้เป็นค�ำอธบิ ายของอรรถกถา PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 902 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต 903 ๕. สุตตนิบาต (ว่าดว้ ยชุมนมุ พระสูตรเบด็ เตลด็ ต่างๆ) ุขททก ินกาย (สุตตนิบาต หรือชุมนุมพระสูตรน้ี มีพระสูตรท้ังส้ิน ๗๐ สูตร ล้วนเป็นค�ำฉันท์ ท้ังสิ้น บางแห่งแม้จะมีร้อยแก้วปน แต่สาระผูกเป็นค�ำฉันท์ แบ่งออกเป็น ๕ วรรค คือ วรรคแรก ช่ือว่าอุรควรรค ว่าด้วยอุรคสูตรเป็นหัวหน้า มี ๑๒ สูตร วรรคท่ี ๒ ชื่อ จูฬวรรค แปลว่า วรรคเล็ก มี ๑๔ สูตร วรรคท่ี ๓ ช่ือมหาวรรค แปลว่า วรรคใหญ่ มี ๑๒ สูตร วรรคท่ี ๔ ชือ่ อฏั ฐกวรรค วา่ ด้วยพระสูตรทม่ี คี �ำวา่ อัฏฐกะตามหลงั (อัฏฐกะ แปลว่า ผูไ้ มต่ ง้ั อยู่ ถือเอาความว่า ไม่ติด หรืออาจแปลได้ว่า เน้ือความ หรือใจความ) มี ๑๖ สูตร วรรคท่ี ๕ ชือ่ ปารายนวรรค ว่าดว้ ยทมี่ งุ่ หมายอนั สูง มี ๑๖ สูตร วรรคท่ี ๑ ชอ่ื อุรควรรค มี ๑๒ สตู ร ๑. อรุ คสตู ร (สูตรเปรียบเทยี บด้วยงู) พรรณนาถึงการทภ่ี ิกษุละความชว่ั ต่าง ๆ เชน่ ความโกรธ ราคะ ตัณหา มานะ เปน็ ต้น ภกิ ษนุ ัน้ ยอ่ มละฝง่ั นี้ ฝง่ั โน้นได้ เหมอื นงลู อกคราบเก่า ท้ิงเสยี ฉะน้นั ๒. ธนยิ สตู ร (สตู รวา่ ดว้ ยธนยิ ะผเู้ ลยี้ งโค) แสดงคำ� โตต้ อบของธนยิ ะผเู้ ลย้ี งโค พดู เชอ้ื เชิญให้ฝนตกเพราะตนได้ท�ำหน้าที่ของตนเสร็จแล้ว เช่น มุงหลังคา น�ำเช้ือไฟมาเตรียมไว้แล้ว ฝนจะตกกต็ กเถดิ พระผมู้ พี ระภาคตรสั ตอบวา่ เราเปน็ ผไู้ มโ่ กรธ ปราศจากตอ (ของจติ ) มหี ลงั คา (คอื กเิ ลส) อนั เปดิ แลว้ ไฟ (คอื กเิ ลส) กด็ บั แลว้ ฝนจะตกกต็ กเถดิ อนั เปน็ คำ� โตต้ อบแสดงความ เตรียมพร้อมทางโลก กับความเตรยี มพรอ้ มทางธรรม ๓. ขคั ควสิ าณสตู ร (สตู รเปรยี บเทยี บดว้ ยนอแรด) เปน็ พระสตู รทพ่ี รรณนาการประพฤติ พรหมจรรย์ ซ่งึ แนะให้อยแู่ ต่ผ้เู ดยี ว เทยี่ วไปผ้เู ดียวเหมอื นนอแรด๑ เชน่ ท่ีกล่าวว่า ”วางอาชญา ในสัตว์ท้ังปวงแล้ว ไม่เบียดเบียนใคร ๆ เลย ไม่ปรารถนาบุตร ก็จะปรารถนาสหายแต่ท่ีไหน ควรเป็นผู้เดยี วเท่ยี วไปเหมอื นนอแรดฉะนน้ั „ ๔. กสภิ ารทวาชสตู ร (วา่ ดว้ ยภารทวาชพราหมณผ์ ไู้ ถนา) พราหมณท์ ลู พระผมู้ พี ระภาค ว่า ขา้ พเจา้ ไถหวา่ นแล้วจงึ บรโิ ภค ทา่ นจงไถหว่านบา้ งสิ พระผมู้ ีพระภาคตรสั ตอบวา่ พระองคก์ ็ ไถและหว่านเหมือนกัน เมื่อพราหมณ์ถามถึงไถ จึงตรัสตอบว่า ”ศรัทธาเป็นพืช ความเพียร เปน็ ฝน ปัญญาเป็นแอกและไถ ความละอายใจเป็นงอนไถ ใจเปน็ สายเชือก สติเป็นผาล (ใบไถ สำ� หรบั ไถนา)„ เปน็ ต้น ๑ แรดพันธุ์อนิ เดีย มนี อหรอื เขาเดยี ว แตพ่ ันธ์ุของประเทศอน่ื มีนอคบู่ ้าง นอเดียวบ้าง PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 903 5/4/18 2:25 PM
904 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๕. จุนทสูตร (ว่าด้วยนายจุนทะ กัมมารบุตร) พระผู้มีพระภาคตรัสตอบค�ำถามของ นายจุนทะ กัมมารบุตร เรื่องสมณะมี ๔ ประเภท คือ ๑. มัคคชินะ (ผู้ชนะกิเลสด้วยมรรค๑) ๒. มัคคเทสกะ (ผู้แสดงมรรค) ๓. มัคคชีวี (ผู้ด�ำรงชีพอยู่ในมรรค คือผู้ก�ำลังปฏิบัติ) ๔. มัคคทูสี (ผู้ประทุษร้ายมรรค คือผู้ประพฤติชั่ว เท่ากับเป็นผู้ท�ำลายทางแห่งความเจริญ ของตน) ๖. ปราภวสตู ร (วา่ ดว้ ยความเสอ่ื ม) พระผมู้ พี ระภาคตรสั แสดงปากทางแหง่ ความเสอื่ ม ไว้หลายข้อด้วยกัน ดังจะยกมาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ ”รักอสัตบุรุษ (คนช่ัว) ไม่รักสัตบุรุษ (คนด)ี ชอบใจธรรมของอสตั บรุ ษุ นน่ั เปน็ ปากทางแหง่ ความเสอ่ื ม„ ”มกั หลบั มกั เขา้ กลมุ่ สนทนา ไม่หมั่น เกียจคร้าน โกรธง่าย นั่นเป็นปากทางแห่งความเส่ือม„ ”มั่งคั่ง แต่ไม่เลี้ยงมารดาบิดา ผู้แก่เฒ่าล่วงวัย น่ันเป็นปากทางแห่งความเส่ือม„ หยิ่งเพราะชาติ หยิ่งเพราะทรัพย์ หย่ิงเพราะ โคตร ดูหม่ินญาติของตน น่ันเป็นปากทางแห่งความเสื่อม„ ”เป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนกั เลงการพนัน ทำ� ทรัพย์ที่ได้มาแลว้ ใหพ้ ินาศ นั่นเปน็ ปากทางแหง่ ความเส่อื ม„ เป็นตน้ ๗. วสลสตู ร (วา่ ดว้ ยคนเลวหรอื คนถอ่ ย) พระผมู้ พี ระภาคตรสั แสดงธรรมแกภ่ ารทวาช พราหมณ์ผ้บู ชู าไฟ ถึงเรื่องคนเลว และธรรมที่ท�ำให้คนเลว รวมหลายหวั ขอ้ ด้วยกนั ดังตวั อยา่ ง ตอ่ ไปน้ี ”คนใดมกั โกรธ ผกู โกรธ เปน็ คนชว่ั ทลี่ บหลบู่ ญุ คณุ ทา่ น มคี วามคดิ เหน็ วบิ ตั ิ มมี ายา พงึ ร้คู นน้นั วา่ เป็นคนเลว„ ”คนใดเบยี ดเบียนผเู้ กดิ คร้งั เดยี ว หรือเกิด ๒ ครงั้ (เกิด ๒ ครงั้ คอื ออก มาเป็นไข่แลว้ จงึ ออกจากไขเ่ ปน็ ตัวอกี ต่อหน่ึง) ไมม่ คี วามเอน็ ดใู นสัตวม์ ชี วี ติ พึงร้คู นน้นั ว่าเป็น คนเลว„ ”ผใู้ ดยกตัวเอง ขม่ ผอู้ น่ื เป็นคนเลวเพราะความถือตัวน้นั พงึ ร้คู นนนั้ วา่ เปน็ คนเลว„ ใน ทส่ี ดุ ไดต้ รสั สรปู หลกั การทางพระพทุ ธศาสนาวา่ ”บคุ คลมใิ ชเ่ ปน็ คนเลวเพราะชาติ มใิ ชเ่ ปน็ คนดี (พราหมณ)์ เพราะชาติ แต่เป็นคนเลวเพราะการกระท�ำ เป็นคนดเี พราะการกระทำ� „ ๘. เมตตสตู ร (วา่ ดว้ ยการแผเ่ มตตา) พอ้ งกบั ทกี่ ลา่ วไวแ้ ลว้ ในขทุ ทกปาฐะ (หนา้ ๘๙๕) เปน็ การแสดงวิธีแผ่เมตตาจติ ไปในสัตว์ทุกชนดิ อยา่ งกว้างขวาง ๙. เหมวตสูตร (ว่าด้วยการโต้ตอบระหว่าง สาตาคิรยักษ์กับเหมวตยักษ์ รวมท้ัง พระพุทธภาษิตในตอนท้าย) เหมวตยักษ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ”โลกเกิดขึ้นใน อะไร ท�ำความพอใจ (สันถวะ = เชยชม) ในอะไร โลกอาศัยอะไร และเดือดร้อนในอะไร„ ตรัสตอบว่า ”โลกเกิดข้ึนในส่ิง ๖ ส่ิง ท�ำความพอใจในสิ่ง ๖ ส่ิง อาศัยสิ่ง ๖ ส่ิง เดือดร้อน ๑ มรรค หมายถึงหนทาง หรือข้อปฏบิ ัตทิ ใี่ หบ้ รรลถุ ึงความดับทกุ ข์ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 904 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต 905 ในสิง่ ๖ สง่ิ (คือในกามคุณ ๕ ได้แก่รปู เสยี ง กล่นิ รส โผฏฐพั พะ ที่นา่ ปรารถนารักใคร่ชอบใจ ุขททก ินกาย มใี จเป็นที่ ๖ ทัง้ น้ีตามพระพทุ ธภาษติ ตอนตอ่ ไป)„ และได้ตรัสวา่ คลายความพอใจในส่ิงเหลา่ น้ี ได้ กจ็ ะพ้นจากทกุ ข์ เปน็ ตน้ ๑๐. อาฬวกสูตร (วา่ ดว้ ยอาฬวกยกั ษ์) แสดงการตรสั ตอบของพระผ้มู พี ระภาค ในเม่อื อาฬวกยักษ์ทูลถามแบบข่มขู่ ค�ำถามค�ำตอบมีดังนี้ ”อะไรเป็นทรัพย์เคร่ืองปล้ืมใจในโลกนี้ ของบรุ ษุ (ตรสั ตอบวา่ ศรทั ธา) อะไรประพฤตดิ แี ลว้ นำ� ความสขุ มาให้ (ตรสั ตอบวา่ ธรรมะ) อะไร มรี สดยี ง่ิ กวา่ รสทง้ั หลาย (ตรสั ตอบวา่ สจั จะ) ปราชญก์ ลา่ วถงึ ชวี ติ ของผเู้ ปน็ อยเู่ ชน่ ไรวา่ เปน็ ชวี ติ อนั ประเสริฐ (ตรัสตอบวา่ ชวี ติ ของผเู้ ปน็ อยู่ดว้ ยปัญญา)„ ”จะข้ามโอฆะ๑ ได้อยา่ งไร (ตรสั ตอบ วา่ ข้ามไดด้ ้วยศรทั ธา) จะข้ามอรรณพ๒ ไดอ้ ยา่ งไร (ตรัสตอบวา่ ข้ามได้ดว้ ยความไมป่ ระมาท) จะกา้ วลว่ งทกุ ขไ์ ดอ้ ยา่ งไร (ตรสั ตอบวา่ ดว้ ยความเพยี ร) จะบรสิ ทุ ธไ์ิ ดอ้ ยา่ งไร (ตรสั ตอบวา่ ดว้ ย ปัญญา)„ จะบรรลเุ กยี รตไิ ดอ้ ยา่ งไร (ตรัสตอบว่า ด้วยสัจจะ) จะผกู มิตรไวไ้ ดอ้ ย่างไร (ตรสั ตอบ ว่า ผ้ใู หย้ อ่ มผูกมติ รไวไ้ ด)้ ละโลกนีไ้ ปสู่โลกอื่น จะไม่เศร้าโศกไดอ้ ย่างไร (ตรัสตอบวา่ มธี รรมะ ผคู้ รองเรอื น ๔ อยา่ ง คอื สจั จะ ธมั มะ๓ ธติ ิ (ความอดทน) จาคะ (การสละ) ละโลกนไ้ี ปแลว้ ยอ่ ม ไม่เศร้าโศก อาฬวกยกั ษก์ ไ็ ดด้ วงตาเหน็ ธรรม เล่ือมใสในพระพทุ ธศาสนา ๑๑. วิชยสตู ร (ว่าด้วยชยั ชนะ) พรรณนาถึงความนา่ เกลียดของรา่ งกายสว่ นตา่ ง ๆ ซ่งึ ไมค่ วรตดิ ไมค่ วรยึดถอื ๑๒. มนุ สิ ตู ร (วา่ ดว้ ยมนุ คี อื ผรู้ )ู้ มคี ำ� พรรณนาลกั ษณะตา่ ง ๆ ของมนุ ไี วเ้ ปน็ อนั มาก เชน่ ”บัณฑิตทั้งหลายย่อมประกาศบุคคลผู้ครอบง�ำส่ิงทั้งปวง รู้จักสิ่งท้ังปวง มีปัญญาดี ไม่ติดใน ธรรมทัง้ ปวง ละส่ิงทั้งปวง หลดุ พ้นแลว้ เพราะสิ้นตัณหา วา่ เปน็ มุนี„ ดังนเี้ ป็นตน้ วรรคท่ี ๒ ชือ่ จูฬวรรค มี ๑๔ สตู ร ๑๓. รตนสตู ร (วา่ ดว้ ยพระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ ซง่ึ เปรยี บดจุ รตนะ) เปน็ คำ� พรรณนา คณุ พระรัตนตรัย ทำ� นองเดียวกบั ทกี่ ล่าวมาแล้ว ในขทุ ทกปาฐะ (ดูหน้า ๘๙๔) ๑๔. อามคนั ธสตู ร (ว่าด้วยกลนิ่ คาว) เปน็ สตู รที่พรรณนาถงึ ความชว่ั ทางกาย วาจา ใจ ว่าเปน็ กลิน่ คาวมใิ ชป่ ลาหรือของกินอื่น ๆ แลว้ พรรณนาถึงการประกอบคณุ งามความดวี า่ ทำ� ให้ ปราศจากกลน่ิ คาว ๑ โอฆะ ได้แก่ ห้วงนำ้� คอื กิเลส มี ๔ อย่างคือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวชิ ชา ๒ อรรณพ ได้แก่ หว้ งนำ้� หรอื มหาสมทุ ร คอื ความเวยี นว่ายตายเกิด ๓ ธัมมะ ในทน่ี ีห้ มายถงึ ทมะ การฝึกตนหรอื ข่มใจ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 905 5/4/18 2:25 PM
906 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๑๕. หิริสูตร (ว่าด้วยความละอายใจในการท�ำความชั่ว) แสดงถึงการประกอบคุณงาม ความดีและคณุ ธรรมของมิตร ลงสุดทา้ ยใหด้ ่ืมรสของความสงดั และรสของความสงบ ผดู้ ่ืมรส อันเกดิ แต่ปตี ิในธรรม ย่อมเป็นผู้ไมม่ คี วามกระวนกระวาย ไมม่ บี าป ๑๖. มงคลสูตร (ว่าด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นมงคล) ได้กล่าวไว้แล้ว ในขุททกปาฐะ (หน้า ๕๙๗) ๑๗. สูจิโลมสูตร (ว่าด้วยสุจิโลมยักษ์) แสดงการตรัสตอบปัญหาว่า ราคะ โทสะ ความไม่ยินดี ความยินดี ความกลัว (ขนพอง) ความตรึก ล้วนเกิดจากอัตตภาพ (คือร่างกาย จิตใจ) นท้ี ั้งสน้ิ ผใู้ ดรแู้ ละบันเทาได้ ผูน้ นั้ ยอ่ มขา้ มโอฆะได้ ๑๘. ธัมมจริยสูตร (ว่าด้วยการประพฤติธรรม) แสดงว่าแม้การประพฤติธรรมและ ประพฤตพิ รหมจรรย์ จะเป็นแก้วอันประเสรฐิ แตผ่ ทู้ ี่บวชแล้วถา้ ประพฤตไิ ม่ดี ชวี ติ ของผูน้ น้ั ก็ เลวทราม เพิม่ มลทินใหแ้ ก่ตน ต่อเมอื่ ละความชว่ั ต่าง ๆ จึงท�ำที่สดุ แห่งทกุ ข์ได้ ๑๙. พราหมณธัมมิกสูตร (ว่าด้วยธรรมะของพราหมณ์) พระผู้มีพระภาคตรัสแสดง ธรรมแกพ่ ราหมณมหาศาลหลายคน ชแี้ จงธรรมะของพราหมณต์ ามคตพิ ระพทุ ธศาสนา ซง่ึ สอน มใิ หเ้ บยี ดเบยี น เปน็ คำ� สอนตรงกนั ขา้ มกบั คตขิ องพราหมณ์ ทมี่ กี ารฆา่ สตั วบ์ ชู ายญั นอกจากนน้ั ยงั แสดงถึงธรรมะอ่ืน ๆ พราหมณก์ เ็ ล่ือมใส ปฏิญญาตนเปน็ อุบาสกถึงพระรัตนตรยั เป็นสรณะ ตลอดชีวติ ๒๐. นาวาสูตร (ว่าด้วยเรือ) เป็นค�ำสอนถึงการประพฤติธรรมว่า เปรียบเหมือนมีเรือ ข้ามน�ำ้ ได้ ๒๑. กสิ ลี สตู ร (วา่ ดว้ ยประพฤตอิ ยา่ งไร จงึ จะบรรลปุ ระโยชนอ์ นั สงู สดุ ) ตรสั สอนใหต้ งั้ อยใู่ นธรรม ๒๒. อฏุ ฐานสตู ร (ว่าดว้ ยความหมัน่ ) เป็นคำ� สอนปลุกใจให้ลกุ ข้นึ อยา่ มัวหลับไหลอยู่ ใหศ้ ึกษาเพอ่ื สนั ติ อย่าปล่อยให้กาลเวลาล่วงไปเปลา่ ๒๓. ราหุลสูตร (ว่าด้วยพระราหุล) พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพระราหุลเนือง ๆ ด้วย พระพทุ ธโอวาทใจความวา่ ใหล้ ะกามคณุ ๕ คบกลั ยาณมติ ร เสพเสนาสนะอนั สงดั รปู้ ระมาณใน อาหาร อยา่ ทำ� ความทะยานอยากในปจั จยั ๔ สำ� รวมในปาฏโิ มกข์ (ศลี ทเ่ี ปน็ ประธาน) ในอนิ ทรยี ์ ๕ (มีตาเป็นตน้ ) เจริญกายคตาสติ มากด้วยความหนา่ ย (ในโลกยิ ะ) เจริญนมิ ิตวา่ ไมง่ าม และ เจริญความไม่มนี มิ ิต ถอนกเิ ลสทแ่ี ฝงตวั คือมานะเสีย ๒๔. วงั คสี สตู ร (วา่ ดว้ ยพระวงั คสี ะ) พระวงั คสี ะกราบทลู ถามถงึ พระอปุ ชั ฌายะของตน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อปุ ชั ฌายะของเธอดบั ตัณหาได้แล้ว ปรนิ พิ พานแล้ว PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 906 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต 907 ๒๕. สมั มาปรพิ พาชนยิ สตู ร (วา่ ดว้ ยการเทย่ี วไปดว้ ยด)ี ๑ พระผมู้ พี ระภาคตรสั แสดงวา่ ุขททก ินกาย ผู้เช่นไร ชอื่ ว่าเทย่ี วไปด้วยดี หรอื มีหลักธรรมของปรพิ พาชกอย่างแท้จรงิ โดยใจความคือกเิ ลส ตา่ ง ๆ ไม่ติดอยใู่ นโลกิยธรรม ๒๖. ธัมมิกสูตร (ว่าด้วยธัมมิกอุบาสก) พระผู้มีพระภาคตรัสตอบค�ำถามของธัมมิก อบุ าสกถงึ คณุ สมบตั ขิ องพระสาวกทดี่ ี โดยใจความคอื ไมล่ ะเมดิ พระวนิ ยั ฟงั ธรรมแลว้ พจิ ารณา สอ้ งเสพ (ธรรม) ดว้ ยดีและไดแ้ สดงถงึ คุณสมบัติของสาวกท่ีเป็นคฤหัสถ์ เช่น ให้รกั ษาอโุ บสถ เว้นทุจจริต เลีย้ งมารดาบดิ า ประกอบการคา้ อันถูกต้องตามธรรม วรรคท่ี ๓ ชือ่ มหาวรรค มี ๑๒ สูตร ๒๗. ปพั พชั ชาสตู ร (วา่ ดว้ ยการบวช) ตรสั เลา่ เรอื่ งการเสดจ็ ออกผนวชของพระองค์ จน กระทงั่ เสดจ็ ผา่ นกรงุ ราชคฤห์ พระเจา้ พมิ พสิ ารทอดพระเนตรเหน็ ทรงสง่ ทตู ตามไป ทราบทพี่ กั แลว้ เสดจ็ ดว้ ยพระองคเ์ องไปถงึ ทป่ี ระทบั ณ ปณั ฑวบรรพต ทลู ถามถงึ พระชาติ พระผมู้ พี ระภาค ตรสั ตอบ ตอนน้ันยังมิไดต้ รสั ร้)ู ๒๘. ปธานสตู ร (วา่ ดว้ ยการตงั้ ความเพยี ร) พระผมู้ พี ระภาคเมอื่ ยงั มไิ ดต้ รสั รู้ ขณะทรง บำ� เพญ็ เพยี รใกลแ้ มน่ ำ้� เนรญั ชรา ทรงตอบมารชอ่ื นมจุ ิ ซงึ่ มาพดู กลอ่ มพระทยั ใหเ้ ลกิ ความเพยี ร ทรงชี้ว่า กาม ความริษยา ความหิวระหาย ความทะยานอยาก ความหดหู่ง่วงงุน ความหวาดกลวั ความสงสยั ความลบลู่บญุ คุณผู้อืน่ ความตเี สมอ เปน็ เสนามารที่ ๑ ถึงท่ี ๘ ตามลำ� ดบั นอกจากนน้ั ยงั ทรงแสดงเสนามารตอ่ ไปอกี คอื ลาภ ชอื่ เสยี ง สกั การะ ยศทไี่ ดม้ าโดย ผดิ ธรรม การยกตวั เอง การดหู มนิ่ ผอู้ น่ื แลว้ ตรสั วา่ ในการทำ� สงคราม (กบั พญามาร) นน้ั พระองค์ ยอมตายดีกว่าที่จะเป็นผู้แพ้แล้วมีชีวิตอยู่ พญามารเสียใจท่ีไม่สามารถเอาชนะพระองค์ได้ จึงหายไปในท่นี ัน้ ๒๙. สภุ าสติ สตู ร (วา่ ดว้ ยคำ� สภุ าษติ ) พระผมู้ พี ระภาคตรสั แสดงองค์ ๔ ของวาจาสภุ าษติ ที่ไม่มีโทษ ที่วิญญูชนไม่ติเตียน คือ ๑. พูดเป็นสุภาษิต ๒. พูดเป็นธรรม ๓. พูดเป็นท่ีรัก ๔. พูดจรงิ ไมพ่ ล่อย แลว้ พระวงั คสี ะกราบทลู ขยายความเปน็ คำ� ฉนั ท์ ๓๐. สุนทริกสูตร (ว่าด้วยสุนทริก ภารทวาชพราหมณ์) พราหมณ์ภารทวาชโคตร ชื่อ สุนทริกะ เห็นพระผู้มีพระภาค ก็ถามว่า ท่านชาติอะไร (ในวรรณะ ๔) พระองค์ตรัสตอบว่า ๑ พระสูตรน้ี เทา่ กบั ให้ความหมายของค�ำว่า ปริพพาชก ตามหลักพระพทุ ธศาสนา เม่ือแปลศพั ท์ ปริพพาชก แปลว่า ผู้เที่ยวไป เป็นชื่อนกั บวชนอกของพระพทุ ธศาสนา PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 907 5/4/18 2:25 PM
908 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ อย่าถามถึงชาติเลย จงถามถึงความประพฤติดีกว่า แล้วทรงแสดงคุณสมบัติของมุนี ท่ีแม้ เกิดในสกุลต่�ำ แต่ประพฤติดี ท�ำลายกิเลส ก็นับเป็นอาชาไนยได้ พราหมณ์เลื่อมใส แสดงตน เปน็ อุบาสก ๓๑. มาฆสูตร (ว่าด้วยมาฆมาณพ) พระผู้มีพระภาคตรัสตอบค�ำถามของมาฆมาณพ เร่ืองผู้ประสงค์บุญควรบูชายัญอย่างไร โดยทรงแสดงว่า ควรบูชาท่านผู้มีคุณสมบัติที่ดีงาม ละกเิ ลสได้ มาณพกเ็ ลื่อมใส แสดงตนเป็นอุบาสก ๓๒. สภยิ สตู ร (วา่ ดว้ ยสภยิ ปรพิ พาชก) สภยิ ปรพิ พาชกไปทลู ถามพระผมู้ พี ระภาคเรอ่ื ง คุณสมบัติของภิกษุ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ ปริพพาชกขอบรรพชาอุปสมบทและได้ส�ำเร็จ อรหัตตผล ๓๓. เสลสูตร (ว่าด้วยเสลพราหมณ์) เน้ือความอย่างเดียวกับเสลสูตร ที่ย่อไว้แล้ว หนา้ ๖๔๘ ๓๔. สัลลสูตร (ว่าด้วยลูกศรคือความโศก) ส่วนใหญ่พรรณนาถึงชีวิตท่ีใกล้ต่อความ ตายเขา้ ไปทกุ ขณะ เม่ือบคุ คลถอนลูกศรได้ ก็จะไม่เศร้าโศก ได้นิพพาน ๓๕. วาเสฏฐสตู ร (วา่ ดว้ ยเสฏฐมาณพ) มขี อ้ ความอย่างเดยี วกบั ทยี่ ่อไวแ้ ล้วหน้า ๖๕๖ ๓๖. โกกาลกิ สูตร (วา่ ดว้ ยพระโกกาลกิ ะ) มคี วามพ้องกบั ทยี่ ่อไว้แลว้ หนา้ ๘๘๔ ๓๗. นาลกสตู ร (ว่าดว้ ยพระนาลกะ) พระนาลกะ (ผู้เปน็ น้องชายของอสิตดาบส) ถาม ปญั หาเรอื่ งโมเนยยปฏบิ ตั ิ (การปฏบิ ตั เิ พอื่ ความเปน็ มนุ )ี พระผมู้ พี ระภาคตรสั ตอบแสดงคณุ สมบตั ิ ของมนุ ี ๓๘. ทวยตานปุ สั สนาสูตร (วา่ ด้วยการพจิ ารณาธรรมะที่เปน็ คู่) คือพิจารณาทกุ ขพ์ ร้อม ดว้ ยเหตใุ หท้ กุ ขเ์ กดิ พจิ ารณาความดบั ทกุ ข์ พรอ้ มทงั้ ขอ้ ปฏบิ ตั ใิ หถ้ งึ ความดบั ทกุ ข์ เมอื่ พจิ ารณา เปน็ คอู่ ยา่ งนอ้ี ยา่ งไมป่ ระมาท มคี วามเพยี ร กจ็ ะไดบ้ รรลอุ รหตั ตผลในปจั จบุ นั หรอื ถา้ ยงั มกี เิ ลส เหลอื กจ็ ะไดเ้ ปน็ พระอนาคามี นอกจากน้นั ไดต้ รสั แสดงวิธพี จิ ารณาธรรมเป็นค่อู ย่างพสิ ดาร วรรคที่ ๔ ชือ่ อัฏฐกวรรค มี ๑๖ สูตร๑ ๓๙. กามสตู ร (วา่ ดว้ ยกาม) พรรณนาโทษของกามและสอนใหเ้ วน้ กาม เหมอื นวดิ นำ้� เรอื รวั่ พาเรอื ให้ถึงฝงั่ ได้ ๑ มเี รอ่ื งเลา่ วา่ พระโสณกฏุ กิ ณั ณะ ไดเ้ คยสวดพระสตู ร ๑๖ สตู รนี้ ในทพี่ ระพกั ตรพ์ ระศาสดา อนั แสดงวา่ มกี ารทอ่ งจำ� พระสูตรมาแล้วแมใ้ นครง้ั พทุ ธกาล ดหู น้า ๗ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 908 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต 909 ๔๐. คุหัฏฐกสูตร (ว่าดว้ ยขอ้ เปรียบเทียบมิใหต้ ดิ อยูใ่ นถ้�ำ) โดยใจความ ใหร้ ูค้ วามจรงิ ุขททก ินกาย เรอ่ื งกาม มคี วามรเู้ ท่า ไม่ตดิ ไม่ยึดถือ กจ็ ะขา้ มโอฆะได้ อน่งึ ค�ำว่า ถำ้� น้ัน หมายถึง รา่ งกาย ๔๑. ทฏุ ฐฏั ฐกสตู ร (วา่ ดว้ ยมใิ หต้ ดิ อยใู่ นทฏิ ฐอิ นั ชว่ั ) แสดงวา่ มนุ ไี มต่ ดิ อยใู่ นทฏิ ฐคิ วาม เห็น เพราะมีคุณธรรม จงึ ไม่ตดิ อัตตา หรอื นริ ตั ตา (อนัตตา) ๔๒. สทุ ธฏั ฐกสตู ร (วา่ ดว้ ยมใิ หต้ ดิ อยใู่ นความบรสิ ทุ ธท์ิ ค่ี นเขา้ ใจผดิ วา่ จะมไี ดด้ ว้ ยการ เหน็ ) มบี างคนเข้าใจว่า ความบรสิ ทุ ธิ์ จะมีไดเ้ พราะไดเ้ ห็นสิ่งน้ันสงิ่ น้ี พระผู้มพี ระภาคตรสั สอน มใิ ห้ตดิ ในส่ิงทไ่ี ดเ้ ห็น ไดฟ้ งั เป็นต้น ๔๓. ปรมฏั ฐกสตู ร (วา่ ดว้ ยมใิ หต้ ดิ อยใู่ นสงิ่ ทย่ี อดเยย่ี มตามความเหน็ ผดิ ) ขอ้ สำ� คญั คอื ให้คลายทิฏฐิ อย่ายดึ ถือในส่งิ ใด ๆ ๔๔. ชราสตู ร (ว่าดว้ ยความแก่) แสดงวา่ ชวี ติ น้อย ในทส่ี ดุ กจ็ ะต้องตาย ไม่ควรยึดถอื คนท่ีเรารักตายไปแลว้ กไ็ มไ่ ด้เหน็ กัน เปรียบเหมือนการฝันไป ตืน่ ข้นึ กไ็ มเ่ หน็ ๔๕. ตสิ สเมตเตยยสตู ร (ว่าดว้ ยติสสเมตเตยยมาณพ) พระผมู้ พี ระภาคตรัสสอนเรือ่ ง โทษของกาม ตรสั แนะนำ� ใหศ้ ึกษาความสงัด ๔๖. ปสูรสูตร (ว่าด้วยปริพพาชกช่ือปสูระ) ตรัสแสดงว่า ผู้ท่ีติดอยู่ในความเห็น หรือ สัจจะเฉพาะอย่าง ย่อมโต้เถียงกันว่า ความบริสุทธิ์มีเฉพาะในลัทธิของตน แล้วตรัสแสดงโทษ ของความตดิ ในทฏิ ฐิ ๔๗. มาคณั ฑยิ สตู ร (วา่ ดว้ ยมาคณั ฑยิ พราหมณ)์ ตรสั แสดงใหเ้ หน็ ความนา่ เกลยี ดของ กายน้ี อนั เต็มไปดว้ ยของโสโครก และตรัสสอนให้ละมานะความถอื ตวั ไม่ติดในกาม ไม่ยึดมั่น สัญญา (ความกำ� หนดหมายในใจ) และทฏิ ฐคิ วามเห็น ๔๘. ปรุ าเภทสตู ร (ว่าด้วยภายหลังความตาย) ตรัสสอนใหล้ ะตณั หา ไมม่ ีความยึดถือ มีคำ� สอนไมใ่ ห้ยดึ อัตตาและนริ ัตตา (อนัตตา) ทง้ั สองด้วย ๔๙. กลหววิ าทสตู ร (วา่ ดว้ ยการทะเลาะววิ าท) ตรสั แสดงเหตแุ หง่ การทะเลาะววิ าท แลว้ ตรสั สอนใหใ้ ชป้ ญั ญาพจิ ารณา เป็นผหู้ ลดุ พ้น ไมท่ ะเลาะววิ าทกับใคร ๕๐. จฬู วยิ หู สตู ร (วา่ ดว้ ยการววิ าทกนั เพราะทฏิ ฐิ สตู รเลก็ ) ตรสั สอนใหเ้ หน็ วา่ การตดิ ความคิดเหน็ เปน็ เหตใุ ห้ทะเลาะวิวาทกนั ซึง่ ควรจะแกไ้ ข ๕๑. มหาวยิ หู สตู ร (วา่ ดว้ ยการววิ าทกนั เพราะทฏิ ฐิ สตู รใหญ)่ ตรสั สอนผลรา้ ยของการ ววิ าทกนั และสอนมใิ ห้ยึดถือ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 909 5/4/18 2:25 PM
910 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๕๒. ตุวฏกสูตร (ว่าด้วยสันติบท คือทางแห่งความสงบ)๑ พระผู้มีพระภาคแสดงทาง แหง่ ความสงบและมขี อ้ ความเรอ่ื งไมม่ อี ตั ตา และนริ ตั ตา (อนตั ตา) และคณุ ธรรมอน่ื ๆ ทเี่ ปน็ ไป เพ่อื ไม่ยึดถือ ๕๓. อัตตทัณฑสูตร (ว่าด้วยโทษของตน) ตรัสสอนให้เห็นโทษของการทะเลาะวิวาท และใหต้ ้ังอย่ใู นคุณความดี ๕๔. สาริปุตตสตู ร (วา่ ดว้ ยพระสารบิ ตุ ร) แสดงการโตต้ อบระหวา่ งพระผู้มีพระภาคกบั พระสาริบุตรเรือ่ งคณุ ธรรมของภกิ ษุ วรรคท่ี ๕ ช่ือปารายนวรรค (ว่าดว้ ยปัญหาของมานพ ๑๖ คนนบั เป็นสตู รที่ ๕๕ - ๗๐) มี ๑๖ สตู ร ในวรรคที่ ๕ น้ี แสดงการถามปัญหาของมาณพ ๑๖ คน ซ่ึงพาวรีพราหมณ์แต่ง ปัญหาให้ศิษย์ของตน ๑๖ คนไปทูลถามพระผู้มีพระภาค เพื่อรู้ว่าจะเป็นผู้ตรัสรู้จริงหรือไม่ สูตรท้ังสิบหกจึงมีช่ือตามช่ือของมาณพท้ังสิบหก ซึ่งแต่ละสูตรแสดงค�ำถามและค�ำตอบ (เป็นค�ำฉันท์) ในที่น้จี ะแสดงช่อื มาณพทั้งสบิ หกนั้นคือ (๑) อชติ ะ (๒) ตสิ สเมตเตยยะ (๓) ปณุ ณกะ (๔) เมตตคู (๕) โธตกะ (๖) อปุ สวี ะ (๗) นนั ทะ (๘) เหมกะ (๙) โตเทยยะ (๑๐) กปั ปะ (๑๑) ชตกุ ณั ณี (๑๒) ภทั ราวธุ ะ (๑๓) อทุ ยะ (๑๔) โปสาละ (๑๕) โมฆราช (๑๖) ปงิ คยิ ะ (เมอื่ รวม ๑๖ สตู รนเ้ี ขา้ ดว้ ย จงึ เปน็ ๗๐ สตู ร) (หมายเหตุ สาระสำ� คญั ในสตุ ตนบิ าตนี้ สว่ นใหญแ่ สดงคณุ ธรรมทใี่ หห้ ลดุ พน้ จากทกุ ข์ ใหด้ บั กเิ ลสเพ่อื บรรลุนิพพาน แม้คำ� ถามค�ำตอบของมาณพ ๑๖ คน ก็เป็นไปในเรือ่ งความหลุด พ้นแทบท้งั ส้ิน) จบความยอ่ แห่งพระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ๑ ตามศพั ท์ ตุวฏะ หรือ ตุวฏกะ แปลว่า เร็ว 5/4/18 2:25 PM PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 910
เล่ม ๒๖ ขทุ ทกนกิ าย วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรคี าถา พระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ นี้ มีเรอื่ งใหญ่ แบง่ ออกเปน็ ๔ ส่วน คอื ๑. วิมานวตั ถุ เรอื่ งวมิ าน แสดงว่า ใครทำ� ความดอี ย่างไร ทำ� ให้ไดว้ ิมานอยา่ งไร ส่วน ใหญ่เป็นเร่ืองที่พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตร เทพธิดา ถึงอดีตกรรมท่ี สง่ ผลให้ได้เกดิ ในวมิ านนนั้ ๆ มคี �ำตอบของผู้ถูกถามเปน็ ราย ๆ ไป รวม ๘๕ ราย ๒. เปตวัตถุ เรื่องของเปรต คือผ้ลู ว่ งลบั ไปแล้ว ไดร้ บั ทุกขท์ รมานในสภาพของเปรต มลี ักษณะต่าง ๆ กัน ๕๑ เร่อื ง ๓. เถรคาถา เป็นภาษติ ทางธรรม มคี ติเตอื นใจของพระเถระตา่ ง ๆ รวม ๒๖๔ รูป ๔. เถรีคาถา เป็นภาษติ ทางธรรม มีคติเตือนใจของพระเถรี (นางภิกษุณีผู้เป็นเถรี) รวม ๗๓ รปู ขยายความ ๑. วมิ านวัตถุ เร่ืองการไดว้ มิ าน เร่ืองถามตอบระหว่างพระมหาโมคคัลลานเถระ กับเทพบุตร เทพธิดา ผู้ได้วิมาน ต่าง ๆ กันน้ัน แม้จะปรากฏว่ามีมากราย แต่ก็พอจะสรูปได้ว่า เป็นค�ำตอบแสดงผลดีของ การท�ำความดี เช่น การท�ำอัญชลีกรรมต่อท่านผู้มีศีลบ้าง การถวายทานบ้าง การรักษาศีลบ้าง การให้น�้ำดื่มบ้าง การจุดไฟเพ่ือประโยชน์แก่คนไปมาในท่ีมืดบ้าง การฟังธรรมบ้าง การรักษา อโุ บสถบา้ ง การตัง้ อยู่ในคุณธรรม เช่น ไม่โกรธบา้ ง มีข้อพงึ สังเกตก็คือ มใิ ช่แตพ่ ระมหาโมคคลั ลานะถามอยา่ งเดียว บางคร้งั เทพบุตรน้นั ก็มาเฝา้ พระผมู้ พี ระภาค กราบทูล เล่าความในอดีตก็มี ๒. เปตวตั ถุ เรื่องของเปรต ในเร่ืองเปตวัตถุ หรือเร่ืองของเปรตนี้ บางตอนก็เป็นค�ำสอนปรารภผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยให้คติว่าควรท�ำบุญอุทิศไปให้เปรตเหล่าน้ัน (ค�ำว่า เปรต แปลว่า ผู้ล่วงลับไปแล้วท่ัว ๆ ไป กับอีกอย่างหนึ่ง หมายถึงผู้เกิดในสภาพที่ได้รับความทุกข์ทรมานที่เรียกกันว่าเปรต) บางคร้ัง พระเถระบางรูปไปพบเปรตอยู่ในลักษณะงดงามดีทุกอย่าง แต่ปากที่หนอนไต่ มีกลิ่นเหม็น เม่ือไต่ถามเปรตนั้นก็เล่าว่า ตนเคยเป็นสมณะพูดช่ัวไม่ส�ำรวมปาก แต่มีความเพียรดี จึงมีผล PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 911 5/4/18 2:25 PM
912 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ เป็นอย่างน้ี เปรตบางตนกินอุจจาระ ปัสสาวะ เลือด หนอง (กินอะไรเข้าไป พอถึงปากก็กลาย เป็นของโสโครกเหล่าน้ัน) เป็นผลของการที่ด่าสมณพราหมณ์ เม่ือสามีเคยให้ทาน แต่ตน ไม่เห็นดว้ ย คำ� ดา่ นัน้ ว่า เจา้ จงกนิ ของไม่สะอาด คอื อจุ จาระ ปัสสาวะ เลือด หนอง เปน็ ตน้ ๓. เถรคาถา ภาษิตของพระเถระ ได้กล่าวแล้วว่า เถรคาถา ว่าด้วยภาษิต อันเป็นคติสอนใจของพระเถระต่าง ๆ ถึง ๒๖๔ รูป ในที่น้ีจักนำ� มากล่าวเป็นตัวอยา่ ง ๑๐ รูป คือ (๑) ภาษติ ของพระสภุ ูตเิ ถระ ”เรามุงกระท่อมแล้ว ไม่มีลมพัดผ่านเป็นสุข (มีความหมายว่า ป้องกันจิตใจมิให้ กิเลสรั่วรดได้) ฝนจงตกตามสบายเถิด จิตของเราตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นแล้ว เราอยู่อย่างมี ความเพยี ร ฝนจงตกเถดิ „ (๒) ภาษิตของพระมหาโกฏฐติ เถระ ”ผู้สงบระงับ ยินดี (ในธรรม) พูดเป็นคติ ไม่ฟุ้งสร้าน ย่อมก�ำจัดบาปธรรมเสียได้ เหมอื นลมพดั ทำ� ให้ใบไมร้ ่วง ฉะนน้ั „ (๓) ภาษิตของพระอชติ เถระ ”เราไมม่ คี วามกลวั ในความตาย ไมม่ คี วามใครใ่ นชวี ติ เราจกั มสี ตสิ มั ปชญั ญะ ทอดทงิ้ กายของตนไป (ตายอยา่ งมีความรู้เทา่ และมีสติ)„ (๔) ภาษิตของพระโสปากเถระ ”บุคคลพึงเป็นผู้ฉลาดในบุตรซึ่งเป็นท่ีรักคนเดียวฉันใด ก็พึงเป็นผู้ฉลาดในสัตว์มี ชีวิตท้ังปวงฉันน้ันเถิด (พึงมีความรู้สึกในผู้อ่ืนเหมือนบุตรที่รักคนเดียวของตน จะได้ไม่คิด เบียดเบยี น และจะได้เหน็ อกเหน็ ใจ)„ (๕) ภาษติ ของพระปุณณเถระ ”ศีลเป็นสิ่งเลิศในโลกน้ี แต่ผู้มีปัญญา นับเป็นผู้สูงสุด บุคคลย่อมชนะท้ังในมนุษย์ และในเทพทง้ั หลาย เพราะศีล และปญั ญา„ (๖) ภาษิตของพระนตี เถระ ”หลับตลอดคืน ยินดีในความคลุกคลีด้วยหมู่ตลอดวัน ผู้มีปัญญาทรามจักท�ำท่ีสุด แห่งทุกข์ไดเ้ มือ่ ไรกนั „ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 912 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๖ ขุททกนิกาย เถรีคาถา 913 (๗) ภาษิตของพระอุตตรเถระ ุขททก ินกาย ”ภพ (ความมคี วามเปน็ ) ใด ๆ ทเี่ ปน็ ของเทยี่ งยอ่ มไมม่ ี แมส้ งั ขาร (สง่ิ ทป่ี จั จยั ปรงุ แตง่ ) ใด ๆ ท่ีเปน็ ของเท่ยี งกไ็ ม่มี ขนั ธเ์ หลา่ นน้ั เกิดขึน้ และเคล่อื น (แปรปรวน) ในกาลต่อ ๆ ไป เรารู้ โทษนแ้ี ล้ว จึงไมต่ อ้ งการภพ แล่นออกจากกามทัง้ หลาย บรรลคุ วามส้นิ ไปแหง่ อาสวะ„ (๘) ภาษติ ของพระปุณณมาสเถระ ”เราละนีวรณ์ (กิเลสอันก้ันจิตมิให้บรรลุความดี) ๕ ประการแล้ว เพ่ือบรรลุธรรมอัน ปลอดโปร่ง จากกิเลสเครื่องผูกมัด จึงจับแว่นธรรมคือญาณทัสสนะของตนส่องดูกายนี้หมด ทั้งภายในภายนอก กายกป็ รากฏวา่ งเปล่าท้ังภายในภายนอก„ (๙) ภาษติ ของพระหารติ เถระ ”ผู้ใดปรารถนาจะท�ำกิจท่ีควรท�ำก่อนในภายหลัง ผู้น้ันย่อมถูกก�ำจัดจากฐานะอันเป็น สุข และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง พึงพูดสิ่งที่ท�ำได้ ไม่พึงพูดสิ่งท่ีท�ำไม่ได้ บัณฑิตย่อม ก�ำหนดรู้ผู้ไม่ท�ำ ดีแต่พูด พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีความ เศรา้ โศก ไม่มธี ุลี ปลอดโปรง่ ไม่มีความทกุ ข์ เป็นสุขดหี นอ„ (๑๐) ภาษติ ของพระนทีกสั สปเถระ ”พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปสู่แม่น้�ำเนรัญชราเพ่ือประโยชน์แก่เรา เราได้ฟังธรรมของ พระองค์แล้วเปลื้องความเห็นผิดได้ เราได้บูชายัญท้ังสูงท้ังต�่ำและบูชาไฟ เป็นบุถุชนผู้เหมือน มืดบอด ส�ำคัญว่านั่นเป็นความบริสุทธ์ิ เราวิ่งไปตามความยึดถือทิฏฐิ หลงไปเพราะความ ยึดถือ ส�ำคัญความไม่บริสุทธ์ิว่าเป็นความบริสุทธ์ิ จึงเป็นคนบอดคนเขลา เราละมิจฉาทิฏฐิได้ แล้ว ท�ำลายภพทั้งปวงได้แล้ว เราบูชาไฟท่ีควรแก่ทักษิณา (บูชาบุคคลผู้มีคุณธรรม) นมัสการ พระตถาคต เราละความหลงทั้งปวงแล้วท�ำลายภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ) ได้แล้ว สิ้นความเวยี นเกิดแลว้ ไม่มกี ารเกดิ อกี „ ๔. เถรีคาถา ภาษิตของพระเถรี ได้กลา่ วแลว้ วา่ เถรคี าถา ว่าดว้ ยภาษติ อันเปน็ คตสิ อนใจของพระเถรี คอื นางภกิ ษุณี ตา่ ง ๆ จำ� นวน ๗๓ รูป ในท่ีน้ี จักนำ� มากลา่ วเปน็ ตัวอย่าง ๑๐ รูปเชน่ กนั PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 913 5/4/18 2:25 PM
914 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๑) ภาษติ ของพระนางปณุ ณาเถรี ”ดูก่อนปุณณา๑ เธอจงเต็มไปด้วยธรรมทั้งหลาย เหมือนดวงจันทร์วันขึ้น ๑๕ ค�่ำ จงทำ� ลายกองแหง่ ความมืดดว้ ยปัญญาอันบริบรู ณ„์ (๒) ภาษติ ของพระนางตสิ สาเถรี ”ดูก่อนติสสา เธอจงศึกษาตามข้อที่ควรศึกษา กิเลสเครื่องผูกมัดอย่าก้าวล่วง (เอาชนะ) เธอได้ เธอจงเปลื้องตนจากเครื่องผูกมัดทั้งปวง ไม่มีอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน) เทยี่ วไปในโลก„ (๓) ภาษติ ของพระนางมติ ตาเถรี ”เธอบวชด้วยศรัทธาแล้ว พึงยินดีในมิตรว่าเป็นมิตร จงเจริญกุศลธรรม เพื่อบรรลุ ธรรมอันปลอดโปรง่ จากเครอื่ งผกู มัด„ (๔) ภาษติ ของพระนางอุปสมาเถรี ”ดูก่อนอุปสมา เธอจงข้ามโอฆะอันเป็นท่ีตั้งแห่งมาร อันข้ามได้โดยยาก จงชนะ มารพรอ้ มท้ังเสนา ทรงไวซ้ ึ่งร่างกายนเ้ี ปน็ รา่ งกายสดุ ทา้ ย (อยา่ เกดิ อกี )„ (๕) ภาษติ ของพระนางสมุ นาเถรี ”เหน็ ธาตทุ งั้ หลายโดยความเปน็ ทกุ ขแ์ ลว้ กอ็ ยา่ ใหค้ วามเกดิ มาหาอกี คลายความพอใจ ในภพแลว้ เธอก็จักสงบระงบั เท่ยี วไป„ (๖) ภาษิตของพระอุตตราเถรี ”เราส�ำรวมกาย วาจา ใจ แล้วถอนตณั หาพรอ้ มท้งั รากได้ จงึ เป็นผู้ดับเย็นแลว้ „ (๗) ภาษติ ของพระนางธัมมาเถรี ”เราเท่ยี วบณิ ฑบาต ถือไมเ้ ท้า มกี ำ� ลังนอ้ ย มตี ัวสน่ั เทา ลม้ ลงบนดินในท่ีนั้น เหน็ โทษ ในกายแล้ว จติ ของเราก็หลดุ พน้ „ ๑ เป็นภาษติ สอนใจตนเอง จงึ เรียกช่ือตนเอง มีหลายรายทีเ่ ป็นคำ� สอนปรารภช่ือแลว้ ใหม้ ีคุณธรรมสมตามช่อื PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 914 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๖ ขุททกนิกาย เถรีคาถา 915 (๘) ภาษิตของพระนางสงั ฆาเถรี ”เราละเรอื นบวชแล้ว ละบตุ ร และสตั ว์เลยี้ งอันเป็นท่รี กั ละราคะ โทสะ หน่ายอวิชชา แล้ว ถอนตัณหาพรอ้ มท้ังรากเสยี ได้ จึงเปน็ ผู้สงบระงบั ดบั เยน็ „ (๙) ภาษิตของพระนางอภยมาตาเถรี ”แน่ะแม่ เธอจงพิจารณาดูกายนี้ อันไม่สะอาด มีกล่ินเหม็น เบ้ืองบนแต่พ้ืนเท้า ข้ึนมา เบ้ืองต�่ำแต่กระหม่อมผมลงไป เม่ือท�ำอยู่อย่างนี้ ก็จะถอนความก�ำหนัดยินดีท้ังปวง ถอนความเร่ารอ้ นได้ ก็จะเป็นผู้ดบั เยน็ „ (๑๐) ภาษติ ของพระนางทนั ตกิ าเถรี ”เราออกจากท่ีพักกลางวันบนเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นช้างข้ามข้ึนจากน้�ำที่ริมฝั่งแม่น้�ำ ชาย (คนหนึ่ง) ถือขอ พูดว่า ส่งเท้ามา ช้างก็เหยียดเท้าให้ เขาก็ข้ึนสู่ช้าง คร้ันเห็นสัตว์ท่ียัง มิได้ฝึก ถูกฝึกแล้ว ไปสู่อ�ำนาจมนุษย์ได้ จากที่น้ันเราจึงไปสู่ป่าท�ำจิตให้ต้ังม่ัน (ฝึกตนเอง ดบู า้ ง)„ หมายเหตุ : ในเถรีคาถานี้ ภาษิตบางตอนเป็นพระพุทธภาษิตตรัสสอนก็มี เช่น ท่ี ตรัสสอนพระนางรูปนนั ทา จบความย่อแห่งพระไตรปิฎก เล่ม ๒๖ ุขททก ินกาย PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 915 5/4/18 2:25 PM
เลม่ ๒๗ ขทุ ทกนกิ าย ชาดก ภาค ๑ (ในเล่ม ๒๗ นี้ อันเป็นภาคแรกของชาดก ได้กล่าวถึงค�ำสอนทางพระพุทธศาสนา อันมีลักษณะเป็นนิทานสุภาษิต แต่ในตัวพระไตรปิฎก ไม่มีเล่าเรื่องไว้ มีแต่ค�ำสุภาษิต รวมทั้ง ค�ำโต้ตอบในนิทาน เรื่องละเอียดมีเล่าไว้ในอรรถกถา คือหนังสือท่ีแต่งข้ึนอธิบายพระไตรปิฎก อีกต่อหนึ่ง ค�ำว่า ชาตก หรือชาดก แปลว่า ผู้เกิด คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่าย ตายเกิด ถือเอากำ� เนิดในชาตติ า่ ง ๆ ได้พบปะผจญกบั เหตุการณ์ดีบา้ ง ชวั่ บา้ ง แต่ก็ไดพ้ ยายาม ท�ำความดีติดต่อกันมากบ้าง น้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย กล่าวอีก อย่างหน่ึง จะถือว่าเร่ืองชาดกเป็นวิวัฒนาการแห่งการบำ� เพ็ญคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า ต้ังแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้ ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใคร ในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระส�ำคัญ จงึ อยูท่ ค่ี ุณงามความดแี ละอยทู่ ่คี ติธรรมในนทิ านนั้น ๆ อนึง่ เป็นท่ีทราบกนั วา่ ชาดกทง้ั หมด มี ๕๕๐ เรอื่ ง แตเ่ ทา่ ทไี่ ด้ลองนับดแู ล้ว ปรากฏวา่ ในเลม่ ๒๗ มี ๕๒๕ เรือ่ ง ในเลม่ ๒๘ มี ๒๒ เรอ่ื ง รวมท้งั ส้นิ จงึ เป็น ๕๔๗ เรือ่ ง ขาดไป ๓ เรือ่ ง แต่การขาดไปน้นั นา่ จะเปน็ ดว้ ยในบางเรอื่ ง มีนิทานซ้อนนิทาน และไม่ได้นับเรื่องซ้อนแยกออกไปก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม จ�ำนวนที่นับได้ จัดว่า ใกลเ้ คียงมาก วธิ ีจดั ระเบยี บชาดกนั้น จดั ตามจำ� นวนคำ� ฉนั ท์นอ้ ยขึน้ ไปหามาก และตง้ั ชื่อหมวดหมู่ ตามจำ� นวนค�ำฉันท์นนั้ คือ เอกนบิ าตชาดก ชาดกทีช่ ุมนุมคำ� ฉนั ทบ์ ทเดยี ว มี ๑๕๐ เร่อื ง ทกุ นิบาตชาดก ชาดกทชี่ มุ นมุ คำ� ฉนั ท์ ๒ บท มี ๑๐๐ เร่อื ง ติกนบิ าตชาดก ชาดกทชี่ มุ นุมคำ� ฉันท์ ๓ บท มี ๕๐ เรอื่ ง ดังนเี้ ป็นต้น ในเลม่ ๒๗ มจี นถงึ จตั ตาลสี นบิ าตชาดก (ชาดกทช่ี มุ นมุ คำ� ฉนั ท์ ๔๐ บท มี ๕ เรอื่ ง) ส่วนเล่ม ๒๘ มีชุมนุมค�ำฉันท์ ๕๐ บท ๖๐ บท ๗๐ บท ๘๐ บท และมีมหานิบาต คือชุมนุม เรอื่ งใหญ่ ๑๐ เร่อื ง อันมมี หาเวสสันดรชาดกเป็นเร่ืองสดุ ท้าย เป็นอันว่าพระไตรปิฎกที่ว่าด้วยเรื่องชาดกคือค�ำสอนแบบเล่านิทานคติธรรมนี้ มีอยู่ ๒ เล่ม คือ เล่ม ๒๗ และเล่ม ๒๘ ส่วนอรรถกถา คือหนังสือที่แต่งขึ้นภายหลัง ขยายความ เล่านิทานให้พิสดารออกไปนั้นมีถึง ๑๐ เล่ม แสดงว่าเป็นเร่ืองใหญ่มาก แต่แม้เช่นนั้นก็มี ชาวต่างประเทศแปลและพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษไว้เรียบร้อยแล้ว รวม ๖ เล่มใหญ่ คือฉบับ มหาวิทยาลัย เคม บริดจ์ พิมพ์ครั้งแรกเม่ือ ค.ศ. ๑๘๙๕ คือ ๘๐ ปีเศษมาแล้ว นอกจากนั้น ยงั มีสำ� นวนอน่ื อกี ๒ ส�ำนวน คือส�ำนวนของ รสิ เดวิดส์ แปลไว้ ๔๐ เร่อื ง สำ� นวนของแฟรนซสิ กับ ธอมัส แปลไว้ ๑๑๔ เรื่อง PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 916 5/4/18 2:26 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๗ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ 917 ในการย่อนี้จะไม่น�ำนิทานในอรรถกถามาเล่าเลย แต่จะเลือกน�ำภาษิตคติธรรมซึ่ง ุขททก ินกาย ปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม ๒๗ มาแปลให้เห็นเน้ือหาแห่งค�ำสอนสัก ๑๐ บท จากชาดก ต่าง ๆ ดังตอ่ ไปน)ี้ ๑. อปัณณกชาดก ”คนบางคนกล่าวฐานะที่ไม่ผิด นักตรึก (นักตรรกวิทยา) กล่าวฐานะท่ี ๒ บัณฑิต ร้เู น้อื ความนั้นแลว้ พงึ ถอื เอาเฉพาะฐานะทไี่ มผ่ ิด„ (หมายเหตุ : ภาษิตนี้แสดงให้เห็นหลักทางพระพุทธศาสนา ที่ให้ถือความจริงที่ แน่นอน เร่ืองของการคิดคาดคะเน หรือการเดา ซึ่งเป็นฐานะท่ี ๒ นั้นมิใช่คติที่พึงยึดถือ พูด งา่ ย ๆ วา่ ทางพระพทุ ธศาสนารับรองเฉพาะความจริงท่ปี ระจักษ์ชดั ไม่ยอมเดาในเร่อื งใด ๆ) ๒. วณั ณปุ ถชาดก ”พ่อค้าเกวียนท้ังหลาย ไม่เกียจคร้าน ขุด (หาน้�ำอยู่) ในทางทราย ก็ได้พบน้�ำใน เนินทราย (ในทะเลทราย) น้ัน ท่านผู้เป็นมุนีก็เช่นกัน เป็นผู้ประกอบด้วยก�ำลังคือความเพียร ไมเ่ กียจครา้ น พงึ ประสบความสงบแห่งหทยั ได„้ ๓. จลุ ลกเสฏฐิชาดก ”ผู้มีปัญญาพิจารณา (เหตุผล) ย่อมต้ังตนได้ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุนแม้น้อย เหมือนคนกอ่ ไฟกองนอ้ ย (ให้เป็นกองใหญ่) ฉะนนั้ „ ๔. มตกภัตตชาดก ”ถ้าสัตวท์ ั้งหลายรู้อย่างน้ีว่า ความเกดิ น้ีเปน็ ทกุ ข์ ผูม้ ีชีวติ จงึ ไม่พงึ เบียดเบยี นผู้มีชีวติ ดว้ ยกนั เพราะผทู้ �ำรา้ ย ผู้มีชวี ิตยอ่ มเศรา้ โศก„ ๕. ติตถชาดก ”ดูก่อนนายสารถี ท่านจงน�ำม้าไปด่ืมน้�ำที่ท่าอื่นบ้างสิ คนเรายังเบ่ือข้าวปายาสที่ กินซ�้ำ ๆ ได„้ (หมายเหตุ : เป็นค�ำแนะน�ำของบัณฑิตให้น�ำม้าของพระราชา ซึ่งไม่ยอมลงด่ืมน�้ำใน ท่าน้�ำที่จ�ำเจ โดยให้น�ำไปด่ืมที่ท่าอ่ืนดูบ้าง เพราะคนเรายังรู้จักเบื่ออาหารที่กินซ้�ำ ๆ คติของ เร่อื งนีค้ ือใหแ้ กไ้ ขเรื่องต่าง ๆ อยา่ งใชป้ ญั ญา) PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 917 5/4/18 2:26 PM
918 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๖. นันทิวิสาลชาดก ”ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจเท่าน้ัน ไม่ควรกล่าววาจาท่ีไม่น่าพอใจในกาลไหน ๆ เม่ือเศรษฐีกล่าวค�ำท่ีน่าพอใจ โค (นันทิวิสาล) ได้ลากภาระหนักไปได้ ท�ำให้เศรษฐีได้ทรัพย์ และเอิบอิ่มใจ เพราะเหตนุ นั้ „ ๗. สมั โมทมานชาดก ”นกท้ังหลายชื่นชมต่อกัน (สามัคคีกัน) ก็พาเอาข่ายไปได้ เม่ือใดนกเหล่าน้ันทะเลาะ กนั เมือ่ นน้ั ก็มาสอู่ �ำนาจของเรา„ (หมายเหตุ นายพรานพูดเมื่อนกกระจาบติดข่ายเพราะทะเลาะและเกี่ยงแย่งกัน ไม่เหมือนคราวแรก ๆ ที่ยังสามัคคีกัน บินขึ้นพร้อมกับน�ำเอาข่ายที่ดักไว้ไปติดบนต้นไม้และ รอดชีวิตไปได้) ๘. ทุมเมธชาดก ”คนมีปัญญาทรามได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติส่ิงท่ีเป็นความพินาศแก่ตน ย่อมปฏิบัติ เพอื่ เบียดเบียนทั้งตนเองและคนอืน่ „ ๙. สวุ ณั ณหงั สชาดก ”พึงยินดีตามที่ได้ เพราะว่าความโลภเกินไปเป็นความช่ัว เช่น เร่ืองคนจับพญาหงส์ เลยเสื่อมจากทอง„ (หมายเหตุ คือเรื่องโลภมากลาภหาย เดิมได้ขนทองซ่ึงหงส์ทองมาสลัดให้ แต่คิด โลภมาก จับหงสไ์ ว้ แลว้ ถอนขนหมดท้ังตัว ขนท่เี คยเปน็ ทองก็เลยกลายเป็นขนนกธรรมดาไป) ๑๐. อุภโตภฏั ฐชาดก ”ตาก็แตก ผ้าก็หาย ท้ังยังทะเลาะกันในเรือนของเพื่อนบ้าน เขามีการงานอันถูก ประทษุ ร้ายทง้ั สองทาง คอื ทง้ั ในนำ�้ และบนบก„ (หมายเหตุ เป็นเร่ืองของสองผัวเมียชาวประมง ผัวตกเบ็ดติดตอ นึกว่าได้ปลาใหญ่ เกรงว่าเพื่อนบ้านจะขอ จึงส่ังให้ลูกไปบอกกับเมียให้ไปเท่ียวทะเลาะกับเพื่อนบ้าน ตัวเอง ดึงสายเบ็ด แต่ดึงไม่ขึ้น จึงเปลื้องผ้าท้ิงไว้บนฝั่ง ลงไปงมถูกตอต�ำตาแตก ครั้นข้ึนมา ก็ไม่มี ผ้าจะนุ่ง เพราะมีใครขโมยไปแล้ว ทางบ้านก็แตกกับเพื่อนบ้านหมด เพราะเมียไปทะเลาะตาม ค�ำสัง่ เรยี บร้อยแลว้ ) จบความยอ่ แห่งพระไตรปิฎก เลม่ ๒๗ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 918 5/4/18 2:26 PM
เล่ม ๒๘ ขทุ ทกนิกาย ชาดก ภาค ๒ ในเล่มที่แล้วมเี รือ่ งเลก็ ๆ นอ้ ย ๆ รวมกันถึง ๕๒๕ เรอื่ ง แตใ่ นเล่มนีม้ ีเพียง ๒๒ เรือ่ ง เพราะเป็นเรอื่ งยาว ๆ ทัง้ นัน้ ๑๒ เรอ่ื งแรกเปน็ เร่ืองที่มคี �ำฉนั ท์ เร่ืองละ ๕๐ บท ๓ เรอ่ื ง ๖๐ บท ๒ เร่อื ง ๗๐ บท ๒ เรือ่ ง ๘๐ บท ๕ เรื่อง สว่ น ๑๐ เรอื่ งหลงั คือเรอ่ื งทเ่ี รยี กวา่ มหานบิ าตชาดก แปลวา่ ชาดกทชี่ มุ นมุ เรอื่ งใหญ่ หรอื ท่ีโบราณเรียกวา่ ทศชาติ คือเร่อื ง ๑๐ ชาติ ซ่งึ ในท่ีนี้จะออกนาม พร้อมท้งั กล่าวใจความย่อ ทั้งสิบเรื่อง ดังต่อไปน้ี ๑. เตมยิ ชาดก ชาดกเร่ืองน้ีแสดงถึงการบ�ำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือการออกบวชหรือออกจากกาม เล่าเร่ืองเตมิยราชกุมารเกรงการท่ีจะได้ครองราชสมบัติ เพราะทรงสลดพระหฤทัยที่เห็น ราชบุรุษลงโทษโจรตามพระราชด�ำรัสของพระราชา เช่น เฆี่ยนพันคร้ังบ้าง เอาหอกแทงบ้าง เอาหลาวเสียบบ้าง จึงใช้วิธีแสร้งท�ำเป็นง่อยเปล้ีย หูหนวก เป็นใบ้ไม่พูดจากับใคร แม้จะถูก ทดลองต่าง ๆ ก็อดกลั้นไว้ ไม่ยอมแสดงอาการพิรุธให้ปรากฏ ท้ังน้ีเพ่ือจะเล่ียงการครอง ราชสมบัติ พระราชาปรึกษาพวกพราหมณ์ ก็ได้รับค�ำแนะน�ำให้น�ำราชกุมารไปฝังเสีย พระ ราชมารดาทรงคัดค้านไม่ส�ำเร็จ ก็ทูลขอให้พระราชกุมารครองราชย์สัก ๗ วัน แต่พระ ราชกุมารก็ไม่ยอมพูด ต่อเมื่อ ๗ วันแล้ว สารถีน�ำราชกุมารข้ึนสู่รถไปเพื่อจะฝังตามรับส่ังของ พระราชา ขณะท่ีขุดหลุมอยู่ พระราชกุมารก็เสด็จลงจากรถ ตรัสปราศรัยกับนายสารถี แจ้ง ความจริงใจให้ทราบว่า มีพระประสงค์จะออกบวช สารถีเล่ือมใสในค�ำสอนขอออกบวชด้วย จึงตรัสสั่งให้น�ำรถกลับไปคืนก่อน สารถีน�ำความไปเล่าถวายพระราชมารดา พระราชบิดาให้ ทรงทราบ ทั้งสองพระองค์พร้อมด้วยอ�ำมาตย์ราชบริพารจึงเสด็จออกไปหา เชิญให้พระ ราชกุมารเสด็จกลับไปครองราชสมบัติ แต่พระราชกุมารกลับมาถวายหลักธรรมให้ยินดีใน เนกขัมมะ คือ การออกจากกาม พระชนกชนนพี ร้อมดว้ ยบรวิ ารทรงเล่ือมใสในค�ำสอน กเ็ สดจ็ ออกผนวชและบวชตาม และได้มีพระราชาอ่ืนอีกเป็นอันมากสดับพระโอวาทขอออกผนวชตาม ๒. มหาชนกชาดก ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบ�ำเพ็ญวิริยบารมี คือความพากเพียร ใจความส�ำคัญ คือ พระมหาชนกราชกุมารเดินทางไปทางทะเล เรือแตก คนทั้งหลายจมน้�ำตายบ้าง เป็นเหย่ือ ของสัตว์น�้ำบ้าง แต่ไม่ทรงละความอุตสาหะ ทรงว่ายน�้ำโดยก�ำหนดทิศทางแห่งกรุงมิถิลา PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 919 5/4/18 2:26 PM
920 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ในท่ีสุดก็ได้รอดชีวิตกลับไปถึงกรุงมิถิลาได้ครองราชสมบัติ ชาดกเร่ืองนี้เป็นที่มาแห่งภาษิต ท่ีว่า เป็นชายควรเพียรร�่ำไปอย่าเบื่อหน่าย (ความเพียร) เสีย เราเห็นตัวเองเป็นได้อย่างที่ ปรารถนา ข้นึ จากนำ้� มาสบู่ กได้ ๓. สวุ ณั ณสามชาดก ชาดกเเรื่องนี้แสดงถึงการบ�ำเพ็ญเมตตาบารมี คือการแผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ ท้ังปวงเป็นสุขท่ัวหน้า มีเรื่องเล่าว่า สุวรรณสามเลี้ยงมารดาบิดาของตนซ่ึงเสียจักษุในป่า และ เน่ืองจากเป็นผู้มีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อ่ืน หมู่เน้ือก็เดินตามแวดล้อมไปในที่ต่าง ๆ วันหน่ึง ถูกพระเจ้ากรุงพาราณสีช่ือปิลยักษ์ยิงเอาด้วยธนู ด้วยเข้าพระทัยผิด ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็น มาณพผู้เล้ียงมารดาบิดา ก็สลดพระทัย จึงไปจูงมารดาบิดาของสุวรรณสามมา มารดาบิดา ของสุวรรณสามก็ต้ังสัจจกิริยา อ้างคุณความดีของสุวรรณสามขอให้พิษของศรหมดไป สุวรรณสามก็ฟื้นคืนสติ และได้สอนพระราชา แสดงคติธรรมว่า ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดย ธรรม แม้เทวดาก็ย่อมรักษาผู้นั้น ย่อมมีคนสรรเสริญในโลกนี้ ละโลกน้ีไปแล้วก็บันเทิงใน สวรรค์ ต่อจากน้ันเมื่อพระราชาขอให้ส่ังสอนต่อไปอีก ก็สอนให้ทรงปฏิบัติธรรมปฏิบัติชอบ ในบุคคลทัง้ ปวง ๔. เนมิราชชาดก ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบ�ำเพ็ญอธิฏฐานบารมี คือความตั้งใจมั่นคง มีเรื่องเล่าว่า เนมิราชกุมาร ได้ขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ทรงบ�ำเพ็ญคุณงามความดี เป็นที่รักของมหาชน และในท่ีสุด เมื่อทรงพระชราก็ทรงมอบราชสมบัติแก่พระราชโอรส เสดจ็ ออกผนวชเชน่ เดียวกับทพ่ี ระราชบิดาของพระองคเ์ คยทรงบ�ำเพ็ญมา ๕. มโหสธชาดก๑ ชาดกเร่ืองนี้แสดงถึงการบ�ำเพ็ญปัญญาบารมี คือความรู้ท่ัวถึงสิ่งท่ีควรรู้ มีเรื่องเล่า ว่า มโหสธบัณฑิตเป็นท่ีปรึกษาหนุ่มของพระเจ้าวิเทหะแห่งกรุงมิถิลา ท่านมีความฉลาดรู้ สามารถแนะน�ำในปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องรอบคอบ เอาชนะท่ีปรึกษาอ่ืน ๆ ที่ริษยา ใส่ความ ด้วยความดีไม่พยาบาทอาฆาต ครั้งหลังใช้อุบายป้องกันพระราชาจากราชศัตรู และ จับราชศตั รซู ่ึงเป็นกษตั ริย์พระนครอ่นื ได้ ๑ ฉบบั พม่าเปน็ อุมังคชาดก อรรถกถาเขียนวา่ ”มโหสถ„ ตลอด PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 920 5/4/18 2:26 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ 921 ๖. ภรู ทิ ัตตชาดก ุขททก ินกาย ชาดกเรื่องน้ีแสดงถึงการบ�ำเพ็ญศีลบารมี คือการรักษาศีล มีเร่ืองเล่าว่า ภูริทัตต นาคราชไปจำ� ศลี อยรู่ ิมฝ่ังแมน่ ำ้� ยมุนา ยอมอดทนให้หมองจู บั ไปทรมานต่าง ๆ ท้งั ๆ ทสี่ ามารถ จะทำ� ลายหมองไู ด้ดว้ ยฤทธ์ิ มีใจมั่นตอ่ ศลี ของตน ในที่สุดกไ็ ดอ้ สิ รภาพ ๗. จันทกุมารชาดก ชาดกเร่ืองน้ีแสดงถึงการบ�ำเพ็ญขันติบารมี คือความอดทน มีเรื่องเล่าว่า จันทกุมาร เป็นโอรสของพระเจ้าเอกราช เคยช่วยประชาชนให้พ้นจากคดี ซ่ึงกัณฑหาลพราหมณ์ ราชปุโรหิตาจารย์รับสินบนตัดสินไม่เป็นธรรม ประชาชนก็พากันเลื่อมใสเปล่งสาธุการ ท�ำให้ กัณฑหาลพราหมณ์ผูกอาฆาตในพระราชกุมาร เม่ือพระเจ้าเอกราชทรงพระราชสุบิน เห็น ดาวดึงสเทวโลก เมื่อต่ืนบรรทมทรงใคร่จะทราบทางไปสู่เทวโลก ตรัสถามกัณฑหาลพราหมณ์ จึงเป็นโอกาสให้พราหมณ์แก้แค้นด้วยการกราบทูลแนะให้ตัดพระเศียรพระโอรสธิดา เป็นต้น บูชายัญ พระเจ้าเอกราชเป็นคนเขลา ก็สั่งจับพระราชโอรส ๔ พระองค์ พระราชธิดา ๔ พระองค์ ไปท่ีพระลานหลวง เพ่ือเตรียมประหารบูชายัญ นอกจากนั้นยังส่ังจับพระมเหสี ๔ พระองค์ และคนอื่น ๆ อีก เพื่อเตรียมประหารเช่นกัน แม้ใครจะทัดทานขอร้องก็ไม่ได้ผล ร้อนถึงท้าวสักกะ (พระอินทร์) ต้องมาข่มขู่และช้ีแจงให้หายเข้าใจผิดว่า วิธีน้ีไม่ใช่ทางไป สวรรค์ มหาชนจึงรุมฆ่าพราหมณ์ปุโรหิตน้ันและเนรเทศพระเจ้าเอกราช แล้วกราบทูลเชิญ จันทกุมารข้ึนครองราชย์ ๘. นารทชาดก ชาดกเร่ืองน้ีแสดงถึงการบ�ำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือการวางเฉย มีเร่ืองเล่าว่า พรหม นารทะช่วยเปล้ืองพระเจ้าอังคติราชให้กลับจากความเห็นผิด มามีความเห็นชอบตามเดิม (ความเห็นผิดน้ันเป็นไปในทางว่าสุขทุกข์เกิดเองไม่มีเหตุ คนเราเวียนว่ายตายเกิด หนักเข้า ก็บริสทุ ธไ์ิ ดเ้ อง ซง่ึ เรยี กว่าสังสารสุทธ)ิ ๙. วธิ รุ ชาดก ชาดกเรื่องน้ีแสดงถึงการบ�ำเพ็ญสัจจบารมี คือความสัตย์ มีเรื่องเล่าถึงวิธุรบัณฑิต ซ่ึงเป็นผู้ถวายค�ำแนะน�ำประจ�ำราชส�ำนัก พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะเป็นผู้ที่พระราชาและ ประชาชนรักใคร่เคารพนับถือมาก ครั้งหน่ึงปุณณกยักษ์มาท้าพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะเล่นสกา ถ้าตนแพ้จักถวายมณีรัตนะอันวิเศษ ถ้าพระราชาแพ้ ก็จะพระราชทานทุกส่ิงที่ต้องการ เว้นแต่ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 921 5/4/18 2:26 PM
922 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ พระกายของพระองค์ ราชสมบตั ิ และพระมเหสี ในท่สี ุดพระราชาแพ้ ปณุ ณกยกั ษจ์ งึ ทลู ขอตัว วิธุรบัณฑิต พระราชาจะไม่พระราชทานก็เกรงเสียสัตย์ พระองค์ตีราคาวิธุรบัณฑิตย่ิงกว่า ทรัพย์สินเงินทองใด ๆ ทรงหน่วงเหน่ียวด้วยประการต่าง ๆ แต่ก็ตกลงกันไปไต่ถามให้ วิธุรบัณฑิตตัดสิน วิธุรบัณฑิตก็ตัดสินให้รักษาสัตย์ คือตนเองยอมไปกับยักษ์ ความจริงยักษ์ ต้องการเพียงเพ่ือจะน�ำหัวใจของวิธุรบัณฑิตไปแลกกับธิดาพญานาค ซึ่งความจริงเป็นอุบาย ของภริยาพญานาคผู้ใคร่จะได้สดับธรรมของวิธุรบัณฑิต จึงตกลงกับสามีว่า ถ้าปุณณกยักษ์ ต้องการธิดาของตน ก็ขอให้น�ำหัวใจของวิธุรบัณฑิตมา แม้ยักษ์จะหาวิธีท�ำให้ตายก็ไม่ตาย วิธุรบัณฑิตกลับแสดงสาธุนรธรรม (ธรรมของคนดี) ให้ยักษ์เล่ือมใสและได้แสดงธรรมแก่ พญานาค ในทีส่ ุดกไ็ ดก้ ลบั มาสู่กรุงอนิ ทปัตถ์ มีการฉลองรับขวญั กันเป็นการใหญ่ ๑๐. เวสสนั ดรชาดก ชาดกเร่ืองน้ีแสดงถึงการบ�ำเพ็ญทานบารมี คือการบริจาคทาน มีเร่ืองเล่าถึงพระ เวสสันดรผใู้ จดี บรจิ าคทุกอยา่ งทีม่ ีคนขอ ครั้งหน่งึ ประทานช้างเผอื กคู่บ้านคูเ่ มอื งแก่พราหมณ์ ชาวกาลิงคะ ซ่ึงมาขอช้างไป เพื่อให้หายฝนแล้ง แต่ประชาชนโกรธขอให้เนรเทศ พระราชบิดา จึงจ�ำพระทัยเนรเทศ ซ่ึงพระนางมัทรีพร้อมด้วยพระโอรสธิดาได้ตามเสด็จไปด้วย เม่ือชูชก ไปขอสองกุมารก็ประทานอีก ภายหลังพระเจ้าสญชัย พระราชบิดาทรงไถ่สองกุมารแล้วเสด็จ ไปรับกลับกรุง (เรื่องน้ีแสดงการเสียสละส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ คือการตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า อันจะเป็นทางให้ได้บ�ำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวมได้ดีย่ิง มิใช่เสียสละโดยไม่มี จดุ มงุ่ หมายหรอื เหตุผล) จบความย่อแห่งพระไตรปฎิ ก เล่มม ๒๘ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 922 5/4/18 2:26 PM
เล่ม ๒๙ ขทุ ทกนกิ าย มหานทิ เทส เล่มนี้อรรถกถากล่าว ช้ีแจงว่า เป็นภาษิตของพระสาริบุตร ใจความท้ังหมดก็คือ ยกเอาสูตร ๑๖ สูตร ในสุตตนิบาต วรรคที่ ๔ คือต้ังแต่กามสูตร ถึงสาริปุตตสูตร (ซึ่งในการ ยอ่ นเี้ ทา่ กบั สูตรท่ี ๓๙ ถงึ สูตรที่ ๕๔ ดหู นา้ ๙๐๘ - ๙๑๐) มาอธิบายอย่างละเอียดทลี ะตัวอกั ษร ถา้ จะกลา่ วอกี อยา่ งหนงึ่ เลม่ ๒๙ น้ี กไ็ มต่ า่ งอะไรกบั อรรถกถาสตุ ตนบิ าต เพราะอธบิ าย พระสูตร ๑๖ สูตร ในสุตตนิบาต ให้ชัดเจนข้ึน แต่เพราะเหตุที่เป็นค�ำอธิบายของพระสาริบุตร จึงได้รับยกย่องให้เข้าอยู่ในพระไตรปิฎกด้วย ในที่น้ีจะไม่ย่อ เพราะถือว่าได้ย่อพระสูตรทั้งสิบ หกไวแ้ ลว้ จบความย่อแห่งพระไตรปฎิ ก เลม่ ๒๙ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 923 5/4/18 2:26 PM
เลม่ ๓๐ ขทุ ทกนกิ าย จูฬนิทเทส เล่มน้ีก็เช่นเดียวกัน เป็นภาษิตของพระสาริบุตร อธิบายพระสูตรอีก ๑๖ สูตร ใน สุตตนิบาต คือ อธิบายค�ำถามค�ำตอบเกี่ยวกับมาณพ ๑๖ คน (ซึ่งย่อไว้เป็นสูตรท่ี ๕๕ ถึง ๗๐ โปรดดหู น้า ๙๑๐) เปน็ การอธิบายค�ำถามค�ำตอบอยา่ งละเอยี ดทุกตัวอกั ษรเช่นกนั นอกจากนัน้ ยังอธิบายขัคควสิ าณสตู รที่ ๓ ในสตุ ตนบิ าต (หนา้ ๙๐๓) อกี โดยพสิ ดาร จึงรวมเปน็ ๑๗ สตู ร จบความย่อแหง่ พระไตรปฎิ ก เลม่ ๓๐ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 924 5/4/18 2:26 PM
เลม่ ๓๑ ขุททกนิกาย ปฏสิ ัมภทิ ามรรค (ทางแหง่ ความแตกฉาน) พระไตรปิฎกเล่มนี้ เป็นภาษิตของพระสาริบุตร อธิบายศัพท์ธรรมะต่าง ๆ อย่าง วิจิตรพิสดาร วิธีการอธิบาย คือถ้ามีพระพุทธภาษิตว่าด้วยเร่ืองนั้น ก็น�ำมาตั้งไว้แล้วอธิบาย ขยายความอีกต่อหนง่ึ ถา้ ไม่มีพระพุทธภาษิตอธบิ ายไวโ้ ดยตรง ท่านผู้กลา่ ว (คือพระสารบิ ุตร) ก็ตั้งบทต้ังข้ึนเอง และอธิบายขยายความไปตามบทต้ังละเอียดต่อไป มีบางคร้ังก็ต้ังภาษิตของ พระอานนท์เปน็ หัวข้อแล้วแจกอธบิ ายในภายหลัง ขยายความ เน่ืองจากศัพท์ธรรมะท่ีเป็นบทต้ังในการอธิบายมีอยู่ ๓๐ ศัพท์ หรือ ๓๐ ข้อ จึงแบ่ง เปน็ วรรคได้ ๓ วรรค ๆ ละ ๑๐ ขอ้ คือ วรรคที่ ๑ ชอ่ื มหาวรรค แปลวา่ หมวดใหญ่ มี ๑๐ เรือ่ ง คือ ๑. ญาณะ (ความร)ู้ ๒. ทฏิ ฐิ (ความเหน็ ) ๓. อานาปานะ (ลมหายใจเข้าออก) ๔. อนิ ทรีย์ (ธรรมอนั เป็นใหญ่ในหน้าทข่ี องตน) ๕. วโิ มกข์ (ความหลุดพน้ ) ๖. คติ (ที่ไปหรอื ทางไป) ๗. กัมมะ (การกระท�ำ) ๘. วิปัลลาสะ (ความคลาดเคลอ่ื นวปิ ริต) ๙. มคั คะ (หนทาง) ๑๐. มัณฑเปยยะ (ของใสทีค่ วรด่ืม เทยี บด้วยคณุ ธรรม) วรรคท่ี ๒ ชื่อยุคนัทธวรรค แปลว่า หมวดที่ข้ึนต้นด้วยธรรมท่ีเทียมคู่ คือธรรมที่ แฝดกัน ได้แก่สมถะและวปิ สั สนา มี ๑๐ เร่อื ง คือ ๑๑. ยุคนัทธะ (ธรรมทเี่ ทียมคู่) ๑๒. สจั จะ (ความจริง) ๑๓. โพชฌงค์ (องคแ์ หง่ การตรัสร้)ู ๑๔. เมตตา (ไมตรจี ติ คิดใหเ้ ปน็ สุข) PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 925 5/4/18 2:26 PM
926 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๑๕. วริ าคะ (ความคลายก�ำหนัด) ๑๖. ปฏิสมั ภิทา (ความแตกฉาน) ๑๗. ธมั มจกั กะ (ล้อรถคอื พระธรรม) ๑๘. โลกตุ ตระ (ธรรมทีข่ ้ามพ้นจากโลก) ๑๙. พละ (ธรรมอันเป็นกำ� ลัง) ๒๐. สุญญะ (ความวา่ งเปล่า) วรรคที่ ๓ ชื่อปัญญาวรรค แปลวา่ หมวดทีข่ น้ึ ต้นดว้ ยปัญญา มี ๑๐ เรื่อง คอื ๒๑. มหาปญั ญา (ปัญญาใหญ)่ ๒๒. อิทธิ (ฤทธ์หิ รือความสำ� เรจ็ ) ๒๓. อภิสมัย (การตรสั รู้) ๒๔. วิเวก (ความสงดั ) ๒๕. จริยา (ความประพฤติ) ๒๖. ปาฏหิ าริยะ (ปาฏหิ ารยิ ์ = น�ำกเิ ลสไปเสีย) ๒๗. สมสสี ะ (สง่ิ ท่ีสงบและส่งิ ทมี่ ีศรี ษะ)๑ ๒๘. สติปฏั ฐาน (การต้ังสติ) ๒๙. วิปสั สนา (ความเหน็ แจง้ ) ๓๐. มาตกิ า (แมบ่ ท) คำ� อธิบายศัพท์ในวรรคท่ี ๑ ๑. ญาณะ (ความรู้) ข้อน้ีมีบทต้ังแสดงถึงญาณ (ความรู้) อันได้แก่ปัญญา ๗๓ ประการ พร้อมท้ังกล่าวว่า ในญาณ ๗๓ ประการเหล่านี้ ๖๗ ข้อ เป็นของท่ัวไปแก่พระสาวก ส่วนอีก ๖ ข้อไม่ทั่วไปแก่พระสาวก ในการอธิบายญาณต่าง ๆ น้ัน บทตั้ง (ซ่ึงเป็นภาษิตของ พระสาริบุตร มิใช่พระพุทธภาษิต) อธิบายว่าปัญญาอย่างนั้น ๆ ชื่อว่าญาณ ขอยกตัวอย่าง ตง้ั แต่ข้อที่ ๑ ไป รวม ๑๐ ดงั นี้ (๑) ปญั ญาในการเงีย่ โสต (สดับ) ช่ือวา่ ญาณอันส�ำเร็จดว้ ยการฟงั (๒) ครน้ั ฟังแล้ว (เกิด) ปัญญาในการสำ� รวม ช่อื วา่ ญาณอนั ส�ำเร็จดว้ ยศีล ๑ โปรดดูคำ� อธิบายในตอนทย่ี กอธบิ ายทีละศัพทต์ อ่ ไป PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 926 5/4/18 2:26 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๑ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค 927 (๓) ครั้นส�ำรวมแลว้ (เกิด) ปญั ญาในการต้งั จติ มน่ั ช่ือว่าญาณอันสำ� เรจ็ ด้วยการ ุขททก ินกาย เจรญิ สมาธิ (๔) ปญั ญาในการกำ� หนดรปู้ จั จยั ชอื่ วา่ ญาณในความตง้ั อยแู่ หง่ ธรรม (ธมั มัฏฐติ ิ ญาณ) (๕) ปัญญาในการรวบรวมธรรมท่เี ป็นอดีต อนาคต ปัจจุบนั แล้วก�ำหนดรู้ ชื่อว่า ญาณในการพิจารณา (สมั มสเน ญาณ) (๖) ปัญญาในการพิจารณาเห็นความปรวนแปรแห่งธรรมอันเป็นปัจจุบัน ชื่อว่า ญาณในการพิจารณาความเกิด ความเส่ือม (อทุ ยัพพยานปุ สั สเน ญาณ) (๗) ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกดับ ช่ือว่า ญาณในการเห็นแจ้ง (วิปสั สเน ญาณ) (๘) ปัญญาในความปรากฏเป็นของน่ากลัว (แห่งสังขาร) ชื่อว่าญาณ คือความรู้ ในโทษ (อาทนี เว ญาณ) (๙) ปัญญาท่ีท�ำให้เกิดการพิจารณาด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย ช่ือว่าญาณใน ความวางเฉยในสงั ขาร (สังขารเุ ปกขาสุ ญาณ) (๑๐) ปัญญาในการออกในการหมุนกลับจากเครื่องหมายแห่งสังขารภายนอก ช่ือว่าโคตรภูญาณ (ต่อจากน้ีเปน็ การแสดงมคั คญาณ ผลญาณ วมิ ุตติญาณ ปัจจเวกขณญาณ เป็นต้น มีญาณในอริยสัจจ์ ๔ และในปฏิสัมภิทา ๔ เป็นทีส่ ุดรวม ๖๗ ญาณ เปน็ ญาณทที่ ่ัวไปแกพ่ ระสาวก) ส่วนญาณอกี ๖ ประการทมี่ ีเฉพาะแก่พระพทุ ธเจา้ ไมท่ ่ัวไปแกพ่ ระสาวก คือ (๑) อนิ ทรยิ ปโรปริยตั ตญาณ (ญาณหยั่งรอู้ นิ ทรยี อ์ นั ยง่ิ หยอ่ นของสัตว์)๑ (๒) อาสยานุสยญาณ (ญาณหยั่งรู้อาสัยคือความน้อมใจไปท้ังทางดีทางช่ัว และ อนุสัยคอื กเิ ลสท่นี อนเนื่องในสนั ดานมกี ามราคะ เป็นต้น มอี วิชชาเป็นท่ีสุด) (๓) ยมกปาฏิหิรญาณ (ญาณอนั ทำ� ใหส้ ามารถแสดงปาฏิหารยิ ค์ ไู่ ด้ คือปาฏิหารยิ ์ เนอื่ งดว้ ยธาตนุ ้ำ� และธาตไุ ฟ แสดงออกพร้อมกัน) (๔) มหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณในการเข้าสมาบตั ิ มมี หากรุณาเปน็ อารมณ์) ๑ ญาณข้อน้ี คือรู้ว่า มีกิเลสน้อยกิเลสมาก มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อันเป็นอินทรีย์ คือธรรมที่เป็นใหญ่ กล้า หรืออ่อน มอี าการดี มีอาการเลว เปน็ ตน้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 927 5/4/18 2:26 PM
928 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๕) สัพพญั ญุตญาณ (ญาณคือความเป็นผู้ร้สู ง่ิ ทั้งปวง) (๖) อนาวรณญาณ (ญาณอนั ไมม่ ีความขอ้ งขัดไมม่ ีเคร่ืองกั้น) ๒. ทิฏฐิ (ความเห็น) ในข้อน้ีมีบทต้ังเป็นของพระสาริบุตรเอง โดยแสดงถึงท่ีต้ังแห่ง ทิฏฐิ ๘ ประการ มีขันธ์ อวิชชา ผัสสะ เป็นต้น เคร่ืองรึงรัดคือทิฏฐิ ๑๘ ประการ แจกตาม ชือ่ กิเลสพวกทฏิ ฐิ ตัวทฏิ ฐเิ อง ๑๖ ประการ มอี ัสสาททฏิ ฐิ (ความเหน็ ด้วยความพอใจ) เปน็ ตน้ ความยึดถือทิฏฐิต่าง ๆ ด้วยอาการมากน้อยต่างกันตามประเภทของทิฏฐิ โสดาปัตติมรรค เป็นการถอนขึ้นซ่ึงที่ต้ังแห่งทิฏฐิ การลูบคล�ำด้วยความยึดถือว่า ขันธ์ ๕ อายตนะภายใน ภายนอก เป็นต้น ว่าเป็นของเรา เราเป็นนั่น น่ันเป็นตัวตนของเรา จัดเป็นทิฏฐิ ในการอธิบาย รายละเอียดน้ันได้ลงสุดท้ายด้วยน�ำพระพุทธภาษิตแสดงถึงบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ๑๐ ประเภท (ดูหน้า ๘๗๙) ๓. อานาปานะ (ลมหายใจเข้าออก) ในข้อน้ีมีบทตั้งเป็นของพระสาริบุตรเองเช่นกัน แสดงญาณความรู้ ๒๐๐ ประการ อันเกิดจากสมาธิว่า จะเกิดแก่ผู้เจริญสมาธิ คือสติก�ำหนด ลมหายใจเข้าออก เช่น ญาณหยั่งรู้อันตรายของสมาธิ ๘ ประการ อุปการะของสมาธิ ๘ ประการ อันเป็นคู่ปรับกัน (รวมเป็น ๑๖) คือความพอใจในกาม กับการออกจากกาม ความ พยาบาท กับความไม่พยาบาท ความหดหู่ง่วงงุน กับความก�ำหนดหมายแสงสว่าง ความ ฟุ้งสร้าน กับความไม่ฟุ้งสร้าน ความลังเลสงสัย กับการก�ำหนดธรรมะ ความไม่รู้ (อวิชชา) กับความรู้ (ญาณะ) ความไม่ยินดี กับความปราโมทย์ อกุศลธรรมท้ังปวง กับกุศลธรรม ท้ังปวง เปน็ ต้น ๔. อินทรีย์ (ธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน) ในข้อน้ีใช้บทต้ังท่ีเป็น พระพุทธภาษิต แสดงถึงธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน (อินทีรย์) ๕ ประการ คือ ศรัทธา (ความเชื่อ) วิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึกได้) สมาธิ (ความตั้งใจมั่น) และปัญญา (ความรู้ทว่ั ถึงสง่ิ ท่คี วรร้)ู ครนั้ แลว้ แจกรายละเอยี ดออกไปอกี ๕. วโิ มกข์ (ความหลดุ พน้ ) บทตงั้ เปน็ พระพทุ ธภาษติ แสดงถงึ วโิ มกข์ ๓ ประการ คอื วิโมกข์ที่ว่างเปล่า (สุญญตวิโมกข์) วิโมกข์ที่ไม่มีนิมิต (อนิมิตตวิโมกข์) วิโมกข์ที่ไม่มีที่ต้ัง (อัปปณิหิตวโิ มกข์) ในรายละเอยี ด ไดแ้ จกวโิ มกข์ออกไป ๘๐ ประการ ๖. คติ (ท่ีไปหรือทางไป) บทต้ังเป็นของพระสาริบุตร แสดงว่าการท่ีจะถึงพร้อมด้วย คติ คอื เกดิ ในท่ีดี ๆ ตงั้ แตม่ นษุ ยข์ น้ึ ไปถึงเทพว่า แต่ละประการน้ันมเี หตกุ ่อี ย่าง PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 928 5/4/18 2:26 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๑ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค 929 ๗. กัมมะ (การกระท�ำ) บทต้ังเป็นของพระสาริบุตร แจกกรรมและผลของกรรม ุขททก ินกาย ออกไปมากมาย เช่น กรรมได้มีได้เป็นแล้ว ผลของกรรมได้มีได้เป็นแล้ว กรรมได้มี ได้เป็นแล้ว แต่ผลของกรรมยังมิได้มีได้เป็น กรรมได้มีได้เป็นแล้ว แต่ผลของกรรมก�ำลังมี กำ� ลังเปน็ เปน็ ตน้ ๘. วิปัลลาสะ (ความคลาดเคลื่อนวิปริต) บทตั้งเป็นพระพุทธภาษิต แสดงวิปัลลาส ๔ ประการ คือความวปิ ัลลาสคลาดเคลือ่ นแห่งสัญญา แหง่ จิต แห่งความเห็น (๑) ในสิ่งไม่เทย่ี ง ว่าเทยี่ ง (๒) ในส่งิ เปน็ ทุกข์ ว่าเปน็ สุข (๓) ในสง่ิ มิใชต่ น วา่ เปน็ ตน (๔) ในสิง่ ที่ไม่งาม วา่ งาม และพระพุทธภาษติ แสดงความไมว่ ิปัลลาส คอื ทีต่ รงกนั ขา้ ม ๙. มัคคะ (หนทาง) บทต้ังเป็นของพระสาริบุตร แสดงเน้ือความของค�ำว่า มรรค และแจกรายละเอียดว่า ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค จนถึงอรหัตตมรรค สัมมาทิฎฐิ (ความ เห็นชอบ) ท�ำหนา้ ทอี่ ยา่ งไร เปน็ มรรคเป็นเหตุอย่างไร ๑๐. มัณฑเปยยะ (ของใสท่ีควรด่ืม เทียบด้วยคุณธรรม) น�ำเอาพระพุทธภาษิตใน สังยตุ ตนิกายมาเปน็ บทตัง้ แสดงของใสทีค่ วรดมื่ ๓ ประการ คือ (๑) เทศนา (การแสดงธรรม) (๒) ผรู้ บั ทาน (คอื ภกิ ษุ ภกิ ษณุ ี อบุ าสก อบุ าสกิ า เทพ มนษุ ย์ และใคร ๆ กต็ ามท่ี เปน็ ผรู้ แู้ จง้ ) (๓) พรหมจรรย์ (การประพฤตดิ งั พรหม คอื เว้นการเสพกาม ซง่ึ อธิบายวา่ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘) ในภาคอธิบายแสดงธรรมะ ฝ่ายดีฝ่ายเลวคู่กัน ให้เห็นว่าฝ่ายหนึ่งเป็นเสมือนของใส ทค่ี วรดืม่ อีกฝา่ ยหนึง่ เปน็ เสมอื นกากทีค่ วรทิ้ง เชน่ ความเช่ือ (สิง่ ท่ีควรเช่อื ) เป็นฝ่ายดี ความ ไม่เช่ือเป็นฝา่ ยทค่ี วรท้ิง ความเพียรเปน็ ฝา่ ยดี ความเกยี จครา้ นเป็นฝ่ายท่ีควรทง้ิ เปน็ ต้น ค�ำอธบิ ายศพั ทใ์ นวรรคท่ี ๒ ๑๑. ยุคนัทธะ (ธรรมท่ีเทียมคู่) บทต้ังเป็นภาษิตของพระอานนท์ แสดงว่าภิกษุ ภิกษณุ จี ะพยากรณ์อรหัตตผลในส�ำนักของพระอานนท์ กม็ ี ๔ ทาง คอื PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 929 5/4/18 2:26 PM
930 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๑) เจรญิ วิปัสสนา มสี มถะเปน็ เบอ้ื งตน้ (เจรญิ ปัญญาโดยเจริญสมาธกิ ่อน) (๒) เจริญสมถะ มวี ิปสั สนาเป็นเบอ้ื งตน้ (เจรญิ สมาธโิ ดยเจริญปญั ญาก่อน) (๓) เจรญิ ท้ังสมถะและวปิ ัสสนาคู่กนั (๔) มจี ิตแยกจากความฟงุ้ สรา้ นในธรรม (โปรดดทู ยี่ ่อไวแ้ ล้วในหน้า ๗๘๒ ด้วย) ตอ่ จากนน้ั เปน็ ค�ำอธบิ ายโดยละเอยี ด ๑๒. สัจจะ (ความจริง) บทต้ังเป็นพระพุทธภาษิตแสดงความจริง คืออริยสัจจ์ ๔ ประการพร้อมดว้ ยค�ำอธิบายโดยละเอยี ด ๑๓. โพชฌงค์ (องค์แห่งการตรัสรู้) บทต้ังเป็นพระพุทธภาษิต แสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ คือ สติ (ความระลึกได)้ ธมั มวจิ ยะ (การเลอื กเฟน้ ธรรมะ) วริ ิยะ (ความเพยี ร) ปตี ิ (ความอม่ิ ใจ) ปัสสทั ธิ (ความสงบใจ) สมาธิ (ความต้ังใจม่ัน) อุเบกขา (ความวางเฉย) ในภาคอธิบาย ได้แสดงวิเคราะหศ์ พั ท์อยา่ งพสิ ดาร ๑๔. เมตตา (ไมตรีจิตคิดให้เป็นสุข) บทตั้งเป็นพระพุทธภาษิต แสดงอานิสงส์ของ เมตตา ๑๑ ประการ (ดังท่ีย่อไว้แล้วในหน้า ๘๙๑) ในภาคอธิบายได้แสดงถึงเมตตาเจโตวิมุติ ทีแ่ ผ่ไปโดยไม่เจาะจงและโดยเจาะจงหลายวิธี ๑๕. วิราคะ (ความคลายก�ำหนัด) บทต้ังเป็นของพระสาริบุตรแสดงว่าวิราคะเป็น มรรค วิมุติ (ความหลุดพ้น) เปน็ ผล ๑๖. ปฏิสมั ภทิ า (ความแตกฉาน) บทตงั้ เป็นพระพุทธภาษิต แสดงธัมมจักกปั ปวตั ตน สูตร แลว้ แสดงความแตกฉาน ๔ อย่างโดยละเอียด ๑๗. ธัมมจักกะ (ล้อรถคือพระธรรม) บทตั้งเป็นพระพุทธภาษิตบางตอนในธัมม จักกัปปวัตตนสูตร เฉพาะท่ีว่าด้วยฌานเห็นอริยสัจจ์ ๔ ประการ แล้ววิเคราะห์ศัพท์โดย พสิ ดาร PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 930 5/4/18 2:26 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๑ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค 931 ๑๘. โลกุตตระ (ธรรมที่ข้ามพ้นจากโลก) บทตั้งเป็นภาษิตของพระสาริบุตร แสดง ุขททก ินกาย โลกุตตรธรรม คือ สตปิ ัฏฐาน (การตั้งสติ) ๔ สัมมัปปธาน (เพียรชอบ) ๔ อทิ ธิบาท (ธรรมที่ใหบ้ รรลุความสำ� เร็จ) ๔ อินทรยี ์ (ธรรมอันเปน็ ใหญใ่ นหนา้ ทข่ี องตน) ๕ พละ (ธรรมอนั เปน็ กำ� ลัง) ๕ โพชฌงค์ (องค์แห่งการตรสั ร)ู้ ๗ มรรค (หนทางหรือขอ้ ปฏิบตั ิ) มีองค์ ๘ อรยิ มรรค ๔ สามญั ญผล ๔ นพิ พาน ๑ (พึงสังเกตว่า บทตั้งน้ีแสดงโลกุตตรธรรม ด้วยชี้ไปท่ีโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และมรรค ๔ ผล ๔ นพิ พาน ๑) แล้วแสดงวิเคราะหศ์ พั ท์ ๑๙. พละ (ธรรมอันเป็นก�ำลัง) บทตั้งเป็นพระพุทธภาษิตเรื่องพละ คือธรรมอันเป็น ก�ำลัง ๕ ได้แก่ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แล้วได้แสดงพละตามนัยอื่นอีก รวม ๖๘ ประการ ๒๐. สุญญะ (ความว่างเปล่า) บทต้ังเป็นเรื่องแสดงว่าพระอานนท์ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทลู ถามว่า ท่ีว่าโลกสญู ๆ นนั้ ดว้ ยเหตเุ พียงเทา่ ไร ตรัสตอบว่า เพราะเหตทุ ี่สูญจากตนและจากสิ่งทเี่ นือ่ งดว้ ยตน จงึ ชอ่ื วา่ โลกสญู แลว้ ได้ตรสั แจกอายตนะภายในมตี า เป็นต้น อายตนะภายนอกมรี ปู เป็นต้น รวมท้งั วญิ ญาณ ผสั สะ เวทนา วา่ ลว้ นสญู จากตนและจากส่ิงทเี่ นอื่ งด้วยตน ในภาคอธิบายได้กล่าวถึงความสูญ ความสูญจากสังขาร ความสูญเพราะปรวนแปร ความสญู ทเี่ ลศิ คอื พระนพิ พาน ความสญู จากลกั ษณะ ความสญู ตามลกั ษณะวมิ ตุ ิ ๕ เปน็ ตน้ จนถงึ ความสญู โดยปรมัตถ์ คอื สญู โดยประการทัง้ ปวง ค�ำอธิบายศพั ทใ์ นวรรคที่ ๓ ๒๑. มหาปัญญา (ปัญญาใหญ่) บทตั้งเป็นของพระสาริบุตร แสดงว่าเจริญอนิจจา นุปัสสนา (การพิจารณาเห็นเป็นของไม่เที่ยง) ท�ำให้ชวนปัญญา (ปัญญาอันเหมือนฝีเท้า) ให้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 931 5/4/18 2:26 PM
932 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ บริบูรณ์ เจริญทุกขานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นเป็นทุกข์) ท�ำให้นิพเพธิกปัญญา (ปัญญา อันช�ำแรกกิเลส) ให้บริบูรณ์ เจริญอนัตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตน) ท�ำให้ มหาปญั ญา (ปญั ญาใหญ่) บรบิ รู ณ์ เปน็ ต้น ๒๒. อิทธิ (ฤทธิ์หรือความส�ำเร็จ) บทต้ังเป็นของพระสาริบุตร แสดงความหมายของ ค�ำว่า ฤทธิ์ (คอื ความส�ำเรจ็ ) แสดงฤทธิ์ ๑๐ อย่าง คือ (๑) ฤทธอ์ิ ันเกดิ จากการอธิษฐาน (๒) ฤทธิเ์ กิดจากการบันดาล (วิกุพพนา) (๓) ฤทธิ์เกิดจากใจ (๔) ฤทธเ์ิ กิดจากการแผญ่ าณ (๕) ฤทธเ์ิ กิดจากการแผส่ มาธิ (๖) ฤทธิ์อันเปน็ อรยิ ะ (ในการพิจารณาธรรมะ) (๗) ฤทธิ์เกดิ จากผลของกรรม (๘) ฤทธิข์ องผมู้ ีบุญ (๙) ฤทธเิ์ กดิ จากวชิ ชา (๑๐) ฤทธ์มิ ีการประกอบถูกสว่ นเปน็ ปจั จัย นอกจากน้ันยังแสดงภมู ขิ องฤทธ์ิ ๔ คือฌาน ๔ เปน็ ต้น ๒๓. อภสิ มยะ (การตรัสร้)ู บทต้งั เป็นของพระสารบิ ุตร แสดงวา่ การตรัสรู้ มีไดด้ ้วยจติ และดว้ ยญาณ เป็นต้น ๒๔. วิเวกะ (ความสงัด) บทต้ังเป็นพระพุทธภาษิต ท่ีว่าการงานใด ๆ ก็ตาม ที่พึงท�ำ ด้วยก�ำลัง การงานนั้น ๆ ทั้งหมดต้องอาศัยแผ่นดิน ต้ังอยู่บนแผ่นดินฉันใด ภิกษุจะเจริญ ท�ำให้มากซ่ึงอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็ต้องอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลฉันน้ัน แล้วตรัสแจกรายละเอียด ออกไปถึงการเจริญมรรคมีองค์ ๘ มีความเห็นชอบ เป็นต้น อันอาศัยความสงัด อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อาศัยการสละ แล้วแจกความสงัด วิราคะ นิโรธ การสละออกไปอีกอย่างละ ๕ ขอ้ คอื วิกขัมภนะ (การข่มดว้ ยฌาน) ตทงั คะ (องค์นนั้ คอื สมาธิ ที่มสี ว่ นในการชำ� แรกหรือท�ำลายทฏิ ฐิ) สมจุ เฉท (การตดั ขาดดว้ ยมรรคอนั เป็นโลกุตตระ) ปฏปิ สั สทั ธิ (การสงบระงบั ด้วยผล) นสิ สรณะ (การแลน่ ออก คอื นิโรธ หรือนพิ พาน) PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 932 5/4/18 2:26 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๑ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค 933 ๒๕. จริยา (ความประพฤติ) บทตง้ั เป็นของพระสารบิ ตุ ร แสดงจรยิ า ๘ ประการ คอื (๑) อิริยาปถจรยิ า ความประพฤติตามอิริยาบถ คอื ยืน เดนิ นง่ั นอน (๒) อายตนจริยา ความประพฤติตามอายตนะภายในภายนอก (๓) สติจรยิ า ความประพฤตใิ นการตงั้ สติ ๓ อย่าง (๔) สมาธจิ รยิ า (ความประพฤติในฌาน ๔) (๕) ญาณจรยิ า ความประพฤตใิ นอริยสัจจ์ ๔ (๖) มคั คจรยิ า ความประพฤติในมรรค ๔ (๗) ปัตติจรยิ า ความประพฤติในผล ๔ (๘) โลกตั ถจรยิ า ความประพฤตเิ พอ่ื ประโยชนแ์ กโ่ ลก บางสว่ นเปน็ ของพระตถาคต อรหนั ตสมั มาสมั พทุ ธเจา้ บางส่วนเป็นของพระปจั เจกพุทธเจา้ บางสว่ นเป็น ของพระสาวก นอกจากนน้ั ยงั แสดงจริยา ๘ อีก ๒ นัย ๒๖. ปาฏหิ ารยิ ะ (ปาฏหิ ารยิ ์ - การนำ� ไปเสยี ) บทตงั้ เปน็ พระพทุ ธภาษติ แสดงปาฏหิ ารยิ ์ ๓ คือ อิทธิปาฏหิ ารยิ ์ แสดงฤทธิ์ไดเ้ ป็นอศั จรรย์ อาเทสนาปาฏหิ าริย์ ดักใจ ทายใจไดเ้ ปน็ อศั จรรย์ อนสุ าสนีปาฏหิ าริย์ สง่ั สอนเปน็ อัศจรรย์ พร้อมทั้งพระพุทธภาษิตอธิบายปาฏิหาริย์ ๓ โดยละเอียด ในภาคอธิบาย วิเคราะห์ ศัพทป์ าฏิหาริย์วา่ นำ� ไปเสยี คือนำ� กิเลสต่าง ๆ ไปเสยี ๒๗. สมสสี ะ (สง่ิ ทส่ี งบและสงิ่ ทมี่ ศี รี ษ์ ะ)๑ บทตง้ั เปน็ ของพระสารบิ ตุ ร ใหค้ ำ� อธบิ ายเพยี ง ส้ัน ๆ ว่า ปัญญาท่ีเห็นความไม่ปรากฏแห่งกิเลสในการตัดขาดและในการดับแห่งธรรมท้ังปวง ชื่อว่าญาณ คือความรู้ในเนื้อความแห่งสมสีสะ ในภาคอธิบาย แสดงธรรมฝ่ายดีต้ังแต่ เนกขัมมะ (การออกจากกาม) จนถึงอรหัตตมรรค ว่าเป็นสมะ คือความสงบ และแสดงธรรม ุขททก ินกาย ทมี่ ีศรี ์ษะรวม ๑๓ ประการ คือ ตัณหา มีความกงั วลเปน็ ศีรษ์ ะ มานะ มีความผูกพันเป็นศีรษ์ ะ ๑ คำ� น้ีตามที่เข้าใจกนั ทว่ั ไป หมายถงึ ดับกเิ ลส พร้อมดว้ ยดับชวี ิต PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 933 5/4/18 2:26 PM
934 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ทิฏฐิ มคี วามลบู คล�ำ (ปรามาส) เปน็ ศรี ์ษะ ความฟุ้งสรา้ น มีความส่ายไปเปน็ ศีรษ์ ะ อวิชชา มกี ิเลสเปน็ ศีรษ์ ะ ศรทั ธา มคี วามนอ้ มใจเชอื่ เป็นศรี ์ษะ วิรยิ ะความเพียร มคี วามประคองเป็นศรี ์ษะ สติ มคี วามปรากฏเป็นศีร์ษะ สมาธิ มีความไมส่ ่ายไปเป็นศีรษ์ ะ ปัญญา มีการเหน็ เป็นศีร์ษะ ชวี ิตนิ ทรีย์ มีความเปน็ ไปเป็นศีร์ษะ วโิ มกข์ มีโคจรคอื อารมณเ์ ป็นศีร์ษะ นโิ รธ มสี ังขารเปน็ ศรี ษ์ ะ (ค�ำว่า ศรี ษ์ ะ น่าจะหมายความว่าเปน็ สว่ นส�ำคญั ) ๒๘. สติปัฏฐาน (การต้ังสติ) บทตั้งเป็นพระพุทธภาษิต แสดงสติปัฏฐาน ๔ ประการ (รายละเอยี ดโปรดดูในหนา้ ๔๗๓) ๒๙. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง) บทตั้งเป็นพระพุทธภาษิต แสดงว่าเป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุ พิจารณาเห็นสังขารว่าเท่ียง เป็นสุข เป็นอัตตา จะท�ำให้แจ้งโสดาปัตติผล จนถึงอรหัตตผล ในทางดีคือท่ีตรงกันข้าม ๓๐. มาตกิ า (แม่บท) บทตง้ั เป็นภาษติ ของพระสาริบตุ ร แสดงเร่ือง วโิ มกข์ วิชชา (ความรู)้ วิมุติ (ความหลุดพน้ ) อธิศีล อธจิ ติ อธิปัญญา ปสั สทั ธิ (ความสงบระงบั ) ญาณ (ความรู้) ทัสสนะ (ความเห็น) สทุ ธิ (ความบรสิ ุทธิ)์ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 934 5/4/18 2:26 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๑ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค 935 เนกขัมมะ (การออกจากกาม) นิสสรณะ (ความพ้นไป ความแล่นออก) ปวเิ วกะ (ความสงดั ) โวสสคั คะ (ความสละ) จรยิ า (ความประพฤต)ิ ฌานวโิ มกข์ (ความพ้นดว้ ยฌาน) ภาวนาธิฏฐานชวี ิต (ความเป็นอยโู่ ดยการเจริญความดีโดยการตงั้ ใจม่ัน) แลว้ อธบิ ายทลี ะศพั ท์โดยละเอียด สรูป พระไตรปิฎกเล่ม ๓๑ น้ี สมท่ีต้ังชื่อว่าปฏิสัมภิทามรรค (ทางแห่งความแตกฉาน) เพราะอธบิ ายธรรมะข้อเดยี ว แจกรายละเอยี ดออกไปเป็นสิบเป็นรอ้ ยขอ้ ทำ� ให้เข้าใจศพั ท์ และ ความหมายแตกฉาน แต่ที่ย่อมาแสดงเพียงเท่าน้ีส�ำหรับประชาชนท่ัวไป แม้เช่นน้ัน ก็รู้สึกว่า จะยังยากท่ีจะเข้าใจ แต่ถ้านึกว่าธรรมะก็มีต้ังแต่อย่างต่�ำเข้าใจง่าย จนถึงอย่างสูงเข้าใจยาก ก็คงทำ� ให้เข้าใจความจรงิ เกยี่ วกบั พระไตรปิฎกไดบ้ ้าง จบความย่อแหง่ พระไตรปฎิ ก เล่ม ๓๑ ุขททก ินกาย PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 935 5/4/18 2:26 PM
เล่ม ๓๒ ขทุ ทกนกิ าย อปทาน ภาค ๑ พระไตรปิฎกเล่มนี้แสดงถึงประวัติการบ�ำเพ็ญคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกต่าง ๆ รวมท้ังส้ิน ๔๑๒ เร่ือง เป็นประวัติการท�ำความดีของ พระพุทธเจ้า ๑ เร่ือง ประวัติการท�ำช่ัวท่ีเคยมีในอดีตก่อนตรัสรู้ ๑ เร่ือง อันแสดงว่าเป็นเหตุ ให้ได้รับผลร้ายอย่างไร เป็นประวัติพระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ เรื่อง ประวัติพระสาวกต่าง ๆ ๔๐๙ เร่ือง ทุกเรื่องเรียบเรียงเป็นค�ำฉันท์และบอกไว้ด้วยว่า เร่ืองท่ีเก่ียวกับพระพุทธเจ้าและพระ ปัจเจกพุทธเจ้านั้น ตรัสแสดงไว้แก่พระอานนท์ผู้เป็นเวเทหมุนี (มุนีผู้ฉลาด) ลักษณะค�ำฉันท์ ที่แต่งไว้ มิใช่มุ่งเพียงแสดงประวัติ แต่มุ่งให้มีความไพเราะทางวรรณคดีปนอยู่ด้วยเป็นอย่างมาก ในทีน่ ้จี ะยอ่ ความเป็นตัวอยา่ งเพียงบางเรื่อง คือ ขยายความ อปทาน ภาค ๑ ๑. พทุ ธาปทาน (ข้ออา้ งหรอื ประวตั ขิ องพระพุทธเจ้า) ใจความว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม พระอานนทเถระได้กราบทูล ถามถึงเหตุให้บุคคลท้ังหลายได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้รู้สิ่งท้ังปวง ตรัสตอบว่า ต้องเป็นผู้ได้ท�ำ อธิการ (คุณความดี) ไว้ในพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แต่ยังมิได้บรรลุความหลุดพ้นในศาสนา ของพระพุทธเจ้า (นั้น ๆ) ด้วยปัญญาที่ให้ตรัสรู้ออกหน้า ผู้มีปัญญาย่อมบรรลุความเป็น สัพพัญญูได้โดยล�ำดับ ด้วยอัธยาศัย ด้วยธรรมะเป็นก�ำลังอันใหญ่ ด้วยปัญญาด้วยเดช คร้ันแล้วตรัสเล่าว่า พระองค์เองได้ทรงปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อน ๆ ผู้เป็นธรรมราชา ผู้สมบูรณ์ด้วยบารมี ๓๐ นับจ�ำนวนไม่ได้ ได้ปรารถนาการตรัสรู้ต่อ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ได้นมัสการ ๑๐ น้ิว ซึ่งพระผู้เป็นนายกของโลกท้ังหลาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ได้อภิวาทด้วยเศียรเกล้า นอกจากน้ันยังแสดงถึงการที่มีพระหฤทัยนึก น้อมถวายทาน มีความเล่ือมใสบูชาพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วแสดงการบ�ำเพ็ญ บารมีต่าง ๆ มีศีล เป็นต้น แล้วลงสุดท้ายเป็นค�ำสอนว่า ”ท่านท้ังหลายเห็นความเกียจคร้าน เป็นภัย เห็นความเพียรเป็นความเกษม (ปลอดโปร่งจากภัย) แล้ว ก็จงปรารภความเพียรเถิด„ น้ีเป็นค�ำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ”เห็นการวิวาทกันเป็นภัย เห็นความไม่วิวาทกันเป็น PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 936 5/4/18 2:26 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๒ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ 937 ความปลอดโปร่งจากภัยแล้ว ก็จงสมัครสมานเป็นมิตรกันเถิด„ น้ีเป็นค�ำสอนของพระพุทธเจ้า ุขททก ินกาย ทั้งหลาย ”เห็นความประมาทเป็นภัย เห็นความไม่ประมาทเป็นความปลอดโปร่งจากภัยแล้ว ก็ จงเจริญมรรคาอนั มอี งค์ ๘ เถิด„ นีเ้ ปน็ คำ� สอนของพระพุทธเจ้าทัง้ หลาย ดงั นเี้ ป็นต้น (หมายเหตุ : ข้อความที่พรรณนาในพุทธาปทานน้ี หนักไปในทางแสดงการบ�ำเพ็ญ บารมีทางใจมากกว่าอย่างอ่ืน และมีหลักส�ำคัญที่แสดงว่า ได้แสดงความปรารถนาท่ีจะเป็น พระพุทธเจ้ามาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ส่วนรายการบ�ำเพ็ญบารมีอื่นอีก จะมีแจ้ง ขา้ งหนา้ ในการย่อเล่ม ๓๓ อนั วา่ ดว้ ยจริยาปฎิ ก) ๒. ปจั เจกพทุ ธาปทาน (ขอ้ อ้างหรือประวตั ขิ องพระปัจเจกพุทธเจ้า) ใจความในค�ำฉันท์แสดงว่า พระอานนท์ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค ถึงเหตุที่ บุคคลจะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า ต้องเป็นผู้ได้ท�ำอธิการ (คุณความดี) ไว้ใน พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แต่ยังมิได้บรรลุความหลุดพ้นในศาสนาของพระพุทธเจ้า (น้ัน ๆ) ด้วยความสังเวชออกหน้า ผู้มีปัญญากล้าแม้เว้นจากพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ได้บรรลุ ปัจเจกโพธิ (การตรัสรู้เฉพาะตน) ด้วยอารมณ์อันเล็กน้อย (กว่าของพระพุทธเจ้า) บุคคลท่ี จะเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้า เว้นพระพุทธเจ้าเสียแล้ว ก็ไม่มีในโลกท้ังปวง คร้ันแล้วตรัสแสดง คุณงามความดตี ่าง ๆ ตามท�ำนองแหง่ ขัคควิสาณสูตร (ทก่ี ล่าวมาแลว้ ในหนา้ ๖๐๔) ๓. สารปิ ุตตเถราปทาน (ข้ออา้ งหรือประวัติของพระสาริบตุ ร) ข้าพเจ้า (พระสาริบุตร) ได้สร้างอาศรม สร้างบรรณศาลา ณ เวลัมพบรรพต ไม่ไกล หิมวันตประเทศ มีแม่น้�ำฝั่งต้ืน มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ มีเนินทรายอันบริสุทธ์ิดี ไม่ไกลอาศรม ข้าพเจ้า (พระสาริบุตร) เป็นดาบสนามว่า สุรุจิ มีศีล สมบูรณ์ด้วยวัตร มักเข้าฌาน ยินดีใน ฌานเสมอ ถงึ พร้อมด้วยก�ำลงั คืออภิญญา ๕ (แสดงฤทธิ์ได้ หูทพิ ย์ กำ� หนดรูใ้ จผู้อ่ืน ระลกึ ชาติ ได้ ตาทิพย์) มีศิษย์เป็นพราหมณ์ ผู้มีชาติ มียศ เป็นจ�ำนวนมาก เป็นผู้รู้คัมภีร์ พราหมณ์ อุปฐากบ�ำรุงข้าพเจ้า วันหน่ึงได้เห็นพระผู้มีพระภาคพระนามว่า อโนมทัสสี เมื่อได้สังเกตดู พระพุทธลักษณะแล้ว ก็แน่ใจว่าเป็นพระพุทธเจ้า จึงปัดกวาดน�ำดอกไม้ ๘ ก�ำมาบูชา แล้ว กล่าวสรรเสริญพระญาณของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า และได้รับพยากรณ์ว่า จะเป็นผู้ชื่อว่า สารบิ ตุ ร มปี ญั ญากลา้ ไดเ้ ป็นอัครสาวกของพระโคดมพุทธเจา้ ครน้ั แลว้ ได้กลา่ วถึงชาติปจั จุบัน เล่าประวัติที่ได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิและ ได้บวชร่วมกับสหายช่ือโกลิตะ (พระมหาโมค คัลลานะ) จนกระท่งั สน้ิ อาสวะ (กิเลสท่ีดองสนั ดาน) PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 937 5/4/18 2:26 PM
938 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๔. มหาโมคคลั ลานเถราปทาน (ข้ออ้างหรอื ประวัติของพระมหาโมคคัลลานเถระ) ข้าพเจ้า (พระมหาโมคคัลลานะ) เป็นราชาแห่งนาค ชื่อว่าวรุณะ ได้เคยถวายอาหาร แด่พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พร้อมท้ังพระขีณาสวสาวก และได้รับพยากรณ์ว่าจะได้เป็นอัคร สาวกนามว่า โกลิตะของพระโคดมพทุ ธเจา้ ๕. มหากสั สปเถราปทาน (ขอ้ อ้างหรือประวตั ขิ องพระมหากัสสปเถระ) ข้าพเจ้า (พระมหากัสสป) ได้ชักชวนญาติมิตรให้ท�ำการบูชาพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้เสด็จดับขันธนิพพานแล้ว ได้ท�ำกุศลเป็นอันมาก ผลดีส่งให้ได้ไปเกิดในสุคติ และใน ชาติสุดท้ายได้เกิดในสกุลพราหมณ์ ละสมบัติออกบวช ได้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ (หมายเหตุ : ในค�ำฉันท์จริง ๆ พิสดารกว่าน้ีมาก ได้ย่อใจความท่ีส�ำคัญมาให้เห็นว่า แตล่ ะทา่ นไดบ้ ำ� เพญ็ ความดี ในชน้ั แรกกไ็ มม่ ากอะไร แตไ่ ดบ้ ำ� เพญ็ ความดตี อ่ ๆ กนั มา จงึ ไดร้ บั ผลดีคือหมดกิเลส เวลาแสดงประวัติ ท่านก็ไม่ลืม ถือว่าความดีเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ท�ำไว้เป็น คร้ังแรกน้ัน เปน็ การเริ่มต้นที่สำ� คัญยิ่งในประวตั ิของทา่ น) ๖. พุทธาปทาน (ขอ้ อา้ งหรือประวัติของพระพุทธเจ้า) (ในท่นี ี้จะน�ำพทุ ธาปทานอกี บทหนึ่ง ซึง่ บาลอี ยู่ใน ข.ุ อป. ๓๒/๓๙๒/๔๒๒) อนั มชี ื่อว่า ปุพพกัมมปิโลติ (ท่อนผ้าเก่าแห่งบุพพกรรม) ส่วนใหญ่แสดงถึงกรรมช่ัวท่ีพระผู้มีพระภาคเคย ทรงท�ำไว้อันส่งผลร้ายแก่พระองค์ แม้ในพระชาติสุดท้าย ซึ่งเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ในการเปิดเผย พระประวัติทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วอย่างตรงไปตรงมา ว่าเคยทรงท�ำไว้ทั้งกรรมดีกรรมช่ัว เฉพาะ เร่ืองนี้ จะพยายามถอดความให้ละเอยี ดเพือ่ เปน็ ประโยชนแ์ ก่ท่านผสู้ นใจทัว่ ไป) เร่ืองเล่าว่า พระผู้มีพระภาคอันพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม ประทับเหนือพ้ืนศิลา อนั น่าร่นื รมยใ์ กล้สระอโนดาด ตรสั เล่าบพุ พกรรม (กรรมในกาลกอ่ น) ของพระองค์ ดงั นี้ ”ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังถึงกรรมท่ีเราได้ท�ำไว้แล้ว เราเห็นภิกษุผู้ อยู่ป่ารูปหนึ่ง จึงได้ถวายผ้าท่อนเก่า ในกาลน้ันเราได้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นคร้ังแรก ผลแห่งกรรมอนั เน่ืองด้วยผา้ ทอ่ นเกา่ น้ันไดส้ ำ� เร็จแมใ้ นความเปน็ พระพุทธเจ้า„ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 938 5/4/18 2:26 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๒ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ 939 ”เราเคยเป็นนายโคบาลในชาติก่อน ๆ ต้อนแม่โคไปสู่ท่ีหากิน เห็นแม่โคดื่มน�้ำขุ่น ุขททก ินกาย จึงห้ามไว้ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เรากระหายน้�ำ จึงไม่ได้ดื่มตามต้องการ„ (ใช้ พระอานนท์ไปตักน้�ำ พระอานนท์ไม่ตักกลับมากราบทูลว่า น้�ำขุ่น ต้องตรัสย้�ำให้ไปใหม่ พอ พระอานนท์ไปตักคร้งั ที่ ๒ นำ้� กลบั ใส - มหาปรนิ ิพพานสูตร) ”เราเคยเป็นนักเลงชื่อปุนาลิ ในชาติก่อน ๆ ได้กล่าวใส่ความพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่า สุรภิ ผู้มิได้ประทุษร้าย ด้วยผลแห่งกรรมน้ัน เราจึงท่องเท่ียวไปในนรกส้ินกาลนาน เสวยทุกขเวทนาส้ินพันปีเป็นอันมากด้วยกรรมท่ีเหลือนั้น ในภพสุดท้ายน้ี ก็ถูกใส่ความ เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา„ (คือนางสุนทริกาเป็นนักบวชหญิงถูกพวกเดียรถีย์ใช้ให้ท�ำเป็น บอกใครต่อใครว่าจะไปค้างคืนกับพระสมณโคดม แล้วไปค้างเสียที่อื่น รุ่งเช้าก็ท�ำเป็นเดินทาง มาจากเชตวนารามท่ีประทบั พออกี ๒ - ๓ วนั พวกเดยี รถยี ์ก็จา้ งนกั เลงไปฆ่านางสุนทริกาเปน็ เชิงให้เห็นว่านางถูกฆ่า เพื่อจะปิดปาก คนก็สงสัยว่าอาจจะจริง แต่พระราชาส่งราชบุรุษสืบดู ตามร้านสรุ า กจ็ ับพวกนักเลงได้ และลงโทษผู้จา้ งด้วยในทส่ี ุด) ”เพราะกล่าวใส่ความพระสาวกของพระสัพพาภิภูพุทธเจ้า มีนามว่านันทะ เราจึง ท่องเที่ยวไปในนรก ตลอดกาลนานหลายหมื่นปี เมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์ถูกใส่ความมาก ด้วย กรรมที่เหลือน้ัน นางจิญจมาณวิกา จึงได้ใส่ความเราด้วยค�ำไม่จริงต่อหน้าหมู่ชน„ (นาง จิญจมาณวิกาซ่ึงเป็นนักบวชสตรี ถูกพวกเดียรถีย์ใช้ให้ท�ำอุบายเป็นว่ามีครรภ์กับพระพุทธเจ้า โดยเอาไม้ผูกไว้ท่ีท้อง แกล้งด่าประจานพระผู้มีพระภาคในที่ประชุมชน แต่เผอิญไม้ที่ผูกไว้ หลุดตกลงมา จึงถูกประชาทัณฑ์ และถึงแก่ความตายในท่ีสุด ซ่ึงอรรถกถาธรรมบทใช้ค�ำว่า ถกู ธรณีสบู ตาย ภายหลงั ท่ถี กู ประชาชนลงโทษแลว้ ) ”เราได้เคยเป็นพราหมณ์ผู้มีความรู้ (ผู้ได้สดับ) มีผู้เคารพสักการะ สอนมนต์แก่ มาณพ ๕๐๐ ได้ใส่ความภิมฤษีผู้มีอภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก ผู้มาในท่ีน้ัน โดยกล่าวกะศิษย์ ท้ังหลายว่า ฤษีนี้เป็นผู้บริโภคกาม มาณพท้ังหลายก็พลอยชื่นชมไปกับเรา เม่ือไปภิกขาจาร ในสกุลก็เที่ยวกล่าวแก่มหาชนว่า ฤษีน้ีเป็นผู้บริโภคกาม ด้วยผลของกรรมน้ัน ภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ ท้ังหมด ก็พลอยถูกใส่ความไปด้วยเพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา„ (เม่ือมีข่าวว่านาง สุนทริกาถูกฆ่าตาย ชาวเมืองก็เข้าใจว่า พระภิกษุท้ังหลายมีส่วนในการฆ่าปิดปาก จึงพากันด่า ว่าเมื่อแลเห็นภิกษุทั้งหลาย เม่ือพระราชาทรงสืบทราบและให้ลงโทษผู้ฆ่าแล้ว เร่ืองจึงได้สงบ) ”ในกาลก่อน เราได้เคยฆ่าน้องชายต่างมารดาเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ผลักลงไปใน ซอกเขา เอาหนิ ทุม่ ด้วยผลแหง่ กรรมนน้ั เทวทตั จงึ เอาหินทมุ่ เรา สะเก็ดหินมาถกู หวั แม่เท้าเรา„ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 939 5/4/18 2:26 PM
940 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ”ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ในทางใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเผา สิง่ ตา่ ง ๆ ขวางทางไว้ ด้วยผลแหง่ กรรมนน้ั ในภพสุดท้ายน้ี เทวทตั จงึ ส่งคนเพ่ือให้ฆ่าเรา„ ”ในกาลก่อนเราได้เป็นนายควาญช้าง ไสช้างให้ไล่กวดพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เท่ียวไป เพอื่ บิณฑบาต ด้วยผลแหง่ กรรมน้นั ชา้ งนาฬาคิริ ดุร้าย เมามนั จึงว่ิงเขา้ มาหาเรา (เพือ่ ทำ� รา้ ย) ในนครอันประเสริฐ ซ่ึงมีภูเขาเป็นคอก„ (คือในกรุงราชคฤห์ ซ่ึงมีภูเขา ๕ ลูกแวดล้อม จึงมี นามว่านครที่มภี เู ขาล้อมเปน็ คอก) ”เราไดเ้ คยเป็นพระราชา เป็นหวั หนา้ ทหารเดนิ เทา้ ได้ฆา่ บรุ ุษหลายคนด้วยหอก ดว้ ย ผลแห่งกรรมนั้น เราได้หมกไหม้อย่างหนักในนรก ด้วยผลที่เหลือแห่งกรรมนั้น สะเก็ดแผล ทเ่ี ท้าของเราก็กลบั กำ� เรบิ เพราะกรรมยงั ไม่หมด„ ”เราเคยเป็นเด็กชาวประมง ในหมู่บ้านชาวประมง เห็นชาวประมงฆ่าปลาก็มี ความชื่นชม ด้วยผลแห่งกรรมน้ัน เราจึงเกิดเจ็บท่ีศีรษะ ในขณะท่ีวิฏฏุภะ (วิฑูฑภะ) ฆ่าพวก ศากยะ„ (วิฑูฑภะฆ่าพวกศากยะ เพราะโกรธว่าดูหมิ่นเอาน�้ำนมสดล้างท่ีน่ัง เมื่อคราวที่ตนไป เย่ียมญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ วิฑูฑภะเป็นโอรสพระเจ้าปเสนทิโกศล และนางวาสภขัตติยา ผู้เป็นบุตรี เกิดจากนางทาสีของมหานามศากยะ คณะกษัตริย์ศากยะเลือกส่งมาถวายพระเจ้า ปเสนทิเม่ือคราวทรงขออภเิ ษกกบั นางกษัตริยศ์ ากยะ) ”เราได้เคยบริภาษ (ด่าโดยอ้อม) พระสาวกในพระธรรมวินัยของพระผุสสพุทธเจ้าว่า ท่านจงเค้ียวจงกินข้าวเหนียวเถิด อย่ากินข้าวสาลีเลย ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราเลยต้อง บริโภคข้าวเหนียวอยู่ ๓ เดือน ในเมื่อพราหมณ์นิมนต์ไปอยู่ในเมืองเวรัญชา„ (พราหมณ์ นิมนต์ไปจ�ำพรรษาแล้วลืมถวายอาหาร ได้อาศัยพวกพ่อค้าม้าถวายข้าวแดง อาจเป็น ข้าวเหนยี วแดงทสี่ �ำหรบั ใหม้ ้ากิน) ”ในสมัยท่ีไม่มีพระพุทธเจ้า เราได้เคยท�ำร้าย๑ บุตรแห่งนักมวยปล�้ำ ด้วยผลแห่ง กรรมนน้ั เราจึงเกิดเจบ็ ที่หลงั „ ”เราได้เคยเป็นหมอ (แกล้ง) ถ่ายยาบุตรแห่งเศรษฐี (คงเป็นการถ่ายอย่างแรงถึง แกช่ ีวติ ) ดว้ ยผลแหง่ กรรมน้ัน เราจงึ ลงโลหิต (โรคปกั ขนั ทิกะ)„ ๑ มลฺลปุตตํ นเิ สธยึ โดยปกติค�ำว่า นเิ สธ แปลว่า หา้ ม ก้นั กีดกนั ผลัก และแปลวา่ ตอ่ สหู้ รือท�ำใหแ้ พ้กไ็ ด้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 940 5/4/18 2:26 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๒ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ 941 ”เราเป็นผู้ชื่อว่าโชติปาละ ได้เคยกล่าวกะพระสุคตพระนามว่ากัสสปะ ว่าการตรัสรู้ เป็นของได้โดยยาก ท่านจะได้จากควงไม้โพธิท่ีไหนกัน ด้วยผลแห่งกรรมน้ัน เราได้บ�ำเพ็ญ ทุกกรกิริยาเป็นอันมากสิ้นเวลา ๖ ปี ต่อจากน้ันจึงได้บรรลุการตรัสรู้ เรามิได้บรรลุการตรัสรู้ โดยทางนัน้ ได้แสวงหาโดยทางทผ่ี ิด เพราะถกู กรรมเก่าทวงเอา„ ”เราส้ินบุญและบาปแล้ว เว้นแล้วจากความเดือดร้อนท้ังปวง ไม่มีความโศก ไม่มี ความคบั แคน้ ปราศจากอาสวะ จักปรนิ พิ พาน„ (เป็นอันได้แสดงตัวอย่างในอปทาน พอให้ท่านผู้อ่านได้เห็นว่า มีรายละเอียด อย่างไร) จบความย่อแหง่ พระไตรปฎิ ก เลม่ ๓๒ ุขททก ินกาย PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 941 5/4/18 2:26 PM
เลม่ ๓๓ ขทุ ทกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวังสะ จริยาปฎิ ก พระไตรปิฎกเล่มน้ีเป็นเล่มสุดท้ายแห่งพระสุตตันตปิฎก มีข้อความเรื่อง อปทาน ต่อมาจากเล่ม ๓๒ กับมีหัวข้ออื่นอีก ๒ ข้อ คือ พุทธวังสะ (วงศ์แห่งพระพุทธเจ้า) แสดง รายละเอียดเก่ียวกับพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ เร่ิมต้นตั้งแต่พระทีปังกร จนถึงพระพุทธเจ้า ของเรา คือพระสมณโคดม กับหัวข้อใหญ่อีกเร่ืองหน่ึงคือ จริยาปิฎก (คัมภีร์ว่าด้วยจริยา คือ ความประพฤติของพระพุทธเจ้า) เร่ืองน้ีแสดงถึงการที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติบ�ำเพ็ญบารมี ตา่ ง ๆ ต่อไปนี้จะขยายความทั้งสามหวั ขอ้ นนั้ เป็นลำ� ดับไป ขยายความ อปทาน ภาค ๒ ประวตั พิ ระเถระ ๕ รูป มีข้อที่ควรกล่าวก็คือ ในอปทาน ภาค ๑ มีประวัติของพระพุทธเจ้า ๒ เร่ือง ของ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ เร่ือง ประวัติของพระสาวกต่าง ๆ ๔๐๙ เร่ือง รวม ๔๑๒ เรื่อง แต่ใน อปทาน ภาค ๒ นี้ มีประวัติของพระสาวกต่าง ๆ ที่เป็นพระเถระ ๑๔๐ รูป พระเถรี ๔๐ รูป ในที่นี้จะแสดงตัวอย่างอปทาน คือข้ออ้างหรืออดีตประวัติของพระเถระ ๕ รูป ของพระเถรี ๕ รูป คือ ๑. มหากจั จายนเถราปทาน๑ (ขอ้ อ้างหรอื ประวตั ิของพระมหากจั จายนเถระ) ในสมัยของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ข้าพเจ้า (พระมหากัจจายนเถระ) เป็นดาบส อยู่ ณ หิมวันตประเทศ เท่ียวไปผู้เดียว ขณะที่ไปยังถ่ินของมนุษย์ทางอากาศ ได้เห็นพระชินะจึง เข้าไปใกล้ ฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ผู้กำ� ลังพรรณนาคุณอันยิ่งใหญ่ของพระสาวก และ ตั้งเป็นเอตทัคคะ (เป็นยอดหรือเลิศ) ในทางประกาศพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ย่อ ๆ ให้พิสดาร ข้าพเจ้าได้ฟังก็รู้สึกพิศวงจึงไปยังหิมวันตประเทศ รวบรวมดอกไม้น�ำมาบูชา ๑ จากต้นฉบับหน้า ๑๗๙ คำ� วา่ กจั จายนะ หรือกัจจานะ ใชแ้ ทนกันได้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 942 5/4/18 2:26 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๓ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ 943 พระพุทธเจ้า แล้วปรารถนาฐานะเช่นนั้น (ต�ำแหน่งพระสาวกผู้เป็นเลิศทางแสดงธรรมย่อให้ ุขททก ินกาย พิสดาร) พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า ข้าพเจ้าจะได้เป็นสาวกของพระโคดมมหามุนี มนี ามว่า กจั จานะ บรรลฐุ านะ (ท่ีประสงค์) นั้น ก็ได้บรรลุในชาตสิ ุดท้ายนี้สมตามทปี่ รารถนา ๒. มหากัปปินเถราปทาน (ข้ออ้างหรอื ประวัติของพระมหากปั ปนิ เถระ) พระชนิ ะทรงพระนามวา่ ปทมุ ตุ ตร ผู้ถึงฝัง่ แห่งธรรมทงั้ ปวง ทรงอุบตั ิขึน้ ด่งั ดวงอาทติ ย์ อุทัยในอากาศอันปลอดโปร่งในท้องฟ้าฤดูสารท พระนายกน้ัน ทรงยังดอกปทุมคือเวไนยสัตว์ ให้บานด้วยแสง คือค�ำสอน ทรงท�ำเปือกตมคือกิเลสให้แห้งด้วยรังสีคือความรู้๑ ครั้งข้าพเจ้า (พระมหากัปปินเถระ) เป็นอ�ำมาตย์ผู้วินิจฉัยอรรถคดีในหังสนคร (หังสวตี) ได้สดับธรรม ของพระตถาคตผู้ทรงประกาศคุณของพระสาวก นามว่า ชลชุตตมะ ผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ผู้มีสติ ยังใจของข้าพเจ้าให้ร่าเริง ครั้นสดับแล้วก็เกิดปีติโสมนัสนิมนต์พระตถาคต พร้อมท้ังศิษย์สาวกฉันภัตตาหาร แล้วปรารถนาฐานะนั้น (ต�ำแหน่งพระสาวกผู้เลิศใน ทางสอนภิกษุท้ังหลาย) พระตถาคตเจ้าก็ตรัสพยากรณ์ว่า จะได้เป็นผู้มีนามว่ากัปปินะ เป็น สาวกของพระโคดมศาสดา ต่อมาก็ได้ส�ำเร็จสมความประสงค์ พระชินะทรงตั้งข้าพเจ้าใน เอตทคั คะทางใหโ้ อวาทแกภ่ ิกษทุ ง้ั หลาย ๓. ทพั พมลั ลปุตตเถราปทาน (ขอ้ อ้างหรอื ประวตั ขิ องพระทัพพมัลลบุตรเถระ) ในครั้งนั้นข้าพเจ้า (พระทัพพมัลลบุตร) เป็นบุตรเศรษฐี อยู่ในกรุงหังสวดี ได้ฟังค�ำ ของพระปทุมุตตรศาสดา ผู้ทรงประกาศกิตติคุณพระสาวกของพระองค์ผู้จัดเสนาสนะ (ท่ีอยู่ อาศัย) ของภิกษุทั้งหลาย ก็มีใจเบิกบานกระท�ำอธิการ (คุณความดี) แด่พระศาสดาพร้อมทั้ง พระสงฆ์ ปรารถนาฐานะนั้น (ต�ำแหน่งพระสาวกผู้เลิศในทางจัดเสนาสนะ) ก็ได้รับพยากรณ์ว่า จะได้เป็นผู้มีนามว่าทัพพะ เป็นสาวกของพระโคดมศาสดา เป็นผู้เลิศในทางจัดเสนาสนะ จ�ำเนยี รกาลลว่ งมาก็เปน็ ไปสมตามทีป่ รารถนานัน้ ๑ ได้ลองถอดข้อความตอนน้ีออกมาทุกตัวอักษร ให้เห็นความไพเราะในค�ำฉันท์ ความจริงค�ำฉันท์ตลอดเล่มท่ี ๓๒ และ ๓๓ มคี ำ� ส�ำนวนไพเราะเชน่ นโ้ี ดยมาก PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 943 5/4/18 2:26 PM
944 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๔. กมุ ารกสั สปเถราปทาน (ข้ออ้างหรอื ประวตั ขิ องพระกุมารกสั สปเถระ) ในคร้ังนั้น ข้าพเจ้า (พระกุมารกัสสป) เป็นพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง ถึงฝั่งแห่งพระเวท ขณะไปสู่ที่พักกลางวัน ได้เห็นพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกแห่งโลกก�ำลังประกาศ สัจจธรรม ๔ ประการ ยังโลกน้ี พร้อมท้ังเทวโลกให้ต่ืนอยู่ ทรงพรรณนาคุณแห่งพระสาวก ของพระองค์ผู้กล่าวธรรมอันวิจิตร ในท่ามกลางมหาชน ข้าพเจ้าก็มีจิตเบิกบาน นิมนต์ พระตถาคตพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ไปฉันโภชนะมีรสอันเลิศต่าง ๆ ครบ ๗ วัน แล้วปรารถนา ฐานะนั้น (ต�ำแหน่งพระสาวกผู้เลิศในทางกล่าวธรรมอันวิจิตร)๑ ซ่ึงได้รับพยากรณ์ว่า จะเป็น ผู้มีนามว่ากุมารกัสสป เป็นสาวกของพระโคดมศาสดา จ�ำเนียรกาลล่วงมาก็เป็นไปสมตามท่ี ปรารถนานน้ั ๕. มหาโกฏฐิตเถราปทาน (ขอ้ อา้ งหรอื ประวตั ิของพระมหาโกฏฐิตเถระ)๒ ในครั้งนั้น ข้าพเจ้า (พระมหาโกฏฐิตะ) เป็นพราหมณ์ผู้ถึงฝั่งแห่งพระเวทในกรุง หังสวตี ได้เข้าไปเฝ้าพระปทุมุตตรศาสดา ฟังธรรม ครั้งน้ัน พระองค์ทรงตั้งพระสาวกผู้มี ปฏิสัมภิทาแตกฉาน คือฉลาดในอรรถ ในธรรม ในนิรุตติ (ภาษาพูด) และในปฏิภาณ ไว้ใน ต�ำแหน่งอันเลิศ ก็มีใจเบิกบาน จึงนิมนต์พระชินวรพร้อมด้วยพระสาวกไปฉันตลอด ๗ วัน แล้วปรารถนาฐานะนั้น (ตำ� แหนง่ พระสาวกผ้เู ลศิ ในปฏสิ ัมภิทาคือความแตกฉานในอรรถ ธรรม นิรุตติ ปฏิภาณ) ซ่ึงก็ได้รับพยากรณ์ว่า จะเป็นผู้มีนามว่า โกฏฐิตะ เป็นสาวกของ พระโคดมศาสดา จ�ำเนียรกาลลว่ งมาก็ได้เปน็ ไปสมตามท่ีปรารถนานน้ั ๑ คือวิจิตรด้วยอุปมา พระกุมารกัสสปรูปนี้ กล่าวธรรมวิจิตรอย่างไร พึงย้อนไปดูปายาสิราชัญญสูตร ท่ีย่อไว้แล้ว ๒ ในหน้า ๔๗๕ พระสารบิ ุตรเป็นอปุ ชั ฌายะของทา่ น ในอปทานว่า พระมหาโมคคลั ลานะเปน็ อาจารย์ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 944 5/4/18 2:26 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๓ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ 945 ตอ่ ไปนีเ้ ป็นตวั อยา่ งอปทานของพระเถรีอีก ๕ รปู ุขททก ินกาย ประวัตพิ ระเถรี ๕ รูป ๑. มหาปชาบดโี คตมเี ถรยิ าปทาน (ข้ออา้ งหรือประวัติของพระนางมหาปชาบดีเถร)ี พระผู้มีพระภาคประทับ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี พระนางมหา ปชาบดี โคตมี ก็ประทับอยู่ในส�ำนักนางภิกษุณี ใกล้นครน้ัน พร้อมด้วยนางภิกษุณีท้ังหลาย ประมาณ ๕๐๐ รปู ผู้หลดุ พน้ แล้วจากกเิ ลส พระนางทรงพระด�ำรวิ า่ จะมไิ ด้เห็นการปรนิ พิ พาน ของพระพทุ ธเจ้า พระอัครสาวก พระราหุล พระอานนท์ และพระนนทะ จึงทรงปลงอายสุ ังขาร ที่จะปรินิพพาน และจะไปกราบทูลขอพระพุทธานุญาต แม้นางภิกษุณีอ่ืน ๆ ๕๐๐ รูป มี พระนางเขมา เป็นต้น ก็นึกในท�ำนองเดียวกัน จึงพร้อมกันไปเฝ้ากราบทูลลาปรินิพพาน เมื่อ พระผู้มีพระภาคตรัสประทานอนุญาตแล้ว ก็มีผู้เล่ือมใสแสดงความโศก พระนางจึงแสดง ธรรมสั่งสอน และเล่าพระประวัติที่ออกบรรพชาอุปสมบท กับได้ตรัสเล่าพระประวัติใน อดีตกาลทั้งพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ซ่ึงพระนางเกิดเป็นบุตรีของมหาอ�ำมาตย์ผู้มั่งค่ัง มีทรัพย์มาก ได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดาพร้อมด้วยบิดาของตนและหมู่ทาสี ได้เห็นพระศาสดา ทรงตั้งพระน้านางของพระองค์ในเอตทัคคะ จึงถวายทานและปรารถนาต�ำแหน่งน้ันบ้าง ก็ ได้รับพยากรณ์ว่า จะได้เกิดมีนามว่าโคตมี เป็นสาวิกาของพระโคตมพุทธเจ้า ซ่ึงก็ส�ำเร็จสม ตามปรารถนาน้ัน ในประวัตินั้นยังแสดงต่อไปจนถึงสมัยท่ีพระนางมหาปชาบดี โคตมี เสด็จ ดับขันธปรินิพพาน ณ ส�ำนักแห่งนางภิกษุณี ทรงเข้าอนุบุพพวิหาร ๙ โดยอนุโลมและปฏิโลม แล้วทรงกลับเข้ารูปฌานท้ังส่ี ออกจากฌานท่ี ๔ ก็เสด็จปรินิพพาน๑ (อันเห็นได้ชัดว่าเรื่อง อปทานน้ี มิใช่เจ้าของประวัติแต่งเอง แต่มีผู้รวบรวมเร่ืองราวมาแต่งข้ึนในภายหลัง ซึ่งน่าจะ เป็นสมัยท�ำสังคายนา ร้อยกรองพระธรรมวินัย ระหว่างครั้งท่ี ๑ ถึงครั้งท่ี ๓ นอกจากน้ัน ส�ำนวนภาษาบาลีก็ดี ส�ำนวนกวีก็ดี แสดงสมัยว่าต่างจากภาษาบาลีส�ำนวนพระสูตรสมัยแรก แต่โดยเหตุท่ีเรื่องน้ี เป็นเพียงการรวบรวมประวัติท่ีทรงจ�ำกันด้วยปากให้เป็นตัวหนังสือขึ้น การจัดเข้าในสุตตนั ตปิฎกดว้ ย จงึ เปน็ การทำ� ให้ต�ำราทางพระพทุ ธศาสนาสมบูรณข์ น้ึ ) ๑ มหาปรินิพพานสูตร ”ลีลาในการปรินิพพาน„ หน้า ๔๖๓ ด้วย พึงสังเกตว่า ผู้ปรินิพพานแบบน้ี มีพระพุทธเจ้า พระสารบิ ตุ ร (ดูกองทัพธรรมภาค ๓ หนา้ ๓๕๗ - ๓๕๘) กบั พระนางมหาปชาบดี โคตมี นี้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 945 5/4/18 2:26 PM
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 497
- 498
- 499
- 500
- 501
- 502
- 503
- 504
- 505
- 506
- 507
- 508
- 509
- 510
- 511
- 512
- 513
- 514
- 515
- 516
- 517
- 518
- 519
- 520
- 521
- 522
- 523
- 524
- 525
- 526
- 527
- 528
- 529
- 530
- 531
- 532
- 533
- 534
- 535
- 536
- 537
- 538
- 539
- 540
- 541
- 542
- 543
- 544
- 545
- 546
- 547
- 548
- 549
- 550
- 551
- 552
- 553
- 554
- 555
- 556
- 557
- 558
- 559
- 560
- 561
- 562
- 563
- 564
- 565
- 566
- 567
- 568
- 569
- 570
- 571
- 572
- 573
- 574
- 575
- 576
- 577
- 578
- 579
- 580
- 581
- 582
- 583
- 584
- 585
- 586
- 587
- 588
- 589
- 590
- 591
- 592
- 593
- 594
- 595
- 596
- 597
- 598
- 599
- 600
- 601
- 602
- 603
- 604
- 605
- 606
- 607
- 608
- 609
- 610
- 611
- 612
- 613
- 614
- 615
- 616
- 617
- 618
- 619
- 620
- 621
- 622
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 500
- 501 - 550
- 551 - 600
- 601 - 622
Pages: