846 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ต่อจากนั้นตรัสเล่าเรื่องศาสดาชื่อสุเนตตะ ผู้สอนสาวกให้ไปเกิดพรหมโลก ลงมา จนถึงเกิดในคฤหบดีมหาศาล (ในโลกน้ี) แล้วตรัสเล่าถึงสุเนตตศาสดาเจริญเมตตาจิต ๗ ปี ได้ผล (อย่างท่ีตรัสเล่าไว้ในวรรคที่ ๑ ก่อนวรรคนี้) แต่ก็ไม่พ้นไปจากความเกิดแก่เจ็บตาย เป็นต้นได้ ทั้งน้ีเพราะมิได้ตรัสรู้ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ อันเป็นอริยะ ส่วนพระองค์ได้ตรัสรู้ ธรรม ๔ อย่างนนั้ แลว้ ต่อแตน่ จ้ี ึงไมเ่ กดิ อีก ตรัสแสดงถึงพระนครชายแดนของพระราชาทแี่ วดล้อมดว้ ยดีถงึ ๗ ชัน้ ซ่งึ ขา้ ศกึ ไม่พงึ ทำ� อะไรได้ (ไมพ่ งึ เอาชนะได)้ แลว้ ตรสั เปรยี บเทยี บวา่ อรยิ สาวกประกอบดว้ ยสทั ธรรม ๗ ประการ ได้ฌาน ๔ ตามตอ้ งการ มารก็เอาชนะไมไ่ ดเ้ หมอื นกันคอื มศี รทั ธา มีความละอาย มคี วามเกรง กลัวตอ่ บาป สดบั ตรบั ฟังมาก ปรารภความเพยี ร มีสติ มปี ญั ญา ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นผู้ควรของค�ำนับ เป็นเนื้อนาบุญอัน ยอดเยยี่ มของโลก คอื (๑) รธู้ รรม (รคู้ ำ� สอนของพระศาสดามอี งค์ ๙ มสี ตู ร เปน็ ตน้ ) (๒) รอู้ รรถ (รูค้ วามหมายของคำ� สอนนั้น) (๓) รตู้ น (๔) รู้ประมาณ (๕) รกู้ าล (๖) รูบ้ ริษทั (ประชุมชน) และ (๗) รู้บุคคลที่ย่ิงหย่อนกว่ากนั ตรสั เปรยี บเทยี บเรอื่ งการออกบวชของอรยิ สาวก จนถงึ ไดฌ้ านและไดเ้ ปน็ พระขณี าสพ ดว้ ยความเปลีย่ นแปลงของต้นปาริฉัตตกะ ในชัน้ ดาวดงึ ส์ จนถึงมีดอกเบ่งบานในทส่ี ุด ตรัสรับรองภาษิตของพระสาริบุตรในเรื่องคารวะ ๗ (ดังท่ีย่อไว้แล้วใน หน้า ๘๓๘) ทวี่ า่ เม่ือมคี ารวะข้อหน่ึงแลว้ ก็จะมขี อ้ อื่น ๆ ตอ่ ไป ตรสั วา่ ภกิ ษไุ มป่ ระกอบเนอื ง ๆ ซง่ึ ภาวนา (การอบรม) ลำ� พงั เกดิ ความปรารถนา จะให้ จติ พน้ จากอาสวะ ยอ่ มพ้นไมไ่ ด้ เพราะมไิ ดอ้ บรมธรรมะตา่ ง ๆ (โพธิปกั ขยิ ธรรม ๓๗ ประการ ดูเสด็จป่ามหาวัน หน้า ๔๕๙) เปรียบเทียบแม่ไก่ไม่กกไข่ มีแต่ความปรารถนาให้ลูกไก่ ออกจากไข่เปน็ ไปไม่ได้ ในฝา่ ยดีคอื ทสี่ �ำเรจ็ ได้ ทรงแสดงโดยนยั ตรงกนั ขา้ ม ตรัสเร่ืองกองไฟใหญ่ เปรียบเทียบว่า ถ้ากอดกองไฟก็ยังดีกว่าเป็นผู้ทุศีล เป็นต้น ตรัสถึงศาสดาทั้งเจ็ดมีสุเนตตศาสดา เป็นต้น ซ่ึงปราศจากความก�ำหนัดในกาม เป็นเหตุให้ผู้มี จิตประทุษร้ายในท่าน พร้อมด้วยบริษัทประสบส่ิงมิใช่บุญเป็นอันมาก ถ้าท�ำดีต่อท่านก็ให้ผลดี จงึ ควรต้งั จติ ไม่ประทุษรา้ ยในเพอ่ื นพรหมจารี แล้วตรัสแสดง เร่ืองอรกศาสดา ซึ่งสอนสาวกเปรียบเทียบชีวิตมนุษย์ว่าเล็กน้อยถึง ๗ ข้อ ท้งั ๆ ท่ีสมัยนนั้ มนุษย์มอี ายุถึง ๖ หมื่นปี จงึ ควรไมป่ ระมาท จะได้ไมเ่ ดือดรอ้ นภายหลัง PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 846 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต 847 วรรคท่ี ๓ ชอ่ื วินยวรรค วา่ ดว้ ยวินยั ัอง ุคตตร ินกาย ๓. ตรัสแสดงคุณสมบัติของพระวินัยธร (ผู้ทรงวินัย) ๗ อย่าง คือรู้จักอาบัติ มิใช่ อาบัติ อาบัติเบา อาบัติหนัก เป็นผู้มีศีล ได้ฌาน ๔ ท�ำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มี อาสวะ แล้วได้ทรงยักย้ายนัยถึงคุณสมบัติ ๗ ข้อของพระวินัยธรอีกต่าง ๆ ตรัสถึงลักษณะ ตัดสินพระธรรมวินัย ๗ อย่างแก่พระอุบาลี คือเป็นไปเพื่อเบ่ือหน่ายโดยส่วนเดียว เพ่ือคลาย ก�ำหนัด เพื่อดับ เพ่ือสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน แล้วได้ตรัสแสดง อธิกรณสมถะ ๗ คือเคร่ืองระงบั อธิกรณ์ ๗ อยา่ ง (ดูหนา้ ๒๖๗) พระสตู รท่ีไมจ่ ดั เข้าในวรรค ตรัสว่า เพราะเหตุที่ท�ำลายธรรมะ ๗ อย่าง จึงชื่อว่าเป็นภิกษุ คือสักกายทิฏฐิ (ความเห็นเป็นเหตุยึดถือกายของตน) ความลังเลสงสัย การลูบคล�ำศีลและพรต (ถือโชคลาง หรือติดลัทธิพิธี) ราคะ โทสะ โมหะ มานะ และตรัสว่า เพราะสงบ ๗ อย่างข้างต้นได้จึงชื่อว่า สมณะ เพราะลอยธรรมเหล่านี้ได้ จึงชื่อว่า พราหมณ์ เป็นต้น ตรัสถึงอสัทธรรมและสัทธรรม โดยทรงช้ีไปที่ความไม่มีศรัทธา จนถึงมีปัญญาทรามว่า เป็นอสัทธรรม ส่วนสัทธรรม ตรงกันข้าม ตรัสว่า บุคคลท่ีควรแก่ของค�ำนับ ตลอดจนเป็นเน้ือนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก คล้ายกับ ท่ีตรัสไว้แล้ว (ในหน้า ๘๓๕ วรรคแรก) ตรัสว่า ควรเจริญธรรมะ ๗ อย่าง คือ โพชฌงค์ ๗ (ดหู นา้ ๕๑๙ หมวด ๗) สญั ญา ๗ (ดหู นา้ ๑๗๘ ขอ้ ๑๙๖) เพอ่ื ละอปุ กเิ ลส ๑๖ (ดหู นา้ ๕๓๑ ขอ้ ๒) อัฏฐกนิบาต ชมุ นมุ ธรรมะท่ีมี ๘ ข้อ ปณั ณาสก์ หมวด ๕๐ (หมวดนม้ี ี ๕ วรรค ๆ ละประมาณ ๑๐ สูตร วรรคท่ี ๑ ช่อื เมตตาวรรค วา่ ด้วยเมตตา วรรคท่ี ๒ ชอื่ มหาวรรค ว่าด้วยเร่อื งใหญ่ วรรคท่ี ๓ ชื่อคหปตวิ รรค ว่าดว้ ยคฤหบดี วรรคท่ี ๔ ช่อื ทานวรรค ว่าด้วยทานการให้ วรรคที่ ๕ ช่ือ อุโปสถวรรค วา่ ดว้ ยการรักษาอโุ บสถ) วรรคท่ี ๑ ชอื่ เมตตาวรรค วา่ ดว้ ยเมตตา ๑. ตรัสแสดงอานิสงส์ของเมตตา ๘ อย่าง คือหลับเป็นสุข ต่ืนเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นทร่ี ักของมนษุ ย์ เปน็ ท่ีรกั ของอมนษุ ย์ เทวดายอ่ มรกั ษา ไฟ ยาพิษ ศสั ตรายอ่ มไมก่ ล�้ำกราย เม่อื ยังมไิ ดบ้ รรลุธรรมอนั ย่ิงข้นึ ไป กจ็ ะเขา้ ถงึ พรหมโลก ตรสั แสดงเหตปุ จั จยั ๘ ประการ ทเี่ ปน็ ไปเพอื่ ได้ เพอ่ื ความไพบลู บรบิ รู ณ์ แหง่ ปญั ญา อันเป็นเบอ้ื งตน้ แห่งพรหมจรรย์ คือ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 847 5/4/18 2:25 PM
848 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๑) อาศยั ศาสดาหรอื เพอ่ื นพรหมจารที เ่ี คารพ ตงั้ ความละอาย ความเกรงกลวั ตงั้ ความรัก ความเคารพ (๒) อาศัยท่านที่กล่าว เขาไปหาไต่ถามเป็นคร้ังคราว ท่านก็ช่วยช้ีแจงให้คลาย ความสงสัย (๓) ฟังธรรมแลว้ หลีกออกทงั้ ทางกาย ทางจิต (๔) มศี ลี (๕) สดบั ตรบั ฟังมาก (๖) ปรารภความเพียร (๗) เมื่อไปในสงฆ์ไม่พูดเร่ืองที่ไม่สมควร แต่พูดธรรมะเอง หรือเชิญผู้อื่นพูด ไมด่ หู มิน่ การนง่ิ แบบอรยิ ะ (น่ิงแบบรเู้ ทา่ ) (๘) เหน็ ความเกิดความดบั ในขนั ธ์ ๕ เพื่อนพรหมจารีย่อมชมเชยภกิ ษเุ ชน่ นนั้ ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ อย่าง ย่อมไม่เป็นท่ีรักที่พอใจ ไม่เป็นท่ีเคารพ สรรเสรญิ ของเพอื่ นพรหมจารี คอื สรรเสรญิ ผไู้ มเ่ ปน็ ทรี่ กั ตคิ นทเี่ ปน็ ทรี่ กั อยากไดล้ าภ สกั การะ ไม่ละอาย ไม่เกรงกลัวต่อบาป มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม และได้แสดงนัยอนื่ อีก โดยเปลี่ยนข้อธรรมเล็กนอ้ ย ตรสั แสดงโลกธรรม (ธรรมประจำ� โลก) ๘ อยา่ ง คอื ลาภ มิใช่ลาภ ยศ มิใชย่ ศ นินทา สรรเสริญ สขุ ทกุ ข์ ซงึ่ บุถุชนไมร่ ู้เท่า มคี วามยนิ ดียนิ รา้ ย แต่อรยิ สาวกรูเ้ ท่า ไม่ยนิ ดียินรา้ ย ตรัสสอนภิกษุท้ังหลายว่า การท่ีภิกษุพิจารณาถึงความวิบัติของตนและคนอ่ืน พิจารณาถึงสมบัติของตนและคนอ่ืนโดยกาลอันควร เป็นการดี และตรัสว่า พระเทวทัตถูก อสทั ธรรม ๘ คือโลกธรรมครอบงำ� จติ เป็นผู้ไปสู่อบาย นรก อยา่ งไมม่ ที างแก้ ตรัสสอนให้อยู่อย่างครอบง�ำ (เป็นนายเหนือ) ลาภ มิใช่ลาภ ยศ มิใช่ยศ สักการะ มิใช่สักการะ ความปรารถนาลามก ความเป็นผู้คบมิตรชั่ว มีเรื่องเล่าถึงพระอุตตระ เกี่ยวกับ คตธิ รรมด่งั กล่าวข้างต้น ตรัสถึงพระนนทะศากยะ ว่าเป็นกุลบุตร มีก�ำลัง น่าเลื่อมใส มีราคะกล้า แต่ก็อาจ ประพฤติพรหมจรรยใ์ หบ้ รบิ ูรณ์ บริสทุ ธิ์ไดเ้ พราะสำ� รวมอนิ ทรยี ์ รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบ ความเพียรเป็นเครื่องตนื่ ประกอบด้วยสติสัมปชญั ญะ ตรัสแนะให้ก�ำจัดภิกษุผู้ถูกโจทท้วงเพราะอาบัติ กลับพูดถลากไถลแสดงความโกรธ เคอื ง เพอื่ มใิ ห้ประทุษร้ายภกิ ษุทด่ี ี ๆ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 848 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต 849 วรรคที่ ๒ ชอื่ มหาวรรค ว่าดว้ ยเรอื่ งใหญ่ ัอง ุคตตร ินกาย ๒. ตรัสตอบเวรัญชพราหมณ์ ผู้ว่ากล่าวพระองค์ด้วยค�ำกระทบต่าง ๆ ตรัสช้ีให้ มคี วามหมายไปในทางดี ในทางท่ีแสดงว่าพระองค์ปราศจากกเิ ลส แล้วตรัสวา่ พระองคเ์ ปรยี บ เหมือนลูกไก่ท่ีท�ำลายกะเปาะไข่ออกมาก่อน เพราะทรงท�ำลายกะเปาะไข่คืออวิชชาได้ จึงควร กล่าวได้ว่า พระองค์เป็นพ่ี (ผู้แก่กว่าใครในโลก) แล้วตรัสแสดงถึงการที่พระองค์ได้ฌาน ๔ ได้วิชชา ๓ คือระลึกชาติได้ มีทิพยจักษุ และท�ำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ เป็นท่ีสุด เวรัญชพราหมณเ์ ลื่อมใส แสดงตนเป็นอบุ าสกถงึ พระรัตนตรยั เปน็ สรณะตลอดชวี ติ ตรสั แสดงธรรมแกส่ หี เสนาบดี ถงึ เรอ่ื งทมี่ ผี กู้ ลา่ วหาวา่ พระองคเ์ ปน็ อกริ ยิ วาทะ (ผพู้ ดู ว่าท�ำดี ท�ำช่ัว ไม่เป็นอันท�ำ) เป็นต้น โดยทรงช้ีแจงว่า พระองค์สอนไม่ให้ท�ำชั่ว เป็นต้น สหี เสนาบดเี ลอื่ มใสแสดงตนเปน็ อบุ าสก ถงึ พระรตั นตรยั เปน็ สรณะตลอดชวี ติ (โปรดดหู นา้ ๓๓๕ ประกอบดว้ ย) ตรัสแสดงม้าอาชาไนย ที่ประกอบด้วยองค์ ๘ เปรียบด้วยภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๘ คอื (๑) เกิดดีจาก ๒ ฝา่ ย คือมารดาและบิดา เกดิ ในทิศทีม่ า้ อาชาไนยทด่ี ีอน่ื ๆ เกิด (๒) ยอ่ มกนิ อาหารสดหรอื แหง้ ทเ่ี ขาใหด้ ว้ ยความเคารพ (ดว้ ยอาการอนั ดงี าม) ไมท่ ำ� หก (๓) รงั เกยี จทีจ่ ะน่งั หรอื นอนทบั อจุ จาระปัสสาวะ (๔) มคี วามยนิ ดี มีความอยรู่ ่วมเปน็ สขุ ไมข่ ่มข่มู ้าอ่ืน (๕) เปดิ เผยความพยศคดโกงตามเปน็ จริง ซึง่ สารถกี จ็ ะพยายามแก้ไข (๖) เป็นสตั วเ์ อาภาระ (อรรถกถาแก้ว่า ปฏิบตั ิตามคำ� สง่ั ) โดยคดิ วา่ มา้ อ่นื จะเอา ภาระหรอื ไมก่ ็ตาม เราจกั เอาภาระในท่นี ้ี (๗) ย่อมไปโดยทางตรง (๘) มเี รี่ยวแรง มา้ อาชาไนยประกอบด้วยองค์ ๘ เหลา่ นี้ ย่อมควรแก่พระราชา ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ก็ควรของค�ำนับ เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม ของโลก คือ (๑) มีศีล (๒) บรโิ ภคดว้ ยความเคารพ (ดว้ ยอาการอนั ดงี าม) ซงึ่ อาหารทเี่ ขาถวายเศรา้ หมอง หรอื ประณีตกต็ าม ไมเ่ ดอื ดรอ้ น (๓) รงั เกียจทจุ จรติ ทางกาย วาจา ใจ รงั เกยี จการประกอบดว้ ยอกุศลบาปธรรม PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 849 5/4/18 2:25 PM
850 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๔) มคี วามยนิ ดี มคี วามอย่รู ่วมเป็นสขุ ไมข่ ม่ ขูภ่ ิกษอุ น่ื (๕) เปิดเผยความพยศคดโกงในพระศาสดาหรือเพ่ือนพรหมจารี ซ่ึงท่าน เหลา่ น้ันย่อมพยายามแก้ไข (๖) เปน็ ผู้ศกึ ษา โดยคดิ วา่ ผ้อู ืน่ จะศึกษาหรือไม่กต็ าม เราจักศึกษา (๗) ไปโดยทางตรง คอื อริยมรรคมีองค์ ๘ มีความเหน็ ชอบ เปน็ ตน้ (๘) ปรารภความเพียร ตรสั แสดงม้าทมี่ ีโทษ ๘ ประการ เทียบดว้ ยบุรุษทม่ี โี ทษ ๘ ประการ โดยแสดงถึงม้าที่ สงั่ การอยา่ งหนง่ึ แตท่ ำ� ไปเสยี อยา่ งอนื่ เปรยี บเหมอื นภกิ ษทุ ไ่ี มด่ ี ตอ้ งอาบตั ิ ถกู ตกั เตอื น กก็ ลา่ ว วา่ ระลกึ ไม่ได้ เปน็ ตน้ ตรัสแสดงมลทิน ๘ ประการ คือ (๑) การไมท่ อ่ งบน่ เป็นมลทินของมนต์ (๒) ความไมข่ ยันเปน็ มลทนิ ของบา้ นเรือน (๓) ความเกยี จคร้านเปน็ มลทนิ ของผวิ พรรณ (๔) ความประมาทเปน็ มลทินของผู้รกั ษา (๕) ความประพฤติชว่ั เป็นมลทินของหญิง (๖) ความตระหนี่เป็นมลทินของผใู้ ห้ (๗) อกุศลบาปธรรมเปน็ มลทินทง้ั ในโลกนี้และโลกหน้า (๘) อวชิ ชาเปน็ มลทินอย่างย่งิ ตรสั แสดงวา่ ภกิ ษปุ ระกอบดว้ ยองค์ ๘ ควรไปทำ� การทตู คอื รจู้ กั ฟงั รจู้ กั ทำ� ใหผ้ อู้ น่ื ฟงั เรียนรู้ ทรงจำ� รทู้ �ำให้ผอู้ ื่นรู้ ฉลาดในประโยชน์ มิใชป่ ระโยชน์ ไม่ชวนทะเลาะ ตรสั สรรเสริญพระสาริบุตร ว่า มีคุณสมบตั ิ (ของนกั การทตู ) เช่นน้ัน ตรัสว่า หญิงชายย่อมผูกพันกันด้วยอาการ ๘ ประการ คือรูป การหัวเราะ การพูด การรอ้ งเพลง การร้องไห้ อากปั ปกริ ยิ า ของขวัญ และผสั สะ ตรสั ตอบทา้ วปหาราทะผเู้ ปน็ จอมแหง่ อสรู ถงึ การทภ่ี กิ ษทุ งั้ หลายยนิ ดใี นพระธรรมวนิ ยั นี้ ซ่ึงมีความอัศจรรย์ ๘ ประการ (เทียบด้วยความอัศจรรย์ ๘ อย่างของมหาสมุทรท่ีท้าว ปหาราทะกราบทูล) คอื (๑) ในพระธรรมวินัยนี้ มีการศึกษา การกระท�ำและข้อปฏิบัติโดยล�ำดับ ไม่ใช่ เร่ิมต้นก็การตรัสรู้อรหัตตผล เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีความลุ่มลึกโดย ลำ� ดบั ไม่ใชเ่ รมิ่ ตน้ ก็ลกึ เปน็ เหว PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 850 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต 851 (๒) พระสาวกย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทท่ีพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แม้ ัอง ุคตตร ินกาย เพราะเหตุแห่งชีวิต เปรียบเหมือนมหาสมุทรซ่ึงมีความหยุดเป็นธรรมดา ไม่ล่วงเลยฝงั่ ไป (๓) สงฆย์ อ่ มไมอ่ ยรู่ ว่ มกบั บคุ คลผทู้ ศุ ลี ยอ่ มประชมุ กนั ยกออก (จากหม)ู่ แมเ้ ธอ จะนงั่ อยใู่ นทา่ มกลางสงฆ์ กช็ อื่ วา่ ไกลจากสงฆ์ เปรยี บเหมอื นมหาสมทุ รทซ่ี ดั ซากศพเข้าส้ฝู ่งั โดยพลนั (๔) วรรณะ ๔ เมอื่ บวชในพระธรรมวนิ ยั นี้ ยอ่ มละชอื่ และโคตรเดมิ ถงึ การนบั วา่ สมณศากยบุตร เปรียบเหมือนแม่น�้ำใหญ่ต่าง ๆ เช่น คงคา ยมุนา เม่ือถึง มหาสมุทรยอ่ มละชอ่ื และโคตรเดมิ ถึงการนับวา่ สมุทร (๕) แมภ้ กิ ษเุ ปน็ อนั มากจะปรนิ พิ พานดว้ ยอนปุ าทเิ สสนพิ พานธาตุ แตค่ วามพรอ่ ง หรือความเต็มแห่งนิพพานธาตุ ก็ไม่ปรากฏเพราะเหตุน้ัน เปรียบเหมือน ความพร่องหรือความเต็มแห่งมหาสมุทรไม่ปรากฏเพราะสายน�้ำตกลง มาจากอากาศ (๖) พระธรรมวินัยมีรสเดียว คือมีวิมุติ (ความหลุดพ้น) เป็นรส เปรียบเหมือน มหาสมทุ รท่ีมรี สเดียว คือรสเค็ม (๗) พระธรรมวนิ ยั นมี้ รี ตนะเปน็ อนั มาก เชน่ สตปิ ฏั ฐาน ๔ เปน็ ตน้ จนถงึ อรยิ มรรค มีองค์ ๘ (โพธิปักขิยธรรม ๓๗) เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรตนะมาก เช่น มุกดา มณี ไพฑรู ย์ เปน็ ต้น (๘) พระธรรมวินัยนี้ เป็นท่ีอยู่ของผู้ใหญ่ คือพระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพ่ือท�ำ ใหแ้ จ้งโสดาปตั ตผิ ล จนถึงพระอรหันต์ ทา่ นผูป้ ฏบิ ัตเิ พื่ออรหัตตผล เปรยี บ เหมือนมหาสมุทรเป็นท่ีอยู่แห่งสัตว์ใหญ่ มีปลาติมิติมิงคละ ติมิรมิงคละ อสรู นาค คนธรรพ์๑ ในวนั อโุ บสถ พระผมู้ พี ระภาคประทบั นง่ั มภี กิ ษสุ งฆแ์ วดลอ้ ม เมอ่ื ปฐมยาม๒ ลว่ งแลว้ พระอานนทจ์ งึ กราบทลู อาราธนาใหแ้ สดงปาฏโิ มกข์ กท็ รงนง่ิ เมอื่ มชั ฌมิ ยามลว่ งแลว้ พระอานนท์ กราบทลู อาราธนาอกี กท็ รงนงิ่ ครนั้ ปจั ฉมิ ยามลว่ งแลว้ จะรงุ่ อรณุ พระอานนทก์ ราบทลู อาราธนา อีก จึงตรสั ว่า บริษัทไม่บริสทุ ธ์ิ พระมหาโมคคลั ลานะพิจารณาดู กท็ ราบวา่ มภี ิกษุทุศลี นั่งปนอยู่ ๑ มีข้อน่าสังเกตพิเศษส�ำหรับคนธรรพ์ว่าอยู่ในมหาสมุทร แต่ในที่อื่นมีกล่าวว่า อยู่ที่ต้นไม้ ดูหน้า ๗๐๕ หมายเลข ๒ ๑๐ ประกอบด้วย ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยาม ๑ มี ๔ ช่ัวโมง ปฐมยามเริ่ม ๑๘.๐๐ น. มัชฌิมยามเร่ิม ๒๒.๐๐ น. ปจั ฉิมยามเร่มิ ๐๒.๐๐ น. - ม.พ.ป. PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 851 5/4/18 2:25 PM
852 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ในที่นั้น จึงว่ากล่าว จูงมือเธอออกไปจากนอกซุ้มประตู ใส่ดาลประตูแล้วมากราบทูล พระผู้มี พระภาคตรสั วา่ บัดน้ี ทา่ นทง้ั หลายพงึ ทำ� อุโบสถ แสดงปาฏโิ มกขก์ นั เอง ตั้งแต่วนั นไี้ ปเราจักไม่ แสดงปาฏิโมกข์ เพราะมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่พระตถาคตจักแสดงปาฏิโมกข์ในบริษัทที่ ไมบ่ รสิ ทุ ธแ์ิ ลว้ ตรสั แสดงเรอื่ งความอศั จรรยข์ องมหาสมทุ ร ๘ ประการ เทยี บกบั ความอศั จรรย์ พระธรรมวนิ ยั นดี้ ังทต่ี รัสแลว้ วรรคท่ี ๓ ชอื่ คหปตวิ รรค ว่าดว้ ยคฤหบดี ๓. อุคคคฤหบดีชาวกรุงเวสาลี เรียนแก่ภิกษุทั้งหลายถึงความอัศจรรย์ ๘ ประการ ของตน คอื (๑) เห็นพระผู้มีพระภาคแต่ไกลก็เล่อื มใส (๒) เม่ือเข้าไปเฝ้าได้ฟังอนุปุพพิกถากับอริยสัจจ์ ๔ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ถงึ พระรตั นตรัยเปน็ สรณะ สมาทานสกิ ขาบทมีพรหมจรรย์๑ เป็นที่ ๕ (๓) ตนมภี รรยาสาว ๔ คน จงึ แจง้ ใหน้ างทราบวา่ ตนสมาทานสกิ ขาบทมพี รหมจรรย์ เปน็ ที่ ๕ ผใู้ ดปรารถนาจะอยู่ กจ็ งใชท้ รพั ยท์ ำ� บญุ ไป หรอื จะไปสตู่ ระกลู ญาติ ของตน หรือต้องการให้เรายกให้แก่บุรุษใดก็ได้ ภริยาคนใหญ่จึงแจ้งความ ประสงคใ์ หใ้ ห้แกบ่ ุรษุ ผ้มู ีช่ืออย่างน้ันอย่างน้ี ตนกใ็ ห้ไป ไมม่ ีจติ ผดิ ปกติ (๔) โภคทรพั ยใ์ นตระกลู ของตนถอื เปน็ ของสาธารณะ สำ� หรบั ผมู้ ศี ลี มกี ลั ยาณธรรม (๕) เข้าไปหาภกิ ษุ ด้วยความเคารพ (๖) ถา้ ทา่ นแสดงธรรม ตนกฟ็ งั โดยเคารพ ถา้ ทา่ นไมแ่ สดงธรรม ตนกแ็ สดงธรรม แก่ทา่ น (๗) มีเทวดามาบอกวา่ พระผูม้ ีพระภาคตรัสธรรมไวด้ ีแลว้ ตนกต็ อบว่า ทา่ นจะ บอกหรอื ไมบ่ อกกต็ าม พระผมู้ พี ระภาคกต็ รสั ธรรมไวด้ แี ลว้ จติ ของตนไมฟ่ ู เพราะเหตุทีเ่ ทวดามาหา หรือเพราะได้พูดกับเทวดา (๘) ตนละสญั โญชน์ ๕ เบอ้ื งต่ำ� ได้ (เป็นพระอนาคาม)ี ๑ น่าจะหมายความวา่ รกั ษาศีล ๕ ยกข้อ ๓ คอื ประพฤติผิดในกามออก เล่อื นข้อ ๔ - ๕ ไปไวเ้ ป็นขอ้ ที่ ๓ - ๔ แลว้ สมาทานข้อ ๕ เวน้ จากอพรหมจรรย์คือการเสพกาม PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 852 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต 853 ตรสั ถงึ ความอศั จรรย์ ๘ ประการของอุคคคฤหบดีชาวหัตถคิ าม ในทำ� นองคล้ายคลงึ ัอง ุคตตร ินกาย กัน รวมทั้งคฤหบดีอื่นว่าประกอบด้วยความอัศจรรย์ ๗ ประการ (น้อยกว่าผู้อ่ืน ๑ ข้อ) คือ หตั ถกะชาวเมืองอาฬวี (ประกอบดว้ ยอรยิ ทรพั ย์ ๗) ต่อมาตรสั สรรเสรญิ หตั ถกะ (อบุ าสก) ว่า สงเคราะห์บริษัท ๔ ด้วยสังคหวัตถุ (ธรรมเป็นที่ต้ัง หรือเป็นเร่ืองของการสงเคราะห์) ๔ อย่าง และตรัสสรรเสรญิ ว่า มีความอศั จรรย์ ๘ เพิ่มความเปน็ ผ้มู ีความปรารถนาน้อย ตรัสแสดงเหตุท่ีให้เป็นอุบาสก เป็นต้น แก่มหานามศากยะว่า ถึงพระรัตนตรัยเป็น สรณะ ชอื่ วา่ เปน็ อบุ าสก มศี ลี ๕ ชอ่ื วา่ มศี ลี มคี ณุ ธรรมดว้ ยตนเองแตไ่ มช่ กั ชวนผอู้ นื่ ชอื่ วา่ ปฏบิ ตั ิ เพื่อประโยชน์ตนแต่ไม่ปฏิบัติเพ่ือประโยชน์คนอื่น มีคุณธรรมเองด้วย ชักชวนผู้อ่ืน ชอ่ื ว่าปฏิบตั ทิ ้ังเพ่ือประโยชนต์ นและคนอื่น ตรัสตอบหมอชวี กในท�ำนองเดียวกนั ตรัสแสดงก�ำลงั ๘ ประการ คือ (๑) เด็กมีการรอ้ งไห้เป็นกำ� ลงั (๒) สตรีมีความโกรธเปน็ กำ� ลัง (๓) โจรมีอาวธุ เป็นกำ� ลงั (๔) พระราชามอี สิ ริยะ (ความเป็นใหญ)่ เป็นกำ� ลัง (๕) คนพาลมกี ารเพง่ โทษผู้อนื่ เป็นก�ำลงั (๖) บณั ฑติ มกี ารเพง่ โทษตนเองเปน็ กำ� ลงั (๗) ผสู้ ดบั มากมกี ารพจิ ารณาเปน็ กำ� ลงั (๘) สมณพราหมณม์ ขี ันติ (ความอดทน) เปน็ กำ� ลัง (หมายเหตุ : คำ� วา่ บัณฑิตมกี ารเพ่งโทษตนเองเปน็ กำ� ลงั แปลจากค�ำว่า นชิ ฌฺ ตฺติพลา ปณฑฺ ิตา ซึง่ พระเถระผ้ใู หญ่ในเมอื งไทยท่านเคยแปลไวอ้ ย่างนั้น แต่ในอรรถกถาแกว้ า่ บัณฑติ มิไดเ้ พ่งโทษแบบคนพาล แต่เพง่ ประโยชน์และมใิ ช่ประโยชน)์ พระสาริบุตรกราบทูลแสดงก�ำลัง ๘ ประการของภิกษุผู้ส้ินอาสวะ (ขีณาสพ) คือ (๑) เหน็ ดว้ ยดซี งึ่ สงั ขารวา่ ไมเ่ ทย่ี งดว้ ยปญั ญาอนั ชอบ (๒) เหน็ ดว้ ยดวี า่ กามเปน็ เหมอื นหลมุ ถา่ น เพลิง (๓) มีจิตน้อมไปสู่ความสงัด (๔) - (๘) เจริญสติปัฏฐาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ โพชฌงค์ ๗ อรยิ มรรคมอี งค์ ๘ ด้วยดี ตรัสแสดงขณะหรอื สมยั อนั ไมส่ มควร เพอื่ อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการ คือ (๑) เกดิ ในนรก เมื่อพระพุทธเจา้ ทรงเกิดขึ้นแสดงธรรม (๒) เกดิ ในก�ำเนิดดิรัจฉาน (๓) เกดิ ในภมู แิ หง่ เปรต PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 853 5/4/18 2:25 PM
854 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๔) เกิดในเทพนิกายทม่ี ีอายยุ นื (๕) เกดิ ในชนบทชายแดน (๖) เกิดในเผา่ มลิ กั ขะ ผไู้ ม่มีความรแู้ จ้ง (๗) เกดิ ในมธั ยมชนบท แตม่ ีความเห็นผดิ (๘) เกดิ ในมัธยมชนบท แตม่ ีปญั ญาทราม ตรัสแสดงมหาปุรสิ วิตก (ความคดิ หรือความตรึกของมหาบรุ ุษ) ๘ ประการ คอื ธรรม น้ีของผู้มีความปรารถนาน้อย ผู้สันโดษ ผู้สงัด ผู้ปรารภความเพียร ผู้มีสติตั้งมั่น ผู้มีจิต ตง้ั มน่ั (เปน็ สมาธ)ิ ของผมู้ ปี ญั ญา (๗ ขอ้ นพี้ ระอนรุ ทุ ธท์ า่ นคดิ ได้ พระผมู้ พี ระภาคตรสั เพมิ่ เตมิ ข้อสุดทา้ ย คอื ) ธรรมนีข้ องผไู้ มเ่ นิน่ ชา้ พระอนุรุทธป์ ฏบิ ัตติ ามกไ็ ดส้ ำ� เรจ็ เป็นพระอรหันต์ วรรคท่ี ๔ ชอ่ื ทานวรรค วา่ ดว้ ยทาน การให้ ๔. ตรสั แสดงทาน ๘ อยา่ ง (๑) พบเข้ากใ็ หท้ าน (๒) ใหท้ านเพราะกลวั (๓) ใหท้ านเพราะคดิ วา่ เขาเคยใหแ้ กเ่ รา (๔) ใหท้ านเพราะคดิ ว่าเขาจักใหแ้ กเ่ รา (๕) ให้ทานเพราะคิดวา่ ทานเปน็ ของดี (๖) ใหท้ านเพราะคดิ วา่ เราหงุ ต้ม แต่สมณะเหล่าน้ีมิได้หงุ ต้ม (๗) ให้ทานหวังกติ ตศิ ัพท์ (๘) ให้ทานเพ่ือเป็นเครื่องประดับเป็นเคร่ืองประกอบจิต (เพ่ือให้จิตอ่อนควรแก่ คุณธรรมสงู ข้นึ ไป) และตรัสแสดงทานวัตถุ ๘ อย่างคล้ายคลึงกัน ตรัสแสดงสมณพราหมณ์ผู้ประกอบ ดว้ ยองค์ ๘ คอื มคี วามเหน็ ผิด จนถึงมีความตงั้ ใจม่ันผดิ สว่ นในทางดี มีความเห็นชอบ จนถึง ความตงั้ ใจม่ันชอบ (มรรคมีองค์ ๘) ว่าเปน็ เหมอื นนาเลวนาดี ตรสั แสดงความเกดิ ในทตี่ า่ ง ๆ ดว้ ยอำ� นาจทาน (ทานปู ปตั ต)ิ ๘ ประการ คอื (๑) กษตั รยิ ์ พราหมณ์หรอื คฤหบดีมหาศาล (๒) - (๗) เทพ ๖ ช้ัน (๘) เทพพวกพรหม ทง้ั แปดอย่างน้จี ะ สำ� เรจ็ ไดก้ ็ดว้ ยมศี ีล ไมใ่ ช่ผู้ทุศลี และเฉพาะขอ้ ๘ ต้องปราศจากราคะด้วย ตรสั แสดงบุญกิรยิ าวตั ถุ (เรอื่ งของการท�ำบญุ ) ๓ ประการ คือ บญุ ญกิรยิ าวัตถสุ ำ� เร็จ ดว้ ยทาน ศลี ภาวนา (การอบรม) คือ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 854 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต 855 (๑) ทำ� ๒ ข้อแรกน้อย ไม่มีข้อหลงั เลย ทำ� ใหต้ ายไปแลว้ เกดิ มสี ว่ นชั่วในมนุษย์ ัอง ุคตตร ินกาย (๒) ท�ำ ๒ ขอ้ แรกพอประมาณ ไม่มีขอ้ หลังเลย ท�ำให้เกิดมสี ว่ นดีในมนุษย์ (๓) ทำ� ๒ ข้อแรกมาก แตไ่ ม่มีขอ้ หลังเลย ทำ� ให้เกิดในเทพชัน้ จาตมุ มหาราช (๔) - (๘) ทำ� เหมอื นขอ้ ท่ี ๓ ทำ� ใหเ้ กดิ ในเทพชน้ั ดาวดงึ ส์ ชน้ั ยามะ ชนั้ ดสุ ติ ชน้ั นมิ มานรดี ชนั้ ปรนมิ มติ วสวัตตี ตรสั แสดงสัปปุรสิ ทาน (ทานของคนด)ี ๘ ประการ คอื ให้สงิ่ สะอาด ใหส้ ง่ิ ประณีต ให้ ตามกาล ใหส้ ่ิงทคี่ วร เลือกแล้วจึงให้ ให้เนือง ๆ ขณะให้จิตเล่อื มใส ให้แลว้ ก็อม่ิ ใจ ตรัสว่า สัปปุริสะ (คนดี) เมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก คือ แกม่ ารดาบดิ า แกบ่ ตุ รภรยิ า แกท่ าสและกรรมกร แกม่ ติ รสหาย แกผ่ ลู้ ว่ งลบั ไปกอ่ น แกพ่ ระราชา แก่เทวดา แก่สมณพราหมณ์ ตรสั แสดงความไหลมาแห่งบญุ ๘ ประการ คือ (๑) - (๓) ถึงพระพุทธ พระธรรม พระ สงฆ์ เปน็ สรณะ (๔) - (๘) เวน้ จากการล่วงละเมิดศีล ๕ (ถือวา่ เปน็ การให้ความไม่มีภยั ไม่มเี วร ไม่มคี วามเบียดเบยี น แก่สตั ว์ไมม่ ีประมาณ) ตรสั แสดงโทษของกายทจุ จรติ ๓ วจีทุจจรติ ๔ และด่มื สรุ า วา่ ถา้ ทำ� ใหม้ าก เป็นเหตุ ใหไ้ ปสนู่ รก กำ� เนดิ ดริ จั ฉาน และภมู แิ หง่ เปรต สว่ นโทษอยา่ งเบาเฉพาะขอ้ มดี งั น้ี ๑ ฆา่ สตั ว์ ทำ� ให้ มีอายุนอ้ ย ลกั ทรพั ย์ ทำ� ใหโ้ ภคะพินาศ ประพฤติผดิ ในกาม ทำ� ใหม้ ีเวรจากศตั รู พูดปด ท�ำให้ ถูกกล่าวตู่ พูดส่อเสียด ท�ำให้แตกจากมิตร พูดค�ำหยาบ ท�ำให้ได้ยินได้ฟังส่ิงท่ีไม่น่าพอใจ พูดเพ้อเจ้อ ทำ� ใหม้ วี าจาไม่มีใครเช่อื ดมื่ สรุ าเมรยั ท�ำใหเ้ ป็นบ้า วรรคท่ี ๕ ชื่ออโุ ปสถวรรค วา่ ด้วยการรักษาอโุ บสถ ๕. ตรัสว่า อุโบสถม๑ี องค์ ๘ ท่ีอยู่จ�ำแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก คือให้พิจารณา เทียบเคียงว่าพระอรหันต์ท่านงดเว้นตลอดชีวิต แต่เรางดเว้นตลอดวันหน่ึงกับคืนหนึ่ง ก็ชื่อว่า กระท�ำตามพระอรหันต์ ตรัสแสดงผลของอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ว่า ยิ่งกว่าเสวยราชย์ ในมหาชนบท ๑๖ แคว้น มีอังคะ มคธ เป็นต้น ตรัสสอนนางวิสาขาและวาเสฏฐอุบาสกและ โพชฌาอุบาสิกาถึงเร่ืองผลของอุโบสถในท�ำนองเดียวกัน ตรัสแสดงธรรมแก่พระอนุรุทธ์ ถึง เรือ่ งสตรปี ระกอบดว้ ยธรรม ๘ ประการ เกิดในเทพผู้มกี ายอนั น่าพอใจ คือ (๑) - (๕) ขอ้ แรก ๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เสพเมถุน พูดปด ดื่มสุราเมรัย กินอาหารในเวลาเท่ียงแล้วถึงรุ่งอรุณวันใหม่ ฟอ้ นรำ� ขับรอ้ งประโคม ดูการเลน่ ทัดทรงดอกไมข้ องหอม ใชท้ ่นี ง่ั นอนสงู ใหญย่ ัดนนุ่ และสำ� ลี PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 855 5/4/18 2:25 PM
856 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ เหมือนกับที่ตรัสไว้แล้ว (ในหน้า ๗๙๙ วรรคแรก) (๖) ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (๗) มีศีล (๘) มีการบรจิ าค ตรัสแสดงธรรมแก่นางวิสาขา และแก่คฤหปตานีมารดาของนกุลมาณพ ในท�ำนอง เดียวกบั ท่ีตรัสแกพ่ ระอนรุ ุทธ์ ตรัสแก่นางวิสาขา ถึงเรื่องสตรีประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นผู้ปฏิบัติเพ่ือมีชัยในโลกนี้ คอื จดั การงานดี สงเคราะห์บริวารชนดี ประพฤติสง่ิ ท่ีพอใจของสามี รกั ษาทรพั ยท์ สี่ ามีหามาได้ กบั สตรปี ระกอบดว้ ยองค์ ๔ เปน็ ผปู้ ฏบิ ตั เิ พอ่ื มชี ยั ในโลกหนา้ คอื มศี รทั ธา ศลี การบรจิ าค ปญั ญา วรรคทไ่ี ม่จดั เขา้ ในหมวด ๕๐ (แบ่งออกเป็นวรรคเล็ก ๕ วรรค ๆ ละประมาณ ๑๐ สูตร วรรคท่ี ๑ ชื่อสันธาน วรรค ว่าด้วยความตั้งอยู่ด้วยดี วรรคที่ ๒ ช่ือจาลวรรค ว่าด้วยเร่ืองแผ่นดินไหว วรรคที่ ๓ ชือ่ ยมกวรรค ว่าดว้ ยธรรมที่เปน็ คู่กนั วรรคท่ี ๔ ชือ่ สติวรรค ว่าดว้ ยสติ วรรคท่ี ๕ ไมม่ ชี ื่อ) วรรคที่ ๑ ชือ่ สันธานวรรค ว่าด้วยความต้งั อย่ดู ้วยดี ๑. มีเร่ืองเล่าเก่ียวกับพระนางมหาปชาบดี โคตมี กราบทูลขอบวชเป็นภิกษุณี ใน ช้ันแรกตรัสปฏิเสธ แต่เม่ือพระอานนท์ช่วยกราบทูล ก็ตรัสอนุญาตให้พระนางบวชด้วย ครุธรรม (ธรรมท่ีควรเคารพ) ๘ ประการ (ดูรายละเอียดที่แปลไว้จากวินัยปิฎกซ่ึงพ้องกัน หนา้ ๑๒๒ หมายเลข ๘๓ และหน้า ๓๙๑ - ๓๙๒ ลกั ษณะตดั สินพระธรรมวินยั ) ตรสั แสดงธรรมแกบ่ ตุ รแหง่ โกลยิ กษตั รยิ ช์ อื่ ฑฆี ชาณุ เรอื่ งธรรมทเี่ ปน็ ไปเพอื่ ประโยชน์ ปัจจบุ นั ๔ ประการ คือถงึ พร้อมดว้ ยความหม่นั การรกั ษา (ทรัพย์ทหี่ ามาได)้ คบคนดเี ป็นมติ ร เลยี้ งชวี ติ โดยสมำ�่ เสมอ (ไมฟ่ มุ่ เฟอื ยหรอื ฝดื เคอื งเกนิ ไป) เรอื่ งปากทางแหง่ ความเสอื่ มทรพั ย์ ๔ ประการ คือเป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร ฝ่ายดีคือ ปากทางแหง่ ความเจริญตรงกันข้าม เรื่องธรรมท่ีเป็นไปเพื่อประโยชน์อนาคต ๔ ประการ คือถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ (การบรจิ าค) ปัญญา และตรัสแก่อชุ ชยพราหมณ์ในท�ำนองเดยี วกัน ตรัสว่า ภัย ทุกข์ เป็นต้น เป็นชื่อของกาม ตรัสแสดงคุณธรรม ๘ อย่างของภิกษุ หลายนัย ท่ีท�ำให้ภิกษุเป็นผู้ควรแก่ของค�ำนับ ตลอดจนเป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก อย่างสงู ทรงแสดงพระอรยิ บคุ คลทั้งแปด PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 856 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต 857 วรรคท่ี ๒ ชอื่ จาลวรรค วา่ ด้วยเรอื่ งแผ่นดนิ ไหว ัอง ุคตตร ินกาย ๒. ตรสั แสดงบุคคล ๘ ประเภท คือภกิ ษอุ ยากได้ลาภ (๑) พยายามเพ่อื ไดล้ าภ เม่อื ลาภไม่เกิดขนึ้ กเ็ สียใจ เคลอื่ นจากพระสัทธรรม (๒) พยายามเพอ่ื ไดล้ าภ เมอ่ื ลาภเกดิ ขน้ึ กม็ วั เมาประมาท เคลอื่ นจากพระสทั ธรรม (๓) ไม่พยายามเพ่อื ได้ลาภ เมือ่ ลาภไมเ่ กดิ ก็เสยี ใจ เคล่ือนจากพระสทั ธรรม (๔) ไม่พยายามเพื่อไดล้ าภ เม่ือลาภเกิดขึ้นก็มัวเมาประมาท เคลื่อนจาก พระสัทธรรม (๕) พยายามเพื่อได้ลาภ เม่ือลาภไม่เกิดข้ึนก็ไม่เสียใจ ไม่เคล่ือนจาก พระสทั ธรรม (๖) พยายามเพื่อได้ลาภ เม่ือลาภเกิดขึ้นก็ไม่มัวเมาประมาท ไม่เคล่ือนจาก พระสทั ธรรม (๗) ไมพ่ ยายามเพือ่ ได้ลาภ เม่ือลาภไม่เกิดข้ึนก็ไม่เสียใจ ไม่เคล่ือนจาก พระสทั ธรรม (๘) ไมพ่ ยายามเพื่อไดล้ าภ เม่ือลาภเกิดข้ึนก็ไม่มัวเมาประมาท ไม่เคลื่อนจาก พระสทั ธรรม ตรสั วา่ ภกิ ษปุ ระกอบด้วยธรรม ๖ อยา่ ง เป็นผู้ควรแก่ตน ควรแกค่ นอ่ืน คอื (๑) พจิ ารณาได้ไวในกศุ ลธรรม (๒) ทรงจำ� ธรรมะท่สี ดบั แลว้ ได้ (๓) พจิ ารณาเนอื้ ความแห่งธรรมทีท่ รงจำ� ไว้ (๔) รู้อรรถรูธ้ รรมแล้วก็ปฏบิ ัติธรรมตามสมควรแกธ่ รรม (๕) มีวาจาไพเราะ (๖) ชีแ้ จงชักชวนเพือ่ นพรหมจารใี หอ้ าจหาญรา่ เริง คร้นั แลว้ ตรสั วา่ ลดข้อแรก เหลอื แต่ ๕ ขอ้ หลังก็ใช้ได้ ลด ๒ ขอ้ หลัง เหลอื แต่ ๔ ขอ้ แรกกใ็ ช้ได ้ ลดข้อ ๓ - ๔ เหลือเพียง ๔ ข้อก็ใช้ได ้ ลดขอ้ ๑ กับข้อ ๕ - ๖ เหลือเพยี ง ๓ ข้อ กใ็ ช้ได้ ลดข้อ ๑ ข้อ ๓ - ๔ เหลือเพียง ๓ ขอ้ ก็ใชไ้ ด ้ ลด ๔ ข้อ เหลอื เพยี งข้อ ๓ ข้อ ๔ ก็ใช้ได้ ลด ๔ ข้อแรก เหลอื เพียงข้อ ๕ ข้อ ๖ ก็ใชไ้ ด้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 857 5/4/18 2:25 PM
858 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ตรัสสอนภกิ ษรุ ูปหนงึ่ ผู้ขอใหท้ รงแสดงธรรมโดยยอ่ โดยตรสั สอนให้สำ� เหนียกว่า (๑) จิตจกั ต้ังมั่น อกศุ ลธรรมจกั ไมค่ รอบงำ� (๒) - (๕) เราจักเจริญท�ำให้มากซ่ึงเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อันเป็นเจโตวิมุติ (อนั เป็นฌาน)๑ (๖) - (๙) เราจักเจริญท�ำให้มากซ่ึงสติปัฏฐาน ๔ เมื่อท�ำได้อย่างนี้ ก็จะอยู่เป็นผาสุก ทงั้ อริ ิยาบถเดิน ยนื นั่ง นอน ตรสั แสดงอธเิ ทวญาณทัสสนะ (การเหน็ ดว้ ยญาณซึง่ อธเิ ทพ หรือเทวดาผยู้ ง่ิ ใหญ่) ๘ ประการ คือเมอ่ื พระองคย์ งั เป็นพระโพธสิ ัตว์ ทรงปรารถนาจะได้รูเ้ ห็นอยา่ งน้นั อย่างนี้ ครัน้ ทรง บ�ำเพ็ญเพียรจนรู้เห็นได้ตามต้องการแล้ว ก็ทรงปรารถนาก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปจนส�ำเร็จสมบูรณ์ ครบ ๘ ข้อ จงึ ปฏิญญาพระองค์ว่าตรสั ร้อู นุตตรสัมมาสมั โพธญิ าณ (๑) เราจักร้สู กึ มีแสงสว่างเหน็ รูป (๒) เราจักยืนสนทนาไตถ่ ามกบั เทวดา (๓) เราจักรู้ว่าเทวดาน้มี าจากเทพนิกายโนน้ ๆ (๔) เราจักรู้ว่าเทวดาเหลา่ นัน้ เคลือ่ นจากนเี้ กดิ ในทน่ี ัน้ เพราะผลแห่งกรรมนี้ (๕) เราจักรู้วา่ เทวดาเหล่านม้ี ีอาหารอย่างน ้ี เสวยสุขทกุ ข์อยา่ งนี้ (๖) เราจักรวู้ ่าเทวดาเหล่านี้อายยุ นื อย่างน้ ี ดำ� รงอย่นู านเทา่ นี้ (๗) เราเคยอยูร่ ่วมกับเทวดาเหลา่ นี้หรือไม่ (๘) หรอื ว่าเราไมเ่ คยอยูร่ ่วมกับเทวดาเหลา่ น้ี ตรัสแสดงอภิภายตนะ (เหตุอันครอบง�ำอารมณ์ท่ีเป็นข้าศึกหรือธรรมะฝ่ายต�่ำ) ๘ ประการ คือ ๑ ตรัสขยายความในตอนต่อไปว่า เจรญิ สมาธนิ ี้ (อนั ประกอบด้วยเมตตา) อันมีวติ ก วจิ าร (ฌานที่ ๑) บ้าง อันไมม่ วี ิตก มีแตว่ ิจาร (ฌานท่ี ๒ ในฌาน ๕) บา้ ง อนั ไม่ม่ีทง้ั วติ ก วจิ าร (ฌานที่ ๒ ในฌาน ๔ หรือฌานท่ี ๓ ในฌาน ๕) บ้าง อนั มปี ีติ (ฌานท่ี ๒ ในฌาน ๔ หรอื ฌานท่ี ๓ ในฌาน ๕) บา้ ง อนั ไมม่ ปี ีติ (ฌานท่ี ๓ ในฌาน ๔ หรือฌานที่ ๔ ในฌาน ๕) บา้ ง อนั มีแตค่ วามสขุ (ฌานที่ ๓ ในฌาน ๔ หรอื ฌานท่ี ๔ ในฌาน ๕) บ้าง อันประกอบด้วยอเุ บกขาบ้าง (ฌานท่ี ๔ ในฌาน ๔ หรือฌานท่ี ๕ ในฌาน ๕) บา้ ง น้ีเป็นพระพุทธภาษิตแห่งที่ ๒ ท่ีตรัสถึงฌาน ๕ โดยแสดงองค์ฌาน แต่ไม่ได้บอกช่ือว่าท่ี ๑ ถึงที่ ๕. ดูข้อความ ในหนา้ ๖๘๒ หมายเลข ๕ ประกอบด้วย PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 858 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต 859 (๑) กำ� หนดหมายรปู ภายใน เหน็ รปู ภายนอกเปน็ รปู เลก็ ทงั้ ทมี่ ผี วิ พรรณดแี ละทราม ัอง ุคตตร ินกาย (๒) กำ� หนดหมายรปู ภายใน เหน็ รปู ภายนอกไมม่ ปี ระมาณ ทงั้ ทม่ี ผี วิ พรรณดแี ละทราม (๓) กำ� หนดหมายอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเป็นรูปเล็ก ทั้งที่มีผิวพรรณดี และทราม (๔) กำ� หนดหมายอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกไม่มีประมาณ ท้ังที่มีผิวพรรณดี และทราม (๕) กำ� หนดหมายอรปู ภายใน เห็นรปู ภายนอกสีเขยี ว (๖) ก�ำหนดหมายอรูปภายใน เหน็ รูปภายนอกสีเหลอื ง (๗) ก�ำหนดหมายอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกสแี ดง (๘) กำ� หนดหมายอรูปภายใน เหน็ รปู ภายนอกสีขาว ทั้งแปดข้อน้ีต้องมีความก�ำหนดหมายประจ�ำทุกข้อว่า เรารู้เห็นครอบง�ำรูปเหล่าน้ัน (คอื ไม่ใชร่ ู้เห็นอย่างตดิ แตเ่ ป็นนายเหนอื ส่ิงท่ีเห็นได้) (หมายเหตุ : คำ� วา่ อภภิ ายตนะ มมี าแลว้ ในมหาปรนิ พิ พานสตู ร สงั คตี สิ ตู ร ทสตุ ตรสตู ร เชน่ ทป่ี รากฏในหนา้ ๔๕๘ (ทรงปลงอายสุ งั ขาร) ยอ่ ไวเ้ พยี งชอ่ื บา้ ง กลา่ วเพยี งตวั อยา่ งของธรรม หมวด ๘ บ้าง ในท่ีนี้จึงย่อไว้ให้เห็นชัด มีข้อน่าสังเกต คือเป็นเรื่องของการปฏิบัติทางจิต ภาคสมถะ และต้งั แตข่ อ้ ๕ ถึงข้อ ๘ เปน็ เรอื่ งของกสิณ) ตรสั แสดงวิโมกข์ ๘ (ยอ่ ไวแ้ ล้วในหนา้ ๔๕๔) ตรัสแสดงอริยโวหาร (ค�ำพูดที่ประเสริฐ) และอนริยโวหาร (ค�ำพูดที่ไม่ประเสริฐ) ฝา่ ยละ ๘ อย่าง (พ้องกบั ท่ียอ่ ไวแ้ ล้วหน้า ๗๙๒ หมายเลข ๕) ตรัสแสดงบริษัท ๘ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ เทพช้ันจาตุมมหาราช ชนั้ ดาวดึงส์ มาร พรหม เมื่อทรงปลงอายุสังขารเกิดแผ่นดินไหว พระอานนท์กราบทูลถามถึงเหตุปัจจัยให้ แผ่นดินไหว ตรัสว่ามีอยู่ ๘ ประการ คือลมก�ำเริบ ผู้มีฤทธิ์บันดาล พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิต ลงสู่พระครรภ์พระมารดา ประสูติ ตรัสรู้ พระตถาคตแสดงธรรมจักร ปลงอายุสังขาร ปรินิพพานด้วยอนปุ าทเิ สสนพิ พานธาตุ วรรคที่ ๓ ชอ่ื ยมกวรรค ว่าดว้ ยธรรมทเี่ ป็นคู่กนั ๓. ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ เป็นผู้น่าเล่ือมใสทุกทาง บริบูรณ์ ด้วยอาการท้ังปวง คือมีศรัทธา มีศีล สดับฟังมาก เป็นผู้กล่าวธรรม ก้าวลงสู่บริษัท กล้าหาญ แสดงธรรม ได้ฌาน ๔ ตามปรารถนา ท�ำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะอยู่ใน ปจั จบุ ัน ตรัสอีกนยั หนึ่ง เปลยี่ นเฉพาะข้อท่ี ๗ เป็นถกู ต้องวิโมกขอ์ ันสงบด้วยนามกาย ภิกษุหลายรูปแสดงความเห็นในการเจริญสติระลึกถึงความตายต่าง ๆ กัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้ที่คิดว่าเราจักมีชีวิตอยู่ตลอดคืนและวัน ตลอดวัน ตลอดครึ่งวัน PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 859 5/4/18 2:25 PM
860 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ตลอดเวลาท่ีฉันอาหารมื้อหนึ่ง ตลอดเวลาท่ีฉันอาหารคร่ึงมื้อ ยังอยู่ในเกณฑ์ประมาท เจริญมรณสติ เพ่ือสิ้นอาสวะช้าไป ส่วนผู้ที่คิดว่าเราจักมีชีวิตอยู่ระหว่างเคี้ยวอาหารค�ำเดียว ระหว่างหายใจเขา้ ออก จึงช่ือวา่ ไม่ประมาท เจรญิ มรณสติ เพ่ือสิ้นอาสวะ๑ ตรัสสอนให้เจริญมรณสติ แล้วมีฉันทะ มีความเพียรพยายาม ความอุตสาหะ ความ กระตอื รอื ร้นที่จะละอกุศลธรรม ตรัสแสดงสมั ปทา (ความถึงพรอ้ ม) ๘ อย่าง คือถึงพร้อมด้วย ความหมั่น การรักษา (ทรัพย์ท่ีหามาได้) การคบคนดีเป็นมิตร การเลี้ยงชีวิตโดยสม่�ำเสมอ ความเชือ่ ศลี การบริจาค ปญั ญา พระสารบิ ตุ รสอนภกิ ษทุ งั้ หลายถงึ บคุ คล ๘ ประเภท (พอ้ งกบั พระพทุ ธภาษติ เรอื่ งภกิ ษุ อยากไดล้ าภ ๘ อย่าง หนา้ ๘๕๗ วรรคท่ี ๒) และเรือ่ งบุคคลท่คี วรแกต่ นและผ้อู ่นื (หนา้ ๘๕๗ วรรคที่ ๒ เช่นกัน) ตรัสถงึ ธรรม ๘ อยา่ ง เปน็ ไปเพอ่ื ความเสอื่ มแห่งภิกษุผ้ยู ังศึกษา คือยนิ ดใี นการงาน ในการพูดมาก ในการนอนหลับ ในการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ส�ำรวมอินทรีย์ ไม่รู้ประมาณใน โภชนะ ยินดใี นการเกยี่ วข้อง ยินดีในธรรมอนั ทำ� ใหเ้ นิ่นชา้ ฝา่ ยดคี ือท่ตี รงกันขา้ ม ตรสั ถงึ ทต่ี ง้ั แหง่ ความเกยี จครา้ น ๘ อยา่ ง คอื ๑. จะทำ� งานกลวั ลำ� บากกาย ๒. ทำ� แลว้ ก็รสู้ ึกวา่ ลำ� บากกาย ๓. จะเดนิ ทางกก็ ลวั ลำ� บากกาย ๔. เดนิ ทางแล้วกร็ ู้สกึ ลำ� บากกาย ๕. เที่ยว บิณฑบาต ไม่ได้อาหารตามที่ต้องการ รู้สึกว่าล�ำบากกาย ๖. เที่ยวบิณฑบาต ได้อาหารตามที่ ต้องการ รู้สกึ วา่ กายหนัก (อดึ อัดเพราะอ่มิ ) ๗. มอี าพาธเลก็ น้อย ๘. หายจากอาพาธไมน่ าน ทรงแสดงทตี่ ั้งแหง่ ความเพยี ร (อารพั ภวตั ถ)ุ ๘ ประการตรงกนั ขา้ ม วรรคที่ ๔ ชื่อสติวรรค ว่าด้วยสติ ๔. ตรัสว่า ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ ก็ท�ำให้ไม่มีธรรมะอ่ืน ๆ อีก ๗ ข้อโดยล�ำดับ ถา้ มสี ติสัมปชญั ญะ กท็ �ำให้มีธรรมะอ่นื ๆ อีก ๗ ข้อโดยลำ� ดับ (ดูหนา้ ๘๔๕ วรรคท่ี ๒) ตรสั แสดงเหตทุ ที่ ำ� ใหพ้ ระธรรมเทศนาของพระตถาคตบางครงั้ กแ็ จม่ แจง้ บางครงั้ กไ็ ม่ แจ่มแจ้ง คอื มีศรทั ธา เข้าไปหา น่งั ใกล้ ไต่ถาม ตั้งโสตสดับธรรม ทรงจำ� ธรรม พิจารณาอรรถ แห่งธรรม ปฏบิ ตั ิธรรมสมควรแก่ธรรม (ถ้าขาดขอ้ ใดขอ้ หนึง่ ก็ไม่แจ่มแจง้ ) ตรัสว่าธรรมท้ังปวง มีความพอใจเป็นมูล เกิดแต่ความใส่ใจ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มี เวทนาเปน็ ทป่ี ระชมุ ลง มสี มาธเิ ปน็ ประมขุ มสี ตเิ ปน็ ใหญ่ มบี ญุ เปน็ สง่ิ ยอดเยยี่ ม มคี วามหลดุ พน้ เป็นแก่น ๑ ข้อความตอนน้ีความจริงซ�้ำกับข้อความในหน้า ๘๑๙ - ๘๒๐ วรรคที่ ๒ แต่ตอนนี้ย่อไว้พิสดารกว่า และเป็นอัน ขยายความของตอนทแี่ ลว้ ใหช้ ัดข้นึ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 860 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต 861 ตรัสว่า โจรประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมถึงความพินาศโดยพลัน ไม่ต้ังอยู่นาน คือ ัอง ุคตตร ินกาย ท�ำร้ายผู้ท่ีมิได้ท�ำร้าย ขโมยของไม่ให้มีเหลือ พาสตรีไป ข่มขืนหญิงสาว ปล้นนักบวช ปลน้ พระคลงั หลวง ทำ� กรรมในทใี่ กลเ้ กนิ ไป ไมฉ่ ลาดในการฝงั ทรพั ย์ และตรสั วา่ ถา้ ตรงกนั ขา้ ม ก็ไม่ถงึ ความพนิ าศโดยพลนั ตง้ั อยไู่ ดน้ าน ตรสั วา่ คำ� วา่ สมณะ พราหมณ์ ผถู้ งึ เวท หมอ ผไู้ มม่ มี ลทนิ ผปู้ ราศจากมลทนิ ผมู้ ญี าณ ผู้หลุดพน้ เปน็ ช่อื ของพระตถาคต ตรัสกะพระนาคิตะ แสดงพระประสงค์ไม่ต้อนรับพราหมณ์คฤหบดีชาวอิจฉานังคละ ผสู้ ง่ เสียงเอด็ อึง ตรสั เรอ่ื งอบุ าสกทคี่ วรควำ่� บาตร หงายบาตร (ดงั ทย่ี อ่ ไวแ้ ลว้ หนา้ ๓๖๘) และเรอ่ื งอน่ื ๆ ท�ำนองเดยี วกนั ดั่งท่มี ีแลว้ ในพระวินัย วรรคท่ี ๕ (ไมม่ ชี ื่อ) ๕. ตรัสสอนให้เจริญธรรม ๘ อย่าง คืออริยมรรคมีองค์ ๘ อภิภายตนะ ๘ (ดหู นา้ ๘๕๙) วิโมกข์ ๘ (ดหู น้า ๔๕๔) เพอื่ ละอุปกเิ ลส ๑๖ (ดูหน้า ๕๓๑) มรี าคะ เปน็ ต้น นวกนบิ าต ชุมนมุ ธรรมะท่มี ี ๙ ข้อ ปัณณาสก์ หมวด ๕๐ (หมวด ๕๐ นี้ มี ๕ วรรคเชน่ เคย วรรคที่ ๑ ช่ือสมั โพธวรรค ว่าดว้ ยการตรสั รู้ วรรค ท่ี ๒ ชื่อสีหนาทวรรค ว่าด้วยการบรรลืออย่างราชสีห์ วรรคท่ี ๓ ชื่อสัตตาวาสวรรค ว่าด้วย ที่อยู่แห่งสัตว์ วรรคท่ี ๔ ชื่อมหาวรรค ว่าด้วยเรื่องใหญ่ วรรคท่ี ๕ ช่ือปัญจาลวรรค ว่าด้วย ปญั จาลจณั ฑเทพบุตร) วรรคที่ ๑ ชอ่ื สัมโพธวรรค วา่ ดว้ ยการตรัสรู้ ๑. ตรัสสอนให้ตอบนักบวชศาสนาอ่ืน ถึงธรรมอันเป็นที่อาศัยของธรรมที่เป็นฝ่าย ให้ตรัสรู้ มีดังต่อไปนี้ คบเพื่อนท่ีดี มีศีล ถ้อยค�ำที่ขัดเกลากิเลส ปรารภความเพียร มีปัญญา เม่ือตั้งอยู่ในธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว ควรเจริญธรรม ๔ อย่างให้ย่ิงข้ึน คืออสุภะ (การ พจิ ารณาว่าไมง่ าม) เมตตา ความกำ� หนดหมายวา่ ไมเ่ ท่ยี ง ไม่ใช่ตวั ตน ตรสั วา่ ภกิ ษผุ สู้ มบรู ณด์ ว้ ยอปุ นสิ ยั ดว้ ยเหตุ คอื อาศยั ศรทั ธา อาศยั หริ ิ อาศยั โอตตปั ปะ อาศัยปญั ญา แลว้ ละอกุศล เจรญิ กศุ ล แลว้ ควรอยอู่ ยา่ งมอี ุปนสิ สยั ๔ อย่าง คือพจิ ารณาแลว้ เสพ อดทน เว้น บันเทา PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 861 5/4/18 2:25 PM
862 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ พระเมฆยิ ะขอลาพระผมู้ พี ระภาคไปบำ� เพญ็ เพยี ร ตรสั ขอใหร้ อกอ่ น เธอกราบทลู ถงึ ๓ ครงั้ กต็ รสั อนญุ าต แตเ่ มอ่ื ไปบำ� เพญ็ เพยี ร กถ็ กู อกศุ ลวติ กครอบงำ� พระผมู้ พี ระภาคจงึ ตรสั สอน เร่ืองธรรมอันเปน็ ทอี่ าศยั ของธรรมท่ีเปน็ ฝ่ายให้ตรสั รู้ พระนนั ทกะแสดงธรรมแกภ่ กิ ษทุ ง้ั หลาย พระผมู้ พี ระภาคเสดจ็ ไปยนื คอยนอกซมุ้ ประตู จนแสดงธรรมจบ จงึ เสดจ็ เขา้ ไปขา้ งใน พระนนั ทกะกราบทลู วา่ ไมท่ ราบวา่ เสดจ็ มาจงึ แสดงธรรม ถึงเทา่ นี้ (มากไป) ตรัสตอบวา่ เธอท�ำถกู แล้ว บรรพชิตทปี่ ระชมุ กนั นนั้ ควรทำ� การ ๒ อย่าง คอื กล่าวธรรมกิ ถา หรือน่ิงแบบอริยะ (น่งิ อยา่ งรเู้ ทา่ ) แลว้ ได้ตรสั แสดงธรรมวา่ การมีศรัทธา มศี ลี ได้เจโตสมาธิ (ความตง้ั มนั่ แห่งจิต) ภายใน ได้ความเห็นแจ้งธรรมดว้ ยปญั ญาอนั ย่ิง ถา้ มีครบก็ สมบูรณ์ ถ้ามไี ม่ครบก็ขาดไป เปรยี บเหมอื นสัตว์ ๒ เทา้ ๔ เท้า ถา้ ขาดไปเท้าหนงึ่ กไ็ ม่สมบูรณ์ เม่ือพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้ว พระนันทกะจึงแสดงอานิสงส์ ๕ ในการฟังธรรมะ สนทนาธรรมตามกาล คอื (๑) เป็นทีร่ กั เป็นทพี่ อใจของศาสดา (๒) รอู้ รรถร้ธู รรม (๓) แทงทะลบุ ทแหง่ เนื้อความอันลกึ ซง้ึ ในธรรมน้นั ด้วยปัญญา (๔) เพ่อื นพรหมจารีสรรเสรญิ (๕) เมอ่ื แสดงธรรม ภกิ ษทุ ย่ี งั เปน็ เสขะยอ่ มพยายามเพอื่ บรรลธุ รรมทยี่ งั ไมบ่ รรลุ ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ ฟังธรรมช่ือว่าอยู่อย่างประกอบธรรมเป็นเครื่องอยู่ เปน็ สุขในปจั จบุ นั ตรสั ว่า ก�ำลัง ๔ คอื ปญั ญา ความเพยี ร ความไมม่ โี ทษ การสงเคราะห์ เมื่ออริยสาวก ประกอบดว้ ยกำ� ลงั ๔ นแี้ ลว้ ยอ่ มกา้ วลว่ งความกลวั ๕ ประการ คอื ความกลวั ในการดำ� เนนิ ชวี ติ ความกลวั ถกู ติ ความกลวั ประหมา่ ในทปี่ ระชมุ ความกลวั ตาย ความกลวั ทคุ คติ พระสารบิ ตุ รสอน ภกิ ษุทัง้ หลาย ถงึ เรื่องบุคคล ปัจจยั ๔ คามนิคม ชนบท ว่าควรทราบโดย ๒ อย่าง คอื ควรเสพ และไม่ควรเสพ ก�ำหนดด้วยเม่ือเสพเข้า อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ก็ไม่ควรเสพ ถา้ อกศุ ลธรรมเสอื่ ม กศุ ลธรรมเจรญิ กค็ วรเสพ ตรสั วา่ พระอรหนั ตย์ อ่ มไมท่ ำ� การ (ทไ่ี มด่ )ี ๙ อยา่ ง (ยอ่ ไวแ้ ลว้ หนา้ ๖๓๒ หมายเลข ๕ มี ๕ ข้อ) คือจงใจฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เสพเมถุน พูดปดท้ัง ๆ รู้ สั่งสมบริโภคเหมือนเม่ือเป็น คฤหสั ถ์ ลุแก่อคติ ๔ คือลำ� เอยี งเพราะรกั เพราะชงั เพราะหลง เพราะกลวั ตรสั แสดงนยั อื่นอกี คือพระอรหันต์ย่อมไม่ท�ำการ ๙ อย่าง (๑ ถึง ๕ ซ�้ำกัน) ๖. บอกคืนพระพุทธ ๗. บอกคืน พระธรรม ๘. บอกคืนพระสงฆ์ ๙. บอกคนื สิกขา PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 862 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต 863 ตรสั แสดงบคุ คล ๙ ประเภท คอื พระอรยิ บคุ คล๑ ๘ กบั บถุ ชุ น ตรสั วา่ บคุ คล ๙ ประเภท ัอง ุคตตร ินกาย เป็นผู้ควรของค�ำนับ เป็นเน้ือนาบุญอันยอดเย่ียม คือพระอริยบุคคล ๘ กับโคตรภู (อยู่ ระหวา่ งบถุ ุชนกับพระอริยเจา้ ) วรรคท่ี ๒ ชอื่ สีหนาทวรรค ว่าดว้ ยการบันลืออย่างราชสีห์ ๒. พระสาริบุตรถูกภิกษุรูปหนึ่งกล่าวหา ว่าเดินกระทบแล้วไม่ขอโทษ ท่านกราบทูล พระศาสดาในท่ีประชุมสงฆ์ อุปมาตนเอง ๙ ข้อ คือรู้สึกตนเองเหมือนดิน น�้ำ ไฟ ลม ซ่ึงถูก ของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างทิ้งใส่ แต่ก็ไม่หน่าย ไม่รังเกียจ เหมือนผ้าเช็ดธุลีที่เช็ดของ สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ก็ไม่หน่าย ไม่รังเกียจ เหมือนเด็กจัณฑาล ซึ่งเจียมตัวอยู่เสมอ เวลาเขา้ ไปสทู่ ่ตี ่าง ๆ เหมอื นโคทถ่ี กู ตัดเขา ฝึกหัดดแี ลว้ ไมท่ ำ� ร้ายใคร ๆ เบอื่ หน่ายตอ่ กายน้ี เหมือนชายหนุม่ หญงิ สาวท่คี ลอ้ งซากงไู ว้ทค่ี อ บริหารกายนี้ เหมอื นคนแบกหม้อน้�ำมันรวั่ ทะลุ มนี �้ำมนั ไหลออกอย่ ู ภิกษุผู้กล่าวหากก็ ลา่ วขอขมารบั ผดิ ตรสั แสดงธรรมแกพ่ ระสารบิ ตุ ร วา่ บคุ คล ๙ ประเภท ชอื่ วา่ ยงั มเี ชอ้ื เหลอื (สอปุ าทเิ สสา มเี ช้อื คอื กเิ ลสเหลือ) คอื พระอนาคามี ๕ พระสกทาคามี ๑ พระโสดาบัน ๓ (รวมเป็น ๙)๒ พระมหาโกฏฐิตะ ถามพระสาริบุตรว่า คนประพฤติพรหมจรรย์ เพ่ือกรรมอย่างนั้น อยา่ งนห้ี รอื ทา่ นตอบวา่ เปลา่ และตอบวา่ ประพฤตเิ พอื่ รู้ เหน็ บรรลุ ทำ� ใหแ้ จง้ ตรสั รอู้ รยิ สจั จ์ ๔ ที่ ยงั มิได้รูเ้ หน็ ยงั มิได้ตรัสร๓ู้ พระสาริบุตรตอบพระสมิทธิ วา่ ความตรกึ ซงึ่ เกิดจากความดำ� ริ มนี ามรปู เปน็ อารมณ์ ต่างกันในธาตุท้ังหลาย มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นท่ีประชุมลง มีสมาธิเป็นประมุข มีสติ เป็นใหญ่ มบี ญุ เป็นส่วนยอดเย่ียม มีความหลดุ พน้ เป็นแก่นสาร มอี มตะเปน็ ที่หยั่งลง ตรัสว่า ค�ำว่าฝี เป็นชื่อของกายน้ี ซ่ึงมีปากแผล ๙ (ทวาร ๙) มีของไม่สะอาด สิ่งมี กล่ินเหมน็ ส่งิ ท่ีนา่ รังเกยี จไหลออก ฉะน้นั จึงควรเบ่ือหน่ายในกายน้ี ตรัสแสดงสัญญา ๙ ประการ ซึ่งมผี ลอานสิ งสม์ าก มีอมตะเปน็ ทีส่ ุด คอื ความก�ำหนด หมายว่าไม่งาม ความก�ำหนดหมายความตาย ความก�ำหนดหมายว่าน่าเกลียดในอาหาร ว่าไม่น่ายินดีในโลกท้ังปวง ว่าไม่เท่ียง ว่าเป็นทุกข์ในส่ิงที่ไม่เท่ียง ว่าไม่ใช่ตัวตนในสิ่งท่ี เปน็ ทุกข ์ ความกำ� หนดหมายในการละ ในการคลายความก�ำหนัด ๑ พระโสดาบนั ผปู้ ฏบิ ตั เิ พอ่ื ทำ� ใหแ้ จง้ โสดาปตั ตผิ ล พระสกทาคามี ผปู้ ฏบิ ตั เิ พอ่ื ทำ� ใหแ้ จง้ สกทาคามผิ ล พระอนาคามี ๒ ผู้ปฏิบตั เิ พ่ือทำ� ใหแ้ จง้ อนาคามิผล พระอรหันต์ ผู้ปฏบิ ัติเพ่อื ทำ� ใหแ้ จ้งอรหัตตผล และพระอรหนั ต์ ดูรายละเอียดหนา้ ๗๔๖ - ๗๔๗ ๓ คำ� วา่ ”ตรสั ร„ู้ คำ� บาลวี า่ ”อภสิ มย„ หมายถงึ การบรรลธุ รรมขน้ั เปน็ พระอรหนั ต์ ใชไ้ ดก้ บั พระพทุ ธเจา้ ทว่ั ไป - ม.พ.ป. PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 863 5/4/18 2:25 PM
864 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ตรัสแสดงสกุลประกอบด้วยองค์ ๙ ที่ไม่ควรเข้าไป เข้าไปแล้วก็ไม่ควรนั่ง (ข้อ ๑. ถึง ๗. ดงั ที่ย่อไว้แล้วในหมวด ๗ หน้า ๘๓๖ วรรคที่ ๒) เตมิ เพียงข้อที่ ๘. ไม่เข้าไปน่ังใกล้เพื่อ ฟังธรรม ๙. ไม่ยนิ ดภี าษติ ของภกิ ษุน้นั ฝ่ายดีคอื ท่ตี รงกนั ขา้ ม ตรัสแสดงอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ว่า มีผลมาก มีอานิสงส์มาก คือพิจารณา องค์ ๘ วา่ ไดท้ ำ� ตามอย่างพระอรหนั ต์ กับขอ้ ๙ พจิ ารณาวา่ ตนไดแ้ ผ่เมตตาจิตไปยังทศิ ตา่ ง ๆ ตรัสเล่าเร่ืองท่ีเทวดาปฏิบัติไม่ชอบในบรรพชิตในชาติที่ตนเป็นมนุษย์ จึงเข้าถึงกาย อันต�ำ่ ท่ปี ฏบิ ตั ิชอบเข้าถงึ กายอันประณตี ตรสั แสดงธรรมแกอ่ นาถปณิ ฑกิ คฤหบดเี รอ่ื งการถวายทานใหเ้ หน็ ว่า เวลามพราหมณ์ เคยให้ทานอย่างมโหฬาร แตก่ ารให้ผ้สู มบูรณด์ ้วยทฏิ ฐิ (พระโสดาบนั ) เพียงผู้เดียว หรือรอ้ ย ท่านบริโภคอาหาร หรือการให้พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านเดียวหรือร้อยท่านบริโภคอาหาร การให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภคอาหาร การให้ ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภคอาหาร การสร้างวิหารอุทิศสงฆ์ ๔ ทิศ การถึง พระรตั นตรยั เป็นสรณะ การมีจิตใจเล่อื มใสสมาทานสิกขาบท (ศีล ๕) การเจริญเมตตาเพียง ชว่ั เวลาเล็กนอ้ ย กย็ งั มีผลมากกวา่ น้นั การเจรญิ อนจิ จสัญญา (ความกำ� หนดหมายวา่ ไมเ่ ท่ียง) เพียงช่วั เวลาดดี นิ้ว กย็ ังมผี ลมากกว่าน้ัน (หมายเหตุ : พงึ สงั เกตวา่ การแสดงผลของความดสี งู กวา่ กนั เปน็ ชนั้ ๆ นน้ั ไปสรปู ลงท่ี เหน็ ว่าไมเ่ ทย่ี งเปน็ สงู สุด เพราะเป็นเครื่องทำ� ใหเ้ กิดความเหน็ แจง้ ) วรรคท่ี ๓ ชือ่ สตั ตาวาสวรรค วา่ ดว้ ยที่อยู่แห่งสตั ว์ ๓. ตรัสถึงมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีป เทพช้ันดาวดึงส์ มนุษย์ชาวชมพูทวีป ท่ีมีทาง ดีเด่นกว่ากันและกัน ฝ่ายละ ๓ ข้อ คือมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปเป็นผู้ไม่มีความยึดถือว่า ของเรา ไม่มีความหวงแหน มีอายุแน่นอน เทพช้ันดาวดึงส์มีอายุ วรรณะ สุข อันเป็นทิพย์ มนุษย์ชาวชมพทู วปี มีความแกล้วกลา้ มสี ติ ประพฤติพรหมจรรย์อนั ยง่ิ ตรสั ถงึ มา้ เลว มา้ ดี ม้าอาชาไนย ซงึ่ มอี ย่างละ ๓ ชนดิ (รวมเป็น ๙) เทียบกบั บคุ คล ๓ ประเภททม่ี ีคณุ สมบัติประเภทละ ๓ ชนดิ (รวมเป็น ๙ เช่นกนั ) อยา่ งทีต่ รัสไวแ้ ลว้ (ดูหน้า ๗๕๔ วรรคท่ี ๒) ตรสั แสดงธรรมทม่ี ตี ณั หาเปน็ มลู ๙ อยา่ ง คอื เรม่ิ แรกอาศยั ตณั หาแลว้ เกดิ การแสวงหา อาศัยการแสวงหาเกดิ การได้ โดยนัยนีม้ ีการอาศยั กันเป็นทอด ๆ เกดิ การวินิจฉยั ความกำ� หนัด PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 864 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต 865 ด้วยอ�ำนาจแห่งความพอใจ การหยั่งลง (ปลงใจยึดถือ) ความหวงแหน ความตระหนี่ การถือ ัอง ุคตตร ินกาย ท่อนไม้ ศัสตรา การทะเลาะวิวาท การส่อเสียด การพูดปด และอกุศลบาปธรรมเป็นอเนก อันมีการอารักขาเปน็ เหตุ ตรสั แสดงสัตตาวาส (ที่อยขู่ องสัตว)์ ๙ อย่าง คอื (๑) สตั ว์บางพวกมีกายตา่ งกัน มสี ญั ญาตา่ งกนั เช่น มนุษย์ เทพบางพวก เปรต บางพวก (๒) สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เทพพวกพรหมผู้ เกดิ ด้วยปฐมฌาน (๓) สตั วเ์ หลา่ หนงึ่ มกี ายอยา่ งเดยี วกนั มสี ญั ญาตา่ งกนั ไดแ้ กเ่ ทพพวกอาภสั สรพรหม (๔) สัตว์เหล่าหน่ึงมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่เทพพวก สภุ กณิ หพรหม (๕) สัตว์เหล่าหน่ึงไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ คือไม่มีเวทนา ได้แก่เทพพวก อสญั ญสี ัตว์ (๖) สตั วเ์ หล่าหนึ่งเขา้ ถงึ อากาสานญั จายตนะ (๗) สตั ว์เหลา่ หนง่ึ เข้าถงึ วญิ ญาณญั จายตนะ (๘) สตั วเ์ หล่าหน่ึงเข้าถงึ อากิญจญั ญายตนะ (๙) สัตวเ์ หลา่ หน่งึ เขา้ ถงึ เนวสัญญานาสญั ญายตนะ๑ ตรสั วา่ ภกิ ษผุ มู้ จี ติ อนั ปญั ญาอบรมดแี ลว้ ควรแกค่ ำ� วา่ สนิ้ ชาติ อยจู่ บพรหมจรรย์ ทำ� หนา้ ท่ีเสร็จแลว้ ไมม่ กี ิจอน่ื เพ่อื ความเปน็ อย่างนี้อกี คือมจี ติ อันปญั ญาอบรมดีแล้ว จนทราบได้ ว่า จติ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ จติ ไมม่ ธี รรมท่ปี ระกอบดว้ ยราคะ โทสะ โมหะ จติ มีธรรมดา ทีจ่ ะไมก่ ลับไปส่คู วามกำ� หนัดในกาม ในรูป ในอรูป พระสารบิ ตุ รอธบิ ายเรอื่ งภกิ ษผุ มู้ จี ติ อนั จติ อบรมดแี ลว้ แกพ่ ระจนั ทกิ าบตุ ร ในทำ� นอง คลา้ ยคลึงกบั ข้างต้น พระผู้มพี ระภาคตรัสสอนอนาถปิณฑิกคฤหบดี และสอนภกิ ษทุ ง้ั หลาย วา่ อรยิ สาวก สงบเวร ๕ (มฆี า่ สตั ว์ เปน็ ตน้ ) ได้ และประกอบดว้ ยโสตาปตั ตยิ งั คะ๒ (องคแ์ หง่ โสดาปตั ตผิ ล) ๔ ๑ โปรดดเู รอ่ื งทตี่ งั้ แหง่ วญิ ญาณ ๗ อยา่ ง หนา้ ๘๓๙ หมายเลข ๕ เทยี บเคยี งดดู ว้ ย และในหนา้ นนั้ ไดอ้ า้ งองิ ขอ้ ความ ๒ ควรรู้ ดูหนา้ ๑๙๓ - ๑๙๔ (ขอ้ ๖) ถึง (ข้อ ๙) และหน้า ๔๕๓ - ๔๕๔ ประกอบดว้ ย มีความเลิอ่ื มใสอันไม่หว่นั ไหวในพระพุทธ ในพระธรรม ในพระสงฆ์ มศี ีลทีด่ ีงามอนั พระอรยิ เจา้ ใคร่ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 865 5/4/18 2:25 PM
866 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ประการ เมื่อปรารถนาก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ด้วยตนว่าเป็นผู้สิ้นนรก สิ้นก�ำเนิดดิรัจฉาน ส้ินภมู ิแห่งเปรต สน้ิ อบาย ทคุ คติ วนิ ิบาต เป็นพระโสดาบัน มีความไมต่ กตำ�่ เป็นธรรมดา เปน็ ผู้ เที่ยงทจี่ ะได้ตรสั รูต้ อ่ ไป ตรัสแสดงที่ต้ังแห่งความอาฆาต และเครื่องน�ำออกซึ่งความอาฆาตอย่างละ ๙ อย่าง (ดทู แ่ี ปลไวแ้ ลว้ หนา้ ๑๑๕ - ๑๑๖ ขอ้ ๗๔ ขอ้ ๗๕ และตดั ขอ้ ท่ี ๑๐ ออกทง้ั สองอยา่ ง) ตรสั แสดง ความดับโดยล�ำดับ (อนุบุพพนิโรธ) ๙ อย่าง คือ ภิกษุผู้เข้าปฐมฌาน ความก�ำหนดหมายใน อามสิ ดบั (นอกจากนน้ั เหมอื นขอ้ ๒ ถงึ ขอ้ ๙ ของเรอ่ื งอนบุ พุ พสงั ขารนโิ รธทแ่ี ปลไวแ้ ลว้ หนา้ ๑๘๐ หมายเลข ๒๐๐ และพงึ สงั เกตวา่ ในหนา้ ๑๗๙ หมายเลข ๑๙๙ แสดงวา่ ผเู้ ขา้ ปฐมฌานวาจาดบั ) วรรคท่ี ๔ ช่ือมหาวรรค ว่าดว้ ยเรอ่ื งใหญ่ ๔. ตรัสแสดงอนุบุพพวิหาร (ธรรมเป็นเคร่ืองอยู่โดยล�ำดับ) ๙ อย่าง คือฌานท่ี ๑ ถึงฌานที่ ๔ (อันเป็นรูปฌาน) อากาสานัญจายตนะ จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ (อันเป็น อรูปฌาน ๔) และ สัญญาเวทยิตนิโรธ (ดูค�ำอธิบายท่ีเป็นพระพุทธภาษิต หน้า ๑๙๐ - ๑๙๕ หมายเลข ๒๑๓) พระอุทายีถามพระสาริบุตรว่า ที่ว่าพระนิพพานเป็นสุข แต่ในพระนิพพานไม่มีเวทนา ความรู้สึกอารมณ์ จะสุขอย่างไร พระสาริบุตรตอบแสดงความสุขเป็นชั้น ๆ ต้ังแต่สุขใน กามคณุ ๕ สุขในรูปฌาน สุขในอรูปฌาน สุขในสัญญาเวทยติ นโิ รธ (สมาบัตอิ ันดบั สัญญาและ เวทนา) ความสขุ ในช้ันทต่ี �่ำกว่ายอ่ มเป็นเครือ่ งเบยี ดเบยี น (อาพาธ) ยอ่ มเปน็ ทกุ ข๑์ ตรัสว่า ภิกษุผู้ไม่ฉลาด ย่อมไม่สามารถเข้ารูปฌาน อรูปฌานและสัญญาเวท ยิตนิโรธได้ ส่วนภิกษุผู้ฉลาดย่อมเข้าได้ เปรียบเหมือนแม่โคที่ไม่ฉลาด เที่ยวไปบนเขาที่ไม่ สม่�ำเสมอไม่ได้ แต่ที่ฉลาดเที่ยวไปได้ และตรัสในท่ีสุดว่า ภิกษุผู้เข้าออกสมาบัติข้างต้นได้ อบรมสมาธิอันไม่มีประมาณดีแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพ่ือท�ำให้แจ้งอภิญญา ๖ มีแสดงฤทธ์ิได้ เปน็ ตน้ ตรสั ว่าความสน้ิ ไปแหง่ อาสวะย่อมมไี ด้ เพราะอาศัยรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๓ (เว้นข้อ ๔) แต่ละข้อโดยตรัสอธิบายว่า เมื่อเข้าฌานแต่ละข้อแล้ว พิจารณาขันธ์ ๕ โดยความเป็นของ ไม่เท่ียง เป็นทุกข์ จนถึงมิใช่ตัวตน แล้วน้อมจิตไปเพ่ืออมตธาตุ ก็จะส้ินอาสวะได้ หรือถ้า ไม่สิ้นอาสวะก็จะได้เป็นพระอนาคามี ตรัสสรูปในท่ีสุดว่า สัญญาสมาบัติ (การเข้าฌานท่ีมี ๑ โปรดดพู ระพทุ ธภาษติ หนา้ ๑๙๐ ขอ้ ๒๑๓ เทียบเคยี งดว้ ยจะชัดยิง่ ขึน้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 866 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต 867 ความก�ำหนดหมายเป็นอารมณ์) มีเท่าใด การตรัสรู้อรหัตตผล (อัญญาปฏิเวธ) ย่อมมีเท่าน้ัน ัอง ุคตตร ินกาย ส่วนอายตนะ ๒ คือเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (อรูปฌานที่ ๔) กับสัญญาเวทยิตนิโรธ (อนุบุพพวิหารข้อท่ี ๙) นั้น พระองค์ตรัสว่า ภิกษุเข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ในการ ออกจากสมาบัติ อาศัยแล้ว เข้าออก (จากสมาบตั )ิ พึงกลา่ วถงึ โดยชอบ๑ (หมายเหตุ : เนวสญั ญานาสญั ญายตนะ กบั สญั ญาเวทยติ นโิ รธ เรยี กวา่ อายตนะ ๒ ใน ทน่ี ้ี ส่วนในทอ่ี ่นื เชน่ ในมหานทิ านสตู ร ท่ยี ่อไว้หนา้ ๔๕๐ อายตนะ ๒ หน้า ๔๕๔ ตรัสแสดงถงึ อสัญญีสัตว์ กับเนวสัญญานาสัญญายตนะ แต่ก็พึงทราบว่า ในสูตรน้ันแสดงถึงแหล่งเกิด ส่วนในทน่ี ้ีแสดงการเขา้ สมาบตั ิ ทบี่ ันทึกไวใ้ นทน่ี ้เี พือ่ ใหเ้ ทยี บเคยี งประดบั ความร้)ู พระอานนท์แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย แสดงความน่าอัศจรรย์ที่พระผู้มีพระภาค ทรงบรรลุโอกาส (หาช่องว่างได)้ ในทคี่ ับแคบ (แออัดด้วยกามคุณ) คอื มตี า มรี ปู ตลอดจนถึง มีกาย มีสิ่งที่พึงถูกต้องด้วยกาย แต่ก็ไม่ทรงรับรู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะน้ัน พระอุทายี ถามว่า มีสัญญาหรือไม่ ตอบว่า มี ถามว่า มีสัญญาอะไร จึงไม่รับรู้รูป เป็นต้นน้ัน ตอบเป็น ใจความวา่ มสี ญั ญาในอากาศ ในวญิ ญาณ ในความไมม่ อี ะไร (เขา้ อรปู ฌานท่ี ๑ ถงึ ๓) กไ็ มต่ อ้ ง รบั รรู้ ปู เสยี ง เปน็ ตน้ ได้ (ขอ้ ความในพระสตู รนี้ นา่ พจิ ารณามาก พระอานนทส์ รรเสรญิ พระพทุ ธเจา้ ว่าในท่ีแออัดด้วยกามคุณ ๕ แต่พระพุทธเจ้าก็หาช่องว่างได้ โดยไม่ต้องรับรู้กามคุณ ๕ คือ มีใหร้ ใู้ ห้เห็น แตก่ ็ไมร่ ู้ไม่เหน็ โดยวธิ เี ข้าอรูปฌานท่ี ๑ ถึง ๓ ก็เปน็ อนั ตัดความสนใจในอารมณ์ ที่เป็นรปู ทง้ั หมดได)้ ตรัสแสดงธรรมแก่พราหมณ์ผู้ถือลัทธิโลกายตะ ๒ คน ผู้ถามพระองค์ถึงเจ้าลัทธิ ชื่อปูรณะ กัสสปะ กับนิครนถนาฏบุตร โดยตรัสปฏิเสธท่ีจะวิจารว่าใครดีกว่าใคร แต่ได้ตรัส ธรรมะว่า บุรุษ ๔ คน มีฝีเท้าเร็วอย่างยอดเย่ียม ออกเดินทางหาที่สุดโลกโดยไม่หยุดเลย แม้ มอี ายุ ๑๐๐ ปี ก็จะตายก่อนไมถ่ ึงทีส่ ุดโลก ท่ีสดุ ทกุ ข์ แล้วตรัสแสดงกามคุณ ๕ มรี ูป เป็นตน้ ทนี่ า่ ปรารถนารกั ใครช่ อบใจ แลว้ ตรสั ถงึ ภกิ ษผุ สู้ งดั จากกาม สงดั จากอกศุ ลธรรม เขา้ รปู ฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสญั ญาเวทยติ นิโรธ สน้ิ อาสวะ (กิเลสทีด่ องสนั ดาน) ตรัสช้ีว่า ภกิ ษุเช่นน้ีช่อื ว่า ขา้ มทสี่ ุดโลก ข้ามตณั หาเสยี ได้ ๑ ในทน่ี คี้ วรบนั ทกึ เรอื่ งตน้ ฉบบั บาลดี ว้ ย คำ� วา่ สญั ญาปฏเิ วธ เขา้ ใจวา่ ทถี่ กู เปน็ อญั ญาปฏเิ วธ ตามทอ่ี รรถกถานำ� ไป เป็นบทตั้ง ค�ำว่า ฌายิโสเต ก็เข้าใจว่า เป็น ฌายีเหเต ตามท่ีอรรถกถาตั้งเป็นบทต้ังไว้ ท้ังตรงกับฉบับยุโรปด้วย ฌายโิ สเต จงึ นา่ จะคลาดเคลอื่ น PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 867 5/4/18 2:25 PM
868 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ตรัสแสดงธรรมเร่อื งสงครามระหวา่ งเทพกับอสูร เทพแพ้ ๓ ครั้ง แล้วกก็ ลับชนะ โดย ฝา่ ยอสรู แพถ้ งึ ๓ ครงั้ ตรสั เปรยี บเทยี บกบั การทภี่ กิ ษเุ ขา้ รปู ฌาน ๔ แตล่ ะขอ้ กท็ ำ� ใหม้ ารเหน็ ได้ ว่ามีเครื่องต่อต้านความกลัว ซ่ึงตนจะท�ำอะไรไม่ได้ แต่เมื่อเข้าอรูปฌาน ๔ แต่ละข้อ ก็ชื่อว่า ท�ำมารให้ถึงทสี่ ุด มารก็จะไม่แลเห็น เมอื่ เข้าสญั ญาเวทยิตนิโรธ ก็ชอื่ ว่าทำ� มารใหถ้ งึ ทีส่ ดุ มารก็ จะไมแ่ ลเหน็ และช่อื วา่ ข้ามพ้นตัณหาได้ในโลก ตรสั ถงึ ภกิ ษผุ หู้ ลกี ออกจากหมู่ บำ� เพญ็ เพยี รจนไดบ้ รรลรุ ปู ฌาน อรปู ฌาน และสญั ญา เวทยิตนิโรธ เหมือนพญาช้างใหญ่ในป่าปลีกตัวจากหมู่ อยู่ตามล�ำพังฉะนั้น เมื่อประทับอยู่ใน นคิ มของแควน้ มลั ละชอื่ อรุ เุ วลกสั สปะ ไดเ้ สดจ็ ไปพกั กลางวนั ณ ปา่ ใหญ่ ตปสุ สะคฤหบดเี ขา้ ไป หาพระอานนท์ กลา่ ววา่ เนกขมั มะ (คอื ออกจากกามหรอื ออกบวช) เปรยี บเหมอื นเหวสำ� หรบั ตน ผเู้ ปน็ คฤหสั ถบ์ รโิ ภคกาม แตก่ ม็ ภี กิ ษหุ นมุ่ ผมู้ จี ติ ยนิ ดใี นเนกขมั มะ จงึ ขอใหแ้ สดงเนกขมั มะใหฟ้ งั พระอานนท์จึงพาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระองค์จึงตรัสเล่าถึงพระด�ำริ และการกระท�ำของ พระองค์ ตง้ั แตย่ งั มไิ ดต้ รสั รู้ ทท่ี รงยกจติ ใหส้ งู ขน้ึ เปน็ ชน้ั ๆ จากกาม ขน้ึ สเู่ นกขมั มะ และรปู ฌาน ๔ อรปู ฌาน ๔ กบั สญั ญาเวทยติ นโิ รธเปน็ ทสี่ ดุ ครง้ั แรกกย็ งั ไมเ่ หน็ โทษในสงิ่ ทตี่ ำ�่ กวา่ ตอ่ เมอื่ อบรม จิตให้มาก จนจิตได้ต้ังอยู่ในธรรมที่สูงข้ึนแล้ว จึงเห็นส่ิงท่ีต่�ำกว่า เป็นส่ิงเบียดเบียน (อาพาธ) เปน็ ทกุ ข์ แลว้ ตรสั ในทสี่ ดุ วา่ ตราบใดยงั ทรงเขา้ ออกอนบุ พุ พนโิ รธสมาบตั ิ (สมาบตั ทิ ม่ี กี ารดบั สงิ่ ต่าง ๆ ไปโดยลำ� ดบั ) ๙ ประการ ท้งั โดยอนโุ ลมคอื ตามล�ำดับ ทัง้ โดยปฏโิ ลมคอื ยอ้ นลำ� ดบั ไมไ่ ด้ แลว้ ตราบนน้ั กไ็ มท่ รงปฏิญญาพระองคว์ า่ ได้ตรสั ร้อู นตุ ตรสมั มาสัมโพธิญาณอนั ยอดเยย่ี ม วรรคท่ี ๕ ชื่อปญั จาลวรรค วา่ ด้วยปญั จาลจัณฑเทพบตุ ร ๕. พระอานนท์แสดงธรรมแก่พระอุทายี ผู้ถามถึงเรื่องที่บุคคลจะบรรลุโอกาสในท่ี คับแคบ โดยอธิบายถึงการท่ีภิกษุเข้าฌาน ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน จนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ (รวม ๙ ข้อ) แล้วชี้ว่า ค�ำว่า ท่ีคับแคบ หมายถึงกามคุณ ๕ เลื่อนขึ้นไปจากฌานท่ี ๑ ถึง อรูปฌานที่ ๔ (รวม ๘ ข้อ) เป็นที่คับแคบของฌานที่สูงข้ึนไป แต่เมื่อถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ สิ้นอาสวะ จึงช่อื ว่าบรรลุโอกาสในท่ีคับแคบ (แหวกหาชอ่ งวา่ งในท่ีแคบ) อยา่ งแท้จริง (๘ ข้อตน้ เป็นการแหวกช่องว่างได้โดยปริยาย คือเพียงโดยอ้อม ข้อที่ ๙ เป็นการแหวกช่องว่างได้โดย นปิ ปริยาย คอื โดยตรง) พระอานนท์ตอบค�ำถามของพระอุทายี เร่ืองพระอริยบุคคลประเภทกายสักขี ปัญญาวิมุต อุภโตภาควิมุต (รวม ๓ ประเภท) ว่า ได้แก่ผู้บรรลุอนุบุพพวิหารสมาบัติท้ังเก้า เป็นแต่ว่าบรรลุ ๘ ข้อแรก เป็นโดยปริยาย (โดยอ้อม) แต่บรรลุข้อหลัง (สัญญาเวทยิตนิโรธ) สิ้นอาสวะ ช่ือวา่ เปน็ กายสักขี เป็นตน้ โดยตรง (นิปปริยาย) PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 868 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต 869 พระอุทายีถามถึงความหมายของค�ำว่า สันทิฏฐิกธรรม (ธรรมท่ีเห็นได้เอง) สันทิฏฐิกนิพพาน (นิพพานที่เห็นได้เอง) นิพพาน (ความดับ) ปรินิพพาน (ความดับสนิท) ตทงั คนิพพาน (ความดบั ดว้ ยองค์นนั้ ) ทิฏฐธมั มนิพพาน (นิพพานในปัจจบุ นั ) พระอานนท์ตอบ วา่ พระผมู้ ีพระภาคตรสั วา่ การที่ภกิ ษเุ ข้ารปู ฌาน ๔ อรปู ฌาน ๔ เปน็ ธรรมะ เป็นนิพพานที่ถาม นนั้ โดยปรยิ าย แตเ่ ขา้ สญั ญาเวทยติ นโิ รธ สนิ้ อาสวะ เปน็ ธรรมะ เปน็ นพิ พานชนดิ ตา่ ง ๆ นน้ั โดย นปิ ปริยาย (โดยตรง) วรรคทไี่ ม่จัดเข้าในหมวด ๕๐ วรรคท่ี ๑ ชอื่ เขมวรรค ว่าดว้ ยความเกษม ๑. พระอานนท์ตอบพระอุทายี ถึงค�ำว่า เขมะ (ความเกษม คือความปลอดโปร่ง จากกิเลส) ผู้บรรลุความเกษม อมตะ (ความไม่ตาย) ผู้บรรลุอมตะ อภัย (ความไม่กลัว) ผบู้ รรลอุ ภยั ปสั สทั ธิ (ความระงับ) อนบุ พุ พปัสสทั ธิ (ความระงับโดยล�ำดับ) นโิ รธ (ความดับ) อนุบุพพนิโรธ (ความดับโดยล�ำดับ) โดยอธิบายถึงการท่ีภิกษุเข้ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ ว่า เป็นโดยอ้อม และเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธว่าเป็นโดยตรง ตรัสว่าบุคคลละธรรม ๙ อย่างไม่ได้ ไม่ท�ำให้แจ้ง (บรรลุ) อรหัตตผล คือราคะ โทสะ โมหะ โกธะ (โกรธ) อุปนาหะ (ผูกโกรธ) มักขะ (ลบหลู่บุญคุณท่าน) ปลาสะ (ตีเสมอ) อิสสา (ริษยา) มัจฉริยะ (ตระหนี่) ฝ่ายดีคือ ทตี่ รงกันขา้ ม วรรคที่ ๒ ชอ่ื สติปฏั ฐานวรรค ว่าด้วยการเจรญิ สตปิ ัฏฐาน ๔ ๒. ตรัสแสดงการล่วงละเมิดศีล ๕ ข้อ (ฆ่าสัตว์ถึงด่ืมน�้ำเมา) ว่า เป็นความทุรพล แหง่ สิกขา ควรเจรญิ สติปฏั ฐาน ๔ (ดหู น้า ๔๗๓) เพอื่ ละความทรุ พลแห่งสิกขา ตรัสแสดง ัอง ุคตตร ินกาย นีวรณ์ ๕ (ดูหน้า ๑๑๒ หมายเลข ๖๘) กามคณุ ๕ (มรี ูป เปน็ ตน้ ) อปุ าทานขนั ธ์ ๕ (ขนั ธท์ ่ยี ึดถอื มีรปู เวทนา เป็นตน้ ) สัญโญชน์เบ้อื งต่�ำ ๕ (สกั กายทฏิ ฐิ ความเหน็ เปน็ เหตุยดึ ถอื กายของตน ความลงั เลสงสยั การลบู คลำ� ศีลและพรต ความพอใจในกาม ความพยาบาท) คติ ๕ (ทางไปหรอื ที่ไป ๕ คือนรก ก�ำเนิดดิรจั ฉาน เปรตวิสัย มนุษย์ เทพ) มัจฉรยิ ะ ๕ (ความตระหนี่ ๕ คือตระหนี่ท่ีอยู่ ตระกูล ลาภ คำ� สรรเสรญิ ธรรมะ) PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 869 5/4/18 2:25 PM
870 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ สญั โญชนเ์ บอื้ งสงู ๕ (ความตดิ ในรปู ความตดิ ในอรูป ความถอื ตัว ความฟุ้งสรา้ น ความไม่รู้อรยิ สจั จ์ ๔) เจโตขลี ะ ๕ (ตอของจิต ๕) เจตโสวินิพนั ธะ ๕๑ (เคร่อื งผูกมัดจติ ๕) แลว้ ตรัสแสดงวา่ ควรเจริญสตปิ ฏั ฐาน ๔ เพ่ือละธรรมเหลา่ น้ัน วรรคที่ ๓ ชือ่ สมั มัปปธานวรรค วา่ ดว้ ยความเพียรชอบ ๓. ตรัสแสดงวา่ ควรเจรญิ ความเพยี รชอบ ๔ (ดเู สด็จปา่ มหาวัน หน้า ๔๕๙) เพ่ือละ ธรรมเหลา่ นน้ั วรรคท่ี ๔ ช่ืออทิ ธปิ าทวรรค วา่ ดว้ ยอทิ ธบิ าท ๔. ตรัสวา่ ควรเจรญิ อทิ ธิบาท ๔ (ดูเสดจ็ ป่ามหาวนั หน้า ๔๕๙) เพือ่ ละธรรมเหลา่ นน้ั วรรคที่ ๕ ชอ่ื (ไมม่ ชี ือ่ ) ๕. ตรัสว่า ควรเจริญสัญญา (ความก�ำหนดหมาย) ๙ ประการ เพ่ือละอุปกิเลส ๑๖ (หนา้ ๕๓๑) มีราคะ เปน็ ตน้ จบความยอ่ แหง่ พระไตรปฎิ ก เล่ม ๒๓ ๑ ความหมายของช่ือเหล่านี้มีมาแล้วในตอนก่อน ๆ จึงไม่อธิบายไว้มาก เฉพาะ ๒ เร่ืองหลัง โปรดดูหน้า ๕๔๓ การอา้ งองิ เชน่ นี้ เพ่ือให้ไดท้ บทวนเร่ืองทผ่ี า่ นมาแลว้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 870 5/4/18 2:25 PM
เลม่ ๒๔ องั คุตตรนกิ าย ทสก - เอกาทสกนิบาต พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ นี้ ชื่อว่าเป็นเล่มท่ี ๕ หรือเล่มสุดท้ายของอังคุตตรนิกาย คือหมวดแสดงข้อธรรมเป็นจ�ำนวน โดยแสดงข้อธรรมจ�ำนวน ๑๐ และ ๑๑ โดยล�ำดับ ดงั ตอ่ ไปน้ี ขยายความ ทสกนบิ าต ชุมนุมธรรมะทีม่ ี ๑๐ ข้อ ปฐมปณั ณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๑ (ในหมวดนี้มี ๕ วรรค วรรคละประมาณ ๑๐ สูตร วรรคแรกชอื่ อานสิ งั สวรรค วา่ ดว้ ย ผลดี วรรคที่ ๒ ชอื่ นาถกรณวรรค วา่ ดว้ ยธรรมะอนั ทำ� ทพ่ี ง่ึ วรรคท่ี ๓ ชอื่ มหาวรรค วา่ ดว้ ยเรอ่ื ง ใหญ่ วรรคที่ ๔ ชอื่ อปุ าลวิ รรค วา่ ดว้ ยพระอบุ าลี วรรคที่ ๕ ชอ่ื อกั โกสวรรค วา่ ดว้ ยการดา่ ) วรรคที่ ๑ ชอ่ื อานิสงั สวรรค วา่ ด้วยผลดี ๑. ตรัสแสดงอานิสงส์แห่งศีลที่เป็นกุศลแก่พระอานนท์ ซึ่งเป็นการแสดงอานิสงส์ ท่ีมอี านิสงส์ต่อ ๆ กนั ไปเป็นลูกโซ่ (๑๐ ประการ คอื ) (๑) ความไมเ่ ดือดรอ้ น (๒) ความบันเทงิ ใจ (ปราโมทย์) (๓) ความปล้มื ใจ (ปิติ) (๔) ความระงบั (ปัสสทั ธ)ิ (๕) ความสุข (๖) สมาธิ (๗) ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความเหน็ ดว้ ยญาณ ตามเป็นจรงิ ) (๘) - (๙) นพิ พิทา วิราคะ (ความเบื่อหน่าย คลายกำ� หนดั ) (๑๐) วิมุตติญาณทัสสนะ (ความเห็นดว้ ยญาณถึงความหลุดพ้น) แล้วตรัสว่า ธรรมเหลา่ น้ียอ่ มไหลมา ย่อมทำ� ธรรมะใหเ้ ตม็ เพื่อบรรลธุ รรมะทย่ี ิง่ ๆ ขนึ้ ไปส�ำหรับภกิ ษุผมู้ ศี ลี สว่ นภิกษุผทู้ ุศลี ตรงกันข้าม พระสารบิ ุตรกับพระอานนท์ ต่างแสดงธรรมแกภ่ กิ ษทุ ง้ั หลาย ถงึ โทษของความเป็นผู้ ทศุ ลี และอานิสงส์ของความเปน็ ผู้มีศลี ฝ่ายละ ๑๐ ขอ้ พระสาริบตุ รตอบพระอานนท์ ถึงการได้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 871 5/4/18 2:25 PM
872 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ สมาธทิ ีไ่ ม่มีความก�ำหนดหมายในสิ่ง ๑๐ อย่าง วา่ เปน็ อยา่ งทีม่ ันเป็น แต่ก็ยังมีสญั ญาอยู่ คอื ใน สมัยที่ท่านอยู่ในป่าอันธวัน ใกล้กรุงสาวัตถี ได้เข้าสมาธิเช่นนั้น ไม่มีความก�ำหนดหมายว่า ธาตุ ๔ เป็นธาตุ ๔ ไม่มีความก�ำหนดหมายว่าอรูป ๔ เป็นอรูป ๔ ไม่มีความก�ำหนดหมาย ในโลกน้ี โลกหน้าว่า เป็นโลกนี้ โลกหน้า (รวมเป็น ๑๐ ข้อ) แต่ก็ยังมีสัญญาคือความก�ำหนด หมายว่า ความดับภพ เป็นนิพพาน (ภวนิโรโธ นิพฺพานํ) คือสัญญาอันหน่ึงเกิดข้ึน สัญญา อันหน่ึงย่อมดบั ไป ตรัสว่า ถ้าภิกษุขาดองคคณุ ข้อใดขอ้ หน่งึ ดงั ตอ่ ไปนี้ กค็ วรจะท�ำใหส้ มบูรณ์ คือความ เป็นผู้มีศรทั ธา มีศลี สดบั ฟังมาก เป็นธรรมกถึก (ผแู้ สดงธรรม) กา้ วลงสู่บรษิ ัท เปน็ ผกู้ ลา้ หาญ แสดงธรรมแก่บริษัท เป็นผู้ทรงวินัย เป็นผู้อยู่ป่า อยู่เสนาสนะอันสงัด เป็นผู้ได้ฌาน ๔ ตาม ตอ้ งการ ทำ� ใหแ้ จง้ เจโตวมิ ตุ ิ ปญั ญาวมิ ตุ ิ อนั ไมม่ อี าสวะอยใู่ นปจั จบุ นั ถา้ ประกอบดว้ ยธรรม ๑๐ อย่างนี้ ก็เป็นผู้น่าเล่ือมใสทุกทาง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง๑ แล้วได้ตรัสแสดงองคคุณอ่ืน เปน็ การยกั ย้ายนยั วรรคที่ ๒ ชื่อ นาถกรณวรรค ว่าดว้ ยธรรมะอันท�ำท่พี ่ึง ๒. ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เสพเสนาสนะ (ท่ีอยู่อาศัย) อันประกอบด้วย องค์ ๕ กจ็ ะพึงทำ� ให้แจง้ เจโตวิมตุ ิ ปัญญาวิมุติ อันไม่มอี าสวะโดยกาลไม่นาน คือ (๑) มีศรัทธา (๒) มีโรคน้อย (๓) ไมโ่ ออ้ วด ไม่มมี ายา (๔) ปรารภความเพยี ร (๕) มีปญั ญา เสนาสนะประกอบด้วยองค์ ๕ คือ (๑) ไม่ไกลไม่ใกล้เกินไป สะดวกดว้ ยการไปมา (๒) กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคนื มเี สียงน้อย (๓) มีสมั ผัสเกีย่ วกบั ยุง เหลือบ ลม แดด สตั วเ์ สอื กคลานนอ้ ย (๔) พอจะมปี จั จัย ๔ เกดิ ขึน้ แก่ภกิ ษุผอู้ ยู่ในเสนาสนะน้นั ไม่ยากนัก (๕) มีภิกษุทที่ รงความรอู้ ยู่ พอจะไต่ถามให้ทา่ นแก้ความสงสยั ให้ได้ ๑ ความจริงเป็นข้อความอันเดียวกับท่ีกล่าวไว้ในหน้า ๘๕๙ วรรคที่ ๓ เป็นแต่ในท่ีน้ีเพ่ิมคุณธรรมข้ึนอีก ๒ ข้อ และเรยี งขอ้ ความอีกสำ� นวนหนง่ึ ใหพ้ ิสดารข้นึ กวา่ เดมิ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 872 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต 873 ตรสั วา่ ภกิ ษลุ ะองค์ ๕ ประกอบดว้ ยองค์ ๕ ชอ่ื วา่ เปน็ อดุ มบรุ ษุ ในพระธรรมวนิ ยั น้ี คอื ัอง ุคตตร ินกาย ละนีวรณ์ ๕ ประกอบด้วยธรรมขนั ธ์ ๕ มีศีล เป็นต้น๑ ตรสั แสดงสญั โญชน์ (กเิ ลสเครอ่ื งรอ้ ยรดั หรอื ผดู มดั ) ๑๐ ประการ (ดหู นา้ ๘๖๙ - ๘๗๐) ตรัสแสดงกเิ ลสเครื่องผูกมดั จติ ๕ และตอของจิต ๕ (ดหู น้า ๕๔๓) ตรัสว่า บรรดาสัตว์ทุกชนิด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นยอด บรรดากุศลธรรม ความไมป่ ระมาทเปน็ ยอด ตรสั วา่ บคุ คล ๑๐ ประเภท เปน็ ผคู้ วรของคำ� นบั เปน็ เนอื้ นาบญุ อนั ยอดเยย่ี มของโลก คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพระพุทธเจ้า พระอริยบุคคล ๗ ประเภท (ดูหน้า ๖๒๒) โคตรภู (ผ้อู ยใู่ นระหวา่ งพระอริยเจา้ กับบุถุชน) ตรสั แสดงนาถกรณธรรม (ธรรมทที่ ำ� ทพ่ี ง่ึ ) ๑๐ ประการ คอื (๑) มศี ลี (๒) สดบั ฟงั มาก (๓) คบเพื่อนท่ีดี (๔) ว่าง่าย รับค�ำสั่งสอนโดยเคารพ (๕) ช่วยเหลือกิจของเพื่อนพรหมจารี (๖) ใคร่ธรรมะ (๗) ปรารภความเพียร (๘) สันโดษด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ (๙) มีสติ (๑๐) มีปัญญา ตรสั แสดงนาถกรณธรรม ๑๐ ประการเช่นเดมิ แต่อธบิ ายเพ่มิ เตมิ ว่า ถา้ ประกอบด้วย ธรรม ๑๐ ประการแล้ว ก็ท�ำให้ภิกษุที่เป็นเถระ ที่เป็นปูนกลาง ท่ีบวชใหม่ ต้ังใจว่ากล่าว สง่ั สอน หวังความเจริญไดใ้ นกุศลธรรมไม่มีเส่อื ม ตรสั แสดงอริยวาสะ (คุณธรรมเปน็ เคร่ืองอยู่ของพระอริยะ) ๑๐ ประการ คือ (๑) ละองค์ ๕ คอื ละนวี รณ์ ๕ (๒) ประกอบดว้ ยองค์ ๖ คอื วางเฉยในอารมณท์ ัง้ หกมรี ปู เปน็ ตน้ ในเมอ่ื ได้เห็น เป็นต้น (๓) รักษาส่ิงเดยี ว คอื ประกอบดว้ ยจติ มีสติเป็นเครอ่ื งรักษา (๔) มอี ปสั เสนะ (พนกั พงิ ) ๔ คอื พจิ ารณาแลว้ เสพ พจิ ารณาแลว้ อดทน พจิ ารณา แลว้ เว้น พจิ ารณาแล้วบนั เทา (๕) มกี ารยดึ ถอื ความเจรญิ เฉพาะอยา่ งอนั นำ� ออกแลว้ (เชน่ ไมย่ ดึ ถอื วา่ โลกเทย่ี ง เป็นต้น) (๖) มีการแสวงหาอันสละแล้วด้วยดี (เชน่ ละการแสวงหากาม) (๗) มีความด�ำริอันไม่ขนุ่ มัว ๑ ดหู น้า ๗๙๕ หมายเลข ๒ และเชิงอรรถ ๑. PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 873 5/4/18 2:25 PM
874 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๘) มกี ายสงั ขาร (ลมหายใจเขา้ ออก) อันสงบระงบั คือเข้าฌานที่ ๔ (๙) มจี ิตพ้นแลว้ ด้วยดี (จากราคะ โทสะ โมหะ) (๑๐) มีปญั ญาอันพน้ แลว้ ดว้ ยดี คือรู้วา่ ละกิเลสได้ วรรคท่ี ๓ ช่ือมหาวรรค วา่ ด้วยเรื่องใหญ่ ๓. ตรสั แสดงก�ำลงั ๑๐ ประการของพระตถาคต๑ (ดหู น้า ๕๓๖) ตรสั กะพระอานนท์ ว่า ไมม่ ีญาณอย่างอ่ืนยิ่งไปกว่ายถาภตู ญาณ (คือญาณรูเ้ หน็ ตามความเป็นจริงในเร่อื งนั้น ๆ) ตรสั แสดงธรรมทคี่ วรละดว้ ยกาย (คอื กายทจุ จรติ ) ทคี่ วรละดว้ ยวาจา (คอื วจที จุ จรติ ) ทคี่ วรละเพราะเหน็ ดว้ ยปญั ญา (คอื ความโลภ ความคดิ ประทษุ รา้ ย ความหลง ความโกรธ ความ ผกู โกรธ การลบหล่บู ญุ คณุ ท่าน การตเี สมอ ความตระหน่ี ความริษยา) พระมหาจุนทะแสดงธรรมแก่ภิกษุท้ังหลาย ถึงเรื่องภิกษุผู้กล่าวญาณวาทะ (กล่าวถึง ความรู้) แต่ถ้าถูกธรรมะ (๙ อย่าง มีความโลภ เป็นต้นข้างบนน้ี) ครอบง�ำได้ ก็พึงทราบว่าเธอ ไมร่ จู้ รงิ ภกิ ษผุ กู้ ลา่ วภาวนาวาทะ (กลา่ วถงึ การอบรมกาย ศลี จติ ปญั ญา) หรอื กลา่ ววาทะทง้ั สอง อยา่ งขา้ งตน้ แตถ่ า้ ถกู ธรรมะ (๙ อยา่ งขา้ งบนน)้ี ครอบงำ� กพ็ งึ ทราบวา่ เธอไมร่ จู้ รงิ แตถ่ า้ ตรงกนั ข้าม คือไม่ถกู ธรรมะเหล่านั้นครอบง�ำ ก็พึงทราบวา่ รจู้ รงิ ตรสั แสดงกสณิ ายตนะ (แดนกสณิ คอื อารมณอ์ ยา่ งใดอยา่ งหนงึ่ ลว้ น ๆ ทใ่ี ชใ้ นการเพง่ ใหจ้ ติ สงบเปน็ สมาธ)ิ ๑๐ ประการ ได้แกก่ สิณ คือ (๑) ดิน (๒) นำ�้ (๓) ไฟ (๔) ลม (๕) สีเขียว (๖) สเี หลอื ง (๗) สแี ดง (๘) สขี าว (๙) อากาส (ชอ่ งวา่ ง)๒ (๑๐) วิญญาณ พระมหากัจจานะแสดงธรรมแก่อุบาสิกาชื่อกาลี ขยายความแห่งพระพุทธภาษิตเร่ือง การบรรลุประโยชนค์ วามสงบแห่งหทัย โดยอธบิ ายเรอื่ งกสณิ ๑๐ ตรัสแสดงถึงปัญหา (ค�ำถาม) อุทเทส (บทต้ัง) เวยยากรณ์ (ค�ำตอบ) ต้ังแต่ ๑ ข้อ ๒ ขอ้ ไปจนถงึ ๑๐ ขอ้ ซ่งึ นักบวชศาสนาอน่ื ตอบให้สมบรู ณ์ไม่ได้ มีแต่อึดอัดยงิ่ ขน้ึ คอื ๑ ข้อ ได้แก่สตั ว์ทง้ั ปวงเป็นอยู่ไดด้ ้วยอาหาร ๒ ข้อ คือนาม และรปู ๑ โปรดดูข้อความเปรียบเทียบ หน้า ๗๙๕ หมายเลข ๒ (ก�ำลังของพระตถาคต ๕) และหน้า ๘๒๗ (ก�ำลังของ ๒ พระตถาคต ๖) และดูธรรมวภิ าคปรเิ ฉทท่ี ๒ พรอ้ มท้งั ค�ำอธบิ ายในหนา้ ๑๐๗ ดว้ ย อย่างที่เข้าใจกันในทาง ค�ำว่า อากาส ในท่ีน้ี หมายถึงช่องว่าง หรือ อวกาศ (Space) ไม่ได้หมายความถึงแก๊ส วทิ ยาศาสตร์ เพราะแกส๊ เหล่านนั้ จัดเข้าในลมไปแล้ว ตามความหมายทางพระพุทธศาสนา PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 874 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต 875 ๓ ข้อ คือเวทนา ัอง ุคตตร ินกาย ๔ ขอ้ คอื อาหาร ๔ (มี อาหาร ทพ่ี ึงกลืนกนิ เป็นค�ำ ๆ อาหาร คือผัสสะ ความถูกตอ้ ง อาหาร คอื เจตนา อาหาร คือวญิ ญาณ) ๕ ขอ้ คอื อปุ าทานขันธ์ (ขันธห์ รอื กองแห่งรปู นามท่คี นยึดถือ) ๕ ประการ ๖ ข้อ คืออายตนะภายใน ๖ (มตี า เป็นตน้ ) ๗ ข้อ คือวญิ ญาณฐติ ิ ๗ (ดหู น้า ๘๓๙ วรรคท่ี ๕) ๘ ขอ้ คอื โลกธรรม ๘ (ดูหนา้ ๘๔๘) ๙ ข้อ คอื สตั ตาวาส ๙ (ดหู น้า ๘๖๕) ๑๐ ขอ้ คืออกศุ ลกรรมบถ ๑๐ (กายทุจจริต ๓ วจที จุ จริต ๔ มโนทจุ จรติ ๓) นางภิกษุณีชาวเมืองกชังคละ แสดงธรรมแก่พวกอุบาสกชาวเมืองกชังคละในท�ำนอง เดียวกบั เรอ่ื งปญั หา ๑๐ ข้อขา้ งตน้ พระผ้มู ีพระภาคทรงทราบ ตรัสชมเชย ตรสั ว่าอริยสาวกผไู้ ดส้ ดบั ยอ่ มเบอื่ หนา่ ยคลายก�ำหนดั ในสง่ิ ท่เี ลศิ จงึ ไมต่ ้องกลา่ วถงึ ในสง่ิ ทเ่ี ลว แลว้ ตรสั แสดงโลกพันโลก มพี ระจนั ทรพ์ ระอาทติ ยถ์ ึงพนั ซง่ึ ทา้ วมหาพรหมเปน็ เลิศ อรยิ สาวกผไู้ ดส้ ดบั กย็ งั เบอ่ื หนา่ ยคลายกำ� หนดั ในสง่ิ ทเ่ี ลศิ นน้ั แลว้ ไดต้ รสั ถงึ ธรรมอน่ื ๆ อนั พอ้ ง กบั ทเี่ คยตรสั มาแลว้ เชน่ กสณิ ายตนะ ๑๐ อภภิ ายตนะ ๘ เปน็ ตน้ ในทส่ี ดุ ไดต้ รสั แสดงนพิ พาน ในปจั จบุ ันตามหลกั พระพุทธศาสนา พระเจา้ ปเสนทโิ กศล กราบทลู สรรเสรญิ พระผมู้ พี ระภาค ๑๐ ขอ้ คอื ทรงเหน็ วา่ พระผู้ มีพระภาค (๑) ทรงปฏิบตั ิเพอื่ ประโยชนค์ วามสขุ แก่ชนเป็นอันมาก (๒) ทรงมีศีล (๓) ทรงเสพเสนาสนะอันสงัด (๔) ทรงสนั โดษดว้ ยปจั จัย ๔ ตามมีตามได้ (๕) ทรงเป็นผู้ควรของคำ� นบั จนถงึ ทรงเป็นเนื้อนาบญุ อนั ยอดเย่ยี มของโลก (๖) ทรงมีถ้อยค�ำขดั เกลากิเลส (๗) ทรงไดฌ้ าน ๔ ตามปรารถนา (๘) ทรงระลึกชาตไิ ด้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 875 5/4/18 2:25 PM
876 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๙) ทรงมีทิพยจกั ษุ (๑๐) ทรงทำ� ใหแ้ จง้ เจโตวมิ ุติ ปัญญาวิมตุ ิ อนั ไม่มีอาสวะอยใู่ นปัจจบุ นั ทรงเหน็ เหตเุ หลา่ น้ี จงึ ทรงแสดงความเคารพ และตง้ั ความปรารถนาดใี นพระผมู้ พี ระภาค วรรคที่ ๔ ชอ่ื อุปาลวิ รรค ว่าด้วยพระอบุ าลี ๔. ตรัสแสดงอ�ำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการในการท่ีทรงบัญญัติสิกขาบท (ดูหน้า ๔๐๐ หมายเลข ๙) และเรื่องทางพระวินัยอ่ืน ๆ เช่น การชักเข้าหาอาบัติเดิม จนถึงสังฆเภท สงั ฆสามัคคี เป็นการตรสั ช้แี จงแก่พระอบุ าลี พอ้ งกับทมี่ ีอยแู่ ล้วในวินยั ปฎิ ก วรรคท่ี ๕ ช่อื อักโกสวรรค วา่ ด้วยการดา่ ๕. ตรัสเรื่องเหตุปัจจัยท่ีให้เกิดการทะเลาะวิวาทในสงฆ์ มีการแสดงส่ิงมิใช่ธรรมว่า เปน็ ธรรม เปน็ ตน้ และตรสั วา่ เหตเุ หลา่ นเ้ี ปน็ มลู แหง่ การววิ าท และเรอื่ งอน่ื ๆ ทปี่ รากฏวา่ ยอ่ มา แลว้ ในวินัยปฎิ ก ตรสั แสดงโทษ ๑๐ ประการในการเขา้ สภู่ ายในพระราชวงั คอื อาจทำ� ใหเ้ ปน็ ทส่ี งสยั เมอ่ื ย้ิมกับพระมเหสี ถกู สงสยั เกยี่ วกับของหาย เก่ียวกับความลับรั่วไหล เปน็ ตน้ ตรัสวา่ ผูม้ รี ายได้ วันละ ๑ กหาปณะ ถงึ วันละพนั กหาปณะ เก็บทรัพยท์ ่ีไดม้ านน้ั ไว้ มอี ายุ ๑๐๐ ปี ก็อาจมีกองโภคทรพั ย์ใหญไ่ ด้ แต่ทจ่ี ะเสวยสุขโดยส่วนเดยี ว อนั มที รพั ย์เปน็ เหตุ สักคนื หน่ึง วนั หนงึ่ หรือครึง่ วัน กย็ ังไมแ่ น่ เพราะกามเป็นของไมเ่ ที่ยง สว่ นสาวกของพระองค์ ไม่ประมาท บ�ำเพญ็ เพียร ๑๐ ปี ๙ ปี หรือ ๑๐ เดือน ๙ เดือน ถงึ ๑ เดอื น หรอื ๑๐ ทวิ าราตรี ถึง ๑ ทิวาราตรี ก็จะพึงได้ประสบสุขโดยส่วนเดียว ถึงร้อยปี แสนปี ล้านปี และได้เป็น พระสกทาคามี พระอนาคามี หรอื พระโสดาบัน ตรสั วา่ โลภะ โทสะ โมหะ อโยนโิ สมนสกิ าร (การไมใ่ สใ่ จโดยแยบคาย) เปน็ ปจั จยั แหง่ การกระท�ำบาปกรรม สว่ นอโลภะ เป็นตน้ เป็นปจั จัยแหง่ การกระท�ำกัลยาณกรรม ตรสั แสดงธรรมะ ๑๐ อย่างที่บรรพชิตควรพิจารณาเนอื ง ๆ คอื (๑) เรามีเพศตา่ งจากคฤหัสถ์แล้ว (๒) ชีวติ ของเราเนอื่ งดว้ ยผู้อืน่ (๓) ยงั มกี ริ ิยาอาการที่ดีงามอยา่ งอื่นอกี ทตี่ ้องทำ� (๔) เราตติ นเองโดยศีลไดห้ รือไม่ (๕) ผูร้ ู้พิจารณาแล้วตเิ ราโดยศีลไดห้ รอื ไม่ (๖) เราจะตอ้ งพลดั พรากจากของรกั ของชอบใจทัง้ สน้ิ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 876 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต 877 (๗) เรามีกรรมเป็นของตัว จกั เปน็ ผรู้ บั ผลของกรรมดีชว่ั ท่ีท�ำไว้ ัอง ุคตตร ินกาย (๘) วันคนื ลว่ งไป ๆ บัดนีเ้ ราท�ำอะไรอยู่ (๙) เรายนิ ดีในเรอื นวา่ งหรือไม่ (๑๐) เราไดบ้ รรลุธรรมอันย่งิ ของมนษุ ยห์ รอื ไม่ ตรัสว่า บรรพชิตควรพิจารณาเนอื ง ๆ ถงึ ธรรม ๑๐ อยา่ งท่ีตัง้ อยู่ในรา่ งกาย คอื หนาว รอ้ น หวิ ระหาย ปวดอจุ จาระ ปสั สาวะ ความสำ� รวมกาย ความสำ� รวมวาจา ความสำ� รวมใจ เครอื่ ง ปรงุ ภพที่ทำ� ให้เกดิ อีก ตรัสแสดงสาราณิยธรรม (ธรรมอนั ทำ� ให้ระลกึ ถงึ กัน) ๑๐ ประการ ในทำ� นองเดียวกับ นาถกรณธรรม (ดใู น ๘๗๓ มศี ลี เปน็ ตน้ ) ทุตยิ ปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒ (หมวดนี้มี ๕ วรรค วรรคที่ ๑ ชื่อสจิตตวรรค ว่าด้วยจิตของตน วรรคที่ ๒ ช่ือยมกวรรค ว่าด้วยธรรมท่ีเป็นคู่ วรรคท่ี ๓ ชื่ออากังขวรรค ว่าด้วยความหวัง วรรคท่ี ๔ ชือ่ เถรวรรค ว่าด้วยพระเถระต่าง ๆ วรรคท่ี ๕ ชอ่ื อุปาสกวรรค ว่าดว้ ยอบุ าสก) วรรคที่ ๑ ชอ่ื สจิตตวรรค วา่ ดว้ ยจติ ของตน ๑. ตรัสว่า ถา้ ภิกษไุ มฉ่ ลาดในเรื่องจิตของคนอืน่ ก็ควรฉลาดในเรือ่ งจติ ของตน (ดูที่ แปลไว้แล้วในหนา้ ๑๑๘ - ๑๒๐ หมายเลข ๗๗ - ๗๘) และตรสั ว่า ไม่ทรงสรรเสริญความหยดุ อยู่ในกศุ ลธรรม (ดหู น้า ๑๑๗ ข้อ ๗๖) และตรสั เรอ่ื งควรฉลาดในเรื่องจติ ของตนอกี นยั หนงึ่ (ดหู นา้ ๑๑๙) ตรสั ถงึ ปจั จยั ๔ คามนคิ ม ชนบท ประเทศ บคุ คล วา่ มี ๒ อยา่ ง คอื ทคี่ วรเสพ และไม่ ควรเสพ โดยมีเหตผุ ลวา่ ถา้ เสพเขา้ อกุศลธรรมเจริญ กศุ ลธรรมเสือ่ ม ก็ไม่ควรเสพ ถา้ อกุศล ธรรมเสอ่ื ม กศุ ลธรรมเจรญิ ก็ควรเสพ พระสารบิ ตุ รแสดงธรรมแกภ่ กิ ษทุ งั้ หลาย ถงึ เรอื่ งบคุ คลผมู้ ธี รรมอนั เสอื่ มและไมเ่ สอ่ื ม และเรอื่ งควรฉลาดในเร่ืองจติ ของตน ตรสั แสดงสญั ญา (ความก�ำหนดหมาย) ๑๐ ประการ คือ ความก�ำหนดหมายว่าไมง่ าม ความกำ� หนดหมายในความตาย ความก�ำหนดหมายวา่ น่าเกลยี ดในอาหาร ว่าไม่นา่ ยนิ ดีในโลก ท้ังปวง ว่าไม่เท่ียง ว่าเป็นทุกข์ในส่ิงที่ไม่เท่ียง ว่าไม่ใช่ตนในส่ิงท่ีเป็นทุกข์ ความก�ำหนดหมาย ในการละ ในการคลายความกำ� หนัด ในการดบั PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 877 5/4/18 2:25 PM
878 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ และตรสั ความก�ำหนดหมาย ๑๐ ประการอืน่ อกี คอื ความกำ� หนดหมายว่าไม่เที่ยง วา่ ไมใ่ ชต่ น ความกำ� หนดหมายในความตาย ความกำ� หนดหมายวา่ นา่ เกลยี ดในอาหาร วา่ ไมน่ า่ ยนิ ดี ในโลกทั้งปวง ความก�ำหนดหมายในกระดูก ในซากศพท่ีมีหนอนไต่ ในซากศพที่มีสีเขียว ใน ซากศพท่ีขาดเปน็ ทอ่ น ในซากศพทข่ี ึ้นพอง ตรัสวา่ ธรรมท้งั ปวงมฉี ันทะ (ความพอใจ) เปน็ มลู เป็นตน้ (ดูทแ่ี ปลไวแ้ ลว้ หน้า ๑๒๐ หมายเลข ๗๙) ได้ตรสั สรูปสอนให้สำ� เหนียกวา่ จติ ของเรา (๑) จกั ได้รบั อบรมโดยควรแก่การบวช (๒) จักไม่ถกู อกศุ ลบาปธรรมครอบง�ำ (๓) จกั ไดร้ บั อบรมดว้ ยความกำ� หนดหมายว่าไมเ่ ทย่ี ง (๔) จกั ไดร้ ับอบรมดว้ ยความก�ำหนดหมายว่าไมใ่ ชต่ ัวตน (๕) จักไดร้ ับอบรมดว้ ยความก�ำหนดหมายวา่ ไมง่ าม (๖) จกั ได้รับอบรมด้วยความก�ำหนดหมายถงึ โทษ (๗) จกั ได้รบั อบรมด้วยความก�ำหนดหมายที่รู้ถงึ ความเสมอไมเ่ สมอแหง่ โลก (๘) จักได้รับอบรมด้วยความก�ำหนดหมายที่รู้ถึงความมีความเป็น ความไม่มี ไมเ่ ป็นแหง่ โลก (๙) จักได้รับอบรมด้วยความก�ำหนดหมายท่ีรู้ถึงความเกิดขึ้น ความดับไป แหง่ โลก (๑๐) จักได้รบั อบรมดว้ ยความกำ� หนดหมายถึงการละ (๑๑) จกั ได้รบั อบรมด้วยความก�ำหนดหมายถงึ ความคลายกำ� หนัด (๑๒) จกั ไดร้ บั อบรมดว้ ยความก�ำหนดหมายถงึ ความดับ เมอื่ เปน็ เชน่ นี้ กห็ วงั ผลได้ ๒ อยา่ ง อยา่ งใดอยา่ งหนง่ึ คอื อรหตั ตผลในปจั จบุ นั หรือถา้ ยงั มีกเิ ลสเหลือกค็ อื ความเปน็ พระอนาคามี ตรัสแสดงธรรมแก่พระคิริมานนท์ ผู้เป็นไข้ โดยสอนให้พระอานนท์จ�ำไปบอกเรื่อง สัญญา ๑๐ ประการ คือ (๑) อนิจจสัญญา (ความก�ำหนดหมายว่าไม่เทย่ี ง) (๒) อนัตตสญั ญา (ความก�ำหนดหมายว่าไมใ่ ช่ตวั ตน) (๓) อสภุ สัญญา (ความก�ำหนดหมายวา่ ไม่งาม) (๔) อาทนี วสัญญา (ความกำ� หนดหมายถงึ โทษของกาย) (๕) ปหานสัญญา (ความกำ� หนดหมายถึงการละอกศุ ลวิตก) PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 878 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต 879 (๖) วริ าคสัญญา (ความกำ� หนดหมายถึงความคลายกำ� หนดั ) ัอง ุคตตร ินกาย (๗) นโิ รธสญั ญา (ความก�ำหนดหมายถงึ ความดบั สังขาร และกเิ ลสทง้ั ปวง) (๘) สพั พโลเก อนภิรตสญั ญา (ความกำ� หนดหมายวา่ ไม่นา่ ยนิ ดใี นโลกทั้งปวง) (๙) สพั พสงั ขาเรสุ อนจิ จสญั ญา (ความกำ� หนดหมายวา่ ไมเ่ ทย่ี งในสงั ขารทงั้ ปวง)๑ (๑๐) อานาปานสติ (สติกำ� หนดลมหายใจเข้าออก) วรรคท่ี ๒ ชอ่ื ยมกวรรค วา่ ดว้ ยธรรมทเ่ี ป็นคู่ ๒. ตรัสว่า ที่สุดเบื้องต้นของอวิชชาไม่ปรากฏ ว่าก่อนหน้าน้ีไม่มีอวิชชา อวิชชามามี ข้ึนในภายหลงั แตก่ ็ปรากฏขึน้ เพราะมีปัจจยั เรากลา่ ววา่ อวิชชามอี าหาร นีวรณ์ ๕ เปน็ อาหาร ของอวชิ ชา ครน้ั แลว้ ไดต้ รสั แสดงธรรมะอืน่ ๆ ทีเ่ ป็นอาหารของนีวรณ์ และของส่งิ ท่ีเปน็ อาหาร ของนีวรณ์ต่อ ๆ ไปอีกเป็นลูกโซ่ คือทุจจริต ๓ การไม่ส�ำรวมอินทรีย์ การไม่มีสติสัมปชัญญะ การไม่ใส่ใจโดยแยบคาย ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา การไม่ฟังธรรม การไม่คบสัตบุรุษ ฝ่ายดีคือ วิชชาวมิ ตุ ิ มีโพชฌงค์ ๗ เปน็ อาหาร โพชฌงค์ ๗ มีสตปิ ัฏฐาน ๔ เป็นอาหาร โดยนัยนไ้ี ด้แสดง สุจริต ๓ อินทรียสังวร โยนิโสมนสิการ จนถึงการคบสัตบุรุษว่า เป็นอาหารของธรรมะที่มาข้าง หนา้ ตนโดยลำ� ดบั ตรสั เรอ่ื งทสี่ ดุ เบอื้ งตน้ ของภวตณั หา (ความทะยานอยากในความมคี วามเปน็ ) ในทำ� นอง เดียวกับอวชิ ชา ฝ่ายดีเร่ิมต้นดว้ ยวชิ ชาวมิ ตุ ิเช่นเดมิ ตรัสว่า ผู้ถึงความตกลงใจ (หมดความสงสัย) ในพระองค์ ช่ือว่าผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ มี ๕ พวกทีป่ รินิพพานในโลกน้ี คอื พระโสดาบันพวกเกิด ๗ ชาติเปน็ อย่างย่งิ พวกเกดิ จากสกุล ส่สู กุล (เกิด ๒ - ๓ ชาติ) พวกเกดิ ชาติเดียว พระสกทาคามี ทา่ นผู้เปน็ พระอรหันตใ์ นปจั จบุ ัน มี ๕ พวกละโลกนี้ไปแล้วจงึ นพิ พาน คอื พระอนาคามี ๕ ประเภท (ดูหน้า ๗๔๖) ตรัสแสดงผู้เลื่อมใสไม่หว่ันไหวในพระองค์ว่า เป็นโสดาบัน และแบ่งเป็น ๕ พวก ๒ ประเภทเชน่ ขา้ งต้น พระสาริบุตร ตอบค�ำถามของสามัณฑกานิปริพพาชกบุตร ว่า ความเกิดเป็นทุกข์ ความไมเ่ กดิ เปน็ สขุ ทว่ี า่ เปน็ ทกุ ขเ์ พราะหวงั ไดถ้ งึ ทกุ ขอ์ นื่ ๆ คอื เยน็ รอ้ น หวิ ระหาย ปวดอจุ จาระ ปัสสาวะ เป็นต้น และได้แสดงถึงความไม่ยินดี (อนภิรติ) ว่าเป็นทุกข์ในพระธรรมวินัยนี้ สว่ นความยนิ ดี (พอใจตามมตี ามได)้ เปน็ สขุ ในพระธรรมวนิ ัยน้ี ๑ พ้องกับขอ้ ๑ นา่ จะเปน็ อนจิ ฉสัญญา ความกำ� หนดหมายวา่ ไม่นา่ ปรารถนาในสงั ขารทั้งปวง เพราะพระพทุ ธภาษติ นอี้ ธบิ ายก็วา่ เบือ่ หน่าย รำ� คาญ เกลียดชัง PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 879 5/4/18 2:25 PM
880 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ พระผู้มีพระภาคตรัสส่ังให้พระสาริบุตรแสดงธรรมแทน พระองค์ทรงพักผ่อน พระ สารบิ ตุ รไดแ้ สดงถงึ วา่ ถา้ ไมม่ ศี รทั ธาในกศุ ลธรรม กจ็ ะไมม่ หี ริ แิ ละธรรมะขอ้ ตอ่ ๆ ไปโดยลำ� ดบั คือโอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา ท�ำให้มีความเส่ือมในกุศลธรรม ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ไม่ละอาย ไม่เกรงกลวั ต่อบาป เกียจคร้าน มปี ัญญาทราม มกั โกรธ ผูกโกรธ มีความปรารถนา ลามก คบคนชั่วเป็นมิตร มีความเห็นผิด ฝ่ายดีคือตรงกันข้าม พระผู้มีพระภาคตรัสรับรอง และชมเชย พระสารบิ ุตรสอนภิกษทุ ้งั หลาย คลา้ ยกับทก่ี ลา่ วไว้แลว้ เป็นแตย่ ักยา้ ยนัยเล็กน้อย ตรสั สอนใหพ้ ดู องิ อาศยั กถาวตั ถุ (เรอื่ งทคี่ วรพดู ) ๑๐ ประการ คอื ถอ้ ยคำ� เรอ่ื งมกั นอ้ ย สันโดษ สงัด ไมค่ ลุกคลี ปรารภความเพียร ศีล สมาธิ ปัญญา วมิ ุติ วิมุตตญิ าณทสั สนะ วรรคท่ี ๓ ช่ือ อากังขวรรค ว่าด้วยความหวัง ๓. ตรัสสอนให้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาฏิโมกข์ ถ้าเธอหวังดังต่อไปน้ี ก็พึง ทำ� ใหบ้ รบิ รู ณใ์ นศลี ประกอบเนอื ง ๆ ซง่ึ ความสงบแหง่ จติ (เจโตสมถะ) ในภายใน ไมว่ า่ งเวน้ จาก ฌาน ประกอบด้วยวิปสั สนา เจริญการอยเู่ รือนว่าง คอื (๑) หวังให้เป็นที่รกั ทพ่ี อใจของเพื่อนพรหมจารี (๒) หวังได้ปัจจยั ๔ (๓) หวงั ใหม้ ผี ลมาก มอี านิสงส์มากแก่ผู้ถวายปจั จัย ๔ (๔) หวงั ใหม้ ผี ลมาก มอี านสิ งสม์ ากแกญ่ าตสิ ายโลหติ ผลู้ ว่ งลบั ไปแลว้ มจี ติ เลอื่ มใส ระลึกถึง (๕) หวังสนั โดษ ดว้ ยปัจจยั ๔ ตามมตี ามได้ (๖) หวังอดทนต่อเย็น ร้อน หิว ระหาย สัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลาน ถอ้ ยค�ำที่ไมเ่ ปน็ ทีพ่ อใจและทุกขเวทนากล้า (๗) หวงั อดทนต่อความไมย่ นิ ดีและความยนิ ดมี ใิ ห้มาครอบงำ� ได้ (๘) หวังอดทนต่อความหวาดกลัว (๙) หวังไดฌ้ าน ๔ โดยไมย่ าก (๑๐) หวงั ทำ� ให้แจ้งเจโตวมิ ตุ ิ ปญั ญาวิมตุ ิ อันไมม่ อี าสวะอยใู่ นปจั จบุ นั (หมายเหตุ : ถอดความว่า ถา้ หวังอยา่ งใดอยา่ งหน่ึง หรือทง้ั หมด ๑๐ ข้อนี้ ก็พงึ ทำ� ให้ บรบิ ูรณ์ในศีล เจริญสมาธิ บำ� เพ็ญวปิ ัสสนา คอื ท�ำปญั ญาให้เกดิ ) PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 880 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต 881 ตรสั แสดงสง่ิ ท่เี ปน็ เสยี้ นหนาม ๑๐ ประการ คือ ัอง ุคตตร ินกาย (๑) ความคลกุ คลีด้วยหมู่ เป็นเสี้ยนหนามของผู้ยินดีความสงดั (๒) การประกอบเนือง ๆ ซึ่งนิมิตว่างาม เป็นเสี้ยนหนามของผู้ประกอบเนือง ๆ ซึง่ นมิ ติ ว่าไมง่ าม (๓) การดูการเลน่ เป็นเส้ยี นหนามของผสู้ ำ� รวมอินทรยี ์ (๔) การเที่ยวไปใกล้มาตคุ าม เป็นเสีย้ นหนามของพรหมจรรย์ (๕) เสียง เป็นเสีย้ นหนามของฌานท่ี ๑ (๖) วติ ก วิจาร (ความตรึก ความตรอง) เปน็ เสยี้ นหนามของฌานท่ี ๒ (๗) ปตี ิ (ความอม่ิ ใจ) เป็นเสีย้ นหนามของฌานท่ี ๓ (๘) ลมหายใจเขา้ ออก เป็นเส้ยี นหนามของฌานที่ ๔ (๙) สัญญา และเวทนา (ความก�ำหนดหมาย และความรู้สึกอารมณ์ว่าสุขทุกข์ เปน็ ตน้ ) เป็นเสยี้ นหนามแหง่ การเข้าสัญญาเวทยติ นโิ รธ (๑๐) ราคะ โทสะ (ความก�ำหนัดยินดี ความคิดประทุษร้าย) เป็นเส้ียนหนาม (ทัว่ ๆ ไป) ตรัสว่า ธรรม ๑๐ ประการท่ีน่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ แต่หาได้ยากในโลก คือ (๑) ทรพั ย์ (๒) ผวิ พรรณ (๓) ความไมม่ โี รค (๔) ศลี (๕) พรหมจรรย์ (การประพฤตเิ หมอื นพรหม คอื เวน้ จากกาม) (๖) มิตร (๗) การสดบั ตรบั ฟงั มาก (๘) ปัญญา (๙) ธรรมะ๑ (๑๐) สัตว์ (นา่ จะ หมายถึงคนท่ถี กู ใจ) ตรัสแสดงอนั ตราย ๑๐ ประการ แห่งสิ่งที่นา่ ปรารถนาน่าใครน่ ่าพอใจ คือ (๑) ความเกยี จคร้าน เป็นอันตรายแห่งทรัพย์ (๒) การไม่ประดบั ตกแต่ง เป็นอันตรายแห่งผวิ พรรณ (๓) การทำ� สงิ่ ทแ่ี สลง เป็นอนั ตรายแห่งความไมม่ โี รค (๔) คบคนช่วั เปน็ มิตร เปน็ อนั ตรายแหง่ ศีล (๕) การไม่สำ� รวมอินทรีย์ เปน็ อันตรายของพรหมจรรย์ (๖) การพูดขัด เปน็ อันตรายของมติ ร (๗) การไมท่ อ่ งบน่ เปน็ อันตรายแห่งการสดบั ตรบั ฟังมาก ๑ อรรถกถาแก้ว่า โลกตุ ตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 881 5/4/18 2:25 PM
882 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๘) การไมต่ ัง้ ใจฟัง ไมไ่ ต่ถาม เป็นอันตรายแห่งปญั ญา (๙) การไม่ประกอบเนอื ง ๆ การไม่พิจารณา เปน็ อันตรายแหง่ ธรรม (๑๐) การปฏบิ ัติผิด เปน็ อนั ตรายแหง่ สัตว์ สว่ นอาหาร (เครอ่ื งสบื ตอ่ หลอ่ เลย้ี ง) แหง่ ธรรม ๑๐ ประการ พงึ ทราบโดยนยั ตรงกนั ขา้ ม (หมายเหตุ : ในข้อท่ีว่าด้วยอันตราย พระไตรปิฎกฉบับไทยพิมพ์ตกตั้งแต่ข้อ ๒ ถึงขอ้ ๖ รวม ๕ ข้อ สว่ นในข้อวา่ ด้วยอาหารไม่ตกหล่น) ตรัสแสดงความเจริญ ๑๐ ประการ ท่ีท�ำให้อริยสาวกชื่อว่าเจริญด้วยความเจริญ อันประเสริฐ คือ (๑) นา สวน (๒) ทรัพย์ ข้าวเปลือก (๓) บุตร ภริยา (๔) ทาส กรรมกร (๕) สตั ว์ ๔ เท้า (๖) ศรทั ธา (๗) ศีล (๘) การสดับตรับฟัง (๙) การสละ (๑๐) ปัญญา ตรัสแสดงบุคคล ๑๐ ประเภท คือ (๑) ทุศีล ปฏิบัติมีแต่เสื่อม (๒) ทุศีล แต่กลบั ตัวได้ (ละทศุ ลี ได)้ ปฏบิ ตั ิกา้ วหน้า (๓) มีศลี ปฏิบตั มิ แี ตเ่ ส่ือม (๔) มีศีล ปฏบิ ัติกา้ วหน้า (๕) มีราคะกล้า ปฏิบัติมีแต่เส่ือม (๖) มีราคะกล้า ราคะดับไม่เหลือ ปฏิบัติก้าวหน้า (๗) มักโกรธ ปฏิบัติมีแต่เส่ือม (๘) มักโกรธ ความโกรธดับไม่เหลือ ปฏิบัติก้าวหน้า (๙) ฟุง้ สร้าน ปฏบิ ัตมิ ีแต่เสอ่ื ม (๑๐) ฟงุ้ สรา้ น ความฟ้งุ สรา้ นดับไมเ่ หลือ ปฏิบตั กิ ้าวหน้า (ตรัสแสดงแก่พระอานนท์เพ่ือแก้ข้อข้องใจของมิคสาลาอุบาสิกาอย่างเดียวกับที่ ปรากฏหนา้ ๘๒๓ วรรคที่ ๕ เปน็ แตใ่ นที่น้ีเพิม่ ข้อธรรมมากขึน้ ) (๑) ตรสั วา่ ถ้าไม่มธี รรม ๓ อยา่ งในโลก คอื ความเกดิ ความแก่ ความตาย กจ็ ะ ไม่เกิดพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก และพระธรรมวินัยท่ี พระตถาคตประกาศดแี ล้ว ก็จะไมร่ ุ่งเรืองในโลก (๒) ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือราคะ โทสะ โมหะ ก็ไม่ควรที่จะละ ความเกดิ ความแก่ ความตายได้ (๓) ตรัสวา่ ละธรรม ๓ อย่างไมไ่ ด้ คือสักกายทิฏฐิ วจิ ิกจิ ฉา สลี พั พตปรามาส๑ ก็ไม่ควรท่จี ะละ ราคะ โทสะ โมหะได้ (๔) ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไปไม่ได้ คือการไม่ใส่ใจโดยแยบคาย การเสพ ทางผิด การที่จิตหดหู่ ก็ไม่ควรจะละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต ปรามาสได้ ๑ ดคู �ำอธบิ ายในเชิงอรรถ หนา้ ๗๔๖ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 882 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต 883 (๕) ตรสั วา่ ละธรรม ๓ อยา่ งไมไ่ ด้ คอื ความเปน็ ผหู้ ลงลมื สติ ความไมม่ สี มั ปชญั ญะ ัอง ุคตตร ินกาย ความฟุ้งสร้านแห่งจิต ก็ไม่ควรจะละการไม่ใส่ใจโดยแยบคาย การเสพ ทางผิด การท่จี ิตหดหู่ได้ (๖) ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือ ความเป็นผู้ไม่ใคร่จะเห็นพระอริยะ ความเปน็ ผไู้ มใ่ ครฟ่ งั ธรรมของพระอรยิ ะ ความเปน็ ผมู้ จี ติ คดิ จบั ผดิ กไ็ มค่ วร จะละความเป็นผู้หลงลืมสติ ความไม่มีสติสัมปชัญญะ ความฟุ้งสร้านแห่ง จิตได้ (๗) ตรสั วา่ ละธรรม ๓ อยา่ งไมไ่ ด้ คอื ความฟงุ้ สรา้ น ความไมส่ ำ� รวม ความทศุ ลี ก็ไม่ควรจะละความเป็นผู้ไม่ใคร่จะเห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่จะฟัง ธรรมะของพระอริยะ ความเปน็ ผูม้ ีจติ คิดจับผิดได้ (๘) ตรสั วา่ ละธรรม ๓ อยา่ งไมไ่ ด้ คอื ความไมม่ ศี รทั ธา ความไมร่ คู้ ำ� ทค่ี นอน่ื พดู ความเกยี จครา้ น กไ็ มค่ วรจะละความฟงุ้ สรา้ น ความไมส่ ำ� รวม ความทศุ ลี ได้ (๙) ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความไม่เอ้ือเฟื้อ ความว่ายาก การคบ คนชั่วเป็นมิตร ก็ไม่ควรจะละความไม่มีศรัทธา ความไม่รู้ค�ำท่ีคนอ่ืนพูด ความเกียจครา้ นได้ (๑๐) ตรัสวา่ ละธรรม ๓ อยา่ งไม่ได้ คอื ความไมล่ ะอาย ความไม่เกรงกลัวตอ่ บาป ความประมาท ก็ไม่ควรจะละความไม่เอ้ือเฟื้อ ความว่ายาก การคบคนชั่ว เป็นมติ รได้ ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ อย่าง เป็นผู้เช่นเดียวกับกา คือ ท�ำลาย ความดีของผู้อื่น คะนอง ทะยานอยาก กินมาก ละโมภ ไม่กรุณา ไม่มีก�ำลัง ส่งเสียงเอ็ดอึง๑ หลงลืมสติ ท�ำการสะสม ตรัสแสดงอสัทธรรมของพวกนิครนถ์ และเรื่องเก่ียวกับความอาฆาต (เรื่องเกี่ยวกับ ความอาฆาต โปรดดูทีแ่ ปลไว้แลว้ หน้า ๑๑๕ - ๑๑๖ ข้อ ๗๔ ขอ้ ๗๕) วรรคท่ี ๔ ชอ่ื เถรวรรค ว่าด้วยพระเถระตา่ งๆ ๔. ตรสั วา่ พระตถาคตพน้ จากธรรม ๑๐ อยา่ ง คอื ขนั ธ์ ๕ ชาติ ชรา มรณะ ทกุ ข์ กเิ ลส เปรยี บเหมอื นดอกบัวเกิดในน�ำ้ โผลพ่ ้นน�้ำ ไมเ่ ปียกนำ้� ๑ โอรวี โอรวติ า อรรถกถาแก้ไว้ไม่ชัด PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 883 5/4/18 2:25 PM
884 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ตรัสกะพระอานนท์ว่า เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลต่อไปนี้จะถึงความเจริญไพบูลใน พระธรรมวินัยน้ี คือไม่มีศรัทธา ทุศีล สดับน้อย ว่ายาก คบคนชั่วเป็นมิตร เกียจคร้าน หลงลืมสติ ไม่สันโดษ มีความปรารถนาลามก เหน็ ผิด แตถ่ ้าตรงกันข้ามก็เป็นไปได้ ตรัสแสดงเหตุที่พระธรรมเทศนาของพระตถาคตบางคร้ังก็แจ่มแจ้ง บางคร้ังก็ไม่ แจ่มแจ้ง (แก่คนบางคน) เพราะมีศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหา ไม่เข้าไปน่ังใกล้ ไม่ไต่ถาม ไมเ่ งยี่ โสตฟงั ธรรม ไมท่ รงจำ� ธรรม ไมพ่ จิ ารณาอรรถแหง่ ธรรม ไมร่ อู้ รรถรธู้ รรม แลว้ ปฏบิ ตั ธิ รรม ตามความสมควรแก่ธรรม ไม่มีวาจาไพเราะ ไม่แนะน�ำชักชวนปลุกใจปลอบใจเพื่อนพรหมจารี (เพยี งขอ้ ใดข้อหนึ่งก็ทำ� ให้พระธรรมเทศนาไมแ่ จ่มแจ้ง) ฝา่ ยดคี อื ทีต่ รงกนั ข้าม พระมหาโมคคัลลานะแสดงธรรม ๑๐ อย่างว่า เป็นความเสื่อมในธรรมวินัยที่ พระตถาคตประกาศแลว้ คอื มกั โกรธ ผกู โกรธ หลบหลบู่ ญุ คณุ ทา่ น ตเี สมอ รษิ ยา ตระหนี่ โออ้ วด มีมายา ปรารถนาลามก หลงลมื สติ พระมหาจนุ ทะแสดงธรรม ๑๐ อย่าง (มคี วามเปน็ ผทู้ ศุ ลี ไม่มีศรทั ธา เป็นต้น) ว่าเป็น ความเสือ่ มในพระธรรมวินยั ทพ่ี ระตถาคตประกาศแลว้ พระมหากัสสปะแสดงธรรม ๑๐ อย่าง (นีวรณ์ ๕ ยินดีในการงาน ในการพูดมาก ในการหลบั ในการคลกุ คลดี ว้ ยหมู่ หลงลมื สต)ิ วา่ เปน็ ความเสอ่ื มในพระธรรมวนิ ยั ทพ่ี ระตถาคต ประกาศแล้ว ตรัสแสดงธรรมที่เป็นไปเพ่ือไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นท่ีเคารพ ไม่เป็นท่ีสรรเสริญ ไม่เป็น สมณะ ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือก่ออธิกรณ์ ไม่ใคร่การศึกษา ปรารถนาลามก มักโกรธ ลบหลบู่ ญุ คณุ ทา่ น โออ้ วด มมี ายา ไมพ่ จิ ารณา ไมห่ ลกี เรน้ ไมต่ อ้ นรบั เพอ่ื นพรหมจารี ฝา่ ยดคี อื ท่ตี รงกันข้าม ตรสั วา่ ผดู้ า่ ผบู้ รภิ าษเพอ่ื นพรหมจารี ผวู้ า่ รา้ ยพระอรยิ ะ ยอ่ มถงึ ความพนิ าศ ๑๐ อยา่ ง อย่างใดอย่างหน่ึง คือไม่บรรลุคุณท่ียังมิได้บรรลุ เส่ือมจากคุณที่บรรลุแล้ว พระสัทธรรมไม่ ผ่องแผ้ว เข้าใจผิดว่าได้บรรลุในพระสัทธรรม ไม่มีความยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ต้องอาบัติ ชัว่ หยาบอยา่ งใดอย่างหนึ่ง ถูกต้องโรคาพาธอนั หนัก จิตฟุง้ สร้าน เป็นบา้ หลงตาย ตายแลว้ เข้า ถงึ อบาย ทุคคติ วินิบาต นรก มีเร่ืองเล่าว่า พระโกกาลิกะ๑ กล่าวหาพระสาริบุตร และพระโมคคัลลานะว่ามี ความปรารถนาลามก พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามปรามถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ฟัง ต่อมาไม่ช้าก็เป็น ๑ พระโกกาลิกะ เปน็ พระพวกเดยี วกับพระเทวทัต PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 884 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต 885 โรคพุพอง มีแผลใหญ่ข้ึนทุกที จนถึงต้องนอนบนใบตอง มีน�้ำเหลืองและโลหิตไหลคล้ายปลา ัอง ุคตตร ินกาย ท่ถี กู ขอดเกลด็ ในทสี่ ุดกท็ �ำกาละด้วยอาพาธนัน้ และไปเกิดในปทุมนรก พระสารบิ ุตรกราบทูลเรอื่ งกำ� ลังของพระขีณาสพ ๑๐ ประการ (ดกู ำ� ลัง ๘ หน้า ๘๕๓) เพม่ิ เจริญสมั มัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ และเจรญิ พละ (กำ� ลงั ) ๕ อกี ๒ ขอ้ ) วรรคท่ี ๕ ชอ่ื อปุ าสกวรรค วา่ ด้วยอุบาสก ๕. ตรสั แสดงถงึ ผบู้ ริโภคกาม ๑๐ ประเภท (๑) แสวงหาทรพั ยม์ าไดโ้ ดยผดิ ธรรม ไมท่ ำ� ตวั เองใหเ้ ปน็ สขุ ไมแ่ จกจา่ ย ไมท่ ำ� บญุ (๒) ท�ำตัวเองใหเ้ ปน็ สขุ แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ท�ำบุญ (๓) ท�ำตัวเองให้เปน็ สขุ แจกจ่าย ท�ำบุญ (๔) แสวงหาทรัพย์มาได้โดยชอบธรรมบ้าง ผิดธรรมบ้าง ไม่ท�ำตัวให้เป็นสุข ไม่ แจกจา่ ย ไมท่ ำ� บุญ (๕) ท�ำตัวเองใหเ้ ป็นสขุ แต่ไมแ่ จกจา่ ย ไม่ท�ำบุญ (๖) ท�ำตัวเองให้เป็นสุข แจกจา่ ย ทำ� บญุ (๗) แสวงหาทรัพย์มาได้โดยชอบธรรม ไม่ท�ำตัวเองให้เป็นสุข ไม่แจกจ่าย ไม่ทำ� บุญ (๘) ทำ� ตวั เองให้เป็นสขุ แตไ่ ม่แจกจา่ ย ไมท่ �ำบญุ (๙) ทำ� ตวั เองใหเ้ ปน็ สขุ แจกจา่ ย ทำ� บญุ และติด ไมเ่ หน็ โทษในทรัพยน์ น้ั (๑๐) ทำ� ตวั เองใหเ้ ป็นสขุ แจกจ่าย ทำ� บญุ แต่ไม่ติดและเหน็ โทษในทรพั ยน์ น้ั แล้วตรัสช้ีถึงบุคคลแต่ละประเภทเหล่านั้นว่า ประเภทไหนถูกติเตียนกี่ทาง ควรสรรเสรญิ ก่ที าง ตรัสแสดงธรรมแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดีว่า อริยสาวกท่ีสงบเวร ๕ ได้ ประกอบด้วย องค์แหง่ พระโสดาบนั ๔ ไดเ้ ห็นญายธรรม (ธรรมทถ่ี กู ต้อง) ดว้ ยดี ดว้ ยปัญญา๑ เม่ือปรารถนา กพ็ ึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า สน้ิ นรก เป็นตน้ จนถงึ พระโสดาบัน เทย่ี งที่จะไดต้ รสั รู้ต่อไป อนาถปิณฑิกคฤหบดีโต้ตอบกับพวกปริพพาชกถึงทิฏฐิ ๑๐ ประการท่ีพวกเขายืนยัน เชน่ โลกเทย่ี ง โลกไม่เทยี่ งว่า ความเหน็ นนั้ ๆ ก็ไมเ่ ท่ยี ง เป็นทุกข์ (คือทนอย่ไู ม่ได้) ๑ ในภาคอธิบายตรสั แสดงการตรสั รูป้ ฏจิ จสมุปบาท คอื ความเกดิ ขึ้นหรอื ความดับไปโดยอาศัยเหตุต่อ ๆ กนั ไป PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 885 5/4/18 2:25 PM
886 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ วัชชิยมาหิตคฤหบดีโต้ตอบกับพวกปริพพาชก ถึงเรื่องการบ�ำเพ็ญตบะ ว่า พระผู้มีพระภาคทรงติส่ิงท่ีควรติ สรรเสริญสิ่งท่ีควรสรรเสริญ ทรงเป็นผู้ตรัสจ�ำแนก (ตามเหตผุ ล) ไม่ตรสั แง่เดยี ว อุตติยปริพพาชก เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามถึงเร่ืองทิฏฐิ ๑๐ มีเรื่องโลกเท่ียง เปน็ ตน้ ตรสั ตอบวา่ พระองคไ์ มท่ รงพยากรณท์ ฏิ ฐแิ ตล่ ะขอ้ เหลา่ นน้ั พระอานนทจ์ งึ ชแี้ จงเหตผุ ล ที่ไมท่ รงพยากรณใ์ หฟ้ ัง พระอานนทโ์ ตต้ อบกับโกกนุทปริพพาชก ถงึ เรื่องทฏิ ฐิ ๑๐ ประการใน ท�ำนองคลา้ ยคลงึ กัน ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรของค�ำนับ จนถึงเป็น เนอ้ื นาบญุ อนั ยอดเยย่ี มของโลก คอื มศี ลี สดบั มาก คบเพอื่ นทด่ี ี มคี วามเหน็ ชอบ ไดอ้ ภญิ ญา ๖ (มแี สดงฤทธิ์ได้ เป็นตน้ ) ตรสั วา่ ภกิ ษผุ เู้ ปน็ เถระ ประกอบดว้ ยธรรม ๑๐ ประการ อยใู่ นทศิ ใด ๆ กม็ คี วามผาสกุ ในทิศนั้น ๆ คือเป็นพระเถระรู้ราตรีนาน มีศีล สดับมาก ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ ใคร่ธรรม สนั โดษดว้ ยปจั จยั ๔ ตามมตี ามได้ นา่ เลอ่ื มใสในการกา้ วไปถอยกลบั สำ� รวมดว้ ยดเี มอ่ื นง่ั ในบา้ น ได้ฌาน ๔ ตามปรารถนา ทำ� ใหแ้ จง้ เจโตวิมตุ ิ ปญั ญาวิมตุ ิ อันไมม่ ีอาสวะอยใู่ นปัจจุบนั ตรสั แสดงธรรมแก่พระอุบาลี ถึงเรอ่ื งเสนาสนะป่าอันสงดั ยากทีจ่ ะมผี ้ยู นิ ดี แล้วตรัส แสดงถึงการที่กุลบุตรค่อยเล่ือนชั้นการปฏิบัติ จนถึงได้สัญญาเวทยิตนิโรธ (เค้าความเดียวกับ สามัญญผลสูตรหน้า ๔๑๔) และตรัสเรื่องยังละธรรม ๑๐ อย่างไม่ได้ ไม่ควรท�ำให้แจ้ง อรหตั ตผล (ดูหน้า ๑๒๑ หมายเลข ๘๐) ตตยิ ปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๓ (มี ๕ วรรค คือวรรคที่ ๑ ช่ือสมณสัญญาวรรค ว่าด้วยความก�ำหนดหมายถึง ความเป็นสมณะ วรรคท่ี ๒ ชื่อปัจโจโรหณิวรรค ว่าด้วยการก้าวลงจากบาป วรรคท่ี ๓ ช่ือปาริสุทธิวรรค ว่าด้วยความบริสุทธิ์ วรรคท่ี ๔ ช่ือสาธุวรรค ว่าด้วยส่ิงที่ดี วรรคที่ ๕ ชื่ออรยิ มคั ควรรค ว่าด้วยอรยิ มรรค) วรรคท่ี ๑ ช่อื สมณสญั ญาวรรค วา่ ดว้ ยความกำ� หนดหมายถงึ ความเปน็ สมณะ ๑. ตรัสว่า เจริญสมณสัญญา ๓ ประการแล้ว ย่อมท�ำธรรมะ ๗ อย่างให้บริบูรณ์ สมณสญั ญา ๓ ประการ คอื เรามเี พศตา่ งจากคฤหสั ถแ์ ลว้ ชวี ติ เราเนอ่ื งดว้ ยผอู้ น่ื ยงั มกี ริ ยิ าอาการ ท่ีดีงามท่ีจะพึงท�ำอีก ธรรมะ ๗ อย่าง คือท�ำติดต่อ ประพฤติติดต่อในศีล ไม่โลภ ไม่พยาบาท PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 886 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต 887 ไมด่ หู มน่ิ ทา่ น ใครก่ ารศึกษา พจิ ารณาเห็นประโยชนใ์ นบรขิ ารแหง่ ชวี ิต (พิจารณาเหน็ ประโยชน์ ัอง ุคตตร ินกาย ของปัจจัย ๔ ไม่ใช่เพ่ือฟุ่มเฟอื ยอ่นื ๆ) ปรารภความเพยี ร ตรสั วา่ เจรญิ โพชฌงค์ ๗ แลว้ ยอ่ มทำ� วชิ ชา ๓ (ระลกึ ชาตไิ ด้ ทพิ ยจกั ษุ ทำ� อาสวะใหส้ น้ิ ) ตรัสแสดงมิจฉตั ตะ (ความเป็นผิด) ๑๐ ประการ มีความเห็นผิด เป็นตน้ ว่า เปน็ เหตุ ให้เกดิ ความผดิ พลาด และตรัสสัมมัตตะ (ความเป็นถูก) ๑๐ ประการ ว่า เป็นเหตุให้เกิดความสมบูรณ์ ตรัสเทยี บทิฏฐิชัว่ วา่ เหมอื นพืชท่ขี ม ทฏิ ฐทิ ่ีดีเหมือนพชื ท่หี วาน ตรัสว่า อวิชชาเป็นหัวหน้าท่ีให้เข้าสู่อกุศลธรรม ความไม่ละอาย ไม่เกรงกลัวต่อบาป เปน็ ของตามหลงั มา เมอ่ื มอี วชิ ชา กม็ คี วามเหน็ ผดิ จนถงึ ความหลดุ พน้ ผดิ ฝา่ ยดที รงแสดงวชิ ชา ในทางตรงกันขา้ ม ตรัสแสดงถึงส่ิงท่ีขจัดความผิด (นิชชรวัตถุ) ๑๐ ประการ คือสัมมัตตะ (ฝ่ายถูก) ขจัดมจิ ฉตั ตะ (ฝา่ ยผดิ ) ๑๐ ประการ ตรสั วา่ ในทกั ษณิ ชนบท (ชนบทภาคใต)้ มปี ระเพณชี อื่ โธวนะ (การชำ� ระลา้ ง โดยวธิ เี อา ศพฝงั แลว้ ทำ� พธิ ลี า้ งกระดกู บชู าดว้ ยเครอ่ื งหอม รอ้ งไหค้ รำ�่ ครวญ เลน่ นกั ษตั ร - อรรถกถา) แต่ การชะระลา้ งแบบนั้น ไม่ท�ำใหพ้ น้ จากการความเกดิ แก่ตายได้ ตรสั ถงึ การชำ� ระลา้ งความเหน็ ผดิ เปน็ ตน้ จนถงึ ความหลดุ พน้ ผดิ วา่ เปน็ ไปเพอ่ื นพิ พาน ตรสั ถงึ การถา่ ยยาของหมอวา่ เพอื่ บำ� บดั อาพาธมดี บี า้ ง เสมหะบา้ ง ลมบา้ ง เปน็ สมฏุ ฐาน แลว้ ตรสั ถงึ การถา่ ยยาแบบอรยิ ะ คอื ถา่ ยความเหน็ ผดิ จนถงึ ความหลดุ พน้ ผดิ ออกไป ตรัสแสดงการใชย้ าให้อาเจียนของหมอทำ� นองเดยี วกับเรอื่ งถ่ายยา ตรัสถึงธรรมท่ีควรสูบออก ๑๐ ประการ มีความเห็นผิด เป็นต้น ตรัสเรื่องอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา) และอเสขิยธรรม (ธรรมของผู้ไม่ต้องศึกษา) โดยแสดงความเห็นชอบอันเป็น อเสขะ เปน็ ต้น วรรคท่ี ๒ ช่ือปจั โจโรหณวิ รรค ว่าดว้ ยการก้าวลงจากบาป ๒. ตรัสแสดงมิจฉาทิฏฐิ เป็นต้นว่า เป็นอธรรม เป็นอนัตถะ (มิใช่ประโยชน์) และ ตรสั ถึงสัมมาทิฏฐิ เปน็ ต้น ตรงกนั ขา้ ม แลว้ ตรัสตอ่ ไปวา่ ธรรมเหลา่ น้นั เปน็ ปจั จัยใหเ้ กิดอกศุ ล ธรรม และกศุ ลธรรมอื่น ๆ พระอานนท์อธิบายเรื่องอธรรมและธรรม อนัตถะและอรรถะ แก่ภิกษุทั้งหลาย ในท�ำนองทพ่ี ระผู้มีพระภาคตรสั อธบิ ายแล้ว และพระผมู้ พี ระภาคไดต้ รสั แสดงธรรมฝา่ ยดี ๑๐ ฝา่ ยชว่ั ๑๐ (สัมมัตตะ มิจฉตั ตะ) ยักย้ายนัยอีกหลายประการ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 887 5/4/18 2:25 PM
888 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ วรรคท่ี ๓ ชอื่ ปารสิ ทุ ธวิ รรค ว่าดว้ ยความบริสุทธิ์ วรรคที่ ๔ ชือ่ สาธุวรรค ว่าด้วยส่งิ ท่ีดี วรรคท่ี ๕ ช่อื อรยิ มัคควรรค วา่ ด้วยอรยิ มรรค ในวรรคท้ังสามวรรคนี้ ก็ตรัสแสดงเรื่องเห็นผิดชอบ เป็นต้น เช่นเดียวกัน อนึ่ง เพ่ือช่วยความจ�ำ ขอกล่าวถึงรายละเอียดของฝ่ายผิด ๑๐ ข้อไว้ในที่นี้อีกคร้ังหน่ึง คอื เห็นผิด ด�ำรผิ ิด เจรจาผดิ กระท�ำผิด เลย้ี งชวี ติ ผดิ พยายามผดิ ระลึกผิด ต้งั ใจมน่ั ผิด รผู้ ิด พน้ ผดิ ฝ่ายดีหรือฝ่ายชอบคอื ท่ตี รงกนั ข้าม จตุตถปัณณาสถ์ หมวด ๕๐ ที่ ๔ (มี ๕ วรรค วรรคแรก ช่อื ปคุ คลวรรค ว่าด้วยบุคคล วรรคท่ี ๒ ชอื่ ชาณุสโสณิวรรค วา่ ดว้ ยชาณสุ โสณพิ ราหมณ์ วรรคท่ี ๓ ชอ่ื สนุ ทรวรรค วา่ ดว้ ยสง่ิ ทดี่ ี วรรคที่ ๔ ชอ่ื เสฏฐวรรค วา่ ด้วยส่ิงที่ประเสริฐ วรรคท่ี ๕ ชื่อเสวิตัพพาเสวิตัพพวรรค ว่าด้วยบุคคลที่ควรส้องเสพ และไมค่ วรส้องเสพ) วรรคท่ี ๑ ช่อื ปคุ คลวรรค ว่าดว้ ยบคุ คล ๑. ตรสั แสดงบุคคลทป่ี ระกอบดว้ ยธรรม ๑๐ ประการ มคี วามเห็นผดิ เป็นต้น วา่ ไม่ ควรสอ้ งเสพ ตอ่ ประกอบดว้ ยความเหน็ ชอบ เป็นตน้ จึงควรสอ้ งเสพ วรรคท่ี ๒ ช่อื ชาณุสโสณวิ รรค ว่าด้วยชาณุสโสณิพราหมณ์ ๒. ตรัสแสดงธรรมแก่ชาณุสโสณิพราหมณ์ ถึงเร่ืองปัจโจโรหณี (การข้ามลง หรือ ก้าวลงจากบาป) ตามคติแห่งพระพุทธศาสนา คือชาณุสโสณิพราหมณ์เล่าถึงพิธีปัจโจโรหณี ของพราหมณ์ เมื่อถึงวันอุโบสถพราหมณ์จะสนานศีรษะ นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ใหม่ ฉาบแผ่นดิน ด้วยมูลโคสด ปูลาดด้วยหญ้าคาสด แล้วนอนระหว่างกองทรายกับโรงบูชาไฟ และลุกขึ้นท�ำ อัญชลีไฟ ๓ ครัง้ ในราตรนี ั้น กล่าววา่ ปจั โจโรหาม ภวนั ตงั (๒ คร้ัง) แปลว่า ข้าพเจา้ ข้ามลงหรือ ก้าวลงสู่ท่านผู้เจริญ เอาเนยใส น�้ำมัน เนยข้นมากมายใส่ลงในไฟ นี่แหละเป็นพิธีปัจโจโรหณี ของพราหมณ์ พระผู้มพี ระภาคตรสั วา่ พธิ ปี ัจโจโรหณใี นอริยวินัยเปน็ อีกอย่างหนึง่ คอื เป็นการ ก้าวลงจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น มีความเห็นผิดเป็นที่สุด ชาณุสโสณิพราหมณก์ เ็ ลือ่ มใส แสดงตนเปน็ อุบาสกถงึ พระรัตนตรยั เป็นสรณะตลอดชวี ติ อนงึ่ ในวรรคนต้ี รสั แสดงการเวน้ จากอกศุ ลกรรมบถ ๑๐ โดยนยั ตา่ ง ๆ กนั ตลอดเรอื่ ง มภี าษติ ของพระมหากจั จานเถระแทรกอยแู่ หง่ เดยี ว แตก่ เ็ ปน็ การขยายความแหง่ พระพทุ ธภาษติ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 888 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต 889 โดยอาศัยหลกั อกศุ ลกรรมบถ และมพี ระพุทธภาษิตตรัสแก่นายจุนทะ กัมมารบุตร เรอ่ื งความ ัอง ุคตตร ินกาย ไมส่ ะอาดทางกาย วาจา ใจ โดยแสดงอกศุ ลกรรมบถและกศุ ลกรรมบถ ๑๐ ประการ ถา้ ประพฤติ ชั่วแล้ว จะลุกขึ้นจากท่ีนอน ลูบคล�ำแผ่นดินหรือไม่ จะลูบคล�ำมูลโคสดหรือไม่ จะลูบคล�ำ หญ้าสดหรือไม่ จะบ�ำเรอไฟหรือไม่ จะท�ำอญั ชลดี วงอาทิตย์หรือไม่ จะลงอาบน�ำ้ วันละ ๓ เวลา (มีเวลาเย็นเป็นครั้งท่ี ๓) หรือไม่ ก็ไม่สะอาดทั้งนั้น ถ้าประพฤติดีแล้ว จะท�ำอย่างนั้นหรือไม่ ก็ช่ือว่าสะอาดท้ังน้ัน (เป็นการค้านลัทธิพราหมณ์ โดยชี้ความส�ำคัญไปท่ีความประพฤติ ไม่ใช่ สะอาดหรือไมส่ ะอาดเพราะท�ำเคล็ดตา่ ง ๆ) วรรคที่ ๓ ชอื่ สุนทรวรรค ว่าดว้ ยส่งิ ทดี่ ี วรรคท่ี ๔ ช่ือเสฏฐวรรค วา่ ด้วยสิ่งทปี่ ระเสรฐิ วรรคท่ี ๕ ชื่อเสวิตัพพาเสวิตัพพวรรค ว่าด้วยบุคคลท่ีควรส้องเสพและ ไมค่ วรสอ้ งเสพ ใน ๓ วรรคนี้ กเ็ ปน็ การแสดงเร่ืองอกุศลกรรมบถ และกุศลกรรมบถ ยักย้ายนยั สลับ กนั ไป และเพอื่ ชว่ ยทบทวนความจำ� ขอ้ กลา่ วซำ้� ถงึ อกศุ ลกรรมบถ คอื ฆา่ สตั ว์ ลกั ทรพั ย์ ประพฤติ ผดิ ในกาม ๓ นเ้ี ปน็ กายทจุ จรติ พดู ปด พดู สอ่ เสยี ดคอื ยใุ หแ้ ตกรา้ วกนั พดู คำ� หยาบ พดู เพอ้ เจอ้ ๔ นีเ้ ป็นวจีทุจจริต โลภอยากได้ของเขา พยาบาทปองรา้ ยเขา เห็นผดิ จากคลองธรรม ๓ นี้เป็น มโนทุจจริต รวมเป็นฝ่ายช่ัว ๑๐ ส่วนฝ่ายดีคือกุศลกรรมบถ หรือทางแห่งกรรมอันเป็นกุศล พงึ ทราบโดยนัยตรงกันข้าม ปัญจมปัณณาสถ์ หมวด ๕๐ ที่ ๕ (มี ๕ วรรค ไมม่ ชี ่ือพิเศษ เรียกวา่ วรรคท่ี ๑ ถงึ วรรคที่ ๕ ทเี ดยี ว) ตงั้ แตว่ รรคท่ี ๑ ถงึ วรรคท่ี ๕ สว่ นใหญก่ ลา่ วถงึ เรอ่ื งอกศุ ลกรรมบถ และกศุ ลกรรมบถ มิจฉัตตะ และสมั มตั ตะ (ความเปน็ ผดิ ความเปน็ ถกู มเี ห็นผดิ เห็นชอบ เปน็ ตน้ ) และสัญญา (ความก�ำหนดหมาย) ๑๐ ประการ เป็นต้น มีข้อนา่ สงั เกต คอื ในวรรคท่ี ๒ แสดงถึงบุคคลวา่ จะ ตกนรกเหมอื นถูกน�ำไปวางไว้ เม่ือประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ มฆี ่าสตั ว์ เป็นตน้ ประกอบ ด้วยธรรม ๒๐ ประการ คือทำ� ดว้ ยตนเองและชกั ชวนผอู้ ่นื เพ่ือฆ่าสัตว์ เป็นตน้ (๑๐ × ๒ = ๒๐) ประกอบดว้ ยธรรม ๓๐ ประการ คอื ท�ำดว้ ยตวั เอง ชักชวนผู้อ่ืน มีความยินดใี นอกศุ ลกรรมบถ ๑๐ นั้น (๑๐ × ๓ = ๓๐) ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ คือ ท�ำเอง ชกั ชวนผูอ้ ่นื ยนิ ดี กล่าว สรรเสรญิ อกศุ ลกรรมบถ ๑๐ น้ัน (๑๐ × ๔ = ๔๐) ฝา่ ยดคี ือทต่ี รงกันข้าม PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 889 5/4/18 2:25 PM
890 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ เอกาทสกนิบาต ชุมนมุ ธรรมะทมี่ ี ๑๑ ขอ้ (ในหมวดนไี้ มม่ หี มวด ๕๐ เรม่ิ ตน้ กข็ น้ึ วรรคท่ี ๑ ชอื่ นสิ สายวรรค วา่ ดว้ ยสง่ิ ทอี่ าศยั กนั วรรคที่ ๒ ไม่มีชื่อ ต่อจากนน้ั ก็กลา่ วถงึ พระสตู รท่ีไมจ่ ัดเข้าในหมวด ๕๐) วรรคที่ ๑ ช่อื นิสสายวรรค ว่าด้วยสิง่ ที่อาศยั กนั ๑. ตรัสแสดงอานิสงส์ของศีล แก่พระอานนท์ว่า เป็นปัจจัยของกันและกันเป็นข้อ ๆ ตอ่ ๆ กันไป รวม ๑๐ ข้อ (๑๑ ทั้งตัวศีลเอง) คอื ความไม่เดอื ดร้อน ความบันเทิง ความอ่มิ ใจ ความระงบั ความสขุ สมาธิ ความร้ตู ามเป็นจริง ความเบ่ือหนา่ ย ความคลายกำ� หนัด ความเห็น ดว้ ยญาณวา่ หลุดพน้ พระสารบิ ตุ ร แสดงธรรมแกภ่ กิ ษทุ ง้ั หลาย โดยนยั เดยี วกนั นอกนนั้ แสดงธรรมะทำ� นอง เดียวกบั หมวด ๑๐ หลายข้อเปน็ แตเ่ พมิ่ ขอ้ ปลีกย่อยข้ึนอกี ๑ จงึ เป็น ๑๑ ขอ้ ในข้อสุดท้ายตรัสแสดงการท่ีภิกษุช่ือว่ามีความส�ำเร็จล่วงส่วน อยู่จบพรหมจรรย์ เพราะอาศยั ธรรม ๓ ขอ้ รวม ๓ ประการ อาศัยธรรม ๒ ข้อ ๑ ประการ (รวมเป็น ๑๑) ธรรม ๓ ขอ้ ประการท่ี ๑ คือศลี สมาธิ ปัญญา ธรรม ๓ ข้อ ประการที่ ๒ คอื แสดงฤทธไิ์ ดเ้ ปน็ อศั จรรย์ ทายใจไดเ้ ปน็ อศั จรรย์ สงั่ สอนได้เปน็ อศั จรรย์ ธรรม ๓ ขอ้ ประการที่ ๓ คอื ความเหน็ ชอบ ความรู้ชอบ ความพน้ ชอบ ธรรม ๒ ข้อ คอื วชิ ชาความรู้ จรณะความประพฤติ วรรคท่ี ๒ (ไม่มชี ่อื ) ๒. ตรัสแสดงธรรมแก่มหานามศากยะ เรื่องวิหารธรรม (ธรรมอันควรเป็นท่ีอยู่แห่ง จิต) ๕ คือศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา และเจริญธรรมที่ยิ่งข้ึนไปอีก ๖ คือระลึก ถงึ พระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ ศลี จาคะ (การสละ) เทวดา (เฉพาะขอ้ เทวดา หมายถงึ คณุ ธรรม ทท่ี ำ� ใหเ้ ปน็ เทวดา คอื ศรทั ธา ศลี สตุ ะ จาคะ ปญั ญา) ตรัสแสดงธรรมแก่นันทิยศากยะ ท�ำนองเดียวกับมหานามศากยะ เป็นแต่แสดง วิหารธรรม ๖ โดยเพิ่มศีลอีก ๑ ข้อ และแสดงธรรมท่ีควรระลึก ๕ คือ พระพุทธ พระธรรม กลั ยาณมติ ร จาคะ เทวดา ตรัสแสดงธรรมแกพ่ ระสุภูติ ถงึ สทั ธาปทาน (ลกั ษณะของศรัทธา) ของกลุ บตุ รผอู้ อกบวช ๑๑ อยา่ ง คอื มศี ลี สดบั มาก คบเพอื่ นดงี าม วา่ งา่ ย ชว่ ยทำ� ธรุ ะของเพอื่ น พรหมจารี ใคร่ธรรม ปรารภความเพียร ระลึกชาติได้ ได้ทิพยจักษุ ท�ำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปญั ญาวมิ ุติ อันไม่มีอาสวะ (ท�ำอาสวะใหส้ ้นิ ) PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 890 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 891 ตรัสแสดงอานิสงส์ของเมตตาเจโตวิมุติ (เมตตาที่เป็นฌาน) ๑๑ ประการ คือ ัอง ุคตตร ินกาย หลบั เปน็ สขุ ตนื่ เปน็ สขุ ไมฝ่ นั รา้ ย เปน็ ทรี่ กั ของมนษุ ย ์ เปน็ ทรี่ กั ของอมนษุ ย ์ เทวดายอ่ มรกั ษา ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่กล�้ำกราย จิตเป็นสมาธิได้เร็ว ผิวหน้าผ่องใส ไม่หลงตาย ถ้ามิได้ บรรลุธรรมอันยิง่ ขน้ึ ไป ก็จะเข้าสูพ่ รหมโลก (เมอ่ื ตายไปแล้ว) ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ ถามพระอานนท์ถึงธรรมข้อเดียวที่ภิกษุผู้บ�ำเพ็ญเพียร ไม่ประมาทในธรรมน้ัน แล้วจะส้ินอาสวะได้ ท่านแสดงการเจริญฌานที่ ๑ ถึงฌานที่ ๔ การเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่เป็นเจโตวิมุติ (เป็นฌาน) การเจริญอรูปฌานท่ี ๑ ถงึ ท่ี ๓ (รวม ๑๑ ขอ้ ) วา่ เพยี งเจรญิ ขอ้ ใดขอ้ หนงึ่ แลว้ รวู้ า่ สง่ิ นไ้ี มเ่ ทยี่ ง มคี วามดบั ไปเปน็ ธรรมดา ก็อาจส้ินอาสวะได้ หรือถ้าไม่ส้ินอาสวะ ก็จะเป็นพระอนาคามี (พึงสังเกตว่า บ�ำเพ็ญฌานแล้ว กลบั พจิ ารณาฌานทง้ั สบิ เอด็ ขอ้ นน้ั วา่ ไมเ่ ทย่ี ง มคี วามดบั ไปเปน็ ธรรมดา อนั เปน็ วธิ ขี องวปิ สั สนา ก็บรรลุความส้ินอาสวะได้) ทสมคฤหบดีพอใจ กล่าวว่าเหมือนแสวงหาปากขุมทรัพย์แห่งเดียว แตไ่ ดพ้ บถึง ๑๑ แห่ง (ดหู นา้ ๕๙๐ เทียบดูด้วย) ตรัสแสดงการขาดและการประกอบด้วยคุณสมบัติของคนเล้ียงโคฝ่ายละ ๑๑ ข้อ เทยี บธรรมะ (ดมู หาโคปาลสตู ร หน้า ๕๕๙) ตรัสแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงการได้สมาธิ ท่ีไม่ต้องมีความก�ำหนดหมาย ใน ส่ิงต่าง ๑๑ ข้อว่าเป็นส่ิงน้ัน แต่ก็ยังมีสัญญาอยู่ได้ คือ ๑ - ๔ ธาตุ ๔ ๕ - ๘ อรูปฌาน ๔ ๙ โลกน้ี ๑๐ โลกหนา้ ๑๑ สง่ิ ที่ไดเ้ ห็น ไดย้ นิ ได้ทราบ ไดร้ ู้ พระสตู รท่ไี ม่จัดเขา้ ในหมวด ๕๐ ตรัสแสดงการขาดคุณสมบัติและการประกอบด้วยคุณสมบัติ ๑๑ ประการ๑ ของคน เลี้ยงโค เทียบธรรมะ โดยตรัสย้ายนัยทางธรรม คือพิจารณาเห็นความเป็นของไม่เท่ียง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน ส้ินไป เส่ือมไป ความคลายก�ำหนัด ความดับ ความสละ ในอายตนะภายใน อายตนะภายนอก วญิ ญาณ สมั ผสั เวทนา สญั ญา สัญเจตนา ตณั หา วิตก วจิ าร ซ่งึ เปน็ ไปทางทวาร ๖ มตี า เป็นต้น ตรัสว่า ควรเจริญธรรม ๑๑ อย่าง คือรูปฌาน ๔ พรหมวิหารท่ีเป็นเจโตวิมุติ ๔ (มีเมตตา เป็นต้น) อรูปฌานที่ ๑ ถึง ๓ (รวมเป็น ๑๑) เพื่อละอุปกิเลส ๑๖ มีราคะ เป็นต้น (ดหู นา้ ๕๓๑) จบความย่อแห่งพระไตรปิฎก เลม่ ๒๔ ๑ เนื้อหาพระบาลี นับจำ� นวนได้เพยี ง ๑๐ ประการ และเร่มิ นบั ๑ ที่ ในอายตนะภายใน - ม.พ.ป. PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 891 5/4/18 2:25 PM
ขทุ ทกนิกาย๑ ขุททกปาฐะ ธมั มปทคาถา อุทาน อิตวิ ุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวตั ถุ เปตวตั ถุ เถรคาถา เถรคี าถา ชาดก มหานิทเทส จฬู นทิ เทส ปฏิสัมภิทามรรค อปทาน พทุ ธวงั สะ จรยิ าปฎิ ก ๑ ขุททกนิกาย เป็นนิกายที่ ๕ ในสุตตันตปิฎก เป็นพระสูตรหรือพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ด รวมท้ังภาษิตของ พระสาวก ประวัติและชาดก รวม ๑๕ คมั ภรี ์ จัดพมิ พ์เปน็ คัมภรี ์ ๙ เลม่ คือ พระไตรปฎิ ก เล่ม ๒๕ ถงึ เลม่ ๓๓ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 892 5/4/18 2:25 PM
เลม่ ๒๕ ขทุ ทกนิกาย ขุททกปาฐะ ธัมมปทคาถา อทุ าน อิตวิ ุตตกะ สตุ ตนิบาต เล่ม ๒๕ นี้เป็นเล่มแรกของขุททกนิกาย หรือหมวดเบ็ดเตล็ด ได้กล่าวแล้วใน ตอนแรกว่า ขุททกนิกายหรือหมวดเบ็ดเตล็ดนี้ เริ่มตั้งแต่เล่ม ๒๕ ถึงเล่ม ๓๓ รวม ๙ เล่ม ว่าด้วยหัวข้อใหญ่ รวม ๑๕ เร่ือง (ดูหน้า ๓๑ - ๓๓) เฉพาะเล่ม ๒๕ นี้ มีหัวข้อใหญ่รวมอยู่ ถึง ๕ เรอ่ื ง คือ ๑. ขุททกปาฐะ บทสวดเล็ก ๆ น้อย ๆ ๒. ธัมมปทคาถา หรอื เรียกสั้น ๆ ว่า ธรรมบท แปลวา่ บทแหง่ ธรรม ว่าดว้ ยสุภาษติ สน้ั ๆ ประมาณ ๓๐๐ หัวขอ้ ๓. อทุ าน วา่ ด้วยพระพุทธภาษติ ท่ีทรงเปล่งออกมาปรารภเหตุการณ์น้ัน ๆ ๔. อิตวิ ตุ ตกะ วา่ ด้วยถ้อยคำ� ทอ่ี า้ งอิงว่าเป็นภาษิตของพระผู้มพี ระภาค ๕. สตุ ตนบิ าต วา่ ดว้ ยชมุ นุมพระสตู รเบด็ เตลด็ ตา่ ง ๆ ขยายความ ๑. ขุททกปาฐะ (บทสวดเล็ก ๆ นอ้ ย ๆ) แบง่ ออกเปน็ ๙ ส่วน คือ ๑. สรณคมนะ (การถึงสรณะ) เป็นบทสวดถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็น ท่พี ง่ึ ที่ระลกึ รวม ๓ ครัง้ (พทุ ฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ถงึ ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฉฺ ามิ) ๒. ทสสิกขาบท (สิกขาบท ๑๐) เป็นบทสมาทานศีล ๑๐ (ส�ำหรับสามเณร) คือเว้น จากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติล่วงพรหมจรรย์ พูดปด ด่ืมสุราเมรัย บริโภค อาหารในเวลาวิกาล (เท่ียงแล้วไปจนถึงเวลารุ่งอรุณ) ฟ้อนร�ำขับร้องประโคมดู การเล่น ทัดทรงระเบียบดอกไม้ของหอม ตกแต่งประดับประดา ท่ีน่ังที่นอน สงู ใหญ่ รับทองและเงนิ ๓. อาการ ๓๒ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เย่ือในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เศลษม์ หนอง เลอื ด เหง่ือ มันขน้ น้ำ� ตา เปลวมนั น้ำ� ลาย นำ�้ มูก ไขขอ้ มูตร มันสมอง PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 893 5/4/18 2:25 PM
894 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๔. ปัญหาของสามเณร อะไรช่ือว่าหนึ่ง สัตว์เป็นอยู่ได้ด้วยอาหาร อะไรช่ือว่าสอง นามและรปู ฯ ล ฯ (ดูขอ้ ความหน้า ๘๗๔ ซง่ึ มี ๑๐ ขอ้ ) ๕. มงคลสตู ร เลา่ เรอื่ งพระผมู้ พี ระภาคตรัสตอบปญั หาของเทวดา ผู้มาถามวา่ อะไร เป็นมงคล โดยตรัสชี้ไปที่ข้อประพฤติปฏิบัติท้ังสิ้น รวม ๓๗ ประการ๑ มิได้ทรง ชีไ้ ปทมี่ งคลภายนอก หรือโชคลางอะไรเลย ดังต่อไปนี้ (๑) ไมค่ บพาล (๒) คบบณั ฑติ (๓) บชู าผคู้ วรบชู า (๔) อยใู่ นประเทศอนั สมควร (๕) เคยท�ำบุญไว้ในกาลก่อน (๖) ตั้งตนชอบไว้ (๗) สดับตรับฟังมาก (๘) ศิลปะ (๙) ศึกษาวินัยดี (๑๐) วาจาเป็นสุภาษิต (๑๑) บ�ำรุงมารดาบิดา (๑๒) สงเคราะห์บุตรและภริยา (๑๓) การงานไม่อากูล (๑๔) ให้ทาน (๑๕) ประพฤติธรรม (๑๖) สงเคราะห์ญาติ (๑๗) การงานท่ีไม่มีโทษ (๑๘) เวน้ จากบาป (๑๙) ส�ำรวมจากการด่มื น้�ำเมา (๒๐) ไม่ประมาทในธรรม (๒๑) เคารพ (๒๒) เจียมตัว (๒๓) สันโดษ (ยินดีด้วยของของตน) (๒๔) รู้คุณท่าน (๒๕) ฟังธรรมตามกาล (๒๖) อดทน (๒๗) ว่าง่าย (๒๘) เห็นสมณะ (๒๙) สนทนาธรรมตามกาล (๓๐) ตบะ (ความเพียร) (๓๑) ประพฤตพิ รหมจรรย์ (๓๒) เหน็ อรยิ สจั จ์ (๓๓) ทำ� ใหแ้ จง้ ซงึ่ พระนพิ พาน (๓๔) จิตไม่หว่ันไหวเมื่อถูกต้องโลกธรรม (๓๕) จิตไม่เศร้าโศก (๓๖) จติ ปราศจากธุลี (๓๗) จิตเกษม (ปลอดโปร่งจากกิเลส) ๖. รตนสูตร เป็นบทสวดพรรณนาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และอ้าง สจั จวาจา อำ� นวยสวัสดมิ งคล ๗. ติโรกุฑฑกัณฑ์ ในท่ีบางแห่งเรียกติโรกุฑฑสูตร ค�ำว่า กัณฑ์ ก็แปลว่า หมวด ติโรกุฑฑะ แปลว่า ”นอกฝา„ เป็นเรื่องพรรณนาถึงผู้ล่วงลับไปแล้วว่า การอุทิศ ส่วนกุศลไปให้ ย่อมเข้าถงึ คอื ส�ำเร็จแกผ่ ลู้ ่วงลบั เหลา่ นนั้ โดยควรแก่ฐานะ ๘. นิธิกัณฑ์ ว่าด้วยเรื่องขุมทรัพย์ การฝังทรัพย์ไว้ในดินไม่ยั่งยืน อาจถูกคนลัก ขุดไป หรือดินเล่ือนเคลื่อนท่ีไป หรือฝังแล้วจ�ำไม่ได้ เมื่อสิ้นบุญสิ่งท้ังหมดนั้นก็ พินาศ แตข่ มุ ทรพั ยค์ อื บญุ (อนั เกดิ แต่การบำ� เพญ็ คุณงามความด)ี เปน็ ขุมทรัพย์ ๑ การนับจ�ำนวนว่า ๓๗ น้ีไม่มีในพระไตรปิฎก แต่ในอรรถกถาท่านนับเป็น ๓๘ โดยแยกการบ�ำรุงมารดากับการ บ�ำรุงบิดาไว้เป็น ๒ ข้อ และว่าอาจแยกข้อสงเคราะห์บุตร กับภริยาออกเป็น ๒ ข้ออีกก็ได้ หรือจะรวมอย่างที่ เขยี นไวข้ า้ งบน (คือรวมเป็น ๓๗ ขอ้ ) ก็ได้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 894 5/4/18 2:25 PM
สุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา 895 ท่ีใครจะช่วงชิงไม่ได้ เป็นของติดตัวไปเสมอ และอาจให้ส�ำเร็จส่ิงประสงค์ต้ังแต่ ุขททก ินกาย อยา่ งต�ำ่ ถงึ อย่างสูง ๙. กรณียเมตตสูตร พรรณนาถึงการแผ่เมตตาไปในสัตว์ทุกประเภทให้มีความสุข ทั่วหนา้ กนั ๒. ธัมมปทคาถา หรอื ธมั มบท (ว่าดว้ ยบทแห่งธรรม) ได้กล่าวแล้วว่า ธัมมบท (หรือเขียนว่าธรรมบทก็ได้) หมายถึงสุภาษิตสั้น ๆ ประมาณ ๓๐๐ ข้อ และได้แปลไว้เป็นตัวอย่างแล้วในหน้า ๑๓๑ ๑๓๓ - ๑๓๘ ๑๔๓ และ๑๔๔ รวมหลายสบิ ขอ้ ในทน่ี ้จี ะน�ำขอ้ ความทไี่ ม่ซำ้� กนั มาแปลไว้เปน็ ตวั อยา่ งอีก ๑๐ ข้อ คอื ๑. ไม่พงึ มองดคู วามผิดพลาดของคนอ่นื หรือมองดสู ิ่งที่เขาทำ� หรอื มไิ ด้ทำ� พงึ มองดู แต่สิง่ ที่ตนทำ� แลว้ หรือยังมิไดท้ �ำเท่าน้ัน ๒. ดอกไมท้ นี่ า่ ชอบใจ มสี ี แตไ่ มม่ กี ลน่ิ กเ็ หมอื นวาจาสภุ าษติ ยอ่ มไมม่ ผี ลแกผ่ ไู้ มท่ ำ� ตาม ๓. ในมนุษย์ทง้ั หลาย คนทีถ่ ึงฝั่งมนี ้อย คนนอกน้วี ่งิ เลาะไปตามชายฝง่ั (ข้างนี้) เทา่ นัน้ ๔. คนไม่มีศรัทธา ไม่กตัญญู ตัดช่อง (เข้าขโมย) มีโอกาสอันถูกขจัด หมดหวัง ผ้นู ั้นเป็นบรุ ษุ ผสู้ งู สดุ (เปน็ ค�ำกล่าว ดัดแปลงคำ� ด่าใหเ้ ป็นค�ำดี คำ� วา่ ไม่มีศรทั ธา ในทางท่ีดี ควรแปลว่า ”ไม่เช่ือง่าย„ คือพยายามทำ� ให้ประจักษ์ในผลความดีด้วย ตนเองจนไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ไม่กตัญญู หรืออตัญญู แปลในทางดีว่า ผู้รู้นิพพาน ซึ่งไม่มีสิ่งใด ๆ หรือใครมาท�ำมาสร้างได้ ตัดช่อง (เข้าขโมย) แปลจากค�ำว่า สันธิจเฉทะ ซ่ึงอาจแปลในทางที่ดีได้ว่า ตัดที่ต่อคือวัฏฏะ หรือการเวียนว่ายตาย เกิดไมต่ อ้ งเกิดอกี มโี อกาสอันถูกขจัด แปลในทางดีไดว้ า่ หมดโอกาสท่จี ะเกิดอีก เพราะหมดพืชคือกุศลกรรมและอกุศลกรรมแล้ว หมดหวังหรือคายความหวัง อาจจะตีความได้ว่า เมื่อได้บรรลุส่ิงที่สูงสุดแล้ว ก็ไม่จ�ำเป็นจะต้องคอยมุ่งหวัง อะไรตอ่ ไปอกี เรอื่ งเหลา่ นเี้ ปน็ ตวั อยา่ งในทางมองแงด่ ี จากคำ� เยาะเยย้ ถากถางของ คนที่มงุ่ รา้ ย) ๕. ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนผู้มิได้ประทุษร้าย ซ่ึงเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลส บาปย่อม สนองคนพาลน้ัน เหมือนฝนุ่ ที่ซดั ไปทวนลม ๖. คนเล้ียงโคใช้ท่อนไม้ต้อนโคไปสู่ที่หากินฉันใด ความแก่และความตาย ย่อม ตอ้ นอายขุ องสัตวท์ ้ังหลายไปฉันนัน้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 895 5/4/18 2:25 PM
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 497
- 498
- 499
- 500
- 501
- 502
- 503
- 504
- 505
- 506
- 507
- 508
- 509
- 510
- 511
- 512
- 513
- 514
- 515
- 516
- 517
- 518
- 519
- 520
- 521
- 522
- 523
- 524
- 525
- 526
- 527
- 528
- 529
- 530
- 531
- 532
- 533
- 534
- 535
- 536
- 537
- 538
- 539
- 540
- 541
- 542
- 543
- 544
- 545
- 546
- 547
- 548
- 549
- 550
- 551
- 552
- 553
- 554
- 555
- 556
- 557
- 558
- 559
- 560
- 561
- 562
- 563
- 564
- 565
- 566
- 567
- 568
- 569
- 570
- 571
- 572
- 573
- 574
- 575
- 576
- 577
- 578
- 579
- 580
- 581
- 582
- 583
- 584
- 585
- 586
- 587
- 588
- 589
- 590
- 591
- 592
- 593
- 594
- 595
- 596
- 597
- 598
- 599
- 600
- 601
- 602
- 603
- 604
- 605
- 606
- 607
- 608
- 609
- 610
- 611
- 612
- 613
- 614
- 615
- 616
- 617
- 618
- 619
- 620
- 621
- 622
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 500
- 501 - 550
- 551 - 600
- 601 - 622
Pages: