Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore suttantapitaka

suttantapitaka

Published by pim, 2019-11-02 02:56:34

Description: suttantapitaka

Search

Read the Text Version

946 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๒. เขมาเถริยาปทาน (ขอ้ อา้ งหรือประวัตขิ องพระนางเขมาเถรี) ในกาลนน้ั ขา้ พเจา้ (พระนางเขมาเถรี) เกดิ ในสกุลเศรษฐี ในกรุงหงั สวตี ในสมัยแหง่ พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนามีความเล่ือมใส ขอให้บิดานิมนต์พระ ผู้มีพระภาคพร้อมท้ังพระสาวก ฉันครบ ๗ วัน ได้สดับเรื่องท่ีพระผู้มีพระภาคทรงต้ังภิกษุ รูปหน่ึงในต�ำแหน่งเอตทัคคะ ทางมีปัญญามาก มีความชื่นชม กระท�ำบุญแล้วปรารถนา ตำ� แหนง่ นนั้ ตอ่ พระผมู้ พี ระภาค กไ็ ดร้ บั พยากรณว์ า่ จะไดเ้ ปน็ สาวกิ าของพระโคดมสมั มาสมั พทุ ธเจา้ มีนามว่า เขมา ได้บรรลุต�ำแหน่งเอตทัคคะสมดังปรารถนา และในสมัยของพระผู้มีพระภาค พระองค์น้ี ก็ได้ส�ำเร็จสมปรารถนาทุกประการ อนึ่งในสมัยพระวิปัสสี และพระกัสสปสัมมา สัมพุทธเจา้ ก็ได้ทำ� เชน่ เดียวกับพระนางอุปปลวณั ณาซงึ่ จะกล่าวต่อไป ๓. อปุ ปลวณั ณาเถรยิ าปทาน (ขอ้ อา้ งหรอื ประวตั ขิ องพระนางอปุ ปลวัณณาเถรี) ในกาลนั้น ข้าพเจ้า (พระนางอุปปสวัณณา) เป็นนาคกัญญา นิมนต์พระปทุมุตตร สัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสาวกเสวย ได้เห็นนางภิกษุณีองค์หน่ึงแสดงฤทธ์ิได้ต่าง ๆ จึงตั้งจิตปรารถนาฐานะเช่นน้ัน ได้ถวายข้าวน้�ำ และถวายดอกอุบลช่ืออรุณะ ปรารถนาให้ มีผิวกายดังดอกอุบล คร้ันในศาสนาของพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เกิดเป็นธิดาเศรษฐี ถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ในสมัยแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ไดเ้ ปน็ พระธดิ าองคท์ ่ี ๒ ของพระเจา้ กกิ ิ ราชาแหง่ แควน้ กาสผี อู้ ปุ ฐากพระพทุ ธเจา้ (พระนางเขมา เกดิ เปน็ พระราชธดิ าองคท์ ่ี ๑) ฟงั พระธรรมขอบรรพชา แตพ่ ระราชบดิ าไมท่ รงอนญุ าต จงึ ประพฤติ พรหมจรรยอ์ ยใู่ นพระราชวงั พรอ้ มดว้ ยพระภคนิ อี นื่ ๆ รวม ๗ พระองค์ ทง้ั พระองคเ์ อง นอกจาก นน้ั ในชาตอิ นื่ ๆ อกี ยงั ไดท้ ำ� ความดใี นพระปจั เจกพทุ ธเจา้ หลายพระองค์ ในชาตสิ ดุ ทา้ ยเกดิ เปน็ ธดิ าเศรษฐี ออกบวชตรสั รอู้ ริยสัจจ์ ๔ ละกเิ ลสาสวะได้ (เป็นผเู้ ลศิ ในทางมีฤทธ)ิ์ ๔. ปฏาจาราเถรยิ าปทาน (ข้ออา้ งหรอื ประวตั ขิ องพระนางปฏาจาราเถรี) ในกาลน้ัน ข้าพเจ้า (พระนางปฏาจาราเถรี) เกิดในสกุลแห่งเศรษฐีในกรุงหังสวดี ในสมัยของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้สดับพระธรรมเทศนา มีความเล่ือมใสถึง พระชินเจ้าเป็นสรณะ มีจิตชื่นบาน เมื่อเห็นพระผู้มีพระภาคทรงต้ังนางภิกษุณีในต�ำแหน่ง PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 946 5/4/18 2:26 PM

สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๓ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวังสะ 947 เลิศทางทรงพระวินัย จึงปรารถนาฐานะนั้น นิมนต์พระทศพล พร้อมทั้งพระสงฆ์ฉันเป็นเวลา ุขททก ินกาย ๗ วัน แล้วได้กราบทูลแสดงความปรารถนา ก็ได้รับพยากรณ์ว่า จะได้มีนามว่าปฏาจารา เป็น สาวิกาของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า อนึ่ง ในสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้เป็น พระธิดาองค์ท่ี ๓ ของพระเจา้ กกิ ิ มีความเป็นไปเชน่ เดยี วกบั พระนางอุปปลวณั ณา ๕. กณุ ฑลเกสีเถรยิ าปทาน (ข้ออ้างหรอื ประวัติของพระนางกณุ ฑลเกสีเถร)ี ประวัติของพระนางกุณฑลเกสี ก็เช่นเดียวกับพระนางเขมา พระนางอุปปลวัณณา พระนางปฏาจารา ได้บ�ำเพ็ญกุศลในสมัยพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระกัสสปสัมมา สัมพุทธเจ้า เป็นต้น ในท�ำนองเดียวกันในสมัยแห่งพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ออกบวช สำ� เรจ็ เปน็ พระอรหันต์ ไดร้ ับแต่งต้งั ในตำ� แหนง่ เลิศทางตรัสรู้ไดเ้ ร็ว พทุ ธวงั สะ (วงศแ์ ห่งพระพทุ ธเจ้า) ในเรื่องพุทธวงศ์นี้ แบ่งออกเป็น ๒๘ หัวข้อใหญ่ คือ หัวข้อแรกว่าด้วยรตนจงกรม คือท่ีจงกรมแก้ว อันเป็นท่ีเสด็จจงกรม (เดินกลับไปมามีสติสัมปชัญญะ) ส่วนหัวข้อที่ ๒ ถึงที่ ๒๖ ว่าด้วยพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ เร่ิมต้ังแต่พระทีปังกร จนถึงพระโคดมเป็น ท่ีสุดหัวข้อท่ี ๒๗ ว่าด้วยปกิณณกะ เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หัวข้อที่ ๒๘ ว่าด้วยการแจก พระบรมสารรี ิกธาตุ ซงึ่ จะกล่าวตามล�ำดับหวั ขอ้ ตอ่ ไปโดยสังเขป ๑. รตนจังกมนกัณฑ์ หมวดว่าด้วยที่จงกรมแก้ว เป็นค�ำฉันท์พรรณนาเหตุการณ์ เมือ่ เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดา ณ กรงุ กบิลพัสด์ุ ตรสั แสดงธรรมเรอื่ งเวสสันดร ชาดก เสร็จแล้วจึงทรงนริ มติ เรือนแก้วเสด็จจงกรม แสดงปาฏิหารยิ ใ์ ห้เห็นวา่ ทรง บำ� เพญ็ บารมีตา่ ง ๆ มาในอดตี กาลอย่างไร (เร่ืองนี้อาจถอดความได้ว่า ทรงแสดงธรรมได้ชัดเจนอย่างปาฏิหาริย์ เห็นจริง เหน็ จงั วา่ ไดท้ รงบรรลผุ ลดมี ใิ ชอ่ ยา่ งลอย ๆ แตต่ อ้ งบำ� เพญ็ บารมมี าอยา่ งมากมาย อันแสดงหลักการท่ีส�ำคัญแห่งพระพุทธศาสนา ที่ว่ามิได้มีการได้ดีใด ๆ เกิดขึ้น โดยบังเอิญ) ๒. ทีปังกรพุทธวงศ์ (ท่ี ๑) วงศ์แห่งพระทีปังกรพุทธเจ้า เล่าเรื่องเมื่อคร้ังพระ โคดมพทุ ธเจา้ เปน็ สเุ มธดาบส ชว่ ยชาวบา้ นทำ� ทางใหพ้ ระทปี งั กรพทุ ธเจา้ เสดจ็ ผา่ น มที เี่ หลอื อยอู่ กี หนอ่ ยทยี่ งั ทำ� ทางไมเ่ สรจ็ ดว้ ยศรทั ธา สเุ มธดาบสจงึ ลงนอนทบั โคลน PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 947 5/4/18 2:26 PM

948 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ใหพ้ ระพทุ ธเจา้ พรอ้ มทงั้ พระสาวกเสดจ็ และเดนิ เหยยี บขา้ มไป แลว้ ไดร้ บั พยากรณ์ ว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม ต่อจากน้ันแสดงรายละเอียดเฉพาะ พระทปี ังกรพทุ ธเจา้ ๓. โกณฑัญญพุทธวงศ์ (ท่ี ๒) วงศแ์ หง่ พระโกณฑัญญพุทธเจ้า สมัยนนั้ พระโคดม พุทธเจ้า ได้เคยเป็นกษัตริย์พระนามว่า วิชิตาวี ได้ถวายทานแด่พระโกณฑัญญ พทุ ธเจา้ และไดร้ บั พยากรณ์ ตอ่ จากนน้ั แสดงรายละเอยี ดเกยี่ วกบั พระโกณฑญั ญ พทุ ธเจ้า ๔. มังคลพุทธวงศ์ (ท่ี ๓) วงศ์แห่งพระมังคลพุทธเจ้า สมัยนั้นพระโคดมพุทธเจ้า เป็นพราหมณ์ มนี ามวา่ สรุ ุจิ ได้บชู าพระมังคลพทุ ธเจา้ พร้อมดว้ ยภิกษุสงฆ์ และ ถวายน�้ำนมโคให้ดื่ม ก็ได้รับพยากรณ์ ต่อจากนั้นแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ พระมังคลพุทธเจา้ ๕. สมุ นพทุ ธวงศ์ (ที่ ๔) วงศแ์ ห่งพระสุมนพทุ ธเจ้า สมัยนัน้ พระโคดมพุทธเจ้า เป็น อตุลนาคราช ได้ถวายข้าวน้�ำและผ้าคู่แด่พระสุมนพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ และไดร้ ับพยากรณ์ ต่อจากนั้นแสดงรายละเอียดเกย่ี วกบั พระสมุ นพทุ ธเจ้า ๖. เรวตพุทธวงศ์ (ท่ี ๕) วงศ์แหง่ พระเรวตพุทธเจ้า สมัยนนั้ พระโคดมพทุ ธเจา้ เป็น พราหมณ์นามว่า อติเทวะ ได้ถึงพระเรวตพุทธเจ้าเป็นสรณะ ได้ชมเชยพระคุณ คอื ศลี สมาธิ ปญั ญาของพระพทุ ธเจา้ พระองคน์ น้ั และไดถ้ วายทานอนั ยอดเยย่ี ม ได้รับพยากรณ์ ตอ่ จากน้นั แสดงรายละเอียดเก่ียวกบั พระเรวตพทุ ธเจ้า ๗. โสภิตพุทธวงศ์ (ที่ ๖) วงศ์แห่งพระโสภิตพุทธเจ้า สมัยนั้นพระโคดมพุทธเจ้า เป็นพราหมณ์นามว่า สุชาตะ ได้ถวายข้าวน�้ำแด่พระโสภิตพุทธเจ้าพร้อมท้ัง พระสาวก และไดร้ บั พยากรณ์ (ขอ้ ความเกยี่ วกบั รายละเอยี ด เฉพาะพระองคข์ อง พระพุทธเจ้า ท่ีกล่าวพระนามน้ัน มีกล่าวไว้ทุกแห่ง ต่อไปจะไม่กล่าวถึง เป็นอัน ทราบกันว่า มีรายละเอียดกล่าวไว้ทุกพระองค์ และพระโคดมพุทธเจ้าได้ทรง บำ� เพญ็ ความดี พร้อมทั้งไดร้ บั พยากรณ์ทกุ ครงั้ ) ๘. อโนมทสั สพิ ทุ ธวงศ์ (ที่ ๗) วงศแ์ หง่ พระอโนมทสั สีพทุ ธเจา้ ๙. ปทมุ พทุ ธวงศ์ (ท่ี ๘) วงศ์แห่งพระปทมุ พทุ ธเจ้า ๑๐. นารทพุทธวงศ์ (ท่ี ๙) วงศ์แหง่ พระนารทพุทธเจา้ ๑๑. ปทมุ ตุ ตรพทุ ธวงศ์ (ท่ี ๑๐) วงศ์แหง่ พระปทุมุตตรพุทธเจา้ ๑๒. สุเมธพทุ ธวงศ์ (ท่ี ๑๑) วงศ์แห่งพระสเุ มธพุทธเจ้า PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 948 5/4/18 2:26 PM

สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๓ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวังสะ 949 ๑๓. สชุ าตพทุ ธวงศ์ (ท่ี ๑๒) วงศ์แหง่ พระสชุ าตพุทธเจ้า ุขททก ินกาย ๑๔. ปยิ ทัสสพิ ทุ ธวงศ์ (ท่ี ๑๓) วงศแ์ ห่งพระปยิ ทัสสพี ุทธเจา้ ๑๕. อัตถทัสสิพุทธวงศ์ (ที่ ๑๔) วงศ์แหง่ พระอตั ถทัสสพี ุทธเจา้ ๑๖. ธัมมทัสสิพุทธวงศ์ (ที่ ๑๕) วงศแ์ ห่งพระธัมมทัสสีพทุ ธเจา้ ๑๗. สิทธตั ถพุทธวงศ์ (ที่ ๑๖) วงศแ์ หง่ พระสิทธัตถพทุ ธเจา้ ๑ ๑๘. ติสสพุทธวงศ์ (ท่ี ๑๗) วงศแ์ หง่ พระติสสพทุ ธเจา้ ๑๙. ปสุ สพทุ ธวงศ์ (ท่ี ๑๘) วงศ์แห่งพระปสุ สพุทธเจ้า ๒๐. วิปสั สิพุทธวงศ์ (ท่ี ๑๙) วงศ์แห่งพระวปิ ัสสพี ทุ ธเจ้า ๒๑. สขิ พิ ทุ ธวงศ์ (ที่ ๒๐) วงศแ์ ห่งพระสขิ ีพุทธเจา้ ๒๒. เวสสภพู ุทธวงศ์ (ท่ี ๒๑) วงศ์แห่งพระเวสสภูพทุ ธเจ้า ๒๓. กุกกสุ นั ธพุทธวงศ์ (ท่ี ๒๒) วงศแ์ หง่ พระกกุ กสุ ันธพทุ ธเจ้า (พระนามนีใ้ นที่อน่ื ใช้ ค�ำวา่ กกสุ นั ธะ) ๒๔. โกนาคมนพุทธวงศ์ (ที่ ๒๓) วงศแ์ หง่ พระโกนาคมนพทุ ธเจา้ ๒๕. กสั สปพทุ ธวงศ์ (ท่ี ๒๔) วงศแ์ ห่งพระกสั สปพุทธเจา้ ๒๖. โคตมพุทธวงศ์ (ท่ี ๒๕) วงศ์แห่งพระโคดมพุทธเจ้า๒ มีข้อความแสดงธรรม การประชุมพระสาวก พระนามพระพุทธบิดา พระพุทธมารดา และพระนาม พระสาวกท่ีสำ� คัญ ๒๗. พุทธปกิณณกกัณฑ์ หมวดเบ็ดเตล็ดเก่ียวกับพระพุทธเจ้าแสดงว่าในกัปป์ไหน พระพุทธเจ้าพระองค์ไหน ทรงอุบัติบ้าง ในตอนต้นได้แสดงว่าในกัปป์เดียวกับ พระทปี งั กรพทุ ธเจา้ (พระองคท์ ี่ ๑ ในพทุ ธวงศ)์ นนั้ ยงั มพี ระพทุ ธเจา้ อกี ๓ พระองค์ (รวมเป็น ๔) คือ พระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกรต่อจากน้ันจึงถึง พระทีปังกรพุทธเจ้า (อันแสดงว่าท้ังสามพระองค์นั้น มีมาก่อนพระองค์แรกใน พุทธวงศ์ ๒๕ พระองค์ ซึ่งความจริงตามหลักพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าในอดีต มีมากนบั จ�ำนวนไม่ได้ ในเลม่ นแี้ สดงพระนามไว้ ๒๘ พระองค)์ ๑ ไมใ่ ชพ่ ระองค์เดียวกบั พระโคดมพุทธเจ้า พระพุทธเจา้ องคป์ ัจจบุ นั - ม.พ.ป. ๒ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 949 5/4/18 2:26 PM

950 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๒๘. ธาตุภาชนียกถา แสดงว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้วได้มีการแจก พระธาตุไปไว้ในทีต่ า่ ง ๆ คือ (๑) ในนครของพระเจ้าอชาตศัตรุ (ราชคฤห์) (๒) ในกรุงเวสาลี (๓) ในกรงุ กบิลพสั ด์ุ (๔) ในแควน้ อลั ลกปั ปะ (๕) ในรามคาม (๖) ในแคว้นเวฏฐทีปกะ (๗) ในกรุงปาวาแห่งกษัตริย์มัลละ (๘) ในกรุงกุสินารา (รวมเป็นพระเจดีย์บรรจุพระอัฏฐิ ๘ แห่ง) โทณพราหมณ์ได้น�ำทะนานส�ำหรับตักแบ่ง พระบรมสารีรกิ ธาตไุ ปบรรจุในสตปู เรยี กว่าตุมพเจดีย์ (พระเจดียท์ ะนาน) โมริยกษัตริย์ได้ขอรับพระอังคาร (เถ้าถ่าน) ไปบรรจุเป็นอังคารสตูป นอกจากน้ันยัง แสดงรายละเอียดเก่ียวกับพระเข้ียวแก้ว พระทนต์ พระเกศ พระโลมา และพระพุทธบริขาร ตา่ ง ๆ จริยาปิฎก (คัมภีรว์ ่าดว้ ยพระพุทธจริยา) (จริยาปิฎกหรือคัมภีร์ว่าด้วยพระพุทธจริยาน้ี นับเป็นเร่ืองใหญ่หัวข้อสุดท้ายใน เล่ม ๓๓ ซึ่งเริ่มดว้ ยเรือ่ งอปทานกับเร่อื งพุทธวงศ์มาแลว้ โดยลำ� ดบั จริยาหรอื ความประพฤตใิ น อดตี ของพระพทุ ธเจ้า ท่ีนำ� มากล่าวไวใ้ นจริยาปฎิ ก มี ๓๕ เร่อื ง โดยแยกแสดงว่า เป็นการบำ� เพ็ญทานบารมี ๑๐ เรอื่ ง เปน็ การบ�ำเพ็ญศลี บารมี ๑๐ เรื่อง เป็นการบ�ำเพญ็ เนกขมั มบารมี (การออกบวช) ๖ เรือ่ ง สัจจบารมี ๖ เรอ่ื ง เมตตาบารมี ๒ เรอื่ ง อุเบกขาบารมี ๑ เรื่อง รวมเป็น ๑๕ เร่อื ง กับตอนสุดท้าย มีสโมธานกถา คือ ค�ำสรูปว่า เร่ืองไหนเป็นบารมีอะไรในบารมี ๑๐ ประการ มีข้อท่ีควรพิจารณาในเบื้องแรก คือไฉนจริยาปิฎกจึงแบ่งบารมีไว้เพียง ๖ แต่ใน สโมธานกถา กล่าวว่า บารมี มี ๓๐ และในส�ำนวนกวีที่เล่าไว้ในจริยา ๓๕ เร่ืองน้ัน แสดงเป็น PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 950 5/4/18 2:26 PM

สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๓ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ จริยาปิฎก 951 สำ� นวนของพระผมู้ พี ระภาควา่ เราเปน็ ผนู้ น้ั ผนู้ ใี้ นชาตนิ น้ั ชาตนิ ้ี ตามความเหน็ สว่ นตวั ของขา้ พเจา้ ุขททก ินกาย (ผู้จัดท�ำ) สันนิษฐาน๑ ว่า มีผู้แต่งเป็นบทกวีข้ึนในช้ันหลังที่มีการสังคายนาพระธรรมวินัยแล้ว โดยรวบรวมเรอ่ื งราวมาจดั ระเบยี บขน้ึ ใหค้ น้ งา่ ยหางา่ ย ทง้ั ๆ ทป่ี รากฏวา่ มคี ำ� กลา่ ววา่ พระพทุ ธเจา้ เคยเสวยพระชาติ เฉพาะทป่ี รากฏในชาดกนบั จำ� นวนหลายรอ้ ย แตก่ ลบั นำ� มาแสดงในจรยิ าปฎิ ก เพียง ๓๕ เรื่อง เพยี ง ๓ บารมี ไม่ครบ ๑๐ บารมี ในสโมธานกถา หรือคำ� สรปู แสดงบารมี ๑๐ แจกเปน็ ๓๐ คอื บารมหี รอื คุณธรรมที่ให้ ถึงฝั่งแห่งความส�ำเร็จอย่างธรรมดา ๑ สูงข้ึนมากกว่าน้ัน เรียกอุปบารมี ๑ สูงสุด เรียก ปรมัตถบารมี ๑ บารมี ๓ ข้นั นี้ เปน็ ไปในคุณธรรม ๑๐ ข้อ จึงเป็นบารมี ๓๐ คุณธรรม ๑๐ ข้อ คือ (๑) ทาน การให้ (๒) ศีล การรกั ษากายวาจาใหเ้ รียบร้อย (๓) เนกขมั มะ การออกบวช หรือออกจากกาม (๔) ปัญญา (๕) วริ ยิ ะ ความเพียร (๖) ขนั ติ ความอดทน (๗) สจั จะ ความจรงิ ใจ (๘) อธฏิ ฐาน ความต้งั ใจมัน่ (๙) เมตตา ไมตรจี ติ คดิ จะให้สตั ว์ทง้ั ปวงเปน็ สขุ (๑๐) อเุ บกขา วางใจเปน็ กลาง ในสโมธานกถาไดแ้ สดงไวด้ ว้ ยวา่ เรอ่ื งอะไรบา้ งเปน็ บารมเี ฉย ๆ เปน็ อปุ บารมี และเปน็ ปรมตั ถบารมี แตก่ แ็ สดงไว้พอเปน็ ตวั อยา่ ง ไม่ถงึ รอ้ ยเร่อื ง ตอ่ ไปนีจ้ ะกลา่ วตามลำ� ดบั จรยิ าตาม ท่ีปรากฏในบาลเี ปน็ ลำ� ดับไป) ๑ ในอรรถกถาชาดก ชา.อ. ๗/๔๕ กล่าวว่า จริยาปิฎกนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแสดงแก่พระสาริบุตร ปัญหาจึง มอี ยเู่ พยี งวา่ ตรสั แสดงอยา่ งพดู กนั ธรรมดา หรอื แสดงเปน็ บทกวอี ยา่ งทปี่ รากฏอยใู่ นจรยิ าปฎิ กนนั้ ขา้ พเจา้ เหน็ วา่ ตรสั แสดงดว้ ยคำ� พดู ธรรมดา แตม่ ารวบรวมเปน็ บทกวขี นึ้ ภายหลงั เพราะถา้ จะกลา่ วไปแลว้ ทเี่ ปน็ พระไตรปฎิ กขน้ึ ได้ กเ็ พราะการรวบรวมขน้ึ จากทจ่ี ำ� ได้ ทอ่ งไดท้ ง้ั สน้ิ ขอ้ สำ� คญั นนั้ มใิ ชอ่ ยทู่ สี่ ำ� นวนแบบนน้ั แบบน้ี แต่อยู่ท่ีธรรมะ หรอื ตัวอย่างแห่งคุณความดี PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 951 5/4/18 2:26 PM

952 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ๑. ทานบารมี ๑๐ เรื่อง (๑) อกติ ติจรยิ า ความประพฤติหรือประวัติคร้งั เปน็ อกิตติดาบส ในสมัยท่ีเรา (พระผู้มีพระภาค) เป็นอกิตติดาบส อยู่ในป่าใหญ่ ท้าวสักกะปลอมตัว เป็นพราหมณ์มาขอภิกษายืนอยู่ที่ประตู จึงให้ใบไม้ท่ีน�ำมาจากป่า อันไม่มีน�้ำมัน ไม่มีรสเค็ม เกล่ียลง (ในภาชนะของท้าวสักกะ) ด้วยภาชนะของตน ครั้นให้ใบไม้ (ท่ีใช้เป็นอาหาร) แล้วก็ คว่�ำภาชนะ ไม่แสวงหา (ใบไม้มาใช้เป็นอาหารส�ำหรับตน) อีก เข้าสู่บรรณศาลา แม้ในวันท่ี ๒ วันท่ี ๓ (เมื่อเราแสวงหาอาหารคือใบไม้มาได้แล้ว) ท้าวสักกะก็มาขออีก เราก็ให้ไปเช่นเดิม โดยไม่หวั่นไหว ไม่ติดข้อง (แล้วก็ไม่หามาบริโภคเองอีกด้วย) ความเปลี่ยนแปลงในสรีระ ของเราเป็นเพราะเหตุนั้นไม่มี เราได้ยังวันและคืนนั้นให้ล่วงไปด้วยปีติและสุข (ในฌาน) ถ้าเราจะพึงได้ผู้ควรแก่ทักษิณา แม้เดือนหน่ึงหรือสองเดือนเราก็จะให้ทานอันอุดม โดยไม่ หวั่นไหว ไม่ติดข้อง เมื่อเราให้ทานแก่พราหมณ์นั้น มิได้ปรารถนายศและลาภ หากปรารถนา พระสัพพัญญุตญาณ (ญาณหย่ังรู้ส่ิงทั้งปวง คือการได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า บ�ำเพ็ญประโยชน์ แก่สัตวโลกได้เต็มท)ี่ (๒) สังขพราหมณจรยิ า ประวตั คิ ร้ังเป็นสังขพราหมณ์ ในกาลเมื่อเรา (พระผู้มีพระภาค) เป็นพราหมณ์ชื่อสังขะ ใคร่จะข้ามสมุทร จึงไปท่ี ท่าน�้ำ ณ ท่ีน้ันได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จเดินทางกันดารมาบนพ้ืนดินอันแข็งและร้อน สวนทางมา จึงคิดว่า (บัดนี้) นาของผู้ต้องการบุญมาถึงที่นี่แล้ว จึงถอดรองเท้า ถวายร่มและ รองเท้า เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้สุขุมาล (ละเอียดอ่อน) โดยคุณตั้งร้อย ได้รับความสุข เราไดบ้ �ำเพ็ญทาน ถวายทานแด่พระผูม้ ีพระภาคเจา้ นนั้ ดว้ ยประการอยา่ งน้ี (๓) กุรุธัมมจริยา ประวตั ิเน่อื งดว้ ยธรรมของชาวกุรุ ในสมัยเม่ือเรา (พระผู้มีพระภาค) เป็นพระเจ้าธนัญชัย ประกอบด้วยกุศล ๑๐ ประการ (ทศพธิ ราชธรรม) ในกรุงอินทปัตถ์ มพี ราหมณช์ าวกาลิงครฏั ฐม์ าขอพญาชา้ ง อนั ควร สงวนนบั ถือกนั ว่าเปน็ มงคล อ้างวา่ ชนบทของตนฝนไมต่ ก ทำ� ใหเ้ กดิ ทุพภกิ ขภัย และฉาตกภยั (ภัยคือข้าวยากและอดอยากหิวโหย) อันยิ่งใหญ่ จึงใคร่ขอช้างตัวประเสริฐมีสีเขียว มีนามว่า PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 952 5/4/18 2:26 PM

สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๓ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ จริยาปิฎก 953 อัญชัน ก็ได้พระราชทานช้างไป เมื่อชาวเมืองคัดค้าน จึงตรัสตอบว่า เราย่อมให้แม้ราชสมบัติ ุขททก ินกาย แม้ร่างกายของเราท้ังส้ิน พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เราจึงให้ช้างเพราะเหตุ๑ น้ัน (๔) มหาสุทัสสนจรยิ า ประวตั ิครง้ั เปน็ พระเจ้ามหาสทุ ัสสนะ ในสมัยเม่ือเรา เป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรด์ิ ในกรุงกุสาวดี ได้ประกาศให้ทาน ทุกอย่างที่มีผู้ต้องการวันละ ๓ เวลา ไม่มีอาลัย ไม่หวังสิ่งตอบแทน (อย่างอื่น) นอกจากเพื่อ บรรลุพระโพธิญาณ (๕) มหาโควนิ ทจรยิ า ประวัติครั้งเป็นมหาโควินทพราหมณ์ ในสมยั เมอื่ เราเปน็ มหาโควนิ ทพราหมณ์ เปน็ ปโุ รหติ ของพระราชา ๗ พระองค์ ไดถ้ วาย มหาทาน ไม่ใช่เกลียดทรัพย์และข้าวเปลือก ไม่ใช่สะสมทรัพย์ไม่เป็น แต่พระสัพพัญญุตญาณ เปน็ ทรี่ ักของเรา เพราะเหตนุ ัน้ เราจึงใหท้ รพั ย์อันประเสริฐ (๖) เนมริ าชจริยา ประวัติครัง้ เป็นพระเจา้ เนมิ ในสมยั เม่อื เราเป็นมหาราชนามว่า เนมิ ในกรุงมถิ ลิ า ไดส้ รา้ งศาลา ๔ หลัง มี ๔ หนา้ ไดใ้ หท้ านทง้ั แกค่ นและสตั ว์ ทำ� สตั วท์ ง้ั หลายใหเ้ อบิ อม่ิ ดว้ ยทาน เพราะเราปรารถนาพระโพธญิ าณ อนั อดุ ม (๗) จนั ทกุมารจรยิ า ประวตั ิครงั้ เป็นจนั ทกุมาร ในสมัยเมื่อเราเป็นจันทกุมาร ราชโอรสของพระเจ้าเอกราช ในกรุงบุปผวดี ได้พ้น จากการถูกบูชายญั ร้สู กึ สลดใจ จงึ จัดให้มีมหาทาน ได้ใหท้ านตลอด ๕ - ๖ วัน อยา่ งไม่เป็นอนั ดม่ื ไม่เปน็ อนั กนิ เราไม่ถอยจากการใหท้ านเพ่ือบรรลุพระโพธิญาณ ๑ ชา้ งนน้ั ในอรรถกถาชาดกกล่าวว่า ชือ่ ว่าอญั ชนสนั นิภะบ้าง อัญชนวสภะบา้ ง เม่อื พราหมณไ์ ด้ช้างไปแล้ว ฝนกย็ งั ไม่ตก จึงได้น�ำช้างมาคืน ขอจารึกกุรุธรรมลงในแผ่นทอง เพ่ือไปประพฤติปฏิบัติ กุรุธรรมที่จารึกไป คือศีล ๕ เมอ่ื น�ำไปประพฤตปิ ฏบิ ตั แิ ล้ว ฝนกต็ กต้องตามฤดกู าลตามเดมิ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 953 5/4/18 2:26 PM

954 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๘) สิวิราชจรยิ า ประวัติครง้ั เปน็ พระเจ้าสีพี ในสมัยเม่ือเราเป็นกษัตริย์นามว่า สิวิ๑ ในกรุงอริฏฐะ วันหนึ่งด�ำริว่า ทานที่เป็น ของมนุษย์ใด ๆ ทเี่ ราไม่เคยให้ ไม่มี แม้ผใู้ ดจะขอดวงตา เรากจ็ ะให้โดยไม่หวนั่ ไหว ทา้ วสักกะ ทราบความด�ำริของเรา จึงปลอมตัวเป็นพราหมณ์แก่ตาบอดมาขอตาข้างหนึ่ง แต่เรากลับให้ สองข้าง (ในท่ีสุดด้วยสัจจกิริยาก็หายเป็นปกติ เห็นได้ตามเดิม) ดวงตาทั้งสองของตนเองมิได้ เป็นท่ีเกลียดชังของเรา แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นท่ีรักของเรา เพราะฉะน้ัน เราจึงให้ดวงตา (๙) เวสสนั ตรจรยิ า ประวตั คิ รัง้ เป็นพระเวสสันดร ในสมัยเม่ือเราเป็นเวสสันดร ราชโอรสของพระเจ้าสัญชัยและพระนางผุสสดี ได้ให้ช้างชื่อปัจจยนาค เป็นเหตุให้ชาวสีพีโกรธขับไล่ เราจึงบ�ำเพ็ญมหาทานก่อนจากไปอยู่ป่า เมอื่ ไปอยใู่ นป่าแล้ว ก็มผี ้ตู ้องการไปขอชาลี กณั หาผูเ้ ป็นบตุ รน้อยของเรา เราก็ให้ไป ท้าวสกั กะ ปลอมตัวเป็นพราหมณ์มาขอมัทรี (พระชายา) เราก็ให้ไปอีก (แต่ในท่ีสุดก็ได้กลับอยู่ร่วมกัน ทั้งหมดทกุ พระองค)์ (๑๐) สสปณั ฑิตจริยา ประวตั คิ รงั้ เป็นสสบณั ฑติ ในสมัยเม่ือเราเป็นกระต่าย กินหญ้า กินใบไม้ และผลไม้เป็นอาหาร เว้นจากการ เบียดเบียนผู้อ่ืน มีสหายอีก ๓ อยู่ร่วมกัน คือลิง สุนัขจิ้งจอก และนาก เราสั่งสอนสหายให้ เว้นความชั่ว ประพฤติความดี ท้าวสักกะปลอมเป็นพราหมณ์มาขออาหาร เพ่ือจะทดลองเรา เราจึงให้ก่อไฟข้ึน แล้วกระโดดเข้าไปในไฟ เพื่อให้เป็นอาหารของพราหมณ์น้ัน (แต่กลับเย็น สบายไม่รู้สึกร้อนเลย ในที่สุดท้าวสักกะก็แสดงตน และให้ความสุขแก่สัตว์ท้ังสี่น้ันด้วย เทวานุภาพ) ๑ ส�ำเนยี งไทยนยิ มเรียกเป็นสพี ี PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 954 5/4/18 2:26 PM

สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๓ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ จริยาปิฎก 955 ๒. ศีลบารมี ๑๐ เรือ่ ง ุขททก ินกาย (๑) สลี วนาคจรยิ า ประวัติคร้ังเปน็ ช้างผู้มศี ลี ในสมัยท่ีเราเป็นช้างผู้เล้ียงมารดาอยู่ในป่า พรานคนหน่ึงเห็นเข้าก็ไปกราบทูลแด่ พระราชา พระราชาจึงทรงส่งควาญช้างไปจับเรา พรานช้างสังเกตเห็นเราถอนรากเหง้าบัวเพื่อ เลี้ยงมารดา ก็เข้ามาจับงวง เรียกเราว่า ลูกเอ๋ยจงมา เพ่ือที่จะรักษาศีลไว้ เราแม้จะมีก�ำลังมาก กม็ ิได้ทำ� ให้จติ ปรวนแปรผิดปกติ (๒) ภรู ิทัตตจรยิ า ประวัติคร้งั เปน็ ภรู ิทัตตนาคราช เร่อื งของภูริทัตตนาคราช มเี ล่าไว้ในหน้า ๙๒๑ (๓) จัมเปยยจรยิ า ประวตั ิครัง้ เปน็ จมั เปยยนาคราช ในสมัยท่ีเราเป็นจัมเปยยกนาคราชผู้ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตร ขณะ จ�ำศีลรักษาอุโบสถ ได้ถูกหมองูจับไปเล่น (เพ่ือขอเงินชาวบ้าน) แลเราก็อนุโลมตามจิตของ หมองูน้นั ถา้ เราโกรธก็อาจท�ำให้หมองูน้นั เปน็ เถ้าถา่ นได้ทันที แต่เรากม็ ไิ ดท้ �ำลายศลี (๔) จูฬโพธจิ รยิ า ประวตั คิ ร้งั เปน็ จฬู โพธพิ ราหมณ์ ในสมัยที่เราเป็นจูฬโพธิพราหมณ์ เห็นภัยในภพออกบวช พราหมณีผู้เป็นภริยา นามว่า กนกสันนิภา ก็ออกบวชด้วย ต่างถือเพศบรรพชิต เดินทางไปในท่ีต่าง ๆ ไม่คลุกคลี ในสกุล ในหมู่คณะ เมื่อไปถึงกรุงพาราณสีเห็นพระราชอุทยาน ไม่พลุกพล่าน มีเสียงน้อย จึงอยู่ในราชอุทยานน้ันท้ังสองคน พระราชาเสด็จไปยังราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็น ตรัส ถามทราบความ เกิดความพอพระทัยในนางปริพพาชิกา จึงส่ังให้อ�ำมาตย์ฉุดเข้าไปไว้ใน พระราชวงั เรารสู้ กึ โกรธแลว้ กร็ ะงบั ได้ ไมย่ อมทำ� ลายศลี เพราะเหตุ (ทปี่ รารถนา) พระโพธญิ าณ (เร่ืองพิศดารในชาดกเล่าต่อไปอีกว่า แม้จะพูดจาหว่านล้อมอย่างไร ก็ไม่สามารถท�ำ นางปรพิ พาชกิ าให้กลับใจครองฆราวาสวสิ ัยได้ พระราชากเ็ ลยไมก่ ลา้ ล่วงเกนิ ผ้มู ีศีล เสด็จไปหา พระโพธสิ ัตว์ ไดฟ้ งั ธรรมทรงเลอื่ มใสและคืนนางปรพิ พาชกิ าให)้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 955 5/4/18 2:26 PM

956 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ (๕) มหสิ ราชจริยา ประวตั คิ รัง้ เปน็ พญากระบอื ในสมัยที่เราเป็นกระบือใหญ่ เที่ยวไปในป่า มีลิงตัวหน่ึงมาถ่ายปัสสาวะรดบ้าง ถ่ายอุจจาระรดบ้าง วันละ ๑ คร้ังบ้าง ๒ ครั้งบ้าง ๓ คร้ัง ๔ ครั้งบ้าง ประทุษร้ายเรา ตลอดกาล ยักษ์ตนหน่ึงเห็นเช่นนั้น จึงกล่าวยุเราให้ประหารเสียด้วยเขาหรือเท้า เราจึงตอบว่า ถ้าเราโกรธลงิ เราก็จะเลวกว่าลงิ นัน้ ศีลก็จะท�ำลาย วญิ ญชู นก็จะตเิ ตยี นได้ (๖) รุรมุ ิคจริยา ประวัติครั้งเป็นพญาเนอื้ ชื่อรุรุ ในสมัยท่ีเราเป็นพญาเนื้อชื่อรุรุ ผู้ประกอบด้วยศีลอย่างยอดเยี่ยม ชายผู้หนึ่งหนี เจ้าหน้ีโดดแม่น้�ำคงคา ถูกกระแสน้�ำเชี่ยวพัดไป และร้องขอความช่วยเหลือ เราจึงช่วยชีวิตไว้ แตไ่ ดข้ อไวอ้ ยา่ งหนึ่งว่า อย่าบอกแกใ่ ครเกี่ยวกบั ตัวเรา (ว่าเปน็ เนื้อซงึ่ มสี ีเหมือนทอง) แต่ผูน้ ั้น กเ็ หน็ แกท่ รพั ย์ จงึ ไปพาพระราชาจะมาจบั เรา แตเ่ มอื่ พระราชาทรงทราบวา่ เขาผนู้ นั้ เปน็ ผปู้ ระทษุ รา้ ย มิตร จงึ จะฆา่ เสีย แตเ่ ราได้หา้ มไว้ การทม่ี ีศลี ในคร้งั นนั้ ก็เพือ่ พระโพธิญาณ (๗) มาตงั คจริยา ประวัตคิ รง้ั เป็นชฎิลชื่อมาตังคะ ในสมัยท่ีเราเป็นชฎิลช่ือมาตังคะ เป็นผู้มีศีล มีจิตต้ังม่ันด้วยดี ได้ตั้งอาศรมอยู่ริม แม่น�้ำคงคากับพราหมณ์ผู้หนึ่ง เราอยู่เหนือน้�ำ พราหมณ์อยู่ใต้น�้ำ (คือน้�ำท่ีไหลน้ันผ่านอาศรม ของมาตังคฤษีก่อน แล้วจึงจะถึงอาศรมของพราหมณ์) ครั้งหน่ึงพราหมณ์น้ันเดินมาตามฝั่งน�้ำ เหน็ อาศรมของเราตงั้ อยเู่ หนอื นำ�้ กป็ รภิ าษเราและสาปใหศ้ รี ษะแตก ๗ เสยี่ ง ถา้ เราจะโกรธตอบ ไม่รักษาศีลของเราเพียงจ้องดูเท่าน้ัน เขาก็จะเป็นถ่านเถ้าไป พราหมณ์นั้นโกรธมีจิตใจ ประทุษร้ายสาปเรา ค�ำสาปก็ตกแก่เขาเอง เราได้เปลื้องพราหมณ์น้ัน (จากค�ำสาป) ด้วยโยคะ เรารักษาศีล มิได้รักษาชีวิตของเรา ท่ีรักษาศีลในกาลน้ัน ก็เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น (หมายเหตุ : ความจริงมาตังคจริยาน้ี มิใช่เพียงแสดงเรื่องศีลบารมีเท่านั้น หาก เปน็ เรอ่ื งทต่ี อ้ งการชใ้ี หเ้ หน็ ความเยอ่ หยงิ่ ถอื ตวั เพราะเหตถุ อื ชนั้ วรรณะอยา่ งรนุ แรงของคนโบราณ ด้วย ในท่ีนี้จะน�ำเรื่องบางตอนมากล่าวไว้ เพ่ือให้เห็นว่า พระโพธิสัตว์ (ซ่ึงเกิดเป็นคนจันฑาล) ชา่ งทรมานคนท่ีถอื ตวั เพราะชาติอย่างไร เปน็ เรื่องนา่ ขันพอใช้ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 956 5/4/18 2:26 PM

สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๓ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ จริยาปิฎก 957 พราหมณ์คนท่ีอยู่ใต้น้�ำ หรืออยู่ในทิศทางท่ีกระแสน้�ำจะไหลมาถึงทีหลังน้ัน เป็นคน ุขททก ินกาย ถือชาติมมี านะจดั วนั หนึ่ง มาตังคดาบส (พระโพธิสัตว)์ เคย้ี วไมส้ ฟี นั แล้วกอ็ ธิษฐานให้ไม้สีฟนั ลอยน�้ำไปติดที่มวยผมของดาบสผู้ถือตัว แล้วก็ทิ้งลงไปตามกระแสน�้ำ ไม้สีฟันก็ลอยไปติดท่ี มวยผมของดาบสนน้ั ผกู้ ำ� ลงั อาบนำ�้ อยู่ ดาบสกโ็ กรธเคอื งมาก จงึ เทยี่ วเดนิ ดไู ปทางตน้ นำ�้ พอมา พบมาตงั คดาบส กถ็ ามกอ่ นทเี ดยี ววา่ ทา่ นเปน็ คนชาตอิ ะไร (กษตั รยิ ์ หรอื พราหมณ)์ พอรวู้ า่ เปน็ คนจณั ฑาล และเปน็ คนทง้ิ ไมส้ ฟี นั ใหล้ อยนำ้� ไป กย็ ง่ิ โกรธเคอื งอยา่ งบอกไมถ่ กู เพราะพราหมณ์ ถอื ว่าคนจัณฑาลเป็นเสนยี ดมาก จึงสงั่ การทนั ทีว่า เจา้ คนถอ่ ย เจ้าอยทู่ นี่ ไี่ ม่ได้ ตอ้ งไปอยูใ่ ต้นำ้� ครั้นอพยพไปต้ังอาศรมอยู่ใต้น้�ำแล้ว เค้ียวไม้สีฟันท้ิงลงไป ไม้สีฟันก็ลอยทวนน�้ำไปติดท่ีมวย ผมของดาบสผถู้ อื ชาตอิ กี ทำ� ใหด้ าบสนน้ั มคี วามโกรธเคอื งเปน็ ทวคี ณู สาปใหศ้ รี ษะแตก ๗ เสยี่ ง แต่คำ� สาปไม่ตกแก่มาตังคดาบสผู้มีฤทธิ์เหนอื กว่า ดาบสผถู้ ือตวั กลบั ถูกประชาชนบังคับใหไ้ ป ขอขมาตอ่ มาตงั คดาบสอีกในภายหลงั ) (๘) ธมั มเทวปุตตจรยิ า ประวัติครั้งเป็นธมั มเทพบตุ ร ในสมัยท่ีเราเป็นมหายักษ์๑ ชื่อธรรมะ (ธรรมเทพบุตร) ชักชวนมหาชนให้ประพฤติ กศุ ลกรรมบถ ๑๐ สว่ นยกั ษฝ์ า่ ยชว่ั (อธรรมเทพบตุ ร) ชกั ชวนใหป้ ระพฤตคิ วามชวั่ ๑๐ ประการ ตา่ งเปน็ ศัตรกู ัน คร้งั หนึ่งขบั รถมาสวนทางกนั จงึ เกิดสงครามข้นึ เพื่อจะใหอ้ กี ฝา่ ยหน่ึงหลกี ทาง ให้ ตกลงเราทำ� ใจใหส้ งบ (ไม่โกรธเคอื ง) หลกี ทางใหเ้ พอื่ รักษาศลี แต่พอเราหลีกทางให้ ท�ำจติ ของเราใหส้ งบ เทพบตุ รฝา่ ยช่วั ก็ถูกธรณสี ูบ (คอื รถบ่ายหัวลงตกลงสพู่ น้ื โลก) (หมายเหตุ : เร่ืองนเี้ ปน็ ทม่ี าแหง่ พระราชนิพนธ์ เร่อื งธรรมาธรรมสงคราม ซงึ่ พระบาท สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราช นพิ นธ์) (๙) ชยทิสจริยา ประวัติคร้ังเปน็ โอรสพระเจ้าชยทิศะ ในสมัยที่เราเป็นผู้มีนามว่า อลีนสัตตะ๒ เป็นโอรสของพระเจ้าชยทิศะ ในกรุงกัปปิลา (บางแหง่ เรยี ก กัมปิลละ) แห่งแควน้ ปญั จาละผ้ปู ระกอบด้วยคณุ คอื ศลี คร้งั หนึง่ บดิ าไปลา่ เน้อื ๑ ค�ำว่า ยักษ์ ในที่นี้ หมายถึงเทพบุตร จึงแสดงที่มาให้เห็นชัด เพื่อว่าเห็นค�ำว่า ยักษ์ในท่ีอื่น จะได้ไม่ด่วนทึกทัก ๒ ว่าเป็นพวกดรุ ้าย มีเขีย้ วออกนอกปากเสมอไป ไมใ่ ช่อลนี สตั ตะ อรรถกถาชาดก ชา.อ. ๗/๒๑๐ กล่าววา่ ช่ือวา่ ”อลนี สตั ต„ุ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 957 5/4/18 2:26 PM

958 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ ถกู มนษุ ย์กนิ คน (โปรสิ าท = ปรุ ิส + อท = กนิ คน) จับได้ ปล่อยใหก้ ลบั ด้วยมสี ัญญาวา่ จะไป ให้กินในภายหลัง เราได้ไปแทนแต่ก็มิได้ท�ำอันตรายมนุษย์กินคน เพราะเกรงศีลขาด (ได้ เจราจากนั ในทส่ี ดุ พูดเกล้ยี กล่อมให้มนษุ ยก์ ินคนรู้สกึ ผดิ ชอบออกบวชเป็นดาบส) (๑๐) สังขปาลจริยา ประวัตคิ รงั้ เป็นพญานาคชือ่ สังขปาละ ในสมัยท่ีเราเป็นพญานาคช่ือสังขปาละ ได้อธิษฐานจ�ำอุโบสถในทางใหญ่ส่ีแพร่ง ปลงใจว่าใครจะต้องการหนัง เนื้อ เอ็น กระดูกของเรา ก็จงเอาไปเถิด ได้ถูกพวกพรานร้าย เข้าไปหา แทงท่ีจมูก ท่ีหาง กึ่งกลางหลัง (อรรถกถาชาดกว่า แทง ๘ แห่ง) แล้วเอาหวายร้อย ใส่หาบ หาบไป ถ้าเราปรารถนาก็อาจท�ำลายให้เผาไหม้ไปได้ด้วยลมจมูก แม้เม่ือถูกแทงด้วย หลาว ถูกสักด้วยหอก กม็ ไิ ดโ้ กรธคนเหลา่ นนั้ นเ้ี ป็นศีลบารมขี องเรา ๓. เนกขมั มบารมี เป็นตน้ (ในหมวดนม้ี ี ๑๕ เร่ือง เปน็ เนกขัมมบารมี ๖ เร่อื ง สัจจบารมี ๖ เรอื่ ง เปน็ เมตตาบารมี ๒ เรอื่ ง อเุ บกขาบารมี ๑ เรอื่ ง) เนกขมั มบารมี ๖ เร่ือง (๑) ยธุ ญั ชยจรยิ า ประวตั ิครงั้ เปน็ ราชบุตรชอื่ ยุธญั ชัย ในสมัยที่เราเป็นราชบุตรช่ือยุธัญชัย ได้กราบทูลลามารดาบิดาออกบวช แม้ท่านจะ ห้าม และคร�่ำครวญก็ออกบวชจนได้ เรามิได้เกลียดมารดาบิดา มิได้เกลียดยศใหญ่ แต่เรา สละราชสมบตั ิเพราะรักโพธิญาณ (เรอื่ งน้เี ปน็ เนกขัมมบารม)ี (๒) โสมนัสสจรยิ า ประวัตคิ ร้ังเป็นโสมนัสสราชกมุ าร ในสมยั ทีเ่ ราเปน็ ราชกุมารนามว่า โสมนัส ในกรุงอินทปตั ถ์ มศี ลี มีคณุ ธรรม มีดาบส ผู้ปราศจากคุณธรรมอยู่ผู้หนึ่ง ซ่ึงพระราชบิดาทรงนับถือ คร้ังหนึ่งมีกิจท่ีต้องเสด็จปราบ ชนบทชายแดน พระราชบิดาจึงตรัสสั่งให้เราดูแลดาบส จัดถวายส่ิงซ่ึงประสงค์ เพราะทรง เชื่อว่าดาบสเป็นผู้อ�ำนวยสิ่งท้ังปวงได้ เราได้ไปหาดาบส (ได้เห็นพฤติกรรมท่ีไม่สมแก่ความ เป็นสมณะ) จึงใช้ถ้อยค�ำเรียกดาบสว่า ผู้ครองเรือน (คฤหบดีเจ้าเรือน) เมื่อพระราชบิดา PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 958 5/4/18 2:26 PM

สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๓ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ จริยาปิฎก 959 เสดจ็ กลบั ดาบสกฟ็ อ้ งใส่ความ (หาวา่ เราท�ำรา้ ย โดยดาบสแกล้งทุบหม้อน�ำ้ รื้อหญา้ มุงหลังคา ุขททก ินกาย เตรียมไว้ล่วงหน้า) พระราชบิดาทรงพระพิโรธส่ังให้ราชบุรุษจับเรา เพื่อจะประหารชีวิต แต่เรา ท�ำให้เข้าใจถูกต้องได้ (ได้อ้างพยานพิสูจน์ว่าดาบสน้ันเก็บใบไม้ผลไม้ใช้คนไปขาย และค้นได้ ห่อเงินทีข่ ายใบไม้ไดม้ ากมายในบรรณศาลา ต่อพระพกั ตรพ์ ระราชา ทั้งคนทีร่ บั ไปขายหลายคน กย็ นื ยนั เปน็ หลกั ฐาน) พระราชากท็ รงขออภยั เราและพระราชทานราชสมบตั ิ แตเ่ ราออกบวชมใิ ช่ เกลยี ดราชสมบัติ มใิ ช่เกลียดการบริโภคกาม ท่สี ละราชสมบตั ิก็เพราะรกั พระโพธิญาณ (ดาบส โกงถกู ประชาชนรมุ ทำ� รา้ ยถึงตาย และเรอื่ งนเ้ี ป็นเนกขมั มบารม)ี (๓) อโยฆรจริยา ประวัตคิ รัง้ เป็นอโยฆรราชกมุ าร ในสมยั ที่เราเปน็ ราชกุมารนามวา่ อโยฆระ เปน็ โอรสของพระเจ้ากาสี เจรญิ ขนึ้ ในเรอื น เหลก็ (อโยฆร = เรือนเหล็ก มกี ารสรา้ งเรือนเหลก็ เพอ่ื เอาเคล็ดปอ้ งกันนางยกั ษณิ ี ด้วยเช่ือว่า พระราชบุตรสองพระองค์ส้ินพระชนม์แตเ่ ลก็ เพราะถกู ยกั ษิณีกนิ ) เหน็ โทษทกุ ข์ จงึ ไม่ตอ้ งการ ราชสมบัติ แสวงหาความดบั เยน็ ในขณะทีม่ หาชนร้องไห้อยู่ เราไดต้ ัดเครอ่ื งผกู เข้าส่ปู า่ เหมือน พญาชา้ ง มใิ ชเ่ กลยี ดพระราชมารดาพระราชบดิ า มใิ ชเ่ กลยี ดยศใหญ่ ทสี่ ละราชสมบตั กิ เ็ พราะรกั พระโพธญิ าณ (เร่อื งนี้เป็นเนกขัมมบารม)ี (๔) ภิงสจรยิ า ประวัตคิ รง้ั เป็นดาบสกนิ เหง้าบัว เราและพ่ีน้องชายหญิงรวม ๗ คน เกิดในสกุลโสตถิยะ (ซึ่งเป็นสกุลพราหมณ์) ใน พระนครหลวง แห่งแคว้นกาสี เราผู้เป็นพี่ประกอบด้วยความละอายใจ (ในการท�ำความช่ัว) และธรรมอันขาว (กุศลธรรม) เห็นภัยในภพ จึงยินดีในการออกบวช มีสหายร่วมใจหลายคน ซึ่งท่านมารดาบิดาส่งมาเกลี้ยกล่อมให้พอใจในกาม แต่ก็ไม่ส�ำเร็จ ในท่ีสุดทุกคน คือมารดา บิดา และพี่นอ้ งทงั้ เจด็ ก็สละทรพั ย์จำ� นวนมาก เขา้ สปู่ ่าใหญ่ (ถือเพศเป็นนกั บวช) (เร่อื งนเ้ี ปน็ เนกขมั มบารมี) (๕) โสณนันทบัณฑติ จรยิ า ประวตั ิครั้งเป็นโสณบัณฑติ คกู่ ับนนั ทบณั ฑิต ในสมัยท่ีเราเกิดในสกุลมหาศาล มั่งค่ัง ในนครชื่อพรหมวัฒนะ เราเห็นโลกเป็นของ มืดมน เหน็ บาปมปี ระการตา่ ง ๆ จงึ ออกจากเรอื นเขา้ ส่ปู า่ แม้จะมพี วกญาติมาชวนใหอ้ ยูบ่ ริโภค PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 959 5/4/18 2:26 PM

960 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ กาม แต่เราก็แจ้งความพอใจ (ในการบวช)ให้ทราบ น้องชายของเราเป็นบัณฑิตนามว่า นันทะ ก็ส่ังสอนเราให้พอใจการบวช พวกเราคือเรา (โสณะ) กับนันทะ (น้องชาย) พร้อมด้วยมารดา บดิ า ได้ทิ้งโภคทรพั ย์เขา้ ไปส่ปู ่าใหญ่ (เร่ืองนีเ้ ป็นเนกขมั บารม)ี (๖) มูคผกั ขจริยา ประวตั ิคร้ังเป็นเตมยิ ราชกุมารผู้เปน็ ใบแ้ ละเปน็ งอ่ ย ประวตั เิ มอ่ื ครงั้ เปน็ เตมยิ ราชกมุ าร มเี ลา่ ไวแ้ ลว้ ในหนา้ ๙๑๙ (เรอ่ื งนเี้ ปน็ เนกขมั มบารม)ี สจั จบารมี ๖ เรือ่ ง (๗) กปลิ ราชจริยา ประวตั คิ รง้ั เปน็ พญาลิง พญาลิงกระโดดเหยียบศีรษะจระเข้ ข้ามฝั่งน�้ำไปได้ โดยไม่ยอมหลงกลให้จระเข้ฆ่ากิน เป็นอาหาร ไม่ยอมพูดปดพลอ่ ย ๆ เหมือนจระเข้ และลงสุดท้ายว่า นี่เป็นสจั จบารมขี องเรา (๘) สจั จสวหยปณั ฑิตจริยา ประวัตคิ รั้งเปน็ ดาบสช่อื สจั จะ สมัยท่ีเราเป็นดาบสชื่อว่าสัจจะ ได้คุ้มครองโลกด้วยสัจจะ ท�ำให้คนสามัคคีกัน (เรื่องนี้เป็นสจั จบารมี) (๙) วฏั ฏกโปตกจรยิ า ประวตั ิครง้ั เปน็ ลกู นกกระจาบ ในสมัยท่ีเราเป็นลูกนกกระจาบน้อย ขนาดเท่าก้อนเนื้อยังไม่มีปีกงอก อยู่ในรัง มารดาหาอาหารมาเล้ียงด้วยจงอยปาก เป็นอยู่ได้ด้วยผัสสะของมารดา ไม่มีก�ำลังกาย มีไฟป่า เกิดขึ้นในฤดูร้อน ลามใกล้เข้ามา มารดาบิดาของเราตกใจกลัวไฟ จึงท้ิงเราไว้ในรัง เอาตัวรอด เราจึงท�ำสัจจกิริยา อ้างคุณของศีล ระลึกถึงก�ำลังคือธรรมะ และพระชินะในกาลก่อน ไฟป่า กห็ ยุดอยู่ เว้นเนอ้ื ที่ ๑๖ กรีส (๑ กรสี มากกวา่ ๑ ไร่) นเี้ ป็นสัจจบารมขี องเรา (๑๐) มจั ฉราชจรยิ า ประวตั ิครงั้ เป็นพญาปลา ในสมัยเม่ือเราเป็นพญาปลาในสระใหญ่ ถึงฤดูร้อน น้�ำในสระแห้งเพราะแสงแดด กา แร้ง นกกระสา และเหยี่ยว ก็พากันมาหากินปลาท้ังกลางวันกลางคืน เราคิดหาทางเปล้ือง PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 960 5/4/18 2:26 PM

สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๓ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ จริยาปิฎก 961 ญาติท้ังหลายจากความทุกข์ จึงระลึกธรรมของสัตบุรุษ ท�ำสัจจกิริยา ฝนห่าใหญ่ก็ตกลงมา ุขททก ินกาย เพราะอาศัยกำ� ลงั เดชแหง่ สจั จะ น้เี ป็นสจั จบารมขี องเรา (๑๑) กณั หทีปายนจริยา ประวตั ิครง้ั เป็นกัณหทีปายนฤษี ในสมัยท่ีเราเป็นกัณหทีปายนฤษี ประพฤติพรตอย่างไม่มีความยินดี (ฝืนใจ) เป็น เวลากว่า ๕๐ ปี ไม่มีใครรู้ความในใจของเรา และเราก็มิได้บอกแก่ใคร ๆ สหายของเรานามว่า มัณฑัพยะ เป็นมหาฤษี ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ประกอบด้วยกรรมอันท�ำไว้ในกาลก่อน ต้องถูกเสียบด้วยหลาว เราได้พยาบาลสหายน้ันจนหายแล้ว จึงลามาสู่อาศรมของเรา สหาย (อีกคนหน่ึง) ซึ่งเป็นพราหมณ์ ได้พาภริยาและบุตร รวมกัน ๓ คน มาเย่ียมเรา เด็กน้อยโยน ลูกกลม (วัฏฏะ แต่ในอรรถกถาชาดกว่า เคณฑุกะ คือลูกคลีหนัง) ท�ำให้งูโกรธ (เพราะลูกคลี หนังน้ันตกลงไปในโพรงที่งูอยู่) เด็กตามไปเอามือล้วงในโพรง งูจึงกัดล้มลงบนพื้นดิน เราจึง ได้ท�ำสัจจกิริยาว่า ”เราประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความเลื่อมใสเพียง ๗ วันเท่าน้ัน ต่อจากน้ัน อีก ๕๐ ปีเศษ มิได้มีความพอใจ (หรือเต็มใจ) ประพฤติเลย ด้วยความสัตย์นี้ ขอให้พิษ จงหมดไป ขอกุมารผู้มีนามว่ายัญญทัตจงฟื้นขึ้น„ พร้อมกับท่ีได้ท�ำสัจจะ เด็กน้อยก็หาย ฟื้น ลุกข้ึนได้ สิ่งที่เสมอด้วยสัจจะของเราไม่มี นี้เป็นสัจจบารมีของเรา (แม้ความสัตย์นั้นจะเป็น การนำ� เรอื่ งท่ีไมใ่ ชด่ เี ลศิ อะไรมากลา่ ว ถ้าเปน็ การเปิดเผยความจรงิ ก็ใช้ได้) (๑๒) สตุ โสมจรยิ า ประวตั ิคร้งั เปน็ พระเจา้ สตุ โสม ในสมัยท่ีเราเป็นผู้ปกครองแผ่นดินนามว่า สุตโสม ถูกมนุษย์กินคนจับได้ ระลึกถึง การนัดหมายไว้กับพราหมณ์ จึงขอตัวไปพบกับพราหมณ์ ฟังธรรม (จากพราหมณ์) ให้ทรัพย์ แล้ว จึงเข้าไปหามนุษย์กินคน โดยไม่ลังเลใจว่าเขาจะฆ่าหรือไม่ เรารักษาสัจจวาจา อุทิศชีวิต นี้คือสัจจบารมีของเรา (เม่ือเข้าไปหามนุษย์กินคนตามสัจจวาจา และได้พูดแนะน�ำจนมนุษย์ กินคนยอมงดเว้นความประพฤติน้ันกลับตัวเป็นคนดี เพราะมนุษย์กินคนนั้น เดิมก็เป็น กษัตริยม์ นษุ ยธ์ รรมดา ภายหลังมคี วามคดิ เหน็ วิปรติ ไป จึงกลายเปน็ ประหนึ่งโจรหรอื ปศี าจ) (เร่อื งน้เี ป็นสัจจบารม)ี PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 961 5/4/18 2:26 PM

962 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ เมตตาบารมี ๒ เร่อื ง (๑๓) สวุ ณั ณสามจริยา ประวัติครัง้ เปน็ สวุ รรณสาม เรอื่ งสวุ รรณสาม ไดก้ ลา่ วไวแ้ ลว้ ในหนา้ ๙๒๐ แตใ่ นคำ� กลา่ วตอนนเ้ี ลา่ เพยี งทอี่ ยใู่ นปา่ โดยไมห่ วาดระแวงภยั ใด ๆ เพราะกำ� ลังแห่งเมตตา (เรอื่ งนเ้ี ปน็ เมตตาบารม)ี (๑๔) เอกราชจริยา ประวตั ิครัง้ เป็นพระเจา้ เอกราช ในสมัยที่เราเป็นพระเจ้าเอกราช ได้ตั้งใจรักษาศีลอย่างยอดเย่ียม ปกครองมหาปฐพี ยังกุศลกรรมบถ ๑๐ ให้เป็นไปโดยไม่มีเหลือ (ประพฤติครบท้ังสิบข้อ) สงเคราะห์มหาชนด้วย สังคหวัตถุ ๔ ประการ พระเจ้าทัพพเสนะ ชิงบุรีได้ส�ำเร็จ จึงขุดหลุมฝังเรา (เราได้แผ่เมตตา) นี้เป็นเมตตาบารมีของเรา (ในเร่ืองนั้นด้วยอ�ำนาจแห่งเมตตาพระเจ้าทัพพเสนะกลับล้มด้ินไป ด้นิ มาบนพนื้ ร้องว่ารอ้ นเหลอื เกิน ตอ่ เมื่อขอขมาพระเจ้าเอกราชแล้ว จึงหายเป็นปกติ) อุเบกขาบารมี ๑ เรื่อง (๑๕) มหาโลมหงั สจรยิ า ประวตั ิคร้งั เป็นนักบวช ผูม้ ีความเป็นอยู่อย่างน่ากลวั ในสมัยที่เรา (เป็นนักบวช) นอนหนุนซากศพในป่าช้า เป็นผู้มีใจสม่�ำเสมอในบุคคล ท้ังปวง ท้ังผู้น�ำทุกข์มาให้ ทั้งผู้ให้สุขแก่เรา ไม่มีความรักหรือความโกรธ เป็นผู้เสมอ (มีใจเป็น ตาช่ัง) ในสขุ ทกุ ข์ ในยศและมใิ ช่ยศ น้เี ป็นอุเบกขาบารมขี องเรา สโมธานกถา กลา่ วค�ำสรปู บารมี มี ๑๐๑ อุปบารมี มี ๑๐ ปรมัตถบารมี มี ๑๐ เป็นเครื่องบ่มการตรัสรู้ให้สุก (คือใหส้ ำ� เร็จ) ๑ บารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกบวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน (ตั้งใจม่ัน) เมตตาและ อุเบกขา บารมีทส่ี ูงกว่าธรรมดาเรียกอปุ บารมี ที่สูงสุดหรือทำ� ได้ยากท่สี ุดเรยี กปรมตั ถบารมี PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 962 5/4/18 2:26 PM

สุตตันตปิฎก เล่ม ๓๓ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ จริยาปิฎก 963 เมอ่ื เปน็ พระเจา้ สวิ ิราชผปู้ ระเสรฐิ เป็นทานบารมี เมอื่ เปน็ พระเวสสันดร เป็นเวลามพราหมณ์ และอกติ ติฤษี เป็นทานอปุ บารมี เมอ่ื เปน็ ไก่ เปน็ พญาช้างชอ่ื สลี วนาค เป็นกระตา่ ย เปน็ ทานปรมัตถบารมี เมอ่ื เปน็ พญาลงิ เปน็ พญาชา้ งชอ่ื ฉทั ทนั ต์ และเปน็ พญาชา้ งผเู้ ลย้ี งมารดา เปน็ ศลี บารมี เมอื่ เปน็ พญานาคชอ่ื จมั เปยยกะ และเป็นพญานาคชือ่ ภรู ทิ ตั ต์ เป็นศีลอปุ บารมี เมอื่ เป็นพญานาคชื่อสังขปาละ เปน็ ศลี ปรมตั ถบารมี เมอ่ื เป็นยธุ ัญชยราชบตุ ร เปน็ มหาโควนิ ทพราหมณ์ เป็นคนเล้ยี งชา้ ง เปน็ ราชกมุ ารชอ่ื อโยฆระ เป็นพระราชาพระนามวา่ ภัลลาติ เป็นสุวรรณสาม (ข้อความตกหายไป ๑ บาทคาถา) เปน็ พระราชาพระนามว่ามฆเทวะ และ เป็นราชกุมารชอื่ นิมิ (หรือเนม)ิ เปน็ อุปบารมี ฯ ล ฯ (โดยนัยน้ีได้แสดงว่า เม่ือเสวยพระชาติเป็นอะไร เป็นศีลบารมี ศีลอุปบารมี ศีล ปรมัตถบารมี เปน็ ตน้ จนถึงอเุ บกขาบารมี ) จบความย่อแหง่ พระไตรปิฎก เลม่ ๓๓ จบสุตตนั ตปิฎก ุขททก ินกาย PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 963 5/4/18 2:26 PM

. 964 พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน ภาค ๔ PTF-MRF new09. PART 4 ����������� ��� � p.403-964 OK.indd 964 5/4/18 2:26 PM

. Z PTF new13. REAR ���������� p.1271-1278 OK.indd 1277 5/4/18 2:30 PM

Rear Cover Z PTF new13. REAR ���������� p.1271-1278 OK.indd 1278 5/4/18 2:30 PM


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook