Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ED-APHEIT 2022 ระดับชาติ

ED-APHEIT 2022 ระดับชาติ

Published by ED-APHEIT, 2022-04-04 03:34:12

Description: ED-APHEIT 2022 ระดับชาติ ครั้งที่ 6 การประชุมวิชาการ และเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565

Search

Read the Text Version

การประชุมวชิ าการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ ครั้งท่ี 6 \"ความทา้ ทายของการจดั การการศึกษาใหมห่ ลงั วิกฤติ COVID-19” วันท่ี 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนุกรรมการสาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี นักเรียน งานส่งเสริมประชาธิปไตย งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน งานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สถานศึกษาได้มีการ จัดทำกจิ กรรมต่าง ๆ ภายในสถานศึกษาท่มี ีความแตกต่างไปตามบรบิ ทของผู้เรยี น (สมพร โพธ์ิกำเนิด. 2557 : 2) งานกิจการนักเรียนอยู่ในขอบข่ายของการบริหารทั่วไป ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการปลูกฝังให้นักเรียนมี คุณลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์ ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 แตเ่ นอ่ื งจากความเปล่ียนแปลง อย่างรวดเร็ว ตามกระแสโลกาภิวัตน์ของสภาพสังคมในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนของ นักเรียน ทำให้นักเรยี นจำนวนมากไม่อาจปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมดังกล่าว จึงได้มีพฤติกรรมไปในทางท่ี เสื่อมเสีย ตลอดจนสร้างปัญหาให้แก่สถานศึกษาและสังคมได้ (สุรพัชร เกตุรัตน์. 2561 : 4) โรงเรียนสามโคก สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ดำเนินการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการและการอบรมสั่งสอนด้านคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติ และจัดกิจกรรมหลากหลายเพ่ือใหน้ ักเรียนเปน็ คนเก่ง คนดี มคี ุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบ วนิ ยั เคารพกฎหมายบ้านเมอื ง แตส่ ภาพในปัจจบุ ันความประพฤติของนักเรียนยังมีปญั หา เชน่ การแต่งกายผิดระเบียบ การคบเพ่ือนในลักษณะชู้สาว นกั เรียนชายบางคนสูบบุหรี่ ไม่เคารพกฎระเบียบ ปัญหาเหล่านี้ทางโรงเรียนกำลังหาทาง แก้ไขและสาเหตุจากปัญหาที่กล่าวมา อาจสรุปได้ว่าปัญหาการปฏิบัตงิ านกิจการนกั เรียนของโรงเรยี นในด้านตา่ งๆ ที่ ผ่านมา เช่น ด้านการวางแผนงานกิจการนักเรียนไม่ชัดเจน การกำหนดบทบาทหน้าที่ของครูที่เกี่ยวข้องงานกิจการ นักเรียนไม่ชัดเจน ไม่ได้รับความร่วมมือและเอาใจใส่ในการปฏิบตั ิงานส่งเสริมระเบียบวนิ ัยจากคณะครูเท่าที่ควร ขาด การประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาวิเคราะห์และเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขงานกิจการนักเรียนให้ดีขึ้น งาน ส่งเสรมิ ด้านวนิ ยั คณุ ธรรม จรยิ ธรรม ไม่มกี ารปฏิบัติอย่างจริงจังและประเมินผล จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ในปจั จบุ นั นักเรียนยงั ขาดระเบียบวินัย เชน่ การมาโรงเรยี นสายเปน็ ประจำ นักเรยี นบางคนชอบหลบการเข้าแถวเคารพ ธงชาติ ไม่ตง้ั ใจทำกิจกรรมหน้าเสาธง ชอบคุยส่งเสยี งดัง ไมส่ นใจการอบรมหน้าเสาธง แตง่ กายผิดระเบียบไม่เรียบร้อย และหนีเรียนในวิชาต่างๆ นักเรียนบางคนก้าวร้าวต่อเพื่อนนักเรียนด้วยกันและครู งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนไม่ครบทุกคน งานส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน พบว่า มีการจัดกิจกรรมส่งเสริม ประชาธิปไตยเพียงปีละ 1 ครั้ง การประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนมีน้อย โดยเฉพาะการให้นักเรียนและ ผปู้ กครองมสี ่วนรว่ มในการประเมินผลการดำเนนิ งานนอ้ ยลง (โรงเรยี นสามโคก. 2564 : 2-5) จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาความสัมพันธ์ของการ บรหิ ารงานกับกิจการนักเรยี นของครูโรงเรียนสามโคก สงั กัดองค์การบริหารส่วนจงั หวัดปทมุ ธานี โดยศกึ ษาการบริหารงาน ของผบู้ รหิ ารสถานศึกษาโรงเรยี นสามโคก ในดา้ นการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ดา้ นการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป ส่วนงานกิจการนกั เรียนของครูโรงเรียนสามโคก ศึกษาในด้านงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรยี น งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน งานแก้ไขปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์ งานคณะกรรมการนักเรียนและงานส่งเสริม ประชาธิปไตย และงานพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม นักเรียน เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน พัฒนาปรับปรุง การบริหารงานสถานศึกษาและงานกิจการนักเรียน ให้มีประสิทธิภาพย่ิงขึ้น และเพื่อใหม้ ีแนวทางในการ พัฒนาปรบั ปรุงแนวทางการบริหารสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและคุณภาพของ สถานศกึ ษาท่ีประสิทธภิ าพยง่ิ ขน้ึ ตอ่ ไป 100

การประชุมวชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวิชาศกึ ษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ ครง้ั ท่ี 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศึกษาใหม่หลงั วกิ ฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนุกรรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอดุ มศึกษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี วัตถุประสงคก์ ารวิจัย 1. เพื่อศกึ ษาระดับการปฏบิ ตั ิในการบริหารงานของโรงเรียนสามโคก สงั กัดองคก์ ารบริหารสว่ นจงั หวัด ปทุมธานี 2. เพอื่ ศึกษาระดับการปฏบิ ัติในงานกจิ การนกั เรียนของครโู รงเรยี นสามโคก สงั กัดองคก์ ารบรหิ ารสว่ น จงั หวดั ปทมุ ธานี 3. เพ่ือศกึ ษาความสัมพันธ์ของระดบั การปฏิบตั ใิ นการบริหารงานกับกจิ การนกั เรยี นของครโู รงเรียนสามโคก สงั กดั องคก์ ารบรหิ ารสว่ นจงั หวดั ปทมุ ธานี วธิ ีดำเนนิ การวิจยั ประชากรท่ีใช้ในการวิจัยคร้งั นี้ คอื ครโู รงเรยี นสามโคก สงั กัดองค์การบรหิ ารสว่ นจงั หวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 140 คน (โรงเรียนสามโคก. 2564: 6-10) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูโรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ปี การศกึ ษา 2564 จำนวน 103 คน ซงึ่ ได้มาโดยกำหนดขนาดของกลมุ่ ตัวอย่างจากตารางของเครจซ่ีและมอรแ์ กน (Krejcie & Mogan. 1970 : 607-608 อ้างถึงใน พิสณุ ฟองศรี. 2552 : 109) จากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ดว้ ยวิธกี ารจบั ฉลาก เครอื่ งมือที่ใชใ้ นการวจิ ัยครั้งนเ้ี ปน็ แบบสอบถามที่ผวู้ ิจัยไดป้ รบั ปรุงจากงานวจิ ยั ของปณิธิกฤษติ์ เลิศล้ำ (2555 : 130) และกมลศิษฐ์ ชลมนัสสรณ์ (2562 : 110) ซึง่ แบง่ ออก เป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามปจั จัยส่วนบุคคล ของครูโรงเรยี นสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจงั หวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นแบบสอบถามให้เลือกตอบ (Check List) คือ เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามการบริหารโรงเรียนซ่ึงมีลักษณะเป็น แบบสอบถามแบบปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับตามแนวความคิดของลิเคอร์ท สเกล (Likert Scale) คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ตอนท่ี 3 เป็นแบบสอบถามงานกิจการนักเรียนซึ่งมี ลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับตามแนวความคิดของ ลเิ คอรท์ สเกล (Likert Scale) คือ มากทส่ี ุด มาก ปานกลาง น้อย และนอ้ ยทีส่ ุด การเกบ็ รวบรวมข้อมูล การวจิ ยั ครง้ั น้ี ผูว้ จิ ัยใช้แบบสอบถามจำนวนทง้ั สิ้น 103 ชดุ เพอื่ เป็นเคร่อื งมอื ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลเท่ากับจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามและชี้แจง พรอ้ มอธบิ ายวธิ ีการตอบแบบสอบถามอย่างถกู ตอ้ งใหผ้ ู้ตอบแบบสอบถามทราบ รวมถึงชีแ้ จงใหท้ ราบถงึ วัตถปุ ระสงค์ของ การศึกษาในคร้ังนี้ เก็บรวบรวมขอ้ มูลจากแบบสอบถามด้วยตนเองทัง้ หมดในเดอื น พฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 นำแบบสอบถามมาตรวจสอบดูความถูกต้องและนับจำนวนให้เท่ากับจำนวนกลุ่มตัวอย่าง กรณีแบบสอบถามไม่ ครบถ้วนหรือไม่สมบูรณ์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการแจกแบบสอบถามใหม่อีกครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน และนำ แบบสอบถามทไ่ี ด้ไปวิเคราะห์ตามวธิ กี ารทางสถิติ สถิติทใ่ี ช้ในการวเิ คราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถ่ี คา่ ร้อยละ คา่ เฉล่ีย สว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์แบบเพยี ร์สนั (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) โดยการใชโ้ ปรแกรม สำเร็จรูปในการคำนวณและวเิ คราะหข์ อ้ มลู 101

การประชมุ วิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ คร้ังท่ี 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศึกษาใหมห่ ลงั วกิ ฤติ COVID-19” วนั ที่ 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศกึ ษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ผลการวิเคราะหข์ ้อมลู การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ของการบริหารงานกับกิจการนักเรียนของครูโรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การ บริหารส่วนจงั หวัดปทมุ ธานี ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามให้แก่ ครูโรงเรียนสามโคกสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวดั ปทุมธานีจำนวน 103 คน ผู้วิจัยสามารถเก็บข้อมลู ไดท้ ัง้ หมด คิดเปน็ ร้อยละ 100 นำมาวิเคราะหข์ ้อมูล ดงั นี้ 1. ระดบั การปฏบิ ตั ิในการบริหารงานของโรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบรหิ ารส่วนจงั หวดั ปทุมธานี ตารางท่ี 1 แสดงค่าเฉล่ียและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการบริหารงานโรงเรยี นสามโคก สังกัดองค์การบริหารสว่ น จังหวัดปทุมธานี โดยรวม การบริหารงานโรงเรยี น X S.D. ระดับการปฏิบตั ิ อันดับที่ 1. ด้านการบริหารวชิ าการ 4.39 0.38 มาก 4.29 0.46 มาก 1 2. ดา้ นการบริหารงบประมาณ 4.37 0.49 มาก 4 3. ด้านการบรหิ ารงานบุคคล 4.30 0.45 มาก 2 4. ด้านการบรหิ ารท่วั ไป 4.34 0.38 มาก 3 รวม จากตารางที่ 1 พบว่า ระดับการปฏิบัติในการบริหารงานโรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X=4.34 , S.D.=0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติ อันดับที่หนึ่งคือ ด้านการบริหารวิชาการ (X=4.39 , S.D.=0.38) รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานบุคคล (X=4.37 , S.D.=0.49) ดา้ นการบริหารทั่วไป (X=4.30 , S.D.=0.45) และอนั ดับสุดท้าย คอื ดา้ นการบรหิ ารงบประมาณ (X=4.29 , S.D.=0.46) ตามลำดับ 2. ระดบั การปฏบิ ัตใิ นงานกิจการนักเรยี นของครูโรงเรยี นสามโคก สงั กัดองคก์ ารบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ตารางท่ี 2 แสดงคา่ เฉล่ียและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกิจการนักเรียนของครูโรงเรยี นสามโคก สงั กดั องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดปทมุ ธานี โดยรวม กิจการนกั เรียน X S.D. ระดบั การปฏิบัติ อันดบั ที่ 0.39 1. ดา้ นงานระบบดแู ลช่วยเหลือนกั เรยี น 4.36 0.48 มาก 2 2. ดา้ นงานกจิ กรรมพฒั นาผ้เู รียน 4.28 0.41 มาก 5 3. ดา้ นงานแกไ้ ขปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์ 4.37 0.43 มาก 1 4. ดา้ นงานคณะกรรมการนักเรยี นและงานส่งเสรมิ ประชาธปิ ไตย 4.29 มาก 4 5. ด้านงานพฒั นาและส่งเสรมิ คณุ ธรรม จรยิ ธรรมนกั เรียน 4.33 0.39 มาก 3 รวม 4.33 0.37 มาก จากตารางที่ 2 พบว่า ระดับการปฏิบตั ิในกจิ การนกั เรียนของครูโรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดบั มาก (X=4.33 , S.D.=0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับการ ปฏบิ ัตอิ นั ดบั ท่ีหนึ่งคือ ด้านงานแกไ้ ขปัญหายาเสพตดิ และโรคเอดส์ (X=4.37 , S.D.=0.41) รองลงมาคือ ด้านงานระบบ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน (X=4.36 , S.D.=0.39) ด้านงานพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน (X=4.33 , 102

การประชุมวชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ยั คดั สรร สาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ระดบั ชาติ คร้งั ท่ี 6 \"ความทา้ ทายของการจดั การการศึกษาใหม่หลงั วกิ ฤติ COVID-19” วันท่ี 26 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนุกรรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อุดมศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถมั ภ์ สมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี S.D.=0.39) ด้านงานคณะกรรมการนักเรียนและงานส่งเสริมประชาธิปไตย (X=4.29 , S.D.=0.43) และอันดับสุดท้าย คือ ด้านงานกจิ กรรมพัฒนาผู้เรียน (X=4.28 , S.D.=0.48) ตามลำดบั 3. ความสัมพนั ธ์ของระดับการปฏิบตั ใิ นการบริหารงานกับกิจการนกั เรยี นของครโู รงเรยี นสามโคก สังกัด องค์การบรหิ ารส่วนจังหวัดปทุมธานี ตารางท่ี 3 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์การบริหารงานกบั กิจการนักเรียนของครู โรงเรยี นสามโคก สังกดั องค์การบรหิ าร ส่วนจงั หวดั ปทมุ ธานี ค่าสัมประสิทธ์ิสหสมั พนั ธ์ (r) กจิ การนักเรยี น การบริหารงานโรงเรียน งานระบบดแู ล งานกิจกรรม งานแก้ไขปญั หา งานคณะกรรมการ งานพัฒนาและ กจิ การ ชว่ ยเหลือ พัฒนาผูเ้ รยี น ยาเสพตดิ และ นกั เรียนและงานส่งเสรมิ สง่ เสริมคุณธรรม นกั เรียน การบรหิ ารวิชาการ (X1) นกั เรยี น จริยธรรมนักเรยี น การบริหารงบประมาณ (X2) (Y1) (Y2) โรคเอดส์ ประชาธิปไตย (Y) การบริหารงานบคุ คล (X3) (Y3) (Y4) (Y5) การบริหารทั่วไป (X4) 0.885** 0.837** การบรหิ ารงาน (X) 0.773** 0.767** 0.834** 0.481** 0.711** 0.870** 0.760** 0.882** 0.674** 0.969** 0.780** 0.562** 0.697** 0.812** 0.983** 0.887** 0.592** 0.876** 0.830** 0.832** 0.478** 0.725** 0.968** 0.731** 0.806** 0.928** 0.831** 0.860** ** มีนัยสำคญั ทางสถิตทิ ่ีระดับ .01 จากตารางท่ี 3 พบว่า ความสมั พนั ธ์ของระดับการปฏบิ ตั ใิ นการบริหารงานกับกจิ การนกั เรยี นของครโู รงเรียน สามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง อย่างมีนยั สำคัญ ทางสถติ ิที่ระดับ .01 (rxy=0.983) เมอื่ พจิ ารณา ระดบั การปฏบิ ตั ิในการบริหารงานกบั กิจการนกั เรียนของครูโรงเรียน สามโคก สังกดั องค์การบริหารสว่ นจงั หวดั ปทุมธานี พบว่า ระดับการปฏบิ ตั ใิ นการบริหารงานทกุ ด้านมีความสัมพันธ์ ทางบวกระดบั สูงกบั กิจการนกั เรยี นอยา่ งมีนยั สำคัญทางสถติ ทิ ี่ระดบั .01 โดยเรยี งลำดับความสัมพันธ์จากมากไปน้อย ได้แก่ การบริหารงานบุคคล (rx3y=0.882) การบริหารงบประมาณ (rx2y=0.870) การบริหารวิชาการ (rx1y=0.837) และการบริหารทั่วไป (rx4y=0.812) เมื่อพิจารณา ระดับการปฏิบัติในกิจการนักเรียนกับการบริหารงานของครู โรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พบว่า ระดับการปฏิบัติในกิจการนักเรียนทุกด้านมี ความสัมพนั ธ์ทางบวกระดบั สูงกับการบริหารงานอย่างมีนยั สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับความสมั พันธ์ จากมากไปน้อย ได้แก่ งานแก้ไขปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์ (rxy3=0.928) งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (rxy1=0.887) งานพัฒนาและสง่ เสรมิ คุณธรรม จรยิ ธรรมนกั เรียน (rxy5=0.860) งานคณะกรรมการนักเรียนและงาน ส่งเสริมประชาธิปไตย (rxy4=0.831) และงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (rxy2=0.806) 103

การประชมุ วิชาการและเผยแพร่ผลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตรร์ ะดับชาติ คร้งั ท่ี 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศกึ ษาใหมห่ ลังวกิ ฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอดุ มศกึ ษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สรุปผลการวิจยั การวิจัยเร่อื งความสมั พันธ์ของการบริหารงานกับกิจการนกั เรียนของครโู รงเรยี นสามโคก สังกัดองคก์ ารบริหาร ส่วนจงั หวัดปทุมธานี ผวู้ ิจัยมสี รปุ ผลการวิจยั ดังนี้ 1. การบริหารงานโรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจงั หวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อ พจิ ารณาเปน็ รายด้านพบว่า การบริหารงานโรงเรยี นอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉล่ียจากมากไปหาน้อย ดังน้ี ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารทั่วไป และด้านการบริหารงบประมาณ ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดของผลการวิจัยในแต่ละด้าน ดงั นี้ 1.1 การบริหารวิชาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เม่อื จำแนกเป็นรายข้อพบว่า ขอ้ ท่ีมรี ะดับการปฏิบัติ อันดับที่หนึ่งคือ โรงเรียนมีการวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อกำหนดเป้าหมาย ภารกิจ และคุณลักษณะที่พึง ประสงคโ์ ดยการมสี ่วนร่วมของทกุ ฝ่าย รองลงมาคอื โรงเรยี นมีการส่งเสริมให้ครจู ัดทำแผนจัดการเรยี นรู้และจัดกิจกรรม ที่สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน มีการส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนในกิจกรรมทาง วิชาการของโรงเรียน มกี ารนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นเิ ทศตดิ ตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร ตามความเหมาะสม และอันดับสุดท้าย คอื โรงเรียนมีการกำหนดระเบยี บ แนวปฏบิ ัตเิ กี่ยวกบั การวัดและประเมินผลได้ สอดคล้องกับมาตรฐานการศกึ ษา / ตัวช้วี ดั 1.2 การบริหารงบประมาณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีระดับการ ปฏิบัติอันดับที่หนึ่งคือ โรงเรียนมีการวางแผนการใช้งบประมาณ แผนการระดมทุนทรัพยากรทางการศึกษาและ ทุนการศึกษาของนักเรียน รองลงมาคือ โรงเรียนมีการรายงานผลการใช้เงินงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติการตาม ข้อตกลงของโรงเรียน มีการจัดทำแผนการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ ให้เป็นไป ตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ และอันดับสุดท้าย คือ โรงเรียนมีการจัดทำแผนกลยุทธ์หรือแผนพัฒนา การศึกษา โดยครู บุคลากรทางการศึกษาท่ีเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการปรับปรุง เพ่ือวเิ คราะห์ความเหมาะสมในการเสนอ ของบประมาณ 1.3 การบริหารงานบุคคล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีระดับการ ปฏิบัติอันดับที่หนึ่งคือ โรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา รองลงมาคือ โรงเรียนมีการเสริมสร้างและการป้องกันการกระทำผิดวินัย มีการดำเนินการให้ความรู้ ฝึกอบรม การสร้างขวัญและกำลังใจ มีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามภาระงานที่รับผิดชอบ และอนั ดับสุดท้าย คอื โรงเรยี นมกี ารเสริมสร้างและพฒั นาสง่ เสริมวินัยคุณธรรมและจรยิ ธรรมสำหรับข้าราชการครูและ บคุ ลากรทางการศึกษา 1.4 การบริหารทั่วไป โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีระดับการปฏิบัติ อันดับที่หนึ่งคือ โรงเรียนมีการจัดให้มีระบบการบริการสาธารณะ เช่น บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการอื่น แก่ สาธารณชน รองลงมาคอื โรงเรยี นมีการวางแผนออกแบบระบบงานธุรการ ลดข้นั ตอนการดำเนินงาน โดยมีการนำระบบ เทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนนิ งานให้เหมาะสม และจัดบคุ ลากรรบั ผิดชอบได้ตามท่ีกำหนดอย่างเหมาะสม มกี ารวางแผน กำหนดแนวทางการสง่ เสริมการจัดกิจกรรมนักเรยี น ใหม้ ีส่วนร่วมในกระบวนการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายตามความ ถนดั และความสนใจของผู้เรยี น มกี ารบำรุง ดแู ลรกั ษาและพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้มั่นคง 104

การประชมุ วชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ยั คดั สรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ คร้ังที่ 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศกึ ษาใหม่หลงั วิกฤติ COVID-19” วันท่ี 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อุดมศกึ ษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ปลอดภัย พร้อมใช้ประโยชน์เพ่ือให้เกิดความคุ้มค่าและเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ และอันดับสุดท้าย คือ โรงเรียนมี การประชาสมั พนั ธ์ในรูปแบบที่หลากหลาย โดยยดึ หลักการมสี ่วนร่วมของทกุ ฝา่ ยที่เก่ยี วข้อง 2. กิจการนักเรียนของครูโรงเรียนสามโคก สงั กัดองคก์ ารบรหิ ารส่วนจงั หวดั ปทมุ ธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมือ่ พจิ ารณาเป็นรายด้านพบว่า งานกจิ การนักเรียนอยู่ในระดับมากทกุ ด้าน เรียงลำดบั ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังน้ี งานแก้ไขปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์ งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน งานพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม นักเรียน งานคณะกรรมการนักเรียนและงานส่งเสริมประชาธิปไตย และงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีรายละเอียด ของผลการวจิ ัยในแต่ละด้าน ดงั นี้ 2.1 งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มี ระดับการปฏิบัติอันดับที่หนงึ่ คอื โรงเรียนมีการจัดชว่ั โมงโฮมรูมอย่างน้อย 1 คาบ/สปั ดาห์ รองลงมาคอื โรงเรียนมีการ จัดทำประกันภัยให้นักเรียนและสร้างเครือข่ายในการส่งต่อนักเรียน มีการจัดทำประกันภัยให้นักเรียนและสร้าง เครอื ข่ายในการส่งต่อนักเรยี น มีการจัดกลมุ่ ข้อมูล คัดกรองนักเรียนตอ่ เน่อื ง และอนั ดบั สดุ ทา้ ยคือ มีการช่วยเหลอื นกั เรียนไม่ให้ติด 0 ร มส. 2.2 งานกจิ กรรมพัฒนาผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เม่อื จำแนกเป็นรายขอ้ พบว่า ขอ้ ที่มีระดับการ ปฏิบัติอันดับที่หนึ่งคือ โรงเรียนมีการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญ ประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหารของโรงเรียนมีความต่อเนื่อง รองลงมาคือ โรงเรียนมีการกำหนดแผนงานการพฒั นา และสง่ เสรมิ สนบั สนนุ กจิ กรรมด้านกีฬาและนันทนาการในรปู แบบโครงการและกิจกรรมมีความเหมาะสม มกี ารกำหนด แผนงาน และโครงการส่งเสริมสนับสนุนงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา ครอบคลุมทุกด้านอย่างเหมาะสมและ ชดั เจน และอันดับสุดท้าย คือ โรงเรียนมีการแตง่ ต้งั ผู้ปฏิบัติหน้าท่ี หรือครูที่รับผิดชอบงานสง่ เสริมกิจการนักเรียนใน ด้านตา่ งๆ ของสถานศกึ ษามีความเหมาะสม 2.3 งานแกไ้ ขปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมอ่ื จำแนกเป็นรายข้อพบว่า ข้อ ที่มีระดับการปฏิบัติอันดับที่หนึ่งคือ โรงเรียนมีการให้คณะครูมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดและโรค เอดส์ในโรงเรียน รองลงมาคือ โรงเรียนมีการขอความร่วมมือจากบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง เข้ามามีส่วนร่วมในการ ป้องกันยาเสพติดและโรคเอดส์ มีการจัดเสียงตามสายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและโรคเอดส์ มีการจัดป้าย ประกาศขา่ วสารเก่ียวกับการปอ้ งกันและปราบปรามยาเสพติดและโรคเอดส์ และอันดับสดุ ท้าย คือ โรงเรียนมีการสร้าง เครือข่ายในการป้องกนั ยาเสพติดและโรคเอดสก์ ับองค์กรภายนอก 2.4 งานคณะกรรมการนักเรียนและงานส่งเสริมประชาธิปไตย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนก เปน็ รายข้อพบว่า ข้อทมี่ รี ะดับการปฏิบัตอิ ันดับท่ีหนงึ่ คือ โรงเรียนมีการสนับสนุนให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นท้ังใน หอ้ งเรียนและนอกห้องเรียน รองลงมาคือ โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายสง่ เสริมประชาธิปไตยแกน่ ักเรียนอย่างชัดเจน มีการจัดกิจกรรมการเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียนตามแนวทางการเลือกตั้งทั่วไป มีการสร้างบรรยากาศความเป็น ประชาธปิ ไตยในโรงเรียน และอันดบั สุดท้าย คือ โรงเรยี นมีการจัดทำแผนงาน/โครงการเก่ียวกับการปฏิบัติงานส่งเสริม ประชาธปิ ไตยในโรงเรยี น 2.5 งานพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมอ่ื จำแนกเป็นราย ข้อพบวา่ ข้อที่มีระดับการปฏิบัตอิ ันดับท่ีหนง่ึ คือ โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมกีฬาของโรงเรียน รองลงมาคือ โรงเรียนมี 105

การประชุมวิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ ครง้ั ท่ี 6 \"ความทา้ ทายของการจดั การการศกึ ษาใหม่หลังวกิ ฤติ COVID-19” วันท่ี 26 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนกุ รรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อดุ มศึกษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชปู ถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม เช่น ค่ายคุณธรรม มารยาทไทย มีการจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และอันดับสุดท้าย คือ โรงเรียนมีการยกย่องให้กำลังใจหรือมอบวุฒิบัตรแก่ นกั เรยี นท่ปี ระพฤติดี 3. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการปฏิบัติในการบริหารงานกับกิจการนกั เรียนของครูโรงเรียนสามโคก สงั กดั องคก์ ารบริหารสว่ นจงั หวัดปทมุ ธานี โดยภาพรวม มีความสมั พันธท์ างบวกระดับสูง อย่างมนี ัยสำคัญทางสถิติ ทร่ี ะดับ .01 เม่ือพิจารณาตัวแปรระดับการปฏิบัติในการบริหารงานกับกิจการนักเรียนของครโู รงเรยี นสามโคก สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวดั ปทุมธานี พบว่า ทุกด้านมีความสัมพันธท์ างบวกระดบั สูงอย่างมนี ัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับความสัมพันธ์จากมากไปน้อย ได้แก่ การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การบริหาร วิชาการ และการบริหารทั่วไป เมื่อพิจารณาตัวแปรระดับการปฏิบัติในกิจการนักเรียนกับการบริหารงานของครู โรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวดั ปทุมธานี พบว่า ทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกระดบั สูงอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติทีร่ ะดับ .01 โดยเรยี งลาดบั ความสัมพนั ธ์จากมากไปน้อย ได้แก่ งานแกไ้ ขปัญหายาเสพติดและโรค เอดส์ งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน งานพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน งานคณะกรรมการ นักเรียนและงานสง่ เสรมิ ประชาธิปไตย และงานกจิ กรรมพฒั นาผู้เรยี น อภปิ รายผล การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ของการบรหิ ารงานกับกิจการนกั เรยี นของครโู รงเรยี นสามโคก สงั กัดองค์การบริหาร สว่ นจังหวัดปทมุ ธานี ผวู้ จิ ัยมขี อ้ ค้นพบและประเด็นทนี่ ่าสนใจเพอื่ นำมาอภิปราย ดังนี้ 1. การบริหารงานโรงเรียนสามโคก สังกดั องคก์ ารบริหารสว่ นจงั หวัดปทุมธานี ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวม อยใู่ นระดับมาก เมอื่ พจิ ารณาเป็นรายด้านพบว่า การบรหิ ารงานโรงเรยี นอยู่ในระดับมากทุกดา้ น เรียงลำดับจากมากไป หาน้อย ดังน้ี ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารท่วั ไป และดา้ นการบริหารงบประมาณ ตามลำดับ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าการบริหารงานโรงเรียนมีขอบข่ายและภารกิจที่ผู้บริหารต้องวางแผน จัดกำลังคน มอบหมายงานท่ีเหมาะสมให้กับผู้ปฏิบัติ ขณะเดียวกันผู้บริหารจะต้องติดตาม ควบคุมใหง้ านต่างๆ ดำเนินไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ในปจั จบุ ันโรงเรียนมีภารกิจในการจัดการเพื่อให้นักเรียนเป็นคนทดี่ ีของสังคม มคี ณุ ธรรม จริยธรรม ทำ ให้ผ้บู ริหารตอ้ งมีบทบาทในการบริหารงานในทุกด้าน ไมว่ า่ จะเปน็ ดา้ นวิชาการ การจดั หางบประมาณ เพ่ือสนับสนุนให้ ภารกจิ ต่างๆ สามารถดำเนินไปได้ นอกจากนผี้ ูบ้ รหิ ารจะต้องเปน็ ผนู้ ำและตดั สินใจในการพัฒนาบุคลากร มอบหมายงาน ที่เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับงาน รวมทั้งโรงเรียนจะต้องจัดสรร ทรัพยากรสำหรับสนับสนุนดูแลในด้านอื่นๆ เช่น ด้านสวัสดิการบุคลากร สาธารณูปโภคสำหรับนักเรียน ซึ่งภารกิจ เหล่านี้ถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารต้องรับผิดชอบขับเคลื่อนให้งานต่างๆ ดำเนินไปได้ สอดคล้องงานวิจัยของ สยุมภู เหมอื นนริ ทุ ธ์ (2560 : 92-103) ไดศ้ ึกษาความสัมพันธร์ ะหว่างการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กกับการ บรหิ ารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ผลการวจิ ัยพบว่า การบริหารงาน ของผบู้ ริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สำนกั งานเขตพน้ื ที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง โดยรวมอย่ใู นระดับมาก ทงั้ น้กี าร บริหารงานเปน็ การดำเนนิ งานเพ่ือสง่ เสริมสนับสนุนและช่วยอำนวยความสะดวกให้ภารกิจหลักขององค์กรดำเนินไปได้ อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ เมอื่ พจิ ารณารายด้าน ผู้วิจยั นำประเด็นท่นี า่ สนใจนำมาอภิปรายผลการวิจัย ดังตอ่ ไปน้ี 106

การประชุมวิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ระดับชาติ คร้ังท่ี 6 \"ความท้าทายของการจดั การการศึกษาใหมห่ ลงั วกิ ฤติ COVID-19” วันที่ 26 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนกุ รรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี 1.1 การบริหารวิชาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมอ่ื จำแนกเปน็ รายข้อพบว่า โรงเรียนมีการวิเคราะห์ หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อกำหนดเป้าหมาย ภารกิจ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ส่งเสรมิ ใหค้ รูจัดทำแผนจัดการเรียนร้แู ละจัดกิจกรรมท่ีสอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน สง่ เสริมให้ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนในกิจกรรมทางวิชาการของโรงเรียน มีการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นเิ ทศติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรตามความเหมาะสม จัดระบบการแนะแนวทางวิชาการและวิชาชีพภายใน โดยบูรณาการเข้ากับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สอดคล้องงานวิจัยของ ดวงแข มานะปรีชางามเลิศ (2562 : 150- 155) ได้ศึกษา ปจั จยั ท่ีสง่ ผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกดั สำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษา ชยั นาท ผลการวจิ ยั พบว่า การบรหิ ารงานวิชาการอยู่ในระดับมากทุกด้าน 1.2 การบริหารงบประมาณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่า โรงเรียนมีการวาง แผนการใชง้ บประมาณ แผนการระดมทุนทรัพยากรทางการศึกษาและทุนการศึกษาของนักเรียน รายงานผลการใช้เงิน งบประมาณตามแผนปฏิบัติการตามข้อตกลงของโรงเรียน จัดทำแผนการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินงบประมาณและ เงินนอกงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ จัดทำและเสนอของบประมาณโดยมีการ วิเคราะห์แผนการศึกษาแห่งชาติและตามความต้องการของโรงเรียน ดำเนินการเบิกเงิน การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจา่ ยเงิน การนำส่งเงิน การโอนเงิน เปน็ ไปตามข้ันตอนและวธิ ีการท่ีกำหนด จดั ทำรายงานประจำเดือนและรายงาน ประจำปี โดยจดั ทำงบแสดงฐานะการเงินตามระเบียบท่ีกำหนด และจัดสง่ รายงานใหก้ ับหน่วยงานทีเ่ กี่ยวข้อง สอดคล้อง งานวิจัยของ สยุมภู เหมือนนิรุทธ์ (2560 : 92-103) ได้ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของผู้บริหาร สถานศึกษาขนาดเล็กกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ผลการวิจัยพบว่า การบรหิ ารงบประมาณ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 1.3 การบรหิ ารงานบุคคล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่า โรงเรียนมีการแต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เสริมสร้างและการป้องกันการ กระทำผิดวินัย ดำเนินการให้ความรู้ ฝึกอบรม การสร้างขวัญและกำลังใจ พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษาตามภาระงานที่รับผิดชอบได้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาของโรงเรียน ดำเนินการจัดระบบ และจัดทำทะเบียนประวัติของข้าราชการครูบุคลากรทางการศึกษาและลูกจ้างให้เป็นปัจจุบัน ดำเนินการส่งคำขอ กำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะให้แกข่ ้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สอดคล้อง งานวิจัยของสุริดา หลังจิ (2556 : 89-98) ได้ศึกษา ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหาร สถานศกึ ษาสังกัดสำนกั งานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษานราธวิ าส ผลการวิจัย พบว่า การบริหารงานของผู้บริหาร สถานศึกษา ด้านการบริหารบุคคลโดยรวมและรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริหารบุคคลผู้บริหาร สถานศึกษาแจ้งให้ครูรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินการเลื่อนขั้นเงินเดือน มีการจัดระบบและจัดทำทะเบียนประวัติของครู และการสรรหาและบรรจุแต่งต้ังควรมีความโปร่งใสและชดั เจน 1.4 การบรหิ ารทั่วไป โดยภาพรวมอยู่ในระดบั มาก เมื่อจำแนกเป็นรายขอ้ พบว่า โรงเรยี นมีการจดั ให้มีระบบ การบริการสาธารณะ เชน่ บริการขอ้ มูลข่าวสาร และบรกิ ารอนื่ แกส่ าธารณชน วางแผนออกแบบระบบงานธุรการ ลด ขั้นตอนการดำเนินงานโดยมีการนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานให้เหมาะสม และจัดบุคลากรรับผิดชอบได้ ตามทีก่ ำหนดอย่างเหมาะสม วางแผนกำหนดแนวทางการส่งเสริมการจัดกิจกรรมนักเรียนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการ 107

การประชมุ วชิ าการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ ครั้งท่ี 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศึกษาใหมห่ ลังวกิ ฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนุกรรมการสาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศกึ ษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี จัดกิจกรรมอย่างหลากหลายตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน บำรุง ดูแลรักษาและพัฒนาอาคารสถานที่และ สภาพแวดลอ้ มของโรงเรยี นใหม้ ่นั คง ปลอดภัย พร้อมใช้ประโยชนเ์ พ่อื ให้เกิดความคมุ้ คา่ และเอื้อประโยชนต์ ่อการเรียนรู้ สอดคล้องงานวิจัยของกัลศรา ธารารมย์ (2557 : 95-102) ได้ศึกษาการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอลืออำนาจ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ผลการวิจัยพบว่า การบริหารโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา ด้านการบริหารงานทั่วไป โดยรวมและรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยโรงเรียนดำเนินการ เกี่ยวกับการรับนักเรียนตามระเบียบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินงานธุรการอย่างมีประสิทธิภาพ จัด บคุ ลากรรับผดิ ชอบ จดั ทำแผนพฒั นาสถานศึกษา และมีการวางแผนการบริหารงานอย่างเป็นระบบ 2. กิจการนักเรยี นของครูโรงเรียนสามโคก สงั กัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ผลการวิจัยพบว่า โดย ภาพรวมอย่ใู นระดับมาก เมอ่ื พิจารณาเปน็ รายด้านพบว่า กจิ การนกั เรียนอยู่ในระดับมากทกุ ด้าน เรียงลำดับจากมากไป หาน้อย ดังน้ี งานแกไ้ ขปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์ งานระบบดูแลชว่ ยเหลือนักเรียน งานพฒั นาและสง่ เสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน งานคณะกรรมการนักเรียนและงานส่งเสริมประชาธิปไตย และงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามลำดับ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้บริหารและครูมีการร่วมมือกันในการวางแผนงานกิจการนักเรียน มีนโยบายและกำหนด เป้าหมายที่ชัดเจนในการบริหารงาน เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการบริหารงานกิจการ นักเรียน มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานแต่ละดา้ นอย่างชัดเจน มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาด้านวนิ ยั คุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกิจกรรมการเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียนและมีส่วนร่วมกับ ชุมชนในการรว่ มกิจกรรมเดินรณรงค์เกี่ยวกับการเลือกตง้ั และมกี ารจัดการด้านงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่าง เปน็ ระบบ โดยเฉพาะด้านการคัดกรองนกั เรยี นและการศึกษานักเรียนรายบุคคล จงึ ทำให้การดำเนินงานต่างๆ ของงาน กจิ การนักเรียนในโรงเรียนสามโคกเป็นไปด้วยดีและบรรลุเป้าหมาย สอดคล้องกับงานวิจัยของวณิชย์ เอ้ือน้อมจิตต์กุล (2556 : 95-104) ได้ศึกษาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนง้ิวรายบุญมีรังสฤษดิ์ ผลการวิจัยพบว่า การบริหาร กิจการนักเรียนของโรงเรียนงิ้วรายบุญมีรังสฤษดิ์ ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก แนวทางในการบริหาร กจิ การนกั เรียนของโรงเรียนงว้ิ รายบญุ มรี งั สฤษด์ิ ดา้ นการวางแผนงานกิจการนักเรียน ใหค้ รูและนักเรียนมีส่วนร่วมใน การจัดทำคู่มือครูและคู่มอื นกั เรียน ด้านการบริหารงานกจิ การนกั เรียน ให้นักเรียนไดม้ ีส่วนรว่ มในการวางแผนในการ จัดกิจกรรมต่างๆ ด้านการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม ให้กำหนดหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการ บันทึกรวบรวมเกียรตปิ ระวัติของนกั เรียนให้ชัดเจน ด้านการดำเนนิ งานระบบดูแลช่วยเหลือนกั เรียน ให้ครูแนะแนวและ ครทู ่ปี รกึ ษาดูแลช่วยเหลือนักเรยี นมากข้นึ เม่อื พิจารณารายด้าน ผูว้ จิ ยั นำประเด็นท่นี า่ สนใจนำมาอภิปรายผลการวิจัย ดังตอ่ ไปน้ี 2.1 งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมอ่ื จำแนกเปน็ รายข้อพบว่า โรงเรียนมี การจัดชั่วโมงโฮมรูมอย่างนอ้ ย 1 คาบ/สปั ดาห์ จัดทำประกันภัยให้นักเรียนและสร้างเครอื ข่ายในการส่งต่อนักเรียน มี การจัดทำประกนั ภัยให้นักเรียนและสร้างเครือข่ายในการสง่ ต่อนักเรยี น จัดกลมุ่ ขอ้ มูลคัดกรองนักเรียนต่อเน่ือง จัดทำ คู่มือการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแต่ละช่วงชั้น กำหนดนโยบายและแผนในการส่งเสริมนักเรียนที่ชัดเจน มีการจัดเก็บ ขอ้ มลู นักเรียนเป็นรายบุคคล และชว่ ยเหลือนักเรียนไม่ให้ติด 0 ร มส. สอดคล้องกับงานวิจัยของวณิชย์ เอ้ือน้อมจิตต์ กุล (2556 : 95-104) ไดศ้ กึ ษาการบรหิ ารกิจการนักเรียนของโรงเรียนงิว้ รายบุญมรี ังสฤษด์ิ ผลการวิจัยพบวา่ การบริหาร 108

การประชมุ วชิ าการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวิชาศึกษาศาสตรร์ ะดับชาติ ครัง้ ที่ 6 \"ความทา้ ทายของการจัดการการศกึ ษาใหมห่ ลงั วิกฤติ COVID-19” วันท่ี 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อดุ มศึกษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี กจิ การนกั เรยี นของโรงเรียนงิ้วรายบุญมรี งั สฤษดิ์ ด้านการดำเนนิ งานระบบดูแลชว่ ยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก โดย โรงเรียนมีการแตง่ ตัง้ คณะกรรมการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนกั เรียน คัดกรองนกั เรยี นโดยจัดทำ SDQ ครบทกุ คน 2.2 งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดบั มาก เมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่า โรงเรียนมี การสง่ เสริมสนับสนนุ การพัฒนากิจกรรมลูกเสอื เนตรนารี ยวุ กาชาด ผู้บำเพญ็ ประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหารของ โรงเรยี นมีความต่อเนื่อง กำหนดแผนงานการพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมด้านกีฬาและนันทนาการในรูปแบบ โครงการและกิจกรรมมีความเหมาะสม กำหนดแผนงาน หรือโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของนักเรียนภายใน โรงเรียนครอบคลุม และเหมาะสม กำหนดแผนงาน และโครงการส่งเสริมสนับสนุนงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา ครอบคลุมทุกด้านอย่างเหมาะสมและชัดเจน สง่ เสรมิ สนบั สนนุ การจัดกิจกรรมเพ่ือพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก และเยาวชน ของสถานศึกษาเหมาะสม และต่อเนื่อง ส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนเป็นศูนย์กลางการให้บริการนักเรียนโดยอาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อกลางในการแก้ปญั หาของโรงเรยี น สอดคล้องกับงานวิจัยของกุสนิ า รอดทอง (2561 : 95- 102) ได้ศึกษา การบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัยพบว่า การ บริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ด้านกิจกรรมนักเรียนอยู่ในระดับมาก โดย โรงเรียนมีการประชมุ แตง่ ตัง้ เพอื่ หาคณะกรรมการรับผดิ ชอบและประเมนิ ผลการดำเนนิ งานกิจกรรมนักเรียน 2.3 งานแก้ไขปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่า โรงเรียนมีการให้คณะครูมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดและโรคเอดส์ในโรงเรียน มีการขอความร่วมมือ จากบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติดและโรคเอดส์ จัดเสียงตามสายเพ่ือให้ความรู้ เกี่ยวกับยาเสพติดและโรคเอดส์ จัดป้ายประกาศข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและโรคเอดส์ จดั ทำแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติดและโรคเอดส์ในโรงเรียน สอดแทรกข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดและ โรคเอดส์ในสาระการเรียนรู้ กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติดและโรคเอดส์ในโรงเรียน และสร้างเครือข่าย ในการป้องกันยาเสพติดและโรคเอดส์กับองค์กรภายนอก สอดคล้องกับแนวคิดของ ณฐพร หลากสุขถม (2560 : 10) กล่าวถึง งานป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นการดำเนินงานจัดทำ แผนงานและนโยบายการป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา จัดกิจกรรมหรือโครงการรณรงค์ที่เหมาะสม หาแนวทางการบำบัดผู้เสพหรือผู้ติดสาร เสพติด ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวัง ตลอดจนประเมินติดตามผลการดำเนินงาน งานป้องกัน และแก้ไขปญั หาเอดส์ เป็นการดำเนนิ งานจดั ทำแผนงานและนโยบายการป้องกัน 2.4 งานคณะกรรมการนักเรียนและงานส่งเสริมประชาธิปไตย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนก เป็นรายข้อพบว่า โรงเรียนมีการสนับสนุนให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน กำหนด นโยบายส่งเสริมประชาธิปไตยแก่นักเรียนอย่างชัดเจน จัดกจิ กรรมการเลือกตง้ั คณะกรรมการนกั เรียนตามแนวทางการ เลือกตั้งทั่วไป จัดกิจกรรมเสริมสร้างประชาธิปไตยตามความต้องการของนักเรียนเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จัดให้ ความรู้เรื่องประชาธิปไตยแก่นักเรียน และจัดทำแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานส่งเสริมประชาธิปไตยใน โรงเรยี น สอดคล้องกับงานวิจยั ของ สรุ พัชร เกตรุ ตั น์ (2561 : 63-68) ไดศ้ กึ ษา การบรหิ ารกิจการนักเรียนของโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี ผลการวิจัยพบว่า การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พัฒนาการราชบรุ ี ด้านงานคณะกรรมการนักเรียนและงานส่งเสริมประชาธิปไตย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 109

การประชุมวชิ าการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ระดบั ชาติ ครั้งที่ 6 \"ความทา้ ทายของการจดั การการศกึ ษาใหมห่ ลงั วิกฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอดุ มศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี โดยโรงเรียนมีการใช้สิทธิในการเลือกตั้ง แต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียนและกำหนดหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้าน ประชาธิปไตย แตง่ ตั้งคณะกรรมการดำเนนิ การส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน 2.5 งานพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จรยิ ธรรมนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นราย ข้อพบว่า โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมกีฬาของโรงเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม เช่น ค่าย คณุ ธรรม มารยาทไทย จดั กิจกรรมส่งเสริมพฒั นาการใช้เวลาว่างให้เปน็ ประโยชน์ จัดกจิ กรรมสง่ เสริมพัฒนาด้านความ รับผิดชอบต่อสังคม จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาความประพฤติ ระเบียบวินัย เช่น การเข้าแถว การแต่งกาย การแสดง ความเคารพ จัดกิจกรรมดนตรีของโรงเรียน ส่งเสริมให้ครูสอดแทรกวินัย คุณธรรม จริยธรรมในการจัดการเรียนการ สอน และยกยอ่ งให้กำลังใจหรือมอบวุฒบิ ัตรแก่นักเรียนที่ประพฤตดิ ี สอดคล้องกับงานวิจัยของกุสินา รอดทอง (2561 : 95-102) ได้ศึกษา การบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานกิจการนักเรยี นของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ด้านสง่ เสริมคุณธรรม จรยิ ธรรม โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยโรงเรียนมีการอบรมศีลธรรม จรรยามารยาท ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม อยู่เสมอ มีโครงการอบรมในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมเป็นประจำสม่ำเสมอ ครูผู้สอนปฏิบัติตนดี มีศีลธรรมเป็น แบบอย่างแกน่ กั เรียน ผ้ปู ฏบิ ตั ิงานร่วมกนั รบั ผิดชอบงาน 3. การศึกษาความสัมพันธ์ของการบริหารงานกับกิจการนักเรียนของครูโรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานกับกิจการนักเรียนของครูโรงเรียนสามโคก สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาการบริหารงานกับกิจการนักเรียนของครูโรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พบว่า ทุกดา้ นมีความสัมพนั ธ์ทางบวกระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับความสัมพันธ์จาก มากไปน้อย ได้แก่ การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การบริหารวิชาการ และการบริหารทั่วไป เม่ือ พิจารณากิจการนักเรียนกับการบริหารงานของครูโรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พบว่า ทกุ ดา้ นมีความสัมพนั ธ์ทางบวกระดับสงู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรยี งลำดับความสัมพันธ์จากมากไป น้อย ได้แก่ งานแก้ไขปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์ งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน งานพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน งานคณะกรรมการนักเรียนและงานส่งเสริมประชาธิปไตย และงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทั้งนี้อาจ เป็นเพราะว่า ผู้บริหารของโรงเรียนเห็นถึงความสำคัญในการบริหารงานโรงเรียนว่ามีผลต่อกิจการนักเรียน โดยการ ปกครองนักเรียนที่ดีส่งผลทำใหน้ ักเรียนมีคุณธรรม จรยิ ธรรมในการดำเนินชีวิตได้ รวมทงั้ การจัดกิจกรรมนักเรียนและ แนะแนวนกั เรยี นที่ดีส่งผลทำใหน้ ักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดี ส่งผลทำให้การบริหารงานกับกิจการนักเรียน ของครูโรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี โดยรวมมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ สยุมภู เหมือนนิรุทธ์ (2560 : 92-103) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของ ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อา่ งทอง ผลการวิจยั พบว่า ความสมั พันธร์ ะหว่างการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กกับการบริหารเชิงกล ยุทธ์ในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง พบว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของ ปณิธิกฤษติ์ เลิศล้ำ (2555 : 110-119) ได้ ศึกษาความสัมพนั ธ์ระหว่างการบริหารกิจการนักเรียนกับคุณลักษณะอนั พงึ ประสงค์ของนักเรยี นในสถานศึกษา สังกัด 110

การประชมุ วชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตรร์ ะดับชาติ คร้งั ท่ี 6 \"ความท้าทายของการจดั การการศกึ ษาใหม่หลงั วิกฤติ COVID-19” วนั ที่ 26 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกจิ การนักเรียน กับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 โดยรวมมคี วามสัมพนั ธก์ นั ในทิศทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อยา่ งมีนัยสำคัญทางสถิติท่รี ะดับ .05 การบรหิ ารทั่วไปมีความสัมพันธก์ ับกิจการนักเรียน มคี วามสมั พันธ์ทางบวกระดับสูงในระดับนอ้ ยสุด โดยงาน คณะกรรมการนกั เรียนและงานสง่ เสริมประชาธิปไตยมีความสัมพันธก์ ับการบริหารทั่วไปอยู่ในระดับสงู มาก งานพัฒนา และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนและงานแกไ้ ขปญั หายาเสพติดและโรคเอดสม์ ีความสัมพันธก์ ับการบริหารทั่วไป อยู่ในระดับสงู งานระบบดแู ลช่วยเหลือนักเรียนและงานกิจกรรมพฒั นานกั เรียนมีความสมั พันธ์กับการบรหิ ารท่ัวไปอยู่ ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะวา่ การดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมกี ารจัดโครงสร้างของกิจกรรมพฒั นา ผ้เู รยี นท่ชี ัดเจน มีสถานท่ีในการบริการให้คำปรึกษาท่ีเหมาะสม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีการปรับบทบาทในการปฏิบัติ เพอ่ื เพม่ิ ประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับครูผู้สอน ด้านการจัดประชุมครทู ี่ปรึกษากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แต่ขาดการ ประชาสัมพันธ์และการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนงาน ขาดการจัดแหล่งบริการข้อมูล ความรู้ด้านต่างๆ และขาดการดำเนินการด้านการนิเทศ ติดตามและประสานงานในการดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนา ผเู้ รยี น สอดคล้องกบั งานวจิ ัยของกุสินา รอดทอง (2561 : 95-102) ได้ศกึ ษา การบรหิ ารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน ในสังกดั เทศบาลนครสุราษฎรธ์ านี ผลการวจิ ัยพบว่า การบรหิ ารงานกิจการนกั เรียนของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสุ ราษฎร์ธานี ด้านกิจกรรมนักเรียนอยู่ในระดับมาก โดยเปดิ โอกาสใหน้ กั เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพ่ือให้การจัด กจิ กรรมเกิดคุณค่าและประโยชนต์ ่อผู้เรียนอย่างแท้จรงิ จดั กจิ กรรมใหน้ ักเรียนได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะ ประโยชน์ วางแผนกำหนดแนวทางการส่งเสริมการจัดกิจกรรมนักเรียนโดยสนับสนุนให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมใน กระบวนการวางแผนงานกิจกรรมนักเรียน จัดครูที่ปรึกษาให้คอยช่วยเหลือ แนะนำการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน และสอดคล้องกบั งานวจิ ัยของ ณฐพร หลากสขุ ถม (2560 : 89-96) ไดศ้ กึ ษา แนวทางการดำเนนิ งานกิจการนักเรียนของ โรงเรยี นในจังหวัดอ่างทอง สำนักงานเขตพืน้ ท่ีการศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานกิจการ นกั เรยี นของโรงเรียนในจังหวัดอ่างทอง สังกัดสำนกั งานเขตพ้ืนท่ีการศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับปาน กลาง โดยงานส่งเสริมกิจการนักเรยี น มีแนวทางในการดำเนินงานโดยทำการสรรหาและแตง่ ตั้งคณะกรรมการตามความ เหมาะสม และส่งเสริมคณะกรรมการดำเนินงานกิจการนักเรียนปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ มีการสนับสนุนให้แต่ละ ระดบั ชั้นจัดทำป้ายนิเทศให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย งานระบบดูแลช่วยเหลอื นักเรียน มแี นวทางในการดำเนินงาน ศึกษาบริบทของแต่ละสถานศึกษาอย่างเข้าใจแล้วนำมาเป็นส่วนกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการให้คณะกรรมการ สถานศกึ ษา ชมุ ชน หรอื ผู้ท่ีมสี ว่ นได้สว่ นเสยี ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเหน็ ตามขอบเขต บทบาทหน้าท่ีของตน มี การรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสาธารณชน จดั กจิ กรรมทสี่ อดคล้องกับปญั หาเพือ่ ปรับเปลยี่ นพฤติกรรมของผู้เรียน ขอ ความร่วมมือจากชุมชนหรอื หน่วยงานที่เกย่ี วข้องที่มีงบประมาณเพยี งพอเข้ามารว่ มกจิ กรรม หรือเปน็ ผูจ้ ดั กิจกรรมน้ัน ขอ้ เสนอแนะ ขอ้ เสนอแนะการนำผลการวจิ ัยไปใช้ 1. การบริหารงานโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการกำหนดระเบียบ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดและ ประเมินผลได้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา / ตวั ช้วี ดั ควรมีการจดั ทำแผนกลยุทธ์หรอื แผนพัฒนาการศึกษา โดยครู 111

การประชมุ วชิ าการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวชิ าศกึ ษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ ครัง้ ที่ 6 \"ความทา้ ทายของการจัดการการศึกษาใหม่หลงั วิกฤติ COVID-19” วันท่ี 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนุกรรมการสาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี บุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการปรับปรุง เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมในการเสนอของบประมาณ เสรมิ สร้างและพฒั นาสง่ เสริมวนิ ยั คุณธรรมและจริยธรรมสำหรบั ข้าราชการครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษา และควรมีการ ประชาสัมพนั ธใ์ นรูปแบบท่ีหลากหลาย โดยยดึ หลักการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายท่ีเก่ียวข้อง 2. กิจการนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการช่วยเหลือนักเรียนไม่ใหต้ ิด0 ร มส. ควรมีการแต่งต้ังผู้ปฏบิ ัติ หน้าที่ หรือครูที่รับผิดชอบงานส่งเสริมกิจการนักเรียนในด้านต่างๆ ของสถานศึกษาให้มีความเหมาะสม ควรมีการสร้าง เครือข่ายในการปอ้ งกันยาเสพติดและโรคเอดส์กบั องค์กรภายนอก ควรมกี ารจดั ทำแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ส่งเสริมประชาธปิ ไตยในโรงเรียน และควรมีการยกย่องให้กำลงั ใจหรอื มอบวุฒบิ ัตรแก่นกั เรียนท่ปี ระพฤตดิ ี ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งตอ่ ไป 1. ควรมีการศึกษารูปแบบการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปทุมธานี 2. ควรมีการศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การ บรหิ ารสว่ นจงั หวดั ปทมุ ธานี 3. ควรมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานทั่วไปกับงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษา สังกัด องคก์ ารบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี 4. ควรมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษากับงานกิจการนักเรียนใน สถานศกึ ษา สงั กดั สำนกั งานเขตพ้นื ท่ีการศกึ ษาอืน่ ๆ หรือสังกดั สำนกั งานเขตพน้ื ท่กี ารศกึ ษามัธยมศึกษา เอกสารอ้างองิ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. (2551). หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน พทุ ธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ครุ สุ ภาลาดพร้าว. กมลศิษฐ์ ชลมนัสสรณ.์ (2562). สภาพปัจจบุ นั และสภาพท่พี ีประสงคข์ องการบรหิ ารงานกิจการนกั เรียน โรงเรียนจักรคำ คณาทร จงั หวดั ลำพนู สงั กัดสำนกั งานเขตพนื้ ท่ีการศึกษามธั ยมศึกษา เขต 35. การค้นควา้ อิสระ มหาบัณฑิต การบรหิ ารการศึกษา บณั ฑิตวิทยาลัย มหาวทิ ยาลัยพะเยา. กลั ศรา ธารารมย์. (2557). การบริหารงานโรงเรยี นขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอลืออำนาจ สำนกั งานเขตพน้ื ท่ี การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจรญิ . สารนิพนธศ์ ึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิ าการบริหารการศึกษา บณั ฑิตวิทยาลัย มหาวทิ ยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. กุสินา รอดทอง. (2561). การบริหารงานกจิ การนกั เรยี นของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสรุ าษฎร์ธานี. การค้นควา้ อสิ ระครุศาสตรมหาบัณฑติ สาขาวชิ าการบริหารการศึกษา บัณฑติ วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธาน.ี ณฐพร หลากสุขถม. (2560). แนวทางการดำเนนิ งานกิจการนกั เรยี นของโรงเรียนในจังหวัดอ่างทอง สำนกั งานเขตพ้ืนท่ี การศกึ ษามธั ยมศึกษา เขต 5. วทิ ยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค.์ ดวงแข มานะปรีชางามเลิศ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศกึ ษาสงั กัดสำนักงานเขตพนื้ ที่ การศกึ ษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบรหิ ารการศึกษา บัณฑิต วทิ ยาลัย มหาวิทยาลัยราชภฏั นครสวรรค์. 112

การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวชิ าศกึ ษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ ครงั้ ที่ 6 \"ความทา้ ทายของการจัดการการศึกษาใหม่หลังวกิ ฤติ COVID-19” วนั ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนุกรรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอดุ มศกึ ษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ปณธิ ิกฤษต์ิ เลิศลํ้า. (2555). ความสัมพนั ธร์ ะหว่างการบริหารกิจการนกั เรียนกับคุณลักษณะอนั พงึ ประสงคข์ อง นักเรียนในสถานศกึ ษา สังกัดสำนักงานเขตพืน้ ที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาการบรหิ ารการศกึ ษา บัณฑติ วิทยาลัย มหาวทิ ยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรงุ เทพฯ : พิมพ์ดี. ปารชิ าติ เขง่ แก้ว. (2563). แนวทางการบรหิ ารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรยี นรู้ทางวิชาชพี สังกัดสำนักงานเขตพื้นท่กี ารศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธค์ รุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศกึ ษา บัณฑิตวทิ ยาลัยมหาวิทยาลยั ราชภฏั นครสวรรค์. พิสณุ ฟองศรี. (2552). การสร้างและพฒั นาเครอ่ื งมือวิจยั . กรุงเทพฯ : ต้นแกว้ . โรงเรียนสามโคก. (2564). ขอ้ มูลสารสนเทศ. ปทุมธานี : โรงเรียนสามโคก. วณิชย์ เอ้อื นอ้ มจิตต์กุล. (2556). การบริหารกิจการนกั เรียนของโรงเรียนงิ้วรายบุญมรี ังสฤษด์ิ. การคน้ คว้าอิสระ การศกึ ษามหาบัณฑติ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร. สมพร โพธิ์กำเนิด. (2557). การศึกษาปัญหาและแนวทาง การพัฒนาการบรกิ ารงานกิจการนักเรียน นักศึกษาของ วทิ ยาลัยเกษตรและเทคโนโลยสี ังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชวี ศกึ ษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑติ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวทิ ยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพบิ ูลสงคราม. สยมุ ภู เหมือนนิรทุ ธ์. (2560). ความสมั พันธ์ระหวา่ งการบริหารงานของผู้บรหิ ารสถานศึกษาขนาดเล็กกับการบริหาร เชิงกลยทุ ธ์ในสถานศึกษา สำนักงานเขตพ้นื ท่กี ารศึกษาประถมศกึ ษาอา่ งทอง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลยั มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สุรดิ า หลังจิ. (2556). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกดั สำนกั งานเขตพ้นื ท่ี การศกึ ษาประถมศึกษานราธวิ าส. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศกึ ษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวทิ ยาลัยราชภัฏยะลา. สรุ พชั ร เกตุรัตน.์ (2561). การบริหารกิจการนกั เรยี นของโรงเรียนเตรียมอุดมศกึ ษาพัฒนาการราชบรุ .ี การคน้ คว้า อิสระการศกึ ษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศกึ ษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 113

การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ระดับชาติ ครงั้ ท่ี 6 \"ความทา้ ทายของการจดั การการศกึ ษาใหม่หลงั วกิ ฤติ COVID-19” วนั ที่ 26 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อุดมศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี การดำเนนิ งานระบบดแู ลช่วยเหลือนกั เรียนโรงเรียนวัดมาบขา่ อำเภอนิคมพัฒนา จังหวดั ระยอง สงั กัดสำนกั งานเขตพืน้ ที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 Operation for the Student Support System of Watmapkha School, Nikhom Phatthana,Rayong Province under Rayong Primary Education Service Area Office 1 นฏั พนั ธ์ ดิศเจริญ โรงเรียนวดั มาบข่า (มาบข่าวทิ ยาคาร) E-mail [email protected] บทคดั ย่อ บทความวจิ ัยนม้ี ีวัตถุประสงคเ์ พอ่ื ศึกษาการดำเนนิ งานระบบดูแลชว่ ยเหลอื นักเรยี นโรงเรียนวัดมาบข่า อำเภอ นคิ มพฒั นา จงั หวัดระยอง สังกัดสำนกั งานเขตพนื้ ทกี่ ารศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ประชากรที่ใชใ้ นการวิจัย ได้แก่ ผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษา และครทู ่ปี รึกษา จำนวน 51 คน เกบ็ รวบรวมขอ้ มูลโดยใช้แบบสอบถาม วเิ คราะหข์ อ้ มลู โดยการหา ค่าความถ่ี ร้อยละ คา่ เฉล่ยี และส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนกั เรียนโรงเรยี นวัดมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัด ระยอง สงั กดั สำนกั งานเขตพนื้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมอยใู่ นระดับมาก เม่อื พจิ ารณารายด้านพบ ว่าด้านการรูจ้ ักนักเรียนเป็นรายบุคคล (S2) Survey และด้านการคัดกรองนักเรียน (S3) Section อยู่ในระดบั มากที่สุด ส่วนด้านด้านการสง่ เสริมนักเรียน (S4) Support ด้านการสง่ ตอ่ (S6) Send ดา้ นการปอ้ งกันและแก้ไขปัญหา (S5) Save การวางแผนการดำเนินงาน (S1) Schedule และการสรปุ ผล (S7) Summary อยู่ในระดบั มาก การวจิ ัยคร้ังน้กี ่อให้เกิดองค์ความรเู้ ก่ียวกับแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลชว่ ยเหลือนักเรียนอนั เป็นประโยชนต์ อ่ การยกระดบั การดำเนินงานของโรงเรียนต่อไป คำสำคัญ: ระบบดแู ลช่วยเหลือนักเรียน Abstract This research article aimed to study the operation for the student support system of Watmapkha School, Nikhom Phatthana, Rayong province under Rayong Primary Education Service Area Office 1. Population in the research consisted of 51 school administrators and mentor teachers. Data was collected by questionnaire and the data analysis was performed by frequency, percentage, mean and standard deviation. 114

การประชมุ วิชาการและเผยแพร่ผลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดบั ชาติ คร้งั ที่ 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศกึ ษาใหมห่ ลงั วกิ ฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนุกรรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอดุ มศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี The result revealed that the operation for the student support system of Watmapkha School, Nikhom Phatthana, Rayong province under Rayong Primary Education Service Area Office 1 rated high in overall. When considering each aspects, it was found that the aspect of knowing individual student (S2) Survey and the aspect of student screening (S3)Section scored the highest. While the aspect of student support (S4) Support, the aspect of referral (S6) Send, the aspect of prevention and problem solving (S5) Save, the aspect of planning (S1) Schedule, and the aspect of summarization (S7) Summary scored in high level. This research created the knowledge for the guideline in improving the operation for the student support system leading to further improvement of school operation. Keyword : Student support system บทนำ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระบรม ราโชวาทที่ให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชน ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ในวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 ว่า “เยาวชนทุกคนมิได้ต้องการทำตัวเองให้ตกต่ำ หรือเป็น ปัญหาแกส่ ังคมประการใดแท้จริงต้องการเป็นคนดี มคี วามสำเร็จ มีฐานะ มีเกยี รตแิ ละอย่รู ว่ มกบั ผู้อื่นไดอ้ ยา่ งราบรืน่ แต่ การที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์นั้น จำเป็นต้องอาศัยผู้แนะนำควบคุมให้ดำเนินไปย่างถูกต้อง ในฐานะที่เป็นครู เป็น อาจารย์ เป็นผบู้ ริหารการศึกษา ท่านจะช่วยเขาได้มากที่สุด เพราะมสี ว่ นควบคมุ ดแู ลใกล้ชดิ อยู่ทุกๆด้าน รองลงมาจาก บิดา มารดา” (สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พ้นื ฐาน.2547;1) ซ่งึ รฐั บาลกไ็ ดใ้ หค้ วามสำคัญกบั การจัดการศึกษา ให้กับเด็กและเยาวชนโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 54 วา่ …รฐั ต้องดําเนนิ การให้เดก็ ทกุ คนไดร้ ับการศึกษาเปน็ เวลาสบิ สองปี ตงั้ แต่ ก่อนวยั เรยี นจนจบการศกึ ษาภาค บังคบั อยา่ งมคี ุณภาพโดยไม่เกบ็ ค่าใชจ้ ่าย ใหเ้ ด็กเลก็ ได้รบั การดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา เพ่ือพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ ภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดําเนินการด้วย ให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความตอ้ งการในระบบต่างๆ รวมท้ัง ส่งเสริม ให้มกี ารเรียนรตู้ ลอดชีวิต และจัดใหม้ กี ารรว่ มมือกันระหว่างรฐั องค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถิ่น และภาคเอกชน ใน การจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดําเนินการ กํากับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษา ดังกล่าวมี คณุ ภาพและได้มาตรฐานสากล การศกึ ษาท้งั ปวงต้องมุ่งพฒั นาผเู้ รียนใหเ้ ปน็ คนดี มีวนิ ัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชยี่ วชาญ ได้ ตามความถนัดของตน และมีความรบั ผดิ ชอบต่อครอบครวั ชมุ ชน สงั คม และประเทศชาติ ดังน้ันสถานศกึ ษามหี นา้ ที่ โดยตรงในการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามรฐั ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามความมุ่งหมายของการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 ที่มุ่งเน้นการพัฒนา ผู้เรียนให้เป็นบุคคลท่ีมีความสมบูรณ์ท้ังร่างกายและจติ ใจ สามารถอยู่ในสงั คมได้อย่างมีความสุข เห็นความสำคัญของ การจัดการศกึ ษาและกระบวนการ เพื่อพัฒนาการศึกษา และเจตนารมณ์/เปา้ ประสงค์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษา 115

การประชุมวชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดบั ชาติ คร้งั ที่ 6 \"ความท้าทายของการจดั การการศกึ ษาใหม่หลงั วกิ ฤติ COVID-19” วันที่ 26 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนุกรรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอดุ มศึกษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชปู ถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะความสามารถ มีสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นคนเก่ง คนดีคนที่อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นปกติสุข แต่การจัดการเรียนรู้จะต้องทำให้ผู้เรียนได้เรยี นรู้ตามความ ถนดั ความสนใจ และศกั ยภาพของตนเอง ผเู้ รยี นในแตล่ ะชัน้ เรียนซ่งึ มจี ำนวนมากมีความแตกตา่ งกันในทกุ ด้าน ภูมิหลัง และพื้นความสามารถของผู้เรียนมีความหลากหลาย ประกอบกับเด็กและเยาวชนในยุคปัจจุบันจำนวนไม่น้อยที่ได้รบั ผลกระทบจากปัญหาและสภาพแวดล้อมที่ไม่สร้างสรรค์ในสังคม ทำให้มีพฤติกรรมแตกต่างไปจากเด็กและเยาวชนใน อดตี แมว้ ่าผู้ปกครอง ครู อาจารย์ และคนทำงานดา้ นเด็กจะใช้ความรัก ความปรารถนาดอี ย่างมากมายเพียงใดก็ตาม ก็ ไม่อาจพิทักษ์ ปกป้อง และคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ปลอดภัย หรือมีพฤติกรรมตามที่สังคมคาดหวังได้ จากการ ประมวลสถิติขอ้ มลู สถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนของหน่วยงานต่างๆ พบว่า เด็กและเยาวชนท้ังที่เป็นนักเรียนใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอื่นๆ ส่วนหนึ่งมักมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ดังน้ี ตกเป็นทาสของเกม คอมพิวเตอร์จนถึงข้ันหมกมนุ่ นิยมประลองความเร็ว ใช้ความรนุ แรงในการตัดสินปัญหาและข้อขัดแย้ง มีเพศสมั พันธเ์ ร็ว ขึน้ ไมป่ อ้ งกนั ตนเองขาดความรับผิดชอบ เข้าถึงสารเสพติดได้ง่าย ขาดหลกั ยดึ เหน่ียวทางจิตใจ ไมเ่ ห็นความสำคัญของ หลักศาสนา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน, 2559; 1) จงึ ไม่ใชเ่ รื่องง่ายท่คี รจู ะจัดการเรียนรู้ และบริหาร จัดการชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ครูจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทำงานตาม ระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียน เป็นกลไกในการพัฒนาผู้เรียนทั้งในทางส่งเสริมพัฒนาการ ป้องกันแก้ไข และให้ความช่วยเหลืออย่างสอด ประสาน เชอื่ มโยงผสมกลมกลืนไปกับการจัดการเรียนรตู้ ามธรรมชาตขิ องผู้เรียนแตล่ ะช่วงวยั โรงเรยี นวดั มาบข่า ตั้งอยู่ เลขท่ี 67/3 หมู่ 5 ตำบลมาบขา่ อำเภอนิคมพฒั นา จงั หวดั ระยอง สังกดั สำนกั งาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศกึ ษาระยอง เขต 1 เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปที ี่1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี นักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 1, 071คน จำแนกเป็น ระดับประถมศึกษา 688 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 383 คน มี ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 53 คน ได้นำนโยบาย ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติระเบียบ ขา้ ราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 สง่ เสรมิ การพัฒนาเดก็ และเยาวชนแหง่ ชาติ พ.ศ. 2550 มาวเิ คราะห์ และวางแผนการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยจัดให้มีระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนขึ้น โดยมุ่งเน้นการแก้ปัญหาในด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านสุขภาพจิตและพฤติกรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้าน สภาพแวดล้อมครอบครัว ดา้ นยาเสพตดิ ดา้ นความปลอดภยั และด้านเพศ ทางโรงเรยี นจงึ ไดก้ ำหนดใหก้ ารจัดระบบการ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นอีกภารกิจหลักของครู มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือ นกั เรยี น การเสรมิ สรา้ งทักษะชีวติ และการคุ้มครองนกั เรยี นท่ีมกี ารกำหนดชัดเจนและเหมาะสม ประกอบดว้ ยทมี นำ ทีม ประสานงาน และทมี ทำ โดยกำหนดแนวปฏิบัตทิ เี่ กี่ยวขอ้ งกับระบบการดแู ลช่วยเหลอื นกั เรียน การเสรมิ สร้างทักษะชีวิต และคมุ้ ครองนักเรียนไดแ้ ก่ ระเบียบวา่ ดว้ ยความประพฤติของนกั เรียน คมู่ อื นักเรียนและผู้ปกครอง คูม่ ือการดำเนินงาน ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน หลักสูตรสถานศึกษา แผนบริหารความเสี่ยงเพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการ เสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียนอย่างปลอดภัย ตลอดจนให้มีทักษะในการดำรงชีวิต นอกจากนี้ภายใต้ สถานการณการแพรระบาดของโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID- 19) มีการระบาดในวงกวาง องคการอนามัยโลก (WHO) ไดประกาศใหโรคโควดิ 19 เปนภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสขุ ระหว 116

การประชมุ วชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ระดับชาติ ครัง้ ท่ี 6 \"ความท้าทายของการจดั การการศึกษาใหมห่ ลงั วิกฤติ COVID-19” วันท่ี 26 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนุกรรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศกึ ษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชปู ถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern)โดยแนะนำใหทกุ ประเทศเรงรัดการเฝาระวงั และป องกันความเสี่ยงจากโรคโควิด 19 สำหรับประเทศไทยพบผูปวยและผูเสียชีวิตเพ่ิมขึน้ อยางตอเนื่อง และมีโอกาสขยาย วงกวางขน้ึ เร่ือย ๆ โดยเฉพาะ อยางย่ิงแนวโนมที่จะเกิดการแพรระบาดในสถานศกึ ษา ดงั นน้ั การสรางความตระหนัก รูเท าทัน และเตรียมความพรอมในการรับมือกับการระบาดของโรคอยางมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเปนอยางยิ่งเพื่อลด ความเสีย่ งและปองกนั ไมใหสงผลกระทบตอสุขภาพนกั เรียน ครู ผูสอน และบคุ ลากรทางการศึกษา อนั เปนทรัพยากรที่ สำคญั ในการขับเคล่ือนและพฒั นาประเทศในอนาคต หน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้เรียน และแก้วิกฤติสังคม จึงนำระบบการดูแล ช่วยเหลอื นกั เรยี นท้งั 5 ด้าน คือ 1) ดา้ นการรู้จักนกั เรยี นเปน็ รายบคุ คล 2) ดา้ นการคัดกรองนักเรียน 3) ด้านการสง่ เสรมิ และพัฒนานักเรียน 4) ด้านการป้องกันและการแก้ไขปัญหานักเรียน และ 5) ด้านการส่งต่อนักเรียน (สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2559;14) มาประยุกต์ใช้และพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนโดยได้นำ กระบวนการ PDCA มาเพมิ่ เตมิ ให้กับระบบดูแลชว่ ยเหลอื นักเรียนในสว่ นของการวางแผน (P) และการสรุปผลปรับปรุง พัฒนา(A) นอกจากนี้ยังได้นำ Innovation Technology (IT) มาประยุกต์ใช้กระบวนการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยง และปองกนั ไมใหสงผลกระทบตอสุขภาพนักเรียน ครู ผู้ปกครอง จนกลายเป็นระบบดูแลช่วยเหลือนกั เรียนโรงเรียนวัด มาบข่าที่มกี ระบวนการ 7 ด้าน ทเี่ รยี กว่า กระบวนการ (7S) IT Model ดังภาพที่ 1 การสรุปผล กาํ หนดทศิ ทางการดําเนินงาน พรอ้ มสรา้ งเครอื่ งมอื รวบรวมสรุปและรายงานผลการดําเนนิ งาน การส่งต่อ 6 7 1 สาํ รวจข้อมูลพืน้ ฐานของนกั เรียน จาก 2 แบบประเมนิ พฤติกรรมเดก็ และแบบ สง่ ต่อนกั เรยี นกลมุ่ มปี ัญหาไปยังหน่วยงาน 7 ประเมนิ อน่ื ๆ โดยใช้ ทเ่ี ก่ียวขอ้ งทั้งภายในและภายนอก ประสานงานกบั ผูท้ ี่มีสว่ นเกย่ี วขอ้ งเพ่ือ 53 ปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหาของนกั เรียน 4 คดั กรองนกั เรียนตามเกณฑข์ องโรงเรียน จัดกจิ กรรมเพื่อสง่ เสริมนักเรียน ภาพที่ 1 กระบวนการ (7S) IT Model ทม่ี า: แบบรายงานการดำเนนิ งานระบบการดแู ลชว่ ยเหลือนกั เรียนของโรงเรยี นวดั มาบขา่ , สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐาน, 2561;14. กระบวนการ (7S) IT Model วิธกี ารดำเนินงานระบบการดูแลชว่ ยเหลอื นักเรียนในรปู แบบ 7S Model โดยมี รายละเอียดในการดำเนินงาน ดังน้ี ข้ันตอนท่ี 1 การวางแผนการดำเนนิ งาน (S1) Schedule Innovation Technology โรงเรยี นได้ดำเนินการ จดั ทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบตั กิ ารประจำปี แต่งต้ังคณะกรรมการระบบการดูแลช่วยเหลือนกั เรียน ประชุมวางแผนกำหนดทิศทางการดำเนนิ งาน และมีการสร้างเครื่องมือเพอ่ื นำไปใช้ในการดำเนนิ งาน ภายใต้สถานการณ 117

การประชมุ วิชาการและเผยแพร่ผลงานวจิ ยั คัดสรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ ครงั้ ที่ 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศกึ ษาใหมห่ ลังวกิ ฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนกุ รรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อดุ มศกึ ษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี การแพรระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019(COVID-19) มีการ ทำงานกันแบบ Work from Home หรอื Remote Working กันมากขึ้น จึงดำเนนิ งานประชุมวางแผนออนไลน์ผ่าน แอพพลิเคชน่ั Google Meet เพอื่ การปอ้ งกันตนเองจากโรคระบาด COVID-19 และใช้ Google Form ในการสรางแบบ สอบถามออนไลน ใชสําหรบั รวบรวมขอมูลไดอยางรวดเรว็ โดยท่ีไมตองเสียคาใชจ่าย เชน่ การทําแบบฟอรมสํารวจความ คิดเห็น การสํารวจความพึงพอใจ การลงทะเบียน เปนตน ข้ันตอนท่ี 2 การรจู้ ักนกั เรียนเป็นรายบุคคล (S2) Survey Innovation Technology ทมี ทำดำเนนิ การออก เยีย่ มบา้ นนกั เรยี นเพื่อทำความร้จู กั นักเรียนเปน็ รายบุคคลโดยการเย่ยี มบ้านแบบออนไลน์ และใช้เครอื่ งมอื ที่สร้างจาก Google Forms ในการคัดกรองนกั เรียน ขัน้ ตอนที่ 3 การคดั กรองนักเรียน (S3) Section Innovation Technology ดำเนินการวเิ คราะห์ข้อมลู เพ่ือคดั กรองนกั เรียนออกเป็น 4 กลุ่ม ไดแ้ ก่ กลมุ่ พเิ ศษ กลุ่มปกติ กลมุ่ เส่ยี ง และกลุม่ มปี ญั หา ตามเกณฑ์ทโี่ รงเรยี นกำหนดไว้ โดยใชเ้ คร่อื งมอื ท่สี ร้างจาก Google Forms ขั้นตอนที่ 4 การส่งเสริมนักเรียน (S4) Support Innovation Technology มีการจัดโครงการและกิจกรรมที่ สง่ เสริมทักษะความสามารถของนักเรียนแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียน โดยสอดแทรกไปในกิจกรรม ผ่านการเรียนการสอนแบบออนไลน์ กลุ่มไลน์ (LINE Group) และกลุ่มเฟสบุ๊ค(Facebook Group) ของนักเรียน ผปู้ กครอง ครปู ระจำชน้ั ครปู ระจำวิชา ขั้นตอนที่ 5 การป้องกันและแก้ไขปัญหา (S5) Save Innovation Technology มีการสร้างเครือข่ายความ ร่วมมือทั้งภายในและภายนอกเพื่อช่วยกันสอดส่องดูแลช่วยเหลือนักเรียน เช่น ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอื่น ๆ โดยใช้การประชุมออนไลน์ การสร้างกลุ่มไลน์ (LINE Group) และกลุ่มเฟสบุ๊ก (Facebook Group) เพ่อื ตดิ ตอ่ สอ่ื สารกัน เพื่อการป้องกันตนเองจากโรคระบาด COVID-19 ขนั้ ตอนที่ 6 การส่งตอ่ (S6) Send Innovation Technology มีกระบวนการสง่ ตอ่ ภายในโดยครปู ระจำชัน้ ไปยัง หัวหน้าสายชั้นและทีมประสานงานตามลำดับ โรงเรียนทำการส่งต่อภายนอกไปยังภาคีเครือข่ายในกรณีที่ไม่สามารถ แกป้ ญั หาได้ เชน่ สถานพยาบาล สถานตี ำรวจ บา้ นพกั เดก็ และหน่วยงานอื่นๆ เป็นตน้ โดยใช้การประชุมออนไลน์ การ สร้างกลุ่มไลน์ (LINE Group) และกลุม่ เฟสบุ๊ก (Facebook Group) เพ่ือติดต่อสื่อสารกัน เพ่อื การป้องกนั ตนเองจากโรค ระบาด COVID-19 ขั้นตอนที่ 7 การสรุปผล (S7) Summary Innovation Technology เมื่อสิ้นปีการศึกษามีการนำผลการ ดำเนินงานมารวบรวม สรุปผลเป็นภาพรวมของโรงเรียน มีการถอดบทเรียน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ปัญหาและหาแนว ทางแก้ไขเพื่อดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในปถี ัดไป โดยใช้การประชมุ ออนไลน์ เพื่อการป้องกันตนเอง จากโรคระบาด COVID-19 จากปัญหาดังกลา่ วข้างตน้ งานระบบดูแลช่วยเหลอื นักเรียนเป็นสงิ่ สำคญั ทจ่ี ะต้องดำเนนิ การอย่างต่อเน่ืองให้ เป็นระบบ โรงเรยี นในฐานะทเี่ ปน็ หน่วยงานทตี่ อ้ งรับผดิ ชอบในการสร้างเสรมิ คุณภาพชวี ิตผูเ้ รียน และแกว้ กิ ฤติสังคม จึง นำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง 5 ด้าน มาประยุกต์ใช้และพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนโดยได้นำ กระบวนการ PDCA มาเพิม่ เตมิ ให้กับระบบดูแลชว่ ยเหลือนักเรียนในส่วนของการวางแผน (P) และการสรุปผลปรับปรุง พัฒนา(A) และนอกจากนี้ยังได้นำ Innovation Technology ( IT ) มาประยุกต์ใช้กระบวนการดำเนินงานเพือ่ ลดความ 118

การประชมุ วิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวิชาศกึ ษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ ครั้งท่ี 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศกึ ษาใหม่หลงั วิกฤติ COVID-19” วันที่ 26 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี เส่ียงและปองกนั ไมใหสงผลกระทบตอสขุ ภาพนกั เรียน ครู ผปู้ กครอง จนกลายเปน็ ระบบดูแลช่วยเหลือนกั เรยี นโรงเรียน วัดมาบข่าที่มี 7 ด้าน (7S) IT ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดมาบขา่ อำเภอนคิ มพัฒนา จังหวัดระยอง สังกัดสำนกั งานเขตพ้นื ทีก่ ารศึกษาประถมศกึ ษาระยอง เขต 1 เพื่อ นำไปใช้แก้ไขปญั หาตา่ ง ๆ ในระบบดูแลช่วยเหลอื นักเรียนได้อย่างถูกตอ้ งมคี ุณภาพและประสบผลสำเรจ็ สูงสดุ ตอ่ ผูเ้ รยี น วตั ถปุ ระสงค์การวิจัย 1.เพ่ือพฒั นารูปแบบการดำเนนิ งานของระบบดูแลชว่ ยเหลือนกั เรยี นของโรงเรียนวัดมาบขา่ 2.เพื่อศึกษาการใช้ระบบดแู ลชว่ ยเหลอื นักเรียนของโรงเรยี นวัดมาบขา่ วิธดี ำเนนิ การวิจัย 1. ขอบเขตประชากรและผ้ใู หข้ อ้ มูล ประชากรท่ีใช้ในการวจิ ยั ได้แก่ ผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษาและครทู ี่ปรึกษา โรงเรียนวดั มาบข่า สงั กัดสำนกั งานเขต พน้ื ที่การศึกษาประถมศกึ ษาระยอง เขต 1 รวมท้งั สิ้น 51 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 2 คน และครูที่ ปรึกษาจำนวน 49 คน การวจิ ยั ครั้งน้ีศกึ ษาจากประชากรท้ังหมด 2. ขอบเขตดา้ นเนอื้ หา การศกึ ษาในคร้ังน้ีมงุ่ ศึกษาสภาพการดำเนินงานตามระบบดแู ลช่วยเหลอื นกั เรียน 7 ดา้ น ไดแ้ ก่ ดา้ นท่ี 1 การวางแผนการดำเนินงาน (S1) Schedule ด้านที่ 2 การรู้จักนกั เรียนเปน็ รายบคุ คล (S2) Survey ด้านที่ 3 การคัดกรองนักเรยี น (S3) Section ดา้ นที่ 4 การสง่ เสริมนักเรียน (S4) Support ด้านท่ี 5 การป้องกันและแก้ไขปญั หา (S5) Save ด้านท่ี 6 การสง่ ต่อ (S6) Send ดา้ นท่ี 7 การสรปุ ผล (S7) Summary 3. เคร่ืองมือที่ใช้ในการวจิ ัย 3.1 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนนิ งานระบบดแู ลชว่ ยเหลือนักเรียนวัดมาบข่า สังกัด สำนักงานเขตพืน้ ทก่ี ารศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยลักษณะของแบบสอบถามแบง่ ออกเปน็ 2 ตอน ดังนี้ ตอนท่ี 1 ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้แบบสอบถาม ไดแ้ ก่ เพศ อายุ ระดบั การศึกษา ประสบการณ์และตำแหน่งใน การปฏบิ ตั งิ านเปน็ แบบสอบถามประเภทตรวจสอบรายการ ตอนที่ 2 การดำเนนิ งานระบบดูแลช่วยเหลอื นกั เรียนโรงเรยี นวัดมาบข่า สงั กดั สำนกั งานเขตพนื้ ท่กี ารศึกษา ประถมศีกษาระยอง เขต 1 เป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่าแบบของลิเคิร์ท (Likert’s Scale) 5 ระดบั 4. สถิตทิ ่ใี ช้ในการวิจยั 4.1 การวิเคราะห์ข้อมลู ปัจจยั สว่ นบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้การแจกแจงความถ่ี (Frequency) และ 119

การประชมุ วิชาการและเผยแพร่ผลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวชิ าศกึ ษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ ครง้ั ที่ 6 \"ความทา้ ทายของการจดั การการศกึ ษาใหม่หลงั วิกฤติ COVID-19” วนั ที่ 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนุกรรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถมั ภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี คา่ รอ้ ยละ (Percentage) 4.2 การวเิ คราะหส์ ภาพการดำเนนิ งานระบบดแู ลชว่ ยเหลอื นกั เรียนโรงเรยี นวดั มาบขา่ สังกดั สำนักงานเขตพ้ืนที่ การศึกษาประถมศกี ษาระยอง เขต 1 โดยใช้คา่ พารามิเตอร์ คา่ เฉล่ยี ประชากร และส่วนเบ่ยี งเบนมาตรฐาน 4.3 การวิเคราะห์สรปุ แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดแู ลช่วยเหลอื นักเรียนโดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) และการวเิ คราะห์เนอื้ หา (Content Analysis) 5. ผลการวเิ คราะห์ขอ้ มูล ที่ การดำเนนิ งานระบบดแู ลชว่ ยเหลอื นกั เรียน ค่าเฉล่ยี ส่วนเบยี่ งเบน ระดบั คณุ ภาพ ลำดบั มาตรฐาน 1 การวางแผนการดำเนินงาน (S1) Schedule 3.94 0.37 มาก 6 2 การรูจ้ กั นกั เรียนเป็นรายบุคคล (S2) Survey 4.78 0.54 มากที่สุด 1 3 การคดั กรองนักเรยี น (S3) Section 4.73 0.57 มากทส่ี ดุ 2 4 การสง่ เสรมิ นักเรียน (S4) Support 4.12 0.38 มาก 3 5 การป้องกันและแกไ้ ขปญั หา (S5) Save 4.02 0.37 มาก 5 6 การสง่ ต่อ (S6) Send Innovation 4.06 0.31 มาก 4 7 การสรุปผล (S7) Summary 3.88 0.43 มาก 7 ภาพรวม 4.22 0.10 มาก สรปุ ผลการวิจัย 1. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปรึกษาโรงเรียนวัดมาบข่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศีกษา ระยอง เขต 1 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 78.43 และเพศชาย จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 21.57 การศกึ ษาส่วนใหญ่ระดับปรญิ ญาตรี จำนวน 39 คน คดิ เป็นร้อยละ 76.47 และระดบั ปรญิ ญาโท จำนวน 12 คน คิดเป็น 23.53 ประสบการณ์ทำงานส่วนใหญ่น้อยกว่า 10 ปี จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 94.12 ส่วนใหญ่ดำรง ตำแหนง่ ครู จำนวน 46 คน คดิ เป็นร้อยละ 90.20 2 สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดมาบข่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศกี ษาระยอง เขต 1 โดยเรียงลำดับตามคา่ เฉลย่ี จากมากไปหานอ้ ย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมอ่ื พจิ ารณาเป็น รายด้านพบว่า อยใู่ นระดบั มากท่ีสดุ 2 ด้าน คือ ดา้ นการรจู้ ักนักเรียนเปน็ รายบุคคล (S2) Survey และดา้ นการคัดกรอง นักเรียน (S3) Section อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมนักเรียน (S4) Support ด้านการส่งต่อ (S6) Send ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา (S5) Save การวางแผนการดำเนินงาน (S1) Schedule และการสรุปผล (S7) Summary ตามลำดับ อภิปรายผล สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดมาบข่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศีกษาระยอง เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนือ่ งมาจาก ผู้บริหารสถานศึกษาตระหนกั และเห็นถึง 120

การประชมุ วชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ระดับชาติ ครัง้ ท่ี 6 \"ความทา้ ทายของการจดั การการศกึ ษาใหมห่ ลงั วิกฤติ COVID-19” วันที่ 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อดุ มศกึ ษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชปู ถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ความสำคัญของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยได้กำหนดให้การจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นอีกภารกิจหลักของครู จากการวเิ คราะหน์ โยบาย ระเบียบและกฎหมายทเี่ กยี่ วข้องรวมถงึ สภาพแวดลอ้ มของโรงเรียน และชุมชน (SWOT) จึงกำหนดวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือ นกั เรยี น คือ “โรงเรียนวดั มาบขา่ มุง่ เน้นผเู้ รียนมีคณุ ธรรม นำความรู้ สง่ เสรมิ ดา้ นศลิ ปะ นาฏศิลป์ ดนตรี กฬี า มีทักษะ ในการใช้สื่อเทคโนโลยี บุคลากรมีความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพครู ชุมชนมีส่วนร่วมในการพฒั นาการศึกษา ดูแล ช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม” นอกจากนี้ภายใต้สถานการณการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) โดยเฉพาะอยางยิ่งแนวโนมที่จะเกิดการแพรระบาดใน สถานศึกษา ดังนน้ั การเตรยี มความพรอมในการรับมือกับการระบาดของโรคอยางมปี ระสิทธิภาพ จงึ มีความจำเปนอยา งยิ่งเพื่อลดความเสี่ยงและปองกันไมใหสงผลกระทบตอสุขภาพนักเรียน ครู ผูสอน และบุคลากรทางการศึกษา อันเป นทรัพยากรทส่ี ำคญั ในการขับเคล่อื นและพัฒนาประเทศในอนาคต โรงเรยี นในฐานะทเ่ี ปน็ หน่วยงานที่ตอ้ งรับผิดชอบใน การสร้างเสรมิ คณุ ภาพชวี ิตผเู้ รียน และแกว้ ิกฤติสังคม จงึ นำระบบการดแู ลช่วยเหลือนกั เรยี นทงั้ 5 ด้าน คอื 1) ด้านการ รู้จกั นักเรยี นเป็นรายบคุ คล 2) ด้านการคดั กรองนักเรยี น 3) ด้านการสง่ เสรมิ และพัฒนานักเรยี น 4) ดา้ นการป้องกันและ การแกไ้ ขปัญหานักเรียน และ 5) ดา้ นการส่งต่อนักเรยี น มาประยกุ ตใ์ ชแ้ ละพฒั นาใหเ้ หมาะสมกับบรบิ ทของโรงเรียนโดย ได้นำ Innovation Technology( IT ) มาประยุกต์ใช้กระบวนการดำเนินงานจนกลายเป็นระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดมาบข่าที่มี 7 ด้าน (7S IT) เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียน ครู และบุคลากรใน สถานศึกษาสามารถดำรงชวี ิตอย่ไู ดอ้ ย่างปลอดภยั ดงั นี้ ด้านที่ 1 การวางแผนการดำเนินงาน (S1) Schedule Innovation Technology โรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี แต่งตั้งคณะกรรมการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประชมุ วางแผนกำหนดทศิ ทางการดำเนินงาน และมีการสรา้ งเครอื่ งมอื เพอ่ื นำไปใช้ในการดำเนินงาน ภายใตส้ ถานการณ การแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 มีการทำงานกันแบบ Work from Home หรือ Remote Working กนั มากขึ้น จงึ ดำเนนิ งานประชมุ วางแผนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชน่ั Google Meet เพ่อื การป้องกัน ตนเองจากโรคระบาด COVID-19 และใช้ Google Forms ในการสรางแบบสอบถามออนไลน ใชสําหรบั รวบรวมขอมูลได อยางรวดเร็วโดยที่ไมตองเสียคาใชจ่าย เช่น การทําแบบฟอรมสํารวจความคิดเห็น การสํารวจความพึงพอใจ การ ลงทะเบยี น ฯลฯ ด้านที่ 2 การรู้จักนักเรยี นเป็นรายบุคคล (S2) Survey Innovation Technology ทีมทำดำเนินการออกเยี่ยม บ้านนักเรียนเพื่อทำความรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยการเยี่ยมบ้านแบบออนไลน์ และใช้เครื่องมือที่สร้างจาก Google Forms ในการคัดกรองนักเรียน ดา้ นท่ี 3 การคดั กรองนักเรียน (S3) Section Innovation Technology ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเพอื่ คัดกรอง นกั เรียนออกเป็น 4 กลมุ่ ไดแ้ ก่ กลุม่ พเิ ศษ กลุ่มปกติ กลุ่มเส่ียง และกล่มุ มปี ัญหา ตามเกณฑท์ ี่โรงเรยี นกำหนดไว้โดยใช้ เครอ่ื งมอื ทีส่ รา้ งจาก Google Forms ด้านที่ 4 การส่งเสริมนักเรียน (S4) Support Innovation Technology มีการจัดโครงการและกิจกรรมท่ี ส่งเสริมทกั ษะความสามารถของนักเรยี นแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสมตามศักยภาพของผ้เู รียน โดยสอดแทรกไปในกิจกรรม 121

การประชุมวิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 6 \"ความทา้ ทายของการจดั การการศึกษาใหม่หลงั วิกฤติ COVID-19” วันท่ี 26 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอดุ มศกึ ษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชปู ถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ผ่านการเรียนการสอนแบบออนไลน์ กลุ่มไลน์(LINE Group) และกลุ่มเฟสบุ๊ก(Facebook Group) ของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูประจำช้นั ครูประจำวิชา ด้านที่ 5 การป้องกนั และแก้ไขปญั หา (S5) Save Innovation Technology มีการสร้างเครือขา่ ยความร่วมมือ ทัง้ ภายในและภายนอกเพื่อชว่ ยกันสอดสอ่ งดูแลชว่ ยเหลือนกั เรียน เช่น ผูป้ กครอง ชมุ ชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานอ่ืน ๆ โดยใช้การประชุมออนไลน์ การสร้างกลุ่มไลน์(LINE Group) และกลุ่มเฟสบุ๊ก (Facebook Group) เพอื่ ติดต่อส่อื สารกัน เพอ่ื การปอ้ งกันตนเองจากโรคระบาด COVID-19 ด้านที่ 6 การส่งต่อ (S6) Send Innovation Technology มีกระบวนการส่งต่อภายในโดยครูประจำชั้นไปยัง หัวหน้าสายชั้นและทีมประสานงานตามลำดับ โรงเรียนทำการส่งต่อภายนอกไปยังภาคีเครือข่ายในกรณีที่ไม่สามารถ แกป้ ญั หาได้ เช่น สถานพยาบาล สถานีตำรวจ บา้ นพักเดก็ และหนว่ ยงานอน่ื ๆ เปน็ ตน้ โดยใชก้ ารประชุมออนไลน์ การ สร้างกลมุ่ ไลน์ (LINE Group) และกลมุ่ เฟสบกุ๊ (Facebook Group) เพือ่ ตดิ ต่อสื่อสารกัน เพ่ือการปอ้ งกันตนเองจากโรค ระบาด COVID-19 ดา้ นที่ 7 การสรุปผล (S7) Summary Innovation Technology เมอื่ ส้นิ ปีการศึกษามกี ารนำผลการดำเนินงาน มารวบรวม สรปุ ผลเป็นภาพรวมของโรงเรยี น มกี ารถอดบทเรียน นำผลทไี่ ด้มาวเิ คราะห์ปญั หาและหาแนวทางแก้ไขเพื่อ ดำเนนิ งานระบบการดูแลช่วยเหลือนกั เรียนในปถี ัดไป โดยใช้การประชุมออนไลน์ เพอ่ื การปอ้ งกันตนเองจากโรคระบาด COVID-19 จากการดำเนินงานดงั กลา่ วทำให้โรงเรียนวดั มาบข่าไดร้ ับรางวัล ระดับเหรยี ญทอง(ชนะเลิศ) จากการคัดเลือก สถานศกึ ษาเพื่อรบั รางวัลระบบดูแลช่วยเหลอื นักเรยี น ประจำปี 2564 ระดับเขตพน้ื ท่กี ารศึกษา เพือ่ นำผลงานไปแข่งขัน ในระดับภูมภิ าค (Cluster) และไดร้ บั รางวลั ระดบั เหรียญทองแดง ในระดับภมู ภิ าค สอดคล้องกับอรทัย มงั คลาด (2557) ท่ไี ดท้ ำศกึ ษาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนกั เรยี นโรงเรียนราชประชานเุ คราะห์ 24 อำเภอจนุ จังหวัดพะเยา ผลการวิจยัพบว่า การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลอื นักเรยี น โดยรวมและรายด้าน อยใู่ นระดับมาก และสอดคล้อง กับงานวิจัยของ ของชตุ มิ า ถาวรแกว้ (2559) ได้ทำการวิจัยเรอื่ งการดำเนนิ งานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ส่งผล ต่อคุณภาพชีวติ นกั เรยี นของสถานศึกษาในจังหวัดปทมุ ธานี สังกดั สำนักงานเขตพ้ืนทก่ี ารศึกษามัธยมศกึ ษา เขต 4 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดบั มาก และสอดคล้องกับงานวจิ ัยของสมถวิลรัตน์ อาษาดี ,อนุสรา สุวรรณวงศ์ (2560) วิจัยเร่อื ง สภาพและแนวทางการพฒั นาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรยี นพานทองสภาชนูปถัมภ์ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และศึกษาแนว ทางการพฒั นาการดำเนนิ งานระบบดูแลชว่ ยเหลอื นักเรียน ผลการวิจยั พบว่า สภาพการดำเนนิ งานระบบดูแลช่วยเหลือ นกั เรยี น โดยรวมอยใู่ นระดบั มาก อกี ทั้งยังสอดคลอ้ งกบั งานวจิ ัยของ ชัชวาล จำแนกวุธ,ธรี ะวัฒน์ มอนไธสง(2564) วิจัย เรือ่ ง แนวทางพฒั นาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลอื นักเรียนของโรงเรียนวัดประดู่ทรงธรรมสังกัดสำนักงานเขต พนื้ ทีก่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษาพระนครศรอี ยุธยา เขต 1 เพ่ือศึกษาสภาพการดำเนนิ งานระบบการดแู ลช่วยเหลือนักเรียน นำเสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนนิ งานระบบการดแู ลช่วยเหลือนกั เรียน ผลการวิจยั พบว่า สภาพการดำเนนิ งานระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยรวมและรายด้านอยูใ่ นระดับมาก และแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย 5 ด้าน มีรายการการปฏิบัติระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแนวทาง คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็น รายบุคคล เช่น สถานศึกษามีการรวบรวมข้อมลู ด้านความสามารถพิเศษของนักเรยี นอย่างเป็นระบบ ด้านการคัดกรอง 122

การประชมุ วิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวชิ าศกึ ษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ ครง้ั ท่ี 6 \"ความทา้ ทายของการจดั การการศึกษาใหมห่ ลังวิกฤติ COVID-19” วนั ที่ 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อุดมศกึ ษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี นักเรียน เช่น สถานศึกษาวิเคราะห์ขอ้ มูลของนักเรียนท่ีได้จากการเกบ็ รวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการ ส่งเสริมและพฒั นานักเรียน เช่น สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมและพฒั นานักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา เช่น สถานศึกษามีการชว่ ยเหลือดแู ลนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหาอย่างใกล้ชิด และด้านการส่งต่อนักเรยี น เช่น สถานศกึ ษาสง่ ต่อนักเรยี นให้ไดร้ ับการชว่ ยเหลอื ท่ีถูกต้องและรวดเร็ว เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (S2) Survey และด้านการคัดกรอง นักเรียน (S3) Section อยใู่ นระดบั มากท่ีสดุ เนอื่ งจาก ด้านการรจู้ ักนกั เรียนเปน็ รายบุคคล (S2) ครูประจำชั้นออกเย่ียม บา้ นนักเรยี นเปน็ รายบุคคลโดยใช้แบบเยย่ี มบา้ นนักเรียน แบบคดั กรองนกั เรยี นรายบุคคล แบบประเมนิ พฤตกิ รรม SDQ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ EQ เพื่อทำความรู้จักนักเรียนรายบุคคลในด้านต่าง ๆ ใช้วิธีการสังเกต การ สัมภาษณ์นักเรียนและครูประจำวิชาในด้านความสามารถพิเศษ และ ด้านการคัดกรองนักเรียน (S3) จากข้อมูลที่ได้ สามารถจำแนกนกั เรยี นออกเปน็ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุม่ พเิ ศษ กลมุ่ ปกติ กล่มุ เสี่ยง และกลุ่มมีปญั หา โดยจำแนกเป็น 8 ด้าน ประกอบดว้ ย 1. ด้านการเรยี น 2. ดา้ นสขุ ภาพ 3. ด้านสขุ ภาพจิตและพฤติกรรม 4. ด้านเศรษฐกจิ 5. ด้านสภาพแวดล้อม ครอบครัว 6. ด้านสารเสพติด 7. ด้านความปลอดภัย และ 8. ด้านเพศ มีการประเมินความสามารถพิเศษจำแนกเป็น 7 ด้าน ประกอบด้วย 1.ด้านอัจฉริยภาพทางการเรียน 2.ด้านกีฬา 3.ด้านดนตรี 4.ด้านนาฏศิลป์ 5.ด้านศิลปะ 6.ด้าน เทคโนโลยี และ 7.ด้านทักษะชีวิต ซึ่งทั้งสองด้านทางโรงเรียนวัดมาบข่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศีกษา ระยอง เขต 1 ได้จัดกิจกรรมสัปดาห์การเยีย่ มบา้ นและคัดรองนักเรียนเป็นประจำทุกภาคเรียน โดยครูประจำชั้น/ครูที่ ปรกึ ษาจดั ทำขอ้ มลู นักเรยี นเป็นรายบคุ คลโดยคดิ เป็นร้อยละ100 สอดคลอ้ งกบั งานวิจยั ของ ชุตมิ า ถาวรแก้ว (2559) ได้ ทำการวิจัยเรื่องการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตนักเรียนของสถานศึกษาใน จงั หวัดปทมุ ธานี สงั กดั สำนักงานเขตพืน้ ท่กี ารศึกษามธั ยมศกึ ษา เขต 4 พบวา่ ด้านการคัดกรองนกั เรียนอยู่ในระดับมาก ทีส่ ุด อีกทง้ั สอดคลอ้ งกับงานวิจัยของสมถวิลรัตน์ อาษาดี ,อนสุ รา สวุ รรณวงศ์ (2560) วิจัยเรอื่ ง สภาพและแนวทางการ พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 18 เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และศึกษาแนวทางการพัฒนาการ ดำเนินงานระบบดแู ลช่วยเหลือนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการคัดกรองนักเรยี นอยู่ใน ระดับมากที่สุด และสอดคล้องกับงานวจิ ัยของ สฤษดิ์ วิวาสุข (2564) วิจัยเรื่อง การประเมินโครงการพฒั นาระบบการ ดแู ลช่วยเหลอื นกั เรียนโรงเรยี นจอมพระประชาสรรค์ สำนกั งานเขตพ้นื ทก่ี ารศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 เพอ่ื ประเมนิ ด้าน บริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผลการวจิ ัยพบวา่ ด้านกระบวนการ มกี ารปฏบิ ัติกจิ กรรมการรู้จักนกั เรียนเป็นรายบุคคล กิจกรรมการคัดกรองนักเรียน กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนา ในระดับมากที่สุด และปฏิบัติกิจกรรมการป้องกันและแก้ไข และกิจกรรมการส่งต่อ นักเรยี น อยใู่ นระดบั มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายดา้ นพบว่า ด้านการส่งเสรมิ นักเรียน (S4) Support ด้านการส่งต่อ (S6) Send และด้าน การป้องกันและแก้ไขปญั หา (S5) Save เปน็ ด้านทม่ี สี ภาพการดำเนนิ งานอยู่ใน ระดับมาก เนื่องจากทางโรงเรียนวัดมาบ ขา่ สังกัดสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศีกษาระยอง เขต 1 ไดด้ ำเนินการ ดา้ นการสง่ เสริมนกั เรียน (S4) Support โดยการจดั กจิ กรรมสง่ เสรมิ นกั เรียนทั้ง 8 ดา้ นใหเ้ หมาะสมกบั นกั เรยี นแต่ละกลมุ่ จำแนกรายดา้ น ดังน้ี 1) ดา้ นการเรียน โรงเรียนจดั ทำโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โครงการยกระดบั ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ (O - NET) 123

การประชมุ วิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ระดบั ชาติ คร้ังท่ี 6 \"ความทา้ ทายของการจัดการการศกึ ษาใหมห่ ลังวกิ ฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อุดมศกึ ษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชปู ถมั ภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 โครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ (NT) ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 โครงการพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และโครงการยกระดับ คุณภาพการสอนทั้ง 8 กลุ่มสาระ นอกจากนี้โรงเรียนยังได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน อาทิ กิจกรรม ประชาธิปไตย และกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ เป็นต้น 2) ด้านสุขภาพ โรงเรียนจัดทำโครงการอาหารกลางวัน โครงการอาหารเสริม (นม) โครงการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันจากโรงพยาบาลนิคมพัฒนา โครงการตรวจสุขภาพ ประจำปีของนกั เรียนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสขุ ภาพตำบลบ้านกระเฉท โครงการปอ้ งกันโรคไขเ้ ลอื ดออกจากอาสาสมัคร สาธารณสุขประจeหมูบ่ ้าน (อสม.) โครงการจุดคัดกรองปอ้ งกันโรคระบาด COVID-19 นอกจากน้ีโรงเรียนยงั มีโครงการ อนามยั โรงเรียน และกจิ กรรมสง่ เสรมิ การแปรงฟนั ของนักเรยี นระดับช้นั ประถมศึกษา 3) ดา้ นสขุ ภาพจิตและพฤติกรรม โรงเรียนจัดทำกจิ กรรมอบรมนักเรียนหนา้ เสาธง กจิ กรรมไหว้ครู กจิ กรรมบำเพญ็ ประโยชน์ กิจกรรมลกู เสือ - เนตรนารี กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมสวดมนต์ทุกเย็นวันศุกร์ และจัดทำโครงการทัศนศึกษา โครงการค่าย คณุ ธรรมนำชีวติ นอกจากนี้ทางโรงเรยี นยงั มคี ลนิ กิ แนะแนวให้คำปรึกษาแกน่ กั เรยี น 4) ดา้ นเศรษฐกิจ โรงเรียนได้รับการ สนับสนุนทุนการศึกษาจากวัดมาบข่า กองทุนเพ่ือความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สำนกั งานพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนษุ ย์จังหวัดระยอง (พม.) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด บริษทั ผลิตไฟฟ้า จำกดั (มหาชน) และหนว่ ยงานอ่ืน ๆ รวมถึงชมุ ชนและผู้ปกครองได้เข้ามาสนับสนนุ อุปกรณ์การเรียน 5) ด้านสภาพแวดล้อมครอบครัว โรงเรียนจัดทำโครงการเยี่ยมบ้านนักเรียน การร่วมมือกับชุมชนในการสอดส่องดูแล สำหรบั นักเรยี นท่ีมีพฤติกรรมทีไ่ ม่เหมาะสม และมกี ารประสานความร่วมมือระหวา่ งโรงเรยี นกับชมุ ชนในเขตพ้นื ทบี่ ริการ 6) ด้านสารเสพติด ทางโรงเรียนได้มีการประสานงานกับทางสถานีตำรวจภูธรนิคมพัฒนา เพื่อจัดกิจกรรมโครงการ การศึกษาเพือ่ ตอ่ ต้านยาเสพติด ทางโรงเรยี นและศนู ย์ปฏิบัตกิ ารปอ้ งกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอนิคมพฒั นามี การจัดการสุ่มตรวจสารเสพติดกับนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมปี ัญหา 7) ด้านความปลอดภัย ทางโรงเรียนกำหนดข้อ ปฏิบัติทางด้านการจราจร เช่น ให้นักเรียนสวมหมวกกันน็อค 100 เปอร์เซ็นต์ ดับเครื่องยนต์เมื่อเข้ามาภายในเขต โรงเรียน นอกจากนี้ทางโรงเรียนมีการตรวจเครื่องแต่งกาย การพกอาวุธ และดูแลความปลอดภัยในการข้ามถนน โดย ประสานความรว่ มมือกบั สถานตี ำรวจภธู รนิคมพฒั นา 8) ด้านเพศ มีโครงการหนงึ่ ตำรวจหนึ่งโรงเรียน ท่ใี หค้ วามรูใ้ นด้าน เพศ การรู้เท่าทันสื่อโซเชียล และการกระทำความผิดทางพรบ.คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ในรายวิชาสุขศึกษาได้มีการ สอดแทรกและบรู ณาการการสอนเรื่องเพศในรายวิชาทุกระดับชน้ั มีการประสานงานรว่ มกับสำนกั งานพัฒนาสังคมและ ความม่นั คงของมนุษย์ ด้านการส่งต่อ (S6) Send ทางโรงเรียนได้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่าย ผู้ปกครองเพ่ือรบั ทราบขอ้ มลู มกี ารส่งต่อภายในจากครูประจำชัน้ ไปยังหวั หน้าสายชน้ั สง่ ต่อไปยังทีมประสานงาน โดยมี การบันทึกร่องรอยหลักฐานการให้ความช่วยเหลือนักเรียน นอกจากนี้ยังมีการจัดทำประกันอุบัติเหตุให้กับนักเรียน สำหรับกรณีอุบัตเิ หตุรุนแรง โรงเรียนไดท้ ำการส่งต่อนักเรียนไปยังโรงพยาบาลนิคมพัฒนา ด้านยาเสพติด โรงเรียนทำ การส่งต่อไปยังศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอนิคมพัฒนาให้ความช่วยเหลือ และด้านการ ป้องกนั และแกไ้ ขปญั หา (S5) Save โรงเรียนได้จัดให้มกี ารประชุมผปู้ กครอง การจดั กิจกรรมแนะแนว การประชุมคณะ ครแู ละบคุ ลากรทางการศกึ ษา พรอ้ มทงั้ การทำกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของคณะครูเพ่ือแก้ไขปัญหา ทางเรียนรู้และพฤติกรรมของนักเรียน มีการบันทึกพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน มีการจัดทำโครงการค่าย 124

การประชมุ วิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ยั คดั สรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ระดับชาติ คร้ังที่ 6 \"ความทา้ ทายของการจัดการการศึกษาใหมห่ ลังวกิ ฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อุดมศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี คุณธรรมนำชีวิต สถานีตำรวจภูธรนิคมพัฒนาได้เข้ามาจัดกิจกรรมโครงการต่อต้านยาเสพติดในเด็กนักเรียน ศูนย์ ปฏบิ ัตกิ ารป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอนิคมพฒั นามกี ารจัดการสมุ่ ตรวจสารเสพติดกบั นกั เรยี นกลมุ่ เสี่ยงและ กลุ่มมปี ัญหา และหนว่ ยงานต่าง ๆ ไดเ้ ข้ามาชว่ ยเหลือดา้ นเศรษฐกิจ อปุ กรณก์ ารเรียนแกน่ ักเรียนท่ีขาดแคลน มีคลินิก บำบัดความเครียดใหแ้ ก่ นักเรียน ครูและผู้ปกครอง เพื่อรับฟังและร่วมกันป้องกันแก้ไขปญั หาและลดความเสี่ยงที่อาจ เกิดขึ้น มีการเปิดรับฟังปัญหา มีการบูรณาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ในการรับฟังปัญหาจากนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน เช่น การสร้างกลุ่มไลน์ห้องเรียน เฟสบุ๊กโรงเรียน ระบบตัดคะแนนความประพฤตินักเรียน สอดคล้องกับงานวิจัยของสอดคล้องกับอรทัย มังคลาด (2557) ที่ได้ทำศึกษาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ผลการวิจยัพบว่า การดำเนินงานระบบการดูแล ชว่ ยเหลือนักเรียนโรงเรยี นราชประชานุเคราะห์ 24 อำเภอจุน จังหวดั พะเยา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดย เรียงอนั ดบั ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้แก่ ดา้ นการสง่ เสริมนักเรียน ด้านการปอ้ งกนั และแกไ้ ขปัญหา ด้านการคัดกรอง นกั เรียน ดา้ นการรจู้ ักนักเรียนเป็นรายบุคคลและด้านการส่งต่อ ตามลำดบั และสอดคล้องกับงานวิจยั ของ สมถวิลรัตน์ อาษาดี ,อนุสรา สุวรรณวงศ์ (2560) วิจัยเรื่อง สภาพและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน: กรณีศึกษา โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ สงั กัดสำนกั งานเขตพ้ืนท่ีการศกึ ษามัธยมศึกษา เขต 18 เพอ่ื ศกึ ษาสภาพการดำเนินงาน ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผลการวิจัย พบว่า สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายดา้ นพบว่าด้านการ คดั กรองนกั เรยี นอยู่ในระดับมากทส่ี ุด สว่ นดา้ นการรู้จกั นกั เรยี นเป็นรายบคุ คล ด้านการป้องกนั และแกไ้ ขปญั หานักเรยี น ดา้ นการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน และดา้ นการส่งต่อนักเรียน อยู่ในระดับมาก อีกทง้ั ยงั สอดคลอ้ งกับงานวิจัยของ สุ ธดิ า พงษ์สวสั ด์,ิ สายสุดา เตียเจริญ (2562)วิจยั เรอ่ื ง การดำเนนิ งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชะอำคุณหญิง เน่ืองบุรี เพื่อทราบการดำเนินงานระบบดูแลชว่ ยเหลอื นักเรียน และ เพื่อทราบแนวทางการพฒั นาการดำเนินงานระบบ ดแู ลชว่ ยเหลือนักเรยี นโรงเรยี น ผลการวจิ ยั พบว่า การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนกั เรยี นของโรงเรยี นโดยภาพรวม และรายดา้ นอยู่ในระดับมากท้งั 5 ดา้ น เรยี งค่ามชั ฌิมเลขคณติ จากมากไปหาน้อย ได้แก่ การรู้จักนกั เรียนเปน็ รายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งต่อ การป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน และแนวทางการ พฒั นาการดำเนินงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรยี นของโรงเรยี นมแี นวทาง เชน่ ดา้ นการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน โรงเรยี นควรมีการพฒั นาจดั กิจกรรมให้นกั เรยี นรู้จกั จุดเด่น จุดด้อยและการพัฒนาปรบั ปรุงตนเอง ด้านการป้องกันและ แก้ไขปญั หา โรงเรียนควรมกี ารจัดกิจกรรมแกไ้ ขปัญหาของนักเรยี นกลุ่มปกติ กล่มุ เสย่ี ง และนักเรยี นกลมุ่ มีปัญหา และ ด้านการส่งต่อ โรงเรียนควรมีการชี้แจงให้กับนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนทราบถึงเหตุผลที่แท้จริงของการส่งต่อ นกั เรยี น ในดา้ นการวางแผนการดำเนินงาน (S1) Schedule และดา้ นการสรปุ ผล (S7) Summary เป็นด้านท่มี สี ภาพการ ดำเนินงานอยใู่ น ระดับมาก สองลำดบั สดุ ทา้ ย เนอื่ งจากเป็นดา้ นทเ่ี พมิ่ เติมเข้าไปในข้นั ตอนการดำเนนิ งานของระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนจากการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการอำนวยการ(ทีมนำ) คณะกรรมการดำเนินการ(ทีมทำ) และ คณะกรรมการประสานงาน(ทีมประสาน) เพื่อใหส้ อดคลอ้ งกบั บรบิ ทของโรงเรยี นวดั มาบขา่ สำนักงานเขตพน้ื ทกี่ ารศึกษา ประถมศีกษาระยอง เขต 1 ภายใต้หลักการและแนวคิดการบริหารเชิงระบบที่มีโครงสร้างสำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ ปัจจัย(Input) กระบวนการ(Process)และผลผลิต(Output) โดยแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดและมีปฏิสัมพันธ์กนั 125

การประชมุ วชิ าการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ยั คดั สรร สาขาวิชาศกึ ษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ ครั้งท่ี 6 \"ความทา้ ทายของการจัดการการศกึ ษาใหม่หลังวกิ ฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี สามารถให้ข้อมูลย้อนกลับเพือ่ ปรับปรุงและพัฒนาระบบให้มปี ระสทิ ธิภาพมากขึน้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขัน้ พืน้ ฐาน,2559;9) สอดคล้องกบั ผลการวิจยั ของ นางสาววรรณพัชร อริยสุนทร,ดร.ธีรภัทร กุโลภาส (2560) วิจัยเร่ือง แนวทางการบริหารงานระบบการดูแลชวยเหลือนักเรียนสูความเปนเลิศ โรงเรียนปราจิณราษฎรอํารงุ ได้กล่าวถึงแนว ทางการบริหารงานระบบการดูแลชวยเหลือนักเรยี น โรงเรียนปราจิณราษฎรอํารุง ไว้ว่า “เมื่อดําเนินกิจกรรมเพื่อการ ดูแลนกั เรยี นเสรจ็ สน้ิ แลว จะตองมกี ารรายงานผลการจัดกจิ กรรมเสนอตอผูบริหาร เพอื่ จะได้เกิดการวางแผนและพัฒนา ระบบการดูแลชวยเหลือนกั เรยี นของโรงเรียนอยางมปี ระสิทธิภาพ” และสอดคลองกบั ผลการวจิ ยั ของฤทัยวรรณ หาญกล า (2556) เรื่อง การพัฒนากลยุทธการบริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา เพื่อสงเสริมการมีสวนรวมของชุมชนใน ระบบดูแลชวยเหลอื นักเรียนวาการบรหิ ารงานระบบการดูแลชวยเหลอื นักเรียนใหประสบความสาํ เรจ็ จะตองอาศัยกล ยุทธในการเพมิ่ พลงั ศกั ยภาพการวางแผน โดยมงุ สงเสริมและสนับสนนุ การรวมมอื ในการวางแผน สงเสรมิ การวางแผนการ ทํางานอยางเปนระบบ และมงุ สงเสริมสนับสนุนการทาํ งานในรปู แบบการเปนคณะกรรมการรวมกันในทุกฝาย เพอื่ ใหการ ดําเนนิ งานประสบความสาํ เร็จและสามารถพัฒนานกั เรยี นไดอยางมีคุณภาพ ข้อเสนอแนะ 1. การดำเนินงานระบบดแู ลชว่ ยเหลือนกั เรยี นควรทำต่อเนื่องอยา่ งเปน็ ระบบ 2. ควรวิจัยเพือ่ พัฒนาโปรแกรม/แอปพลเิ คช่ันการดำเนินงานระบบดแู ลชว่ ยเหลอื นักเรียนในรปู แบบที่กำหนด รว่ มกันแลว้ ทดลองใชโ้ ปรแกรม/แอพพลเิ คชนั่ และเสนอผลการประเมินการใชโ้ ปรแกรม/แอปพลเิ คชนั่ ต่อไป เอกสารอา้ งอิง ชุตมิ า ถาวรแกว้ .(2559).การดำเนินงานตามระบบดแู ลช่วยเหลอื นกั เรียนทสี่ ่งผลต่อคุณภาพชีวติ นักเรยี นของสถานศกึ ษา ในจงั หวดั ปทุมธานี สงั กัดสำนักงานเขตพนื้ ทกี่ ารศกึ ษามธั ยมศึกษา เขต 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครศุ าสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบรุ )ี ชชั วาล จำแนกวุธ.(2564).แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลอื นักเรยี นของโรงเรยี นวดั ประดู่ทรงธรรม สังกดั สำนักงานเขตพน้ื ท่กี ารศกึ ษาประถมศกึ ษาพระนครศรอี ยุธยา เขต 1.วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และ สงั คมศาสตร์ ปีท่ี 9 ฉบับท่ี 1,97-112. สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้นื ฐาน. (2547). แนวทางการดำเนินงานระบบการดแู ลช่วยเหลอื นักเรียนใน สถานศกึ ษา.กรงุ เทพฯ:โรงพิมพ์ องคก์ ารรบั ส่งสินคา้ และพสั ดภุ ัณฑ์ (ร.ส.พ.). สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพนื้ ฐาน. (2561). แบบรายงานการดำเนินงานระบบการดูแลชว่ ยเหลือนกั เรียนของ โรงเรียนวดั มาบข่า. โรงเรียนวดั มาบข่า. 4-7 สมถวิลรัตน์ อาษาด.ี (2560).สภาพและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลชว่ ยเหลอื นกั เรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนพานทอง สภาชนปู ถัมภ์ สังกัดสำนกั งานเขตพ้ืนท่กี ารศึกษามัธยมศกึ ษา เขต 18.วารสารสถาบันวจิ ัยญาณสังวร ปที ่ี 10 ฉบับที่ 2,146-162. สฤษดิ์ วิวาสขุ .(2564).การประเมนิ โครงการพฒั นาระบบการดแู ลชว่ ยเหลอื นักเรียนโรงเรยี นจอมพระประชาสรรค์ สำนักงานเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษามธั ยมศกึ ษา เขต 33.วารสารมหาจฬุ านาครทรรศน์ ปีที่ 8 ฉบบั ท่ี 8,296-310. 126

การประชุมวิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวชิ าศกึ ษาศาสตรร์ ะดับชาติ ครงั้ ท่ี 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศกึ ษาใหม่หลังวกิ ฤติ COVID-19” วันที่ 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนุกรรมการสาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อดุ มศกึ ษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี สธุ ิดา พงษส์ วัสดิ์.(2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลอื นกั เรียนโรงเรียนชะอำคณุ หญิงเน่อื งบุร.ี วารสารการบรหิ าร การศึกษา มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร ปที ี่ 10 ฉบับที่ 2,304-314 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพนื้ ฐาน.(2559).การพฒั นาระบบดแู ลช่วยเหลอื นกั เรียน.กรงุ เทพฯ:โรงพมิ พ์ สหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย. วรรณพชั ร อริยสนุ ทร.(2560).แนวทางการบรหิ ารงานระบบการดูแลชวยเหลือนกั เรียนสูความเปนเลิศ โรงเรียนปราจณิ ราษฎรอาํ รุง.วารสารอเิ ล็คทรอนกิ สท์ างการศกึ ษา 12(1),204-218. ฤทยั วรรณ หาญกลา .(2556).การพัฒนากลยุทธการบรหิ ารสถานศกึ ษาระดับประถมศึกษา เพอื่ สง่ เสริมการมีสว่ นรว่ ม ของชมุ ชนในระบบดแู ลชว่ ยเหลอื นักเรยี น.วารสารครศุ าสตร์ 80(3),1-18. อรทัย มังคลาด. (2557). การดำเนินงานระบบดแู ลชว่ ยเหลือนกั เรียนโรงเรยี นราชประชานเุ คราะห์ 24 อำเภอจุน จังหวดั พะเยา. (วทิ ยานิพนธค์ รศุ าสตรมหาบณั ฑติ , บัณฑติ วิทยาลัยมหาวทิ ยาลัยราชภฏั เชียงราย). 127

การประชมุ วิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 6 \"ความทา้ ทายของการจดั การการศึกษาใหม่หลังวกิ ฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนุกรรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอดุ มศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถมั ภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี แนวทางการนิเทศภายในผา่ นส่ือสังคมออนไลนเ์ พ่ือพัฒนาคณุ ภาพการจดั การศึกษาในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชอ้ื โควดิ -19 ของโรงเรยี นนิคมสรา้ งตนเองจงั หวดั ระยอง 5 สงั กดั สำนกั งาน เขตพ้ืนทีก่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษาระยอง เขต 1 Guidelines for Internal Supervision through Social Media for Quality Improvement in Education Management during COVID-19 of Nikomsangtonangrayong5 School under Rayong Primary Education Service Area Office 1 หทยั ชนก วงศก์ าฬสนิ ธุ,์ ศรัญภร ศลิ ปประเสริฐ Hatthaichanok Wongkalasin, Sarunyaporn Sinlapaprasert E-mail: [email protected] บทคัดยอ่ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางการนิเทศผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัด การศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเช้ือโควิด-19 ของโรงเรยี นนิคมสรา้ งตนเองจังหวัดระยอง 5 สงั กดั สำนักงาน เขตพืน้ ท่กี ารศึกษาประถมศกึ ษาระยองเขต 1 กลุ่มผู้ให้ขอ้ มลู เลอื กแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 71 คน จำแนกเปน็ ครูและ บคุ ลากรทางการศึกษาของโรงเรยี น 34 คน คณะกรรมการสถานศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน 13คน และเครอื ขา่ ยผ้ปู กครองจำนวน 24 คน เกบ็ ขอ้ มลู โดยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กง่ึ โครงสร้าง ผลการวิจยั พบว่า แนวทางการนิเทศภายในผ่านส่ือ สังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 มี 6 ขั้นตอนดังน้ี 1.ขน้ั เตรียมความพรอ้ ม วางแผนการนเิ ทศภายใน กำหนดรปู แบบ แตง่ ต้งั คณะกรรมการ ประกอบไปด้วย ผู้บรหิ าร ครูใน กลุ่มสาระการเรียนรู้ และเครือข่ายผู้ปกครอง กำหนดปฏทิ นิ การนิเทศ กำหนดเครือ่ งมือการนิเทศ กำหนดบทบาทหน้าท่ี ของผูน้ เิ ทศ และผ้ถู ูกนิเทศ 2. การประชุมชแ้ี จงใหค้ วามรู้ ความเขา้ ใจขอบข่ายการนิเทศภายใน 3. ดำเนินการนิเทศตาม ปฏิทิน 4. สรุปผลการนิเทศ 5. ประเมินผลการนิเทศและการปรับปรุงแก้ไขโดยใช้ชุมชนการเรียนรูท้ างวิชาชีพ (PLC) 6. เขยี นรายงานการนิเทศ คำสำคญั นิเทศภายใน การจดั การศึกษา คณุ ภาพการศึกษาในสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของเชอื้ โควดิ -19 128

การประชุมวชิ าการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ระดับชาติ ครง้ั ท่ี 6 \"ความท้าทายของการจดั การการศึกษาใหม่หลังวิกฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนุกรรมการสาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอดุ มศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ABSTRACT This research aimed to study guidelines for internal supervision through social media for quality improvement in education management during COVID-19 of Nikomsangtonangrayong5 School under Rayong Primary Education Service Area Office 1. The respondents 71 people was selected by purposive sampling set by the researcher, it composed of teachers and education staffs 34 people, informants from Board of Basic Education Institutions 13 people, and from parent network 24 people. Data was collected by questionnaire and semi-structured interview. The result revealed that guidelines for internal supervision through social media for quality improvement in education management during COVID-19 consisted of 6 steps : 1. Preparation, planning for internal supervision, format setting, committee set up including school administrator, teachers from learning subject groups, and also parent network, outlining supervision calendar, setting tool for supervision, setting roles of supervisors and supervisees 2. Meeting for educating and understanding of internal supervision. framework3 . Supervision as in calendar 4. Supervision summary 5. Supervision Evaluation and improvement using Professional Learning Community (PLC) 6. Supervision report KEYWORDS Internal supervision, Education management, Quality of education during COVID-19 บทนำ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ได้แพร่ระบาดตัง้ แตช่ ่วงต้นปีพุทธศักราช2563 และมี และมี แนวโนม้ ผู้ติดเชือ้ รวมถงึ ผู้เสยี ชวี ติ เพ่ิมขนึ้ อยา่ งตอ่ เนอ่ื ง สง่ ผลกระทบตอ่ เศรษฐกิจ การเมอื ง และสังคม เปน็ อยา่ งมาก หน่ึง ในนน้ั คือปัญหา “การจดั การศกึ ษา” โดยกระทรวงศกึ ษาธิการได้กำหนดรปู แบบในการจัดการเรียนการสอนทั้งส้นิ 5 รูปแบบ ได้แก่ On-site คือ การเปิดทำการเรียนการสอนตามปกติ หรือการเรียนที่สถานศึกษา โดยปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสขุ และประกาศของ ศบค.จังหวัด อย่างเคร่งครัด On-air คือ การเรียนรู้ผ่าน DLTV (Distance Learning Television) หรือ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งการออกอากาศตาม ตาราง และการเรียนย้อนหลัง On-demand คอื การเรียนรผู้ า่ นแอพพลเิ คชนั่ ตา่ งๆ ทค่ี รู และนักเรียนตกลงใช้รว่ มกัน เช่น Zoom Google classroom เป็นต้น Online คือ การเรียนรู้โดยให้ครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือจาก สถานศึกษากระจายไปสู่นักเรียนผ่านสัญญาณอินเตอรเ์ น็ต ซึ่งเป็นรูปแบบที่ถูกใช้ในการจัดการเรียนการสอนจำนวนมาก ที่สุด และOn-hand คือ การเรียนรู้ที่บ้านโดยครูจัดทำเอกสาร หรือใบงานให้กับนักเรียน ซึ่งอาจเป็นลักษณะแบบเรียน สำเรจ็ รูป โดยมคี รอู อกไปเย่ยี มบ้านนกั เรยี นเปน็ คร้ังคราว หรอื ใหผ้ ปู้ กครองทำหนา้ ที่เปน็ ครูคอยชว่ ยเหลือ เพื่อให้นักเรียน สามารถเรยี นได้อย่างตอ่ เน่อื ง โดยให้โรงเรยี นปรบั ใช้ให้เหมาะสมกบั บริบทของโรงเรียนเพื่อให้สอดคล้องกบั สถานการณ์การ แพรร่ ะบาดของแตล่ ะพืน้ ท่ี ตลอดจนคำนงึ ถงึ ความปลอดภยั ของครู และนกั เรยี นทุกคน 129

การประชมุ วชิ าการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตรร์ ะดับชาติ ครง้ั ท่ี 6 \"ความท้าทายของการจดั การการศกึ ษาใหม่หลงั วกิ ฤติ COVID-19” วันที่ 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชือ้ โควดิ -19 สง่ ผลกระทบต่อการศึกษา ในหลายดา้ น เช่น ความไม่เทา่ เทียมและ เหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพด้านการจัดการเรียนการสอนที่ยังไม่เพียงพอ และระบบส่งเสริม สนับสนุนการสอนออนไลนข์ องครูไม่เพียงพอ (มูลนิคีนันแห่งเอเชีย เมษายน30,2020) ด้วยเหตุดังกลา่ วทำให้โรงเรียน ต้องปรับและเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ ดำเนินกิจกรรมการจัดการเรยี นการสอนทีก่ ่อใหเ้ กดิ ประโยชน์ และสง่ เสรมิ การจัดการเรยี นรขู้ องนักเรยี นให้มากที่สุด แม้ อยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยใช้กระบวนการนิเทศภายในที่มีความสำคัญและจำเป็น อย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมาย (สันติ หัดที 2563) ซึ่งเป็น กระบวนการ การทำงานของผูบ้ รหิ ารสถานศึกษาในการพัฒนาคณุ ภาพการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพอ่ื ส่งเสริมใหเ้ กิดการจัดการเรยี นรทู้ ่กี ่อประโยชน์สงู สุดแก่ผู้เรยี น และคุณภาพการจดั การศกึ ษาของสถานศึกษา การนเิ ทศการศึกษา หมายถึง การชแ้ี จง การแสดง หรอื การแนะนำเกย่ี วกบั การสอนและการอบรม การนิเทศ การภายในสถานศกึ ษาเปน็ ภารกิจที่จำเปน็ ตอ่ การจัดการศกึ ษา เป็นเรอ่ื งละเอียดออ่ นจำเปน็ ตอ้ งอาศยั ความร่วมมือจาก บุคคลหลายฝ่าย ในหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการพัฒนาคุณภาพ การเรียนการสอน ดังจะเห็นได้จาก เหตุผลความจำเป็นในหลายประการ เช่น ประการแรก ความเปลี่ยนแปลงของสังคม ความเจริญก้าวหน้าด้าน วทิ ยาศาสตร์ และเทคโนโลยีท่เี ปน็ ไปอยา่ งรวดเร็ว บคุ ลากรจำเปน็ ตอ้ งปรับปรงุ ตนเองให้ทนั ต่อการเปลย่ี นแปลง เพ่ือจะ ได้ปฏิบัตงิ านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการนิเทศภายในเปน็ กระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพ่ือช่วยเหลือและพฒั นางาน ให้ทันต่อสภาพความเปล่ียนแปลงทีเ่ กดิ ขึ้น ประการที่สอง ในหน่วยงานทุกระดับมเี ป้าหมายในการปฏิบัติงานร่วมกัน คือ พัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจำเป็นต้องใช้กระบวนการบริหาร กระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศ เพื่อจะได้ช่วยส่งเสริม สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน การนิเทศการศึกษาจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเหลือ สนับสนุนให้กระบวนการบริหาร และการบวนการเรยี นการสอนมีคุณภาพถึงระดับที่พึงประสงค์ และประการสุดท้าย มาตรฐานการศึกษาของประเทศจำเปน็ ต้องมีการรักษาและควบคุมคุณภาพใหไ้ ด้ตามมาตรฐาน และกระบวนการนิเทศ การศกึ ษาก็มีขอบขา่ ยการปฏบิ ัตงิ านทมี่ ่งุ เนน้ การควบคุมมาตรฐานการศึกษาโดยตรง จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 5 ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการ จัดการเรียนการสอนเป็นแบบผสมผสาน ทั้ง การสอนแบบ On line On demand และ On hand และเพื่อเป็นการ พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน จึงมีการปรับเปลี่ยนวิธีการนิเทศภายในด้วยรูปแบบการนิเทศผ่านสื่อสังคม ออนไลน์และให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการนิเทศการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ โรงเรยี นตอ่ ไป วธิ ดี ำเนนิ การวจิ ัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในโรงเรียนท่ี ผู้วิจัยเป็นผู้บริหาร จำนวน 71 คน จำแนกเป็น ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน 34 คน คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน เครือข่ายผู้ปกครองจำนวน 24 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามประเภทมาตราส่วน ประมาณค่าแบบของลิเคริ ์ท (Likert’s Scale) 5 ระดับ โดยเกณฑ์การแปลความหมายพิจารณาจากระดบั ค่าเฉลี่ยโดยใช้ เกณฑค์ ะแนนเฉล่ยี (เพ็ญแข ศริ ิวรรณ และคณะ,2551)และแบบสมั ภาษณก์ ึ่งโครงสรา้ ง 130

การประชมุ วิชาการและเผยแพร่ผลงานวจิ ยั คัดสรร สาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ระดบั ชาติ คร้ังท่ี 6 \"ความทา้ ทายของการจัดการการศกึ ษาใหมห่ ลังวกิ ฤติ COVID-19” วันที่ 26 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนกุ รรมการสาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อุดมศึกษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี การวจิ ัยแบง่ เปน็ 4 ขน้ั ตอน ดงั นี้ 1. ศกึ ษาสภาพปัญหาของคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของเชื้อโควิด- 19 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมอื ในการเกบ็ รวบรวมข้อมูล 2. กำหนดกระบวนการนิเทศภายในด้วยสอื่ สงั คมออนไลน์ โดยการศึกษาเอกสารและงานวจิ ยั ที่ เก่ยี วขอ้ ง 3. นำกระบวนการนเิ ทศภายในผา่ นส่อื สงั คมออนไลน์ไปใช้ 4. การประเมนิ ผลการนำกระบวนการนิเทศภายในผ่านสอื่ สงั คมออนไลน์เพื่อพฒั นาคณุ ภาพ การจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชือ้ โควิด-19 โดยใชแ้ บบสอบถามและแบบ สัมภาษณก์ งึ่ โครงสรา้ งเปน็ เครื่องมอื ในการเก็บรวบรวมขอ้ มูล ผลการวิเคราะหข์ อ้ มูล 1. ผลการศกึ ษาสภาพปัญหาการจดั การศึกษาในสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของเช้ือโควดิ -19 พบว่า ตารางที่ 1 สภาพปัญหาการจัดการศึกษาในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 คุณภาพการจัดการศึกษา คา่ เฉลีย่ คา่ เบ่ียงเบน ระดับคณุ ภาพ มาตรฐาน คุณภาพของผเู้ รียน ความรับผดิ ชอบในการเรยี น 3.30 ปานกลาง ประสทิ ธภิ าพด้านการจัดการเรยี นการสอนครูและบคุ ลากรทางการ 3.21 0.65 ปานกลาง ศกึ ษา 0.70 ความพรอ้ มของสถานศกึ ษาในการส่งเสรมิ สนบั สนนุ การสอนออนไลน์ 3.35 ปานกลาง ของครู 0.83 ความร่วมมือของผปู้ กครอง 3.40 ปานกลาง 3.32 0.65 ปานกลาง ภาพรวม 0.71 จากตาราง พบว่า คุณภาพการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ในภาพรวม อยู่ใน ระดับปานกลางเมื่อพิจารณารายด้านเรียงตามลำดับดังนี้ ประสิทธิภาพด้านการจัดการเรียนการสอนครูและบุคลากร ทางการศึกษา ( X=3.21, S.D.=0.70) ความพร้อมของสถานศึกษาในการส่งเสริมสนับสนุนการสอนออนไลน์ของครู ( X=3.35, S.D.=0.83) คุณภาพของผู้เรียน ความรับผิดชอบในการเรียน( X=3.30, S.D.=0.65) ความร่วมมือของ ผ้ปู กครอง (X=3.40, S.D.=0.65) 2.การนเิ ทศภายในผา่ นสอื่ สงั คมออนไลน์เพอื่ พัฒนาคณุ ภาพการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ ระบาดของเชือ้ โควิด-19 มี 6 ขน้ั ตอนดังน้ี 1. ข้นั เตรยี มความพรอ้ ม วางแผนการนิเทศภายใน กำหนดรูปแบบ แตง่ ตัง้ คณะกรรมการ ประกอบไป ด้วย ผู้บริหาร ครูในกลุ่มสาระ และเครือข่ายผู้ปกครอง กำหนดปฏิทินการนิเทศ กำหนดเครื่องมือการนิเทศ กำหนด บทบาทหน้าทีข่ องผู้นเิ ทศ และผูถ้ กู นเิ ทศ 131

การประชมุ วิชาการและเผยแพร่ผลงานวจิ ยั คัดสรร สาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ระดับชาติ คร้ังท่ี 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศึกษาใหม่หลังวกิ ฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนุกรรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี 2. การประชมุ ช้ีแจงใหค้ วามรู้ ความเข้าใจขอบข่ายการนิเทศภายใน 3. ดำเนนิ การนเิ ทศตามปฏิทิน โดยนิเทศการสอนผ่านส่อื สง่ั คมออนไลน์ เช่น กลุม่ Line Facebook Zoom หรอื Google Meet และการจัดการเรยี นการสอนของครจู ะมกี ารประเมินโดย ผู้บรหิ าร ครูในกลุ่มสาระการ เรยี นรู้ กรรมการสถานศกึ ษาข้นั พนื้ ฐานและเครอื ขา่ ยผู้ปกครอง ผา่ น Google Form 4. สรุปผลการนเิ ทศ 5. ประเมนิ ผลการนเิ ทศและการปรบั ปรงุ แกไ้ ข โดยใชช้ ุมชนการเรียนรู้ทางวชิ าชพี (PLC) 6. เขยี นรายงานการนิเทศ 3. ผลการนำกระบวนการนเิ ทศภายในผา่ นส่ือสังคมออนไลน์เพอ่ื พฒั นาคุณภาพการจัดการศึกษาใน สถานการณก์ ารแพร่ระบาดของเช้อื โควดิ -19 พบวา่ ตารางท่ี 2 ทักษะในการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชอ้ื โควิด-19 ของครูและบุคลากร ทางการศึกษา 2 ทักษะในการจัดการศกึ ษา คา่ เฉลยี่ ค่าเบ่ียงเบนมาตรฐาน จดั การเรยี นการสอนโดยเนน้ ผู้เรยี นเป็นสำคัญใหส้ อดคลอ้ งกบั บรบิ ทของผเู้ รยี นรายบคุ คล ก่อน 3.10 0.21 หลัง 4.52 0.5 ลดภาระงานที่ไมจ่ ำเป็น/บูรณาการภาระงานกับรายวิชาที่เก่ยี วข้อง ก่อน 3.00 0.38 หลงั 4.12 0.43 ยดื หย่นุ วธิ กี ารวัดผล ประเมินผล โดยบูรณาการกับรายวิชาท่ีเกยี่ วขอ้ ง ก่อน 3.14 0.53 หลงั 4.50 0.42 จากตารางที่ 2 พบว่า ครูได้พัฒนาให้มีทกั ษะมีการจดั การเรียนรู้ให้เข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อ โควิด-19 ปรับวิธีการจัดการเรยี นการสอน โดยสอนเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ และลดภาระงานที่ไม่จำเป็น มี ความยืดหยุ่นในการวดั และประเมินผล ใหส้ อดคลอ้ งกบั บริบทของผู้เรียน จดั การสอนได้อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ 4.ผลการประเมินผลการนิเทศภายในผา่ นสอ่ื สังคมออนไลน์เพอ่ื พัฒนาคุณภาพการจดั การศกึ ษาใน สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควดิ -19 พบวา่ มีการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มีทักษะในการแสวงหาความรู้ วิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง นอกจากการเรียนที่ห้องเรียนหรือที่โรงเรียน และ ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดการเรียนการสอน ร่วมกบั ครแู ละนกั เรยี น เพือ่ นำมาพฒั นาคุณภาพการจดั การศกึ ษาอยา่ งต่อเนือ่ ง สรุปผลการวจิ ัย การนิเทศภายในผ่านสือ่ สงั คมออนไลน์เพ่ือพฒั นาคุณภาพการจดั การศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อโควดิ -19 ควรประกอบด้วย ขั้นเตรียมความพรอ้ ม วางแผนการนเิ ทศภายใน กำหนดรูปแบบ แต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบไปดว้ ย ผู้บริหาร ครูในกลุ่มสาระ และเครือขา่ ยผู้ปกครอง กำหนดปฏิทนิ การนิเทศ กำหนดเคร่ืองมือการนิเทศ 132

การประชมุ วชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ยั คดั สรร สาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ระดบั ชาติ ครั้งที่ 6 \"ความทา้ ทายของการจดั การการศกึ ษาใหม่หลงั วิกฤติ COVID-19” วนั ที่ 26 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนุกรรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี กำหนดบทบาทหน้าท่ีของผูน้ ิเทศ และผู้ถูกนิเทศ ขั้นการประชุมชี้แจงให้ความรู้ ความเข้าใจขอบข่ายการนิเทศภายใน ดำเนนิ การนิเทศตามปฏิทนิ โดยนเิ ทศการสอนผ่านส่อื สัง่ คมออนไลน์ เชน่ กลุ่ม Line Facebook Zoom หรือ Google Meet และการจัดการเรียนการสอนของครูจะมีการประเมินโดย ผู้บริหาร ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และเครือข่าย ผู้ปกครอง ผ่าน Google Form ขั้นสรุปผลการนิเทศ ขั้นประเมินผลการนเิ ทศและการปรับปรุงแกไ้ ข โดยใช้ชุมชนการ เรยี นรทู้ างวิชาชีพ (PLC) และขั้นเขยี นรายงานการนิเทศ ผลการการนำกระบวนการนิเทศภายในผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาใน สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของเชื้อโควิด-19 พบวา่ ครูได้พฒั นาให้มีทกั ษะมกี ารจัดการเรียนรู้ใหเ้ ข้ากับสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ โควิด-19 ปรับวิธกี ารจดั การเรียนการสอน โดยสอนเน้นทีต่ ัวผู้เรียนเป็นสำคัญ และลดภาระ งานที่ไม่จำเป็น มีความยืดหยุ่นในการวัดและประเมินผล ให้สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน จัดการสอนได้อย่างมี ประสทิ ธิภาพ และพฒั นาผูเ้ รยี น ให้มีทกั ษะในการแสวงหาความรู้ วเิ คราะห์ และสร้างองคค์ วามรู้ไดด้ ว้ ยตนเอง นอกจาก การเรียนที่ห้องเรียนหรือท่ีโรงเรียน ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนร่วมกับครูและ นักเรยี น เพ่อื นำมาพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอยา่ งต่อเนอ่ื ง อภปิ รายผล จากการนเิ ทศภายในผ่านสื่อสงั คมออนไลน์เพื่อพฒั นาคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อโควิด-19 พบวา่ การนเิ ทศภายในผา่ นสือ่ สงั คมออนไลน์ ควรประกอบดว้ ย 6 ขัน้ ตอนดงั นี้ ขั้นเตรียมความพร้อม วางแผนการนิเทศภายใน กำหนดรูปแบบ แต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบไปด้วย ผ้บู รหิ าร ครใู นกลุม่ สาระการเรยี นรู้ และเครอื ข่ายผู้ปกครอง สอดคล้องกับ จุไรรตั น์ สุดรงุ่ (2559) ทีก่ ลา่ ววา่ การดำเนนิ งานนเิ ทศภายในโรงเรยี นอย่างเป็นระบบจำเป็นต้องมีการจัดโครงสรา้ งหรือสายงานท่ีชัดเจน เพ่ือให้ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการนิเทศภายในประสานงานได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งการวางแผนการนิเทศกำกับ ติดตามการดำเนินงาน นเิ ทศให้เป็นไปตามแผนและวัตถุประสงค์ท่ีตง้ั ไว้ ทัง้ นขี้ ึน้ อยกู่ ับบรบิ ทของแตล่ ะโรงเรียน กำหนดปฏิทินการนิเทศ กำหนดเครื่องมือการนิเทศ กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้นิเทศ และผู้ถูกนิเทศ สอดคล้องกบั สินนี าถ ยง่ั ยนื พิพฒั น์ (2561) กลา่ วว่าโรงเรยี นมกี ารกำหนดหน้าท่ีความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานนิเทศ ภายในอย่างชัดเจนเนื่องจากการทำงานที่มโี ครงสร้างชัดเจน เช่นการกำหนดหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน จะส่งผลให้ การทำงานประสบผลสำเรจ็ ไดง้ ่ายขึน้ ท้งั น้ีเพราะทุกหน่วยงาน ทกุ ฝา่ ย ทุกคน จะร้บู ทบาทและหนา้ ที่ความรบั ผดิ ชอบ จึง ทำให้ไมเ่ กิดปญั หาตามมา ประชุมชี้แจงการให้ความรู้ ความเข้าใจขอบข่ายการนิเทศภายใน สอดคล้องกับ พิชญ์พิริยะ กรุณา (2020) ทก่ี ล่าวว่า การปฏบิ ัติการนเิ ทศควรมกี ารประชุมเชงิ ปฏิบัติการในการคิดคน้ เทคนคิ วิธกี ารนเิ ทศที่มคี วามหลากหลาย การดำเนนิ การนิเทศตามปฏทิ ิน ดว้ ยเครื่องมอื ที่หลากหลาย โดยการเขา้ รว่ มสงั เกตการณส์ อนซ่งึ ในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ทำการสังเกตการณ์สอนด้วยสื่อสังคมอิเล็กทรอนกิ ส์เน่ืองจากครูมีการจัดการเรียน การสอนแบบออนไลน์ คณะกรรมการนอกจากจะมีผู้บริหารและครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ จะมีเครือข่ายผู้ปกครอง ประจำช้ันเรียนรว่ มสงั เกตการณส์ อนด้วยเน่ืองจากนักเรยี น เรยี นอยู่ท่ีบ้านเป็นหลกั สอดคลอ้ งกับ สนิ ีนาถ ย่ังยืนพิพฒั น์ 133

การประชมุ วชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ยั คัดสรร สาขาวชิ าศกึ ษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ คร้งั ท่ี 6 \"ความท้าทายของการจดั การการศึกษาใหม่หลังวิกฤติ COVID-19” วนั ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี (2561) กล่าวว่าผู้นิเทศได้รับการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน การติดตาม ควบคุมและกำกับงานจากผู้ที่ เกี่ยวข้องและ ผู้รับการนิเทศไดร้ บั การติดตาม ดูแลและช่วยเหลือ สนับสนุนในการปฏิบัติงานหรือการจัดการเรียนการ สอนตามหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากลจากผนู้ เิ ทศอยา่ งเหมาะสม การสรุปผลการนิเทศ การประเมินผลการนเิ ทศและการปรับปรงุ แก้ไข โดยใชช้ ุมชนการเรยี นร้ทู างวิชาชพี (PLC) และการเขยี นรายงานการ นิเทศ มกี ารสรุปและประเมินผลการนเิ ทศ และแจ้งผลในทป่ี ระชมุ ให้ครแู ละบุคลากรทุกคนได้ รับทราบ เน่ืองจากการประชุมเป็นโอกาสในการถ่ายทอดความรูค้ วามเข้าใจทำใหท้ กุ คนมีโอกาสในการแลกเปล่ยี นเรียนรู้ และระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาทงั้ ยงั เป็นโอกาสในการติดตามงาน สอดคล้องกับ พชิ ญ์พริ ิยะ กรุณา(2020) ท่กี ล่าว ว่าควรมีการแจง้ ผลการนิเทศแต่ละด้านให้ทราบและส่งกลับในที่ประชุมเพื่อประเมินความก้าวหน้า การมีส่วนร่วมของ บคุ ลากรเปน็ สิ่งทส่ี ำคญั ในการรว่ มกนั พัฒนาสถานศกึ ษา เอกสารอ้างอิง กชพร จนั ทนามศรี. (2564). การวิจยั ปฏบิ ตั ิการแบบมีสว่ นรว่ มเพื่อพัฒนากระบวนการนเิ ทศภายในโดยใช้แนวคิด การศกึ ษาช้นั เรียนสาํ หรบั โรงเรยี นประถมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2),82-98 จไุ รรัตน์ สดุ รงุ่ . (2559). การนเิ ทศภายในโรงเรียน.กรงุ เทพมหานคร: แดเนก็ ซอ์ นิ เตอรค์ อรป์ อเรช่ัน. พชิ ญพ์ ิรยิ ะ กรณุ า.(2562). แนวทางการพฒั นากระบวนการนเิ ทศภายในสถานศกึ ษาข้นั พืน้ ฐานของโรงเรียนสงั กัด สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏจันทรเกษม, 15(2), 45-62 เพญ็ แข ศริ ิวรรณ และคณะ.(2551). สถิติเพ่อื การวิจัย. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอรน์ ลั พบั ลเิ คช่ัน. มลู นคิ ีนนั แห่งเอเชยี .(2022,เมษายน 30). การแพร่ระบาดของโควดิ -19 สร้างผลกระทบต่อการศึกษาไทยที่สำคญั 3 ประการ.[Blog post].สบื ค้นจาก www.keana-asia.org วัลลภิ า สมฤทธิ์.(2564). แนวทางการบรหิ ารงานนิเทศภายในโรงเรยี นในการจัดการเรียนรู้ สังกัดสำนกั งานเขตพนื้ ที่ การศกึ ษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2. วารสาร มจร เพชรบรุ ปี รทิ รรศน์, 4(1), 1-14 สันติ หดั ท.ี (2563). ระบบการนิเทศภายในดา้ นการจัดการเรียนรู้โดยใชช้ ุมชนการเรียนรู้ทางวชิ าชีพสำหรับโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศกึ ษา.วารสารสงั คมศาสตรแ์ ละมานุษยวิทยาเชงิ พทุ ธ, 5(7), 227-240 สินนี าถ ยัง่ ยนื พิพฒั น์. (2561). การศกึ ษากระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนมาตรฐานสากลท่ไี ด้รับรางวัลOBECQA ใน สงั กดั สำนกั งานเขตพ้นื ท่ีการศึกษามธั ยมศึกษาเขต 1 .An Online Journal Of Education, 13(3) ,266-276 134

การประชุมวชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ยั คดั สรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ ครั้งที่ 6 \"ความทา้ ทายของการจดั การการศึกษาใหมห่ ลังวกิ ฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนุกรรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อุดมศึกษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ปัญหาและแนวทางการจดั การเรยี นการสอนแบบออนไลน์โดยวธิ ีสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน ในชว่ งภาวะวิกฤต COVID-19 กรณศี กึ ษารายวิชาประสบการณก์ ารทำงาน Problems and Guidelines for using Project based learning in the COVID-19 Crisis: Case study of Work Experience course ณฐั ชยั ศรเี อยี่ ม1 , จักรพันธ์ จตุพรพนั ธ์2 ปฐมนาถ จงรตั นากุล3 และ ภีมพฒั น์ วรโชตธิ รี วชั ร์4 สาขาวิชาภาษาญป่ี ่นุ เพอ่ื การส่ือสารธุรกจิ คณะศลิ ปศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศรปี ทมุ [email protected], [email protected] [email protected] บทคดั ย่อ บทความเรื่องน้ีมีจุดประสงค์เพื่อชี้แนะปญั หาและแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ดว้ ยวิธีสอน แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project based learning) โดยการวิเคราะห์เอกสารและจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนใน การจัดการเรียนการสอนออนไลน์รายวิชาประสบการณ์การทำงาน ในช่วงภาวะวิกฤต COVID-19 ระหว่างวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 28 เมษายน 2564 โดยเป็นนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์สาขาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสาร ธรุ กจิ ชั้นปที ี่ 4 เขา้ รว่ มโครงการ จำนวน 8 คน จากการวิเคราะห์เอกสารและจากประสบการณ์ตรง พบวา่ (1) การจดั การ เรียนการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐานสามารถปฏิบัติในลักษณะการสอนออนไลน์ได้โดยใช้เครือ่ งมืออิเล็กทรอนิกส์ใน การติดต่อสื่อสารระหวา่ งผู้เรียนกับผูส้ อน และผู้เรียนกับผู้เรียนเป็นหลัก และใช้สื่อการค้นหาและกระจายข่าวสารเพื่อ นำเสนอผลงานของนกั ศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) นักศกึ ษาไดร้ ับทักษะการใช้เทคโนโลยีและการบรู ณาการความรู้ ดา้ นภาษาและธรุ กิจได้ตามวตั ถุประสงค์ของรายวิชา 3) ปญั หาทีพ่ บจากการจัดการสอนออนไลนด์ ว้ ยใชโ้ ครงงานเป็นฐาน คือ 1.1 นักศึกษาไม่สามารถสร้างปฏิสัมพนั ธ์โดยตรงกบั เพ่ือนร่วมงานขณะสื่อสารผ่านออนไลน์ 1.2 ระยะการปคู วามรู้ จำเป็นที่ต้องใชใ้ นการจัดโครงการสั้น ทำให้นักศึกษามคี วามกังวลในการปฏิบัติจริง1 .3 ผู้สอนและผูเ้ รียนบางส่วนขาด ทกั ษะการใชเ้ ทคโนโลยีและสงิ่ สนับสนุนการเรยี นออนไลน์โดยเฉพาะอุปกรณค์ อมพวิ เตอรส์ ว่ นตวั ท่ีมีประสิทธิภาพ คำสำคัญ: การสอนออนไลน์, การสอนแบบโครงงานเป็นฐาน, ภาวะวิกฤต COVID-19 ABSTRACT The purposes of this article were to identify problems and guidelines for online teaching and learning using project- based learning approaches by analyzing the documents and from the researcher's direct experience with the management of online teaching and learning in the professional experience course during 135

การประชุมวชิ าการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ คร้งั ท่ี 6 \"ความทา้ ทายของการจัดการการศึกษาใหม่หลงั วกิ ฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนุกรรมการสาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อดุ มศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี the COVID-19 pandemic between 20th January 2021 to 28th April 2021. The population in this research were eight senior-year students of the Faculty of Liberal Arts in the Japanese for Business Communication major. According to the analysis of documents and direct experience, it was found that: 1. project-based instructions can be practiced in an online teaching setting by using electronic tools as the main communication medium between students and teachers and among students. In addition, it can be effectively used for searching and distributing news about students' project presentation, 2. students can obtain technology skills and integrate knowledge of language and business according to the course objectives, and 3. problems encountered in organizing project-based online instructions were: 1.1 students were unable to directly interact with their peers while communicating online, 1.2 the project was too short, it was difficult for giving adequate knowledge causing students to be concerned when they went into actual practice, and 1.3 some teachers and students lack technology skills and online learning support especially effective usage of their personal computing devices. KEYWORDS : Online Teaching, Project based learning, COVID-19 บทนำ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควดิ -19 ทำใหส้ ถานศึกษาในประเทศไทยตอ้ งเปลยี่ นแปลงการจัด การศกึ ษาใหส้ อดคลอ้ งและเออ้ื อำนวยกับสถานการณท์ ่ีเกิดข้นึ อย่างรวดเร็ว โดยภาครฐั มีนโยบายจดั การเรยี นการสอน ภายใต้สถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ด้วยแนวคิด “การเรียนรู้นำการศึกษา โรงเรียนอาจหยุดได้ แต่การเรียนรู้หยุด ไมไ่ ด้” ในทกุ ระดบั ช้ันและทกุ ประเภทการศึกษาท้ังการศกึ ษาข้นั พืน้ ฐาน อาชวี ศึกษา การศกึ ษาเอกชน การศกึ ษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาสำหรับผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งการเตรียมความพร้อมทักษะที่ สำคัญในชว่ งปิดเทอมให้แก่ผเู้ รยี น ทัง้ ภาษาองั กฤษและการใชเ้ ทคโนโลยีดิจทิ ัล เชน่ โคด้ ด้ิง (coding) เปน็ ตน้ โดยผ่าน การเรียนการสอนทางไกล โดยใชท้ รัพยากรท่ีมีอยแู่ ลว้ ใหเ้ กิดประโยชน์สงู สุด อาทิ การใช้ช่องทวี ดี ิจิทลั และการเรียนรู้ เสริมผ่านโปรแกรมออนไลนต์ ่าง ๆ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2563) ในมุมมองของการศึกษาระดับอุดมศึกษาเช่นกัน ผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ทำให้ สถาบันอุดมศึกษาออกแนวทางการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นภาวะความปกติใหมข่ องประเทศไทยที่ ต้องเผชญิ หลงั จากสถานศึกษากลับมาเปิดการเรยี นการสอน ก็จะมมี าตรการการป้องกนั ผสมผสานการเรียนทั้งทาง ออนไลน์และออฟไลน์ ส่งผลให้เกิดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ขึ้นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยมีการเปิดหลักสูตร พัฒนาทักษะสำหรับกลุ่มอาชีพมากขึ้น ในขณะที่นักเรียนและนักศึกษาเริ่มหันไปสนใจการเรียนสาขาใหม่ ๆ ทำให้ มหาวิทยาลัยต้องเร่งปรับหลักสูตรให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยนำเทคโนโลยี (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วทิ ยาศาสตร์ วิจยั และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.). 2564) ดังน้ัน การเรยี นการสอนในช่วงสถานการณโ์ ควดิ -19 ผ้สู อนจะต้องประยุกต์ใช้เคร่ืองมือเทคโนโลยีเพ่ือจัดการ สอนแบบออนไลน์เปน็ หลัก ซ่งึ เป็นความท้าทายของผู้สอนยุคใหม่ที่ตอ้ งจัดกิจกรรมการสอนให้นักศึกษาได้รับทักษะ 136

การประชุมวิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ ครั้งที่ 6 \"ความทา้ ทายของการจัดการการศกึ ษาใหม่หลังวกิ ฤติ COVID-19” วนั ที่ 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อดุ มศึกษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ส่งเสริมความคิดเชงิ สร้างสรรค์ และเนน้ การทำกจิ กรรมรว่ มกันเพอื่ เนน้ การพฒั นาความสามารถเฉพาะบคุ คล (ไพฑรู ย์ สินลารัตน.์ 2564) บทความนีจ้ งึ นำเสนอแนวทางการจัดการสอนออนไลนใ์ นรูปแบบโครงงานเป็นฐาน (Project based learning) โดยวิเคราะห์จากประสบการณ์การจัดการสอนรายวิชาประสบการณ์การทำงานในช่วงวันท่ี 20 มกราคม พ.ศ. 2564 จนถึงวันท่ี 28 เมษายน 2564 เพื่อเป็นแนวทางการจัดการสอนแบบโครงงานผ่านระบบออนไลน์ไดอ้ ยา่ ง ตอ่ ไป การเรียนการสอนออนไลน์ การเรียนการสอนออนไลน์ (E – Learning) เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในอกี รูปแบบหน่ึงที่ใช้เทคโนโลยีเข้า มาช่วยในการจดั การเรียนรู้ของเรียน โดยอย่ใู นรูปแบบของคอมพวิ เตอร์รวมเขา้ กับการใชร้ ะบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การใช้ Web brewer หรือเครื่องมือการจัดระบบการสอนออนไลน์ เช่น Moodle ซึ่งเป็นที่นิยมนำมาใช้ในการ สอนออนไลน์ในสถานศกึ ษาที่มีความพรอ้ มในการสอนออนไลน์ ซ่งึ ลักษณะการสอนนีผ้ เู้ รียนไม่จำเป็นต้องเดินทางมา เรยี นท่ีสถานศกึ ษา ทำให้เกดิ ความสะดวกและเข้าถงึ ไดอ้ ย่างรวดเรว็ ทุกสถานท่ีทุกเวลา และเป็นการสร้างการศึกษา ตลอดชวี ิต (พงษ์พัชรนิ ทร์ พธุ วัฒนะ, 2560) ในกระบวนการจัดการสอบออนไลน์มี ขั้นตอนหลัก ดังนี้ (Ko and Rossen. 2017, จิติมา วรรณศรี. 2564, จนิ ตวีร์ คล้ายสงั ข์ และประกอบ กรณกี จิ . 2559) 1. วิเคราะห์คุณลักษณะของผู้เรียน จำนวนผู้เรียน ความพร้อมด้านอุปกรณ์ และประสบกาณ์การเรียน ออนไลนข์ องผู้เรียน เพื่อนำไปสกู่ ารจัดกจิ กรรมในช้นั เรยี นอย่างเหมาะสม 2. กำหนดจุดประสงคข์ องการสอนออนไลน์ โดยคำนงึ ถึงสมรรถนะทผี่ ู้เรียนได้รบั 3. ออกแบบกิจกรรมท่นี ำมาปฏิบัตใิ นการสอนออนไลนซ์ ึง่ สอดคล้องกบั วตั ถุประสงคก์ ารเรยี นรู้ โดยกำหนด วิธีการสอนที่เหมาะสม ใช้เทคโนโลยเี ป็นศูนย์กลางในการจัดการและสนับสนุนการเรียนรู้ (Learning Management System) รวมถงึ การเลือกเครือ่ งมอื ในการตดิ ตอ่ ส่อื สารระหว่างผู้เรยี นและผู้สอน โดยเครอื่ งมือทน่ี ำมาใช้มี 2 ประเภท คือ แบบประสานเวลา (Synchronous) เชน่ แชต และแบบไมป่ ระสานเวลา (Asynchronous) เช่น กระดานอภิปราย บลอ็ ก และไปรษณียอ์ เิ ลก็ ทรอนกิ ส์ เปน็ ต้น 4. กำหนดวิธีการวัดและประเมนิ ผลการความรขู้ องผเู้ รียนที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ซ่ึงในการสอนออนไลน์มี วิธีการวัดและเมินผลหลายรูปแบบ เช่น การวัดระดบั ความรู้ก่อนเข้าเรียน การสอบย่อยท้ายบท และจำนวนการเขา้ ร่วมกจิ กรรมบนออนไลน์ เปน็ ตน้ รูปแบบของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์มีหลายรูปแบบ โดยมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้มีนโยบายการ จัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้ดำเนินการแบบผสมผสาน โดยใช้การจัดการเรยี นรู้ ท่ีเรยี นวา่ SPU d-Learning ซ่ึงยึด หลักการการจัดระบบเดียวกับ “MOOC” (Massive Open Online Courses) รูปแบบการจัดการเรียนการสอน ออนไลน์ท่ีเปดิ โอกาสให้ผู้เรียนเสามารถเรียนรไู้ ด้จำนวนมาก ๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะ ซึ่ง แต่ละบทเรียนจะประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรูต้ ่าง ๆ เช่น การชมวิดีทัศน์ การอ่านเนื้อหาบทเรียน การทำแบบ ฝึกษาที่เป็นแบบคำถาม E-Quiz การส่งรายงาน และการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน Discussion ต่าง ๆ นอกจากนี้ยัง 137

การประชุมวิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ระดบั ชาติ คร้ังท่ี 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศึกษาใหม่หลงั วิกฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อุดมศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี สามารถทจี่ ะเชื่อมโยง Course Online เขา้ กับเครื่องมือในดา้ นเทคโนโลยีการศกึ ษาต่าง ๆ ทงั้ คอมพวิ เตอร์ท่ัวไปและ โทรศัพทม์ อื ถือ ทำให้ผเู้ รียนสะดวกในการใช้เครอ่ื งมอื การจัดการสอนดว้ ยโครงงานเป็นฐาน การเรียนกการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project based learning) เป็นกระบวนการ จัดการเรียนการสอนที่ได้รับแนวคิดจากทฤษฎี Constructivism ของ Papert (1993) ซึ่งนำเสนอการใช้สื่อทาง เทคโนโลยีในการสร้างความรู้ที่เป็นรูปธรรมแก่ผู้เรียนโดยอาศัยพลงั ความรูข้ องตัวผูเ้ รียนเอง และเมื่อผู้เรียนสรา้ งสิง่ หนึง่ สิ่งใดข้นึ มากจ็ ะเสมอื นเป็นการสรา้ งความรู้ขนึ้ ในตัวเองนนั่ เอง ทำใหผ้ ู้เรียนไดเ้ ชอ่ื มโยงประสบการณ์จากชีวิตจริง ส่กู ารเรยี นรู้ค้นหาคำตอบดว้ ยการลงมือ ค้นคว้า ปฏิบัตจิ รงิ โดยการจดั ประสบการณก์ ารเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เลือกและ สร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกด้วยตนเองโดยใช้วิธีการและแหลง่ การเรียนรู้ที่หลากหลายและ สามารถนำผลการเรียนรไู้ ปใชใ้ นชวี ิตได้ (ทิศนา แขมมณ,ี 2560 ) มนั ทนา ปดิ ตาระโพธ์ิ (2561) กล่าวถึงหลักการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเปน็ ฐาน มีลักษณะดังน้ี 1. โครงการหรือโครงงานเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับบริบทจริงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวนั 2. การให้นักเรียนทำโครงงาน เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เข้าสู่กระบวนการสืบเสาะ (process of inquiry) ซง่ึ เปน็ การใชก้ ระบวนการคดิ ขัน้ สูง 3. การจดั การสอนโดยใชโ้ ครงงานเปน็ ฐานช่วยใหน้ ักเรยี นได้ผลิตชิน้ งานทเี่ ป็นรปู ธรรม 4. การแสดงผลงานตอ่ สาธารณชน สามารถสรา้ งแรงจงู ใจในการเรียนรู้และการทำงานให้แก่นักเรียนได้ 5. การให้นกั เรยี นได้ลงมือทำโครงงาน จะสามารถชว่ ยดึงศกั ยภาพต่าง ๆ ทม่ี อี ยูใ่ นตวั ของนักเรียนออกมาใช้ ประโยชนไ์ ด้อยา่ งเต็มที่ การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐาน มีกระบวนการขั้นตอนซึ่งสรุปตามผู้ให้ทฤษฎี ดังนี้ (สำนักงาน คณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2564), ดษุ ฎี โยเหลา (2557), ศิริพร ศรจี นั ทะ และธรี ศักด์ิ อุปรมยั อปุ ไมยอธิชัย. (2564).) 1. ขั้นกำหนดปญั หา เป็นการระบุประเดน็ ปัญหาที่สนใจโดยที่ผู้เรียนจะได้รับการสรา้ งแรงบันดาลใจเพ่ือเร้า ความสนใจในการเรียนรู้ ก่อนปรับพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับโครงงาน และผู้สอนทำการให้ความรู้ที่จำเป็นในการ ปฏบิ ัติงานในโครงงานได้จริง 2. ขั้นตอนการวางแผนเข้าสู่โครงงาน กำหนดจุดมงุ่ หมายของโครงงานอย่างชดั เจน รวมทั้ง เตรียมเคร่ืองมือ อำนวยความสะดวกในการทำโครงงานของตนเอง ทีมงานต้องวางแผนงาน ตัง้ สมมติฐาน กำหนดตัวแปรของโครงงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ จัดประชุมกันภายในกลุ่ม แลกเปลี่ยนข้อค้นพบ แลกเปลี่ยนคำถาม แลกเปลี่ยนวิธีการ ยิ่งทำ ความเขา้ ใจรว่ มกนั ไว้ชัดเจนเพยี งใด การปฏบิ ัติงานในขนั้ ต่อไปจะราบรน่ื ยงิ่ ขึ้น 3. ขัน้ ลงมอื ปฏิบัตจิ ริง ลงมือปฏบิ ัตกิ ิจกรรมโครงงานตามหัวข้อท่ีกลมุ่ สนใจ ผูเ้ รียนปฏิบตั ิหน้าที่ของตนตาม ข้อตกลงของกลุ่มอกี ท้ังร่วมมือกันปฏิบัตกิ จิ กรรมโดยขอคำปรึกษาจากผู้สอนเป็นระยะ ๆ เมื่อมีข้อสงสัยหรือปัญหา 138

การประชมุ วชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ยั คดั สรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ ครัง้ ที่ 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศึกษาใหมห่ ลังวิกฤติ COVID-19” วันที่ 26 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนกุ รรมการสาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศกึ ษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี เกดิ ขน้ึ ซึ่งผูเ้ รยี นจะไดเ้ รียนรู้ทักษะการออกแบบ วิพากษ์แบบหรอื วิธกี ารสร้างช้นิ งาน ลงมือประดษิ ฐช์ น้ิ งาน ทดสอบ ประสิทธภิ าพ ปรบั ปรุงช้ินงาน และการแกไ้ ขปญั หา ร้จู กั การประสานงานการทำงานรว่ มกนั เปน็ กลุม่ 4. ขั้นประเมินผลระหว่างปฏบิ ัติงาน เป็นการทบทวนการเรียนรู้จากผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาซึ่งจะทำให้ เห็นถึงนความสำเร็จและความล้มเหลวในระหว่างการทำโครงงาน รวมทั้ง นำเหตุการณ์ที่เป็นข้อข้องใจ ความ ภาคภูมิใจ ความประทับใจ มาแลกเปลีย่ นเรียนรกู้ ันเพอ่ื ให้เกิดการพฒั นาที่ดขี นึ้ 5. ข้นั สรปุ รายงานผล และเสนอผลงาน โดยการบรรยายในรปู แบบของรายงาน มีการใชส้ ื่อ ชน้ิ งาน แผนภาพ โมเดลประกอบ ร่วมกับการบรรยาย หรืออาจสร้างนวัตกรรมในการนำเสนอ เพือ่ ส่อื ความหมายให้ผ้รู ับฟังได้เข้าใจใน โครงงานทผ่ี ู้เรียนจัดทำขึ้น รวมถึงการการเผยแพร่ประโยชน์ที่เกิดขนึ้ จากการทำโครงงานตอ่ สังคมชุมชน การจดั การสอนดว้ ยโครงงานเป็นฐานในรายวิชาประสบการณ์การทำงาน การศึกษาครั้งนี้ เป็นการใชว้ ธิ จี ัดการเรียนการสอนออนไลน์ดว้ ยวิธีการสอนดว้ ยโครงงานเปน็ ฐาน โดยศึกษา จากผลการจดั โครงงานรายวิชาประสบการณก์ ารทำงาน โดยมวี ัตถปุ ระสงค์เพ่อื ส่งเสริมให้นกั ศกึ ษาได้มีประสบการณ์ ตรงจากการฝึกปฏิบัตใิ นองค์กรหรือหน่วยงาน เพอ่ื ให้ไดเ้ รียนรู้การปรับตวั การเขา้ สังคม และมีประสบการณ์ในการ ทำงานจริง ซึ่งจะเป็นแนวทางให้สามารถพัฒนาตนเองใหเ้ หมาะสมที่จะออกไปประกอบอาชีพในสาขาวชิ าต่าง ๆ ใน อนาคต โดยมีระยะเวลาในการฝึกงานเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 400 ชั่วโมง หรือ/และตามที่คณะฯ กำหนดต้องเป็น นักศึกษาปีท่ี 3 หรือ 4 โดยสามารถเกบ็ สะสมชัว่ โมงฝึกงานได้ ซึ่งเริ่มภาคการศกึ ษาที่ 2/2563 ตงั้ แต่วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 28 เมษายน 2564 มีนกั ศกึ ษาลงทะเบยี นเปน็ นักศึกษาสาขาภาษาญ่ีปุ่นเพื่อการสื่อสารธุรกิจ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 8 คน และมีคณาจารย์ประจำสาขาเข้าร่วมโครงการ 4 คนที่คอยให้คำปรึกษากับผู้เรียนตลอด โครงงาน วิธีการจัดโครงงานทำการบูรณาการการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้เครื่องมือคือ โปรแกรมห้องประชุม ออนไลน์ ZOOM , line และ ระบบ SPU d-Learning เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลที่มหาวิทยาลัยศรีปทุมพัฒนาขึ้น ลักษณะเดียวกับระบบ “MOOC” (Massive Open Online Courses) ซึ่งกระบวนการการจัดโครงงานแบ่งขั้นตอน ออกเปน็ 5 ขนั้ ตอน ดังนี้ 1. แนะแนวและเตรยี มความพรอ้ มนกั ศึกษา 1.1 ผสู้ อนทำการปฐมนิเทศในเรื่องเป้าหมายของรายวชิ า วธิ ีการจัดโครงการและหลักการประเมินผลการสอน 1.2 ทำการอบรมระยะสั้นในเรื่องหลักการบริหารจัดการ การสร้างผลิตภัณฑ์ และการทำงานร่วมกันใน ลกั ษณะบทบาทสมมุติแบบองคก์ รญ่ปี ุ่น 1.3 ระดมสมองเพ่อื ค้นหาความสนใจทีก่ ลุ่มผเู้ รยี นอยากร้แู ละอยากปฏิบตั ิจริง 2. วางแผนเข้าส่โู ครงงาน 2.1 ผลการระดมสมองพบว่าผู้เรียนต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์รูปผสมความเป็นไทยและญี่ปุน่ เป็นผงโรยข้าวแบบญี่ปุ่น (Furikake) ที่มีรสลาบแบบไทยซึ่งมีเป้าหมายเพื่อขายวัยรุ่นชาวไทยที่มีความสนใจสินค้า ญ่ปี นุ่ และชาวญป่ี ุ่นในประเทศไทยทคี่ ้นุ เคยกบั ผงโรยขา้ วแตไ่ มเ่ คยบรโิ ภครสชาตแิ บบไทย 139

การประชมุ วชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ยั คัดสรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตรร์ ะดับชาติ ครัง้ ท่ี 6 \"ความทา้ ทายของการจัดการการศกึ ษาใหม่หลังวกิ ฤติ COVID-19” วันที่ 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอดุ มศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์ สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี 2.2 สร้างบทบาทสมมตุ ลิ ักษณะบรษิ ทั จำลอง โดยผูส้ อนทำการแบง่ กลมุ่ ผู้เรยี น 4 กลุ่ม ดังนี้ ภาพท่ี 1 การกำหนดบทบาทสมมุติลกั ษณะบริษทั จำลอง 1) ฝ่ายวางแผน ทำหน้าท่ีออกแบบ ผลิตภัณฑ์ การคำนวณต้นทุน การจัดหาวัตถุดิบ การวางแผนทาง การตลาด งานประชาสัมพนั ธ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การจัดสง่ และการบริการหลงั การขาย 2) ฝ่ายขาย ทำการตลาด ประชาสัมพันธ์ตามแผนที่กำหนด รวมถึงดูแลสื่อการวางขายและโฆษณา คือ Facebook และ Instagram 3) ฝ่ายผลิต ทำหนา้ ทผ่ี ลติ สินคา้ ควบคุมคุณภาพ และพัฒนา 4) ฝ่ายประสานงาน เป็นผู้ดูแลส่วนกลางการทำงานของแต่ละฝ่าย รวมถึงการรายงานการปฏิบัติงานแก่ คณาจารย์ผรู้ ับผดิ ชอบวิชา ทั้งนี้ แต่ละฝ่ายจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยแนะนำการปฏิบัติงานของผู้เรียนตลอดเวลา รวมถึงการได้รับ คำแนะนำจากคณาจารย์ทีไ่ ม่ไดเ้ ขา้ โครงงานและบุคคลภายนอกท่มี ีความสนใจในการสนบั สนนุ ผลงานนักศกึ ษา 3. ดำเนินโครงการ 3.1 กำหนดประชุมระหว่างผู้เรียนและผู้สอนทุกสัปดาห์ผ่านแอปพลิเคชัน ZOOM Cloud meeting เพื่อ รายงานความคบื หน้าของโครงงาน รวมถึงการระดมสมองเพอื่ แก้ปญั หาที่เกดิ ขึ้นดว้ ยกนั 3.2 ทำการออกแบบสินค้าและกำหนดเส้นทางวางจำหนา่ ย โดยกลมุ่ ผู้เรียนทำการออกแบบสนิ คา้ ซือ่ วัตถดุ ิบ และผลติ สนิ คา้ เองซึ่งทำทีบ่ า้ นของผ้เู รยี น ภาพที่ 2 กระบวนการออกแบบสนิ ค้าผงโรยขา้ วญี่ปนุ่ 140

การประชุมวิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคัดสรร สาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ระดับชาติ ครงั้ ท่ี 6 \"ความทา้ ทายของการจดั การการศกึ ษาใหมห่ ลังวกิ ฤติ COVID-19” วันที่ 26 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนุกรรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อดุ มศึกษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี 3.3 ทำการเผยแพร่โฆษณา และจำหนา่ ยสนิ ค้าท่ีทำขึ้น ผา่ น Facebook และ Instagram นอกจากนี้ผู้เรียน ทำการออกบทู วางขายสนิ ค้านอกสถานทจี่ ริงตามโรงเรยี นและตลาดนัดต่างๆ ภาพที่ 3 การโฆษณาและวางขายผงโรยข้าวญป่ี ุ่น 4. ข้ันประเมนิ ผลระหว่างปฏิบัตงิ าน คณาจารย์ผู้สอนทำการประชุมเพื่อรายงานการประเมนิ ผลิตภัณฑ์ที่ผู้เรียนทำขึ้น รวมถึงการประเมินความ รับผดิ ชอบต่อหนา้ ท่ีของผูเ้ รียนรายบุคคลผ่านทาง ZOOM Cloud meeting ซ่ึงทำใหผ้ ู้เรียนตระหนกั และคอยพัฒนา ตวั เองอยเู่ สมอ นอกจากน้ที ำการพดู คุยเพื่อทบทวนปัญหาทเ่ี กดิ ขึ้นในการจดั โครงงาน ภาพที่ 4 การประชมุ คณาจารยเ์ พอ่ื ประเมนิ ผลงานนักศกึ ษา 141

การประชมุ วิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวิชาศกึ ษาศาสตรร์ ะดบั ชาติ ครงั้ ท่ี 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศกึ ษาใหมห่ ลงั วิกฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอดุ มศึกษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 5. สรปุ รายงานผล และเสนอผลงาน 5.1 เมอ่ื สิน้ สุดกำหนดการผลิตและขายสินค้า ผเู้ รียนสรปุ ผลการปฏิบัตโิ ครงงาน ซ่งึ พบวา่ ผเู้ รียนจำหน่ายผง โรยขา้ วตามงบประมาณที่ตั้งอย่างเป็นทีน่ ่าพอใจของคณาจารย์ผูเ้ ขา้ รว่ มโครงงาน 5.2 ผู้เรียนทำการนำเสนอหน้าชั้นเรียนผ่าน ZOOM ถึงเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบต่อโครงงานที่ได้ทำ รวมถึงความรู้สึกและปัญหา ความยาก และความพอใจในการได้เข้าร่วมโครงงานครั้งนี้ ซึ่งเป็นการนำเสนอต่อ คณาจารย์ในโครงงาน และผู้มสี ่วนเกี่ยวข้องในการจดั โครงงาน เพ่อื นำผลการนำเสนอไปประเมนิ ผลการเรียนนักศึกษา ต่อไป สรุปผลการสอนออนไลนด์ ว้ ยโครงงานเปน็ ฐานในรายวชิ าประสบการณ์การทำงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 กรณศี ึกษารายวชิ าประสบการณ์การทำงาน พบวา่ 1. การจัดการเรียนการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐานสามารถปฏิบัติในลักษณะการสอนออนไลน์ได้โดยใช้ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรยี นเป็นหลัก และใช้สื่อการ คน้ หาและกระจายขา่ วสารเพื่อนำเสนอผลงานของนักศกึ ษาไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ 2. นักศึกษาได้รับทักษะการใช้เทคโนโลยีและการบรู ณาการความรู้ด้านภาษาและความรู้ทางด้านธุรกิจได้ ตามวตั ถุประสงค์ของรายวชิ า 3. จากการสังเกตและประเมินนกั ศกึ ษาหลังจบโครงงาน ทำใหผ้ ูส้ อนพบปัญหาท่ีเกิดขนึ้ จากการจัดการสอน ออนไลนด์ ว้ ยใชโ้ ครงงานเป็นฐาน ไดแ้ ก่ 3. 1นักศึกษาไม่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับเพื่อนร่วมงานขณะสื่อสารผ่านออนไลน์ได้ เนื่องจาก ข้อจำกัดของการใชอ้ ปุ กรณส์ อ่ื สาร เชน่ การใช้ ZOOM ซึ่งเห็นไดเ้ พียงใบหน้าและการไดย้ ินเสียง ดงั นน้ั ควรมกี ารเพิ่ม กจิ กรรมละลายพฤติกรรมในชว่ งเร่ิมการทำโครงงานเพื่อสร้างความสามคั คภี ายในกลมุ่ 3.2 ระยะการปูความรู้จำเป็นที่ต้องใช้ในการจัดโครงการสั้น ทำให้นักศึกษามีความกังวลในการปฏิบตั ิจริง ถึงแม้จะมีอาจารย์ทีป่ รกึ ษาคอยให้คำแนะนำผ่านอุปกรณ์ส่ือสารออนไลน์ตลอดเวลากต็ าม ดังนั้นควรแก้ปัญหาโดย การขยายเวลาการปูความรูพ้ ืน้ ฐานให้แก่ผู้เรียนกอ่ นอย่างชัดเจน รวมถึงควรเชิญผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์การจำหน่าย สินค้าและผลิตสินค้าญี่ป่นุ โดยตรงมาบรรยายและแนะนำผู้เรียนให้เกดิ แรงบันดาลใจในการทำโครงงาน 3.3 ผู้สอนและผู้เรียนบางส่วนขาดทักษะการใช้เทคโนโลยีและสิ่งสนับสนุนการเรียนออนไลน์โดยเฉพาะ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่มีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่รองรับแอปพลิเคชัน ZOOM , ระบบ อนิ เทอร์เนต็ ทไี่ ดค้ ุณภาพ และอุปกรณ์เสริมอืน่ ๆ เชน่ กล้องหรอื ไมโครโฟน ท้งั นีค้ วรมกี ารอบรมผูส้ อนและผู้เรียนให้มี ทักษะเทคโนโลยพี รอ้ มก่อนเข้าสกู่ ารจดั โครงงาน ขอ้ เสนอแนะ 1. นำการสอนแบบโครงงานเปน็ ฐานไปประยกุ ต์ใชก้ บั การเรียนการสอนออนไลน์ช่วงภาวะวิกฤต COVID-19 ในรายวิชาอืน่ ๆ ที่เนน้ การทำงานแบบกลมุ่ และการสอนท่มี ีขอ้ จำจัดเรื่องเวลาและสถานทขี่ องผู้เรยี นทางไกล 142

การประชุมวชิ าการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ยั คดั สรร สาขาวชิ าศึกษาศาสตรร์ ะดับชาติ ครั้งท่ี 6 \"ความท้าทายของการจดั การการศึกษาใหม่หลงั วิกฤติ COVID-19” วันที่ 26 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนุกรรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอดุ มศึกษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชปู ถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี 2. ควรมีการจัดอบรมทกั ษะการใชเ้ ทคโนโลยีแกผ่ ู้เรียนและผูส้ อนเพ่ือลองรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ผา่ น สื่อออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อตอบรับนโยบายการพัฒนาการสอนรูปแบบใหม่ของสถานศึกษาและ รองรบั การสอนในชว่ งภาวะวิกฤต COVID-19 เอกสารอ้างอิง กุลสิ รา จิตรชญาวณิช. (2563). การจดั การเรียนรู้. กรงุ เทพฯ : สำนักพิมพ์แหง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. จติ มิ า วรรณศร.ี (2564). การบรหิ ารจดั การศกึ ษายุคดจิ ทิ ลั . พิษณโุ ลก : รตั นสวุ รรณการพิมพ์ 3. จนิ ตวีร์ คล้ายสงั ข์ และประกอบ กรณกี ิจ. (2559). การออกแบบเวบ็ เพอ่ื การเรยี นการสอน แนวทางการประยุกต์ ใชส้ ำหรบั การเรียนแบบผสมผสาน อเี ลริ น์ นงิ . กรุงเทพฯ : สำนักพมิ พแ์ ห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั . ทศิ นา แขมมณ.ี (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพอ่ื การจัดกระบวนการเรยี นรู้ที่มีประสทิ ธิภาพ (พมิ พ์ ครัง้ ที่ 21). โรงพิมพแ์ หง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั . พงษพ์ ชั รนิ ทร์ พธุ วัฒนะ. (2560). ทักษะและเทคนคิ การสอน. กรงุ เทพฯ: คณะครศุ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏธนบุรี. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2564). ปรชั ญาการศกึ ษาเชิงสร้างสรรค์และผลติ ภาพ. กรงุ เทพฯ : สำนกั พิมพ์แหง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย. ดุษฎี โยเหลา. (2557). การศกึ ษาการจดั การเรยี นรแู้ บบ PBL ท่ไี ด้จากโครงการสรา้ งชุดความรู้เพ่อื สรา้ งเสริม ทกั ษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเดก็ และเยาวชน: จากประสบการณ์ ความสำเรจ็ ของโรงเรยี นไทย. กรุงเทพฯ: ทพิ ยว์ ิสุทธ. สำนกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงาน เรียนออนไลนย์ ุคโควดิ -19 : วกิ ฤตหรอื โอกาสการศกึ ษา ไทย. กรุงเทพฯ: กลุม่ พัฒนานโยบายดา้ นการมีส่วนร่วมและสมัชชาการศกึ ษา. สำนกั งานสภานโยบายการอดุ มศึกษา วทิ ยาศาสตร์ วิจยั และนวตั กรรมแห่งชาติ (สอวช.). (2564). มาตรการ สอวช. เพือ่ รองรบั การฟน้ื ฟแู ละปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ. ส่ือค้นเมอื่ วนั ท่ี 7 กุมภาพนั ธ์ 2564. https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33552 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พืน้ ฐานกระทรวงศึกษาธกิ าร. (2564). กา้ วแรก การจัดการเรยี นรู้โดยใช้ โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning: PBL). กรงุ เทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ข้ันพน้ื ฐาน. ศิริพร ศรจี นั ทะ และธรี ศกั ด์ิ อปุ รมัย อปุ ไมยอธิชยั . (2564). 179วธิ ีรวมสตู รการสอน ฉบับกระเปา๋ . กรงุ เทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย. มนั ทนา ปิดตาระโพธ์.ิ (2561). การพฒั นาทักษะการคดิ วิเคราะห์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) รว่ มกับแนวคดิ สะเตม็ ศกึ ษา (STEM Education) โรงเรยี นแหลมรังพิทยาคม จงั หวดั พิจติ ร. สบื ค้นเม่อื 24 สงิ หาคม 2562, จาก http://www.ska2.go.th/reis/index.php Ko, S. and Rossen, S. (2017). Teaching Online: A practical guide (4th Ed.). New York: Routledge. Papert, S. (1993). The children s machine: Rethinking school in the age of the computer. New York: Basic Books. 143

การประชุมวชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ยั คดั สรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ ครงั้ ท่ี 6 \"ความท้าทายของการจดั การการศกึ ษาใหมห่ ลงั วกิ ฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนุกรรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชปู ถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์โดยใชเ้ กมเป็นฐาน ที่มผี ลต่อผลสมั ฤทธท์ิ างการทดสอบวดั ระดบั ความรู้ภาษาจนี ระดบั ท่ี 2 ของนักเรยี นระดบั ประกาศนยี บตั รวชิ าชพี Using online game- based teaching and learning method effecting the achievement of Chinese proficiency test at the second level of vocational certificate students ปยิ นาถ ปยิ สาธติ , ชลลดา เชิดโฉม, โชตวิ นั แย้มขยาย, และ ทมิ ทอง นาถจำนง Piyanart Piyasatit, Chollada Cherdchom, Chotiwan Yaemkhayai, and Timtong Natjumnong สถาบนั การจัดการปญั ญาภวิ ฒั น์ Email : [email protected], [email protected], [email protected], [email protected] บทคัดยอ่ การวิจยั ครงั้ น้ีมวี ัตถุประสงคเ์ พ่ือเปรยี บเทยี บผลสมั ฤทธ์ิทางการทดสอบวดั ระดับความรู้ภาษาจนี ระดับที่ 2ของ นักเรยี นระดบั ประกาศนยี บัตรวิชาชพี ระหว่างกอ่ นเรยี นและหลงั เรียนโดยใชก้ ารจัดการเรยี นการสอนออนไลนโ์ ดยใช้เกม เป็นฐาน โดยกลมุ่ เป้าหมาย คอื นกั เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพช้ันปที ี่ 3 สาขาธุรกจิ คา้ ปลกี วิทยาลัยเทคโนโลยี ปัญญาภวิ ัฒน์ จำนวน 236 คน ระยะเวลาในการดำเนนิ การวจิ ัยรวม 8 สัปดาห์ เคร่อื งมือทีใ่ ชใ้ นการวจิ ัย คือ 1) แผนการ จัดการเรยี นรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เพอ่ื ทดสอบวดั ระดับความรู้ภาษาจีนระดับที่ 2 (HSK 2) และ 2) แบบทดสอบวัดระดับ ความรู้ภาษาจนี ระดับที่ 2 (HSK 2) เสมือนจรงิ รวม 50 ขอ้ สถติ ิที่ใชใ้ นการวิจยั ไดแ้ ก่ คา่ เฉลย่ี ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test แบบ dependent ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สาขาธุรกิจค้าปลีก ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมการเรียนออนไลน์เป็นนักเรียนห้องเรียนที่ 1 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจนี ระดบั ที่ 2 (HSK 2) ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรยี นออนไลน์โดยใช้ เกมเปน็ ฐานมีความแตกตา่ งกัน โดยที่ค่าเฉลีย่ คะแนนหลังเรียนสงู กว่าคา่ เฉล่ียคะแนนกอ่ นเรยี นอย่างมนี ัยสำคญั ทางสถิติ ทร่ี ะดับ .05 คำสำคญั : การจดั การเรียนการสอนออนไลน์ เกมเปน็ ฐาน การทดสอบวดั ระดบั ภาษาจนี ABSTRACT The purpose of this research was to compare the achievement of Chinese proficiency test at the second level ability of vocational certificate students during pre-study and post-study by using online game-based teaching and learning method. The target group was the 3rd year vocational 144

การประชมุ วชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ยั คัดสรร สาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ระดับชาติ ครั้งท่ี 6 \"ความทา้ ทายของการจดั การการศกึ ษาใหม่หลงั วกิ ฤติ COVID-19” วนั ท่ี 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อุดมศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี certificate students, majoring in retail business, Panyapiwat Technological College, totaling 236 students. The research period was 8 weeks. The Research instruments were 1) a game-based learning management plan for completing the Chinese proficiency test at the second level (HSK 2) and 2) a pretest and posttest of the Chinese proficiency test at the second level (HSK 2), by using a virtual test which contains 50 questions. The data were analyzed by using mean (X), standard deviation (S.D.) and dependent t-test. The results of the research revealed as follows: 1) the 3rd year vocational certificate students, majoring in retail business, were mostly female. Most of the target group who participated in the online game-based teaching and learning method were students of Class 1; 2) The mean scores on the Chinese proficiency test at the second level (HSK 2) before and after study through game-based activity were different. The posttest mean scores were higher than the pretest mean scores at a significant level of .05. KEYWORDS : Online teaching and learning method, Game-based, Chinese proficiency test บทนำ เนื่องด้วยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการเรียน การสอนในชั้นเรียนเป็นอย่างมาก จึงทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้น (Marketingoops, 2020) โดย “UNESCO” ได้คาดการณ์วา่ ขณะนี้มีนักเรียน - นักศกึ ษากว่า 363 ลา้ นคนทว่ั โลกซึง่ ไดร้ ับผลกระทบจากวิกฤติ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีสถาบันการศึกษาได้ปิดการเรียนการสอนที่ โรงเรียน จึงมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้เพื่อเปิดการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ จะมีการใช้การเรยี นการ สอนเสมือนจริง (Virtual Education) เพื่อที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้จากทางไกล มหาวิทยาลัยในประเทศไทย หลายแห่ง เริ่มออกประกาศการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ โดยผู้สอนหรือผู้เรียนจะอยู่ในที่แห่งใดก็ สามารถเข้าถงึ การศกึ ษาได้ ผู้เรยี นสามารถท่จี ะตดิ ต่อส่อื สาร ปรกึ ษา แลกเปลยี่ นความคิดเห็นแบบเดียวกับการ เรียนในชั้นเรียนทั่วไป โดยการใช้อีเมลแชท โซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ การเรียนรู้แบบออนไลน์จงึ เหมาะสำหรับทุกคน ซึ่งสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา การเรียนรู้แบบออนไลนเ์ ป็นการเรียนที่มีความมีความ ยืดหยนุ่ สงู แตผ่ ู้เรียนจำต้องมคี วามรับผิดชอบในการเรยี นมากกว่าปกติ การจดั การเรียนการสอนในรูปแบบการบรรยายทวั่ ไปเป็นเรอื่ งที่ยากท่ีจะชว่ ยดงึ ดูดความสนใจในการ เรียนรูข้ องผู้เรียน ฉะน้นั บทบาทสำคัญของครูผสู้ อนท่นี อกเหนือจากการเปน็ ผ้ถู า่ ยทอดการเรียนรแู้ ลว้ สิง่ สำคัญ อีกประการหนึ่งคือต้องเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้อีกด้วย มากไปกว่าน้ันคือ สำหรับการเรียนการสอน ภาษาตา่ งประเทศทจ่ี ำเป็นต้องมงุ่ เน้นให้ผู้เรียนมโี อกาสได้ฝกึ ฝนทกั ษะที่หลากหลายทั้งการฟงั พูด อ่าน เขียน โดยหากผู้เรยี นขาดความสนใจหรือขาดการมีส่วนรว่ มปฏิสมั พันธ์กับผู้สอน การเรียนรู้ในครั้งน้ัน ๆ ก็ยากที่จะ ประสบผลสำเร็จ 145

การประชมุ วชิ าการและเผยแพร่ผลงานวจิ ยั คัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตรร์ ะดับชาติ ครั้งท่ี 6 \"ความท้าทายของการจดั การการศกึ ษาใหมห่ ลังวกิ ฤติ COVID-19” วนั ที่ 26 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบนั อุดมศึกษาเอกชนแหง่ ประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการศึกษาเอกสารงานวิจยั พบว่า การสอนโดยใชเ้ กมมีส่วนช่วยใหบ้ ุคคลมีชีวิตอยู่ในโลกด้วยการ อาศัยส่ิงมชี วี ติ อย่ทู ่ามกลางของสถานการณ์ โดยมีการปะทะสมั พนั ธ์ระหว่างบุคคลกับส่งิ ตา่ ง ๆ และบุคคลต่าง ๆ รอบตัวดำเนินอยู่ตลอดเวลา การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคดิ เห็นในเรื่องใด ๆ (John Dewey, 1968 อ้าง ถึงในทิศนา แขมมณี, 2544) ซึ่งจากคำกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า การสอนโดยใช้เกมมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนได้ เรียนรผู้ ่านการมปี ฏิสัมพนั ธ์กับบุคคลและสงิ่ ตา่ ง ๆ ซงึ่ สามารถสะท้อนผ่านการส่ือสารทางภาษาที่เป็นตัวกลาง ในการสนทนาหรอื แสดงความคิดเหน็ โดยการเลน่ เกมชว่ ยให้นักเรียนใช้ภาษาได้ในสถานการณ์ที่มีความหมาย ชว่ ยใหผ้ ูเ้ รียนมีความก้าวหนา้ ในการใชภ้ าษา (สมุ ติ รา องั วฒั นกุล, 2537) ดวงเดอื น ออ่ นน่วม และคณะ (2537) ได้จำแนกประเภทของเกม ไว้ดังน้ี 1) Nonacademic game เป็นเกมทจี่ ัดขนึ้ เพ่อื ความสนกุ สนานเพียงเท่านั้น 2) Academic game เป็นเกมจัดขึ้นเพื่อการเรียนการสอน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 2.1) Simulation game เป็นเกมที่จัดขั้นเพื่อจำลองแบบจากชีวิตจริงหรือความคล้ายคลึงสภาพความเป็นจริงที่สร้างขึ้นเพ่ือ จดุ มุ่งหมายทีจ่ ะนำสถานการณจ์ ำลองไปใช้ในการศึกษา 2.2) None simulation game สรา้ งขนึ้ เพือ่ ใหผ้ ู้เรียน ทเ่ี ปน็ ผูเ้ ลน่ ได้แกไ้ ขปญั หาของบางวิชาท่ไี ม่คอ่ ยเข้าใจ เปน็ การยำ้ ซ้ำ ทวนเพือ่ ใหผ้ ู้เล่นเกิดความเข้าใจและเกิด ทกั ษะในบทเรยี นดี Pinter (1977) ได้ศกึ ษาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนภาษาโดยมุ่งเนน้ ทก่ี ารสะกดคำกับนกั เรยี นจำนวน 94 คน พบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการทดลองของกลุ่มที่ใช้เกมการศึกษามีคะแนนสูงกว่ากลุ่มที่สอนตามตำรา อนภุ าค ดลโสภณ (2540) ไดเ้ ปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาภาษาองั กฤษในด้านการฟัง การพูด การ อ่าน การเขียนของนักเรยี นชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เกมในการสอน พบว่าการฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียนแตกตา่ งกนั อย่างมนี ัยสำคัญทางสถติ ิที่ระดับ .01 ในกลมุ่ ท่สี อนโดยเกมมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนรู้สูง กว่าการสอนตามปกติ ในด้านของการจดจำคำศัพท์ วรรณพร ศิลาขาว (2538) พบว่าผลสัมฤทธิ์และความ คงทนในการเรยี นรู้คำศัพท์ของผู้เรียนท่ีเรียนโดยใชแ้ บบฝกึ หัดท่ีมีเกม และไมม่ เี กมประกอบ กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ผลการวิจยั พบว่านักเรียนทเ่ี รียนจากการสอนโดยใช้แบบฝึกหัดทมี่ ีเกมประกอบกับนกั เรียนที่เรยี นจากการสอน โดยใช้แบบฝึกหดั ทไี่ ม่มีเกมประกอบ มีผลสัมฤทธ์ทิ างการเรียนร้คู ำศัพท์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่ี ระดับ .01 ซึ่งนักเรียนกลุ่มที่เรียนจากการสอนโดยใช้แบบฝึกหัดที่มีเกมประกอบมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงกว่า จากที่ กล่าวมาข้างตน้ จะเหน็ ได้ว่าการสอนโดยใช้เกมสามารถช่วยในการเรียนรูภ้ าษาของผู้เรยี นทง้ั ในด้านการฟัง พูด อ่านเขียน รวมไปถึงการจดจำคำศพั ท์ ฉะนั้นจึงเป็นที่มาของการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในรายวิชาอบรมการสอบวัดระดับความรู้ ภาษาจีนระดับท่ี 2 (HSK 2) ผ่านการสอนโดยใช้เกม ซึ่งการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนระดับที่ 2 (HSK 2) เปน็ การสอบวัดระดบั ความร้ภู าษาจนี ระดับสากล เป็นการสอบในระดับทีว่ ดั ด้านทกั ษะการฟังและการอ่านของ ผู้เรียนระดับต้น ซึ่งเทียบเท่ากับกรอบมาตรฐานสากลที่ใช้วัดระดับความเชี่ยวชาญทางภาษา ( Common European Framework of Reference for Languages: CEFR) ระดับต้น (A2) โดยเป็นเนื้อหาการใช้ ภาษาจีนในประโยคง่าย ๆ ทใ่ี ชบ้ ่อยเกย่ี วกบั สิง่ รอบตวั การส่อื สารในชีวิตประจำวนั และเรียนรู้คำศัพท์มาแล้ว 146

การประชมุ วิชาการและเผยแพร่ผลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดบั ชาติ ครง้ั ท่ี 6 \"ความท้าทายของการจดั การการศึกษาใหม่หลงั วิกฤติ COVID-19” วันท่ี 26 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จัดโดยคณะอนุกรรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอดุ มศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อย่างนอ้ ย 300 คำ โดยเน้ือหาของการจดั การเรียนออนไลนโ์ ดยใชเ้ กมเปน็ ฐานน้ปี ระกอบด้วย การทักทาย วนั ท่ี ความตอ้ งการ การซื้อของ สภาพอากาศ การคมนาคม การสอบถาม และการท่องเท่ยี ว แนวคดิ ท่เี กีย่ วขอ้ งกับการสอนโดยใช้เกมการศึกษา เกมการศึกษา หมายถึง เกมการเล่นที่ชว่ ยพัฒนาสตปิ ัญญามกี ฎเกณฑ์กติกางา่ ย ๆ โดยผู้เรียนสามารถเล่น คนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้ มีส่วนช่วยให้ผู้เรียนรูจ้ ักสังเกต คิดหาเหตุผลและเกดิ ความคดิ รวบยอด โดยใช้กิจกรรม การเลน่ หรือการแขง่ ขนั เพ่ือการเรียนรู้ มีความเปน็ ระบบ และถกู กำหนดจุดมุ่งหมาย กฎเกณฑ์ กตกิ า ผู้เล่น วิธีการ เลน่ การตดั สินผลการเล่นเปน็ แพ้ หรอื ชนะ การนำเกมมาประกอบการสอนจะชว่ ยทำให้ห้องเรียนมีชีวติ ชีวา บทเรียน นั้น ๆ น่าสนใจไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ก่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธกิ าร, 2546; มณฑาทิพย์ อัตตปัญโญ, 2542; Salen & Zimmerman, 2003) ดวงเดือน อ่อนน่วม และคณะ (2537) ได้จำแนก ประเภทของเกมไว้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1) Nonacademic game เปน็ เกมทจ่ี ดั ขน้ึ เพ่อื ความสนกุ สนานเพยี งเท่าน้ัน 2) Academic game เป็นเกมจัดขึ้นเพื่อการเรียนการสอน ซ่ึงข้อดีของการใช้เกมคอื 1) ช่วยให้ผู้เรยี นที่มปี ัญหาเบื่อ หน่ายการเรียนหันมาสนใจการเรียนมากขึ้น 2) ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการควบคุมตนเองเปลี่ยนจากผู้รับเป็นผู้มี ความสามารถในการตดั สินใจด้วยตนเองได้ 3) ส่งเสรมิ ให้ผเู้ รยี นมปี ฏสิ ัมพันธ์ทางสังคมกระตนุ้ ใหเ้ กิดความร่วมมือการ ปรึกษาหารือ (สคุ นธ์ สินธพานนท์ และคณะ, 2545: 162) Plass et al. (2015) ได้กล่าวถึงแนวคิดที่ใช้ออกแบบการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานที่แสดงถึงรายละเอียด องค์ประกอบสำคัญด้านความยึดมั่นผูกพันที่มีส่วนสำคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของผูเ้ รียน โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน สำคัญ คือ ความยึดมั่นผูกพันเชิงอารมณ์ (Affective Engagement), ความยึดมั่นผูกพันเชิงพฤติกรรม (Behavioral Engagement), ความยึดมั่นผูกพันเชิงการรู้คิด (Cognitive Engagement), ความยึดมั่นผูกพันเชิงสังคม (Social/Cultural Engagement) 147

การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวิชาศึกษาศาสตรร์ ะดับชาติ คร้งั ท่ี 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศึกษาใหม่หลังวิกฤติ COVID-19” วนั ที่ 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนุกรรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอดุ มศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถมั ภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ภาพท่ี 1 องค์ประกอบการจัดการเรยี นรู้โดยใช้เกมเปน็ ฐาน อา้ งองิ จาก “Foundations of Game-Based Learning,” by J. L. Plass , B. D. Homer, and C. K. Kinzer, 2015, Educational Psychologist, 50(4), 258-283. จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการสอนโดยใช้เกมมีส่วนช่วยสำคัญทั้งทางด้านเจตคติ พฤติกรรม ความรู้ รวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม สามารถออกแบบการนำเสนอให้ผู้เรียนเกิดอารมณ์ร่วมและเกิดพฤติกรรมท่ี คาดหวัง มีแรงจงู ใจและเป้าหมายในการทำกจิ กรรม เกดิ การเสริมแรงตอ่ การเรยี นรูผ้ า่ นการให้ข้อมูลสะท้อนกลับและ การมปี ฏสิ มั พนั ธ์ระหว่างการรว่ มกิจกรรม วตั ถุประสงค์การวจิ ยั เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนระดับที่ 2 ของนักเรียนระดับ ประกาศนยี บตั รวชิ าชพี ระหวา่ งก่อนเรียนและหลังเรยี นโดยใชก้ ารจดั การเรียนการสอนออนไลนท์ ่ีใช้เกมเปน็ ฐาน สมมติฐานการวิจัย นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่เรียนออนไลน์โดยใช้เกมเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบวัด ระดบั ความรู้ภาษาจีนระดับท่ี 2 สูงกว่ากอ่ นเรยี นอยา่ งมนี ยั สำคญั ทางสถิตทิ ีร่ ะดับ .05 วธิ ีดำเนนิ การวิจยั 1. กลุม่ เป้าหมาย คอื นกั เรยี นระดบั ประกาศนียบัตรวิชาชพี ช้นั ปีท่ี 3 สาขาธรุ กจิ คา้ ปลกี วิทยาลัยเทคโนโลยี ปญั ญาภวิ ฒั น์ จำนวน 236 คน 2. เคร่ืองมือทีใ่ ช้ในการวจิ ยั 2.1 แผนการจดั การเรียนร้โู ดยใชเ้ กมเปน็ ฐาน เพ่อื ทดสอบวดั ระดับความรู้ภาษาจนี ระดับที่ 2 (HSK 2) 2.2 แบบทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนระดับที่ 2 (HSK 2) เสมือนจรงิ การฟัง 25 ขอ้ การอ่าน 25 ขอ้ รวม 50 ขอ้ 3. ข้นั ตอนการดำเนินงานวิจยั 3.1 การศึกษาทฤษฎีหรอื เอกสารท่เี กี่ยวขอ้ งกับการเรียนการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน 3.2 การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เพื่อทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน ระดบั ท่ี 2 (HSK 2) โดยมผี เู้ ชี่ยวชาญตรวจสอบและให้คำปรกึ ษา 3.3 การทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนระดับที่ 2 (HSK 2) ระยะก่อนเรียน (Pretest) โดย แบบทดสอบทใ่ี ช้เป็นแบบทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจนี ระดับสากล 3.4 การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ทำการสอนผ่านโปรแกรม ZOOM Meeting ในทุกวัน พฤหัสบดี เวลา 8.00 น. - 10.00 น. ระหว่างวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ถึง 23 ธันวาคม 2564 ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ช่วั โมง รวมท้ังสนิ้ 16 ช่ัวโมง โดยผ้วู จิ ยั ออกแบบแผนจดั การเรียนรโู้ ดยใช้เกมเปน็ ฐานในช่วง 148

การประชุมวิชาการและเผยแพรผ่ ลงานวจิ ัยคดั สรร สาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์ระดบั ชาติ ครั้งท่ี 6 \"ความท้าทายของการจัดการการศกึ ษาใหมห่ ลงั วิกฤติ COVID-19” วนั ที่ 26 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2565 ณ Eco Cozy Beachfront Resort Cha-am, Phetchaburi Province จดั โดยคณะอนกุ รรมการสาขาวชิ าศกึ ษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศกึ ษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขั้นฝึกปฏิบัติทางภาษา (Practice) หรือขั้นการใช้ภาษา (Production) ใน 1 ชั่วโมงสุดท้ายของทุกสัปดาห์ โดยแผนการจัดการเรียนรมู้ ีรายละเอียดดงั ตอ่ ไปน้ี ตารางท่ี 1 รายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้ สปั ดาหท์ ่ี เน้อื หา วัน/เดือน/ปี เวลา ระยะเวลา กจิ กรรม (เกม) การทักทาย 1 4 พฤศจิกายน 2564 8.00 - 10.00 น. 2 ชว่ั โมง เกมทกั ทายกับ Kahoot (打招呼) 2 วนั ที่ 11 พฤศจกิ ายน 2564 8.00 - 10.00 น. 2 ชั่วโมง เกมวนั ทีก่ บั Bamboozle (日期) 18 พฤศจกิ ายน 2564 8.00 - 10.00 น. 2 ช่วั โมง เกมสอ่ื ความตอ้ งการกับ Quizlet 3 ความต้องการ (意愿) 25 พฤศจิกายน 2564 8.00 - 10.00 น. 2 ชั่วโมง เกมเปิดแผน่ ป้ายซือ้ ของ 4 การซ้ือของ (购物) 2 ธนั วาคม 2564 8.00 - 10.00 น. 2 ชว่ั โมง เกมถามตอบสภาพอากาศ 5 สภาพอากาศ (天气) 9 ธันวาคม 2564 8.00 - 10.00 น. 2 ชั่วโมง เกมถามตอบการคมนาคม 6 การคมนาคม (交通) 16 ธนั วาคม 2564 8.00 - 10.00 น. 2 ชั่วโมง เกมแตง่ ประโยคกบั 7 การสอบถาม 23 ธนั วาคม 2564 8.00 - 10.00 น. 2 ชว่ั โมง Myfreebingocards (询问) 8 การทอ่ งเท่ียว เกมหาคำศพั ท์การท่องเทย่ี ว (旅游) 3.5 การทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนระดับที่ 2 (HSK 2) ระยะหลังเรียน (Posttest) โดย แบบทดสอบท่ใี ชเ้ ปน็ แบบทดสอบชดุ เดียวกบั ระยะก่อนเรยี น 3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean: X) และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) ของคะแนนการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนระดบั ที่ 2 (HSK 2) ระยะก่อนและหลังเรยี น และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลีย่ คะแนนระยะก่อนและหลังการเรียนโดย ทดสอบค่าที (t-test dependent) สรุปผลการวจิ ยั ผลของการจดั การเรียนการสอนออนไลนโ์ ดยใช้เกมเป็นฐานทมี่ ีผลตอ่ ผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบวัดระดบั ความรภู้ าษาจีนระดับท่ี 2 ของนักเรียนระดบั ประกาศนยี บตั รวิชาชีพ พบวา่ 149


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook