Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore จิตวิทยาพัฒนาตนในสังคมยุคใหม่

จิตวิทยาพัฒนาตนในสังคมยุคใหม่

Published by kolratnara.dear, 2022-09-30 08:29:46

Description: จิตวิทยาพัฒนาตนในสังคมยุคใหม่

Search

Read the Text Version

263 1.1.1.2 เดนไดร์ท (Dendrites) เป็นแขนงของเซลล์ประสาท มีขนาดสั้น แตกแขนงมากมายคล้ายรากไม้ และขนาดไม่สมํ่าเสมอกัน ส่วนปลายของเดนไดร์ทบางแห่งเป็นตุ่ม เล็กๆ ย่ืนออกมา ซึ่งเป็นที่ไซแนปส์ของแอกซอน (Axon terminal) เซลล์ประสาทตัวหนึ่งมีเดรไดร์ท ได้มากกวา่ 1 อนั เดนไดร์ทมีหน้าที่นาํ กระแสประสาทเขา้ สู่เซลล์ประสาท 1.1.1.3 แอกซอน (Axon) เป็นแขนงของเซลล์ประสาท ซ่ึงยาวกว่า เดนไดร์ทมากมีขนาดสม่ําเสมอ แต่เลก็ กวา่ เดนไดร์ท ขนาดและความยาวของแอกซอนข้ึนกับชนิดของ เซลล์ประสาท เซลล์ประสาทตัวหนึ่งมีแอกซอนได้ 1 อันเท่านั้น ปลายแอกซอนจะแตกเป็นแขนง แต่ละแขนงจะมีตุ่ม (endbulb) ไปแตะกับเซลล์ประสาทตัวอ่ืนหรืออวัยวะแสดงความรู้สึก แอกซอน ทําหน้าท่ีส่งกระแสประสาทออกจากเซลล์ แอกซอนมักมีไมอีลีนชีท (myelinsheath) หุ้มอยู่ แต่การห้มุ นนั้ ห้มุ ไม่ตลอด มกี ารเว้นระยะทาํ ให้เกิด รอ่ งเรยี กวา่ Node of Ranvier ภาพท่ี 69 แสดงภาพไซแนปส์ (Synapse) (ท่มี า https://www.google.co.th/search 29 กนั ยายน 2559) 1.1.1.4 ไซแนปส์ (Synapse) เปน็ ชอ่ งว่างเพยี งเล็กนอ้ ยระหว่างปลาย แอกซอนของเซลล์ประสาทตัวหนงึ่ ท่ีจะสมั ผสั เดนไดร์ท หรอื เซลลป์ ระสาทตวั อ่ืน เพอ่ื ส่งกระแส ประสาทไปยังเซลลอ์ ืน่ ๆ ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ประกอบดว้ ย สมอง (Brain) และไขสนั หลัง (Spinal cord) เปน็ โครงสรา้ งท่สี าํ คญั ของระบบประสาทสว่ นกลางทค่ี วบคมุ พฤติกรรม

264 ของรา่ งกายมนษุ ยท์ งั้ หมด มกี ารทาํ งานทีม่ คี วามย่งุ ยากและสลบั ซับซอ้ นมาก โดยขอเสนอรายละเอยี ด ดงั ตอ่ ไปนี้ (ศันสนยี ์ ตนั ตวิ ิท,2547 : 44-47) 1.2 ไขสนั หลงั ไขสันหลัง (Spinal cord) อวัยวะที่มลี ักษณะเปน็ ท่อยาวผอม ซง่ึ มีเน้ือเย่ือ ประสาทเป็นส่วนประกอบสําคญั อนั ไดแ้ ก่ เซลลป์ ระสาท (neuron) และ เซลลเ์ กลยี (glia) หรอื เซลล์ ที่ช่วยคํ้าจุนเซลล์ประสาท ซึ่งไขสันหลังจะเป็นส่วนท่ียาวต่อลงมาจากสมอง (brain) สมองและ ไขสนั หลงั จะรวมกันเป็นระบบประสาทสว่ นกลาง (central nervous system) 1.2.1 หน้าทห่ี ลกั ของไขสนั หลงั คอื 1.2.1.1 การถา่ ยทอดกระแสประสาท (neural signals) ระหว่างสมอง และส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นทางผ่านของกระแสประสาทข้ึนและลงจากสมอง ถา้ ผา่ ตดั ตามขวางดู ไขสันหลงั จะแบ่งออกเป็น 2 ช้นั เห็นไดช้ ัด ชั้นใน รปู ร่างคล้ายผีเสือ้ เป็นสเี ทาประกอบดว้ ยเซลล์บอดี้ ของเซลล์ประสาท ชัน้ นอก เป็นสีขาวประกอบดว้ ยมดั ของแอกซอนและเดนไดร์ททเี่ ปน็ สีขาวเนอื่ งจาก ไขมนั เดนไดร์ทท่อี ยู่ในชั้นสเี ทาไม่มีไขมัน ช้นั สีเทาประกอบขึ้นด้วยขาสองข้าง ทางดา้ นหลัง (dorsal) และอกี สองข้างทางด้านหน้า (ventral) ทางดา้ นหนา้ ประกอบดว้ ย เซลล์บอด้ี ของเซลลป์ ระสาทสงั่ งานซ่ึงแอกซอนจะออกไปยังกล้ามเนอ้ื ส่วนเซลล์ประสาทรับความรสู้ กึ จะส่งเข้า ทางหลัง สําหรับแอกซอนและเดนไดร์ทของช้ันสีขาวแบ่งเป็นมัดๆ ทําหน้าที่ส่งกระแสประสาทไป สมอง และนํากระแสประสาทจากสมองไปยงั อวยั วะตอบสนอง 1.2.1.2 ศูนย์กลางของปฏกิ ิรยิ ารรีเฟลก็ ซ์ การเกดิ รีเฟลก็ ซ์ (reflex) การตอบสนองตอ่ ตัวกระตุ้นสว่ นใหญ่อยทู่ กี่ ลา้ มเนอื้ ภายใต้อทิ ธิพลของสมอง มกี ารตอบสนองบางอยา่ งที่ ไมอ่ ย่ภู ายใตค้ าํ ส่งั ของสมอง เปน็ ความสามารถของเสน้ ประสาทท่จี ะตอบสนองตอ่ ตัวกระตุ้นได้อยา่ ง ง่ายๆ โดยกระแสประสาทไหลผา่ นเสน้ ประสาทรบั ความร้สู ึกเข้าส่ไู ขสันหลงั แล้ว คาํ สง่ั จะผ่านออกมา ทางเส้นประสาทสัง่ งานทนั ที กรรมวิธงี า่ ยๆ ของการทํางานของระบบประสาทนี้ เรยี กวา่ “รีเฟลกซ”์ ยกตัวอยา่ งเช่น ถ้าบุคคลบงั เอญิ เหยียบของมคี มหรอื ของแหลมเข้าบคุ คลนั้นจะรบี ยกเท้าขน้ึ ทันทโี ดย ทม่ี ไิ ด้ตดั สินใจ รีเฟลก็ ซ์เหลา่ นี้เกดิ ข้นึ นับแตเ่ ราเกดิ มาในโลก การทํางานของร่างกายมนษุ ย์สว่ นมาก อาศัยกรรมวิธีนีแ้ ม้กระทั่งการทรงตวั Summation ตวั กระตุน้ ที่ออ่ นมากๆ ไมส่ ามารถทําให้เกดิ การตอบสนอง ได้ แตถ่ า้ กระตุน้ ซาํ้ แล้วซาํ้ อกี การตอบสนองก็สามารถเกิดขน้ึ ได้เช่นเดยี ว เนื่องจากวา่ การกระต้นุ ซํา้ ๆ จะทาํ ให้เกิดผลรวมของความรู้สึกข้ึนมา ทําให้เส้นประสาทสั่งงานถูกกระตุ้นเป็นสาเหตุทําให้เกิด ตอบสนอง เราเรยี กวา่ เปน็ Temporal summation ส่วน summation อกี แบบหน่ึง เรยี ก Spatial summation คอื ตําแหน่งทีใ่ กลเ้ คียงกันบนผวิ หนัง 2 จุด ถา้ กระต้นุ แต่ละจุดไมส่ ามารถทาํ ให้เกดิ

265 การตอบสนองได้ แต่ถ้ากระตุ้นพร้อมกนั 2 จดุ กจ็ ะเกิดรีเฟล็กซไ์ ด้ เพราะแม้วา่ จะเป็นจดุ ท่ตี ่างกันแต่ ใยประสาทจากทตี่ ่างๆ เกดิ มารวมกนั ทําให้ตวั กระต้นุ น้นั แรงข้ึน Spatial summation นี้ เปน็ หลกั ฐาน ที่แสดงใหเ้ ห็นวา่ เสน้ ประสาทจะรบั เอากระแสประสาทจากใยประสาทรบั ความรสู้ กึ หลายๆ เสน้ มา รวมกนั เพอื่ ไปกระตนุ้ เสน้ ประสาทท่ีจะออกไปตอบสนองเพยี งเส้นเดียว ภาพท่ี 70 แสดงภาพปฏกิ ิรยิ ารเี ฟล็กซ์ (ท่มี า https://www.google.co.th/search 29 กนั ยายน 2559) 1.2.2 ระบบการกระจายของไขสนั หลงั การกระจายของไขสนั หลงั เกดิ ขึน้ ในตัวเสน้ ประสาทรบั ความรสู้ กึ เปน็ ตวั กระจายก่อนแล้วจงึ เข้าส่ไู ขสันหลังปล้องขา้ งเคียงแลว้ กระจายไปทั่วทกุ สว่ นของไขสันหลัง จาก ขบวนการน้ี กระแสประสาทจากเส้นประสาทรับความรู้สึกเพียงเส้นเดียวสามารถกระจายไปยัง กลา้ มเนอ้ื ต่างๆ ได้เปน็ ผลใหเ้ กดิ การตอบสนองได้อยา่ งมากมาย การกระจายแบบน้เี รยี ก Divergence แต่ถ้ากระแสประสาทจากเส้นประสาทรับความรู้สึกหลายๆ เส้นสามารถรวมกันตอบสนองรวมกัน ตอบสนองเปน็ อยา่ งเดียวเรยี ก convergence หมายถึง กล้ามเนอ้ื มัดเดียวกนั สามารถรเี ฟล็กซไ์ ด้ ตา่ งๆกัน (ศนั สนีย์ ตนั ติวทิ ,2547 : 46)

266 ภาพที่ 71 แสดงภาพ Temporal และ Spatial summation (ที่มา https://www.google.co.th/search 29 กนั ยายน 2559) ภาพที่ 72 แสดงภาพวงจรการกระตนุ้ ภายใน (ท่ีมา ศนั สนีย์ ตันตวิ ิท,2547 : 48)

267 หน้าท่ีอีกอย่างหน่ึงของระบบการกระจายของไขสันหลัง คือ การยืด การตอบสนองไปไดโ้ ดยปราศจากตวั กระตุ้น (Prolongation of excitation) เกดิ ขึ้นเนื่องจากเป็น วงจรการกระตุ้นภายใน (Self exciting circuit) ของเสน้ ประสาท เชน่ เมอ่ื เส้นประสาทเสน้ หนึ่งถูก กระต้นุ กระแสประสาทจะผ่านไปยังเส้นประสาทส่งั งานและกลา้ มเนอ้ื นอกจากนแ้ี ลว้ ยงั กระจายไปยัง แขนงอ่นื อีกด้วย ซึง่ แขนงนจ้ี ะไปตอ่ อยู่กับเส้นประสาทเสน้ ท่ีสองและกระตุ้นตอ่ ๆไป เสน้ ประสาท เหล่าน้ีจะส่งกระแสประสาทกลับไปยงั เสน้ ประสาทเรมิ่ แรกที่ถกู กระตนุ้ เทา่ กับเป็นการกระตุ้นซ้ําอีก เป็นครงั้ ที่สอง ซงึ่ ปรากฏการณ์นี้เกดิ ข้ึนได้หลายตอ่ หลายครง้ั ซาํ้ แลว้ ซา้ํ อีกโดยตัวกระต้นุ ครง้ั เดียว ดงั น้ันแมว้ า่ จะมีการกระตุ้นเพียงช่ัวขณะหนึ่งแลว้ หยดุ ก็สามารถมกี ารตอบสนองต่อไปโดยปราศจาก ตวั กระต้นุ ซ่ึงการตอบสนองแบบน้ีจะเกิดขึน้ ไมไ่ ด้ ในส่วนทม่ี ีเสน้ ประสาทเพียง 2 เสน้ ต้องมีต้ังแต่ 3 เสน้ ข้นึ ไป และนกั สรรี วทิ ยาจาํ นวนมากเช่ือวา่ วงจรการกระต้นุ ภายในที่เกดิ ข้ึนในสมองนน้ั สามารถ เอามาอธิบายเก่ียวกับความคดิ ได้ (ศนั สนีย์ ตนั ติวทิ ,2547 : 47) 1.2.3 โครงสร้าง ในการถ่ายทอดขอ้ มูลระหวา่ งสมองและระบบประสาทนอก ส่วนกลาง (peripheral nervous system) ไขสนั หลงั มคี วามยาวน้อยกว่ากระดูกสนั หลงั ที่ห่อห้มุ มนั อยู่ โดยจะยาวต่อออกมาจากสมองสว่ นเมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) ซึง่ เปน็ สว่ นหน่งึ ของกา้ นสมองและยาวต่อไปถึงโครงสร้างทเ่ี รยี กวา่ “โคนสั เมดลั ลารสิ ” (conus medullaris) ซึง่ อยู่ บรเิ วณกระดกู สนั หลงั ส่วนเอว (lumbar vertebrae) และส้นิ สุดกลายเป็นโครงสรา้ งที่มีลกั ษณะเปน็ เสน้ ใยเล็กๆท่เี รยี กว่า “ไฟลมั เทอรม์ ินาเล” (filum terminale) ไขสนั หลงั มคี วามยาวประมาณ 45 เซนตเิ มตรในผชู้ าย และ 43 เซนตเิ มตรในผหู้ ญงิ มีภาคตัดเป็นรูปวงรี และมีการปอ่ งออกทบี่ ริเวณคอ และเอว เมอ่ื ดใู นภาคตัดขวาง บรเิ วณรอบนอกของไขสนั หลงั จะมีสีออ่ นกว่าท่ีเรยี กว่า “เนอื้ ขาว” (white matter) ซ่ึงเน้อื ขาวเป็นบริเวณที่มเี ส้นใยประสาทท่ีงอกออกมาจากตัวเซลล์ประสาท อนั ได้แก่ เซลลป์ ระสาทรบั ความรสู้ กึ (sensory Neuron) เซลลป์ ระสาทสง่ั การ (motor neuron) และเซลล์ ประสาทเชื่อมข้อมูลภายในระบบประสาทส่วนกลางที่เรียกว่า “เซลล์ประสาทประสานงาน” (interneuron) ในสว่ นกลางถัดเขา้ ไปจากบริเวณเนอ้ื ขาว คือ บรเิ วณท่ีมสี ีเข้มกว่า เรยี กวา่ “เน้อื เทา” (gray matter) ซ่งึ มลี ักษณะคลา้ ยปกี ผเี สอ้ื ไขสันหลงั ถกู ปกคลุมดว้ ยเนื้อเยือ่ เปน็ แผน่ ๆ อยสู่ ามชนั้ เรยี กวา่ “เย่อื หุม้ สมอง” (meninges) ไล่จากชัน้ นอกสุดไปสชู่ ั้นในสุด ได้แก่ เย่อื ดูรา (dura mater), เยอื่ อะแร็กนอยด์ (arachnoid mater), และเยอ่ื เพยี (pia mater) ซง่ึ เนอ้ื เยื่อเหล่านี้ คือ เนอื้ เยื่อ เดียวกันต่อเนื่องกับท่ีปกคลุมสมอง น้ําหล่อสมองไขสันหลังจะพบได้ในชั้น ช่องใต้เย่ืออะแร็กนอยด์ (subarachnoid space) ซงึ่ เปน็ ชว่ งว่างระหว่างเยอ่ื อะแร็กนอยด์และเย่ือเพยี ไขสันหลงั ถูกตรึงให้อยู่ กับทโ่ี ดยการช่วยยึดโดยเอ็นท่เี รยี กวา่ “เดนทคิ วิ เลท ลกิ าเมนต”์ (denticulate ligaments)

268 ภาพท่ี 73 แสดงภาพไขสันหลัง (ที่มา http://www.daviddarling.info/encyclopedia/S/spinal_cord 16 ตลุ าคม 2559)

269 1.2.4 ปล้องของไขสันหลัง ไขสันหลังของมนุษย์แบ่งออกเป็น 31 ปล้อง (segments) ในแต่ละปล้องจะมคี ู่ของเสน้ ประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) ออกมาจากดา้ นซา้ ย- ขวา ซึง่ เสน้ ประสาทเหล่านี้ เป็นเส้นประสาททม่ี ีเสน้ ใยประสาทแบบผสม คือมีท้ังสว่ นที่รบั ความรูส้ กึ และสั่งการ รากเล็กๆ ของประสาทส่งั การ (motor nerve rootlets) 6–8 เส้น จะงอกออกมาอย่าง สม่าํ เสมอจากแตล่ ะข้างของร่องดา้ นท้องร่วมดา้ นขา้ ง (ventro lateral sulci; ร่องของไขสันหลังทอ่ี ยู่ ดา้ นท้องและคอ่ นมาดา้ นขา้ งทั้งสองขา้ งของไขสนั หลัง) รากประสาทเสน้ เลก็ ๆจะรวมตวั กันเปน็ รากอนั ใหญ่ เรียกวา่ “รากประสาท” ในมนษุ ยจ์ ะมเี สน้ ประสาทไขสนั หลงั 31 คู่ และท่อนส่วนไขสันหลัง 31 ทอ่ น (ทัง้ นหี้ นังสอื บางเลม่ อาจกลา่ ววา่ มี 26 ท่อน เพราะนับระดบั กระเบนเหนบ็ เป็น 1 ทอ่ น) โดย แบง่ เป็น (http://www.daviddarling.info/encyclopedia/S/spinal_cord 16 ตุลาคม 2559) 8 ปลอ้ งส่วนคอ (cervical segments) ให้เส้นประสาทไขสนั หลงั ส่วน คอ (cervical nerves) 8 คู่ (เสน้ ประสาทไขสันหลงั C1 ออกจากไขสันหลงั ระหวา่ งกะโหลกศีรษะ สว่ น ทา้ ยทอย และกระดูกสนั หลงั ส่วนคอชน้ิ ท่ี 1 สว่ นเสน้ ประสาท C2 ออกมาระหว่างโคง้ ด้านหลัง (posterior arch) ของกระดูกสันหลังระดบั C1 และแผน่ กระดกู ปกไขสนั หลังของกระดูกสันหลัง ระดบั C2 สว่ นเสน้ ประสาท C3-C8 ออกผ่านชอ่ งระหว่างกระดกู สันหลังเหนอื กระดูกสันหลงั ทมี่ ชี ือ่ ระดบั เดยี วกนั เวน้ คู่ C8 ท่ีออกทางช่องระหวา่ งกระดูกสันหลงั C7 และ T1 12 ปล้องส่วนอก (thoracic segments) ให้เส้นประสาทไขสันหลงั ส่วน ปก 12 คู่ (ออกผา่ นชอ่ งระหวา่ งกระดูกสันหลงั ใตก้ ระดกู สนั หลงั ท่ีมชี ื่อระดบั เดยี วกัน คือ T1-T12) 5 ปล้องสว่ นบน้ั เอว (lumbar segments) ให้เส้นประสาทไขสนั หลงั สว่ น เอว 5 คู่ (ออกผ่านชอ่ งระหว่างกระดูกสันหลงั ใต้กระดกู สนั หลังที่มีชือ่ ระดบั เดยี วกัน คอื L1-L5) 5 (หรือ 1) ปล้องส่วนกระเบนเหน็บ (sacral segments) ให้ เสน้ ประสาทไขสันหลงั ส่วนกระเบนเหน็บ 5 คู่ (ออกผ่านช่องระหว่างกระดกู สันหลังใต้กระดูกสนั หลงั ท่ีมชี ่อื ระดับเดียวกัน คือ S1-S5) 1 ปลอ้ งสว่ นก้นกบ (coccygeal segment) ใหเ้ สน้ ประสาทไขสนั หลงั ส่วนก้นกบ 1 คู่ ออกผ่านช่องกระดกู กน้ กบ (sacral hiatus) (http://th.wikipedia.org/wiki 24 ตุลาคม 2559) 1.2.5 เส้นประสาทไขสันหลงั (Spinal nerve) ทกุ เสน้ เป็นเซลลป์ ระสาทผสม คือ เป็นทั้งรับความรสู้ กึ และสง่ั งาน ในมนุษย์มีจุดเร่ิมต้นจากไขสันหลังมี 31 คู่ แต่จะเสน้ จะไปเล้ียงท่ี อวยั วะรบั ความรู้สึกและอวัยวะตอบสนองของร่างกาย เซลลป์ ระสาทแต่ละเส้นจะออกจากไขสันหลงั เป็น 2 ขา แล้วมารวมกนั เป็นเส้นประสาทไขสนั หลงั เส้นประสาทรับความร้สู ึกทกุ เส้นเข้าไขสันหลัง ทางดา้ นหลังและเส้นประสาทสั่งงานทกุ เสน้ ออกจากไขสันหลงั ทางดา้ นหน้า ดงั นนั้ ถ้าหากด้านหลัง

270 ของไขสนั หลงั ถูกทําลายร่างกายจะไม่มคี วามรู้สกึ แตไ่ มเ่ ปน็ อมั พาต แตถ่ ้าหากด้านหน้าถกู ทาํ ลายร่างกาย จะเป็นอมั พาตแต่ยังรบั ความร้สู ึกได้ ภาพที่ 74 แสดงภาพสมอง (ทีม่ า https://www.google.co.th/search 29 กนั ยายน 2559) 1.3 สมอง สมองของมนุษยเ์ ป็นอวยั วะสีน้าํ ตาลแดง นํ้าหนัก 1.4 กโิ ลกรัม ประกอบไปดว้ ย เซลลป์ ระสาท 50-200 พนั ลา้ นเซลล์ เซลลป์ ระสาทแต่ละเส้นสามารถส่งข่าวไปยังเซลล์ท่อี ยู่ใกลห้ รือ ห่างออกไปได้โดยการทาํ งานท่ีค่อนข้างซับซ้อน วิถีทางของกระแสประสาทที่ว่ิงผ่านไปในสมอง กอ่ ใหเ้ กิดความร้สู กึ นึกคดิ ความคิด การเรียนรู้ และกริ ยิ าท่าทางของร่างกาย การที่มนษุ ยเ์ หนอื สัตว์ สบื เน่ืองมาจากมนุษยม์ ีความสามารถในการกระทํา ในการคิดและในการวางแผนงาน รู้จกั ใช้เครอ่ื งมือ ใหเ้ ปน็ ประโยชน์ในการแก้ปัญหาต่างๆและตอบสนองตอ่ ความต้องการได้ ความสามารถเหลา่ นี้เกดิ ขน้ึ จากสมองและระบบประสาทเป็นผู้กระทาํ ดว้ ยขบวนการทีค่ อ่ นขา้ งสลับซบั ซอ้ นซึ่งไมพ่ บในสตั วช์ ้ันตํา่ สมองถอื วา่ เป็นอวัยวะทไี่ ดร้ ับสิทธพิ เิ ศษมาก เพราะแมว้ า่ สมองจะมนี ํา้ หนักเพยี ง 2 เปอรเ์ ซ็นตข์ อง นาํ้ หนกั ตัว แตส่ มองต้องใช้ออกซเิ จนไปเลย้ี งร่างกาย 20 เปอรเ์ ซ็นต์ (ศนั สนีย์ ตันติวทิ ,2547: 48-49)

271 1.3.1 พัฒนาการของสมอง สมองมกี ารพัฒนาการอย่างน่าอศั จรรย์ยิง่ สมองเรมิ่ มกี ารพัฒนาตงั้ แต่ เราอยใู่ นทอ้ งแม่ โดยทกุ ๆ นาที ที่เราอยู่ในครรภม์ ารดาจะมกี ารเพ่ิมขึน้ ของเซลล์ระบบประสาทสมอง ถงึ 200,000-300,000 เซลล์ จนเมอ่ื เราคลอดออกมาจะมีเซลลส์ มองแทบทัง้ หมดแลว้ เมื่อเทียบกับใน วัยผูใ้ หญ่ สมองยงั คงมีการเติบโตได้อกี มากในช่วงแรกของชวี ิต ประมาณกันว่าเม่ือเราอายไุ ด้ 2-3 ขวบ สมองของเราจะมขี นาดประมาณ 80% ของผ้ใู หญ่ แตใ่ นชว่ งหลังจากนแี้ ม้วา่ สมองอาจจะมกี ารเตบิ โต ไดอ้ กี แตส่ ว่ นของสมองทีโ่ ตขนึ้ นัน้ หาใช่เซลลป์ ระสาทเปน็ ส่วนใหญ่ไมแ่ ตก่ ลับเปน็ เน้อื เย่ือเกี่ยวพนั ท่ี เราเรยี กกนั วา่ Glial cells ที่จะทําหนา้ ทค่ี ลา้ ยๆ กบั โครงขา่ ยของเซลลส์ มอง ซึง่ จะมกี ารแบง่ ตวั มาก ข้นึ เร่อื ยๆ จนเราโตเตม็ วัย (ประมาณกนั วา่ ถึงอายุ 3 ขวบ) (http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Thinking_is.htm 5 ตุลาคม 2559) ภาพท่ี 75 แสดงภาพพฒั นาการของสมองของสตั ว์ประเภทตา่ งๆ (ทีม่ า https://www.google.co.th/search 29 กันยายน 2559)

272 สมองจะมีการเพ่ิมจํานวนของเซลลส์ มองเกบ็ เต็มทปี่ ระมาณ “หนง่ึ รอ้ ยพันลา้ น เซลล”์ โดยสมองจะมีนาํ้ หนกั ประมาณ 1 กก. (ในขณะทีเ่ มอื่ เราโตเตม็ วัยสมองจะมีนํา้ หนักเพมิ่ ขน้ึ อกี เพยี งประมาณ 500 กรัม) จะเหน็ ได้วา่ เม่ือเราอายไุ ด้เพียง 3 ขวบ เซลล์สมองก็มีการแบ่งตวั เพิม่ จน เกือบเตม็ ท่แี ลว้ หลงั จากนจี้ ะมีเซลล์สมองเกดิ ข้ึนมา เปน็ สัดสว่ นท่นี อ้ ยมาก เมือ่ เทียบกับวัยผ้ใู หญ่ แสดงว่า หลังจากเร่มิ เขา้ โรงเรยี น สมองของเราก็เร่ิมเขา้ สชู่ ว่ งถดถอยอยา่ งช้าๆ และเรม่ิ เส่อื มเร็วข้นึ เม่อื เราพน้ วัยหนุ่มสาวไปแลว้ โดยหลงั จากผ่านชว่ งนไ้ี ปแลว้ จะไม่มีการสรา้ งเซลลส์ มองข้ึนมาทดแทน ใหมอ่ กี ดังนนั้ หากมีการตายของเซลลส์ มองไปมากเทา่ ไร (เช่น อบุ ัติเหตทุ ่ที ําใหส้ มองกระทบกระเทอื น รุนแรง) สมองของเราก็จะสูญเสียความสามารถในการทํางานไปมากเท่าน้ัน แม้ว่าร่างกายอาจมี การซ่อมแซมสว่ นท่ีเสียหายได้ แตเ่ ซลลส์ มองจริงๆ กลับไมส่ ามารถทดแทนได้ สมอง เป็นส่วนหนง่ึ ของ รา่ งกาย มีหนา้ ท่เี กีย่ วกับการจดจาํ การคดิ และความรสู้ กึ ตา่ งๆ สมอง ประกอบด้วยตวั เซลลป์ ระมาณ 10 พนั ลา้ นตัว ถงึ 12 พันลา้ นตัว แตล่ ะตวั มีเส้นใยท่ีเรยี กวา่ “แอกซอน” (Axon) และเดนไดรต์ (Dendrite) สาํ หรบั ใหก้ ระแสไฟฟ้าเคมี (Electrochemical) แล่นผา่ นถึงกัน การที่เราจะคิดหรอื จดจาํ สิง่ ตา่ งๆนั้น เกดิ จากการเชอ่ื มตอ่ ของกระแสไฟฟา้ ในสมองคนทฉ่ี ลาดทส่ี ุดกค็ ือ คนทส่ี ามารถใช้ กาํ ลงั ไฟฟา้ ได้เตม็ ที่ 1.3.1.1 โครงสรา้ งของสมอง ออกเปน็ 3 ส่วน ตามววิ ัฒนาการของสมอง 1) สมองสว่ นแรก อารเ์ บรน (R-brian) หรอื เรปทเิ ลียนเบรน (Reptilian brain) แปลว่า มาจากสัตวเ์ ลื้อยคลานหรอื สมองสัตวช์ ัน้ ตํ่า ซงึ่ เรยี ก เรปทเิ ลียนเบรนหรอื สมองของสัตวเ์ ลอื้ ยคลาน เรยี กว่า “คอร์เบรน” (Core brain) หรอื แกนหลกั ของสมอง คือ สมองท่ีอยทู่ ่ี แกนสมองหรือกา้ นสมองมีหน้าทีข่ นั้ พ้นื ฐานทีง่ า่ ยท่สี ุดเก่ยี วกับการเต้นของหัวใจ การหายใจทําหน้าที่ เกี่ยวกับประสาทสัมผัสและส่ังงานให้กล้ามเนื้อมีการเคลื่อนไหว สมองส่วนน้ียังรับและเก็บข้อมูล เกีย่ วกบั การเรยี นรู้จากสมองหรอื ระบบประสาท สว่ นถดั ไปและทาํ ใหเ้ กดิ เป็นระบบตอบโต้อัตโนมัติ ขึน้ ทําให้เรามปี ฏกิ ิรยิ าอยา่ งง่ายๆ ปราศจากอารมณ์ ปราศจากเหตผุ ล เช่น สญั ชาตญาณ การมชี วี ติ อยเู่ พ่อื ความอยู่รอด ความต้องการอาหาร ที่พกั อาศยั 2) สมองสว่ นทส่ี องเรียกวา่ “ลิมบกิ เบรน” (Limbic brain) หรือโอลดแ์ มมมาเลยี นเบรน (Old Mammalian brain) คอื สมองของสัตว์เลย้ี งลกู ดว้ ยนม สมัยเกา่ ก็ คอื สมองสว่ นฮปิ โปแคมปสั เทมโพราลโลบ และบางส่วนของฟรอนทอลโลบ ซึ่งมหี นา้ ท่ีเก่ียวกับ ความจาํ การเรียนรู้ พฤติกรรม ความสขุ อารมณข์ ้นั พื้นฐาน ความรสู้ กึ เชน่ ชอบ ไมช่ อบ ดี ไมด่ ี โกรธ หรอื มคี วามสขุ เศร้า หรอื สนกุ สนาน รัก หรือเกลยี ด สมอง สว่ นลมิ บกิ จะทําใหค้ นเราปรบั ตวั ได้ ดีขึน้ มีความฉลาดมากขึน้ และสามารถเรยี นรูโ้ ลกได้กวา้ งขน้ึ เปน็ สมองสว่ นทสี่ ลบั ซบั ซอ้ นมากข้ึน ทําให้คนเรามีความสามารถในการปรับตัวปรับพฤติกรรมให้เข้ากับส่ิงแวดล้อมได้มากข้ึน ถ้าหากมี สิง่ กระตุ้นท่ีไมด่ เี ข้ามาสมอง ส่วนนจี้ ะแปลข้อมลู ออกมาเปน็ ความเครียดหรือไม่มคี วามสุข

273 3) สมองส่วนที่สามเรียกว่า “นิวแมมมาเลียนเบรน” (New Mammalian brain) หรอื สมองของสัตว์เลย้ี งลกู ด้วยนมสมยั ใหม่ คอื สมองใหญท่ ัง้ หมด โดยเฉพาะ บรเิ วณพ้ืนผิวของสมองทที่ ําหนา้ ที่เกย่ี วกบั ความรสู้ กึ นึกคิด การเรยี นรู้ สตสิ มั ปชัญญะและรายละเอยี ดที่ สลับซับซอ้ น มขี นาดใหญก่ วา่ สมองอีก 2 ส่วนถงึ 5 เทา่ ด้วยกนั สมองส่วนนีเ้ ป็นศูนยร์ วมเก่ียวกับ ความฉลาด ความคดิ สรา้ งสรรค์ การคาํ นวณ ความร้สู กึ เห็นอกเห็นใจผอู้ นื่ ความรักความเสนห่ า เปน็ สมองส่วนทที่ าํ ใหม้ นษุ ยร์ ูจ้ กั คดิ หาหนทางเอาชนะธรรมชาตหิ รอื ควบคมุ ส่งิ แวดลอ้ มในโลกน้ี ภาพที่ 76 แสดงภาพโครงสร้างของสมอง (ท่มี า https://www.google.co.th/search 29 กนั ยายน 2559) จากภาพโครงสร้างสมอง 3 ส่วนท่ีอยู่ในกะโหลกศีรษะของเรา ก็คือ ระบบ ประสาทสําคญั ทีไ่ ดว้ ิวัฒนาการมาจากยคุ ดกึ ดาํ บรรพจ์ นถงึ ปจั จุบนั เปน็ ส่ิงทีไ่ ดร้ ับมาจากบรรพบุรษุ และเป็นสิง่ ทที่ าํ ใหเ้ ราสามารถประสบความสาํ เรจ็ ในชีวติ ควรจาํ ไว้วา่ สมองเรายังมคี วามสามารถท่ยี งั ไมไ่ ด้พัฒนาหรือยังมีโอกาสทจี่ ะพฒั นาไปไดอ้ ีกมาก ประสบการณ์หรอื การกระทําของเรารวมถึงความรู้สกึ นกึ คิด พฤตกิ รรม กจิ กรรมทง้ั หลาย การหลบั การต่นื ความฝนั ลว้ นข้นึ อยู่กบั สมองท้งั 3 สว่ นนีท้ ้งั สน้ิ ระบบสมอง 3 สว่ นนี้ แสดงให้เหน็ ว่า ธรรมชาติสามารถสรา้ งโครงสร้างใหม่และโครงสรา้ งทส่ี ลบั ซบั ซอ้ น ข้นึ บนพน้ื ฐานของโครงสรา้ งเก่าๆ ซึง่ เปรียบเสมือนเซลลง์ า่ ยๆ ทไ่ี ดผ้ สมผสานตวั เองเขา้ ไป ในสิ่งมีชีวิตที่ มหี ลายเซลล์ เปน็ การเปล่ยี นหรอื วิวัฒนาการจากสัตว์เซลล์เดยี ว เปน็ สัตว์หลายเซลล์ เรม่ิ ดว้ ยระบบ ประสาทอาร์เบรนหรอื เรปทิเลยี นเบรนทีม่ หี น้าท่ขี ั้นพืน้ ฐานท่ีงา่ ยทส่ี ุด เป็นการทํางานในเดก็ เล็กๆ ซึ่ง

274 ค่อยๆ มีพัฒนาการตามมา สมองส่วนน้ีทาํ หน้าท่ีเก่ียวกับประสาทสัมผัสและส่ังงานให้กล้ามเน้ือมี การเคลื่อนไหว นอกจากทาํ หน้าท่ีพื้นฐานง่ายๆ แล้ว สมองส่วนน้ียังรับและเก็บข้อมูลเก่ียวกับ การเรียนรู้จากสมองหรือระบบประสาทส่วนถัดไปและทาํ ให้เกิดเป็นระบบอัตโนมัติขึ้น ทําให้เรา มีปฏกิ ริ ิยาอย่างงา่ ยๆ ปราศจากอารมณ์ ปราศจากเหตุผล เช่น สญั ชาตญาณ การมีชวี ติ อยู่เพ่ือ ความอยู่รอด ความตอ้ งการอาหาร ท่ีพกั อาศยั หรอื การมเี พศสัมพนั ธใ์ นรูปแบบง่ายๆไม่สลับซบั ซอ้ น ของสตั วบ์ างประเภท สมองสตั วเ์ ลี้ยงลกู ด้วยนมสมยั เกา่ หรอื สมองลิมบิกเบรน (Limbic brain) ระบบ ประสาท ส่วนถัดไปทีเ่ รียกวา่ “ลิมบกิ เบรนหรอื โอลดแ์ มมมาเลียนเบรน” หรอื สมองสัตวเ์ ลย้ี งลูกด้วย นมสมัยเกา่ สมองสว่ นนจี้ ะอยทู่ ี่เทมโพราลโลบ หรือเปน็ สว่ นขา้ งๆ ของสมองใหญ่ ทงั้ สองข้างสมอง สว่ นน้ีได้รับการเรียกชอื่ อกี อยา่ งหนง่ึ ว่า “อีโมชั่นแนลเบรน”(Emotional brain) หรอื สมองที่เกี่ยวกบั อารมณ์ หรือ ลิมบิกเบรน ซงึ่ Limb มาจากคาํ ว่า “โอบรอบ” คอื สมองสว่ นนจ้ี ะโอบรอบ สมองสว่ น ท่ีเปน็ อาร์เบรนหรือเรปทิเลยี นเบรน สมองส่วนน้ีจะทาํ ให้เราปรับตวั ได้ดขี น้ึ มีความฉลาดมากขึ้น และ สามารถเรียนรู้โลกได้กว้างขึ้น ดังน้ัน การท่ีมีสมองส่วนนี้ จะเป็นการเปล่ียนแปลงเพิ่มเติมจาก อาร์เบรนหรือสมองส่วนท่ีเรียบง่ายมาเป็นสมองส่วนท่ีสลับซับซ้อนมากข้ึน มีความสามารถใน การปรบั ตัวปรับพฤติกรรมใหเ้ ขา้ กับสิง่ แวดลอ้ มได้มากขึน้ สมองส่วนนีจ้ ะเก่ยี วข้องกับความรสู้ กึ เชน่ ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี โกรธ หรอื มคี วามสขุ เศรา้ หรอื สนกุ สนาน รกั หรือเกลียด ถ้าหากว่า มีสงิ่ กระตุ้น ทีไ่ มด่ เี ขา้ มา สมองสว่ นนกี้ ็แปลขอ้ มูลออกมา เป็นความเครียดหรอื ไม่มีความสขุ หรอื ถ้าหากว่าเคยมี ประสบการณท์ ่ีเจ็บปวดมากอ่ น ก็จะทําใหเ้ กิดความรู้สึกไม่ชอบ เป็นต้น สมองส่วนนีม้ คี วามเกย่ี วขอ้ ง กบั ระบบภมู คิ มุ้ กันของร่างกายเกีย่ วข้องกับความสัมพนั ธร์ ะหว่างแมก่ ับลกู เด็กกบั ครอบครัว เดก็ กบั สงั คมหรือระหว่างผ้หู ญิงกับผูช้ ายเกีย่ วขอ้ งกับความฝัน วิสยั ทศั น์และความเพอ้ ฝัน ซ่ึงสว่ นหน่ึงมาจาก สมองใหม่ทีเ่ รยี กวา่ “สมองสตั วเ์ ลยี้ งลกู ดว้ ยนมสมยั ใหมห่ รอื นีโอคอร์เท็กซ์ (Neocortex)” ดว้ ย สมอง สว่ นท่ีสามหรือสมองส่วนทที่ าํ หนา้ ทีส่ งู สุดในบรรดาสมองทั้งหมด เรียกว่า “นีโอคอรเ์ ทก็ ซ์”แปลวา่ สมองส่วนใหม่ (New brain) สมองส่วนนจ้ี ะเปน็ ทร่ี วมเกยี่ วกับความฉลาด ความคิดสรา้ งสรรค์ การ คํานวณ ความรู้สกึ เหน็ อกเหน็ ใจผู้อ่ืน ความรักความเสนห่ า สมองสว่ นนี้ จะทาํ ใหเ้ รารู้จักหาหนทางท่ี จะควบคุมสิง่ แวดลอ้ มในโลกนี้ ส่งิ ทอ่ี ยู่รอบตวั เราและการมอี ิทธิพลควบคมุ คนอนื่ ด้วย นอกจากนน้ั สมองสว่ นนี้จะทําหนา้ ที่เก่ยี วกบั ความคดิ ทางดา้ นปรัชญา ศาสนา เปน็ สว่ นทีจ่ ะทาํ ใหเ้ หน็ หนทางไปถึง จุดมงุ่ หมายของมนษุ ยชน สมองสว่ นนไ้ี มส่ ามารถที่จะทาํ งานได้ โดยปราศจากสมองอกี 2 สว่ น คือ อาร์เบรนกบั ลิมบกิ เบรน มาช่วยด้วย โดยสมองสว่ นใหมห่ รือนโี อคอรเ์ ท็กซ์ แบ่งแยกออกเปน็ 2 ด้าน คือ ด้านขวาและดา้ นซ้าย แต่ละด้านจะมีหน้าท่เี ฉพาะเจาะจง มเี ส้นใยประสาทท่เี ตรยี มพรอ้ มสําหรับ การเรียนรู้ และรบั รขู้ อ้ มูลจากสมองอกี 2 ส่วน ในขณะที่มีการตอบสนองจากระบบอาร์เบรนกจ็ ะมี การป้อนข้อมูลน้ีกลับเข้าไปในสมองส่วนใหม่หรือนีโอคอร์เท็กซ์ด้วย ซึ่งทาํ ให้เกิดการสร้างระบบ

275 ประสาทขนานไปกบั ระบบประสาทในอารเ์ บรน ถา้ หากไม่มีสมองนโี อคอรเ์ ทก็ ซ์ การตอบสนองกจ็ ะ เป็นไปโดยอตั โนมตั ิ แต่เนื่องจากมกี ารควบคมุ จากสมองสว่ นใหมห่ รอื นีโอคอรเ์ ท็กซ์ทําให้การทํางาน เป็นไปอย่างมีวตั ถปุ ระสงคม์ ากขนึ้ มีความสลบั ซบั ซอ้ นมากขึ้น ถงึ แมว้ ่าสมอง 3 สว่ นจะทํางาน ประสานกนั แตใ่ นบางขณะเราสามารถทจ่ี ะเลอื กใช้สมองสว่ นใดส่วนหนงึ่ มากกว่าสว่ นอน่ื ได้ เชน่ ใน เรื่องเพศสมั พนั ธ์ ระบบประสาทอาร์เบรนท่ีเกยี่ วข้องกับเพศสมั พนั ธจ์ ะทาํ งาน แตจ่ ะเหน็ ไดว้ า่ มนษุ ยเ์ รา มรี ปู แบบการมเี พศสมั พนั ธ์ที่ไมเ่ หมือนสตั ว์ ซ่ึงเปน็ ไปตามธรรมชาติอย่างงา่ ยๆ เพศสัมพนั ธ์ของมนุษย์มี รปู แบบที่ซบั ซอ้ นกวา่ มีเรอื่ งของอารมณ์ เขา้ มาเก่ียวข้องดว้ ย เช่น เรอื่ งรกั ๆ ใครๆ่ แบบโรมโิ อกบั จู เลยี ต เปน็ ต้น ตรงน้ีต้องใช้สมองนโี อคอร์เทก็ ซ์เข้าไปเปลย่ี นรูปแบบจากการสบื พนั ธุ์ง่ายๆ แบบสัตว์ให้ มีรูปแบบทสี่ ลบั ซับซอ้ น อารเ์ บรนยงั เกยี่ วข้องกับเร่ืองของการใช้ภาษาด้วย พบว่า ทารกในครรภ์จะ มีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ บริเวณปากอย่างเฉพาะเจาะจง ในขณะทไ่ี ดย้ ินเสยี งของแมพ่ ดู ต้องใช้ สมองส่วนอารเ์ บรนทํางานสง่ั ให้กลา้ มเนอื้ ตรงนั้นเคลอ่ื นไหวและเนือ่ งจากสมองสว่ นอารเ์ บรนอยู่ บริเวณทเี่ รียกวา่ “เบรนสเตม็ ”(Brain Stem) หรอื ก้านสมอง ซ่งึ จะเปน็ ประตูปดิ เปิดการรบั รู้กับโลก ภายนอก ดงั นั้น ถา้ หากระบบสมองส่วนนี้เสยี ไป เราจะไมส่ ามารถรับรโู้ ลกภายนอกได้เลย สมองส่วนอารเ์ บรนหนา้ ที่เก่ียวกับการหลบั การตนื่ ทําใหเ้ รารู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา สมองอารเ์ บรนสามารถทจี่ ะตอบสนองโดยตรงกบั ประสาทสัมผสั ที่รบั เขา้ มา แต่ปฏิกริ ิยาส่วนใหญแ่ ลว้ จะตอ้ งผ่านสมองส่วนอีโมช่นั แนลหรือลมิ บกิ เบรน เพื่อท่ีจะจดั เกบ็ ความจําและทําใหเ้ กดิ การเรยี นรู้ สมองสว่ นอโี มชน่ั แนลหรือลมิ บกิ เบรนยังมหี น้าท่ีเกย่ี วกับภาษาอีกดว้ ย ซ่งึ จะเกดิ ขน้ึ กอ่ นท่ีเด็กทารก จะพดู ไดด้ ว้ ยซํ้า หากไม่มสี มองสว่ นนี้ เราจะไม่สามารถเขยี นหรอื พูดหรอื สือ่ สารกบั ใครได้ เชน่ เดยี วกัน กบั ถ้าเราไมม่ ีสมองสว่ นใหมห่ รือสมองนโี อคอร์เทก็ ซ์ เรากจ็ ะไมส่ ามารถคิดไดเ้ ลย แตเ่ ดิมเราคดิ ว่า สมอง 2 สว่ นท่ีเก่าแก่ คือ อาร์เบรนกับลมิ บกิ เบรนไมม่ ปี ระโยชน์ เปน็ สงิ่ ทีห่ ลงเหลือมาจากวิวัฒนาการ งานสว่ นใหญ่ของสมองจะเกิดขน้ึ ท่สี มองสว่ นใหม่ คอื นโี อคอรเ์ ท็กซ์ แต่จากการวจิ ัยใหมๆ่ คน้ พบสงิ่ ตรงกันข้ามว่า ประสบการณ์ในชีวติ ของเรามาจากการทํางานของสมอง 2 สว่ นนี้ดว้ ย

276 ภาพท่ี 77 แสดงภาพการทาํ งานของสมอง (ท่ีมา https://www.google.co.th/search 29 กันยายน 2559) สมองของคนเราทาํ งานตลอดเวลาไม่ว่าหลับหรือตื่น แต่การทาํ งานในแต่ละ ส่วนจะแตกต่างกัน การทํางานของสมองข้ึนอยู่กับเซลล์ประสาทที่มีอยู่เป็นจํานวนแสนล้านเซลล์ เซลลป์ ระสาทเหลา่ นี้ จะตดิ ต่อพูดคุยกนั โดยใช้ระบบสารเคมแี ละประจุไฟฟา้ เซลล์ประสาทตัวทห่ี นง่ึ อาจจะยับยั้งการทาํ งานของเซลล์ประสาทตัวท่ีสอง ในขณะท่ีเซลล์ประสาทตัวที่สามกลับกระตุ้น การทาํ งานของเซลลป์ ระสาทตวั ท่สี อง ไมว่ า่ จะเปน็ การกระต้นุ หรอื การยับยง้ั จะทาํ ใหเ้ ซลลป์ ระสาทสง่ กระแสไฟฟา้ ออกมาผลลพั ทอ์ าจจะเปน็ การกระต้นุ หรือยบั ย้ังก็ได้ (http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Thinking_is.htm 5 ตลุ าคม 2559) การทาํ งานของสมองจะทาํ งานกันเป็นกลุ่ม คือ เซลล์ประสาทจะมารวมกนั เปน็ กลุม่ แลว้ ทาํ หนา้ ทีห่ นงึ่ อยา่ งเซลล์ประสาทเหล่านี้ จะตดิ ต่อถงึ กนั ทาํ ใหเ้ กดิ การทํางานมีกระแสไฟฟา้ อยู่ตลอดเวลา ถ้าหากการทํางานและกระแสไฟฟ้านี้หยดุ ไป เซลล์ประสาทก็จะตายและจุดเช่ือมต่อ ระหว่างเส้นใยประสาทของเซลล์ประสาท แต่ละเซลล์ท่ีติดต่อถึงกันที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และพลังงานกันก็จะตายไปด้วย สาํ หรับสมองส่วนท่ีเก่ียวกับความคิด จะมีการจดั เรยี งตัวของกลุ่ม เซลล์ประสาทเปน็ ล้านลา้ นกลุ่มทเี ดยี ว ซ่งึ จะติดต่อถึงกนั ด้วยเสน้ ใยประสาท โดยเซลลป์ ระสาทหนง่ึ ตวั จะมีเส้นใยประสาทติดต่อกับเซลล์ประสาทอ่ืนหรือในกลุ่มอื่นเป็นหมื่นๆ เส้นใยทีเดียว เนื่องจาก มีการติดตอ่ กลบั ไปกลบั มาระหวา่ งเซลลป์ ระสาทและระหว่างกลุ่มเซลลป์ ระสาททาํ ใหไ้ ม่วา่ จะมปี ฏิบัตกิ าร

277 อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก็สามารถมีผลต่อสมองทั้งสมองได้ กลไกการทํางานของสมองนี้เป็นไป ตลอดเวลา เซลล์ประสาทแต่ละตัวจะท้ังรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกในเวลาเดียวกัน ผลก็คือ ผลลัพท์จากการทํางานหรือการโต้ตอบของเซลล์ประสาททั้งกลุ่มนั้น เซลล์ประสาทเปรียบเสมือน ทรานซิสเตอร์หรือหลอดวิทยุท่ีสามารถแสดงผลการทาํ งานที่เกิดขึ้นตลอดเวลา แม้ในยามหลับหรือ หมดสติข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองจะมีลักษณะเป็นคล่ืนไฟฟ้า ซึ่งมีความถี่ท่ีมีรูปแบบเฉพาะอยู่ใน เซลล์ประสาทและเมอื่ มขี ้อมลู ใหมๆ่ เข้าไปในสมอง กระแสไฟฟ้ากจ็ ะมคี ลนื่ ความถที่ ม่ี รี ปู แบบเฉพาะ หรอื รูปแบบใหมท่ ส่ี มองยังไมเ่ คยไดร้ บั มาก่อน สมองก็จะหาเซลลป์ ระสาทกลมุ่ ใหมแ่ ละสรา้ งเสน้ ใย ประสาทหรือการติดตอ่ ใหม่ เพอ่ื ทีจ่ ะจดั การเกบ็ ข้อมลู ใหมๆ่ ไวใ้ นสมอง

278 1.3.2 ส่วนประกอบของสมอง สมองของมนษุ ย์เปน็ ส่วนทส่ี ลบั ซับซอ้ นและมลี กั ษณะเฉพาะ มีรอยหยกั เป็นจํานวนมาก บรรจอุ ยูใ่ นกะโหลกศีรษะ สามารถแบง่ ออกได้ 3 สว่ นใหญๆ่ คือ สมองส่วนหน้า (Front brain) สมองสว่ นกลาง (Mid brain) และสมองส่วนท้าย (Hind brain) ดงั นี้ สมอง (Brain) สมองสว่ นหลงั สมองส่วนกลาง สมองส่วนหน้า (Hind Brain) (Mid Brain) (Front Brain) เรติควิ ลาฟอรเ์ มชั่น ทาลามสั (Reticular Formation) (Thalamus) เมดลั ลา ระบบลิมปคิ (Medulla) (Limbic System) ซรี เี บลลมั ไฮโปทาลามสั (Cerebellum) (Hypothalamus) พอนด์ ซีรีบรมั (Pons) (Cerebrum) แผนผงั ท่ี 3 แสดงส่วนประกอบของสมอง (ทมี่ า ศนั สนยี ์ ตันติวิท,2547 : 52)

279 ภาพท่ี 78 แสดงภาพสว่ นประกอบของสมอง (ทีม่ า http://confessionsofaleedsstudent.blogspot.com/2012/06/brain. 5 ตลุ าคม 2559) 1.3.2.1 สมองส่วนหลัง (Hindbrain) ประกอบดว้ ย (ศนั สนยี ์ ตนั ตวิ ิท,2547 : 52) 1) เรติคิวลาฟอรเ์ มช่นั (Reticular Formation) เปน็ กลมุ่ ของ เซลลแ์ ละใยประสาททีอ่ ยู่ในกา้ นสมองเหนือไขสันหลังข้นึ ไปเลก็ นอ้ ย มีหนา้ ท่สี าํ คัญในการควบคมุ ทําให้ตื่นจากหลับและมีสติสัมปชัญญะ คือ เม่ือเรติคิวลาฟอร์เมช่ันได้รับกระแสประสาท เพียงพอจากสภาพแวดล้อม กจ็ ะส่งไปยังเปลอื กสมองและกระจายไปท่วั เปลอื กสมองกระตนุ้ ใหส้ มอง ต่นื ตวั บางครั้งเรยี กว่า Reticular activating system (RAS) ถ้าส่วนนถ้ี ูกทําลายไปสตั ว์จะหลับสนิท อยตู่ ลอดเวลาหรืออยใู่ นสภาพโคมา่ และจะไมม่ ีวันตน่ื เลย จากการศึกษาพบว่า สมองส่วนนีย้ ังทําหน้าที่ ในการเป็นตัวกรองข่าวที่จะไปยังสมองส่วนบน ขบวนการกรองข่าวในเรติคิวลาฟอร์เมช่ันมี ความสําคัญตอ่ การทีจ่ ะตั้งสมาธิสนใจในสงิ่ ใดสง่ิ หนึ่งเป็นพิเศษ ตัวอยา่ ง เช่น ในขณะทท่ี า่ นกาํ ลังอา่ น หนังสอื อยูม่ เี สยี งรอบตวั แตท่ ่านกส็ ามารถอ่านหนงั สือรู้เรือ่ งได้ บางทอี าจไม่ไดย้ นิ เสยี งดว้ ยซา้ํ ดู เหมือนกับว่า กระแสประสาทที่รบั เสยี งจะไปไม่ถึงเปลอื กสมอง สมองจงึ ไม่รบั รเู้ กยี่ วกับเสยี งทไ่ี ดย้ ิน

280 2) เมดัลลาหรอื เมดลุ ลาออบลองกาตา (Medulla or Medulla oblongata) (สชุ ัญญา รตั นสัญญา,2549 : 102) เป็นส่วนล่างสุดของสมองต่อกบั ไขสันหลงั ประกอบดว้ ย ใยประสาทตา่ งๆ ทส่ี ง่ กระแสความรูส้ กึ ไปยงั สมองสว่ นกลาง ส่วนหนา้ มีกลมุ่ เซลลป์ ระสาททส่ี าํ คญั ทาํ หนา้ ทีค่ วบคุมการหายใจ การไหลเวียนของโลหิต การเต้นของหัวใจ การยืดและหดตัวของเส้นเลือด การกลืนและการอาเจยี น นอกจากน้ยี งั ทาํ หนา้ ทเี่ หมือนสถานีสบั เปล่ียนคําสัง่ จากสมองซีกซา้ ยไปยัง อวยั วะมอเตอร์ซีกขวาและคาํ ส่งั จากสมองซีกขวาไปยงั อวยั วะมอเตอร์ซกี ซ้าย 3) ซรี เี บลลมั (Cerebellum) อยเู่ ยือ้ งไปขา้ งหลังใต้กลีบของ สมองใหญ่ แบง่ เป็น 2 ซีก มบี ทบาทสําคัญคือ ควบคมุ การตึงตัวของกล้ามเนือ้ ลายและเปน็ ศูนย์ทร่ี ักษา ความสมดลุ ย์ของรา่ งกาย คือ ทําใหร้ า่ งกายทรงตัวไดด้ ี เกยี่ วขอ้ งการควบคุมใหก้ ล้ามเนอ้ื เคล่อื นไหว ไดค้ ลอ่ งแคล่วดี ถา้ เซเรเบลลัมกระทบกระเทือนแมว้ า่ แขนและขายงั ปกติดีกต็ าม อาจทาํ ใหเ้ คลอื่ นไหว ผิดปกติ 4) พอนส์ (Pons) อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัม ติดกับสมอง ส่วนกลาง ทําหน้าทค่ี วบคมุ การทาํ งานบางอยา่ งของร่างกาย เช่น การเคยี้ วอาหาร การหล่ังน้ําลาย การเคลือ่ นไหวของกล้ามเนอ้ื บริเวณใบหน้า การหายใจ การฟัง 1.3.2.2 สมองสว่ นกลาง (Midbrain) เป็นสมองท่ตี อ่ จากสมองสว่ นหนา้ เป็นสถานีรบั สง่ ประสาทระหว่างสมองส่วนหนา้ กับส่วนทา้ ยและส่วนหนา้ กับนยั น์ตาทาํ หน้าทเี่ ก่ียวกบั การเคล่ือนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดใี นสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนษุ ยส์ มองสว่ น optic lobe น้ีจะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทําหนา้ ทีเ่ กยี่ วกับการไดย้ นิ 1.3.2.3 สมองส่วนหนา้ (Front brain) ประกอบด้วย 1) ทาลามสั (Thalamus) อย่เู หนือไฮโปทาลามสั ทําหนา้ ที่เป็น ศูนย์รวมกระแสที่ผ่านเข้าออกและแยกกระแสประสาทไปยังสมองท่ีเกี่ยวกับประสาทน้ันหรือ อาจเรยี กวา่ เปน็ สถานีถ่ายถอดกระแสประสาทเพอื่ ส่งไปยังจุดตา่ งๆ ในสมองและทําหนา้ ทใ่ี นการรับรู้ ความเจ็บปวด ทาํ ใหม้ ีการสงั่ การและแสดงออกดา้ นพฤติกรรมดา้ นความเจ็บปวด 2) ระบบลมิ บคิ (Limbic System) ประกอบด้วยศนู ย์ประสาท ที่กระจดั กระจายอยรู่ อบๆ ทาลามสั ทาํ งานเป็นระบบทซี่ บั ซ้อน ศูนย์ประสาทในระบบลมิ บิคควบคมุ พฤตกิ รรมอตั บาล เช่น การทํางานของหัวใจ การย่อยอาหาร และควบคุมระบบอณุ หภมู ขิ องร่างกาย อารมณ์ แรงจูงใจ ตลอดจนการจาํ จะขออธิบายส่วนท่ีสําคัญๆ ของระบบลิมบิค ดังนี้ (http://www.healthcarethai.com/ 7 ตุลาคม 2559)

281 (1) ไฮโปทาลามสั (Hypothalamus) มีขนาดประมาณเม็ด ถ่ัวลิสง อยู่ขา้ งใต้ทาลามัส ทาํ หน้าทค่ี วบคุมความหิว ความกระหายน้าํ ความกา้ วรา้ ว ความรสู้ ึกทาง เพศ ความรสู้ กึ วา่ “มีความสุข” ปริมาณนา้ํ ตาลในโลหิต วฏั จกั รการหลบั และการต่นื ของคน ตลอดจน ควบคุมใหร้ า่ งกายมีอุณหภูมอิ ยู่ในระดบั ปกติ เช่น เม่อื อุณหภูมขิ องร่างกายลดตํา่ ลง ศูนยค์ วบคุม อณุ หภมู ใิ นไฮโปทาลามสั ก็จะทํางานเพื่อยังผลใหร้ า่ งกายสน่ั อันเป็นการออกกําลังทจ่ี ะทาํ ให้อณุ หภูมิ สงู ขน้ึ ในทางตรงกันข้าม หากอณุ หภูมขิ องรา่ งกายสูงขน้ึ กว่าปกติ ศนู ยค์ วบคมุ อุณหภมู กิ จ็ ะทาํ ให้เหงอื่ ออกเพ่ือลดอุณหภมู ิ กระบวนการปรบั อุณหภมู ใิ ห้กลบั อยู่ในระดบั ปกติทกุ ครัง้ ที่อณุ หภูมขิ องรา่ งกาย เพิ่มมากขน้ึ หรอื ลดน้อยลงนี้ เรยี กว่า “โฮเมโอสเตซิส” (Homeostasis) (2) บริเวณเซ็ปตัล (septal Area) ต้ังอยู่ด้านหน้าของ ไฮโปทาลามสั แตอ่ ยู่ในระดบั ท่สี ูงกว่าเล็กนอ้ ย บรเิ วณเซป็ ตลั มีใยประสาทเชอ่ื มโยงกับไฮโปทาลามสั การทําลายบริเวณเซป็ ตลั จะทาํ ให้สัตวม์ คี วามดุรา้ ยและกา้ วรา้ ว เปน็ ท่ีสนั นิษฐานกนั ว่า กระแสประสาท ที่ส่งจากสมองส่วนหน้าผ่านบรเิ วณเซ็ปตัลเขา้ ไปในไฮโปทาลามัส จะทําหน้าทร่ี ะงบั อารมณโ์ กรธ (3) อมิกดาลา (Amygdala) ตั้งอยดู่ า้ นขา้ งของไฮโปทาลามัส มีใยประสาทเชอื่ มโยงกบั ไฮโปทาลามสั เช่นเดยี วกนั กบั ทบ่ี รเิ วณเซป็ ตลั การทาํ ลายอมกิ ดาลาจะทาํ ให้ สตั ว์ที่เคยดุร้ายและกา้ วรา้ วกลายเปน็ สตั ว์ที่เซื่องซึมไมส่ คู้ นอ่นื เลย จงึ เปน็ ทสี่ ันนษิ ฐานกนั วา่ กระแส ประสาททีส่ ง่ จากอมิกดาลาเขา้ ไปในไฮโปทาลามัสจะกระต้นุ ให้มอี ารมณ์โกรธและก้าวร้าว นอกจากน้ี การกระตุ้นอมกิ ดาลายังทาํ ใหห้ ยุดรบั ประทานอาหารและทาํ ให้เลิกพฤติกรรมทางเพศ (4) ซิงกวิ เลต ไจรัส (cingulate Gyrus) เป็นส่วนทอ่ี ยู่ บนสุดของระบบลิมบิค ส่วนนอกเป็นเปลือกหรือคอร์เท็กซ์ (Cortex) ด้านบนของระบบลิมบิค ทาํ หน้าท่ีคลา้ ยอมิกดาลา หากถกู ทําลายจะทําให้เซอ่ื งซมึ ไม่สู้ใคร (5) ฮปิ โปแคมปสั (Hippocampus) ต้ังอยขู่ ้างใตด้ า้ นขา้ ง ทาลามสั และไฮโปทาลามสั ทาํ หนา้ ท่ี ควบคมุ ความต้องการทางเพศและจาํ ประสบการณ์ ผทู้ ส่ี ญู เสยี ฮิปโปแคมปสั จะจาํ สิ่งต่างๆ ไดช้ ัว่ คราวเท่าน้ัน เม่ือเวลาผ่านไปเพียงชั่วครู่ ความจาํ นนจะหายสาปสญู ไปทันที 3) ซีรีบรมั (Cerebrum) มีขนาดใหญส่ ดุ มรี อยหยกั ในสมองเป็น จาํ นวนมาก ทาํ หน้าทีเ่ กยี่ วกบั การเรยี นรู้ ความสามารถต่างๆ เปน็ ศนู ยก์ ารทาํ งานของกลา้ มเน้อื การพดู การมองเหน็ การดมกล่ิน การชิมรส เป็นต้น และแปลข้อมูลจากประสาทสัมผัสทอี่ วยั วะต่างๆ สง่ มา เช่น หากเราโดยหนามตําเส้นประสาทที่อยู่ตรงน้ิวมือ จะส่งกระแสมาท่ีซีรีบรัมแปลออกมาเป็น ความเจ็บปวด เป็นตน้

282 4) คอร์ปัส แคลโลซมั (Corpus Callosum) เส้นแบง่ เป็นรอ่ งลกึ ยาวตั้งแต่บรเิ วณหนา้ ผากผ่านศรี ษะไปจรดทา้ ยทอย เซรบี รมั ทงั้ สองซีกนเ้ี ชอ่ื มโยงสกู่ นั ดว้ ย ใยประสาท มากมายผนกึ กนั คลา้ ยสะพานซง่ึ เชอ่ื มสว่ นล่างของเซรบี รมั เขา้ ด้วยกัน 5) เยอ่ื บุตา (Fornix) เป็นเยื่อเมือกใส ประกอบด้วย เซลลแ์ ละ เยื่อฐานซึง่ คลมุ สว่ นตาขาวและบดุ า้ นในของหนังตา เยือตาประกอบด้วยเนื้อเยอ่ื บุผิว ภาพท่ี 79 แสดงภาพบรเิ วณหนา้ ท่ีของสมอง (ท่ีมา http://confessionsofaleedsstudent.blogspot.com/2012/06/brain. 5 ตลุ าคม 2559) 1.3.2.4 บรเิ วณหนา้ ทีข่ องสมอง ดังน้ี 1) บรเิ วณหน้าท่ีของสมอง จะแบ่งไดเ้ ป็น 4 สว่ น ดงั น้ี (1) Frontal lobe ทําหน้าท่ีควบคุม การเคล่อื นไหว การออกเสยี ง ความคดิ ความจาํ สตปิ ญั ญา บคุ ลิก ความรู้สกึ พ้ืนอารมณ์

283 (2) Temporal lobe ทาํ หนา้ ทค่ี วบคมุ การได้ยิน การดมกลน่ิ (3) Occipital lobe ทําหนา้ ทคี่ วบคุมการมองเห็น (4) Parietal lobe ทาํ หนา้ ทค่ี วบคมุ ความรสู้ กึ ดา้ นการ สัมผสั การพูด การรับรส 1.3.2.5 เส้นประสาทสมอง เส้นประสาททอ่ี อกมาจากสมองมที ง้ั หมด 12 คู่ เสน้ ประสาท เหล่าน้ี จะไปยังอวัยวะรับความรู้สึก กล้ามเนื้อและต่อมท่ีอยู่ในบริเวณศีรษะ เส้นประสาทเหล่านี้ ประกอบขนึ้ ด้วยเซลล์ประสาทบางเสน้ มเี ฉพาะเซลล์ประสาทรบั ความรสู้ กึ (ค1ู่ , 2 และ6) บางเส้นมี เฉพาะเซลลป์ ระสาทสง่ั งาน (คทู่ ี่ 3, 4, 6 และ 7) และนอกจากนั้นมีเซลลป์ ระสาทรบั รู้สกึ และเซลล์ ประสาทส่ังงาน ช่ือและหน้าท่ีของเส้นประสาทสมองดังได้แสดงในตารางข้างล่างนี้ โดยสังเกตว่า เส้นประสาทคู่ที่ 10 เป็นเส้นประสาททสี่ าํ คญั ของระบบประสาทอสิ ระซึ่งไปเล้ียงอวัยวะภายในทรวงอก และอวัยวะภายในของชอ่ งท้องของรา่ งกาย (ศนั สนยี ์ ตนั ตวิ ิท,2547 : 62) ภาพที่ 80 แสดงภาพเส้นประสาทสมองของมนุษย์ (ท่มี า ศันสนีย์ ตนั ตวิ ิท,2547 : 63)

284 คู่ที่ ชื่อ หน้าท่ี อวัยวะที่ใยประสาทการมาเล้ียง 1 Olfactory รับกล่ิน 2 Optic รับภาพ กล้ามเน้ือท่ีช่วยให้ลูกตาเคล่ือนไหว 3 Oculomotor ควบคุมการเคล่ือนไหวของ ช่วยเปล่ียนขนาดของเลนส์ม่านตา กล้ามเนื้อตา กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเค้ียว 4 Trochleae ควบคุมการเคล่ือนไหวของ กล้ามเนื้อลูกตา กล้ามเน้ือตา กล้ามเนื้อหน้า ล้ิน 5 Trigeminal รับความรู้สึกและควบคุม การเคี้ยว กล้ามเน้ือหน้า ล้ิน 6 Abducens ควบคุมการเคลื่อนไหวของ ต่อมน้ําลาย กล้ามเน้ือคอ หัวใจ กล้ามเน้ือตา กระเพาะ ลําไส้ หลอดคอ 7 Facial ควบคุมกล้ามเน้ือหน้าและ กล้ามเนื้อบ่า รับรู้รส กล้ามเนื้อ 8 Auditory รับรู้เสียงและการทรงตัว 9 Gloss รับรู้สึกรสและควบคุม การเคล่ือนไหวของลําคอ pharyngial ประสาทอิสระ 10 Vagus ควบคุมการเคล่ือนไหวของ 11 Spinal กล้ามเน้ือบ่า Accessary ควบคุมการเคลื่อนไหวของ ล้ิน 12 Hypoglossal ตารางท่ี 13 แสดงเสน้ ประสาทสมองของมนษุ ย์ (ท่มี า ศันสนีย์ ตนั ติวิท,2547 : 63) 1.3.2.6 ก้านสมอง (Brainstem) ประกอบด้วย Midbrain Pons Medulla ควบคุมการทํางานของอวัยวะส่วนต่างๆ ที่นอกเหนือจากอํานาจของจิตใจ เป็นอวัยวะที่ ทํางานดว้ ยระบบประสารอัตโนมัติ เชน่ การหายใจ การเต้นของหัวใจ เปน็ ตน้

285 1.3.2.7 บริเวณอ่ืนๆ ในสมอง 1) ตอ่ มใต้สมองหรอื ตอ่ มพิทอู ิทารี หรือไฮโปไฟซสี (pituitary หรือ hypophysis) รูปร่างคอ่ นข้างกลมคล้ายถ่ัว (bean-shaped) ขนาดประมาณ 1.2 x 1.5 เซนติเมตร ในผใู้ หญ่หนกั ประมาณ 0.4-0.6 กรมั ตัง้ อยู่ในแอ่งเรยี กวา่ “เซลลา เทอรซ์ กิ า” (sella turcica) ของ กระดูกสฟีนอยด์ (sphenoid) โดยอย่ใู ตส้ ่วนไฮโปทาลามสั มีสว่ นตดิ ตอ่ กับไฮโปทาลามัส เป็นก้านยาว ซ่ึงถ้าเป็นภาพสามมิติจะมีรูปร่างเป็นกรวยเรียกว่า “ก้านต่อมใต้สมองหรืออินฟันดิบูลัม” (infundibulum) (www.student.chula.ac.th 5 ตุลาคม 2559) ภาพที่ 81 แสดงภาพต่อมใต้สมองหรือตอ่ มพทิ อู ทิ ารี (ที่มา www.student.chula.ac.th 5 ตุลาคม 2559) ตอ่ มใตส้ มองแบ่งตามโครงสร้างและหน้าทอี่ อกเป็น 2 ส่วน คือ (1) ตอ่ มใตส้ มองสว่ นหนา้ (anterior pituitary) หรือ อะดโิ นไฮโปไฟซสิ (adenohypophysis) ประกอบดว้ ยส่วนทอี่ ยู่หา่ งไกล เรยี กว่า “พาร์ส ดสิ ตาลิส” (pars distalis) ซงึ่ ส่วนใหญ่ของต่อม สว่ นท่มี ลี ักษณะเปน็ ทอ่ เรียกว่า “พาร์ส ทูเบอราลิส” (pars tuberalis) และสว่ นที่อยตู่ รงกลาง เรยี กว่า “พารส์ อนิ เทอร์มีเดีย” (pars intermedia) ซึง่ ไมม่ ี บทบาทแลว้ ในมนษุ ย์ แตม่ ีบทบาทในสัตว์

286 (2) ตอ่ มใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary) หรือ นิวโรไฮโปไฟซิส (neurohypophysis) ประกอบดว้ ย มเี ดยี น เอมเี นนส์ (median eminence) สว่ นที่ มเี สน้ ประสาทอย่มู ากเรียกว่า “พารส์ เนอโวซา” (pars nervosa) ทง้ั สองส่วนเชอ่ื มด้วยส่วนท่ีสาม คือ กา้ นอินฟันดบิ ิวลัม (infundibulum) ซ่งึ ถา้ เป็นภาพสามมติ ิจะเหน็ ว่ามรี ปู รา่ งคล้ายกรวย 2) ต่อมไพเนยี ล (Pineal glad) เป็นตอ่ มเลก็ ๆ รูปไขห่ รอื รปู กรวย คล้ายๆ เมล็ดสน (pine cone) เปน็ ทมี่ าของชือ่ pineal gland ลักษณะคอ่ นข้างแขง็ สีนา้ํ ตาล ขนาด ยาวจากหนา้ ไปหลงั 5-10 มลิ ลิเมตร กวา้ ง และสงู 3-7 มิลลิเมตร หนกั 0.2 กรัม ยนื่ มาจากดา้ นบน ของไดเอนเซฟฟาลอนหรืออยดู่ า้ นล่างสดุ ของโพรงสมองที่สาม ภาพท่ี 82 แสดงภาพต่อมไพเนยี ล (ท่มี า www.student.chula.ac.th 5 ตลุ าคม 2559) ตอ่ มไพเนียลประกอบด้วยเซลล์ 2 ประเภท คือ เซลลไ์ พเนยี ล (pinealocytes) และเซลล์ไกลอัล (glial cell) จัดอยู่ในระบบประสาท คือ การรับตัวกระตุ้น การมองเหน็ (visual nerve stimuli) เรยี กอีกอย่างหนึ่งว่า เปน็ ดวงตาที่ 3 ทาํ หนา้ ท่ีควบคุมร่างกาย โดยทํางานร่วมกบั ต่อมไฮโปทาลามสั (Hypothalamus) ซ่งึ ต่อมไฮโปทาลามสั จะทําหนา้ ที่เกี่ยวกับ ความหวิ ความกระหาย เรอ่ื งเซก็ ส์ และนาฬกิ าชีวิตซง่ึ ควบคุมอายขุ องมนุษย์ และเปน็ ตอ่ มไร้ท่อ ทาํ หนา้ ทส่ี รา้ งฮอร์โมน ฮอร์โมนท่สี ร้างจากตอ่ มไพเนียล คอื เมลาโทนนิ ยบั ยั้งการเจรญิ เตบิ โตของ

287 อวัยวะสบื พนั ธุ์ ทําใหเ้ ป็นหนมุ่ สาวช้าลง ระงบั การหลั่งโกนาโดโทรฟินใหน้ อ้ ยลง ถ้าตอ่ มไพเนยี ลไม่ สามารถสรา้ งเมลาโทนินได้ จะทําให้เป็นหนมุ่ สาวเรว็ กวา่ ปกติ แตถ่ า้ สรา้ งมากเกนิ ไปจะทําให้เป็นหนุ่ม สาวชา้ กว่าปกติ ต่อมไพเนียล ทําหน้าท่ีเหมือนตัวกลางที่จะรับรู้ความยาว ของกลางวันและกลางคืนและส่งสญั ญาณในรูปของฮอรโ์ มนเมลาโทนนิ ไปยังระบบตา่ งๆ เมอื่ แสงสวา่ ง ผ่านเลนส์แก้วตาไปตกกระทบกับจอรับภาพ บริเวณส่วนหลังสุดของลูกตาท่ีเรตินา (retina) ที่มี ใยประสาทมาเลี้ยงจะสง่ กระแสประสาทไปท่ีศนู ย์รวมเสน้ ประสาทท่อี ยู่เหนือใยประสาทท่ไี ข้วกันเหนอื สมองหรอื นิวเคลยี สซพู ราไคแอสมาตกิ (suprachiasmatic nuclei) ผา่ นเสน้ ประสาทซิมพาเทติกจน ถงึ ทีป่ มประสาทซูพเี รีย เซอรว์ คิ ลั (superior cervical ganglion) แล้วสง่ ตอ่ ไปทต่ี อ่ มไพเนยี ล นอกเหนือจากบรเิ วณอื่นๆ ในสมองแล้ว ผ้เู ขียนขออธบิ ายถึงประสาทรับความรู้สึก ดังต่อไปน้ี ภาพที่ 83 แสดงภาพประสาทรับความรู้สกึ (ท่ีมา https://th.wikipedia.org/wiki 24 ตลุ าคม 2559)

288 1.3.3 ประสาทรบั ความรู้สึก ประสาทรบั ความรูส้ ึก อธิบายจากภาพไดด้ ังต่อไปนี้ (https://th.wikipedia.org/wiki 24 ตุลาคม 2559) 1.3.3.1 Prefrontal Cortex (largely on medial surface) เป็นส่วน หน้าของสมองกลีบหน้าผาก อยู่ข้างหน้าของคอร์เทกซ์สั่งการปฐม (primary motor cortex) และ คอร์เทกซ์ก่อนคอร์เทกซ์สั่งการปฐม (pre motor cortex) สมองส่วนน้ีเก่ียวข้องกับการวางแผนหรือ โปรแกรมพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับรู้ท่ีซับซ้อนเก่ียวข้องกับบุคลิกเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและ เกี่ยวข้องกับการควบคุมความประพฤติที่เก่ียวข้องกับสังคม กิจหลักในสมองส่วนนี้ก็คือ การคิดและ การกระทําที่เป็นไปตามเป้าหมาย ในศาสตร์ของจิตวิทยา กิจที่ PFC ทําเรียกว่า “กิจบริหาร” (executive function) กิจบริหารมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการจําแนกความคิดท่ีขัดแย้ง กันกับการตัดสินความมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ความดีและความดีที่สุด ความเหมือนกันและ ความต่างกัน ผลที่จะเกิดข้ึนในอนาคตเนื่องจากการกระทําปัจจุบัน การทําการเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่ วางไว้ การพยากรณ์ผลที่จะเกิดข้ึน ความมุ่งหวังในการกระทํา และการควบคุมตนในสังคม (คือ สมรรถภาพในการระงับความอยากตามสัญชาตญาณที่ถ้าไม่ระงับแล้ว ก็อาจจะนําไปสู่ผลเก่ียวกับ สงั คมทไ่ี มเ่ ป็นท่ีนา่ ชอบใจ) 1.3.3.2 Brodmann Area 4 คือ คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย ปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) เขต 4 คอื คอรเ์ ทกซ์ส่ังการปฐมภูมิ (primary motor cortex) เขต 17 คอื คอร์เทกซก์ ารเห็นปฐมภูมิ (primary visual cortex) และเขต 41-42 คอร์เทกซ์การไดย้ นิ ปฐมภมู ิ (primary auditory cortex) (https://th.wikipedia.org/wiki 24 ตุลาคม 2559) 1) คอร์เทกซก์ ารเหน็ ปฐมภูมิ (primary visual cortex) มีดงั ต่อไปน้ี (1) การมองเหน็ สว่ นทส่ี าํ คญั คอื ตา ซง่ึ ส่วนประกอบของ ตา มีดงั ตอ่ ไปนี้ (ก) เลนสต์ า มลี กั ษณะใสคล้ายว้นุ สามารถเปล่ียน รูปรา่ งได้เลก็ นอ้ ย ทําใหแ้ สงมจี ุดหกั เหไปยงั จดุ รวมแสงท่ีจอตา (ข) จอตา เปน็ เนอ้ื เยือ่ ทีไวต่อแสงอยดู่ ้านในสุดของ ลูกตา ทําหน้าที่เปล่ียนแสงเปน็ ตวั กระต้นุ (กระแสไฟฟ้า) (ค) ของเหลว เป็นส่วนชว่ ยให้ลูกตาคงรปู อยไู่ ด้ (ง) ประสาทตา นําขา่ วสาร (กระแสประสาท) จากจอตาไปสู่สมอง

289 (จ) เยือ่ หุ้มลกู ตาเป็นเนื้อเย่อื เหนยี วหมุ้ ลกู ตา (ฉ) กระจกตา เป็นเนื้อเยอื่ หนาใส หมุ้ อยู่ดา้ นหนา้ ชว่ ยใหจ้ ุดรวมแสง (focus) ไปตกทเี่ ลนสต์ า (ช) รูมา่ นตา คอื ช่องที่แสงผ่านเข้าลูกตา ชอ่ งหรอื รมู ่านตานจี้ ะกวา้ งจะแคบขน้ึ อยู่กับการขยายตัวและการหดตวั ของม่านตา (ซ) มา่ นตา เปน็ เน้อื เย่ือท่ีสามารถยืดหดไดต้ ามความ เข้มของแสงท่ผี า่ นเขา้ ตา (2) การมองเหน็ กบั สมอง สมองอาศัยการมองเหน็ ภาพ ซึ่ง จะนาํ ไปส่สู มองด้วยเส้นประสาทตา หลังจากน้ันสมองสว่ นของการมองเห็นหรอื ออกซปิ ิทอลโลบ ซ่ึง อยู่ทางด้านหลังของสมอง จะพัฒนาโครงสร้างท่ีจะตอบรับภาพและแปลภาพท่ีเห็นออกมาให้มี ความหมายโดยอาศยั นโี อคอรเ์ ท็กซแ์ ละสมองสว่ นหน้า การมองเหน็ เป็นการทํางานทีล่ ะเอยี ดอ่อน จะ เห็นวา่ ประสาทตามเี ส้นใยประสาท 1 ลา้ นเส้นใยเทยี บกับประสาทหู ซง่ึ มเี สน้ ใยประสาทเพยี ง 50,000 เส้นใยเทา่ นน้ั การมองเห็นเรมิ่ ด้วยข้อมลู หรือภาพต่างๆเข้าสู่สายตาผ่านไปยังจอภาพข้างหลัง ตา ซ่งึ ประกอบด้วยเซลลป์ ระสาท ต่อจากนนั้ เซลล์ประสาทจะสง่ ข้อมูลไปยงั สมองที่เกย่ี วกับการเห็น หรอื ออกซปิ ทิ อลโลบ โดยผา่ นทางเส้นใยประสาทผ่านไซแนปส์หรอื จดุ เชอื่ ม ทาํ ให้เกดิ ปฏิกิริยาสร้าง สารเคมีและเกิดกระแสไฟฟ้าข้นึ การมองเหน็ ภาพเปน็ ส่วนหนง่ึ ของความคิด แม้กระท่งั คนตาบอดมา ต้งั แต่กาํ เนดิ ก็สามารถจะคิดจนิ ตนาการรปู ภาพได้ การมองเห็นจึงข้นึ อยกู่ ับการทาํ งานของสมองหรอื สมองที่กาํ ลังทาํ งานอยู่ (https://th.wikipedia.org/wiki 24 ตลุ าคม 2559) ในขณะเดียวกันสมองก็ตอบสนองตอ่ การมองเห็นเพราะว่า ตากาํ ลังทาํ งานอยู่ สมองพยายามที่จะสรา้ งแผนที่เก่ียวกบั การมองเหน็ ขนึ้ มาในสมอง โดยเฉพาะถา้ หากว่า มีส่วนใดส่วนหน่งึ ขาดไป เช่น ถ้าหากเรามองรปู ภาพวงกลมมีเส้นโค้งขาดเป็นช่วงๆ สมองก็จะ พยายามเอาข้อมูลมาใส่ตรงช่องว่างทีห่ ายไป ทาํ ให้เกิดภาพของวงกลม การเห็นภาพต่างๆ ของเราเกดิ จากตาประมาณ 20 % ในขณะทอ่ี กี 80 % เกิดจากการทํางานของสมองสว่ นต่างๆ ทที่ าํ หน้าที่ เกี่ยวกบั การเห็น ข้อมูลเกี่ยวกบั การเห็นจะไปรวมกันทศ่ี ูนย์กลางของการเหน็ ทอ่ี ย่ตู รงส่วนกลางของ สมอง ท่เี รียกว่า “แลทเทอรอล เจนนิคูเลท นวิ เคลียส” (Lateral Geniculate Nucleus-LGN) ซงึ่ เปน็ จุดเชือ่ มโยงระหว่างขอ้ มูลตา่ งๆ ทเ่ี กีย่ วกับการเห็น มาทูรานาและวาเรรา (Madura and Vera) ยงั บอกอีกวา่ เรามองเห็นผลสม้ เปน็ สสี ม้ ได้ แม้วา่ ในขณะนนั้ จะไม่มคี ลนื่ แสงท่ที ําใหเ้ กดิ สีสม้ เลยก็ตาม เพราะสมองได้เกบ็ ขอ้ มูลเหลา่ นี้ เอาไว้ก่อนแลว้ และแปลผลออกมาเปน็ สสี ้ม จากการทดลองยงั พบอีก วา่ ในขณะทีเ่ รามองหนา้ คนคนหน่งึ สมองของเราสว่ นท่ีมองเห็นใบหน้าจะแปลภาพออกมาว่า น่คี ือ ใบหนา้ และสมองสว่ นอ่นื แปลสหี นา้ ของคนคนน้นั ว่า เปน็ อย่างไร เช่น มีความสขุ เศร้า หรอื โกรธ ในขณะทสี่ มองอีกสว่ นกจ็ ะเชอื่ มข้อมูลวา่ คนหนา้ ตาแบบน้คี ือใคร แล้วเอาขอ้ มูลตา่ งๆ มาผสมกัน

290 ออกมาว่า คนหนา้ ตาอย่างน้ีคอื ใคร ชื่ออะไร กาํ ลงั ดีใจ หรอื เสยี ใจ หรือมีอารมณ์ อยา่ งไร เด็กเลก็ ๆ สามารถตอบสนองต่อวัตถุที่สัมผสั ก่อน จะเหน็ วตั ถนุ ัน้ ด้วยซา้ํ ไป ขอ้ มลู จากประสาทสมั ผสั อ่นื ที่ไมใ่ ช่ สายตา กส็ ามารถสง่ ข้อมูลเขา้ ไปในสมองสว่ นตา่ งๆ ที่เปน็ แผนทแี่ ละช่วยใหส้ มองสรา้ งภาพไดเ้ ช่นกนั การสร้างภาพหรือการมองเห็นภาพจึงเกิดจากสมองสว่ นใดสว่ นหน่ึงทาํ งาน ตวั อย่างเช่น ถ้าเปน็ ภาพที่ ตอ้ งใชค้ วามคิด สมองสว่ นนโี อคอร์เท็กซก์ จ็ ะทํางาน แต่ถ้าภาพน้นั เป็นภาพทเี่ คลอ่ื นไหวตลอดเวลา เปน็ ภาพเกย่ี วกบั อารมณ์ สมองส่วนท่เี กี่ยวกบั อารมณ์หรอื ลิมบิกเบรน กจ็ ะทาํ หน้าที่หรือถ้าเป็นภาพท่ี ค่อนข้างจะคงท่ีและสามารถส่งขอ้ มูลเขา้ สายตาสปู่ ระสาทตาโดยตรง ก็จะทาํ งานโดยสมองอารเ์ บรน นอกจากนั้น สมองยังมีความสามารถท่ีจะจับจ้องหรือเลือกมองเห็นเฉพาะส่ิงที่สนใจเท่านั้น แม้ว่า สงิ่ น้นั จะอยทู่ ่ามกลางสง่ิ แวดลอ้ มอื่นๆ ลําดับต่อไป ผเู้ ขยี นขออธบิ ายคอรเ์ ทกซ์การไดย้ นิ ปฐมภมู ิ (primary auditory cortex) เขต 41-42 เปน็ อกี ส่วนหน่ึงของคอรเ์ ทกซร์ บั ความรู้สกึ ทางกายปฐมภมู ิ (primary somatosensory cortex) เขต 4 ภาพที่ 84 แสดงภาพส่วนประกอบของหู (ที่มา https://www.google.co.th/search 29 กันยายน 2559)

291 2) คอรเ์ ทกซ์การไดย้ ินปฐมภมู ิ (primary auditory cortex) เขต 41-42 มรี ายละเอยี ดดงั ตอ่ ไปน้ี (1) การไดย้ ิน คลื่นเสียง เกิดจากการอัดและขยายของตัวกลาง การอัดขยายน้ี จะส่งต่อๆ กันไป จนถึงหูของผู้ฟังแล้วส่งต่อไปยังสมอง ในเทอมของระดับเสียง ความดังและคุณภาพของเสียง โดยปกติหูคนเราไวต่อการรับรู้เสียงท่ีมีความถี่สูงมากกว่าเสียง ท่ีมีความถี่ตาํ่ เมอ่ื เสยี งน้นั มีระดบั ความเข้มเสยี งเท่ากัน ความไวต่อการรับรเู้ สยี งของคนเรายังขึ้นอยู่ กับอายุ โดยพบว่า เด็กมีความรู้สึกไวต่อช่วงความถ่ีสูงมากกว่าผู้ใหญ่ความไวต่อการได้ยินเสียงของ คนจะลดลงเม่ืออายุมากข้ึนและยังพบว่า ความไวต่อการไดย้ นิ เสยี งจะลดลงด้วยสาเหตอุ ่ืนๆ อีกเช่น การไดร้ บั ฟงั เสียงดังมากเกนิ ไปเป็นระยะเวลานานๆ หรือจากการใช้ยาบางชนิด (2) ส่วนประกอบของหู สามารถอธิบายได้ดังน้ี (http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/95/wave1/wave_6.htm 5 ตลุ าคม 2559) (ก) หูช้ันนอก ประกอบด้วยใบหู ช่องหูหรือรูหู (Auditory canal) และเยอ่ื แก้วหู (tympanic membrane) โดยใบหจู ะทําหนา้ ทใ่ี นการรบั เสียง หูส่วนน้ีจะมีขนาดใหญ่เพ่ือใช้หาทิศทางของแหล่งกาํ เนิดเสียง ส่วนช่องหูมีลักษณะเป็นท่อยาว ดังน้ัน ความดังของเสียงตอนปลายท่อด้านในที่ปิดอยู่จึงมีมากกว่าปากท่อด้านนอก ความดังที่ เพ่ิมนั้นจะเกิดเมื่อความยาวของคลื่นเสียงยาวกว่าความยาวท่อ 4 เท่า คือ ความดงั เม่อื ผา่ นชอ่ ง หูจะเพมิ่ ขึน้ 12 เดซิเบล ในช่วงความถ่ี 2,400 - 4,000 Hz แตถ่ า้ ความยาวคล่ืนตา่ํ กวา่ หรือสงู กวา่ น้ี ความดังเมือ่ ผ่านชอ่ งหูจะเพมิ่ เพยี ง 5 เดซเิ บล ในชว่ งความถี่ 2,000 - 6,000 Hz ช่องหูทาํ หน้าทใ่ี น การกําทอนเสยี ง (resonance) ซง่ึ สน่ั ด้วยความถ่ีประมาณ 3000 เฮริ ตซ์ แล้วส่งไปยังเยอ่ื แกว้ หู ชอ่ งหยู ังช่วยในการควบคุมอณุ หภูมิและความช้ืนให้มคี ่าคงทแ่ี ละยงั เปน็ เครื่องป้องกนั อันตรายให้แกห่ ู อกี ด้วย เยือ่ แก้วหเู ป็นส่วนกั้นระหวา่ งหชู ้ันนอกกบั หูชนั้ กลาง โดยแยกอากาศในชอ่ งหูช้นั นอกไม่ให้ ติดต่อกับหูชัน้ กลาง เยือ่ แกว้ หูทาํ หน้าทเี่ ปน็ เคร่อื งรับความดังเสยี ง (ข) หูชั้นกลาง ทําหน้าท่ีปรับคล่ืนเสียงเพื่อให้ เข้าไปกระตนุ้ หชู ้นั ในโดยการเปลีย่ นพลงั งานเสยี งจากอากาศใหผ้ า่ นช่องหชู น้ั กลางเขา้ ไปส่ันสะเทือน ของของเหลวภายในหูชั้นกลางประกอบด้วยกระดูกสามช้ิน (Ossicles) คือ กระดูกรูปฆอ้ น กระดกู รูปทงั่ และกระดกู รปู โกลนซ่ึงยดึ กันอย่างสมดุลด้วยระบบคานดีดคานงดั (lever system) ตรงบรเิ วณ ปลายกระดกู รูปโกลนจะตดิ ต่อกับหน้าตา่ งรูปไข่ กระดกู ทง้ั สามทําหน้าท่เี ปลยี่ นคลืน่ เสยี งทีม่ ากระทบ แก้วหูให้เป็นคล่ืนของเหลวขึ้นในหูส่วนใน หูส่วนกลางน้ี ติดต่อกับโพรงอากาศผ่านหลอด ยูสเตเชียน (eustachian) ปกตชิ ่องนี้จะปดิ แตใ่ นขณะเคยี้ วหรอื กลืนอาหารท่อนจี้ ะเปดิ อากาศภายใน

292 หูส่วนกลาง จงึ สามารถตดิ ต่อกบั ภายนอกได้ เปน็ การปรับความดงั 2 ด้านของเยอ่ื แก้วหูให้เทา่ กนั ทาํ ให้การไดย้ นิ ดีขน้ึ (ค) หชู นั้ ใน หลอดคร่ึงวงกลม 3 หลอดซงึ่ ทาํ หนา้ ท่ี ควบคุมการสมดุลของร่างกายและกระดูกรูปหอย (cochlea) ซึ่งเป็นช่องมีลักษณะคล้ายหอยโข่ง ภายในบรรจุของเหลวมีเยือ่ บาซลิ าร์ (basilar) ขงึ อยู่เกือบตลอดความยาว ยกเวน้ ปลายสุดตรงปาก ทางเข้าเปน็ ชอ่ งเปิดรูปไขแ่ ละวงกลม ตลอดความยาวของเยื่อบาซลิ ลาร์มปี ลายประสาทท่ไี วตอ่ เสียงท่ี มคี วามถ่ตี ํ่าๆ กนั เรียงรายอยู่ ปลายประสาทท่ีอยกู่ นั ค่อนไปทางชอ่ งเปดิ รปู ไขจ่ ะไวตอ่ เสียงทม่ี ีความถี่ สูง สว่ นปลายประสาทที่อยู่ลกึ เขา้ ไปข้างในจะไวตอ่ เสยี งท่ีมีความถีต่ าํ่ (3) กลไกของการไดย้ ิน ช่องหูจะทําให้คล่ืนเสียงที่มีความถ่ีระหว่าง 2,000 – 5,000 Hz มพี ลงั งานสูงขึ้นเนอ่ื งจากเกิด resonance ในชอ่ งหู ถ้าความถี่ ต่าํ กวา่ 400 Hz การรบั คลน่ื เสยี งไม่คอ่ ยดี ทั้งใบรูและช่องหูทําใหเ้ กดิ การขยายเสียง เมื่อคล่นื เสยี งไปกระทบแก้วหู ซงึ่ ตอ่ อยู่ กบั กระดูก 3 ช้ิน ซ่งึ ประกอบกันแบบคานดดี คานงัดจึงมีการไดเ้ ปรียบเชิงกลเกดิ ข้ึนทาํ ให้มีแรงเพิม่ ขน้ึ กระดกู โกลนซง่ึ อยู่ท่ตี าํ แหน่งสดุ ท้ายมี ความแตกต่างระหวา่ งพื้นทีก่ บั หนา้ ตา่ งรปู ไขม่ าก เมอ่ื มแี รงมา กระทําจะทําให้ความดังเพิม่ ขึน้ จงึ เกดิ การขยายเสยี งขึน้ ประมาณ 30 เท่า จากนน้ั เสยี งกจ็ ะเดนิ ทางเข้าสู่หูส่วนในสัญญาณเสียงก็จะเกิดการขยายอีก เมื่อคลื่นเสียงผ่านหูส่วนในก็จะทําให้เยื่อ บาซิลารส์ ั่นปลายประสาททีเ่ ยื่อบาซิลารก์ ส็ ง่ สญั ญาณต่อไปยงั สมอง ทําให้เกิดความรสู้ ึกในการได้ยนิ เสียง (4) พฒั นาการการได้ยนิ (http://www.novabizz.com/NovaAce/Brain. 5 ตุลาคม 2559) เมื่อเด็กอายุประมาณ 1 ปี สมองมีการสร้างแผนที่ การได้ยินอย่างสมบูรณ์ เช่น เสียงนี้เซลล์ประสาทส่วนน้ีรับผิดชอบ อีกเสียงหนึ่งเซลล์ประสาทอีก ที่รบั ผิดชอบ เป็นต้น เมอ่ื เด็กโตขน้ึ เขาจะไมส่ ามารถแยกเสยี งที่ไมเ่ คยได้ยนิ มากอ่ นได้ เพราะจะไมม่ ี เซลล์ประสาทท่ตี อบสนองต่อเสียงนัน้ เนื่องจากไมเ่ คยไดย้ นิ มาก่อน เพราะฉะนนั้ การทเ่ี ดก็ ย่ิงโต การเรียนร้ภู าษา กจ็ ะเปน็ ไดย้ ากข้ึน เนอื่ งจากไมม่ เี ซลลป์ ระสาทท่ยี งั ไมถ่ ูกจดั แผนท่ีเหลอื อยู่ หรือไม่มี เซลลป์ ระสาทท่ยี ังไมถ่ ูกใชง้ านไปใชเ้ รยี นรู้ภาษาหรอื คําใหม่ๆได้ การเรยี นรู้คําศัพทก์ เ็ ชน่ กัน ถา้ เดก็ ทีม่ ี แม่เปน็ คนพดู เก่ง เด็กจะรู้คาํ ศัพทม์ ากกวา่ เดก็ ท่แี มห่ รอื พเี่ ลย้ี งพดู ไม่เกง่ เชน่ การวิจัยของแจเนลเลน ฮทั เทนโลเคอร์ (Janellen Huttenlocher) จากมหาวทิ ยาลยั ชิคาโก พบว่า เดก็ อายุ 20 เดือน ถา้ หากมีแม่คยุ เกง่ เด็กกจ็ ะรู้คาํ ศัพท์มากถงึ 131 คํา มากกวา่ เด็กทีแ่ มพ่ ูดไม่เก่ง ตอนยังเป็นทารกใน ครรภ์ เซลลป์ ระสาทกม็ คี วามไวตอ่ การไดย้ ิน เมอื่ อายุครรภป์ ระมาณ 4 เดอื นครึง่ อวยั วะทเ่ี กยี่ วกับ

293 การไดย้ ินพัฒนาจนสมบรู ณแ์ บบแล้ว สมองส่วนท่ีเรยี กวา่ “เทมโพราลโลบ” ซึ่งอยดู่ า้ นขา้ งของสมอง ท้ังซา้ ยและขวา เป็นสมองส่วนทส่ี าํ คัญทสี่ ุดเก่ยี วกับการไดย้ นิ คือมหี นา้ ทที่ ํางานเกี่ยวกับการได้ยิน พบวา่ ในสมองของเดก็ แรกเกดิ สมองสว่ นนม้ี ีไขมนั หรอื มนั สมองห่อหมุ้ เส้นใยประสาทเรยี บร้อยแลว้ ในขณะทสี่ มองสว่ นอ่นื ยงั เพ่งิ สร้างไขมันหรอื มันสมองห้อมลอ้ ม เสน้ ใยประสาททารกในครรภไ์ มเ่ พียง ได้ยินเพียงอย่างเดียวแต่สามารถท่ีจะพยายามเลียนเสียงหรือเรียนรู้เก่ียวกับคาํ พูดพยายามขยับ กล้ามเน้อื ทีเ่ กยี่ วกับการออกเสยี ง โดยเฉพาะในลกั ษณะของการร้องไห้ด้วย ซ่ึงทําให้เดก็ สามารถ รอ้ งไห้ทันทหี ลงั คลอด คลืน่ เสียงท่มี าจากทอี่ น่ื ๆ หรอื รับมาจากประสาทส่วนอื่น ก็จะส่งไปท่กี ลมุ่ ของ ประสาทสมั ผสั ที่อย่ดู ้านในสดุ ของหู คลื่นทเ่ี ข้าไปนจี้ ะปรบั เปล่ยี นคล่ืนทมี่ อี ยู่แลว้ ตามปกติ ทาํ ให้เกดิ เปน็ คลืน่ รูปต่างๆ ซ่ึงโดยทวั่ ไปจะมีอยู่ 3 แบบดว้ ยกัน คอื หนึ่ง คล่นื ท่มี คี วามถี่คงท่ี สอง คล่ืนท่ีมี ความถ่ีเปลี่ยนแปลงไปมาตลอดเวลา และสามคล่ืนท่ีเป็นผลลัพท์ระหว่างสองคล่ืนแรก หลังจาก มีการปรบั ตวั แลว้ คลน่ื ทง้ั สามแบบน้ีจะทาํ ให้เกดิ ภาพลกั ษณอ์ อกมา เป็นความสงู ความลกึ และ ความกว้าง สมองสามารถอ่านหรือแปลข้อมูลของแสงและเสยี งจากขอ้ มลู ท่มี อี ยแู่ ล้วในแผนทใี่ นสมอง ยกตัวอยา่ งเช่น ถ้าเราอย่ใู นหอ้ งมดื ๆ และได้ยนิ เสยี งจดุ ไมข้ ีดไฟ เราจะมคี วามรสู้ กึ วา่ ได้กล่ินกํามะถัน และเห็นแสงไฟ หมายความว่า ในโลกท่ีเรารู้จักน้ี เราสามารถจะบอกตําแหน่งหรือความเป็นไป ของสิง่ ตา่ งๆ ในโลกนี้ได้จากผล 3 อยา่ ง คือ 1) ข้อมลู หรอื คลนื่ หรือกระแสไฟฟ้าจากสมองของเราเอง 2) ข้อมูลหรือคล่ืนหรือกระแสไฟฟ้าจากโลกภายนอกที่เข้ามา และ3)ผลรวมระหว่างคล่ืนทั้งสอง ผลลัพทข์ องกระแสไฟฟ้าสูงสุด ทา่ มกลางเซลลป์ ระสาทเหลา่ นี้ วดั จากประสาทสมั ผสั ทว่ั ร่างกาย สมองส่วนลิมบิกเบรนหรือสมองส่วนอารมณ์ สามารถจะตอบสนองต่อคลื่นเสียงต่างๆท่ีเข้ามาถึงตัวเรา ด้วยความช่วยเหลือจากนีโอคอร์เท็กซ์ หรือสมองส่วนใหม่แปลคลื่นเสียงออกมาโดยตรง สมองส่วนลิมบิกเบรนหรือสมองส่วนอารมณ์ กับสมองส่วนอาร์เบรนมีความเก่ียวโยงกันอย่างใกล้ชิด สมองส่วนลิมบิกเบรนจะรับรายงาน จากสมองส่วนอาร์เบรน ขณะเดียวกันก็ส่งข้อมูลไปที่นีโอคอร์เท็กซ์ด้วย ผลลัพท์ของการติดตอ่ ระหวา่ งสมองสว่ นตา่ งๆน้ี จะสง่ ไปทปี่ ระสาทรบั การไดย้ ินและการทรงตวั ที่หสู ่วนใน ซง่ึ ทําให้บอกได้ วา่ เสียงตา่ งๆ ทไ่ี ดย้ นิ มาจากท่ใี ด การไดย้ นิ น้เี ปรียบได้กบั การเห็น สายตาเราจะส่งรูปภาพเข้าไปใน สมองแล้วสมองกจ็ ะใสข่ อ้ มูลลงไปตามช่องวา่ ง และสง่ ข้อมูลกลบั ออกมาทําใหเ้ รามองเห็นภาพครบ บรบิ รู ณ์ 1.3.4 สารสื่อประสาทในสมอง สารส่อื ประสาทเปน็ สารเคมที ่สี ร้างจากปลายเซลลป์ ระสาทหรอื ตวั เซลล์ ประสาทและหล่ังออกจากปลายประสาทเพอื่ เปน็ ตวั นาํ สญั ญาณประสาท (Neurotransmission) ผ่าน ไซแนปซ์ (Synapse) หรือช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์กล้ามเน้ือหรือเซลล์ประสาท

294 กบั เซลลป์ ระสาท สารสอื่ ประสาทมตี งั้ แตโ่ มเลกลุ ขนาดเลก็ อยา่ ง เช่น อะเซทลี คลอรีน (Acetylcholine) โดปามนี (Dopamine) นอรอ์ ีพเี นฟรีน (Norepinephrine) เซโรโตนนิ (Serotonin) กรดอะมโิ น หลายชนิดอย่าง เช่น ไกลซนี (Glycine) กลูตามคิ แอซิด (Glutamic acid) แกมมา-อะมโิ นบวิ ทีรคิ แอซดิ (γ-aminobutyric acid) จนกระทั่งถงึ โมเลกลุ ขนาดใหญอ่ ย่างเชน่ ซบั สแตนซพ์ ี (Substance P) วาโสเพรสซนิ (Vasopressin) รวมถงึ พวกรีลีสซง่ิ และอนิ ฮบิ ติ ิ่งฮอรโ์ มน (Releasing and inhibiting hormone) ในไฮโปธาลามสั และสมองส่วนอ่นื ๆ สารสอื่ ประสาทเหล่าน้ี ถกู หล่ังผ่านไซแนปสโ์ ดยศักย์ การทํางาน (Action potential) ทผ่ี ่านมายังปลายประสาทแล้ว ทาํ ใหส้ ารส่อื ประสาทจบั กบั ตวั รับ (Receptor) ทาํ ให้เกิดการเปล่ียนการผ่านเขาออกของไอออนทเ่ี ยือ่ หุ้มเซลล์ (Membrane) ของเซลล์ ถัดไปเกิดการดีโพลาไรเซชั่น (Depolarization) หรือเกิดภาวะกระตุ้น(Excitation) เซลล์ ถัดไป แต่อาจมีผลทาํ ให้เซลลถ์ ดั ไปเกิดไฮเปอร์โพลาไรเซช่นั (Hyperpolarization) หรือเกดิ ภาวะ ยบั ยงั้ เซลล์ถดั ไปทําใหไ้ ม่เกดิ สัญญาณประสาทใหมข่ ้ึน การทํางานของเซลลป์ ระสาทเกดิ จากปฏกิ ิริยาเคมี มกี ารหล่งั สารเคมี และเกิดประจุไฟฟ้าเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในเส้นใยประสาท ซ่ึงจะส่งไปตามเซลล์ประสาทต่างๆ ทําให้เกดิ ปฏิกิรยิ าการทาํ งานของสมอง สารเคมีในสมองมมี ากมายหลายชนดิ สารเคมใี นสมองท่ี สาํ คญั มดี ังต่อไปน้ี (http://www.novabizz.com/NovaAce/Brain. 5 ตุลาคม 2559) 1.3.4.1 สารเคมีในสมองทส่ี าํ คัญ คือ 1) อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) เป็นสารเคมีที่มีหน้าท่ี เกย่ี วกบั ความจํา 2) เอนดอร์ฟิน (Endorphins) เป็นสารเคมีท่ีทาํ ให้เรารู้สึก ผอ่ นคลายหายเจ็บปวด การทํางานของเอนดอร์ฟนิ ทเ่ี กดิ ขึน้ ในสมอง จะคลา้ ยๆการทํางานของสาร หรือยามอร์ฟีน (Morphine) ท่ีใช้ในทางการแพทย์ ในคนไข้ที่ได้รับความเจ็บปวดมากๆ เม่ือ ฉีดมอรฟ์ ีน เขา้ ไปจะทาํ ใหค้ วามเจบ็ ปวดลดลง เกดิ อาการผ่อนคลาย สารเอนดอร์ฟินในสมองก็มี การทาํ งานแบบนี้เชน่ กัน 3) เมลาโทนิน (Melatonins) สารนีจ้ ะทําให้คนเราหลับสบาย จงึ มกี ารนาํ สารเมลาโทนนิ มาช่วยทําใหน้ อนหลบั โดยเฉพาะคนทีเ่ กดิ อาการเจ็ตแลก็ (jet lag) หรอื อาการนอนไมห่ ลับเมอ่ื เดนิ ทางโดยเครื่องบิน และมกี ารเปลย่ี นเวลาจากซีกโลกหน่งึ ไปอีก ซกี โลกหนง่ึ 4) เซโรโตนิน (Serotonins) ถ้าสมองมีสารน้ีในระดับท่ี พอเหมาะ จะทาํ ใหเ้ ราร้สู ึกผอ่ นคลาย ไม่เครยี ด มองโลกในแงด่ ี ถา้ หากมรี ะดบั สารเซโรโตนนิ ต่ํา กจ็ ะ ทาํ ให้เกดิ อารมณ์ซมึ เศร้า

295 5) ซับสแทนซ์พี (Substance P) เป็นสารเคมีท่ีทาํ ให้เรา รู้สึกเจ็บปวด สารตวั นีจ้ ะเป็นตวั สือ่ ความเจบ็ ปวด และยา เช่น มอรฟ์ ีน หรือสารเอนดอรฟ์ นิ สามารถ ลดการทํางานของซับสแทนซ์พี ทําให้เรารสู้ ึกเจบ็ ปวดนอ้ ยลง 1.3.4.2 การสร้างและการทาํ งานของสารส่อื ประสาท การสร้างและการทํางานของสารส่อื ประสาท (Neurotransmitter) กระบวนการทัง้ หมดตั้งแตก่ ารสรา้ งสารสอื่ ประสาท (Synthesis) การเก็บรักษา (Storage) การหลง่ั สารสือ่ ประสาท (Release) และการกาํ จดั สารสื่อประสาท (Clearance) ซง่ึ กระบวนการท้ังหมดน้ี เรียกว่า “นิวโรทรานสมิสชั่น” (Neurotransmission) ซึ่งเป็นกระบวนการ เปล่ียนแปลงระหว่างปฏกิ ริ ิยาทางชีวเคมีและทางไฟฟ้าของเซลล์ ซงึ่ สามารถแบ่งกระบวนการดังกล่าว ได้ 3 ข้ันตอนดังนี้ 1) การสังเคราะห์และการเก็บสารสื่อประสาท บริเวณสาร ส่ือประสาทขนึ้ อยกู่ ับชนิดของสารสอ่ื ประสาท สารส่ือประสาทพวกอะเซทีลคลอรนี นอรอ์ ีพิเนฟรนิ โดปามนี อะดรีนาลีนและเซโรโตนนิ สารสอ่ื ประสาททีก่ ลา่ วถึงขา้ งต้นเหลา่ น้ี สรา้ งขึน้ บริเวณปลาย ประสาท (Nerve terminal) โดยเอนไซม์ (Enzyme) และสารต้งั ตน้ (Precursor) ที่อยู่ปลายประสาท ในขณะที่สารส่ือประสาทพวกโซมาโตสเตติน (Somatostatin) เอนเคพาลิน (Encephalin) ซบั สแตนซพ์ ี (substance P) สารสอ่ื ประสาทพวกน้ี จัดเป็นชนิดนวิ โรเปปไตด์ (Neuropeptid) ท่ถี กู สร้างขึน้ ตามกระบวนการสังเคราะห์สารโปรตีนทว่ั ไป (protein synthesis) ถงุ บรรจุสารสือ่ ประสาทท่ี สรา้ งข้นึ (Secretory vesicles) จะเคลอ่ื นไปยงั ปลายประสาทแบบทเ่ี รยี กวา่ “ฟาสทแ์ อกโซนอลทราน สปอรต์ ” (Fast axonal transport) และเรยี กถุงทบ่ี รรจสุ ารส่ือประสาทนว้ี ่า ถุงบรรจสุ ารสือ่ ประสาท ทไี่ ซแนปซ์ (Synaptic vesicles) ซ่ึงห่อหุ้มด้วยเย่ือหุ้มชั้นเดียว เป็นการป้องกันไม่ให้สารเหล่านี้ ถูกทําลายโดยเอนไซม์ที่อยู่ในไซโตพลาสซึมและออร์แกแนลของเซลล์ประสาท การเก็บสารสื่อ ประสาทจํานวนมาก ในถงุ จะเป็นการช่วยเพ่ิมประสทิ ธิภาพในการหลั่งสารส่ือประสาทไดท้ ีละมากๆ เมอื่ มศี ักยก์ ารทาํ งานมากระตนุ้ ใหเ้ กิดการหลั่งสารสอ่ื ประสาทออกจากปลายประสาท 2) กระบวนการหล่ังสารสื่อประสาท กลไกการหล่ังสาร สื่อประสาทเกิดข้ึนโดยคลื่นประสาทหรือศักย์การทํางานวิ่งมายังปลายประสาท กระตุ้นให้ไอออน แคลเซยี ม (Calcium) จากของเหลวนอกเซลล์ (Extracellular fluid) ซึมผา่ นเย่อื หุ้มเซลล์ปลาย ประสาทมากขนึ้ กระตุน้ ใหถ้ งุ บรรจสุ ารส่อื ประสาทเคลอ่ื นมารวมเย่ือหมุ้ เซลลป์ ระสาทแลว้ ปล่อยสาร ส่ือประสาทออกสู่ไซแนปซ์แบบเอกโสไซโตซิส (Exocytosis) ส่วนเยื่อหุ้มเซลล์ของถุงบรรจุสาร ส่ือประสาทจะกลบั เขา้ สไู่ ซโตพลาสซมึ เอาไวใ้ ชส้ ร้างถงุ บรรจุสารสือ่ ประสาทใหมต่ ่อไป ไซแนปซใ์ น สมองท่ัวไปกว้างประมาณ 200 อังสะตอม (AO) ส่วนไซแนปซ์ระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์ กล้ามเน้ือ (Neuromuscular synapse) ห่างกันประมาณ 500 อังสะตอม ใช้เวลาเดินทางถึง

296 เซลล์กลา้ มเนอ้ื ประมาณ 0.5 มิลลวิ ินาทถี งึ 2 มิลลวิ นิ าที เรียกคา่ น้ีวา่ ไซแนปซต์ ิคดเี ลย์ (synaptic delay) เมื่อสารส่อื ประสาทเดินทางไปยังเซลล์ถดั ไปแลว้ จะจับกับตวั รับทีเ่ ยือ่ หุม้ เซลล์ อิทธิพลของ สารสื่อประสาทตัวหน่ึงๆต่อการตอบสนองของเซลล์น้ันขึ้น ชนิดตัวรับท่ีปรากฏอยู่ในเซลล์น้ันๆ อย่างเช่น อะเซทีลคลอรีนท่ีจับกับตัวรับท่ีเซลล์กล้ามเน้ือโครงร่าง (Skeletal muscle) จะสง่ ผล ใหเ้ กิดการกระตนุ้ เซลลก์ ลา้ มเนือ้ หรอื เกิดการดีโพลาไรเซชนั่ เกดิ ขน้ึ เนอื่ งจากตวั รับที่เซลล์กลา้ มเนอ้ื เปน็ ตวั รบั ท่ีเรยี กวา่ “ตวั รับนิโคตนิ คิ ” (Nicotinic receptor) ท่สี ่งผลให้เกดิ การซึมผา่ นของโซเดียม เขา้ สเู่ ซลล์กล้ามเนือ้ ในขณะทส่ี ารส่ือประสาทอะเซทลี คลอรีนทจี่ บั กับตวั รบั ท่ีเซลลก์ ล้ามเนื้อหัวใจ กลับส่งผลให้เกิดการยับย้ัง (Inhibition) หรือเกิดไฮเปอร์โพลาไรเซช่ันของเซลล์กลา้ มเนอ้ื หัวใจ เนอื่ งจากตัวรับทีเ่ ซลลก์ ลา้ มเนือ้ หวั ใจเปน็ ตัวรบั ทีเ่ รยี กวา่ “มัสคารนิ คิ ” (Muscarinic receptor) ท่ี ส่งผลให้เกดิ การซมึ ผา่ นของโพแตสเซยี มออกสู่นอกเซลล์ กลไกท่กี ลา่ วมาขา้ งตน้ เปน็ ผลของสารส่อื ประสาทที่มตี อ่ การเปลีย่ นแปลงเขา้ ออกของไอออนต่างๆ โดยตรง (Ionotropic effect) สื่อประสาท ยังอาจมีผลไปกระตุ้นการเปลย่ี นแปลงเมแทบอลซิ ึมของเซลล์ท่ีกระตนุ้ (Metabotropic effect) โดยอาศัยระบบเอนไซม์ท่ีเรียกว่า “อะดีนัยเลสไซเคลส” (Adenylase cyclase system) แต่ กลไกชนดิ นี้เกดิ ข้ึนช้าและกนิ เวลานานและมผี ลตอ่ การเขา้ ออกของไอออนในเวลาต่อมา ยงั พบตัวรับท่ี ปลายประสาทของเซลล์ประสาทก่อนไซแนปซ์ (Presynaptic cell) ตัวรับชนิดน้ีเรียกว่า “ออโตรเี ซปเตอร”์ (Autoreceptor) ซ่ึงสารสอ่ื ประสาททจี่ ับกับตวั รบั ชนิดนี้ ส่งผลใหเ้ กิดการควบคุม แบบย้อนกลบั ชนดิ ลบ (Negative feedback mechanism) ยับยงั้ การหล่ังสารสอ่ื ประสาทออกมา มากเกินไป 3) กระบวนการกําจัดสารสื่อประสาท เป็นการกําจัดสาร ส่ือประสาทออกจากไซแนปซภ์ ายหลังท่สี ารสอ่ื ประสาทดงั กลา่ วทาํ ใหเกดิ สัญญาณศกั ย์การทาํ งาน หรือคลน่ื ประสาทใหมใ่ นเซลลต์ อบสนอง วธิ ีการในการกาํ จัดสารสือ่ ประสาทมอี ยู่ 3 วธิ ีดังนี้ (1) การทาํ ลายโดยเอนไซม์ อย่างเช่น อะเซทลี คลอรนี ถกู ทาํ ลายโดยอะเซทลี คลอรีนเอสเตอเรส (Acetylcholine esterase) ซึ่งอย่ตู ามผวิ ของเยอ่ื หุ้มเซลลไ์ ด้ สารคลอรนี (Choline) และกรดอะซตี ิค (Acetic acid) แล้วสารคลอรนี จะถูกดูดซึมกลับเข้าส่ปู ลาย ประสาท เพือ่ นาํ ไปใชใ้ นการสร้างสารสอ่ื ประสาทใหมอ่ กี คร้ังเป็นการประหยัดพลงั งาน สารที่ถกู ดูด กลับจะถูกใสเ่ ขา้ ไปในถงุ บรรจสุ ารส่อื ประสาทใหม่ กระบวนการดูดซมึ สารกลบั เข้าสปู่ ลายประสาทเปน็ การกระบวนการขนสง่ ท่ตี อ้ งใชพ้ ลังงาน (Active transport) (2) การแพร่กระจาย (Diffusion) ของสารสอ่ื ประสาทจาก ไซแนปสเ์ ขา้ สขู่ องเหลวนอกเซลลเ์ สน้ เลือดแล้วไปทาํ ลายในตบั ไตและกาํ จัดออกทางปสั สาวะในเวลา ตอ่ มา

297 (3) สารสอื่ ประสาทถกู ดูดซึมโดยเกลียลเซลล์ (Glial cell) ทอี่ ยู่รอบๆ ปลายประสาท เอาไปใส่ในไซโตพลาสซมึ ตอ่ ไปการตดิ ต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ต่อเซลล์ท่ี ไซแนปซ์ (Cell-to-cell communication) 1.3.4.3 การทาํ งานของสารเคมใี นสมอง 1) กลุ่มแรกกลุ่มกระตุ้นสมอง จะทําหน้าท่ีควบคุมประพฤติ การแสดงออกอารมณ์ ทาํ ให้สมองตื่นตัวและมคี วามสขุ ทําใหก้ ารอ่านข้อมูลขา่ วสารได้อยา่ งรวดเร็ว ทําให้รา่ งกายรู้สึกดี มคี วามสขุ ทําให้เพิ่มภมู ิตา้ นทาน สุขภาพแขง็ แรงจะหลง่ั มาก เมอ่ื ออกกําลังกาย การได้รบั คําชมเชย การร้องเพลง การเล่นเป็นกล่มุ ส่งิ แวดล้อมในห้องเรียนท่ีดี การให้ทาํ กจิ กรรม กล่มุ การไดร้ บั สมั ผัสทอ่ี บอนุ่ (affirmation touch) การมองเห็นคณุ ค่าของตนเอง การเลน่ ดนตรี และเรียนศิลปะโดยไมถ่ กู บงั คับ การได้รับสง่ิ ท่ชี อบความสมั พันธท์ ี่ดีตอ่ กนั ยกตวั อย่างกลุ่มแรก โดปามีน (Dopamine) : ควบคมุ การเคล่อื นไหว ถ้าต่ํามผี ล ตอ่ ความจาํ ท่ใี ช้กบั การทํางาน ถา้ สงู มากเกนิ ไปเกดิ โรคจติ ประสาทหลอนและจะลดลง เมอื่ อายมุ ากข้ึน ผู้ชายจะลดลงมากกว่าผู้หญิง เซโรโตนิน (Serotonin) : ทําใหร้ ู้สกึ อารมณด์ ี ทําหนา้ ท่ีส่ง ข้อมลู เกอื บทกุ ขา่ วสารผา่ นทตี่ า่ งๆ ในสมองถ้าขาดจะทําใหค้ นซมึ เศร้า มองคุณค่าตวั เองต่าํ อะเซทลิ โคลีน (Acetylcholine) : ควบคุมการเคล่ือนไหว ของร่างกายทาํ ใหข้ ้อมลู ส่งผา่ นได้ดีข้นึ มบี ทบาทสําคัญในความจาํ ระยะยาว ชว่ ยให้สมองเก็บความรู้ที่ เราเรียนในเวลากลางวนั ไปเก็บในสมองในเวลาท่เี รากาํ ลงั หลับ เป็นสารเคมีท่ีเกี่ยวขอ้ งกับความฝนั ถา้ ขาดสารนี้ทาํ ให้สมาธลิ ดลง ขี้ลมื นอนไมค่ อ่ ยหลับ เอนดอร์ฟิน (Endorphin) (Endogenous morphine) : เปน็ ยาชาในรา่ งกายตามธรรมชาติ ทําให้รสู้ ึกเจ็บนอ้ ยลง เชน่ ผู้หญงิ ขณะคลอดจะผลิตสารน้ี 10 เทา่ เปน็ สารเคมที ท่ี ําให้เกดิ ความสขุ อารมณด์ ีและสมองจะเจรญิ เตบิ โตและเรยี นรไู้ ด้ดี ถา้ ขาดสารนจ้ี ะทํา ให้เราขาดความสุข แม้จะฟงั เพลงทเ่ี คยชอบ ถ้ามีสารน้ีมากจะมอี ารมณด์ ีเป็นพิเศษ และสนกุ สนาน การออกกาํ ลังกายและทาํ กิจกรรมอนื่ ๆ จะทาํ ใหส้ ารนีห้ ลั่งหรอื การให้ทาน การช่วยเหลือผอู้ ื่นจะทาํ ใหส้ ารเคมนี ี้หลงั่ เช่นกัน สังเกตได้วา่ ถา้ ได้ชว่ ยเหลอื ผู้อ่นื หรือเรา ออกกําลังกาย จะทําให้รสู้ กึ ดี สมองปลอดโปรอ่ ง มคี วามสขุ แต่ไม่ใชอ่ อกกาํ ลังกายทีถ่ ูกบังคับหรือ เคยี่ วเข็ญซึง่ จะเกิดความทุกข์ แทนการหลง่ั ของ เซโรโตนิน (Serotonin) โดปามนี (Dopamine) เอนดอร์ฟิน (Endorphin) ทําใหเ้ ขาสามารถเรยี นรแู้ ละจาํ ไดด้ ีขึน้ และสมองจะเจรญิ เตบิ โตดี เกดิ จาก การออกกาํ ลังกาย การสัมผสั ท่ีอบอนุ่ การย้มิ แยม้ แจม่ ใสและการมีความสมั พันธท์ ีด่ ี การมองตนในแง่ดี การชมเชย การภูมใิ จตนเองทําให้ร่างกายร้สู กึ ดีและมีภมู ติ า้ นทานสูงข้ึน

298 2) กลุ่มกดการทํางานของสมอง เป็นสารเคมีที่เก่ียวข้อง กับความเครยี ดจะหลัง่ เมื่อสมองไดร้ บั ความกดดนั ความเครียดอย่างตอ่ เน่อื ง ซ่ึงทําให้ยับยง้ั การสง่ ขอ้ มลู ของแตล่ ะเซลลส์ มองยบั ยั้งการเจรญิ เตบิ โตของสมองและใยประสาท คิดอะไรไมอ่ อก ยับยง้ั เสน้ ทางความจาํ ทุกๆ สว่ นภูมิตา้ นทานต่ํา เปน็ ภมู แิ พ้ มะเรง็ ได้ง่าย ทาํ ลายเซลลส์ มองและใยประสาท (Khalsa,1997) Cortisol สงู ทําให้ Hyperactive กงั วล สมาธิสนั้ ควบคุมไมไ่ ด้ ความสามารถใน การเรยี นลดลง Cortisol คลา้ ย Adrenaline ถ้ามมี ากจะมพี ิษต่อสมอง เปน็ สารทีเ่ กย่ี วกับการตกใจ และการตอ่ สู้ การตอบสนองต่อความเครียด ถ้ามมี ากเกินไปจะมอี ันตรายตอ่ ทง้ั อารมณแ์ ละรา่ งกาย สารนี้จะหล่ังเมือ่ มีความรูส้ กึ ไมด่ ี ความเครยี ด (เรื้อรัง) มคี วามทกุ ข์ การมองเห็นคณุ คา่ ตวั เองตํา่ โดน ดุดา่ ทกุ วนั ซมึ เศร้า โกรธ เข้มงวดเกนิ ไป วิตกกังวล ซงึ่ จะทาํ ใหเ้ กดิ การทาํ ลายองค์ประกอบภายใน สมอง ไมว่ ่าใยประสาทต่างๆ หรือแมแ้ ตเ่ ซลลส์ มอง รวมท้งั จะหยุดยัง้ การส่งขอ้ มลู ระหว่างเซลลส์ มอง ทําให้ไม่เกิดการเรียนรู้ ซ่ึงเป็นสิ่งสําคัญท่ีพ่อแม่ ผู้ใกล้ชิดต้องระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหลา่ น้ี ในขณะสอนหรืออยู่กับเด็กภาวะ Cortisol สูงจะทาํ ให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติ เช่น เป็น โรคกระเพาะ ระบบไหลเวยี นโลหิต เชน่ ความดันโลหติ สูง โรคหวั ใจ หรือทาํ ใหภ้ มู ติ ้านทานตํ่า เปน็ โรคภูมแิ พ้ มะเร็งได้ง่าย ซ่ึงเคยมีเหตุการณ์เหล่านี้เกดิ ข้นึ บ่อยๆ เช่น อาจารย์ท่ดี ุหรอื เครง่ ครดั มากๆ หรอื คนท่ที ํางาน เครยี ดมากๆ นานๆ เกดิ มะเรง็ เต้านม มะเรง็ ตอ่ มลกู หมาก โรคหวั ใจ ฯลฯ 1.3.4.4 เส้นทางเดินของข้อมูลข่าวสาร ข่าวสารได้เข้าสูส่ มองโดยผ่านประสาทสมั ผสั ทั้งหา้ (หู ตา จมูก ล้นิ สมั ผัส) ขอ้ มลู ข่าวสารเหลา่ น้ัน จะถกู กลั่นกรองทบ่ี รเิ วณกา้ นสมองเขา้ สู่ทาลามสั (thalamus หรือ สมองชน้ั ใน) เพ่ือแยกแยะขอ้ มลู ข่าวสาร เช่น ถ้าเป็นข้อมลู ข่าวสารเกี่ยวกบั การเห็นทาลามสั จะสง่ ขอ้ มูลข่าวสารไปยงั หนว่ ยทีร่ บั ผิดชอบเก่ยี วกบั การเหน็ ของเปลอื กนอก (cortex) ถ้าไดเ้ ปน็ ข้อมลู ข่าวสาร ไปยงั หน่วยหรือเปลือกนอกทร่ี บั ผดิ ชอบเก่ยี วกบั การไดย้ นิ (auditory cortex) เมือ่ ข้อมลู เดนิ ทาง มาถงึ ซีรีบรลั คอรเท็ค (cerebral cortex) หรอื ซรี บี รมั (cerebrum) ก็จะตดั สนิ วา่ เราควรจะแสดง อาการทันทหี รือบนั ทกึ เก็บไวใ้ นหนว่ ยความจําทจ่ี ะทําใหจ้ ดจําได้นานๆ ขนึ้ กับภาวะอารมณ์และเหตกุ ารณ์ ขณะนั้น การทํางานของเซลล์สมองและใยประสาทในบางครั้ง เชน่ เวลา ท่เี ราเครยี ด ตระหนกตกใจหรอื ใจจดใจจอ่ กบั สิง่ ใดสง่ิ หนง่ึ ท่ตี น่ื เตน้ และนา่ สะพรึงกลัว สมองเราจะ ทํางานแตกต่างไปจากภาวะปกติ ขอ้ มูลขา่ วสารเหล่านน้ั จะเข้ามาทางกา้ นสมอง เพื่อตดั สนิ วา่ ข้อมูล ข่าวสารสําคญั และสง่ ต่อไปยงั ทาลามัส (thalamus) เพ่อื จัดกลุม่ และขอ้ มลู ข่าวสารจะถกู ส่งต่อไปยัง เปลือกนอกใหม่ (neocortex) เพ่ือตัดสินวา่ ควรจะมกี ารส่งต่อขอ้ มลู ไปเกบ็ ไว้ในหน่วยความจาํ ทท่ี าํ ให้ เราสามารถจดจาํ ไปไดน้ านๆ หากเราอยใู่ นภาวะเครยี ดหรอื ตืน่ เตน้ โดยเฉพาะเป็นเรอื่ งเกี่ยวกบั อารมณ์ สมองชั้นในจะเร่ิมทํางานทันที ในภาวะฉกุ เฉนิ โดยสั่งงานต่อไปท่กี า้ นสมองให้เราแสดงปฏิกิริยาทนั ที

299 (ก่อนทาลามสั จะสง่ ขอ้ มูลข่าวสารไปยังที่อ่ืน) หวั ใจจะเตน้ รัว มือเย็น สนั่ เป็นต้น และเตรยี มพรอ้ ม รา่ งกายของเรา สําหรบั ภาวะฉกุ เฉนิ โดยจะมีการหล่งั สารอะดรนี าลนี (adrenaline) และคอรตซิ อล (cortisol) ออกมา ทําใหร้ า่ งกายของเราเริ่มสง่ เลือด จากระบบการยอ่ ยอาหาร ไปยังแขนขาเพือ่ เป็น การเตรยี มรา่ งกายใหพ้ รอ้ มเพ่อื ความอย่รู อดหัวใจจึงตอ้ งเต้นเรว็ ขึ้น เพอ่ื ชว่ ยเร่งการส่งเลอื ดใหถ้ ึงท่ี หมายเร็วขึ้น การตอบสนองร่างกายแบบนี้ จะทาํ ให้ร่างกายสามารถอยู่รอดได้ ความเครียดและ การลัดวงจร (Stress and Downshifting) สารเคมที หี่ ล่งั ออกมาเวลาเครยี ด จะหยุดยง้ั การทํางาน ของสารสอ่ื นาํ ประสาท (neurotransmitter) ในภาวะปกติ และจะมกี ารส่งสญั ญาณลดั วงจรเกิดขน้ึ (downshifting) เปน็ อาการทสี่ มองเปลยี่ นการทาํ งานของระบบความคดิ การสง่ั งานท่ีสงู กวา่ ไปยังระดับท่ี ตํา่ กว่า เชน่ เม่อื เราเดินเข้าไปในห้างสรรพสนิ คา้ เป็นเวลาท่เี ปลือกนอกใหม่ (neocortex) ตัดสินใจ ว่า เราจะไปท่ีไหนและซื้ออะไร แต่ความที่กลัวว่า จะมีคนท่ีรู้จักมาพบเห็น สมองทาํ งานลดั วงจร โดยไม่ผ่านไปท่ีเปลือกนอกใหม่ (neocortex) เหมอื นเคย แตก่ ลับอยูใ่ นสมองชนั้ ในแทน ซงึ่ เปน็ สัญชาตญิ าณเกิดภาวะทางอารมณแ์ ละการเอาตัวรวดเกดิ ขน้ึ ทาํ ให้เราลมื ส่งิ ท่ีเราตอ้ งการซ้ือได้ จากการอธบิ ายระบบประสาทสว่ นกลาง อนั ประกอบดว้ ย ไขสันหลังและสมอง พัฒนาการ ของสมอง ส่วนประกอบของสมอง ประสาทรบั ความรสู้ กึ และสารสือ่ ประสาท นอกเหนอื จากนี้ ผู้เขยี นขออธบิ ายระบบประสาทอสิ ระ ซ่งึ เกดิ ขน้ึ ในรา่ งกายของเรา มรี ายละเอยี ดดงั ต่อไปน้ี 2. ระบบประสาทอสิ ระ ระบบประสาทอสิ ระ (Autonomic Nervous System) บางสว่ นของเส้นประสาทจาก สมองและเส้นประสาทจากไขสนั หลังมารวมกนั ทาํ หน้าท่เี ปน็ ระบบประสาทอัตโนมตั ิ โครงสร้างของ ระบบประสาทอัตโนมัติต่างจากระบบประสาทสว่ นกลาง คอื รอยต่อของเซลลป์ ระสาทอยนู่ อกระบบ ประสาท สว่ นรอยต่อของเซลล์ประสาทสว่ นกลางจะอยู่ในสมองและไขสันหลัง 2.1ระบบย่อยของระบบประสาทอิสระ ระบบย่อยของระบบประสาทอสิ ระ แบง่ ออกเป็น 2 ระบบย่อย คอื 2.1.1 ระบบซิมพาเตตคิ (Sympathetic Nervous System) ปมเซลล์ประสาท ของซิมพาเตติคอยู่ตรงบริเวณของชั้นสีเทาด้านข้างของปล้องไขสันหลังบริเวณอกท่ี 1 และ 12 (Thoracic se-ment 1-12) และปลอ้ งไขสนั หลังบริเวณเอว 1 ถึง 4 (Lumbar segment 1-4) มี หน้าทีส่ ่งเสรมิ ปฏกิ ิรยิ าที่เกีย่ วกับการใชพ้ ลงั งานในกรณที ีร่ า่ งกายอย่ใู นภาวะฉุกเฉิน เช่น อากาศหนาว จดั เกินไป ออกกาํ ลังกาย กลัวหรอื โกรธมาก ดงั น้ัน ถา้ บคุ คลทอ่ี ยใู่ นสภาพตงึ เครียดเชน่ ทกี่ ล่าวมา รา่ งกายจะมกี ารตอบสนองให้ความความดนั เลือดสูงขึ้น การตอบสนองนีส้ ่วนหนึง่ มาจากซมิ พาเตติค กระตุ้นหวั ใจเต้นเร็วข้ึนและส่วนหน่งึ เนอ่ื งจากกระตุน้ หลอดเลอื ดให้หดตวั น้าํ ตาลในเลอื ดเพม่ิ สงู ข้นึ

300 เพราะตบั ปล่อยออกมา หลอดลมขยายใหญ่เพ่ือทจี่ ะรบั อากาศใหม้ ากท่ีสดุ หลอดเลือดแดงท่ไี ปเล้ียง กลา้ มเนอ้ื ลายขยายเพ่ือให้เลอื ดไปเล้ียงมากข้ึนกระเพาะอาหารไมย่ อ่ ย การตอบสนองเหล่าน้เี พ่ือให้ ร่างกายเตรียมพร้อมสําหรับ “สหู้ รอื ถอยหน”ี 2.1.2 ระบบพาราซิมพาเตติค (Parasympathetic Nervous System) ปมประสาทของพาราซมิ พาเตตคิ อยู่ตรงบรเิ วณของไขสนั หลงั บรเิ วณกน้ กบปลอ้ งท่ี 2-4 (Sacral segment 2-4) และอยูท่ ีเ่ สน้ ประสาทของสมองท่ี 3,7,9 และ10 (Cranial nerve) มหี น้าท่ีส่งเสรมิ การทาํ งานที่เกย่ี วกับการทะนบุ ํารุงรา่ งกาย เมอ่ื รา่ งกายอย่ใู นภาวะสงบ ระบบนจ้ี ะทํางานเดน่ กว่า ระบบแรก กระเพาะอาหารและลําไส้ตอ้ งการทีจ่ ะย่อยอาหาร ตับเร่มิ ฟอรม์ ไกลโคเจน (นา้ํ ตาลส่วนเกิน ในเลือดถูกเปลี่ยนรูปเป็นไกลโคเจน) ตับอ่อนสร้างนาํ้ ย่อยออกมา อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง อยากพักผ่อน ช่วยขับถ่ายของเสีย อวัยวะเกือบทุกส่วนของร่างกายจะมีระบบย่อยท้ังสองนี้มา หล่อเลยี้ งอยแู่ ละสัง่ งานตรงข้ามกัน ตัวอยา่ งเช่น ถา้ ซิมพาเตตคิ กระตุน้ เร่งอวัยวะใดให้ทาํ กจิ กรรม เรว็ ขนึ้ พาราซิมพาเตคติ จะดึงใหช้ ้าลง ปกตแิ ล้วการทํางานแตล่ ะอวยั วะจะอยใู่ นสมดุลนโ้ี ดยการควบคุม ของ 2 ระบบนี้ สมดุลนี้อาจเปล่ียนแปลงได้ เช่น สภาวะตึงเครียด บางอวัยวะจะได้รับคําสั่งจาก ส่วนหนึ่งมากกว่าส่วนหน่ึงได้ แม้ว่าโครงสร้างส่วนใหญ่ของร่างกายถูกควบคุมด้วยระบบประสาท อัตโนมัติ ท้ังสองส่วนนี้มีจริงแต่มีบางอวัยวะท่ียกเว้นไม่มีพาราซิมเตคิตมีเฉพาะซิมพาเตคิต ได้แก่ กล้ามเน้ือเรียบของรากผม ต่อมเหง่ือ หลอดเลือดบริเวณผิวหนัง ต่อมหมวกไตช้ันใน โดยท่ัวไป การทาํ งานของซมิ พาเตคติ มผี ลให้เกดิ การตอบสนองท่ังรา่ งกาย ขณะที่พาราซิมพาเตคติ ทํางานจะมี ผลตอบสนองเฉพาะแหง่ เท่านน้ั

301 ภาพที่ 85 แสดงภาพการทาํ งานของระบบประสาทอสิ ระ (ท่มี า ศนั สนีย์ ตันตวิ ทิ ,2547 : 65) สรปุ ส่ิงสาํ คญั 3 ขอ้ เกยี่ วกับระบบประสาทอสิ ระ คอื หนง่ึ สองระบบยอ่ ยทาํ งานตรง ข้ามกันสองท้ังสองระบบย่อยนี้ จะมีเส้นประสาทถ่ายทอดส่งกระแสประสาทจากระบบประสาท สว่ นกลางไปยังอวยั วะต่างๆ (ยกเวน้ ที่ไปยังตอ่ มหมวกไตชน้ั ในทมี่ เี ฉพาะเสน้ ประสาทจากซมิ พาเตคิต) สาม ระบบประสาทอสิ ระนี้ควบคุมกล้ามเนอ้ื เรยี บทัง้ หมด กลา้ มเนอื้ หัวใจ และต่อมทห่ี ล่งั สารภายใน ร่างกาย ระบบประสาทอสิ ระเปน็ “ระบบนอกอํานาจจิตใจ” คอื กิจกรรมทีเ่ กดิ ข้ึนไมส่ ามารถควบคมุ ได้โดยตรงเหมือนกับที่ตั้งใจไว้ บางครั้งระบบประสาทท่ีอยู่ในอํานาจจิตใจสามารถมีอิทธิพลต่อ

302 การทาํ งานที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติได้ด้วย ยกตัวอย่าง เม่ือบุคคลตกใจจากการที่ได้เห็นหรือได้ยิน อะไรบางอย่าง ผลไม่เพียงแตก่ ารตอบสนองทีอ่ ยูใ่ ต้อาํ นาจจติ ใจ คือ วงิ่ หนสี ่งิ ทตี่ ามมา คอื การเปล่ยี นแปลงที่อยู่นอกอํานาจจติ ใจ เชน่ หัวใจเต้นเรว็ ขึ้น หลอดเลอื ดแดงที่เลย้ี งหัวใจขยาย มา่ นตาขยาย และตอ่ มเหงอ่ื ทาํ งานมากขึน้ อวยั วะ การตอบสนองเนอื่ งจาก การตอบสนองเนอื่ งจาก พาราซิมพาเตคติ ซิมพาเตคติ หลงั่ น้ําลายมากลกั ษณะใส ตอ่ มเหงอื่ สกดั เหงื่อ หร่ี ตอ่ มน้าํ ลาย หลั่งนา้ํ ลายจํานวนเลก็ นอ้ ย ช้าลง ลกั ษณะข้นเหนียว บีบตวั หล่งั สาร มา่ นตา ขยาย หดตัว หลั่งสาร อัตราการเต้นของ เพิม่ ข้ึน - หวั ใจ แบนราบ กล้ามเนอ้ื ลําไส้ ยบั ย้ังการบบี ตัว ต่อมท่ลี าํ ไส้ ยบั ยัง้ ไม่ใหห้ ลงั่ สาร หลอดลม ขยาย กล้ามเนื้อกระเพาะ ยับยั้งไมใ่ หห้ ลง่ั สาร ปัสสาวะ เสน้ เลือดทีผ่ ิวหนัง หดตัว ขน ต้งั ชนั ตารางที่ 14 แสดงการตอบสนองของอวัยวะที่ถกู กระตุ้นโดยซิมพาเตคติ และพาราซมิ พาเตคิต (ที่มา ศันสนีย์ ตันตวิ ิท,2547 : 67) การฝึกสมอง 1. ยุคของความหลากหลายทางสมอง ยุคแห่งความล้นหลายทางวัตถุ (Abundance) เอเซีย (Asia) และเทคโนโลยี (Automation) เมือ่ 30-40 ปกี อ่ นเม่ือสมยั เราเป็นเด็ก ผู้ปกครองมักสอนให้ลูกหลานตง้ั ใจเรียน ใหไ้ ด้ เกรดดีๆ เข้ามหาวทิ ยาลยั เรยี นให้สูง เพอ่ื จะได้หางานที่ม่ันคงทําได้ หลงั จากเรียนจบ ซึ่งนน่ั จะนาํ มา ซงึ่ ความม่นั คงและคณุ ภาพชีวติ ที่ดีในอนาคต ถา้ หากลกู เรียนคณติ ศาสตร์และวทิ ยาศาสตร์เก่ง พอ่ แม่

303 กจ็ ะสนับสนนุ ให้เรยี นแพทย์ ถ้าหากลกู เรยี นภาษาและสงั คมศาสตรเ์ ก่ง กจ็ ะส่งเสริมใหเ้ รียนกฏหมาย ถ้าหากลูกไม่ชอบวิทยาศาสตร์และภาษามากนัก ก็จะให้เรียนบัญชี จากนั้นไม่นานหลังจากยุคท่ี คอมพิวเตอรเ์ ฟื่องฟู เด็กท่เี ก่งคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กเ็ ลือกทจี่ ะเรยี นทางดา้ นคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีหรือไม่ก็เลือกเรียนบริหารธุรกิจโดยคิดว่า คําว่า “ความสําเร็จ” สะกดว่า “MBA” นกั กฏหมาย แพทย์ นักบัญชี วิศวกร และนกั ธุรกจิ ผ้บู ริหาร อาชพี เหล่าน้ี ถูกจดั อยูใ่ นพวกทเี่ รียกว่า “แรงงานปัญญาชน” (Knowledge workers) ซึ่งหมายความว่า เป็นกลมุ่ บุคคลทไี่ ด้รับค่าจ้างจาก การนาํ สง่ิ ทีไ่ ด้เรียนร้ใู นโรงเรยี นมาใชใ้ นการทํางาน แทนทจี่ ะนาํ กาํ ลังกายมาแลกค่าตอบแทน แตโ่ ลก ของเราในยุคต่อไปนี้ จะมีปัจจยั สําคญั 3 ประการ ที่จะเปน็ ตัวกาํ หนดวา่ เราจะอยู่รอดได้หรอื ไม่ ดงั น้ี (http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Thinking_is.htm 5 ตลุ าคม 2559) 1.1 ยคุ แห่งความลน้ หลามทางวตั ถุ (Abundance) ในยคุ ประวตั ิศาสตร์ เม่อื สมยั ที่ โลกของเรายงั ไมม่ ีเคร่อื งจักร ไฟฟ้า หรอื วิทยาการในการผลติ สิ่งของชวี ติ ของพวกเราตอ้ งเผชญิ กับคํา ว่า ขาดแคลน (Scarcity) แตป่ ัจจุบนั ชวี ิตของผู้คนตา่ งมคี วามร่ํารวยทางวตั ถุ ตวั อยา่ งเช่น เม่อื 30-40 ปีก่อน เม่ือถามชนชน้ั กลางในประเทศอเมรกิ า ความฝนั สูงสุดของคน ในยคุ นัน้ ก็คอื การมบี า้ นและ รถยนต์เปน็ ของตนเอง ปจั จุบนั สองในสามของ คนอเมรกิ นั มบี า้ นเปน็ ของตนเอง ในสว่ นของรถยนต์ ปจั จบุ นั ประเทศอเมรกิ า มีจาํ นวนรถยนตท์ ม่ี ากกวา่ จํานวนใบขับขท่ี มี่ ที ้งั ประเทศ หรือดูจากธรุ กิจให้ เช่าสถานทใี่ ช้ในการเก็บสิ่งของทีล่ ้นจากบ้านเรือนที่มสี งิ่ ของมากเกนิ กว่าบรเิ วณของตน (Self-storage business) ทีป่ จั จบุ นั มีมลู คา่ ตลาดรวมกว่า 170 ลา้ นเหรยี ญสหรฐั ตอ่ ปี และมแี นวโนม้ ว่าธุรกิจนี้จะ เตบิ โตข้นึ อีกมากในอนาคต ขณะเดยี วกนั ทสี่ งั คมเข้าสู่ยุคทม่ี คี วามล้นเหลอื ทางวัตถุ ทางกลับกนั คุณภาพ ชีวติ ความเป็นส่วนตวั ครอบครวั และความพอใจในชีวิตกลบั ลดนอ้ ยลงมาก 1.2 ความรงุ่ เรอื งของเอเซีย (Asia) แต่ละปีทอ่ี นิ เดยี จะผลติ นักศึกษาปริญญาทางดา้ น วิศวะคอมพิวเตอร์ ออกมาประมาณ 350,000 คน น่ันคือ เหตุผลว่าทาํ ไมบริษัทช้ันนาํ ทางด้าน เทคโนโลยใี นอเมรกิ าจึงย้ายฐานธุรกจิ ไปอินเดยี เหตผุ ลทที่ ําให้เกิดปรากฏการดังกล่าวก็เนอื่ งจากตน้ ทนุ การผลิตทีต่ ่าํ กวา่ ยกตัวอย่างเชน่ งานในการคดิ ค้นออกแบบชพิ คอมพวิ เตอร์ ซ่ึงทวั่ ไปแล้วในอเมรกิ า พนักงานในหนา้ ท่นี ีจ้ ะได้รบั เงินเดือนประมาณ 7,000 USD แต่เม่อื บริษทั จ้างคนอินเดีย (ซง่ึ ก็มคี วามรู้ ความชาํ นาญทดั เทียมกนั ) ในประเทศอินเดยี บรษิ ัทจ่ายเงนิ ค่าจา้ งเพียงแค่ 1,000 USD หรอื ไมว่ ่า งานทางดา้ นบัญชี ซึง่ โดยเฉลี่ยนกั บญั ชีในอเมรกิ าจะมีเงนิ เดอื น ประมาณ 5,000USD แต่ค่าแรงนกั บญั ชใี นฟลิ ลปิ ปนิ ส์ ตกเพยี งเดอื นละประมาณ 300USDเทา่ นนั้ 1.3 เทคโนโลยี (Automation) ในปี 1996 Garry Kaspatrov นกั เล่นหมากรกุ อนั ดับ หนึ่งของโลก ถูกท้าชิงให้แขง่ ขนั เลน่ หมากรุกกบั คอมพิวเตอร์ เขาพ่ายแพใ้ นเกมสก์ ารแขง่ ขนั ครง้ั นนั้ ในการเล่นหมากรกุ ผเู้ ล่นจําเป็นต้องมสี มาธิมีความคดิ ทเี่ ปน็ ระบบ มกี ารคํานวนเกมสท์ ด่ี ี ซ่ึงส่ิงเหล่าน้ี คอมพิวเตอร์ก็ชนะมนุษย์ได้อยา่ งง่ายดาย เหตุผลกเ็ พราะคอมพิวเตอร์เหน่ือยไมเ่ ป็น ปวดหวั ไม่เป็น

304 ไม่มคี วามกดดนั ต่อความพา่ ยแพ้ ไม่กังวลวา่ ผู้เขา้ ชมการแขง่ ขันและนกั วิจารณ์จะจับจ้องและพูด อยา่ งไร ในอนาคตงานประจํา (Routine jobs) ใดๆ ทส่ี ามารถลดขั้นตอนงานได้ออกเป็นข้ันๆ งาน เหล่านั้นจะกลายเปน็ งานของคอมพิวเตอรไ์ ป นกั โปรแกรมเมอรท์ ี่สามารถเขยี นภาษาโปรแกรมได้ รวดเรว็ ถงึ 400 บรรทดั ต่อวัน กย็ ังแพ้โปแกรมทชี่ ่อื ว่า Appligenics ทสี่ ามารถทํางานเดียวกันไดเ้ สรจ็ ดว้ ยเวลาท่นี ้อยกวา่ หน่งึ วนิ าที ในการอย่รู อดในโลกอนาคต บุคคลและองค์กรจาํ เป็นจะตอ้ งคาํ นงึ วา่ งานทเ่ี ราทาํ อยู่น้นั ตอบโจทยส์ ามขอ้ ตอ่ ไปนี้ได้หรือไม่ 1.3.1 งานทฉี่ ันทําอยู่น้ี จะมีคนอื่นในตา่ งประเทศ (โดยเฉพาะจีน อนิ เดยี ) จะทํา ได้ดีเท่ากัน แต่ถกู กวา่ ไหม 1.3.2 งานที่ฉนั ทาํ อยู่น้ี คอมพวิ เตอร์จะสามารถทําไดเ้ รว็ และดีกว่าไหม 1.3.3 งานทฉ่ี นั ทําอยูน่ ี้ อยใู่ นความตอ้ งการของยคุ ทมี่ คี วามเฟ่ืองฟูทางดา้ นวตั ถุ ไหม ความอยรู่ อดในยคุ ปจั จบุ นั จะขนึ้ อยกู่ บั ความสามารถท่จี ะทาํ งานทแ่ี รงงานตา่ งชาตไิ มส่ ามารถทาํ ได้ ถูกกวา่ งานทค่ี อมพวิ เตอรไ์ ม่สามารถทําได้เรว็ กวา่ และงานท่สี ามารถตอบโจทย์ความตอ้ งการของ มนุษยใ์ นยุควตั ถนุ ยิ มในปจั จุบนั 2. หนา้ ที่ของสมอง สมองเป็นอวยั วะหนงึ่ ของร่างกายทีเ่ ป็นศนู ยร์ วมของระบบประสาท เปน็ ศูนย์กลางใน การควบคุมและจัดระเบียบ การทํางานทุกชนิดของร่างกาย สมองของมนุษย์ ประกอบด้วย เซลล์ สมอง ประมาณรอ้ ยลา้ นลา้ นเซลล์ ซง่ึ เปน็ จาํ นวนท่ีไมแ่ ตกต่างกนั ระหวา่ งทารกแรกเกิดกับผใู้ หญ่ แต่ใน ผใู้ หญ่เซลลส์ มองจะมีขนาดใหญแ่ ละยาวกว่าและจะมจี าํ นวน เดนไดรท์ (dendrite) ของเซลล์สมอง มากขึ้น ทําใหก้ ารเชื่อมโยงระหวา่ งเซลลส์ มองมากข้นึ โดยเซลลส์ มองเซลลห์ น่งึ ๆ จะเชื่อมโยงไปยัง เซลลส์ มองเซลล์อื่นๆ อีกสองหมื่นห้าพันเซลล์ เพื่อส่งขา่ วสารกัน โดยกระแสประสาท จะเกดิ ปฏิกิริยา เรียกว่า “ไซแนปส”์ (synapse) แล้วแตว่ า่ จะเปน็ ด้านรบั - ส่งสมั ผสั ตา่ งๆ เชน่ ปฏกิ ิริยาการเคลื่อนไหว กลา้ มเนอื้ ความรสู้ ึก ความจํา อารมณท์ ั้งหลาย ฯลฯ จงึ ผสมผสานกันขึ้นกลายเปน็ การเรียนรนู้ ําไปสู่ การปรับตัวอย่างเฉลียวฉลาดของมนษุ ยแ์ ตล่ ะคน (http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Thinking_is.htm 5 ตุลาคม 2559)

305 ภาพท่ี 86 แสดงภาพหนา้ ทขี่ องสมองซกี ซา้ ยและสมองซกี ขวา (1) (ทมี่ า http://jakkapantip.blogspot.com/ 29 กันยายน 2559) ภาพที่ 87 แสดงหน้าทขี่ องสมองซกี ซ้ายและสมองซีกขวา (2) (ทมี่ า http://jakkapantip.blogspot.com/ 29 กันยายน 2559)

306 2.1 หนา้ ที่ของสมองซีกซา้ ยกบั สมองซีกขวา รอเจอร์ สเพอรร์ แี ละรอเบิร์ต ออรน์ สไตน์ จากสถาบันเทคโนโลยีแหง่ แคลฟิ อร์เนีย ได้รับรางวัลโนเบลในปี ค. ศ. 1972 จากการคน้ พบว่า สมองของคนเราแบง่ ออกเป็น 2 ซกี คือสมอง ซีกซา้ ยกับสมองซีกขวา และแต่ละซกี มหี นา้ ท่ี ดงั น้ี 2.1.1 สมองซกี ซา้ ย (Left Hemisphere) สมองซีกซ้ายจะควบคุมดูแล พฤติกรรมของมนษุ ย์ในเรอื่ งต่างๆ ตอ่ ไปนี้ 2.1.1.1 การคิดในทางเดยี ว (คดิ เรือ่ งใดเร่อื งหนงึ่ ) สมองซีกซา้ ยควบคุม ซกี ขวาของรา่ งกาย สมองซีกขวาควบคุมซกี ซ้าย สมองซีกขวาส่ังให้เราหนั หนา้ จากขวาไปซา้ ย สมอง ซกี ซา้ ยสัง่ ใหเ้ ราหันหน้าจากซ้ายไปขวา เพราะสมองซกี ขวาเป็น ‘ศิลปนิ ’ มากกวา่ สมองซกี ซา้ ย ผู้เป็น ‘นักคดิ เลข’ ของเรา ภาษาท่ีอ่านจากขวาไปซา้ ยจึงดูเหมอื นภาพเขยี นภาษาทอ่ี า่ นจากซา้ ยไปขวาจึงดู เหมือนสัญลักษณ์ แต่ถา้ หากไรห้ ัวใจเราอ่านออกไปกเ็ ทา่ น้นั เพราะเราจะไม่อาจได้ยนิ เสียงรํ่าร้องของ ผู้เพรียกหาความเป็นธรรมผา่ นตวั หนงั สอื (http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Thinking_is.htm 5 ตุลาคม 2559) 2.1.1.2 การคดิ วิเคราะหห์ รือแยกแยะ สมองซกี ซา้ ยวเิ คราะหร์ ายละเอียด สมองซีกขวาสงั เคราะห์ภาพรวม เชน่ สมองซีกซ้ายชว่ ยใหเ้ ราบนั ทกึ จํานวนผูย้ ากไร้ และสมองซีกขวา ก็ช่วยให้เรามองเห็นความเก่ียวโยงระหว่างความยากจนกับโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และ การเมอื ง 2.1.1.3 การใชต้ รรกศาสตรแ์ ละเหตุผลเชงิ คณิตศาสตร์ สมองซกี ซา้ ย เขา้ ใจลําดบั เหตกุ ารณ์ สมองซกี ขวาเขา้ ใจปรากฎการณ์ทม่ี หี ลายสง่ิ เกิดข้ึนพรอ้ มกัน เชน่ สมองซีกซา้ ย เชี่ยวชาญดา้ นเนือ้ หา สมองซกี ขวาเชีย่ วชาญดา้ นบริบท เวลาได้ยินใครพูดเสยี งหว้ นว่า “คนบา้ นนอก ไร้การศึกษา” สมองซกี ซา้ ยจงึ ทําใหเ้ รารับรู้วา่ ประโยคนห้ี มายความวา่ อะไร และสมองซีกขวากท็ ําให้ เรารับรูว้ ่า คนพดู ตงั้ ใจถากถางอยา่ งไร 2.1.1.4 การใชภ้ าษา มที ัง้ การอา่ นและการเขียน สมองซกี ซา้ ยจึงเขา้ ใจ ภาษาพูด อ่าน เขียน และสมองซกี ขวาก็เขา้ ใจภาษาของแววตา สหี นา้ และทา่ ทาง สรุปได้วา่ สมองซกี ซ้ายจะควบคุมดแู ลพฤตกิ รรมของมนษุ ยท์ เี่ กย่ี วกับ การใชเ้ หตุผล การคิดวเิ คราะห์ ซ่งึ เป็นลกั ษณะการทาํ งานในสายของวชิ าทางวิทยาศาสตร์ (Sciences) เปน็ สว่ นใหญ่ นอกจากน้ี สมองซีกซา้ ยยงั เปน็ ตวั ควบคมุ การกระทาํ การฟัง การเห็นและการสมั ผสั ตา่ งๆ ของรา่ งกายทางซีกขวา

307 2.1.2 สมองซกี ขวา (Right Hemisphere) สมองซีกขวาจะควบคมุ ดูแล พฤติกรรมของมนุษยใ์ นเรอ่ื งต่างๆ ตอ่ ไปนี้ 2.1.2.1 การคดิ ของสมองซีกขวา 1) การคดิ สร้างสรรค์ (Creative Thinking) 2) การคิดแบบเส้นขนาน (คดิ หลายเรื่อง แตล่ ะเร่อื งจะไม่เกี่ยวข้องกัน) 3) การคิดสังเคราะห์ (สรา้ งส่งิ ใหม่) 4) การเห็นเชิงมิติ (กวา้ ง ยาว ลกึ ) 5) การเคลอ่ื นไหวของรา่ งกาย ความรกั ความเมตตารวมถึง สัญชาตญิ าณและลางสงั หรณ์ต่างๆ ภาพที่ 88 แสดงภาพหลกั สาํ คัญของความถนดั ของสมองซีกขวา (ท่มี า https://www.google.co.th/ 29 กันยายน 2559)

308 2.1.2.2 หลักสาํ คัญของสมองซกี ขวา การทาํ งานของสมองซีกขวาที่ว่าด้วยเร่ืองเกี่ยวกับความคิด ริเร่ิมสร้างสรรค์ การสร้างมโนภาพและการมีคุณธรรม โดยหลกั การในการสร้างความสาํ เรจ็ ดงั กล่าว มคี วามสาํ คัญ ดังนี้ (http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Thinking_is.htm 5 ตลุ าคม 2559) 1) มีความคดิ รเิ ริ่มสรา้ งสรรค์ เน้นการออกแบบ (Design) ไมใ่ ช่ เนน้ แตก่ ารใช้งาน (Function) สามารถออกแบบนวตั กรรมหรือสินคา้ ใหมๆ่ ออกสู่ตลาด โดยความคดิ รเิ รม่ิ สร้างสรรค์น้นั จะเกิดข้นึ จากการต้งั คาํ ถามต่างๆ เพื่อสนองตอบตอ่ ความต้องการของลกู คา้ เป็น หลกั เชน่ สนิ คา้ ของเราแพงไปหรอื ไม่ ใชส้ ะดวกหรือไม่ รูปลกั ษณน์ า่ ใชห้ รือไม่ หรอื ใชแ้ ลว้ คมุ้ หรอื เปลา่ เป็นตน้ คาํ ถามเหลา่ นจี้ ะตอ้ งเกิดจากความรู้สึกทวี่ ่าถา้ เราเป็นลูกคา้ เราจะรสู้ กึ อย่างไร ซึง่ เป็น การทํางานของสมองซกี ขวา 2) เป็นนกั เลา่ เรอื่ ง (Story) ไมใ่ ช้ใชเ้ หตุผลอย่างเดียว (Argument) การจะเปน็ ผูน้ ําพูดแล้วมีคนฟัง เป็นทนี่ า่ จดจําและมีคนนาํ ไปปฏบิ ัติตาม จะต้องรู้จัก ถ่ายทอดเร่ืองราวต่างๆ โดยการผูกเป็นเรอื่ งราว ใหน้ า่ ตดิ ตาม นา่ สนใจและเขา้ ใจง่าย โดยการเลา่ ควร เล่าสัน้ ๆ มกี ารขมวดมุมใหผ้ ้ฟู งั ไดค้ ดิ ตามและที่สาํ คัญจะตอ้ งกระตนุ้ อารมณ์ของผู้ฟงั ให้รู้สึกคล้อยตาม ในสิ่งท่ีเราพูดตระหนักถึงความสาํ คัญในส่ิงท่ีเราพูดและนําไปปฏิบัติตามทันที ซ่ึงการกระทาํ เชน่ น้ี เปน็ การทาํ งานของสมองซีกขวา โดยผู้พดู จะต้องสรา้ งมโนภาพกอ่ นที่จะเลา่ เร่ือง ผสมผสานส่งิ ที่ แตกต่างให้เข้ากันได้เป็นอย่างสอดคล้อง (Symphony) ไม่ใช่เน้นบางส่วนดี (Focus) ในกรณีที่ ผู้ร่วมงานไม่ลงรอยกันหรือมคี วามสามารถแตกต่างกนั แตจ่ ําเปน็ ตอ้ งทํางานร่วมกนั ผ้นู าํ ท่ีเกง่ จรงิ จะตอ้ งมองขา้ มคําวา่ “เปน็ ไปไม่ได้” และสามารถผสมผสานสิง่ ท่ีแตกตา่ งให้เกดิ ความขดั แย้งกันน้อย ท่สี ุด มคี วามไว้วางใจและเตม็ ใจทจี่ ะใหค้ วามร่วมมอื ซึง่ กันและกัน จนเกดิ เป็นทมี เวริ ์คข้นึ ในองคก์ ร นอกจากน้นั ผนู้ ําจะตอ้ งรู้จักคิดนอกกรอบ นอกกฏเกณฑ์หรือนอกตาํ ราบา้ ง เพื่อสรา้ งความคดิ รเิ รมิ่ ใหมๆ่ เพอ่ื ผลกั ดันองคก์ รไปสู่เป้าหมายท่ีวางไว้ 3) เข้าถึงจิตใจของผู้อื่น (Empathy) ไม่ใช่เน้นแค่ตรรกะ (Logic) การเอาใจเขามาใสใ่ จเรา สามารถทาํ ไดโ้ ดยการสร้างมโนภาพ วา่ ถา้ เราเป็นอีกฝ่าย ทาํ ไมเรา จึงแสดงพฤติกรรมเช่นนอี้ อกมา เพราะเหตใุ ด เม่ือเราเขา้ ใจอกี ฝ่ายจะทาํ ให้เราเห็นอกเห็นใจคนๆ นนั้ ไปโดยปรยิ าย ดังนัน้ ผนู้ ําทตี่ อ้ งการจะประสบความสาํ เร็จ เปน็ ท่นี า่ เคารพรกั และศรทั ธาจากบคุ คล รอบข้าง จะต้องมีความเข้าอกเขา้ ใจลกู น้อง เพ่อื นรว่ มงาน และลกู คา้ เปน็ ตน้ 4) มีความสุขในการทํางาน (Play) ไมจ่ รงิ จังเกินไป (Seriousness) การจะประสบความสําเร็จในหน้าท่ีการงาน มีความกระตือรอื รน้ ในการทํางานและ ลูกน้องรักใคร่ปรองดอง ผู้นาํ จะตอ้ งสร้างความรกั ความพอใจในงานให้เกิดขน้ึ ในจิตใจของลกู นอ้ ง

309 และในจิตใจของตนเองใหไ้ ดเ้ สยี กอ่ น การสรา้ งฉนั ทะในการทํางานทาํ ไดโ้ ดย การบอกตนเองเสมอว่า สงิ่ ท่ีเรากาํ ลังทาํ อยู่ตรงหนา้ น้ีเปน็ บนั ไดก้าวหน่งึ ท่ีจะนําพาเราไปสคู่ วามสาํ เร็จที่ตั้งไว้ เมอ่ื คิดไดเ้ ช่นน้ี เราจะไม่เหนอื่ ยกบั การทาํ งานเลย เราจะทาํ งานด้วยความเต็มใจ และมคี วามหวังอยตู่ ลอดเวลา 5) มีคํานิยามให้กับชีวิตของตัวเอง (Meaning) ไม่ได้ทาํ เพ่ือ ประโยชน์สว่ นตน (Accumulation) คนจะประสบความสาํ เร็จไดจ้ ะต้องมีนยิ ามให้กบั ชวี ิตของตวั เอง โดยการต้งั คาํ ถามกับตนเองว่า ชวี ิตนเ้ี ราเกิดมาเพื่ออะไร เราต้องการชีวิตแบบไหน ทผี่ ่านมาเราเคยมี ความสขุ ทแี่ ท้จริงบ้างหรอื เปล่า เราเคยทาํ ประโยชน์อะไรให้กบั สงั คมหรอื ประเทศชาติบา้ งหรอื ไม่ และเมอ่ื เราจากโลกนี้ไปเราอยากใหค้ นข้างหลังจดจําเราได้ในภาพลักษณแ์ บบใด เปน็ ต้น สรปุ ไดว้ ่า สมองซีกขวาจะควบคมุ ดแู ลพฤติกรรมของมนุษยท์ ่ีเกีย่ วกบั ความคิดสร้างสรรค์ จริยธรรม อารมณ์ ซ่ึงเปน็ ลกั ษณะการทาํ งาน ในสายของวิชาการทางศลิ ปศาสตร์ (Arts) เป็นส่วนใหญ่และยังเป็นตัวควบคุมการทํางานของร่างกายทางซีกซ้ายด้วย ความสําคัญกับ การใช้สมองซกี ซา้ ย สง่ เสริมการฝึกฝนความสามารถในการใชเ้ หตุผล การใช้ภาษาอย่างมาก อยากให้ เดก็ ๆมีอาชพี เปน็ แพทย์ เปน็ นกั วิทยาศาสตร์ การส่งเสริมทางดา้ นความคิดสร้างสรรค์มนี อ้ ย ดงั เช่น “วา่ นอนสอนง่าย” “เดนิ ตามผใู้ หญ่หมาไมก่ ดั ” ต่อมาเห็นความสําคัญกบั การใช้สมองซีกขวา เช่น การส่งเสริมการแสดงออกแบบตา่ งๆ การส่งเสรมิ สนับสนุนให้เดก็ เรียนทางด้านการออกแบบ การแสดง และการประชาสมั พันธ์จากการท่ีสมองทั้งสองซีกทําหนา้ ทตี่ ่างกนั เราจึงสามารถสรปุ เกย่ี วกับลกั ษณะ ของบุคคลซ่งึ ใช้สมองด้านใดดา้ นหน่ึงมากกว่าอีกดา้ นหนึ่งได้ ดงั นี้ สําหรับคนที่ทาํ งานโดยใชส้ มองซกี ขวามากกวา่ ซีกซ้ายจะมีลักษณะเด่นทีแ่ สดงออกคือ เป็นคนท่ีทาํ อะไรตามอารมณ์ตนเอง อาจมีอารมณ์ ออ่ นไหวได้ง่าย แตจ่ ะเป็นคนท่มี คี วามคดิ สร้างสรรคส์ งู เหมาะสําหรบั การเป็นนกั ออกแบบ เป็นศิลปิน สําหรบั คนทที่ าํ งานโดยใชส้ มองซกี ซ้ายมากกวา่ ซกี ขวาจะมลี กั ษณะเด่นท่แี สดงออกมา ดังน้ี คอื ทํางาน อยา่ งเปน็ ระบบเป็นขั้นเปน็ ตอนเป็นเหตุเปน็ ผลด้วยความคดิ เชงิ วิเคราะห์เปรยี บเทยี บ เหมาะสาํ หรับ งานทางด้านวิทยาศาสตร์ การออกแบบระบบงานตา่ งๆ แต่อาจทาํ ให้ไม่ไดค้ ํานงึ ถงึ จติ ใจของคนรอบ ข้างมากนัก จากข้อสรุปดังกล่าว จะเห็นว่า ถ้าเราใช้สมองด้านใดด้านหน่ึงมากกว่าอีกด้านหนึ่ง อาจจะทาํ ใหเ้ กิดผลเสียได้ 2.2 การใชส้ มองทง้ั สองซีก การใช้สมองท้ังสองซกี มรี ายละเอยี ดดงั ต่อไปนี้ (ดษุ ฎี บรพิ ตั ร ณ อยธุ ยา, 2548: 11) 2.2.1 การทาํ ให้รา่ งกายผ่อนคลายทงั้ ก่อนและระหว่างการทํางาน จะช่วยให้ เข้าถึงศักยภาพอันน่าทึ่งของสมองซีกขวาได้ง่ายขึ้น การผ่อนคลายช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน สว่ นผสมของเคมใี นสมอง และช่วยใหเ้ กดิ การไหลเวยี นของข้อมลู ทเี่ ป็นสญั ญาณไฟฟา้ ภายในบริเวณ คอรเ์ ทก็ ซซ์ ่งึ ทง้ั หมดนจ้ี ะชว่ ยให้การใช้สมองทกุ สว่ นเพอื่ คิดและเรยี นร้ทู เ่ี ปน็ ไปได้ง่ายและรวดเร็วย่ิงข้ึน

310 2.2.2 การเคลื่อนไหวรา่ งกายท่มี ผี ลตอ่ การเรียนรู้ หรอื Brain Gym คือ การนํา ประโยชน์จากการเคลอ่ื นไหวร่างกายมาสรา้ งความแขง็ แกรง่ ใหก้ ับเครือขา่ ยการสื่อสารของสมองผา่ น คอรป์ ัส แคลลซู ัม ตัวอยา่ งเช่น การเคล่ือนไหวสลบั ข้างและมจี ุดตดั กลางลําตัว สามารถขจดั สิ่งต่างๆ ท่มี าขวางกนั้ การเช่ือมโยงของสมองสองซีก และเพ่มิ ความสามารถในการใชส้ มองทัง้ หมดให้ทํางาน ประสานสอดคล้องกันยิ่งขึ้น 2.2.3 การใชค้ วามคิดสรา้ งสรรค์และจนิ ตนาการ เป็นการเสรมิ สรา้ งความแขง็ แกร่ง ให้กับสมองทุกส่วน ในขณะที่เราใช้สมองซีกขวาทํางานด้านศิลปะ ดนตรี ความคิดสร้างสรรค์และ จนิ ตนาการ จะเปน็ การเสริมความแข็งแกร่งให้กับส่วนทที่ ําหน้าทีส่ มองท้งั สองซีกเขา้ ด้วยกัน ซง่ึ เป็น ผลใหเ้ กิดการเรยี นรู้ทม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพมากย่ิงขึ้น ดงั นัน้ เราทกุ คนควรใชส้ มองท้งั สองซีก เมือ่ เจอปัญหาการหาทางแก้ปญั หา เรา ใชส้ มองซีกขวา ใช้จนิ ตนาการ ในการหาหนทางแกป้ ัญหา โดยคิดถึงผลทไ่ี ดโ้ ดยรวมซง่ึ คดิ ได้หลายวิธี แต่ในขณะเดยี วกนั เราก็ใชส้ มองซีกซา้ ยเพราะว่า เราจาํ เปน็ ต้องรูว้ ่า อะไรคอื ความจริงเพื่อใช้ความสามารถ ในการวิเคราะห์และการจดั การเพ่ือให้สามารถดาํ รงชวี ิตได้อยา่ งมีความสุข 3. คล่ืนสมอง เราสามารถจับภาพสญั ญาณไฟฟ้าท่ีปลดปล่อยมาจากสมองไดบ้ นเครอื่ งตรวจจับท่ี เรียกวา่ electro-encephalograph ภาพทีเ่ หน็ แสดงถงึ กระแสไฟฟา้ ในความถ่ตี า่ งๆ สอดคลอ้ งตาม กิจกรรมทเ่ี กิดขึน้ ขณะนั้นคลนื่ สมองเหลา่ นเี้ กี่ยวโยงกับการเคลื่อนไหวของพลงั งานไฟฟา้ ภายในเซลล์ สมองและส่งตอ่ ไปยงั ช่องไซแนปส์ (ดษุ ฎี บริพตั ร ณ อยธุ ยา, 2548: 9)

311 ภาพท่ี 89 แสดงภาพคลน่ื สมอง (ท่มี า https://www.google.co.th/search/ 29 กันยายน 2559) 3.1 ประเภทของคลืน่ สมอง ประกอบด้วย 3.1.1 คลืน่ เบตา คือ คล่ืนไฟฟ้าที่อยู่ในย่านความถ่ี 13-25 รอบตอ่ วินาที ถือวา่ มีความเรว็ สูงสดุ แต่มีความยาวคลนื่ สัน้ ที่สุด เมือ่ ใชส้ มองมงุ่ ส่กู ารเรยี นรูท้ วั่ ๆไปพร้อมกับระบบประสาท สัมผสั ทุกดา้ นเพอ่ื เปิดรับข้อมลู คล่นื เบตาจะถกู ปลดปลอ่ ยออกมาเป็นหลักและเกย่ี วกบั ความจําระยะ สั้น 3.1.2 คล่ืนอลั ฟา คือ คล่ืนไฟฟา้ ทอ่ี ยใู่ นยา่ นความถ่ี 8-12 รอบตอ่ วนิ าที จะถูก ปลอ่ ยออกมาเป็นหลัก เม่อื เราพกั ผอ่ นและมีความสงบ แตย่ งั อยู่ในสภาวะทีร่ สู้ ึกตวั สภาวะเชน่ นเี้ รารับ ขอ้ มลู ได้ดีที่สุด และเป็นชว่ งเวลาทเ่ี กิดความจําและการเรยี กความจาํ ได้ง่ายและเรว็ ทีส่ ดุ 3.1.3 คล่นื ธีตา คือ คลื่นไฟฟ้าทอ่ี ยู่ในยา่ นความถ่ี 4-7 รอบต่อวนิ าที จะเปน็ คล่ืนที่ถกู ปล่อยออกมาเปน็ หลักเมอ่ื มีการผอ่ นคลายระดับลึก ความคดิ สรา้ งสรรค์ ความเขา้ ใจท่ีอาศัย ญาณปัญญาไดอ้ ย่างลกึ ซึ้ง และการแกป้ ัญหาไดโ้ ดยไมร่ ูต้ ัวนั้น ลว้ นเกีย่ วข้องกบั คล่นื ธตี า ขณะทเ่ี ราอยู่ ในสภาพฝันกลางวนั หรือการเข้าสมาธิลึกๆ เราจะไดพ้ บคาํ ตอบของปญั หาและแรงดลใจที่ผดุ ขึน้ มา เมอ่ื คล่ืนธีตาถกู ปลอ่ ยออกมาเปน็ หลกั เราจะสามารถเข้าถึงและเรียกความจาํ ระยะยาวไดง้ า่ ยข้นึ นอกจากนี้ ยงั มีสว่ นเกยี่ วข้องกับทักษะของเราในการตอบโต้ต่อสิ่งต่างๆ ทเ่ี กิดขนึ้ โดยอัตโนมัติ

312 3.1.4 คล่นื เดลตา คือ คล่ืนไฟฟา้ ท่อี ย่ใู นยา่ นความถี่ 0.5-3 รอบต่อวินาที เปน็ คล่ืนทปี่ ล่อยออกมาชา้ ทส่ี ดุ และมกั เกิดขึน้ ในขณะนอนหลบั เปน็ สภาวะทส่ี มองทํางานแบบอตั โนมัติ ตามความจําเปน็ เทา่ นนั้ ผู้ทอ่ี ยู่ในสภาวะนจี้ ะไมม่ กี ารใชค้ วามคิดอยา่ งรู้ตวั มแี ต่กระบวนการของจติ ใต้ สาํ นกึ ทเ่ี กย่ี วข้องกับการจดั และเกบ็ ข้อมลู โดยไม่รู้สกึ ตวั อย่างต่อเนอื่ ง 3.2 คลน่ื สมองกบั การเรยี นรู้ ส่วนใหญ่พบความรู้สึกว่า ร่างกายเรายังแข็งแรงดี แต่ทาํ ไมสมองกลับรู้สึก ออ่ นล้า ไมย่ อมรบั อะไรและยงั เป็นเรอื่ งทีน่ ่าแปลกใจเมอ่ื พบว่า ย่งิ เราพยายามกัดฟันทาํ ต่อไป สมอง เรายงั คงอยู่ในย่านความถี่เบตา การเรยี นรู้ทแ่ี ทจ้ รงิ กไ็ มเ่ กิดขนึ้ เคลด็ ลบั คอื ใหผ้ ่อนคลายจนกระทง่ั ความถขี่ องคล่นื สมองช้าลงจนเขา้ สู่ย่านอัลฟา เราสามารถกระทําได้โดยการผอ่ นคลายความเครียด ออกกําลังกายและการฟงั เพลง (ดุษฎี บรพิ ัตร ณ อยธุ ยา, 2548: 9) คนสว่ นใหญเ่ คยมปี ระสบการณ์ที่ คําตอบของปญั หาผุดขน้ึ มาหลงั จากทหี่ ยดุ คดิ เรือ่ งนน้ั ไปแลว้ เมอ่ื เราเขา้ สสู่ ภาวะผอ่ นคลาย คล่ืนสมอง ย่านอลั ฟาและธีตาสามารถทํางานไดด้ ีขนึ้ พบความรูส้ กึ แบบ “อ๋อ คาํ ตอบอยนู่ เ่ี อง” ญาณปญั ญาหรอื คาํ ตอบของปัญหาต่างๆ จึงดูเหมือนว่าเกิดขึ้นได้ นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการปล่อยให้สมองอันน่า มหศั จรรย์เข้าสสู่ ภาวะท่ีเราไมร่ ู้สกึ ตวั ให้ไดท้ าํ งานอย่างเปน็ ธรรมชาตโิ ดยทไ่ี มอ่ ยู่ภายใต้สภาวะที่กดดัน ห้วงท่ีเราอยู่ในสภาวะคร่ึงหลับคร่ึงต่ืน คลื่นธีตาจะปรากฏมากขึน้ ซึ่งเกื้อกลู ให้เรามคี วามคดิ สรา้ งสรรคแ์ ละญาณปญั ญา ผลงานทีย่ ่งิ ใหญต่ ่างๆได้เกิดขึน้ ในห้วงเวลาน้ี ไม่วา่ จะเป็น วรรณกรรม ดนตรี วทิ ยาศาสตร์ ศลิ ปะและคณิตศาสตร์ ไอนส์ ไตน์ กลา่ ววา่ ความคิดเกี่ยวกับ ความโค้งของอวกาศนั้นเกิดข้ึนขณะที่เขาอยู่ในสภาวะคร่ึงหลับครึ่งต่ืน มองเห็นแสงอาทิตยล์ อด ผ่านตาทกี่ าํ ลังหร่ปี รือ ซง่ึ ต่อมาเขาไดน้ าํ สิง่ ทฝี่ นั เห็นนี้มาแปลเปน็ สตู รคาํ นวณที่ลือชอ่ื อารค์ ิมิดีสเป็น อกี คนท่ีคน้ พบทฤษฎกี ารลอยตวั ในขณะทเ่ี ขากาํ ลงั อยใู่ นสภาวะครึง่ หลับครึง่ ตน่ื ในอา่ งอาบนา้ํ เราเอง ก็สามารถเรยี นรู้วิธีการที่มีผลบงั คับตอ่ คลน่ื สมองของเราได้ เชน่ เมือ่ เราผ่อนคลาย เรากส็ ามารถสรา้ ง คล่ืนอัลฟาได้มากข้ึน ซ่ึงทาํ ให้เราเข้าถึงแหล่งท่ีเก็บความจาํ และระบบการเรียกความจําได้ดีข้ึน การผอ่ นคลายในระดับลึกทําใหจ้ ิตเข้าสู่ภวังค์ จงึ เป็นภาวะท่มี ีคลนื่ ธตี าเปน็ หลกั เรากจ็ ะญาณปัญญา หรอื การหยง่ั รูแ้ ละความคิดทส่ี รา้ งสรรค์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook