Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์

รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์

Published by นายศตวรรษ จัตุมาศ, 2022-05-16 09:32:38

Description: รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น

Search

Read the Text Version

114 เมื่อครอบครัวมาใช้ชีวิตอยู่ท่ีหัวดง มีอาชีพทํานาทําสวน ปลูกผัก เน่ืองจากมีผู้ติดตามชาย หญิงมากมายมาอยู่ด้วยช่วยกันทํามาหากินแบ่งหน้าท่ีกันไป ผู้ดูแลช้าง ผู้ดูแลม้าและเลี้ยงควาย สมัยก่อนถนนหนทางลําบากใช้ม้าในการเดินทางไปดูสวน ดูไร่นา ปัจจุบัน สวน ไร่นา ก็แบ่งให้ ลกู หลานไดท้ ํามาหากินจนถงึ ปัจจุบนั สาํ หรบั บตุ รผสู้ บื สุกลคอื นายประสิทธิ์ เพชรรัตน์ มีอาชีพทํานาถึง ปัจจุบันเป็นผู้ใจบุญทํานุบํารุงพุทธศาสนาสืบสานวัฒนธรรมและให้ทุนการศึกษา แก่นักเรียนใน สถานศกึ ษาท่อี ยใู่ นตาํ บลหัวดงไดแ้ ก่ โรงเรียนบ้านหวั ดง โรงเรยี นหวั ดงและโรงเรยี นราษฎร์เจริญ ภาพที่ 13 การทํานาผูส้ บื สกลุ เพชรรตั นค์ อื นายประสทิ ธิ์ เพชรรัตน์ มีอาชพี ทาํ นา ภาพท่ี 14 การทํานาในสมยั ดงั้ เดมิ

115 ภาพที่ 15 ผู้ใหญใ่ จบุญทาํ นุบํารงุ พทุ ธศาสนาสบื สานวัฒนธรรม ภาพท่ี 16 การใหท้ ุนการศกึ ษาโรงเรยี นบา้ นหวั ดง โรงเรียนหวั ดงและโรงเรยี นราษฎรเ์ จรญิ หมู่บ้านหัวดง (เหนือ) เป็นหมู่บ้านท่ีต้ังอยู่ทางฝ่ังตะวันออกของแม่นํ้าน่าน เดิมหมู่บ้านนี้ เป็นส่วนหนึ่งของหมู่ท่ี 1 ต่อมาทางราชการได้แยกหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2526 ผู้ท่ีดํารงตําแหน่ง ผ้ใู หญ่บ้าน หม่ทู ี่ 8 บ้านหัวดง (เหนือ) ต้ังแต่ต้นมาจนถึงปัจจุบันน้ีมี 4 คน คือ 1) นายหิรัญ คัชมาตย์ 2) นายชวน ใจจาํ นง 3) นายพิศษิ ฐ์ คชั มาตย์ 4) นายภูวนาท คัชมาตย์ การต้ังถน่ิ ฐานหมู่ท่ี 9 บ้านปากคลอง บ้านปากคลอง มีรกรากด่ังเดิมมาจากดั่งเดิมตระกูลปูุฟัก พุกเนียม เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500 มีผู้ใหญ่ปุวนที่เป็นผู้ใหญ่หมู่ที่ 6 ด่ังเดิมเค้าเรียกเขารูปช้าง บ้านปากคลองเหตุที่มีชื่อเรียกว่า “บ้านปากคลอง” เพราะมีคลองไหลผ่านหมู่บ้านหรือที่เรียกกันว่าคลองคันและตรงจุดท่ีเป็นที่ต้ังของ

116 หมู่บ้านเป็นบริเวณปากคลองคันนี้จะเช่ือมต่อกับแม่น้ําน่าน ยังไม่เป็นบ้านปากคลองเรียกปากคลอง คนั เนอื่ งจากเมอื่ กอ่ นฝนตกมีน้ําปาุ มาใชน้ ้าํ อาบไม่ไดเ้ พราะว่ามีตัวบุ้ง ผักตบชวาลอยมาเต็มคลองหมด ทาํ ใหอ้ าบน้ําไม่ได้จึงเรียกว่าคลองคัน เร่ิมเรียกบ้านปากคลองเม่ือปีผู้ใหญ่เวียนแยกออกมาจากผู้ใหญ่ ธรรม โดยแยกจากหมู่ท่ี 6 เป็นหมู่ท่ี 9 ผู้ใหญ่คนแรกช่ือผู้ใหญ่ปุวน รังแก้ว ต่อจากน้ันเป็นผู้ใหญ่หวี ผลเทียน ผู้ใหญ่สวิง ทรัพย์ปราโมทย์ ผู้ใหญ่ธรรม ผลเทียน จากนั้นก็แยกหมู่เป็นหมู่ท่ี 9 คือผู้ใหญ่ เวียนตั้งชื่อเปน็ บา้ นปากคลอง เมอ่ื กอ่ นบรรพบุรุษย้ายถ่ินมาจากอุตรดิตถ์ ลอยเรือมาย้ายมาตั้งรกราก เม่ือสมัยก่อนอยู่เรือนแพท่ีปากคลองประมาณ 30 เรือนแพ ทําอาชีพประมง ตระกูลพุกเรียม มา บกุ เบิกถางปุาตง้ั ถน่ิ ฐานประมาณ 100 ไร่ เมอ่ื มเี รอื นแพมากข้ึนจึงย้ายขึ้นมาต้ังถ่ินฐานอยู่ด้านบนโดย เช่าอยู่ที่ผู้ใหญ่ทัศน์ ซึ่งมีพน้ื ทม่ี าก เหตทุ ม่ี ีชือ่ เรยี กว่าบ้านปากคลองคือ มคี ลองไหลผ่านหมู่บ้านหรือท่ี เรยี กกันว่าคลองคนั และตรงจุดทเ่ี ปน็ ที่ตั้งของหมบู่ ้านเป็นบริเวณปากคลอง ปากคลองคันนี้จะเชื่อมต่อ กับแม่นํ้าน่านบ้านปากคลองเป็นบ้านที่อยู่มาแต่เดิมและแยกมาจากหมู่บ้านอื่นทั้งสองลักษณะ เมื่อ ประมาณ 51-70 ปี กล่าวคือหมู่บ้านนี้ต้ังอยู่บริเวณน้ีแต่เดิมและแยกมาจากบ้านลําชะล่า หมู่ท่ี 2 ตําบลหัวดง ตรงหมู่บ้านลําชะล่าน้ัน มีคลองหนองไม้เหลี่ยมบริเวณนั้นมีชุมชนต้ังอยู่ช่ือว่าชุมชนบ้าน ปากคลองภายหลังต้ังเป็นหมู่บ้านชื่อบ้านปากคลอง หมู่ท่ี 9 ตําบลหัวดง ประชาชนมีอาชีพทํานา เมื่อก่อนมีการทํานาปี ทําข้าวลอยนํ้าเป็นข้าวขึ้นนํ้ามีข้าวขาวนํ้าหว้า ข้าวขาวเศรษฐี สมัยก่อน ชาวบ้านไปทําบุญวัดเขารูปช้าง เพราะมีญาติอยู่ใกล้วัดเป็นส่วนมากและเป็นวัดที่เจริญ ใกล้วัด มี แพทย์แผนโบราณมีหมอเกี่ยวซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว รักษาอัมพฤต อัมพาต ด้วยยาสมุนไพร ในปัจจุบัน น่ันเองในหมู่บ้านปากคลองมีโรงสีข้าวท่ีเก่าแก่ คือ โรงสีของลุงโรย ชัยศิลา เป็นเจ้าของโรงสีบ้าน ปากคลอง เป็นคนปุาแดง หนองพยอม อําเภอตะพานหินแล้วย้ายมาอยู่ท่ีบ้านปากคลองมีครอบครัว ก่อต้ังโรงสปี ระมาณ พ.ศ. 2516 เป็นแห่งแรกเพราะท่ีบ้านปากคลองเดิมไม่มีโรงสีชาวนาต้องเดินทาง ไปไกลจึงจะได้สีขา้ ว ค่าสีข้าวไมไ่ ด้คิดแต่เก็บเป็นปลายรําข้าว แกลบ ข้าวท่อน โดยเมื่อก่อนไม่มีไฟฟูา ใช้เครื่องไดมอเตอร์ ติดพ่วงกับโรงสีทําการสีข้าวให้กับชาวนาท่ัวไปใครจะนําข้าวไปสีก็ได้โดยจะไม่ คดิ เงินแตล่ ุงโรยจะขอราํ ข้าว ปลายข้าวแทน ลุงสําโรยยังเล้ียงหมูเป็นอาชีพเสริมโดยใช้รําข้าวจากที่ สขี ้าวไดเ้ ลยี้ งหมู บา้ นปากคลองหมทู่ ี่ 9 ในอดีตสมัยร่นุ ปูุ ยา่ ตา ยาย เล่าว่าหมู่บ้านน้ีเป็นหมู่บ้านเขารูปช้าง เวลามีการทําบุญประเพณีต่าง ๆ ก็จะพายเรือข้ามไปทําบุญท่ีวัดเขารูปช้างต้ังแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สันนิษฐานวา่ มีการอพยพมาทางเรือและมาตงั้ ถิน่ ฐาน ซึง่ บรรพบรุ ษุ สว่ นใหญเ่ ป็นชาวประมง เน่ืองจาก บริเวณน้ีมีลําคลองท่ีมีน้ําไหลลงสู่แม่น้ําน่าน มีปลาชุกชุม หมู่บ้านน้ีเดิมอยู่ในเขตปกครองเดียวกับ หมู่ท่ี 6 บ้านนา้ํ โจนเหนอื ต่อมาเม่ือปี พ.ศ. 2526 ผู้นําชุมชนได้ขอแยกหมู่บ้านทางราชการได้แต่งต้ัง ให้นายสังเวยี น ยาคล้าย เปน็ ผใู้ หญ่บ้านคนแรก เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2526 และต้งั ช่อื หมู่บ้านตาม ภมู ิประเทศว่า “บ้านปากคลอง” เปน็ หมู่ที่ 9 ของตําบลหวั ดง

117 ผู้ท่ีดํารงตําแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านปากคลอง ต้ังแต่ต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้มี 5 คน คือ1) นายสังเวียน ยาคล้าย 2) นายสุนทร ยาคล้าย 3) นายงาม พุกเนียม 4) นายวิโรจน์ โพธิ์ทอง 5) นายวริ ุจ โพธิท์ อง ชาวบ้านปากคลองส่วนมากทํานาเป็นอาชีพหลักซ่ึงจะทํานาได้ 2 คร้ัง ต่อปีและหลังจาก การทาํ นาครั้งท่ี 2 ทกุ ปจี ะเปน็ ช่วงท่ีนํ้าท่วมไร่นาบ้านเรือนในช่วงฤดูน้ําหลากชาวบ้านน้ันจะประกอบ อาชีพประมงหาปลาโดยการลงข่ายเบ็ดดักรอบเป็นส่วนใหญ่ผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่า ใช้แหไม่ได้กินปลา เพราะน้าํ ลึกเมื่อไดป้ ลาชาวบ้านจะนํามาแปรรูปเปน็ ปลาเกลอื (ปลาแดดเดียว) ปลารา้ เพ่ือเก็บไว้กินใน ครัวเรอื นและนาํ ไปขายในตัวเมืองในช่วงหน้านา้ํ ชาวบา้ นจะเข้าไปในตวั เมอื งโดยการสัญจรทางเรือโดย มที หารนาํ โดยขนาดเลก็ ขนาดใหญม่ าไวค้ อยอํานวยสะดวกให้แกช่ าวบ้าน ประวัติบุคคลสําคญั 1. กํานนั วิศาล ภทั รประสทิ ธิ์ ภาพที่ 17 กาํ นันวิศาล ภทั รประสทิ ธิ์ นายวิศาล ภัทรประสิทธ์ิ หรือเล่าหย่งคุน เกิดวันที่ 21 ธันวาคม 2464 เป็นบุตรชายคนโต มีน้องจํานวน 4 คน คือ นายวิชัยภัทรประสิทธิ์ นางเยาวลักษณ์ คลศรีชัย นายวิรัตน์ ภัทรประสิทธ์ิ และนายวิศิษฐิ์ ภัทรประสทิ ธ์ิ มบี ุตรรวม 17 คน คือ 1) นายประเสริฐ ภัทรประสิทธิ์ 2) นางชูศรี เพ็ญ สุภา 3) นายประวัติ ภัทรประสิทธิ์ 4) นายประวิทย์ ภัทรประสิทธิ์ 5) นางทรวงศรี มโนภินิเวศ 6) นางสร้อยศรี ภัทรประสิทธ์ิ 7) นางสาวศิริเพ็ญ ภัทรประสิทธิ์ 8) นางเบญจมาศ ตันติวิวัฒน์พันธ์ 9) นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธ์ิ (สมรสกับนางอาภามาศ ภัทรประสิทธ์ิ) ดํารงตําแหน่งประธาน คณะกรรมการบริษัท ไทยแอ็กโกรเอ็กซเชนจ์ จํากัด (ตลาดไท) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ

118 บญั ชีรายชือ่ พรรคชาติไทยพัฒนา อดีตรฐั มนตรีชว่ ยวา่ การกระทรวงการคลัง อดีตเลขาธิการพรรครวม ชาติพฒั นาและพรรคประชาธปิ ตั ย์และสมาชกิ สภาผ้แู ทนราษฎรจังหวัดพิจติ ร 4 สมัย 10) นางลักขณา นะวิโรจน์ (สมรสกับพล.อ.ท.ดร. สมศักด์ิ นะวิโรจน์) ดํารงตําแหน่ง รองประธานกรรมการบริหาร อาวุโส บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป กรรมการบริหาร โรงแรมเพนนินซูลา รองประธานกรรมการบริหาร อาวุโส บริษัทสยามพารากอน 11) นายประสงค์ ภัทรประสิทธิ์ 12) นางศิริลักษณ์ ไม้ไทย กรรมการบริหารบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จํากัด และ ดิเอ็มโพเรี่ยม ช้อปปิ้ง 13) นายประพันธ์ ภัทร ประสิทธิ์ 14) นายประธาน ภัทรประสิทธิ์ 15) นายวินัย ภัทรประสิทธิ์อดีตสมาชิกวุฒิสภาและและ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร 2 สมัย 16) นายมีชัย ภัทรประสิทธิ์ 17) นางวัชรีพร วงศน์ ิรนั ดร์ กํานันวิศาล ภัทรประสิทธิ์ เป็นชาวจีนที่อพยพมาอยู่ท่ีตําบลหัวดง จากพ่อค้าขายปลีก เล็ก ๆ มคี วามมานะพยายามเปน็ พอ่ คา้ ขายสง่ จนกระทัง่ ลงทนุ ขอต้ังโรงกลั่นเหล้า ได้จดทะเบียนจัดต้ัง \"พรรคพัฒนาจังหวัด\" เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2517 โดยนายวิศาล ภัทรประสิทธ์ิเป็นหัวหน้าพรรค และนายวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ น้องชายเป็นเลขาธิการพรรคกํานันวิศาล ได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร จงั หวัดพจิ ิตร 2 สมัย (สมัยแรกเลือกต้ังวันที่ 26 มกราคม 2518 และสมัยท่ี 2 เลอื กต้ังวันท่ี 4 เมษายน 2519) กํานนั วิศาล ภัทรประสิทธ์ิ เป็นผู้มีคุณูปกรต่อตําบลหัวดงเป็นอย่าง ยิ่ง เนอื่ งด้วยเปน็ ผนู้ ําท่ีมีวิสัยทัศนพ์ ฒั นาตําบลหัวดงให้รุง่ เรื่องทง้ั ดา้ นเศรษฐกิจ สงั คม และศาสนา ภาพท่ี 18 โรงเรยี นหว่ามนิ โรงเรยี นที่สอนภาษาจนี แห่ง แรกของหวั ดง

119 ในปี พ.ศ. 2488 โรงเรียนหว่ามิน ก่อต้ังโดยกลุ่มคนจีนนําโดยนายวิศาล ภัทรประสิทธิ์ กาํ นันตาํ บลหวั ดง โดยสรา้ งที่บริเวณใกล้ศาลเจ้า เปิดสอนทั้งภาษาจีนและภาษาไทยให้กับประชาชน ชาวหวั ดงได้เล่าเรยี นหนงั สือโดยใช้คนจนี ทอี่ พยพมาจากประเทศจนี และมาอยู่บ้านหัวดง มีแบบฝึกหัด แบบเขียนภาษาจีนและภาษาไทยกน็ าํ ครูไทยมาสอน เป็นโรงเรยี นเอกชน มมี ูลนธิ ิคนหัวดงและตระกูล ภัทรประสิทธ์ิ สนับสนุนงบประมาณในการดําเนินการของโรงเรียนเม่ือถึงช่วงท่ีลัทธิคอมมิวนิสต์ เผยแพร่มากมาย ทางรัฐบาลจึงมีนโยบายให้หยุดในเรื่องท่ีเป็นความเสี่ยงต่อการเผยแพร่ลัทธิ คอมมิวนิสต์ รวมถึงโรงเรียนจีนหว่ามินท่ีต้องหยุดสอนไปด้วย โดยนําตําราจีนต่าง ๆ ไปซ่อนไว้บน ขื่อไม้ เมื่อปี พ.ศ. 2490 นายวิศาล ภัทรประสิทธ์ิ ได้ต้ังโรงสีไฟภัทรพันธ์ุมีท้ังหมด 3 สาขาคือ โรงสีไฟภัทรพันธ์ุ สาขาพิษณุโลก โรงสีไฟภัทรพันธุ์ สาขาบางมูลนาก และโรงสีไฟภัทรพันธุ์ สาขา หัวดง ทุกสาขามีกาํ นนั วิศาลภัทรประสทิ ธ์ิ เป็นเจา้ ของกิจการ โดยมหี ลกั ในการประกอบกิจการคือ ไม่ เน้นผลกําไรจากการประกอบการเป็นศูนย์กลางการจําหน่ายสินค้าเกษตรของตําบลหัวดงและพื้ นที่ ใกลเ้ คียง สง่ เสรมิ ใหช้ าวบ้านในตาํ บลหัวดงมงี านทาํ มรี ายได้ในครัวเรือน ทั้งการประกอบกิจการของ โรงสีไฟภัทรพันธุ์คือ การรับซื้อข้าวเปลือกและส่งออกเป็นข้าวนึ่งไปยังประเทศในภูมิภาคตะวันออก กลางโรงสีไฟภัทรพันธุ์ในอดีตเมื่อมองย้อนกลับไปแล้วเหมือนนิคมอุตสาหกรรมในสมัยน้ีกล่าวคือ ใน โรงสีไฟภัทรพันธุ์จะประกอบไปด้วยผู้คนท่ีมีหน้าที่ต่างกันไปอาศัยอยู่ภายในกว่าร้อยชีวิตภายในโรงสี ไฟภัทรพันธุ์นอกจากจะมีอาคารโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับกิจการแล้ว ยังอาคารที่พัก สํานักงานของ พนกั งาน มีรา้ นคา้ อาหารหรอื เครอ่ื งใชใ้ นครวั เรอื นอยู่ภายใน มีครอบครัวอยูก่ ันเป็นส่วนมาก ภาพท่ี 19 โรงสไี ฟภทั รพันธุ์จํากดั ตําบลหัวดง อาํ เภอเมืองพจิ ิตร จงั หวัดพจิ ติ ร พ.ศ. 2501 กํานันวิศาล ภัทรประสิทธ์ิ ได้ขอโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ําประตูคลอง คันหนา้ สถานีรถไฟหัวดงประตูยังไม่เสร็จ เกิดภัยแล้ง กํานันวิศาลได้ออกทุนให้ชาวหัวดงยืมเงินซื้อไม้

120 เส่ียเต็ง บ้านท่าฬ่อมาช่วยกันกักนํ้าไว้ใช้ประโยชน์ท่ีได้รับ 3 ตําบลคือ ตําบลหัวดง ตําบลบ้านบุ่งและ ตําบลฆะมัง กํานันวิศาล ภัทรประสิทธ์ิ เดินทางสัญจรจากตลาด ถึง สถานีรถไฟหัวดง ในฤดูแล้งได้ใช้ เส้นทางล้อ และทางคนเดินริมแม่น้ําน่าน หรือทางรถไฟต่อมา กํานันวิศาลมีดําริให้สร้างถนนจาก สะพานนฤมิต ถึง สถานีรถไฟ แต่ก่อนไม่มีรถขุดทําโดยใช้คนขุดดินข้ึนรถและมาเทตามทางล้อจนเกิด เป็นถนนในปัจจุบันจนถึงเขาพระโดยไม่ได้ใช้เงินทางราชการ ทางด้านการสัญจรในระหว่างหัวดงกับ หมู่บ้านนอกๆ แต่ก่อนอาศัยเดินตามหัวคันนาในฤดูแล้งก็เดินลัดทุ่ง ส่วนในฤดูฝนหรือเวลาน้ําท่วมก็ ต้องอาศัยเดินเลาะตามคันนา อ้อมไปอ้อมมาทําให้เสียเวลาถ้ามีคนเจ็บปุวยถึงตาย ก็ต้องหามกัน ทุลักทุเล กํานันวิศาลจึงปรึกษาผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านว่าจะทําถนนออกไปเช่ือมถนนยุทธ์ศาสตร์ซ่ึงมี มากกว่า 80,000 ไร่ เพื่อซ้ือรถแทรกเตอร์ โดยขอบริจาคไร่ละ 3 บาทขึ้นไป ได้เงินสดรวม 250,000 บาท กาํ นันวิศาลประชุม ขอความร่วมมือจากหมู่บ้าน ชาวบ้านให้ความร่วมมือด้วยดีในปี 2504 และ เรม่ิ ดําเนินการสรา้ งในปี 2506 ภาพที่ 20 กาํ นนั วศิ าล ภทั รประสิทธิ์ สร้างถนนจากสะพานนฤมิตถึงสถานีรถไฟถึงเขาพระ โดยไม่ได้ใช้เงนิ ราชการ คณะผู้ดําเนินการสร้างได้แก่ผู้ใหญ่สนิท ศรีอุดมพงษ์ หมู่ท่ี 1 ผู้ใหญ่จอม เพชรคล้าย หมู่ท่ี 5 ผใู้ หญ่จันดี หมทู่ ่ี 4 ผ้ใู หญ่สบุ ิน บ้านหนองปลอ้ ง และผูช้ ่วยผู้ใหญ่บา้ น 4-5 คน ได้ออกสํารวจโดยใช้ ไม้ไผ่ 3 ลํา จากจุดหนึง่ เลก็ จุกสองและปกั จุสาม ไม่สนว่าจะผ่านนาใครจุดหมายแรกคือให้ชิดบ้านเนิน ยาว เหตุที่ให้ผา่ นบ้านเนินยาวเพราะเปน็ หมบู่ ้านกลางตาํ บลระหว่างหนองนาดาํ -ลําชะลา่ กํานันวิศาล ภัทรประสิทธิ์ เป็นผู้เห็นความสําคัญของการจัดการศึกษา ได้ก่อต้ังโรงเรียน ราษฎรเ์ จริญ ซ่ึงเป็นโรงเรยี นเอกชนและสนับสนนุ การจดั ต้ังโรงเรียนรัฐบาล ได้แก่ โรงเรียนบ้านหัวดง โรงเรียนวัดเขาพระและโรงเรยี นหวั ดงรชั นูปถมั ภ์

121 2. กํานนั วิรัตน์ ภทั รประสิทธิ์ ภาพที่ 21-22 กาํ นนั วิรตั น์ ภัทรประสทิ ธิ์ กํานันวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ เกิดวันท่ี 14 พฤศจิกายน 2476 สําเร็จการศึกษาระดับ มธั ยมศึกษาตอนปลาย สมรสกับนางวิไลลักษณ์ ภัทรประสิทธ์ิ มีบุตรธิดาจํานวน 5 คน ได้แก่ 1) นาย มนตรี ภัทรประสิทธิ์ 2) นางพัชรินทร์ ภัทรประสิทธ์ิ สมรสกับนายโอฬาร พยัคฆาภรณ์ กรรมการบริหารบริษัท สิริพัช แอสเซท จํากัด 3) พ.ต.อ.กฤษฎา ภัทรประสิทธิ์ (สมรสกับนางอดิศรี ภัทรประสิทธ์ิ) 4) นางอรวินทร์ จริยะเวช (สมรสกับนายเดชา จริยะเวช) 5) นายพีระโรจน์ ภัทร ประสิทธ์ิ นายกเทศมนตรตี ําบลหวั ดง (สมรสกับแพทยห์ ญงิ ดร.วณชิ ชา ภทั รประสทิ ธ)ิ์ กํานันวิรัตน์ ภัทรประสิทธ์ิเป็นกํานันตําบลหัวดง 2 วาระ วาระที่ 1 (พ.ศ. 2518-2536) 18 ปี และวาระที่ 2 (พ.ศ. 2536-2555) 19 ปี เป็นผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ ทุ่มเทกําลังกาย กําลังสติปัญญา เพ่ือพัฒนาตาํ บลหัวดงให้มีความเจริญอยา่ งก้าวกระโดด ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือ ร่วมมือกับทางราชการได้เสียสละกําลังกายกําลังทรัพย์กําลังสติปัญญาโดยไม่ย่อท้อต่อความ ยากลําบากไมเ่ ห็นแกค่ วามเหน่อื ยยากท้ังนี้เพ่ือความผาสุกของประชาชนความเจริญของท้องถ่ินสังคม ตลอดจนความเจริญของประเทศชาติ ผลการปฏิบัติงานดังกล่าวก่อให้เกิดผลดีแก่ทางราชการเป็น อย่างมากคอื 1. เป็นผู้อุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการและส่วนรวม เข้าร่วมประชุมและจัดให้มีการ เผยแพร่ข่าวสารของสารราชการอย่างสม่ําเสมอพร้อมทั้งบริจาคเงินส่วนตัวเพ่ือซ้ือเครื่องขยายเสียง ติดต้ังประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน ขุดสระน้ําเพ่ือให้เป็นแหล่งนํ้าสําหรับการบริโภคในฤดูแล้งท่ีบ้านเนิน ยาว ดําเนินการประสานงานกับการชลประทานเกี่ยวกับการกักเก็บนํ้าไว้ใช้ในการเกษตร ติดต่อหา เครื่องสูบน้ํามาดําเนินการเพ่ิมเติม เพ่ือให้มีแหล่งน้ําที่จะผันสู่ท้องนาเลี้ยงต้นข้าวจนได้ผลผลิต

122 พอสมควร เมื่อข่าวเกิดอุทกภัยในช่วงฤดูฝนได้ออกไปอํานวยการเก่ียวกับการเปิดปิดประตูนํ้า ดําเนินการติดต้ังขอจัดตั้งโครงการสูบน้ําด้วยพลังไฟฟูาสามารถช่วยเหลือเกษตรกรให้มีพื้นท่ีทํานาได้ อีก 15,000 ไร่ จัดสร้างศาลาประชาคม ภาพท่ี 23 กํานนั วิรตั น์ ภทั รประสิทธ์ิ ลงพ้ืนทเ่ี ย่ยี มประชาชนตําบลหัวดง 2. เปน็ ผูเ้ อาใจใส่ตรวจตราดูแลความทุกข์สุขของราษฎรในเขตปกครอง ให้คําปรึกษาหารือ ขจัดและลดข้อขัดแย้งของประชาชนดําเนินการประนีประนอมยอมความสําหรับ ชาวบ้านในเขต ปกครองปฏิบตั ิหน้าทเ่ี สนอแนะสง่ เสริมประสานงานเก่ียวกับการประกอบอาชีพของประชาชนเพ่ือยก ฐานะทางเศรษฐกิจใหส้ งู ข้ึน ภาพท่ี 24 กาํ นนั วิรัตน์ ภทั รประสทิ ธิ์ รว่ มทาํ บุญกบั พน่ี ้องบ้านหัวดง

123 3. การสาธารณสุขการปูองกนั โรคภยั ตา่ ง ๆ กาํ นนั วิรัตน์ ภทั รประสิทธ์ิ มอบเงินจํานวน 2,080,000 บาท เพื่อสร้างประปาส่วนภูมิภาค ของตําบลหัวดงพร้อมท้ังจัดซ้ือท่ีดินเพ่ือสร้างสํานักงานประปาส่วนภูมิภาคประจําตําบลหัวดง และ มอบเงินบริจาคจํานวน 200,000 บาท เพ่ือสร้างถนนคอนกรีตเข้าสู่ท่ีก่อสร้างการประปาพร้อมท้ัง บริจาคเงินสร้างท่อประปาเป็นการขยายเขตบริการให้ครอบคลุมทั้งตําบล ทําให้ราษฎรนอกเขต สุขาภบิ าลไดม้ ีนา้ํ ดื่มนํา้ ใช้ทสี่ ะอาดถูกสุขลักษณะและราษฎรในพนื้ ที่ตําบลหัวดงไม่ขาดแคลนน้ําดื่มนํ้า ใชใ้ นชว่ งฤดูแลง้ ภาพที่ 25 กํานันวิรัตน์ ภทั รประสิทธิ์รว่ มสร้างพฒั นาตาํ บลหวั ดง 4. การศกึ ษาศาสนาศลิ ปวฒั นธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณี สนับสนุนกิจการโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนของกลุ่มหัวดง เป็นประธาน กรรมการจัดหาเงินเพ่ือสร้างอาคารอเนกประสงค์โรงเรียนราษฎร์เจริญ จัดสร้างและต่อเติมที่อ่าน หนังสือพิมพ์ประจําหมู่บ้าน เป็นเจ้าภาพดําเนินการจัดสร้างสนามกีฬากลางของจังหวัดพิจิตร จัดหา เงนิ ใหว้ ิทยาลยั สารพัดช่างจดั ซื้อรถตู้ราคา 600,000 บาท ร่วมกับหลวงพอ่ เปร่ืองวัดหิรัญญาราม สร้าง พระหลวงพอ่ เงนิ 2,500 ชุด ได้ยอดเงินส่ีล้านบาทเศษ บริจาคเงินซ่อมแซมศาลาการเปรียญวัดต่าง ๆ เป็นประธานจัดงานวันผู้สูงอายุในตําบลหัวดงจัดงานสรงน้ําพระประจําปีประธานจัดงานแข่งเรือ ประเพณีประจําปีของวัดหัวดงและวัดท่าหลวงพระอารามหลวงพร้อมทั้งได้มอบเงินช่วยเหลือในการ จัดงาน เปน็ ประธานการจดั งานเฉลมิ พระเกียรตถิ วายความจงรักภักดีเนื่องในวันห้าธันวามหาราชและ

124 วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคมของทุกปี ร่วมกับประชาชนดําเนินการซ่อมแซมอาคารชมรมลูกเสือ ชาวบ้าน บริจาคเงินเพ่ือส่วนรวมมากมายอาทิ ซ่อมแซมหลังคาที่ว่าการอําเภอเมืองพิจิตร ซ้ือเก้าอ้ี ให้กับที่ทําการสภาตําบล มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียน และยังได้บริจาคเงินเป็นค่าขนส่งและซ้ือ กล้าไม้เพ่ือปลูกปุาตามโครงการพระราชดําริสมเด็จพระนางเจ้าฯสิริกิต์ิพระบรมราชินีนาถในรัชกาล ที่ 9 5. การจัดเกบ็ บาํ รงุ ทอ้ งท่ี ภาษีรา้ นค้า ภาษโี รงเรือน ตลอดจนภาษรี ายได้บคุ คลธรรมดา 6. การปฏบิ ัตงิ านเก่ียวกบั ทะเบยี นบา้ นและบัตรประชาชน 7. การเอาใจใส่ตอ่ การปูองกนั ปราบปรามโจรผรู้ ้ายและรกั ษาความสงบเรยี บร้อย 8. การปฏิบตั ใิ ห้เปน็ ที่เคารพรกั ของประชาชนในตําบลหวั ดง ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทา่ นประสานกบั ส่วนราชการในจงั หวดั พจิ ิตรและกระทรวงต่างๆ ให้ ตําบลหวั ดงมีถนน สะพานข้ามแมน่ าํ้ มไี ฟฟูา ประปาครบทุกหมู่บ้าน (น้ําไหล ไฟสว่าง ทางดี) ในส่วน ท่รี าชการไม่มีงบประมาน ท่านกาํ นนั วิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์บริจาคทรัพย์สินส่วนตัวท้ัง เงิน ท่ีดินให้ด้วย ความยินดี นอกจากน้ันการพัฒนาด้านสังคมอันได้แก่ การศึกษา ท่านเป็นผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน เทศบาลราษฎร์เจริญและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาหลายแห่ง ทํานุบํารุงศาสนา ศิลปะและ วัฒนธรรม จากผลงานที่กํานันวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ ทุ่มเทส่งผลให้ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย อาทิ การไดร้ ับคดั เลอื กเป็นกาํ นันดเี ดน่ ยอดเยยี่ มแหนบทองคําประจําจังหวดั พิจติ ร 3 ปีซ้อน ภาพที่ 26-27 พ่ีน้องชาวตําบลหัวดงให้การต้อนรับกํานันวิรัตน์ ภัทรประสิทธ์ิในโอกาสรับ รางวัลกาํ นนั ดเี ด่นยอดเยย่ี มแหนบทองคําประจาํ จังหวดั พิจติ ร

125 ภาพท่ี 28 พี่น้องชาวตําบลหัวดงให้การต้อนรับกํานันวิรัตน์ ภัทรประสิทธ์ิในโอกาสรับ รางวัลกาํ นนั ดเี ดน่ ยอดเยย่ี มแหนบทองคําประจําจงั หวัดพจิ ติ ร กาํ นนั วิรัตน์ ภทั รประสทิ ธิ์ เปน็ ประธานชมรมกํานันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดพิจิตร อดีตที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ฝุายกิจการพิเศษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 - 2544 รางวัลครอบครัว ส่งเสรมิ ประชาธปิ ไตย ภาพที่ 29 กํานนั วิรตั น์ ภัทรประสิทธิ์ รับรางวลั ครอบครัวส่งเสรมิ ประชาธิปไตย

126 กาํ นันวิรตั น์ ภทั รประสทิ ธิ์ เป็นผู้ทรงคณุ วฒุ ขิ องสาํ นักงานการประถมศกึ ษาจังหวัดพิจิตร 4 สมยั ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลพิจิตร ผู้รับอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียนราช บํารุงที่ปรึกษาคณะกรรมการมูลนิธิพิจิตรสามัคคีกุศลสถานสงเคราะห์จังหวัดพิจิตรผู้รับอนุญาต โรงเรยี นพิจิตรอนิ เตอร์ 3. พระครบู ุญธรรมรส (หลวงพ่อบญุ ธรรมรส ชุติธมโฺ ม) อดตี เจ้าอาวาสวัดหัวดง อดตี เจา้ คณะตาํ บลหวั ดงฆะมงั เขต 1 อาํ เภอเมืองพจิ ติ ร จงั หวัดพิจติ ร ภาพที่ 30 หลวงพอ่ พระครูบุญธรรมรส (หลวงพอ่ บญุ ธรรมรส ชตุ ิธมโฺ ม) อดีตเจา้ อาวาสวัดหัวดง อดีตเจา้ คณะตาํ บลหวั ดง - ฆะมัง เขต 1 เดิมชื่อบุญธรรม นามสกุล จันทฤก เป็นบุตรของนายกุหลาบ นางทองใบ จันทฤก มีพ่ีน้อง คือ 1) นายแหยม จันทฤก 2) นายหลิบ จันทฤก 3) หลวงพ่อบุญธรรมรส จันทฤก หลวงพ่อบุญธรรม เกิดเม่ือวันท่ี 22 มิถุนายน พ.ศ. 2452 ตรงกับวันอังคาร ข้ึน 5 คํ่า เดือน 7 ปีระกาอยู่บ้านราษฏร์ หมู่ 3 ตําบลบางเคียน อําเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ได้อุปสมบทเป็นภิกษุเม่ือวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 ตรงกับวันจันทร์ ข้ึน 8 คํ่า เดือน 8 ปีกุล ณ พัทธสีมาวัดดงปุาคํา ตําบลดงปุาคํา อําเภอ เมอื งพิจติ ร จังหวัดพิจิตรโดยมี พระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ เปน็ พระอุปัชฌาย์ พระเจ้าอธิการเตียง(พระครู พพิ ฒั นธ์ รรมคณุ ) เป็นกรรมวาจาจารย์ พระมหามณี เปน็ อนสุ าวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้อยู่จําพรรษาวัดบ้านราฎร์ ตําบลวังเคียน อําเภอชุมแสง จังหวัด นครสวรรค์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2479 ได้ย้ายสํานักมาอยู่วัดท่าหลวงเพ่ือศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่จํา พรรษาทวี่ ดั ท่าหลวงได้ 1 ปี จึงขอย้ายสํานักมาอยู่วัดหัวดงในปี พ.ศ. 2480 ในสมัยพระครูวิสุทธิพงษ์ เมธี (โต๊ะ) เป็นเจ้าอาวาสวัดหัวดง และได้จําพรรษาจนกระทั่งมรณภาพ ในสมัยท่ีหลวงพ่ออยู่จํา

127 พรรษาที่วัดหัวดง หลวงพ่อได้สนใจในด้านไสยศาสตร์ได้ศึกษาค้นคว้าพี่ชายคือนายหลิบ (เคยบวชได้ ศึกษากบั หลวงพ่อพธิ ได้รบั ตําราไสยศาสตร์ของหลวงพ่อพิธโดยเฉพาะการทําตะกรุด) และหลวงพ่อได้ ศึกษาไสยศาสตตร์กับหลวงพ่อเตียงซึ่งเป็นกรรมวาจาจารย์ของท่านจนเกิดความม่ันใจเกิดความ ชํานาญทาํ ให้ช่ือเสียงของหลวงพอ่ เปน็ ทีร่ ู้ประจกั ของประชาชนท่ัวไป ไดร้ บั วทิ ยฐานะ เมอื่ พ.ศ. 2481 นักธรรมช้ันตรี เมื่อ พ.ศ. 2482 นักธรรมช้ันโท เมื่อ พ.ศ. 2485 นักธรรมชั้นเอก งานดา้ นการปกครอง พ.ศ. 2485 ได้รับแตง่ ต้งั เป็นกรรมวาจารย์ (2 พฤษภาคม 2485) พ.ศ. 2485 ได้รับแต่งต้ังเป็นเจ้าคณะหมวดตําบลหัวดง (1 มิถุนายน 2485) พ.ศ. 2485 ได้รับ แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหัวดง พ.ศ. 2487 ได้รับแต่งต้ังเป็นคณะกรรมการสงฆ์อําเภอเมืองพิจิตรในท่ี องคก์ ารสาธารนูปการ (24 สิงหาคม 2487) พ.ศ. 2489 ได้รับแต่งต้ังเป็นพระอุปัชฌาย์ (7 กรกฎาคม 2489) งานการศึกษา พ.ศ. 2494 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจประโยคธรรมสนามหลวง สมณศักด์ิ พ.ศ. 2494 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูบุญธรรมรส (5 ธันวาคม 2494) พ.ศ. 2494 ได้รบั พระราชทานสมณศักดเ์ิ ป็นพระครเู จ้าคณะตําบลชัน้ โท (8 พฤศจิกายน 2506) พ.ศ. 2515 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูเจ้าคณะตําบลช้ันเอก (5 ธันวาคม 2515) การบริบูรณ์ ปฏิสังขรณ์เสนาสนะก่อสร้างถาวรวัตถุวัดหัวดง เม่ือ พ.ศ. 2494 ได้ก่อสร้างกุฏิ (หลังที่ท่านอยู่จน มรณภาพ) จาํ นวนค่าก่อสร้าง 45,000 บาท พ.ศ. 2494 ได้ทําการสร้างหอสวดมนต์ 2 ช้ัน จํานวนค่า กอ่ สร้าง 200,000 กวา่ บาท ร่วมกรรมการวดั เจา้ ศรัทธาสร้างกุฏปิ รวิ าสกรรมประมาณ 105 หลัง พ.ศ. 2507 สรา้ งศาลาธรรมสังเวชข้ึนใหมเ่ พราะเก่าทรุดโทรม จํานวนค่าก่อสร้าง 25,000 บาท พ.ศ. 2514 สรา้ งเมรุข้ึนหนึง่ หลังสน้ิ คา่ กอ่ สรา้ งประมาณ 250,000 บาท ร่วมกับคณะกรรมการเจ้าศรัทธาก่อสร้าง วิหารหลวงพอ่ พธิ จํานวนเงิน 200,000 บาท รว่ มกับคณะกรรมการวัดเจ้าศรัทธาสร้างกําแพงวัด 107 ชอ่ ง ๆ ละ 500 บาท เป็นเงนิ 95,000 บาท สรา้ งซุ้มประตวู ัด 3 ซุ้มเป็นเงิน 50,000 บาท พ.ศ. 2518 - 2524 ได้ร้ือศาลาหลังเก่าเพราะทรุดโทรมมากประกอบกับศาลาหลังเก่าเล็กคับแคบไม่พอกับ ประชาชนจะมาทําบุญจึงไดก้ อ่ สร้างศาลาหลงั ใหม่ จาํ นวนค่าก่อสร้างประมาณ 5,000,000 บาท พ.ศ. 2424 ไดท้ าํ การรอ้ื กฏุ ิแถวหลังซึง่ ทรุดโทรมมากและไดส้ รา้ งข้ึนใหม่เปน็ แถวเดียวกนั 7 หลัง จํานวนค่า ก่อสร้าง 625,000 บาท พ.ศ. 2424 ได้ชักชวน คุณแมช่ มจิราภรณพ์ ร้อมดว้ ยบุตรธิดา กอ่ สร้างหอสมุด จิราภรณ์ 1 หลังสิ้นค่าก่อสร้าง 625,000 บาท ได้ชักชวนคุณแม่ชมพร้อมด้วยบุตรธิดาก่อสร้างศาลา พักร้อนศาลาท่านํ้าหน้าวัดหัวดงถนนคอนกรีตจากท่านํ้าเข้าหน้าประตูซุ้มวัดหัวดงส้ินค่าก่อสร้าง 65,000 บาท ชักชวนคุณแม่ชมจิราภรณ์พร้อมบุตร-ธิดาก่อสร้างหอระฆัง เป็นเงิน 180,000 บาท ได้ ชักชวน นางทองอยู่ พัฒนพงษ์ สร้างหอกลองสิ้นค่าก่อสร้าง 50,000 บาท หลวงพ่อพระครูบุญธรรม รส (บุญธรรม ชตุ ิธมโฺ ม) ไดอ้ ุปสมบทเปน็ พระภกิ ษุ 44 พรรษา อายุได้ 71 ปี ไดถ้ งึ ซึ่งมรณภาพด้วยโรค ลมปัจจุบัน เม่ือวันที่ 19 กันยายน 2523 เวลา 21.00 น. สุดปัญญาท่ีคณะญาติโยมศิษยานุศิษย์จะ เยียวยารักษาได้ นับเป็นการสญู เสยี ครั้งสําคญั ย่ิงของชาวตาํ บลหัวดงและใกล้เคียง

128 4. พระสุทสั สีมุนีวงศ์ (ประสทิ ธิ์ สุชโี ว) ภาพท่ี 31 พระสทุ ัสสมี ุนีวงศ์ (ประสทิ ธิ์ สุชโี ว) การดําเนินชีวิตของหลวงพ่อ เป็นท่ีน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งจากเด็กบ้านนอกสําเร็จการศึกษา เพียงชั้นประถมการศึกษาปีท่ี 4 กา้ วเขา้ สรู่ ่มผา้ กาสาวพสั ตร์ดว้ ยปณิธานอนั แน่วแน่ในพระพุทธศาสนา ดํารงตนอยู่ในพระธรรมวินัยของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้ความรู้ความสามารถของตนใน การพัฒนาวดั และสง่ เสริมการพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญข้ึนโดยลําดับ ด้วยเหตุผลดังกล่าว สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเสาเสมา ธรรมจักร เนื่องในงานสัปดาห์ส่งเสริมวันวิสาขบูชา ในฐานะผู้บําเพ็ญประโยชน์ส่งเสริมการพัฒนา ชมุ ชนและการสงเคราะหป์ ระชาชน โดยใชห้ ลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สาขาการพัฒนาชุมชนพร้อม ทั้งได้รับการยอมรับนับถือ และความไว้วางใจจากพระเถรานุเถระ ให้ช่วยรับภาระกิจการงานคณะ สงฆ์ในส่วนของการศึกษาของคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร โดยมอบถวายให้ดํารงตําแหน่งรองเจ้าคณะ จังหวัดพิจิตร ฝุายการศึกษาด้วยเหตุผลดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ได้ ทรงพระกรณุ าโปรดเกล้าฯ พระราชทานต้งั สมณศักด์ิเป็นพระราชาคณะชนั้ สามัญ

129 ภาพที่ 32 พ.ศ. 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ พระราชทานเสาเสมาธรรมจักร เน่ืองในงานสัปดาห์ส่งเสริมวันวิสาขบูชา ในฐานะผู้ บําเพ็ญประโยชน์ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนและการสงเคราะห์ประชาชน โดยใช้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา สาขา การพฒั นาชุมชน ภาพที่ 33 พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราช ทินนามที่ พระสุทัสสีมุนีวงศ์ (สย.) ซ่ึงเป็นการนํามาซ่ึงความภาคภูมิใจของคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตรและ พทุ ธศาสนิกชนเป็นอยา่ งมาก

130 ชีวิตในวัยเยาว์เดิมหลวงพ่อช่ือประสิทธ์ิ หมื่นสุวรรณ์ เกิดเมื่อวันศุกร์ท่ี 24 สิงหาคม พ.ศ. 2486 (ตรงกับวันแรม 9 คํา่ เดอื น 9 ปีมะแม) อาศัยอยู่บ้านเลขท่ี 26 หมู่ที่ 6 บ้านดานน้อย ตําบลวัง จิก อําเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร เป็นบุตรคนโตของ นายชุบ นางกร่างนามสกุล หมื่นสุวรรณ์ (นามสกุลเดิม ใจกุศล) มีพี่น้องรวม 8 คน คือ 1) พระสุทัสสีมุนีวงศ์ (ประสิทธิ์ สุชีโว) (ผู้มรณภาพ) 2) นางจํารัส หมื่นสุวรรณ์ 3) นายเสนาะ หมื่นสุวรรณ์ 4) นางสาวสละ หมื่นสุวรรณ์ 5) นางมะลิ สุข หนนุ (เสยี ชวี ิตแลว้ ) 6) นายจาํ นงค์ หม่ืนสวุ รรณ์ 7) นางชอ้ ย มีบุญ 8) นายสมพงษ์ หมื่นสุวรรณ์ ในวัยเยาว์ได้เข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนวัดดานน้อย ตําบลวังจิก อําเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตรจนสําเร็จช้ันประถมศึกษาปีที่ 4 เม่ือ พ.ศ. 2498 และไม่ได้เข้ารับการศึกษาต่อด้วย ภาระหน้าท่ีของพ่ีคนโตต้องช่วยบิดา มารดาเล้ียงน้องๆและช่วยทํานางานหาเงินเพ่ือ จุนเจอื ครอบครัวมีนิสัยร่าเรงิ เปน็ ทร่ี ักของเพ่ือนๆ ตามประสาของชว่ งวยั ร่นุ ด้วยวาสนาท่ีมีความผูกพัน อยู่กับพระศาสนาติดตามมาจึงชอบท่ีจะไปช่วยพระที่วัดดานน้อยทํากิจกรรมอยู่ตลอดโดยเฉพาะ ในช่วงเข้าพรรษา ทางวัดจะต้องมีการตีกลองยํ่าค่ําในช่วงเย็น ท่านก็จะรีบพายเรือข้ามแม่น้ํายม (บ้านและวัดอยูค่ นละฝงั่ ของแม่นาํ้ ยม) ไปช่วยพระตีกลองยา่ํ คาํ่ ซึ่งในปัจจบุ นั หาฟงั ได้ยากยิ่ง เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ หลวงพ่อได้เข้ารับการอุปสมบท เมื่อวันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2509 (ตรงกบั วนั ข้นึ 1 คาํ่ เดือน 8 ปมี ะเมยี ) ณ พทั ธสีมา วัดดอกไม้ ตําบลประศุก อําเภออินทร์ บุรี จังหวัดสิงห์บุรี พระอุปัชฌาย์ ช่ือ พระครูเมธีวรศาสน์วัดดอกไม้ ตําบลประศุก อําเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ได้รับฉายาว่า “สุชีโว”แปลว่า ผู้มีความเป็นอยู่ดี (สุ = ดี, งาม, ง่าย + ชีว = ความ เป็นอยู่) หลวงพ่อเป็นผู้มีความใฝุรู้ใฝุเรียนมีความรักในการศึกษา ชอบแสวงหาความรู้ใส่ตนเองอยู่ เสมอ เปน็ ผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังคําโบราณที่กล่าวว่า “หนามแหลมไม่มีใคร เส้ียม มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง” ซึ่งเป็นพรอันพิเศษ อันสอดคล้องกับมงคลที่ 5 ปุพฺเพ จ กตปุญฺญ ตาแปลว่าความเป็นผู้ทําบุญไว้ในกาลก่อน เมื่อมีโอกาสท่ีจะได้ทําการศึกษาต่อเพ่ือเป็นการเพิ่มพูน ความรู้หลวงพ่อก็ไม่ปล่อยให้โอกาสน้ันหลุดลอยไป เอาใจใส่ต่อการศึกษาท้ังทางธรรมและทางโลก อย่างเต็มทแ่ี ละไดป้ ระสบความสําเร็จในด้านการศึกษา ดงั นี้ พ.ศ. 2514 สอบไลไ่ ดน้ กั ธรรมชั้นเอก สํานกั ศาสนศกึ ษาวัดรายชะโด ตําบลสามง่าม อําเภอ สามง่าม จังหวัดพิจิตร หลังจากน้ันหลวงพ่อได้มีความปรารถนาอยากจะหาวิชาความรู้เพิ่มเติมอีก เพือ่ ให้แตกฉานในสว่ นของทางธรรมปรารภต้องการท่ีจะเพ่ิมพูนในส่วนของภาษาบาลี จึงได้ย้ายมาจํา พรรษา ณ วัดท่าหลวง พระอารามหลวง เพ่ือศึกษาภาษาบาลี พร้อมกันนี้ยังได้ศึกษาวิชาทางโลก ควบค่กู นั ไปเม่ือยา่ งเข้าปีพ.ศ. 2516 จึงได้สําเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประถมศึกษาตอนปลาย จาก กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

131 ดังที่ได้กล่าวไว้ตอนต้นว่า “ความรู้เป็นศาสตร์ ความสามารถเป็นศิลป์ ความรู้ทําให้คน องอาจความสามารถทําให้คนนับถือ” ซ่ึงในขณะนั้นหลวงพ่อเต็มเป่ียมไปด้วยความรู้และ ความสามารถพร้อมทั้งคุณวุฒิ คุณภาพ และคุณธรรม ซึ่งนับว่าเป็นอุดมมงคลของชีวิตสอดคล้องกับ มงคลชีวิตที่ 7 และ 8 ความว่าพาหุสจฺจญฺจ สิปฺปญฺจ แปลว่า ความเป็นผู้ได้สดับรับฟังมากและการ รอบรู้ในศิลปะด้วยเหตุผลดังกล่าว พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระราชวิจิตรโมลี (บุญมี ปริปุณโณ) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวง พระอารามหลวง เม่ือครั้งดํารงสมณศักดิ์ ที่ พระครูพิศาลธรรมนุศิษฏ์ ได้ พจิ ารณาเห็นความร้คู วามสามารถ จงึ ขอเสนอแต่งตั้งให้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สํานักศาสนศึกษา วัดท่าหลวง เม่ือปีพ.ศ.2518 และในปีเดียวกันนั้นยังได้รับการแต่งต้ังให้เป็นครูใหญ่แผนกนักธรรม สํานักศาสนศกึ ษาวดั ทา่ หลวงทําหน้าทใี่ นการบริหารการศกึ ษาของสาํ นกั ศาสนศกึ ษาวัดท่าหลวง ตําแหน่งอันย่ิงใหญ่ ย่อมมาพร้อมกับความรับผิดชอบอันย่ิงใหญ่เช่นเดียวกันถึงกระน้ัน หลวงพ่อก็ยังคงแบ่งเวลาศึกษาหาความรู้ใส่ตนเองอยู่เสมอ เมื่อ พ.ศ. 2519 สามารถสอบไล่ได้ตาม หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 (ประโยค มัธยมศึกษาตอนต้น) จากโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ พระ ทีฆทัสสีมุนีวงศ์วัดท่าหลวง จังหวัดพิจิตร พ.ศ. 2542 ได้สําเร็จการศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษา ตอนปลาย (ม.6) จากศนู ย์บริการการศึกษานอกโรงเรยี นอําเภอเมอื งพิจิตร แม้ภาระทางการบริหารท่ีมากขึ้นตามตําแหน่งท่ีเพ่ิมข้ึน หลวงพ่อก็ยังคงไม่ทอดท้ิงธุระใน พระพุทธศาสนาท้ัง 2 ประการ คือ 1. คันถธุรกิจด้านการศึกษาเล่าเรียน 2. วิปัสสนาธุระ กิจด้านการ บําเพ็ญภาวนากล่าวคือ หลวงพ่อได้เดินทางมาอยู่ปริวาสท่ีวัดหัวดงเป็นประจําทุกปี ในคราวหน่ึงได้ เกิดอุบตั เิ หตไุ ฟไหม้กรด ญาติโยมอุบาสกอบุ าสิกาบา้ นหวั ดงท่ไี ดม้ าปฏิบัติธรรมในครง้ั น้ันได้ช่วยกันดับ ไฟ หลังจากน้ันได้ปฏิสันถารและเกิดความเคารพศรัทธาในจริยาวัตรของหลวงพ่อตลอดมาการบริหาร กิจการณ์คณะสงฆ์ ด้วยความรู้ความสามารถของหลวงพ่อดังกล่าวมา จึงเป็นท่ีไว้วางใจของเจ้าคณะ ผู้ปกครอง โดยได้มอบภาระหน้าท่ีให้หลวงพ่อได้รับปฏิบัติ โดยในปี พ.ศ. 2514 ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระกรรมวาจาจารย์วัดรายชะโด ตาํ บลสามง่าม อาํ เภอสามงา่ ม จังหวัดพิจติ ร ครั้นกาลสืบมาในปี พ.ศ. 2523 พระครูบุญธรรมรส (บุญธรรม ชุติธมฺโม) เจ้าคณะตําบล หัวดงฆะมัง เขต 1 และเจ้าอาวาสวัดหัวดง ตําบลหัวดง อําเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ได้มรณภาพ เม่ือวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2523 เป็นเหตุให้ผู้ดํารงตําแหน่งเจ้าคณะตําบลหัวดง-ฆะมัง เขต 1 ว่าง ลง พระเมธีธรรมประนาท (ถม ปนาโท) เจ้าคณะอําเภอเมืองพิจิตร และเจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อ จึงได้ ปรึกษาหารอื กับเจ้าคณะตําบลภายในเขตการปกครอง เพื่อคัดเลือกพระภิกษุผู้มีความรู้ความสามารถ ที่จะสนองงานของคณะสงฆ์ ดาํ รงตาํ แหน่งเจ้าคณะตําบลหัวดงฆะมัง เขต 1 ได้ ในการประชุมครั้งน้ัน ได้มีมติให้พระครูสมุห์ประสิทธ์ิ สุชีโวดํารงตําแหน่งเจ้าคณะตําบลหัวดงฆะมัง เขต 1 ด้วยความ เชื่อม่ัน เชื่อมือ เช่ือถือ เช่ือใจ ซ่ึงในขณะนั้นหลวงพ่อจําพรรษาอยู่ท่ีวัดท่าหลวง อีกทั้งยังได้รับความ ไว้วางใจจากเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร 2 รูปท่ีผ่านมา คือ 1) พระวิสุทธิพงษ์เมธี วัดโพทะเล (ปัจจุบัน

132 ดํารงสมณศักด์ิเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนนามท่ี พระเทพวิมลเมธี อดีตรองเจ้าคณะภาค 4 เจ้าอาวาสวัดโพทะเล) 2) พระราชวิมลมุนี (วิจิตร นิมฺมโล) วัดชัยมงคล แต่งต้ังเป็นเลขานุการเจ้า คณะจงั หวัดพจิ ติ ร ดาํ รงตาํ แหนง่ นจี้ นถึงปี พ.ศ. 2546 ยาวนานถงึ 23 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2524 ชาวบ้านหัวดงในขณะนั้น ซ่ึงมีแม่สํารวย รังสีวงษ์ แม่น้อย ภัทรประสิทธ์ิ แม่อนงค์ ไทยตรง ได้ชักชวนชาวบ้านหัวดงเดินทางไปยังวัดท่าหลวงเพื่อกราบนมัสการ พระพระราช วจิ ติ รโมลี (บุญมี ปรปิ ุญโณ) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวง พระอารามหลวงเพื่อขอความเมตตาอนุญาตให้พระ ครูสมุห์ประสิทธิ์ สุชีโวไปดํารงตําแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหัวดง เพ่ือเป็นการอนุเคราะห์ญาติโยม ซึ่งก็ สมความปรารถนาได้รับความเมตตาจากหลวงพอ่ ได้มาดาํ รงตาํ แหนง่ เป็นเจา้ อาวาสวัดหัวดงสบื มา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2525 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พร้อมท้ังรับภาระเพ่ือสนอง กิจการคณะสงฆ์เพ่ิมข้ึน ในปีเดียวกันนั้นยังได้รับการแต่งต้ังให้เป็นรองเจ้าคณะอําเภอเมืองพิจิตรอีก ด้วยพร้อมท้ังยังปรากฏว่าเป็นพระธรรมกถึกผู้มีความแตกฉานในการแสดงธรรมอรรถาธิบายตาม แนวทางของพระพุทธเจ้ากล่าวคือ แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า และร่าเริง สามารถอธิบายขยายความที่ ยากให้มีความเข้าใจได้โดยง่าย มีข้อคิดข้อเตือนใจ จนทําให้เจ้าอาวาสวัดต่างๆ และพุทธศาสนิกชนมี ความศรัทธา หากมีการทําบุญตามบ้าน งานศพ หรือการจัดงานของวัดต่าง ๆ จะเดินทางไปกราบ นมิ นต์ใหเ้ ป็นผแู้ สดงธรรมอยูเ่ สมอ หลวงพ่อได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมายอย่างดีเย่ียมและเป็นท่ีเคารพศรัทธา จากพระภิกษุสามเณร ในการปกครองทางคณะสงฆ์ ในปี พ.ศ. 2539 หลวงพ่อได้รับการแต่งต้ังเป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอําเภอเมืองพิจิตร และได้รับการแต่งต้ังเป็นเจ้าคณะอําเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ในปีเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 หลวงพ่อได้รับการแต่งต้ังเป็นรองเจ้าคณะจังหวัด พจิ ิตร ฝาุ ยการศึกษา ปฏิบตั หิ นา้ ท่ีในการบริหารการศกึ ษาของคณะสงฆ์จังหวดั พจิ ติ ร หลวงพ่อเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยจริยาวัตรอันงดงามเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในปี พ.ศ. 2520 ได้รับแต่งต้ังเป็น พระครูสมุห์ ฐานานุกรมของพระราชวิมลเมธี (วิจิตร นิมฺมโล) พระราชาคณะ ช้นั ราช วัดมงคลทับคลอ้ ตําบลทับคล้ออาํ เภอทบั คลอ้ จังหวัดพจิ ิตร หลวงพ่อได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งอาศัยอิทธิบาทธรรม กล่าวคือ พอใจรักใคร่ในหน้าที่ ของตน มคี วามอดทนพยายามทํางานให้สําเร็จ มีความต้ังใจแน่วแน่และฝักใฝุในส่ิงท่ีทํา มีการพิจารณา ใคร่ครวญหาเหตุผลในการกระทํา1กล่าวโดยย่อคือ พอใจทํา แข็งใจทํา ต้ังใจทํา และเข้าใจทํา จึงมี ผลงานในการบริหารกิจการคณะสงฆ์เป็นที่ประจักษ์ทั้ง 6 ด้าน กล่าวคือ งานปกครอง งานการศึกษา งานเผยแผ่ งานสาธารณูปการงานสาธารณประโยชน์และงานศึกษาสงเคราะห์ ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระเถระเจ้าคณะผู้ปกครองจึงเสนอประวัติและผลงานของหลวงพ่อ เพื่อขอรับพระราชทานสมณศักดิ์แต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ในปี พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระ

133 ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักด์ิ เป็นพระครูสัญญา บัตร รองเจ้าคณะอําเภอ ช้ันโท ในราชทินนามท่ี พระครูพิศิษฏ์ธรรมโกศล (รจอ.ชท.) ซ่ึงในการโปรด เกล้าฯพระราชทานสมณศักด์ิตามคติโบราณ การตั้งราชทินนามจะตั้งเพ่ือเป็นการประกาศเกียรติคุณ ตามความรู้ความสามารถของพระภิกษุรูปนั้น กล่าวคือ ราชทินนาม ท่ี พระครูพิศิษฏ์ธรรมโกศล แปล ไดใ้ จความว่า พระครูผู้ฉลาดในธรรมอย่างดีเลิศ (พิศิษฏ์ แปลว่า ดีเลิศ, มั่งมีที่สุด + คําว่า ธรรมโกศล แปลว่า ผู้ฉลาดในธรรม) ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 ได้รับพระราชทานเล่ือนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญา บตั ร รองเจ้าคณะอาํ เภอ ชั้นเอก (รจอ.ชอ.) ในราชทินนามเดิม จวบจนกระท่ังปี พ.ศ. 2542 หลวงพ่อ ไดร้ ับพระราชทานเลอื่ นสมณศกั ดิ์ เปน็ พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอําเภอ ช้ันเอก (จอ.ชอ.) ในราชทิน นามเดิม คุณวุฒิ คุณธรรม และคุณภาพในการปฏิบัติหน้าท่ีของหลวงพ่อเต็มเปี่ยมไปด้วย ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นที่ปรากฏต่อสาธารณชนด้วยคุณงามความดีที่ปรากฏ เมื่อปี พ.ศ. 2543 เนื่องในงานสัปดาห์ส่งเสริมวันวิสาขบูชา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง พระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ พระราชทานเสาเสมาธรรมจักร แด่หลวงพ่อในฐานะผู้บําเพ็ญประโยชน์ส่งเสริมการ พัฒนาชุมชนและการสงเคราะห์ประชาชน โดยใช้หลกั ธรรมทางพระพทุ ธศาสนา สาขาการพัฒนาชมุ ชน เมื่อปี พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรด เกล้า ฯ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะช้ันสามัญในราชทินนามท่ีพระสุทัสสีมุนีวงศ์ (สย.) แปลได้ใจความว่า ผู้เป็นวงศ์แห่งพระมุนี,ผู้มีวิสัยทัศน์อันงดงาม ซ่ึงประกอบไปด้วยคําว่า “สุทัสสี” แปลวา่ ผมู้ กี ารเห็นทีด่ ี,เห็นชอบ, เหน็ งาม และคําว่า “มุนีวงศ์” แปลว่า ตระกลู (วงศ)์ แห่งผูร้ ู้) พฒั นาวัด ให้เป็นวัดพัฒนา นับแต่หลวงพ่อได้ดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาส ก็เริ่มทําการพัฒนา วดั ในด้านตา่ งๆ ดงั นี้ 1. ปรับปรุงบริเวณวัดเป็นสัดส่วน สะอาด สงบ ร่มร่ืน สวยงาม พร้อมทั้งอาคารเสนาสนะ ใหม้ คี วามมน่ั คง เปน็ ระเบยี บ 2. จัดการศึกษาแก่พระภิกษุ สามเณร โดยเปิดทําการเรียนการสอนตามหลักสูตรนักธรรม ชั้นตรี, ชั้นโทและช้ันเอก หากมีความประสงค์ต้องการเรียนภาษาบาลี หรือสายสามัญหลวงพ่อก็จะ นําไปฝากเรยี นตอ่ ทว่ี ัดทา่ หลวง ในส่วนของประชาชนก็จะส่งเสริมโดยการจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษา และมอบให้แกน่ กั เรียนทกุ ๆ ปี พรอ้ มท้ังสนับสนุนใหม้ กี ารเรยี นการสอนธรรมศกึ ษาในโรงเรยี น 3. มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมศีลธรรม กิจกรรมวันสําคัญต่างๆ และกิจกรรมท่ี เอ้ืออํานวยประโยชน์ต่อชุมชน ดังน้ี 1) จัดให้มีกิจกรรมทุกวันธรรมสวนะและวันสําคัญใน พระพทุ ธศาสนา โดยมีกจิ กรรมการทําบญุ ใหท้ านรักษาศีลอโุ บสถ ฟังธรรม และเจริญจติ ภาวนา 2) จัด ให้มีพิธบี รรพชาสามเณรภาคฤดรู ้อน โดยจดั ขนึ้ ในระหว่างวันท่ี 7-15 เมษายน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประจําทุกปี 3) จัดให้มีพิธีตักบาตรข้าวสาร

134 อาหารแหง้ ในวนั สําคญั ของชาติ 4) จัดให้มีงาน ปิดทองไหว้พระแข่งขันเรือยาวประเพณี ทุกวันเสาร์- อาทิตย์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม 5) จัดให้มีพิธีบําเพ็ญกุศล “พิธีแจงรวมญาติ”ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน และ “พิธีบําเพ็ญกุศลให้อดีตเจ้าอาวาสวัดหัวดง และอุบาสกอุบาสิกาท่ีถวายความอุปถัมภ์ แดว่ ดั หวั ดง ที่ล่วงลบั แลว้ ” ในวันท่ี 19 สิงหาคม เป็นประจาํ ทุกปี 6) จัดให้มีการสอบธรรมสนามหลวง ท้งั ในส่วนของนกั ธรรมและธรรมศึกษา 7) มีการจัดการปกครองพระภิกษุสามเณร และศิษย์วัดอย่างมี ระเบียบ และปฏบิ ัติตามกฎ ระเบียบ คาํ สั่งของมหาเถรสมาคม 8) มกี ารจดั ทําแผนงาน และโครงการ ในการกอ่ สรา้ ง บูรณปฏิสังขรณเ์ สนาสนะ รวมทงั้ วางแผนในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาวัดอย่าง เนอื่ ง กระทง่ั เม่ือปี พ.ศ. 2536 ไดร้ ับเกยี รติบัตรยกย่องเป็นวดั พัฒนาตวั อยา่ งของกรมการศาสนา และ เมื่อปี พ.ศ. 2537 ได้รับเกียรติบัตรยกย่องเป็นวัดพัฒนาดีเด่น ของกรมการศาสนา และมีการพัฒนา วัดมาโดยลาํ ดบั ปี พ.ศ. 2551 หลวงพ่อมีอาการอักเสบท่ีบริเวณขาด้านซ้าย มีอาการบวมแดงโดยไม่ทราบ สาเหตุในขณะนั้นคณะศิษยานุศิษย์ต่างมีความกังวลในอาการที่เกิดข้ึนจึงกราบนิมนต์ให้ หลวงพ่อ เดินทางไปโรงพยาบาลพจิ ติ ร เมอ่ื วนั ท่ี 20 สิงหาคม 2551 เพ่อื ใหค้ ณะแพทยต์ รวจรา่ งกายและทําการ รักษา แต่อาการไม่ดีข้ึน เม่ือคุณวิชาญ คุณสายพิณพหลโยธิน ได้ทราบข่าวการอาพาธของหลวงพ่อมา โดยตลอดจึงมีความกังวลเป็นอย่างมาก โดยกราบนิมนต์หลวงพ่อเดินทางเข้ารับการรักษาต่อที่ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ (กรุงเทพมหานคร) เม่ือวันท่ี 25 สิงหาคม 2551 โดยครอบครัวพหลโยธินได้ ปวารณาขอถวายความอุปถัมภ์ค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด แม้ร่างกายของหลวงพ่อจะเจ็บปวดสักเพียงไร ก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ด้านการศึกษาของคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร ในส่วนของพระบาลีนักธรรมและธรรม ศึกษา โดยโทรศัพท์ติดตามถามไถ่ ให้กําลังใจแก่พระภิกษุผู้สนองงานอยู่เสมอ และให้กําลังใจแก่ พระภิกษุผู้เป็นคณะกรรมการจัดการสอบธรรม พระภิกษุผู้ขอเข้าสอบธรรม ซึ่งยังความปราบปล้ืม ซาบซ้ึงตรึงใจเป็นอย่างมาก ในช่วงที่รักษาตัวท่ีโรงพยาบาลวิชัยยุทธ พระเถรานุเถระพร้อมทั้งคณะญาติโยมผู้มีความ ศรัทธาหลวงพอ่ ได้เดินทางมาเยย่ี มเยียนอาการอาพาธใหก้ ําลังใจอยู่เสมอ แต่อาการของหลวงพ่อยังคง ทรงตวั กล่าวคือ ยังคงมกี ารติดเช้ือในกระแสเลือดอยู่ตลอด ในขณะน้ันคุณพ่อเฉลียว อยู่วิทยา ทราบ เรื่องอาการอาพาธของหลวงพ่อมีความกังวลเป็นอย่างมาก จึงได้มอบหมายให้คุณวิชาญ คุณสายพิณ พหลโยธนิ ปรกึ ษาคณะศษิ ยานศุ ษิ ย์อีกคร้ังหนึ่งเพื่อที่จะกราบนิมนต์หลวงพ่อเข้ารับการรักษาตัวต่อที่ โรงพยาบาลปิยะเวทโดยค่ารักษาพยาบาล คุณเฉลียวขอเป็นผู้ถวายความอุปถัมภ์เองทั้งหมดในการ รักษาอาการอาพาธคร้ังนี้ อาการอาพาธเร่ิมดีข้ึน หลังจากผ่านการรักษาอาการอาพาธเกือบปีคร่ึง หลวงพ่อจึงได้เดินทางกลับมาวัดได้บ้างเป็นระยะเพ่ือพักพื้นและกลับไปตรวจอาการตามที่แพทย์นัด ตามปกติหลวงพ่อมีอาการทรุดลงอีกคร้ัง จึงได้เดินทางกลับไปรักษาที่โรงพยาบาลปิยะเวท

135 คณะแพทย์วินิจฉัยว่า ลําไส้กลืนกันจนทําให้อาหารไม่สามารถเดินทางผ่านไปได้ จึงทําการทําการ ผ่าตดั และในครง้ั นี้ชาวบา้ นหัวดงไม่มีใครคาดคดิ วา่ จะเปน็ คร้งั สดุ ทา้ ยท่ีได้พูดคุยกบั หลวงพ่อ วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ.2554 (ตรงกับวันแรม 3 คํ่า เดือน 5 ปีเถาะ) โรงพยาบาลปิยะเวท ได้แจ้งข่าวมายังทางวัดว่า พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระสุทัสสีมุนีวงศ์ ได้ละ สังขารจากไปด้วยอาการสงบ ในเวลา 07.16 น. ยังความโศกเศร้าให้กับคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตรและ พุทธศาสนกิ ชนเปน็ อย่างมากสริ อิ ายุได้ 67 ปี 7 เดอื น 27 วนั 44 พรรษา 5. นายคมุ้ เมืองเหลอื แพทยป์ ระจาํ ตาํ บลหวั ดง ตําบลหัวดงเร่ิมมีแพทย์ประจําตําบลเมื่อปี พ.ศ. 2504 นายคุ้ม เมืองเหลือ เป็นผู้ประกอบ โรคศิลป์แผนโบราณ สาขาเวชกรรมและเภสัชกรรม ได้เข้าดํารงตําแหน่งเป็นคนแรกในสมัยน้ัน เท่าที่ จําไดล้ ืมตาขึ้นมาก็เห็นผู้คนท่ีเจ็บไข้ได้ปุวยมาหาพ่อทุกวันท่ีบ้านมีเรือนคนไข้สามารถรับคนไข้เป็นสิบ กว่าครอบครัวที่พักอาศัยรักษาตัวอยู่ที่บ้านเลยเพราะมาไกลถนนหนทางมาลําบาก สมัยนั้นพ่อรักษา คนไข้ด้วยยาสมุนไพรไทย วัตถุดิบนํามาจากบ้านดงปุาคํา ซ่ึงเป็นบ้านเกิดของพ่อเป็นตระกูลหมอยา และสมุนไพรจีน ปรุงยาที่บ้านเจ๊กฉ่ัวแล้วนํามาต้มมารักษาให้คนไข้หายกันท่ัวหน้าเป็นท่ีรู้จักทั่วไป บางรายเสียชีวิตมารักษาไม่ทันการณ์เนื่องจากถนนหนทางลําบาก แต่ละหมู่บ้านต้องเดินมา อย่างดีก็ จักรยาน ต่อมามีจักรยานยนต์ สมัยก่อนผู้คนไปโรงพยาบาลลําบากเพราะอยู่ในเมืองไกลจากหมู่บ้าน และไม่มีเงินรักษา จึงหันมารักษาหมอชาวบ้านแทน หมอคุ้มเป็นที่รู้จักและเป็นที่รักของคนท่ัวไป เพราะเปน็ คนใจดมี เี มตตาสูง ภาพที่ 34 นายคุ้ม เมืองเหลอื ผปู้ ระกอบโรคศลิ ปแ์ ผนโบราณสาขาเวชกรรมและ และเภสชั กรรม นอกจากจะเป็นหมอรักษาคนไข้แล้วยังมีหน้าท่ีอื่น ๆ เช่นรับผิดชอบดูแลการตัดถนนจาก วัดหัวดงไปสามแยกเข้าถนนเส้นหลักเข้าตัวจังหวัดพิจิตร และตะพานหิน มีผู้รับผิดชอบ 4 ท่านคือ 1) ผู้ใหญ่สนิท ศรีอุดมพงษ์ 2) กํานันวิศาล ดํารงตําแหน่งกํานันตําบลหัวดง 3) ผู้ใหญ่สุชิน ธูปเงิน และ 4) นายคุ้ม เมืองเหลือ ได้ร่วมสํารวจเส้นทางตัดถนนหัวดงยางสามต้น กับทีมกํานันผู้ใหญ่บ้าน

136 ตําบลหัวดง เวลาลงพ้ืนที่ต้องนําอุปกรณ์ทางการแพทย์ไปด้วย เพราะถ้าใครเจ็บไข้ได้ปุวยก็รักษากัน ทันที ในสมัยน้ันมีการตายบ่อยมากพ่อต้องเดินทางไปทําการพลิกศพบ่อยมาก มีโรคระบาดก็มาก อุบัติเหตกุ บ็ ่อย ดงั นั้นไมว่ ่าจะมีอะไรเกดิ ขนึ้ หน้าที่แพทยป์ ระจําตําบลต้องลงพืน้ ที่ทุกเหตกุ ารณ์ สําหรับหมอคุ้ม ในสมัยนั้นมีชื่อเสียงมากในเร่ืองของการรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มียา เฉพาะสูตรพิเศษ รับรักษาคนไข้ที่ทางโรงพยาบาลส่งให้กลับมานอนท่ีบ้านรอรับสภาพตามธรรมชาติ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หมอคุ้มกลับรักษาให้สามารถลุกมาช่วยเหลือตัวเองได้ถึงแม้มีเพียง 80% ช่วยเหลือตัวเองได้ไมเ่ ดอื ดรอ้ นลกู หลาน ตลอดการทาํ งานแพทยป์ ระจาํ ตําบลหัวดงเป็นเวลา 20 ปี ได้ ทําหน้าท่ีอย่างทุ่มเทแรงกายแรงใจในชีวิตราชการ และการเป็นหมอยารักษาคนไข้มาต้ังปี 2497 ตั้งแตไ่ ดร้ บั ใบอนุญาตโรคศิลป์เปน็ ต้นมาเป็นเวลา 27 ปี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2524 หมอคุ้ม เมือง เหลือ ไดถ้ งึ แกก่ รรม ภาพท่ี 35 นายคุ้ม เมืองเหลอื แพทยป์ ระจาํ ตําบลหวั ดงตรวจคนไข้ ภาพที่ 36 นายคุ้ม เมืองเหลอื แพทย์ประจําตําบลหัวดงตรวจคนไข้ 6. นายชอ่ เมืองเหลือ แพทยป์ ระจาํ ตําบลหัวดง ผู้สืบทอดแพทย์ประจําตําบลหัวดงคนต่อมาคือนายช่อ เมืองเหลือ หลานชายเสมือน บุตรชายคนโตของหมอคุ้ม เมืองเหลือ ในปี พ.ศ. 2524 ถึง 2554 ได้ทําหน้าท่ีสืบทอดหมอคุ้ม ท้ัง

137 ตํารายาและวิชาความรู้ทั้งหมดด้วยการทําหน้าที่ แพทย์ประจําตําบลตลอดระยะเวลา 30 ปี โดยมี ชอื่ เสียงมากในการรักษาผู้ปุวยท่ีปุวยด้วยโรคอัมพฤกษ์อัมพาต โดยใช้หลักการแพทย์แผนโบราณ ใช้ สมุนไพร และตํารับยาท่ีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นยาต้ม สมุนไพรประคบ ทําให้คนท่ี ปุวยมีอาการอมั พฤกษ์ อัมพาต น้ันดีข้ึนเป็นจํานวนมาก และทําหน้าท่ีเป็นไวยาวัจกร ของวัดหัวดงมา ตลอด ซึ่งประจวบกับลูก ๆ ทํางานราชการทุกคนซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ใน ตําบลหัวดง มีอาชีพท่ีต้อง เก่ียวข้องกับประชาชน ในเร่ืองการดูแลสุขภาพ การศึกษา ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ภายใน ชุมชน จึงเป็นครอบครัวที่คนท่ัวไปรู้จักกันดีในชุมชนและให้การยอมรับว่าเป็นครอบครัวที่ดี มีความ โอบออ้ มอารแี ก่คนทว่ั ไปและไดร้ บั รางวัล “ครอบครวั รม่ เย็นจังหวัดพิจิตร ประจําปี 2560” และได้รับ โลเ่ ชิดชเู กยี รตจิ ากรฐั มนตรวี า่ การกระทรวงการพัฒนาสงั คมและความม่ันคงมนษุ ย์ พฤติกรรมทางด้านสังคมในเรื่องของศีลธรรม ด้วยงานที่รับผิดชอบในหน้าท่ีและตําแหน่ง ต่าง ๆ ทท่ี างสังคมและชุมชนเลือกและยอมรับนั้น ย่อมเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติตนในเรื่อง ศีลธรรมที่ไม่มีข้อบกพร่อง เป็นแบบอย่างของการปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างให้ครอบครัวประพฤติปฏิบัติ ตาม เช่น ใส่บาตรพระทุกวันในตอนเช้า ร่วมกิจกรรมทางศาสนาทุกกิจกรรม มีน้ําใจ เอ้ือเฟื้อเผื่อแผ่ ฯลฯ ดังปรากฏได้จากการได้รับรางวัลพ่อตัวอย่าง พ่อซึ่งเสียสละทําคุณประโยชน์ต่อสังคมและ ส่วนรวม ประจําปี 2556 ของเทศบาลตําบลหัวดง และสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร ร่วมกับ อาํ เภอเมืองพิจิตร ได้มอบเกียรติบัตร “ครอบครัวรักษาศีล 5” ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นตัวอย่างที่ดี แก่ชุมชนตอ่ ไป ภาพท่ี 37 นายช่อ เมืองเหลือ ได้รบั โล่เชดิ ชูเกียรติจากรฐั มนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมนั่ คงมนุษย์ ประจําปี 2560

138 ภาพที่ 38 นายช่อ เมืองเหลือ รบั รางวลั พอ่ ตวั อยา่ ง พ่อซ่งึ เสียสละทําคณุ ประโยชน์ตอ่ สังคมและส่วนรวมประจาํ ปี 2556 ภาพที่ 39 นายชอ่ เมอื งเหลือ รับมอบประกาศเกียรตคิ ุณ ครอบครัวตัวอย่างรักษาศีล 5 จากนายอําเภอเมืองพจิ ิตร ตอ่ มาปี 2554 จนถงึ ปัจจุบัน ผ้สู ืบทอดแพทยป์ ระจําตําบลหัวดงคือนายณัฐพนธ์ เมืองเหลือ ได้รับสืบทอดจากบิดา จบการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต เคยได้รับการคัดเลือกเป็นแพทย์ประจํา ตาํ บลยอดเยย่ี มอําเภอเมืองพจิ ิตรประจาํ ปี 2560

139 ภาพท่ี 40 นายชอ่ เมืองเหลือ และนายณฐั พนธ์ เมืองเหลือ 7. นายเลศิ โพนามาศ (ช่างเลิศ) ช่างขดุ เรอื ยาวสมัยโบราณ ตาํ บลหัวดงเปน็ ตําบลเลก็ ๆ ของอาํ เภอเมืองพจิ ติ ร จงั หวัดพจิ ติ ร เป็นถ่ินกําเนิดของผู้เขียน นายวชิระ โพนามาศ (ช่างล่อม) จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนพิจิตรวิทยาคม ปี พ.ศ. 2514 รนุ่ เดยี วกบั อาจารยป์ ระไพ ทิมพงษ์ ผู้ท่ีได้ร่วมเขียนประวัติการทําเรือยาวของคุณพ่อเลิศ โพนา มาศ มาคร้ังหน่ึง ผมผู้เขียนได้เขียนเพิ่มเติมรายละเอียดกับวิธีการหาไม้ทําเรือและวิธีการทําเรือจาก ประสบการณ์ของผ้เู ขียนเองท่ีได้รับความรู้จากคุณพ่อเลิศโดยตรง ในสมัยที่ผู้เขียนเกิดข้ึนมาปุาไม้เร่ิม หายากขึ้นมาอีก เพราะความต้องการของชาวบ้าน จึงต้องไปหาไม้ในเขตไกล ๆ เช่นในเขตจังหวัด พิษณุโลกและการทจ่ี ะเข้าไปหาก็ลําบาก จะมีแค่ทางเกวียนและทางเท้าเท่านั้นที่จะเข้าไปในปุาดงดิบ ได้ ไม้ตะเคียนเป็นไม้ที่ช่างขุดเรือมีความต้องการมาก เพราะเป็นไม้ที่มีเน้ือละเอียด เวลาย่าง ไฟจะมยี างไมท้ าํ ให้งา่ ยต่อการทาํ เรอื ทนทานต่อการสึกกรอ่ น สงั เกตจากไม้ตะเคียนท่ีจมดิน เป็น 100 ปียังมีสภาพไม่ค่อยพุกร่อนเลย และยังมีความเช่ือถือกันว่า มีสิ่งศักด์ิสิทธ์ิสิงสถิตย์อยู่ซ่ึงเป็นความ เชอ่ื ถือกนั มาตลอด

140 ภาพที่ 41 นายเลศิ โพนามาศ (ช่างเลศิ ) ช่างขดุ เรอื ยาวสมยั โบราณ ในขณะนั้นนายวชิระ โพนามาศ หรือช่างล่อม ได้เคยไปหาไม้ตะเคียนทอง กับคุณพ่อเลิศ มีชาวบ้านไปช่วยกันประมาณ 10 กว่าคน สมัยนั้นรถยนต์ใช้นํ้ามันเบนซิน มีเครื่องโซล่าน้อยมาก บรรทุกคนงาน และเคร่ืองมือไปด้วย เช่น เลื่อยบุคคโล (มีความยาวประมาณ 2-2 เมตรครึ่ง มีฟันซี่ ใหญ่ ๆ) มขี วานโยน ขวานหมู มีดชนิดต่าง ๆ คราวนั้นไปที่หมู่บ้านชื่อ บ้านลําพาด อยู่ในเขต จังหวัด พิษณุโลก โดยชาวลําพาด ให้การร่วมมือเป็นอย่างดีและบอกว่ามีต้นตะเคียนทองอยู่ต้นหนึ่งสวยมาก ให้เข้าไปดูพอคณะของช่างเลิศเข้าไปดูก็รู้สึกพอใจไม้ต้นน้ีมาก มีลักษณะดีขึ้นอยู่บนขอบชายปุา ดา้ นล่างเป็นปุาโปร่ง จากน้ันคนงานก็ได้ทดสอบความยาวว่ายาวพอที่จะทําเรือได้หรือไม่ โดยใช้ไม้รวกซ่ึงมี ขึ้นอยูแ่ ถวนั้นมากมาย มาตัดได้ประมาณ 5 วา ลองเอาไปทาบดูกับลําต้น และคํานวณว่าส่วนท่ีเหลือ จะยาวเท่าไหร่ ปรากฏว่าได้ 11-12 วา เป็นอันว่าใช้ได้ ส่วนความโตของลําต้นดูด้วยตาเปล่าก็บอก ใช้ได้ บางคนก็ใช้ไม้วัดจากโคนต้นไม้ไปประมาณ 10 วา แล้วก็โก้งโค้งมองลอดหว่างขาข้ึนไปดูว่าเห็น ยอดหรือลําต้นที่ประมาณไว้ได้ไหม ปรากฏว่ายาวได้ขนาดเรือยาวพอดี (สมัยน้ันเรือยาวประเภทยาว ใหญ่จะยาวประมาณ 12 วา ก็พอ) ในเมื่อเราได้ความยาวของไม้พอแล้วก็ต้องดูหน้าของเรือว่าจะเอา ด้านไหนเป็นหนา้ เรือ โดยจะดูวา่ ตน้ ไมจ้ ะโอนไปทางไหน สว่ นมากไม้จะโอนไปทางทิศตะวันออก เราก็ จะเอาด้านน้ันเป็นหน้าเรือทําเคร่ืองหมายไว้ เวลาเราโค่นลงมาแล้วจะดูไม่ออกเลยว่าหน้าเรืออยู่ด้าน ไหน เพราะเป็นไม้ท่ีนอนราบกับพื้นดินแล้ว จะดูไม่ค่อยออกเม่ือเราได้ทดลองวัดความสูง ดูหน้าเรือ แลว้ เรากจ็ ะทาํ พิธที ําการโคน่ ตน้ ไม้ กอ่ นทจี่ ะโคน่ เราต้องบอกเล่าเก้าสิบกับสิ่งศักด์ิสิทธ์ิท่ีสถิตย์อยู่ใน

141 ตน้ ไม้ โดยเฉพาะไม้ใหญ่ ๆ อยา่ งน้เี ชอื่ กนั วา่ ต้องมสี ่ิงลี้ลับอยู่แน่นอนตามความเช่ือของคนสมัยโบราณ โดยเราจะไปหาดอกไม้สามสีท่ีพอจะหาได้ในบริเวณนั้น ธูป 9 ดอก เทียน 1 เล่ม ปักไว้ท่ีพื้นดินใกล้ๆ โคนต้นไม้ และบอกกล่าว ขอขมา เจ้าท่ี เจ้าทาง แม่ย่านาง ท่ีอยู่ในบริเวณปุาน้ันให้ได้รับรู้ ถึงความ ต้องการของชาวบ้าน ว่าจะเอาต้นไม้ไปทําอะไร เพราะสมัยก่อนเป็นปุาดงดิบ ห้ามพูดจาไม่ดีไม่เป็น มงคล อาจจะมีอะไรให้เราเห็นก็ได้ เป็นต้นว่าเวลาโคนแล้วไม้เลื่อยขาดแล้วแต่ต้นไม้ไม่ยอมล้มลงมา เราต้องพูดจาบวงสรวงอีกครั้งหนึ่ง บางทีช่วงลมพัดนิดเดียว ไม่ก็ล้มลงมาได้ โดยท่ีเราไม่สามารถเดา เหตกุ ารณ์ได้ คนงานทกุ คนตอ้ งระวัง จนกวา่ ไม้จะลม้ ลง จึงสบายใจได้ การโค่นไม้สมัยน้ันเราไม่มีเล่ือย โซ่ เหมือนสมัยนี้ ต้องใช้เลื่อยบุคคโล เลื่อยทางด้านที่เรา ต้องการที่จะให้ไม้ล้มไปทางน้ันก่อน ได้ประมาณร่วมคร่ึงต้นเราก็จะกลับมาเลื่อยอีกด้านหน่ึง จนกระท่งั ไม้จะโคน่ ลงมา พอไม้ล้มลงมา เรากจ็ ะเอากง่ิ ของต้นเกา่ อันเล็กๆมาปกที่ต้นเก่า เหมือนปลูก ทดแทน เป็นเคล็ดของคนโบราณ จากนั้นเราก็จะวัดความยาวของไม้ท่ีเราต้องการโค่นไม้ย่อมมีตําหนิ ทีโ่ คนต้นอาจจะมกี ารฉกี ขาดของไมก้ ็ได้ อาจจะตอ้ งตัดโคนใหมเ่ รียกว่าทวนไม้ใหมใ่ หเ้ รียบรอ้ ย ในเมื่อเราโค่น ตัดความยาวของไม้ตามต้องการแล้วเราก็จะดูขนาดความใหญ่ของลําต้นว่า ไมม้ ขี นาดกี่กัม (กัมในสมยั โบราณเขาใช้เชือกวัดรอบกลางลําต้น ต้นกลางๆลําต้นไม้ แล้วนําความยาว มาทบเท่า ๆ กันแลว้ ใชว้ ิธีเอามือมากาํ ต่อ ๆ กัน ในเชือกทที่ บกันได้ก่ีกํามือ) ความใหญ่ของต้นไม้อย่าง น้อย ต้องได้ 10 กําข้ึนไป บางต้นไม่ต้องวัดเลยเห็นก็ใช้ได้แล้ว เพราะความสูงขอบไม่สูงกว่าเอวของ เราขึ้นไปก็ใช้ได้ จากน้ันเราก็ต้องเอาไม้ออกจากปุา โดยเราต้องใช้รถลากไม้ (เรียกว่ารถเทเลอร์ สมัย น้ัน) มาชักลากออกไปให้ได้ ท่านต้องนึกสภาพปุาสมัยก่อน จะเป็นปุาดงดิบและมีปุาโปร่งบ้างกว่าจะ ชกั ลากออกมาได้ บางทีตอ้ งใช้เวลา 2-3 วนั ถึงจะออกมาได้ตอ้ งตัดโคน่ ต้นไมข้ ้างทาง คนขับรถจะต้อง ใจถงึ อยา่ งมากลัดโคง้ ไดล้ ดั เลยไม่กลัวรถพัง ถา้ ไม่อย่างน้ันจะเอาไม้ออกไม่ได้เลย หลังจากออกจากปุา มาได้แล้ว ก็จะต้องเอาไม้ลงอีกอาจจะเป็นที่วัด หรือบ้านส่วนมากจะเป็นที่วัด คนงานปลดสลิงเชือก ต่าง ๆ ก็ไม่วายจะมีอาถรรพ์อีก โดยรถจะเดินหน้าหรือถอยหลังไม้ก็ไม่ยอมลงจากรถ จะต้องจุดธูป บอกเล่าแม่ย่านางอีก ถือว่าแม่ย่านางเฮ้ียนมา พอบอกเสร็จบางทีก็ยังไม่ยอมลงต้องบอกอีกคร้ังหนึ่ง ถึงจะยอมลงจากรถทําให้ชาวบ้านตื่นเต้นและศรัทธาที่ได้เห็นเป็นอย่างมาก วิธีการที่เราจะเริ่มทําให้ เป็นเรือ ต้องต้ังศาลช่ัวคราว จุดธูป เทียน บอกให้แม่ย่านางรู้ว่าเราจะตบแต่งให้แม่ย่านางสวยงาม ขอให้คนงานท่ีช่วยกันทําด้วยความปลอดภัยไม่มีอุปสรรคใด ๆ ท้ังส้ิน โดยเอาเครื่องมือทุกอย่าง ออกมาไว้ทีเ่ รือดว้ ย ผกู ด้ายขาวด้ายแดงท่ีหวั ทา้ ยเรอื ปะแปูงหัวทา้ ยเรือ จากน้ันเราจะเริ่มพันไม้ส่วนที่เป็นหน้าเรือ (ช่างเรียกว่าลาดหน้าไม้) ให้เรียบตามความ ตอ้ งการของนายช่าง โดยใชข้ วานโยนฟันลงลาดหน้าเรือ ยุคหลังใช้เล่ือยยนต์ลาดหนา้ ลาดหน้าเสร็จก็ ตเี สน้ ศนู ย์กลางของไม้ และตเี ส้นข้าง 2 เสน้ เปน็ ความกว้างของกลางลําเรือ จากน้ันก็ใช้ขวานโยนฟัน ให้ลึกลงไป เรียกว่า ขุดดึก) การขุดดึก ต้องฟันเนื้อไม้กลางลําเรือออกให้ลึกท่ีสุดแล้วเราก็ตะแคงเรือ

142 เพื่อทําการขุดด้านขอบอีก (เรียกว่า ย้าย) คือขุดให้ด้านข้างกว้างขึ้นไปอีก สมัยก่อนเราขุดไม้ทิ้งหมด เลยเป็นเศษไม้เอาไว้ใช้เวลาทําการย่างเรือเท่านั้น ระยะหลังใช้เลื่อยยนต์ช้อนเอาไม้กลางลําเรือ ออกมาใช้ประโยชน์ได้เปน็ อันมาก โดยอาจจะเปน็ ไม้กาบ ไมแ้ อนกลางและไมอ้ ่ืน ๆ อีกเยอะ การขุดเรือสมัยโบราณต้องใช้ความสามารถ ความชํานาญ เทคนิคของนายช่างเป็นอย่าง มาก โดยเฉพาะการวัดสัดส่วนของลําเรือ ต้องได้ตามส่วนที่ช่างแต่ละท่านที่เคยทํา ประสบการณ์มา ไม่ใช่ใครก็ทําได้ต้องมีครูบาอาจารย์เป็นต้นแบบมาการขุดดึกต้องใช้พละกําลังมาก เรือยาวต้องใช้คน ขดุ เปน็ ระยะ 3-4 วา ต่อ 1 คน เพราะการขุดจะไม่กระทบกันลําหนึ่งประมาณ 4-5 คน ขุดขึ้นมาแล้ว ก็เก็บรวมไว้เพ่ือเวลาเบิกเรือ(ย่างไฟ) ด้านหัว ด้านท้ายเรือ จะมีความเรียวขนาดไหนก็ต้องอยู่ที่นาย ช่าง จะกะหรือตีเส้นไว้ ด้านหัว-ท้าย อาจจะต้องใช้เลื่อยบุคคโลห่ันเป็นท่อน ๆ เพ่ือฟันออกให้ได้รูป เรียว หลังจากขุดดึกแล้ว เราจะต้องเหลาเรือ (ตะแคงเรือ และควํ่าเรือเพ่ือตีเส้นศูนย์กลางด้านหลัง เรอื ) ใหไ้ ด้รูปร่างเพรยี วข้ึน กลมกลึงเท่า ๆ กัน จากนั้นก็จะเจาะลูกประสักปุา จะวัดจากหัวไปท้ายให้ หา่ งกนั เป็นระยะประมาณ 1 เมตรแลว้ ใชส้ ว่านที่มีไม้ประกบให้ได้ความลึกเท่าๆกันอาจจะประมาณ 2 นิ้วฟุตก่อนรอบลําตัวเรือ จากน้ันก็หงายขึ้นเพื่อใช้ขวานโยนขุดให้ลึกต่อไปจนถึงรูที่เจาะจากด้านหลัง ข้ึนมาการเจาะรเู ปน็ เทคนิคของคนโบราณคือจะได้เรือมีความหนาบางเท่า ๆ กันทั้งลํา หลังจากขุด ใส ตบแต่งเรอื โกรนเรือเรียบร้อยแล้ว เรือโกรน คือ เรือเพิ่งจะเริ่มทําใหม่ยังไม่ เรียบร้อย) ช่างก็ต้องเตรียมการเบิกเรือ (ย่างไฟ) โดยการใช้แรงงานช่วยกันคว่ําตัวเรือลง โดยมีคาน รองรับ หัว-ท้าย-กลางลํา ยกให้สูงข้ึนจากพ้ืนดินประมาณ 50 ซม. เพ่ือที่จะเอาสะเก็ดไม้ใส่เข้าไปใต้ ท้องเรอื กลางลํา พร้อมท่ีจะจุดไฟทําการย่างไฟ ก่อนที่จะย่างไฟเราต้องเตรียมอุปกรณ์ในการใช้หลาย อย่าง เชน่ 1) คันช่ัง ใช้ขอไม้ไผย่ าวประมาณ 3 เมตร 30-40 ขอ ใช้สําหรับดึงเรือให้กว้าง 2) ตะเกียบ ตัดจากข้อไม้ไผ่บากเป็นรูปคล้ายตะเกียบครอบขอบเรือ ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร 3) ห่วงหวาย ทําเป็นห่วงหวายพันกันเป็นเกลียว 4) ไม้คานยาว อยู่ระหว่างเรือทั้งสองด้านเพ่ือเป็นท่ียึด ดึงให้เรือ ขยายออก ตอ้ งปกั ไมใ้ ห้ตดิ อยูพ่ น้ื ใหแ้ น่นหนา 5) ไม้คํา้ ยนั ไว้สําหรับค้ําความกว้างของเรือเวลาดึงออก แลว้ 6) เชือกสําหรบั ดึงเรอื ให้ถา่ งออกยาวประมาณ 5 เมตร เม่ือเตรียมอุปกรณ์ครบเรียบร้อยแล้ว ที่สําคัญที่สุดคือจะต้องต้ังศาลเพียงตา (สูงอยู่ใน ระดับตาของเรา) จะมีบายศรีปากชาม, ต้มขาวต้มแดง ดอกไม้ 3 สี ธูป เทียนและบางทีก็มีเครื่อง สังเวย ผักพล่า ปลายยํา อีกหลายอย่าง และแต่ละท้องท่ี การย่างไฟเรือเราจะลงมือใส่ไฟเรือ ประมาณตี 2 ตี 3 ต้องใช้เวลาย่างประมาณ 6-7 เซนติเมตร ต้องดูตามความร้อนของไม้ที่ย่างไฟจะ ร้อนพอหรือยังย่างไฟคร้ังแรกต้องใช้เวลานานหน่อยเพราะเนื้อเรือยังหนากว่าจะหงายข้ึนมาต้องเกน คนมาช่วยกนั หงาย ชว่ ยกันดไู ฟเวลาย่างเรือ (ชา่ งบางคนเขาจะหงายเรอื เพ่อื ย่างไฟ)

143 3. พัฒนาการตัง้ ถ่ินฐานของคนในชุมชน การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและกระแสการ เปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2400 บ้านหัวดง คนหัวดงกลุ่มแรกท่ีมาต้ังถ่ินคือคนหัวดงเช้ือสายไทย โดยใช้พ้ืนที่ ราบลุ่มแม่นํ้าน่านบริเวณท่ีเรียกว่าหัวดงมีผู้คนอาศัยอยู่จํานวนหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มคนหัวดงเช้ือสายไทย จะประกอบอาชีพในการหาของปุาล่าสัตว์ ทําเกษตรกรรมต่าง ๆ และนําผลิตผลหรือสินค้ามา แลกเปล่ียนบรเิ วณทา่ นํา้ ที่หัวดง บา้ นหวั ดงนใ้ี ช้เรียกท้ังบา้ นเรอื นทตี่ ัง้ ท้งั สองฝ่งั แม่น้ําน่าน อาศัยการ คมนาคมโดยแมน่ ้าํ น่านเปน็ หลักในการเช่อื มตอ่ กับเมืองอนื่ ๆ วัดหวั ดงเปน็ ศูนย์กลางของความศรัทธา ใช้หลักธรรมคําสอนเป็นสิ่งหลอมหลวมคนหัวดงให้มีความสามัคคีกัน จากหลักฐานทางโบราณคดี เก่ียวกับการสร้างวัดหัวดงในปี พ.ศ. 2413 (ที่มาจากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรของกรมการ ศาสนา) โดยโบสถ์เกา่ ที่วัดหัวดงเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมีรากฐานมากจากสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้นอุโบสถเกา่ มีลกั ษณะเป็นอุโบสถทรงตกึ ฐานบวั กอ่ อิฐถือปนู ขนาดประมาณสูง 7 เมตร ยาว 15 เมตร ต้ังอยู่บนฐานไพทีขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกสู่แม่นํ้าน่าน ที่ฐานไพทีด้านหน้าและ หลงั มบี ันไดทางขึน้ สู่ลานพระอโุ บสถ ซ่งึ มปี ระตทู างเข้าออกพระอุโบสถทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้าน ละ 2 ประตู เหนือประตูมลี วดลายปนู ปัน้ ประดับ ระหว่างประตูมีช่องทําเป็นซุ้มไว้ประดิษฐานใบเสมา ท่ีมุมผนังด้านหน้า พระอุโบสถทั้ง 2 ด้าน มีแท่นฐานขนาดเล็กวางรูปสัตว์ปูนปั้น เป็นสิงห์ ผนัง ด้านข้างทั้ง 2 ด้านมีบานหน้าต่างด้านละ 4 บาน โดยแต่ละบานมีเสาหลอกหัวเสาเป็นบัวสลับ ท่ีจ่ัว ด้านหน้าพระอุโบสถมีปูนปั้นรูปเทวดาและเร่ืองราวทางพระพุทธศาสนาประดับและพื้นท่ีจั่วระหว่าง ประตมู ขี อ้ ความเขยี นไวว้ ่า “สรา้ งเมื่อปฉี ลู พุทธศกั ราชร่วงได้ 2468 พรรษา” ภาพท่ี 42 อุโบสถเก่าวดั หวั ดง “สรา้ งเมอื่ ปีฉลู พุทธศกั ราชร่วงได้ 2468 พรรษา” ส่วนหลงั คาเปน็ เครื่องไม้มุงกระเบ้ืองเกล็ดเต่าใบระกาหางหงส์ทําเป็นปูนปั้นรูปพระยานาค ช่อฟูาเป็นปูนป้ันรูปครุฑ ด้านในพระอุโบสถ ส่วนหลังคาไม่มีฝูาเพดานทําให้เห็นโครงสร้างหลังคา ชัดเจน ด้านตะวันตกมีฐานชุกชีขนาดใหญ่สําหรับประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน แต่ปัจจุบันไม่

144 ปรากฏให้เห็น ด้านนอกโดยรอบพระอุโบสถมีแท่นฐานประดิษฐานใบเสมาสมัยรัตนโกสินทร์ 8 ทิศ อายสุ มยั สมัยรัตนโกสนิ ทร์ตอนตน้ (ที่มาขอ้ มลู : นางสาวอรพิณ การุณจิตต์ นักโบราณคดีชํานาญการ พิเศษ) ภาพที่ 43 ขบวนแห่นาคเพอ่ื ไปอุปสมบท ณ วดั หัวดงผ่านบรเิ วณชุมชนหวั ดงในอดตี เม่ือปี พ.ศ. 2430 ผู้คนจากลพบุรีได้อพยพมาต้ังรกรากในบริเวณพ้ืนท่ีด้านทิศใต้จากบ้าน หัวดงเรียกว่าบ้านน้ําโจนเหนือโดยการนําของตาเรือน นกขุนทอง อพยพมาจากบ้านล่าง บ้านโพธิ์ จงั หวดั ลพบุรี ได้แก่ ครอบครัว ตาห่อ ยายไข่ ยายไหม นายธรรม นางหยิน ตาเบ้ิม ยายไพร แสงเพชร มาตง้ั บา้ นเรอื นอย่บู ริเวณริมแม่นํ้าน่านลักษณะพ้ืนที่เป็นท่ีราบลุ่ม มีแหล่งน้ําใหญ่ช่ือว่าบึงตาเพชร ใช้ เปน็ ที่สามารถทําการเกษตรซึง่ แต่เดิมพ้ืนทีน่ เ้ี ป็นปาุ รก เมอื่ เขา้ มาตั้งบา้ นเรือนต้องมาขุดถางปุากันเพื่อ เปน็ ทีป่ ระกอบอาชีพทาํ นา ภาพที่ 44 ประตรู ะบายนํ้าบา้ นนา้ํ โจนเหนือ เพือ่ การบรหิ ารจดั การนา้ํ ในพื้นท่ี

145 สาเหตุที่หมู่บ้านนี้ช่ือบ้านนํ้าโจนเหนือ ก็เพราะว่าลักษณะของหมู่บ้านน้ีมีถนนตัดผ่าน หมู่บ้านโดยถนนด้านหน่ึงซ่ึงเป็นทิศตะวันออกจะเป็นพื้นท่ีทํานา และอีกด้านหน่ึงซ่ึงเป็นทิศตะวันตก จะเปน็ ท่ตี ั้งบ้านเรอื น ถนนทต่ี ัดผ่านหมู่บ้านจะเป็นถนนดินลูกรัง บ้านนี้จะอยู่ต่ํากว่าภูมิประเทศอ่ืนๆ พอนํ้าไหลบ่านํ้าจะท่วมพื้นที่นาเกือบทุกปี มีอยู่ปีหนึ่งน้ําไหลแรงมากจนทําให้ถนนขาดมาถึงบ้านนํ้า โจน น้าํ จะตกพุ่งสูงมลี กั ษณะคล้ายการกระโจน เลยเรียกว่าบ้านน้ําโจนเหนือ บริเวณนี้ปัจจุบันต้องทํา ประตูน้ําก้ัน ไม่เช่นนั้นรางรถไฟท่ีอยู่ใกล้บริเวณนี้จะพังเพราะแรงนํ้าไหลบ่าและโจนลง ส่วนบ้านน้ํา โจนใต้ขน้ึ อยกู่ บั อําเภอตะพานหนิ เมื่อปี พ.ศ. 2440 ตระกูลของปูุเผือก ศรีนรคุตร์ เดิมมีอาชีพเป็นนายพราน ได้อพยพมา จากบ้านโนนแต้ อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัด ชัยภูมิ โดยการเดินเท้า ได้มาพบทําเลท่ีอุดมสมบูรณ์ จึง ได้บกุ ลา้ งถางปุา สร้างท่ีอย่อู าศัยเปน็ กระตอบ ซ่ึงเป็นบริเวณทล่ี มุ่ มนี าํ้ ท่วม ต่อมาได้เดินไปหาในทําเล ที่เป็นทส่ี ูง ซึ่งอยหู่ า่ งจากที่เดิมไปทางทิศวันออกไปบุกล้างถางปุา เป็นแหล่งทํากินแห่งท่ีสอง ห่างจาก ที่เดิมประมาณ 3 กโิ ลเมตร เรยี กวา่ โนนงวิ้ ไดป้ ระกอบอาชีพทาํ นา ทง้ั สองแหง่ จนสามารถสร้างฐานะ ได้จึงเห็นว่าที่ทํากินทั้งสองไม่สะดวกในการดําเนินชีวิต จึงเดินทางหาทําเลท่ีเป็นท่ีสูงและสามารถ สัญจรได้สะดวก จึงย้ายมาตั้งบ้านเรือนอยู่ในท่ีหมู่บ้านเนินยาวปัจจุบัน ซ่ึงมีลําคลองไหลผ่านหมู่บ้าน ลําคลองสามารถสัญจรทางนํ้าได้ในฤดูน้ําหลากสามารถลําเลียงส่ิงของไปซื้อไปขายได้สะดวกเมื่อได้ สร้างบ้านเรอื นม่ันคงแล้ว ต่อมาได้มีญาติพี่น้องท่ี จังหวัดชัยภูมิ ย้ายมาอาศัยเพ่ิมข้ึนและมีการอพยพ มามาจากหลายจังหวัดอย่างต่อเนื่อง เช่นตระกูล ของนายโสดา วิลาทัน อพยพมาจากบ้านหนอง เกวียนหัก จังหวัดลพบุรี ตระกูลนายสี ภูมี (อดีตเจ้าอาวาสวัดเนินยาว) มาจากภาคอีสาน จังหวั ด ร้อยเอด็ และมชี าวมหาสารครามไดอ้ พยพมาร่นุ หลัง จนหมู่บ้านได้ขยายยาวไปท้ังทางตะวันออก และ ทางตะวันตก ในบริเวณเนินท่ีอาศัยมีลักษณะการสร้างบ้านเรือนตามความยาวของเนิน จึงเรียก หมู่บ้านน้ีว่าบ้านเนินยาว เมื่อมีการอพยพมาอยู่อาศัยมากข้ึน จึงได้จัดตั้งวัดในหมู่บ้านขึ้น โดยหลาย ตระกูลได้ช่วยกันบุกถางปุาและแบ่งบริจาคท่ีดินให้เป็นที่สร้างวัด เพ่ือเป็นสถานท่ีประกอบพิธีทาง ศาสนาให้กับหมู่บ้าน และวัดในสมัยก่อนใช้ศาลาการเปรียญเป็นโรงเรียนสอนหนังสือให้กับเด็กใน หมู่บ้านตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2470 โดยมีนายทอง ฤทธิ์คล้าย มาเป็นผู้ดําเนินการสอน ต่อมาบริเวณท่ีวัดน้ี เป็นที่ลุ่มน้ําท่วมและพื้นที่มีน้อยจึงย้ายวัดไปทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ห่างจากที่เดิมประมาณ แปดร้อยเมตรจนกระท้ังถึงปี พ.ศ. 2476 ทางมัคนายกและกรรมการวัดและพี่น้องชาวบ้านเนินยาว เห็นว่ามีบา้ นเรือนมากขึ้นและวัดอยู่ในกลางหมู่บ้าน ไม่สามารถท่ีจะขยายบริเวณได้ ประกอบกับเป็น ท่ีลุ่มมีนํ้าท่วม จึงได้ย้ายวัดไปอยู่ทางทิศตะวันออกห่างจากสถานท่ีเดิม ประมาณ 800 เมตร จนถึง ปจั จุบนั

146 ภาพที่ 45 อโุ บสถวดั เนนิ ยาว (หลงั เก่า) เทศกาลลอยกระทงรอบโบสถ์ โดยมนี ํ้ารอบอโุ บสถ เม่ือปี พ.ศ. 2453 คนจีนได้เริ่มอพยพจากแผ่นดินใหญ่มาอยู่ท่ีหัวเมืองต่าง ๆ ตามเส้นทาง การเดินเรือขึ้นเหนือเพื่อการประกอบอาชีพด้านการค้าขายมากข้ึนโดยยึดเอาริมแม่น้ําเป็นแหล่ง การคา้ แหลง่ ชุมชนของคนจีน คนจีนในสมยั อพยพจากแผน่ ดินใหญ่ได้ล่องเรือขึ้นมาตามลําน้ําน่านข้ึน ทท่ี า่ หวั ดง ไมม่ ีทรพั ย์สินหรอื เงินทองติดตวั มามากนกั โดยสว่ นใหญ่มกั มาต้ังรกรากในบริเวณริมฝั่งนํ้า น่านของตาํ บลหัวดงโดยอาศัยในการปลกู บ้านเรอื นเป็นลักษณะของห้องแถวติดกันอย่างง่าย ย่ืนออก ริมฝ่ังแม่นํ้าน่านตามภาพโดยส่วนใหญ่มีถนนด้านหลังบ้านเล็กเพียงพอคนเดียวเปิดเป็นร้านค้าได้ อาศัยนอนได้ระดับหน่ึง ทําการขุดหลุมใต้บ้านเพื่อทําไว้เป็นช่องซ่อนทรัพย์สินหากเกิดภัยพิบัติหรือ อาชญากรรม โดยนาํ แผน่ ไม้กระดานปดิ ไว้ ส่วนใหญม่ าประกอบอาชีพค้าขาย บ้านท่ีเป็นห้องแถวจะ มีระเบียงริมนํ้าด้านหลังบ้านหรือท่ีเป็นหน้าบ้านในปัจจุบันจะทําประตูจากไม้แผ่นเป็นช้ินๆ และทํา ร่องไม้บนล่างถึงเวลาปิดเปิดจะนํามาวางตามแนวร่องทีละแผ่น และใส่เดือกไม้เพื่อปิดประตูอีก ชนั้ หนึ่ง ส่วนใหญ่สมยั ทคี่ นหัวดงเชอ้ื สายจีนมากันใหม่ ๆ จะอาศัยเช่าท่ีของคนอื่นจึงไม่นิยมปลูกบ้าน แบบถาวร ภาพที่ 46 การตง้ั ถน่ิ ฐานของคนหวั ดงเช้ือสายจีนรมิ ฝ่ังแมน่ าํ้ นา่ น

147 เมื่อปี พ.ศ. 2455 นายแต้ม นางชา สุขเจริญ เป็นผู้อพยพครอบครัวมาจากจังหวัดลพบุรี ลงรถไฟท่ีอําเภอหัวดง เดินทางมาลําคลองมาพบห้วยใหญ่สุดปลายคลอง ได้ต้ังหลักปักฐานอยู่ที่น้ัน ต่อมาหน้าแล้ง น้ําในคลองแห้ง จึงขุดสระนํ้าได้พบหัวเรือโบราณฝังอยู่ในห้วยน้ัน สระน้ําน้ียังใช้ ประโยชน์อยู่จนถึงปัจจุบัน ต่อมาได้มีผู้อพยพมาเพิ่มข้ึนจนตั้งเป็นหมู่บ้านเดิมเรียกว่า “บ้านห้วย ชะล่า” จนกลายเปลี่ยนเป็นบา้ นลาํ ชะล่าจนถงึ ทกุ วันน้ี ภาพท่ี 47 คลองลําชะลา่ ที่ไหลผ่านดา้ นขา้ งและหลงั วดั ลําชะล่า ในปี พ.ศ. 2463 บ้านเขาพระ คณะศรัทธาและชาวบ้านเขาพระหมู่ท่ี 3 ได้ก่อสร้างสํานัก สงฆ์ขน้ึ บริเวณรมิ แม่น้ํานาน ต.หัวดงโดยใช้ช่ือว่า “วัดเขาพระเจริญศรัทธาธรรม” ได้รับพระราชทาน วสิ ุงคามสีมา วนั ท่ี 20 พฤษภาคม 2527 มีพระสงฆ์จําพรรษาเร่อื ยมา และได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญ บริเวณริมน้ํา เพ่ือเป็นสถานที่ประกอบกิจของสงฆ์ และให้ชาวบ้านได้มาทําบุญตามประเพณีและใช้ เป็นโรงเรยี นสอนหนังสอื ใหก้ บั ลูกหลานชาวบ้าน ภาพท่ี 48 ทางขึ้นเขาพระเพ่ือสกั การะองค์หลวงพ่อประทานพรบนยอดเขาพระ

148 ต่อมาเสน้ ทางการคมนาคมสะดวกขึน้ เสน้ ทางนาํ้ ท่เี คยใช้ในสมัยก่อนจึงค่อย ๆ ลดบทบาท ลง คณะสงฆ์และชาวบ้านเขาพระจึงช่วยกันย้ายที่ต้ังวัดจากบริเวณริมแม่น้ํานานเดิมมายังบริเวณ ด้านหนา้ ของภเู ขา ห่างจากบริเวณเดิมมาทางทิศตะวันออก ประมาณ 1 กิโลเมตร และก่อสร้างศาลา การเปรียญและกุฏิของพระสงฆ์ขนึ้ จํานวนหนึ่ง และเปลี่ยนช่อื วัดจาก “วัดเขาพระเจริญศรัทธาธรรม” เป็น “วัดเขาพระ” และได้ก่อสร้างพระพุทธรูปปางประทานพร บริเวณยอดของภูเขาในปีพ.ศ. 2499 สรา้ งสาํ เรจ็ เมอื่ 3 ธันวาคม 2508 และฉลองเม่ือวนั ท่ี 7 เมษายน 2510 โดยท่านกํานนั วิศาล ภัทรประ สิทธ์และตระกูลภัทรประสทิ ธิ์ เปน็ ผรู้ ิเร่ิมในการสร้างองค์หลวงพ่อประทานพร บนยอดเขาเพื่อให้เป็น ศูนย์กลางของการยึดเหน่ียวจิตใจคนตําบลหัวดงเน่ืองจากเกิดเหตุอัคคีภัย การตั้งบ้านเรือนของ หมู่บ้านเขาพระที่บริเวณริมแม่นํ้าน่านทั้งสองฝั่งแม่นํ้า มีภูเขา เป็นบริเวณท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ได้ ประกอบอาชพี ทําไร่ ทาํ สวนและประมง ในปี พ.ศ. 2513 หมทู่ ี่ 7 บา้ นหัวดง หมบู่ ้านหัวดง (ฝ่ังตะวันตก) นี้ ท่ีตั้งอยู่ทางฝ่ังตะวันตก ของแม่นํ้าน่าน เป็นหมู่บ้านท่ีเกิดข้ึนมาใหม่เม่ือประมาณ 36 ปี เม่ือก่อนน้ันบ้านหัวดง หมู่ที่ 7 เดิม หมู่บ้านนี้เป็นส่วนหนึ่งของบ้านหัวดงได้รวมอยู่กับหมู่ที่ 1 ตําบลหัวดง ต่อมาทางราชการได้แยก ออกมาเป็นบา้ นหวั ดงหมทู่ ี่ 7 เม่ือเดือนสิงหาคม 2513 และเม่ือวันที่ 26 สิงหาคม 2513 มีผู้ใหญ่บ้าน คนแรกคอื นายสุชิน ธูปเงิน อดีตกาํ นันตําบลหวั ดง ภาพที่ 49 รมิ ฝง่ั แม่นาํ้ นา่ น หมูท่ ่ี 7 บริเวณหน้าวัดหวั ดง ในปี พ.ศ. 2525 หมู่ที่ 8 ตําบลหัวดง(เหนือ) ได้แยกออกมาจากหมู่ท่ี 1 มีพื้นท่ีติดแม่นํ้า น่านท่ีมีความโค้งทอดยาวตั้งแต่ต้นหมู่ 8 ไปจนถึงช่วยปลายของหมู่ 8 ตามศาสตร์ของคนจีนแล้ว เปรียบเสมือนเป็นท้องมังกรต่อจากหัวมังกรคือ หมู่ที่ 1 ตําบลหัวดง พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยมี แม่นํ้าน่านไหลผ่าน ชาวบ้านมีอาชีพจับปลา ทํานา ปลูกผักมาแลกเปล่ียนสินค้าที่ตลาดสดเก่าหัวดง ด้านหลงั มีเส้นทางรถไฟผ่านชาวบ้านสามารถเดินทางไปแลกสนิ คา้ จากพืน้ ที่อน่ื ๆ ได้

149 ภาพท่ี 50 โค้งแมน่ า้ํ นา่ นบริเวณหมู่ 8 เป็นโค้งแมน่ ้าํ ทท่ี อดยาวตลอดหมทู่ ่ี 8 เมอ่ื ปี พ.ศ. 2526 บา้ นปากคลอง สันนษิ ฐานว่ามกี ารอพยพมาทางเรือและมาต้ังถ่ินฐาน ซ่ึง บรรพบุรุษส่วนใหญ่ เป็นชาวประมง เนื่องจากบริเวณนี้มีลําคลองที่มีนํ้าไหลลงสู่แม่นํ้าน่าน มีปลาชุก ชุม หมู่บ้านน้ีเดิมอยู่ในเขตปกครองเดียวกับหมู่ท่ี 6 บ้านน้ําโจนเหนือ ได้แยกออกมาตั้งเป็นหมู่ที่ 9 บ้านปากคลอง เหตุที่มีชื่อเรียกว่าบ้านปากคลองคือ มีคลองไหลผ่านหมู่บ้านหรือที่เรียกกันว่าคลอง คันและตรงจดุ ทีเ่ ปน็ ทตี่ ัง้ ของหมูบ่ า้ นเป็นบรเิ วณปากคลอง ปากคลองคนั นีจ้ ะเชอ่ื มต่อกบั แมน่ ้ําน่าน ภาพที่ 51 ปากคลองคนั ทน่ี ้าํ จะไหลไปบรรจบกับแม่น้าํ น่าน การปรบั ตวั เข้ากับสิง่ แวดลอ้ มและกระแสการเปลย่ี นแปลง ในยุคสมัยต้นการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนหัวดงได้อาศัยสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งกําหนดคือแม่นํ้า น่านท่ีไหลผ่านจึงยึดเอาเป็นท่ีต้ังบ้านเรือนและการประกอบกิจการเชื่อมต่อกับเมืองอื่น ๆ เพราะ

150 สายนํ้าในแม่น้ําน่านนี้นอกจากจะเป็นแหล่งนํ้าธรรมชาติขนาดใหญ่ที่ใช้เพื่อดํารงชีพในเร่ืองของการ อุปโภคบริโภคแล้ว ยังใช้เพือ่ การสญั จรเดนิ ทางของคนหัวดงในสมยั อดีตอกี ดว้ ย ภาพที่ 52 คนหัวดงในอดตี ทใี่ ช้เรือพนื้ บา้ นต่าง ๆ ในการสญั จรไปมาในแม่นา้ํ น่าน เม่อื ปี พ.ศ. 2440 เร่ิมเปิดการเดินรถไฟสายเหนือ ช่วงปากน้ําโพสู่จังหวัดพิษณุโลก ซ่ึงทาง รถไฟดังกล่าวได้พาดผ่านท่ีตําบลหัวดงทําให้บ้านหัวดงเป็นศูนย์กลางทางคมนาคมอย่างมากเพราะมี ทั้งแม่นํ้าและทางรถไฟผ่านในตําบลหัวดง คนหัวดงมีทางเลือกในการสัญจรทางคมนาคมท้ังบนบก และในนํ้า แม้ว่าจะมีสถานีรถไฟหัวดงแล้วแต่การใช้ประโยชน์จากแม่นํ้าน่านก็ยังคงอยู่เพราะสินค้า หลายประเภทยังคงต้องในการบรรทุกโดยเรือขนส่งขนาดใหญ่ เช่น เรือมอญหรือเรือเอ๊ียมจุ้น โดย ทางเส้นสายรถไฟน้ีก็ไดใ้ ชก้ ําลังแรงงานของคนท้งั ในและนอกพื้นท่ใี นการกอ่ สร้างและยังนําหินจากเขา พระไปทําทางเสริมยกระดับเพื่อรองรับรางรถไฟ โดยคนเขาพระหลายคนยังคงจําได้ด้วยการทําราง รถไฟไปที่เขาพระเพอ่ื ขนหินทีร่ ะเบิดออกจากเขาพระไปทําทางรถไฟ ปัจจุบันเขาพระหายไปกว่าครึ่ง เพราะการนาํ หินไปใช้เพือ่ การทาํ ทางรถไฟดงั กลา่ ว ภาพที่ 53 สถานีรถไฟหวั ดงทเี่ ปดิ ใหบ้ รกิ ารประชาชนในพืน้ ทหี่ วั ดงและใกล้เคยี ง

151 เมื่อปี พ.ศ. 2475 ทางราชการจัดให้มีสุขศาลาในพื้นที่ต่าง ๆ โดยมีสองระดับคือสุขศาลา ช้ันหน่ึงท่ีมีแพทย์ประจําการและสุขศาลาชั้นสองท่ีไม่มีแพทย์ประจําการ โดยพ้ืนท่ีหัวดงนั้นเป็นสุข ศาลาชั้นสองจากนั้นเปลี่ยนเป็นสถานีอนามัยในปี พ.ศ. 2515 เพ่ือให้บริการการรักษาพยาบาลการ เจ็บปุวยของคนหัวดงมีท้ังการให้บริการในแพทย์แผนปัจจุบัน โดยมีนางสุภา ทับม่ัน เป็นหมอประจํา สขุ ศาลาคนแรกซง่ึ ตง้ั อยใู่ กลต้ ลาดหัวดงมสี ะพานหวั ดงนฤมิตรอยู่ด้านข้าง คนหัวดงสร้างสะพานเช่ือม เพอ่ื สามารถเดนิ ไปหาหมอในสุขศาลาได้ ภาพที่ 54 สถานอี นามัยตาํ บลหัวดง (อาคารเก่า) ตําบลหวั ดง ในปี พ.ศ. 2551 นายวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตกํานันตําบลหัวดง เล็งเห็นว่าสถานีอนามัย เดิมน้ันมีความคับแคบและแออัด ประกอบไปด้วยสภาพท่ีทรุดโทรม น่าจะมีการบูรณะใหม่เพื่อให้ สามารถรองรับการให้บริการได้ จึงประสานหน่วยงานราชการท่ีเก่ียวข้องเพื่อของบประมาณ ดําเนินการ แต่ว่าด้วยพื้นท่ีเดิมมีขนาดเล็กไม่สามารถนําแบบแปลนของสถานีอนามัยใหม่มา ดาํ เนินการกอ่ สรา้ งได้ หากไมย่ า้ ยก็จะไม่ได้งบประมาณก่อสร้างนี้นายวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ จึงบริจาค ท่ีดินของตนเพ่ือใหก้ ารดาํ เนนิ การกอ่ สรา้ งตามแบบแปลนได้และทาํ ให้สถานีอนามัยตําบลหัวดงได้ย้าย ไปทําการทหี่ มู่ท่ี 3 บ้านเขาพระ ตาํ บลหวั ดง และยกฐานะเป็นโรงพยาบาลสง่ เสริมสุขภาพตําบลหัวดง ต่อมา ภาพท่ี 55 โรงพยาบาลส่งเสรมิ สุขภาพตาํ บลหัวดง หมูท่ ี่ 3 บา้ นเขาพระ

152 ในปี พ.ศ. 2477 โรงเรียนบ้านหัวดง เปิดทําการ เมื่อนายอํานวย สิงห์ทอง อาจารย์ใหญ่ ลําดับท่ี 6 ของโรงเรียนนี้ ได้ศึกษาค้นคว้า โดยสอบถามจากผู้อาวุโสในหมู่บ้านหลาย ๆ ท่านต่างลง ความเหน็ เป็นขอ้ สรุปตรงกนั และดําเนินการบันทึกไว้ คือ โรงเรียนน้ีเดิมเปิดทําการสอนท่ีวัดหัวดง ใช้ ศาลาการเปรียญของวัดเป็นสถานที่เรียนหยุดเรียนในวันโกน วันพระ มีครูใหญ่ทําหน้าท่ีบริการ ควบคมุ ดําเนินกิจการของโรงเรียน เปิดเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 ถึงช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4 มี นักเรียนเพ่ิมข้ึนเป็น 132 คน มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับอัตรากําลังครูเสมอ ๆ เพราะเม่ือมีการย้าย หรือลาออกทางราชการกจ็ ะบรรจใุ ห้เพยี งพอตลอดเวลา ภาพที่ 56 อาคารเรียนโรงเรยี นบา้ นหัวดงปัจจบุ ันได้ใช้เปน็ อาคารสํานักงาน เทศบาลตําบลหวั ดง ต่อมาไดม้ ีการกอ่ สรา้ งอาคารเอกเทศ ซ่งึ ต้งั อยฝู่ ั่งตะวันออกของแม่น้ําน่านตรงข้ามกับฝ่ังวัด หัวดง เย้ืองไปทางทิศเหนือและเป็นเขตชุมชนนักเรียนสามารถไปกลับจากโรงเรียนสะดวกกว่าและ เปลี่ยนแปลงวันหยดุ เรยี นประจาํ สัปดาห์เป็นวันเสาร์อาทิตย์ โรงเรียนเปิดเรียนต้ังแต่ช้ันประถมศึกษา ปีท่ี 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีท่ี 4 มีนักเรียน 397 คน คณะกรรมการศึกษาได้จัดหาที่ดินและสร้าง อาคารเรียนท่ีเหมาะสมกว่า การคมนาคมสะดวกและปลอดภัยกว่าตั้งอยู่ริมฝ่ังแม่นํ้าน่าน โดยเปิด เรียนต้ังแต่วนั ท่ี 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 ภาพท่ี 57 อาคารเรียนโรงเรยี นบ้านหวั ดงปจั จบุ นั ชมุ ชนปุาตาล

153 ในปี พ.ศ. 2485 ชาวจนี ใหค้ วามสําคัญฮวงจุ้ยเป็นอันดับแรก จึงมาตั้งศาลเจ้าเพราะมองเห็น ทําเลทองช้ันดีตามหลักฮวงจุ้ยว่าติดแม่น้ําที่แท่งเข้ามาเป็นท้องมังกร ให้ความหมายถึง ความอุดม สมบูรณ์ เป็นท่ีกักเก็บของพลังมังกรที่นําความรุ่งเรือง และโชคลาภให้กับสถานท่ีนั้นทําเลที่คุ้งนํ้าคด เคี้ยวทําให้กระแสน้ําจะพัดพาเอาปุ๋ยจากธรรมชาติมาสะสมบริเวณน้ี ทําให้ดินบริเวณน้ีมีความอุดม สมบูรณม์ ากทีส่ ุดจะไดร้ ับประโยชน์จากกระแสท่ีดี เพราะลักษณะของท้องมังกรจะมีรูปทรงคล้ายตัวยู จึงได้ทาํ การสร้างศาลเจ้าปุนเถ้ากงเป็นเทพผู้คุ้มครองบ้านและชุมชนจีน ในสมัยก่อนสร้างขึ้นจากแรง ศรทั ธาของเหล่าบรรพชนชาวจีน มีจีนแต้จิ๋ว จีนแคะ จีนไหหลํา ที่ย้ายถ่ินฐานมาอาศัยและค้าขายอยู่ ในตําบลหัวดง ภาพที่ 58 องคส์ มมติเจ้าพอ่ ปุนเถ้ากง ศาลเจา้ พ่อหวั ดง ตาํ บลหวั ดง ในปี 2521 นายวิศาล ภัทรประสิทธิ์ พร้อมด้วยชาวหัวดง มีความเห็นท่ีจะสร้างศาลเจ้าข้ึน ใหม่ให้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทดแทนอาคารไม้เดิม เน่ืองจากมีสภาพเก่า ไม่มีความสวยงาม รวมถึงทรุดโทรม จําเป็นต้องรื้อถอนโรงเรียนหว่ามินเพ่ือคืนพื้นที่ให้กับศาลเจ้า และดําเนินการปลูก สร้างศาลเจ้าพ่อหวั ดงใหม่ ภาพที่ 59 ศาลเจา้ ปุนเถา้ กง เจา้ พ่อหวั ดงศักดสิ์ ิทธ์ิ ซ่งึ ไดบ้ ูรณะปรบั ปรุงเรียบร้อย

154 ภาพท่ี 59 โรงเรียนหว่ามิน โรงเรียนทส่ี อนภาษาจีนแห่งแรกของหวั ดง ในปี พ.ศ. 2488 โรงเรียนหว่ามิน ก่อตั้งโดยกลุ่มคนจีน นําโดยนายวิศาล ภัทรประสิทธ์ิ กํานันตาํ บลหวั ดง โดยสรา้ งทบี่ รเิ วณใกล้ศาลเจ้า โดยเปิดสอนท้ังภาษาจีนและภาษาไทยให้กับคนหัว ดงได้เล่าเรียนหนังสือ โดยภาษาจีนใช้คนจีนท่ีอพยพมาจากประเทศจีนและมาอยู่หัวดงสอนมี แบบฝึกหัดแบบเขียนภาษาจีน และภาษาไทยก็นําครูไทยมาสอน เป็นโรงเรียนเอกชน มีมูลนิธิคน หัวดงและตระกูลภัทรประสิทธิ์ สนับสนุนงบประมาณในการดําเนินการของโรงเรียน โดยมี ผอู้ ํานวยการโรงเรยี นทา่ นแรกคือนายพบิ ลู ย์ วบิ ูลญาณ เมอ่ื ถึงช่วงท่ีลัทธิคอมมิวนิสต์เผยแพร่มากมาย ทางรัฐบาลจึงมีนโยบายให้หยุดในเรื่องท่ีเป็นความเส่ียงต่อการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ รวมถึง โรงเรยี นจนี หว่ามินท่ตี อ้ งหยุดสอนไปด้วย โดยเอาตาํ ราจีนต่างๆไปซ่อนไวบ้ นขือ่ ไม้ ในปี พ.ศ. 2521 นายวิศาล ภัทรประสิทธิ์ ในฐานะเจ้าของโรงเรียนได้ทําการย้ายโรงเรียน ไปอยใู่ นบรเิ วณดา้ นหลงั สถานีรถไฟหวั ดง โดยมเี น้อื ที่ 2 ไร่เศษ ซึง่ ได้จัดซื้อและพยายามสร้างโรงเรียน โดยรับบริจาคจากศิษย์เก่า และเงินส่วนตัวในการก่อสร้างอาคารเรียนตามแบบราชการแบ่งเป็น 4 ห้องเรียน และ 1 ห้องพักครู โดยใช้ชื่อโรงเรียนราษฎร์เจริญ ในปีต่อมาเนื่องจากมีช้ันเดียว สถานที่ แออัด จําเป็นต้องทําพื้นคอนกรีตชั้นล่างและทําฝากั้นห้อง ก็ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ปกครอง นักเรียนและโรงสีไฟ ภัทรพันธุ์ บริจาควัสดุก่อสร้างจนสําเร็จ แบ่งเป็น 9 ห้องเรียน มีนักเรียน 203 คน ภาพที่ 60 นกั เรียนและครูโรงเรียนราษฎร์เจริญในอดีต

155 ในปี พ.ศ. 2549 โรงเรียนราษฎร์เจริญ ได้มาสังกัดเทศบาลตําบลหัวดง จังหวัดพิจิตร เม่ือวันท่ี 30 มิถุนายน 2549 มีช่ือว่าโรงเรียนเทศบาลราษฎร์เจริญ มีครู 11 คน นักเรียน 203 คน เปิดสอนระดับ ช้ันอนุบาล 1-3 และประถมศึกษาปีที่ 1-6 จํานวน 8 ห้องเรียน โรงเรียนเทศบาล ราษฎรเ์ จริญ ซง่ึ ได้รบั การถ่ายโอนมาจากโรงเรียนราษฎร์เจริญ สังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน บริหารงานโดยกํานันวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ เนื่องจากจํานวน นักเรียนลดลงทําให้เงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนลดลง จึงเป็นสาเหตุให้เงินไม่เพียงพอต่อการจ่ายค่า เงินเดือนครูและการบริหารงานต่างๆ ทางผู้บริหารเดิมได้เล็งเห็นความสําคัญของการศึกษาที่จะ เกิดข้นึ กับนกั เรยี น ซึ่งเปน็ บตุ รหลานของชาวตาํ บลหัวดง ภาพที่ 61 โรงเรยี นเทศบาลราษฎรเ์ จริญท่ีถา่ ยโอนมาสังกดั เทศบาลตาํ บลหัวดง ดังน้ันโรงเรียนราษฎร์เจริญ จึงได้จัดทําประชาพิจารณ์ โดยการจัดประชุมคณะกรรมการ สถานศึกษาและประชาชนชาวหวั ดง คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร มาเป็นผู้ประเมินด้านอาคาร สถานที่บุคลากร และส่ิงต่าง ๆ จึงเห็นสมควรให้ทําการถ่ายโอนโดยพญ.ดร.วณิชชา ภัทรประสิทธ์ิ ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการประเมินในครั้งนั้น จากนั้นกํานันวิรัตน์ ภัทรประสิทธ์ิ จึงได้มอบ โรงเรยี นราษฎร์เจรญิ ให้แก่นายพีระโรจน์ ภัทรประสิทธิ์ นายกเทศมนตรีตําบลหัวดง เป็นผู้รับมอบใน วันที่ 30 มิถุนายน 2549 ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 นายพีระโรจน์ ภัทรประสิทธ์ิ ได้ประสานของบประมาณอุดหนุน จากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจํานวน 8,000,000 บาท และเทศบาลตําบลหัวดงได้สมทบ เพ่มิ อกี 798,000 บาท เพ่ือในการกอ่ สร้างอาคารเรียนหลังใหม่และย้ายสถานท่ีไปตั้งโรงเรียนเทศบาล ราษฎร์เจริญ ณ บริเวณบ้านเขาพระ หมู่ท่ี 3 ตําบลหัวดง จากน้ันในปีต่อมาได้ก่อสร้างอาคารเรียน อนบุ าลโดยกรมสง่ เสรมิ การปกครองส่วนท้องถิ่นอุดหนุนงบประมาณดําเนินการครึ่งหน่ึงและเทศบาล ตําบลหัวดงสมทบคร่ึงหน่ึง จากนั้นในปี 2558 ได้งบประมาณจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วน ท้องถิ่นในการกอ่ สร้างอาคารเรยี นเพิ่มเตมิ อีก 1 อาคารและอาคารเอนกประสงคจ์ าํ นวน 1 อาคาร

156 เมื่อปี พ.ศ. 2490 นายวิศาล ภัทรประสิทธ์ิ ได้ต้ังโรงสีไฟภัทรพันธ์ุมีสาขาท้ังหมด 3 สาขา คือ โรงสีไฟภัทรพันธุ์ สาขาพิษณุโลก โรงสีไฟภัทรพันธุ์ สาขาบางมูลนากและโรงสีไฟภัทรพันธุ์สาขา หัวดง ในท้ังหมดทุกสาขามีกํานันวิศาล ภัทรประสิทธ์ิ เป็นเจ้าของกิจการ โดยมีหลักในการประกอบ กิจการคือไม่เน้นผลกําไรจากการประกอบการ เป็นศูนย์กลางการจําหน่ายสินค้าเกษตรของตําบลหัว ดงและพนื้ ที่ใกล้เคียง ส่งเสรมิ ให้ชาวบา้ นในตําบลหัวดงมีงานทาํ มีรายได้ในครัวเรือน ท้ังการประกอบ กิจการของโรงสีไฟภัทรพันธ์ุคือการรับซ้ือข้าวเปลือกและส่งออกเป็นข้าวน่ึงไปยังประเทศในภูมิภาค ตะวนั ออกกลาง ภาพท่ี 62 ปาู ยบรษิ ทั โรงสไี ฟภัทรพันธจ์ุ าํ กัด โรงสไี ฟภทั รพันธุ์ในอดตี เม่ือมองย้อนกลบั ไปแล้วเหมอื นนิคมอุตสาหกรรมในสมัยน้ีกล่าวคือ ในโรงสีไฟภัทรพันธ์ุจะประกอบไปด้วยผู้คนที่มีหน้าท่ีต่างกันไปอาศัยอยู่ภายในโรงสีไฟภัทรพันธ์ุกว่า ร้อยชีวิตภายในโรงสีไฟภัทรพันธุ์นอกจากจะมีอาคารโครงสร้างท่ีเกี่ยวข้องกับกิจการแล้ว ยังอาคารที่ พกั สาํ นกั งานของพนกั งาน มรี า้ นค้าอาหารหรือเครือ่ งใชใ้ นครัวเรือนอยู่ภายใน มีครอบครัวอยู่กันเป็น สว่ นมาก ภายในโรงสีไฟภัทรพันธม์ุ ีการบริหารจดั การโดยแบ่งอํานาจหน้าทีก่ นั ดังนี้ 1) เจ้าของกิจการ โรงสีไฟภัทรพันธุ์ 2) นายห้าง หมายถึง ผู้มีหน้าที่จัดการในกิจการโรงสีไฟภัทรพันธ์ุ ประสานงานกับ ผู้ค้าข้าวรายใหญ่ ซ่ึงโดยมากผู้ดํารงตําแหน่งนายห้างน้ีจะมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าของกิจการโรงสีไฟ ภทั รพันธ์ุ 3) หลงจู๊ หมายถงึ ผู้จดั การ (ความหมายตามพจนานุกรม แปลไทย ราชบัณฑิตยสถาน) แต่ สําหรับท่ีโรงสีไฟภัทรพันธุ์ หมายถึง ผู้ท่ีคอยควบคุมการรับซื้อข้าวเปลือกและการตรวจสอบคุณภาพ ของข้าวที่ออกจากโรงสีไฟภัทรพันธ์ุและแก้ไขปัญหาการดําเนินงานในส่วนการผลิตของโรงสีไฟภัทร พันธุ์) 4) เสมียน หมายถึง ผู้ทําบัญชีรายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบกิจการทุกอย่าง 5) การเงิน หมายถึง ผู้ท่ีทําหน้าที่เบิกจ่ายเงินตามรายละเอียดท่ีเสมียนเป็นดําเนินการจัดส่งให้ 6) นายกะ หมายถึง ผู้ควบคุมงานชั้นต้นในส่วนของการแปรรูปข้าวเปลือก และการน่ึงข้าว โดยมีการแบ่งตาม เวลาการเข้างานที่เรียกว่ากะ 7) หัวหน้างานอ่ืน ๆ ท่ีสนับสนุนการทํางาน เช่น หัวหน้างานพาหนะ หัวหนา้ จดั หาคนงานแมค่ รวั เป็นตน้

157 ภาพที่ 63 ลานตากข้าวโรงสไี ฟภทั รพนั ธุ์จํากดั ตําบลหัวดง โรงสีไฟภัทรพันธ์ุอยู่ติดกับแม่น้ําน่านจะมีท่าน้ําในการขนสินค้าลงเรือบรรทุกสินค้า โดย ส่วนใหญ่เรือที่ใช้บรรทุกสินค้าก็คือ เรือมอญ ปัจจุบันได้นําข้ึนมาไว้บนพ้ืนท่ีโรงสีไฟภัทรพันธุ์จํานวน หน่ึงลํา และในอดีตได้จมอับปางลงในแม่น้ําน่าน 2 ลํา คาดว่าน่าจะไม่เหลือให้เห็นในปัจจุบันแล้ว ผู้มาตดิ ต่อซือ้ สินค้าทางเรอื บรรทกุ สินคา้ ในระหว่างทร่ี อคนงานขนขา้ วข้นึ ลาํ เรือบรรทุกนั้น ก็จะมีการ เล่นไพ่นกกระจอกเพื่อเป็นการรอเวลา ทุกวันเวลาของโรงสีไฟภัทรพันธ์ุเหมือนเมืองที่ไม่เคยหลับ เพราะมีเรอื บรรทุกสนิ ค้าเข้ามาเร่อื ย ๆ พร้อมกบั การสับเปลี่ยนคนงานในการทาํ งานอย่างตลอด ภาพที่ 64 เรอื มอญเพ่ือการขนสนิ คา้ ข้าวจากโรงสีไปขายในทีต่ า่ ง ๆ สมยั ก่อนระบบไฟฟูายงั ไม่ได้เข้ามามีบทบาทในการกระบวนการผลิตมากเท่าใดนัก ในการสี ขา้ วเปลอื กและการน่ึงขา้ วในระบบไอนํา้ เหมือนกบั ระบบไอนํา้ ที่ใชร้ ถไฟสมัยโบราณ การนําข้าวจากไร่ นาของชาวบ้านทางโรงสไี ฟภทั รพนั ธจ์ุ ะมีรถไปขนถา่ ยถึงไรน่ าของชาวบ้านเพ่ืออํานวยความสะดวกทํา ให้ชาวบ้านขายข้าวให้กับโรงสีไฟภัทรพันธ์ุจํานวนมาก สมัยก่อนคนงานในโรงสีไฟภัทรพันธ์ุได้รับ ค่าแรงเปน็ เงิน และมีสวัสดิการเป็นข้าวสารและค่านํ้า ค่าไฟฟูาที่พัก เมื่อเวลาที่มีคนงานเจ็บปุวยจะมี

158 การไปเยี่ยมกัน ส่วนท่ีสูงอายุไม่สามารถทํางานได้ก็จะมีการเลี้ยงดูกันตามสมควร โดยไม่ทอดทิ้ง จน มาภายหลังก็ได้หายไป ภาพที่ 65 เตาพลังงานไอนาํ้ เพอ่ื ใช้เปน็ ตน้ พลังงานในการดาํ เนนิ กิจการของโรงสี ในการประกอบกิจการของโรงสีไฟภัทรพันธุ์จะมีข้าวท่อนเหลือจากการผลิต กํานันวิศาล ภทั รประสิทธิ์ เจา้ ของกจิ การโรงสไี ฟภัทรพันธุ์ก็มีแนวคิดว่าจะนําไปทําอะไรให้เกิดประโยชน์ได้จึงลอง ใหช้ าวบา้ นเอาไปทาํ เปน็ ขนมจนี ในยคุ เรม่ิ แรกโดยสองทา่ นแรกท่ีนําไปทําขนมจีนคือนางบาง กะกามัน และ นางอุบล ศรีจีน เพ่ือให้เกิดเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวของคนงานหรือชาวบ้านเขา พระ นายหา้ งบักเทย คือ นายหา้ งทค่ี นรจู้ กั และจดจาํ ได้ดีเป็นผบู้ รหิ ารจัดการให้ ปัจจุบันโรงสีไฟภัทร พันธุ์ได้เปล่ียนกิจการไปเป็นสถานที่เก็บข้าวเปลือกของรัฐ ไม่ได้เปิดทําการสีข้าวอีกแล้ว เพราะผล กําไรในปัจจุบันมีน้อยลง และการเปล่ียนแปลงของการคมนาคม การเปลี่ยนแปลงของวิถีการทํา เกษตร คนงานทที่ ํางานโรงสไี ฟภัทรพนั ธ์พุ ากันอพยพไปทํางานก่อสรา้ งหรือรับจ้างในกรุงเทพมหานคร กลายเป็นแรงงานพลัดถ่ิน ปล่อยให้ครัวเรือนบ้านเรือนมีแต่ผู้สูงอายุและเด็กเล็กในชุมชนความเงียบ เหงาจึงครอบคลมุ ไปท่ัวโรงสไี ฟภทั รพนั ธ์ุ ในปี 2495 ชาวตําบลหัวดงได้ร่วมกันสร้างสะพานหัวดงนฤมิตรน้ีเพื่อรองรับเวลาฤดูน้ํา หลากต้ังแต่ช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม โดยเช่ือมจากตลาดมาถนนรถไฟไปสถานีรถไฟ โดย สะพานนี้ด้านที่ตลาดไปแม่น้ําก็เสมือนท่าเรือ โดยมีฝ่ังของเจ๊กพระที่ค้าน้ํามันก็ทําสะพานมาเชื่อมกับ สะพานหัวดงนฤมิตรน้ี สะพานหัวดงนฤมิตรน้ีทําด้วยไม้เน้ือแข็ง เช่นไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง อื่นๆเพื่อยัง ประโยชน์เวลาขนสินค้า สะพานหัวดงนฤมิตรน้ีสามารถนํารถเข็น จักรยาน มอเตอร์ไซค์ ขึ้นไปได้ โดยเจก๊ พระกจ็ ะให้แรงขนดันถังนํา้ มนั ท่ีขนถา่ ยจากเรือขนน้ํามันจากแม่นํ้าน่าน สะพานหัวดงนฤมิตร น้ีเปน็ เหมือนศนู ยก์ ลางของหวั ดง วดั จากทางรถไฟมาทีจ่ ุดลงที่ตลาดจะยาวประมาณ 150 เมตร ซึ่งไม่ นับรวมกับสถานท่ีเจ๊กพระทํามาเชื่อม ด้านข้างสะพานหัวดงนฤมิตร จะมีสุขศาลาที่ยกสูงเพราะรับ กับบริบทพ้ืนที่นํ้าหลากท่วมขัง เม่ือถึงเวลาหน้านํ้าคนต้องใช้เรือเป็นหลัก เรือเวลาพายก็จะลอดใต้ สะพานหัวดงนฤมิตรพอดี ความสูงของสะพานจึงได้จากระดับนํ้าท่ีท่วมขังนั่นเอง คนบ้านหัวดงก็ดี

159 หรือคนขาดอนซึ่งหมายถึงคนหัวดงในพื้นที่ด้านบน หรือทิศตะวันออก เม่ือจะเข้ามาตลาดหัวดงเก่าก็ ต้องใช้สอยสะพานนเี้ ชน่ กัน ภาพที่ 66 สะพานหวั ดงนฤมิตร เพอื่ แกไ้ ขปัญหาน้าํ ทว่ มในฤดนู ํา้ หลากทกุ ปี ทงั้ น้ีสะพานหวั ดงนฤมิตรนอกจากจะเปน็ การใช้เพือ่ สัญจร หรอื ขนถ่ายสินค้า ยังถูกใช้เป็นท่ี พักผ่อนหย่อนใจ และเม่ือเวลามีผู้มาเยี่ยมเยือนที่บ้านหัวดง ก็จะมีการมาถ่ายรูปท่ีบริเวณสะพาน หัวดงนฤมิตรเพื่อเก็บไว้เป็นอนุสรณ์แห่งความคิดถึง บางคนว่าถ้ามาหัวดงแล้วไม่ได้ข้ามสะพานหัวดง นฤมติ รก็เหมือนกบั ว่ามาไมถ่ งึ หัวดง ในยามเย็นกจ็ ะผู้คนออกมาพบปะกันที่บริเวณสะพานเด็ก ๆ ก็จะ พากนั ว่งิ เลน่ บนสะพานหวั ดงนฤมติ รอย่างสนุกสนาน ภาพที่ 67 สะพานหวั ดงนฤมติ ร มีทีพ่ ักนงั่ เลน่ สําหรับคนพ้นื ทท่ี อี่ ยูร่ อบ ๆ สะพาน

160 ในปี พ.ศ. 2508 เกิดเหตุอัคคีภัยตําบลหัวดงคร้ังใหญ่ทําให้ชุมชนตลาดหัวดงริมแม่นํ้าน่าน ได้รับผลกระทบอย่างมาก อัคคีภัยได้เผาพลาญบ้านเรือนไปเป็นจํานวนมาก คนหัวดงต้อง สิ้นเน้ือประดาตัวเป็นจํานวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้าคนจีนหัวดงที่ถูกอัคคีภัยทําให้ปิดกิจการ หลายๆกจิ การ บางกจิ การต้องเรม่ิ ลงทนุ ใหม่ ภาพที่ 68 ขา่ วไฟเผาตลาดหวั ดง จากหนงั สอื พิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวนั ท่ี 14 เมษายน 2508 หลายอย่างเปลี่ยนไปด้วยสภาพท่ีต้องได้รับการฟ้ืนฟูใหม่ บ้านริมแม่น้ําน่านถูกกรมเจ้าท่า ห้ามมิให้ดําเนินการปลูกสร้างอีก คนหัวดงเริ่มจะหันมาปลูกบ้านเรือนเปล่ียนวัสดุท่ีใช้จากไม้มาเป็น ปนู ซีเมนต์และเหล็กมากขน้ึ ซงึ่ ไดเ้ ปรยี บทั้งความคงทน แข็งแรงและดแู ลงา่ ย ภาพที่ 69 บา้ นนายจง อึ้งศรีวงศ์ ร้านซ่อมนาฬิกา อเิ ล็กโทรนิค ซอ่ มจกั รยานตา่ ง ๆ

161 ในปี พ.ศ. 2510 เมื่อวนั ที่ 15 พฤษภาคม 2510 นายวิศาล ภทั รประสิทธ์ิ กํานันตําบลหัวดง ในขณะนั้น และชาวบ้านตําบลหัวดง มาร่วมกันพัฒนาถนนหัวดงยางสามต้น โดยแรกเริ่มนายวิศาล ภัทรประสิทธิ์ กํานันตําบลหัวดง ได้เชิญชวนระดมทุนจากประชาชนคนหัวดงและหากไม่พอก็จะ สมทบให้สามารถดําเนินการ จากนั้นได้ร่วมลงแรงกายและแรงใจผลักดันให้ชาวบ้านท่ีมีท่ีดินอยู่ บริเวณดังกล่าวได้บริจาคที่ดินเพ่ือทําทางดังกล่าว บางส่วนก็ขอซ้ือในราคาท่ีไม่สูงนัก โดยถนนหัวดง ไปยางสามต้นเป็นถนนเส้นท่ีตรงท่ีสุดและได้รับการพัฒนาจากถนนลูกรังเป็นลาดยางแอสฟัลท์ ตอ่ เนอ่ื ง ภาพที่ 70 นายวิศาล ภัทรประสิทธิ์ กํานันตําบลหัวดงร่วมถ่ายรูปหมู่กับประชาชนและ ผนู้ าํ ในการก่อสร้างถนนหัวดง-ยางสามต้น ในปี พ.ศ. 2510 ปีเดียวกันน้ันผู้ใหญ่สุชิน ธูปเงิน มีครอบครัวท่ีบ้านหัวดง เริ่มลงหลักปัก ฐานก็ไปเที่ยวที่อําเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ด้วยว่ามีญาติอยู่ท่ีน่ัน ไปพบรอกข้ามแม่น้ํา พบแล้ว คิดว่าถ้าสามารถนํามาใช้ให้บริการคนหัวดงข้ามแม่นํ้าน่านได้คงจะดีและด้วยกําลังตั้งหลักปักฐาน ครอบครัวใหม่ก็คิดว่าจะยึดอาชีพน้ีประกอบกับการทําไร่นา และทําสวนในบริเวณบ้านไปด้วย เม่ือ กลบั มายังบ้านหวั ดงกไ็ ดย้ ืมเงนิ ของแมย่ ายมาจํานวน 20,000 บาท มาเป็นทุนเร่ิมต้นในการทํารอกข้า แมน่ าํ้ แรกทําเสาไม้ 8 ตน้ ใช้วชิ าการชา่ งไม้พนื้ บ้าน โดยตัง้ เสาปูนสองต้นเป็นเสาหลักฝั่งแม่น้ําด้านทิศ ตะวนั ตกทบ่ี า้ นของผใู้ หญ่สุชิน ธูปเงิน และฝั่งตะวันออกที่บ้านหมอคุ้ม เมืองเหลือ มีเสาหลักของรอก ที่จะต้องขึงลวดสลิงและทํากระเช้าไม้สําหรับผู้โดยสาร มีการทําเฟืองรอก ทํากระแทะ ประกอบจน สําเร็จเป็นรูปร่างแต่ด้วยเงินทุนไม่เพียงพอระยะแรกจึงยังไม่ใช้ระบบเคร่ืองยนต์ ใช้มือหมุนรอกข้าม แม่นํ้าไปมา เมอ่ื พอต้ังตัวได้บ้างก็เร่ิมนําระบบเคร่ืองยนต์มาติดต้ังเพ่ือเป็นการทุนแรง โดยใช้ความคิด ส่วนตัวและประสบการณ์ในการออกแบบรอกข้ามแม่นํ้า ลองผิดลองถูก คร้ังหนึ่งลุงชินเล่าว่าปัญหา ของรอกข้ามแม่นํ้านี้ร้ายแรงสุดก็คือค้างอยู่กลางแม่นํ้าต้องพายเรือไปผูกเชือกลากกระเช้าเข้าฝ่ังและ ต้องไปท่ีตะพานหินเพื่อให้ออกแบบเครื่องชักรอกใหม่ไม่ให้สายพานหลุดได้ง่ายและทําให้รอกค้างอีก

162 สําหรับค่าบริการในช่วงแรกเก็บค่าบริการท่านละ 25 สตางค์ ขยับมาที่ 50 สตางค์ และ 1 บาท ในชว่ งสุดทา้ ยก่อนทจ่ี ะเลิกใหบ้ ริการรอกข้ามแมน่ ํ้านา่ นในทส่ี ดุ ภาพท่ี 71 เก๋ง (เกา่ ) รอกข้ามแม่นา้ํ กาํ นันชินทยี่ งั คงเหลอื อยู่ ในปี 2530 มกี ารกอ่ สรา้ งรอกขา้ มแม่นํา้ นา่ น บริเวณหน้าวัดหัวดง โดยให้บริการทั้งในส่วน ของคนหัวดงที่อยู่ฝ่ังตลาดหัวดงเพื่อไปทําบุญที่วัดหัวดง และคนที่ฝั่งวัดหัวดงท่ีต้องการจะเข้ามา จับจ่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคท่ีตลาดหัวดง บางคร้ังมีงานบุญ งานบวช หรืองานฌาปนกิจ ก็จะใช้ ลอกนเี้ ปน็ สว่ นหน่ึงของการนํากลุ่มคนต่าง ๆไปรวมกิจกรรมที่วัดหัวดง หรือช่วงเทศกาลงานประจําปี แขง่ ขนั เรอื ยาวต่าง ๆ ภาพท่ี 72 รอกข้ามแมน่ ้ําน่านหน้าวดั หัวดง ซงึ่ ก่อสรา้ งเพ่อื ให้บรกิ ารคนหัวดง

163 ในปี พ.ศ. 2537 เพื่อทดแทนรอกข้ามแม่น้ําวัดหัวดง โดยสร้างเป็นสะพานแขวนโดยใช้ ลวดสลิงดึงรั้งตัวสะพานแขวน ตั้งเสาหลักทั้งสองฝั่งแม่นํ้าน่าน โดยสามารถให้บริการรถจักรยาน รถจักรยานยนต์และรถจักรยานยนต์พ่วงข้างทําให้มีความสะดวกและปลอดภัยมากขึ้นและเป็นการ แกไ้ ขปญั หาในการสญั จรข้ามแมน่ ้ํานา่ น ภาพที่ 73 สะพานแขวนที่สร้างเพือ่ ทดแทนรอกข้ามแมน่ ํ้านา่ นบรเิ วณหนา้ วัดหัวดง ภาพที่ 74 ชาวหัวดงร่วมใจกนั ใชเ้ รียกชอ่ื สะพานแขวนว่าสะพานธรรมโกศลสามคั คี ปี พ.ศ. 2537 นายวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ กํานันตําบลหัวดงในขณะน้ัน ได้ประสานงาน หนว่ ยงานราชการเพ่ือของบประมาณในการจัดสร้างสะพานข้ามแม่น้ําน่านท่ีตําบลหัวดง แต่ว่าติดขัด เร่ืองของการเวนคืนพ้ืนที่ที่จะรองรับทางข้ึนสะพานต่าง ๆ กํานันวิรัตน์ ภัทรประสิทธ์ิ จึงได้รวบรวม ระดมทุนบริจาคจากคนตําบลหัวดงมาร่วมกันเป็นทุน ซึ่งไม่เพียงพอกํานันวิรัตน์ ภัทรประสิทธ์ิจึง สมทบทุนให้เพียงพอในการเวนคืนพ้ืนท่ีท่ีเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานข้ามแม่นํ้าน่านตําบลหัวดง และได้ดําเนินการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ําน่านแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2539 และเปิดให้บริการอย่าง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook