Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์

รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์

Published by นายศตวรรษ จัตุมาศ, 2022-05-16 09:32:38

Description: รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น

Search

Read the Text Version

264 ลาวพวน ไทย ไปนากนั บ๊อ ไปด้วยกนั ไหม เผอ ใคร มันอย่กู ะเลอบุ๊ มันอยู่ไหนไมร่ ู้ มากนั หลายหนอ่ ล้า มากันเยอะเหมือนกันนะ มากี๊ท้อ มานี่เถอะ หน้าแด่น หนา้ ผาก หม่าทัน พุทรา หม่ามี้ ขนุน หมา่ หุง่ มะละกอ หัวเจอ หวั ใจ เห้อ ให้ เอด็ ผเิ ลอ/เอ็ดหังก้อ ทาอะไร ฮกั รัก ตารางท่ี 9 ภาษาลาวพวน 2) ภาษาเขยี นจีน สาหรับภาษาเขียนของภาษาไทยกบั จีนจะมีความแตกตา่ งกันอย่างมากดังตัวอยา่ ง ดังนี้ ตัวเลขจีน คาอ่าน ตวั เลข ภาษาไทย 零 หลงิ 0 ศนู ย์ 一 ยี 1 หนึ่ง 二 เอ้อรฺ 2 สอง 三 ซาน 3 สาม 四 ซอ่ื 4 สี่ 五 อู่ 5 หา้

265 ตัวเลขจนี คาอา่ น ตัวเลข ภาษาไทย 六 ลิว่ 6 หก 七 ชี 7 เจด็ 八 ปา 8 แปด 九 จ่ิว 9 เก้า 十 ฉือ 10 สิบ 百 อ้ีปา่ ย 100 รอ้ ย 千 เชียน พนั วนั่ 1,000 หม่ืน 万/萬 ฉอื วัน่ 10,000 แสน 十万/十萬 100,000 ล้าน 百万/百萬 ปา่ ย ว่ัน 1,000,000 ตารางท่ี 10 ภาษาเขยี นจนี

266 6. การแสดง การร้องราทาเพลง การละเล่นต่างๆ ที่เกิดข้ึนในตาบลหัวดงของชุมชนเชื้อชาติไทย เชื้อ ชาติจีน เช้ือชาติลาว ที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันน้ันก็ยังสามารถจดจาได้วรรณกรรม พนื้ บา้ นในด้านตา่ ง ๆ ของชมุ ชนตาบลหัวดงท่ีสาคัญมี ดังน้ี 6.1 เพลงพื้นบา้ น เพลงพ้ืนบ้านในอดีต จะเป็นเพลงที่ใช้ร้องราในงานประเพณีต่าง ๆ เช่น สงกรานต์ เป็นต้น หมู่ท่ี 4 บ้านเนินยาว ตาบลหัวดง มีเพลงพื้นบ้านท่ีละเล่นกันในหมู่บ้าน เล่าโดยนางวรรณา ศรนี รครฑุ ทลี่ กู หลานเรียกกนั วา่ ปูานา เป็นผู้สูงอายุที่จิตใจดี อายุ 67 ปี เล่าให้ฟังว่า ท่านเกิดที่บ้าน หนองนาดา ตาบลหัวดง อาเภอเมือง จังหวัดพิจิตร แล้วได้แต่งงานกับสามีคนบ้านเนินยาวต้ังแต่อายุ 20 ปี ชอบนสิ ัยชอบช่วยเหลือและเข้าร่วมงานกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน เล่าเร่ืองในอดีตสมัยเด็ก ๆ มี การละเล่นพ้ืนบ้านอย่างหนึ่งที่มีการร้องราทาเพลงพ้ืนบ้าน ซึ่งปูานาชอบการร้องราทาเพลง ชอบ สนุกสนาน ตลอดจนการละเล่นพ้ืนบ้าน โดยเฉพาะ “เพลงกะลา” ท่ีมีกาละเล่นกันในสมัยอดีต ช่วงเวลาถึงเทศกาลสงกรานต์ของบ้านหัวดงมีตัวอย่างเพลงที่ท่านร้องให้ฟังมี ดังน้ี เพลงกะลา เนื้อเพลง คอื “กกกากา กะลาก้นกวา้ ง คิว้ เจา้ โกงผมปลงงามเอ่ย” ในอดีตยังมีการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านท่ีน้ีคล้ายคลึงกับคนไทยท่ัวไปนิยมเล่นกันตอน เด็ก เช่น มอญซ่อนผ้า งูกินหาง ข่ีม้าก้านกล้วย โพงพาง วิ่งเปร้ียว เป็นท่ีนิยมสาหรับเด็กส่วนใหญ่ใน อดีตมักจะเป็นการละเล่นในเทศกาลตรุษสงกรานต์หรือประเพณีท่ัวไปการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน เพ่ือ ความสนุกสนานความเพลดิ เพลนิ และสรา้ งความสามคั คีในหมคู่ ณะ การละเล่นพื้นบ้านหรือประเพณีที่ โดดเดน่ ของหมูบ่ ้านเลยจะมีกฬี าทต่ี อ่ มากเ็ ปน็ การแข่งขันกีฬาตา่ ง ๆ ซึ่งสมัยน้นี ิยมเล่น เช่น ฟตุ บอล 6.2 ศิลปะการเล่นดนตรพี ื้นถนิ่ ศิลปะพืน้ ถน่ิ ของชาวชมุ ชนตาบลหัวดง มีลกั ษณะการผสมผสานของวัฒนธรรม 3 แบบ คือ ชาวภาคกลาง ชาวลาว ชาวจีน ซ่ึงมีความแตกต่างกันตามกลุ่มของประชาชนสืบทอดมาจากบรรพ บรุ ุษที่อพยพมาจากตา่ งพืน้ ทกี่ นั ศิลปะพื้นถน่ิ ทีเ่ ป็นทน่ี ิยมกนั มีดังนี้ 1. แคนวงประยุกต์ กลุ่มแคนวงประยุกต์ หมู่ที่ 4 บ้านเนินยาว เกิดจากการรวมกลุ่มของชาวบ้านในหมู่บ้านที่ ชอบและรักสนุกในเสียงดนตรีเสียงเพลงจึงได้มีการชักชวนเข้ามารวมตัวกันเล่นวงดนตรี ที่มีแคน กลองชุด และมาเล่นกนั แบบสนุกสนานตามงานเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน เช่น งานบวช งานแต่ง งานแห่กฐิน ผา้ ปุา งานวันสงกรานต์ งานวนั ลอยกระทงและงานพิธตี ่างๆ โดยเริ่มจากนากลองดรุ ยิ างค์ของโรงเรียน บ้านเนนิ ยาว มาเล่นรวมกันแคน จากนั้นชาวบ้านก็ได้รวบรวมเงินกันท่ีจากการบริจาค นามาซื้อกลอง ชดุ ในปี พ.ศ. 2550 กไ็ ด้เริ่มต้งั วงเล็กๆ เปน็ วงแคนประยกุ ต์ข้นึ มา มสี มาชกิ จานวน 6 คน มีนายเจริญ ไชยสิทธ์ิ เป็นประธานกลุ่ม นายสุวิทย์ สุขเงิน นายวิฑูรย์ ต้นจันทน์ นายลือ ทรัพย์ถนอม นายจันที แสนยศ นายอานวย สุทธิประภา ที่สนใจและเข้ารว่ มและเร่มิ มกี ารรบั งานเลก็ ตา่ ง ๆ ถา้ มผี วู้ า่ จา้ งทั้ง

267 ภาพท่ี 231 การเลน่ แคนวงประยุกตข์ องชาวหัวดง ในและนอกหมู่บ้าน นอกจากการเล่นกันอย่างสนุกสนานภายในหมู่บ้านแล้วยังเป็นการสืบ สานและอนรุ กั ษ์ศลิ ปวฒั นธรรมพ้ืนบา้ นของคนในชมุ ชน 2. รากลองยาว ศิลปะการร่ายราของชาวชุมชนตาบลหัวดง อาจจะมีความแตกต่างกันตามวัฒนธรรมเช้ือ ชาติ การแสดงของชาวชุมชนตาบลหัวดง จะมีการแสดงในงานประเพณีต่าง ๆ เช่น ประเพณี สงกรานต์ งานบุญ หรอื ประเพณีประจาหมู่บา้ นของตน รากลองยาว เป็นการแสดงดนตรีพื้นบ้านของชาวตาบลหัวดง ที่มีการสืบทอดกันมาใน วัฒนธรรมของชาวฝั่งไทยและฝ่ังลาวเป็นกาละเล่นท่ีเวลามีงานประจาพ้ืนที่ งานบุญ งานแต่ง ประเพณีสงกรานต์ ก็จะมกี ารรากลองยาวแห่มาตามหม่บู า้ นเพ่ือเปน็ การบอกว่าในพื้นที่เรากาลังมีงาน หรอื มปี ระเพณีในพน้ื ทใี่ ห้ชาวบา้ นออกมารว่ มสนุกสนาน มาร้องราทาเพลงกัน ปัจจุบันน้ีการรากลอง ยาวไดส้ ญู หายไปตามช่วงยคุ สมัยทม่ี ีการพัฒนามากขึน้ ทาใหก้ ารรากลองยาวจะเป็นการร้องราทาเพลง ของคนในยุคสมัยกอ่ นเท่าน่ัน ภาพที่ 232 การร้องราทาเพลงของคนในยคุ สมยั ก่อน

268 การเล่นดนตรีกลองยาว นิยมเล่นกันตามงานบุญ งานบวชพระ งานแต่งงาน งานกฐิน งาน เฉลิมฉลองต่างๆ และงานแข่งเรือ การเล่นกลองยาวในตาบลหัวดง เล่าโดยนายพยุง ศรีแก้ว อายุ 58 ปี อย่บู ้านเลขที่ 85 หมู่ท่ี 3 บ้านเขาพระ ตาบลหัวดง เล่าว่าตนได้เริ่มเล่นกลองยาวต้ังแต่อายุ 12 ปี มีลุงส่งเป็นผู้สอนและสืบทอดมาการเล่นกลองยาว เล่าวิธีการตีกลองยาวมีการตีเป็นจังหวะกลอง ยาว 3 จงั หวะ มี 1 บอม เพ่ิมบอม 2 บอม 3 บอม คือ การตีกลองยาว 1ที 2ที 3ที วงกลองยาวมีผู้ตี กลองประมาณ 12 คน มีเครอื่ งดนตรหี ลกั คอื กลองยาว ฆอ้ ง ฉาบ ฉงิ่ มีการเตน้ รากันตามจังหวะการ ตีกลองจะได้ไปเล่น วิธีการทากลองยาวจะใช้ไม้ขนุนหรือไม้ฉาฉา แล้วนามาขุดด้วยซิวตอกให้ทะลุ ส่วนด้านข้างใช้ควานโยนทากให้กลองมีความโค้ง และใช้เขียดถูกใช้กระดาษทรายอีกเพื่อขัดตัวกลอง ให้เรียบ ให้เป็นมันและลงทาด้วยแลคเกอร์ ส่วนหนังที่ตีทามาจากหนังควายท่ีตากแห้งแล้วไปแช่น้า นามาขึงด้วยเชือกกับเหล็กใช้ลิ้มไม้ตอกให้ตึง มีการใช้ขนมไพร่ผสมน้ามาติดที่กลองทาให้เสียงดังและ ใหญ่ขน้ึ เมือ่ กอ่ นสมัยโบราณใช้ข้าวสุกบดให้ละเอียดแล้วไปเผาฟุางให้เป็นข้ีเถานามาติดท่ีกลองทาให้ เสยี งดัง การละเลน่ กลองยาวเปน็ การรวมกลุ่มของชาวบ้านมาร่วมสนุกกันในงานมงคลต่างๆทาให้เกิด ความสนกุ สนาน สามัคคีกันในหมบู่ ้าน ภาพที่ 233 นายพยุง ศรีแก้ว อยบู่ า้ นเลขท่ี 85 หมู่ที่ 3 ตาบลหัวดง 3. การเชิดสิงโต การแห่สิงโต เป็นการละเล่นของชาวจีน มีการนาสิงโตออกมาแห่ในช่วงของวันเกิดเจ้า หรือในพื้นที่ที่มี ศาลเจ้าประจาพื้นท่ีในปัจจุบันชาวตาบลหัวดง มีศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเชื้อสาย จีน คือ ศาลเจ้าปุนเถ้ากง ศักดิ์สิทธิ์เป็นเทพเจ้าปกปักษ์รักษาคุ้มครองคนหัวดง การเชิดสิงโต เป็น การละเลน่ ของชาวจีน การเชิดสิงโตทาให้เกิดความครึกคร้ืน โดยมีผู้ชายในหมู่บ้านเป็นคนเชิดสิงโต 1 คน หางสิงโต 1 คน นอกจากน้นั กจ็ ะมีคนแต่งตัวเป็นตุ๊กตาหัวโต ใส่เสื้อสีแดงสวยงาม มือถือพัด ออก งานฉลองต่าง ๆ ในช่วงมีการแห่เจ้า โดยไปรับเงินทาบุญตามร้านค้า บ้านเรือนในตาบลหัวดง และมี

269 กลุ่มดนตรสี ่งเสยี งจากการตกี ลอง เป็นการส่งเสียงใหช้ าวบา้ นทราบ จากนั้นก็มีการเชิดสิงโตเพ่ือไปรับ ซองทาบุญนั้นๆ การแหส่ งิ โตในช่วงประเพณีของคนจีนทย่ี งั คงอยูใ่ นตาบลหวั ดง เช่น ในช่วงวันเกินเจ้า (งานงว้ิ ) ไหว้เจ้า สารจนี และได้เป็นการนาเอาการละเล่นของชาวจีนมาถ่ายทอดให้กับเยาวชนให้ได้รู้ ถึงการละเล่นของคนจนี ในสมัยก่อน ภาพที่ 234 เชดิ สิงห์โตในช่วงของวันเกิดเจ้าปุนเถ้ากง ภาพที่ 235 การนาสงิ โตออกมาจากศาลเจา้ พ่อปนุ เถา้ กง

270 ภาพท่ี 236 เชดิ สิงห์โตในช่วงของวันเกิดเจา้ ปนุ เถ้ากง 4. ราวงย้อนยุค ในพ้ืนที่ตาบลหัวดง มีกลุ่มราวงย้อนยุคเพ่ือสุขภาพ ราวง ส 3 (สนุก สุขภาพดี สามัคคี เกิด) ตาบลหัวดง ก่อต้ังขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 มีผู้นาและสมาชิกร่วมราวงย้อนยุคจานวน 150 คนซ่ึงมีทั้งเด็ก วันรุ่น วันกลางคน และรวมถึงคนชราท่ียังแข็งแรง กิจกรรมราวงย้อนยุค เพ่ือ สุขภาพ ประชาชนในตาบลหัวดงมีการออกกาลังกายด้วยการราวงย้อนยุคเพ่ือสุขภาพ ราวงย้อนยุค เพื่อสุขภาพตาบลหัวดง เป็นการที่นา ราวง 3 ส. มาเป็นแนวคิด จุดเริ่มต้น คือ “สนุก สุขภาพดี สามัคคีเกิด” มีความหมายดังนี้ สนุก คือ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีอารมณ์ดียิ้มแย้มแจ่มใสมี หน้าตาที่สดชื่น ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีใบหน้าท่ีเปื้อนยิ้มตลอดเวลา สุขภาพดี คือ ประชาชนท่ีเข้าร่วมมี สุขภาพแข็งแรงโรคภัยไข้เจ็บที่เบาอยู่ก็จะเริ่มเบาบางลงไปทั้งสุขภาพจิตใจและร่างกาย สามัคคี คือ ประชาชนที่เขา้ ร่วมรวมกลุ่มทากิจกรรมที่มีประโยชนท์ ้ังด้านสุขภาพท้ังสนุกย่อมเกิดความสามัคคีและ มแี รงจงู ใจในการรว่ มกจิ กรรมทาให้เกดิ ความสามัคคีในชุมชนอีกทง้ั ยังมกี ารพบประสังสรรค์กันของคน ในชุมชนซ่ึงเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ข้ึนเพ่ือการออกกาลังกาย มีการถ่ายทอดสอนท่าราจานวน 22 ท่า ซึ่งสามารถออกกาลังกายทุกเพศ ทุกวัย ด้วยการนาท่ารามาประยุคเป็นท่าออกกาลังกาย สอดคล้องกับดนตรีที่คุ้นหู จึงได้เกิดราวงในพ้ืนที่ข้ึน ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม ประชาชน การออกกาลังกายอย่างต่อเน่ือง กล้ามเนื้อในหลายๆ จุดของมัดกล้ามเนื้อทั้งหมดในร่างกาย ระบบ การหมุนเวียนโลหิตดีทาให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคได้ดีประชาชนมีสุขภาพท่ีแข็งแรง มีความสามัคคี อารมณด์ ีสดช่ืนแจ่มใส ยม้ิ แยม้ ให้กัน ประชาชนได้มาพบปะสังสรรค์กันทุกเย็นทาให้เกิดความสัมพันธ์ อันดีมากข้ึน ได้พูดคุยกันมากข้ึน แลกเปล่ียนกันสื่อสารกันด้วยวาจามากข้ึน มีอารมณ์แจ่มใสโดยใช้ กิจกรรมราวงเป็นส่ือในการให้ประชาชนได้มาพบปะพูดคุยและเรียนรู้ท่าราร่วมกัน เกิดความสามัคคี ในชมุ ชน

271 ภาพที่ 237 ประชาชนในตาบลหัวดงมกี ารออกกาลงั กายด้วยการราวงย้อนยุคเพื่อสขุ ภาพ 5. ดนตรไี ทยของโรงเรียนบา้ นหัวดง ประวัติการสอนดนตรีไทยของโรงเรียนบ้านหัวดง สืบเน่ืองมาจากท้องถ่ินตาบลหัวดง มี ประเพณี ชอบร้องราทาเพลงในโอกาสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานประเพณีรื่นเริงหรืองานศพ เช่น การ สวดพระมาลยั ก็จะมีการเล่นดนตรีไทยผสมผสานอยู่ในงาน บุคคลในท้องถ่ินที่มีความสามารถในเรื่อง ดนตรีไทย ท่านเล็งเห็นว่าอยากให้คนรุ่นหลังได้สืบสานด้านดนตรีไทย จึงได้มอบอุปกรณ์เครื่องดนตรี ไทย เช่น ระนาด ซอด้วง ซออู้ ฉ่งิ ฉาบ ใหแ้ ก่ทางโรงเรียนบ้านหัวดงโดยมุ่งหวงั ให้เด็กนกั เรียนได้ ฝึกหัด จะได้สืบสานดนตรีไทยต่อไปประกอบกับ ท่านอาจารย์อานวยสิงห์ทอง ซึ่งเป็น อาจารยใ์ หญ่ในสมัยน้ัน เป็นผู้ท่ีชื่นชอบด้านดนตรีไทยและมีความสามารถในการเล่นดนตรีไทย จึงได้ ส่งเสริมให้มีการเรียนดนตรีไทย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถ่ินหาบุคคลท่ีมีความสามารถมาสอนนักเรียน ได้แก่ พระวัดหวั ดง ชื่อหลวงตารัง ซ่ึงนักเรียนก็ได้รับการฝึกฝนจนมีความสามารถอยู่หลายคน ต่อมา เม่ือนายอานวย สิงห์ทอง อาจารย์ใหญ่ได้เกษียณราชการนายเฉลิมชาติ พฤกษะวัน มาเป็นผู้บริหาร โรงเรยี นตอ่ จากท่าน กไ็ ดส้ ่งเสรมิ ให้นกั เรียนได้เรียนดนตรีไทย โดยจัดทาแผนพัฒนาการศึกษาจัดให้มี ช่ัวโมงการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ดนตรีนาฏศิลป์ ต่อมาทางโรงเรียนได้รับย้ายครูท่ีมี ความสามารถด้านดนตรีไทย คือ นายดารงค์ รอดกาเนิด ได้ฝึกสอนนักเรียนให้ เล่นเคร่ืองเล่นดนตรี ไทยไดอ้ ย่างนอ้ ยหน่งึ ชนิด โดยกาหนดเป็นอัตลกั ษณ์ของโรงเรียนซงึ่ นักเรียนสามารถเปุาขลุ่ยได้ ตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ฝึกให้นักเรียนทุกคนบรรเลงเพลงชาติ โดยใช้เครื่อง ดนตรีไทยผสมอังกะลุงในตอนเช้าก่อนเข้าเรียนและหลังกิจกรรมสวดมนต์ ก่อนเข้าเรียนก็จะบรรเลง เพลงอีกสามเพลงเป็นการซ้อมให้นักเรียนมีทักษะด้านดนตรีเป็นประจาทุกวัน คุณครูดารงค์ ได้สอน

272 นักเรียนโดยใช้โน๊ตดนตรีสากล นักเรียนอ่านตัวโน้ตเป็น จึงทาให้นักเรียนของโรงเรียนบ้านหัวดง มี ความสามารถในเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชนิด ทางโรงเรียนได้ส่งเสริมนักเรียนท่ีมีความสามารถเข้า ร่วมแข่งขันในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน และได้รับรางวัลระดับกลุ่มโรงเรียนและระดับเขตพื้นที่ การศึกษาพิจิตรเขต 1 นักเรียนได้รับโอกาสจากชุมชนในท้องถิ่นไปแสดงในงานต่างๆ เช่น งานกฐิน งานเข้าพรรษา ออกพรรษา งานบวชนาค และงานศพเป็นประจา การแสดงงานภายในโรงเรียน เช่น การประชุมผปู้ กครอง กอ่ นปดิ ภาคเรียน งานพิธีไหว้ครู สาหรบั เคร่ืองดนตรีไทยน้นั ได้รับมาจากการตั้ง งบประมาณจัดซ้ือบ้าง แต่ส่วนใหญ่มาจากคนในชุมชนบริจาคซื้อวัสดุมาให้ตามที่โรงเรียนต้องการ รวมท้ังเส้ือผ้า และการไปแสดงในชุมชนทุกคร้ังจะมีเจ้าภาพบริจาคเป็นเงินให้กับนักเรียนทาให้มี รายไดร้ ะหวา่ งเรียน ภาพที่ 238 เครอื่ งดนตรีไทยโรงเรยี นบ้านหวั ดง นักเรียนเกิดกาลังใจในการฝึกซ้อม มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม มีสมาธิในการเรียนดีข้ึน มี วนิ ัยในตนเอง ตอ่ มาคุณครดู ารง ได้ลาออกจากราชการ แตเ่ นอ่ื งจากทางโรงเรยี นเห็นความสาคัญของ การเรียนดนตรีไทย จึงได้ตั้งโครงการภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น จ้างครูดารงค์ มาสอนเหมือนเดิม ในปี 2560 ทางโรงเรียนได้รับครูบรรจุใหม่ ช่ือนายชัชชัย สีทอง เอกดนตรีไทย จึงสอนต่อยอดจากครู ดารงค์ และได้ฝึกซ้อมและนานักเรียนเข้าร่วมแข่งขันเด่ียวจะเข้ ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ได้ รางวัลเหรียญทอง เป็นตัวแทนเขตพ้ืนที่การศึกษาพิจิตรเขต 1 ไปแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคเหนอื คร้งั ท่ี 68 ผลการแขง่ ขนั นักเรยี นได้รับรางวลั เหรยี ญเงนิ เปน็ ทีภ่ าคภูมใิ จของทกุ คน

273 ภาพที่ 239 นักเรยี นโรงเรยี นบ้านหัวดงแข่งขนั เดยี่ วจะเข้ ระดับประถมศึกษาปที ี่ 4-6 ได้รางวลั เหรยี ญทอง เปน็ ตวั แทนเขตพ้ืนท่กี ารศกึ ษาพิจิตรเขต 1

274 7. โบราณสถาน หัตถกรรม ศลิ ปกรรม วิจิตรศิลป์ 7.1 โบราณสถานสําคญั อุโบสถเกา่ เกจิดงั วัดหวั ดง ทต่ี ้งั วัดหัวดง หมู่ 7 บ้านหัวดง ตําบลหัวดง อําเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เส้นทางเข้าสู่แหล่ง ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 113 จากจังหวัดพิจิตร ท่ีจะไปอําเภอตะพานหิน จนถึงประมาณ กิโลเมตรท่ี 12 เลยี้ วซ้ายเข้าถนนหมายเลข 1304 บา้ นหัวดง ประวัติความสําคัญในอดตี ตามหนงั สือประวัติวดั ท่วั ราชอาณาจักรของกรมการศาสนา ภาพที่ 240 อโุ บสถเกา่ วดั หัวดง ภาพที่ 241 อโุ บสถเก่าวัดหวั ดง

275 ภาพที่ 242 ผนังอุโบสถเก่าวัดหวั ดง ภาพท่ี 243 โบราณสถานอโุ บสถเก่าวัดหวั ดง (หนา้ บรรณ ช่อฟาู ) วดั หวั ดง สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2413 ไดร้ ับพระราชทานวสิ งุ คามสมี าครง้ั หลัง เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2529 โบราณสถานสําคัญ อุโบสถเก่ามีลักษณะเป็นอุโบสถทรงตึกฐานบัวก่ออิฐถือปูน ขนาดประมาณ สูง 7 เมตร ยาว 15 เมตร ต้ังอยู่บนฐานไพทีขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกสู่ แม่นํ้าน่าน ท่ีฐานไพทีด้านหน้าและหลังมีบันไดทางขึ้นสู่ลานพระอุโบสถ ซ่ึงมีประตูทางเข้าออกพระ อโุ บสถทั้งด้านหน้าและดา้ นหลงั ดา้ นละ 2 ประตู เหนือประตูมีลวดลายปูนป้ันประดับ ระหว่างประตู

276 มีช่องทาํ เปน็ ซุ้มไว้ประดิษฐานใบเสมา ท่ีมุมผนังด้านหน้า พระอุโบสถท้ัง 2 ด้าน มีแท่นฐานขนาดเล็ก วางรปู สตั ว์ปูนปั้น เปน็ สิงห์ ผนังด้านข้างทงั้ ๒ ด้านมบี านหนา้ ต่างด้านละ 4 บาน โดยแต่ละบานมีเสา หลอกหัวเสาเป็นบัวสลบั ทจ่ี ว่ั ด้านหนา้ พระอุโบสถมีปูนปั้นรูปเทวดาและเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา ประดับ และพ้ืนท่ีจ่ัวระหว่างประตูมีข้อความเขียนไว้ว่า “สร้างเม่ือปีฉลู พุทธศักราชร่วงได้ 2468 พรรษา”ส่วนหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบ้ืองเกล็ดเต่า ใบระกาหางหงส์ทําเป็นปูนป้ันรูปพระยานาค ช่อฟูาเป็นปูนปั้นรูปครุฑ ด้านในพระอุโบสถ ส่วนหลังคาไม่มีฝูาเพดานทําให้เห็นโครงสร้างหลังคา ชัดเจน ด้านตะวันตกมีฐานชุกชีขนาดใหญ่สําหรับประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน แต่ปัจจุบันไม่ ปรากฏให้เห็น ด้านนอกโดยรอบพระอุโบสถมีแท่นฐานประดิษฐานใบเสมาสมัยรัตนโกสินทร์ 8 ทิศ อายุสมัยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ท่ีมาข้อมูล : นางสาวอรพิณ การุณจิตต์ นักโบราณคดีชํานาญการ พเิ ศษ ประวัติความเป็นมา ประวัติการสร้างอุโบสถเก่าหลังน้ีไม่แน่ชัดเพราะคนเก่าๆท่ีเหลืออยู่ บอกว่าเกิดมาก็เห็นอยู่แล้วแต่ไม่ได้มีสภาพเหมือนที่เห็น ในตอนที่สัมภาษณ์นายเลิศโพนามาศอายุได้ ๙๗ปี เสียชีวิตเม่ืออายุ 99 ปี ได้เล่าว่า เป็นอุโบสถสร้างด้วยไม้ คือเสาเป็นไม้ข้างฝาทําด้วยไม้ขัดแตะ แลว้ นาํ จีวรเกา่ ๆบังแดดบงั ฝน หลงั คามงุ ดว้ ยหญา้ แฝกแต่ยงั มปี ระวัตกิ ารสร้างพระประธานซึ่งสามารถ นํามาเทียบเคียงเพ่ือหาอายุของอุโบสถหลังน้ีคือประวัติของการหล่อหลวงพ่อเพชร โดยนําประวัติใน สว่ นนม้ี าจากวัดนครชมุ โดยไดบ้ ันทกึ ไวว้ ่า เมอื่ พ.ศ.2449 พระครูศีลธรารักษ์ (ยิ้ม ทัดเท่ียง) ขณะนั้น ท่านไดด้ ํารงตาํ แหนง่ เป็นเจา้ คณะจังหวัดพิจติ ร ได้ชกั ชวนญาติโยมหล่อหลวงพ่อเพชร จํานวน ๒ องค์ ท่ีวัดเขารูปช้าง เพื่อนําไปประดิษฐ์สถานที่วัดนครชุมเพื่อทดแทนหลวงพ่อเพชรองค์เดิมที่ปัจจุบัน ประดิษฐ์สถานท่ีวัดท่าหลวง โดยอีกองค์หน่ึงนํามาประดิษฐ์สถานที่อุโบสถวัดหัวดง ดังจึงสันนิฐานได้ ว่าอุโบสถหลังน้ีน่าจะสร้างในระหว่าง พ.ศ. 2449 นั่นเองเพราะในการสร้างอุโบสถมักจะสร้างพระ ประธานไปพรอ้ มกนั ภาพ 244 หลวงพอ่ พิธ เกจิอาจารย์วดั หัวดง ต่อมาเม่ือ พ.ศ. 2463 ไดม้ ีพระเถราจารย์ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน คือ หลวงพ่อพิธ ได้มาจําพรรษา และได้เหน็ วา่ อุโบสถไดช้ ํารดุ ทรดุ โทรมไปตามกาลเวลาพระภิกษุสามเณร

277 จะทําสงั ฆกรรม หรือทาํ วตั รสวดมนตก์ ็ได้ลําบากจึงปรารถนาจะบรู ณปฏสิ ังขรณ์ จึงได้ปรึกษาญาติโยม ผู้มีจิตศรัทธาโดยในครั้งน้ันมี ตามา ยายพร้ิง สดสี ได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก โดยบริจาคทุนทรัพย์ ของตนเอง และชักชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบูรณะอุโบสถนับเป็นการบูรณะ ครั้งแรกและครั้งใหญ่ โดยนายเลิศ โพนามาศ ได้กล่าวว่าได้ทําการสร้างอุโบสถด้วยการก่ออิฐถือปูนครอบหลังเดิมแล้วได้ นําเอาเสาของอุโบสถไปทําเป็นขื่อด้านบน หลังคามุงด้วยกระเบื้องในส่วนลวดลายซุ้มประตูหน้าต่าง ตลอดจนหนา้ บรรณใหช้ ่างชาวจนี เปน็ ผทู้ ํา โดยในการครั้งน้ี นายเลิศ ได้เล่าว่า ในครั้งนั้นมีคนท่ีอาศัย ที่บ้านหัวดงเขาทํางานอยู่ในพระราชวังได้ขอพระราชทานช่อฟูามาจากในวังในรัชส มัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 โดยพระราชทานช่อฟูาเป็นรูปป้ันพญาครุฑ ในขณะนั้นชาวบ้านหัวดงดีใจเป็นอย่างมากได้ร่วมกันต้ังขบวนแห่กัน โดยไปตั้งขบวนรับกันที่สถานี รถไฟหัวดง และอันเชิญมาที่วัดหัวดงการบูรณปฏิสังขรณ์ในครั้งน้ันแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2468 นับเป็น การบูรณะครั้งที่ 1 ต่อมาเม่ือ พ.ศ. 2503 นางเล็ก สุขประเสริฐ นายบุญลํ้า นางเรียบ สุขประเสริฐ นายสําราญ นางบุญรอด โรจนันท์ พร้อมด้วยบุตรและญาติของตนได้บูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถอีกคร้ัง หนึง่ สิน้ งบประมาณในการบรู ณะในครง้ั นน้ั เป็นจาํ นวนเงิน 21,000 บาทเป็นครั้งท่ี 2 สรรพส่งิ ในโลกลว้ นตกอยใู่ นสภาพความเป็นอนิจจงั แม้แต่เสนาสนะที่มั่นคงแข็งแรงก็ย่อมมี วันเส่อื มสลายยอ่ มชาํ รดุ ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ในปี พ.ศ.2525 พระสุทัสสีมุนีวงศ์ เจ้าอาวาสรูปท่ี 8 ได้ชักชวนผู้มีศรัทธาสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเดิม แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2529 โดยได้นําพระ ประธานจากอโุ บสถหลงั เดมิ ไปประดษิ ฐ์สถานภายในอุโบสถหลงั ใหม่ในปจั จบุ ัน ภาพ 245 พระสทุ สั สีมนุ ีวงศ์ เจ้าอาวาสรปู ท่ี 8 วัดหวั ดง เม่ือปี พ.ศ. 2554 นายสุทัศน์ ปินตา ผู้มาเย่ียมชมวัดหัวดง ได้พบเห็นช่อฟูาของอุโบสถ แปลกกว่าท่อี ่ืนและมปี ระวัตคิ วามเป็นมาท่ีนา่ สนใจควรจะอนุรกั ษ์ให้เป็นสมบัติของแผ่นดินสืบไปจึงได้ ช่วยติดต่อประสานงานกับสํานักศิลปากรท่ี 6 สุโขทัย และทางสํานักฯได้ดําเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยว่าจ้าง หจก.เหมลักษณ์ก่อสร้าง จังหวัดสุโขทัยเป็นผู้รับทํา เร่ิมสัญญาเม่ือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555 งบประมาณในการบูรณะคร้ังน้ี จํานวน 4,949,000 บาท

278 ภาพท่ี 246 การบันทึกการสรา้ งทอี่ โุ บสถหวั ดง เมื่อปฉี ลู พุทธศกั ราช 2468 ภาพที่ 247 อโุ บสถเกา่ วดั หัวดง ก่อนบูรณะ ภาพที่ 248 อุโบสถเกา่ วดั หวั ดง กอ่ นและหลงั บูรณะ

279 ภาพท่ี 249 พระหลวงพ่อเงินแทรกขึน้ มาทต่ี ้นอนิ ทนิล ภาพท่ี 250 อโุ บสถวัดหวั ดงเกา่ และอโุ บสถวดั หัวดงใหม่ ส่ิงที่น่าสนใจของวัดหัวดงคือเมื่อวันที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ได้พบพระรูป เหมอื นหลวงพอ่ เงินขนาดหน้าตักกว้าง 5 น้วิ เนื้อนวโลหะ (ทองเหลือง) แทรกข้ึนมาท่ีต้นอินทนิลซ่ึงมี อายุประมาณ 20 ปเี ศษ หลวงพอ่ เงินเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ประชาชนท่ัวไปรู้จักและเคารพนับถือเป็น จํานวนมาก 7.2 พิพธิ ภณั ฑเ์ รือวัดหัวดง ตาํ นานเรือไกรทองมรดกทางจติ ใจวดั หวั ดง ภาพที่ 251 เรอื ไกรทอง ภาพท่ี 252 เรือไกรทอง จากคาํ บอกกลา่ วท่านเจา้ อาวาสวัดหัวดง รูปแกะสลกั ไกรทองที่หัวเรือไม่เพียงเป็นศูนย์รวม จิตรใจของเหล่าฝีพายและเป็นที่สิงสถิตของแม่ย่านางเท่านั้นหากแต่ยังเป็นเอกลักษณ์แก่ผู้พบเห็น ในทนั ที

280 เรือไกรทอง ขุดเมื่อปี 2508 สมัยหลวงพ่อบุญธรรมรส ช่างที่ขุดคือช่างรักษ์ รุ่งฉัตร ช่างเพง็ ช่างทองคํา รุ่งฉัตร นายเจี๊ยบ สิงห์เถื่อน และช่างรอด เป็นเรือที่ขุดข้ึนตามลักษณะความเชื่อ ตงั้ แตก่ ารคัดเลอื กไม้ เป็นไมต้ ะเคยี นทอง เพราะเป็นไมเ้ น้อื แขง็ มีสเี หลือง เมื่อขุดแล้วจะมีสีเหลืองทอง ดูสวยงามมากทีเดียว นอกจากนี้ช่างเรือยังมีความเช่ือว่าไม้ตะเคียนมีรุกขเทวดา หรือนางไม้สิงสถิตย์ อยู่ เมื่อนํามาขุดเรือแล้วนางไม้จะกลายมาเป็นแม่ย่านางคอยปกปักรักษาเรือและฝีพายทุกคน แม่ ย่านางเรือน้ีชาวเรือแข่งเคารพนับถือมาก การขุดเรือไกรทองเป็นการขุดตามความเชื่อแต่โบราณ กําหนดอย่างถูกวิธีทุกขั้นตอน สําหรับช่ือเรือไกรทอง ใช้ตั้งชื่อตามวรรณคดีไทย เรื่องไกรทอง “ไกร ทอง”มีช่อื จรงิ มคี นจรงิ มจี ิตวญิ ญาน จึงเป็นท่เี คารพนับถอื แม้นแต่ถ่ินเกิดของนายไกรทอง ที่จังหวัด นนทบุรี ยังต้ังช่ือเป็นหมู่บ้าน เป็นตําบลบางไกรใน (ซ่ึงช่ือเดิมช่ือวัดนายไกรทอง) เปลี่ยนเพ่ือให้เข้า กับช่อื ของท้องถ่ิน “เรือไกรทอง” มีลักษณะดีสวยงามมากผู้คนพบเห็นจะรักและศรัทธามาก ไม่ว่าจะ นําเรอื ไปจงั หวดั ใด ชาวจังหวัดนั้นจะมีเมตตาและรักเรือไกรทองของบ้านเรา เรือไกรทองสามารถผูก จิตสํานกึ ของเทอื กเรือให้มีความสามัคคีกนั สามารถจูงใจชาวบ้านมาร่วมแรงร่วมใจกันพายเรือจากรุ่น พอ่ ถึงรนุ่ ลูกสืบตอ่ กันมา มีจิตใจที่เข้มแข็งและรักบ้านเกิดมาก ชาวบ้านที่เป็นครอบครัวของฝีพายเรือ ก็จะติดตามไปเชียร์เรือกันทุกแห่งท่ีไปแข่งขัน ปัจจุบันท่านเก่ามากแล้วทางวัดหัวดงจึงเก็บเข้า พิพิธภัณฑเ์ รือยาวของวดั หวั ดง ใหล้ กู หลานไดศ้ กึ ษาดเู รอื ในอดตี กันต่อไป 7.3 รูปหลอ่ หลวงพอ่ พิธ เกจิอาจารย์ ศูนย์รวมใจคนหวั ดง ภาพท่ี 253 หลวงพ่อพธิ จากขอ้ มลู ประวตั ิหลวงพ่อพิธ จงั หวัดพจิ ิตร สอบถามพระอธิการทาน ขมินทกูล เจ้าอาวาส วัดฆะมังและนายปุย ขมินทกูล(น้องชายต่างมารดาของหลวงพ่อพิธ) เล่าว่าหลวงพ่อได้ไปจําพรรษา ตามวดั ต่าง ๆ ดังน้ี (1) วัดใหญ่ วัดหลวงพ่อพุทธชินราช อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (2) วัดบางมูล นาก อําเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร (3) วัดท่าถนน ซึ่งเป็นวัดอยู่ในตลาดอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ (4) วัดหัวดง ตําบลหัวดง อําเภอเมือง จังหวัดพิจิตรโดยเฉพาะวัดหัวดงน้ีหลวงพ่อจําพรรษาอยู่นาน ท่ีสุด (5) วัดวังปราบ จังหวัดนครสวรรค์วัดนี้หลวงพ่อได้ฝึกวิชารักษาฝีในท้องกับพระอาจารย์สิน

281 (6) วัดบางคลาน อําเภอโพทะเล เพื่อฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเงินและได้เรียนวิปัสสนากรรมฐาน จากหลวงพ่อเงินตลอดจนความรู้ต่างๆ จนเป็นที่แตกฉานจึงได้มาจําพรรษา ณ วัดฆะมัง วัดที่ 6 ซึ่ง เป็นบ้านเกดิ เมืองนอนของทา่ นนอกจากหลวงพ่อจะไดศ้ กึ ษาเลา่ เรียนจากเกจิอาจารย์ต่างๆ แล้วหลวง พ่อยังได้เล่าเรียนวิชาความรู้เกี่ยวกับเวทมนต์คาถาจากปูุของท่านอีกด้วย นับว่าหลวงพ่อเป็นผู้เสาะ แสวงหาความรูอ้ ย่างแท้จรงิ หลวงพ่อเป็นพระท่ีมักน้อย ถือสันโดษ และไม่ยอมสะสมเงินทองจึงมีความ มุ่งม่นั ท่ีจะสร้างถาวรวัตถเุ พื่อบาํ รงุ พุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบต่อไป หลวงพ่อจึงได้สร้างอุโบสถถึง 5 หลัง คอื วัดฆะมัง วัดดงปาุ คําใต้ (วัดใหมค่ าํ วัน) วดั บงึ ตะโกน วัดสามขาและวดั หวั ดง หลวงพ่อมรณภาพ ด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันท่ี 16 ตุลาคม พ.ศ. 2488 ณ วัดฆะมัง อําเภอเมืองพิจิตรรวมอายุได้ 70 ปี จากการมรณภาพของหลวงพ่อ ทําความโศกเศร้าเสียใจให้แก่บรรดาญาติมิตร และศิษย์อย่างสุดซึ้ง ท้ังน้ีเน่ืองจากหลวงพ่อเป็นพระที่ถือสันโดษเคร่งครัดในธรรมวินัย ไม่ยอมสะสมเงินทองและมีเมตตา ธรรมนัน่ เอง ประวตั ิการหลอ่ รปู หลวงพอ่ พธิ ‬ หลังจากหลวงพ่อมรณภาพแลว้ บรรดาศิษย์ยานุศิษย์และญาติพี่น้องต่างก็คิดปรึกษาหารือ กันว่าในขณะท่ีหลวงพ่อมีชีวิตอยู่น้ันได้เคยทําคุณงามความดีตลอดจนเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อเงิน และมีวัตถุมงคลดียอดเยี่ยมปรากฏแก่ประชาชนโดยท่ัวไป ถ้าไม่ทําอะไรไว้เป็นหลักฐานกาลต่อไป ประชาชนอาจจะลมื ได้จงึ ตกลงกันว่าควรจะหล่อรูปเท่าตัวจริงของหลวงพ่อไว้ เม่ือตกลงกันแล้วหลวง ประจักษ์ หลานชายของหลวงพ่อ จึงเป็นผู้ดําเนินการหล่อโดยช่างที่กรุงเทพฯ คร้ันหลวงประจักษ์ ดําเนินการเสร็จเรียบร้อย จึงส่งรูปหล่อมาวัดฆะมัง นายปุย ขมินทกูล น้องชายหลวงพ่อพิธเล่าว่ารูป หล่อของหลวงพ่อมาพักท่ีตลาดบางมูลนาก บ้านหมอแดง (นายแพทย์พยุง กลันทะพันธ์) ในขณะนั้น ยงั รับราชการอยู่ทสี่ ถานีอนามยั อาํ เภอบางมูลนาก และมีคุณยายชมุ พฤกษะวัน ได้จัดฉลองรูปหล่อให้ หลังจากนั้นได้นํารูปหล่อของหลวงพ่อ ออกจากตลาดบางมูลนากโดยเรือสุโขทัย ขึ้นมาทางเหนือมา หยุดที่ตลาดบางไผ่ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนนมัสการได้เงินทําบุญมา 300 บาท ต่อจากน้ันก็ออก เดนิ ทางตอ่ จากตลาดบางไผ่ โดยเรือลําเดียวกันเม่ือได้มาถึงตะพานหินก็หยุดให้ประชาชนนมัสการอีก ไดเ้ งินทําบุญ 300 บาท และเม่อื มาถงึ ตลาดหัวดงกห็ ยุดให้ประชาชนนมัสการอีก หลงั จากนนั้ กน็ ํามา ไว้ที่วดั ฆะมัง ตราบเท่าทุกวนั นี้ ของดหี ลวงพ่อพธิ ‬ ในขณะที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไม่กี่อย่าง จากคํายืนยันของพระ อธิการทาน ขมินทกูล ซึ่งเป็นหลานของหลวงพ่อ ขณะน้ันอายุ 61 ปี และนายปุย ขมินทกูล น้องชาย ตา่ งมารดาของหลวงพอ่ ยืนยันว่าในขณะท่ีหลวงพ่อมชี ีวติ อยู่ได้สร้างวัตถุมงคล ดังน้ี 1. ตะกรดุ มหารูด 2. ขผ้ี ึ้ง 3. รูปถ่ายหลวงพ่อพิธ ได้จัดทําเป็นรูปส่ีเหล่ียมเล็กๆ ด้านหลังมีรูปหลวงพ่อเงินพระ อาจารย์ของท่าน ปิดด้วยกระจกทั้ง 2 ด้าน รูปถ่ายน้ีจัดทํา 2 รุ่น รุ่นแรกเล็ก รุ่นสองใหญ่กว่าวัตถุ มงคลหลงั จากหลวงพ่อมรณะภาพแลว้ 4. เหรียญใบเสมา พ.ศ. 2488 รุ่นแรกสร้างข้ึนในสมัยท่านมีชีวิตอยู่ และได้มีการสร้าง เหรียญรนุ่ น้ีข้นึ มาอีกหลายครัง้ แตค่ นละพมิ พ์ และหลงั จากมรณภาพแลว้ จึงได้จดั ทาํ ขึ้นมาอีก 2 รนุ่

282 5. เหรียญใบมะยมสรา้ ง 3 แห่งคอื วดั หัวดง วดั ดงปาุ คาํ วัดหนองลากคอ้ น รนุ่ สุดทา้ ย อภินิหารหลวงพอ่ พธิ อภินิหารและความศักด์ิสิทธิ์ของหลวงพ่อพิธเท่าท่ีได้พยายามรวบรวมขึ้นมานั้น ได้มาจาก คําบอกเล่าของพระอธิการทาน ขมินทกูล เจ้าอาวาสวัดฆะมัง ในขณะนั้น และนายปุย ขมินทกู ล น้องชายต่างมารดาของหลวงพ่อพิธ และนายสนิท บุญปุู ราษฎรตําบลฆะมัง อําเภอเมือง จังหวัด พจิ ิตร แยกออกเปน็ เรอ่ื งย่อ ๆ ดังนี้ อภินิหารรูปถ่ายหลวงพ่อพิธ นายเชื่อม ชาวบ้านหัวดง ได้มาที่วัด และขอบูชารูปถ่ายของ หลวงพ่อพิธไปไว้บูชาท่ีบ้านอยู่มาวันหน่ึง เกิดไฟไหม้บ้าน ปรากฏว่าอย่างอ่ืนไหม้ไฟหมดคงเหลือแต่ รูปถ่ายของหลวงพ่อพิธเท่าน้ันที่ไฟไม่สามารถเผาให้ไหม้เป็นเถ้าถ่านได้คงจะเป็นเพราะอภินิหารและ ความศักด์ิสิทธ์ิของหลวงพ่อพิธอย่างแน่นอนซ่ึงนับต้ังแต่น้ันมารูปถ่ายของท่านมีผู้ต้องการมากจนไม่ พอจะจาํ หน่าย เพราะกติ ติศพั ท์เล่าลือ ในครั้งนี้หลังจากนั้นต่อมารูปถ่ายของหลวงพ่อพิธ เม่ือผู้ใดมีไว้ เคารพบชู า บ้านน้ันจะไม่เกดิ ไฟไหม้เป็นอนั ขาดปัจจุบนั นี้ผใู้ ดมไี วจ้ ะรกั และหวงแหนอย่างมาก ของหายก็ไดค้ นื พระอธิการทาน เล่าว่าประชาชนได้มาขอบูชาตะกรุด และรูปถ่ายของท่าน ไปประจําตัว โดยเฉพาะสมัยก่อนไม่ค่อยมีสายสร้อยขายมากมายเหมือนปัจจุบัน เมื่อประชาชนไป เท่ยี ว หรอื ไปไถนากน็ ิยมพกพาเอาใส่ในกระเปา๋ เสื้อ ปรากฏว่าตกหายกันเนืองๆ ตกหายแล้วผู้ที่ทําตก หายก็ยกมือบอกเล่าว่าขอให้ได้คืนเถิดปรากฏว่าหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ชาวนานิยมจุดฟางข้าว มักจะพบรูปถ่ายหรือตะกรุดของท่าน วางอยู่ในกอหญ้า โดยไม่ไหม้ไฟแต่อย่างใด เร่ืองน้ีเป็นท่ีเล่าลือ ตอ่ กันมารปู ถา่ ยของหลวงพ่อพธิ นั้น ท่านจะทําเป็น 2 หน้า ด้านแรกเป็นรูปของหลวงพ่อพิธ ด้านหลัง จะมีรูปของ หลวงพ่อเงิน พระอาจารย์ของท่าน เล่ากันว่าหลวงพ่อพิธทําอะไรจะไม่ลืมหลวงพ่อเงินผู้ เป็นพระอาจารยเ์ ลยนับว่าหลวงพอ่ พิธ เปน็ ลูกศิษย์ที่มคี วามเคารพนับถือครบู าอาจารย์อย่างยิ่งยวด ลูกศิษย์ลองของนายสนิท บุญปูุ เล่าว่า หลังจากหลวงพ่อทําตะกรุดเสร็จแล้วหลวงพ่อก็ แจกให้ลูกศิษย์คนละดอกไว้เป็นของใช้ประจําตัว เม่ือลูกศิษย์ได้ตะกรุดไปแล้ว ก็อยากจะรู้ว่าของ หลวงพ่อดีอย่างไร จึงให้พวกตนมาใช้ จึงชวนกันลองตะกรุดโดยเอาตะกรุดของหลวงพ่อไปผูกคอไก่ แล้วก็เอาปืนลูกซองยิง ปรากฏวา่ ยงิ ก่ีนัดก็ไม่ดัง พวกลูกศษิ ยเ์ หล่านัน้ มคี วามเชื่อถือหลวงพ่ออย่างมาก ปจั จบุ นั นต้ี ะกรุดของหลวงพอ่ จะหายากและราคาแพงอันเนื่องจากความคงกระพันชาตรีนเ่ี อง วาจาศกั ดิ์สทิ ธิ์สบื เนือ่ งมาจากหลวงพอ่ พิธเป็นศิษยเ์ อกของหลวงพ่อเงินแห่งวัดหิรัญญาราม (วังตะโก) หรือวัดบางคลาน อําเภอโพทะเล หลวงพ่อจึงมีมนต์ขลังประดุจดังอาจารย์ของท่าน มีเรื่อง เลา่ วา่ ถา้ ใครถกู หลวงพอ่ พธิ สาปแช่ง จะต้องเป็นไปตามคําสาปแชง่ ของหลวงพ่อ เรื่องนี้จึงไม่ค่อยมีใคร กล้าทาํ ให้หลวงพ่อโกรธเพราะกลัววาจาศักด์สิ ิทธขิ์ องท่าน วัตถุมงคลกับอุปัทวเหตุมีเร่ืองเล่าว่าผู้ท่ีเดินทางเมื่อเกิดรถคว่ําหรือรถยนต์ชนกันจะแคล้ว คลาดอันตรายท้งั ปวง ผทู้ ี่มีของดีของหลวงพ่อพิธ จะไม่ได้รับอันตรายเลย บางครั้งเมื่อไปดูสถานท่ีชน กันแลว้ ใครไปเหน็ กจ็ ะตอ้ งบอกวา่ ชนกันอยา่ งนไ้ี มร่ อดแนน่ อน แตป่ รากฏว่า ผู้ถูกชนไม่เป็นอะไรเลย เมอ่ื สอบถามแล้วปรากฏวา่ ไมม่ อี ะไร นอกจากรูปถา่ ยของทา่ นซ่ึงทําเป็นรูปส่ีเหล่ียมเล็ก ๆ ด้านหลังมี รปู หลวงพ่อเงิน วดั บางคลานหรือบางคนกม็ ีตะกรุดของหลวงพ่อพธิ เทา่ นนั้ ตะกรุดคงกระพันชาตรี‬วันหน่ึงหลวงพ่อพิธได้ส่ังให้พระใหญ่ ไปขอแรงชาวบ้านมาช่วยกัน ยดั แพลกู บวบเมอื่ ได้รับคําส่ังพระใหญ่ กร็ ีบไปทนั ที เม่ือกลับมาหลวงพ่อถามว่าไปขอแรงได้คนมากี่คน

283 พระใหญ่ตอบว่าได้มา 15 คน หลวงพ่อจึงให้นายปุย ขมินทกูล น้องชายต่างมารดาไปซ้ือทองเหลือง มา 18 แผ่นเมือ่ ได้ทองเหลืองมาแล้วก็มอบให้ นายสุ่ม ลงเลขยันต์หลังจาก นายสุ่ม จัดการเสร็จแล้วก็ มามอบให้หลวงพ่อปลุกเสกตะกรุด ท้ัง 18 ดอก เมื่อชาวบ้านท่ีขอแรงมายัดแพลูกบวบเสร็จแล้ว หลวงพ่อกแ็ จกตะกรุดไปคนละ 1 ดอกเป็นการตอบแทนนํ้าใจ เมื่อได้รับตะกรุดทุกคนก็อยากจะลองดี ของดีหลวงพ่อ ต่างก็คว้ามีดเข้าฟันกันอุตลุด คมมีดหาได้ระคายผิวหนังไม่ เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ปจั จุบนั ตะกรดุ ของหลวงพ่อหายาก เพราะทุกคนจะรักและหวงแหนประดจุ ชวี ิต พระลองมีดเร่ืองนี้นายปุย ขมินทกูล น้องชายต่างมารดา ของหลวงพ่อพิธเล่าให้ฟังว่า วัน หนง่ึ ขณะทพี่ ระภกิ ษุพธุ แสงสิงข์ กาํ ลังลบั มีดอยูน่ ั้นพระใหญ่ จิตตระกูล เดินผ่านมาก็ถามว่ามีดที่ท่าน ลับนั้นคมหรอื ยงั พระพุธ แสงสิงข์ โกรธมากหาว่าพระใหญ่ ดูถูกตนไม่มีปัญญาลับมีดให้คม แต่ก็อดใจ ไว้ได้แต่พอพระใหญ่เดินมาจวนถึงตัวพระพุธจึงเอามีดฟันพระใหญ่ท่ีน่องปรากฏว่าขนขาดหลุดหมด แตค่ มมดี ไม่สามารถเข้าผวิ หนงั ของพระใหญไ่ ด้เลยเหตุท่ไี ม่เข้าเพราะ พระใหญ่ จิตตระกูล มีของดีของ หลวงพอ่ พิธนนั่ เอง ดวงตาไม่ไหม้ไฟพระอธิการทานเล่าว่า วันฌาปนกิจศพหลวงพ่อ หลังจากเผาศพเรียบร้อย แล้ว กม็ กี ารเก็บอัฐิ โดยมพี ระอธิการทานเป็นผู้บังสุกุลและเก็บอัฐิเอง ในขณะนั้นได้มี นายเมอะ บ้าน หัวดง เข้ามาจับกระดูกของหลวงพ่อได้ชิ้นหน่ึงแล้วรีบเอาใส่ปากเคี้ยวกลืนเข้าไปทันที เพราะเกรงว่า จะถกู แยง่ ทําความตกตะลึงให้กับผู้คนจํานวนมาก ขณะนั้นพระอธิการทานได้พบดวงตาข้างหน่ึงของ หลวงพ่อไมไ่ หม้ไฟ จึงเก็บส่งให้นายเขียว หลังจากน้ันก็เก็บอัฐิของหลวงพ่อใส่กระบุงมาตั้งไว้ที่ร้านตัก บาตร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือบรรดาศิษยานุศิษย์ ได้เก็บไว้บูชาในขณะน้ัน นางพับ ได้พบ ดวงตาอีกข้างหนงึ่ ซึง่ ยงั ไมไ่ หมไ้ ฟ ทําความแปลกประหลาดมหศั จรรย์ให้แก่ผู้พบเห็นโดยท่ัวกัน จึงเป็น ที่เล่าลือกันท่ัวไปว่า “หลวงพ่อพิธดวงตาวิเศษ” เป็นเร่ืองที่แปลกท่ีสุดในโลกดวงตาท้ังสองข้างน้ัน‬ กาลต่อมาบรรดาศิษยานุศิษย์และบรรดาญาติตลอดจนประชาชนท่ัวไป ได้หล่อรูปหลวงพ่อขนาดเท่า องค์จริง และได้นําดวงตาของหลวงพ่อพิธบรรจุที่รูปหล่อด้วยปัจจุบันรูปหล่อเท่าตัวจริงของหลวง พ่อพธิ ยงั คงประดษิ ฐานอยู่ ณ วหิ ารวัดฆะมัง ถ้าท่านไปนมัสการรูปหล่อแล้วท่านจะแปลกใจอย่างมาก เพราะช่างไดห้ ล่อไดเ้ หมือนองค์ท่านจริงๆ เหมือนกับว่าหลวงพ่อพิธไปนั่งอยู่ แต่ดวงตานั้นเป็นดวงตา ทใ่ี สใ่ หม่ ไมไ่ ดเ้ อาดวงตาของหลวงพ่อใส่ไว้กลัวคนอ่นื จะมาลักไป อภินิหารรูปหล่อหลวงพ่อ รูปหล่อหลวงพ่อหลังจากได้สร้างแล้วก็ประดิษฐานอยู่ในพระ อุโบสถนานถึง 24 ปี บรรดาญาตโิ ยมทง้ั หลายตา่ งก็คิดกนั วา่ การเก็บไวใ้ นอุโบสถนน้ั บางวันก็เปิดบาง วันก็ปดิ ผู้ท่ีเคารพนับถือจะเข้าไปเคารพบูชาก็ยุ่งยาก จึงได้ประชุมตกลงกันว่าควรจะสร้างวิหารให้อยู่ ภายนอกเพื่อความสะดวกแก่ ผู้เคารพนับถือจึงได้สร้างวิหารขึ้นเม่ือได้จัดสร้างวิหารแล้วก็ได้อัญเชิญ รูปหล่อของหลวงพ่อมาประดิษฐาน ณ วิหารหลังจากนํารูปหล่อมาไว้ท่ีวิหารแล้ว มีคนกรุงเทพฯ คน หน่ึงมาช่วยในงานวันน้ีอยากได้รูปของหลวงพ่อจึงถ่ายรูป ปรากฏว่าจะถ่ายสักกี่ครั้งไฟแฟลตไม่ยอม ตดิ เม่ือหันกล้องออกนอกปรากฏว่าไฟแฟลชติดเมื่อปรากฏการณ์ดังกล่าว จึงคิดว่าควรจะเป็นเพราะ ไม่ไดข้ ออนญุ าตหลวงพ่อเป็นแน่แท้จึงรีบจุดธูปบอกว่าอยากได้รูปของหลวงพ่อไว้สักการบูชาหลังจาก น้ันจึงถ่ายรูปได้ย่อมแสดงว่าใครทําอะไรโดยไม่ขออนุญาตหรือบอกเล่าหลวงพ่อไม่ ยอมเด็ดขาด ถึงแมว้ า่ ท่านจะมรณภาพแล้วกต็ าม

284 เม่ือเอ่ยถึงเครื่องรางของขลังจะมีหลายประเภทด้วยกันแต่ที่โดดเด่นนิยมกันมากก็คือ “ตะกรุด” ในยุคโบราณมาจนถึงปัจจุบันมีหลายอาจารย์ อาจารย์แต่ละองค์จะเก่งและมีลูกศิษย์ มากมายหลายอาชีพ บางองค์มีลูกศิษย์เป็นถึงนายตํารวจใหญ่และมหาโจรใหญ่ก่อนท่ีจะมาเป็นศิษย์ รว่ มสาํ นักเด่ียวกันต่างกส็ าบานกนั วา่ จะไมเ่ บยี ดเบยี นซง่ึ กันและกัน และฆ่าแกงซึ่งกันและกัน โจรบ้าง คนต้องเดือดร้อนถึงหลวงพ่อต้องไปไกล่เกี่ย ให้มอบตัวและเลิกอาชีพท่ีไม่ดีเสีย พระเกจิอาจารย์ท่ี สร้างตะกรุด และโดดเด่นมีหลายหลวงพ่อด้วยกัน เช่น หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า หลวงปูุเอี่ยม วัด สะพานสูง หลวงปุูเอ่ียม วัดหนัง เป็นต้น แต่วันน้ีผมจะนําประวัติและตะกรุด พร้อมท้ังเคร่ืองรางของ ขลังของพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง จังหวัดพิจิตรซึ่งมีราคาแพงมาก ๆ คือ หลวงพ่อพิธวัดฆะมัง จ. พิจิตร อยา่ งแนน่ อน มีผู้สนใจเช่าหากนั มาก เรียกไดว้ ่ามีใบสั่งมาก แต่ของหาไม่ค่อยได้ ตะกรุดหลวงพ่อพิธน้ี แหละ ถา้ เอาไปวางในสนามพระจะออกได้เร็วกว่าตะกรุด หลวงพ่ออ่ืน ๆ ทั้งหมด ไม่ว่าดอกท่ีคนขาย ยืนยันว่าเป็นของวัดมะขามเฒ่า หรือหลวงพ่อเนียม หรือหลวงพ่อเดิม ข้าพเจ้าว่าถ้าผู้ขายไม่ตีราคา ตะกรุดของหลวงพ่อพิธสูงจนเกินไป ข้าพเจ้าเช่ือว่า ตะกรุดหลวงพ่อพิธจะขายได้ก่อนแน่นอน ถ้า ราคาเท่ากันด้วยแล้วตะกรุดหลวงพ่อพิธถูกนิมนต์ไปก่อนแน่ ในสมัยก่อนย้อนไปอีก 50 ปีเศษ ๆ ระหว่างปี พ. ศ. 2470–2485 ตะกรดุ หลวงพอ่ พธิ น้ี และมีราคาจําหน่ายเพ่ือทําบุญสร้างพระอุโบสถท่ี วัดสามขา ถึงดอกละ 10 บาท ข้าพเจ้าเชื่อว่า ระยะนั้นราคาตะกรุดหลวงพ่อพิธจะแพงที่สุดในระยะ น้ัน รูปหล่อหลวงพอ่ เงนิ ราคาในทอ้ งถนิ่ ไมเ่ กิน 10 บาทแน่ มีแต่ราคาในกรงุ เทพฯ ที่พ่อค้าคนจึนในสํา เพ็งซื้อเท่าน้ันท่ีให้ราคารพระหลวงพ่อเงินถึงองค์ละ 10 บาท เพราะพ่อค้าไม่มีเวลาเดินทางไปพิจิตร ได้ เมอ่ื ตอ้ งการกส็ ่ังใหผ้ อู้ ่นื ไปเอา และให้ค่าตอบแทนองค์ละ 10 บาท ตะกรุดหลวงพ่อพิธระยะน้ันใน ท้องถิ่นราคา 10 บาท นับว่าราคาสูงมาก ผู้ไม่ศรัทธาจริง ๆ คงไม่มีใครแสวงหา เรื่องตะกรุดหลวง พ่อพิธน้ันเป็นเรื่องยืดยาวประวัติด้านคงกระพันมีมาก เช่ือถือได้แน่นอน ท่านเป็นศิษย์ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ได้วิชาทําตะกรุดมาจากท่าน มีหลักฐานยืนยันไว้แน่ชัด มีเอกสารเป็นหลักฐานยืนยันไว้ ว่า ยันต์นี้ หลวงพ่อเตียง (วัดเขารูปช้าง) เรียนมาจากหลวงพ่อพิธ หลวงพ่อพิธเรียนมาจาก หลวงพ่อ เงนิ ตะกรุดหลวงพ่อเตียงก็ได้เลียนแบบอย่างของหลวงพ่อพิธ แต่มีเอกลักษณ์บางอย่างท่ีเราสามารถ แยกได้ว่า ตะกรุดดอกไหนเป็นของอาจารย์องค์ไหนกันแน่ ตะกรุดหลวงพ่อพิธโดยส่วนใหญ่ในขณะนี้ เช่าหากนั ในราคาสงู หลักพัน ดอกที่สมบูรณ์ๆกห็ ลายพนั บาทแลว้ แต่ว่าจะไดม้ าจากแหล่งไหน ตะกรดุ ของท่านสงั เกตไดง้ ่าย‬ๆ คือ 1. ตะกัว่ ทใี่ ชจ้ ารเปน็ ตะกว่ั นํ้านม (เนื้อออ่ น) 2. สว่ นใหญม่ ีอ่วั ทองเหลืองเป็นแกนกลาง 3. ยันต์ท่ใี ชจ้ ารเปน็ ยันตค์ ชู่ วี ติ หรอื ยนั ตอ์ ะสสิ นั ตเิ ปน็ หลกั ขอ้ ควรระลึกคือของเทียมมีมาก พอสมควรต้องดูความเก่าเป็นหลักพิจารณา สําหรับเชือกถักน้ันจะมีหรือไม่ก็ได้ ของเดิมรุ่นเก่าจริงมี ขนาดย่อมและถักเชือกลงรักสวยงามมาก ต่อมาได้พัฒนาให้มีขนาดใหญ่ข้ึน มีทั้งถักเชือกเฉย ๆ และ ไม่ถกั เชือกส่วน ยันตข์ องท่าน ข้าพเจา้ ไดน้ ํามาลงพิจารณาประกอบแล้ว ตะกรุดท่านจะจารทั้ง 2 ด้าน การสร้างประณีต ไมส่ กุ เอาเผากนิ ยันต์ตา่ ง ๆ ที่ปรากฏเปน็ ตะกรุดสว่ นใหญ่เป็นยันต์ของหลวงพ่อเงิน ที่ใช้ลงตะกรุดของท่าน ตะกรุดของท่าน ตะกรุดหลวงพ่อเงินก็มีหลายแบบซ่ึงจะได้กล่าวแยกไว้ ต่างหากโดยเฉพาะ หลวงพ่อพิธ เกิดเมื่อ พ. ศ. 2415 มรณภาพเม่ือ พ.ศ. 2488 จากปากคําของผู้รู้ เล่าว่า ท่านเป็นหลานแท้ ๆ ของ หลวงพ่อเงิน จึงได้วิชาอาคมมาเต็มท่ี ในสมัยหนุ่มเมื่อได้บวชเรียน

285 แลว้ ไดไ้ ปศึกษาพทุ ธาคม จากแหล่งอนื่ อกี เคยอยทู่ ี่วัดหัวดง วดั บางคลาน วัดวงั ปราบ วดั บางไผ่ วัดดง ปุาคํา วัดสามขา (วัดนี้แหละที่ท่านทําตะกรุดให้ผู้ศรัทธาได้ทําบุญช่วยวัด) ต่อมาก็ได้มาอยู่ท่ีวัดใหญ่ (วัดมหาธาตุ) พิษณุโลก หลังจากนั้นก็กลับไปอยู่ทางพิจิตรและมรณภาพที่วัดฆะมังเมื่อปี 2488 ดังกล่าวข้างต้น ตะกรุดหลวงพ่อพิธ มีอานุภาพด้านคงกระพันสูงมาก ผู้ใช้หลายรายโดนทั้งปืนทั้งมีด ไมเ่ คยระคายผิว ชาวบ้านบางคนถูกแทงจนเสื้อขาดแต่ก็ไม่เข้า พวกเศรษฐีมีเงินก็ทุ่มทุนซื้อตะกรุดอก นั้น เมื่อได้ราคาหลายหมื่นก็ขายเหมือนกัน เพราะทนเงินง้างไม่ไหว ยันต์อะสิสัตติ ธนูเจวะฯ นี้เป็น ยันต์ท่ีมีมาแต่โบราณกาล เกจอิ าจารยร์ ุ่นเกา่ ท้ังภาคกลางและภาคเหนือใช้กันมาก หลวงพ่อดัง ๆ เช่น หลวงพอ่ โพธ์ิ วัดวังหมาเนา่ หลวงพอ่ เรือง วัดบ้านดง หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อน้อย วัดปุา ยางนอก ฯลฯ ซ่ึงเกจิอาจารย์ท่กี ลา่ วถึงน้ีมอี ายุอยู่ในศตวรรษก่อนท้ังส้ิน และแต่ละท่านก็มรณภาพไป อย่างน้อย 70 ปี แล้วทั้งนั้น จากหลักฐานท่ีได้ศึกษามา แต่ละท่านใช้ยันต์น้ีลงตะกรุด บางดอกของ ทา่ น กรณที ีเ่ ป็นตะกรุดดอกสาํ คญั ยันต์ในสมัยก่อนเราเรียกว่า ยันต์คู่ชีวิต คือ มีอยู่แล้วชีวิตอยู่คง เป็นยันต์ที่ได้ใช้กันมานาน ต้งั แต่สมัยอยุธยายังรุ่งโรจน์ เป็นยันต์ ๆ หนึ่งในตําราพิชัยสงครามได้ระบุไว้ เป็นยันต์ชั้นสูงหาค่ามิได้ จากตํารา สมุดข่อยของ หลวงพ่อเรือง วัดบ้านดง อ. ชาติระการ จ. พิษณุโลก เขียนไว้ว่า “ยันต์นี้ลง กะตุด (ตะกรุด) ไม่ต้องเสกยิงเอาเถิด” จะเห็นได้ว่า ยันต์นี้มีอานุภาพเพียงใด ขลังเพียงใด คาถาท่ีลง ในตารางท้ังส่ีมุมเขียนไว้ว่าอะสิสัตติธะนูเจวะ สัพเพเตอาวุธานิจะ ภัคคะภัคคาวิจุณณานิ โลมังมาเม นะผุสสนั ติการลงอักขระจะลงสลับไปมาในช่องต่าง ๆ ไม่ได้เรียงกันอย่างการอ่านธรรมดา คาถาจะใช้ เป็นคาถาหลักในการปลุกเสกตะกรุด ทั้งการอาราธนาใช้โปรดดูรายละเอียดเก่ียวกับการอาราธนาใช้ ตะกรดุ ของทา่ นเมื่อ หลวงพ่อพิธมรณะภาพ หลังจากประชุมเพลิงแล้ว มีสิ่งอัศจรรย์เกิดข้ึนคือดวงตา ทั้งสองของท่านไฟเผาไม่ไหม้และทางวัดฆะมังยังเก็บรักษาไว้จนทุกวันน้ี ชาวบ้านเลยเรียกท่านว่า หลวงพ่อพิธตาไฟ สมัยที่ท่านไม่มรณภาพ ท่านมีดวงตาท่ีดุมากตอนน้ันเรียกท่านว่าหลวงพ่อพิธตาเสือ หลังจากท่านมรณภาพแล้วเลยเรียกว่า หลวงพ่อพิธตาไฟ คงหมายถึงดวงตาทนต่อไฟได้น่ันเอง ปัจจุบันนี้ เรายังโชคดีที่อาจารย์องค์หน่ึงยังมีชีวิตอยู่ คือท่าน มหาลําเจียก ท่านมีศักดิ์เป็นญาติกับ หลวงพอ่ พิธวา่ หลวงนา้ อายุท่านกเ็ กือบ 90 ปีแลว้ ถ้าจะถามเรื่องหลวงพ่อพิธท่านให้ความกระจ่างได้ และท่านเป็นพระองค์หน่ึงที่ได้จารตะกรุดให้หลวงพ่อพิธในสมัยน้ัน ยันต์ทุกตัว รวมท้ังการลงคาถา กํากับ ท่านจําได้หมด แม้ว่าดวงตาจะไม่ค่อยเห็นแล้วก็ตาม จากปากคําของท่าน ท่านเป็นหนึ่งในหก ของลูกศิษย์หลวงพ่อพิธ ท่ีเคยจาร อักขระลงตะกรุดให้หลวงพ่อ แล้วหลวงพ่อพิธก็จะไปปลุกเสก กํากบั เป็นคร้ังสุดท้ายอีกคร้ัง แต่ขณะลงผู้ลงก็เสกกํากับไว้อย่างบริบูรณ์แล้ว แต่เพื่อให้สาธุชนศรัทธา ย่ิงขึ้น หลวงพ่อพิธจะนําไปปลุกเสกให้อีกคร้ังหน่ึง จากการศึกษาของข้าพเจ้า ตะกรุดหลวงพ่อพิธมี ด้วยกันหลายแบบ (เพราะศิษย์หลายคนจารอักขระให้ต่างกัน) ดอกท่ีหลวงพ่อพิธจารเองด้วยมือน้ัน อักขระจะอ่านค่อนข้างยากเพราะท่าน จารด้วยปราณ หมายถึง จะต้องจารอักขระให้เสร็จในอึดใจ เดียว ตะกรุดดอกท่ีท่านจารด้วยมือนี้ ขณะน้ีข้าพเจ้าได้มอบให้ คุณประกิจ มหาแถลง ไว้ใช้แต่ที่เรา สามารถพิจารณาเปน็ ยันต์หลักไดก้ ็คือ ยันต์อะสสิ ัตตฯิ ดงั กล่าวขา้ งตน้ อวั่ คอื ส่งิ ศกั ดิ์สิทธิ์ที่เป็นหลอดทองเหลืองที่ใช้เป็นแกนกลางของตะกรุด โดยปกติจะบัดกรี เสริมหัวท้ายด้วยลวดเพ่ือให้คุ้มกันการสึกหรอของตะกรุดท้ังด้านในและด้านหัว ตะกรุด น่ีคือเทคนิค

286 ประการหนึ่งในการอนุรักษ์ตะกรุดของท่านให้คงทนกว่าอาจารย์อ่ืน แนวความคิดน้ีมิใช่หลวงพ่อพิธ นํามาใช้เปน็ ท่านแรก ความจรงิ มีอาจารยเ์ กา่ ๆ กอ่ นท่านได้ใช้มาก่อนแล้ว ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์ วัดวัง หมาเน่า ก็สร้างในลักษณะนี้ ตะกรุดหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน บางดอกก็สร้างในลักษณะนี้ แต่ทว่า ไมไ่ ดบ้ ัดกรเี สรมิ ลวดท่ีหัวท้ายเท่าน้ัน เมื่อท่านเห็น ตะกรุดเก่ามีแกนทองแดง หรือ ทองเหลืองอยู่ตรง กลาง แล้วข้าพเจ้าเช่ือว่า มากกว่า 95% เป็นตะกรุดทางจังหวัดพิจิตร แต่จะเป็นของอาจารย์อะไร สายไหนนั้น เป็นอีกเร่ืองหน่ึง ซ่ึงต้องศึกษากันต่อไป เท่าที่ได้ทราบมา ตะกรุดประเภทนี้มิได้มีเฉพาะ สายหลวงพ่อเงนิ เท่านัน้ ต้นตอมาจาอาจารย์เดียวกันคือ หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า หลวงพ่อโพธ์ิก็มี ลกู ศษิ ย์หลายท่าน ฉะน้ันอาจารยส์ ายอ่นื ก็จะสร้างตะกรดุ ชนดิ เดียวกนั นี้ เชน่ กัน จากการที่ได้มีโอกาส ไปสนทนากับ หลวงพ่อเปร่ือง เจ้าอาวาสวัดบางคลานปัจจุบัน ท่านไม่เชื่อว่าหลวงพ่อเงินเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อโพธิ์ ท่านว่าหลวงพ่อโพธิ์มีอายุอ่อนกว่าหลวงพ่อเงิน และเสียชีวิตอยู่องค์เดียว ไม่มีใครดูแล หลวงพ่อเปร่ืองจะได้หลักฐานมาจากท่ีใดข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่จากการศึกษาหลาย ๆ ด้านน่าเช่ือว่า หลวงพอ่ โพธิ์เป็นอาจารย์องค์หน่ึงของหลวงพ่อเงินแม้ อาจารย์เภาศกุนตะสุต ผู้เช่ียวชาญด้านประวัติ เถระต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยังยืนยันไว้ว่า หลวงพ่อโพธิ์เป็นอาจารย์ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน เช่นกัน ตะกรุดของหลวงพ่อพิธ จะมีแบบอื่นอีกหรือไม่ ขณะน้ียังไม่ทราบได้ ต้องศึกษาต่อไปอีก เพราะของ เหล่านที้ ่านก็ได้สร้างไวน้ านแล้ว ระยะเวลาท่ีต่างกัน ท่านอาจจะสรา้ งไว้ ท่านอาจจะสร้างด้วยยันต์อื่น ก็ได้ นเ่ี ปน็ เพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น แต่การเล่นหาจะตอ้ งยึดของทเี่ ป็นมาตรฐานไว้ก่อน การปลกุ เสกตะกรุดของหลวงพอ่ พิธให้ครบเครื่องให้เสก ดงั น้ี‬ นะโมพุทธายะฯ จะภะกะสะ สะกะภะจะฯ อติ ปิ โิ สภะคะวาตฯิ ไตรสระณาคมฯ อะสังอสิ ุโลปุสะพภุ ะฯ อิสวาสุ สุสวาอฯิ เมตญั จะ สัพพะโลกัสสมิงฯ อะสิสัตติธะนูเจวะ สัพเพเตอาวุธานิจะ ภัคคะภัคคาวิจุณณานิ โลมังมา เมนะผุสสันตฯิ เสกบทละ 108 คาบ จะสังเกตได้ประการหน่งึ ว่า คาถาท่ีปลุกเสกก็คือ คาถาที่ลงในตะกรุด น่ันเอง ตะกรุดเก่าผู้สร้างจะลงถมไว้ การลงถมคือการลงอักขระแล้วลบท้ิง ลงใหม่เช่นนี้หลาย ๆ ครั้ง ตามตาํ ราให้ลง 108 คร้งั คงเปน็ ไปไดย้ าก แต่ทวา่ การลงหลาย ๆ ครั้งในทางปฏิบัติอาจทํา 7 ครั้ง หรือ 9 คร้งั ก็พอจะเป็นไปได้การที่จะให้ลง 108 ครั้งนั้น ถ้าทําอย่างนั้นจริงเดือนท่ีคงลงได้ไม่กี่ดอกเท่าน้ัน ถ้าจะทํากันสัก 10 คงใช้เวลากันเป็นปีกว่าจะเสร็จ นอกเสียจากจะให้ลูกศิษย์หรือผู้อื่นลงให้ วัตถุประสงค์ในการลงถมก็คือ การเสกซ้ําซึ่งตามตําราว่าในการลง 108 ครั้งนั้นคงจะมีสักครั้งหน่ึง หรอกทส่ี มาธิจติ ดี มั่นคง และลงคาถากํากับได้ถูกต้อง เท่านี้ก็พอแล้วการท่ีกําหนดให้ลงมาก ๆ เข้าไว้ คงเปน็ การเผ่ือไวเ้ ทา่ นัน้ ถา้ ผู้ลงมสี มาธจิ ิตดแี ล้ว ก็คงไมต่ อ้ งถึง 108 คร้ัง ในปัจจุบนั เซียนพระทง้ั ใหญ่และเล็กคล้องสมเด็จไวน้ อกเสอื้ เพื่อเสนอขายแตเ่ ครื่องราง เช่น ตะกรุดใส่ไว้ในเสื้อเพ่ือไว้ใช้ปูองกัน เสนียดจัญไร ขับไล่ส่ิงอัปมงคล และขอให้แคล้วคลาดปลอดภัย ส่วนมากจะเป็นอย่างน้ีเป็นส่วนใหญ่ ทุกท่านไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทําไม เครื่องรางบางชนิดจึงหายาก ถามบางคนเขากไ็ ม่บอก ฉะนั้นการที่ทุกท่านจะหาเคร่ืองรางของขลัง เอาไว้บูชาพกพาอาราธนาติดตัว สักหนงึ่ ดอก โปรดหาคนท่ีรแู้ จง้ เหน็ จริงและทา่ นจะไมผ่ ดิ หวงั ตลอดชีวติ

287 ปัจจบุ นั วัดหวั ดง มวี หิ ารหลวงตาพธิ ไวเ้ ปน็ ท่สี กั การะบูชาสําหรับพุทธสาศนิกชนชาวหัวดง มาบูชาขอพร ทางวัดจะจัดงานปิดทองไหว้พระทุกๆ ปี ซึ่งจะจัดวันเดียวกับวันงานประเพณีการแข่ง เรอื ยาววัดหวั ดง 7.4 ศาลเจ้าศักดสิ์ ทิ ธ์ิ เจ้าพอ่ ปุนเถา้ กงหัวดง ภาพที่ 254 ศาลเจา้ พอ่ ศกั ดิ์สทิ ธิ์ปุนเถ้ากง ตําบลหวั ดง ภาพที่ 255 ศาลเจา้ พอ่ ศกั ดสิ์ ิทธปิ์ ุนเถา้ กง ตําบลหัวดง

288 ภาพท่ี 256 เจา้ พอ่ ปุนเถ้ากงตาํ บลหวั ดง ภาพที่ 257 ศาลเจ้าพ่อศักดิส์ ิทธป์ิ นุ เถา้ กงตําบลหัวดง ชาวจีนหัวดงให้ความสําคัญฮวงจุ้ยเป็นอันดับแรก จึงมาตั้งศาลเจ้าที่หมู่ 1 บ้านหัวดง เพราะมองเหน็ ทําเลทองช้ันดีตามหลักฮวงจุ้ยว่าติดแม่นํ้าท่ีไหลเข้ามาเป็นท้องมังกร ให้ความหมายถึง ความอดุ มสมบรู ณ์ เปน็ ทีก่ ักเก็บของพลังมังกรท่ีนําความรุ่งเรือง และโชคลาภให้กับสถานที่นั้นทําเลท่ี คุ้งนํ้าคคเคี้ยวทําให้กระแสนํ้าจะพัดพาเอาปุ๋ยจากธรรมชาติมาสะสมบริเวณนี้ ทําให้ดินบริเวณนี้มี ความอุดมสมบูรณ์มากท่ีสุดจะได้รับประโยชน์จากกระแสซี่ท่ีดี เพราะลักษณะของท้องมังกรจะมี รูปทรงคล้ายตัวยู จึงได้ทําการสร้างศาลเจ้าปุนเถ้ากงเป็นเทพผู้คุ้มครองบ้านและชุมชนหัวดงเชื้อสาย จีน ในสมัยก่อนสร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของเหล่าบรรพชนชาวจีน มีจีนแต้จิ๋ว จีนแคะ จนี ไหหลาํ ทย่ี ้ายถิ่นฐานมาอาศัยและคา้ ขายอยู่ใน ตาํ บลหวั ดง เมอื่ ก่อนอาคารเดิมเป็นศาลเจ้าไม้เล็ก เกา่ ๆ มเี พียงปูายท่บี ่งบอกวา่ เปน็ เทพเจ้าปนุ เถ้ากงเท่าน้ันและกระถางท่ีปักปูาย ศาลเจ้าปุนเถ้ากงชาว หัวดงเชื้อสายจีนส่วนมากต่างให้ความเคารพบูชา โดยเช่ือว่าเทพเจ้าจะคอยดูแลคุ้มครองท้องถิ่น คนในชุมชนจะพบแต่ความสุขสงบร่มเย็น ช่วยคุ้มครองผู้ที่นับถือบูชา รวมถึงครอบครัวของผู้บูชา ใน การบูชาจะนําน้ําชาร้อน และจุดธูป 5 ดอกและผลไม้ มาไหว้ท่ีศาลเจ้าปุนเถ้ากง มาไหว้ขอพรแต่เช้า

289 มดื สว่ นใหญ่จะมาไหว้ตามประเพณวี นั ตรษุ จีน และสารทจีน พิธีไหว้เทพเจา้ ปุนเถ้ากง วันต้นปีใหม่จีน (ไคเตง็ ฮี)่ เครือ่ งเซน่ ไหว้สําหรบั สกั การระ มหี ัวหมู ไก่ต้ม ขนมเปีย๊ ะ ผลไมม้ งคล เช่นส้ม แอปเป้ิล องุ่น เป็นต้น เครื่องเซ่นไหว้อุปกรณ์อื่นๆ มีประทัด ยอดกิ่งทับทิม กระดาษไหว้เจ้า ได้แก่ ฮ่วงปุอตั่วกิม เทียงเถา่ จี้ ฯลฯ กจิ กรรมในพิธี นอกจากการบวงสรวงเหลา่ เทพเจ้า ในระยะเวลา 3 วัน จะมีการแสดง งิว้ ทกุ ปี การแสดงง้วิ เปน็ การแสดงเพ่อื บชู าเทพเจา้ แต่อกี นัยหน่ึงก็เพ่ือต้องการอุปถัมภ์การแสดงงิ้วซ่ึง เป็นศิลปะเก่าแก่ให้สืบทอดต่อไป ค่าใช้จ่ายในการจ้างงิ้วมาแสดงน้ัน ชุมชนหัวดงจะเรี่ยรายเงินจาก เถานั้งกันมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดงานงิ้ว ในทุกปีจะมีการเสี่ยงท้ายต่อหน้าองค์เจ้าพ่อปุนเถ้ากง เลือกคณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อประจําปีชุดใหม่ โดยเสี่ยงทายจากรายชื่อร้านค้าและ ชาวบ้านหัวดง ทท่ี าํ บญุ กับเจ้าพ่อในช่วงการเดินเรย่ี ไรเงิน รบั เงินบรจิ าคจากร้านค้าต่างๆ ก่อนตรุษจีน การจัดงานไหว้ปุนเถ้ากงหรือว่าในวันเกิดเจ้า จะมีหลังตรุษจีนนับไปอีก 28 วัน จะอัญเชิญเจ้าออก จากศาลเจ้าเพ่ือไปดูง้ิวและกราบไหว้ท่ีกลางซอยริมเขื่อน และเป็นการไหว้ขอพรจากเหล่าเทพเจ้า เพ่อื ใหท้ รัพย์สินเพ่ิมพูน หน้าท่ีการงานเจรญิ รุ่งเรอื ง ครอบครัวม่ังมีร่ํารวยกันตลอดท้ังปี ซึ่งเทพเจ้าแต่ ละองค์ก็จะให้พรที่แตกต่างกันไปเช่น การไหว้ขอพรที่ต่ีเปุปอ หรือเทพเจ้าฟูาดิน ก็จะให้ชีวิตร่มเย็น ปดั เปาุ ภยั ทุกขภ์ ัยพบิ ัติต่างๆ การไหว้ขอพรปุนเถ้ากงก็จะทําให้อาณาบริเวณท่ีเราอยู่มีความปลอดภัย ช่วยคุ้มครองคนในบ้าน ดูแลทรัพย์สินของเรา ชาวจีนยังคงรักษาความเช่ือและประเพณีของตนไว้ ถ่ายทอดกนั มาเพอ่ื สืบทอดความเช่ือและประเพณีใหอ้ ยู่คลู่ ูกหลานชาวหัวดงเชื้อสายจีน ต่อมาศาลเจ้า ปุนเถ้ากงได้ชํารุดทรุดโทรม ทางคณะกรรมการและชาวจีนในสมัยน้ัน โดยนายวิศาล ภัทรประสิทธ์ จึงได้มีมติร่วมกันก่อสร้างศาลเจ้าข้ึนมาใหม่เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนช้ันเดียว เสามังกร หลังคามังกรคู่ เตาเผากระดาษเงินกระดาษทอง โดยใช้งบประมาณจากการบริจาค และกํานัลวิศาล ภัทรประสิทธ์ นํารูปปั้นปุนเถ้ากงมาจากที่อ่ืน และรูปภาพเทพเจ้ามาไว้ท่ีศาลเจ้าปุนเถ้ากงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2505 จะมีเทพเจ้ากวนอแู ละเทพอืน่ ๆ ท่านเป็นหนึ่งในผนู้ ําหลักทีบ่ รู ณะและก่อสร้างศาลเจ้าหลังใหม่ เปน็ คณะกรรมการการจดั งานของศาลเจ้า หรือวา่ เถานั้ง เป็นผู้บริจาคเงินและให้ความช่วยเหลืออ่ืน ๆ ในกิจกรรมของศาลเจ้า การไหว้เจ้าเป็นธรรมเนียมประเพณีที่ลูกหลานคนจีนปฎิบัติสืบทอดกันมา ตามความเชือ่ ที่จะต้องไหว้เทพเจ้าไหว้บรรพบุรุษ ไหว้เจ้าที่ เพ่ือให้เป็นสิริมงคลและนํามาซึ่งความสุข ความเจริญแก่ครอบครัว สิ่งที่ต้องเตรียมในวันไหว้ หลักๆ คือเทียนสีแดงก้านเป็นไม้ 1 คู่ ธูปสําหรับ ไหว้ คนละ 5 ดอก ข้าวสารใส่แก้ว กิมฮวย(ก้านหางนกยูงท่ีใช้ปักในกระถางธูป) นอกจากน้ีเตรียม กระดาษเงินกระดาษทองไหว้เจ้า มีน้ําชา 5 ท่ี ของไหว้เจ้าท่ี ไหว้ 3 อย่างเรียกว่า ชุดซาแซ ประกอบด้วย หมู เป็ด ไก่ ไหว้ 5 อย่าง เรียกว่าชุดโหงวแซ ประกอบด้วย หมู เป็ด ไก่ ตับ ปลา ขนม ไหว้ ได้แก่ ฮวกก้วย (ขนมถ้วยฟู) คกั ทอ้ กว้ ย (ขนมกูช้ ่าย) ขนมเขง่ ขนมเทียน ขนมอันจับ ซาลาเปา มี ผลไม้ สม้ กล้วยทั้งหวี และมกี ารเชิดสิงโต แถมจดุ ประทัดกนั อย่างสนกุ สนาน มาในปัจจุบันนี้ประเพณี ต่างๆเริม่ ทยอยคอ่ ย ๆ เงยี บเหงาไป เพราะคนจนี รุ่นแรกไดต้ ายจากไปและคนรุ่นใหม่ได้ย้ายออกไปทํา มาหากินท่ีอื่น และได้ไปเรียนหนังสือที่อื่นไม่ได้กลับมาถิ่นเดิม และประกอบไปด้วยในสมัยก่อนมีไฟ ไหม้ตลาดสด ถึง 2 คร้ัง จึงทําให้ชาวจีนบางคนย้ายถ่ินฐานไปต้ังรกรากท่ีอ่ืน และการคมนาคม สมัยก่อนอาศัยแม่นํ้าเป็นหลักในการขนส่งสินค้าและการค้าขายทางริมฝ่ังแม่น้ําน่านเม่ือก่อนเจริญ มาก ซ่ึงปัจจุบันมีการสร้างถนนจึงทําให้การคมนาคมเปล่ียนเส้นทางในการค้าขาย มาค้าขายกันที่ติด ถนนในสมัยน้ีจึงใช้รถยนต์ในการขนส่งสินค้าสะดวกและรวดเร็วกว่าทางเรือ จึงทําให้บ้านเรือนที่เป็น

290 ย่านคนจีนท่ีติดกับริมแม่น้ําได้เงียบเหงาไม่สามารถขายของได้ จึงได้เร่ิมทยอยเลิกกิจการไป และได้ ย้ายไปอยกู่ บั ลูกหลานที่อนื่ จึงทาํ ให้ประเพณขี องคนจีนได้เริม่ เงยี บหายไปบ้าง 7.5 ศาลเจ้าพอ่ สรุ วิ งศ์ เจา้ แม่สดี าบา้ นเนนิ ยาว ภาพท่ี 258 ศาลเจ้าพอ่ สรุ วิ งศ์ เจา้ แมส่ ดี า บ้านเนนิ ยาว เจ้าพ่อสุริวงศ์ เจ้าแม่สีดา เป็นท่ีเคารพของชาวบ้านเนินยาวมาตั้งแต่เร่ิมก่อต้ังหมู่บ้าน มี การปฏิบัตสิ บื ทอดกันมาต้งั แต่อดีตจนถึงปัจจบุ ัน ชาวบ้านมคี วามเช่ือว่าเจา้ พ่อสรุ ิวงศ์ เจ้าแม่สีดา เป็น ผ้คู มุ้ ครองใหช้ าวบ้านทุกคนอยู่เย็นเป็นสุข ไม่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ รวมทั้งโรคภัยต่าง ๆ และการทํา นาได้ผลผลติ ดี 7.6 ศาลพระอปุ คตุ ภาพที่ 259-260 ศาลพระอุปคตุ และพระพุทธรูปองคใ์ หญ่ที่แกะสลกั ประดิษฐานอยู่ท่ศี าลา การเปรยี ญ ศาลที่ศักดิ์สิทธ์ิของ หมู่บ้านลําชะล่า หมู่ท่ี 2 ตําบลหัวดง คือศาลพระอุปคุต เป็นศาลพระ ที่มีมาตั้งแต่ก่อตั้งหมู่บ้าน มีความเชื่อว่าพระอุปคุตสามารถปกปูองคุ้มภัยอันตราย ไม่ให้มีเหตุเภทภัย เป็นท่ียึดเหน่ียวด้านจิตใจให้ชาวบ้านมีความรักกัน มีความสามัคคีกัน พระอุปคุตเป็นพระที่แกะสลัก ด้วยไม้กระโดน (กระโดนเป็นภาษาถิ่น คือต้นจิก) ผู้แกะสลัก เป็นพระสงฆ์ที่มาจําพรรษาในยุคแรกไม่

291 ทราบช่ือท่าน ท่านได้แกะพระไว้ 2 องค์ องค์แรกเป็นพระพุทธรูป สําหรับประกอบกิจทางศาสนา องค์ท่ี 2 เป็นพระอุปคุต สําหรับคุ้มครองชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ประดิษฐานท่ีศาลากลางบ้านใช้ ประกอบกิจในพิธีทําบุญกลางบ้านก็จะโยงสายสิญจน์จากพระอุปคุตมาบริเวณประกอบพิธีทําบุญ กลางบา้ น และกราบไหว้บชู าทกุ วันพระกลางเดอื นและวันพระสนิ้ เดือน

292 8. สุนทรยี ภาพในทอ้ งถนิ่ และเอกลักษณ์ท้องถน่ิ ในพ้ืนที่ตาบลหัวดง ซ่ึงเป็นตาบลเล็ก ๆ แต่มีเร่ืองเล่า เร่ืองราวท่ีความเป็นเอกลักษณ์ มี ภูมิศาสตร์กายภาพ นิเวศวิทยาท้องถิ่น มีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและภูมินามท่ีน่าค้นหาและมีความ ภาคภูมิใจของคนหัวดง มีพัฒนาการต้ังถ่ินฐานของคนในชุมชน การปรับตัวเข้ากับส่ิงแวดล้อมและ กระแสการเปล่ียนแปลง รวมไปถึงมีมรดกวัฒนธรรมชุมชน ประเพณี วัฒนธรรม อาหาร ภูมิปัญญา การแต่งกาย ภาษา การแสดง ศิลปกรรม หัตถกรรม โบราณสถาน วิจิตรศิลป์ อัตลักษณ์ของท้องถิ่น โลกทัศน์ ความเช่ือ พธิ ีกรรม จติ วญิ ญาณ ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนท้องถิ่นและความสัมพันธ์ของ ชุมชนกับส่ิงแวดล้อมในธรรมชาติเหนือธรรมชาติและวิถีการดารงชีวิต ซ่ึงเป็นสิ่งที่คนหัวดงรู้สึกรัก หวงแหน ในคุณค่ามรดกวัฒนธรรมรุ่นปู่ย่า ตายทวด ที่ได้สร้างไว้ให้กับคนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ สืบ ทอดตกเปน็ มกดกวัฒนธรรมท่ที รงคุณค่า จากคณุ คา่ มรดกวฒั นธรรมของชาวตาบลหัวดง ซงึ่ เน้นรูปแบบวถิ ชี วี ิตการดารงชีวิตท่ีเรียบ ง่าย แต่สอดแทรกความลุ่มลึก ความรักใคร่ปรองดอง ความอบอุ่น ความสามัคคี ความเคารพผู้ใหญ่ หรือเคารพผู้นาท้องถิ่น ยิ่งในส่วนของสภาพพื้นท่ีของตาบลหัวดง ท่ีมีท้องทุ่งนาผืนใหญ่ มีแหล่งน้า สาคญั คือ แม่น้าน่าน มีดินโคลนและกลิ่นหอมรวงข้าว มีอาชีพ โดยเฉพาะวิถีการดารงชีวิตในการทา กิน เช่นการหาปลาเลี้ยงครอบครัว มีโบราณสถานท่ีศักดิ์สิทธิ์เป็นท่ียึดเหน่ียวของคนตาบลหัวดง ทั้งหมดคอื คณุ คา่ มรดกวฒั นธรรมท่ีสร้างสุนทรียภาพในท้องถิน่ ของชาวหัวดง ท่ีสืบทอดต่อกันมาอย่าง ยาวนาน ทาใหต้ าบลหวั ดง ซึ่งนับไดว้ า่ วิถชี วี ติ ของคนหวั ดง เป็นเร่ืองราวที่เป็นสุนทรียภาพในท้องถิ่น ที่มคี วามสวยงาม มีเอกลักษณ์ มีความอบอุ่น ชุมชนมีการดารงชีวิตอย่างมีคุณค่าทั้งต่อครอบครัวและ สงั คม ภาพท่ี 261 สภาพการดารงชวี ติ ตามรมิ น้าของคนหวั ดง

293 ภาพท่ี 262 สภาพการดารงชีวิตตามรมิ น้าของคนหวั ดง ภาพที่ 263 ท้องทุ่งนาผนื ใหญ่ตาบลหวั ดง

294 ภาพที่ 264 การเขา้ วัดทาบุญของคนหัวดง ภาพท่ี 265 วถิ ีการดารงชวี ติ ของคนตาบลหวั ดง

295 9. โลกทศั น์ จากคุณค่ามรดกวัฒนธรรมชุมชนตาบลหัวดง ท่ีสะท้อนถึงโลกทัศน์ของคนตาบลหัวดง ไม่ ว่าจะเป็นเรื่องการที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตาบลให้ไปในทิศทางท่ีดี การร่วมกันของชุมชนใน การทากจิ กรรมต่าง ๆ ในพน้ื ท่ที ีส่ รา้ งความรกั ความสามัคคี เอ้ือต่อการรองรับกับระบบเศรษฐกิจการ ท่องเท่ียวเพ่ือพัฒนาชุมชน การพัฒนาความรู้ความสามารถของคนในชุมชนให้มีความรู้ความสามารถ มีวิสัยทัศน์รอบรู้และความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในชุมชน ตลอดจนประชาชนมีความเข้าใจเก่ียวกับ เรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมทั้งมีแนวทางในการเตรียมความพร้อมชุมชนในท้องถิ่นเพื่อเข้าสู่ การพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะด้านการจัดการท่องเท่ียวในพ้ืนท่ีตาบลหัวดง การรักษาอัตลักษณ์ผู้นา ท้องถ่ินท่ีเป็นเสาหลัก การรักษาภูมิปัญญาและรากเหง้าของท้องถิ่นตนเอง เชิดชูความเป็นตัวตนของ คนในท้องถิ่น โดยมีการฟ้ืนฟูสืบสานพัฒนา เผยแพร่วัฒนธรรม รวมท้ังนาอัตลักษณ์เฉพาะของตนมา สร้างเป็นมูลคา่ เพิ่มเพ่อื เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตวั ของชุมชนหัวดง เนื่องจากในสังคมปัจจุบัน โลกมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วท่ีไร้ขีดจากัด หรือยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) คนตาบลหวั ดง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมท่ีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ไม่ ว่าจะเปน็ การสอ่ื สารด้านตา่ ง ๆ

296 10. อัตลกั ษณ์ทอ้ งถนิ่ จากคณุ ค่ามรดกวัฒนธรรมชมุ ชนตาบลหัวดง วิถีชวี ิตการอยรู่ ว่ มกนั การมีส่วนร่วมของ คนในชุมขนจาการสืบค้นในพื้นที่ตาบลหัวดง คือ จากการสัมภาษณ์และการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ สมัยด้ังเดิม ผู้คนจากหลายพื้นที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาจากเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว บางส่วนย้ายมา จาก ลพบรุ ี สระบรุ ี หนองคาย และรอ้ ยเอด็ ผู้ทอี่ พยพเข้ามามหี ลายกลุ่มชาติพันธุ์บางส่วนเป็นคนไทย พวน คนไทยอีสานและคนจีนเข้ามาอยู่ในตาบลหัวดงจานวนมากทาให้เกิดการอยู่ร่วมกันของคน 3 เชอื้ ชาติ คอื เชอ้ื ชาติไทย เชื้อชาติจีน และเช้ือชาติลาว ก่อเกิดการดาเนินชีวิตในรูปแบบ “ชุมชนสาม วฒั นธรรมหรือพหุวัฒนธรรม” คือวัฒนธรรมเชื้อสายไทย วัฒนธรรมเช้ือสายจีน และวัฒนธรรมเชื้อ สายลาว มีอตั ลักษณ์ทโี่ ดดเดน่ คือ“ชมุ ชนพหุวัฒนธรรม” เป็นชมุ ชนที่แต่ละเชื้อชาติไม่ว่าจะเป็นไทย จีน ลาว ไดน้ าวิถีถน่ิ ต่าง ๆ เข้ามากลายเปน็ วิถีถ่ินทมี่ ีลกั ษณะของพหวุ ัฒนธรรมทีส่ ามารถอยู่ร่วมกันได้ อย่างมีความสุข ได้จับจองพ้ืนท่ีทางานหากิน สร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่ร่วมกัน ท้ังนี้ชาวหัวดงยึดมั่นใน พระพทุ ธศาสนา จึงได้รับการขดั เกลาจิตใจให้มีความละเอียดอ่อน มีการเคารพเช่ือฟังผู้นา ผู้อาวุโส มี การปรบั ตัวมีการยอมรับในความแตกต่างมีวัฒนธรรมความเช่ือทางขนบประเพณีที่แฝงด้วยกุศโลบาย ท่ีประกอบด้วย ค่านิยม ทัศนคติ พฤติกรรม จิตวิญญาณ และวิถีชีวิต ทาให้สามารถสร้างสรรค์ ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาทั้งในอดีตและปัจจุบันไว้มากมาย เช่น ประเพณี วัฒนธรรม ความเช่ือ พิธีกรรม จิตวิญญาณ อาหาร ภูมิปัญญา การแต่งกาย ภาษา การแสดง ศิลปกรรม หัตถกรรม โบราณสถาน วิจิตรศิลป์ สุนทรียภาพในท้องถ่ิน วิถีการดารงชีวิต โลกทัศน์ อัตลักษณ์ของท้องถ่ิน ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนท้องถ่ินและความสัมพันธ์ของชุมชนกับส่ิงแวดล้อมในธรรมชาติเหนือ ธรรมชาติ ซึง่ ได้ไดก้ ลายเปน็ มรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญา มีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกคน รุ่นหน่ึง เป็นสิ่งชาวหัวดงมีความภาคภูมิใจและสามัคคีกัน ได้แก่ ประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วย พระราชทาน ประเพณีทอดผ้าป่าข้าวสุก ประเพณีเทศกาลวันสารท (สารทจีน สารทพวน สารทลาว และสารทไทย) ประเพณีเลี้ยงเจ้าพ่อได้แก่ (เจ้าพ่อสุริวงศ์เจ้าแม่สีดา เจ้าพ่อขุนด่าน ประเพณีไหว้เจ้า พอ่ ปุณเถ้ากง) ประเพณีทาบญุ กลางบ้าน ประเพณีเทศนม์ หาชาติ ประเพณีวันสงกรานต์

297 11. ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนท้องถ่ินหัวดงและความสัมพันธ์ของชุมชนกับ ส่งิ แวดล้อมในธรรมชาติเหนอื ธรรมชาติ เมื่อพดู ถึงชาวหัวดงหรือคนหัวดง จะเป็นที่รู้จักของคนท้ังอาเภอท้ังจังหวัด ว่าเป็นตาบลท่ี มคี วามเขม้ แขง็ เปน็ ทย่ี อมรบั กนั โดยทัว่ ไปวา่ คนหวั ดงเป็นนักการเมืองระดับประเทศ จานวน 3 คน คือ 1. นายวิศาล ภัทรประสิทธ์ิ อดีตส.ส.พิจิตร 2. นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธ์ิ (เคยดารงตาแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง) และ 3. นายวินัย ภัทรประสิทธ์ิ อดีต ส.ส.พิจิตร เขต 1 ชาว หวั ดงมีผนู้ าทอ้ งที่ ดเี ดน่ เปน็ ที่เคารพนับถอื ของคนหัวดง คอื นายวริ ัตน์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตกานันตาบล หัวดง เป็นผู้นาที่มีความเสียสละ พัฒนาให้เกิดความเปล่ียนแปลงสร้างความเจริญให้กับตาบลหัวดง ได้รับรางวัลกานันยอดเยี่ยม รางวัลแหนบทองคา จากกระทรวงมหาดไทย ถึง 3 ครั้ง บุคคลสาคัญ ดังกลา่ วเป็นบคุ คลที่คนหัวดงเคารพนับถือและเปน็ ท่รี ัก ลักษณะเฉพาะของชาวหัวดงจะมีความรักสมัครสมานสามัคคี เชื่อผู้นาผู้อาวุโส เสียสละรัก ถน่ิ ฐานคนหวั ดงจะมีความผกู พนั กบั พ้ืนที่ มักจะเรยี กกลุม่ คนตามลกั ษณะการตั้งถิ่นฐาน เป็นท่ีเข้าใจ กันของชาวหัวดง ซึ่งจะมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีถ่ินอาศัยอยู่บริเวณแม่น้าน่าน (บ้านหัวดง บ้านเขาพระ บ้านปากคลอง บ้านน้าโจนเหนือ) จะถูกเรียกว่าคนแม่น้า ส่วนกลุ่มที่มีถ่ินอาศัยอยู่ในที่สูงหรือท่ีดอน (บ้านลาชะล่า บ้านเนินยาวและบ้านหนองนาดา) จะถูกเรียกว่า คนบ้านดอน ชาวหัวดงเม่ือย้ายถ่ิน ฐานไปประกอบอาชีพในเมืองต่างจังหวัดต่าง จะมีการรวมตัวสร้างกลุ่มต่าง และบางกลุ่มก็จะมีการ ส่ือสารทางกลุ่มไลน์เช่น กลุ่มหัวดงรักถิ่น กลุ่มศิษย์เก่าเนินยาว เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์พร้อมทั้งให้ ความช่วยเหลือบ้านเกิด ในกิจกรรมประเพณี กิจกรรมทางสังคมคมในตาบลหัวดงเป็นประจาทุกปี เช่นงานประเพณีแข่งขันเรือยาว ในวันสงกรานต์จะมีกิจกรรมการสังสรรค์พบปะกับเพ่ือนท่ีอยู่หัวดง มาร่วมกิจกรรมกับชุมชนการรดน้าดาหัวผู้สูงอายุ พร้อมนาของของชาร่วยมามอบให้ผู้สูงอายุ ส่วน ในกิจกรรมวันเด็ก ก็จะมีของขวัญให้กับเด็ก และมีกิจกรรมการมอบทุนการศึกษาให้กับเด็กนักเรียน และมีส่ือทางโซเซ่ียล เป็น Web site ช่ือหัวดงคนกันเอง เป็นคนหัวดงประกอบอาชีพท่ี กรุงเทพฯ ใช้สื่อน้ีประชาสัมพันธ์กิจกรรม ของชาวหัวดง ให้คนหัวดงที่ย้ายถิ่นฐานอยู่ต่างจังหวัด ต่างประเทศ นบั วา่ เปน็ สอื่ กลางทเ่ี ชอ่ื มความสัมพนั ธ์ระหว่างชาวหวั ดงกับคนหัวดงที่อยู่ต่างจังหวัดและต่างประเทศ ได้เปน็ อย่างดี ชาวหัวดงมีความสมั พันธ์กับการพัฒนาท้องถิน่ ตาบลหัวดงมีการปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง คือ เทศบาลตาบลหัวดงกับองค์การบริหาร ส่วนตาบลหัวดง ชาวหัวดงจะสะท้อนปัญหาของแต่ละหมู่บ้านในการแสวงแนวทางแก้ไขปัญหาของ ชุมชนทกุ มติ ิของชุมชนใหก้ บั ทอ้ งถ่นิ ไปกาหนดแผนพฒั นา ในเวทีประชุมประชาคมทั้งในระดับหมู่บ้าน และระดับท้องถ่ิน นอกจากนั้นชาวหัวดงมีการรวมกลุ่มในการบริหารจัดการชุมชนในกิจกรรมต่าง ของชุมชน ที่สร้างเศรษฐกิจชุมชน สร้างสุขภาพ สร้างสังคม สร้างความปองดองสมานฉันท์ สร้าง

298 ความร่วมมือสามัคคีและสร้างสิ่งแวดล้อมกันท่ีสามารถเป็นต้นแบบที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับ หน่วยงานมาศกึ ษาดูงาน ไดแ้ ก่ 1. ชมรมผู้สงู อายุ มีการรวมกล่มุ ในรูปคณะกรรมการ เป็นองค์ชุมชนเป็นท่ีพึ่งให้กับสังคมที่ เป็นบุคคลด้อยโอกาส ในกลุ่ม เด็กเยาวชน ผู้ยากไร้ คนพิการ ผู้สูงอายุที่ป่วยติดบ้านติดเตียงอยู่ใน ภาวะทพี่ ง่ึ พิงตอ่ บุคคลในครอบครวั สังคม ดว้ ยการดูแลกันยามเปน็ และดแู ลกนั ยามตาย โดยกิจกรรม สรา้ งพลงั จิตอาสาสรา้ งสงั คมไม่ทอดทิ้งกัน ภาพท่ี 267 การเยี่ยมผู้สงู อายุติดเตียงของชมรมผ้สู ูงอายุตาบลหัวดง ภาพท่ี 268 การเยี่ยมผสู้ งู อายุตดิ เตียงของชมรมผสู้ ูงอายุตาบลหัวดง

299 ภาพที่ 269 การมอบกายอปุ กรณ์ให้แก่ผู้สูงอายขุ องชมรมผู้สูงอายตุ าบลหวั ดง ภาพที่ 270 การทากจิ กรรมร่วมกนั ของชมรมผูส้ งู อายตุ าบลหัวดง ภาพที่ 271 การทากิจกรรมร่วมกันของชมรมผสู้ งู อายตุ าบลหวั ดง

300 2. กลุ่มเครือข่ายหัวดงไม่ทอดทิ้งกัน เป็นการรวมตัวกันของทุกภาคส่วนในสังคม และภาค ราชการ ได้แก่ สภาองค์กรชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล สถาบันทาง ศาสนาในพืน้ ท่ี ผู้นาท้องท่ี ผ้นู าท้องถ่ิน จิตอาสาชาวหัวดง ผู้ใหญ่ใจดีชาวหวั ดงต่างจงั หวัด ผู้บริหาร โรงเรยี นในพน้ื ทแ่ี ละหน่วยงาน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดพิจิตร (พมจ.) ทุกภาค สว่ นจะเปน็ เครือขา่ ย โดยมีบรหิ ารจดั การในรปู คณะกรรมการท่ีจะสร้างสงั คมไม่ทอดท้ิงกนั ภาพท่ี 272 กลุ่มเครือขา่ ยหัวดงไม่ทอดท้ิงกนั ประชุมรว่ มกัน ภาพท่ี 273 กลุ่มเครือข่ายหวั ดงไม่ทอดท้ิงกนั ช่วยเหลือผูย้ ากไรใ้ นพ้นื ท่ี

301 ภาพท่ี 274 กลุ่มเครือข่ายหวั ดงไม่ทอดทิ้งกนั ประชุมร่วมกัน 3. โครงการเพิ่มความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (สาหรับกองทุน หมู่บ้านชุมชนเมือง) บึงหัวดงสามัคคี ได้รับจัดสรรงบประมาณจากโครงการประชารัฐ ผ่านกองทุน หมู่บ้านและชุมชนเมือง จานวน 9 หมู่บ้าน ประธานกองทนุ ทุกหมู่บ้านมาร่วมประชุมร่วมกัน ที่จะทา โครงการร่วมกันเพ่ือท่ีจะพัฒนาพ้ืนท่ีสาธารณแก้มลิงขนาดใหญ่ ให้เป็นแหล่งท่องเท่ียวแล้วได้มีการ รวมงบประมาณกองทุนมารวมกัน จานวน 8 หมู่บ้าน มีหมู่ที่ 2 บ้านลาชะล่าเพียงหมู่บ้านเดียวที่ ไมไ่ ด้เขา้ รว่ ม มีการบริหารในรูปคณะกรรมการ ได้พัฒนาวางแผนพฒั นาจัดการเป็นแหล่งท่องเที่ยวท่ี เป็นสถานที่พักผ่อน ให้กับคนในชุมชน และนักท่องเที่ยวที่สนใจ และยังเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพ ใหก้ ับชาวหวั ดง

302 5. ปญั หาและแนวทางการบรหิ ารจัดการเพือ่ ฟ้นื ฟู อนุรักษ์ ทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน ไปพรอ้ มกับการใชเ้ ป็นทนุ ในการรองรบั การท่องเท่ียวของชุมชนตาบลหัวดง ตาบลหวั ดง เป็นพ้ืนท่ีท่ีเหมาะแก่การทาการเกษตร มีพื้นท่ีทั้งหมด 53.40 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 1,545 ครัวเรือน รวม 6,614 คน แบ่งเป็นชาย 3,264 คน หญิง 3,350 คน ประชากร ส่วนใหญป่ ระกอบอาชพี เกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ส่งผลให้มีความเป็นอยู่แบบกระจายตัว นอกจาก หลกั แลว้ ยังมีอาชีพอ่ืน ๆ อาทิ เชน่ คา้ ขาย รับจ้าง ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และงานบริษัทต่าง ๆ เด็ก รุ่นใหม่ส่วนใหญ่มักจะทางานในโรงงานและทางานบรษิ ทั ต่างจงั หวัด เพราะในพ้ืนท่ีไม่มีงานรองรับ จึง มีแนวคดิ ในการบริหารจัดการมงุ่ สร้างจิตสานกึ รกั บา้ นเกิดแกเ่ ยาวชน เน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนา อาชีพเสริมให้แก่คนในชุมชน โดยผ่านการประชุม อบรมสร้างความรู้ความคิดสร้างสรรค์จากองค์ ความรู้เดิมสู่การพัฒนาต่อยอด ผู้นาชุมชนตาบลหัวดง จึงสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในชุมชน ในการวางแผน รว่ มความคิดร่วมตดั สนิ ใจ เพอ่ื ใหช้ มุ ชนสามารถบริหารจัดการตวั เองได้ โดยการเรียนรู้ จากต้นแบบทชี่ มุ ชนสามารถพ่งึ พาตนเองได้ เพ่ือนามาปรบั ใชแ้ ละพัฒนาใหช้ ุมชนกา้ วหน้าตอ่ ไป ผู้นาชุมชนตาบลหัวดงทางานในพื้นท่ีชุมชนโดยยึดหลัก “การมีส่วนร่วม” ซึ่งเป็นการ บริหารงานแบบร่วมคิด ร่วมทา ร่วมนาไปใช้ ร่วมกันได้รับประโยชน์ เพื่อนาไปสู่การพัฒนาชุมชนสู่ การการท่องเท่ียวได้อย่างมั่นคงย่ังยืน แต่ในปัจจุบันพื้นที่ตาบลหัวดง ยังคงมีปัญหาท่ีเป็นสาเหตุของ การพัฒนาการทอ่ งเทย่ี วในพืน้ ทตี่ าบลหวั ดง ซ่งึ สง่ ผลกระทบการพฒั นาการท่องเทีย่ ว คือ 1. สงั คมผู้สูงอายุ ปัจจุบันตาบลหัวดงมีประชากรผู้สูงอายุจานวน 1,250 คน จากประชากรท้ังหมด 6,750 คน คิดเป็นร้อยละ 18.51 ซึ่งนับว่าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซ่ึงจะส่งผลกระทบให้ปัจจัยการผลิตทางด้าน แรงงานลดลง ผลิตภณั ฑ์ภาคการผลติ ลดนอ้ ยลง อาจส่งผลให้เกดิ การขาดแคลนแรงงาน ผู้ท่ีอยู่ด้วยใน วยั ทางานตอ้ งทางานมากขึน้ และต้องรับภาระดูแลผู้สูงอายุในสัดส่วนที่เพ่ิมขึ้น อาจทาให้ผู้สูงอายุขาด ความอบอ่นุ หรอื ถูกทอดทิ้งได้ นอกจากน้นั ผูส้ งู อายยุ งั อาจมีปัญหาเรื่องสุขภาพร่างกายที่เสื่อมโทรมไม่ แข็งแรง แนวทางการบริหารจัดการฟ้ืนฟู คนในชมุ ชนทุกภาคสว่ นรว่ มกนั สง่ เสริมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ส่งเสริมอาชีพ จัดกิจกรรมสุขภาพ จิตใจ อารมณ์ และสังคม รวมถึงร่วมกันจัดสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมให้กับผสู้ งู อายุ ทงั้ นี้เพอื่ ใหผ้ ้สู งู อายไุ ด้อยอู่ ยา่ งมีความสขุ และลดปญั หาสังคมผ้สู งู อายุ 2. การประกอบอาชีพหลกั ด้านการเกษตรเพียงอย่างเดยี ว การที่ประชาชนของชาวตาบลหัวดงประกอบอาชีพหลักด้านเกษตรกรเพี ยงอย่างเดียว โดยไม่มีอาชีพเสริมอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านเศรษฐกิจกรณีที่เกิดภัยแล้งหรืออุทกภัยหรือราคา ผลิตผลการเกษตรตกต่า แนวทางการบริหารจัดการฟื้นฟู ส่งเสริมให้ประชาชนคนหัวดง ทาอาชีพ เสริมที่สามารถเผยแพร่แก่นักท่องเท่ียว เพ่ือเป็นการสร้างอาชีพ สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับ ครัวเรอื น 3. การถา่ ยทอดภมู ิปัญญาทอ้ งถนิ่ เด็กและเยาวชนรุ่นใหมไ่ ม่สนใจทจี่ ะถ่ายทอดภูมปิ ญั ญาท้องถิ่น อาทิ ภูมิปัญญาด้านการขุด เรือ ภูมิ ปัญญาก ารทอผ้า ซ่ึงจะ ส่งผลกร ะทบให้ ภูมิปัญญา ที่เราเ คยมีมาสู ญหายไ ป แนวทางการบรหิ ารจัดการฟื้นฟู ผู้นาชุมชน ช่วยกันส่งเสริมและถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับ

303 เด็กและเยาวชนในพื้นที่ เพื่อสร้างสานึกรักภูมิปัญญาที่เคยมีมาให้คงอยู่และทาให้เด็กและเยาวชน สามารถนาภูมิปัญญาท่ีได้รบั การถ่ายทอด สร้างงาน สรา้ งโอกาส สร้างอาชพี สร้างรายไดใ้ หก้ ับตนเอง 4. การอพยพแรงงานเข้าไปทางานในเมืองใหญ่ (กทม.) แนวทางการบรหิ ารจดั การฟื้นฟู ส่งเสริมให้ชุมชนมีการฝึกอบรมอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ ในครัวเรือน เช่น การทาพรมเช็ดเท้า การสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก การทาปลาเกลือแดดเดียว การทาข้าวปลอดสารพิษ การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้เป็นเอกลักษณ์ ทั้งน้ีเพื่อให้สินค้าและ ผลิตภัณฑ์ในชุมชนสามารถขายแก่นักท่องเท่ียวเพ่ือสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนและ ชุมชนจะเขม้ แข็งและย่งั ยนื บนพืน้ ฐานของทุนศักยภาพของคนในชุมชน 5. ขาดการประชาสมั พันธ์การทอ่ งเทย่ี วในพื้นท่ตี าบลหัวดง แนวทางการบริหารจัดการฟ้ืนฟู คนในชุมชนต้องช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลการท่องเท่ียว เช่น ของดี ของเด่นในพื้นท่ตี าบลหัวดง เพอ่ื ใหน้ กั ท่องเทย่ี วหรือบุคคลภายนอกได้รับทราบ

304 6. เทคโนโลยใี นการจดั การทรัพยากรจากอดีตกลายมาเปน็ ภูมปิ ัญญาวิวัฒน์ในปัจจุบนั อาชีพ “ทา้ มา หากิน ถ่ินหวั ดง ในน้ามีปลา ในนามีข้าว” บ้านหัวดง ตั้งข้ึนเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2400 จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่สมัยด้ังเดิม ต้าบลหัวดง มีสภาพทั่วไปเป็น ป่าดงดิบมี สัตว์ต่าง ๆ อาศัยมากมาย หลังจากมีผู้คนจากหลายพ้ืนที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาจากเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว บางสว่ นย้ายมาจาก ลพบุรี สระบุรี หนองคาย และร้อยเอ็ด ผู้ท่ีอพยพเข้ามามีหลายกลุ่ม ชาติพันธุ์บางส่วนเป็นคนไทยพวน คนไทยอีสานและคนจีนเข้ามาอยู่ในต้าบลหัวดงจ้านวนมาก ท้าให้ เกิดการอยู่ร่วมกันของคน เชื้อชาติ คือเชื้อชาติไทย เช้ือชาติจีน และเช้ือชาติลาว แต่ละเชื้อชาติได้น้า วิถีถิ่นต่าง ๆ เข้ามากลายเป็นวิถีถ่ินท่ีมีลักษณะของพหุวัฒนธรรมท่ีสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมี ความสุข ได้จับจองพ้ืนท่ีท้างานหากิน สร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่ร่วมกัน นอกจากน้ีพื้นท่ีต้าบลหัวดง ส่วนหนึ่งเป็นพื้นท่ีป่าที่ใช้ปลูกสร้างเป็นพ้ืนที่อยู่อาศัยของชุมชน แต่ก็ยังคงสภาพและอนุรักษ์ความ เป็นป่าซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “บ้านหัวดง”ซึ่งเกิดเป็นหมู่บ้านแรกของต้าบล ต่อมามีการขยายพน้ื ทีม่ ากข้ึนและมกี ารแบง่ เขตการปกครองอย่างชัดเจน จึงได้ตั้งช่ือว่าต้าบลหัวดงซ่ึง ปฏิเสธไม่ไดจ้ ากการท่มี ีกลุ่มคนอพยพยา้ ยถิ่นฐานเขา้ มามกั จะมาพร้อมกับการประกอบอาชีพ ของเช้ือ ชาติต่าง ๆ ในอดตี มีการค้าขาย ซ่ึงถือไดว้ า่ บ้านหัวดงเป็นอูข้ ้าวอนู้ ้าของพื้นท่ีหลายจังหวัดเพราะหัวดง เป็นพืน้ ทีบ่ รเิ วณกว้างชาวบา้ นมีอาชีพท้านาท้าสวนและท้าไร่ ซ่ึงพ้ืนที่ดังกล่าวน้ันเป็นพ้ืนที่ไกลมากจึง ต้องมีการนา้ เรอื ท้องแบน ขนาดใหญ่ไปบรรทุกผลผลิตมาเก็บไวท้ ี่บา้ นเพอ่ื ใชใ้ นการอุปโภคและบริโภค หลกั จากน้นั จงึ น้าไปขาย และจะมีพ่อค้าแม่ค้าใจจังหวัดหรือพน้ื ทใ่ี กลเ้ คียงร่องเรอมาซื้อของในบ้านหัว ดง ประกอบกับแม่น้าในสมัยกอ่ นจะเปน็ ทางเช่ือมตอ่ ระหว่างทะเลจึงท้าให้ชาวจีนอพยพมาต้ังถ่ินถาน เป็นจ้านวนมาก ซงึ่ จะมกี ารค้าขายระหว่างของไทยกับของจีนในบา้ นหัวดง ชาวบ้านหัวดง ประกอบอาชีพท้านาเป็นหลัก โดยที่การท้านาปีละ 3 ครั้งบ้าง 1 ครั้งบ้างตามสภาพ พ้ืนที่ของหมู่บ้านและน้าจากฟ้าฝน ตามช่วงของฤดูกาลท้านา นอกจากการท้านาแล้วยังมีอาชีพ ค้าขายซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ของที่ขายส่วนใหญ่เป็นของช้าที่ชาวบ้านใช้ในการอุปโภค และอาชีพ เสรมิ ทา้ สวนมะมว่ งในพืน้ ทท่ี ่ีอยูอ่ าศยั ของตวั เอง ผลผลิตท่ีไดจ้ ะไว้บริโภคเหลือแล้วจึงขาย พบร้านค้า เก่าแก่ที่ส้าคัญ ได้แก่ร้านกอเชียงเหม่ง เป็นร้านขายเครื่องก่อสร้าง พวกแห น้ามันก๊าด อุปกรณ์ การเกษตร เจ้าของ นายเอกฉันท์ กอศรีพร ร้านทองค้าโอโสถ ขายยาแผ่นปัจจุบัน เจ้าของร้านนาง ปราณี เขตตารุรักษ์ ซ่ึงได้รับการสืบทอดมาจากรุ่นบิดาปัจจุบันได้มีการขายเครื่องเขียนเสริมเข้ามา และร้านสามพ่นี อ้ ง เป็นรา้ นขายผ้าส้าเร็จรูป ตัดมุ่งหมอนและเสื้อผ้าส้าหรับท้านาขายมีพ่ีน้องสามคน ชว่ ยกนั ผลติ เสื้อผา้ ขาย จงึ เหน็ ไดว้ ่าการประกอบอาชพี ของคนหัวดงท่ีความแตกต่างกันด้วยเชื้อชาติท่ี 3 เช้ือชาติ ดังน้ี เช้ือชาติจีน เชื้อชาติอีสาน (ลาว) และคนไทยพ้ืนถ่ิน ขอเริ่มท่ีคนไทยพ้ืนถิ่น คนไทย พน้ื ถน่ิ ซงึ่ เปน็ คนไทยดงั เดิมทีอ่ ยูอ่ าศยั ดงั้ เดิมสว่ นใหญ่ประกอบอาชพี เกษตรกรรม ท้านา ท้าไร่ ท้าสวน และทา้ ประมง ซ่งึ ต้าบลหัวดงมแี ม่น้าน่านไหลผา่ นมหี มูบ่ า้ นทีต่ ดิ กับแม่น้าน่านคือหมูท่ ี่ 1 บา้ นหัวดง

305 หมู่ที่ 3 บ้านเขาพระ หมู่ที่ 8 บ้านหัวดง หมู่ที่ 6 บ้านน้าโจนเหนือ หมู่ที่ 7 บ้าน หัวดง และหมู่ที่ 9 บ้านปกคลองจึงท้าให้อาชีพของกลุ่มคนเหล่าน้ีจึงผูกพันกับสายน้าน่าน เช่นอาชีพท้านา ซ่ึงในสมัยก่อน นายพุฒ เฮงไป๋ นายยกมนูญ ดิษเสถียร เล่าว่าเม่ือก่อนคนหัวดงจะท้านาปีละ 1 ครั้ง โดยอาชีพส่วนใหญ่ของคนในหมู่บ้านจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมคือ ท้านา และท้าประมง ซึ่ง บริเวณหมู่บ้านในหมู่ท่ี 1 หมู่ที่ 6 หมู่ท่ี 8 หมู่ท่ี 7 และหมู่ที่ 9 เป็นบริเวณที่มีความพิเศษคือจะ สามารถท้าการประมงได้ท้ังปี คือ มีท้ังน้าในแม่น้าน่านและน้าที่เข้ามาในทุ่งนาหลังจากการเก็บเกี่ยว ในช่วงเดือนธันวาคม ของทุกปี ซ่ึงหลายพื้นท่ีหรือหลายคนมองว่าเป็นปัญหาเพราะน้าท่วมพืชผลทาง การเกษตรการเดินทางไม่สะดวกสบายแตส่ า้ หรับคนหวั ดงแลว้ ถอื ว่าการท่นี ้าท่วมน้ันเป็นขุมทรัพย์ทาง ทางดินและทางน้าหมายถึงจะท้าให้ดินท่ีได้รับน้าท่วมจะมีโอกาสได้ผลัดเปลี่ยนหน้าดินและแลเป็นท่ี พักของตะกอนดินซึ่งชาวบ้านถือว่าน้ันเป็นปุ๋ยอย่างดีสังเกตได้จากหลังน้าท่วมใครที่จะท้านาจะท้าให้ ข้าวในปนี ้ันจะงามเปน็ พิเศษแทบจะไมตอ้ งใสป่ ุ๋ยเลย และอีกอาชีพหนงึ่ กค็ อื การท้าการประมง จะมีอยู่ 2 แหลง่ ทมี่ ากค็ อื มาจากนา้ ทงุ่ และน้าแมน่ ้านา่ น ประเภทของปลาที่มาจากน้าในทุ่งนาจะเป็นปลาช่อน ปลาหมอ ปลาดุก ปลาสวาย ปลาสร้อย ปลาไหล ปลาแขยง ปลาหลด ปลาตะเพียนหรือปลาอ่ืนๆ และปลาที่มากับแม่น้าน่านจะมีปลาเค้า ปลากด ปลาเบ้ียว ปลาแดง ปลาตะเพียน ปลาอีทุก ปลากา ปลากลาย ปลาสร้อย ปลารึง ปลากะเบน ปลาล้ินหมา ปลาสังกะวาด ปลาเสือ ปลาหมู ซึ่งจะมี อุปกรณใ์ นการจับปลาแตกต่างกนั ไป ในปัจจุบันด้วยความทันสมัยและเทคโนโลยีท้าให้วิวัฒนาการด้านการประกอบอาชีพท้ัง ทางด้านการเกษตรและการประมงก็มคี วามทันสมัยทั้งทางด้านวัสดุอุปกรณ์ในการหากิน ประกอบกับ ดินฟ้าอาการที่ปรวนแปรท้าให้คนในชุมชนต้องปรับสภาพในการท้ามาหากินก็เช่นกัน คุณค่าของภูมิ ปัญญาไทย ได้แก่ ประโยชน์ และความส้าคัญของภูมิปัญญา ที่บรรพบุรุษไทย ได้สร้างสรรค์ และสืบ ทอดมาอย่างต่อเน่ือง จากอดตี สปู่ ัจจบุ ัน อปุ กรณ์หาปลาในท่งุ นาของชุมชนตาบลหัวดง 1. ลอบ เปน็ เคร่อื งมือในการหาปลาทต่ี ั้งแต่อดตี โบราณมา พ้ืนท่ใี นตา้ บลหัวดง อ้าเภอเมือง พิจิตร จังหวัดพิจิตร เป็นที่ราบลุ่ม มีทั้งแม่น้าน่าน ล้าคลองและหนองน้าหลายแห่ง ประชาชนใน หมู่บ้านประกอบอาชีพการเกษตร จึงได้ท้าการคิดค้นเคร่ืองมือหาปลาที่มีอยู่ในแม่น้า ล้าคลองและ หนองน้า ลอบเป็นเคร่ืองมือดักปลาที่สานด้วยไม้ไผ่ ใช้หวาย ลอบมีช่องว่างให้ปลาว่ายเข้าไปติดอยู่ ภายในการท้าลอบก็เป็นหัตถกรรมภูมิปัญญา โดยการใช้หวาย ใช้เชือกมาสานถักทอเป็นลอบข้ึนมา ท้างานเหมือนไซ ไม่ต้องใช้เหยื่อเช่นเดียวกันจะใช้ ยืนหรือวางนอนตามน้าแล้วมัดท้ิงไว้กลางคืนเช้าก็ มาเก็บปลาทีต่ ดิ ลอบกนั ไปท้าอาหารกัน ลอบท่ใี ช้อย่ใู นพ้นื บ้านมีอยู่ 2 ประเภท ลอบยนื ลอบนอน

306 ภาพท่ี 274 ลอบยืน 1.1 ลอบยืน ใช้ดักปลาในน้าลึก เป็นอุปกรณ์หาปลาในแม่น้าและล้าคลองมีลักษณะเป็น ทรงลีแบบต้ังใช้วัสดุเป็นไม้ไผ่เหลาเป็นซี่น้ามาประกอบกันให้เป็นทรงวงลีมีความสูงประมาณ 2 เมตร ตรงกลางมชี อ่ งทางที่สามารถใหป้ ลาเข้าไดแ้ ตไ่ มส่ ามารถใหป้ ลาวา่ ยออกไดม้ ักวางไว้บริเวณริมตลิ่งและ มีการท้าก้าแพงท่ีสร้างโดยไม้ไผ่ก้ันเพ่ือให้ปลาท่ีว่ายอยู่ในน้าว่ายเข้าไปในรอบแต่ในสมัยนี้วัสดุท่ีใช้มี ความทันสมัยมากข้นึ โดยนา้ เหล็กมาดดั และใชต้ าข่ายเชอื กมาล้อมท้าใหเ้ กิดความสะดวกสบายมากขน้ึ 1.2 ลอบนอน ใชด้ กั ปลาส้าหรับนา้ ไหลไม่ต้องใช้เหย่ือล่อ มักจะมีหูช้างอยู่ที่ปากลอบ โดย ใชแ้ ผงเฝอื กต่อจากหูช้างท้ังสองข้าง ก้ันขวางทางน้าของแม่น้า ล้าคลองมักวางไว้บริเวณริมตล่ิงแม่น้า และล้าคลอง มีการท้าก้าแพงท่ีสร้างโดยใช้ไม้ไผ่ก้ันไว้ วางลอบให้อยู่ในแนวนอน ลอบมีลักษณะเป็น ทรงกระบอก ก้นลอบเป็นรูปรี ๆ สามารถเปิดปิดเอาตัวปลาออกมาทางก้นลอบ ลอบนอนจะมี ลักษณะความยาวประมาณ 2 เมตรเหลาซไี่ ม้ไผ่เปน็ แบบกลม 20 ซ่ี มามัดด้วยหวาย ไม้ไผ่แต่ละซี่จะมี ความหา่ งกนั 3 เซนตเิ มตร เมอ่ื ปลาว่ายเข้าไปแลว้ จะว่ายออกมาไม่ได้เพราะติดงาก้ันไว้ แต่ในปัจจุบัน วัสดุอุปกรณ์ มีความทันสมัยข้ึนโดยมีการน้าเหล็กมาดัก และใช้ตาข่ายเชือกล้อมให้เกิดความ สะดวกสบาย และมคี วามคงทนมากวา่ การใชไ้ ม้ไผ่และหวาย

307 ภาพที่ 275 ลอบนอน ลอบนอนอีกชนิดหนึ่งใช้กับน้าน่ิงจะดักปลาตัวเล็ก ก็จะเรียงซ่ีไม้ไผ่ให้ชิดกันไม่ให้ปลาตัว เลก็ ลอดออกไปได้ รปู ร่างเปน็ ทรงกระบอก ปากลอบดกั ปลาท้างานถึง 2 ชั้นเพ่ือดักปลาไม่ให้ออกจาก ลอบ เมื่อปลาว่ายเข้าไปแล้วไม่สามารถว่ายน้าออกมาได้เพราะติดงาท่ีใส่ไว้ด้านใน เวลากู้ลอบนอนก็ จะเปิดฝาลอบท่ีส่วนกน้ ออกและเปดิ ฝาเทปลาใส่ขอ้ ง ภาพที่ 276 ลอบนอน 2. ตุ้มดักปลา โดยชาวบ้านจะสานตุ้มที่ส่วนบนด้วยไม้ไผ่ ส่วนล่างเป็นป๊ีบ ท้างาครอบ งา ครอบทา้ มาจากไม้ไผ่เหลาต่อเป็นเส้นแบนหนาดัดโค้งเป็นรูปเกือกม้า สวมปิดบนช่องว่างหรือทางเข้า ปลาเขา้ แลว้ ออกไมไ่ ด้ ตมุ้ จะใหญ่และหนักมากเวลาขนยา้ ยต้องกลิ้งไปก่อนท่ีจะวางตุ้มดักปลา จะต้อง มีการผสมอาหาร ด้วยสตู รพิเศษ สา้ หรบั เป็นเหยอ่ื ลอ่ ปลา เพ่ือไปเป็นเหย่ือส้าหรับล่อปลาให้เข้ามาใน

308 ตมุ้ การผสมเหยื่อใส่ป๊ีบล่อปลามี จอมปลวก รังหมดแดงที่อยู่ตามต้นไม้และดินเหนียวตามแม่น้าหรือ ล้าคลอง มาผสมกนั ปัน้ เปน็ ก้อน หรอื ปลาต้มใส่ในตุม้ ลอ่ ดกั ปลา หรืออีกสูตรทางฝั่งลาวจะใช้ มีข้ีควาย ล้าข้าว ข้าวคั่ว ป้ันขี้ควายเหนียว ๆ กับล้าข้าว ข้าวคั่ว ใส่ในตุ้มล่อดักปลาดุกแต่ในปัจจุบันนี้เหยื่อจะ ใช้ซี่โครงไก่สับละเอียดและลวกน้าร้อนให้สุก โดยก่อนวางตุ้มดักปลาลงน้า ต้องตระเวนส้ารวจดูว่า ตรงไหนปลาชุม หรือมีปลาจา้ นวนมาก ๆ จากน้ันจึงจะวางตุ้มดักปลาลงในน้าให้ก้นติดพื้นดิน ลึกประ มานให้ปากตุ้มโผล่พ้นน้าประมาณหน่ึงในสามส่วนใช้ไม้ปักยึดผูกเชือกต้ังอยู่ในน้าได้ โดยการใส่เหย่ือ ลอ่ ชนิดพิเศษทผี่ ลิตขน้ึ เองลงไปในตมุ้ ดกั ปลา เมือ่ ปลาดกุ ปลากด ปลาแขยงออกหากิน ได้กล่ินเหยื่อก็ จะหาทางเข้าที่ปากประตูผ่านงาไหว้เข้ามาอยู่ในงาครอบ โดยการใส่เหย่ือล่อชนิดพิเศษที่ผลิตขึ้นเอง ลงไปในตุ้มดักปลา จากนั้นในช่วงเวลาเช้า ถึงจะมากู้เก็บปลาดุก ปลากด ปลาแขยง เพ่ือน้าไป ประกอบอาหารหรือขายในตลาด ภาพที่ 277 ตุ้มดักปลา 3. สวิง สวิงเป็นเคร่ืองมือจับสัตว์น้าท่ีส้าคัญในบ้านหัวดง ลักษณะเป็นถุงตาข่ายมีขอบปากเป็นไม้ เส้นวงกลมใช้ช้อนตักกุ้ง ปลาขนาดเล็กท่ัวไปท่ีหลงติดอยู่หรืออาศัยในแหล่งน้าตื้น ๆ สวิงมีใช้ทุก หลังคาเรือนในพื้นที่หัวดงที่ท้าประมง โดยจะใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นเส้นกลมปลายมนยาวประมาณ 30 เซนติเมตร พันเชือกไว้กลางเส้นไม้ คลายเชือกออกมาผูกตรงกลางก่อนเหมือนจอมแหสั้นๆแล้วผูก ริมออกมา ใช้ปลายไม้งัดสอดดึงผูกเป็นตาถ่ี ขยายเป็นรัศมีวงกว้างออกเป็นรอบ ๆ จากตาแหเล็ก ๆ ค่อย ๆ ขยายตาให้ห่างแต่ก็ยังถือว่าเป็นตาถี่อยู่ ขณะเดียวกันก็บังคับถักให้เป็นถุงลักษณะเป็นถุงตา ข่ายเมื่อเห็นว่าได้ความกว้างและความลึกพอที่ก้าหนดไว้ ขอบวงกลมที่เตรียมไว้ท้าเป็นขอบวงกลม

309 โดยรวมสวิงจะมีขนาดประมาณเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 40–50 เซนติเมตร เม่ือเห็นว่าได้ขนาด ตามที่ก้าหนด แล้วจึงใช้เส้นไม้ไผ่ท่ีเหลาค่อนข้างแบนร้อยผูกตามช่องริมตาข่ายโดยรอบเป็นวงกลม ผูกปลายไม้ติดกัน น้าไปทาบพอดีด้านในเส้นขอบนอก ใช้ตะปูตอกเล็ก ๆ ตอกเส้นไม้ไผ่ติดกับกง ขอบนอกห่างกันเป็นระยะ 3 เซนติเมตรโดยรอบ ก็จะได้สวิงที่สมบูรณ์ ผู้ใช้จะน้าสวิงและข้องติดตัว ออกบา้ นตามล้าพงั เลอื กแหลง่ น้าทม่ี ีสตั วน์ ้าอาศยั อยใู่ นน้าตน้ื ในฤดูฝน หากฝนทิง้ ชว่ งน้าในแปลงนา เร่ิมแหง้ สามารถชอ้ นตกั ลกู ปลา กุง้ ปลากระดี่ ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาขนาดเล็กท่ัวไปได้ ภาพท่ี 278 สวงิ ตักกงุ้ และปลาตวั เลก็ ภาพท่ี 279 สวิงตักกงุ้ และปลาตวั เล็ก

310 ต่อมาเทคโนโลยีเร่ิมพัฒนา มีการดัดแปลงมาใช้ท่ีดักกุ้งมาประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เพ่ือความ สะดวกในการท้าประมง โดยใช้ลวดเหล็กมาดัดเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมหรือรูปทรงกลมหน้ากว้างทรงสูง โดยเข้าเรยี กวา่ ลอบดักกงุ้ ใช้ตาข่ายตาเล็กแบบมงุ้ มาสวมใสแ่ ละเย็บติดกบั เหล็กดัดให้เป็นลักษณะทรง สี่เหล่ียมหรือทรงกลมตามที่ต้องการเหมือนถุงปุ๋ย โดยใช้ขวดพลาสติกท่ีผ่าคร่ึงมาใส่ในช่องท้ังหมด 4 ช่องเย็ดติดกับตาข่าย มีช่องให้กุ้งเข้าไปภายในตาข่ายตาเล็ก 4 รู ที่ดักกุ้งน้ีจะต้องมีเหย่ือล่อ โดยใช้ เหยือ่ ลอ่ กงุ้ จะตอ้ งมีส่วนผสมของร้าข้าวคลุกกับมะพร้าวค่ัวมาคลุกเค้าให้เข้ากันหรืออาหารเล้ียงปลา ดุกเป็นเม็ดน้ามาแช่น้าให้มันยุ้ยหรืออ่อนตัวลง แล้วน้าไปใส่ในถุงท่ีอยู่ข้างในท่ีห้อยไว้กับตะค้อ พอกุ้ง ได้กลนิ่ เหยอ่ื ก็จะหาทางเข้าทีป่ ากประตผู ่านเข้ามา ภาพที่ 280 ลอบดกั กงุ้ ฝอย ปลาตัวเลก็ ภาพที่ 281 ลอบดกั กุ้งฝอย ปลาตัวเล็ก

311 4. โพงพาง ในพน้ื ที่ต้าบลหัวดง ประชาชนโพงพางเป็นเครื่องมือหาปลาที่สามารถหาปลาท้ังใน แมน่ ้านา่ นและนา้ ในท่งุ นา ซึ่งนยิ มใช้ท้ังโพงพางประจา้ ที่ คือ โพงพางชนดิ ท่ีทา้ การประมงซ้าท่ีเดิมเป็น ประจ้าและไมเ่ กบ็ หลักหรอื ปกี ไวเ้ มอ่ื เสรจ็ สนิ้ การจับสัตว์น้า ซ่ึงมีหลายชนิดเช่น โพงพางหลัก โพงพาง หลักใต้นา้ โพงพางปกี โพงพางเคล่อื นท่ี คอื โพงพางชนิดท่ีเคลอ่ื นยา้ ยเคร่ืองมืออวนและส่วนประกอบ ทั้งหมดออกจากจุดที่ท้า การประมงหลังจากเสร็จส้ินการจับสัตว์น้าทุกคร้ัง บางคร้ังเรียกว่า โพงพาง หลักลอย โพงเคย ป้องเคย ใช้ดักสัตว์น้าในท่ีมีน้าลึก ในแม่น้า ล้าคลอง หรือในทะเลสาบ ในอดีตน้ัน โพงพางจะถักดว้ ยมอื โดยใชด้ า้ ยขาวเส้นโตขนาดกา้ นจาก ยอ้ มด้วยน้าเปลือกโกงกาง หรือเปลือกคลัก เพื่อให้มีความเหนียวและคงทนย่ิงข้ึน ปัจจุบันทอด้วยเคร่ืองจักรโดยใช้ไนล่อน ตาข่ายท่ีปากโพงพาง มักใช้ขนาดตา 1.5 - 2.5 เซนติเมตร และขนาดจะเล็กลงไปเร่ือย ๆ จนถึงหางโพงพางมีขนาดพอแหย่ ก้านไม้ขีดไฟลงไปได้ ไม่ว่าถักด้วยมือหรือทอด้วยเคร่ืองจักรจะท้า เป็นถุงคล้ายรูปกรวย ปากกว้าง ขนาด 5-6 เมตร ร้อยด้วยเชือกกาบมะพร้าว หรือเชือกมะนิลา เท่านิ้วชี้ไว้ปากถุง ปัจจุบันใช้เชือกไน ล่อนแทน จากปากถงุ จะเรียวสอบจนถึงหางถุง ปลายปากหาง ถุงกว้างประมาณ 6 น้ิว มีเชือกผูกเพ่ือ แก้ให้หลุดได้เม่ือจะเทกุ้งออก โพงพางมี 3 ขนาด ขนาดใหญ่ ใช้ดักในแม่น้าที่กระแสน้าเชี่ยว ยาว ประมาณ 25-30 เมตร ขนาดกลางใช้ดักในอ่าวหรือในทะเลสาบท่ีมีกระแสน้าไม่เช่ียวนัก และมีความ ลึกของน้าไม่เกิน 6-8 เมตร ยาวประมาณ 18-24 เมตร ขนาดเล็กใช้ดักในล้าคลองที่ไม่กว้าง และมี กระแสน้าไม่เชี่ยวจนเกินไป ยาวไม่เกิน 17 เมตร การดักโพงพาง ดักได้ทั้งน้าขึ้นและน้าลง แต่ ส่วนมากนิยมดักเฉพาะตอนน้าข้ึน เพราะถือว่าสัตว์น้ามากับกระแสน้า ถ้าดักเพียงน้าขึ้นหรือน้าลง เพียงนา้ เดียว ใชโ้ พงพางหัวเดียว แต่ถ้าดัก ทั้งน้าข้ึนและน้าลงพร้อมๆ กัน ใช้โพงพาง 2 หัว น้าละหัว วิธีดักโพงพางใช้ไม้หลาโอน ไม้โกงกางหรือไม้คลักท่ีมีล้าต้นตรงขนาดเท่าขาคน ความยาวเม่ือฝังดิน แล้วให้โผล่เหนือน้าอย่างน้อย 1.5-2 เมตรปักเป็นเสา 2 เสา ให้ห่างพอ ๆ กับปากโพงพาง คือ ประมาณ 5-6 เมตร เรียกว่า กลักซ้ังหรือหลักโพงพาง เพ่ือผูกเชือกปลายเสาให้เป็นที่สังเกตของเรือที่ ผ่านไปมา จากหลกั โพงพาง ออกไปทั้งสองข้าง เอาไม้ทีม่ ีขนาดโตเทา่ ข้อมอื ปักฝงั ลงดิน

312 ภาพที่ 282 โพงพาง 5. ลันดกั ปลาไหล ลันเป็นเครื่องมือส้าหรับดักปลาไหล โดยสมัยก่อนคนหัวดงนิยมใช้กระบอกไม้ไผ่ในการท้า ลนั ลันเปน็ เครือ่ งมอื ดักปลาไหล ท้าจากไมไ้ ผ่บ้านท้งั ลา้ ตัดแบ่งเป็นช่วง ช่วงละประมาณ 4 ข้อไม้ ตัด หลังข้อแรกออกได้ปากกระบอก ข้ามไป 3 ข้อแล้วตัดหลังข้อที่ 3 เป็นก้น เจาะบากช่องบนปล้อง สุดทา้ ยยาวประมาณหนึ่งคบื ให้เป็นช่องหายใจใช้เหล็กทะลวงข้อภายในเว้นสุดท้าย ท้างาเป็นรูปกรวย สวมหันปลายงาเข้าที่ปากกระบอก ให้ก้นงาจะคับพอดีกับปากกระบอก เจาะรูด้านริมบนข้างปาก ด้านเดียวกับช่องหายใจที่ก้นกระบอกให้ทะลุลงไปด้านล่างเหลาไม้เสียบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เสียบพอดีกับรูที่เจาะผ่านข้างงาทะลุเลยลงด้านล่างใช้เป็นไม้เสียบช่วยยึดให้งาติดแน่นกับปาก กระบอกและใชย้ ดึ เสียบดินนา้ ไปใชด้ ักปลาไหลในริมท่งุ นาโดยวางไว้ใกล้กลับรูปลาไหลเพ่ือให้ปลาไหล เข้าไปกินเหย่ือในลันเหย่ือท่ีใช้ปูนาทุบให้ละเอียด หอยโขลงสับ ไส้เดือนสับ ปลาสร้อยต้ม ลูกกุ้งและ ปลาเนา่ ขีดตม้ ส้าหรับเป็นเหยอ่ื ลอ่ ปลา

313 ภาพท่ี 283 ลันดักปลาไหล ภาพท่ี 284 ลันดักปลาไหล 6. ชอ้ นสน่นั ช้อนสน่ัน เป็นอุปกรณ์ที่คนหัวดงใช้จับปลาในแม่น้าน่าน ซ่ึงช้อนสนั่นเป็นอุปกรณ์ หาท้ามาหากินแบบทรงสามเหลี่ยมใช้ไม้ไผ่สองล้ามีความยาว 8 เมตรเป็นด้ามและจะใช้ตาข่ายที่ถัก ด้วยเชือกเป็นถุงช้อนจะวางอยู่บนเรือขนาดใหญ่และจะใช้วิธีดันช้อนลงไปในผิวน้าท่ีไม่ลึกมากดันไป ประมาณ 300-400 เมตรจึงหาตลิ่งริมแม่น้าน่านเพ่ือเป็นที่ส้าหรับดันช้อนสน่ันขึ้นโดยจะมีคนให้ สญั ญาณในการโหนเชอื กให้ช้อนสน่ันข้ึนจากผิวน้าและปลาที่ได้จะเป็นปลาผิวน้าเช่น ปลาสร้อย ปลา สังกะวาด ปลาตะเพยี น


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook