Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์

รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์

Published by นายศตวรรษ จัตุมาศ, 2022-05-16 09:32:38

Description: รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น

Search

Read the Text Version

164 เป็นทางการ สะพานข้ามแม่น้ําน่านนี้เป็นจุดสําคัญของการเช่ือมต่อระหว่างพ้ืนท่ีใกล้เคียงและการ คมนาคมอื่น ๆ และยังเป็นการเปล่ียนแปลงพื้นท่ีเศรษฐกิจของหัวดงในอดีต ก่อนหน้าจะกระจุกตัว พ้ืนที่เศรษฐกิจที่บริเวณริมแม่น้ําน่าน ได้เปลี่ยนแปลงมาบริเวณส่ีแยกสะพานข้ามแม่น้ําน่านใน ปจั จบุ นั ภาพที่ 75 สะพานขา้ มแมน่ ้ําน่าน บรเิ วณหนา้ สาํ นกั งานเทศบาลตําบลหวั ดง ในปี พ.ศ. 2539 กํานนั วิรตั น์ ภทั รประสิทธิ์ ดาํ รงตําแหนง่ กาํ นนั ตาํ บลหวั ดงและผู้ใหญ่บ้าน เขาพระ หมู่ท่ี 3 ตําบลหัวดงในขณะน้ัน ได้มีประสบการณ์เรียนรู้ในพ้ืนท่ีหลากหลายและด้วยความ เป็นผกู้ ว้างขวางมีผู้รู้จกั ในทกุ แขนงสาขาอาชีพ กํานันวิรตั น์ ภทั รประสิทธ์ิ เห็นนํ้าที่ประชาชนเอามา ใชอ้ ุปโภคและบรโิ ภคแลว้ คิดว่าน้ํานไ้ี ม่สะอาด เม่ือไม่สะอาดแล้วอาจจะนํามาซ่ึงโรคภัยไข้เจ็บได้จึงคิด หาหนทางว่าจะดําเนินการอย่างไรให้คนหัวดงมีระบบนํ้าใช้เหมือนเช่นในเมือง หรือชุมชนอ่ืน ๆ จึง ตดิ ตอ่ ประสานงานเพ่อื ขอตั้งสํานักงานการประปาส่วนภูมิภาคในพ้ืนท่ีเขาพระท่ีติดริมแม่นํ้าน่าน เพ่ือ เป็นแหล่งผลิตนํ้าสะอาดเพ่ือใช้อุปโภคบริโภคเป็นการยกระดับสาธารณูปโภคครั้งสําคัญ กํานันวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ พยายามติดต่อประสานงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอยู่ระยะหนึ่งจึงประสบความสําเร็จ ได้รับงบประมาณมาดําเนินการกอ่ สร้างสาํ นกั งานการประปาส่วนภูมิภาค แต่ว่างบประมาณที่ได้รับมา ในครง้ั นน้ั ไม่เพียงพอ กํานันวริ ตั น์ ภทั รประสทิ ธิ์ จงึ บริจาคสมทบทุนงบประมาณ 2,080,000 บาท จึง สําเรจ็ ในสว่ นของสํานักงานประปาส่วนภูมภิ าค และต่อมากํานันวิรัตน์ ภัทรประสิทธ์ิ ได้ประสานงาน ขยายเขตระบบวางท่อประปาจากหมู่ที่ 3 บ้านเขาพระมาหมู่ที่ใกล้เคียงจนเต็มพื้นที่ของตําบลหัวดง คนมฐี านะก็จะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่เข้าถึงระบบประปา แต่ไม่นานคนที่ด้อยฐานะก็เข้าถึงระบบประปาใน ที่สุด เพราะมีราคาค่าใช้จ่ายท่ีไม่แพงนัก การวางระบบประปาที่ตําบลหัวดงน้ีนับเป็นอีกเข็มหมุดของ การเปลยี่ นแปลง เพราะการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในยุคที่กํานันวิรัตน์ ภัทรประสิทธ์ิ เป็นหัวเรือ ใหญส่ ืบทอดต่อจากกาํ นนั วิศาล ภัทรประสทิ ธิ์ การปรับเปลี่ยนหัวดงทําให้มีความเข้ากับยุคและสมัยท่ี เปล่ียนไป ส่ิงสําคัญของการเปล่ียนแปลงท่ีเกิดข้ึนคือการท่ีคนหัวดงจะใช้ประโยชน์จากแม่น้ําน่าน

165 โดยตรงน้อยลงไปอีก ซ่ึงในช่วงนี้การคมนาคมได้ค่อยๆเปล่ียนแปลงจากทางแม่น้ําขึ้นมาเป็นทางบก และทางราง เสียโดยสว่ นใหญแ่ ล้ว คนหัวดงจึงคอ่ ยปรับตวั ให้เขา้ ยุคเขา้ สมัยอย่างชา้ ๆ ภาพท่ี 76 สาํ นักงานการประปาส่วนภมู ภิ าคตาํ บลหัวดงในปจั จบุ ัน ในปี พ.ศ. 2542 ทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนทอ้ งถ่นิ ทาํ ใหเ้ กดิ องคก์ รปกครองส่วนท้องถ่ินในตําบลหัวดง สองรูปแบบ คือเทศบาลตําบลหัวดง ท่ียกฐานะมาจากสุขาภิบาลตําบลหัวดง มีเขตรับผิดชอบใน หมู่ท่ี 1 หมู่ท่ี 3 หมู่ท่ี 8 และองค์การ บรหิ ารส่วนตําบลหัวดง ท่ียกฐานะมาจากสภาตําบลหัวดง มีเขตรับผิดชอบในหมู่ท่ี 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 หมู่ท่ี 5 หมทู่ ่ี 6 หม่ทู ่ี 7 หมู่ที่ 9 ภาพที่ 77-78 ตราสญั ลกั ษณ์เทศบาลตาํ บลหวั ดงและองคก์ ารบริหารสว่ นตาํ บลหัวดง ในปี พ.ศ. 2542 นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร บตุ รชายนายวิศาล ภทั รประสิทธิ์ ได้รบั ความเดอื ดร้อนของคนหัวดงเก่ียวกับถนนริมแม่นํ้าน่านที่มีการ

166 พังทลายของตลง่ิ เปน็ จาํ นวนมาก จงึ ไดป้ ระสานหนว่ ยราชการเพ่ือท่ีจะทําเข่ือนกันตล่ิงแม่น้ําน่าน โดย ทําสองคร้ัง คร้ังท่ี 1 ทาํ จากบริเวณสะพานแขวนมาบริเวณหน้าซอยภัทรพัฒนา 12 และคร้ังที่ 2 หน้า ซอยภทั รพฒั นา 12 ไปจนถงึ หน้าศาลเจ้าพ่อหัวดง ภาพท่ี 79 เข่อื นกนั ตลง่ิ พังรมิ แมน่ ํา้ น่านท่ีทอดยาวระหวา่ งหมู่ที่ 1 กบั หมทู่ ี่ 8 ในปี พ.ศ. 2545 ไดท้ ําการย้ายตลาดหัวดงเดิมท่ีอยู่บริเวณริมแม่น้ําน่าน มาต้ังในจุดบริเวณ ข้างสะพานข้ามแมน่ ้ํานา่ น เนอื่ งจากกฎกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ข้อ 5-11 กําหนดให้มีลักษณะของตลาดประเภทที่ 1 คือ มพี ื้นทต่ี ลาด (สถานทแี่ ละสิ่งปลูกสร้างสําหรับผู้ขายของ ขนถ่ายสินค้า ห้องนํ้า ที่รวบรวมขยะมูลฝอย และที่จอดรถ) แบบแปลนจะต้องถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎกระทรวงว่า ด้วยสขุ ลักษณะของตลาด ภาพที่ 80 ตลาดเก่าหวั ดงตั้งอยู่บรเิ วณริมแมน่ า้ํ นา่ น

167 นายพีระโรจน์ ภัทรประสิทธ์ิ นายกเทศมนตรีตําบลหัวดง ได้ดําเนินการจัดสร้างอาคาร ตลาดสดตามแบบแปลนทีก่ ําหนด โดยย้ายมาทาํ การกอ่ สร้างที่บริเวณริมสะพานข้ามแม่นํ้าน่านฝ่ังตรง ข้ามสาํ นักงานเทศบาลตาํ บลหัวดง โดยทําการก่อสร้างให้มีแท่นผู้ขายของจํานวน 123 แท่น ห้องขาย อาหารประเภทเน้ือสัตว์ที่ได้รับการควบคุมการปนเปื้อนและแมลงรบกวน โดยเป็นห้องแยกเฉพาะมี การกั้นพน้ื ทเี่ ฉพาะสว่ น ภาพท่ี 81 อาคารตลาดสดเทศบาลตาํ บลหัวดง หมทู่ ่ี 8 ตาํ บลหัวดง โดยดําเนินการของตลาดสดเทศบาลตําบลหัวดงให้เป็นไปตามมาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ ระดับห้าดาว ของกรมอนามัย และได้รับรางวัลตลาดสดน่าซื้อระดับห้าดาว 10 ปี ( 2551–2561 ) และได้รับรางวัลประทานนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถ่ินตลาดสดน่าซื้อระดับห้าดาว จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ภาพท่ี 82 ลักษณะภายในตลาดสดเทศบาลตําบลหวั ดงที่ดําเนนิ การได้มาตรฐาน กรมอนามัย

168 ในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการสร้างสะพานข้ามทางรถไฟเพ่ืออํานวยความสะดวกให้กับ ประชาชนหรือผู้ที่สัญจรผ่านทางได้โดยไม่ต้องรถขบวนรถไฟและลดการเกิดอันตรายท่ีเกิดขึ้น โดยเป็นการเชื่อมจากสะพานข้าแม่นํ้าน่านเมื่อลงแล้วก็ขึ้นสะพานข้ามทางรถไฟ สําหรับผู้ที่จะสัญจร ไปต่อบริเวณทิศตะวันออกของบา้ นหวั ดง ซึง่ ส่วนใหญ่จะเปน็ รถท่ใี ชเ้ พอื่ การเกษตรและอ่ืน ๆ ภาพที่ 83 สะพานข้ามทางรถไฟตําบลหวั ดง เช่ือมต่อบา้ นหวั ดงฝง่ั ตะวนั ออก ในปี พ.ศ. 2561 มีการก่อสร้างสะพานพิพัฒน์ธรรมคุณ ท่ีเช่ือมระหว่างบ้านเขาพระ ตําบล หัวดง และบ้านเขารูปชา้ ง ตําบลดงปุาคํา โดยรเิ รมิ่ จากพระครพู พิ ัฒน์ธรรมคุณ (หลวงพอ่ เตียง) วัดเขา รปู ชา้ ง วา่ มีสะพานไม้ข้ามแม่นํ้าเช่ือมระหว่างคนสองตําบลคือหัวดงและดงปุาคํา เช่ือมสองเขาพ่ีน้อง คือเขารูปช้างท่ีเป็นเขาพี่ และเขาพระท่ีเป็นเขาน้อง วันข้างหน้าน่าจะมีความเป็นไปได้ในการพัฒนา ให้เกิดสะพานข้ามแม่น้ําที่ใหญ่พอรองรับรถทุกชนิดได้ ทําให้ความเจริญของทั้งคนเขาพระคนเขารูป ช้างได้ใกล้ชิดกันมากกว่านี้ แต่ก่อนการทําบุญเม่ือทําบุญวัดเขารูปช้างแล้วก็ไปทําบุญวัดเขาพระกัน จงึ ทําใหป้ ระชาชนส่วนใหญล่ งความเหน็ ในการให้ผู้นาํ ชุมชนไดท้ าํ งบประมาณขอสร้างสะพานนี้ ภาพที่ 84 พธิ ีเปดิ สะพานพิพฒั นธ์ รรมคุณ เมื่อวนั ท่ี 4 ตลุ าคม พ.ศ. 2561

169 นายพีระโรจน์ ภัทรประสิทธ์ิ นายกเทศมนตรีตําบลหัวดง มอบหมายให้นายเอกชัย อมรสุนทร รองนายกเทศมนตรีตําบลหัวดงประสานกับดงปุาคํา เพื่อให้เทศบาลดงปุาคําเป็นเจ้าภาพ เน่ืองจากตําบลหัวดงน้ันมีสะพานข้ามแม่นํ้าน่านแล้วหน่ึงจุด ไม่สามารถขอได้อีกจําเป็นต้องให้ เทศบาลดงปุาคําเป็นผู้ดําเนินการขอ ท้ังน้ีเน่ืองจากเป็นงบประมาณที่เกินศักยภาพท้องถิ่นสามารถ ดาํ เนินการได้ จึงส่งต่อไประดับจังหวัด กรมและกระทรวงตอ่ ไป แต่แล้วเรอ่ื งก็เงียบหายไป เมื่อถึงเวลา ประชาคมคนเขาพระก็มักจะสอบถามกันเร่ือย ๆ มา จนเม่ือนายช่างจากสํานักงานแขวงทางหลวง ชนบท จังหวัดนครสวรรค์ ซ่ึงเป็นผู้รู้จักสนิทสนมกับนายมนูญ ดิษเสถียร นายกองค์การบริหารส่วน ตําบลหัวดง แจ้งว่าโครงการยังคงมีอยู่ จึงได้แจ้งประสานร่วมกันกับทางสํานักงานแขวงทางหลวง ชนบท จังหวัดนครสวรรค์ และพ้ืนที่ดงปุาคํา หัวดง โดยพระครูวิมลธรรมประสิทธ์ิ ท่านเจ้าอาวาสวัด เขารปู ชา้ ง และพระอธิการ ธฤตมน เขมังกโร เจ้าอาวาสวัดเขาพระ เป็นผู้นําหลักในการประสานงาน เกิดการมีส่วนร่วมเป็นโครงการ โดยมีผู้ใหญ่บ้านเขารูปช้าง และนายพรสิริชัย ทองปาน สมาชิกสภา องคก์ ารบริหารสว่ นจงั หวดั พจิ ติ ร ประสานงาน จนแลว้ เสร็จในปี 2561 จากนั้นได้ทําพิธีเปิดใช้สะพาน พพิ ฒั นธ์ รรมคุณ ในวันที่ 4 ตลุ าคม 2561 โดยได้รบั เกยี รติจาก นางณิทฐา แสวงทอง รองผู้ว่าราชการ จังหวัดพิจิตร ร่วมกับนายวินัย ภัทรประสิทธ์ิ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจิตร เขต 1 และ ประชาชนทงั้ สองฝั่งแม่นา้ํ บ้านเขารูปชา้ งและบา้ นเขาพระ

170 4. มรดกวัฒนธรรมชมุ ชน ประเพณี วฒั นธรรม อาหาร ภูมิปญั ญา การแต่งกาย ภาษา การแสดง ศิลปกรรม หตั ถกรรม โบราณสถาน วิจติ รศิลป์ สนุ ทรยี ภาพในทอ้ งถ่ิน อตั ลักษณ์ของ ท้องถิ่น โลกทศั น์ ความเชื่อ พิธกี รรม จติ วิญญาณ ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนท้องถ่นิ และ ความสัมพนั ธข์ องชมุ ชนกบั ส่ิงแวดลอ้ มในธรรมชาตเิ หนอื ธรรมชาติและวิถีการดารงชีวิต ชาวหัวดง มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ได้แก่ ไทย จีน และลาวอยู่ร่วมกันเป็นสังคม พหุวัฒนธรรม ได้อย่างมีความสุข ชาวหัวดงยึดม่ันในพระพุทธศาสนา จึงได้รับการขัดเกลาจิตใจให้มี ความละเอียดอ่อน มีการเคารพเช่ือฟ๎งผู้นํา ผู้อาวุโส มีการปรับตัวมีการยอมรับในความแตกต่างมี วฒั นธรรมความเชือ่ ทางขนบประเพณีทแี่ ฝงด้วยกุศโลบายทีป่ ระกอบด้วย ค่านิยม ทัศนคติ พฤติกรรม จิตวิญญาณ และวิถีชีวิต ทําให้สามารถสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมภูมิป๎ญญาทั้งในอดีตและป๎จจุบันไว้ มากมายไม่ว่าจะเป็นงนศิลปกรรมช่างฝีมือภูมิป๎ญญา หมอแผนไทย อาหารจีน อาหารประจําถ่ิน ภาษากลุ่มชาติพันธ์ุ สุนทรียภาพในท้องถ่ิน ประเพณีความเชื่อได้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิ ป๎ญญา มีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกคนรุ่นหน่ึง เป็นสิ่งชาวหัวดงมีความภาคภูมิใจเกิด ความรู้สึกมีอัตลักษณ์ได้แก่ ประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน ประเพณีทอดผ้าปุาข้าวสุก ประเพณีเทศกาลวันสารท (สารทจีน สารทพวน สารทลาวและสารทไทย) ประเพณีเลี้ยงเจ้าพ่อได้แก่ (เจ้าพ่อสุริวงศ์เจ้าแม่สีดา เจ้าพ่อขุนด่าน ประเพณีไหว้เจ้าพ่อปุณเถ้ากง) ประเพณีทําบุญกลางบ้าน ประเพณเี ทศนม์ หาชาติ ประเพณีวันสงกรานต์ เป็นต้น มรดกวัฒนธรรมชุมชนตําบลหัวดง ท้ัง 3 เช้ือชาติ (ไทย จีน ลาว) ของชาวหัวดงได้ สร้างสรรค์ศิลปวฒั นธรรมภมู ิปญ๎ ญาทั้งในอดีตและปจ๎ จุบนั ทสี่ าํ คัญ ดงั นี้ 1. ประเพณี วัฒนธรรม ความเช่ือ พิธีกรรม จิตวญิ ญาณ 2. อาหาร 3. ภูมิป๎ญญา 4. การแต่งกาย 5. ภาษา 6. การแสดง 7. ศลิ ปกรรม หัตถกรรม โบราณสถาน วิจติ รศลิ ป์ 8. สนุ ทรยี ภาพในท้องถิ่น วถิ ีการดํารงชวี ิต 9. โลกทศั น์ 10. อัตลักษณข์ องท้องถ่ิน 11. ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนท้องถ่ินและความสัมพันธ์ของชุมชนกับส่ิงแวดล้อมใน ธรรมชาตเิ หนือธรรมชาติ

171 1. ประเพณี วัฒนธรรม ความเช่ือ พธิ กี รรม จิตวิญญาณ 1.1. การทาํ บุญกลางบา้ น ในวันปีใหม่ (เดือนมกราคม) วันที่ 1 หรือ 2 ของเดือนมกราคม ทุกปีชาวหัวดงความ เชื่อว่าในการทําบุญตักบาตรในวันปีใหม่เนื่องด้วยลูกหลานกลับมาบ้านกันอย่างพร้อมหน้ารวมตัวกัน ทําบุญเพ่ือให้เกิดความเป็นสิริมงคลกับลูกหลาน จึงพร้อมใจกันจัดงานทําบุญกลางบ้านข้ึนโดยนิมนต์ พระท่ีวัดหัวดง วัดเขาพระวัดลําชะล่า วัดเขารูปช้าง วัดฆะมัง ถือได้ว่ารวมท่านเจ้าอาวาสจากวัด ดังกล่าว พร้อมพระวัดลูกวัดอีกรวมทั้งหมด 9 รูป ทําบุญเล้ียงพระในตอนเช้าท่ีริมแม่น้ําน่านตรงข้าม วดั หัวดงต่อมาเพ่อื ความสะดวกสบายในการเดนิ ทางจึงย้ายมาทําบุญกนั ณ วดั หวั ดง จนถึงปจ๎ จุบนั ท้งั นใ้ี นปี พ.ศ. 2561 วันที่ 2 มกราคม 2561 ชาวบา้ นหัวดงได้รว่ มใจกันจัดงานทําบุญเล้ียง พระในตอนเช้า ณ บริเวณริมน่าน ตรงข้ามวัดหัวดง และพร้อมใจกันจะจัดงานบริเวณนี้อีกต่อไปของ ทุก ๆ ปี ภาพท่ี 85 ประเพณีทําบญุ เล้ียงพระกลางบา้ น ภาพที่ 86 ประเพณีทาํ บญุ เลย้ี งพระกลางบ้าน

172 ภาพท่ี 87 ประเพณีทาํ บญุ เลี้ยงพระกลางบ้าน 1.2. ประเพณีตรุษจนี ชมุ ชนชาวจีนและวันมาฆบชู า (เดอื นกมุ ภาพนั ธ์) ประเพณตี รุษจนี คอื วนั ข้นึ ปีใหมต่ ามปฏิทินจีน เดือน 1 ของคนจีนก็มีกิจกรรมคล้ายๆ กับคนไทยกระทําในวันปีใหม่ คือเป็นวันพบปะญาติมิตร ไหว้เจ้า ไหว้พระ อวยพรผู้ใหญ่ ส่วนอั่งเปา น้นั เป็นเพยี งนาํ้ จ้มิ เลก็ ๆ ทสี่ ร้างความสขุ ความตน่ื เต้นใหก้ บั เดก็ น้อย ก่อนตรุษจีน ชาวจีนหัวดงจะมีการทําความสะอาดบ้าน ป๎ดกวาดหยากไย่ครั้งใหญ่ เม่ือถึง วันปีใหม่จะไม่กวาดบ้านจนถึงวันชิวส่ี วันที่ 4 ของวันตรุษจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวันแรกของการเร่ิมต้น ทํางาน เพราะถอื วา่ จะกวาดเอาสิง่ ที่เป็นมงคลท้งิ ไป แต่ถ้าบ้านใครสกปรกจนทนไม่ไหว ก็จะกวาดเข้า คือ กวาดจากหนา้ บ้านเขา้ ไปในบ้าน ตรุษจีนคือ “วันชิวอิก” วันแรกของปี จะเร่ิมต้นเม่ือหลังเท่ียงคืนของ “วันซาจ๊ับ” ซ่ึงเป็น วนั สุดท้ายของปี เรียกอีกอย่างว่า “วันถือ” เพราะถือเป็นวันเร่ิมต้นปีใหม่ ทุกคนจะพูดแต่สิ่งดีๆ ส่ิงที่ เปน็ มงคล วันชิวอิกทุกคนจะนําส้ม 4 ผล ไปกราบผู้ใหญ่ขอพรเมื่อมีผู้มาอวยพร จะรับส้มขึ้นมา 2 ผล และนาํ สม้ ในบ้านทเ่ี ตรียมไว้วางคืนลง 2 ผล การไหวต้ รษุ จีนจะไหว้ด้วยขนมโบราณ 5 อยา่ งทีเ่ รยี กว่า โหงวเป้ีย หรือเรียกชื่อเป็นชุดว่า ป๎ง เป้ีย หม่ี มว่ั กี ประกอบด้วย ป๎ง คือขนมทึงป๎ง เป็นขนมท่ีทํามาจากน้ําตาล, เป้ีย คือขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่, หมี่ คือขนมหม่ีเท้า ทํามาจากแปูงข้าวเจ้าข้างในไส้เต้าซา, มั่ว คือขนมทึกกี่ เป็นขนม ข้าวพองสีแดงตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง และกี คือขนมทึงกี ทําเป็นชิ้นใหญ่ยาวเวลาจะกินต้องตัด เป็นช้ินเลก็ ๆ ซึง่ สว่ นผสมตา่ ง ๆ ทีน่ ํามาทําเป็นขนมเหล่าน้ี หาได้ยากในประเทศไทย จึงเลือกใช้ขนม เข่งและขนมเทียน

173 คนจีนท่ีหัวดงส่วนใหญ่เป็นจีนไหหลํา จะทําการไหว้เจ้าในวันท่ี 30 วันสุดท้ายของปี ของ จีน จะไหวเ้ จา้ ในการไหว้ตรุษจนี ของ 3-5 อย่าง คอื หวั หมู หมูช่วง เป็ด ไก่ ผลไม้ ขนมเข่ง ขนมเทียน ปจ๎ จุบันคนจนี บางทา่ นไม่ทานเนอื้ สตั วก์ ็จะไหว้ด้วยผลไม้แทน เช่น แอปเปิล ส้ม กล้วย องุ่น สัปปะรด อะไรก็ได้ ยกเว้น เงาะ มังคุด ละมุด ซึ่งคนจีนไหหลําไม่ได้บังคับว่าจะไหว้เวลาใดจะใช้ความสะดวก เป็นเสียสว่ นใหญ่ และวนั ร่งุ เป็นถือ คอื วนั ปีใหม่ของจนี ภาพที่ 88 คนไทยเช้ือสายจีน ไหว้เจา้ ในวนั ตรุษจีน 1.3 ประเพณวี นั มาฆบูชา (จนี ไทย ลาว) (ขึน้ 15 ค่าเดอื น 3) ก า ร ป ร ะ ก อ บ พิ ธี ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า เ นื่ อ ง ใ น วั น ม า ฆ บู ช า ข อ ง พุ ท ธ ศ า ส นิ ก ช น โดยทั่วไปนิยมทําบุญตักบาตร ฟ๎งพระธรรมเทศนา เวียนเทียนรอบอุโบสถหรือสถูปเจดีย์พุทธสถาน ต่าง ๆ ภายในวัด เพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สําคัญของพระพุทธศาสนาในวัน ข้นึ 15 ค่าํ เดือน 3 พุทธศาสนิกชนนิยมนับถือเอาวันน้ีเป็นวันสําคัญในการละเว้นความชั่ว บําเพ็ญความดี ทํา ใจใหผ้ ่องใส ตามแนวทางพระบรมพุทโธวาท โดยมีแนวปฏิบัติในการประกอบพิธีในวันมาฆบูชาคล้าย กับการประกอบพิธใี นวนั วสิ าขบชู า คอื มีการต้ังใจบําเพ็ญกุศลทําบุญตักบาตรฟ๎งพระธรรมเทศนาและ เจริญจิตตภาวนาในวันน้ี เมื่อตกกลางคืนก็มีการเวียนเทียนถวายเป็นพุทธบูชาท่ีวัดในหมู่บ้านสําหรับ ชาวตาํ บลหวั ดง3 เชื้อสายพนั ธ์ุ มกี ารประกอบพิธวี นั มาฆบชู าโดยในตอนเช้าทําบุญตักบาตร ในช่วงค่ํา คืนจะทาํ การเวยี นเทยี นรอบโบสถ์ที่วัด ของแต่ละหมู่บ้านเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาสู่รุ่นต่อรุ่นมา ชา้ นานแล้ว สาํ หรบั ชาวตาํ บลหวั ดง 3 เช้ือสายพันธุ์ มีการประกอบพธิ วี ันมาฆบชู าโดยในตอนเช้าทําบุญ ตกั บาตร ในช่วงค่ําคืนจะทําการเวียนเทียนรอบโบสถ์ที่วัด ของแต่ละหมู่บ้านเป็นประเพณีท่ีถือปฏิบัติ กันมาสรู่ นุ่ ตอ่ รุน่ มาช้านานแลว้

174 ภาพท่ี 89 การทาํ บญุ และเวยี นเทียนในวันมาฆบชู า ภาพท่ี 90 การทําบญุ และเวยี นเทยี นในวันมาฆบชู า 1.4 ประเพณีไหวว้ นั เกิดเจ้าพ่อปนุ เถา้ กง (ช่วงเดอื นกมุ ภาพันธ์ถงึ เดอื นมีนาคม) สําหรับชาวจนี บา้ นหวั ดงจะถอื เดือน 2 วนั ที่ 2 ของปฏิทินจีน เปน็ วันเกิดเจ้าพ่อปุนเถ้า กง หรือจะถือวันต้ังศาลเป็นเกณฑ์ ซึ่งตามประเพณีกระทํากันมาสืบสานต่อกันมาถือเดือน 2 วันที่ 2 เปน็ วนั เกิดเจา้ พ่อศักดสิ์ ทิ ธิ์ปุนเถ้ากงพิธีกรรม คนไทยเช้ือสายจีนจะจัดการไหว้ใหญ่ท่ีศาลเจ้าพ่อ และ เม่ือสมยั กอ่ นนน้ั ถือวันนี้เปน็ วนั คดั เลือกเถ้านัง เปน็ กรรมการในดูแลจดั พิธีกรรมทางจีนของคนไทยเช้ือ สายจีนที่ตําบลหัวดง เครื่องไหว้ศาลเป็นของ 3 อย่าง 5 อย่าง เหมือนการไหว้ตรุษจีน มีการจัดงาน เล้ียงของกรรมการ หรอื เถ้านัง ทุกปี สาํ หรับปี 2561 น้ี ยงั ไมค่ ัดเลือกเถ้านังใหม่เล่อื นไปเลือกในวันจัด งานงิ้วในเดอื นตุลาคมแทน

175 ภาพที่ 91 ประเพณไี หวว้ นั เกิดเจ้าพอ่ ปนุ เถ้ากง (ชว่ งเดือนกุมภาพนั ธ์ถึงเดือน มีนาคม) 1.5 ประเพณีเช็งเมง้ (เดือนเมษายน) ความเป็นมา วันขึ้น 1 ค่ําเดือน 5 เป็นเทศกาลประจําปีในการบูชาบรรพบุรุษที่ ล่วงลับไปแล้วของชาวชุมชนหัวดงเช้ือสายจีนเช็งเม้ง \"เช็ง\" หมายถึง สะอาด บริสุทธ์ิ และ \"เม้ง\" หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส ร่ืนรมย์เช็งเม้งใน ชุมชนหัวดง เริ่มต้นประมาณ 1-8เมษายน ท่ีสําคัญมากท่ีสุดของชุนชนชาวหัวดงเชื้อสายจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษท่ี สุสาน (ฮวงซุ้ย) เป็นการแสดงความกตัญํูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจ๊ือ ท่ีเน้นเร่ือง ความกตญั ํเู ปน็ สําคัญ เครอ่ื งเซน่ ไหว้ สําหรับเคร่ืองเซ่น ไหว้ย่อมเป็นไปตามฐานะ แต่ส่วนหน่ึงจะต้องมีคือเง็งเต๋ียหรือกระดาษ ไหว้ เจ้า กิมจั๊วหรือกระดาษไหว้วิญญาณ (ผี) เสื้อผ้า ของใช้เงินทองซึ่งเป็นกระดาษ เพ่ือเผาส่งไปให้ เทียนธูป ส้มเกล้ียง ไก่ ปลาหมึกหอยแครง ซาลาเปา ขนมฟู(ขนมสาลี่) เป็นส่วนหนึ่งของเคร่ืองเซ่น ไหว้ นอกเหนือจากกระดาษไหว้ เจ้าแล้ว จะต้องมีซาแซ คือไก่ต้ม พร้อมเคร่ืองใน ปลาหมึกแห้ง หมู หนึ่งแถบ ผลไม้ 5 อย่าง หรือ 7 อย่างก็ได้ หากไม่มีเอาส้มเกล้ียงอย่างเดียวก็ ได้ ผลไม้ที่นํามาไหว้ไม่ ควรเอาผลไมท้ ่ีมชี อ่ื ไมเ่ ป็น มงคล เช่น ละมดุ มังคดุ ฯลฯ ในสถานทน่ี ั้นทีม่ อี ยู่พร้อมนา้ํ ชา สรุ า ส่วนเครอ่ื งเซน่ วญิ ญาณบรรพบุรษุ นอกจากเครือ่ งเซน่ ไหว้ทีก่ ล่าวมา แล้ว ไก่ต้มท่ีนําไปไหว้ ไม่ควรใส่เคร่ืองในไก่ไปด้วย เพราะเครื่องในไก่เก็บ เอาไว้ให้ลูกหลาน เว้นแต่จะนําเครื่องในไป ประกอบเป็นอาหารอย่างอ่ืนเพื่อไหว้ ไม่เป็นไร หลังจากนําไปกราบไหว้เซ่นบรรพบุรุษท่ีฮวงซุ้ยแล้ว ควรจัดทาํ การเซ่นไหวอ้ ีกครั้ง ณ ท่ี บา้ นทอี่ าศยั ดว้ ย พธิ ีกรรม วันเช็งเม้งของแต่ ละปีหากเปรียบเทียบกับประเพณีในทางพุทธศาสนา ก็จะเหมือนกับวัน พระซึ่งใน ความเชอ่ื กค็ ือวนั พระเปน็ วันทผี่ ีหรือวิญญาณจะได้รับการปลดปล่อยให้เป็น อิสระ สามารถ ไปไหนมาไหนได้ จงึ เป็นโอกาสดีของลูกหลานที่มีความเช่ือ จะได้ทําพิธีกราบไหว้บูชาด้วยอาหารคาว

176 หวาน ผลไม้ เส้ือผ้า กระดาษเงิน กระดาษ ทอง(กิมจ๊ัว) นํ้าชา สุรา และเงินทองของใช้ ต่าง ๆ โดย จัดทําการเซ่นไหว้ที่แท่นบูชา ณ ที่บ้านของลูกหลานแต่ละคนด้วยการจุดธูปบอกกล่าวเชิญ กลางแจ้ง พร้อมขออนุญาตหรือบอกธรณีประตูพาวิญญาณเข้าบ้านมาที่แท่นบูชาท่ีมีกระถาง ธูป และรูปถา่ ยหรือปาู ยวญิ ญาณก็ตาม โดยการเซ่นไหว้ทุกคร้ังต้องบอกเจ้าที่ ทุกครั้ง และต้องทําช่วงเช้า ไม่เกิน 5 โมงเช้า เพราะหลังจาก 5 โมงเช้าควรจุดธูปหรือกล่าวลาพร้อม ๆ จัดการอาหารคาว ผลไม้ น้าํ ชา สุรา หลังจากทไี่ ด้นาํ กระดาษ (กิมจัว้ ) เซ่นไหว้ไปเผา การเซ่นไหว้บรรพบุรุษท่ีฮวงซุ้ยตามสุสานต่าง ๆ ความจริงแล้วลูกหลานจะหาวันที่ดี บาง ครอบครัวอาจกําหนดในเดือนธันวาคม ทั้งนี้ข้ึนอยู่กับความสะดวกของทุกฝุาย ไม่ว่าจะเป็นฝุายลูก ชาย ลูกสาว หลานชาย หลานสาว ที่จะมาพร้อมกันที่ฮวงซุ้ย ท้ังเครื่องเซ่นไหว้แล้ว ซึ่งจะต้องมากัน แต่เชา้ ๆ เซ่นไหว้ดว้ ยอาหารคาว หวาน นา้ํ ชา สรุ า ผลไม้ และทุกคนยงั ตอ้ งล้างปาู ยพร้อมทาสีฮวงซุ้ย ให้ เกิดความสวยงาม ยังจะได้ช่วยรดน้ําพรวนดินต้นไม้บริเวณฮวงซุ้ย และใกล้ เคียง มิใช่เพียงดูแล หญา้ ท่ีปลกู ไวห้ ลงั ฮวงซยุ้ เพียงอยา่ งเดียว สาํ หรบั ชาวหวั ดงเช้อื สายจีนได้ทําการไหว้เช็งเม้งตามประเพณีลูกหลานท่ีอยู่ต่างถ่ินจะต้อง กลับมาบ้านเพ่ือไหว้บรรพบุรุษตามประเพณีเช่น ตระกูลภัทรประสิทธ์ิ ไหว้ฮวงซุ้ยท่ีเขาโรงครัว ตระกูลอัตชู ไหวฮ้ วงซยุ้ ท่ีเขาทราย ภาพที่ 92 การเซน๋ ไหว้บรรพบุรษุ 1.6 ประเพณสี งกรานต์ (13-14-15 เมษายนของทุกปี) วันสงกรานต์ ถือเป็นวันสําคัญอีกวันหน่ึงของชาวบ้านหัวดง เพราะวันน้ี เป็นวันฉลอง การข้ึนปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านาน และวันนี้ ยังเป็นวันท่ีครอบครัว จะได้อยู่พร้อม หน้า เน่ืองจากหลาย ๆ ครอบครัว ที่มีลูกหลานที่ไปทํางานในต่างจังหวัด ก็จะได้ใช้โอกาสนี้กลับมา รวมตัวกันอีกครั้งหน่ึง และร่วมกันทํากิจกรรมร่วมกัน ท้ังกิจกรรมในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการเล่น นํา้ สงกรานต์ รดนํ้าดาํ หัวผ้ใู หญ่ หรอื เปน็ กิจกรรมทีม่ ปี ระโยชน์ตอ่ สังคม ทั้งการขนทรายเข้าวัด ทําบุญ

177 ทําทาน ซ่ึงสิง่ เหล่าน้ี ได้เสริมสรา้ งคุณค่าและความสําคัญของวันสงกรานต์ ให้ทวีคูณย่ิงขึ้น และส่งผล ใหว้ ันสงกรานต์ เป็นวนั ที่มีคณุ ค่าและความหมายต่อหลาย ๆ คน นอกจากนี้ ในช่วงสงกรานต์นี้ ยังเป็นช่วงเวลาท่ีพุทธศาสนิกชนชาวหัวดง จะได้เข้าวัด ทาํ บุญ ตกั บาตร ขนทรายเข้าวัด เลี้ยงพระ ฟง๎ เทศน์ ปฏบิ ตั ิธรรม อุทศิ ส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ และทํา ความสะอาดวัดและลานวัด รวมท้ังทํานุบํารุง จัดหาป๎จจัยต่าง ๆ มาช่วยเหลือทํานุบํารุงวัด ซ่ึง เทศกาลสงกรานต์ ถือเปน็ งานใหญ่ ทีท่ ุกคนจะได้รว่ มมือกัน ช่วยเหลือ ทํานุบํารุงศาสนา และสืบทอด พระพุทธศาสนาให้ดาํ รงอยตู่ อ่ ไป ประเพณขี นทรายเขา้ วัดหวั ดงมมี านานต้งั แตโ่ บราณกาล ถือกันว่า เม่ือเข้าวัดแล้วเดินออก ไปนอกวัด การเดินออกไปนอกวัดอาจจะมีดินติดเท้าออกไป ทําให้เกิดบาปอีกประการหน่ึงการ ขน ทรายเข้าวัดแล้วควรจะก่อเป็นเจดีย์ทราย เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์ และนอกจาก ประเพณีเพ่ือเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีตให้มีการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อ รว่ มกนั จัดประเพณรี นื่ เริงเป็นการสงั สรรคส์ รา้ งความสามคั คขี องคนในชุมชนด้วย ภาพที่ 93 การกอ่ พระเจดีย์ทราย ภาพที่ 94 การกอ่ พระเจดียท์ ราย

178 1.7 พิธสี รงน้าพระและรดนา้ ขอพรผ้สู ูงอายุ \"การสรงน้ําพระในวันสงกรานต์ อานิสงส์จากการถวายเครื่องเถราภิเษก (สรงน้ําพระ) จะช่วยให้คนผู้น้ันพ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง\" ในวันสงกรานต์ คนหัวดงอย่างเรานิยมทํากันนอกจาก การละเล่นสาดนํ้า หรือ ทําบุญไหว้พระ รดน้ําดําหัวญาติผู้ใหญ่แล้วน่ันคือ \"การสรงน้ําพระ\" ซึ่งการ สรงน้ําพระ ศาสนาพทุ ธ ใชค้ าํ วา่ ถวายเครอ่ื งเถราภิเษก (สรงนา้ํ พระ) ถา้ ตงั้ ใจสรงนํ้าพระ มีจิตศรัทธา ให้พระวรกายของพระพุทธเจ้าสะอาดปราศจากมลทินแล้ว ผลบุญนอกจะทําให้เราเป็นผู้มีความ สด ชื่น เย็นกาย เย็นใจ ไม่มีเร่ืองขุ่นข้องหมองใจแล้ว ยังมีอานิสงส์ทําให้ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดุสิตเลยทีเดียว รดนา้ํ ขอพรผสู้ งู อายุเป็นการขอขมาลาโทษกบั ผสู้ งู อายุ และจะไดร้ ับพรดี ๆ กับผู้สงู อายุดว้ ย ภาพที่ 95 กิจกรรมประเพณสี งกรานตข์ องชุมชนตาํ บลหัวดง ภาพท่ี 96 กจิ กรรมประเพณสี งกรานตข์ องชมุ ชนตาํ บลหวั ดง

179 ภาพที่ 97 กจิ กรรมประเพณีสงกรานต์ของชมุ ชนตาํ บลหวั ดง ภาพที่ 98 กิจกรรมประเพณสี งกรานต์ของชุมชนตําบลหัวดง 1.8 ประเพณวี นั วิสาขบูชา (เดือนพฤษภาคม) วนั วิสาขบูชา หรือ วันเพ็ญเดือน 6 นับเป็นวันท่ีสําคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะ เป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สําคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวัน ประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังน้ันจึงมีคําเรียกวันนี้อีกอย่าง หนึ่งว่า \"วันพระพทุ ธเจา้ \" ชาวบ้านหัวดงได้ทําบุญตักบาตรในช่วงเช้า ฟ๎งเทศน์ ช่วงค่ําได้ทําการเวียน เทียน เช่นเดยี วกบั วนั มาฆบชู า

180 ภาพที่ 99 การทาํ บุญและเวียนเทียน การเวียนเทียน คือการบชู าดว้ ยความสวา่ งเพราะถือวา่ พระสมั มาสมั พุทธเจา้ ทรงนาํ ความ สว่างแหง่ ป๎ญญามาใหเ้ ราได้รู้จักความจริงของโลกและชวี ติ 1.9 ประเพณีสลากภตั (เดือนพฤษภาคม) ความสําคัญ เพื่อให้ภิกษุได้มีอาหารฉันมีกําลังเพ่ือการปฏิบัติธรรมวินัย สลากภัตนับ เนื่องเป็นสังฆทานที่มีอานิสงส์มาก เพราะถือว่าแม้จะตั้งสลากถวายกับพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งท่ีจับ สลากได้ย่อมเท่ากับถวายกับพระสงฆ์ท้ังหมด ประเพณีถวายอาหารแด่ภิกษุโดยวิธีการจับสลาก นิยม ทําในเดอื น 6 หรือเดือน 8 สาํ หรบั หัวดงนิยมทําในเดือน 6 พิธีกรรม ชาวบ้านหัวดงนิยมทําในฤดูกาลที่มีผลไม้คือมะม่วงอกร่องหรือมะม่วงนํ้าดอกไม้ สุกนํามาถวายพร้อมข้าวเหนียว(ข้าวเหนียวน่ึงมะม่วงสุก)นํามาถวายเป็นสลากภัตท่ีวัด และนิยมทํา กันในช่วงสายเวลาประมาณ 10.00 น. โดยจัดอาหารคาว อาหารหวานท่ีสําคัญคือข้าวเหนียวนึ่ง มะม่วงอกร่องสุก ทําการจับสลากและนั่งรอพระภิกษุมาทําพิธี พระภิกษุก็ต้องจับสลากเช่นเดียวได้ สลากของผ้ใู ดก็ลงไปรบั การถวายของผู้น้ัน เม่ือกล่าวคําถวายเสร็จก็ฉันท์อาหารท่ีชาวบ้านนํามาถวาย ตอ่ มาพระใหพ้ ร และกรวดน้าํ เปน็ เสรจ็ พธิ ี ภาพท่ี 100 ประเพณสี ลากภัต

181 ภาพที่ 101 ประเพณสี ลากภัต 1.10 ประเพณีเลี้ยงเจ้าพ่อสุริยวงศแ์ ละเจา้ แม่สดี า (เดือนพฤษภาคม) ภาพท่ี 102 ศาลเจา้ พ่อสรุ ยิ วงศแ์ ละเจา้ แม่สีดา ลักษณะความเช่ือเจ้าพ่อสุริวงศ์ เจ้าแม่สีดา เป็นที่เคารพของชาวบ้านเนินยาว หมู่ท่ี 4 ตําบลหวั ดง มาตั้งแตเ่ ร่ิมกอ่ ต้ังหม่บู า้ น มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาต้ังแต่อดีตจนถึงป๎จจุบัน ชาวบ้านมี ความเชื่อว่า เจ้าพ่อสุริวงศ์ เจ้าแม่สีดา เป็นผู้คุ้มครองให้ชาวบ้านทุกคนอยู่เย็นเป็นสุข ไม่ประสบภัย พบิ ัตติ ่าง ๆ รวมทง้ั โรคภัยต่าง ๆ และการทาํ นาได้ผลผลติ ดี ความสําคัญสร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน ไต่ถามทุกข์สุขซ่ึงกันและกัน มีป๎ญหา ช่วยเหลอื ซงึ่ กันและกนั พรอ้ มท้ังสอดแทรกในการสอนลกู หลานใหม้ ีความกตัญํูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ และให้ทําความดเี พอ่ื เป็นสิรมิ งคลต่อตนเองและครอบครวั พิธีกรรมกระทําพิธีในวัน ข้ึน 6 คํ่า เดือน 6 ก่อนวันประกอบพิธีจะมาเตรียมสถานท่ีท่ี ศาลเจ้าพ่อสุริวงศ์ เจ้าแม่สีดา โดยจะมาทําความสะอาดที่ศาลและบริเวณ ชาวบ้านทุกหลังคาเรือน จะรว่ มกนั บรจิ าคเงินเพ่ือท่ีจะมาจัดเลี้ยงเจ้าพ่อ และจัดซื้อเครื่องเซ่นไหว้ เช่น จัดเตรียมกรวยดอกไม้ 2 กรวย ขนมตม้ หมากพลู บหุ รี่ 1 ซอง เหล้า 1 ขวด (ขวดใหญ่หรือขวดเล็กกไ็ ด้) นาํ้ ดื่ม ไก่ต้ม 1 ตัว

182 หรือไข่ตม้ 2 ฟองที่เรยี กวา่ ไขก่ ุ้ม (ไก่กลมหรือไก่ปูอม) พร้อมดอกไม้ธูปเทียน นํ้าที่เตรียมมาใส่โอ่งนํ้า ประจําศาล เหล้าใส่หม้อ เครื่องเซ่นขึ้นศาล อีกส่วนหนึ่งอยู่ในตระกร้าของ ชาวบ้านบางคนที่เตรียม อาหารมาร่วมเล้ียงเจ้าพ่อ จะมีผู้ที่ทําการสืบทอดพิธีกรรมจากบรรพบุรุษ ท่ีเรียกว่า พ่อเฒ่าจ้ํา โดย เร่มิ ตน้ จากการนําเคร่ืองเซ่นไหว้วางไวบ้ นศาล แล้ว พอ่ เฒ่าจาํ้ ผ้ปู ระกอบพธิ ี ทาํ น้ําพระพทุ ธมนต์ดว้ ย บทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ พาหุง ชยันโต ชินบัญชร เมตตา มงคล จักรวาลน้อย ชาวบ้านจะร้องรําวนรอบศาล 3 รอบ ขณะรอธูปท่ีจุดบนเคร่ืองเซ่นไหว้ไหม้หมด เจ้า พ่อจะประทับร่างทรง ผู้แทนชาวบ้านก็ถามเจ้าพ่อ ในเร่ืองต่าง ๆ เช่นความเป็นอยู่ การทําไร่นา สวน เม่ือธูปท่ีจุดไหม้หมด แล้วจึงกล่าวลาเคร่ืองเซ่นไหว้ ก็จะแบ่งอาหารไว้ที่ศาลเจ้าพ่อ เจ้าแม่ อาหารอีกส่วนก็จะมารับประทานอาหารกันเพ่ือเป็นสิริมงคล เมื่อรับประทานอาหารเสร็จก็จะ สนกุ สนานร้องราํ ทําเพลงกันพอสมควร ภาพที่ 103 พิธีเลย้ี งเจ้าพ่อสรุ ิยวงศ์และเจา้ แม่สดี า หมทู่ ่ี 4 บ้านเนินยาว 1.11 ประเพณีเล้ยี งเจ้าพ่อขุนด่าน ภาพที่ 104 ศาลเจ้าพ่อขนุ ด่าน หมู่ที่ 5 บ้านหนองนาดํา

183 ลักษณะความเชื่อเจ้าพ่อขุนด่าน เป็นเจ้าพ่อท่ีเคารพนับถือของชาวบ้านหนองนาดํา หมู่ที่ 5 ตําบลหัวดง มาต้ังแต่เร่ิมก่อตั้งหมู่บ้าน เน่ืองจากเป็นชาวบ้านท่ีอพยพมาจากจังหวัดลพบุรีเคยมี ความเชื่อเจ้าพ่อขุนด่านมาอยู่เดิมแล้ว เม่ือได้ก่อต้ังหมู่บ้านแล้วจึงได้ร่วมกันสร้างศาลเจ้าพ่อขุนด่าน เพื่อเปน็ สงิ่ ศกั ดิค์ ้มุ ครองปูองกนั ภัยพบิ ัตติ า่ ง ๆ เปน็ สง่ิ ยึดเหนยี่ วทางดา้ นจิตใจ จึงมีการปฏิบัติสืบทอด กนั มาตงั้ แต่อดตี จนถงึ ปจ๎ จุบนั ชาวบา้ นมคี วามเชื่อว่า เจ้าพ่อขุนด่านเป็นเทพผู้คุ้มครองให้ชาวบ้านทุก คนอยู่เย็นเป็นสุข ไม่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ รวมท้ังโรคภัยต่าง ๆ และการทํานาได้ผลผลิตดี ชาวบ้านที่มีความศรัทธาจะมาบนบานศาลกล่าว ในเร่ืองที่ตนต้องการที่จะให้เจ้าพ่อช่วยเหลือ เมื่อ ประสบสําเรจ็ ก็จะมาทําการแกบ้ น ความสําคัญสร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน ไต่ถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน มีป๎ญหา ช่วยเหลือเอื้อเฟ้ือแบ่งป๎นซ่ึงกันและกัน พร้อมท้ังสอดแทรกในการสอนลูกหลานให้มีความกตัญํู กตเวทีต่อผู้มีพระคณุ และให้ทาํ ความดีเพอื่ เปน็ สิรมิ งคลตอ่ ตนเองและครอบครัว พิธีกรรมกระทําพิธีในวัน ข้ึน 6 คํ่า เดือน 6 ก่อนวันประกอบพิธีจะมาเตรียมสถานท่ีท่ี ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน โดยจะมาทําความสะอาดท่ีศาลและบริเวณ ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนจะจัดซื้อ เครือ่ งเซ่นไหว้ เช่น จดั เตรียมพวงมาลยั ดอกไม้ ดอกไม้ เปน็ เคร่ืองสักการะ เตรียมเคร่ืองเซ่นไหว้ หัว หมู ไก่ต้ม ไขต่ ้ม ข้าวสวย 6 ถ้วย ผลไม้ นํ้าดื่ม นํ้าหวาน (นํ้าแดง) ในวันข้ึน 6 ค่ํา เดือน 6 ตอน เชา้ ผ้ปู ระกอบพิธีจะตีฆอ้ งท่ศี าลเจ้าพ่อเพือ่ ให้ชาวบ้านได้ออกมา พร้อมกับจัดวางเคร่ืองเซ่นที่จะเล้ียง เจ้าพ่อวางในที่ที่เหมาะสม ผู้นําประกอบพิธีชาวบ้านเรียกว่าพ่อตาจํ้า จะให้ชาวบ้านถวายเครื่อง สักการะ จุดธูป และป๎กไว้ท่ีศาล แล้วจะเป็นผู้นํากล่าวว่า บัดน้ีครบกําหนดวัน ข้ึน 6 ค่ํา เดือน 6 ลกู หลานจะไดม้ าถวายเครอ่ื งเซน่ ไหวใ้ ห้กบั เจา้ พอ่ ขอให้เจ้าพ่อจงได้โปรดอภิบาลคุ้มครองลูกหลานให้ อยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีเหตุเภทภัยและ อันตรายท้ังปวง ขอให้ฝนฟูาตกดี รวมทั้งให้ได้ผลผลิตสมบูรณ์ และให้แต่ละคนที่จะกล่าวในส่ิงท่ีต้องการจะสื่อสารกับเจ้าพ่อเอง พ่อตาจ้ําจะเป็นร่างประทรงให้ ชาวบ้านได้สอบถามเจ้าพ่อ ในเรื่องต่าง ๆ เช่นความเป็นอยู่ การทําไร่นาสวน เม่ือธูปที่จุดไหม้ หมด แล้วจึงกลา่ วลาเครื่องเซน่ ไหว้ ชาวบ้านก็จะแบ่งอาหารผลไม้ ไว้ท่ีศาลเจ้าพ่อ อาหารอีกส่วนก็ จะมาแบง่ ปน๎ รับประทานกันรว่ มกัน บางสว่ นก็นํากลับไปรบั ประทานท่บี า้ นเพอื่ เป็นสิรมิ งคล 1.12 ประเพณกี ารทาบุญกลางบา้ น ลักษณะความเชื่อชาวบ้านเนินยาว หมู่ 4 ตําบลหัวดง ถือว่าเป็นการทําบุญ ตลอดจนบูชาและอุทิศส่วนกุศลให้ ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ที่ดูแลโลกมนุษย์ เพื่อขอความคุ้มครองให้ อยู่เย็นเป็นสุขและประสบความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ขับไล่สิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ที่ผ่านมาให้ หมดสิ้นไปด้วยการสะเดาะเคราะห์ และขอให้ฝนตกตามฤดูกาล อันจะทําให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดม สมบูรณ์ ความสําคัญสร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน ให้มีความรักสามัคคี ไต่ถามทุกข์สุขซ่ึง กันและกัน มีป๎ญหาช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน

184 ภาพที่ 105 ประเพณที าํ บุญกลางบา้ น ภาพท่ี 106 ประเพณที ําบญุ กลางบา้ น พิธีกรรมกระทาํ พิธีในวันข้ึน 7 ถึง 8 คาํ่ เดือน 6 โดยให้ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือชาวบ้านเนินยาว กําหนดวันทําบุญและประชาสัมพันธ์ในการบริจาคเงินร่วมกันเพื่อจัดหานํ้าปานะ และป๎จจัยใส่ซอง ถวายพระ โดยใช้สถานที่ท่ีเป็นที่ว่างกลางหมู่บ้าน ตอนเย็นวันขึ้น ๗ ค่ํา ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนจะ เตรียมกรวดทรายใส่ตะกร้าหรือถังน้ํา ขวดใส่น้ําพันด้วยด้ายสายสิญจน์ที่คอขวด ต้นหญ้าคา มา วางหน้าบริเวณพิธีกรรม เมื่อถึงเวลาประมาณ 17.00 น. ก็จะประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ จะ นิมนต์ พระสงฆ์ประมาณ 9 รูป หรือมากกว่าน้อยกว่า ก็ได้ หลังจากนั้นจะมีการละเล่นในหมู่บ้าน และตอนเช้าวันรุ่งขึ้นมีการทําบุญเลี้ยงพระ ชาวบ้านจะนําอาหารใส่ปิ่นโตมาทําบุญพร้อมทั้งจัดทํา กระทงที่ทําจากกาบกล้วยพลับเป็นรูปสามเหลี่ยม (กระทงหน้าวัว) อาหารใส่กระทงใบตอง วางลง บนกระทงกาบกล้วยรูปสามเหล่ียม(กระทงหน้าวัว)ใช้ดินเหนียวป๎้นเป็นรูปคนเท่าจํานวนสมาชิก ตัด ผมตัดเล็บพร้อมป๎้นรูปสัตว์เลี้ยง วางลงในกระทงใส่หมากพลู บุหรี่ ข้าวดําข้าวแดง ขนมจีนน้ํายา พริก หอม กระเทียม นํ้าใส่ขวดเล็ก ป๎กธงทุกทุกมุม ธูปดอกเดียวป๎กลงในกระทง และนําไปวางไว้ท่ี บริเวณพิธี ที่วงรอบด้วยสายสินจณ์ เม่ือพระฉันอาหารเสร็จเรียบร้อยถวายป๎จจัย กรวดนา้ํ รับพรพระ

185 พระสงฆ์จะยืนเป็นวงรอบสายสิญจน์แล้วสวดส่งกระทงด้วยบทบูชาเท้าวจตุโลกบาล หรือท้าว มหาราชท้ัง 4 ปุริมัญจะ ทิสัง ราชา ธะตะรัฏโฐ ปะสาสะติคันธัพพานังอาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โสปุตตาปิตสั สะพะหะโว อนิ ทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโตวัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะ มานา อัฏฐังสุ ฯ (ท้าวธตรฏฐ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งคนธรรพ์ท้ังหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันออกแม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกําลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศต่างก็มีความ ยินดีไดม้ ายืนอยู่แลว้ ) ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา วิรุฬโหตัปปะสาสะติกุมภัณฑานังอาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โสปุตตาปติ สั สะพะหะโว อนิ ทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโตวัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะ มานา อัฏฐังสุ ฯ(ท้าววิรุฬหก เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งกุมภัณฑ์ท้ังหลาย เปน็ เทวราชาผู้ปกครองอย่ดู ้านทิศใต้ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมากมีนามว่าอินท กะเหมือนกันหมด ลว้ นแต่มกี ําลงั มาก มฤี ทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่ แล้ว) ป๎จฉิมัญจะ ทิสัง ราชา วิรูป๎กโข ปะสาสะตินาคานังอาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โสปุต ตาปติ ัสสะพะหะโว อนิ ทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโตวัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ(ท้าววิรูป๎กษ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งนาคท้ังหลายเป็นเทวราชา ผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันตก แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมากมีนามว่าอินทกะ เหมือนกันหมดล้วนแต่มีกําลังมาก มีฤทธ์ิ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่ แลว้ ) อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา กุเวโรตัปปะสาสะติยักขานังอาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โสปุต ตาปติ ัสสะพะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโตวัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ(ท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวัณ) เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่ แห่งยักษ์ท้ังหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศเหนือ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมากมีนามว่า อินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกําลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศต่างก็มีความยินดีได้มา ยนื อยู่แล้ว) ปุริมะทิสังธะตะรัฏโฐทักขิเณนะ วิรุฬหะโกป๎จฉิเมนะ วิรูป๎กโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง จัตตาโร เต มะหาราชา สะมนั ตา จะตโุ รทสิ าทัททลั ละมานา อัฏฐังสุ ฯ(ท้าวธตรฏฐ์ ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศ ตะวันออก ท้าววิรุฬหก ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศใต้ท้าววิรูป๎กษ์ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศตะวันตก ท้าวกุเวร (ท้าว เวสสุวัณ) ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศเหนือทั้ง ๔ ท่านน้ีเป็นท้าวมหาราช ได้มายืนอยู่ทิศทั้ง ๔ ให้รุ่งเรืองสว่าง ไสวแลว้ )

186 พระสงฆ์จะตัดด้ายสายสิญจน์และชาวบ้านก็จะจุดธูปนํากระทงไปวางไว้ตรงทางสาม แพร่งพร้อมกับคาํ กล่าวเพ่ือเป็นการเสียเคราะห์แล้วจะไม่กลับมามองที่กระทงอีกซึ่งมีความเชื่อว่าถ้า หันกลับมามองที่กระทง เคราะห์จะตามกลับมาบ้าน เมื่อวางกระทงแล้วก็จะมารับประทานอาหาร ร่วมกัน แล้วนํากรวดทราย น้าํ มนต์ สายสิญจน์ หญ้าคาของตัวเองกลับมาบ้าน แล้วว่านกรวดทราย รอบๆบริเวณบ้าน และบริเวณรอบพื้นที่บ้าน นํานํ้ามนต์ผสมนํ้าใส่ขันนําหญ้าคามาจุ่มนํ้ามนต์ ประพรมสมาชิกในครอบครัว หรือจะนําไปอาบ เสร็จแล้วนําหญ้าคาเสียบที่ชายคาบ้านหรือประตู เข้าบ้าน นําด้ายสายสิญจน์มาผูกมัดที่ข้อมือสมาชิกทุกคนในบ้านเพ่ือเป็นสิริมงคล 1.13 ประเพณีวันอาสาฬหบชู า ความสําคัญ วันอาสาฬหบูชา คือวันท่ีพระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนา เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระป๎ญจวัคคีย์ท้ัง 5 ได้แก่ พระ โกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ท่ีปุาอิสิปตนมฤคทายวัน เมือง พาราณสี แคว้นมคธจน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกใน พระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์คร้ังแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณน์ ้ีเกิดข้ึนก่อนพทุ ธศักราช 45ปี วนั อาสาฬหบชู า ตรงกบั วนั ข้นึ 15 ค่ําเดือน 8 เปน็ วนั ทม่ี ีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเปน็ องค์รตั นตรัยคร้งั แรกในโลก ซ่ึงพระสงฆ์องค์แรกคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และปฐมเทศนา ท่ีทรงแสดงคือ ธรรมจักกัปวัตนสูตร หมายถึง พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป น่ันคือ ธรรมะของพระพุทธองคเ์ หมือนวงลอ้ ธรรมท่ไี ดเ้ ริ่มเคล่ือนแล้วจากจุดเริม่ ต้นในวันนี้ กิจกรรมวนั อาสาฬหบชู า พิธีกรรมท่ีชาวหัวดงกระทําในวันนี้ คือ ทําบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟ๎งพระธรรมเทศนา สวดมนต์ และเวียนเทียนช่วงหัวคํ่า ดังน้ันในวันน้ีจึงถือว่า พุทธศาสนิกชนชาวหัวดง ควรได้รับ ประโยชน์ที่เป็นสาระสําคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสํารวจตนว่า ชีวิต เราได้เจริญงอกงามข้ึนด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิตน้ีบ้างแล้วเพียงใด เรายังดําเนิน ชีวิตอยอู่ ยา่ งลุ่มหลงมัวเมา หรือมจี ติ ใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด ภาพที่ 107-109 กจิ กรรมวันอาสาฬหบชู า หมู่ท่ี 7 บ้านหัวดง

187 1.14 ประเพณีหล่อเทียนพรรษา (กอ่ นเขา้ พรรษา) ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีท่ีชาวหัวดงกระทํากันเม่ือใกล้ถึงฤดู เข้าพรรษาซ่ึงเป็นช่วงเวลาท่ี พระภิกษุจะต้องอยู่ประจําวัดตลอด 3 เดือนมาต้ังแต่โบราณกาล การ หล่อเทียนเข้าพรรษาน้ีมีอยู่เป็นประจํา ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษาน้ี พระภิกษุจะต้องมีการสวด มนต์ทําวตั รทุกเชา้ เย็นและในการนีจ้ ะตอ้ งมีธปู เทยี นจุดบชู าด้วย พุทธศาสนิกชนท้งั หลาย จึงพร้อมใจ กันหล่อเทียนเข้าพรรษาสําหรับให้พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพ่ิมพูนป๎ญญาหูตาสว่างไสว ชาวบ้านหัวดงทําการหล่อเทียนพรรษา โดยที่วดั จะจัดงานหล่อเทียนพรรษา และงานกราบนมัสการหลวงพอ่ ศกั ดิส์ ิทธิ์ท่วี ดั เม่ือหล่อเสร็จแล้ว ก็นําไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน และจะมีการร่วมกันทําบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เปน็ การร่วมกศุ ลกันในหม่บู า้ น ภาพที่ 110 เทยี นพรรษาตําบลหัวดง ภาพที่ 111 เทยี นพรรษาตาํ บลหวั ดง

188 1.15 ประเพณถี วายเทียนพรรษา (กอ่ นเข้าพรรษา) อานิสงส์ของการถวายเทียนพรรษาการถวายเทียนพรรษานี้เป็นประเพณีท่ีทําสืบ ๆ กันมาเป็นเวลาช้านานเมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา ภิกษุสงฆ์ต้องจําพรรษาในวัดของตนเป็นเวลา 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวหัวดง จึงได้จัดทําให้เป็นกุศลพิธีข้ึนและได้นําเทียนไปถวายพระสงฆ์ก่อนวัน เข้าพรรษา พระสงฆ์ท่านก็จะได้นําไปจุดบูชาต่อหน้าพระประธานในพระอุโบสถ ทั้งนี้ผู้ถวายเทียน พรรษาย่อมได้รับอานิสงค์ คือ ทําให้เกิดป๎ญญา ท้ังชาติน้ีและชาติหน้า เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่ง เทียน ทําให้สว่างไสวรุ่งเรือง ผู้ถวายย่อมทําให้มีความรุ่งเรืองด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ ทําให้คล่ีคลาย เรื่องราวต่างๆ ที่มีป๎ญหาให้ร้ายกลายเป็นดี เจริญไปด้วยมิตรบริวาร ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ และ เทวดาทั้งหลาย เม่ือจากโลกน้ีไปย่อมมีกายทิพย์อันสว่างไสวเมื่อลาลับโลกน้ีไปย่อมไปสู่สุคติสวรรค์ หากบารมีมากพอ ย่อมทาํ ใหเ้ กิดดวงตาจกั ษุ คอื ปญ๎ ญารู้แจง้ เขา้ ส่พู ระนิพพาน ภาพที่ 112 ประเพณีถวายเทียนพรรษา (ก่อนเขา้ พรรษา) 1.16 ประเพณถี วายผา้ อาบนา้ ฝน (กอ่ นเขา้ พรรษา) ผ้าอาบน้ําฝน หรือ ผ้าวัสสิกสาฏก คือผ้าเปล่ียนสําหรับสรงนํ้าฝนของพระสงฆ์ เป็น ผ้าลักษณะเดียวกับผ้าสบง โดยปรกติเคร่ืองใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจําตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองนํ้า และมีดโกน แต่ ช่วงหน้าฝนของการจําพรรษาในสมัยก่อนน้ัน พระสงฆ์ที่มีเพียงสบงผืนเดียวจะอาบนํ้าฝนจําเป็นต้อง เปลือยกาย ทําให้ดูไม่งามและเหมือนนักบวชนอกศาสนา นางวิสาขามหาอุบาสิกาจึงคิดถวาย \"ผ้าวัส สกิ สาฏก\" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ําฝน เพ่ือให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปล่ียนกับผ้าสบงปกติ จน เป็นประเพณีทําบุญสืบต่อกันมาจนถึงป๎จจุบัน โดยปรากฏสาเหตุความเป็นมาของการถวายผ้าอาบ น้าํ ฝนในพระไตรปิฎกดังนี้ \"ด้วยอานิสงส์ที่ถวายผ้าอาบน้ําฝน จะเป็นผูท้ ี่ไม่ยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์ มที รัพยส์ นิ มากมาย ในชาติตอ่ ๆ ไปจนถึงพระนิพพาน และจะได้พบพระศาสนาพระศรอี ริยเมตไตรย์เป็นตน้ ”ชาวหัวดงได้ ปฏบิ ัติเป็นประเพณมี าตลอดสู่ร่นุ ลกู หลานตราบนานเท่านาน

189 ภาพท่ี 113 การถวายผ้าอาบน้ําฝน (ก่อนเขา้ พรรษา) 1.17 ประเพณีวนั เข้าพรรษา ความสําคัญและประโยชนข์ องการเข้าพรรษา 1. ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทําไร่นา ดังน้ันการ กําหนดให้ภิกษุสงฆห์ ยดุ การเดินทางจารกิ ไปในสถานท่ตี า่ งๆ ก็จะช่วยให้พันธ์ุพืชของต้นกล้า หรือสัตว์ เลก็ สัตว์นอ้ ย ไมไ่ ดร้ บั ความเสยี หายจากการเดินธุดงค์ 2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8-9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นชว่ งที่ให้พระภกิ ษสุ งฆไ์ ดห้ ยุดพักผ่อน 3. เป็นเวลาท่ีพระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสําหรับตนเอง และศึกษาเล่า เรยี นพระธรรมวนิ ยั ตลอดจนเตรียมการสง่ั สอนใหก้ บั ประชาชนเมอ่ื ถงึ วันออกพรรษา 4. เพ่ือจะได้มีโอกาสอบรมส่ังสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็น กําลงั สาํ คัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป 5. เพ่ือให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบําเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทําบุญตัก บาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ําฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุป๎จจัยไทยธรรม งดเว้น อบายมุข และมโี อกาสได้ฟ๎งพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

190 ภาพที่ 114 ประเพณีวันเขา้ พรรษา 1.18 ประเพณีสารทจนี (ข้นึ 15 คา่ เดือน 9) ลกั ษณะความเชื่อ ชาวจีนชาวหัวดงมีความเชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไป แลว้ ในเดอื นนป้ี ระตูนรกจะเปิด วิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วจะได้กลับมาเยือนโลกมนุษย์เพื่อ มาเยี่ยมครอบครัวของตน ลูกหลานจึงต้อนรับบรรพบุรุษ ในวันน้ีชาวหัวดงเช้ือสายจีนจะทําพิธีเซ่น ไหว้บรรพบุรุษกันทุกครัวเรือนถ้าหากลูกหลานไม่ได้เซ่นไหว้ ผีบรรพชนก็จะร่อนติดอยู่บนโลกมนุษย์ กลับไปเมืองผีไม่ได้ต้องรอไปอีกหนึ่งปี เม่ือมีการเซ่นไหว้จึงจะกลับไปเมืองผีได้ ชาวหัวดงเช้ือสายจีน จึงจัดพิธีไหว้เจ้าท่ีในตอนเช้า ตอนสายจะไหว้บรรพบุรุษ และตอนบ่ายจะไหว้ผี หรือวิญญาณพเนจร ซ่ึงไม่มีลูกหลานกราบไหว้ ของไหว้จะประกอบด้วยอาหารคาวหวาน ของไหว้ที่ขาดไม่ได้คือขนมเข่ง และขนมเทยี น นอกนั้นเป็นผลไม้ น้าํ ชาหรือเหลา้ และมกี ารเผากระดาษเงินกระดาษทองดว้ ย ความสําคัญสารทจีนเป็นเทศกาลท่ีลูกหลานแสดงความกตัญํูต่อบรรพบุรุษซ่ึงล่วงลับไป แล้ว ยังเป็นประเพณีท่ีมีกุศโลบายในการสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัวชาวหัวดงมาทํากิจกรรม รว่ มกนั อยา่ งพรอ้ มหนา้ และมีความสุข พิธีกรรมก่อนถึงวันสารทจีน จะทําความสะอาดจัดหิ้งบรรพชน รูปภาพให้สวยงาม เปล่ียน เครอ่ื งบูชาทชี่ าํ รดุ และจดั เตรยี มซอ้ื เครื่องเซน่ ไหว้ให้พร้อม ทัง้ 3 ชดุ 1. ชุดสําหรับไหว้เจ้าท่ีจะไหว้ในตอนเช้า มีอาหารคาวหวานกุยช่าย ส่วนขนมไหว้พิเศษท่ี ต้องมีซ่ึงเป็นประเพณีของสารทจีนคือขนมเทียน ขนมเข่ง ซ่ึงต้องแต้มจุดสีแดงไว้ตรงกลาง เน่ืองจาก ชาวจีนมีความเช่ือท่ีว่าสีแดงเป็นสีแห่งความเป็นศิริมงคล นอกจากน้ันก็มีผลไม้ นํ้าชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงินกระดาษทอง 2. ชุดสําหรับไหว้บรรพบุรุษคล้ายของไหว้เจ้าที่พร้อมด้วยกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ ตาม ธรรมเนียมต้องมีนํ้าแกงหรือขนมนํ้าใส ๆวางข้างชามข้าวสวย และนํ้าชาจัดชุดตามจํานวนของบรรพ บุรษุ ขาดไมไ่ ดก้ ค็ ือขนมเทยี น ขนมเขง่ ผลไม้และกระดาษเงินกระดาษทอง

191 3. ชุดสําหรับไหว้สัมภเวสีวิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ เรียกว่า สัมภเวสี หรือ ไปฺฮ๊อเฮียตี๋ แปลว่า ไหว้พ่ีน้องที่ดี เป็นการสะท้อนความสุภาพและให้เกียรติของคนจีน เรียกผีไม่มี ญาติว่าพี่น้องท่ีดีของเรา โดยการไหว้จะไหว้นอกบ้านของไหว้จะมีทั้งของคาวหวานและผลไม้ตาม ต้องการและท่ีพิเศษคือมีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอป่ึง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเส้ียวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อ ใหญ่ เหล้า น้ําชา และกระดาษเงนิ กระดาษทองจัดทุกอย่างวางอยู่ดว้ ยกนั สําหรับเซ่นไหว้ ภาพที่ 115 ประเพณีสารทจนี ภาพที่ 116 ประเพณีสารทจนี สําหรบั พี่น้องชาวหวั ดงเช้ือสายจีนจะทําการไหว้บรรพบุรุษตามประเพณี ถึงแม้ไปอยู่ท่ีต่าง ถน่ิ กย็ งั ปฏิบัติตามประเพณีอยู่ คนหัวดงบางท่านเป็นคนกินง่ายอยู่ง่าย จึงนิยมไหว้เป็นผลไม้ ทุกชนิด ยกเว้น ละมดุ มังคดุ เงาะ เป็นต้น

192 ภาพท่ี 117 พธิ บี วงสรวงเรอื วัดหวั ดง 1.19 ประเพณีแขง่ ขนั เรอื ยาววัดหัวดง (เดือนสิงหาคม) พิธีการบวงสรวงแม่ย่านางเรือของวัดหัวดง ประเพณีพิธีบวงสรวงแม่ย่านางเรือ ตาม ประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเกือบ 100 ปี เพ่ือเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างขวัญกําลังใจ ใหแ้ ก่ฝีพายเรอื ก่อนถึงวันแขง่ ขันเรอื ยาวชงิ ถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ลําน้ํา น่าน หน้าวัดท่าหลวง ชาวบ้าน ฝพี ายเรือหลายลาํ เชน่ เรอื ไกรทอง เรือเจ้าแม่ประดู่เงิน เรือเจ้าแม่ประดู่ทอง เรือ ขมิ้นทอง เรือหมื่นสุวรรณ ร่วมบวงสรวงแม่ย่านางเรือบริเวณลานหน้าวัดหัวดง ริมแม่นํ้าน่าน ต่างต้ัง จติ อธษิ ฐานขอให้การแขง่ ขันมีชัยชนะ เพ่ือเป็นการสร้างช่ือเสียงให้กับหมู่บ้านของตน เพราะเรือในแต่ ละลําฝพี ายลว้ นเปน็ ชายหน่มุ ของคนในหม่บู า้ น และหลงั จากเสรจ็ สิน้ พิธบี วงสรวง ภาพท่ี 118 พธิ บี วงสรวงเรือวดั หวั ดง

193 ภาพที่ 119 พิธบี วงสรวงเรือวัดหวั ดง บรรดาฝพี ายเรอื แตล่ ะลําก็ไดน้ ําเรอื ลงนาํ้ นา่ นเพอื่ ทาํ การพายฝกึ ซ้อมโดยมีเปูาหมายเพ่ือชิง ถ้วยพระราชทาน วันที่ 12 สิงหาคม 2561 ที่บริเวณลานหน้า วัดหัวดง ตําบลหัวดง อําเภอเมือง จังหวัด พิจติ ร นายชาติชาย เจยี มศรีพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร นายมนูญดิษเสถียร นายก องค์การบรหิ ารส่วนตําบลหัวดง ร่วมประกอบพิธีบวงสรวงแม่ย่านางเรือทุกลํา และพิธีเจริญพระพุทธ มนต์งานพิธบี วงสรวงแม่ย่านางเรือยาวฯ ซ่งึ เป็นประเพณเี กา่ แก่ท่ีบรรพบุรุษปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่าง ยาวนานเพ่ือความเป็นสิริมงคลและเป็นการสร้างขวัญและกําลังใจให้กับชาวเรือในงานประเพณี แข่งขันเรือยาววัดหัวดง อําเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ิ พระบรมราชินนี าถในพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู ิพลอดุลยเดชรัชกาลท่ี 9 พิธีกรรมพธิ บี วงสรวงแมย่ า่ นางเรือน้ัน เทือกเรอื ยาวจะนําเรือที่จะใช้ในการแข่งขัน มาเรียง กัน จากนั้นนําเคร่ืองบวงสรวง ประกอบไปด้วยอาหารเครื่องคาวหวาน ดอกไม้ ธูปเทียน น้ําหอม พวงมาลัย รวมทั้งส่ิงศักดิ์สิทธ์ิต่างๆ นําสายสินมาผูกกับเรือแล้วนํามาท่ีโต๊ะเครื่องเซ่นไหว้แม่ย่านาง พราหมณ์หรือตัวแทนท้องถ่ิน (ปราชญ์ท่ีมีความรู้เกี่ยวการบวงสรวงเรือ) จะประกอบพิธีตามตําหรับ ประเพณีโบราณ เพอื่ ให้เรือเกิดความเข้มขลงั ตามความเชื่อ โดยมีฝีพายเรือ และชาวบ้านท่ีมาร่วมพิธี ก็กนั อยา่ งพรอ้ มเพรยี ง

194 1.20 งานปดิ ทองไหว้พระแข่งเรอื ยาวประเพณวี ดั หัวดง ภาพท่ี 120 กจิ รรมขบวนแห่ถ้วยพระราชทานสมเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ิตติ์ ในพระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดชรชั กาลที่ 9 ภาพท่ี 121 กจิ รรมขบวนแห่ถว้ ยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ิตต์ิ ในพระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชรัชกาลท่ี 9

195 ภาพท่ี 122 กจิ รรมขบวนแห่ถว้ ยพระราชทานสมเดจ็ พระนางเจา้ สริ ิกติ ต์ิ ในพระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู ิพลอดลุ ยเดชรชั กาลที่ 9 ภาพท่ี 123 ข้าวต้มคบท่ใี หญ่ทีส่ ดุ ในตําบลหัวดง ภาพท่ี 124-125 พธิ เี ปิดการแข่งขันเรือยาวประเพณชี งิ ถ้วยพระราชทาน สมเดจ็ พระนางเจ้าสิริกติ ติ์ ในพระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู ิพลอดุลยเดช รัชกาลท่ี 9

196 ภาพท่ี 126-127 พิธเี ปดิ การแข่งขันเรือยาวประเพณีชงิ ถ้วยพระราชทาน ฯ สําหรับงานประเพณีปิดทองไหว้พระ และแข่งขันเรือยาวชาวหัวดงเป็นประเพณีท่ีสืบสาน กนั มานานนับร้อยปี สําหรบั กว่าสบิ ปีน้ีไดร้ บั พระราชทานถว้ ยรางวัลจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ ใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 เป็นรางวัลชนะเลิศสําหรับการแข่งขัน เรือยาววัดหัวดง อ.เมอื ง จ.พิจิตร ซ่งึ เปน็ สนามแขง่ ขนั เรอื ยาวที่ยง่ิ ใหญส่ นามหนึง่ ของจังหวดั พจิ ิตร ในปีนี้จัดระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม ถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2561 ซ่ึงกิจกรรมภายในงานมี การจัดให้มีตลาดวัฒนธรรมวิถีชุมชนตําบลหัวดง มีการจัดประกวดการทําข้าวต้มคบ หรือข้าวต้มมัด ภายในชุมชนตําบลหัวดง อําเภอเมือง จังหวัดพิจิตร นายวินัย ภัทรประสิทธ์ิ อดีต ส.ส.จังหวัดพิจิตร นายพีระโรจน์ ภัทรประสิทธิ์ นายกเทศมนตรีตําบลหัวดง นายมนูญดิษเสถียร นายกองค์การบริหาร ส่วนตําบลหัวดง ร่วมประกอบพิธีเปิดงานประเพณีปิดทองไหว้พระ และแข่งขันเรือยาวประเพณีชิง ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลท่ี 9 1.22 ประเพณีทําบญุ วันสารทพวน ลักษณะความเช่ือสารทพวนถือได้ว่าเป็นงานบุญใหญ่ที่สําคัญงานหนึ่งในรอบปีของ คนพวน จัดข้ึนเพ่ือทําบุญรําลึกถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ท่ีบ้านเนินยาว ตําบลหัวดง อําเภอเมืองพิจิตร จงั หวัดพจิ ิตร เปน็ ชมุ ชนคนลาวพวน คนลาวอีสาน มกี ารสืบทอดประเพณีสารทพวนข้ึนเป็นประจําทุก ปีในวันสิ้นเดือน 9 (แรม 14 คํ่า เดือน 9)มีความเชื่อว่าเดือนเก้าเป็นช่วงเดือนท่ีผู้ล่วงลับไปแล้วจะ ได้รับการปลดปลอ่ ยออกมาทอ่ งเทยี่ วไดก้ ารทาํ บญุ ในชว่ งก่อนพระอาทิตย์ขึ้นน้ี บรรพบุรุษ ญาติพี่น้อง จะได้มารับสว่ นบญุ ทจ่ี ะทําใหพ้ น้ ทกุ ข์ไดเ้ ร็วข้นึ ความสําคัญสร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน มีการถ่ายทอดเรื่องคุณธรรมในการสอน ลูกหลานให้มีความกตัญํูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ และให้ทําความดีเพ่ือเป็นสิริมงคลต่อตนเองและ ครอบครัว พิธีกรรมประเพณีวันสารทพวน ตรงกบั เดือน 9 สน้ิ เดือน (แรม 14 คํ่า เดือน 9)เป็นช่วงท่ี ชาวบ้านได้ทําการป๎กดําข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว คนเชื้อสายพวนในหมู่บ้านเนินยาว จะเตรียมจัด อาหารใส่ปิ่นโต เป็นสองชุด ชุดแรกจะมาทําบุญให้กับบรรพบุรุษ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร โดย จะมาทําก่อนพระอาทิตย์ข้ึน และชุดท่ีสองจะเตรียมมาทําบุญตักบาตรกันในตอนเช้าตามปกติ ชาวบ้านจะมารวมกันท่ีวัดและนําอาหารมาทําบุญท่ีวัดเนินยาว อาหารท่ีขาดไม่ได้ คือขนมกระยา

197 สารท เดิมชาวบ้านจะรวมกลุ่มกับเพื่อนบ้านญาติพี่น้อง ทําขนมกระยาสารทกัน แต่ป๎จจุบัน มีกลุ่ม แม่บ้านได้ทําขนมกระยาสารทไว้เพ่ือการจําหน่ายในเทศกาลทําบุญวันสารท และเป็นของฝากให้กับ ญาตผิ ใู้ หญ่ ญาติพ่ีน้อง มิตรสหายที่อยู่ต่างจังหวัดนอกจากนั้นก็ยังมีผลไม้ เช่น กล้วยไข่ กล้วยน้ําว้า สม้ ผลไม้ชนดิ ตา่ ง ๆ ขนมหวานอน่ื ๆ กับข้าวทีท่ ําอย่างประณตี สําหรับทาํ บุญ 1.23 ประเพณสี ารทลาว ลักษณะความเชื่อเช่อื กันวา่ บรรพบรุ ษุ ปูุ ย่า ตา ยาย และญาติพ่ีน้องที่ล่วงลับไปแล้ว หากทําความดไี วเ้ ม่ือคร้ังยังมชี ีวติ อยู่ จะไดไ้ ปเกดิ ในภพภูมิท่ีดี แต่หากทําความช่ัวจะตกนรกกลายเป็น เปรต ต้องทกุ ขท์ รมานในอเวจี ตอ้ งอาศัยผลบญุ ท่ลี ูกหลานอุทิศกุศลไปให้ในแต่ละปีมายังชีพ ดังน้ันใน วันแรม 1 ค่าํ เดือน 10 คนบาปท้ังหลายที่เรยี กว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์ เพ่ือมาขอ สว่ นบญุ จากลูกหลาน แลว้ จะกลบั ไปนรกในวันแรม 15 คํ่า เดือน 10ซ่ึงถือเป็นคติและเช่ือสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องท่ียังมีชีวิตอยู่ ดังน้ัน จึงมีการ ทําบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันน้ีและเชื่อว่า หากทําบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วน บุญได้เต็มท่ีและมีโอกาสหมดหน้ีกรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข อีกประการหน่ึงสังคมไทยเป็น สงั คมเกษตรกรรม ทํานาเป็นอาชีพหลักในชว่ งเดอื น 10 นี้ แมโ่ พสพจะตงั้ ทอ้ ง กจ็ ะนําอาหารท่ีทําบุญ ใส่ชะลอมเลก็ (ผลไม้ ขนมกระยาสารท ) ไปปก๎ ไวท้ ี่นา ความสําคัญลูกหลานที่ไปประกอบอาชีพต่างจังหวัดจะกลับมาทําบุญเพ่ืออุทิศส่วนกุศล ให้กับ ปูุ ย่า ตา ยาย ผมู้ พี ระคุณ เป็นการแสดงความกตัญํูแก่บรรพบุรุษ ถือเป็นอีกวันหนึ่งท่ีบรรดา ลูกหลานญาติพนี่ อ้ งจะมารวมกนั มีการเอื้อเฟ้อื แบ่งปน๎ ขนมกระยาสารทเป็นของฝากให้กับเพื่อนบ้าน และญาติพ่ีน้อง และเป็นการแสดงความกตัญํูต่อแม่โพสพ หรือผีไร่ ผีนา ท่ีช่วยรักษาข้าวกล้าในนา ให้เจรญิ งอกงาม พิธีกรรมในเดือน 10 ข้ึน 15 คํ่าของทุกปี อันเป็นประเพณีวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของ หมู่บ้าน ซ่ึงจะมีการกวนกระยาสารทและจัดหาผลไม้ ประกอบพิธีบุญตามประเพณี ชาวบ้านแต่ละ คนจะเตรียมอาหารใส่ปิ่นโต ห่ออาหารคาว (ขนมจีนนํ้ายา) อาหารหวาน (กระยาสารท) พริก หอม กระเทียม ด้วยใบตอง (เพ่ือทีจ่ ะสง่ ให้บรรพบุรษุ ทลี่ ว่ งลับไปแลว้ ) จะกระทําตอนช่วงพระฉันภัตตาหาร แต่ละคนจะนําห่ออาหารมาบริเวณกลางแจ้งด้านล่างบริเวณหลังอุโบสถ ผู้นําจะกล่าวเวรพาข้าว นํา และทุกคนจะกล่าวตามผู้นํา และจะเอ่ยชื่อผู้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วให้มารับส่วนบุญและอาหารท่ี เตรียมส่งไปให้ ส่วนขนมท่ีเป็นกระยาสารทยังเป็นของฝากนําไปไหว้ญาติผู้ใหญ่ท่ีอยู่ห่างไกลนับได้ว่า เป็นงานบุญประเพณีมีจุดมุ่งหมายสําคัญเพ่ือเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชน และญาติท่ีล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรกที่ตนต้องจองจําอยู่เนื่องจากผลกรรมท่ีตนได้เคย ทําไว้ตอนท่ียังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ําเดือน 10เพื่อมายังโลกมนุษย์ โดยมีจดุ ประสงค์ในการมาขอสว่ นบญุ จากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดง ความกตัญํกู ตเวทตี อ่ ผ้ลู ่วงลับ หลังจากน้ันก็จะกลับไปยงั นรก ในวันแรม 15 คา่ํ เดือน 10

198 1.24 ประเพณีสารทไทย ภาพที่ 128-129 วนั สารทไทย ลักษณะความเช่อื เชอื่ กันว่า บรรพบุรุษปูุ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้องท่ีล่วงลับไปแล้ว จะมี โอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพ่ีน้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังน้ัน จึงมีการทําบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ ญาติในวันนี้และเชื่อว่า หากทําบุญในวันน้ีไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มท่ีและมีโอกาส หมดหน้ีกรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข อีกประการหน่ึงสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทํานา เป็นอาชีพหลักในช่วงเดือน 10 นี้ แม่โพสพจะต้ังท้อง ก็จะนําอาหารที่ทําบุญใส่ชะลอมเล็ก (ผลไม้ ขนมกระยาสารท ) ไปปก๎ ไว้ท่ีนาเป็นการแสดงความกตัญํูตอ่ พระแม่โพสพ ท่ชี ว่ ยรักษาข้าวกล้าในนา ให้เจรญิ งอกงามดี เนอ่ื งจากสงั คมเราเป็นสังคมเกษตรกรรม การทํานาเป็นอาชีพหลัก ในช่วงเดือน 10 นี้ ข้าวกล้ากําลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทําบุญเพื่อเล้ียงขอบคุณตอบ แทน ความสําคัญเป็นการแสดงความเคารพ แก่ผู้หลักผู้ใหญ่เป็นการกระทําจิตใจของตนเองให้ สะอาดหมดจด ไมต่ กอยใู่ นอาํ นาจแห่งความโลภ ขจดั ความตระหน่ไี ด้ เป็นการบํารุง หรือจรรโลง พระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไปลูกหลานท่ีไปประกอบอาชีพต่างจังหวัดจะกลับมาทําบุญเพ่ืออุทิศส่วน กุศลให้กับ ปูุ ย่า ตา ยาย ผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงความกตัญํูแก่บรรพบุรุษ ถือเป็นอีกวันหนึ่งท่ี บรรดาลกู หลานญาติพน่ี ้องจะมารวมกัน พิธีกรรมในเดือน 10 ข้ึน 15 คํ่าของทุกปี อันเป็นประเพณีวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของ หมู่บ้าน ซึ่งจะมีการกวนกระยาสารท ชาวบ้านจะนําเอาพืชผลทางการเกษตรที่ผลิตได้มาร่วมกันทํา กระยาสารท ได้แก่ ข้าวเม่า ข้าวตอก ถั่วงา นํ้าตาล น้ําผ้ึง มาร่วมกันกวน หลังจากน้ันจึงนําถวาย พระสงฆ์และผูม้ าร่วมงานตามลําดับ ประกอบพิธีบุญตามประเพณี ชาวบ้านแต่ละคนจะเตรียมอาหารใส่ปิ่นโต ใส่ข้าวและ อาหารคาว เช่นขนมจีนน้ํายา อาหารหวาน (กระยาสารท) และจัดหาผลไม้ (กล้วยไข่) โดยมี จุดมุ่งหมายสําคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษและญาติที่ล่วงลับ ซ่ึง ได้รบั การปลอ่ ยตวั มาจากนรกที่ตนต้องจองจาํ อยเู่ น่อื งจากผลกรรมทต่ี นได้เคยทาํ ไวต้ อนท่ียังมีชีวิตอยู่

199 ภาพท่ี 130-131 การทําขนมกระยาสารท 1.25 ประเพณอี อกพรรษา วันออกพรรษา ตรงกับวันข้ึน 15 คํ่าเดือน 11 เป็นวันท่ีพระภิกษุพ้นข้อกําหนดทาง วินยั ทีจ่ ะอยจู่ าํ พรรษา นับตง้ั แตว่ ันเข้าพรรษาเป็นต้นมา และสามารถจาริกไปค้างแรมที่อ่ืนได้ ซ่ึงจะมี ประเพณีท่ีเกี่ยวข้อง คือ การตักบาตรเทโวโร คือวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน ซึ่งชุมชนชาวหัวดง มักจะตักบาตรในวันน้ี ด้วยนิยมว่าเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดาอยู่ 3 เดือน และถัดจากออกพรรษา 1 เดือน ถือเป็น เทศกาลกฐิน ที่จะทําบุญถวายผ้ากฐินตามวัดต่าง ๆ เม่ือเทศกาลเข้าพรรษาได้ผ่านพ้นไปถึง 3 เดือน ก็จะเป็น ช่วงเวลาของ \"วนั ออกพรรษา\" ซ่งึ ถอื เปน็ การสนิ้ สุดระยะการจําพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจําที่ วัดในช่วงฤดูฝนตลอด 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดย วันออกพรรษา ตรงกับวันข้ึน 15 คํ่า เดือน 11 ของทุกปี ซงึ่ เรยี กอีกอย่างวา่ \"วนั มหาปวารนา\" คาํ วา่ \"ปวารนา\" นน้ั แปลว่า อนุญาตหรือยอมให้ กิจกรรมต่าง ๆ วันออกพรรษาชาวบ้านหัวดงทําบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ ล่วงลับถวายผ้าจํานําพรรษา ฟ๎งพระธรรมเทศนา รักษาศีล ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือจัด ดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาที่วัด และฟ๎งพระธรรมเทศนาป๎ดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด การถวายผ้าจํานําพรรษา หมายถึง ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุผู้อยู่จําพรรษาครบสามเดือน การ ถวายผ้าดังกล่าวเป็นการสงเคราะห์ภิกษุ ที่ต้องการจีวรใหม่มาผลัดเปล่ียนของเก่าในระหว่าง เข้าพรรษา โดยการถวายผา้ จํานําพรรษาน้ี ชาวบ้านนิยมทํากันมาตั้งแตอ่ ดตี จนถึงป๎จจุบนั ภาพที่ 132-133 ประเพณวี ันออกพรรษา

200 1.26 ประเพณีตกั บาตรเทโว (ตุลาคม) ชว่ งเวลา 1 วัน ในวนั แรม 1 ค่าํ เดือน 11 (วันออกพรรษา) ความสําคัญงานตักบาตรเทโว เป็นงานประเพณีท่ีชาวบ้านหัวดงยึดถือปฏิบัติกันมา ต้ังแต่คร้ังบรรพบุรุษ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ชาวบ้านทุกคนภูมิใจกันมาก เพราะเป็นการจัดงานตัก บาตรเทโว ที่มีความสอดคล้องกับพุทธตํานานมากที่สุด กล่าวคือ ในสมัยพุทธกาล เมื่อสมเด็จพระ สมั มาสัมพทุ ธเจา้ บรมศาสดาได้เสด็จขึ้นไปแสดงธรรมโปรดพุทธมารดายังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา ๓ เดอื นเต็ม จนกระทั่งพระพุทธมารดาได้บรรลุ ซ่ึงพระอริยมรรค อริยผล เป็นพระอรหันต์ภูมิแล้วจึง เสดจ็ จากสวรรคช์ ั้นดาวดึงสล์ งมาสู่โลกมนษุ ย์ ซ่ึงพระอินทร์ได้ให้พระวิศณุกรรมเนรมิตบันไดแก้วทอด ให้พระพุทธองค์เสด็จโดยมีบันไดทองเบ้ืองซ้ายและบันไดเงินเบื้องขวาสําหรับ หมู่ เทพยดา พระ อินทร์และพระพรหม ทอดลงมาสู่มนุษยภูมิท่ีมีสังกัสนคร วันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลง มาสู่โลกมนุษย์น้ัน เรียกว่า \"วันเทโวโรหณะ\" ซึ่งจะมีพระอรหันต์พร้อมด้วยสาธุชนมารอรับเสด็จพระ สมั มาสมั พทุ ธเจา้ เพ่อื การใส่บาตรอย่างมากมายขน้ึ ทีบ่ รเิ วณนั้น พิธีกรรมโดยเร่ิมงานตง้ั แต่เชา้ ตรู่ จะมีภิกษุสงฆ์ เดินตามขบวนแห่ พระพุทธรปู ปางเสด็จ จากดาวดึงส์ลงมาตามบนั ไดลงจากโบสถ์ชาวบ้านรอใส่บาตรข้าวสารอาหาร และขา้ วตม้ มดั ขา้ วต้ม มัดลูกโยนกันอย่างเน่ืองแน่นเมือ่ ใส่บาตรเสร็จมีการทําบุญถวายข้าวพระต่อ เมื่อเสร็จพิธี ชาวบ้านจะ นาํ ดอกไม้ ธปู เทียน ข้าวต้มมัดกลับบา้ นไปทําพธิ รี ับขวญั ข้าวท่นี าต่อไป ภาพท่ี 134 ประเพณตี กั บาตรเทโววัดหัวดง

201 ภาพที่ 135 ประเพณีตักบาตรเทโววัดหัวดง ภาพท่ี 136 พธิ ีตักบาตรเทโววัดเขาพระ 1.27 ประเพณีแหพ่ ระอปุ คตุ ประเพณีแหข่ า้ วพนั ก้อน ประเพณกี ารฟังเทศนม์ หาชาติ (ตลุ าคม) ประเพณีแห่พระอุปคตุ (ชาวลาว) จาํ ทําพธิ กี รรมหลงั ออกพรรษาไม่เกนิ วัน 7 ค่ํา ณ วัดเนิน ยาวชาวบ้านจะช่วยกันตกแต่งสถานท่ีที่จะทําพิธีเทศน์คาถาพันก่อนจะมีงานอย่างน้อย 1 วัน การ ตกแต่งสถานที่ท่ีสําคัญคือ จะนําต้นโสนมาย้อมสีแล้วทําดอกไม้ประดับประดาอย่างสวยงาม จัดทํา เทียน 2 เล่ม แบบตามประเพณีโบราณใช้ในพิธีเทศน์คาถาพัน ซ่ึงจะจัดในช่วงบ่าย ของวันถัดไปงาน เทศน์คาถาพัน (เทศน์พระเวสสันดรภาษาบาลี) และจะกระทําในช่วงบ่าย ตามประเพณีต้องอัญเชิญ พระอปุ คตุ มาเพอื่ ปอู งกนั ภัยอันตราย ปูองกนั ภตู ผี ปศี าจและส่ิงไม่ดีต่างๆ ในการสวดคาถาพันในครั้ง น้ี ปกติแล้วถอื กนั ว่าพระอุปคุตนนั้ อย่ใู นเมอื งบาดาล ดงั นน้ั จะต้องอัญเชิญพระอุปคุตข้ึนจากน้ําจึงต้อง ทําพิธที ่ีขอบบอ่ นาํ้ ของหม่บู า้ นแล้วทําพธิ แี ห่มาประดิษฐานในพธิ สี วดคาถาพัน

202 จัดเตรียมบาตรพระ ผ้าไตร ร่ม ไปอัญเชิญพระอุปคุตท่านมาจากปากบ่อนํ้า นิมนต์มาทํา พิธีสวดบอกกล่าว แล้วอัญเชิญท่านข้ึนจากนํ้า ขอบารมีท่านมาคุ้มครองปูองกันจากส่ิงท่ีไม่ดี และแห่ มาปรัมภ์พิธีเทศน์คาถาพัน ต่อจากนน้ั ทางวัดจะเรม่ิ เทศนค์ าพนั ในชว่ งบา่ ย เสรจ็ พิธเี ย็นพระเจริญพุทธ มนตเ์ ย็นตอ่ ไปเป็นเสรจ็ พธิ ี ภาพท่ี 137 พธิ ีแหพ่ ระอปุ คตุ บ้านเนินยาว หมู่ที่ 4 บ้านเนินยาว ภาพท่ี 138 พธิ แี ห่พระอปุ คตุ บา้ นเนนิ ยาว หมู่ท่ี 4 1.28 พิธีแหข่ า้ วพันกอ้ น พิธีกรรมวันรุ่งข้ึนประมาณตีส่ีชาวบ้านมาร่วมกันนึ่งข้าวเหนียวแล้วป้๎นเป็นก้อน เตรยี มไว้คนละจานหรือหลายจานได้ มาแห่ข้าวพนั กอ้ นกัน ต่อมาประมาณตีห้าร่วมกันทําวัดสวดมนต์ เช้า เร่ิมแห่ข้าวพันก้อนทําทักษิณา 3 รอบ บนศาลา ซ่ึงตามเสาศาลาจะติดกระเช้า ไว้เพื่อใส่ข้าว เหนียวที่ชาวบ้านแห่และใส่ก้อนข้าวเหนียวไว้ประมาณ 9 ใบ ประชาชนจะทําการแห่ข้าวเหนียวใส่ ชะลอม จาํ นวน 3 รอบ แลว้ สวดอิตปิ ิโสไปเร่อื ยๆจนเสร็จ

203 ภาพท่ี 139 พธิ ีแห่ขา้ วพันกอ้ นบ้านเนนิ ยาว หมู่ที่ 4 บา้ นเนนิ ยาว 1.29 ประเพณกี ารฟังเทศนม์ หาชาติ ความเชื่ออานิสงส์การฟ๎งเทศน์มหาชาติชาดกแต่ละกัณฑ์มหาชาติ หรือ มหา เวสสันดรชาดกมหาชาติเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรแล ะ เป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกับมหาชาติมา ตงั้ แต่สมัยสุโขทัย ดงั ทีป่ รากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวด มหาชาติคําหลวงในวันธรรมสวนะ ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีท่ีสําคัญในทุกท้องถิ่นและมี ความเชื่อกันวา่ การฟ๎งเทศนม์ หาชาติจบภายในวนั เดียวจะไดร้ ับอานิสงส์มาก อานิสงส์การฟ๎งเทศน์มหาชาติ การต้ังใจฟ๎งเทศนม์ หาชาติใหจ้ บเพยี งวันเดยี วครบบรบิ ูรณ์ ทัง้ 13 กณั ฑ์จะเป็นเหตุให้สาํ เร็จความปรารถนาทุกประการดังน้ี 1. เม่ือตายจากโลกน้ีแล้ว จะมีโอกาสได้พบพระพุทธเจ้า พระนามว่าศรีอริยเมตไตยใน อนาคต 2. เม่อื ดับขันธ์ไปเกดิ ในสคุ ตโิ ลกสวรรค์ จะเสวยทพิ ยสมบัตมิ โหฬาร 3. เมอื่ ตายไปแลว้ จะไมต่ กนรก 4. เม่อื ถงึ ยุคพระพทุ ธเจ้าพระนามวา่ ศรอี รยิ เมตไตย จะได้จตุ ไิ ปเกดิ เป็นมนุษย์ 5. ได้ฟ๎งธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธองค์ จะได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระ อริยบุคคล ในบวรพุทธศาสนา การฟง๎ เทศนม์ หาชาติวัดเนนิ ยาว หมู่ที่ 4 บา้ นหวั ดง ต่อจากแห่ข้าวพันก้อนเสร็จจะทําพิธีเทศน์สังกาส อีก 2 กัณฑ์ คือเร่ืองราวการเป็นมาของ พระเวสสันดร ตั้งแต่พระนางผุสดี มาถึงชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า เมื่อเทศน์เสร็จจะแจ้งพอดีตอน ในตอนเช้าชาวบา้ นจะมาทําบุญที่วัดอีกคร้ังเม่ือพระฉันท์ข้าวเสร็จจะเริ่มเทศน์มหาชาติต่อจนครบ 13 กัณฑ์ เทศน์กัณฑ์หลอน พระท่านไหนเทศน์ดีจะถูกนิมนต์มาเทศน์อีกครั้งน้ีชาวบ้านเป็นคน กาํ หนดเร่ืองที่จะเทศนเ์ อง ชาวบ้านก็จะเตรยี มเคร่ืองกณั เทศนก์ นั เองเชน่ กนั

204 พิธีแถมสมภาร พระองคไ์ หนเทศน์ดจี ะมีการเขย่าบาตรใหช้ าวบา้ นใส่เงนิ ทําบุญเพิ่ม จบแล้วมีการขอขมาพระรัตนไตร เก็บพระธรรม กัณฑ์ เทศน์ ใบลาน รวมกันเก็บให้ท่าน เจ้าอาวาส รับศีลรับพร เป็นเสร็จพิธี ชาวบ้านเก็บของที่ประดับประดา มีการโปรยเงินใครเก็บเงินได้ เหมือนไดแ้ ก้วสารพดั นึก เกบ็ เป็นตัวสัตวต์ า่ งๆ ทปี่ ระดับประดาในงาน น้ํามนต์ ไปพรมที่นาของตัวเอง เครื่องประดบั ไปไว้ท่ีบา้ นเพอ่ื เปน็ สิริมงคล ภาพที่ 140-143 พิธเี ทศน์มหาชาตวิ ัดเนินยาว 1.30 เทศน์มหาชาติ วัดหัวดง หมู่ 7 ตําบลหัวดง ก่อนจะมีการจัดงานเทศน์มหาชาติ ทางวัดจะ ประชาสมั พันธ์ก่อนล่วงหน้าและจะแจกกาํ หนดการในการเทศน์มหาชาติให้กับชาวบ้านรับทราบ ทั้งน้ี ไดจ้ ดั หาเจา้ ภาพในกณั ฑต์ ่าง ๆ ท้งั 13 กณั ฑ์ การจัดเตรียมสถานที่ทางวัดจะจัดตกแต่งเป็นปุาหิมพานต์มีต้นกล้วยพร้อมเครือกล้วยสุก กล้วยดิบ กล้วยน้ําว้า กล้วยไข่ กล้วยหักมุก ส้มโอ มะพร้าว ฟ๎กแก่ ฟ๎กอ่อน ฟ๎กทอง ต้นอ้อย มะม่วง สุก ดิบ สับปะรดผลไม้ในพื้นที่ และดอกไม้จัดแต่งเป็นปุาหิมพานต์จําลอง ประดับประดาด้วยธง ผ้า ยนั ต์ศักดิส์ ทิ ธิ์ เช่นผา้ ยนั ต์หลวงพอ่ เงิน หลวงพอ่ พิธเป็นตน้ พิธีจะเร่ิมเทศน์ตั้งแต่เช้าตรู่ ประมาณ 6.30 นาฬิกา กัณฑ์แรกคือกัณฑ์ทศพร ผู้เป็น เจ้าภาพก็จะนําเคร่ืองกัณฑ์มาเตรียมถวายและรอจุดเทียนกัณฑ์ในกัณฑ์ของตนในพิธี จนถึงกัณฑ์ สุดทา้ ยคือกัณฑ์ นครกณั ฑ์ จะแล้วเสรจ็ ในชว่ งเยน็ ๆ ประมาณ 16.30 นาฬิกา ของวันนั้น เมื่อเสร็จพิธี พระให้พรชาวบ้านเกบ็ ของเชน่ ผา้ ยณั ฑ์ต่าง ๆ ที่ประดับประดา ผลไม้ นํ้ามนต์ ไปบ้านของตนเพื่อเป็น สริ ิมงคลต่อตนเอง

205 ภาพท่ี 144-145 พธิ เี ทศนม์ หาชาติวดั หวั ดง 1.31 ประเพณีการทอดกฐนิ (เดือนตุลาคม) ภาพท่ี 146-147 การทอดกฐินของชมุ ชนตําบลหัวดง การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สําคัญของพุทธศาสนิกชนชาวหัวดงอย่างหนึ่ง นิยมทํากัน ต้ังแต่วนั แรมคํ่าเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดอื นสิบสองสาํ หรับงานนี้เจา้ ภาพเปน็ ผูก้ าํ หนดเอง ความเปน็ มา และความเชื่อจากข้อมูลของสารานุกรมเสรี กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหน่ึง สาํ หรบั ขึงผา้ ให้ตงึ สะดวกแกก่ ารเยบ็ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้ว จึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชํานาญ เหมือนสมัยป๎จจุบันนี้ และเคร่ืองมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเยบ็ ผา้ ในปจ๎ จบุ ัน การทาํ จวี รในสมยั โบราณจะเปน็ ผา้ กฐินหรอื แม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้า ภิกษุทําเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตํานานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรน้ัน พระเถรานุเถระต่าง มาช่วยกัน เป็นต้นวา่ พระสารีบตุ ร พระมหาโมคคลั ลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดา ก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอ่ืน ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ําด่ืม เป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยน้ี การเย็บจีวรแม้โดย ธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทําหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในป๎จจุบัน ซ่ึงมีจีวรสําเร็จรูปแล้ว)ผ้า กฐนิ โดยความหมายกค็ อื ผา้ สําเรจ็ รูปโดยอาศัยไมส้ ะดึงนิยมเรยี กกันจนปจ๎ จบุ นั นี้ อานิสงส์ของการรว่ มทาํ บญุ ทอดกฐนิ ยังมีมากมาย ดงั นี้ 1. ทําใหเ้ ป็นผมู้ ั่งคง่ั มที รัพย์สนิ มาก และประสบความสาํ เรจ็ ในหน้าทกี่ ารงานได้โดยงา่ ย

206 2. ทําใหเ้ ป็นผู้มีจติ ใจแชม่ ชืน่ บรสิ ทุ ธ์ิและผอ่ งใสอยู่เสมอ 3. ทําใหเ้ ป็นผู้มีจติ ใจต้ังมั่น เปน็ สมาธแิ ละเข้าถงึ ธรรมไดโ้ ดยงา่ ย 4. ได้ชื่อวา่ เปน็ ผู้สามารถใชท้ รัพย์สมบัติให้เกดิ เป็นบุญกศุ ลติดตวั ไปในภพเบื้องหน้าได้อย่าง เต็มท่ี 5. ทําใหเ้ ป็นคนรูปงาม ผวิ พรรณงาม เปน็ ทีร่ กั ของคนทั่วไป 6. ทําให้เป็นผู้มีช่ือเสียง เกียรติคุณ น่ายกย่องสรรเสริญ เป็นท่ีตั้งแห่งศรัทธาน่าเคารพ นบั ถือ เครื่องกฐนิ คนแตก่ ่อนพูดกนั ว่า “จัดเครือ่ งกฐินก็เหมอื นจดั บริขาร อย่างน้อยพอบวชพระได้องค์หนึ่ง” รายการเครื่องกฐนิ จงึ นยิ มกาํ หนดกนั ดงั ต่อไปน้ี ไตรจีวรพระองคค์ รอง 1ไตร (รายการน้ีคอื “องค์กฐนิ ”) 1. ไตรจีวรพระคู่สวด 2ไตร 2. บาตร พร้อมธมกรก (เคร่อื งกรองนํ้า) มดี โกน เข็ม 1 ชดุ 3. ตาลปต๎ ร และย่าม 1 ชดุ 4. เสื่อ ท่ีนอน หมอน ผ้าห่มนอน มุง้ 1 ชุด 5. รม่ 1 คนั 6. ปน่ิ โต 1 เถา 7. รองเท้า 1 คู่ 8. กาต้มนํ้า 1 ใบ 9. ถงั กานวม, ถ้วยชา 1 ชดุ 10. กระโถน 1 ใบ 11. ชอ้ นส้อม จานข้าว 1 ชดุ 12. ผ้าขนหนเู ชด็ ตัว 1 ผืน 13. ตะเกยี ง 1 ดวง หรือโคมไฟ 1 ชดุ 14. ไม้กวาด สายระเดยี ง (ราวตากผ้า) ธงจระเข้ 1 ชดุ 15. ผ้าห่มพระประธาน 1ผนื 16. เทียนปาติโมกข์ 1 ห่อ 17. เครื่องมือชา่ ง 1 ชดุ (เชน่ จอบ เสียม มีด ขวาน ค้อน ฯลฯ) 18. พานแวน่ ฟาู , ดอกไมค้ ลมุ ไตร 1 ชุด 19. สปั ทน 1 คัน 20. เครื่องไทยธรรม เทา่ จํานวนพระภกิ ษุ-สามเณรทงั้ วดั รายการเหลา่ น้เี จ้าภาพอาจตัดหรอื เติมได้ตามความเหมาะสม ยกเว้นรายการท่ี 1 องค์กฐิน อย่างน้อยต้องมีไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง ขาดไม่ได้

207 1.32 ประเพณีงานงิ้วไหวเ้ จ้าพ่อปุนเถา้ กง (ตลุ าคม) ในช่วงเดือนตุลาคม ของทุกปี คนไทยเช้ือสายจีนร่วมจัดงานสืบทอดประเพณีงิ้ว ประจําปีกราบไหว้เจ้าพ่อปุนเถ้ากง พร้อมเทศกาลหมูสะเต๊ะ-หอยทอด และต้อนรับลูกหลานกลับ บา้ น ยาว 5 วนั 5 คนื สาํ หรับปี 2561 จัดวนั ที่ 26-27 ตุลาคม 2561 พิธีกรรม เรม่ิ ด้วยการแห่อัญเชิญเจ้าพ่อศักดิ์สิทธ์ิหัวดง (ปุนเถ้ากง) เวียนรอบตลาดและมา พํานักที่ศาลเจ้าชั่วคราวตลาดหัวดงริมนํ้าน่าน หน้าโรงงิ้ว และคืนวันที่ 27 ตุลาคม 2561 ร่วมงาน เลี้ยงสังสรรค์ (โตะ๊ จนี ) รว่ มประมลู ของเจ้าพ่อศักด์ิสิทธิ์ เพ่ือเป็นสิริมงคล ในงานงิ้วน้ีมีงิ้วให้ชมแล้วยัง มีอาหารอร่อย โดยมีนายวินัย ภัทรประสิทธ์ิ อดีต ส.ส.จังหวัดพิจิตร เป็นประธานจัดงาน พร้อม คณะกรรมการศาลเจา้ และหน่วยงานราชการ พ่อค้า ประชาชนมาร่วมงาน เครื่องสังเวยไหว้เจ้าและความหมาย กล้วย หมายถึง กวักโชคลาภเข้ามา และขอให้มี ลูกหลานเต็มบ้านเต็มเมือง แอปเป้ิล หมายถึง สันติสุข สันติภาพ สาลี่ หมายถึง โชคลาภมาถึง (ควร ระวังไม่นิยมไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณไร้ญาติ) ส้มสีทอง หมายถึง ความสวัสดีมหามงคล องุ่น หมายถึง ความเพม่ิ พูน สับปะรด คําจีนเรียกว่า “อ้ังไล้” แปลวา่ มโี ชคมาหา ภาพท่ี 148 ไหวเ้ จ้าพ่อปุนเถ้ากงคนหัวดง

208 ภาพที่ 00 ไหว้เจ้าพ่อปุนเถา้ กงคนหวั ดง ภาพท่ี 00 ไหวเ้ จ้าพ่อปุนเถา้ กงคนหวั ดง ภาพที่ 149 ไหว้เจ้าพ่อปนุ เถ้ากงคนหัวดง ภาพท่ี 150 ไหวเ้ จ้าพ่อปนุ เถา้ กงคนหัวดง

209 ภาพที่ 151 ไหวเ้ จ้าพ่อปุนเถา้ กงคนหัวดง 1.33 ประเพณกี วนขา้ วทพิ ย์ (ตุลาคม) ภาพที่ 152 พธิ กี วนข้าวทิพยว์ ัดเขาพระ ภาพท่ี 153 พธิ ีกวนข้าวทิพย์วัดเขาพระ

210 ในช่วงเทศกาลทอดกฐินสามัคคี ณ วัดเขาพระ โดยก่อนวันที่จะทอดกฐิน 1 วัน ได้จัดให้มี พิธีกวนขา้ วทิพยโ์ ดยเชอ่ื ว่าเปน็ ประเพณที สี่ ร้างความสามัคคีในกลุ่มชนชาวหัวดงและหมู่บ้านใกล้เคียง ในอันที่จะร่วมกันนําเอาวัสดุข้าว ของต่างๆ มาร่วมทําบุญ เม่ือเสร็จและถวายเป็นพุทธบูชาก็แบ่งป๎น กันไปรับประทานเพื่อความเป็นสิริ มงคลซ่ึงทางวัดก็จะทําการจัดขึ้นให้เป็นประเพณีสืบสานตลอดไป ทั้งน้ีในปี 2561 วันท่ี 16-17 พฤศจิกายน 2561 ตระกูลภัทรประสิทธ์ิ โดยนางวิไลลักษณ์ ภัทร ประสิทธิ์ เปน็ ประธาน พิธกี วนข้าวทพิ ยไ์ ดย้ ึดถอื ปฏิบตั เิ ปน็ ประเพณสี ืบต่อกันมาตง้ั แต่อดตี จนถงึ ปจ๎ จุบันในหมู่ของ ชาวพุทธทว่ั ไปเพ่อื ระลกึ ถงึ สมเดจ็ พระสมั มาสัมพุทธเจ้าและเหตุการณ์ที่นางสุชาดาได้กวนข้าวทิพย์ใน วันข้ึน 14 แลว้ นําไปถวายพระพทุ ธเจา้ ก่อนที่จะตรัสรู้ 1 วัน โดยถือว่ามีผลานิสงฆ์มาก ด้วยเหตุนี้ชาว พุทธจึงพร้อมใจกันกวนข้าวทิพย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เทิดทูนพระเกียรติคุณด้วยความกตัญํู กตเวทิตาธรรม ความเชื่อ ชาวบ้านเชื่อว่าข้าวทิพย์เป็นอาหารท่ีรวมโอชารสต่าง ๆ ไว้พร้อม บริโภคแล้วจะได้รับ ประโยชน์ มีคณุ ค่าทางอาหารครบถ้วน ตามหลักโภชนาการสมกับเปน็ ขา้ วทพิ ย์ รวมเอนกรส ยากท่ีจะ ทําขนึ้ บรโิ ภคได้ เม่ือผู้ใดไดบ้ ริโภคแล้วจะทําใหม้ ีกําลังแขง็ แรง มคี ณุ ค่าอาหาร คงอยใู่ นตัวไดน้ าน ข้าวทิพย์มธุปายาสน้ีเชื่อกันว่า เม่ือทําครบถ้วนตามพิธีแล้ว จะเป็นสิริมงคลแด่ผู้ทําและ ผู้บริโภคสมควรจะเซ่นสรวงเทพารักษ์ ผู้ที่ได้บริโภคข้าวทิพย์แล้ว จะประสบโชคลาภต่างๆ นานา ปราศจาก โรคาพยาธิ ภัยพบิ ัติ ประสบส่ิงทเ่ี ป็นมงคล พิธกี รรม วัตถุที่กวน ได้แก่ น้ํานมโคสด (ป๎จจุบันใช้นมข้นหวานแทน) น้ําผึ้ง น้ําอ้อย ชะเอมเทศ นาํ้ ตาลกรวด นา้ํ ตาลหมอ้ ขา้ วตอก ขา้ วเมา่ ธญั พชื ต่าง ๆ ทค่ี วั่ สุก ถว่ั งา ลูกเดอื ย เมล็ดแตง เผือกมัน เมล็ดบัว มะพร้าวแก่ มะพร้าวอ่อน ผลไม้สด ผลไม้แห้ง เช่น มะม่วง กล้วย ทุเรียน ละมุด ลําไย ส้ม ขนุน เป็นต้น ท้ังน้ีแล้วแต่ความเหมาะสมเท่าที่จะหาได้หรือปรับปรุงให้มีรสชาติ หอมหวาน อร่อย ตามความต้องการของผกู้ วนในแตล่ ะทอ้ งถ่นิ บางท้องที่อาจใช้ผลไม้ชนิดต่าง ๆ ท่ีมี การจัดเตรียมการ ในพธิ ีกวนขา้ วทิพย์ ต้องจัดเตรียมส่งิ สําคญั ดังนี้ ต้องปลูกโรงพิธีข้ึน 1 หลัง ให้กว้างใหญ่พอสมควร เพื่อต้ังโต๊ะบูชาพระพุทธรูป อาสน์สงฆ์ โต๊ะบูชาเทวรูป และที่ซึ่งผู้เข้าร่วมพิธี คือ พราหมณ์ โหร (ผู้ที่มีความรู้ในพิธีกรรมอย่างดี) เทพยดา นางฟูา นางสชุ าดา สาวพรหมจารี และทายก ทายิกา ฯลฯ น่งั ฟง๎ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และก่อ เตาตงั้ กะทะกวนภายในโรงพธิ ี จดั หาพายสาํ หรับกวนกะทะละ 3 เลม่ จัดหาฟืนให้เพียงพอและตากให้ แหง้ สนิท โรงพธิ ีทาสขี าว เครือ่ งประดับตกแตง่ ควรใช้เครื่องขาว ต้ังราชวัฏ ฉัตร ธง ผูกต้นกล้วย อ้อย ทั้ง 4 มุม หรือครบ 8 ทิศยิ่งดี แล้วยกศาลเพียงตาข้ึนไว้ในทิศที่เป็นศรีของวัน คือ ทิศท่ีเทวดาสถิตใน วันกวน ตั้งเคร่ืองสังเวย คือ หัวหมู บายศรี เป็ด ไก่ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วย และมกี ารจัดท่นี งั่ การใหโ้ หร นั่ง 1 ที่ และจดั ใหเ้ ทวดาและนางฟาู นั่งเรียงแถวหน้ากระดานดงั นี้ แถวท่ี 1 จดั ให้ท้าวมหาพรหมกบั พระอินทร์น่งั ขา้ งหนา้ แถวที่ 2 มหาราชท้ังส่ี แถวท่ี 3 นางฟูา

211 แถวที่ 4 นางสุชาดา น่งั ข้างหนา้ สาวพรหมจารี จัดเตรียมตะลอมพอก หรือยอดเทวดา 6 ยอด ท่ีสมมติว่าเป็นท้าวมหาพรหม พระอินทร์ (ทา้ วสกั กะ) ท้าวธตรฐ ทา้ ววริ ุฬหก ท้าววิรูป๎กข์ ท้าวเวสวัณ มงกุฎนางฟูา 4 และมงคลสวมศีรษะสาว พรหมจารี ใช้มงคลด้ายแบบมงคล ตัดจุก หรือใช้ดอกมะลิร้อยให้เป็นวงกลม เรียก มงคลดอกไม้ ให้ ครบจาํ นวนเตาละ 2 คน สมมติว่าเป็นบริวารของนางสุชาดา ศาสนพธิ ี จดั ทบี่ ูชา 2 ท่ี คือโต๊ะบูชาพระพุทธรูปหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก หรือทิศเหนือ ถ้า สถานทไี่ ม่อาํ นวย มีไม้มหาโพธ์ใิ สก่ ระถางตง้ั ไว้ดา้ นหลังพระพทุ ธรปู ส่วนประกอบอื่นเหมือนการจัดตั้ง โต๊ะหมู่บูชาทั่วไปโต๊ะบูชาเทวรูป มีพระพรหม พระอิศวร พระนารายณ์ เป็นต้น สุดแต่จะหาได้ พระ ฤาษี5 ตน ถ้าหายากก็ต้องให้ได้อย่างน้อย 1 ตน สมมติเป็นฤาษีกไลยโกฏ มีเคร่ืองบูชาเช่นเดียวกัน จัดต้ังอาสนะสงฆ์ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปให้สูงกว่าพื้นที่สัปบุรุษทายกทายิกา และ ผู้เข้าร่วมพธิ ีน่งั ในเรื่องความเชอ่ื ของการแต่งกาย โหราจารย์ นุ่งผ้าขาวโจงกระเบน สวมเสื้อช้ันในชั้นนอกสีขาว แขนยาว มีสไบเฉียง 1 ผืน ถา้ มีเสอ้ื ครยุ ใหส้ วมเส้ือครยุ แทนสไบเฉียง สว่ นเทวดาก็แต่งตัวเหมือนกับโหราจารย์ นางฟูา ควรเลือก สตรีสาวรูปงาม น่งุ ผ้าจีบ หม่ สไบเฉียง สวมมงกฎุ นางสุชาดาและสาวพรหมจารี แต่งชุดขาวทั้งชุด นุ่ง ผ้าจีบ หม่ สไบเฉียง โดยนางสชุ าดาควรเป็นหญิงท่ีมีสามแี ล้ว แต่สาวพรหมจารคี วรเปน็ เด็กหญิงที่ยังไม่ มปี ระจาํ เดอื น หรือสตรีที่ยังไมเ่ คยต้องประเวณี และต้องกราบพระเป็นและรับศลี ได้ ภาพท่ี 154 พิธีกวนข้าวทิพย์วดั เขาพระ ภาพท่ี 155 พธิ ีกวนข้าวทิพย์วดั เขาพระ

212 ภาพที่ 156 พิธีกวนขา้ วทิพย์วัดเขาพระ ภาพท่ี 157 พธิ ีกวนข้าวทิพย์วัดเขาพระ

213 1.44 ประเพณีทอดผา้ ปา่ ขา้ วสกุ ของคนตาบลหัวดง ในวันลอยกระทง ภาพท่ี 158 การทอดผ้าปาุ ขา้ วสุกวดั หวั ดง ภาพที่ 159 การทอดผ้าปาุ ขา้ วสกุ วัดหัวดง จากการบอกเล่าของนางสมศรี พฤกษะวัน ได้สอบถามลุงเลิศ โพนามาส ขณะท่ีท่านอายุ 95 ปีเกิดที่ตาํ บลหวั ดง และไดเ้ ห็นประเพณีการทอดผ้าปุาข้าวสุกมานานแล้วต้ังแต่ครั้งหลวงพ่อพิธซ่ึง เปน็ พระท่ชี าวหวั ดงนับถือกันมาโดยตลอดได้มาบวชเป็นพระที่วัดหัวดง และสืบทอดประเพณีน้ีกันมา จนถึงปจ๎ จบุ ัน โดยจะทํากนั ในวันขน้ึ 15 คาํ่ เดือน 12 หรือวนั ลอยกระทงนั่นเอง เวลา 04.00-6.00 น. หรือเวลาเช้ามืด จนถึงฟาู สางจงึ เลิกทํา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook