Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563

วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563

Description: 16541-5445-PB (1)

Search

Read the Text Version

450 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) จุดประสงคข์ องการเรียนรู้ทุกหน่วย ร้อยละ 80 ข้ึนไป อภิปรายผลไดว้ ่า ผ้สู ูงอายุท่เี ขา้ รับการ อบรมมีความสนใจต่อเน้ือหาของหลักสูตรและกิจกรรมเป็นอย่างมาก กล่าวคือเนื้อหาท้ัง 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ เรื่องการดูแลสุขภาพท่ีจำเป็นของผู้สูงอายุ เร่ืองการใช้ชีวิตอย่างมี ความสุขสำหรับผู้สูงอายุ เร่ืองการบริหารจิต การนันทนาการและการใช้เวลาว่างสำหรับ ผู้สูงอายุ เร่ืองภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุ เป็นความรู้ที่ตรง กับวัยของผู้เรียนสูงอายุ ผลของความรู้ความเข้าใจในเน้ือหาและกิจกรรมท่ีเรียนจะทำให้ ผู้สูงอายนุ ำไปใช้กับตนเองไดท้ ันที ผลการวิจยั ดังกล่าวสอดคลอ้ งความต้องการการศึกษาของ ผู้สูงอายุ ตามทฤษฎีของแมคคลัสก้ี (Mc.Clusky,1975) ที่เสนอทฤษฎีว่าด้วยความต้องการ การศึกษาของผู้สูงอายุว่า ประกอบด้วย ความต้องการที่จะมีส่วนร่วมในสังคม (Social Participation) และศักยภาพแห่งตน (Self Actualization) โดยที่ความต้องการการศึกษา ของผู้สูงอายุประกอบไปด้วยความต้องการการศึกษาท่ีสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ความต้องการ ความรู้พื้นฐานในการปรับตัว 2) ความต้องการแสดงออก 3) ความต้องการที่จะให้และ ถ่ายทอดแก่ผู้อ่ืน 4) ความต้องการควบคุมสถานการณ์ และ 5) ความต้องการมีชีวิตท่ีดีขึ้น และไม่มีจุดมุ่งหมายแต่เพียงอย่างเดียวส่วนมูดี้ (Moody, 1967) ได้เสนอว่า ความต้องการ ได้รับความรู้ 5 ประการ ประกอบด้วย 1) ความต้องการความรู้เพื่อสามารถดำรงตนอยู่ใน สังคม (Coping Needs) ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย การปรับตัวด้านจิตใจ สังคม และร่างกาย และข้อมูลต่างๆ ที่เก่ียวข้องเพ่ือให้ดำรงชีวิตอย่ไู ด้ด้วยดี 2) ความต้องการทักษะ เพ่ือสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในสังคมได้ (Expressive Needs) ทักษะเหล่าน้ี ได้แก่ ทักษะการเข้าร่วมกลุ่ม ทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลกลุ่มต่างๆ รวมไปถึงทักษะในการ สร้างงานอดิเรกต่างๆ เป็นต้น 3) ความต้องการความรู้เพ่ือสามารถถ่ายทอดให้แก่สังคม (Contributive Needs) ได้แก่ ความรแู้ ละทกั ษะเพื่อสามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถที่ มีให้แก่สังคมและอนุชนรุ่นหลัง ซึ่งในแต่ละกิจกรรมได้กำหนดให้เสริมประสบการณ์ของตน เป็นส่วนหน่ึงของการอภิปราย ดังนั้น ความรู้สึกได้ถ่ายทอดจึงเกิดขึ้นระหว่างทำกิจกรรมใน หลักสูตรนี้อย่างสม่ำเสมอ สำหรับด้านความต้องการควบคุมสถานการณ์ ปรากฏในกิจกรรม ของหลักสูตรน้ีเช่นกัน อาทิ หน่วยการเรียนรู้ท่ี 2 เรื่องการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขสำหรับ ผู้สูงอายุ มีกิจกรรมจัดกลุ่มผู้สูงอายุตามความเหมาะสมในการทำกิจกรรมเก่ียวกับประเพณี วัฒนธรรมทอ้ งถิ่นรว่ มกนั

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 451 องค์ความรทู้ ่ไี ด้จากการศกึ ษา นอกจากนี้ผู้เรียนสงู อายุก็สามารถนำความรู้และประสบการณท์ ่ีได้ไปประยกุ ตใ์ ช้ได้ ในทันที เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย การออกกำลังกาย การเป็นจิต อาสาทำความดีด้วยหัวใจ การไหว้พระสวดมนต์ การเจริญจิตภาวนา การถ่ายทอดภูมิปัญญา ท้องถ่ิน ธนาคารความดี เป็นต้น ซ่ึงความรู้และประสบการณ์เหล่าน้ีเสริมสร้างสุขภาวะให้ ผู้เรียนสูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีข้ึนและต่างก็มีความสุขในการเข้าเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ เน้ือหาและกจิ กรรมในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ของหลักสูตรและกิจกรรมเพ่ือการเสริมสร้างสุข ภาวะผู้สงู อายขุ องโรงเรยี นผสู้ งู อายุ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ผู้เรยี นสูงอายใุ ห้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ รวมท้ังมีการนำกลับไปฝึกปฏิบัติท่ีบ้านต่อด้วย ทำให้ผู้เรียนสูงอายุสนุกสนานและช่ืนชอบต่อ การทำกิจกรรมร่วมกันและครูผู้สอนหรือวิทยากรท่ีมาบรรยายให้ความรู้ล้วนเป็นผู้ที่มีความรู้ เหมาะสมโดยตรงกับจุดประสงค์ของแต่ละเนื้อหาของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ มีความ เช่ียวชาญในด้านที่มาให้ความรู้ มีความยุติธรรมต่อการวัดผลประเมินผล และมีความเป็น กันเองกับผู้เข้าเรียน และในระหว่างการเรียนได้มีการฝึกฝน มีการแลกเปล่ียนความรู้และ ประสบการณ์ซ่ึงกันและกันในทุกหน่วยการเรียนรู้ ส่วนส่ิงสนับสนุนการจัดกิจกรรม เพราะ เป็นสิ่งท่ีครูหรือวิทยากรเตรียมมาพร้อมกับความรู้ที่นำมาถ่ายทอด ด้านสถานที่ สิ่งอำนวย ความสะดวก มีความเหมาะสมเพราะเป็นวัดหรือศาสนสถาน สะดวก ร่มร่นื ใกล้กับท่พี ักหรือ บ้านท่ีอยู่อาศัย นอกจากน้ี บรรยากาศในชั้นเรียนก็เป็นบรรยากาศท่ีเอื้อต่อการเรียนรู้ที่ดี เพราะทุกคนต่างก็ได้แลกเปล่ียนเรียนรู้กัน ได้ทำกิจกรรมที่สนุกสนาน ต่างมีรอยยิ้มและเสียง หัวเราะ เมื่อร่วมกันทำกิจกรรมในแต่ละรายวิชาเรียนก็ได้รับความร่วมมือจากผู้เรียนสูงอายุ เป็นอย่างดี ทำให้บรรยากาศในการเรียนการสอนเป็นกันเอง เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึง สง่ ผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ้เู รยี นสงู อายุได้ดขี ึ้น

452 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) เอกสารอา้ งอิง มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั . (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาล.ี ฉบบั มหาจฬุ า เตปฎิ กํ, กรงุ เทพฯ : โรงพิมพม์ หาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั . _____. (2539). พระไตรปฎิ กภาษาไทย. ฉบั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั . กรุงเทพฯ : โรง พมิ พ์มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย. ทศิ นา แขมมณ.ี (2545). รูปแบบการเรยี นการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ธำรง บวั ศรี. (2542). ทฤษฏีหลักสูตร การออกแบบและพัฒนา. พิมพค์ รั้งท่ี 2. กรุงเทพฯ : ธนธชั การพมิ พ์. บุญเล้ยี ง ทุมทอง. (2554). การพฒั นาหลักสตู ร. กรงุ เทพฯ : บริษทั แอคทีฟ พรน้ิ ท์ จำกดั .

รูปแบบการบรหิ ารจดั การศนู ย์การเรยี นรู้ เชิงพุทธบรู ณาการ สถานปฏิบัติธรรม โยคาวจร จังหวดั นครนายก Model of Integrated Buddhist Learning Center Management: Yokawajorn Dhamma Practice Center, Nakhonayok Province 1พระครูปยิ คณุ าธาร (สจุ ริตธุรการ),2พระครูพิจิตรศุภการ, 3มะลิวัลย์ โยธารกั ษ์, และ 4วันฉัตร ทิพยม์ าศ, 1Phrakhru Piyakhunathan Sujaritturakran, 2Phrakhru Pichitsupakarn, 3Phrakrupichitsupakan and 4Wanchat Thippamas 1,2,3มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย 4วทิ ยาลัยเทคโนโลยีทกั ษิณอาชวี ศกึ ษา, ประเทศไทย 1,2,3Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Thailand. 4Vocational Technology Thaksin College, Thailand. [email protected], [email protected] Received May 10, 2020; Revised July 12, 2020; Accepted August 25, 2020 บทคัดยอ่ การวิจัยคร้ังน้ีมีวัตถุประสงค์ 1) เพ่ือศึกษาสภาพการบริหารจัดการศูนย์การ เรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ สถานปฏบิ ัติบัติธรรมโยคาวจร อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ สถานปฏิบัติบัติธรรม โยคาวจร อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ การเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ สถานปฏิบัติบัติธรรมโยคาวจร อำเภอปากพลี จังหวัด นครนายก โดยใช้ระเบียบวิธีวจิ ัยเป็นเชิงคุณภาพ ศึกษาค้นคว้าทางเอกสาร (Documentary

454 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) investigation) และวิเคราะห์โดยการสัมภาษณ์บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 รูป/คน, ผู้เชี่ยวชาญ 4 รูป/คน, สนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน เครื่องมือท่ีใช้ได้แก่ แบบ สมั ภาษณเ์ ชิงลกึ (Indepth Interview) และการประชุมกลุม่ ย่อย (Focus Group) พบวา่ 1. ด้านการบริหารจัดการบุคลากร มีองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ 1) ผู้บริหารสถาน ปฏิบัติธรรม 2) บุคลากรภายในสถานปฏิบัติธรรม 3) วิทยากรหลัก 4) วทิ ยากรกระบวนการ 5) ผู้ใหค้ ำแนะนำอื่นๆ การบริหารจัดการบุคลากรมีจดุ ประสงคห์ ลกั เพือ่ สร้างการทำงานเป็น ทีมสร้างองค์กรใหเ้ ขม้ แขง็ จากภายในมีความสามคั คเี พ่ือชว่ ยกันพฒั นาคณุ ภาพชวี ิตและสังคม 2. ด้านบริหารจัดการงานวิชาการ ได้แก่ ประวัติศาสตร์องค์สมเด็จพระเจ้าตาก สินมหาราช ประเพณีวัฒนธรรมท้องถ่ิน การปฏิบัติธรรมและวิปัสสนากรรมฐานและการ จดั การเรียนรทู้ กั ษะวชิ าชพี 3. ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณ มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ 1) การบริหารจดั การทรพั ยากร มจี ดุ มุ่งหมายหลกั เพื่อใชท้ รัพยากรที่มีอยู่ใหค้ มุ้ ค่าที่สุด 2) ด้านงบประมาณ มีจุดมุ่งหมายหลักเพ่ือต่อยอดจากทุนเดิมท่ีมีอยู่ขยายเพิ่มได้ด้วยวิธีการมุ่ง พฒั นาทีจ่ ิตใจคนเปน็ หลกั เพ่ือสร้างรายได้พงึ่ พาตนเองได้ถาวรและยั่งยืน 4. ด้านการบริหารจัดการงานท่ัวไป ได้แก่ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ การ จัดทำแผนปฏิบัติงาน การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ การติดตามและประเมินผล มีจุดมุ่งหมาย หลกั เพ่ือสร้างเครอื ขา่ ยในชุมชนใหเ้ ขม้ แข็งคนในชุมชนรว่ มประชุม รว่ มบริหาร คำสำคญั : รูปแบบ, การบรหิ ารจัดการ, ศนู ยเ์ รยี นร,ู้ เชิงพุทธบูรณาการ Abstract The purposes of this research included: 1) to study the current conditions of the management of the integrated Buddhist learning center, Yokawajorn Dhamma Practice Center, Pak Phli district, Nakhonnayok province; 2) to study the model of the management of the integrated Buddhist learning center, Yokawajorn Dhamma Practice Center, Pak Phli district, Nakhonnayok province; 3) to present the management model of the integrated Buddhist learning center, Yokawajorn Dhamma Practice Center, Pak Phli district, Nakhonnayok province. Qualitative research method was used including documentary investigation, analysis of data gathered by interviewing 12 experts and 4

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 455 specialists and focus group discussion with 9 experts. The instruments used were in- depth interview format and focus group discussion format. The results revealed as the followings. 1. Personnel management consisted of 5 components including: 1) the administrator of the Dhamma practice center; 2) the personnel of the Dharma practice center; 3) the principal instructors, 4) the process instructors, and 5) other advisors. The primary purposes of personnel management were to build teamwork, strengthen the organization from within with solidarity for helping each other in improving the quality of life and society. 2. Academic management consisted of various topics such as the history of King Taksin the Great, Local cultural traditions, Dharma practice and meditation and learning management for professional skills. 3. Resource and budget management included 2 main components: 1) Resource management principally aimed at utilizing the available resources available as its maximal value; 2) Budgeting principally aimed at extending the existing funds through principal mental development in order to generate income for sustainable self-reliance. 4. General management included: organizing information systems, making action plans, putting the plans into action, monitoring and evaluation. The main aim was to create a strong community network that the people in the community participated and managed together. Keywords: Model, Management, Learning Center, Buddhist Integration บทนำ การพฒั นาประเทศที่ผา่ นมากอ่ ให้เกดิ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ชมุ ชน อ่อนแอ ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ เกิดปัญหาสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ถูกละเลย ไม่ เห็นความสำคัญ เพ่ือการพฒั นาชมุ ชนและทอ้ งถน่ิ ไปสู่ชมุ ชนเข้มแข็งได้อย่างยั่งยนื หนว่ ยงาน ต่างๆ ภายในท้องถ่ิน เช่น หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน วัด สถานปฏิบัติธรรม มี บทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถนิ่ ตามความหลากหลายของวิถชี ีวิต วฒั นธรรม ภูมิปัญญาท่ี มีอยู่ในชุมชนท้องถ่ินเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหา

456 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) ต่างๆ ท่ีเกิดขึ้น การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง ซ่ึง เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา แนวทางการพัฒนาจะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ ชุมชนสามารถจัดกิจกรรมทเ่ี ปน็ องค์ความรู้ มกี ระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ และการ จัดการร่วมกันของคนในชุมชนในรูปแบบท่ีหลากหลายตามบริบทของชุมชนโดยการพ่ึงพา อาศัยกันและกันท้ังภายในและภายนอกชุมชน บนพ้ืนฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม อนั นำไปสกู่ ารอยรู่ ่วมกนั อย่างสนั ตสิ ุข (พระธรรมปิฏก, 2559) รูปแบบการบริหารท่ีเน้นเป้าหมายและกระบวนการในการสร้างความสมดุลของ โครงสร้าง ทุนสังคม ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับ ระบบเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน โดยวางแผนจาก คน ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน วัด สถานปฏิบัติธรรม หน่วยงานเอกชนระดับภูมิภาค หน่วยงานราชการระดับประเทศ ร่วมแรง รว่ มใจในการพัฒนาจดุ รว่ มผา่ นขบวนการ (Collaborative effort) การนำการพัฒนารูปแบบ การบริหารจดั การศูนย์การเรียนรู้เชงิ พุทธบูรณาการมาใช้ควบคู่กับการวางแผนที่มีการบริหาร จัดการร่วมกันของคนภายในชุมชน เพ่ือการขยายผลและเสนอแนะแนวทางในการสร้าง บทบาทของภาคประชาชน เพื่อมุ่งพัฒนาเข้าสู่สังคมท่ีมีความสุข (Happiness society) ท่ีใช้ ตัวบ่งช้ีวัดความสุข (Happiness) เป็นเป้าหมาย ในช่วงปี พ.ศ.2551 ได้มีการตรา พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน ซ่ึงสภาองค์กรชุมชน หมายถึง เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพ่อื กำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนของคนในชุมชนท้องถ่ินโดยคนในชุมชนท้องถ่ินและเพ่ือ คนในชมุ ชนท้องถิ่น เวทแี ลกเปล่ียนเรียนรู้ดงั กลา่ วประกอบดว้ ย ตัวแทนของสถาบนั ในชุมชน ท้องถิน่ เชน่ โรงเรียน วดั สถานปฏิบตั ิธรรม สถานีอนามยั (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542) ตัวแทนของกลุ่มองค์กรชุมชนต่างๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่ม กิจกรรมพัฒนาท่ีมีอยู่ในแต่ละชุมชน โดยมีผู้นำชุมชนท่ีไม่เป็นทางการ เช่น ผู้รู้ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำทางการ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมใช้เวทีพูดคุยเพื่อแก้ไข ปัญหาของชุมชนท้องถิ่นร่วมกัน ภายใต้จุดมุ่งหมายที่มุ่งม่ันท่ีจะทำให้ชุมชนท้องถิ่น มีเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีเวทีกลางในการพัฒนาความสำคัญของ”สัมมาวาจา” ยังจัดเป็นทักษะ และวิชาชีพอีกประการหน่ึง เพราะการพูดน้ันเป็นชุมชนท้องถ่ิน ที่เปิดพื้นท่ีให้กลุ่มกิจกรรม ต่างๆ และการรวมกลุ่มของคนท่ีมีความต้ังใจทำส่ิงดีๆ เพ่ือชุมชน หรือคนท่ีประสบปัญหา ความเดือดร้อนได้มาพูดคุยแลกเปล่ียนสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข ปัญหาร่วมกนั ท้ังน้ียงั ทำใหเ้ กิดความร่วมมือ ลดปัญหาความขดั แยง้ ลดปัญหาการแบ่งฝ่ายใน

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 457 ชุมชนเพราะสภาองค์กรชุมชนเป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับการปรึกษาหารือของทุก ฝ่ายร่วมกันภายใต้วิถีชุมชน นอกจากน้ี ยังทำให้ชุมชนเกิดการจัดการความรู้จากวิถีชีวิตท่ี เกิดขึ้นจริง เก่ียวกับวิธีการจัดการตนเอง ซ่ึงหมายถึง รูปแบบ ทิศทาง การพัฒนาชุมชน ทอ้ งถนิ่ จะเปลี่ยนจากการรอคอยใหค้ นอ่ืนมาทำให้ มาเป็นคนในชมุ ชนทอ้ งถ่นิ เปน็ คนคิดริเริ่ม และดำเนินการกันเองเป็นหลัก การพัฒนาดังกล่าว เป็นการพัฒนาในรูปแบบท่ียึดเอาชุมชน เปน็ ฐานราก เป็นแกนกลาง ชมุ ชนชาวบา้ นมบี ทบาทสำคัญมากกว่าบุคคลภายนอกอันจะเป็น การทำให้เกิดกระบวนการประชาธิปไตยชุมชน (Local democratic) ท่ีเข้มแข็งท่ีทำให้คน กลุ่มคน ต่างเข้ามาร่วมกันดำเนินกิจกรรมของท้องถิ่น หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory democracy) หรือการเมืองภาคพลเมือง (National political sector) ซ่ึงแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ การกำหนดตนเองในการพัฒนา (ชุมชนเข้มแข็ง) การร่วมกระบวนการนโยบายสาธารณะ (ประชาสังคม: Civil society) และ การตรวจสอบอำนาจรัฐ (การเมืองภาคประชาชน: Civil politics) เป็นการส่งเสริมการมีส่วน ร่วมทางการเมอื งระดับท้องถนิ่ อีกระดบั หนึ่ง (จตุพล ดวงจิตร และ ประยรู สุยะใจ, 2560) แ น ว คิ ด ก ารจั ด ก ารชุ ม ช น แ บ บ มี ส่ วน ร่ว ม (Management community participation) หรือใช้กระบวนการประชาธิปไตยทอ้ งถ่ิน (Local democracy) ได้อยา่ งเป็น รูปธรรมและสามารถนำไปสู่กระบวนการศึกษารูปแบบ วิธีการ เพ่ือใช้เป็นต้นแบบในการ พัฒนาชุมชน และสังคมได้เป็นอย่างดี ตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวดั นครนายก เป็น ชุมชนที่มีการแบ่งเขตการปกครองดูแล มีพื้นที่ในการดูแลรับผิดชอบ 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านพรหมเพชร, หมู่ 2 บา้ นหนองสองห้อง, หมู่ 3 บ้านเนนิ สะทอน, หมู่ 4 บา้ นเลาคา, หมู่ 5 บา้ นเนินใหม,่ หมู่ 6 บ้านเหล่าหุ่ง,ม่วง และ หมู่ 7 บ้านหนองหัวเสือ ถึงแมช้ าวบา้ นตำบลโคก กรวดจะมีการแบ่งรูปแบบการปกครองท่ีแบ่งตามโครงสร้างการบริหารจัดการท้องถ่ินตามท่ี หน่วยงานภาครัฐกำหนดก็ตาม ชาวตำบลโคกกรวดยังสามารถดำเนินการร่วมกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ภายใต้ศักยภาพของชุมชน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทุนทางสังคม (Social capital) ผ่านกระบวนการจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วมของภาคประชาชน (Public sector) โดยทางชุมชนได้ทำการรวมกลมุ่ กันในชุมชนเพื่อดำเนนิ กิจกรรมเพ่ือบริหารจัดการทรัพยากร ท่ีมีอยู่ในชุมชน เพ่ือสร้างอาชีพ สร้างรายได้ การพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน หรือแม้กระท่ังการร่วมกนั อนุรกั ษ์ศิลปวัฒนธรรมทีมีอยูใ่ นชุมชน การดำเนินกจิ กรรมดังกล่าว

458 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) ในชุมชน เกิดข้ึนภายใต้ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชน ตำบลโคกกรวด ซึ่งเป็นองค์กรท่ีมี บทบาทในการขบั เคลือ่ นกิจกรรมในชุมชนเป็นอยา่ งมาก (กระทรวงศกึ ษาธิการ, 2561) ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นและผู้วิจัยได้มีโอกาสได้มีโอกาศทำหน้าท่ีประธานศูนย์ การเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ สถานปฏิบัติธรรมโยคาวจร จังหวัดนครนายกและได้รับรู้ถึง ปัญหาที่เกิดข้ึน จึงทำให้ผู้วิจัยได้จัดทำวิทยานิพนธ์เล่มนี้ข้ึน ทั้งน้ีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการ บริหารจัดการ และนำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อความถูกต้องดีงาม ตลอดถึงจะเป็นประโยชน์ และเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับพุทธบรษิ ัท และประชาชนท้ังหลายในอาณาบริเวณท้ังใกล้และไกล อันจะนำมาซง่ึ ความสขุ ในสังคมไทยสืบไป วัตถปุ ระสงคก์ ารวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เชิงพุทธบูรณา การใน สถานปฏบิ ตั ิธรรมโยคาวจร จงั หวัดนครนายก 2. เพ่ือพัฒนารูปแบบ การบริหารจัดการบุคลากร การบริหารจัดการงานวิชาการ การบริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณ และการบริหารจัดการงานท่ัวไปของ สถาน ปฏิบัติธรรมโยคาวจร จงั หวัดนครนายก 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงพุทธบูรณาการ ชมุ ชนในพื้นทต่ี ำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จงั หวัดนครนายก วิธดี ำเนินการวิจยั 1. การศึกษาโดยการใช้ระเบยี บการวิจยั เชงิ คุณภาพ (Qualitative Research) มุ่ง ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการศูนย์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ผู้วิจัยได้ศึกษาใน 3 ลักษณะ คือ ศึกษาค้นคว้าทางเอกสาร (Documentary investigation) การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย เปน็ 3 ขนั้ ตอน ดงั นี้

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 459 1.1 การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่ง โครงสร้าง โดยดำเนินการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 ท่าน แล้วนำข้อมูลร่างรูปแบบบริหาร จดั การศูนย์การเรยี นรเู้ ชงิ พทุ ธบูรณาการ 1.2 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เพ่ือร่างรูปแบบการบริหาร จดั การศูนย์การเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ สถานปฏิบัติธรรมโยคาวจร จังหวัดนครนายก โดย ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้เช่ียวชาญ จำนวน 4 ท่าน แล้วนำข้อมูลเพ่ือวิเคราะห์นำเสนอรูปแบบ การบรหิ ารจดั การศูนย์การเรียนร้เู ชงิ พทุ ธบูรณาการ 1.3 สนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) โดย สนทนากลุ่มเพ่ือนำเสนอร่าง รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ สถานปฏิบัติธรรมโยคาวจร จังหวัดนครนายก โดยใช้เอกสารแนวสนทนากลุ่ม 2. สรุปผลการวิจัยรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ จากข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่ีได้จากการสนทนากลุ่ม เรียบเรียงข้อมูล โดยการจัด หมวดหมู่ของข้อมูลท่ีเกี่ยวข้องกัน ทั้งในส่วนข้อมูลท่ีได้จากเอกสารต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลท่ี ได้มาทั้งหมด ตามจุดประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้ สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและ ข้อเสนอแนะ ผลการวจิ ยั ผลการวิจัยการศึกษารูปแบบกาบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ หมทู่ ่ี 6 ตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายกร ผ้วู ิจัยสามารถสรปุ ผลวิจยั ได้ดังน้ี 1. สภาพการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงพุทธบูรณาการ ประกอบด้วย 1) สภาพแวดล้อมของศูนย์การเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ สถานปฏิบัติธรรมโยคาวจร ต้ังอยู่ เลขที่ 92 หมู่ท่ี 6 ตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ซ่ึงมีความพร้อมมีความ มั่นคง ปลอดภัยเหมาะสมต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวย ความสะดวกครบถ้วนเพียงพอ 2) ด้านนโยบาย ของศูนย์การเรียนรู้ เชิงพุทธบูรณาการ มี นโยบายส่งเสริมสุขภาพกาย พัฒนาทักษะวิชาชีพ ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม ศึกษา ประวตั ิศาสตรว์ ฒั นธรรม และวิถชี ีวิตชุมชน ตลอดถึงพฒั นาจิตและปัญญา 3) ดา้ นการมสี ่วน ร่วมของชุมชน พบว่าชาวบ้านทุกคนเห็นด้วยกับการจัดตั้งศูนย์ และชาวบ้านส่วนใหญ่เห็น ด้วยกับแนวทางการส่งเสริมสุขภาพกาย, พัฒนาทักษะวิชาชีพ, ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม,

460 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) ศึกษาประวัติศาสตร์ และพัฒนาจิตและปัญญา ที่ทางศูนย์การเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ สถานปฏิบัตธิ รรมโยคาวจร จงั หวดั นครนายก ได้วางแผนงานไว้ 2. การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงพุทธบูรณาการ 1) แผนการ ดำเนินงานของการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ มีแผนงานโครงการ คือ แผนระยะสั้น 1 ปี (พ.ศ.2562) และแผนระยะยาว 3 ปี (พ.ศ.2563-2565) 2) คณะทำงานและบคุ คลากรในการ บริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ การจัดกำลังบุคลากรรับผิดชอบดูแลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนใน ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 งาน คือ งานท่ัวไป และงานบริหาร 3) ด้านการจัดการงบประมาณ เพื่ออุดหนุนการทำงานของศูนย์การเรียนรู้ เชิงพุทธบูรณาการ สถานปฏิธรรมโยคาวจร คือ เขียนเสนอเป็นเรื่องๆ ตามขั้นตอนของแผนการดำเนินงาน โดยมีแผนระยะส้ัน 1 ปี โดยการ ปรบั ภูมทิ ัศน์รอบตัวศูนย์การเรียนรู้ และแผนระยะยาว 3 ปี 4) ดา้ นการจดั การสถานที่ในการ ดำเนินกิจกรรม การดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวชุมชนจะเป็น รูปแบบเช่ือมโยง โดยกิจกรรมเด่นของชุมชนจะเน้นกิจกรรมท่ีชาวบ้านประกอบอาชีพเป็น ทุนเดิม และกิจกรรมสำคัญๆของทางจังหวัดนครนายก ซึ่งสามารถช่วยสร้างรายได้ให้แก่คน ในชุมชนและสามารถสืบทอดอนุรักษ์วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของคนภายในชุมชนไดเ้ ป็นอย่าง ดี 5) ด้านการรกั ษาความปลอดภัย เนื่องจากศูนย์การเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ สถานปฏิบัติ ธรรมโยคาวจร จังหวัดนครนายก มีพื้นท่ีจำนวนมากถึง 26 ไร่ ผู้เรียน ผู้รับบริการและ นักท่องเท่ียว ควรอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าท่ีประจำศูนย์การเรียนรู้ ไม่ควรออกไปนอก พ้ืนท่ีท่ียังไม่ได้รับอนุญาต เพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อผู้เรียน ผู้รับบริการ และนักท่องเที่ยว ได้ ควรอยภู่ ายในบริเวณพื้นท่ีท่ีทางศูนย์การเรียนรู้ฯอนุญาตเท่านั้น สว่ นในดา้ นตัวอาคารจะ มีการจดั เวรยามท่เี ปน็ คนในชุมชนคอยดูแลรกั ษาความปลอดภัยตลอด 24 ช่ัวโมง 6)การสรา้ ง เครือข่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์การเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการ สถานปฏิบัติธรรมโยคาวจร จังหวัดนครนายก มีการประสานงานและสร้างเครือข่ายร่วมกับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒองครักษ์, ศูนย์วิพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัยสวนดุสิตศูนย์ นครนายก, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, โรงเรียนเตรียมทหาร, โรงเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายต่างๆ ในจังหวัดนครนายก และโรงเรียนระดับปฐมศึกษา ต่างๆ ในจงั หวัดนครนายก ท่ีคอยช่วยเหลือและสนับสนนุ 3. นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงพุทธบูรณาการ ข้อมูลนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงพุทธบูรณาการ สถาน

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 461 ปฏิบัติธรรมโยคาวจร จังหวัดนครนายก คือ 1) วิธีการบริหารจัดการ ด้านโครงสร้างการ บรหิ าร ของศูนย์การเรยี นรู้ เชงิ พุทธบรู ณาการ สถานปฏบิ ัตธิ รรมโยคาวจร จังหวัดนครนายก การบริหารโครงสร้างทางการบริหารของศูนย์เรียนรู้นั้นมี 2 ลักษณะ คือ (1) ศูนย์เรียนรู้ที่มี ลักษณะการบริหารงานแบบเป็นนิตบิ ุคคล ซึ่งจะมีการแบ่งโครงสร้างการบรหิ ารงานอย่างเป็น ทางการมกี ารแบ่งหน้าท่ตี ามโครงสรา้ งทางการบริหารท่ชี ดั เจน และ (2) ศูนยเ์ รยี นรู้ท่เี ป็นการ ดำเนินงานของกลุ่มชาวบ้าน จะมีการจัดแบ่งหน้าท่ีการบริหารงานโดยใช้ภาระหน้าท่ีเป็นตัว แบ่งโครงสร้างการบรหิ ารงานงาน โครงการของศูนย์ฯ มีการบรหิ ารจัดการของคณะกรรมการ ฝ่ายต่างๆ รับผิดชอบดูแล หรือให้การบริหารโครงการของศูนย์ธรรมเป็นไปด้วยความ เรียบร้อยดีงาม มีความโปร่งใสในการทำงาน มีระเบียบ มีระบบในการทำงานประสานกัน อย่างลงตัว 2) วิธีการบริหารจัดการ ด้านการบริหารจัดการบุคลากร แนวทางการบริหาร จดั การให้เกิดประสิทธภิ าพ คอื (1) การนำรูปแบบการบริหารจดั การพอ่ ปกครองลูกมาใช้ คือ ผู้บริหารหรือประธานศูนย์ต้องทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีให้เห็น ทำให้ดูเพ่ือให้สมาชิกและ คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ฯ เกิดความศรัทธาและไว้วางใจ จนเกิดเป็นแนวร่วมในการทำงาน และเกิดความทมุ่ เทเสียสละให้แกส่ ่วนรวม (2) การบริหารจัดการบคุ ลากรจำเปน็ ต้องใชท้ กั ษะ ดา้ นมนุษยสมั พันธ์เป็นอย่างมากในการทำงานและการบรหิ ารจัดการศูนย์การเรียนรู้ฯ เพ่ือให้ บรรลุเป้าหมายและความสำเร็จ (3) การจูงใจและการตอบแทนด้วยคำชมเชย ถือว่าเป็น เครื่องมือสำคัญในการบริหารงานด้านบุคลากรศูนย์การเรียนรู้เป็นอย่างย่ิง ดังน้ันผู้บริหาร ศูนย์การเรียนรู้ฯ 3) วิธีการบริหารจัดการ ด้านงานวิชาการ (1) ส่งเจ้าหน้าท่ีไปศึกษาเรียนรู้ กับหน่วยงานท่ีชำนาญเฉพาะเรื่องวิชาที่เราต้องการ (2) ส่งเสริมสุขภาพ ปลูกผักปลอด สารพิษ (3) เชิญนักวิชาการมาเสริมความรู้เฉพาะด้านให้สมบูรณ์แบบ (4) บุคลากรทุกคน สามารถทดแทน ให้ความรู้ทุกๆ เรื่องทุกๆ ข้อมูลฐานเรียนรู้ได้ท้ังหมด 4) วิธีการบริหาร จัดการ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณ (1) งบประมาณของศูนย์เรียนรู้ฯ ในชุมชนส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงิน ซ่ึงต้องมีการ จัดทำโครงการหรือกิจกรรม เพ่ือขอรับการสนับสนุน (2) แนวทางในการบริหารจัดการ ทรัพยากรและงบประมาณเพ่ือให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงที่สุด คือ การบริหาร จัดการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงประกอบกับการบริหารจัดการตามแนวทางขององค์กร ภาครัฐ 5) วิธีการบริหารจดั การ ด้านการบรหิ ารงานท่ัวไป (1) เน้นหารายได้เพิม่ พยายามลด ค่าใช้จ่าย (2) รายได้จากกลุ่มคณะผู้มาศึกษาดูงาน เงินรับบริจาค (3) ค่ารับฝึกอบรม ค่า

462 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) วิทยากรให้ความรู้ (4) ประชุมแผนงาน ติดตามผลจัดทำงบประมาณประจำปี 6) วิธีการ บริหารจัดการ ด้านการบริหารจัดการวิชาการ ของศูนย์การเรียนรู้ เชิงพุทธบูรณาการ สถาน ปฏิบัติธรรมโยคาวจร จังหวัดนครนายก บุคลากร ต้องมีความศรัทธา ต้ังใจ ต้ังมั่น ในการทำ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความขยันโดยยึดหลัก เพ่ือต้องการพัฒนาตนเองให้ดียิ่งๆข้ึนไป ยอมรบั คำตชิ มเพ่ือนำมาแก้ไขปรับปรุงตนเอง อภิปรายผล ผลการศึกษาการวิจัยเรื่องรูปแบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิ งพุทธ บรู ณาการ สถานปฏิบัติธรรมโยคาวจร จังหวัดนครนายก ผู้วิจัยได้นำผลท่ีพบจากการวิจัยมา อภิปรายเชื่อมโยงทฤษฎี แนวคดิ และงานวิจยั ทเ่ี กยี่ วขอ้ งในประเดน็ ดงั ต่อไปนี้ 1. สภาพการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงพุทธบูรณาการ ซ่ึงมีความ พร้อม มีความม่ันคง ปลอดภัย เหมาะสมต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีระบบสาธารณูปโภค สงิ่ อำนวยความสะดวกครบถ้วนเพียงพอ ซง่ึ สอดคลอ้ งกับผลการศึกษาของสุวุฒิ วรวิทย์พินิต (2560) ได้วจิ ัยเร่อื ง“การพัฒนารปู แบบการจดั การศูนย์การเรยี นรู้ วิถีเมืองเพชรตามแนวทาง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”พบว่า ศูนย์เรียนเรียนรู้เมืองเพชร ส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านที่อยู่ ท่ามกลางหุบเขา และติดทะเล ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตรและปศุสัตว์และมี การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสนใจที่จะเรียนรู้เพ่ือแสวงหา ความรู้ใหม่ๆ เสมอ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบวิถีเมืองเพชรของจังหวัดเพชรบุรี ยังมีบทบาท ในการให้ความรู้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่และนอกพ้ืนท่ี 2) รูปแบบการ จัดการศูนย์การเรียนรู้วิถีเมืองเพชร ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงท่ีพัฒนาขึ้น คือ “PETCH Model” มี 5 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ Participation (การมีส่วนร่วม) Evolution enough (ความพอเพียง) Technology (การนำเอาเทคโนโลยีและหลักวิทยาศาสตร์มา ปฏิบัติ) Community (ชมุ ชน) และ Harmony (ความกลมกลนื ) 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ การจัดการศูนย์การเรียนรู้วิถีเมืองเพชร ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า รูปแบบ การพัฒนาจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับ ภูมิปัญญาเป็นความรู้ด้ังเดิมอันประกอบไปด้วย คุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้าน ไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากแต่ทุก อย่างมีความสัมพันธ์กับการทำมาหาเลี้ยงชีพ และ 4) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการ

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 463 จัดการศูนยก์ ารเรียนรูว้ ิถีเมืองเพชร ตามปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง พบว่า ภาพรวมอยใู่ น ระดับมาก 2. การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเชิงพุทธบูรณาการ เม่ือพิจารณาแล้ว พบว่า มีแผนการบริหารจัดการหลากหลายอย่างเป็นระบบ ท้ังคณะทำงานและบคุ ลากร การ บริหารงบประมาณ ด้านสถานที่และด้านการรักาความปลอดภัย ซึ่งมีความใกล้เคียงกับ การศึกษาของพระมหาสุทติ ย์ อาภากโร, (2561) ไดว้ จิ ัยเรื่อง“การเสริมสรา้ งสุขภาวะและการ เรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา”พบว่า พระสงฆ์ในพื้นท่ี 15 จังหวดั ทไ่ี ด้ดำเนินการ โครงการพัฒนาเพ่ือเสริมสร้างสุขภาวะและการเรยี นรู้ตามหลักพระพุทธศาสนา ได้มีแนวทาง การบูรณาการและการประยกุ ตใ์ ช้หลักพุทธธรรมใน 4 ลกั ษณะ คือ 1) การประยุกต์โดยอาศัย บทบาท หน้าท่ี ในฐานะพระสงฆ์และบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2535 2) การประยุกต์โดยอาศัยปัญหาของวัดและชุมชนเป็น ฐานในการพัฒนา 3) การประยกุ ต์โดยอาศัยการเรียนรู้ทางพระพทุ ธศาสนาและความสัมพันธ์ ทางสังคม และ 4) การประยุกต์หลักพุทธธรรมร่วมกับศาสตร์สมัยใหม่ โดยมีเป้าหมายเพ่ือ การสร้างประโยชน์และความสุขของบุคคลและสังคม โดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับ การเสรมิ สร้างสขุ ภาวะและการเรยี นรู้น้นั 3. นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรยี นรู้ชุมชนเชิงพุทธบูรณาการ จาก ผลการวิเคราะห์ขอ้ มลู นำเสนอรูปแบบการบริหารจดั การศูนย์การเรียนรูช้ ุมชนเชิงพุทธบรู ณา การ สถานปฏิบัตธิ รรมโยคาวจร จังหวัดนครนายก ในด้านต่างๆ คือ (1) วิธีการบริหารจัดการ ด้านโครงสร้างการบริหาร (2) ด้านการบริหารจัดการบุคลากร (3) ด้านงานวิชาการ ของศูนย์ การเรียนรู้ เชิงพุทธบูรณาการ สถานปฏิบัติธรรมโยคาวจร จังหวัดนครนายก (4) ด้านการ บริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณ (5) ด้านการบริหารงานทั่วไปและ (6) ด้านการ บริหารจัดการวิชาการ ซึ่งผลจากการศึกษาท้ัง 6 ด้านพบว่าโดยรวมมีความเหมาะสม และมี ข้อเสนอแนะในแต่ละด้านแตกต่างกันออกไปตามบริบทของด้านน้ันๆ และควรอย่างยิ่งที่ จะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซ่ึงสรุปเป็นรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เชิงพุทธ บรู ณาการ สถานปฏบิ ัตธิ รรมโยคาวจร จงั หวดั นครนายก

464 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) องค์ความรทู้ ่ไี ด้จากการศึกษา สภาพการบริหารจัดการศูนย์การเรยี นรู้ชุมชนเชิงพุทธบูรณาการ ประกอบด้วย 1) สภาพแวดลอ้ มของศูนย์การเรยี นรเู้ ชิงพทุ ธบูรณาการ สถานปฏิบัติธรรมโยคาวจร ตงั้ อยู่เลขที่ 92 หมู่ท่ี 6 ตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ซ่ึงมีความพร้อมมีความม่ันคง ปลอดภัยเหมาะสมต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความ สะดวกครบถ้วนเพียงพอ 2) ด้านนโยบาย ของศูนย์การเรียนรู้ เชิงพุทธบูรณาการ มีนโยบาย ส่งเสริมสุขภาพกาย พัฒนาทักษะวิชาชีพ ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม ศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน ตลอดถึงพัฒนาจิตและปัญญา 3) ด้านการมีส่วนร่วมของ ชุมชน พบว่าชาวบ้านทกุ คนเหน็ ด้วยกับการจดั ต้งั ศูนย์ และชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนว ทางการสง่ เสรมิ สขุ ภาพกาย, พัฒนาทักษะวิชาชพี , สง่ เสริมประเพณีวัฒนธรรม เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธกิ าร, (2554), พระราชบัญญตั กิ ารศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ.2542 และทแี่ กไ้ ข เพ่มิ เติม (ฉบับที่ 3) กรงุ เทพฯ: องคก์ ารรับสง่ สนิ ค้าและพสั ดภุ ัณฑ์. กระทรวงศกึ ษาธิการ, (2562), แนวทางการจดั ทักษะการเรยี นรู้. กรุงเทพฯ: ครุ ุสภา. จตุพล ดวงจิตรและประยูร สุยะใจ, (2560),การบรู ณาการหลกั การบรหิ ารเชงิ พทุ ธในการ ส่งเสริมการขบั เคลือ่ นองค์กรชุมชนในลุ่มน้ำแมก่ ลองตอนลา่ ง, กรงุ เทพฯ : มหาวิทยาลยั สวนดสุ ิต. พระธรรมปิฏก, (2559), การศกึ ษาเคร่ืองมือพฒั นาท่ียงั ต้องพัฒนา, พมิ พ์คร้งั ท่ี 2, กรงุ เทพฯ: สำนกั พิมพ์มูลนิธพิ ุทธธรรม. พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, (2561), การเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรูข้ องสงั คมตามแนว พระพทุ ธศาสนา, โครงการการเสริมสรา้ งสขุ ภาวะและการเรียนรู้ของสงั คมตามแนว พุทธศาสนา, สำนักงานกองทุนสนบั สนนุ การสรา้ งเสริมสขุ ภาพ. สุวฒุ ิ วรวิทย์พนิ ิต, (2560), การพฒั นารปู แบบการจดั การศนู ย์การเรียนรู้ วถิ ีเมอื งเพชรตาม แนวทางปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง, บณั ฑิตวทิ ยาลยั : มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร.

รูปแบบการบริหารงานวชิ าการเพือ่ การพฒั นาคณุ ภาพผ้เู รยี นโรงเรียน การกศุ ลของวดั ในพระพุทธศาสนา อำเภอเมอื ง จังหวัดนครศรธี รรมราช Model of Academic Administration for Learners’ Quality Development in Buddhist Temple Charity Schools, Muang District, Nakho Si Thammarat Province 1ยงยุทธ เจรญิ วงค์, 2พระมหาสพุ จน์ สุเมโธ, 3พระครพู ิจิตรศภุ การ, และ 4บญุ เลศิ วีระพรกานต์ 1Yongyut Charearnwong, 2Phramahasupot Sumeto, 3Phakrupijit Suphakan and 4Boonlert Wiraphonkarn 1,2,3มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย, วิทยาเขตนครศรีธรรมราช, ประเทศไทย 4โรงเรียนวัดขรัวช่วย, ประเทศไทย 1,2,3Mahachulalongkornrajavidyalaya University,Nakhon Si Thammarat,Thailand. 4Karua Chai School, Thailand. [email protected],[email protected] Received May 10, 2020; Revised July 12, 2020; Accepted August 25, 2020 บทคดั ยอ่ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนา คุณ ภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช 2) ศึกษารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 3)

466 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) นำเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัด ในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน สนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า : 1. สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ 7 ด้าน คือ 1) ด้าน การบริหารจัดการหลักสูตร 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ 3) ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ 4) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 5) ด้านการวัดประเมินผล 6) ด้านการนิเทศการศึกษา และ 7) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน 2. รูปแบบการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร 2. ด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหาร ควรส่งเสริมสนับสนุนผู้สอน 3. ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ มีกระบวนการ 4. ด้านแหล่ง เรียนรู้ 5. ด้านการวัดประเมินผล 6. ด้านการนิเทศการศึกษา 7. ด้านการพัฒนาระบบ ประกันคุณภาพภายใน 3. ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบรูปแบบการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า มี ความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้ คำสำคัญ : การบ ริห ารวิชาการ คุณ ภ าพ ผู้เรียน โรงเรียนการกุศลของวัดใน พระพุทธศาสนา Abstract The objectives of the study included: 1 ) to study the condition of academic administration for developing learners’ quality of life in the charity school of Buddhist temples in Muang district, Nakhon Si Thammarat province; 2 ) to explore the model of academic administration for developing learners’ quality of life in the charity school of Buddhist temples in Muang district, Nakhon Si Thammarat province; and 3) to propose a model of academic administration for developing learners’ quality of life in the charity

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 467 school of Buddhist temples in Muang district, Nakhon Si Thammarat province. The research methodology used was qualitative research. The data were collected by in- depth interviews with 10 persons of related parties and 7 experts and 7 specialists in the focus group discussion. The results of the study revealed that: 1. The state of academic administration in the charity school of Buddhist temples in Muang district, Nakhon Si Thammarat consisted of 7 parts including; 1) course management, 2) learning management, 3) learning media development, 4) learning source development, 5) assessment and evaluation, 6) educational supervision, and 7) internal quality assurance system development. 2. Model of academic administration to develop learners’ quality under the charity school of Buddhist temples in Muang district, Nakhon Si Thammarat province consisted of 7 aspects: 1) Course management; 2) Learning management that should be supported by the administrators; 3) Learning media development; 4) Learning source; 5) Assessment and evaluation; 6) Educational supervision; 7) Development of the internal quality assurance system. 3. Model of academic administration to develop learners’ quality under charity school of Buddhist temples in Muang district, Nakhon Si Thammarat province was examined and approved by the experts with suitability and applicability in actual operation. Keywords : Academic Administration; Learners’ Quality; Charity Schools in Buddhist Temples บทนำ โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวน 5 โรงเรียน เป็นโรงเรียน ที่มีลักษณะพิเศษต่างจาก โรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานท่ัวไป คือ เป็นการเพิ่ม โอกาสให้กับนักเรียนกลุ่มที่ด้อย โอกาสทางการศึกษาและขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้มีคุณภาพเท่า เทียมกับนักเรียนในโรงเรียน อ่ืน ๆ ซึ่งส่งผลต่อการบริหารจัดการให้มีมาตรฐานเช่นเดียวกับโรงเรียนในระดับเดียวกันที่ สังกัดหน่วยงานอ่ืน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช ต้องใช้ระบบการบริหารท่ีมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันท่ี

468 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) เปลี่ยนแปลงและพัฒนาคุณภาพโรงเรียนอย่างต่อเน่ือง เน้นให้ผู้เรียนมีเจตคติท่ีดีต่อเพื่อน ร่วมงานมคี ณุ ธรรม จรยิ ธรรม รักการเรยี นรู้ รักความมุง่ ม่ันในการพฒั นาประเทศ มีโครงสรา้ ง หลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ผลจากการทดสอบระดับชาติขั้น พื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2559-2561 ไม่บรรลุผลตามเป้าหมายท่ีได้วางไว้ (กลุ่มนิเทศ ตดิ ตามและประเมินผลการจดั การศกึ ษา 2561 : 75) จากการศึกษาพบว่าหลายคนอยากเห็นนักเรียนไทยมีทักษะชีวิต คิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ได้ดี นักเรียนและครูสนุกสนานกับการเรียน ได้อย่ใู นห้องเรียนที่มีบรรยากาศเออื้ ต่อ การเรียนรู้ รวมไปถึงการมีโรงเรียนดีๆ ใกล้บ้าน โดยคุณภาพการศึกษาของทุกโรงเรียนเท่า เทียมกัน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา มีอิสระในการบริหารจัดการสูง มี โอกาสคดั เลือกบุคลากรที่มีคุณภาพสูงตามต้องการ และมีนโยบายเพ่ือการพัฒนาตนเองอย่าง ตอ่ เนือ่ ง สามารถผลิตและใช้นวัตกรรมการสอนไดอ้ ยา่ งยั่งยืน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะทำการวิจัยศึกษารูปแบบการ บริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้มีคุณภาพและบริหารวิชาการ เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพ และคุณภาพทางการศึกษาโดยรวมตอ่ ไป วัตถปุ ระสงค์การวจิ ยั 1. เพ่ือศึกษาสภาพการบรหิ ารวชิ าการเพอ่ื พัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรยี นการกุศล ของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จงั หวัดนครศรธี รรมราช 2. เพ่ือศึกษารูปแบบการบรหิ ารงานวชิ าการเพื่อพฒั นาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการ กุศลของวดั ในพระพทุ ธศาสนา อำเภอเมอื ง จังหวัดนครศรีธรรมราช 3. เพ่ือตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวชิ าการเพื่อพัฒนาคุณภาพผ้เู รียนโรงเรยี น การกุศลของวัดในพระพทุ ธศาสนา อำเภอเมอื ง จงั หวดั นครศรธี รรมราช

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 469 วธิ ีดำเนินการวจิ ยั การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยได้ดำเนินการ วจิ ัยเป็น 3 ขั้นตอน ดงั นี้ 1. ขัน้ ตอนการศึกษาสภาพ ข้นั ตอนการศึกษาสภาพการบริหารวิชาการเพ่ือพัฒนาคุณภาพผเู้ รียนโรงเรียนการ กุศลของวัด ในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กำหนดดังนี้ การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก การร่างรูปแบบ ผู้วิจัย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposeful Selection) เป็นการเลือกแบบ ไม่มี โครงสร้างท่ีเครง่ ครัด มีขนั้ ตอนและวิธีการดำเนินการที่ไม่ซับซ้อนเพ่ือที่จะได้ตัวอย่างท่ีเหมาะ ทสี่ ุดเทา่ ทจ่ี ะเปน็ ได้สำหรับแนวคิด จุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงคข์ องการศึกษากลุ่มตวั อย่าง ท่ีเลือกมีลักษณะเป็น “Information-rich case” คือมีข้อมูลให้ศึกษาในระดับลึกได้มากและ สามารถสะท้อนความเป็นจริงได้ดีที่สุด ซ่ึงจะมีความหมายต่อจุดมุ่งหมายหลักของการศึกษา เพ่ือให้ได้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่ีเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษามากท่ีสุด โดยการสัมภาษณ์เชิงลกึ (In-depth interview) จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน โดยมี เกณฑ์การคัดเลือกดังน้ี ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ตัวแทนศึกษาธิการจังหวัด 1 คน ศึกษานเิ ทศก์ 2 คน ผู้บริหารโรงเรียน 5 คน ครู 2 คน ผู้วิจัยได้ใช้เคร่ืองมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ซึง่ มลี ำดบั ข้นั ในการสรา้ งเคร่อื งมือ ดังนี้ 1) ศกึ ษาเอกสารและงานวิจยั ทเ่ี ก่ียวข้อง เก่ียวกับการบริหารวิชาการเพ่ือพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) กำหนดประเด็นการร่างแบบ การ บริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 3) นำร่างแบบการบริหารวิชาการเพ่ือพัฒนา คุณภาพผู้เรียน ที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ ท่ีปรึกษาและปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ 4) ปรับร่าง แบบแบบการบริหารวิชาการเพ่ือพัฒนาคุณภาพผเู้ รียน เป็นประเด็นคำถาม ในการสัมภาษณ์ เชิงลกึ 2. ขนั้ ตอนการศึกษารูปแบบ ข้ันตอนการศึกษาการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศล ของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กำหนด การร่างแบบการ สัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เช่ียวชาญ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในขั้นตอนนี้ได้แก่ ผู้เช่ียวชาญในการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดใน

470 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) พระพทุ ธศาสนา อำเภอเมอื ง จังหวดั นครศรีธรรมราช คือ จากผทู้ รงคณุ วุฒิ จำนวน 7 คน ซ่ึง ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีดังน้ี ผู้อำนวยการโรงเรียน 5 คน ศึกษานเิ ทศก์ 2 คน ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเก่ียวกับการบริหารวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัด นครศรธี รรมราช ซ่ึงมลี ำดับข้ันในการสรา้ งเคร่ืองมือ ดังน้ี 1) รา่ งแบบการบริหารวชิ าการเพ่ือ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราชและจากการค้นคว้าเอกสารเพิ่มเติม 2) นำร่างแบบที่ได้ไปสัมภาษณ์ ผู้เช่ยี วชาญ และปรับปรงุ ตามขอ้ เสนอแนะ 3. ขัน้ ตอนการนำเสนอ ขั้นตอนการนำเสนอรูปแบบการบรหิ ารวิชาการเพ่ือพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียน การกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กำหนดดังน้ี นำเสนอแบบการสนทนากลุ่ม ข้อเสนอแนะจากการสนทนากลุ่ม แบบสนทนากลุ่ม ผู้ให้ ข้อมูลสำคัญในข้ันตอนนี้ได้แก่ ผู้ร่วมประชุมกลุ่มสนทนา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ในการเสนอ รูปแบบการบริหารวิชาการเพ่ือพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัด ใน พระพุทธศาสนา อำเภอเมอื ง จังหวัดนครศรธี รรมราช คอื จากผทู้ รงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ซ่ึง ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญมี ดังนี้ ผู้อำนวยการโรงเรียน 4 คน ศกึ ษานิเทศก์ 2 คน ผู้ทรงคณุ วุฒิทางการศึกษา 1 คน เคร่ืองมือที่ใช้ในขั้นตอนการศึกษารูปแบบ คือ แบบประเมินและแบบการสนทนา กลุ่ม (Focus Group) ซึ่งมีลำดับขน้ั ในการสร้างเครื่องมอื ดังน้ี 1) นำร่างรปู แบบการบริหาร วิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ท่ีได้จากการ ร่างรูปแบบมาจัดทำเป็นแบบประเมินความเป็นไปได้ความเหมาะสม 2) นำแบบประเมิน ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ท่ีได้ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อ ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อย ขององค์ความรู้ท้ังรูปแบบการบริหารวิชาการเพ่ือพัฒนา คณุ ภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา 3) ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะและ ให้อาจารย์ท่ีปรึกษา ตรวจสอบความสอดคล้องของข้อคำถามกับนิยามศัพท์อีกคร้ัง 4) นำข้อ คำถามปรับปรุงตามข้อเสนอแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา จึงทำเป็นฉบับจริงเพื่อเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพ ในข้ันตอนการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 5) แบบสนทนากลุ่ม-ใช้รา่ งรูปแบบ

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 471 การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ท่ีได้มาเป็นแนวทางสำหรับการให้ความเห็นและ ข้อเสนอแนะของอาจารยท์ ีป่ รึกษา ผลการวิจยั การเสนอผลการวิจัยในคร้ังนี้ ผู้วิจัยจะนำเสนอผลการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์ของ การวิจัย 3 ข้อโดยการ ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary investigation) การ สัมภ าษณ์ เชิงลึก (In-depth Interview) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ผลการวิจยั สรปุ ไดด้ งั น้ี 1. สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จงั หวดั นครศรีธรรมราช พบว่า การบริหารงานวชิ าการมขี อบขา่ ยงาน 7 ดา้ นคอื 1.1 ด้านการบรหิ ารจดั การหลักสตู รมวี ิธีการดังน้ี ผู้บรหิ ารโรงเรยี นเป็นบุคคลท่ี มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาและใช้หลักสูตรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการ วิเคราะห์หลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลาง สภาพแวดล้อมและประเมินสภาพสถานศึกษา กำหนดวิสัยทัศน์ภารกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ จัดทำโครงสร้างหลักสูตร นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน นิเทศติดตามประเมินผล ปรับปรุงหลักสูตร และเป็นตัว จักรสำคัญในการกระตุ้นให้บุคลากรใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการพัฒนาผู้เรียนให้มี คณุ ภาพสรา้ งความเขา้ ใจหลกั สตู รอยา่ งถอ่ งแท้ 1.2 ด้านการจัดการเรียนรู้มีวิธีการดังน้ี ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการเรียนรู้ จัด กระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกบั ความถนัดความสนใจของผเู้ รยี น มีการนิเทศการเรียนการ สอนเน้นร่วมมือช่วยเหลือกันแบบกัลยาณมิตร พัฒนาครูด้านการสอนและผู้บริหารโรงเรียน ต้องสนบั สนุนให้ครูมีความเขา้ ใจเก่ียวกับหลักการสำคัญช่วยในการปรับเปล่ียนแนวคิดในการ จดั การเรยี นร้แู ละส่งิ อำนวยความสะดวกต่างๆ 1.3 ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้มีวิธีการดังนี้ วิเคราะห์ความจำเป็นในการใช้ ส่ือการเรียนรู้ส่งเสริมให้ครูผลิตพัฒนาส่ือและนวัตกรรมจัดหาสื่อและเทคโนโลยี ร่วมมือ ประเมินผลการพัฒนาการใช้ส่ือและผู้บริหารโรงเรียนต้องมีความรู้เกี่ยวกับส่ือการสอน สนับสนุนและส่งเสริมการใช้ส่ือการสอนโดยกำหนดเป็นนโยบายและวางแผนการจัดหาและ สรา้ งส่อื การเรียนรแู้ ละอำนวยความสะดวกในการจดั บริการสื่อการสอน

472 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) 1.4 ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้มีวิธีการดังน้ี สำรวจแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอก โรงเรียนจัดทำทะเบียนแหล่งการเรียนรู้ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เกิดองค์ความรู้ และประสาน ความร่วมมือองค์กรภายนอก สนับสนุนครูใช้แหลง่ การเรียนรู้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ใช้ ภูมปิ ัญญาท้องถน่ิ ส่งเสริมใหพ้ ัฒนาแหลง่ เรียนรทู้ ุกดา้ นและจัดการศึกษาตามจดุ ประสงค์ 1.5 ด้านการวัดประเมินผลมีวิธีการดังนี้ กำหนดระเบียบแนวปฏิบัติการวัดผล ประเมินผลร่วมกัน ส่งเสริมให้จัดทำคู่มือและเคร่ืองมอื วัดผลประเมินผล ให้วัดผลประเมินผล เน้นประเมินตามสภาพจริง พัฒนาเครื่องมือวัดประเมินผลให้ได้มาตรฐานจะมีประโยชน์ใน การตรวจสอบคุณภาพการสอนของครูและพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ตรงเป้าหมาย ผูบ้ ริหารและครูตอ้ งม่งุ นำผลการประเมินมาปรับปรงุ และพฒั นาคุณภาพการศึกษา 1.6 ด้านการนิเทศการศึกษามีวิธีการดังน้ี จัดระบบการนิเทศงานวิชาการและ การเรียนการสอน นิเทศใช้รูปแบบหลากหลาย ประเมินผลการจัดระบบและกระบวนการ นิเทศ ติดต่อประสานงานกับเขตพ้ืนท่ีการศึกษาเพ่ือร่วมมือในการนิเทศ แลกเปล่ียนเรียนรู้ และประสบการณก์ ารนิเทศการศกึ ษา ส่งเสริมขวัญและกำลังใจในการทำงานร่วมกนั 1.7 ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในมีวิธีการดังนี้ จัดระบบ โครงสร้างองค์กรรองรับระบบประกันคุณภาพการศึกษากำหนดเกณฑ์การประเมินตาม เป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาและตัวช้ีวัดของกระทรวง เป้าหมายความสำเร็จของเขตพื้นที่การศึกษา วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาดำเนินการ พัฒนางานตามแผนและติดตามตรวจสอบประเมินคุณภาพภายใน ปรับปรุงพัฒนาอย่าง ต่อเน่ือง ประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาอ่ืนและหน่วยเหนือในการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาประสานงานกับเขตพื้นท่ีการศึกษาประเมินภายในและสำนักงานรับรองมาตรฐาน การศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษามาประเมินภายนอก มีการติดตามกำกับและดูแล การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบต่อเน่ือง หลักการทำงานเป็นทีมใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังจากการทดลอง ยืนยัน รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึด หลักการทำงานเป็นทีม 4 องค์ประกอบท่ีพัฒนาขึ้นว่ามีความเป็นไปได้และเหมาะสมอยู่ใน ระดบั มาก 2. รปู แบบการบริหารวิชาการ 2.1 ดา้ นการบริหารจดั การหลักสูตร ผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญ ในการส่งเสริมการพฒั นาและใช้หลักสตู รระดับสถานศกึ ษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดย

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 473 ดำเนินการ 1)ศึกษาวิเคราะห์เอกสารหลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐานตามหลักสูตรแกนกลาง ของกระทรวงศึกษาธิการและหลักสูตรท้องถิ่น 2) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและประเมิน สภาพสถานศึกษาเพื่อกำหนดวิสยั ทัศนภ์ ารกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ โดยการมี สว่ นร่วมของทุกฝ่าย3) จัดทำโครงสร้างหลักสูตร 4) นำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการ สอน 5) นิเทศการใช้หลักสูตร 6) ติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตร 7) ปรับปรุงหลักสูตร ตามความเหมาะสม และเป็นตัวจักรสำคัญในการกระตุ้น ชักนำให้บุคลากรในโรงเรียนได้ใช้ ความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามต้องการ และทำความเข้าใจ เก่ยี วกับหลกั สูตรทนี่ ำมาใช้ในสถานศกึ ษาน้ันอยา่ งถ่องแท้ 2.2 ด้านการจัดการเรยี นรู้ ผู้บรหิ ารโรงเรยี นได้ดำเนินการดังนี้ 1) สง่ เสรมิ ใหค้ รู จัดทำแผนการเรียนรู้ 2) ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดเนื้อหาสาระและ กิจกรรมให้สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของผู้เรียน 3) จัดให้มีการนิเทศการเรียน การสอนแก่ครใู นกล่มุ สาระต่างๆ โดยเนน้ การนิเทศท่ีร่วมมือช่วยเหลอื กนั แบบกัลยาณมิตร 4) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาครู เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และผู้บริหารต้องสนับสนุนให้ครู ทำความเข้าใจในเร่อื งทีเ่ ก่ียวกับหลักการสำคญั เพราะจะชว่ ยในการปรับเปล่ียนแนวคิดในการ จัดการเรียนรู้ พร้อมกับสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ การนิเทศการจัดการเรียนการ สอน กำกับ ติดตาม ประเมินผล 2.3 ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เป็นส่ิงท่ีต้องมีการ พัฒนาให้เกิดขึ้นและมีความต่อเนื่องมีกระบวนการดังน้ี 1) ศึกษา วิเคราะห์ ความจำเป็นใน การใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหารงานวิชาการ 2) ส่งเสริมให้ ครูผลิต พัฒนาสื่อ และนวตั กรรมการเรียนการสอน 3) จัดหาส่ือและเทคโนโลยีเพอื่ ใชใ้ นการ จัดการเรยี นการสอน และการพัฒนาดา้ นวิชาการ 4) ประสานความรว่ มมอื ในการผลติ จัดหา พัฒนาและใช้ส่ือ 5) การประเมินผลการพัฒนาการใช้สื่อ และผู้บริหารจึงต้องมีความรู้ความ เข้าใจเก่ียวกับสื่อเป็นอย่างดี โดยให้การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ส่ือการสอน มีนโยบาย และวางแผนการจัดโครงการงานสื่อการสอน มีความรู้ความสามารถ ช่วยจัดและช่วยอำนวย ความสะดวกในการจัดบริการสื่อการสอน 2.4 ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญได้ ดำเนินการดังน้ี 1) สำรวจแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในและ นอกสถานศึกษา 2) จัดทำเอกสารทะเบียนแหล่งการเรยี นรู้ 3) จัดต้ังและพัฒนาแหล่งเรียนรู้

474 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) รวมทั้งพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ และประสานความร่วมมือสถานศึกษาอื่น บุคคล ครอบครัว องคก์ ร หน่วยงานและสถาบันอื่น4) สง่ เสริม สนบั สนุนใหค้ รูใช้แหล่งการเรยี นร้ทู ้ังในและนอก โรงเรียน ในการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยครอบคลุมภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้บริหารเป็นผู้ สง่ เสริมสนับสนุนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทุกๆด้านเพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุจุดประสงค์ท่ีวาง ไว้ 2.5 ด้านการวัดประเมินผล เป็นกระบวนการที่ได้มาซ่ึงข้อมูลที่ตอ้ งการด้วยการ ดำเนนิ การดังน้ี 1) กำหนดระเบียบ แนวปฏิบัติเกย่ี วกับการวดั ผล และประเมนิ ผลการศึกษา 2) ส่งเสริมให้ครูจัดทำคู่มือและเครื่องมือวัดผลและประเมินผล 3) ส่งเสริมให้ครูดำเนินการ วัดผล และประเมินผลการเรยี นการสอน โดยเนน้ การประเมินตามสภาพจริงจากกระบวนการ การปฏิบัติและผลงาน 4) พัฒนาเคร่ืองมือวัดและประเมินผลให้ได้มาตรฐาน เป็นการ ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนอีกทั้งยังมีประโยชน์ในการตรวจสอบคุณภาพการสอนของ ครูจึงนบั ว่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นอย่างย่ิงจากการศึกษา ประโยชน์ ของการประเมินผลท่ีสำคัญที่สุด คือมุ่งนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ การศึกษา เพื่อประโยชน์ต่อนักเรียน ประโยชน์ต่อครูผู้สอน ประโยชน์ต่อฝ่ายแนะแนว และ ประโยชน์ต่อฝ่ายบริหาร 2.6 ด้านการนิเทศการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนมีบทบาทสำคัญได้ดำเนินการ ดังน้ี 1) จัดระบบการนิเทศงานวิชาการ และการเรียนการสอนภายในสถานศึกษา 2) ดำเนินการนิเทศงานวิชาการ และการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย 3) ประเมินผล การจัดระบบและกระบวนการนิเทศ 4) ติดตาม ประสานงานกับเขตพื้นท่ีการศึกษาเพื่อ ร่วมมือในการนิเทศงานวิชาการ และการเรียนการสอน 5) การแลกเปล่ียนเรียนรู้ และ ประสบการณ์การนิเทศการศึกษา และประสานงานจัดระบบการนิเทศงานวิชาการ การเรียน การสอนภายในสถานศึกษา ส่งเสริมขวัญและกำลังใจในการทำงาน เป็นกระบวนการทำงาน ร่วมกันระหว่างครูและบุคลากรทางการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางท่ีดีข้ึน อัน จำเป็นทจี่ ะนำไปใชใ้ นการเรยี นการสอนการจัดการศึกษา ท้งั สามารถใช้แกป้ ัญหาเหล่านั้นได้ 2.7 ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ได้ดำเนินการดังน้ี 1) จัดระบบโครงสรา้ งองค์กรให้รองรับการจดั ระบบประกนั คุณภาพการศึกษา 2) กำหนดเกณฑ์ การประเมินเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาและตัวช้ีวัดของ กระทรวงเป้าหมายความสำเร็จของเขตพ้ืนที่การศึกษา หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินของ

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 475 สำนักรับรองมาตรฐานการศึกษา 3) วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4) ดำเนินการพัฒนา งานตามแผนและติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพภายในเพื่อปรับปรุงพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง 5) ประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาและหน่วยงานอ่ืน ในการปรับปรุงและ พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน 6) ประสานงานกับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการประเมิน คุณภาพภายในสถานศึกษา 7) ประสานงานกับสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาและ ประเมินคุณภาพการศึกษา ในการประเมินภายนอกสถานศึกษาและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมทุกฝ่ายที่เก่ียวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา โดยมีการติดตามกำกับและดูแลการ ดำเนินการประกันคณุ ภาพการศึกษาอยา่ งเปน็ ระบบ อภิปรายผล จากการศึกษาวิจัย เร่อื งการบริหารวชิ าการเพ่ือพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการ กุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผลการวิเคราะห์ ขอ้ มูลทคี่ วรนำมาอภปิ รายดังน้ี 1. สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า การบริหารงานวิชาการมีขอบขา่ ยงาน 7 ด้านคือ (1) ด้านการบรหิ ารจัดการหลักสูตรมีวธิ ีการดงั นี้ ผู้บรหิ ารโรงเรียนเปน็ บุคคลท่มี ีสว่ นสำคญั ใน การส่งเสริมการพัฒนาและใช้หลักสตู รให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มกี ารวิเคราะห์หลกั สูตร ตามหลักสูตรแกนกลาง สภาพแวดล้อมและประเมินสภาพสถานศึกษา กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะที่พึงประสงค์ จัดทำโครงสร้างหลักสูตร นำไปใช้ในการจัดการ เรียนการสอน นิเทศติดตามประเมินผล ปรับปรุงหลกั สูตร (2) ด้านการจัดการเรียนรู้มีวิธกี าร ดังนี้ ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการเรียนรู้ จัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจของผู้เรียน มีการนิเทศการเรียนการสอนเน้นร่วมมือช่วยเหลือกันแบบ กลั ยาณมติ ร (3) ดา้ นการพัฒนาสื่อการเรียนรมู้ ีวธิ ีการดงั น้ี วิเคราะหค์ วามจำเป็นในการใช้ส่ือ การเรียนรู้ส่งเสริมให้ครูผลิตพัฒนาส่ือและนวัตกรรมจัดหาส่ือและเทคโนโลยี ร่วมมือ ประเมินผลการพัฒนาการใช้สื่อ (4) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้มีวิธีการดังน้ี สำรวจแหล่ง เรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียนจัดทำทะเบียนแหล่งการเรียนรู้ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เกิดองค์ ความรู้และประสานความร่วมมือองค์กรภายนอก สนับสนุนครูใช้แหล่งการเรียนรู้ในการจัด

476 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) กระบวนการเรียนรู้ใช้ภูมิปัญญาท้องถ่ิน (5) ด้านการวัดประเมินผลมีวิธีการดังนี้ กำหนด ระเบียบแนวปฏิบัติการวัดผลประเมินผลร่วมกัน ส่งเสริมให้จัดทำคู่มือและเครื่องมือวัดผล ประเมินผล ใหว้ ัดผลประเมนิ ผลเน้นประเมินตามสภาพจริง พัฒนาเครือ่ งมือวัดประเมนิ ผลให้ ได้มาตรฐาน มุ่งนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา (6) ด้านการ นิเทศการศึกษามีวิธีการดังนี้ จัดระบบการนิเทศงานวิชาการและการเรียนการสอน นิเทศใช้ รูปแบบหลากหลาย ประเมินผลการจัดระบบและกระบวนการนิเทศ (7) ด้านการพัฒนา ระบบประกันคุณภาพภายในมีวิธีการดังน้ี จัดระบบโครงสร้างองค์กรรองรับระบบประกัน คุณภาพการศึกษากำหนดเกณฑ์การประเมินตามเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษาตาม มาตรฐานการศกึ ษาและตัวชวี้ ัดของกระทรวง เปา้ หมายความสำเรจ็ ของเขตพื้นที่การศึกษา วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาดำเนินการพัฒนางานตามแผนและติดตาม ตรวจสอบประเมินคุณภาพภายใน ปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเน่ือง ประสานความร่วมมือกับ สถานศึกษาอ่ืนและหน่วยเหนือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสานงานกับเขตพ้ืนท่ี การศึกษาประเมินภายในและสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาและประเมินคุณภาพ การศึกษามาประเมินภายนอก มีการติดตามกำกับและดูแลการดำเนินการประกันคุณภาพ การศึกษาอย่างเป็นระบบตอ่ เนอ่ื ง ซึ่งสอดคล้องกบั งานวิจยั ของปริชาติ ชมช่ืน (2555) ได้วิจัย เรื่องรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนท่ีมีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการ บริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนท่ีมีประสิทธิผลในสถานศึกษา ผลการศึกษา สภาพปัจจุบันปัญหาและความตอ้ งการในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่ มีประสิทธิผลในสถานศึกษา พบว่า ได้แนวคิดและข้อมูลเพ่ือสังเคราะห์องค์ประกอบหลักใน การบริหารงานวชิ าการ 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรไป ใช้ 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการ ศึกษา 4) การวางแผนและพัฒนาการส่งเสริมทางวชิ าการ 5) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 6) การ นเิ ทศภายใน และ 7) การวดั และประเมินผล ในขณะเดียวกนั ยงั สอดคล้องกับงานวิจัยของเพชรนิ สงค์ประเสริฐ (2551) ไดว้ ิจัย เรอ่ื ง“การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเปน็ ทีมในสถานศกึ ษา ขั้นพื้นฐาน”ผลการวิจัย พบว่า 1.รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็น ทีมท่ีได้จากการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 477 ผู้เช่ียวชาญ และครูฝ่ายวิชาการมี 4 องค์ประกอบของ 1) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน ประกอบด้วย พฤติกรรมของผู้นำ ด้านการจัดองค์กรเพื่อการเรียนการสอน การวางแผน องค์กรเพ่ือการสอน การพัฒนาหลักสูตรและการบริหารการเรียนการสอน การจัดโครงการ พัฒนาบุคลากร การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน 2) ข้ันตอนการทำงานเป็นทีมใน สถานศึกษาประกอบด้วยการรับรู้และค้นหาปัญหา การรวบรวมและวิเคราะห์ ข้อมูลการ วางแผนปฏิบัติการ การนำแผนไปปฏิบัติ การประเมินผลลัพธ์ 3) ภารกิจและขอบข่ายงาน วิชาการ ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนากระบวนการเรียนรู้การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการศึกษา การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การ แนะแนวการศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การส่งเสริม ความรู้ทางวชิ าการแก่ชุมชน 4) กระบวนการบริหารงานวชิ าการในสถานศกึ ษา ประกอบด้วย การวางแผนงานวิชาการการนำแผนไปปฏิบัติ การตรวจสอบประเมินผลงานวิชาการ การ ปรับปรุงงานวิชาการ 2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมใน สถานศึกษาขั้นพ้ืนฐานที่สร้างข้ึนประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก4 องค์ประกอบได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน 2) องค์ประกอบเกี่ยวกับขั้นตอนการ ทำงานเป็นทีม 3) องค์ประกอบด้านภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการ 4) องค์ประกอบด้าน กระบวนการบริหารงานวิชาการ รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็น ทีมในสถานศึกษาข้ันพื้นฐานที่พัฒนาข้ึนน้ี รายละเอียดปรากฏในคู่มือการดำเนินการซึ่ง ผล การประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาข้ันพื้นฐาน ส่งผลให้ผู้บริหาร / หัวหน้างาน วิชาการมีพฤติกรรมและแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับบทบาทผู้นำทางวิชาการ และบริบทของ สถานศึกษา บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและขั้นตอนการ ทำงานเป็นทีม สามารถปฏิบัติกิจกรรมตามข้ันตอนได้อย่างเป็นรูปธรรม 4.การประเมิน รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมใน สถานศึกษาข้ันพ้ืนฐาน หลังจากการทดลอง ยืนยัน รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม 4 องคป์ ระกอบท่พี ฒั นาขึ้นวา่ มคี วามเปน็ ไปได้และเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

478 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) 2. บริหารงานวิชาการของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาอำเภอเมือง จงั หวัดนครศรีธรรมราช พบว่ามีรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนการกุศลของ วดั ในพระพทุ ธศาสนาจำนวน 7 องค์ประกอบ ดงั น้ี องคป์ ระกอบท่ี 1 การบรหิ ารงานวิชาการด้านการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลัก พบว่ามีวิธีการดังน้ี แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาข้ันพ้ืนฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560)นำมาจัดทำหลักสูตร สถานศึกษา จัดประชุมอบรมครูและบุคลากรให้มีความรู้เร่ืองการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่น วางแผนการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้กระบวนการบริหารวงจรเดมมิ่ง PDCA บริหารหลักสูตรสถานศึกษาโดยยึดกรอบของเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของโรงเรียน บริหารกิจกรรมเสริมหลกั สตู รโดยใช้นวตั กรรม TMPDCA การพัฒนาหลักสูตรต้องมีโครงการพัฒนาการจัดองค์กรและโครงการพัฒนา หลักสูตรสถานศกึ ษาประกอบด้วยสาระหลักสูตรท้องถ่นิ การจัดทำหลักสูตรการวางแผนการ พัฒนาหลักสูตรและบูรณาการหลักสูตรให้ครอบคลุมชุมชน สังคมตามกรอบวิสัยทัศน์ โครงสร้าง กิจกรรม มุ่งมน่ั ให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์มากท่ีสุด มีการนำหลักสูตรไปใช้การแนะ แนวการศึกษาในการดำรงชีวิตจริงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีการเน้นปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมสร้างจิตสำนึกความเป็นไทย และจัดกระบวนการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับงานวิจัยของศิริกลุ นามศริ ิ (2552) ได้วิจยั เรอื่ ง การพัฒนางานวชิ าการดว้ ยหลัก การบูรณาการในโรงเรียนขนาดเล็ก:การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนบ้านบึงฉิมมีการดำเนินงานด้านการจัดการเรยี นการสอนเป็นหลัก รองลงมาเป็นการ พัฒนาสื่อการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตรการวัดผลและประเมินผล และการพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพภายในและภายนอก มีปัญหาท่ีสำคัญคือโรงเรียนไม่ผ่าน การ ประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) จึง ดำเนินงานใน 3 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาการจัดองค์กร โครงสร้างการบริหารและจัด งาน วิชาการและพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบครบวงจร 2) โครงการพัฒนาหลักสูตร สถานศกึ ษาและ สาระหลักสูตรท้องถ่นิ และการจัดกระบวนการเรียนรู้ทเ่ี น้นผู้เรียนเปน็ สำคัญ และ 3) โครงการจัด กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย มีผลทำให้โรงเรียน ผ่านการประเมินคุณภาพ ภายในท่ีองิ สถานศึกษาตามมาตรฐานการศกึ ษาข้ันพื้นฐานที่ 12,14 และ15 โดยมคี ่าระดบั 3.20 ,3,00 และ3.28 ตามลำดบั

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 479 การพัฒนาหลักสูตรเพ่ือที่จะทำให้หลักสูตรท่ีนำมาใช้ในสถานศึกษาพัฒนาให้เด็กมี ความประพฤติทางด้านกายเป็นระเบียบเรียบร้อยมีความซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบ การ แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร อย่างหลากหลายทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเพื่อให้การ บริหารงานหลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดในจัดทำหลักสูตร สถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาศีล พัฒนากาย พัฒนาด้านจิตและพัฒนาด้าน ปัญญา หลักธรรมที่นำมาพัฒนาเพื่อให้เกิด การพัฒนาผู้นำด้านวิสัยทัศน์ของหลักสูตร เพ่ือ พัฒนาด้านความคิดริเริ่มยังสอดคล้องกับงานวิจัยของรุ่งโรจน์ ศิริพันธ์ (2557) ได้วิจัยเร่ือง รปู แบบการพัฒนาผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาภาวะผู้นำตาม แนวพุทธศาสนาเน้นการพัฒนา 4 ด้าน คือ พัฒนาศีล พัฒนากาย พัฒนาด้านจิตและพัฒนา ด้านปัญญา หลักธรรมท่ีนำมาพัฒนาเพ่ือให้เกิด การพัฒนาผู้นำด้านวิสัยทัศน์ พัฒนาด้าน ความคิดริเริ่ม พัฒนาด้านการสื่อสารพัฒนาด้านความส่ือสัตย์ พัฒนาด้านการทุจริต พัฒนา ความรับผิดชอบ พัฒนาด้านการใช้อำนาจและพัฒนาด้านวุฒิภาวะ พัฒนาการควบคุม อารมณ์ของผู้นำ ท้ังนี้อาจเป็นเพราะ การพัฒนาหลักสูตรและการบริหารการเรียนการสอน โดยมีการวิเคราะห์เอกสาร โครงสร้างของหลักสูตรแกนกลาง แต่งต้ังคณะทำงานเพื่อจัดทำ หลักสูตรสถานศึกษาให้คลอบคลุมหลักการบริหารงานวิชาการโดยการทำงานเป็นทีมและนำ หลักสูตรที่พัฒนาแล้วมาจัดการเรียนการสอนเพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้ไปสู่ เป้าหมายตามทโี่ รงเรียนไดต้ ั้งไวก้ ารวางแผนองคก์ ร ส่งเสริมให้สร้างองค์ความรู้แหล่งเรียนรู้จากส่ือออนไลน์และสื่อแหล่งเรียนรู้แบบ โครงงานการปฏิบัติจริง ค้นหาความรู้ หรือคำตอบด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ในแปลงเกษตร ท้ังในและนอกโรงเรียน การจัดทำรายงานผลแหล่งเรียนรู้ อภิปรายผลที่ได้จากแหล่งเรียนรู้ นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน นำแหล่งเรียนรู้ท่ีสำคัญไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสร้างและ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ชัดเจนเหมาะสมกับนักเรียน ให้ผู้เรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอก โรงเรียนให้เกิดประโยชน์ โดยลงมือเรียนรู้ปฏิบัติจริง จดบันทึก สรุปความคิด รายงานผลที่ นักเรียนได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง และร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมสนับสนุนนักเรียน ไปเรียนรแู้ หล่งเรยี นรู้ สวนสัตว์ ทะเล พิพิธภัณฑ์ สวนเกษตรพอเพียง การเล้ียงสัตว์ การสรา้ ง รูปแบบการบริหารงานวิชาการจากแหล่งเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วมท่ีมีประสิทธิผลในโรงเรียน สอดคล้องกับงานวิจัยของสุกัญญา จัตุรงค์และอภิชาต เลนะนันท์ (2559) ได้วิจัยเร่ือง รูป แ บ บ ก ารบ ริห ารงาน วิ ช าก ารแ บ บ มี ส่ วน ร่วม ที่ มี ป ร ะสิ ท ธิผ ล ใน โรงเรีย น ขน าด ก ล า ง

480 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมท่ีมีประสิทธิผล ในโรงเรียน ขนาดกลาง ได้มีการดำเนินการ ในด้านการพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตร ไปใช้ การพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาส่ือ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การวางแผนและการส่งเสริมทางวิชาการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การนิเทศภายใน การวัด และประเมนิ ผล ส่วนปญั หาการบริหารงาน วชิ าการแบบมสี ว่ นรว่ มท่มี ีประสิทธิผลในโรงเรยี น ขนาดกลางจากผลการศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหา 1) ด้านการขาดปัจจัยพ้ืนฐานท่ีจำเป็นในการ จัดการเรียนการสอน 2) ด้านระบบงาน ภาระงานสนับสนุนมีมากเกินไป ขาดแคลน อัตรากำลังครู 3) ด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน 4) ด้านการมีส่วนร่วม ขององค์กรใน ชมุ ชน และ 5) ด้านคุณภาพการศึกษา ครูมีความรู้ในการวัดผลจากการร่วมกันพิจารณาคุณภาพงาน จากรูปลักษณะของ งานและการตรวจสอบว่าเป็นไปตามข้อกำหนดที่กำหนดไว้ในระเบียบการประเมินผลหรือไม่ และนำมาปรับปรุง มาพฒั นารปู แบบการวัดให้มีคุณภาพยิ่งข้ึน มีความรู้ในการประเมินผูเ้ รียน ก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังการเรียนรู้ ประเมินทักษะกระบวนการเรียนรู้และนำมา ประกอบการตัดสินผลการเรียน นำความรู้ในการใช้เคร่ืองมอื วัดประเมินผลอย่างหลากหลาย พัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลให้ได้มาตรฐานครบทุกสาระการเรียนรู้ได้ และมีการ เสนอแนะในการแกป้ ัญหาสอดคล้องกับวจิ ยั ของคัมภีร์ สดุ แท้ (2552) ได้วจิ ยั เร่อื ง การพัฒนา รูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการใช้ รูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ท้ังโดยรวมและองค์ประกอบหลัก ท้ัง 2 องค์ประกอบ มีผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก (2) ผลการประเมินความ เป็นไปได้ ความเหมาะสม และความมีประโยชน์ของรูปแบบ การบริหารงานวิชาการสำหรับ โรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กไปใช้ พบว่ามีปัญหาคือครูไม่สามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ได้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ที่ รับผิดชอบ การทุ่มเทพัฒนางานวิชาการอย่างเดียวไม่ทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จอย่าง สมบูรณ์ได้ครูไม่สามารถพัฒนาเคร่ืองมือวัดและประเมินผลให้ได้มาตรฐานครบทุกสาระการ เรียนรู้ได้ และมีการเสนอแนะในการแก้ปัญหา คือ โรงเรียนควรจัดหาแผนการจัดการเรียนรู้ สำเรจ็ รปู ท่ีมีคุณภาพดีให้ครูควรนำกระบวนการบรหิ ารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ไปประยกุ ตใ์ ช้ทง้ั ระบบ ควรสง่ เสริมใหค้ รูพฒั นาเคร่อื งมือวัดและประเมินผลใหไ้ ด้มาตรฐาน

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 481 องคค์ วามรทู้ ีไ่ ด้จากการศกึ ษา รูปแบบการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดใน พระพุทธศาสนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการส่งเสริมนักเรียนไปทัศนศึกษา แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนเช่น สวนสัตว์ ทะเล พิพิธภัณฑ์ สวนเกษตรพอเพียง การเลี้ยงสัตว์ ฯลฯและได้จดบนั ทกึ นำมารายงานผล จัดนิทรรศการ ใหน้ กั เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงกบั แหล่ง เรียนรู้จริงเช่น การเลี้ยงกบ การทำนา การขยายพันธ์ุพืช การจัดการขยะฯลฯ โดยมีปราชญ์ ชาวบ้านให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้จากการศึกษาแหล่งเรียนรู้ท้ัง ภายในและนอกโรงเรียนทั้งแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนววิถีพุทธ นำผลการเรียนรู้ มาอภิปรายระบบกลุ่มและแลกเปลย่ี นเรียนรซู้ ึ่งกันและกัน ประเมินผลการใช้แหล่งเรยี นรู้ทุก ภาคเรียนนำผลมาปรับปรุงแก้ไขแบบต่อเน่ือง ร่วมกันวางแผนการใช้ระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตประกอบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับเน้ือหาสาระการเรียนรู้ ท้ังน้ีอาจ เป็นเพราะ การวางแผนและการส่งเสริมทางวิชาการมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ของชุมชน การสอดแทรกด้านคุณธรรม จริยธรรมตามบริบทของโรงเรียน การสร้างและ พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน โดยเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและ แนววิถพี ุทธ เอกสารอ้างองิ กลุม่ นิเทศ ตดิ ตามและประเมินผลการจดั การศกึ ษา 2561, (2560), กระทรวงศึกษาธิการ, พิมพค์ ร้งั ท่ี 1,กรงุ เทพฯ : สหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย. ปริชาติ ชมช่ืน, (2555), รปู แบบการบรหิ ารงานวิชาการแบบมีส่วนรว่ มของชมุ ชนทม่ี ี ประสิทธผิ ลในสถานศกึ ษาสงั กดั สำนกั งานเขตพ้นื ทก่ี ารศึกษาประถมศึกษา, บณั ฑติ วิทยาลยั :มหาวิทยาลยั ราชภฏั อุบลราชธานี. เพชรนิ สงค์ประเสรฐิ , (2551), การพฒั นารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลกั การ ทำงานเป็นทีมในสถานศกึ ษาข้นั พื้นฐาน, บัณฑติ วทิ ยาลัย :มหาวิทยาลัยนเรศวร. ศริ ิกุล นามศริ ิ. (2552),การพฒั นางานวชิ าการด้วยหลักการบูรณาการในโรงเรียนขนาดเล็ก: การวจิ ยั เชงิ ปฏบิ ัตกิ ารแบบมสี ว่ นร่วม. บณั ฑิตวิทยาลัย : มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น.

482 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) สุกญั ญา จตั ุรงค์และอภิชาต เลนะนันท์, (2559), การบริหารหลักสูตรที่ส่งผลตอ่ คุณภาพของ ผู้เรียน โรงเรียนสังกดั สำนักบริหารงาน การศกึ ษาพิเศษภาคใต้ กลมุ่ 7, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชมุ นมุ สหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย. คมั ภรี ์ สุดแท้. (2552),การพัฒนารูปแบบการบรหิ ารงานวิชาการสำหรับโรงเรยี นขนาดเล็ก. บณั ฑติ วิทยาลัย : มหาวิทยาลยั ราชภฏั มหาสารคาม.

รูปแบบการบรหิ ารจดั การโรงเรียนอนุบาลสองภาษาในยคุ ประเทศไทย 4.0 ทมี่ คี ณุ ภาพในจังหวดั นครศรธี รรมราช Model of Quality Bilingual Kindergarten Management in Thailand 4.0, Nakhon Si Thammarat Province 1เศกสรรค์ กงั สะวิบูลย์, 2ธรี ะพงษ์ สมเขาใหญ่, 3มะลิวัลย์ โยธารักษแ์ ละ 4วันฉตั ร ทิพยม์ าศ, 1Seksun Kangsaviboon, 2Teeraphong Somkhaoyai 3Maliwan Yotharak and 4Wanchat Thippamas 1,2,3มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประเทศไทย 4วทิ ยาลัยเทคโนโลยที ักษณิ อาชวี ศึกษา, ประเทศไทย 1,2,3Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Thailand. 4Vocational Technology Thaksin College, Thailand. [email protected], [email protected] Received May 10, 2020; Revised July 12, 2020; Accepted August 25, 2020 บทคดั ย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังน้ี 1) เพื่อศึกษาสภาพปจจุบันของการบริหารจัดการ โรงเรียนอนุบาลสองภาษา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษา ในยคุ ประเทศไทย 4.0 ทม่ี ีคุณภาพ 3) เพ่ือนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาล สองภาษาในยคุ ประเทศไทย 4.0 ที่มคี ุณภาพในจังหวัดนครศรธี รรมราช ใชร้ ะเบยี บวธิ ีวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเกบ็ ข้อมลู จากการสัมภาษณเ์ ชงิ ลึก ศึกษาเอกสาร โดยใช้ข้อมูลสภาพการบริหารการจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษาจำนวน 6 โรงเรียน มา

484 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) เป็นแนวทางและนำร่างรูปแบบการบริหารโรงเรียนอนุบาลสองภาษา เป็นประเด็นคำถามใน การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 3 คน จากน้ันนำมาสังเคราะห์เป็นร่างรูปแบบเบ้ืองต้น เพ่ือให้คำชี้แนะในการพัฒนารูปแบบก่อนท่ี จะนำเสนอต่อผู้เช่ียวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 7 คนผลวจิ ยั พบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการมีกระบวนการและวิธีการในการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาล สองภาษามีการปฏิบัติท่ีแตกต่างกันออกไป แต่ท้ังนี้ต้องดำเนินการปฏิบัติให้สอดคล้องกับ นโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็น ภาษาอังกฤษ พ.ศ.2544 ส่วนการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษและการจัดกิจกรรม เน้นการส่งเสรมิ พัฒนาการทง้ั 4 ด้านและทักษะการส่อื สารภาษาองั กฤษ 2. รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษา ผลการวิจัยพบว่า ในการ บริหารจัดการประกอบด้วย 4 องค์ ประกอบ คือ (1) ชื่อรูปแบบ (2) หลักการและเหตุผล (3) วัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการ (4) กระบวนการดำเนินการ โดยใช้แนวคิดเชิงระบบ (System Approach) ซึ่งประกอบด้วย ปัจจยั นำเข้า กระบวนการบริหารและผลผลติ 3. ผลการนำเสนอ รูปแบบการบริหารจดั การโรงเรยี นอนบุ าลสองภาษายคุ ประเทศ ไทย 4.0 ที่มีคุณภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสนทนากลุ่ม มีผลคือ ท่ีประชุมกลุ่ม เห็นด้วยกับการนำเสนอให้มีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือคือ 1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการและ เหตผุ ล 3) วตั ถปุ ระสงค์ของรปู แบบ 4. กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการบริหารจัดการ มีความเหมาะสมและ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้ โดยในกระบวนการพัฒนาผู้เรียนควรมีการแบ่งออกเป็น 3 ขน้ั คอื ข้ันเตรยี มความพรอ้ ม ขนั้ ดำเนินการ และขน้ั ตรวจสอบ คำสำคญั : รปู แบบ, การบริหารจดั การ, โรงเรียนอนุบาลสองภาษา, ยคุ ประเทศไทย 4.0

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 485 Abstract The objectives of this research included; 1) to study the present state of the quality bilingual kindergarten management in Nakhon Si Thammarat province; 2) to study the model of quality bilingual kindergarten management in Thailand 4.0; 3) to propose the model of quality bilingual kindergarten management in Thailand 4.0 in Nakhon Si Thammarat province. Methodology of the research was the qualitative research. The data were collected by document investigation in the management of 6 bilingual kindergartens. Then the information was brought to draft the questions for in-depth interviews with 3 Key informants and the information was analyzed for drafting a model and presented to experts and stakeholders through focus group discussion with 7 experts. The results of the research were found as the followings. 1. The state of the quality bilingual kindergarten management was different in methods and process of the establishment of the schools. However, all the schools must operate according to the policy, regulations and methodology set by the Ministry of Education in 2001 in learning management in English and focusing the development of 4 major English communication skills. 2. The model of quality bilingual kindergarten management consisted of 4 parts including; 1) The title of the model; 2) The principle and rationale; 3) The objectives in management; 4) Operation process by system approach including 4.1) input 4.2) management process and 4.3) output. 3. The proposed model of quality bilingual kindergarten management in Thailand 4.0 in Nakhon Si Thammarat province through focus group found that the group agreed with the proposed model that composed of 3 parts including: 1) The model title; 2) Principle and rationale; 3) Objectives of the model. 4. The management process was examined and approved by the experts with its suitability and applicability in actual operation and the learner development process should be divided into 3 steps including preparation, operation and check. Keywords : Model, Management, Bilingual Kindergarten, Thailand 4.0

486 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) บทนำ ปัจจุบนั ในโลกยุคไร้พรมแดนภาษาอังกฤษย่อมเปน็ ส่ิงสำคญั มาก ในการสอ่ื สารของ สังคมในระดับนานาชาติ เพราะจะสามารถสื่อสารได้กว้างขวาง ภาษาอังกฤษจึงถูกจัดเป็น ภาษากลางที่ได้รับความนิยมมีผู้ใช้อย่างแพรห่ ลายมากเป็นอันดับหน่ึง รวมถึงในสังคมไทยใน ปจั จุบันกไ็ ด้เกดิ ความนิยมทจี่ ะเรียนภาษาที่สอง ท่ีสาม ทีส่ ่ีเซ่นกัน แต่มักจะเกิดปัญหาในเรือ่ ง ของโอกาสที่จะสามารถเขา้ ไปทำการศกึ ษาเล่าเรยี นได้อย่างทั่วถึงได้ ซึ่งภายหลังรัฐบาลต่างๆ ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า เด็กไทยยุคใหม่จะต้องสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ในการ แข่งขันและเจรจาต่อรองในเวทีระดับนานาชาติและประกาศนโยบายที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านภาษาอังกฤษของคนไทย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ จากผลการสำรวจทักษะการใชภ้ าษาอังกฤษของเด็กนักเรียนใน 44 ประเทศทั่ว โลก โดยสถาบันสอนภาษาอังกฤษนานาชาติ Education First (2011) พบว่าทักษะการใช้ ภาษาอังกฤษของ เด็กไทยอยู่ในอันดับท่ี 42 และอยู่ในกลุ่มที่ทักษะต่ำกว่าระดับมาตรฐาน มาก ซึ่งทางสำนกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา (ONEC) ได้ให้ความเห็นวา่ เปน็ เพราะประเทศ ไทยยังขาดระบบและกลยุทธ์ท่ีขัดเจนทางการศึกษา ดังนั้น ONEC จึงได้วางเป้าหมายเอาไว้ วา่ ในอีกไม่เกิน 20 ปีนีเ้ ด็กไทยจะต้องเชี่ยวชาญ 3 ภาษา คือไทย อังกฤษและจีน จึงสง่ ผลให้ ในช่วงท่ีผ่านมาประเทศไทยมีความพยายามท่ีจะเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ด้วยการประกาศนโยบายให้นักเรียน เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศท่ี 1 โดย กำหนดให้มีการสอนตั้งแต่ประถมศึกษาเป็นต้นไปต้ังแต่ ในปี พ.ศ. 2538 และ ได้ประกาศใช้ หลักสูตรภาษาอังกฤษ พ.ศ.2539 รวมท้ังการส่งเสริมให้มีการเปิดโรงเรียนนานาชาติ และ โรงเรียน EP ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการโดยใช้ ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2559:3) แต่ มาตรการดังกล่าว ยังไม่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้ จากผลการประเมนิ ด้านผลสัมฤทธท์ิ างการเรียน ในการเร่งรัดพัฒนาคนไทยให้มีทักษะทางภาษาอังกฤษน้ัน กระทรวงศึกษาธิการมี นโยบายจดั การศกึ ษารปู แบบใหม่ 5 รูปแบบ ซงึ่ โครงการโรงเรียนสองภาษา MEP เปน็ หนึง่ ใน การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน พ.ศ.2544 และกำหนดเป็นรูปแบบของนวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบหนึ่ง ต่อมา

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 487 ได้ปรับเปล่ียนเป็นโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็น ภาษาอังกฤษ EP โดยมอบหมาย,ให้สถาบันภาษาอังกฤษ (สภษ.) สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบดำเนินการ เพื่อให้การ เปิดห้องเรียนพิเศษ MEP เป็น'ไปอย่างเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ และกระจายอำนาจไปสู่ คณะกรรมการเขตพื้นท่ีการศึกษา และสถานศึกษาข้ันพ้ืนฐาน สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการเปิดห้องเรียนพิเศษ MEP (กระทรวงศกึ ษาธิการ, 2559:5) ในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถใน การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ จึงมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ British Council ขยายผลโครงการด้วยการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครู ด้านการจัดการเรียนการสอน ภ าษ าอั งก ฤ ษ (Boot Camp) ระ ดั บ ภู มิ ภ าค (Regional English Training Centre) ครอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาค จำนวน 15 ศูนย์ทั่วประเทศ มีวัตถุประสงค์เพ่ือพัฒนาทักษะ ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนภาษาอังกฤษชาวไทย ผลการดำเนินงาน ในด้านปรมิ าณ มคี รทู ่ีเข้า รบั การอบรมแล้วกวา่ 17,000 คน รวมทั้งพฒั นาวิทยากรแกนนำ (Master Trainer: MT) ทม่ี ี ศักยภาพในการเป็นวิทยากรและปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์อบรมท้ังสิ้น 46 คน ตลอดจนเกิด เครือข่ายการทำงานแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในด้านคุณภาพ ส่งผลให้ครูมีการ ป รับ เป ลี่ ย น พ ฤติ ก รรม ใน ก ารส อน ท่ี เน้ น ก ารใช้ภ าษ าอั งก ฤ ษ เพื่ อ ก ารส่ื อส าร (Communicative Approach) อย่างเข้มข้นจากวิทยากรชาวต่างชาติที่ประจำศูนย์ละ 3 คน ผู้เข้ารว่ มอบรมรุ่นละ 75 คน อบรม 3 สัปดาห์ โดยมกี ารจดั อบรมไปแล้ว 10 รุ่น นอกจากน้ี ได้พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสาร (Communicative Approach) ใน โรงเรียนเอกชน ให้กับครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของโรงเรียน เอกชนประเภทสามัญศึกษาท่ียังไม่ได้รับการพัฒนาภาษาอังกฤษในปีงบประมาณ 2560 จำนวน 576 คน และจากการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพ่ือการส่ือสารให้กับครูสอน ภาษาอังกฤษในโรงเรียนเอกชน พบว่าคะแนนเฉล่ียผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ เพ่ิมข้ึนร้อยละ 1.97(กระทรวงศึกษาธิการ, 2561,4) จากทก่ี ลา่ วมาจะเหน็ ไดว้ า่ แม้ภาครฐั จะพยายามดำเนนิ การแลว้ แตก่ ารพัฒนาก็ ยงั ไมเ่ กดิ ผลเทา่ ที่ควรและยังกระจุกอยแู่ ต่ส่วนกลาง ทำใหโ้ อกาสในการเรียรู้ภาษาท่ีสองจงึ

488 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) ยังน้อยและยังอยู่ในเมืองหลกั เป็นส่วนใหญ่ ผู้วิจยั จงึ สนใจทีจ่ ะศึกษา “รปู แบบการบริหาร จัดการโรงเรยี นอนบุ าลสองภาษาทีม่ ีคณุ ภาพในจังหวดั นครศรธี รรมราช” เพ่ือพฒั นาครสู ู่ยุค Education 4.0 และยกระดับคณุ ภาพครูผู้สอนภาษาองั กฤษใหม้ ีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ เชงิ รกุ การจดั การเรียนรู้แบบหอ้ งเรียนกลบั ด้าน การบรู ณาการเทคโนโลยใี นการจัดการเรยี น การสอน สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดใหแ้ ก่นักเรยี นไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธิภาพมากขึ้น สง่ ผลให้ ผลสัมฤทธิ์ของการทดสอบของนักเรยี นโดยรวมสงู ขึน้ วัตถปุ ระสงคก์ ารวจิ ัย 1.เพื่อศึกษาสภาพปจจุบันของการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษาใน จงั หวัดนครศรธี รรมราช 2. เพ่ือศึกษารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษาในยุคประเทศ ไทย 4.0 ท่ีมคี ุณภาพ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษาในยุคประเทศ ไทย 4.0 ทีม่ คี ณุ ภาพในจงั หวัดนครศรีธรรมราช วธิ ดี ำเนนิ การวิจัย การวิจัยน้ี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยได้ดำเนินการ วจิ ัยเป็น 3 ข้นั ตอน ดังนี้ 1. ขั้นตอนการศกึ ษาสภาพ ข้นั ตอนการศึกษาสภาพการการบรหิ ารจดั การโรงเรยี นอนบุ าลสองภาษาในจงั หวัด นครศรีธรรมราช ได้กำหนดดังนี้ การศกึ ษาเอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง การสัมภาษณ์เชิง ลึก การร่างรูปแบบ ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposeful Selection) เป็น การเลือกแบบไม่มีโครงสร้างท่ีเคร่งครัด มีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการท่ีไม่ซับซ้อนเพื่อที่จะ ได้ตัวอย่างท่ีเหมาะที่สุดเท่าท่ีจะเป็นได้สำหรับแนวคิด จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของ การศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เลือกมีลักษณะเป็น “Information-rich case”คือมีข้อมูลให้ศึกษา ในระดับลึกได้มากและสามารถสะท้อนความเป็นจริงได้ดีท่ีสุด ซ่ึงจะมีความหมายต่อ

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 489 จุดมุ่งหมายหลักของการศึกษา เพื่อให้ได้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่ีเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและ วตั ถุประสงค์ของการศึกษามากทส่ี ุด โดยการสมั ภาษณเ์ ชงิ ลึก (In-depth interview) จากผมู้ ี ส่วนเก่ียวข้อง จำนวน 10 คน โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกดังนี้ ผู้มีส่วนเก่ียวข้อง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 5 คน และบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการห้องเรียนสองภาษา จำนวน 5 คน ผู้วิจัยได้ใช้เคร่ืองมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ซงึ่ มลี ำดับขั้นในการสรา้ งเครือ่ งมือ ดงั น้ี 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจยั ทเี่ กี่ยวข้อง เกี่ยวกับการการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) กำห น ด ป ระ เด็ น ก ารร่างแ บ บ การบ ริห ารจั ด ก ารโรงเรีย น อนุ บ าลส อ งภ าษ าใน จังห วั ด นครศรีธรรมราชโดยใช้แนวปฏิบัติของการดำเนินงานโรงเรียนอนุบาลสองภาษาเป็นแนว ทางการร่างแบบ 3) นำร่างแบบการการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษาในจังหวัด นครศรีธรรมราช ท่ีได้ไปปรึกษาอาจารย์ ท่ีปรึกษา และปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ 4) ปรับ ร่างแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษาในจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นประเด็น คำถาม ในการสมั ภาษณเ์ ชงิ ลกึ 2. ขนั้ ตอนการศึกษาการบรหิ ารกจิ กรรม ขั้ น ต อ น ก า ร ศึ ก ษ า ก า ร บ ริ ห า ร จั ด ก า ร โ ร ง เรี ย น อ นุ บ า ล ส อ ง ภ า ษ า ใน จั ง ห วั ด นครศรีธรรมราช ได้กำหนด การร่างแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เช่ียวชาญ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในข้ันตอนนี้ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในการการบริหารจัดการโรงเรียน อนุบาลสองภาษาในจังหวดั นครศรีธรรมราช คือ จากผู้ทรงคุณวฒุ ิ จำนวน 3 คน ซงึ่ ไดม้ าจาก การเลือกแบบเจาะจง โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีดังน้ี ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ศึกษานเิ ทศก์ จำนวน 2 คน ผวู้ จิ ัยไดใ้ ช้เครื่องมอื ในการวจิ ัย ได้แก่ แบบสอบถามเก่ียวกับการการบริหารจัดการ โรงเรยี นอนุบาลสองภาษาในจงั หวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมลี ำดบั ขนั้ ในการสร้างเครอ่ื งมือ ดังนี้ 1) ร่างแบบการการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช จาก การค้นคว้าเอกสารเพิ่มเติม 2) นำร่างแบบ ท่ีได้ไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและปรับปรุงตาม ข้อเสนอแนะ 3. ขั้นตอนการนำเสนอ

490 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) ข้ันตอนการนำเสนอ การบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษาในจังหวัด นครศรีธรรมราช ได้กำหนดดังนี้ นำเสนอแบบการสนทนากลุ่ม ข้อเสนอแนะจากการสนทนา กลุ่ม แบบสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในข้ันตอนน้ีได้แก่ ผู้ร่วมประชุมกลุ่มสนทนา ผู้ให้ ข้อมูลสำคัญ ในการเสนอการการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษาในจังหวัด นครศรีธรรมราช คือ จากผทู้ รงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน ซ่ึงได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีดังนี้ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 4 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน ผทู้ รงคุณวุฒิ (ครตู ่างชาติ) จำนวน 1 คน ครูผู้รับผดิ ชอบโครงการห้องเรียนสองภาษา จำนวน 1 คน เคร่ืองมือที่ใช้ในขั้นตอนการศึกษา คือ แบบประเมินและแบบการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ซึ่งมีลำดับข้ันในการสร้างเคร่ืองมือ ดังน้ี 1) นำร่างแบบการบริหารจัดการ โรงเรียนอนุบาลสองภาษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่ีได้จากการร่างรูปแบบมาจัดทำเป็น แบบประเมิน ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ 2) นำแบบประเมิน ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ที่ได้ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อ ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อย ความครอบคลุมขององค์ความรู้ท้ังการการบริหารจัดการ โรงเรียนอนุบาลสองภาษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช 3) ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ และให้ อาจารย์ท่ีปรึกษา ตรวจสอบความสอดคล้องของข้อคำถามกับนิยามศัพท์อีกครั้ง 4) นำข้อ คำถามปรับปรุงตามข้อเสนอแนะนำของอาจารย์ท่ีปรึกษา จึงทำเป็นฉบับจริงเพื่อเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพ ในข้ันตอนการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 5) แบบสนทนากลุ่มใช้ร่างแบบการ การบรหิ ารจดั การโรงเรยี นอนุบาลสองภาษาในจังหวดั นครศรธี รรมราช ผลการวิจยั 1. สภาพการบริหารจัดการ 1.1 การบริหารจัดการโรงเรียนสองภาษา มีกระบวนการและวิธีการในการ จัดตั้งโรงเรียนอนุบาลสองภาษาต้องดำเนินการปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ พ.ศ. 2544 ส่วนการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษและการจัดกิจกรรม มีรูปแบบการจัด แตกต่างกันออกไปไม่ได้มีการเน้นภาษาอังกฤษทั้งหมด ประมาณครึ่งหน่ึงจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 491 ด้วยภาษาอังกฤษ คือในระดับอนุบาล จัดการเรียนรู้ด้วยภาษาไทยร้อยละ 50 จัดการเรียนรู้ ด้วยภาษาอังกฤษรอ้ ยละ 50 การจัดกิจกรรมการเรยี นรู้เน้นการฟัง การพูด การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ภาษาเพ่ือการสื่อสาร เรียนรู้คำศัพท์พ้ืนฐาน ส่วนเวลาที่เหลือนักเรียนก็เรียนด้วย ภาษาไทย และมีกิจกรรมการเล่นของเขาปกติ ส่วนกิจกรรมภาษาอังกฤษ ก็จะมีกิจกรรม ต่างๆ ในวันสำคญั 1.2 การบริหารจัดการเก่ียวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน อนุบาลสองภาษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช เร่ิมต้ังแต่ครูต่างชาติร่วมกับครูไทยยืนรับ นักเรียนหน้าประตูโรงเรียนและทักทายเป็นภาษาอังกฤษ มีการเพ่ิมกิจกรรมทางภาษา เช่น ภาษาอังกฤษหน้าเสาธงโดยครูต่างชาติ ทุกกิจกรรมการเรียนการสอนจะอยู่ในความดูแลของ ครูไทย เป็นผชู้ ่วยและกำกับใหก้ ารจดั กิจกรรมเป็นไปตามหลักสูตรท่ีสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาข้ันพ้ืนฐานกำหนด การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีแนวทางดำเนินการคือ 1) จัดกิจกรรมตามแนวทางหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน 2) จัดกิจกรรมพื้นฐานบนความเป็นไทยและวัฒนธรรมเจ้าของภาษา 3) เน้นผู้เรียน ให้สื่อสารไดท้ ้ังสองภาษาแบบเปน็ ธรรมชาติ 1.3 การบรหิ ารจดั การเก่ียวกับส่ือการเรียนการสอน ในส่วนของสื่อสำหรบั ใช้ใน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการจัดตกแต่งห้องเรียนและรอบๆ อาคารเพื่อให้เอ้ือต่อการ เรียนรู้ โรงเรียนส่งเสริมให้ครูใช้ส่ือเทคโนโลยี เพลง เกม หรือส่ือเพ่ือเพ่ิมศักยภาพในการ เรียนรู้ของนักเรียน ให้มีประสิทธิภาพมากท่ีสุด ในขณะที่โรงเรียนเอกชนอนุบาลสองภาษามี การจดั การเก่ียวกบั สื่อคือ 1) จัดทำสื่อการเรียนการสอนตรงตามเนื้อหาหลักสูตร 2) เน้นการ เรียนการสอน Active Learning ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ 3) สอ่ื การเรยี นรขู้ องจริง 4) เรยี นรแู้ บบโครงการ 1.4 การบริหารจัดการเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียน โรงเรียน อนุบาลสองภาษามีแตกต่างกันไป คือ โรงเรียนโครงการ English for all ให้ข้อมูลว่า โรงเรียนใช้การวัดและประเมินผลการเรียนในระดับปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ทุกประการ นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังมีการประเมินครตู ่างชาติทุกภาคเรียน โดยครูต่างชาติ ต้องมีผลการประเมินผ่านเกินร้อยละ 60 ขึ้นไปจึงจะทำการต่อสัญญาจ้างในขณะที่บาง โรงเรียนให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าการวัดและประเมินผลการเรียนของนักเรียนอนุบาลสอง ภาษาเนน้ การวัดและประเมินผลตามสภาพจรงิ เพ่อื ส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยภาพรวม

492 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) 2. การพฒั นารปู แบบการบรหิ ารจัดการ ร่างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษายุคประเทศไทย 4.0 ท่ีมี คุณภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราช จากผลการสัมภาษณ์และการศึกษาเอกสารตาม ข้อเสนอแนะและแนวทาง ได้กำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน อนบุ าลสองภาษาซึง่ ประกอบดว้ ย 1) ชอ่ื รูปแบบ 2) หลักการและเหตุผล 3) วัตถุประสงค์ของ รปู แบบ 4) กระบวนการบรหิ ารจดั การ อภปิ รายผล จากการศึกษาวิจัย เรื่องการบรหิ ารจัดการโรงเรยี นอนุบาลสองภาษาในยุคประเทศ ไทย 4.0 ที่มีคุณภาพในจังหวัดนครศรธี รรมราช มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลทีค่ วรนำมาอภิปราย ดงั นี้ 1. การศึกษาสภาพการบริหารจัดการ พบว่าการบริหารจัดการโรงเรียนสองภาษา มีกระบวนการและวิธีการในการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลสองภาษามีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ออกไป แตท่ ั้งนี้ต้องดำเนนิ การปฏบิ ัติให้สอดคล้องกับนโยบาย หลักเกณฑ์และวิธกี ารจัดการ เรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ พ.ศ.2544 ส่วนการ จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษและการจัดกิจกรรม มีรูปแบบการจัดแตกต่างกัน ออกไปไม่ได้มีการเน้นภาษาอังกฤษทั้งหมด ประมาณครึ่งหน่ึงจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วย ภาษาอังกฤษ จัดการเรยี นรู้ด้วยภาษาไทยร้อยละ 50 จัดการเรยี นรู้ด้วยภาษาอังกฤษร้อยละ 50 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เน้นการฟัง การพูด การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาเพื่อการ ส่ือสาร เรียนรู้คำศัพท์พ้ืนฐาน ส่วนเวลาท่ีเหลือนักเรียนก็เรียนด้วยภาษาไทยและมีกิจกรรม การเลน่ ของเขาปกติ ส่วนกจิ กรรมภาษาอังกฤษ ก็จะมกี ิจกรรมต่างๆ ในวนั สำคญั เชน่ การ จัดกิจกรรมวันคริสต์มาส การจัดกิจกรรมวันวาเลนไทน์ ซึ่งมุ่งในการจัดเพื่อให้เด็กเกิดการ เรียนรู้ในวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ที่เป็นเช่นนี้ด้วยเหตุผลว่า การดำเนินการโรงเรียน อนุบาลสองภาษาในจังหวัดนครศรีธรรมราชยังมีจำนวนน้อยมากและในจำนวนที่มีก็ยังไม่ สามารถดำเนนิ การได้เตม็ รูปแบบนกั และยงั เป็นการบรหิ ารจดั การที่มีการใชท้ รัพยากรร่วมกัน กับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานสอดคล้องกับผลการศึกษาของ Solis (2019) วิจัยเรื่อง“Boosting Our Understanding of Bilingual Education :A Refresher on Philosophy and

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 493 Model” พบว่าการจัดการศึกษาระบบสองภาษาที่มีความสำคัญและมีความแตกต่างจาก โรงเรียนโดยท่ัวไปอย่างมากโดยจะเห็นได้จากรูปแบบการจัดการช้ันเรียนและการจัด ตารางสอน จำนวนและประเภทของผู้เรียน รูปแบบของการจัดบุคลากร หลักสูตร สื่อการ เรียนการสอนและวิธีการสอนและรูปแบบในการบริหารจัดการโรงเรียน ดั้งนั้น จึงส่งผลต่อ รูปแบบของการ จัดการศึกษาระบบสองภาษาท่ี มีความแตกต่างกัน ในแต่ละโรงเรียน เนื่องมาจากความแตกต่างของปณิธานและวสิ ยั ทัศน์ในการดำเนินการ 2. รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษา ผลการวิจัยพบว่า ในการ บริหารจัดการประกอบด้วย 4 องค์ ประกอบ คือ 1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการและเหตุผล 3) วัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการ 4) กระบวนการดำเนินการ พบว่า ประเด็นท่ี 2 หลักการ และเหตุผล โดยใช้แนวคิดเชิงระบบ (System Approach) ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า หรือ ทรัพยากรที่สำคัญในการบริหารงาน ได้แก่ การจัดอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ของสถานศึกษา การตอบสนองความต้องการของชุมชน นโยบายของรัฐบาล นโยบายการ บรหิ ารสถานศึกษา ผู้เรียน ที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากบิดามารดาผู้ปกครองด้านค่าใช้จ่าย ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนในด้านพัฒนาการท้ัง 4 ด้าน ผู้บริหารและครูที่ต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหารงานและการสอนปฐมวัย อัตราครูต่อนักเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ ครูต่างชาติต้องมีคุณสมบัติตามท่ีกำหนด มีคุณธรรมจริยธรรมและเป็นแบบอย่างท่ีดี งบประมาณ ต้องมีการบรหิ ารงบประมาณให้มีระสทิ ธภิ าพสูงสุด กระบวนการบรหิ ารจดั การ ได้แก่ การบริหารจัดการหลักสูตร ซ่ึงต้องหลักสูตรสอดคล้องกับอุดมการณ์ และหลักการจัด การศึกษาปฐมวัย หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย เทคโนโลยที ี่ทนั สมัย บูรณาการภาษาองั กฤษในทุกกิจกรรมการเรียนรู้ วดั และประเมนิ ผลการ ใช้หลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเน่ือง กิจกรรมการเรียนการสอน เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ พัฒนาผู้เรียนท้ัง 4 ด้านเต็มตามศักยภาพ เน้นทักษะภาษาอังกฤษตามพัฒนาการ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และความเป็นไทย การวัดและประเมินผล เน้นการวัดและ ประเมินผลพัฒนาการ และการพัฒนาทักษะด้านภาษา มีระบบการรายงานผลการเรียนต่อ ผู้ปกครองและชุมชนตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย นำผลการเรียนรู้ของผู้เรียนไป พัฒนาการเรียนการสอน ผลผลิต ได้แก่ ผลสัมฤทธ์ิของผู้เรียน นักเรียนมีพัฒนาการท้ัง 4 ด้านเป็นไปตามเกณฑ์ นักเรียนมีทักษะภาษาอังกฤษเป็นไปตามเกณฑ์ นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมท่ีพึงประสงค์ ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ผู้ปกครองมีส่วน

494 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) ร่วมและสนับสนุนการดำเนินงานของสถานศึกษา ผู้ปกครองชื่นชมต่อคุณภาพของนักเรียน ผู้ปกครองรักและศรัทธาต่อโรงเรียน ซึ่งทั้งน้ีเป็นเพราะว่าแนวคิดเชิงระบบสามารถนำมาสู่ การบริหารจัดการกับการดำเนินการต่างๆ ได้ดี ระบบของโรงเรียนคือระบบของการพัฒนา คน ก็เร่ิมต้นจากการดูปัจจัยนำเข้า ดูกระบวนการพัฒนาและดูผลผลิต หากไม่เกิดผลตามที่ ต้ อ งก า ร ก็ พิ จ า ร ณ า ดู ปั จ จั ย ป้ อ น ก ลั บ แ ล ะ ส า ม า ร ถ ม า บ ริ ห า ร จั ด ก า ร เพ่ื อ แ ก้ ปั ญ ห า ได้ สอดคล้องกับผลการวิจัยของนิวัตร นาคะเวช (2554) ได้ทำวิจัยเร่ืองการพัฒนารูปแบบการ บริหารจัดการโรงเรียนในฝัน โดยดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษา แนวคิด ทฤษฎีและ งานวิจัย (2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนในฝัน จัดสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการบริหารการศึกษา ด้านการวิจัย (3) ตรวจสอบ คุณลักษณะของรูปแบบการบริหาร จดั การโรงเรียนในฝัน ดว้ ยข้อมูลเชงิ ปริมาณ ผลการวิจยั พบว่า (1) รปู แบบการบริหารจัดการ โรงเรียน ท่ีร่างมี 5 องค์ประกอบเช่นเดียวกัน กับรูปแบบที่พบจากการศึกษาเบ้ืองต้นคือ หลักการ บริหารจัดการวัตถุประสงค์ของโรงเรียนโครงสร้างของโรงเรียน กลยุทธ์ขอ ง โรงเรียน เงื่อนไขความสำเร็จ (2) รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนในฝันท่ีสร้าง มี 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ บรหิ ารจัดการ วัตถุประสงค์ของโรงเรียน โครงสร้างของโรงเรยี น กลยุทธ์ของโรงเรียน เงื่อนไขความสำเร็จ (3) ผลท่ีได้จากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า องค์ประกอบ รูปแบบการบริหารจัดการ มีลักษณะแนวคิดเชิงระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า 3 องค์ประกอบ คือ วัตถปุ ระสงค์ของโรงเรยี น หลกั การบรหิ ารจัดการและโครงสร้างการบริหาร ปัจจัยกระบวนการ 1 องคป์ ระกอบ คือ กลยทุ ธก์ ารดำเนินงาน ปัจจัยผลผลติ 1 องคป์ ระกอบ คอื ภาพความสำเร็จ 2 องคป์ ระกอบ คือ สภาพแวดล้อมของ และการประเมนิ ปรับปรุง และ พัฒนา (4) การตรวจสอบคุณลักษณะของรูปแบบด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิง คุณภาพ มีความสอดคล้องกับคุณลักษณะของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนในฝันทั้งใน ดา้ น ความมีประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง 3. ผลการนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษายุคประเทศ ไทย 4.0 ที่มีคุณภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสนทนากลุ่ม มีผลคือ ท่ีประชุมกลุ่ม เห็นด้วยกับการนำเสนอให้มีองค์ประกอบ 4 ส่วนคือคือ 1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการและ เหตุผล 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) กระบวนการบริหารจัดการ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมี รายละเอียด การนำเสนอชื่อ“รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษายุค ประเทศไทย 4.0 ท่ีมีคุณภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราช”นั้นท่ีประชุมกลุ่มเห็นด้วยใน

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 495 เบ้ืองต้น แต่มีข้อแนะนำว่าในรายละเอียดต้องใส่รายละเอียดให้เห็นว่า ยุคประเทศไทย 4.0 ที่มีคุณภาพนั้น เป็นคุณภาพอย่างไร ควรมีการกำหนดให้ชัดเจนในตัวผลลัพธ์ด้วย กลักการ และเหตุผล ควรมีการเขียนให้ชดั ว่ารปู แบบทนี่ ำเสนอควรมีหลักการอะไรบ้าง และที่ประชุม กลุ่มให้ความเห็นว่าควรประกอบด้วยหลักการคือ เป็นรูปแบบเชิงระบบเพื่อส่งเสริ ม พัฒนาการผู้เรียนปฐมวัย เป็นรูปแบบที่ผสมผสานผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรกับ ประสบการณ์ทางภาษา เป็นรูปแบบท่ีสรา้ งความพึงพอใจแกผ่ ปู้ กครอง และต้องเปน็ รปู แบบ ที่มีความน่าเชื่อถือตรวจสอบได้ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ควรปรับวัตถุประสงค์จาก 2 ข้อ เป็น 3 ข้อ โดยเพิ่มการพัฒนาทักษะชีวิตในยุคประเทศไทย 4.0 เข้าไปด้วย กระบวนการ บรหิ ารจดั การ ในกระบวนการพัฒนาผู้เรยี นควรมีการแบง่ ออกเปน็ 3 ขั้น คือ ขนั้ เตรยี มความ พร้อม ขั้นดำเนินการและข้ันตรวจสอบและ ท่ีเป็นเช่นน้ีเพราะว่าในการบริหารจัดการ โรงเรียนระดับปฐมวัย จำเป็นต้องมีองคป์ ระกอบในระบบที่ครบถ้วนจึงสามารถจดั การศกึ ษา ท่ีมีคุณภาพได้ สอดคล้องกับงานวิจัยของเรขา ศรีวิชัย(2559) ที่ได้ศึกษารูปแบบการ บริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล พบว่าต้องประกอบด้วยปัจจัย นำเข้าท่ีมอี งค์ประกอบย่อย คือ สภาพแวดลอ้ มของสถานศึกษา การตอบสนองความต้องการ ของชุมชนและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน นโยบายของรัฐบาล นโยบายของคณะกรรมการ สถานศึกษา ผู้เรียน ผู้บริหารและครู จรรยาบรรณวิชาชีพ ของ ครู จรรยาบรรณวิชาชีพ ของ ผู้บริหาร และงบประมาณ สำหรับปัจจัยด้านกระบวนการน้ัน ประกอบด้วย การบริหาร จัดการหลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลด้านผลผลิต คือ ผลสัมฤทธ์ิ ของนักเรียน และความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน 2. จากการประเมินรูปแบบการ บรหิ ารงานสถานศึกษาเอกชนระดบั ปฐมวยั ท่ีมปี ระสทิ ธิผลในจังหวัดนนทบุรี พบวา่ รูปแบบน้ี มีประโยชน์ มีความสอดคล้องและความเป็นไปได้ ส่วนความ เหมาะสม จำเป็นต้องพัฒนา จากขนาดของสถานศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาจะต้องแสดงความเป็นเอกลักษณ์และอัต ลกั ษณใ์ นการบริหารจัดการให้ชัดเจนดว้ ย องค์ความรู้ทไ่ี ด้จากการศึกษา รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษายุคประเทศไทย 4.0 ที่มี คุณภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสนทนากลุ่ม มีผลคือ ท่ีประชุมกลุ่มเห็นด้วยกับ การนำเสนอให้มีองค์ประกอบ 4 ส่วนคือคือ 1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการและเหตุผล 3)

496 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) กระบวนการบริหารจัดการ ซ่ึงแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียด การนำเสนอชื่อ“รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลสองภาษายุคประเทศไทย 4.0 ทม่ี ี คณุ ภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราช”น้ันที่ประชุมกลุ่มเห็นด้วยในเบ้ืองต้น แต่มีข้อแนะนำว่า ในรายละเอยี ดต้องใส่รายละเอียดให้เห็นวา่ ยคุ ประเทศไทย 4.0 ที่มีคุณภาพน้ัน เป็นคุณภาพ อย่างไร ควรมีการกำหนดให้ชดั เจนในตวั ผลลัพธด์ ้วย กลักการและเหตุผล ควรมีการเขียนให้ ชัดว่ารูปแบบที่นำเสนอควรมีหลักการอะไรบ้างและที่ประชุมกลุ่มให้ความเห็นว่าควร ประกอบด้วยหลักการคือ เป็นรูปแบบเชิงระบบเพ่ือส่งเสริมพัฒนาการผู้เรียนปฐมวัย เป็น รูปแบบที่ผสมผสานผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรกับประสบการณ์ทางภาษา เป็นรูปแบบท่ี สร้างความพึงพอใจแก่ผู้ปกครอง และต้องเป็นรูปแบบท่ีมีความน่าเช่ือถือตรวจสอบได้ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ควรปรับวัตถุประสงค์จาก 2 ข้อ เป็น 3 ข้อ โดยเพิ่มการพัฒนา ทักษะชีวิตในยุคประเทศไทย 4.0 เข้าไปด้วย กระบวนการบริหารจัดการ ใน กระบวนการพัฒนาผู้เรียนควรมีการแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ข้ันเตรียมความพร้อม ข้ัน ดำเนินการและขั้นตรวจสอบและ ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าในการบริหารจัดการโรงเรียนระดับ ปฐมวัย จำเปน็ ตอ้ งมอี งค์ประกอบในระบบท่ีครบถว้ นจงึ สามารถจดั การศึกษาทีม่ คี ุณภาพได้ เอกสารอ้างองิ กระทรวงศึกษาธกิ าร. (2559), แนวทางการเปดิ หอ้ งเรียนพเิ ศษในสถานศึกษาข้นั พน้ื ฐาน พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพช์ ุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทยจำกดั . ______.(2561), 17 ผลงานเด่นกระทรวงศึกษาธกิ าร. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธกิ าร. Solis, A. (2019), Boosting our understanding of Billingual education : A refresher on philosophy and Model. Intercultural Development Research Assosiation. (online).Available:http:www.idra.org/Newsltt นิวตั ร นาคะเวช. (2554), การพฒั นารูปแบบการบริหารจดั การโรงเรยี นในฝนั . บัณฑติ วิทยาลยั : มหาวิทยาลยั อสี เทิร์นเอเชยี . ปทุมธานี. เรขา ศรวี ิชัย, (2559), รูปแบบการบริหารงานสถานศกึ ษาเอกชนระดบั ปฐมวัยทม่ี ีประสทิ ธิผล ในจงั หวดั นนทบุรี, วทิ ยาลัยบัณฑติ ศึกษาดา้ นการจดั การ :มหาวิทยาลยั ศรปี ทมุ .

ผลกระทบของการใชบ้ ตั รคำศัพทท์ มี่ ตี ่อความรคู้ ำศพั ท์ของนกั เรยี น ระดับช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสาวะถี The Effects of word cards Strategy on Vocabulary Knowledge of Grade 5 Elementary Students at Bansawathi School 1รัฐพล ศิรภิ มู ิ และ 2สุขุม วสนุ ธราโศภิต, 1Rattapon Siriphum, and 2Sukhum Wasuntarasobhit มหาวิทยาลัยขอนแกน่ , ประเทศไทย Khon Kaen University, Thailand [email protected], [email protected] Received May 10, 2020; Revised July 12, 2020; Accepted August 25, 2020 บทคัดยอ่ งานวิจัยน้ีมีจุดประสงค์เพ่ือศึกษาผลกระทบของการใช้บัตรคำศัพท์ท่ีมีต่อความรู้ คำศัพท์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 โรงเรียนบ้านสาวะถี และการรับรู้ของ นักเรียนที่มีต่อการใช้บัตรคำศัพท์ เคร่ืองมือท่ีใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบ คำศัพท์ก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามการรับรู้ของนักเรียนที่มีต่อการใช้บัตร คำศัพท์ คำศัพท์ที่นำมาใช้ในงานวิจัยนี้ได้คัดเลือกมาจากบัญชีคำศัพท์ของกรอบมาตรฐาน การประเมินความความสามารถทางภาษาจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (CEFR) ระดับ A1 ผลจากการแบบทดสอบคำศัพท์ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า การใช้บัตรคำศัพท์ช่วย พฒั นาความรู้คำศัพท์ของนักเรยี นทั้งในด้านของการจดจำคำศัพท์, การจดจำความหมายของ ศัพท์, และการใช้คำศัพท์ ผลจากแบบสอบถามการรบั รู้ของนักเรียน โดยรวมพบว่า นักเรียน

498 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) มีการรับรู้ในเชิงบวกต่อการใช้บัตรคำศัพท์ ในด้านความพึงพอใจต่อการใช้บัตรคำศัพท์พบว่า นักเรียนพึงพอใจอย่างมากต่อการใช้บัตรคำศัพท์ ในด้านประโยชน์ของการใช้บัตรคำศัพท์ พบว่านักเรียนรับรู้ว่าการใช้บัตรคำศัพท์มีประโยชน์ และในด้านการใช้บัตรคำศัพท์พบว่า นกั เรียนรับรูอ้ ยา่ งมากต่อการใช้บัตรคำศัพท์ คำสำคญั : บตั รคำศัพท,์ การใชบ้ ตั รคำศพั ท์, ความรู้คำศัพท์ Abstract This research aimed at investigating the effects of word cards strategy on vocabulary knowledge and perceptions of grade 5 elementary students at Bansawathi School. The instruments used in this study were: the vocabulary pretest and posttest, and the questionnaire on the perceptions on word cards strategy. The vocabularies used in this study were selected from the Common European Framework of Reference for Language (CEFR)’s A1 English vocabulary list. The results from the vocabulary pretest and posttest revealed that the use of word cards strategy helped improve the students’ vocabulary knowledge in terms of the recognition of forms, the recognition of meaning, and the use of vocabulary. The overall results from the questionnaire revealed that the students had positive perceptions on word cards strategy. In satisfaction aspect, the students were highly satisfied with word cards strategy. In word cards utilization, the students perceived that word cards strategy was useful and they learned a lot from word cards strategy. Keywords : Word Cards, Word Cards Strategy, Vocabulary Knowledge Introduction Vocabulary knowledge is a core component of all language skills that a learner who has a large vocabulary will be able to develop skills in reading, listening, writing and speaking (Richards, 2015). According to Laufer (1992) and Nation (2005), there are high relationship between vocabulary and all language skills especially for English as second and foreign learners that the learners’ abilities are depended on vocabulary knowledge.

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 499 It could be seen that vocabulary knowledge is essential for both English as second language learners and English as Foreign language learners that they have to learn since in order to master language, vocabulary learning is an essential part (Schmitt, 2010). In conclusion, vocabulary knowledge is important for those who want to master language, and to be able to use all language skills. From various studies, vocabulary knowledge affected learners’ language ability. According to Oxford (1990), language learners who cannot remember the large amounts of vocabulary would have a problem on fluency achievement. Schouten-van Parreren (1989) found that learners with restricted vocabulary knowledge had difficulty integrating and generalizing knowledge from words they have already learned to the new ones. Similarly, in Thailand, the students seem to have limited knowledge of vocabulary. According to the National Institute of Educational Testing Service (NIETS, 2017), the average scores of the Ordinary National Education Test (O-NET) of English of students in grade 6 primary school were lower than 50 percent in the past years due to inadequate English vocabulary knowledge. Moreover, Watcharapichitchai (2012) found that Thai elementary school students lacked vocabulary knowledge that they cannot retain the meaning of the vocabulary they learned, and they cannot make use of the vocabulary because they cannot retain its form. Therefore, it could be seen that inadequate vocabulary knowledge has negative effects on students that they need vocabulary learning. Schmitt (2010) stated that vocabulary learning is an essential part for those who want to master language. In addition, for vocabulary learning, the strategy to be used is also important. According to Catalán (2003), vocabulary strategy is defined as the process as well as steps or actions the students used in order to learn vocabulary to find out the meaning of unknown words, to retain them in long-term memory, to recall them, and to use them in speaking or writing. Nation (1990) also stated that for learning a word, vocabulary strategy must be added. As to Hedge (2000), apart from explaining new words, one of the important roles of the teachers is to teach effective strategies. Accordingly, students should learn vocabulary strategy in order for them to learn vocabulary. One of the effective strategies used in vocabulary learning is word cards strategy. According to Nation (2001), word cards strategy is the strategy that learners