Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563

วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563

Description: 16541-5445-PB (1)

Search

Read the Text Version

550 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) ปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ มี 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1.1) ความรู้สึกต่อชีวิต คู่ชีวิต บุตรหลานหรือบุคคลสำคัญของชีวิต 1.2) ความผาสุกในส่ิงที่เป็น ปัจจุบัน และ 1.3)ความผาสุกในการมีศาสนายึดม่ัน และ 2) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ใน ครอบครัว ประกอบด้วย 2.1)การใช้เวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว 2.2) การพูดคยุ ปรึกษาหารือ และตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆ ของสมาชิกในครอบครัว 2.3) การแสดงออกซึ่งความรักและความเอื้ออาทรกัน ทั้งทางกาย วาจา และใจของสมาชิกใน ครอบครัว 2.4) การปฏิบัติตามบทบาทหน้าท่ีที่เหมาะสมของสมาชิกในครอบครัว และ 2.5) ความสมั พนั ธก์ ับเพื่อน พัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวตั ถุของผู้สูงอายุท่ีมา ถือศลี อุโบสถในวดั ของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรรี ัมย์ จากการสังเคราะห์เปน็ กิจกรรมพัฒนา ความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุท่ีมาถือศีลอุโบสถใน วัดของพระพทุ ธศาสนาจงั หวัดบรุ รี ัมย์ ระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุท่ีมา ถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์ ท่ีตอบแบบสอบถาม โดยภาพรวมมี ค่าเฉลี่ยระดับมาก (  = 4.35) เมอื่ พิจารณาเป็นรายด้าน ด้านท่ีมรี ะดบั ค่าเฉล่ียระดับสงู สุด มี 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ความรู้สึกต่อชีวิต คู่ชีวิต บุตรหลานหรือบุคคลสำคัญของชีวิต และ ด้านที่ 3 ความผาสุกในการมีศาสนายึดม่ัน หมายถึง ความสุขท่ีมีเกิดจากการปฏิบัติตามคำ สอนของศาสนา (  = 4.35) และด้านท่ีมีระดับค่าเฉลี่ยระดับต่ำสุด คือ ด้านท่ี 2 ความ ผาสกุ ในส่งิ ทเี่ ป็นปจั จบุ นั หมายถึง ความผาสกุ ในปัจจบุ ันท่เี ป็นอยู่ (  = 4.34) คำสำคัญ: ความผาสุกทางจิตวิญญาณ, กระบวนการบุญกิริยาวัตถุ, ผู้สูงอายุที่มาถือศีล อุโบสถ, จังหวดั บรุ รี มั ย์ Abstract The objectives of this research included: 1) to study the spiritual happiness through Punnakiriya-vatthu Process of the Elderly Observing Precepts in Buddhist Temples in Buriram Province; 2) to develop the spiritual happiness through Punnakiriya-

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 551 vatthu Process of the Elderly Observing Precepts in Buddhist Temples in Buriram Province; and 3) to analyze the model of creating the spiritual happiness through Punnakiriya-vatthu Process of the Elderly Observing Precepts in Buddhist Temples in Buriram Province. It was a mixed method research and the results could be revealed as the followings. Factors affecting the spiritual happiness of the elderly in Buriram province included 2 aspects: 1) Spiritual happiness of the elderly consisting of: 1.1) Feeling towards life, spouse, children or other important persons in one’s mind; 1.2) Happiness in the present things; and 1.3) Happiness from holding a religion. 2) Relationships in families consisting of: 2.1) Having time in doing common activities of the family members; 2.2) Talking, discussing and making decision on important issues of the family members; 2.3) Expression of mutual love and care through body, speech and mind of all the family members; 2.4) Appropriate practice according to the role of each member of the family; and 2.5) Relationship with friends. In the Development of the spiritual happiness through Punnakiriya-vatthu Process of the Elderly Observing Precepts in Buddhist Temples in Buriram Province from the synthesis of all activities, they were the activities that develop the spiritual happiness through Punnakiriya-vatthu Process of the Elderly Observing Precepts in Buddhist Temples in Buriram Province. The overall level of the spiritual happiness through Punnakiriya-vatthu Process of the Elderly Observing Precepts in Buddhist Temples in Buriram Province from the response of the questionnaires was averagely high (  = 4.35). Considering by aspect, it was found that there were two highest average aspects including: The first aspect of feeling towards life, spouse, children or other important persons in one’s mind and the third aspect of happiness from holding a religion i.e. the happiness from the practice of the religious teachings (  = 4.35) and the lowest average aspect was the second aspect i.e. happiness in the present things meaning the happiness in present being (  = 4.34). Key Word : Spiritual Happiness, Punnakiriya-vatthu Process, the Elderly Observing Precepts in Buddhist Temples, Buriram Province

552 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) บทนำ ในยุคปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาต้ังแต่ปี พ.ศ.2546 และ จำนวนผู้สูงอายุมีแนวโน้มว่าจะเพ่ิมขึ้นอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรใน วัยทำงานเป็น ร้อยละ 23 ในอีก 20 ปี ข้างหน้า ซึ่งจะทำให้สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุโดย สมบูรณ์ การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญหาและส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม เป็นต้น สำหรับปัญหาที่เกิดกับผู้สูงอายุมากที่สุดคือปัญหาสุขภาพกาย ซึง่ เกดิ จากความเสือ่ มโทรมทางร่างกายเพราะชราและโรคต่าง ๆ รมุ เรา้ เมือ่ เกิดโรคทางกายก็ ส่งผลกระทบต่อจิตใจทำให้เกดิ ความวิตกกังวลกระวนกระวายใจเป็นทกุ ขท์ ั้งทางกายและทาง จิต ในชนบทบางแห่งพบว่าผู้สูงอายุเป็นโรคซึมเศร้าเน่ืองจากพลัดพรากจากลูกหลานที่ต้อง เดินทางไปทำงานต่างถิ่นท่ีอยู่ห่างไกลจึงขาดคนดูแล เมื่อเกิดปัญหาทางจิตใจแล้วก็ส่งผลต่อ สุขภาพกายด้วย ดังน้ัน การช่วยให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพทางกายและทาง จติ จงึ เป็นเร่ืองทรี่ ัฐและกระทรวงสาธารณสุขส่งเสรมิ เอาใจใส่เพื่อให้ผู้สงู อายุมีสุขภาวะและมี คณุ ภาพชีวิตท่ีดีตรงตามข้อกำหนดขององการอนามัยโลกและองค์กรทางศาสนาต่าง ๆ ซึ่งได้ ชื่อว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของมวลมนุษย์ก็ได้ทำหน้าที่เยียวยาแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุอยู่ แล้วโดยเฉพาะพระพุทธศาสนาซึ่งมีหลักคำสอนที่เน้นการพัฒนาจิตเป็นหลักสำคัญดังท่ีพระ พุทธองค์ตรัสว่า “สรรพส่ิง มีใจเป็นหัวหน้า มีใจสำคัญท่ีสุด ล้วนเกิดจากใจ”(ขุ.ธ.(ไทย) 25/1-2/1-2) ความสุข ความทุกข์ ความดี ความช่ัวทุกอย่างล้วนเกิดจากจิตท้ังสิ้น ถ้า ฝึกอบรมพัฒนาจิตดีแล้วย่อมก่อให้เกิดสุขภาวะทางจิตที่ดีสามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขได้ (ขุ.ธ. (ไทย) 25/36/22) แม้จะมีโรคทางกายต่าง ๆ รุมเร้าก็ตาม ตรงกันข้ามถ้าขาดการพัฒนาจิตที่ดี ถึงแม้ จะมสี ุขภาพทางกายแข็งแรง กห็ าความสขุ ท่ีแท้จริงไดย้ าก โดยเมอื่ เข้าสวู่ ัยชรา ผู้สูงอายจุ ะประสบ ภาวะพ่ึงพิงหลายด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านสังคมและจิตใจ ประกอบกับผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ มากมาย อันเน่ืองจากมีการเปล่ียนแปลงทางร่างกาย จิตใจและ สังคม การสูญเสียปัจจัยทาง สังคม (social factor) ของผู้สูงอายุ อันได้แก่ การสูญเสียบทบาท การปลดเกษียณจากการ ทำงาน ทั้งๆ ท่ีบางคนยังมีสภาพร่างกายและจิตใจท่ีแข็งแรงพอจะทำงานได้อีก จึงทำให้ ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกการสูญเสียอำนาจ (power ) และคุณค่า (value) ของตนเองลดลง

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 553 เกิดมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมตามมา เชน่ ไม่มรี ายได้หรือรายไดล้ ดลง ไม่สามารถ อยกู่ บั ครอบครวั ได้ ในบางรายถูกทอดทิง้ ใหอ้ ย่ตู ามลำพัง (ภิรมย์ เจริญผล, 2553: 1) การทำให้ชีวิตของผสู้ ูงอายุในช่วงระยะเวลาที่เหลอื อยู่ เพื่อเปน็ การพักผ่อน และได้ ทำตามความต้องการของตนเอง โดยเฉพาะอย่างย่ิงการพักผ่อนอย่างมีความสุข การได้ ปลดปลอ่ ยภาระ และการปล่อยวาง ปรงุ แตง่ ใจใหม้ ีธรรม 5 อยา่ ง คอื “ 1) ปราโมทย์ มีความ ร่าเริงเบิกบานใจ 2) ปีติความอ่ิมใจ 3) ปัสสัทธิ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ 4) สุข โล่ง โปร่งใจ 5) สมาธิ สงบใจต้ังม่ันไม่มีอะไรมารบกวน เป็นการปรุงแต่งจิตใจให้เกิดความเจริญ งอกงามในธรรม” (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยตุ ฺโต), 2550: 58) ความผาสุกทางจิตวิญญาณถือเป็นมิติที่สำคัญมากมิติหน่ึงในการดูแลสุขภาพแบบ องค์รวมเป็นความรู้สึกส่วนลึกภายในจิตใจของบุคลท่ีแสดงถึงภาวะสงบ เป็นสุข มีความ เข้มแข็งในจิตใจยอมรับความจริง มีเป้าหมายในชวี ิต มคี วามหวัง ยอมรับและพึงพอใจในส่ิงท่ี เป็นอยู่ รู้สึกม่ันใจในความสัมพันธ์กับส่ิงศักด์ิสิทธ์ิหรือส่ิงที่ตนยึดเหน่ียว ผู้สูงอายุที่มีความ ผาสุกทางจิตวญิ ญาณจะเปน็ ผูท้ ใ่ี ชส้ ติ และจิตสำนึกในการพจิ ารณาปญั หาท่เี กดิ ขึ้น ยอมรบั ใน สิ่งท่ีเป็นอยู่ มองเห็นชีวิตคนเองมีคุณค่า และสามารถยอมรับความจริงของสภาพร่างกายที่ เกิดขึ้นในชีวติ ได้ ผู้ที่มีความผาสุกทางจิตวญิ ญาณจะเป็นผู้ท่ีเห็นความหมายและเป้าหมายใน ชีวิต มีความเมตตากรุณา มคี วามสุขอันล้ำลึก ร้จู ักมอบความรกั ที่ไม่มีเงื่อนไขให้แก่ผอู้ ่ืน และ รับร้ไู ด้วา่ ตนเองกเ็ ป็นผู้ได้รับความรัก สามารถเข้าถึงพระรัตนตรัยหรือพระผู้เป็นเจ้าได้ ความ ผาสุกทางจิตวิญญาณจงึ มีผลดีตอ่ สุขภาพทางกาย ทางจิต และทางสังคม (กนิษฐา ล้ิมทรัพย์, 2557: 3) หากผู้สูงอายุมีความตระหนักรู้ในตนเอง คือมีการทำความรูจ้ ักและเข้าใจความรู้สึก ของตนเองวา่ ตนเองขณะนี้มคี วามรสู้ ึกอย่างไรและต้องทำความเข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเชน่ น้ัน รู้ จุดเด่นจุดด้อยของตนเอง และสามารถควบคุมจัดการกับตนเองในด้านต่างๆ ได้อย่าง เหมาะสม เปิดใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้น มีการยอมรับได้ต่อการ เจ็บป่วยและการเส่ือมลงของสภาพร่างกายก็จะทำให้ผู้สูงอายุสามารถยอมรับการ เปล่ียนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ จะทำให้ผู้สูงอายุปรับตัวในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข การมองโลกในแง่ดี เป็นการมีทัศนะเชิงบวกกับสถานการณ์ท่ีเกิดข้ึน การมีแนวโน้มที่จะเชื่อ วา่ การไม่ประสบผลสำเร็จเป็นการลม้ เหลวเพียงชั่วคราวเท่าน้ัน ส่วนส่ิงดๆี น้นั จะเกิดขึ้นเสมอ จะไม่มัวแต่กล่าวโทษตนเองว่าเป็นสาเหตุของความล้มเหลวน้ันๆ มีกำลังใจที่ทำฝ่าฟัน อุปสรรคต่อไปจนสำเร็จลุล่วงไป ดังน้ันการมองโลกในแง่ดีจึงน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้

554 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) ผสู้ ูงอายุมีความหวัง มองสถานการณ์ในเชิงบวก สามารถปรับเปล่ียนความคิดและทัศนคติไป ตามสถานการณ์ต่างๆของชีวิตได้อย่างเหมาะสมความพึงพอใจในชีวิต เป็นส่ิงที่บ่งช้ีว่า ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตได้อย่างราบรื่น มีความสุข หากผู้สูงอายุปรับตัวได้ทันกับการ เปล่ียนแปลงทางสังคม วฒั นธรรม และเหตุการณ์สภาพแวดล้อมตา่ งๆ ที่เขา้ มาในชีวิตได้ดี ก็ จะสามารถดำเนินชวี ิตได้อย่างมีความสุข เกิดความพึงพอใจในชีวติ แต่ถา้ ไม่พร้อมท่ีจะเรียนรู้ ในส่ิงใหม่ในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความลำบากในการปรับตัว ผู้สูงอายุบางคนจะคิดว่าตนเองไร้ค่า ไร้ความสามารถมองภาพตนเองในเชิงลบ ส่ิงเหล่านี้มี อิทธพิ ลต่อสภาพจิตใจของผู้สูงอายุมาก เนื่องจากผสู้ ูงอายุบางคนไม่สามารถปรับตวั ให้เข้ากับ การเปลย่ี นแปลงของตนเอง และสภาพแวดล้อมได้ ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุนั้นมคี วามพึงพอใจใน ชวี ติ ต่ำ จนอาจจะเกิดผลรา้ ยตอ่ จิตใจทำให้เกดิ ปัญหาทางจติ ขนึ้ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจงึ สนใจศึกษาเรื่องรูปแบบการเสริมสร้างความ ผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยาในจังหวัดบุรีรัมย์เพ่ือนำผลการวิจัย ในครั้งน้ีมาแก้ไขสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน อันจะเป็นประโยชน์ต่อ สงั คมประเทศชาตติ ่อไป วัตถปุ ระสงค์การวจิ ัย 1. เพื่อศึกษาความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของ ผู้สงู อายทุ ี่มาถอื ศลี อโุ บสถในวัดของพระพุทธศาสนาจงั หวดั บุรีรมั ย์ 2. เพ่ือพัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของ ผู้สงู อายุทม่ี าถอื ศีลอโุ บสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวดั บุรีรมั ย์ 3. เพ่ือวิเคราะห์รูปแบบสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญ กิรยิ าวัตถขุ องผ้สู ูงอายุทมี่ าถอื ศีลอุโบสถในวดั ของพระพุทธศาสนาจังหวดั บรุ ีรัมย์ วิธดี ำเนนิ การวิจยั การศึกษาครง้ั นี้เปน็ การวจิ ยั แบบผสมผสานระหว่างการศึกษาวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพและ ปริมาณ โดยนำข้อมูลจากวรรณกรรม ประกอบด้วยส่อื ส่งิ พิมพ์ หนังสอื วารสาร ตำราทาง วชิ าการ บทสัมภาษณ์ พระราชดำรสั และหลักฐานอนื่ ๆ ทเี่ กี่ยวข้อง รวมถึงการปฏิบตั ิงาน

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 555 จรงิ ในภาคสนามโดยการสมุ่ ตัวอย่างประชากรเพ่ือหาค่าทางสถิตแิ ละอืน่ ๆ ตามระเบยี บวธิ ี วิจยั เชงิ ปรมิ าณ ดงั นี้ 1. ประชากรและกลมุ่ เปา้ หมาย ประชากรและกลมุ่ เปา้ หมาย คือ ผู้สูงอายุ ในจงั หวดั บรุ รี ัมย์ โดยการเจาะจงเอา 1) อำเภอหนองก่ี จังหวดั บุรรี ัมย์ มวี ดั หนองก่ี และวัดเวฬนุ คราราม 2) อำเภอลำปลายมาศ มีวัด โพธย์ิ ่อย และวัดตลาดโพธิ์ 3) อำเภอเมอื ง มีวัดเยย้ สะแก และวดั โคกเพชร 2. เคร่อื งมือการวจิ ัย 2.1 แบบสมั ภาษณ์แบบมโี ครงสรา้ ง (Structured Interview) 2.2 แบบสอบถามเกีย่ วกบั การพัฒนาความผาสกุ ทางจิตวญิ ญาณผา่ น กระบวนการบุญกิรยิ าวัตถุของผสู้ งู อายทุ ่ีมาถือศีลอุโบสถในวดั ของพระพทุ ธศาสนาจงั หวัด บุรีรัมย์มลี กั ษณะเปน็ แบบประเมินค่า 5 ระดบั 2.3 แบบสอบถามการยืนยันข้อมลู 3. วธิ ีการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล วธิ ีเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย แบบสอบถาม โดยเครื่องมือวิจัยที่ ผวู้ ิจยั พฒั นา ขน้ึ จากแนวคดิ ทฤษฎี และงานวจิ ยั ที่เกยี่ วข้อง 3.1การวางแผนก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนการวางแผน เพื่อ เตรียมความพร้อมสำหรับการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลวิจัยภาคสนาม ในวิธีการ แจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากนั้นนำข้อมูลท่ีได้มาวิเคราะห์ผลตามหลักสถิติและ นำเสนอขอ้ มูลในรปู ตารางและเชิงบรรยาย 3.2 เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามเชิงคุณภาพเป็นข้ันตอนการลงพื้นที่จริง เพื่อ เก็บข้อมลู กบั กลุ่มผ้ใู ห้ข้อมลู หลกั 4. การวิเคราะห์ขอ้ มูล 4.1 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ค่าสถิติพ้ืนฐานโดยหาค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการ อธิบายข้อมูลท่ีไดจ้ ากแบบสอบถาม 4.2. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงคุณภาพทั้งในส่วนผลการวิจัย เอกสารและการทำสนทนากลุ่มย่อย ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การ วิจัยท่ีกำหนดไว้ ในงานวิจัยนี้ จะใช้ระเบียบวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหา

556 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) (Content analysis) โดยก่อนการวิเคราะห์ข้อมูลก็จะมีการเตรียมข้อมูลโดยการลดทอน ขอ้ มูลและการตรวจสอบความนา่ เชอ่ื ถอื ของข้อมูล นำเสนอข้อมลู เชงิ พรรณนา ผลการวจิ ยั ปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ มี 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1.1) ความรู้สึกต่อชีวิต คู่ชีวิต บุตรหลานหรือบุคคลสำคัญของชีวิต 1.2) ความผาสุกในส่ิงที่เป็น ปัจจุบัน และ 1.3)ความผาสุกในการมีศาสนายึดม่ัน และ 2) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ใน ครอบครัว ประกอบด้วย 2.1)การใช้เวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว 2.2) การพูดคยุ ปรกึ ษาหารือ และตัดสินใจในเรอ่ื งสำคัญต่างๆ ของสมาชิกในครอบครัว 2.3) การแสดงออกซ่ึงความรักและความเอื้ออาทรกัน ทั้งทางกาย วาจา และใจของสมาชิกใน ครอบครัว 2.4) การปฏิบัติตามบทบาทหน้าท่ีท่ีเหมาะสมของสมาชิกในครอบครัว และ 2.5) ความสัมพันธก์ ับเพอื่ น พัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุ ที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์ จากการสังเคราะห์เป็นกิจกรรม พัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุท่ีมาถือศีล อโุ บสถในวดั ของพระพุทธศาสนาจงั หวัดบุรีรัมย์ พบว่า ด้านที่ 1 ด้านทานคือกิจกรรมตักบาตรให้ทาน สมาทานรักษาศีลใช้เวลา 1.30 ชม.ลกั ษณะกิจกรรม -แต่งกายด้วยชุดขาวท่ีถูกสขุ ลักษณะ -มีอาหารที่สะอาดถูกสุขอนามัย - ยืนเรียงแถวอย่างสวยงามตักบาตรพระสงฆ์ -สมาทานศีล อยู่ในกฎระเบียบของโครงการ วัตถุประสงค์กิจกรรมได้ทำบุญรักษาศีลทำให้รู้จักการให้ เสียสละ ผลท่ีได้จากกิจกรรม รู้จัก กฎระเบียบในสงั คมและยอมรับกฎเกณฑข์ องสังคม ดา้ นที่ 2 ดา้ นกิจกรรมพฒั นาความคดิ ปรบั การพูด เปลี่ยนการกระทำ ใช้เวลา30 นาที ลักษณะกิจกรรม พระวิทยาการใหห้ ลักการเกี่ยวกบั พัฒนาความคิด ปรับการพูด เปลยี่ น การกระทำ วัตถปุ ระสงคก์ ิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจและมเี จตคตทิ ่ีดีตอ่ การคิดดี พูดดี ทำดี ผลที่ไดจ้ ากกิจกรรมมีความรคู้ วามเข้าใจเก่ียวกับการพัฒนาความคดิ ปรบั การพูด เปลีย่ นการ กระทำ

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 557 ด้านท่ี 3 ด้านภาวนา 1) กิจกรรมฉันคือใคร ใช้เวลา 2 ชม. ลักษณะกิจกรรมการ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทผ่ี ู้สงู มี ว่าในชวี ิตมีใครบ้างที่อยู่รอบๆ ตัวเช่น เพ่ือน ญาติ พี่น้อง หรือ คนในครอบครัว – เล่าให้เพื่อนฟัง – สรุปร่วมกัน วัตถุประสงค์กิจกรรมมีความเข้าใจตนเอง และเขา้ ใจผู้อน่ื ผลที่ได้จากกิจกรรมมีความเข้าใจตนและรจู้ ักเข้าสังคมกับเพื่อนและญาติมิตร 2) กิจกรรมเข้าใจตน เข้าใจธรรมใช้เวลา 1 ชม. ลักษณะกิจกรรม พระวิทยากรสอนธรรม เกีย่ วกับหลักการใช้สตแิ ละการรจู้ กั ใชช้ วี ติ มีการเข้าใจตนเอง วัตถุประสงค์กิจกรรมเข้าใจ คนอ่ืน มีหลักการใช้สติในการดำเนินชีวติ ผลท่ีได้จากกิจกรรมรู้จักใช้สติในการดำเนินชีวิต 3) กิจกรรมปฏิบตั ธิ รรมใต้แสงเทียน ใช้เวลา 1 ชม.ลักษณะกิจกรรมสวดมนต์ทำวัตรใต้แสงเทยี น วัตถปุ ระสงค์กิจกรรมมคี วามสขุ สงบ เยน็ รู้ผลที่ได้จากกิจกรรมจักหลักธรรมตามหลัก พระพทุ ธศาสนาและการเขา้ ใจชีวิต ระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุท่ีมา ถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ตอบแบบสอบถาม โดยภาพรวมมี คา่ เฉลี่ยระดับมาก (  = 4.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ดา้ นท่ีมีระดับค่าเฉลี่ยระดับสูงสุด มี 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ความรู้สึกต่อชีวิต คู่ชีวิต บุตรหลานหรือบุคคลสำคัญของชีวิต และ ด้านที่ 3 ความผาสุกในการมีศาสนายึดมั่น หมายถึง ความสุกท่ีมีเกิดจากการปฏิบัติตามคำ สอนของศาสนา (  = 4.35) และด้านท่ีมีระดับค่าเฉล่ียระดับต่ำสุด คือ ด้านท่ี 2 ความ ผาสุกในสิ่งที่เป็นปัจจุบัน หมายถึง ความผาสุกในปัจจุบันท่ีเป็นอยู่ (  = 4.34) สามารถ สังเคราะหเ์ ปน็ แผนภาพไดด้ งั น้ี

558 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) อภิปรายผล ความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีล อโุ บสถในวัดของพระพทุ ธศาสนาจงั หวัดบรุ รี ัมย์ 1. บริบทของผู้ให้ข้อมูลพบว่าสภาพทางสังคมของจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดในภาคอีสานท่ีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจที่ สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยยางพารา หม่อนไหมและพืชอื่นๆ ประกอบกับแหล่ง อุตสาหกรรมหลักของบุรีรัมย์เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เช่น โรงสีข้าว ผลิตภัณฑ์แปรรูป ไม้ โรงโม่หิน โรงงานสุรา โรงงานผลิตน้ำตาลทราย และโรงงานทำวิกผม เป็นต้น ทำให้วัย ทำงานบางส่วนต้องเดินทางไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร ในขณะที่ผู้สูงอายอุ ยู่เฝ้าบา้ น ซึ่งทำ ให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง อีกทั้งจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพ้ืนที่ท่ีมีกลุ่มชนท่ีมี วัฒนธรรมแตกต่างกันถึง 4 กลุ่มชน จึงเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม มากแห่งหน่ึง และความหลากหลายนี้ก็มีความผสมกลมกลืนกัน แต่มีผลการวิเคราะห์เพื่อ ตอบคำถามการวิจัยจากการสัมภาษณ์สรุปได้ว่าปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณ ผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนา จงั หวัดบุรรี มั ย์ในจงั หวดั บรุ ีรัมย์คอื ความผาสกุ ทางจติ วญิ ญาณผา่ นกระบวนการบุญกิริยาวัตถุ ของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์ประกอบด้วย

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 559 ความรู้สึกต่อชีวิต คู่ชีวิต บุตรหลานหรือบุคคลสำคัญของชีวิต ความผาสุกในสิ่งที่เป็น ความ ผาสุกในการมีศาสนายึดมั่น ครอบสัมพันธ์ในครอบครัวประกอบด้วยการใช้เวลาในการทำ กิจกรรมร่วมกนั ของสมาชิกในครอบครัว การพูดคุย ปรึกษาหารือ และตดั สินใจในเรือ่ งสำคัญ ต่างๆ ของสมาชิกในครอบครัว การแสดงออกซึ่งความรักและความเอื้ออาทรกัน ท้ังทางกาย วาจา และใจของสมาชิกในครอบครัว การปฏบิ ัติตามบทบาทหนา้ ท่ีทีเ่ หมาะสมของสมาชิกใน ครอบครัว ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณด้านความรู้สึกต่อชีวิต คู่ชีวิต บุตร หลานหรือบุคคลสำคัญของชีวิต จากการสัมภาษณ์พบว่า ความรสู้ ึกท่ีต่อชีวติ คู่ชีวิตและบุตร หลานหรอื คนสำคัญของชีวติ คือท่านมีความรู้สึกว่าได้ทำอย่างดีที่สุดแล้วตลอดชีวติ ท่ีผ่านมา มีความรูส้ ึกว่ามีความสขุ และพึงพอใจในชีวติ ผู้สงู อายุมีความสำคัญต่อคชู่ ีวิต บตุ รหลานหรือ บุคคลที่สำคัญท่ีสุดในชีวิตอีกทั้งสมาชิกในครอบครัวยังต้องพึ่งพาท่านอยู่เสมอ ผู้สูงอายุอยู่ อย่างมีจุดหมายและยังต้องการทำประโยชน์เพ่ือสังคม การแสดงห่วงใยและดูแลกันและกัน อย่างดีท่ีสุด หากพูดถึงความรัก คงยากจะตัดสินว่าระหว่างคู่ชีวิต ลูกหลาน ญาติ หรือมิตร สหาย ใครจะรักเรามากกวา่ กนั แตถ่ า้ วัดเฉพาะความห่วงใยและการดูแลกันยามเจ็บไข้ได้ป่วย คนที่เป็น \"คู่ชีวิต\" ดูเหมือนจะเป็นคนที่ร้ใู จมากท่ีสุด ดูแลได้ดีที่สุดและอาจจะเป็นห่วงเป็นใย ทีส่ ุดเลยด้วยซ้ำ ความผกู พันของสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ใกล้กันทำให้ผู้สงู อายุมีความผาสุก ได้ประเพณีบางอย่างที่มีลักษณะตามความเชื่อของแต่ละกลุ่มชาติพันธ์ุแต่ประเพณีหลักของ ชาวบุรีรัมย์ก็เช่นเดียวกับชาวอีสานท่ัวไปคือยึดม่ันใน \"ฮีตสิบสอง\" คือ มีประเพณีประจำสิบ สองเดือนในรอบปีเช่นเดียวกับชาวอีสานทั่วไป สอดคล้องกับภิรมย์ เจริญผล. (2553).ได้ ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา ผู้สูงอายุใน สถานสงเคราะห์ จังหวัดนครปฐม พบว่า ความผาสุกทางจิตวิญญาณด้านความผาสุกในสิ่งท่ี เปน็ รู้สึกว่าชีวิตเป็นประสบการณ์ทดี่ ีงามอย่างหน่ึงท่านรับรู้วา่ ตนเองมีค่าเมื่อไดช้ ่วยเหลือคน อื่น พร้อมท่ีจะอยู่กับสิ่งที่มีเราจะมีความสุขได้ถ้าเรามองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรามี มองถึงข้อดี และประโยชนข์ องมนั มีความสขุ กับปัจจุบันมีครอบครัวท่ีน่ารกั และอบอุ่น ความผาสุกทางจิต วิญญาณด้านความผาสุกในการมีศาสนายึดม่ัน เป็นความสุขท่ีมีเกิดจากการปฏิบัติตามคำ สอนของศาสนาเป็นความผาสุกทางจิตวิญญาณคือ การมีปัญญา เป็นเคร่ืองกำกับเวลาที่ เผชิญความทุกข์ก็จะรู้จะทำให้ตัวเองผาสุกได้อย่างดี เพราะฉะนั้นองค์ประกอบในทางพระ พทุ ธเป็นความผาสกุ ทางด้านจิตวิญญาณเพราะถา้ เรามีสติปัญญาเราก็จะได้ การคดิ ทเี่ กดิ ข้ึนก็ คือการมีสติเป็นตัวกำกับ มีจิตสำนึกรู้ตัว เพราะฉะน้ันการท่ีเรามีปัญญาเป็นเครื่องกำกับและ

560 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) มีสติเป็นเคร่ืองกำกับคือองค์ประกอบท่ีสำคัญวิธีคิดคือการมีสติปัญญาก็จะทำให้เราคิดได้กับ สิ่งท่ีเกิดข้นึ อย่างแรกตั้งสติรู้ตัวเองว่ากำลังคดิ ถ้าไม่มีสติก็จะไม่รู้ว่าจิตวิญญาณไหลไปทางสูง หรอื ไหลลงสู่ท่ตี ่ำ ถ้าเรามีสติแล้วก็จะทำให้เกิดปัญญาเพื่อทำให้เกิดความผาสุกทแ่ี ทจ้ ริงทำให้ เกดิ วธิ คี ดิ เชงิ บวกหรือมโนสุจริต คือการมองโลกอย่างเขา้ ใจ 2. ผลการสังเคราะห์หลักพุทธธรรมจากความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่าน กระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุท่ีมาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัด บุรีรัมย์ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีส่วนสำคัญต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่าน กระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังห วัด บุรีรัมย์เป็นอย่างมากคือหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ การให้ทาน การรักษาศีล และการภาวนา โดยมรี ายละเอยี ดดังน้ี 1) การให้ทาน การให้ทานตามนัยพระพุทธศาสนาน้ัน เป็นเครื่องชำระสิ่งไม่ สะอาดออกไปจากจิตใจของตน จนมีคุณสมบัติท่ีดีน่าเคารพยกย่อง ไม่ใช่เคร่ืองพอกพูนส่ิง ปฏิกลู ข้ึนในจิตใจของตนจนเป็นท่ีจงเกลียดจงชังของผู้คนท่ัวไป ในระดบั ชุมชนหรือสังคมนั้น \"การให้\" ได้ก่อให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกลู กัน แบ่งปันกันร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ของตนได้ \"การให้\" ท่ีจะส่งผลเช่นน้ีได้นั้น ต้องมีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วน 3 ประการด้วยกัน คือ ผู้ให้ ผู้รับ และวัตถุสิ่งของที่ให้ ดังจะเห็นได้จาก ความผาสุกทางจิตวิญญาณด้านที่ 1 ความรู้สึกตอ่ ชีวติ คชู่ ีวติ บุตรหลานหรือบุคคลสำคญั ของชีวิตประกอบดว้ ยด้านการใหท้ านคือ (1) ท่านมคี วามรสู้ กึ ว่าทา่ นไดท้ ำอย่างดีท่สี ุดแล้วตลอดชีวิตท่ผี ่านมา (2) ท่านรู้สึกว่าคู่ชีวิต บุตรหลานหรือบุคคลท่ีสำคัญที่สุดในชีวิตของท่าน ต้องการท่าน (3) ท่านรู้สึกว่าคู่ชีวิต บุตรหลานหรือบุคคลสำคัญที่สุดในชีวิตของท่านยัง ต้องการทา่ นอยู่เสมอ ไมว่ ่าจะเกดิ เหตุการณใ์ ดๆ กต็ าม (4) ทา่ นรู้สึกวา่ ท่านยังตอ้ งการทำประโยชน์เพ่ือสังคมต่อไปอีก (5) ท่านรสู้ กึ วา่ ทา่ นยงั มีความต้องการทีจ่ ะทำสง่ิ ตา่ งๆ เพือ่ ตนเอง ความผาสุกทางจิตวิญญาณ ด้านท่ี 2 ความผาสุกในสิ่งท่ีเป็น มีด้านทาน ประกอบด้วย (1) ท่านรสู้ กึ ว่าการใช้ชีวติ เพอื่ การทำบุญเป็นประสบการณ์ทด่ี ีงามอย่างหน่งึ (2) ทา่ นรบั รูว้ า่ ตนเองมคี ่าเม่ือไดช้ ว่ ยเหลือคนอื่น

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 561 (3) ท่านเชอื่ ว่าการกระทำความดขี องท่านจะทำให้ชีวิตพบกับความสุขได้ (4) ท่านเชื่อวา่ การทำความดจี ะทำใหช้ วี ิตพบกับความสุขได้ (5) แม้ว่าจะเจบ็ ป่วยทา่ นก็ยงั รู้สกึ เปน็ สุขทีไ่ ดท้ ำความดี ฉะนั้น ควรจะมีครบทั้ง 3 ประการ การให้ทานจึงจะมีอานิสงส์มาก ความบริสุทธ์ิ ของจิตใจ สอดคล้องกับกนิษฐา ลิ้มทรัพย์. (2557).ได้ศึกษาการตระหนักรู้ในตนเอง การมอง โลกในแง่ดี ความพึงพอใจในชีวิตและความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในศูนย์บริการ ผู้สูงอายดุ ินแดง เขตดนิ แดงกรุงเทพมหานคร พบว่า ถ้าผู้ให้ทานสามารถชำระจิตใจของตนให้ บริสทุ ธิ์ ปราศจากความโลภ โกรธและหลง สามารถปลดปล่อยความตระหน่ี ไม่เกิดความรูส้ ึก หวงแหนเสียดายของที่ให้ทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังจากทำทานแล้ว ทานท่ีทำจะมีผลมาก ถ้าชำระจติ ใจตัวเองได้น้อย ทานทที่ ำก็มผี ลนอ้ ย ทัศนคติ ถ้าผู้ทำทานใหท้ านด้วยศรัทธา ด้วย ความเลือ่ มใสอย่างแทจ้ ริง เชื่อวา่ การทำทานเป็นการเกื้อหนุนให้เกดิ คุณงามความดี ถึงแม้จะ ไม่ทำทานกับพระสงฆ์เลยก็ตาม ทานก็จะมีผลมาก ถ้าผู้ให้ทานสักว่าแต่ให้ เป็นการทำตามๆ กันไป ทานที่ทำก็จะมีผลน้อย ศรัทธาในที่น้ีจะต้องประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่เกิดจากการ ชักชวนของคนอ่นื หรือจากปัจจยั ภายนอก มีความเห็นถกู ตอ้ ง(สัมมาทฏิ ฐ)ิ เปน็ ตวั นำศรทั ธา 2. การพัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของ ผู้สงู อายุทีม่ าถือศลี อุโบสถในวัดของพระพทุ ธศาสนาจังหวดั บรุ ีรัมย์ พฒั นาความผาสุกทางจติ วิญญาณผ่านกระบวนการบุญกริ ิยาวตั ถุของผู้สูงอายุท่ีมา ถอื ศลี อโุ บสถในวดั ของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรรี ัมย์ จากการสังเคราะห์เปน็ กิจกรรมพัฒนา ความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถใน วดั ของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรมั ย์ พบวา่ ดา้ นท่ี 1 ด้านทานคอื กจิ กรรมตักบาตรให้ทาน สมาทานรักษาศีลใช้เวลา 1.30 ชม.ลกั ษณะกิจกรรม -แต่งกายด้วยชุดขาวที่ถูกสุขลักษณะ -มีอาหารที่สะอาดถูกสุขอนามัย - ยืนเรียงแถวอย่างสวยงามตักบาตรพระสงฆ์ -สมาทานศีล อยู่ในกฎระเบียบของโครงการ วัตถุประสงค์กิจกรรมได้ทำบุญรักษาศีลทำให้รู้จักการให้ เสียสละ ผลที่ได้จากกิจกรรม รู้จัก กฎระเบยี บในสังคมและยอมรับกฎเกณฑ์ของสงั คม ด้านท่ี 2 ดา้ นกิจกรรมพัฒนาความคิด ปรับการพูด เปล่ยี นการกระทำ ใช้เวลา 30 นาที ลักษณะกิจกรรม พระวิทยาการให้หลักการเก่ียวกับพัฒนาความคิด ปรับการพูด เปล่ียนการกระทำ วตั ถปุ ระสงค์กิจกรรมมีความรู้ ความเขา้ ใจและมีเจตคตทิ ี่ดตี ่อการคิดดี พูด

562 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) ดี ทำดี ผลที่ได้จากกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาความคิด ปรับการพูด เปลี่ยนการกระทำ ด้านท่ี 3 ด้านภาวนา 1) กิจกรรมฉันคือใคร ใช้เวลา 2 ชม. ลักษณะกิจกรรม การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่ผู้สูงมี ว่าในชีวิตมีใครบ้างที่อยู่รอบๆ ตัวเช่น เพื่อน ญาติ พี่น้อง หรือคนในครอบครัว–เล่าให้เพ่ือนฟัง–สรุปร่วมกัน วัตถุประสงค์กิจกรรมมีความเข้าใจตนเอง และเข้าใจผู้อนื่ ผลท่ีได้จากกิจกรรมมีความเข้าใจตนและรจู้ ักเข้าสังคมกับเพื่อนและญาติมิตร 2) กิจกรรมเข้าใจตน เข้าใจธรรมใช้เวลา 1 ชม. ลักษณะกิจกรรม พระวิทยากรสอนธรรม เกี่ยวกับหลักการใช้สติและการรู้จักใชช้ ีวิต มีการเข้าใจตนเอง วตั ถุประสงค์กิจกรรมเข้าใจคน อ่ืน มีหลักการใช้สติในการดำเนินชีวิต ผลท่ีได้จากกิจกรรมรู้จักใช้สติในการดำเนินชีวิต 3) กิจกรรมปฏิบตั ธิ รรมใต้แสงเทยี น ใช้เวลา 1 ชม.ลักษณะกจิ กรรมสวดมนต์ทำวตั รใต้แสงเทียน วัตถุประสงค์กิจกรรมมีความสุข สงบ เย็น รู้ผลที่ได้จากกิจกรรมจักหลักธรรมตามหลัก พระพุทธศาสนาและการเข้าใจชวี ิต จากการพัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของ ผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์พบว่าพบว่า จำนวนและ ร้อยละของข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่าผู้เข้าร่วมทดลองส่วนมากเป็น เพศหญิง ร้อยละ 53.33 เป็นเพศชายร้อยละ 46.67 มีอายุส่วนใหญ่อายุระหว่าง 60-69 ปี ร้อยละ 66.67 รองลงมา 70-79 ปี ต่ำสุดอายุ 80 ปีข้ึนไป ร้อยละ 10 สอดคล้องกับนงเยาว์ กันทะมูล ได้ศึกษาความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุโรคมะเร็งปอด กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดอายุ 60 ปีข้ึนไปท่ีเข้ารับการรักษาในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 90 ราย ผลการวจิ ัยพบวา่ 1. ผ้สู ูงอายุโรคมะเร็งปอดมคี ะแนน ความผาสุกทางจิตวิญญาณโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของความผาสุก ทางจิตวิญญาณ พบว่า ด้านการมีความสุข ความสงบ ที่เกิดจากความดี ความไม่เห็นแก่ตัว มี พรหมวิหาร 4 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความรู้สึกเบิกบานกับการทำหน้าที่และการใช้ชีวิต และดา้ นการมสี ติ สมาธิ ปัญญา อยู่ในระดบั สูง 2. ผู้สงู อายุโรคมะเรง็ ปอดมีวธิ กี ารปฏบิ ตั ิเพ่ือ ช่วยให้เกิดความผาสุกทางจิตวญิ ญาณ คือ 1) ปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา ได้แก่ การเชื่อในกฎแห่งกรรม การเชือ่ ในกฎไตรลักษณ์ สวดมนตไ์ หวพ้ ระ ทำบญุ ศกึ ษาธรรมะ ทำสมาธิ

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 563 2) การทำกิจกรรมเพ่ือผ่อนคลาย ได้แก่ ดูแลบุตรหลาน การทำงาน อดเิ รก สนทนาแลกเปล่ียนความคดิ เห็นกบั ผปู้ ว่ ยคนอ่นื ๆ 3) การประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ เช่น การสะเดาะเคราะห์ ซึ่ง สามารถร่วมกันทำนาย ระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุได้ตามลำดับ คือ สัมพันธภาพในครอบครัว ภาวะสุขภาพและการปฏิบัติธรรม โดยปัจจัยทั้ง 3 ด้าน สามารถ รว่ มกนั ทำนายความผาสุกทางจิตวิญญาณของผสู้ งู อายไุ ด้ 3. รูปแบบสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของ ผู้สงู อายุทีม่ าถอื ศลี อุโบสถในวัดของพระพทุ ธศาสนาจังหวดั บรุ ีรัมย์ ปัจจัยท่ีมีผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ มี 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1.1) ความรู้สึกต่อชีวิต คู่ชีวิต บุตรหลานหรือบุคคลสำคัญของชีวิต 1.2) ความผาสุกในส่ิงที่เป็น ปัจจุบัน และ 1.3)ความผาสุกในการมีศาสนายึดม่ัน และ 2) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ใน ครอบครัว ประกอบด้วย 2.1)การใช้เวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว 2.2) การพูดคยุ ปรกึ ษาหารือ และตัดสินใจในเรื่องสำคญั ต่างๆ ของสมาชิกในครอบครัว 2.3) การแสดงออกซึ่งความรักและความเอื้ออาทรกัน ท้ังทางกาย วาจาและใจของสมาชิกใน ครอบครัว 2.4) การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมของสมาชิกในครอบครัว และ 2.5) ความสัมพันธ์กับเพื่อนพัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของ ผู้สูงอายุท่ีมาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์ จากการสังเคราะห์เป็น กิจกรรมพัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มา ถอื ศีลอุโบสถในวดั ของพระพทุ ธศาสนาจังหวัดบรุ ีรัมย์ ลักษณะกิจกรรมการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ท่ีผู้สูงมี ว่าในชีวิตมีใครบ้างที่อยู่รอบๆ ตัวเช่น เพ่ือน ญาติ พี่น้อง หรือคนในครอบครัว–เล่าให้เพ่ือนฟัง–สรุปร่วมกัน วัตถุประสงค์ กิจกรรมมคี วามเข้าใจตนเองและเข้าใจผ้อู ื่น ผลที่ได้จากกิจกรรมมคี วามเข้าใจตนและรจู้ ักเข้า สังคมกับเพ่ือนและญาติมิตร 2) กิจกรรมเข้าใจตน เข้าใจธรรมใช้เวลา 1 ชม. ลักษณะ กจิ กรรม พระวิทยากรสอนธรรมเกี่ยวกบั หลักการใช้สตแิ ละการรจู้ กั ใช้ชีวิต มกี ารเข้าใจตนเอง วัตถปุ ระสงคก์ ิจกรรมเข้าใจคนอืน่ มีหลกั การใช้สติในการดำเนินชวี ติ ผลท่ไี ด้จากกิจกรรมรจู้ ัก ใช้สติในการดำเนินชีวิต 3) กิจกรรมปฏิบัติธรรมใต้แสงเทียน ใช้เวลา 1 ชม.ลักษณะกิจกรรม สวดมนต์ทำวัตรใต้แสงเทยี น วตั ถุประสงค์กิจกรรมมีความสุข สงบ เย็นร้ผู ลท่ีได้จากกิจกรรม

564 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) จักหลักธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาและการเข้าใจชีวิต กิจกรรมนี้มีผลความผาสุกทางจิต วิญญาณท่ีออกมาอยู่ในระดับมากท้ังน้ีเพราะปัจจัยในวัตถุประสงค์ที่ 1 ต้องเก่ียวเนื่องดังนี้ กิจกรรมท่ีผูว้ ิจยั ได้พฒั นาขึ้นมาจะมผี ลต้องอาศัยปัจจัยเหล่าน้ีสอดคลอ้ งกับนงเยาว์ กันทะมูล (2546) ได้ศึกษาความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุโรคมะเร็งปอด กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดอายุ 60 ปีข้ึนไปที่เข้ารับการรักษาในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 90 ราย พบว่า 1) ผู้สูงอายุโรคมะเร็งปอดมีคะแนนความผาสุกทางจิตวิญญาณโดยรวมอยู่ใน ระดับสงู เม่ือพิจารณาในแตล่ ะดา้ นของความผาสุกทางจิตวญิ ญาณ พบว่า ดา้ นการมีความสุข ความสงบ ท่ีเกิดจากความดี ความไม่เห็นแก่ตัว มีพรหมวิหาร 4 อยู่ในระดับปานกลาง ด้าน ความรู้สึกเบิกบานกับการทำหน้าท่ีและการใช้ชีวิต และด้านการมีสติ สมาธิ ปัญญา อยู่ใน ระดบั สูง 2) ผู้สูงอายุโรคมะเร็งปอดมีวิธีการปฏิบัติเพื่อช่วยให้เกิดความผาสุกทางจิต วิญญาณคือ (1) ปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา ได้แก่ การเช่ือในกฎแห่ง กรรม การเชอ่ื ในกฎไตรลักษณ์ สวดมนต์ไหวพ้ ระ ทำบุญ ศึกษาธรรมะ ทำสมาธิ (2) การทำกิจกรรมเพ่ือผ่อนคลาย ได้แก่ ดูแลบุตรหลาน การทำงาน อดเิ รก สนทนาแลกเปลยี่ นความคดิ เหน็ กับผ้ปู ว่ ยคนอน่ื ๆ (3) การประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ เช่น การสะเดาะเคราะห์และ สอดคล้องกับอุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์ พบว่า ผู้สูงอายุ มีความผาสุกทางจิตวิญญาณอยู่ใน ระดับสูง เม่ือวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยวิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันพบว่า สมั พนั ธภาพในครอบครัว ภาวะสุขภาพและการปฏิบตั ิธรรม มคี วามสัมพนั ธ์ทางบวกกับความ ผาสุกทางจิตวิญญาณ และสามารถร่วมกันทำนาย ระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณของ ผู้สูงอายุได้ตามลำดับ คือ สัมพันธภาพในครอบครัว ภาวะสุขภาพและการปฏิบัติธรรม โดย ปจั จัยท้งั 3 ด้าน สามารถร่วมกันทำนายความผาสุกทางจติ วิญญาณของผ้สู งู อายไุ ด้

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 565 องค์ความรู้ท่ีได้จากการศกึ ษา ความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สงู อายใุ นจังหวดั บุรรี ัมย์ มี 2 ปจั จยั คือ 1) ปจั จัย ด้านความผาสุกทางจิตวญิ ญาณของผสู้ ูงอายุ ประกอบดว้ ย (1) ความร้สู ึกต่อชวี ิต คูช่ ีวิต บุตร หลานหรือบุคคลสำคัญของชีวิต (2) ความผาสุกในส่ิงท่ีเป็นปัจจุบัน และ (3)ความผาสุกใน การมีศาสนายึดมั่น และ 2) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ประกอบด้วย (1)การใช้ เวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว (2) การพูดคุย ปรึกษาหารือและ ตดั สินใจในเรื่องสำคัญต่างๆ ของสมาชิกในครอบครัว (3) การแสดงออกซ่ึงความรกั และความ เอื้ออาทรกัน ท้ังทางกาย วาจา และใจของสมาชิกในครอบครัว (4) การปฏิบัติตามบทบาท หน้าท่ีท่ีเหมาะสมของสมาชิกในครอบครัว และ (5) ความสมั พันธ์กบั เพื่อนพัฒนาความผาสุก ทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุท่ีมาถือศีลอุโบสถในวัดของ พระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์ จากการสังเคราะห์เป็นกิจกรรมพัฒนาความผาสุกทางจิต วิ ญ ญ า ณ ผ่ า น ก ร ะ บ ว น ก า ร บุ ญ กิ ริ ย า วั ต ถุ ข อ ง ผู้ สู ง อ า ยุ ที่ ม า ถื อ ศี ล อุ โบ ส ถ ใน วั ด ข อ ง พระพทุ ธศาสนาจังหวดั บรุ รี ัมย์ เอกสารอา้ งอิง กนิษฐา ลิม้ ทรัพย์. (2557). การตระหนักร้ใู นตนเอง การมองโลกในแง่ดี ความพงึ พอใจในชีวิต และความผาสกุ ทางจิตวญิ ญาณของผู้สงู อายใุ นศนู ย์บริการผ้สู ูงอายดุ ินแดง เขตดิน แดง กรงุ เทพมหานคร. บณั ฑติ วิทยาลยั : มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์. นงเยาว์ กนั ทะมลู . (2546). ความผาสกุ ทางจติ วิญญาณของผูส้ ูงอายโุ รคมะเร็งปอด. บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่. พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). ธรรมะสำหรับผ้สู งู อายุ. กรุงเทพฯ: โรงพมิ พ์ ธรรมสภา. ภิรมย์ เจริญผล. (2553). ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณศี กึ ษาผ้สู งู อายุในสถานสงเคราะห์ จังหวดั นครปฐม. บัณฑิตวทิ ยาลัย : มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั . อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวภาวะ สขุ ภาพการปฏบิ ัติธรรมกบั ความผาสกุ ทางจติ วญิ ญาณของผู้สูงอาย.ุ บณั ฑติ วทิ ยาลยั : มหาวิทยาลยั บรู พา.

566 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020)

การศึกษาผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี น หน่วยการเรียนรู้หลกั ธรรมทาง พระพุทธศาสนาและการคดิ วเิ คราะห์ของนักเรียนช้นั ประถมศกึ ษาปที ี่ 5 โดยใชก้ ารจดั การเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกบั บทเรียนการต์ ูน A Study on Learning Achievement and Analytical Thinking of Prathomsuksa 5 Students by using stad Learning Management with cartoon lessons in learning unit of Buddhism Principes 1ณฐั ษธน สรสิทธิ์และ 2ชวนพศิ รักษาพวก 1Natsathon Sorasit and 2Chunpit Raksapuk มหาวทิ ยาลัยราชภัฏชัยภูม,ิ ประเทศไทย Chaiyaphum Rajabhat University, Thailand. [email protected], Received May 10, 2020; Revised July 12, 2020; Accepted August 25, 2020 บทคดั ย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพ่ือพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิ ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียน การ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ช้ันประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อ เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ STAD

568 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) รว่ มกับบทเรียนการ์ตูนหนว่ ยการเรยี นรู้หลักธรรมทางพระพทุ ธศาสนา ช้ันประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 5 โรงเรียนชมุ ชนบ้านหนองบัวระเหว โดย วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เคร่ืองมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดการคิดววิเคราะห์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉล่ีย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent sample) ผลการวิจยั พบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ช้ันประถมศึกษาปีที่ 5 ท่ีสร้างข้ึนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.57/86.25 ซ่ึงเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตง้ั ไว้ 2. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 มีคะแนนผลสัมฤทธ์ิ หลังเรยี นสูงกว่ากอ่ นเรยี น อย่างมนี ัยสำคญั ทางสถิติทีร่ ะดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 มีคะแนนในการคิด วเิ คราะหห์ ลังเรียนสงู กวา่ ก่อนเรียน อย่างมนี ยั สำคัญทางสถติ ทิ ี่ระดบั .05 คำสำคัญ : การเรียนรู้แบบ STAD, บทเรียนการต์ ูน, Abstract The purposes of this research included: 1) to develop the effective STAD learning plans together with cartoon lessons in learning unit of Buddhism principles for Prathomsuksa 5 students according to the criteria 80/80; 2) to compare the pre and post academic achievement in using STAD learning with cartoon lessons for learning unit of Buddha Dhamma of Prathomsuksa 5 students; 3) to compare the pre and post analytical thinking in using STAD learning with cartoon lessons for learning unit of Buddhism principles of Prathomsuksa 5 students. The sampling groups included Prathomsuksa 5 students of Ban Non Bua Rawe Community School through simple sampling. Instruments used were: 1) learning management plan; 2) learning achievement test; and 3) analytical

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 569 thinking test. The statistics used were percentage, mean, standard deviation and t-test dependent sample. The research findings of this research were as the followings. 1. STAD learning plan together with cartoon lessons in Buddha Dhamma Learning Unit for Prathomsuksa 5 students was efficient equal to 83.57/86.25 that meets the set criteria at 80/80. 2 . Students studying with a STAD learning management plan together with a cartoon lessons in Buddhism Principles Learning Unit of Prathomsuksa 5 students had higher achievement scores than before studying with statistical significance at the level of .05. 3. Students studying through a STAD learning management plan together with a cartoon lesson in Buddhism Principles Learning Unit of Prathomsuksa 5 students had higher scores in analytical thinking than before studying with statistical significance at the level of .05. Key words : STAD Learning, Cartoon Lessons บทนำ ยคุ โลกาภิวัฒนซ์ งึ่ มีเทคโนโลยีทที่ นั สมัย ทำให้เราสามารถส่งขอ้ มลู ขา่ วสารทว่ั ถึงกัน ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว กระแสเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของแต่ละสังคม สามารถ พร่กระจายไปมาหากันได้อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน คนในยุคน้ี จึงต้องมีคุณลักษณะท่ี เหมาะสมหลายประการ เช่น ต้องคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินสารสนเทศได้ ต้องมี ความสามารถในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ความเปล่ียนแปลงได้ และต้องมคี วามสามารถ ในการปรับตัวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างมีความสุข สาระการเรียนรู้สังคม ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นการบูรณาการรวมหลายวิชา เข้าด้วยกนั จึงถือเป็นวิชาที่มี ความสำคัญต่อการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชนและนำไปสู่การพัฒนาประเทศ เพราะสาระ การเรียนรู้เหล่านี้เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับการดำรงชีวิต การแก้ปัญหาและการปฏิบัติตนใน สังคม เพ่ือให้ทุกคนมีความเข้าใจ ในการสร้างเสริมชีวิตให้ดีข้ึน ดังน้ัน ผู้สอน กลุ่มสาระการ เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำเป็นต้องมุ่งสร้างความเป็นพลเมืองดี ความมี คุณภาพชีวิตท่ีดี พัฒนาตนเองและสังคมได้ โดยการปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติที่ดี เพ่ือให้

570 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) ผเู้ รียนมีความรู้ ความเข้าใจเกย่ี วกับสังคมของผู้เรยี น ตลอดจนสามารถ คดิ แก้ปัญหา ปรับตัว และดำรงชีวิตได้อย่างราบร่ืนทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสามารถปรับตัวเพ่ือ เป็นพลโลกได้อย่างมีความสุข (ชนันภ รณ์ อารีกุล.2560 , อ้างอิงจาก Sutthirat, 2015,Theinsri, 2013) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จึงเป็นกลุ่มสาระการ เรียนรู้ท่ีออกแบบมาเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมท่ีดีงาม ธำรงรักษา ประเพณีและวัฒนธรรมไทยให้แก่นักเรียน โดยมีเป้าหมายของการส่งเสริมวัฒนธรรมการ อนุรักษ์ความเป็นไทย การจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและ วฒั นธรรมที่ผ่านมา พบว่า ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ ผู้เรียนยังไม่ได้มาตรฐานตามท่ีสังคมคาดหวังไว้ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากสาเหตุและปัจจัยหลายประการ เช่น หลักสูตร เนื้อหา ครูผู้สอน ผู้เรียน สภาพแวดลอ้ ม ผู้ปกครอง การจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ ตลอดจนเทคนิคและวธิ ีการสอนของครู และอาจเนื่องมาจากครูท่ัวไป มักเข้าใจว่า การสอนสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรมนั้น เป็นการสอนที่ง่าย เน้นบรรยายและอธิบายเนื้อหาสาระก็เป็นอันเพียงพอ จึง ทำให้เกิดปญั หาดงั กลา่ ว (กรมวิชาการ. 2544) การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยนักเรียนที่เรยี นเก่ง นักเรียนที่เรยี นปานกลางและนกั เรียนท่ีเรียนอ่อน โดยแต่ ละคน มีบทบาทและหน้าท่ี ต้องช่วยเหลือซ่งึ กนั และกันในการเรยี นรตู้ ามกจิ กรรมต่างๆ ส่งผล ดตี ่อนักเรยี น ให้มีความพยายามท่ีจะเรียนรู้ ให้บรรลุเป้าหมาย ทำให้ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน สงู ขึ้น มผี ลงานมากขึน้ การเรียนรู้มีความคงทนมากขึน้ (Long-term Retention) มแี รงจูงใจ ภายในและแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ ใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพใช้เหตุผลดีข้ึนและคิดอย่างมี วิจารณญาณมากข้ึน มีน้ำใจเป็นนักกีฬาใส่ใจในผู้อื่นมากขึ้น เห็นคุณค่าของความแตกต่าง ความหลากหลายการประสานสัมพันธ์และการรวมกลุ่มช่วยให้นักเรียนมีสุขภาพจิตดีข้ึน มี ความรู้สึกท่ีดีเกี่ยวกับตนเองและมีความเช่ือมั่นในตนเองมากขึ้นและยังช่วยพัฒนาทักษะทาง สังคมและความสามารถในการเผชิญกับความเครียดความผันแปรต่างๆ คนท่ีเรียนเก่งจะ ช่วยเหลือคนท่ีอ่อนกว่า สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนของตนเองเท่าน้ัน หากแต่จะต้องร่วมรับผิดชอบต่อการเรียนของเพื่อนสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ความสำเร็จของแต่ ละบุคคล คือ ความสำเร็จของกลุ่ม (วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. 2551) การจะบรรลุผลดังกล่าว

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 571 ตอ้ งจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลากหลายวิธี การเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม ผู้เรยี นไดร้ ับความร้จู ากการ ลงมอื ร่วมกันปฏิบัติเปน็ กล่มุ สง่ เสรมิ ใหผ้ ู้เรียนมีทกั ษะการทำงาน ร่วมกันและทักษะทางสังคม ผู้เรียนค้นพบความรู้และสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง (สุวิทย์ มลู คำและอรทยั มูลคำ. 2550) บทเรียนการ์ตูน เป็นสื่อการเรียนการสอนรูปแบบหน่ึงท่ีมีการจัดรบบการนำเสนอ เนอื้ หาและกิจกรรมเสริมการเรยี นรู้เป็นอย่างดี ให้ผู้เรยี นสามารถอา่ นและเรียนรู้เน้ือหาสาระ ในเล่มได้ตามความสนใจและความแตกต่างของแต่ละบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้ฝึกทักษะ หรอื แบบฝกึ แล้วสามารถตรวจสอบความรคู้ วามเข้าใจด้วยตนเองจากเฉลยท่อี ยู่ทา้ ยเลม่ จาก งานวิจัยหลายๆ เร่ือง ท่ีได้นำการ์ตูนมาใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม แล้วสามารถทำให้ผลสัมฤทธทิ์ างการเรยี นในวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวฒั นธรรมของผ้เู รียนสูงขึน้ (บุษบา ชูคำ.2550) จากความสำคัญของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ปัญหาที่พบ ผู้วิจัยความเชื่อมั่นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD สามารถช่วยพัฒนาให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นและนักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์สูงขึ้น ผู้วิจัยจึงสนใจท่ีพัฒ นาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนาและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 โดยใช้การจัดการ เรียนรแู้ บบ STAD รว่ มกับบทเรียนการต์ ูน เพ่อื เป็นแนวทางพัฒนากระบวนการเรียนการสอน กลมุ่ สาระการเรียนรู้สังคมศกึ ษา ศาสนาและวฒั นธรรมใหม้ ีประสทิ ธภิ าพมากย่ิงขน้ึ ตอ่ ไป วตั ถุประสงค์การวจิ ยั 1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วย การเรียนรูห้ ลักธรรม ทางพระพทุ ธศาสนา ชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี 5 ท่ีมปี ระสทิ ธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การ จัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทาง พระพทุ ธศาสนา ชนั้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 5

572 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) 3. เพ่ือเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรยี นและหลงั เรยี น โดยใช้การจัดการ เรยี นรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรยี นการต์ นู หน่วยการเรยี นรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชัน้ ประถมศึกษาปที ่ี 5 วิธีดำเนนิ การวจิ ยั 1. ประชากรและกล่มุ ตัวอยา่ ง ประชากรในการวิจัยครั้งน้ี คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 เครือข่ายโรงเรียน หนองบัวระเหว สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ภาคเรียนท่ี 2 ปี การศกึ ษา 2562 จำนวนนักเรยี น 180 คน จำนวน 14 หอ้ งเรียน กลุ่มตวั อย่างท่ใี ช้ในการวิจัยเป็นนักเรยี นช้ันประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้าน หนองบัวระเหว สำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2562 จำนวน 24 คน จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) 2. เครอ่ื งมอื ท่ใี ช้ในการวจิ ัย 2.1 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการ เรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 5 ประกอบด้วยแผนการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง เวลา 18 ชวั่ โมง โดยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับ บทเรยี นการต์ นู หน่วยการเรยี นรู้หลักธรรม ทางพระพทุ ธศาสนา ช้นั ประถมศกึ ษาปีท่ี 5 1) ทดลองครั้งท่ี 1 ทดลองแบบเดี่ยว จำนวนนักเรียน 3 คน นำแผนการจัดการ เรียนรู้ไปทดลองกับนักเรียนท่ีไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 คน ท่ีมีความสามารถแตกต่างกัน คือ นักเรียนเก่ง 1 คน ปานกลาง 1 คนและอ่อน 1 คน ในขณะทดลอง ได้จับเวลาในการ ประกอบกิจกรรม สงั เกตพฤติกรรมนักเรียนจากการทำกิจกรรมและงานท่ไี ด้รบั มอบหมายให้ ทำ เพ่ือพิจารณาการใช้ภาษา เนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่ือ การวัดและ ประเมินผล พร้อมกับสอบถามความเข้าใจและความคิดเห็นของนักเรียนเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข ซ่ึงใน การทดลองนี้ ได้ค่าประสทิ ธภิ าพของกระบวนการจากการทำใบกจิ กรรมและการทดสอบยอ่ ย (E1) เท่ากับ 56.91และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของการทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิหลังเรียน (E2) เทา่ กบั 58.33

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 573 2) ทดลองคร้ังท่ี 2 ทดลองแบบกลุ่มเล็ก จำนวนนักเรียน 10 คน แผนการ จัดการเรียนรู้ ไปทดลองกับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 5 ที่กำลังเรียนภาคเรียนท่ี 2 ปี การศึกษา 2562 ท่ีไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน ที่มีความสามารถแตกต่างกัน คือ นกั เรยี นเก่ง 3 คน ปานกลาง 3 คนและอ่อน 4 คน ในขณะทดลองได้จบั เวลาในการประกอบ กจิ กรรม สังเกตพฤติกรรมนักเรียน จากการทำกิจกรรมและงาน ส่ง รับมอบหมายให้ทำ เพ่ือ พิจารณาการใช้ภาษา เน้ือหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผล พร้อมกับสอบถามความเข้าใจและความคิดเห็นของนักเรียน เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข ซึ่งใน การทดลองน้ีได้ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการจากการทำใบกิจกรรมและการทดสอบย่อย (E1) เท่ากับ 66.78 และ ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของการทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิของการ ทดสอบวดั ผลสมั ฤทธหิ์ ลงั เรียน (E2) เท่ากับ 68.00 3) ทดลองครั้งที่ 3 ทดลองภาคสนาม จำนวนนักเรียน 30 คน นำแผนการ จัดการเรียนรู้ ไปทดลองใช้กับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ท่ีไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างซ่ึงคละความสามารถ คือ มีนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน โดยดำเนินการเช่นเดียวกับแบบกลุ่ม เพื่อศึกษาปัญหาและข้อบกพร่องอีกคร้ัง ได้ ค่าประสิทธิภาพ จากการทำใบกิจกรรมและแบบทดสอบย่อย (E1) เท่ากับ 80.29 และค่า ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของการทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิหลังเรียน (E2) เท่ากับ 80.67 ซ่ึง เปน็ ไปตามเกณฑ์ทต่ี ้ังไว้ คือ 80/80 2.2 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนาของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ขอ้ 1) ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 กลมุ่ สาระ การเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม การวัดและการประเมินผลตามหลักสูตร แกนกลาง พุทธศกั ราช 2551 (ฉบับปรบั ปรุง 2560) 2) ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดรายปี กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวฒั นธรรม ช้นั ประถมศกึ ษาปที ่ี 5 3) ดำเนินการสร้างแบบทดสอบวัดผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียน เป็นแบบปรนยั ชนิด เลือกตอบ 4 ตวั เลอื ก จำนวน 40 ขอ้

574 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) 4) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเสนออาจารย์ท่ีปรึกษา วิทยานิพนธ์ เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเหมาะสมด้านภาษาและให้ ผู้เชี่ยวชาญ 5) นำแบบทดสอบไปทดลองใช้ (try out) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองบัวระเหว และ เป็นนักเรียนท่ีไดเ้ รยี นในเนอ้ื หา ผา่ นมาแล้ว 6) คัดเลือกแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธทิ์ างการเรียน จำนวน 40 ข้อ มาวิเคราะห์ หาค่าความเชื่อม่ัน (rtt) โดยใช้สูตร KR20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder–Richardson) ได้ ค่าความเชอ่ื ม่ัน 0.81 7) ได้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิที่มีคุณภาพตามท่ีต้องการ จำนวน 40 ข้อ แล้ว จดั พมิ พ์เปน็ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิท์ างการเรยี นฉบับจริง นำไปใชก้ ับกลมุ่ ตัวอยา่ ง 2.3 แบบวัดการคิดวิเคราะห์ หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียน การ์ตูน เปน็ แบบทดสอบแบบปรนยั ชนดิ เลอื กตอบแบบ 4 ตวั เลือก จำนวน 20 ข้อ 1) ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม การวัดและการประเมินผลตามหลักสูตร แกนกลาง พุทธศกั ราช 2551 (ฉบับปรบั ปรงุ 2560) 2) สร้างแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ เร่ืองการจัดการเรียนเชิงรุก โดยใช้เทคนิค เพ่ือนช่วยเพื่อน เพื่อส่งเสรมิ ความคิดสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง การออกแบบกราฟิก ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 5 เป็นแบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ เพ่ือใช้จริง 2 ข้อ เป็นแบบทดสอบวัด ความสามารถ ในการต้ังคำถามจากสถานการณ์ 3) นำแบบวัดความคิดสร้างสรรค์และเกณฑ์การวัดความสามารถในการคิด สร้างสรรค์ที่สร้างขึ้นเสนออาจารย์ท่ีปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิง เน้อื หาและความเหมาะสมทางด้านภาษา และให้ผูเ้ ชี่ยวชาญประเมินความสอดคลอ้ งระหว่าง คำถามของแบบวดั ความคิดสร้างสรรค์และเกณฑก์ ารวัดความคิดสร้างสรรค์ 4) บันทึกความเห็นของผู้เช่ียวชาญแต่ละคน ในแต่ละข้อแล้วคำนวณหาค่าดัชนี ความสอดคลอ้ งระหวา่ งเนือ้ หาและตัวชี้วัด

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 575 5) นำแบบทดสอบไปทดลองใช้ (try out) กับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองบัวระเหว และ เปน็ นกั เรียนทีไ่ ดเ้ รียนในเนอ้ื หา ผา่ นมาแลว้ 6) คดั เลือกแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธทิ์ างการเรียน จำนวน 20 ข้อ มาวิเคราะห์ หาค่าความเช่ือม่ัน (rtt) โดยใช้สูตร KR20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder– Richardson) ได้ คา่ ความเชอ่ื ม่ัน 0.81 7) ได้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิท่ีมีคุณภาพตามท่ีต้องการ จำนวน 20 ข้อ แล้ว จัดพิมพ์เปน็ แบบทดสอบวดั ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนฉบบั จริง นำไปใชก้ ับกลุ่มตัวอยา่ ง 3. การวิเคราะหข์ ้อมูล โดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test dependent sample) ผลการวจิ ยั 1.การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับ บทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ช้ันประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มี ประสทิ ธภิ าพตามเกณฑ์ 80/80 การวเิ คราะหป์ รากฎผลดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ประสทิ ธภิ าพแผนการจดั การเรยี นรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรยี นการต์ นู หน่วย การเรียนรหู้ ลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 5 ประเภทการทดสอบ N คะแนนเตม็ S.D. ร้อยละ 83.57 ทดสอบระหว่างเรียน (E1) 24 49 40.88 1.30 86.25 ทดสอบหลงั เรียน (E2) 24 20 17.25 1.03 จากตารางท่ี 1 พบว่า พบว่า แผนการจัดการเรยี นรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียน การ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) คิดเป็นร้อยละ 83.57 และได้คะแนนเฉล่ียจากการ ทดสอบหลังเรียน (E2) คิดเป็นร้อยละ 86.25 ดังน้ันแผนการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD

576 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) รว่ มกบั บทเรยี นการ์ตูน หน่วยการเรียนรูห้ ลกั ธรรมทางพระพทุ ธศาสนาชั้นประถมศึกษาปที ี่ 5 มปี ระสทิ ธภิ าพ (E1/E2) เท่ากับ 83.57/86.25 เปน็ ไปตามเกณฑท์ ่ีตงั้ ไว้ 2. ผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียน ระหวา่ งกอ่ นเรียนและหลงั เรยี น โดยใชก้ ารจดั การเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ช้ัน ประถมศกึ ษาปที ่ี 5 ใชส้ ถติ ิ t-test (Dependent Samples) การปรยี บเทียบ ดังน้ี ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียน ระหวา่ งก่อนเรียนและหลงั เรยี น โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทาง พระพทุ ธศาสนา ชัน้ ประถมศึกษาปที ่ี 5 การทดสอบ N คะแนนเตม็ รอ้ ยละ S.D. t p ก่อนเรยี น 24 20 14.92 74.58 2.04 8.14 0.00* หลงั เรยี น 24 20 17.25 86.25 1.03 *p<.05 จากตารางท่ี 2 พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนรู้ก่อนเรียน มีค่าเฉล่ีย = 14.92 , S.D. = 2.04 ผลการเรียนรู้หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย = 17.25 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนเรียนละหลังเรียน แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูนหน่วยการเรียนรู้ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการ เรยี นรหู้ ลงั เรยี นสงู กวา่ กอ่ นเรียน อยา่ งมนี ัยสำคญั ทางสถิติที่ .05 3. การเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการ เรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 5 ใช้สถิติ t-test (Dependent Samples) การปรียบเทียบผลปรากฏ ดงั ตารางท่ี 3

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 577 ตารางท่ี 3 การเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การ จัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูนหน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทาง พระพทุ ธศาสนา ชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 5 การทดสอบ N คะแนนเตม็ ร้อยละ S.D. t p ก่อนเรียน 24 20 15.50 77.50 1.22 8.95 0.00* หลงั เรียน 24 20 17.63 88.13 0.65 *p<.05 จากตารางที่ 3 พบว่ นักเรียนมีผลการเรียนรู้ก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย = 15.50, S.D. = 1.22 ผลการเรยี นรู้หลงั เรียนมีค่าเฉลี่ย = 17.63 เมอ่ื เปรียบเทียบการคิดวเิ คราะห์ ก่อนเรียนละหลังเรียน แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูนหน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 5 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนรู้หลังเรียน สูงกว่ากอ่ นเรยี นอยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถติ ทิ ่ี .05 อภิปรายผล 1. แผนการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ท่ีสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.57/86.25 ซ่ึงเป็นไป ตามเกณฑ์ 80/80 ท่ีตั้งไว้ ทั้งนี้ เน่ืองมาจากแผนการจัดการ เรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นการจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นการพัฒนาทักษะ การทำงานร่วมกับผู้อ่ืนเพื่อบรรลุเป้าหมาย เดียวกัน ท้ังในลักษณะของผู้นำและผู้ตาม ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสได้ พัฒนาศักยภาพ ของตนเอง ส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบ สามัคคี และสร้างแรงจูงใจ ในการเรียน ลด ความรู้สึกเบ่ือหน่าย ในการเรียน เน่ืองจากท้ังกลุ่มมีเป้าหมายเดียวกันและทุกคนในกลุ่ม สามารถทำประโยชน์ใหก้ ลุ่มได้ ความสำเร็จรายบคุ คลจะเป็นความสำเร็จของกลมุ่ ดว้ ย ทกุ คน จะกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ก่อให้เกิด ความสำเร็จต่อกลุ่มและต่อตนเองในท่ีสุด จากการ วิเคราะห์ความสัมพันธ์เช่ือมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวช้ีวัด มีการกำหนดสาระ การเรียนรทู้ ่ีสามารถนำมาจัดกจิ กรรมการเรยี นรใู้ ห้สอดคล้องกบั จดุ ประสงค์การเรียนรรู้ วมทั้ง มีกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย ผ่านกระบวนการตรวจสอบและ

578 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) กลั่นกรองจากอาจารย์ทปี่ รึกษาวทิ ยานิพนธ์ และผู้เช่ยี วชาญเฉพาะด้าน ส่งผลให้มีกิจกรรมท่ี เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นทั้งเป็น รายบุคคลและเป็นกลุ่มเพื่อร่วมกันหาข้อสรุปข้อเท็จจริงที่สมเหตุสมผล จากประเด็นปัญหา หรือสถานการณ์ท่ีนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับเอมอร ผาสุกพันธ์, (2550) ท่ีกล่าวว่า การจัดการเรียนรู้แบบ STAD มีข้ันตอนการสอน 5 ขั้นดังน้ี ข้ันท่ี 1 การ นำเสนอส่ิงที่ต้องเรียน (Class Presentation) หมายถึง การนำเสนอเนอ้ื หาท่ีจะสอน โดยครู เป็นผู้นำเสนอสิ่งที่นักเรียนต้องเรียน ด้วยวิธีการสอนแบบบรรยายสาธติ ใชค้ ำถามและแสดง เหตุผล ขั้นท่ี 2 การทำงานเป็นกลุ่ม (Team Study) หมายถึง การเรียนรู้เป็นกลุ่มประมาณ 4-5 คน ที่มีผลสัมฤทธ์ิ ทางการเรยี นแตกต่างกัน ทำการเรียนรู้กนั เปน็ กลุ่มเพื่อศึกษาบทเรียน การ์ตูน กิจกรรม ใบงาน โดยสมาชิกในกลุ่ม จะต้องช่วยเหลือกันเพ่ือให้กลุ่มบรรลุเป้าหมาย ทตี่ ง้ั ไว้ ขนั้ ท่ี 3 การทดสอบย่อย (Test) หมายถึง การทดสอบนักเรียนหลังเรยี นไปแลว้ 1 ครั้ง โดยเป็นการทดสอบนักเรียนรายบุคคลและไม่อนุญาต ให้นักเรียนช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม ขั้นที่ 4 การตรวจสอบคะแนนพฒั นาการของนกั เรียน แต่ละคน (Individual Improvement Score) หมายถึง คะแนนท่ีนักเรียนได้จากการทำแบบทดสอบในคร้ังท่ี ผ่านมาเป็นคะแนน ฐานในการเรียนเมอ่ื ทำแบบทดสอบคร้งั ถัดไปคะแนนที่ได้จะถูกเฉลี่ย กับการสอบในคร้ังก่อน เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของการเรียน ขั้นท่ี 5 การรับรองผลงานของกลุ่ม (Team Recognition) หมายถึง การประกาศคะแนนกลุ่มให้แต่ละกลุ่มทราบ พร้อมกับให้คำ ชมเชยกับกลุ่ม ท่ีมีคะแนนพัฒนาการของกลุ่มสูงสุด นอกจากนี้ การจัดการเรียนรู้ หมายถึง การเรียนท่ีจัดให้ผู้เรียนได้เรียนเป็นกลุ่ม คละกันในระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ ระดับสูง 1 คน ระดับปานกลาง 2 คน และระดับอ่อน 1 คน จุดประสงค์หลัก คือ ช่วยให้ นักเรียนท่ีมี ผลสัมฤทธ์ิ ทางการเรียนต่ำ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงข้ึน และมุ่งเน้น ให้ ผู้เรียนทางานรว่ มกนั เป็นกล่มุ (แคทรยี า ใจมลู , 2550) 2. นักเรียนที่ได้เรียนรู้หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยการ จัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 5 มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.1 ซ่ึง สอดคล้องกับสมตฐิ านที่ต้ังไว้ ท้ังน้ี อาจมาจากการสอนแบบ STAD สอดคล้องกบั สุคนธ์ สินธ พานนท์ และคณะ (2552) ที่กล่าวว่าการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD หมายถึง เทคนิคแบง่ ปันความสำเรจ็ มกี ารพัฒนามาจากเทคนคิ การจดั ทมี แข่งขัน (TGT) แต่จะเป็นการ

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 579 ร่วมมือระหว่างสมาชิกในกลุ่ม โดยทุกคนจะต้องพัฒนาความรู้ของตนเองในเร่ืองท่ีผู้สอน กำหนด ซึ่งจะมีการช่วยเหลอื แนะนำความรู้ใหแ้ ก่กัน มีการทดสอบความร้เู ป็นรายบุคคลแทน การแข่งขัน และรวมคะแนนเป็นกลุ่มกลุ่มที่ได้คะแนนมากท่ีสุดจะเป็นฝ่ายชนะ ซ่ึงนักการ ศึกษาท่ีคดิ เทคนิค STAD คือ สลาวิน (Slavin) และสอดคล้องกับโบอ้าย คีโอวงษ์สา (2559) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เป็นเทคนิคท่ีพัฒนาขึ้นมาโดยสลาวิน (Slavin) เป็นการเรียนแบบที่นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีตอ่ เพ่ือน โดยมีความหมายจากคำศัพท์ ภาษาอังกฤษว่า 1) S (Student) หมายถึง กลุ่มผู้เรียนท่ีมีความสามารถทางการเรียนท่ี แตกต่างกัน ซึ่งอยู่รวมกัน ในห้องเรียนท่ีมีสภาพแวดล้อมเดียวกัน 2) T (Team) หมายถึง กลุ่มผู้เรียนที่มีสมาชิกที่คละความสามารถทางการเรียน ผู้ที่มี ความรู้จะต้องอธิบาย ให้ความ ช่วยเหลือแก่สมาชิกที่ยังไม่เข้าใจ 3) A (Achievement) หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของกลุ่ม จะดไู ด้จากการประเมินตามสภาพของสมาชกิ ในกลมุ่ และแบบทดสอบ ที่ผสู้ อนสร้าง ข้ึน 4) D (Division) หมายถึง การแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ กลุ่มละ 4-5 คน โดยมีอัตราสว่ นระหว่างนกั เรยี นเก่ง ปานกลางและออ่ น เปน็ 1 : 2 : 1 การสอนด้วยวิธีการ “เทคนิค STAD” เป็นการสอนด้วยวิธีการให้ผู้เรียนรวมกลุ่ม เรียนรูร้ ่วมกันแบบคละความสามารถ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทุกคนมีส่วนร่วมในการ เรียนรู้ คนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือคนที่อ่อนกว่า สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการ เรียนของตนเอง เท่าน้ัน หากแต่จะต้องร่วมรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกทุกคน ในกลุ่ม โดยแบ่งผู้เรียน ออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 4-5 คน ประกอบด้วยนักเรียนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2-3 คน อ่อน 1 คน ผลสำเร็จของนักเรียนแต่ละคน คือ ผลสำเร็จของกลุ่ม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ร่วมกัน มีการอภิปรายแลกเปล่ียนความ คดิ เห็นและฝกึ การทำงานร่วมกนั กับผู้อน่ื 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 ที่เรียนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD ร่วมกับบทเรียนการ์ตูน มีความสารถใน การคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ท่ีระดับ 0.1 ซึ่ง สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเน่ืองมาจากการสอนแบบ STAD เป็นการเรียนที่จัด ให้ผู้เรียนได้เรียนเป็นกลุ่มคละกันในระดับผลสัมฤทธท์ิ างการเรียน คือ ระดับสูง 1 คน ระดับ ปานกลาง 2 คน และระดับอ่อน 1 คน จุดประสงค์หลัก คือ ช่วยให้นักเรียนที่มีผลสัมฤทธ์ิ ทางการเรยี นต่ำ มผี ลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนสงู ขึน้ และมุง่ เนน้ ใหผ้ ้เู รยี นทำงานร่วมกนั เปน็ กลุ่ม

580 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) แคทรียา ใจมูล (2550) ซ่ึงสอดคล้องกับโบอ้าย คีโอวงษ์สา (2559) กล่าวว่า การจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นมาโดยสลาวิน (Slavin) เป็นการ เรียนแบบที่นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ท่ีดีต่อเพ่ือน โดยมีความหมายจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า 1) S (Student) หมายถึง กลุ่มผู้เรียนท่ีมีความสามารถทางการเรียนที่แตกต่างกันซ่ึงอยู่ รวมกัน ในห้องเรียนที่มีสภาพแวดล้อมเดียวกัน 2) T (Team) หมายถึง กลุ่มผู้เรียนที่มี สมาชิกท่ีคละความสามารถ ทางการเรียน ผู้ท่ีมี ความรู้จะต้องอธิบายให้ความช่วยเหลือแก่ สมาชิกท่ียังไม่เข้าใจ 3) A (Achievement) หมายถึง ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของกลุ่ม จะดู ได้จากการประเมินตามสภาพของสมาชิกในกลุ่มและแบบทดสอบท่ีผู้สอนสร้างข้ึน 4) D (Division) หมายถึง การแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆประมาณ กลุ่มละ 4-5 คน โดยมอี ตั ราส่วนระหว่างนกั เรยี นเกง่ ปานกลางและอ่อน เปน็ 1 : 2 : 1 องคค์ วามร้ทู ี่ได้จากการศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เป็นวิธีการสอน ท่ีเป็น ประโยชน์ต่อผู้เรียน เหมาะกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ฝึก ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า พัฒนาทักษะ การทำงานร่วมกับผู้อ่ืนเพ่ือบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ทั้งในลักษณะของผู้นำและผู้ตาม ให้เกิดประสิทธิภาพ ครูควรเตรียมส่ือ อุปกรณ์ การเรียนรู้ ให้พร้อม จึงจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การคิดวิเคราะห์ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ครูควรกระตุ้น เสริมแรงทางบวกให้ผู้เรียนคิดคำตอบได้ หลากหลาย ควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการ เรียนรู้อ่ืนๆ เช่น ศิลปะ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาศาสนาและ วัฒนธรรม ภาษาอังกฤษฯ ในระดับชั้นต่างๆ ควรมพี ัฒนาความคิดในกลุ่มสาระการเรียนรู้อ่ืน ในด้านการคิดพื้นฐาน คิดกว้าง คิดแกป้ ัญหา คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดวจิ ารณญาณฯ เปน็ ตน้

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 581 เอกสารอ้างองิ กรมวิชาการ. (2544). การจดั กระบวนการเรียนรู้ท่ผี เู้ รียนสำคญั ทส่ี ุดตามพระราชบญั ญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรงุ เทพฯ : ศนู ย์พฒั นาหลกั สูตร กรมวิชาการ. แคทรยี า ใจมลู . (2550). ผลการจดั การเรยี นรู้โดยใช้เทคนิค STAD ในกลมุ่ สาระการเรียนรู้ คณติ ศาสตร์ เรื่อง อัตราสว่ นและร้อยละ ช้ันมธั ยมดีกษปีที่ 2 โรงเรยี นหว้ ยสานยาว วทิ ยา สำนกั งานเขตพืน้ ท่ี การศึกษาเชียงราย เขต 2. บัณฑติ วิทยาลยั : มหาวิทยาลยั ราชภัฏเชียงราย. ชนันภรณ์ อารีกุล. (2560), อ้างองิ จาก Sutthirat, 2015, Theinsri, 2013 บษุ บา ชคู ำ. (2550). ผลของการใช้บทเรยี นกร์ตนู คณิตศาสตร์แบบ E-Book เรอ่ื งโจทย์ ปัญหาสมการเชงิ เส้น ตัวแปรเดียวท่มี ตี ่อผลสม้ ฤทธิท์ างการเรียนและความพงึ พอใจ ในวิชาคณติ ศาสตร์ของนักเรียนชนั ธยมศึกษาปีท่ี 2 บณั ฑติ วิทยาลยั มหาวิทยาลยั ศรี นครนิ ทรวิโรฒ. โบอา้ ย คีโอวงษ์สา. (2559). ผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นคณิตศาสตร์ ความสามารถในการ แก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์และเจตคตติ ่อการเรยี นคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรยี นรู้ แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนกั เรยี นชน้ั มยั มศึกษาปที ี่ 3 นครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. บัณฑิตวทิ ยาลัย :มหาวิทยาลัย บูรพา ชลบรุ ี. วมิ ลรตั น์ สุนทรโรจน์. (2551). นวัตกรรมตามแนวคดิ แบบ Back ward Design. บัณฑติ วิทยาลยั :มหาวทิ ยาลัยมหาสารคาม. สคุ นธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2552). การจดั กระบวนการเรยี นรู้ : เน้นผเู้ รียนเปน็ สำคัญ กรงุ เทพฯ : อักษรเจริญทศั น.์ สวุ ทิ ย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. (2550). 19 วธิ ีการจดั การเรียนร้เู พื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพภ์ าพพิมพ.์ เอมอร ผาสุกพนั ธ์. (2550). การเปรยี บเทียบผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนวชิ าคณติ ศาสตร์และ ทักษะการส่ือสาร ทางคณิตศาสตรข์ องนักเรยี นชั้นมัธยมศึกษาปที ่ี 2 ระหว่างกลมุ่ ที่ จัดการเรียนรู้แบบรว่ มมือเทคนิค STAD กับเทคนิค TAl โดยการประเมนิ ผลตาม สภาพจรงิ . บณั ฑติ วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภฏั พระนครศรีอยธุ ยา.

582 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020)

บทบาทของสหพนั ธ์แมห่ ญงิ ลาวด้านการพัฒนาการศกึ ษาในวิทยาลัย ครูปากเซ แขวงจำปาสกั สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนาลาว The Role of Lao Women's Federation in Educational Development in Pakse Teachers College, Champasak Province, Lao People's Democratic Republic 1ดาลี้ เท่ยี งทำมะวง, 2รัตนะ ปญั ญาภา และ 3เรอื งเดช เขจรศาสตร์ 1Daly thiengthammavong, 2 Rattana Panyapa and 3Ruangdet Khejornsart มหาวิทยาลัยราชภัฏอบุ ลราชธานี, ประเทศไทย Ubon Ratchathani Rajabhat University, Thailand. [email protected] Received May 10, 2020; Revised July 12, 2020; Accepted August 25, 2020 บทคดั ยอ่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยการวิจัยเชิงบูรนาการ (Mix Research) มีวัตถุประสงค์เพ่ือ ศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของสหพันธ์แม่หญิงลาวในการพัฒนาการศึกษา และแนวทาง พัฒนาการมีส่วนร่วมของสหพันธ์แม่หญิงต่อการพัฒนาการศึกษาของวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก กลมุ่ ตัวอย่างที่ใชใ้ นการวจิ ัยได้แก่ สมาชิกสมาชิกสหพันธแ์ ม่หญิงลาวที่เป็นครู ในวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนาลาว จำนวน 82 คน เคร่ืองมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามที่สร้างข้ึนจากการทบทวนวรรณกรรม และ งานวิจัยที่เก่ียวข้อง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉล่ีย ร้อยละ และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทสหพันธแ์ ม่หญิงลาวท่ีมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของวิทยาลัยครู ปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนาลาว ตามบทบาทที่เป็นจริงและ

584 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) ตามบทบาททคี่ าดหวงั มีระดับความคิดเหน็ ทแ่ี ตกต่างกัน เช่น บทบาทสหพันธ์แม่หญิงลาวทีม่ ี ส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของวทิ ยาลัยครูปากเซตามบทบาทท่ีเป็นจริง มีค่าเฉลยี่ อยู่ใน ระดับปานกลาง ส่วนบทบาทสหพันธ์แม่หญิงลาวที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของ วทิ ยาลยั ครูปากเซ ตามบทบาททคี่ าดหวัง มคี ่าเฉลย่ี อยู่ในระดับมาก 2. แนวทางการพัฒนาพัฒนาการมีส่วนร่วมของสหพันธ์แม่หญิงด้านการพัฒนา การศึกษาของวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนาลาว สหพันธ์แม่หญิงได้เสนอแนวความคดิ ไว้เป็นส่วนมากคือ ควรเปิดโอกาสให้แมห่ ญิงได้มีโอกาส พัฒนาตนเองทางด้านวิชาการให้มากขึ้นเช่น เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถในการบริหาร จัดการด้านวิชาการ ส่งเสริมให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อเพ่ือยกระดับทั้งภายในและ ต่างประเทศ ต้องเอาใจใส่ติดตามส่งเสริมด้านวิชาการให้ผู้หญิงได้มีส่วนร่วมมากข้ึน ควรเปิด โอ ก า ส ให้ ผู้ ห ญิ ง ได้ ด ำ ร งต ำ แ ห น่ งใน ขั้ น ก า ร บ ริ ห า ร ด้ า น ต่ า ง ๆ ให้ ถู ก ต้ อ ง เห ม า ะ ส ม กั บ ความสามารถ และทุกการงานท่จี ดั ข้ึนควรคำนึงถึงบทบาทหญงิ ชายอยเู่ สมอ คำสำคญั : บทบาท, สหพันธ์แมห่ ญงิ ลาว, การพัฒนาการศกึ ษา, วทิ ยาลัยครูปากเซ Abstract This research was a mixed methodology research with the objective of studying the role of the participation of the Lao Women's Federation in educational development and the guidelines for development of the participation of the women’s federation for education development of Pakse Teachers College, Champasak Province, Lao PDR. The sampling groups in this study were 82 female teachers that were members of the Lao Women's Federation in Pakse Teachers College, Champasak Province, Lao PDR. The tools used in this research were questionnaires created through literature review and related researches. Data were analyzed in three forms including means, percentage and standard deviation. The results of the research were found as the followings. 1. The role of Lao Women's Federation participating in educational development of Pakse Teachers College, Champasak Province, Lao PDR, according to their real and expected roles, respondents had different level of opinions i.e. the real- role of the Lao Women's Federation participating in educational development of Pakse

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 585 Teachers College was averagely at moderate level while the expected-role was averagely at high level. 2. Guidelines for the development of the participation of the Lao Women's Federation in educational development of Pakse Teachers College, Champasak Province, Lao PDR, most members of the federation proposed that more opportunities should be opened for women to develop themselves in technical aspect including: opening opportunity for women to express their potentials in technical management; promoting opportunities for women to have further education in both domestic and foreign countries; attentively encouraging women’s participation in technical aspect; opening opportunities for women to be promoted in various executive positions according to their potentials; and realizing gender roles in all activities. Key words : Role; Lao Women's Federation; Educational Development; Pakse Teachers College บทนำ สตรี คือ ผู้ที่มีบทบาทท่ีสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในแบบทุกด้านอีกท้ังยังต้อง แบกรับภาระงานบ้าน ดูแลบุตรจัดหาอาหาร ดูแลสุขภาพ ของสมาชิกภายในครอบครัวเมื่อ เกิดการเจ็บป่วย สตรี เป็นผู้ให้ความรัก และความอบอุ่นแก่บุตรหลานเวลาสั่งสอน รวมถึง การปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับคนในครอบครัว ในอดีตจะมีค่านิยมของ คนไทยว่าสตรีจะต้องอยู่กับเหย้ากับเรือน แต่สำหรับในปัจจุบันค่านิยมเหล่านั้นได้เปล่ียนไป สตรีกับบุรุษ มีความเสมอภาคกันแม้ว่าสังคมจะหมุนเปลี่ยนไปตามเวลาแต่กิจกรรม และ บทบาทของสตรีในแต่ละด้านยังคงมีความสำคัญเสมอมาสตรีเป็นผู้มีความสำคัญต่อการ พฒั นาประเทศ เพราะพลังของสตรีมีถึงคร่ึงหนึ่งของพลังมนุษย์ทั้งโลก แต่ได้ถูกละเลยในการ นำศักยภาพท่ีมีอยู่ของสตรีให้เป็นประโยชน์ ซึ่งคร้ังหน่ึงสตรีพยายามท่ีจะยกระดับเรื่องสิทธิ ของความเสมอภาค เพื่อแสดงออกถึงบทบาทและศักยภาพของสตรี ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน การสร้าง และเสนอแนะแนวทางในการสร้างความเจริญให้กับสังคมและประเทศชาติ ศกั ยภาพในการพัฒนาตัวเองดังนนั้ บทบาทของสตรีจะสามารถสรา้ งความเขม้ แขง็ ใหก้ ับชมุ ชน ได้ (กาญจนา แกว้ เทพ. 2550)

586 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็เป็นประเทศหนึ่งท่ีเป็นสมาชิกของ องค์กรสหประชาชาติ ที่ได้ปฏิบัติตามพันธะสัญญาต่อเวทีโลก โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับ บทบาท หน้าท่ี ของสหพันธ์หญิง หรือกลุ่มสตรี ซึ่งพรรคประชาชนปฏิวัติลาวไม่ว่าเวลาใดก็ ให้ความสำคัญ ดูแล และเอาใจใส่ อย่างตั้งใจต่อการพัฒนาชีวิตการเป็นอยู่ และอนาคตอัน สดใสของสตรี โดยการวางแนวทาง อันถูกต้องของพรรคต่อการพัฒนา ผู้หญิง ทำให้องค์กร จดั ตั้งสหพันธ์หญิง เติบใหญข่ ยายตัวเป็นกา้ วฯมา ทำใหผ้ หู้ ญิงลาวซึ่งเริม่ จากจดุ ทไ่ี ม่มีที่ต้งั ไม่ มีบทบาทช่ือเสียงอยู่ในสังคม กลายมาเป็นองค์ประกอบหน่ึงท่ีขาดไม่ได้ของการปฏิวัติ เป็น กำลังแรงในทุกด้านของการพัฒนา ผู้หญิงลาวได้รับการค้ำประกันสิทธ์ิเสมอภาคในทุกด้าน เทา่ เทียบกบั เพศชาย วิทยาลัยครูปากเซเป็นสถาบันการศึกษาช้ันสูง 1 ใน 8 ของสถาบันสร้างครูท่ัว ประเทศขึ้นกับกรมสรา้ งครู กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ที่มกี ารบรหิ ารจดั การท่ีเป็นไปตาม แนวทางของพรรค มีบทบาทก่อสร้าง และบำรุงครูอนุบาล ครูประถม ครูมัธยม ในระดับชั้น กลางชั้นสูงและปริญญาตรีให้มีคุณสมบัติ ความรู้ และความสามารถตาม 5 องค์ประกอบ หลักการที่กระทรวงศึกษากำหนดไว้ เพ่ือสร้างครูให้กลายเป็นครูมืออาชีพ และตอบสนอง ความเรียกร้องต้องการของสังคมในแต่ละระยะในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แต่ในการ ปฏบิ ัตงิ านต่างๆทก่ี ลา่ วมานนั้ ผวู้ ิจยั เหน็ วา่ สหพันธ์แมห่ ญงิ ยังไมม่ สี ่วนรว่ มเท่าทีค่ วร ดังน้ัน ผู้วิจัยจึงสนใจ ที่จะศึกษาบทบาทของสหพันธ์แม่หญิงลาวกับการมีส่วนร่วม ในพัฒนาการศึกษาในวิทยาลยั ครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนา ลาว โดยมุ่งศึกษาการมีส่วนร่วมของสหพันธ์หญิงในการบริหารงานด้านต่างๆ เช่น การ บริหารงานดา้ นวชิ าการ การบรหิ ารงานด้านงบประมาณ การบรหิ ารด้านการจัดการเรียนการ สอน และการบริหารงานท่ัวไป ว่ามีบทบาทเขา้ ไปมสี ่วนรว่ มมากน้อยแคไ่ หน ท้ังน้เี พ่อื ท่ีจะทำ ให้การพัฒนาการศึกษาให้สอดคลอ้ งกับความต้องการของสังคม และจะได้นำข้อมูลไปพัฒนา การศกึ ษาและสถาบันสร้างครู วทิ ยาลยั ครูปากเซ ใหม้ ีประสทิ ธภิ าพตอ่ ไป

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 587 วัตถปุ ระสงคก์ ารวจิ ัย 1. เพื่อศึกษาบทบาทสหพันธ์แม่หญิงลาวที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของ วทิ ยาลัยครปู ากเซ แขวงจำปาสกั สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนาลาว 2. เพ่ือศึกษาแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของสหพันธ์แม่หญิงต่อการพัฒนา การศึกษาของวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนาลาว วธิ ีดำเนินการวจิ ยั การวิจัยเรื่อง“บท บ าท ของส หพั น ธ์แม่ห ญิ งล าว ด้าน การพั ฒ น า การศึก ษาขอ ง วิทยาลัยครปู ากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาว การวิจยั คร้งั น้ีเป็น การวิจัยเชิงบรู นาการ (Mix Research) ผู้วิจัยไดด้ ำเนนิ การวิจยั ดงั น้ี 1. ประชากรและกลุม่ ตัวอยา่ ง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งน้ี ได้แก่ คณะสหพันธ์หญิง และ สมาชิก ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของ วิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในตำแหน่งงานเช่น หัวหน้าห้องกานและครูจำนวน 82 คน 2. เครื่องมือทใ่ี ชใ้ นการวจิ ยั เครื่องมือท่ีใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อยและน้อยท่ีสุด ที่เกี่ยวข้องกับ บทบาทของสหพันธ์แม่หญิงลาวท่ีมีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษาในวิทยาลัยครูปากเซ แขวง จำปาสกั สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว 3. การวิเคราะห์ขอ้ มูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ คา่ ร้อยละ (Percentage) คา่ ความถ่ี (Frequency) คา่ เฉลี่ย (Mean) ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

588 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) ผลการวิจยั 1. สหพันธ์แม่หญิงลาวในวิทยาลัยครูปากเซ มีความคิดเห็นตามบทบาทที่เป็นจริง เก่ียวกับการบริหารงานทัง 4 ด้านในวิทยาลัยครูปากเซ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปาน กลาง ( X = 3.27) เม่ือพิจารณาเป็นรายด้าน พบวา่ ด้านการบริหารงานทางวิชาการ และด้าน การบริหารด้านกิจกรรมการเรียนการสอน มีค่าเฉล่ียอยู่ในระดับมาก ( X = 4.30 และ X = 3.59) โดยด้านท่ีมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้านคือ ด้านการบริหารงานท่ัวไป ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.88) ในขณะที่ด้านการบริหารงานด้านงบประมาณ มี ค่าเฉล่ยี อยใู่ นระดับน้อย ( X =2.31) สหพันธแ์ ม่หญิงลาวในวิทยาลยั ครูปากเซ ทมี่ ีความเห็นตามบทบาททเ่ี ป็นจรงิ ต่อการ บริหารงานทัง 4 ด้านในวทิ ยาลยั ครูปากเซ ซงึ่ แยกออกเป็นรายด้านสรุปได้ดังนี้ 1.1 ด้านการบริหารงานทางวิชาการ ในวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว โดยรวม มีค่าเฉล่ียอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อที่มีค่าเฉล่ียอยู่ในระดับปานกลาง ข้อท่ีมีค่าเฉลี่ย สูงสุดเรียงอันดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ การกำหนดนโยบายพัฒนาคุณภาพ การศึกษา ( X = 3.04) รองลงมาได้แก่ การปรับปรุงหลักสูตรของวิทยาลัย ( X = 2.98) และ การประชุม อบรม สัมมนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ( X = 2.94) ในขณะที่ การ จัดหาวิทยากรภายในและภายนอกเพื่อพัฒนาวชิ าการ มคี า่ เฉลย่ี ตำ่ สดุ ( X = 2.61) 1.2 ด้านการบริหารงานงบประมาณ ในวิทยาลัยครูปากเซแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย ( X = 2.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อท่ีมีค่าอยู่ในระดับปานกลางคือ การจัดหางบประมาณ ภายนอกเพื่อมาพัฒนาวิทยาลัย มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.58) นอกน้ันมีค่าเฉล่ียอยู่ ในระดับน้อย ทุกข้อ โดยเรยี งลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การจัดทำแผนการเงนิ งบประมาณ ( X = 2.48) รองลงมา คือ การเป็นกรรมการจัดซ้ือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในวิทยากร ( X = 2.47) และ การกำหนดโครงการท่ีจะได้ใช้งบประมาณ ( X = 2.36) ในขณะที่ การเป็นกรรมการ ตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ท่ีใช้ในวิทยาลัย ( X = 2.08) และการเสนอแนะแต่งต้ังเจ้าหน้าท่ี รบั ผิดชอบฝา่ ยการเงิน มคี ่าเฉล่ยี ตำ่ สุด ( X = 2.08)

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 589 1.3 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในวิทยาลัยครูปากเซแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว โดยรวม มีค่าเฉล่ียอยู่ในระดับมาก ( X = 3.59) เม่ือพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉล่ียสูงสุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนท่ีสอดคล้องกับ หลักสูตร มีค่าอยู่ในระดับมาก ( X = 3.64) และ การกำกบั ติดตาม ตรวจสอบ ประเมนิ ผลการ ใช้สื่อวัสดุประกอบการสอนรองลงมาได้แก่ การจัดอุปกรณ์ เครื่องมือ ส่ือการเรียนการสอน มี ค่าอยู่ในระดับมาก ( X = 3.63) ในขณะท่ีการพัฒนาสื่อนวัตกรรมเพ่ือการเรียนการสอน มี คา่ เฉลีย่ อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.47) 1.4 ด้านการบริหารงานทวั่ ไป ในวทิ ยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสกั สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยรวมมีคา่ เฉล่ยี อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.89) เมื่อพจิ ารณา เปน็ รายข้อพบวา่ ส่วนใหญ่มีค่าเฉลีย่ อยู่ในระดับปานกลาง โดยข้อทม่ี ีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับปาน กลางเรียงลำดับจากมากไปหานอ้ ย 3 อนั ดบั คือ การสนบั สนนุ ใหว้ ิทยาลยั สรา้ งความสมั พันธ์ กบั ชุมชน มคี า่ อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.49) รองลงมาคือ การช่วยจัดสภาพแวด ลอ้ ม ของสถาบันในร่มรืน่ สะอาดสวยงามตา มคี ่าอยู่ในระดบั ปานกลาง และ การพิจารณาให้ความ เห็นชอบแผนปฏิบตั กิ ารประจำปี ( X = 3.16) ในขณะที่ การสนับสนุนโครงการ การบริการ ด้านสุขภาพและอนามยั แก่นักศึกษา มคี ่าเฉล่ียอยใู่ นระดับน้อย ( X = 2.46) 2. สหพันธ์แม่หญิงลาวในวิทยาลัยครูปากเซ มีความคิดเห็นตามบทบาทท่ีคาดหวัง เกี่ยวกับการบริหารงานทัง 4 ด้านในวิทยาลัยครูปากเซ โดยรวม มีค่าเฉล่ียอยู่ในระดับมาก ( X = 4.26) เมือ่ พิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีคา่ อยู่ในระดบั มากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉล่ียสูงสุด คือด้านการบริหารด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ค่าเฉล่ียอยู่ในระดับมาก ( X = 4.32) รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานทางวิชาการ มีค่าเฉล่ียอยู่ในระดับมาก ( X = 4.30) ด้าน การบริหารงานด้านงบประมาณ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.20) และด้านการ บริหารงานทวั่ ไป ค่าเฉลี่ยอย่ใู นระดับมาก ( X = 4.20) ตามลำดบั สำหรับสหพันธ์แม่หญิงลาวในวิทยาลัยครูปากเซ ท่ีมีความเห็นตามบทบาทที่ คาดหวังตอ่ การบรหิ ารงานทงั 4 ดา้ นในวทิ ยาลัยครูปากเซ ซึ่งแยกออกเปน็ รายด้านสรปุ ไดด้ ังนี้ 2.1 ด้านการบริหารงานทางวิชาการ ในวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรฐั ประชาธิปไตย ประชาชนลาว โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.31) เม่ือ

590 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีเฉล่ียอยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉล่ียสูงสุด เรียงลำดับ จากมากไปหาน้อย3 อันดับ คือ การประชุม อบรม สัมมนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มี ค่าเฉล่ียอยู่ในระดับมาก ( X = 4.46) รองลงมาได้แก่ การจัดหาวิทยากรภายในและภายนอก เพื่อพัฒนาวิชาการ มีค่าอยู่ในระดับมาก ( X = 4.40) และ การกำหนดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ของวิทยาลัย ( X = 4.35) ในขณะท่ีการกำหนดนโยบายพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีค่าเฉลี่ย ตำ่ สุด ( X = 4.16) 2.2 ด้านการบริหารงานด้านงบประมาณ ในวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตย ประชาชนลาว โดยรวมมีคา่ เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.20) เม่ือ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีเฉล่ียอยู่ในระดับมากและข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับ มาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ คือ การเป็นกรรมการจัดช้ือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ใน วิทยาลัย มีค่าเฉล่ียอยู่ในระดับมาก ( X = 4.35) รองลงมา การเสนอแนะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ รบั ผิดชอบฝ่ายการเงิน มีค่าอยู่ในระดับมาก ( X = 4.33) และการร่วมติตามตรวจสอบการทำ บัญชีการเงินให้ถูกต้อง ( X = 4.32) ในขณะที่ การเป็นกรรมการจัดชื้อวัสดุอุปกรณ์ท่ีใช้ใน วทิ ยาลัย มีคา่ เฉลี่ยตำ่ สดุ ( X = 4.10) 2.3 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในวิทยาลัยครูปากแชแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.33) เม่ือ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีค่าเฉล่ียอยู่ในระดับมาก และข้อท่ีมีค่าเฉล่ียสูงสุดอยู่ใน ระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ คือ การส่งเสริมให้มีการนำใช้ส่ือการสอน อย่างสม่ำเสมอ มีค่า เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.46) รองลงมาได้แก่ การพัฒนาส่ือ นวัตกรรมเพ่ือการเรียนการสอน มีค่าอยู่ในระดับมาก ( X = 4.44) และ การวางแผนจัด กิจกรรมการเรียนการสอน ( X = 4.38) ในขณะที่ การจัดทำเครื่องมือวัดผลทางการศึกษา (ทำข้อสอบ) มคี ่าเฉลย่ี ต่ำสุด ( X = 4.15) 2.4 ด้านการบริหารงานทั่วไป ในวิทยาลัยครปู ากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว โดยรวมมีค่าเฉล่ียอยู่ในระดับมาก ( X = 4.21) เม่ือพิจารณา เป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อ มีเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ คือ การจัดสรรสวัสดิการบำรุงขวัญและกำลังใจแก่ บุคลากร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X = 4.33) รองลงมาได้แก่ การประเมินผลการ ดำเนินงานตามแผนงานโครงการ มีค่าอยู่ในระดับมาก ( X = 4.28 ) และการพิจารณาให้

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 591 ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปี ( X = 4.27) ในขณะท่ี การพิจารณาให้ความ เห็นชอบแผนปฏิบัตกิ ารประจำปี มคี า่ เฉลีย่ ต่ำสุด ( X = 4.09) อภปิ รายผล 1. สหพันธ์แม่หญิงลาวในวิทยาลัยครูปากเซ มีความคิดเห็นตามบทบาทท่ีเป็นจริง เกี่ยวกับการบริหารงานทัง 4 ด้านในวิทยาลัยครูปากเซ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง ทั้งน้ีเนื่องจากว่า สหพันธ์แม่หญิงลาวในวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนาลาว ได้มีส่วนร่วมในด้านการพัฒนาการศึกษายังไม่มาก เท่าที่ควรจะเป็น ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารวิชาการ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และดา้ นการบริหารงานท่ัวไปยังเห็นว่าอยู่ในระดบั ปานกลาง ซ่ึงอาจเปน็ เพาะสหพันธแ์ มห่ ญิง ลาวในวิทยาลัยครูปากเซ อาจยังไม่ได้รับโอกาสมากพอท่ีจะได้แสดงความรู้ ความสามารถที่ พวกเขามี เพื่อเข้าไปมีสว่ นรว่ มในการบรหิ ารงานด้านตา่ ง ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาในวิทยาลัย ครูปากเซ ซ่ึงทำให้ส่วนมากแล้วบุคลคนท่ีมีตำแหน่งระดับผู้บริหารคือผู้ชาย และข้อที่มี ค่าเฉลยี่ อยู่ในระดบั น้อยท่ีสุดคือ ดา้ นการบริหารงบประมาณ อาจเนื่องมาจากการขาดความรู้ ความเข้าใจในด้านการบรหิ ารงบประมาณ เช่น อาจไมไ่ ดเ้ รียนจบดา้ นนี้กเ็ ป็นไปได้ สหพันธ์แม่หญิงลาวในวิทยาลัยครูปากเซ มีความคิดเห็นตามบทบาทท่ีคาดหวัง เก่ียวกับการบริหารงานทัง 4 ด้านในวิทยาลัยครูปากเซ โดยรวม มีค่าเฉล่ียอยู่ในระดับมาก และมากที่สุดได้แก่ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนกานสอน ทั้งนี้เนื่องจากว่า สหพันธ์แม่หญิง ลาวในวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนาลาว ต้องกาน และคาดหวังอยากมีส่วนร่วมในด้านการพัฒนาการศึกษาอย่างมาก ในทุกๆด้าน เช่น ในด้าน การบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และ ด้านการบริหารงานทั่วไป ซ่ึงสอดคล้องกับของข้อกำหนดกฎหมายว่าด้วย สิทธ์ิของสหพันธ์ แม่หญิงลาว รับรองในกองประชุมใหญ่ผู้แทนแม่ยิงลาวทั่วประเทศครั้งท่ี 8 (2015) ได้ระบุไว้ วา่ สหพันธ์แม่หญิงลาวมีสิทธ์ิดังน้ี 1) ร่วมเคลอื่ นไหวการงานของการจัดตั้งพรรครัฐ องค์การ แนวลาวสร้างชาติ องค์การจัดต้ังมหาชน สงั คมอื่นๆ ตามภาระบทบาทของตน 2) ร่วมค้นคว้า ประกอบคำคิดเห็นต่อแนวทางนโยบาย แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมสร้างและปรับปรุง กฎหมาย กฎระเบียบ การไกล่เกลี่ยและแก้ไข ตัดสินปัญหา ติดตามและตรวจสอบการ

592 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) เคลื่อนไหวการงานรอบด้านกับคณะพัก องค์การปกครองแต่ละข้ัน พร้อมท้ังเสนอให้องค์การ ที่เก่ียวข้องพิจารณาแก้ไขการกระทำที่ไม่ถูกต้องต่อจิตผลประโยชน์อันชอบธรรมของผู้หญิง และเด็ก ตามภาระบทบาทของตน 3) เสนอต่อคณะพักขั้นของตน เพื่อรับเอาสมาชิกสหพันธ์ หญิงผู้ที่มีมาตรฐานเง่ือนไขครบถ้วนเข้าเป็นสมาชิกพรรค และบรรจุซับซ้อนเข้าในตำแหน่ง นำพา คุ้มครองในการบริหารงานด้านต่าง ๆ 4) ได้รับผลประโยชน์ในด้านต่างๆตามนโยบาย ของรัฐ ได้วางคำขวัญไว้ว่า “พัฒนาความเหมีภาพหญิง-ชาย ให้เคียงครู่กับการพัฒนา ประเทศชาติ” ซ่ึงมีเน้อื ในของ 8 แผนงาน 34 โครงการ โดยเฉพาะต่อไวหนุ่มผูห้ ญิงจะต้องมุ่ง ใส่บางแผนงานดังนี้ 1) ส่งเสริมให้แม่หญิงและวัยหนุ่มหญิงมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงมี สุขภาพจิตที่ดีพิเศษสำหรับวัยหนุ่มหญิงต้องเอาใจใส่ปัญหาสุขภาพเจริญพันธ์ุเพื่อให้แม่หญิง วัยหนุ่มหญิงมีคุณภาพชีวิตท่ีดีมีอายุยืน 2) ส่งเสริมให้แม่หญิงและสร้างเงื่อนไขให้แม่หญิง ไดร้ ับการศึกษาอย่างทั่วถึงในทกุ ระดับเพ่ือใหพ้ วกเขามีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติและสังคมให้มากขึ้น 3) ส่งเสริมให้แม่หญิงได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร รู้นำใช้ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีท่ีเป็นประโยชน์เพ่ือพัฒนาตนเองครอบครัวและสังคม 4) สร้าง เง่ือนไขให้แม่หญิงมีวิชาชีพสีมือแรงงานมีงานทำ มีรายรับที่มั่นคงและมีบทบาทนำพา คุ้มครองในแต่ละข้ันให้มีจำนวนมากเพิ่มข้ึน 5) สร้างโอกาสและเงื่อนไขให้แม่หญิงได้มีส่วน ร่วมเคลื่อนไหวในกิจกรรมต่างๆของสังคม รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนาแม่ หญิง และพัฒนาประเทศชาติ ไปพร้อมกับการเอาใจใส่ในการป้องกันและการการใช้ความ รุนแรงต่อผู้หญิง และเด็กในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการปก ช่วยเหลือผู้หญิง เด็กผู้ถือครองร้าย จากการค้ามนุษย์และความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ สหพันธ์แม่หญิงลาวจะพยายามสุด ความสามารถและจะร่วมมือกับหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน โรงเรียน ครอบครัว ชุมชน องค์การจัดตั้งสากล และองค์การจัดต้ังสังคมอื่นๆ เพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกันให้การ ส่งเสริมสิทธิของผู้หญิง โดยเฉพาะวัยหนุ่มหญิง เพื่อให้พวกเขาไม่มีสิทธ์ิ มีอำนาจ และ สามารถตัดสินใจด้วยตนเองในการวางแผนอนาคตของตนเอง อย่างเช่นการประกอบอาชีพ การสร้างครอบครวั การวางแผนมบี ุตร ฯลฯ 2. แนวทางในการมีส่วนร่วมของสหพันธ์แม่หญิงด้านการพัฒนาการศึกษาของ วิทยาลยั ครปู ากเซ แขวงจำปาสกั สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนาลาว ดังนี้ 2.1 ด้านการบริหารวชิ าการ ควรให้มีการฝกึ อบรมสัมมนาและศึกษาข้อมูลนอก สถานที่ให้แก่สหพันธ์แม่หญิงลาวให้มากขึ้น ควรเปิดโอกาสผู้หญิงได้มีโอกาสพัฒนาตนเอง

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 593 ทางด้านวิชาการให้มากข้ึนเช่น เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถในการบริหารจัดการด้าน วิชาการ ส่งเสริมให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อเพื่อยกระดับทั้งภายในและต่างประเทศ ควรเปิด โอ ก า ส ให้ ผู้ ห ญิ ง ได้ ด ำ ร งต ำ แ ห น่ งใน ข้ั น ก า ร บ ริ ห า ร ด้ า น ต่ า ง ๆ ให้ ถู ก ต้ อ ง เห ม า ะ ส ม กั บ ความสามารถ อยากให้ผู้หญิงได้มีส่วนร่วมในการประกอบความคิดเห็นมีส่วนร่วมในงานการ กำหนดนโยบายต่างๆ การสร้างหลักสูตร การนิเทศ และเป็นวิทยากรหรือมีส่วนร่วมเข้า ฝกึ อบรมให้มากข้ึน ควรมีการจัดฝึกอบรมด้านวิชาการอย่างน้อย 2 คร้ังต่อปี และให้ผู้หญิงมี บทบาทส่วนร่วมในการเป็นผนู้ ำหรือคณะขัน้ ห้องการและผู้อำนวยการ 2.2 ด้านการบริหารงบประมาณ ควรสนองงบประมาณให้เหมาะสม ต้องมีการ จดั การบริหารงบประมาณอย่างละเอียด ต้องมีการรายงานรายรับรายจ่าย และใช้จ่ายใช้จ่าย เขา้ ในกจิ กรรมอะไรบ้าง สหพันธแ์ ม่หญิงพร้อมด้วยสมาชิกควรมโี อกาสในการแสดงคำคิดเห็น และนำไปพิจารณาเพ่ือเป็นการปรับปรุงงานในต่อหน้า ควรสนองงบประมาณต่างๆให้การ พัฒนาสหพันธ์แม่หญิงในด้านต่างๆโดยเฉพาะให้ทุนในการศึกษาเพื่อยกระดับ ควรสนอง งบประมาณให้แกส่ หพันธ์แม่ยิงนำไปสกู่ ารพัฒนาในด้านสีมือแรงงานเพื่อสร้างให้มีอาชีพและ เสริมรายได้ให้แก่ครอบครัว การนำใช้งบประมาณต้องมีแผนการนำใช้อย่างชัดเจน ควรมี โครงการบุริมสิทธิตามลำดับขั้น และอยากให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการบริหารด้านการเงินให้ มากขึ้นโดยเฉพาะการตรวจสอบวสั ดุอุปกรณต์ า่ งๆตรวจสอบบญั ชีการเงินรายรับรายจา่ ย 2.3 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรมีการฝึกอบรมในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน ควรให้แม่หญิงมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนในด้านการ สร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับยุคสมัยใหม่ ควรให้แม่หญิงได้มีส่วนร่วมในการฝึกอบรมทั้ง ภายนอกและในสถานที่ให้มากข้ึน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรคำนึงถึงบทบาท ระหว่างหญิงชายอย่างเอาจริงเอาจัง เพ่ือช่วยให้แม่หญิงได้รับการพัฒนาทักษะต่างๆท่ี เก่ียวกับการเรียนการสอนให้ดีมากกว่าเดิม อยากให้แม่หญิงได้รับการฝึกอบรมการการใช้ เทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อนำความรู้มาพัฒนาด้านวิชาการ ให้มีการแทรกซ้อนความรู้ด้านบทบาท หญิงชายการต้านความรุนแรงกับเพศหญิงเพลงเด็กนอ้ ยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในการวางตวั ใน สังคม 2.4 ดา้ นการบริหารงานทัว่ ไป ควรมสี วัสดิการตา่ งๆเพ่ือเป็นขวญั กำลังใจในการ ทำงาน ต้องมีการบริหารจัดการให้เป็นระบบขั้นตอนอย่างชัดเจนและให้ผู้หญิงได้มีส่วนร่วม โครงการต่างๆ ทุกการงานท่ีจัดข้ึนควรคำนึงถึงบทบาทหญิงชายอยู่เสมอ ต้องมีการผลักดัน

594 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) ส่งเสริมคณุ ครู และนักศึกษาใหม้ ีการพฒั นาตนเอง ให้ผู้หญิงมีส่วนรว่ มในการสร้างสายใยการ ร่วมมือภาคส่วนบริเวณใกล้เคียงให้มามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา และรักษา สงิ่ แวดล้อม อยากใหม้ ีการจัดต้ังแบ่งงานให้แต่ละหน่วยงานได้มีส่วนร่วมโดยเฉพาะการรักษา สิ่งแวดลอ้ มความสวยงามความเปน็ ระเบยี บเรยี บรอ้ ย ผู้หญงิ มีความรู้ความสามารถหลายด้าน ควรให้โอกาสผู้หญิงรับหน้าท่ีในการบริหารงานด้านต่างๆให้มากข้ึน สำหรับการบริหารงาน ทว่ั ไปควรจะมีสภาในการพัฒนาคณุ ภาพการศึกษาและพัฒนาวชิ าการให้ควบคู่กัน ผลักดันให้ สหพันธ์แมห่ ญิงได้แสดงออกในด้านบริหารในตำแหนง่ ตา่ งๆ 2.5 ด้านความคิดเห็นอ่ืนๆ เพื่อให้สอดคล้องต้องมีโครงการสนับสนุนเช่น ด้าน สุขภาพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนต่างๆ สหพันธ์แม่หญิงควรได้รับโอกาสในการ ฝึกอบรมเก่ียวกับการพัฒนาวิชาชีพให้มากกว่าเดิม อยากให้มีการสร้างสายพัวพันธ์ภายนอก ให้มากขึ้นเพื่อให้มแี หล่งทุนมาพฒั นาการศึกษาและองค์การจัดตั้งแมห่ ญิง และควรมีแผนการ จัดกิจกรรมท่ีเน้นการพัฒนาการเรียนการสอนพร้อมกับการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการ สอน จากการศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกสหพันธ์แม่หญิงลาวเก่ียวกับแนวทางในการมี สว่ นร่วมของสหพันธ์แม่หญิงด้านการพัฒนาการศึกษาของวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนาลาว ดังกล่าวมาแล้วจึงเห็นว่ามีความสอดคล้องกับอ่อน จัน สวุ ันนะแสง (2015) ทีเ่ ห็นว่า 1) การพัฒนาการศึกษาของผหู้ ญิงประการแรกต้องมคี วาม เสมอภาคระหว่างหญิงชาย ต้องเคียงคู่กับการศึกษาอบรมด้านการเมือง แนวคิด และพัฒนา องค์การจัดต้ังสหพันธ์แม่หญิงลาวในทุกๆ ด้านให้มีความหนักแน่น เข้มแข็ง รับประกันให้ ผู้หญิงได้รับการศึกษาให้อยู่ในระดับสูง ทั้งอนุรักษ์รักษาวัฒนธรรมอันดีงามของชาติก็คือ ผู้หญิงลาวบรรดาเผ่า 2) คณะพรรค-องค์การปกครองท้องถิ่นแต่ละข้ันต้องรับรู้และเข้าใจต่อ การสร้างพนักงานเพศหญิง สร้างเงื่อนไขให้เพศหญิงได้มีโอกาสรับการศึกษาร่ำเรียน ยกระดับความรู้ความสามารถ และสร้างทุกเง่ือนไขให้คณะสหพันธ์แม่หญิงลาวแต่ละข้ัน ปกครองท้องถิ่นเคลื่อนไหวตามภาระบทบาท สิทธิ์ และหน้าท่ี คณะสหพันธ์แม่หญิงลาวก็ ต้องเป็นเจ้าการฝึกฝนตนเองในทุกด้าน 3) แขนงการศึกษาแต่ละขั้นต้องได้เอาใจใส่ในการ พัฒนาผู้หญิง เคียงคู่กับการพัฒนาการศึกษา ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงเพ่ือให้ ผู้หญิงได้รับการพัฒนาตนเองทางด้านการศึกษาให้นับวันนับสูงข้ึนและสอดคล้องกับนพรัตน์ กอวัฒนากุและคณะ (2559) ได้ทำการวิจัยเร่ือง กลยุทธ์ในการส่งเสริมบทบาทสตรีมุสลิมต่อ การพัฒนาสังคมในพื้นท่ีจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการวิจัยพบว่า การเสริมสร้างการพัฒนา

วารสาร มจร อบุ ลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 595 ศักยภาพกลไกและองค์กรสตรีมุสลิมทุกระดับมีผลต่อการส่งเสริมบทบาทสตรีมุสลิมต่อการ พัฒนาสังคม พบว่า ส่วนใหญ่การจัดสรรทรัพยากรท่ีเหมาะสมเพ่ือสนับสนุนการดำเนินงาน ขององค์กรและกลไกสตรีมุสลิมระดับต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนากลไกท่ีมีความเข้มแข็งใน อนาคต คิดเป็นร้อยละ 20.86 และสอดคล่องกับกอบกุล อิงคุทานนท์, (2537) ท่ีกล่าวไว้ว่า สตรี คอื ผ้ทู ่ีมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศในแบบทุกดา้ นอีกทง้ั ยังต้องแบกรับภาระ งานบ้าน ดูแลบตุ รจัดหาอาหาร ดูแลสุขภาพของสมาชิกภายในครอบครัวเมอ่ื เกดิ การเจ็บป่วย สตรี เป็นผู้ให้ความรัก และความอบอุ่นแกบ่ ุตรหลานเวลาสั่งสอน รวมถึงการปลูกฝังจิตสำนึก ในการอนุรักษ์สิง่ แวดลอ้ มให้กบั คนในครอบครัว ในอดีตจะมีค่านิยมของคนไทยวา่ สตรีจะตอ้ ง อยู่กับเหย้ากับเรือน แต่สำหรับในปัจจุบันค่านิยมเหล่าน้ันได้เปล่ียนไป สตรีกับบุรุษ มีความ เสมอภาคกันแม้ว่าสังคมจะหมุนเปลี่ยนไปตามเวลาแต่กิจกรรมและบทบาทของสตรีในแต่ละ ด้านยงั คงมีความสำคัญเสมอมาสตรีเป็นผูม้ ีความสำคัญต่อการพฒั นาประเทศ เพราะพลังของ สตรีมีถึงครึ่งหน่ึงของพลังมนุษย์ท้ังโลก แต่ได้ถูกละเลยในการนำศักยภาพที่มีอยู่ของสตรีให้ เป็นประโยชน์ ซึ่งคร้ังหน่ึงสตรีพยายามที่จะยกระดับเร่ืองสิทธิของความเสมอภาค เพ่ือ แสดงออกถึงบทบาทและศักยภาพของสตรี ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง และเสนอแนะ แนวทางในการสร้างความเจริญให้กับสังคม และประเทศชาติ ศักยภาพในการพัฒนาตัวเอง ดังนนั้ บทบาทของสตรจี ะสามารถสรา้ งความเข้มแขง็ ใหก้ ับชมุ ชนได้ การสร้างพลังและเครือข่ายสตรี ปัจจุบันสตรีมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในชุมชน โดยเฉพาะ การรวมตัวกันเองในกลุ่มสตรีด้วยกัน เช่น กลุ่มสตรีอาสาสมัคร กลุ่มอาชีพสตรี กลุ่มสตรีผู้อนุรักษ์ส่ิงแวดล้อม เป็นต้น ส่งผลให้สตรีมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการเป็น บุคคลท่ีมีจิตสำนึกสาธารณะ โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมในการสร้างศาลและ แสวงหาแนวทางที่จะสง่ ผลให้ชุมชนให้นา่ อยู่และเป็นส่วนหนึ่งในการจะสร้างพลังรว่ มกันและ กใ็ หก้ ารพฒั นาที่ยงั่ ยืนสคู่ วามเป็นชมุ ชนเข้มแข็ง องค์ความรู้ทไี่ ดจ้ ากการศึกษา บทบาทสหพันธ์แม่หญิงลาวที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของวิทยาลัยค รูปากเซ แขวงจำปาสกั สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนาลาว ควรใหม้ ีการฝกึ อบรมสมั มนาและศึกษา ข้อมูลนอกสถานที่ให้แก่สหพันธ์แม่หญิงลาวให้มากข้ึน ควรเปิดโอกาสให้แม่หญิงได้มีโอกาส

596 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) พัฒนาตนเองทางด้านวิชาการให้มากขึ้นเช่น เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถในการบริหาร จัดการด้านวิชาการ ส่งเสริมให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อเพ่ือยกระดับทั้งภายในและ ต่างประเทศ ต้องเอาใจใส่ติดตามส่งเสริมด้านวิชาการให้ผู้หญิงได้มีส่วนร่วมมากข้ึน ควรเปิด โอ ก า ส ให้ ผู้ ห ญิ ง ได้ ด ำ ร งต ำ แ ห น่ งใน ขั้ น ก า ร บ ริ ห า ร ด้ า น ต่ า ง ๆ ให้ ถู ก ต้ อ ง เห ม า ะ ส ม กั บ ความสามารถ แม่หญิงควรมีบทบาทในการบริหารงานด้านวิชาการให้มากขึ้นเพื่อเป็นการฝึก ให้มีทักษะในการบริหารด้านวิชาการเก่งขึ้น อยากให้แม่หญิงได้มีส่วนร่วมในการประกอบ ความคิดเห็นมีส่วนร่วมในงานการกำหนดนโยบายต่างๆการสร้างหลักสูตรการนิเทศและเป็น วทิ ยากรหรอื มีส่วนรว่ มเข้าฝึกอบรมให้มากขนึ้ ควรมีการจัดฝึกอบรมด้านวิชาการอย่างนอ้ ย 2 คร้ังต่อปี อยากให้มีแนวทางในการพฒั นาการมีสว่ นรว่ มของผู้หญิงการส่งเสรมิ และเปดิ โอกาส ที่เป็นรูปประธรรมจากผู้บริหารเพ่ือให้แม่ยิงได้ทำหน้าท่ีตามภาระบทบาทหน้าท่ี ผู้หญิงควร ไดร้ ับโอกาสในการพฒั นาตนเองเพอื่ ได้พัฒนากรมกองผู้หญิงและเปน็ แบบอย่างท่ีดี และใหแ้ ม่ หญงิ มีบทบาทส่วนรว่ มในการเปน็ ผู้นำหรอื คณะขั้นห้องการและผู้อำนวยการต่อไป เอกสารอา้ งองิ กฎละเบียบของสหพันธแ์ ม่หญงิ ลาว. (2015). ข้อกำหนดกฎหมายวา่ ดว้ ย สทิ ธ์ิของสหพันธแ์ ม่ หญิงลาว รับรองในกองประชุมใหญ่ผู้แทนแม่ยิงลาวทั่วประเทศครั้งที่ 8, นครหลวง เวยี งจันทน์: รฐั วสิ าหกจิ โรงพมิ พศ์ กึ ษา. กอบกลุ อิงคุทานนท์. (2537). ผหู้ ญงิ กบั อำนาจทีจ่ ะแปรเปลีย่ น. กรุงเทพฯ: ภาพพมิ พ์. กาญจนา แกว้ เทพ. (2550). บทบาทของผู้หญงิ ชนบทในโลกท่ีสาม. กรุงเทพฯ: ภาพพมิ พ์. นพรัตน์ กอวัฒนากุล และคณะ. (2559). กลยุทธ์ในการส่งเสริมบทบาทสตรีมุสลิมต่อการ พฒั นาสังคมในพ้นื ท่จี งั หวัดชายแดนภาคใต้. สงขลา: ไอคิว มีเดยี . อ่อนจัน สุวันนะแสง. (2015). การจัดตั้งองค์กรสมาพันธ์สตรี. นครหลวงเวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.

กระบวนการแกไ้ ขปัญหาตลาดเมอื งบาเจยี งจะเลินสกุ แขวงจำปาสกั สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. The Process of Solving the Problems of the Bajiangcharoensuk Marketplace in Champasak Province, Lao PDR 1วงโสดา คำพมู ี 2วชั ราภรณ์ จันทนุกลู และ 3ไพศาล พากเพียร 1Wongsoda Kumpomee, 2Watcharaporn Jantanukul and 3Paisarn Phakphian มหาวิทยาลัยราชภฏั อบุ ลราชธานี, ประเทศไทย Ubon Ratchathani Rajabhat University, Thailand. [email protected] Received May 10, 2020; Revised July 12, 2020; Accepted August 25, 2020 บทคดั ยอ่ การวิจัยคร้ังน้ีมีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาสภาพปัญหาตลาดเมืองบาเจียงจะเลินสุก แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและเพื่อศึกษากระบวนการแก้ไข ปัญหาตลาดเมืองบาเจียงจะเลินสุก แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ประชากร จำนวน 134 คน และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 23 คน สถิติท่ีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบ่ียงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะหเ์ ชงิ เนื้อหา ผลการวิจยั พบวา่ 1. สภาพปัญหาตลาดเมืองบาเจียงจะเลินสุก แขวงจำปาสัก สาธารณ รัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวม มีค่าเฉล่ียอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน การมีสว่ นร่วมของผู้ประกอบการและผู้บรโิ ภคขาดการฝึกอบรมผ้ปู ระกอบการเพอ่ื ให้เข้าใจใน ด้านอนามัยสิ่งแวดลอ้ ม/สขุ ภาพอนามัย ด้านการจัดการสุขาภิบาลส่ิงแวดลอ้ มภายในตลาดมี

598 | Journal of MCU Ubon Review,Vol.5 No.2 (May-August 2020) การรบกวนจากสัตว์หรอื แมลงทเ่ี ป็นพาหะนำโรค ด้านความปลอดภัยอาหารและการคมุ้ ครอง ผู้บริโภคไม่มีจุดทดสอบสารปนเป้ือนท่ีเป็นอนั ตราย ด้านสุขลักษณะทั่วไปทางเดินในตลาดไม่ กวา้ งขวาง การสญั จรลำบาก 2. กระบวนการแก้ไขปัญหาตลาดเมืองบาเจียงจะเลินสุก แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า ด้านสุขลักษณะทั่วไปควรมีการปรับปรุง โครงสร้างอาคารให้แข็งแรงและจัดวางสินค้าให้เป็นระเบียบ ด้านการจัดการสุขาภิบาลและ สิ่งแวดล้อมเจ้าหน้าท่ีภาครัฐควรเข้าไปดำเนินการตรวจสอบการจัดการสุขาภิบาลให้ถูก สขุ ลักษณะ ด้านความปลอดภัยอาหารและการคุ้มครองผู้บริโภค หน่วยงานภาครัฐจะตอ้ งเข้า ไปรว่ มมอื กับผ้บู ริหารตลาดตรวจสอบมาตรฐานของสินค้าและมีการติดปา้ ยราคาสนิ ค้าให้เห็น อย่างชัดเจน ดา้ นการมีส่วนร่วมของผ้ปู ระกอบการและผู้บริโภค หน่วยงานท่ีเกีย่ วข้องจะต้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขลักษณะสิ่งแวดล้อม ภายในตลาดและมีส่วนร่วมในการตรวจสอบคุณภาพอาหารให้เป็นมาตรฐาน คำสำคัญ : กระบวนการ, แก้ไขปญั หา, ตลาด Abstract The objectives of this research were: to study the state of problems of the marketplace of Bajiangcharoensuk in Champasak province, Lao PDR; and to explore the guidelines for solving the problems found. The research instruments were questionnaires and interviews. The sampling groups in the study included 134 people and the targeted interviewing group was 23 individuals. Statistics used in data analysis were percentage, means, standard deviation and content analysis. The research findings were as follows. 1. The overall state of problems of the marketplace of Bajiangcharoensuk in Champasak province, Lao PDR was at a high level. Considering by each aspect, it could be arranged as followings: Participation of entrepreneurs and consumers, entrepreneurs lack training for understanding in environmental health/hygiene; Environmental sanitation management, presence of disease-carrying insects and flies; Food safety and consumers’ protection, lack of food contamination test; and General infrastructure, narrow walkways in the marketplace.

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สงิ หาคม 2563) | 599 2. Regarding the process of solving the problems in the marketplace of Bajiangcharoensuk in Champasak province, Lao PDR, the followings were found. On general hygiene, the building structure should be improved and selling stalls should be properly ordered. On sanitation and environment, the state officials should play a part in checking the sanitation and hygiene issues. On food safety and consumer’s protection, the government agencies along with the market operators have to examine the standard and price label of the selling items. On the participation of the market entrepreneurs and consumers, the concerned agencies have to take part in providing training and knowledge on hygienic environments in the market and checking the food standard. Key words : Process, Solving Problems, Marketplace. บทนำ ตลาดเป็นสถานท่ีหรือชุมชนเพ่ือซ้ือและขายสินค้าทั้งในรูปแบบของวัตถุดิบและ สนิ คา้ สำเร็จรปู เป็นประจำ เปน็ คร้ังคราว หรอื ตามวนั ท่ีกำหนด ตลาดมีความสำคญั กับมนษุ ย์ ทุกคนเพราะทุกคนต้องการสินค้าบริการ โดยมีการใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน สินค้าตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซ่ึงกันและกันและตลาดเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิด รายได้ ทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ทด่ี ี และในยคุ ปัจจุบัน กิจกรรมทางการตลาดตา่ ง ๆ มี การเปล่ียนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมของสังคมเมือง ตลาดจึงเป็นสถานท่ีท่ีแสดงให้เห็น วัฒนธรรมความเป็นอย่ขู องคนในสังคม (สุปญั ญา ไชยชาญ, 2551 : 21) ต่อมาเมื่อสังคมมีการพัฒนาจนกลายเป็นเมืองใหญ่ สภาพความเป็นอยู่ของคนใน ชุมชนก็มีการขยายตัวและส่งผลให้มีความต้องการสินค้า อุปโภคและบริโภคมากข้ึนตามไป ด้วย ตลาดจึงเป็นศูนยก์ ลางของคนในชุมชนและเป็นแหล่งซื้อขายสินคา้ ตลาดมีลักษณะและ ขนาดข้นึ อยกู่ บั ชุมชนนน้ั ๆ สภาพแวดล้อมและการตั้ง ถ่นิ ฐานของชุมชน เชน่ ถ้าชุมชนใชก้ าร คมนาคมทางบกในการติดต่อค้าขายกันก็เรียกว่า ตลาดบก แต่ถ้าหากชุมชนใช้การคมนาคม ทางน้ำ เป็นสำคัญตลาดของชุมชนน้ันก็เรียกว่าตลาดน้ำ (วราภรณ์ จิวชัยศักด์ิ, 2555) กิจกรรมทางการตลาดเป็นเคร่ืองมือก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและบริการ เพ่ือตอบสนอง ความความพึงพอใจและเป็นตัว เชอื่ มระหวา่ งเจ้าของสินค้าและผู้บริโภคเป็นการสร้างโอกาส ให้ผู้ผลิตหรือเจ้าของสินค้าหรือผู้บริโภคได้มีโอกาสพบกันถึงแม้ว่ากิจกรรมด้านการตลาดใน